fbpx
วิกิพีเดีย

พระไตรปิฎกภาษาจีน

พระไตรปิฎกภาษาจีน (จีน: 大藏經 Dàzàngjīng ต้าจั้งจิง) เป็นพระไตรปิฎกที่รวบรวมเอาคัมภีร์ทั้งของทั้งสามนิกายคือ ๑.ฝ่ายนิกายหินยานเรียกส่วนนี้ว่าอาคม ๒. คัมภีร์ของฝ่ายมหายาน และ ๓.บางส่วนของวัชรยาน พระไตรปิฏกนี้ใช้เหมือนกันทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เพียงแต่มีสำเนียงต่างกัน เรียกในสำเนียงญี่ปุ่นว่า "ไดโซเคียว" ในสำเนียงเกาหลีเรียกว่า "แทจังคยอง" และในสำเนียงเวียดนามเรียกว่า "ไดตังกิง"

นับตั้งแต่พุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาถึงแผ่นดินจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้มีการแปลพระธรรมวินัยกันแล้ว โดยการแปลพระธรรมวินัยครั้งแรก เป็นผลงานของพระอันซื่อกาว (安世高) พระภิกษุชาวพาร์เธีย และต่อมาไม่นานนักได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างโดยพระโลกะเกษม (支婁迦讖) พระภิกษุชาวกุษาณะ

พระโลกะเกษม

อย่างไรก็ตาม กว่าจะมีการแปลพระธรรมวินัยครั้งมโหฬาร และมีรวบรวมเป็นพระไตรปิฎกพากย์จีนอย่างเต็มรูปแบบนั้น ก็ล่วงมาถึงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ หรือราวศวรรษที่ 4 - 5 (พุทธศตวรรษที่ 9 - 11, พ.ศ. 844 - 1043) โดยคณาจารย์ยุคเดียวกับท่านกุมารชีพ (鸠摩罗什) โดยในชั้นต้นเป็นการรวบรวมเฉพาะพระสูตร เป็นพระสุตันตปิฎกเท่านั้น

การรวบพระไตรปิฎกจีนอย่างเป็นระบบครั้งแรก เป็นผลงานของพระต้าวอัน (道安) ในปีค.ศ. 374 (พ.ศ. 917) โดยท่านได้ขจัดทำบัญชีรายชื่อคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่ได้รับการอัญเชิญมายังแผ่นดินจีนเป็นครั้งแรก และเป็นแนวทางให้กับการรวบรวมเป็นพระไตรปิฎกพากย์จีนฉบับสมบูรณ์ในเวลาต่อมาในสมัยราชวงศ์ถัง

เนื้อหา

พระไตรปิฏกจีน บรรจุเนื้อหามากมายมหาศาล เพราะรวบรวมเอาพระธรรมวินัยของนิกายเถรวาท และนิกายต่างๆ ของพุทธศาสนายุคต้นเอาไว้ด้วย โดยเรียกว่า “อาคม” หรือที่ในพระไตรปิฎกบาลีเรียกว่า “นิกาย” เช่น ทีรฆาคม คือ ทีฆนิกาย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีฝ่ายอภิธรรมของนิกายต่างๆ พระสูตรจำเพาะของฝ่ายมหายาน ข้อเขียน หรือศาสตร์ต่างๆ ที่รจนาโดยคณาจารย์ฝ่ายมหายาน รวมถึงปกรณ์พงศาวดาร ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาตั้งแต่ยุคต้นที่อินเดีย จนถึงยุคต้นในจีน นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์และธารณีของฝ่ายมนตรายานเช่นกัน

จากการศึกษาของเสถียร โพธินันทะ ได้แบ่งหมวดหมู่ของพระไตรปิฎกภาษาจีน ดังต่อไปนี้

หมวดพระวินัยปิฎก (律藏)

1. ทศภาณวารสรวาสติวาทวินัย 60 ผูก พระวินัยปิฎกของนิกายสรวาสติวาทิน แปลสู่ภาษาจีนโดยพระปุณยาตระ, พระกุมารชีพ, พระธรรมรุจิ, พระวิมลรักษ์ รวม 4 รูป เมื่อ พ.ศ. 947 - 950 ต่อมาสมณะอี้จิงได้แปลวินัยปกรณ์ของนิกายนี้อีก 15 ปกรณ์ ซึ่ง ส่วนมากเป็นเรื่องปลีกย่อย ว่าด้วยเรื่องอุปสมบทกรรม, การจำพรรษา, เภสัชชะและเรื่องสังฆเภทเป็นต้น

2. จตุรอัธยายธรรมคุปตวินัย 60 ผูก พระวินัยปิฎกของนิกายธรรมคุปต์แปลสู่ ภาษาจีน โดยพระพุทธยศ เมื่อ พ.ศ. 953

3. มหาสังฆิกวินัย 30 ผูก พระวินัยปิฎกของนิกายมหาสังฆิกะ แปลสู่ภาษาจีนโดย พระพุทธภัทรกับสมณะฝ่าเซียน เมื่อ พ.ศ. 963 - 965

4. ปัญจอัธยายมหิศาสกวินัย 30 ผูก พระวินัยปิฎกของนิกายมหิศาสกะ แปลสู่ภาษาจีน โดย พระพุทธชีวะ กับ สมณะต้าวเซิง เมื่อ พ.ศ. 966

5. สมันตปาสาทิกาวินัยอรรถกถา 18 ผูก เป็นอรรถกถา พระวินัยปิฎกนิกายเถรวาท แปลสู่ภาษาจีนโดยพระสังฆภัทรเมื่อ พ.ศ. 1032 แต่เป็นฉบับย่อไม่มีพิสดาร เช่น ต้นฉบับบาลี

6. ปาฏิโมกข์ศีลสูตรของนิกายกาศยปิยะ เป็นเพียงหนังสือสั้นๆ มิใช่พระวินัยปิฎกทั้งหมด

หมวดพระสุตตันตปิฎก (經藏)

1. เอโกตตราคม 51 ผูก คือ อังคุตตรนิกายของนิกายสรวาสติวาทิน แปลสู่ภาษาจีนโดยพระธรรมนันทิเมื่อ พ.ศ. 927

2. มัธยามาคม 60 ผูก มัชฌิมนิกาย ของนิกายสรวาสติวาทิน แปลสู่ภาษาจีนโดยพระสังฆรักษกับพระสังฆเทวะเมื่อ พ.ศ. 941

3. ทีรฆาคม 22 ผูก ทีฆนิกายของนิกายธรรมคุปต์ แปลสู่ภาษาจีน โดยพระพุทธยศเมื่อ พ.ศ. 956

4. สังยุกตาคม 50 ผูก สังยุตตนิกายของนิกายมหิศาสกะ แปลสู่ภาษาจีน โดยพระคุณภัทรเมื่อ พ.ศ. 986

หมวดพระอภิธรรมปิฎก (論藏)

ส่วนประเภทพระอภิธรรมปิฎก และคัมภีร์ประเภทศาสตร์หรือปกรณ์วิเศษของนิกายต่าง ๆ ก็มีมาก เช่น อภิธรรมสังคีติบรรยายปาทศาสตร์ 20 ผูก, อภิธรรมสกันธปาทศาสตร์ 12 ผูก, อภิธรรมวิชญานกายปาทศาสตร์ 16 ผูก, อภิธรรมปกรณะปาทศาสตร์ 18 ผูก, อภิธรรมมหาวิภาษาศาสตร์ 200 ผูก, อภิธรรมนยายนุสารศาสตร์ 80 ผูก, อภิธรรมปกรณศาสนศาสตร์ 40 ผูก, อภิธรรมหฤทัยศาสตร์ 4 ผูก, สังยุกตาภิธรรมหฤทัย ศาสตร์ 11 ผูก, ปกรณ์เหล่านี้เป็นของนิกายสรวาสติวาทิน, อภิธรรมโกศศาสตร์ 20 ผูก, คัมภีร์นี้ระคนด้วยลัทธิในนิกายสรวาสติวาทิน กับนิกายเสาตรันติกวาทิน, สารีปุตราภิธรรม 30 ผูก ของนิกายวิภัชวาทิน, อภิธรรมสัตยสิทธิวยกรณศาสตร์ 16 ผูก ของนิกายมหาสังฆิกะหรือนิกายเสาตรันติก หรือนิกายพหุสุตวาทยังไม่แน่นอน จตุราริยสัจจปกรณ์ 4 ผูก, และคัมภีร์วิมุตติมรรค 12 ผูก, คุณวิภังคนิทเทศศาสตร์ 3 ผูก ของนิกายมหาสังฆิกะ, สัมมิติยะศาสตร์ 2 ผูก ของนิกายสัมมิติยะ ฯลฯ

นอกจากนี้ ในหนังสือประมวลสารัตถะพระไตรปิฎก แต่งครั้งราชวงศ์หยวน ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ได้บอกจำนวนคัมภีร์ในพระไตรปิฎกจีนพากย์ไว้ดังนี้

1. พระสูตรฝ่ายมหายาน 897 คัมภีร์ 2,980 ผูก

2. พระวินัยฝ่ายมหายาน 28 คัมภีร์ 56 ผูก

3. ศาสตร์ฝ่ายมหายาน 118 คัมภีร์ 628 ผูก

4. พระสูตรฝ่ายสาวกยาน 291 คัมภีร์ 710 ผูก

5. พระวินัยฝ่ายสาวกยาน 69 คัมภีร์ 504 ผูก

6. ศาสตร์ฝ่ายสาวกยาน 38 คัมภีร์ 708 ผูก

รวมทั้งสิ้นเป็น 1,441 คัมภีร์ 5,586 ผูก

อย่างไรก็ตาม จำนวนคัมภีร์ในพระไตรปิฎกจีนพากย์นี้ มีการชำระกันหลายครั้งหลายคราว จำนวนคัมภีร์กับจำนวนผูกเปลี่ยนแปลงไม่เสมอกันทุกคราว ในหนังสือว่าด้วยสารัตถะความรู้จากการศึกษาพระไตรปิฎกแต่งครั้งราชวงศ์หมิง ได้แบ่งหมวดพระไตรปิฎก เพื่อสะดวกแก่การศึกษาดังนี้

หมวดอวตังสกะ 華嚴部

หมวดนี้มีพระสูตรใหม่สูตรหนึ่งเป็นหัวใจคือ พุทธาวตังสกมหาไวปุลยสูตร หรือ อวตังสกสูตร 80 ผูก และมีสูตรปกิณณะย่อย ๆ อีกหลายสูตร

หมวดไวปุลยะ

มีพระสูตรใหญ่ชื่อมหารัตนกูฏสูตร 120 ผูก เป็นหัวใจ นอกนั้นก็มีมหาสังคีติสูตร 10 ผูก, มหายานโพธิสัตว์ปิฎกสูตร 20 ผูก, ตถาคตอจินไตยรหัศยมหายานสูตร 30 ผูก, สุวรรณประภาสสูตร 10 ผูก, กรุณาปุณฑริกสูตร 11 ผูก, มหายานมหาสังคีติกษิติครรภทศจักรสูตร 10 ผูก, มหาไวปุลยมหาสังคีติโพธิสัตวพุทธานุสสติสมาธิสูตร 10 ผูก, จันทรประทีปสมาธิสูตร 11 ผูก, ลังกาวตารสูตร 7 ผูก, สันธินิรโมจนสูตร 5 ผูก, วิเศษจินดาพรหมปุจฉาสูตร 4 ผูก, อักโษภยพุทธเกษตรสูตร 2 ผูก, ไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาสปูรวประณิธานสูตร 2 ผูก, มโยปมสมาธิสูตร 3 ผูก, ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร 1 ผูก, อมิตายุรธยานสูตร 1 ผูก, มหาสุขาวดีวยูหสูตร 2 ผูก, อจินไตยประภาสโพธิสัตวนิทเทสูตร 1 ผูก, ศูรางคมสมาธิสูตร 3 ผูก, วิมลกีรตินิทเทศสูตร 3 ผูก, และอื่นๆ อีกมากสูตรนัก ฯลฯ อนึ่งคัมภีร์ฝ่ายลัทธิมนตรยานก็จัดสงเคราะห์ลงในหมวดไวปุลยะนี้ มีพระสูตรสำคัญ เช่น มหาไวโรจนสูตร 7 ผูก, เอกอักขระพุทธอุษฯราชาสูตร 6 ผูก, มหามณีวิปุลยะวิมาน วิศวศุภประดิษฐานคุหยปรมรหัสยะกัลปราชธารณีสูตร 3 ผูก, สุสิทธิกรสูตร 3 ผูก, วัชร เสขรสูตร 7 ผูก, โยคมหาตันตระราชาสูตร 5 ผูก, มหามรีจิโพธิสัตวสูตร 7 ผูก, วัชรเสขระประโยคโหมตันตระ 1 ผูก, มหาสุวรรณมยุรีราชาธารณีสูตร 2 ผูก ฯลฯ

หมวดปรัชญา 般若部

มีพระสูตรใหญ่ ชื่อมหาปรัชญาปารมิตาสูตร 600 ผูก เป็นหัวใจ และมีสูตรปกิณณะ เช่น ราชไมตรีโลกปาลปารมิตาสูตร 2 ผูก, วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร 1 ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ

หมวดสัทธรรมปุณฑริก 法華部

มีพระสูตรใหญ่ชื่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร 8 ผูก เป็นหัวใจ และมีสูตรปกิณณะ เช่น อนิวรรตธรรมจักรสูตร 4 ผูก, วัชรสมาธิสูตร 2 ผูก, มหาธรรมเภรีสูตร 2 ผูก, สมันตภัทรโพธิสัตวจริยธรรมธยานสูตร 1 ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ

หมวดปรินิรวาณ 涅槃部

มีพระสูตรใหญ่ ชื่อมหาปรินิรวาณสูตร 40 ผูก เป็นหัวใจ มีสูตรปกิณณะ เช่น มหากรุณาสูตร 5 ผูก, มหามายาสูตร 2 ผูก, มหาเมฆสูตร 4 ผูก, อันตรภาวสูตร 2 ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ

พระวินัยลัทธิมหายาน

ลัทธิมหายานมิได้มีภิกขุปาฏิโมกข์เป็นเอกเทศ คงปฏิบัติวินัยบัญญัติตามพระปาฏิโมกข์ของฝ่ายสาวกยาน ที่แตกต่างจากฝ่ายเถรวาท คือ โพธิสัตวสิกขา เพราะลัทธิมหายานสอนให้มุ่งพุทธิภูมิ บุคคลจึงต้องประพฤติโพธิจริยา มีศีลโพธิสัตวเป็นที่อาศัย วินัยโพธิสัตวนี้สาธารณะทั่วไปแม้แก่ฆราวาสชนด้วย มีโพธิสัตวกุศลศีลสูตร 9 ผูก, พุทธปิฏกสูตร 4 ผูก, พรหมชาลสูตร (ต่างฉบับกับบาลี) 2 ผูก, โพธิสัตวศีลมูลสูตร 1 ผูก และอื่นๆ อีก พึงสังเกตว่าเรียกคัมภีร์เหล่านี้ว่า “สูตร” มิได้จัดเป็นปิฎกหนึ่งต่างหาก อรรถกถาพระสูตรของคันถรจนาจารย์อินเดียมี 33 ปกรณ์ เช่น มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ 100 ผูก แก้คัมภีร์มหาปรัชญาปารมีตาสูตร, ทศภูมิวิภาษาศาสตร์ 15 ผูก, สัทธรรมปุณฑริกสูตรอุปเทศ 2 ผูกเป็นอาทิ อรรถกถาพระสูตรของคันถรจนาจารย์จีนมี 38 ปกรณ์ เช่น อรรถกถาพุทธาวตังสกมหาไพบูลยสูตร 60 ผูก และปกรณ์ ประเภทเดียวกันอีก 5 คัมภีร์ นอกนั้นมีอรรถกถาลังกาวตารสูตร 8 ผูก, อรรถกถาวิมล กีรตินิทเทศสูตร 10 ผูก, อรรถกถาสุวรรณประภาสสูตร 6 ผูก, อรรถกถาสัทธรรม ปุณฑริกสูตร 20 ผูก, อรรถกถามหาปรินิรวาณสูตร 33 ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ

ปกรณ์วิเศษของคันถรจนาจารย์อินเดีย

มี 104 ปกรณ์ เช่น โยคาจารภูมิศาสตร์ 100 ผูก, ปกรณารยวาจาศาสตร์การิกา 20 ผูก, มหายานอภิธรรมสังยุกตสังคีคิศาสตร์ 16 ผูก, มหายานสัมปริครหศาสตร์ 3 ผูก, มัธยานตวิภังคศาสตร์ 2 ผูก เหตุวิทยาศาสตร์ 1 ผูก, มหายสนศรัทโธตปาทศาสตร์ 2 ผูก, มาธยมิกศาสตร์ 2 ผูก, ศตศาสตร์ 2 ผูก, มหายานวตารศาสตร์ 2 ผูก, มหายาน โพธิสัตวศึกษาสังคีติศาสตร์ 11 ผูก, มหายานสูตราลังการ 15 ผูก, ชาตกมาลา 10 ผูก, มหาปุรุษศาสตร์ 2 ผูก, สังยุกตอวทาน 2 ผูก ทวาทศทวารศาสตร์ 1 ผูก นอกนั้นก็เป็นปกรณ์สั้นๆ เช่น วิชญาณมาตราตรีทศศาสตร์, วีศติกวิชญานมาตราศาสตร์, อลัมพนปริกษศาสตร์, อุปายหฤทัยศาสตร์, หัตถธารศาสตร์, วิชญานประวัตรศาสตร์, วิชญานนิทเทศศาสตร์, มหายานปัญจสกันธศาสตร์ เป็นอาทิ ฯลฯ

ปกรณ์วิเศษของคันถรจนาจารย์จีน

มี 14 ปกรณ์เป็นคัมภีร์ประเภทฎีกาแก้ปกรณ์วิเศษรจนา โดยคันถรจนาจารย์ อินเดียมี 11 ปกรณ์ รจนาโดยคันถรจนาจารย์จีนมี 18 ปกรณ์ คัมภีร์ปกิณกคดีที่อธิบายหลักธรรมบ้างที่เป็นประวัติบ้าง ของคันถรจนาจารย์อินเดียรวบรวมไว้ก็ดี รจนาขึ้นใหม่ก็ดี มีทั้งของลัทธิอื่นๆ ด้วย รวม 50 ปกรณ์ อาทิเช่น พุทธจริต 5 ผูก, ลลิตวิสตระ 20 ผูก, นาคเสนภิกษุสูตร (มิลินทปัญหา) 3 ผูก, อโศกอวทาน 5 ผูก, สุวรรณสัปตติศาสตร์ของลัทธิสางขยะ 3 ผูก, และไวเศษิกปทารถศาสตร์ของลัทธิไวเศษิก 3 ผูก เป็นต้น ส่วนปกรณ์ปกิณณคดีประเภทต่างๆ ของนิกายมหายานในประเทศจีน รวมทั้งประเภทประวัติ ศาสตร์ และจดหมายเหตุที่รจนารวบรวมไว้ โดยคันถรจนาจารย์จีนมีประมาณ 186 ปกรณ์ ปกรณ์เหล่านี้มีทั้งชนิดยาวหลายสิบผูก และชนิดสั้นเพียงไม่กี่หน้ากระดาษ

ภาษาที่ใช้

ภาษาที่ใช้ในพระไตรปิฎกพากย์จีน ส่วนใหญ่ใช้ภาษาจีนโบราณ (古文) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันระหว่างปลายยุครณรัฐ หรือยุคชุนชิว (春秋时代) ระหว่างศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล (พ.ศ. 144 - 243) จนถึงสมัยราวงศ์ฮั่น (汉朝) หรือในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล (พ.ศ. 244 - 343) ภาษาจีนโบราณใช้ในวงวรรณคดีมาจนถึงยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองช่วงต้นศตวรรษที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2444 - ...) ภาษาโบราณนี้มีความแตกต่างจากภาษาจีนยุคปัจจุบันค่อนข้างมาก ทั้งในด้านสำเนียงการออกเสียง และไวยากรณ์ จำเป็นต้องอาศัยการศึกษาเฉพาะด้าน และคู่มือเอกเทศ จึงจะสามารถเข้าใจได้

ทั้งนี้ ยังมีข้อยกเว้น คือพระไตรปิฎกฉบับซีเซี่ย หรือ Mi Tripitaka (蕃大藏經) ที่ได้รับการศึกษาและเผยแพร่โดยนาย เอริก กรินสเตด (Eric Grinstead) ผู้ที่ตีพิมพ์ฉบับนี้ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อปี 1971 (พ.ศ. 2514) ในชื่อ พระไตรปิฏกฉบับทังกุต (The Tangut Tripitaka) ทั้งนี้ ทังกุต (Tangut) เป็นชนชาติเชื้อสายทิเบต-พม่า อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ระหว่างปีค.ศ. 1038 - 1227 (พ.ศ. 1581 - 1770) ชนชาตินี้ได้สถาปนาราชวงศ์ซีเซี่ย (西夏) หรืออาณาจักรไป๋เกาต้าเซี่ยกั๋ว (白高大夏國) คาบเกี่ยวกับราชวงศ์ซ่ง และราชวงศ์เหลียว ทั้ง 3 อาณาจักรนี้ แม้สถาปนาโดยคนต่างเชื้อชาติกัน แต่กับเนื่องเป็นหนึ่งในราชวงศ์ทางการตามประวัติศาสตร์จีนโบราณ อีกทั้ง ทั้ง 3 ราชวงศ์ยังอุปถัมภ์ศาสนาพุทธอย่างยิ่งยวดไม่แพ้กัน ผิดกันเพียงแต่ว่า ชาวซ่งและชาวเหลียว ใช้ภาษาและอักษรจีนในการจารึกพระไตรปิฎก ขณะที่ชาวซีเซี่ยใช้ภาษาของตนเองในการจารึก

นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบพระไตรปิฎกที่ใช้ภาษาท้องถิ่นในแว่นแคว้นทางตะวันตกของแผ่นดินจีน หรือแผ่นดินซียู้ (西域) ปัจจุบันอยู่ในแถบเขตปกครองตนเองพิเศษซินเจียง แต่เดิมนั้นแว่นแคว้นเหล่านี้มีภาษาและวัฒนธรรมของตนเอง ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 8 นั้น พุทธศาสนาเฟื่องฟูมาก จึงมักใช้ภาษาตนเองในการบันทึกพระธรรม ในเวลาต่อมาแว่นแคว้นตะวันตกรับศาสนาอิสลาม พระคัมภีร์ต่างๆ จึงสาบสูญไปมาก แต่ในช่วงศตวรรษที่ 20 มีการค้นพบพระไตรปิฏกภาษาของชาวซียู้ ที่ถ้ำตุนหวง เรียกขานกันอย่างไม่เป็นทางการว่า พระไตรปิฎกตุนหวง

ส่วนพระไตรปิฎกพากย์จีน ฉบับไทโช (大正新脩大藏經) ที่รวบรวมขึ้นที่ญี่ปุ่น ยังมีการรวมเอาข้อเขียนในภาษาญี่ปุ่นโบราณเกี่ยวกับพุทธศาสนาเอาไว้ด้วย

กระบวนการแปล

เสถียร โพธินันทะ ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา ได้แบ่งระยะกาลแปลคัมภีร์อย่างกว้างๆ ได้ 4 สมัย คือ

1. สมัยราชวงศ์ฮั่นยุคหลังถึงต้นราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 610- 1273) ในระยะเวลา 663 ปี นี้ มีธรรมทูตทำงานแปลรวม 176 ท่าน ผลิตคัมภีร์ 968 คัมภีร์ 4,507 ผูก

2. สมัยกลางราชวงศ์ถัง ถึงราชวงศ์ถังตอนปลาย (พ.ศ. 1273 - 1332) มีธรรมทูต ทำงานแปล 8 ท่าน

3. สมัยปลายราชวงศ์ถัง ถึงต้นราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ. 1332 - 1580) มีธรรมทูตทำงาน แปล 6 ท่าน

4. สมัยราชวงศ์ซ่ง ถึงราชวงศ์หยวน (พ.ศ. 1580 - 1828) มีธรรมทูตทำงานแปล 4 ท่าน

ในจำนวนธรรมทูต 4 สมัย 194 ท่านนี้ ผู้มีเกียรติคุณเด่นมีรายนามต่อไปนี้ อันซื่อกาว, ธรรมกาละ, ธรรมนันทิ, อภยะ, ธรรมรักษ์ศิริมิตร, สังฆเทวะ, กุมารชีพ, ปุณยาตระ, พุทธยศ, พุทธชีวะ, พุทธภัทร, สังฆภัทร, คุณภัทร, โพธิรุจิ, ปรมัตถะ, กาลยศ, ธรรมมิตร, พุทธคุปตะ, สังฆปาละ, ฝ่าเซียน, เสวียนจั้ง, เทพหาร, ศึกษานันทะ, อี้จิง, วัชรโพธิ, สุภกรสิงหะ, อโมฆวัชระ, ปรัชญา, ธรรมเทวะ, สันติเทวะ, ทานปาละ เป็นต้น ในบรรดาท่านเหล่านี้ มีพิเศษอยู่ 5 ท่านที่ได้รับยกย่องว่าเป็น “นักแปลคัมภีร์อันยิ่งใหญ่” คือ

1. พระกุมารชีพ (鸠摩罗什) เลือดอินเดียผสมคุจะ (龟兹) มาประเทศจีนเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 9 แปลคัมภีร์ 74 ปกรณ์ 384 ผูก

2. พระปรมารถะ (真諦) ชาวอินเดียแคว้นอุชเชนี มาประเทศจีนเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 10 แปลคัมภีร์ 64 ปกรณ์ 278 ผูก

3. พระสมณะเสวียนจั้ง (玄奘) ชาวมณฑลเหอหนาน จาริกไปอินเดียศึกษา พระธรรมวินัยเมื่อ พ.ศ. 1172 กลับประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 1188 แปลคัมภีร์ 74 ปกรณ์ 1330 ผูก (หรือ 1325 หรือ 1335 ผูกไม่แน่)

4. พระสมณะอี้จิง (义净) ชาวเมืองฟันหยาง จาริกไปอินเดียศึกษาพระธรรมวินัย เมื่อ พ.ศ. 1214 กลับประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. 1237 แปลคัมภีร์ 56 ปกรณ์ 230 ผูก

5. พระอโมฆวัชระ (不空) เชื้อสายอินเดียเหนือ แปลคัมภีร์เมื่อ พ.ศ. 1289 - 1314 จำนวน 77 ปกรณ์ 101 ผูก

 
พระเสวียนจั้ง หรือพระถังซัมจั๋ง

งานถ่ายทอดพระธรรมวินัยดังพรรณนานี้ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์จึงสามารถดำเนินไปได้โดยเรียบร้อย พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชโองการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานขึ้นคณะหนึ่ง มีการแบ่งหน้าที่เป็นแผนกหรือตำแหน่งดังนี้

1. ประธานในการแปล ต้องเป็นผู้รอบรู้ในภาษาสันสกฤตหรือภาษาอินเดียภาคต่างๆ รวมทั้งภาษาเอเซียกลางด้วย เป็นผู้ควบคุมพระคัมภีร์ที่แปลโดยตรง

2. ล่ามในการแปล ได้แก่ผู้รู้ภาษาสันสกฤตหรือภาษาของท่านธรรมทูต และภาษาจีนดี ฟังคำอธิบายในข้อความในคัมภีร์สันสกฤตจากผู้เป็นประธานแล้ว ก็แปลเป็นภาษาจีน โดยมุขปาฐะ สำหรับล่ามนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เสมอไป ถ้าประธานมีความรู้ในภาษาจีน

3. ผู้บันทึก ได้แก่ผู้คอยจดคำแปลของล่ามลงเป็นอักษรจีน ถ้าประธานแตกฉานใน อักษรศาสตร์จีนดีก็ไม่ต้อง เพราะเขียนเองได้

4. ผู้สอบต้นฉบับ ได้แก่ผู้ตรวจสอบ ผู้ทานดูข้อความแปลที่จดไว้จะตรงกับต้นฉบับหรือไม่

5. ผู้ตกแต่งทางอักษรศาสตร์ ได้แก่ผู้มีหน้าที่ตกแต่งภาษาจีนซึ่งแปลจดไว้แล้วให้ สละสลวยถูกต้องตามลีลาไวยากรณ์ของจีน ฟังไม่เคอะเขินหรือกระด้างหู ทั้งนี้เพราะล่ามก็ดี ผู้บันทึกก็ดี จำต้องรักษาถ้อยคำให้ตรงกับต้นฉบับ ซึ่งในบางกรณีลีลาโวหารอาจกระด้าง หรือไม่หมดจดก็ได้

6. ผู้สอบอรรถรส ได้แก่ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบฉบับแปลจีนนั้นให้มีอรรถรสตรงกันกับต้นฉบับโดยสมบูรณ์ทุกประการ

7. ผู้ทำหน้าที่ธรรมาภิคีติ ได้แก่การสวดสรรเสริญสดุดีคุณพระรัตนตรัย ก่อนที่จะเริ่มงานแปลทุกวาระ หรือสวดสาธยายข้อความ ในพระคัมภีร์ที่แปลนั้น พูดง่ายๆ ก็คือเจ้าหน้าที่พิธีการนั่นเอง

8. ผู้ตรวจปรู๊ฟ เมื่อเขาแปลและจดกันเป็นที่เรียบร้อยหมดจดทุกอย่างแล้ว ก็ปรู๊ฟกันอีกทีหนึ่งเพื่อให้ถูกต้องกันผิดพลาด หากจะมีอะไรหลงหูหลงตาบ้าง

9. เจ้าหน้าที่ฝ่ายราชการ ซึ่งจะต้องเป็นขุนนางผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่คอยดูแลให้มีจตุปัจจัยสมบูรณ์ และคอยอุปการะถวายความสะดวกแก่คณะกรรมการ ตลอดจนเป็นผู้กราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบถึงผลงาน บางครั้งเมื่อคัมภีร์ปกรณ์หนึ่งๆ แปลจบลง ก็นำถวายขอพระราชนิพนธ์บทนำ

พระไตรปิฎกภาษาจีนฉบับต่าง ๆ

พระไตรปิฎกฉบับเขียน

ในยุคโบราณนั้น โลกยังไม่ปรากฏเทคโนโลยีการพิมพ์ แต่ด้วยความที่ชาวจีนเป็นผู้ประดิษฐ์กระดาษขึ้นในศตวรรษที่ 2 ทำให้การเผยแพร่ความรู้ และศาสนาเป็นไปอย่างกว้างขวางไม่น้อย ซึ่งกระดาษนี่เองที่มีส่วนในการส่งเสริมให้พุทธศาสนาเฟื่องฟูในแผ่นดินจีน โดยในชั้นต้นนั้น มีการจารึกพระธรรมวินัยในกระดาษด้วยการเขียนลายมือก่อน โดยได้รับการอุปถัมภ์จากจักรพรรดิพระองค์ต่างๆ เรื่อยมา

ในสมัยแผ่นดินจักรพรรดิเหลียงอู่ (梁武帝) แห่งราชวงศ์เหลียง เมื่อ พ.ศ. 1061 มีพระราชโองการให้ ชำระรวบรวมพระไตรปิฎกเท่าที่แปลแล้ว และพวกปกรณ์วิเศษ ได้จำนวนรวม 1,433 คัมภีร์ จำนวนผูกได้ 3,741 ผูก ต่อมาในสมัยวงศ์เว่ย (ยุคราชวงศ์เหนือใต้) มีชำระพระไตรปิฎกพากย์จีนครั้งหนึ่ง สมัยวงศ์เป่ยฉี (ยุคราชวงศ์เหนือใต้) มีการชำระอีกครั้ง ต่อมาในสมัยราชวงศ์สุยมีการชำระ 3 ครั้ง จวบจนถึงสมัยวงศ์ถัง พุทธศาสนารุ่งเรืองยิ่ง มีการชำระพระไตรปิฎกถึง 9 ครั้ง ดังนี้

1. แผ่นดินพระเจ้าถังไท่จง (太宗 ) ศักราชเจิ้งกวน (貞觀) ปีที่ 9 (พ.ศ. 1169) จำนวน 739 คัมภีร์ 2,712 ผูก

2. แผ่นดินพระเจ้าถังเกาจง (高宗 ) ศักราชเสี่ยนชิ่ง (顯慶) ปีที่ 4 (พ.ศ. 1202) จำนวน 800 คัมภีร์ 3,361 ผูก

3. แผ่นดินพระเจ้าถังเกาจง (高宗 ) ศักราชลิ่นเต๋อ (麟德) ปีที่ 1 (พ.ศ. 1207) จำนวน 816 คัมภีร์ 4,066 ผูก

4. แผ่นดินจักรพรรดินีบูเช็กเทียน (武则天) ศักราชว่านซุ่ย (萬歲) ปีที่ 1 (พ.ศ. 1238) จำนวน 860 คัมภีร์ 3,929 ผูก

5. แผ่นดินพระเจ้าถังเสวียนจง (玄宗) ศักราชไคหยวน (開元 ) ปีที่ 18 (พ.ศ. 1273) จำนวน 1,076 คัมภีร์ 5,048 ผูก

6. แผ่นดินพระเจ้าถังเต๋อจง (德宗) ศักราชซิ่งหยวน (興元) ปีที่ 1 (พ.ศ. 1327) จำนวน 1,147 คัมภีร์ 5,049 ผูก

7. แผ่นดินถังพระเจ้าถังเต๋อจง (德宗) ศักราชเจินหยวน (興元) ปีที่ 11 (พ.ศ. 1338) จำนวน 1,243 คัมภีร์ 5,393 ผูก

8. แผ่นดินพระเจ้าถังเต๋อจง (德宗) ศักราชเจินหยวน ปีที่ 15 (พ.ศ. 1,342) จำนวน 1,258 คัมภีร์ 5,390 ผูก

9. สมัยวงศ์ถังภาคใต้ (南唐) ศักราชเป่าต้า ปีที่ 3 (พ.ศ. 1488) จำนวน 1,214 คัมภีร์ 5,421 ผูก

 
วัชรเฉทิกะปรัชญาปารมิตาสูตร สิ่งพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก จากสมัยราชวงศ์ถัง
 
คัมภีร์ธารณี หนึ่งในสิ่งพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก สมัยราชวงศ์ชิลลา ของเกาหลี ร่วมสมัยราวงศ์ถัง

รวมการชำระรวบรวมพระไตรปิฎกฉบับเขียน 15 ครั้ง

พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์

สิ่งพิมพ์ชิ้นแรกของโลกคือ วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ที่ถูกค้นพบที่ถ้ำตุนหวง มณฑลกานซู ประเทศจีน เป็นพระสูตรที่พิมพ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง แต่แม้จะมีเทคโนโลยีการพิมพ์มาตั้งแต่ครั้งนั้น การพิมพ์พระไตรปิฎกจะเริ่มขึ้นในช่วงหลังจากนั้นมาก คือในสมัยราชวงศ์ซ่ง ซึ่งได้พัฒนากระบวนการพิมพ์ให้มีความก้าวหน้าขึ้น กล่าวคือมีการใช้ระบบเรียงพิมพ์ตัวอักษร แทนที่การแกะแม่พิมพ์ไม้ทั้งแผ่น ทั้งนี้ พระไตรปิฎกฉบับตัวพิมพ์ฉบับต่างๆ มีดังต่อไปนี้

1. พระไตรปิฎกฉบับไคเป่า (開寶藏) ในสมัยราชวงศ์ซ่ง พระเจ้าซ่งไท่จู่ (宋太祖) ฮ่องเต้ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ เมื่อศักราชไคเป่า (開寶) ปีที่ 4 (พ.ศ. 1514) มีพระราชโองการให้ขุนนางผู้ใหญ่ชื่อเตียช่งสิ่ง ไปชำระรวบรวมพิมพ์พระไตรปิฎกที่มณฑลเสฉวน พระไตรปิฎกฉบับนี้มาแล้วเสร็จเมื่อรัชสมัย พระเจ้าซ่งไท่จง (宋太宗) พ.ศ. 1526 กินเวลา 12 ปี เรียกว่า “พระไตรปิฎกฉบับไคเป่า” นับ เป็นปฐมพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดของโลกพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน พระไตรปิฎกฉบับไคเป่ามีคัมภีร์ 1,076 คัมภีร์ 5,048 ผูก แต่หายสาบสูญเสียมากกว่ามาก เหลือเพียงข้อความกระท่อนกระแท่นบางคัมภีร์เท่านั้น

2. พระไตรปิฎกฉบับชี่ตาน หรือคี่ตาน (契丹大藏經) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “เคอร์ตานจั๋ง”) พิมพ์โดยพระราชโองการกษัตริย์ราชวงศ์เหลียว ซึ่งเป็นชาวเผ่าเคอร์ตาน หรือ คี่ตาน นับเป็นเผ่าเตอร์กพวกหนึ่ง ปกครองดินแดนของมณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีน รวมถึงดินแดนทั้งหมดของประเทศมองโกเลียในปัจจุบันพระไตรปิฎกพิมพ์ ด้วยอักษรจีนเมื่อพุทธศตวรรษที่ 15 จำนวน 6,006 ผูก 1,373 คัมภีร์ บัดนี้ต้นฉบับสาบสูญกันหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม มีการสลักบางส่วนของพระไตรปิฎกลงในศิลา ประดิษฐาน ณ อารามอวิ๋นจู (云居寺)ในกรุงปักกิ่ง นอกจากนี้ บางส่วนยังหลงเหลืออยู่ในพระไตรปิฎกฉบับเกาหลี (Tripitaka Koreana) และนักวิชาการบางส่วน โดยเฉพาะชาวเกาหลี ยกย่องว่า ฉบับราชวงศ์เหลียว หรือคี่ตาน มีความครบถ้วนสมบูรณ์กว่าฉบับราชวงศ์ซ่ง

3. พระไตรปิฎกฉบับราชวงศ์จิน หรือฉบับจ้าวเฉิง ( 赵城金藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “กิมจั๋ง”) พิมพ์ครั้งราชวงศ์จิน เมื่อ พ.ศ. 1691-1716 ในรัชศกต้าติ้ง (大定) ของฮ่องเต้ จินซื่อจง (金世宗) ซึ่งราชวงศ์จิน สถาปนาโดยชนเผ่านฺวี่เจิน บรรพบุรุษของชนเผ่าแมนจู แต่ฉบับนี้ใช้อักษรจีนในการจารึก ยังมีคัมภีร์เหลืออยู่ ณ บัดนี้ 4,950 ผูก จากทั้งหมด 6,980 ผูก ซึ่งพิมพ์ขึ้นจากแม่พิมพ์ไม้แกะสลักจำนวนถึง 168,000 ชิ้น ทำที่วัดเทียนหนิง โดยศรัทธาของอุบาสิกานามว่าชุยฝ่าเจินร่วมกับอุบาสกอุบาสิกาในพื้นที่ ต่อมาต้นฉบับที่หลงเหลืออยู่ถูกค้นพบที่วัดกว่างเซิง (广胜寺) อำเภอจ้าวเฉิง มณฑลซานสี เมื่อปี 1933 ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันในชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่าฉบับจ้าวเฉิง ปัจจุบันเก็บรักษา ณ หอสมุดแห่งชาติกรุงปักกิ่ง และได้รับการพิมพ์เผยแพร่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2551

4. พระไตรปิฎกฉบับฉงหนิงว่านโซ่วต้าจั้ง (崇宁万寿大藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “ช่งหลิงบ้วนซิ่วจั๋ง”) สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าซ่งเสินจง (宋神宗) สมณะชงจิง วัดตงฉาน เมืองฝูโจว บอกบุญเรี่ยไรพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1623-1647 ฉบับนี้มีความพิเศษตรงที่ เป็นฉบับแรกที่ใช้การเข้าเล่มแบบพับเล่มคล้ายสมุดไทย ต่อมามีการพิมพ์เติมต่อมาอีกหลายหนสำหรับฉบับนี้ รวมจำนวน 6,434 ผูก 1,440 คัมภีร์ ปัจจุบันกระจัดกระจายหมด

5. พระไตรปิฎกฉบับผีหลู หรือฉบับไวโรจนะ (毘盧藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “พี่ลู้จั๋ง”) สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าซ่งฮุยจง (宋徽宗) สมณะปุงหงอ วัดไคหยวน (开元寺) เมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน บอกบุญเรี่ยไรพิมพ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1658-1693 มี 6,132 ผูก 1,451 คัมภีร์ ยังมีฉบับเหลืออยู่ที่ญี่ปุ่น ทั้งนี้ ด้วยความที่ฉบับฉงหนิง และฉบับพีหลู พิมพ์ขึ้นที่เมืองฟู่โจว ในเวลาไล่เลี่ยกัน และมีความคล้ายคลึงกัน จึงมักเรียกรวมกันว่าฉบับฝูโจว

6. พระไตรปิฎกฉบับซือชีหยวนเจวี๋ย (思溪圆觉藏) หรือฉบับเฉียนซือชี - ซีชียุคก่อน (前思溪藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “ซือเคยอิ้กั๋กจั๋ง”) สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าซ่งกาวจง (宋高宗) โดยพุทธบริษัทชาวหูโจว มณฑลเจ้อเจียง พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 1675 มีจำนวน 1,451 คัมภีร์ 5,480 ผูก ยังมีฉบับสมบูรณ์อยู่ที่ญี่ปุ่น

7. พระไตรปิฎกฉบับจือฝู (資福) หรือฉบับโห้วซือชี - ซีชียุคหลัง (后思溪藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “ซือเคยจือฮกจั๋ง”) พิมพ์ที่เมืองหูโจว ในปีพ.ศ. 1718 จำนวนทั้งหมด 5940 ผูกรวม 145 คัมภีร์ ปัจจุบันคงเหลือบางส่วนเท่านั้น

8. พระไตรปิฎกฉบับฉีซา (碛砂藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “จีซาจั๋ง”) พิมพ์ราว พ.ศ. 1774 มี 1,535 คัมภีร์ 6,362 ผูก พิมพ์ที่เมืองซูโจว สร้างขึ้นในสมัยราวงศ์ซ่งแต่แล้วเสร็จในสมัยราชวงศ์หยวน โดยความช่วยเหลือของพระภิกษุนิกายวัชรยาน จากอาณาจักรซีเซี่ย เป็นฉบับที่มีความพิเศษตรงที่มีการแทรกภาพประกอบไว้ด้วย ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 30 มีการค้นพบฉบับนี้ที่วัดไคหยวน (开元寺) ในฝูโจว และวัดหว่อหลง (卧龙寺) ในนครซีอาน เป็นจุดเริ่มต้นทำให้นักวิชาการตื่นเต้น และหันมาสนใจค้าหาพระไตรปิฎกฉบับจีนโบราณกันมากขึ้นนับแต่นั้น

9. พระไตรปิฎกฉบับผูหนิง (普宁藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “โพหลิงจั๋ง”) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1821 สมณะต้าวอัน วัดผูหนิง มณฑลเจ้อเจียง สมัยวงศ์หยวนบอกบุญเรี่ยไรพิมพ์ขึ้น เป็นผลงานของผู้ศรัทธาในนิกายเมฆขาว (白云宗) ซึ่งเป็นพุทธศาสนาในระดับชาวบ้านแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง ฉบับนี้มี 1,594 คัมภีร์ 6,327 ผูก ยังเหลือบริบูรณ์ที่ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาการสร้างฉบับต่อขยายในพ.ศ. 1849 มีการเพิ่มเติมคัมภีร์ของนิกายวัชรยานเข้ามาก

10. พระไตรปิฎกฉบับหงฝ่า (弘法藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “ห่งหวบจั๋ง”) เป็นพระไตรปิฎกภาษาจีนอย่างเป็นทางการฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวน ครั้งแผ่นดินพระเจ้าหยวนซื่อจู่ฮ่องเต้ (元世祖) หรือ กุบไลข่าน ศักราชจื้อหยวน (至元) ปีที่ 14 (พ.ศ. 1820) มีพระราชโองการให้ชำระพิมพ์ขึ้น ถึง พ.ศ. 1837 จึงแล้วเสร็จ มี 1,654 คัมภีร์ 7,182 ผูก ฉบับนี้เคยคิดกันว่าหายสาบสูญไปจนแล้ว จนกระทั่งมีการค้นพบในกรุงปักกิ่ง เมื่อปลายศตวรรษที่ 20

11. พระไตรปิฎกฉบับหยวนกวน (元官藏 ) หรือฉบับทางการราชวงศ์หยวน พิมพ์ที่มณฑลอวิ๋นหนาน ระหว่างพ.ศ. 1873 – 1879 จำนวน 6,500 ผูก พบที่กรุงปักกิ่ง ปลายศตวรรษที่ 20

12. พระไตรปิฎกฉบับหงอู่หนานฉัง (洪武南藏) หรือฉบับทักษิณยุคแรก (初刻南藏) เป็นฉบับแรกที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าหมิงไท่จู่ (明太祖) ทรงมีพระราชโองการให้ชำระพิมพ์ขึ้นที่ระหว่างพ.ศ. 1915 – 1942 ที่นครหนานจิง มีจำนวน 7,000 ผูก 1,600 คัมภีร์ ต่อมาฉบับจำลองถูกค้นพบที่มณฑลเสฉวน ใน พ.ศ. 2477

13. พระไตรปิฎกฉบับหย่งเล่อหนานฉัง (永乐南藏) หรือ หนานจั้ง (南藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “น่ำจั๋ง”) สร้างขึ้นครั้งแผ่นดินพระเจ้าหมิงเฉิงจู่ฮ่องเต้ (明成祖) ระหว่างพ.ศ. 1955 – 1960 มีจำนวน 6,942 ผูก 1,610 คัมภีร์

14. พระไตรปิฎกฉบับหย่งเล่อเป่ยจั้ง (永乐北藏) หรือเป่ยจั้ง (北藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “ปักจั๋ง”) แผ่นดินพระเจ้าหมิงเฉิงจู่ฮ่องเต้ (明成祖) ศักราชหย่งเล่อ ปีที่ 8 (พ.ศ. 1953) มีพระราชโองการให้ชำระพิมพ์ขึ้นที่นครปักกิ่ง มาแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 1984 มี 6,924 ผูก 1662 คัมภีร์ ยังอยู่บริบูรณ์ดี

15. พระไตรปิฎกฉบับอู่หลิน (武林藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “บูลิ้มจั๋ง”) พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2065-2109 ฉบับนี้มิได้ร่องรอยที่ละเอียด ทราบแต่เพียงว่าพิมพ์ที่เมืองหังโจว และค้นพบบางส่วนในปีพ.ศ. 2525

16. พระไตรปิฎกฉบับว่านหลี่ (万历藏) สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าหมิงเสิ่นจง (明神宗) พิมพ์ที่นครหนานจิง ระหว่างพ.ศ. 2132 – 2200 จำนวน 6,234 ผูก 1,659 คัมภีร์ ถูกค้นพบที่มณฑลซานซีในปีพ.ศ. 2526

17. พระไตรปิฎกฉบับเจียซิง (嘉兴藏) หรือฉบับจิ้งซาน (径山藏) สร้างขึ้นระหว่างพ.ศ. 2132 2219 คาบเกี่ยวระหว่างราชวงศ์หมิงกับราชวงศ์ชิง มีจำนวน 12,600 ผูก 2,090 คัมภีร์ เป็นฉบับแรกที่มีการเข้าเล่มแบบเย็บเล่ม และมีการแบ่งบรรพคัมภีร์เบ็ดเตล็ดเป็นครั้งแรกอีกด้วย

18. พระไตรปิฎกฉบับชิงจั้ง (清藏) หรือฉบับชิงหลง – ฉบับหลวงราชวงศ์ชิง (清龙藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับเล่งจั๋ง) แผ่นดินพระเจ้าชิงซื่อจง (清世宗) หรือรัชสมัยยงเจิ้ง (雍正) ปีที่ 13 (พ.ศ. 2178) มีพระราชโองการให้ชำระพิมพ์ที่กรุงปักกิ่ง มาแล้วบริบูรณ์ในแผ่นดินพระเจ้าเฉียนหลง ปีที่ 3 (พ.ศ. 2281) จึงเรียกกันในอีกชื่อว่า เฉียนหลงป่านต้าฉังจิง (乾隆版大藏经) มีจำนวน 7,168 ผูก 1,669 คัมภีร์ สร้างจากแม่พิมพ์ไม้จำนวนทั้งสิ้น 79,036 ชิ้น ปัจจุบันอยู่ที่กรุงปักกิ่ง นับเป็นพระไตรปิฎกภาษาจีนฉบับสุดท้ายที่ได้รับการอุปถัมภ์การจัดสร้างโดยราชสำนัก

 
สุวรณประภาโสตตมะราชสูตร ฉบับตัวเขียนภาษาทังกุต
 
ตัวอย่างพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์สมัยราชวงศ์ซ่ง

การพิมพ์พระไตรปิฎกยุคปัจจุบัน

ในช่วงปลายราชวงศ์ชิงจนถึงยุคสาธารณรัฐจีน ยังคงมีการจัดสร้างพระไตรปิฎกอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนักอีกต่อไปก็ตาม นอกจากนี้การจัดสร้างยังประสบอุปสรรคมากมาย เนื่องจากจีนตกอยู่ในความมุ่นวายของสงครามและปัญหาการเมืองยืดเยื้อนานเกือบครึ่งศตวรรษ ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง จนถึงยุคสาธารณรัฐ มีการจัดสร้างครั้งสำคัญๆ อาทิ พระไตรปิฎกฉบับไป่หนา (百衲藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “แปะนั่มจั๋ง”) สร้างขึ้นครั้งแผ่นดินพระเจ้าถงจื่อ (同治) ปีที่ 5 (พ.ศ. 2409) โดยนายยินซัน อุบาสกคนสำคัญในสมัยนั้นบอกบุญเรี่ยไรชำระพิมพ์ขึ้นที่หนานจิง ฉบับนี้ยังไม่สมบูรณ์

ต่อมามีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับผินเจีย (频伽藏) (เสถียร โพธินันทะเรียกฉบับ “พิงแคจั๋ง”) ในปีที่ 1 แห่งแผ่นดินพระเจ้าเสวียนถง (宣統) จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง หรือพ.ศ. 2452 โดยพุทธบริษัทชาวเมืองเซี่ยงไฮ้จัดพิมพ์ขึ้นมาแล้วเสร็จเมื่อศักราชสาธารณรัฐ หรือปีหมินกั๋วที่ 2 (พ.ศ. 2457) มีจำนวน 1,916 คัมภีร์ 8,416 ผูก ต่อมายังมีพระไตรปิฎกฉบับซกจั๋ง สร้างขึ้นในศักราชหมินกั๋วปีที่ 11 หรือพ.ศ. 2465 โดยสำนักพิมพ์ชางวู เมืองเซี่ยงไฮ้ จัดพิมพ์ มีจำนวน 1,757 คัมภีร์ 7,148 ผูก

ต่อมาในปีพ.ศ. 2486 มีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับผู่ฮุ่ย (普慧藏) ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ แต่ผู้รวบรวมไม่อาจสร้างจนสำเร็จได้ หลังจากนั้น การสร้างพระไตรปิฏกในจีนขาดช่วงไป

ระหว่างที่จีนกำลังเผชิญกับความวุ่นวายอยู่นั้น ในญี่ปุ่นได้มีการรวบรวมพระธรรมวินัยครั้งใหญ่รวมเอาทั้งคัมภีร์ของฉบับจีน ของเกาหลี และปกรณ์ต่างๆ ที่รจนาขึ้นโดยชาวพุทธในญี่ปุ่น เรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ว่า “ไทโช ชินชู ไดโซเคียว” (大正新脩大藏經) หรือ “ไทโช” เพราะสร้างขึ้นในรัชสมัยของจักพรรดิไทโช ในโครงการที่มีขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2467 - 2477 โดยนักวิชาการชาวญี่ปุ่นชื่อ ทะคะคุสุ จุนจิโร เป็นบรรณาธิการ ปัจจุบันได้มีการเผยแพร่ทั้งฉบับผ่านระบบดิจิทัล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ต่อมายังมีพระไตรปิฎกฉบับโซคุเคียว (卍續藏) เป็นฉบับเอกเทศ แต่มักยกให้เป็นฉบับผนวกต่อจากฉบับไทโช ต่อมาในปีค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) ที่ไต้หวัน ยังมีการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับต้าฉังจิงปู่เปียน (大藏經補編) หรือฉบับต่อยอด เป็นส่วนขยายสำหรับฉบับอื่นๆ ในอดีตเช่นกัน

นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่พระไตรปิฎกฉบับแปดหมื่นพระคัมภีร์ (八萬大藏經) หรือฉบับเกาหลี (高麗大藏經) หรือที่เรียกกันว่า Tripitaka Koreana ที่สืบทอดมาจากฉบับไคเป่า และฉบับคี่ตาน สมัยราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์เหลียว ตัวประไตรปิฎกฉบับนี้ เป็นแม่พิมพ์ไม้แกะสลักสร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 13 จำนวน 81,258 แผ่น เก็บรักษาไว้ที่วัดแฮอินซา (해인사 หรือ 海印寺) มีจำนวน 6,568 ผูก 1,496 คัมภีร์ ปัจจุบันมีการจัดพิมพ์ทั้งแบบหนังสือและแบบดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ การพิมพ์พระไตรปิฎกในจีนแผ่นดินใหญ่เฟื่องฟูอีกครั้ง ภายหลังรัฐบาลผ่อนปรนและให้เสรีภาพทางศาสนามากขึ้น เริ่มต้นระหว่างทศวรรษที่ 80 - 90 เป็นต้นมา ได้มีการตีพิมพ์พระไตรปิฏกจีนที่มีการรวบรวมคัมภีร์ตกหล่น และคัมภีร์ที่ค้นพบใหม่มากขึ้น รวมถึงการถ่ายเอกสารจากฉบับโบราณ และรวมเอาคัมถีร์ที่พบใหม่ที่ถ้ำตุนหวง เพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์ หนึ่งในนั้นคือพระไตรปิฏกฉบับเอกสารโบราณจีน (中華大藏經–漢文部份) หรือ The Chinese Manuscripts in the Tripitaka Sinica พิมพ์โดยสำนักพิมพ์จงหัว ในกรุงปักกิ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2526 - 2540 มีขนาดทั้งสิ้น 107 เล่ม นับเป็นฉบับที่ครบถ้วนบริบูรณ์ที่สุดฉบับหนึ่ง แต่ในอนาคตยังจะมีการปรับปรุงฉบับโครงการ Tripitaka Sinica ต่อไปอีก เพื่อความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 
ตัวอย่างพระไตรปิฎกฉบับเกาหลี

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

รายชื่อพระสูตรในพระไตรปิฎกภาษาจีน (ฉบับเกาหลี)

ข้อมูลเพิ่มเติม

มหาสางฆิกะ ปราติโมกษ์

อวตังสกสูตร (คำอ่านภาษาจีน)

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (ฉบับย่อ)

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (ภาษาญี่ปุ่น)

อ้างอิง

  1. เสถียร โพธินันทะ. ประวัติพระไตรปิฎกฉบับจีนพากย์
  2. เสถียร โพธินันทะ. ประวัติพระไตรปิฎกฉบับจีนพากย์
  3. เสถียร โพธินันทะ. ประวัติพระไตรปิฎกฉบับจีนพากย์
  4. 国图藏西夏文文献的价值
  5. 怀念北图馆长北大教授王重民先生
  6. เสถียร โพธินันทะ. ประวัติพระไตรปิฎกฉบับจีนพากย์
  7. เสถียร โพธินันทะ. ประวัติพระไตรปิฎกฉบับจีนพากย์
  8. เสถียร โพธินันทะ. ประวัติพระไตรปิฎกฉบับจีนพากย์
  9. เสถียร โพธินันทะ. ประวัติพระไตรปิฎกฉบับจีนพากย์
  10. 房山云居寺石刻佛教大藏
  11. The Zhaocheng Jin Tripitaka
  12. Two Rare Buddhist Books in the End of the Ming Dynasty
  13. 宋雕崇寧藏毗盧藏殘卷考
  14. 漢文大藏經刊刻源流表
  15. Tripitaka (大藏經)
  16. 浅谈当代汉文大藏经整理传译之方向
  17. 漢文大藏經刊刻源流表
  18. 漢文大藏經刊刻源流表
  19. 漢文大藏經刊刻源流表
  20. 漢文大藏經刊刻源流表
  21. 漢文大藏經刊刻源流表
  22. 漢文大藏經刊刻源流表
  23. 漢文大藏經刊刻源流表
  24. 漢文大藏經刊刻源流表
  25. The Economics of the Jiaxing Edition of the Buddhist Tripitaka
  26. Tripitaka Script of Qing Dynasty’s Imperial Edition
  27. 中华大藏经
  28. 中华大藏经
  29. Haeinsa
  30. 中华大藏经

บรรณานุกรม

พระไตรป, ฎกภาษาจ, 大藏經, dàzàngjīng, าจ, งจ, เป, นพระไตรป, ฎกท, รวบรวมเอาค, มภ, งของท, งสามน, กายค, ายน, กายห, นยานเร, ยกส, วนน, าอาคม, มภ, ของฝ, ายมหายาน, และ, บางส, วนของว, ชรยาน, พระไตรป, ฏกน, ใช, เหม, อนก, นท, กประเทศในภ, ภาคเอเช, ยตะว, นออก, เพ, ยงแต, สำเน,. phraitrpidkphasacin cin 大藏經 Dazangjing tacngcing epnphraitrpidkthirwbrwmexakhmphirthngkhxngthngsamnikaykhux 1 faynikayhinyaneriykswnniwaxakhm 2 khmphirkhxngfaymhayan aela 3 bangswnkhxngwchryan phraitrpitkniichehmuxnknthukpraethsinphumiphakhexechiytawnxxk ephiyngaetmisaeniyngtangkn eriykinsaeniyngyipunwa idosekhiyw insaeniyngekahlieriykwa aethcngkhyxng aelainsaeniyngewiydnameriykwa idtngking nbtngaetphuththsasnaephyaephekhamathungaephndincininsmyrachwngshn idmikaraeplphrathrrmwinyknaelw odykaraeplphrathrrmwinykhrngaerk epnphlngankhxngphraxnsuxkaw 安世高 phraphiksuchawpharethiy aelatxmaimnannkidrbkarephyaephrinwngkwangodyphraolkaeksm 支婁迦讖 phraphiksuchawkusana phraolkaeksm xyangirktam kwacamikaraeplphrathrrmwinykhrngmohlar aelamirwbrwmepnphraitrpidkphakycinxyangetmrupaebbnn klwngmathungsmyrachwngsehnuxit hruxrawswrrsthi 4 5 phuththstwrrsthi 9 11 ph s 844 1043 odykhnacaryyukhediywkbthankumarchiph 鸠摩罗什 odyinchntnepnkarrwbrwmechphaaphrasutr epnphrasutntpidkethannkarrwbphraitrpidkcinxyangepnrabbkhrngaerk epnphlngankhxngphratawxn 道安 inpikh s 374 ph s 917 odythanidkhcdthabychiraychuxkhmphirthangphuththsasnathiidrbkarxyechiymayngaephndincinepnkhrngaerk aelaepnaenwthangihkbkarrwbrwmepnphraitrpidkphakycinchbbsmburninewlatxmainsmyrachwngsthng 1 enuxha 1 enuxha 1 1 hmwdphrawinypidk 律藏 1 2 hmwdphrasuttntpidk 經藏 1 3 hmwdphraxphithrrmpidk 論藏 1 4 hmwdxwtngska 華嚴部 1 5 hmwdiwpulya 1 6 hmwdprchya 般若部 1 7 hmwdsththrrmpunthrik 法華部 1 8 hmwdprinirwan 涅槃部 1 9 phrawinylththimhayan 1 10 pkrnwiesskhxngkhnthrcnacaryxinediy 1 11 pkrnwiesskhxngkhnthrcnacarycin 2 phasathiich 3 krabwnkaraepl 4 phraitrpidkphasacinchbbtang 4 1 phraitrpidkchbbekhiyn 4 2 phraitrpidkchbbphimph 4 3 karphimphphraitrpidkyukhpccubn 4 4 khxmulthiekiywkhxng 4 5 khxmulephimetim 5 xangxing 6 brrnanukrmenuxha aekikhphraitrpitkcin brrcuenuxhamakmaymhasal ephraarwbrwmexaphrathrrmwinykhxngnikayethrwath aelanikaytang khxngphuththsasnayukhtnexaiwdwy odyeriykwa xakhm hruxthiinphraitrpidkbalieriykwa nikay echn thirkhakhm khux thikhnikay epntn nxkcakni yngmifayxphithrrmkhxngnikaytang phrasutrcaephaakhxngfaymhayan khxekhiyn hruxsastrtang thircnaodykhnacaryfaymhayan rwmthungpkrnphngsawdar prawtisastrphuththsasnatngaetyukhtnthixinediy cnthungyukhtnincin nxkcakni yngmikhmphiraelatharnikhxngfaymntrayanechnkncakkarsuksakhxngesthiyr ophthinntha idaebnghmwdhmukhxngphraitrpidkphasacin dngtxipni hmwdphrawinypidk 律藏 aekikh 1 thsphanwarsrwastiwathwiny 60 phuk phrawinypidkkhxngnikaysrwastiwathin aeplsuphasacinodyphrapunyatra phrakumarchiph phrathrrmruci phrawimlrks rwm 4 rup emux ph s 947 950 txmasmnaxicingidaeplwinypkrnkhxngnikaynixik 15 pkrn sung swnmakepneruxngplikyxy wadwyeruxngxupsmbthkrrm karcaphrrsa ephschchaaelaeruxngsngkhephthepntn2 cturxthyaythrrmkhuptwiny 60 phuk phrawinypidkkhxngnikaythrrmkhuptaeplsu phasacin odyphraphuththys emux ph s 9533 mhasngkhikwiny 30 phuk phrawinypidkkhxngnikaymhasngkhika aeplsuphasacinody phraphuththphthrkbsmnafaesiyn emux ph s 963 9654 pycxthyaymhisaskwiny 30 phuk phrawinypidkkhxngnikaymhisaska aeplsuphasacin ody phraphuththchiwa kb smnatawesing emux ph s 9665 smntpasathikawinyxrrthktha 18 phuk epnxrrthktha phrawinypidknikayethrwath aeplsuphasacinodyphrasngkhphthremux ph s 1032 aetepnchbbyximmiphisdar echn tnchbbbali6 patiomkkhsilsutrkhxngnikaykasypiya epnephiynghnngsuxsn miichphrawinypidkthnghmd hmwdphrasuttntpidk 經藏 aekikh 1 exokttrakhm 51 phuk khux xngkhuttrnikaykhxngnikaysrwastiwathin aeplsuphasacinodyphrathrrmnnthiemux ph s 9272 mthyamakhm 60 phuk mchchimnikay khxngnikaysrwastiwathin aeplsuphasacinodyphrasngkhrkskbphrasngkhethwaemux ph s 9413 thirkhakhm 22 phuk thikhnikaykhxngnikaythrrmkhupt aeplsuphasacin odyphraphuththysemux ph s 9564 sngyuktakhm 50 phuk sngyuttnikaykhxngnikaymhisaska aeplsuphasacin odyphrakhunphthremux ph s 986 hmwdphraxphithrrmpidk 論藏 aekikh swnpraephthphraxphithrrmpidk aelakhmphirpraephthsastrhruxpkrnwiesskhxngnikaytang kmimak echn xphithrrmsngkhitibrryaypathsastr 20 phuk xphithrrmsknthpathsastr 12 phuk xphithrrmwichyankaypathsastr 16 phuk xphithrrmpkrnapathsastr 18 phuk xphithrrmmhawiphasasastr 200 phuk xphithrrmnyaynusarsastr 80 phuk xphithrrmpkrnsasnsastr 40 phuk xphithrrmhvthysastr 4 phuk sngyuktaphithrrmhvthy sastr 11 phuk pkrnehlaniepnkhxngnikaysrwastiwathin xphithrrmokssastr 20 phuk khmphirnirakhndwylththiinnikaysrwastiwathin kbnikayesatrntikwathin sariputraphithrrm 30 phuk khxngnikaywiphchwathin xphithrrmstysiththiwykrnsastr 16 phuk khxngnikaymhasngkhikahruxnikayesatrntik hruxnikayphhusutwathyngimaennxn cturariysccpkrn 4 phuk aelakhmphirwimuttimrrkh 12 phuk khunwiphngkhnithethssastr 3 phuk khxngnikaymhasngkhika smmitiyasastr 2 phuk khxngnikaysmmitiya lnxkcakni inhnngsuxpramwlsartthaphraitrpidk aetngkhrngrachwngshywn rawphuththstwrrsthi 18 idbxkcanwnkhmphirinphraitrpidkcinphakyiwdngni1 phrasutrfaymhayan 897 khmphir 2 980 phuk2 phrawinyfaymhayan 28 khmphir 56 phuk3 sastrfaymhayan 118 khmphir 628 phuk4 phrasutrfaysawkyan 291 khmphir 710 phuk5 phrawinyfaysawkyan 69 khmphir 504 phuk6 sastrfaysawkyan 38 khmphir 708 phukrwmthngsinepn 1 441 khmphir 5 586 phuk 2 xyangirktam canwnkhmphirinphraitrpidkcinphakyni mikarcharaknhlaykhrnghlaykhraw canwnkhmphirkbcanwnphukepliynaeplngimesmxknthukkhraw inhnngsuxwadwysartthakhwamrucakkarsuksaphraitrpidkaetngkhrngrachwngshming idaebnghmwdphraitrpidk ephuxsadwkaekkarsuksadngni hmwdxwtngska 華嚴部 aekikh hmwdnimiphrasutrihmsutrhnungepnhwickhux phuththawtngskmhaiwpulysutr hrux xwtngsksutr 80 phuk aelamisutrpkinnayxy xikhlaysutr hmwdiwpulya aekikh miphrasutrihychuxmhartnkutsutr 120 phuk epnhwic nxknnkmimhasngkhitisutr 10 phuk mhayanophthistwpidksutr 20 phuk tthakhtxcinityrhsymhayansutr 30 phuk suwrrnpraphassutr 10 phuk krunapunthriksutr 11 phuk mhayanmhasngkhitiksitikhrrphthsckrsutr 10 phuk mhaiwpulymhasngkhitiophthistwphuththanusstismathisutr 10 phuk cnthrprathipsmathisutr 11 phuk lngkawtarsutr 7 phuk snthiniromcnsutr 5 phuk wiesscindaphrhmpucchasutr 4 phuk xkosphyphuththekstrsutr 2 phuk iphschykhuruiwthurypraphaspurwpranithansutr 2 phuk moypmsmathisutr 3 phuk srimalaethwisinghnathsutr 1 phuk xmitayurthyansutr 1 phuk mhasukhawdiwyuhsutr 2 phuk xcinitypraphasophthistwnithethsutr 1 phuk surangkhmsmathisutr 3 phuk wimlkirtinithethssutr 3 phuk aelaxun xikmaksutrnk l xnungkhmphirfaylththimntryankcdsngekhraahlnginhmwdiwpulyani miphrasutrsakhy echn mhaiworcnsutr 7 phuk exkxkkhraphuththxusrachasutr 6 phuk mhamniwipulyawiman wiswsuphpradisthankhuhyprmrhsyaklprachtharnisutr 3 phuk susiththikrsutr 3 phuk wchr eskhrsutr 7 phuk oykhmhatntrarachasutr 5 phuk mhamriciophthistwsutr 7 phuk wchreskhrapraoykhohmtntra 1 phuk mhasuwrrnmyurirachatharnisutr 2 phuk l hmwdprchya 般若部 aekikh miphrasutrihy chuxmhaprchyaparmitasutr 600 phuk epnhwic aelamisutrpkinna echn rachimtriolkpalparmitasutr 2 phuk wchrprchyaparmitasutr 1 phuk epnxathi l hmwdsththrrmpunthrik 法華部 aekikh miphrasutrihychuxsththrrmpunthriksutr 8 phuk epnhwic aelamisutrpkinna echn xniwrrtthrrmckrsutr 4 phuk wchrsmathisutr 2 phuk mhathrrmephrisutr 2 phuk smntphthrophthistwcriythrrmthyansutr 1 phuk epnxathi l hmwdprinirwan 涅槃部 aekikh miphrasutrihy chuxmhaprinirwansutr 40 phuk epnhwic misutrpkinna echn mhakrunasutr 5 phuk mhamayasutr 2 phuk mhaemkhsutr 4 phuk xntrphawsutr 2 phuk epnxathi l phrawinylththimhayan aekikh lththimhayanmiidmiphikkhupatiomkkhepnexkeths khngptibtiwinybyytitamphrapatiomkkhkhxngfaysawkyan thiaetktangcakfayethrwath khux ophthistwsikkha ephraalththimhayansxnihmungphuththiphumi bukhkhlcungtxngpraphvtiophthicriya misilophthistwepnthixasy winyophthistwnisatharnathwipaemaekkhrawaschndwy miophthistwkuslsilsutr 9 phuk phuththpitksutr 4 phuk phrhmchalsutr tangchbbkbbali 2 phuk ophthistwsilmulsutr 1 phuk aelaxun xik phungsngektwaeriykkhmphirehlaniwa sutr miidcdepnpidkhnungtanghak xrrthkthaphrasutrkhxngkhnthrcnacaryxinediymi 33 pkrn echn mhaprchyaparmitasastr 100 phuk aekkhmphirmhaprchyaparmitasutr thsphumiwiphasasastr 15 phuk sththrrmpunthriksutrxupeths 2 phukepnxathi xrrthkthaphrasutrkhxngkhnthrcnacarycinmi 38 pkrn echn xrrthkthaphuththawtngskmhaiphbulysutr 60 phuk aelapkrn praephthediywknxik 5 khmphir nxknnmixrrthkthalngkawtarsutr 8 phuk xrrthkthawiml kirtinithethssutr 10 phuk xrrthkthasuwrrnpraphassutr 6 phuk xrrthkthasththrrm punthriksutr 20 phuk xrrthkthamhaprinirwansutr 33 phuk epnxathi l pkrnwiesskhxngkhnthrcnacaryxinediy aekikh mi 104 pkrn echn oykhacarphumisastr 100 phuk pkrnarywacasastrkarika 20 phuk mhayanxphithrrmsngyuktsngkhikhisastr 16 phuk mhayansmprikhrhsastr 3 phuk mthyantwiphngkhsastr 2 phuk ehtuwithyasastr 1 phuk mhaysnsrthothtpathsastr 2 phuk mathymiksastr 2 phuk stsastr 2 phuk mhayanwtarsastr 2 phuk mhayan ophthistwsuksasngkhitisastr 11 phuk mhayansutralngkar 15 phuk chatkmala 10 phuk mhapurussastr 2 phuk sngyuktxwthan 2 phuk thwathsthwarsastr 1 phuk nxknnkepnpkrnsn echn wichyanmatratrithssastr wistikwichyanmatrasastr xlmphnprikssastr xupayhvthysastr htththarsastr wichyanprawtrsastr wichyannithethssastr mhayanpycsknthsastr epnxathi l pkrnwiesskhxngkhnthrcnacarycin aekikh mi 14 pkrnepnkhmphirpraephthdikaaekpkrnwiessrcna odykhnthrcnacary xinediymi 11 pkrn rcnaodykhnthrcnacarycinmi 18 pkrn khmphirpkinkkhdithixthibayhlkthrrmbangthiepnprawtibang khxngkhnthrcnacaryxinediyrwbrwmiwkdi rcnakhunihmkdi mithngkhxnglththixun dwy rwm 50 pkrn xathiechn phuththcrit 5 phuk llitwistra 20 phuk nakhesnphiksusutr milinthpyha 3 phuk xoskxwthan 5 phuk suwrrnspttisastrkhxnglththisangkhya 3 phuk aelaiwessikptharthsastrkhxnglththiiwessik 3 phuk epntn swnpkrnpkinnkhdipraephthtang khxngnikaymhayaninpraethscin rwmthngpraephthprawti sastr aelacdhmayehtuthircnarwbrwmiw odykhnthrcnacarycinmipraman 186 pkrn pkrnehlanimithngchnidyawhlaysibphuk aelachnidsnephiyngimkihnakradas 3 phasathiich aekikhphasathiichinphraitrpidkphakycin swnihyichphasacinobran 古文 sungepnphasathiichknrahwangplayyukhrnrth hruxyukhchunchiw 春秋时代 rahwangstwrrsthi 4 kxnkhristkal ph s 144 243 cnthungsmyrawngshn 汉朝 hruxinchwngstwrrsthi 3 kxnkhristkal ph s 244 343 phasacinobranichinwngwrrnkhdimacnthungyukhkxnepliynaeplngkarpkkhrxngchwngtnstwrrsthi 20 praman ph s 2444 phasaobrannimikhwamaetktangcakphasacinyukhpccubnkhxnkhangmak thngindansaeniyngkarxxkesiyng aelaiwyakrn caepntxngxasykarsuksaechphaadan aelakhumuxexkeths cungcasamarthekhaicidthngni yngmikhxykewn khuxphraitrpidkchbbsiesiy hrux Mi Tripitaka 蕃大藏經 thiidrbkarsuksaaelaephyaephrodynay exrik krinsetd Eric Grinstead phuthitiphimphchbbnithikrungniwedli praethsxinediy emuxpi 1971 ph s 2514 inchux phraitrpitkchbbthngkut The Tangut Tripitaka thngni thngkut Tangut epnchnchatiechuxsaythiebt phma xasyxyuthangtawntkechiyngehnuxkhxngcin rahwangpikh s 1038 1227 ph s 1581 1770 chnchatiniidsthapnarachwngssiesiy 西夏 hruxxanackripekataesiykw 白高大夏國 khabekiywkbrachwngssng aelarachwngsehliyw thng 3 xanackrni aemsthapnaodykhntangechuxchatikn aetkbenuxngepnhnunginrachwngsthangkartamprawtisastrcinobran xikthng thng 3 rachwngsyngxupthmphsasnaphuththxyangyingywdimaephkn phidknephiyngaetwa chawsngaelachawehliyw ichphasaaelaxksrcininkarcarukphraitrpidk khnathichawsiesiyichphasakhxngtnexnginkarcaruk 4 nxkcakni yngmikarkhnphbphraitrpidkthiichphasathxngthininaewnaekhwnthangtawntkkhxngaephndincin hruxaephndinsiyu 西域 pccubnxyuinaethbekhtpkkhrxngtnexngphiesssineciyng aetedimnnaewnaekhwnehlanimiphasaaelawthnthrrmkhxngtnexng inchwngkxnstwrrsthi 8 nn phuththsasnaefuxngfumak cungmkichphasatnexnginkarbnthukphrathrrm inewlatxmaaewnaekhwntawntkrbsasnaxislam phrakhmphirtang cungsabsuyipmak aetinchwngstwrrsthi 20 mikarkhnphbphraitrpitkphasakhxngchawsiyu thithatunhwng eriykkhanknxyangimepnthangkarwa phraitrpidktunhwng 5 swnphraitrpidkphakycin chbbithoch 大正新脩大藏經 thirwbrwmkhunthiyipun yngmikarrwmexakhxekhiyninphasayipunobranekiywkbphuththsasnaexaiwdwykrabwnkaraepl aekikhesthiyr ophthinntha phuechiywchaydanphuththsasna idaebngrayakalaeplkhmphirxyangkwang id 4 smy khux1 smyrachwngshnyukhhlngthungtnrachwngsthng ph s 610 1273 inrayaewla 663 pi ni mithrrmthutthanganaeplrwm 176 than phlitkhmphir 968 khmphir 4 507 phuk2 smyklangrachwngsthng thungrachwngsthngtxnplay ph s 1273 1332 mithrrmthut thanganaepl 8 than3 smyplayrachwngsthng thungtnrachwngssng ph s 1332 1580 mithrrmthutthangan aepl 6 than4 smyrachwngssng thungrachwngshywn ph s 1580 1828 mithrrmthutthanganaepl 4 thanincanwnthrrmthut 4 smy 194 thanni phumiekiyrtikhunednmiraynamtxipni xnsuxkaw thrrmkala thrrmnnthi xphya thrrmrkssirimitr sngkhethwa kumarchiph punyatra phuththys phuththchiwa phuththphthr sngkhphthr khunphthr ophthiruci prmttha kalys thrrmmitr phuththkhupta sngkhpala faesiyn eswiyncng ethphhar suksanntha xicing wchrophthi suphkrsingha xomkhwchra prchya thrrmethwa sntiethwa thanpala epntn inbrrdathanehlani miphiessxyu 5 thanthiidrbykyxngwaepn nkaeplkhmphirxnyingihy khux1 phrakumarchiph 鸠摩罗什 eluxdxinediyphsmkhuca 龟兹 mapraethscinemuxtnphuththstwrrsthi 9 aeplkhmphir 74 pkrn 384 phuk2 phraprmartha 真諦 chawxinediyaekhwnxuchechni mapraethscinemuxtnphuththstwrrsthi 10 aeplkhmphir 64 pkrn 278 phuk3 phrasmnaeswiyncng 玄奘 chawmnthlehxhnan carikipxinediysuksa phrathrrmwinyemux ph s 1172 klbpraethscinemux ph s 1188 aeplkhmphir 74 pkrn 1330 phuk hrux 1325 hrux 1335 phukimaen 4 phrasmnaxicing 义净 chawemuxngfnhyang carikipxinediysuksaphrathrrmwiny emux ph s 1214 klbpraethscin emux ph s 1237 aeplkhmphir 56 pkrn 230 phuk5 phraxomkhwchra 不空 echuxsayxinediyehnux aeplkhmphiremux ph s 1289 1314 canwn 77 pkrn 101 phuk 6 phraeswiyncng hruxphrathngsmcng nganthaythxdphrathrrmwinydngphrrnnaniidrbphrabrmrachupthmphcakphramhakstriycungsamarthdaeninipidodyeriybrxy phraecaaephndinmiphrarachoxngkaraetngtngkhnakrrmkardaeninngankhunkhnahnung mikaraebnghnathiepnaephnkhruxtaaehnngdngni1 prathaninkaraepl txngepnphurxbruinphasasnskvthruxphasaxinediyphakhtang rwmthngphasaexesiyklangdwy epnphukhwbkhumphrakhmphirthiaeplodytrng2 laminkaraepl idaekphuruphasasnskvthruxphasakhxngthanthrrmthut aelaphasacindi fngkhaxthibayinkhxkhwaminkhmphirsnskvtcakphuepnprathanaelw kaeplepnphasacin odymukhpatha sahrblamnnimcaepntxngichesmxip thaprathanmikhwamruinphasacin3 phubnthuk idaekphukhxycdkhaaeplkhxnglamlngepnxksrcin thaprathanaetkchanin xksrsastrcindikimtxng ephraaekhiynexngid4 phusxbtnchbb idaekphutrwcsxb phuthandukhxkhwamaeplthicdiwcatrngkbtnchbbhruxim5 phutkaetngthangxksrsastr idaekphumihnathitkaetngphasacinsungaeplcdiwaelwih slaslwythuktxngtamlilaiwyakrnkhxngcin fngimekhxaekhinhruxkradanghu thngniephraalamkdi phubnthukkdi catxngrksathxykhaihtrngkbtnchbb sunginbangkrnililaowharxackradang hruximhmdcdkid6 phusxbxrrthrs idaekphumihnathitrwcsxbchbbaeplcinnnihmixrrthrstrngknkbtnchbbodysmburnthukprakar7 phuthahnathithrrmaphikhiti idaekkarswdsrresriysdudikhunphrartntry kxnthicaerimnganaeplthukwara hruxswdsathyaykhxkhwam inphrakhmphirthiaeplnn phudngay kkhuxecahnathiphithikarnnexng8 phutrwcpruf emuxekhaaeplaelacdknepnthieriybrxyhmdcdthukxyangaelw kprufknxikthihnungephuxihthuktxngknphidphlad hakcamixairhlnghuhlngtabang9 ecahnathifayrachkar sungcatxngepnkhunnangphuihythiiklchidkbphramhakstriy mihnathikhxyduaelihmictupccysmburn aelakhxyxupkarathwaykhwamsadwkaekkhnakrrmkar tlxdcnepnphukrabbngkhmthulphraecaxyuhwihthrngthrabthungphlngan bangkhrngemuxkhmphirpkrnhnung aeplcblng knathwaykhxphrarachniphnthbthna 7 phraitrpidkphasacinchbbtang aekikhphraitrpidkchbbekhiyn aekikh inyukhobrannn olkyngimpraktethkhonolyikarphimph aetdwykhwamthichawcinepnphupradisthkradaskhuninstwrrsthi 2 thaihkarephyaephrkhwamru aelasasnaepnipxyangkwangkhwangimnxy sungkradasniexngthimiswninkarsngesrimihphuththsasnaefuxngfuinaephndincin odyinchntnnn mikarcarukphrathrrmwinyinkradasdwykarekhiynlaymuxkxn odyidrbkarxupthmphcakckrphrrdiphraxngkhtang eruxymainsmyaephndinckrphrrdiehliyngxu 梁武帝 aehngrachwngsehliyng emux ph s 1061 miphrarachoxngkarih chararwbrwmphraitrpidkethathiaeplaelw aelaphwkpkrnwiess idcanwnrwm 1 433 khmphir canwnphukid 3 741 phuk txmainsmywngsewy yukhrachwngsehnuxit micharaphraitrpidkphakycinkhrnghnung smywngsepychi yukhrachwngsehnuxit mikarcharaxikkhrng txmainsmyrachwngssuymikarchara 3 khrng cwbcnthungsmywngsthng phuththsasnarungeruxngying mikarcharaphraitrpidkthung 9 khrng dngni1 aephndinphraecathngithcng 太宗 skrachecingkwn 貞觀 pithi 9 ph s 1169 canwn 739 khmphir 2 712 phuk2 aephndinphraecathngekacng 高宗 skrachesiynching 顯慶 pithi 4 ph s 1202 canwn 800 khmphir 3 361 phuk3 aephndinphraecathngekacng 高宗 skrachlinetx 麟德 pithi 1 ph s 1207 canwn 816 khmphir 4 066 phuk4 aephndinckrphrrdinibuechkethiyn 武则天 skrachwansuy 萬歲 pithi 1 ph s 1238 canwn 860 khmphir 3 929 phuk5 aephndinphraecathngeswiyncng 玄宗 skrachikhhywn 開元 pithi 18 ph s 1273 canwn 1 076 khmphir 5 048 phuk6 aephndinphraecathngetxcng 德宗 skrachsinghywn 興元 pithi 1 ph s 1327 canwn 1 147 khmphir 5 049 phuk7 aephndinthngphraecathngetxcng 德宗 skrachecinhywn 興元 pithi 11 ph s 1338 canwn 1 243 khmphir 5 393 phuk8 aephndinphraecathngetxcng 德宗 skrachecinhywn pithi 15 ph s 1 342 canwn 1 258 khmphir 5 390 phuk9 smywngsthngphakhit 南唐 skrachepata pithi 3 ph s 1488 canwn 1 214 khmphir 5 421 phuk 8 wchrechthikaprchyaparmitasutr singphimphthiekaaekthisudinolk caksmyrachwngsthng khmphirtharni hnunginsingphimphthiekaaekthisudinolk smyrachwngschilla khxngekahli rwmsmyrawngsthng rwmkarchararwbrwmphraitrpidkchbbekhiyn 15 khrng phraitrpidkchbbphimph aekikh singphimphchinaerkkhxngolkkhux wchrprchyaparmitasutr thithukkhnphbthithatunhwng mnthlkansu praethscin epnphrasutrthiphimphkhuninsmyrachwngsthng aetaemcamiethkhonolyikarphimphmatngaetkhrngnn karphimphphraitrpidkcaerimkhuninchwnghlngcaknnmak khuxinsmyrachwngssng sungidphthnakrabwnkarphimphihmikhwamkawhnakhun klawkhuxmikarichrabberiyngphimphtwxksr aethnthikaraekaaemphimphimthngaephn thngni phraitrpidkchbbtwphimphchbbtang midngtxipni1 phraitrpidkchbbikhepa 開寶藏 insmyrachwngssng phraecasngithcu 宋太祖 hxngetpthmkstriyaehngrachwngs emuxskrachikhepa 開寶 pithi 4 ph s 1514 miphrarachoxngkarihkhunnangphuihychuxetiychngsing ipchararwbrwmphimphphraitrpidkthimnthleschwn phraitrpidkchbbnimaaelwesrcemuxrchsmy phraecasngithcng 宋太宗 ph s 1526 kinewla 12 pi eriykwa phraitrpidkchbbikhepa nb epnpthmphraitrpidkchbbphimphthiekaaekthisudkhxngolkphraphuththsasnathngfayethrwathaelamhayan phraitrpidkchbbikhepamikhmphir 1 076 khmphir 5 048 phuk aethaysabsuyesiymakkwamak ehluxephiyngkhxkhwamkrathxnkraaethnbangkhmphirethann 9 2 phraitrpidkchbbchitan hruxkhitan 契丹大藏經 esthiyr ophthinnthaeriykchbb ekhxrtancng phimphodyphrarachoxngkarkstriyrachwngsehliyw sungepnchawephaekhxrtan hrux khitan nbepnephaetxrkphwkhnung pkkhrxngdinaednkhxngmnthlehliywhning praethscin rwmthungdinaednthnghmdkhxngpraethsmxngokeliyinpccubnphraitrpidkphimph dwyxksrcinemuxphuththstwrrsthi 15 canwn 6 006 phuk 1 373 khmphir bdnitnchbbsabsuyknhmdaelw xyangirktam mikarslkbangswnkhxngphraitrpidklnginsila pradisthan n xaramxwincu 云居寺 inkrungpkking nxkcakni bangswnynghlngehluxxyuinphraitrpidkchbbekahli Tripitaka Koreana aelankwichakarbangswn odyechphaachawekahli ykyxngwa chbbrachwngsehliyw hruxkhitan mikhwamkhrbthwnsmburnkwachbbrachwngssng 10 3 phraitrpidkchbbrachwngscin hruxchbbcaweching 赵城金藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbb kimcng phimphkhrngrachwngscin emux ph s 1691 1716 inrchsktating 大定 khxnghxnget cinsuxcng 金世宗 sungrachwngscin sthapnaodychnephan wiecin brrphburuskhxngchnephaaemncu aetchbbniichxksrcininkarcaruk yngmikhmphirehluxxyu n bdni 4 950 phuk cakthnghmd 6 980 phuk sungphimphkhuncakaemphimphimaekaslkcanwnthung 168 000 chin thathiwdethiynhning odysrththakhxngxubasikanamwachuyfaecinrwmkbxubaskxubasikainphunthi txmatnchbbthihlngehluxxyuthukkhnphbthiwdkwangesing 广胜寺 xaephxcaweching mnthlsansi emuxpi 1933 dwyehtunicungeriykkninchuxxyangimepnthangkarwachbbcaweching pccubnekbrksa n hxsmudaehngchatikrungpkking aelaidrbkarphimphephyaephrxikkhrngemuxpi ph s 2551 11 4 phraitrpidkchbbchnghningwanoswtacng 崇宁万寿大藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbb chnghlingbwnsiwcng srangkhuninrchsmyphraecasngesincng 宋神宗 smnachngcing wdtngchan emuxngfuocw bxkbuyeriyirphimphkhunemux ph s 1623 1647 chbbnimikhwamphiesstrngthi epnchbbaerkthiichkarekhaelmaebbphbelmkhlaysmudithy txmamikarphimphetimtxmaxikhlayhnsahrbchbbni rwmcanwn 6 434 phuk 1 440 khmphir pccubnkracdkracayhmd 12 5 phraitrpidkchbbphihlu hruxchbbiworcna 毘盧藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbb philucng srangkhuninrchsmyphraecasnghuycng 宋徽宗 smnapunghngx wdikhhywn 开元寺 emuxngfuocw mnthlfueciyn bxkbuyeriyirphimphkhun emux ph s 1658 1693 mi 6 132 phuk 1 451 khmphir yngmichbbehluxxyuthiyipun thngni dwykhwamthichbbchnghning aelachbbphihlu phimphkhunthiemuxngfuocw inewlaileliykn aelamikhwamkhlaykhlungkn cungmkeriykrwmknwachbbfuocw 13 6 phraitrpidkchbbsuxchihywnecwiy 思溪圆觉藏 hruxchbbechiynsuxchi sichiyukhkxn 前思溪藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbb suxekhyxikkcng srangkhuninrchsmyphraecasngkawcng 宋高宗 odyphuththbristhchawhuocw mnthlecxeciyng phimphemux ph s 1675 micanwn 1 451 khmphir 5 480 phuk yngmichbbsmburnxyuthiyipun 14 7 phraitrpidkchbbcuxfu 資福 hruxchbbohwsuxchi sichiyukhhlng 后思溪藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbb suxekhycuxhkcng phimphthiemuxnghuocw inpiph s 1718 canwnthnghmd 5940 phukrwm 145 khmphir pccubnkhngehluxbangswnethann 15 8 phraitrpidkchbbchisa 碛砂藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbb cisacng phimphraw ph s 1774 mi 1 535 khmphir 6 362 phuk phimphthiemuxngsuocw srangkhuninsmyrawngssngaetaelwesrcinsmyrachwngshywn odykhwamchwyehluxkhxngphraphiksunikaywchryan cakxanackrsiesiy epnchbbthimikhwamphiesstrngthimikaraethrkphaphprakxbiwdwy txmainchwngthswrrsthi 30 mikarkhnphbchbbnithiwdikhhywn 开元寺 infuocw aelawdhwxhlng 卧龙寺 innkhrsixan epncuderimtnthaihnkwichakartunetn aelahnmasnickhahaphraitrpidkchbbcinobranknmakkhunnbaetnn 16 9 phraitrpidkchbbphuhning 普宁藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbb ophhlingcng srangkhunemux ph s 1821 smnatawxn wdphuhning mnthlecxeciyng smywngshywnbxkbuyeriyirphimphkhun epnphlngankhxngphusrththainnikayemkhkhaw 白云宗 sungepnphuththsasnainradbchawbanaephrhlaymatngaetsmyrachwngssng chbbnimi 1 594 khmphir 6 327 phuk yngehluxbriburnthipraethsyipun txmakarsrangchbbtxkhyayinph s 1849 mikarephimetimkhmphirkhxngnikaywchryanekhamak 17 10 phraitrpidkchbbhngfa 弘法藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbb hnghwbcng epnphraitrpidkphasacinxyangepnthangkarchbbaerkthiphimphkhuninsmyrachwngshywn khrngaephndinphraecahywnsuxcuhxnget 元世祖 hrux kubilkhan skrachcuxhywn 至元 pithi 14 ph s 1820 miphrarachoxngkarihcharaphimphkhun thung ph s 1837 cungaelwesrc mi 1 654 khmphir 7 182 phuk chbbniekhykhidknwahaysabsuyipcnaelw cnkrathngmikarkhnphbinkrungpkking emuxplaystwrrsthi 20 18 11 phraitrpidkchbbhywnkwn 元官藏 hruxchbbthangkarrachwngshywn phimphthimnthlxwinhnan rahwangph s 1873 1879 canwn 6 500 phuk phbthikrungpkking playstwrrsthi 20 19 12 phraitrpidkchbbhngxuhnanchng 洪武南藏 hruxchbbthksinyukhaerk 初刻南藏 epnchbbaerkthisrangkhuninsmyrachwngshming srangkhuninsmyphraecahmingithcu 明太祖 thrngmiphrarachoxngkarihcharaphimphkhunthirahwangph s 1915 1942 thinkhrhnancing micanwn 7 000 phuk 1 600 khmphir txmachbbcalxngthukkhnphbthimnthleschwn in ph s 2477 20 13 phraitrpidkchbbhyngelxhnanchng 永乐南藏 hrux hnancng 南藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbb nacng srangkhunkhrngaephndinphraecahmingechingcuhxnget 明成祖 rahwangph s 1955 1960 micanwn 6 942 phuk 1 610 khmphir 21 14 phraitrpidkchbbhyngelxepycng 永乐北藏 hruxepycng 北藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbb pkcng aephndinphraecahmingechingcuhxnget 明成祖 skrachhyngelx pithi 8 ph s 1953 miphrarachoxngkarihcharaphimphkhunthinkhrpkking maaelwesrcinpi ph s 1984 mi 6 924 phuk 1662 khmphir yngxyubriburndi 22 15 phraitrpidkchbbxuhlin 武林藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbb bulimcng phimphemux ph s 2065 2109 chbbnimiidrxngrxythilaexiyd thrabaetephiyngwaphimphthiemuxnghngocw aelakhnphbbangswninpiph s 2525 23 16 phraitrpidkchbbwanhli 万历藏 srangkhuninrchsmykhxngphraecahmingesincng 明神宗 phimphthinkhrhnancing rahwangph s 2132 2200 canwn 6 234 phuk 1 659 khmphir thukkhnphbthimnthlsansiinpiph s 2526 24 17 phraitrpidkchbbeciysing 嘉兴藏 hruxchbbcingsan 径山藏 srangkhunrahwangph s 2132 2219 khabekiywrahwangrachwngshmingkbrachwngsching micanwn 12 600 phuk 2 090 khmphir epnchbbaerkthimikarekhaelmaebbeybelm aelamikaraebngbrrphkhmphirebdetldepnkhrngaerkxikdwy 25 18 phraitrpidkchbbchingcng 清藏 hruxchbbchinghlng chbbhlwngrachwngsching 清龙藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbbelngcng aephndinphraecachingsuxcng 清世宗 hruxrchsmyyngecing 雍正 pithi 13 ph s 2178 miphrarachoxngkarihcharaphimphthikrungpkking maaelwbriburninaephndinphraecaechiynhlng pithi 3 ph s 2281 cungeriykkninxikchuxwa echiynhlngpantachngcing 乾隆版大藏经 micanwn 7 168 phuk 1 669 khmphir srangcakaemphimphimcanwnthngsin 79 036 chin pccubnxyuthikrungpkking nbepnphraitrpidkphasacinchbbsudthaythiidrbkarxupthmphkarcdsrangodyrachsank 26 suwrnpraphaosttmarachsutr chbbtwekhiynphasathngkut twxyangphraitrpidkchbbphimphsmyrachwngssng karphimphphraitrpidkyukhpccubn aekikh inchwngplayrachwngschingcnthungyukhsatharnrthcin yngkhngmikarcdsrangphraitrpidkxyangtxenuxng aemcaimidrbkarxupthmphcakrachsankxiktxipktam nxkcaknikarcdsrangyngprasbxupsrrkhmakmay enuxngcakcintkxyuinkhwammunwaykhxngsngkhramaelapyhakaremuxngyudeyuxnanekuxbkhrungstwrrs inchwngplayrachwngsching cnthungyukhsatharnrth mikarcdsrangkhrngsakhy xathi phraitrpidkchbbiphna 百衲藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbb aepanmcng srangkhunkhrngaephndinphraecathngcux 同治 pithi 5 ph s 2409 odynayyinsn xubaskkhnsakhyinsmynnbxkbuyeriyircharaphimphkhunthihnancing chbbniyngimsmburntxmamikarsrangphraitrpidkchbbphineciy 频伽藏 esthiyr ophthinnthaeriykchbb phingaekhcng inpithi 1 aehngaephndinphraecaeswiynthng 宣統 ckrphrrdixngkhsudthaykhxngrachwngsching hruxph s 2452 odyphuththbristhchawemuxngesiyngihcdphimphkhunmaaelwesrcemuxskrachsatharnrth hruxpihminkwthi 2 ph s 2457 micanwn 1 916 khmphir 8 416 phuk txmayngmiphraitrpidkchbbskcng srangkhuninskrachhminkwpithi 11 hruxph s 2465 odysankphimphchangwu emuxngesiyngih cdphimph micanwn 1 757 khmphir 7 148 phuktxmainpiph s 2486 mikarsrangphraitrpidkchbbphuhuy 普慧藏 thiemuxngesiyngih aetphurwbrwmimxacsrangcnsaercid hlngcaknn karsrangphraitrpitkincinkhadchwngiprahwangthicinkalngephchiykbkhwamwunwayxyunn inyipunidmikarrwbrwmphrathrrmwinykhrngihyrwmexathngkhmphirkhxngchbbcin khxngekahli aelapkrntang thircnakhunodychawphuththinyipun eriykphraitrpidkchbbniwa ithoch chinchu idosekhiyw 大正新脩大藏經 hrux ithoch ephraasrangkhuninrchsmykhxngckphrrdiithoch inokhrngkarthimikhunrahwangpi ph s 2467 2477 odynkwichakarchawyipunchux thakhakhusu cuncior epnbrrnathikar pccubnidmikarephyaephrthngchbbphanrabbdicithl bnekhruxkhayxinethxrent 27 txmayngmiphraitrpidkchbboskhuekhiyw 卍續藏 epnchbbexkeths aetmkykihepnchbbphnwktxcakchbbithoch txmainpikh s 1986 ph s 2529 thiithwn yngmikarphimphphraitrpidkchbbtachngcingpuepiyn 大藏經補編 hruxchbbtxyxd epnswnkhyaysahrbchbbxun inxditechnkn 28 nxkcakni yngmikarephyaephrphraitrpidkchbbaepdhmunphrakhmphir 八萬大藏經 hruxchbbekahli 高麗大藏經 hruxthieriykknwa Tripitaka Koreana thisubthxdmacakchbbikhepa aelachbbkhitan smyrachwngssngaelarachwngsehliyw twpraitrpidkchbbni epnaemphimphimaekaslksrangkhuninsmystwrrsthi 13 canwn 81 258 aephn ekbrksaiwthiwdaehxinsa 해인사 hrux 海印寺 micanwn 6 568 phuk 1 496 khmphir pccubnmikarcdphimphthngaebbhnngsuxaelaaebbdicithlxyangtxenuxng 29 thngni karphimphphraitrpidkincinaephndinihyefuxngfuxikkhrng phayhlngrthbalphxnprnaelaihesriphaphthangsasnamakkhun erimtnrahwangthswrrsthi 80 90 epntnma idmikartiphimphphraitrpitkcinthimikarrwbrwmkhmphirtkhln aelakhmphirthikhnphbihmmakkhun rwmthungkarthayexksarcakchbbobran aelarwmexakhmthirthiphbihmthithatunhwng ephuxkhwamkhrbthwnsmburn hnunginnnkhuxphraitrpitkchbbexksarobrancin 中華大藏經 漢文部份 hrux The Chinese Manuscripts in the Tripitaka Sinica phimphodysankphimphcnghw inkrungpkking rahwangpi ph s 2526 2540 mikhnadthngsin 107 elm nbepnchbbthikhrbthwnbriburnthisudchbbhnung aetinxnakhtyngcamikarprbprungchbbokhrngkar Tripitaka Sinica txipxik ephuxkhwamsmburnyingkhun 30 twxyangphraitrpidkchbbekahli khxmulthiekiywkhxng aekikh raychuxphrasutrinphraitrpidkphasacin chbbekahli khxmulephimetim aekikh mhasangkhika pratiomksxwtngsksutr khaxanphasacin prchyaparmitahvthysutr chbbyx prchyaparmitahvthysutr phasayipun xangxing aekikh esthiyr ophthinntha prawtiphraitrpidkchbbcinphaky esthiyr ophthinntha prawtiphraitrpidkchbbcinphaky esthiyr ophthinntha prawtiphraitrpidkchbbcinphaky 国图藏西夏文文献的价值 怀念北图馆长北大教授王重民先生 esthiyr ophthinntha prawtiphraitrpidkchbbcinphaky esthiyr ophthinntha prawtiphraitrpidkchbbcinphaky esthiyr ophthinntha prawtiphraitrpidkchbbcinphaky esthiyr ophthinntha prawtiphraitrpidkchbbcinphaky 房山云居寺石刻佛教大藏 The Zhaocheng Jin Tripitaka Two Rare Buddhist Books in the End of the Ming Dynasty 宋雕崇寧藏毗盧藏殘卷考 漢文大藏經刊刻源流表 Tripitaka 大藏經 浅谈当代汉文大藏经整理传译之方向 漢文大藏經刊刻源流表 漢文大藏經刊刻源流表 漢文大藏經刊刻源流表 漢文大藏經刊刻源流表 漢文大藏經刊刻源流表 漢文大藏經刊刻源流表 漢文大藏經刊刻源流表 漢文大藏經刊刻源流表 The Economics of the Jiaxing Edition of the Buddhist Tripitaka Tripitaka Script of Qing Dynasty s Imperial Edition 中华大藏经 中华大藏经 Haeinsa 中华大藏经brrnanukrm aekikhesthiyr ophthinntha prawtiphraitrpidkchbbcinphaky cak http mahamakuta inet co th tipitaka tipitaka3 tipi 231 html 国图藏西夏文文献的价值 怀念北图馆长北大教授王重民先生 浅谈当代汉文大藏经整理传译之方向 cak http fo ifeng com zhuanti shijiefojiaoluntan2 lingshanhuichang fabaozhiguang 200903 0328 353 54377 5 shtml 沈乃文 2008 宋雕崇寧藏毗盧藏殘卷考 中華文史論叢 2008 3 總第九十一輯 杜伟生 2003 赵城金藏 修复工作始末 房山云居寺石刻佛教大藏经 cak http hi baidu com zgfjbd archive tag E6 88 BF E5 B1 B1 E4 BA 91 E5 B1 85 E5 AF BA E7 9F B3 E5 88 BB E4 BD 9B E6 95 99 E5 A4 A7 E8 97 8F E7 BB 8F 漢文大藏經刊刻源流表 cak http www suttaworld org Collection of Buddhist Chiarnlurng Tripitaka menu right 18 htm 中华大藏经 汉文部分 续编 的特点和结构 张新鹰 中华大藏经 一项重大的佛教文化工程 Haeinsa cak http whc unesco org archive advisory body evaluation 737 pdf Tripitaka 大藏經 cak http taiwanpedia culture tw en content ID 1765 Canon bouddhique cak data bnf fr 12167814 canon bouddhique The sutras of the BZA in their original order cak http buddhistinformatics chibs edu tw BZA bzaComCatWebOrig html The Zhaocheng Jin Tripitaka cak http www wdl org en item 3018 Darui Long 2005 Two Rare Buddhist Books in the End of the Ming Dynasty CSA Academic Perspective University of the West Juhn Young Ahn 2007 Malady of Meditation A Prolegomenon to the Study of Illness and Zen Dai Lianbin 2008 The Economics of the Jiaxing Edition of the Buddhist Tripitaka in T oung Pao Volume 94 Numbers 4 5 Tripitaka Script of Qing Dynasty s Imperial Edition cak http www jinmajia com lyzt 201109 dzj index en shtml Buddhism During the Song Period cak http www chinaknowledge de History Song song religion html Marcus Bingenheimer 2001 Chinese Agama Literature Research on early Buddhist texts cak http mbingenheimer net publications agamaLit pdfekhathungcak https th wikipedia org w index php title phraitrpidkphasacin amp oldid 9319699, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม