fbpx
วิกิพีเดีย

ศาลเจ้าชินโต

ศาลเจ้าชินโต หรือ จินจะ (ญี่ปุ่น: 神社 โรมาจิ: jinja, ที่อยู่ของเทพเจ้า) เป็นศาสนสถานที่ประดิษฐานคามิ หรือ เทพเจ้าของญี่ปุ่นหนึ่งพระองค์หรืออาจมากกว่านั้นก็ได้ โดยอาคารหลักของศาลเจ้าชินโตจะมีไว้สำหรับเก็บรักษาศาสนวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่ใช่สำหรับให้ผู้คนเข้าไปสักการะ ในภาษาญี่ปุ่น ศาลเจ้าชินโตมีหลายชื่อ นอกจากชื่อ จินจะ แล้วยังมี กงเก็ง (gongen), ยาชิโระ (yashiro), ไทชะ (taisha) ซึ่งเรียกแตกต่างกันไปตามความหมายเฉพาะ

ภาพวาดของศาลเจ้าชินโตแห่งหนึ่ง

อาคารที่เชื่อว่าเป็นที่สถิตของคามิ (เทพเจ้า) จะเรียกว่า ฮนเด็ง (honden) หรือบางครั้งก็ใช้คำว่า ชินเด็ง (shinden)ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม แต่ในบางศาลเจ้าอาจไม่มีฮนเด็งก็ได้ เช่นในกรณีที่ศาลเจ้านั้นบูชาภูเขาทั้งลูกโดยตรง ก็มักจะประดิษฐานเพียงแท่นบูชาที่เรียกว่า ฮิโมโรงิ (himorogi) หรือผูกที่สะกดวิญญาณ โยริชิโระ (yorishiro) กับวัตถุต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ หรือก้อนหิน ตัวอาคารฮนเด็งมักจะเชื่อมต่อเข้ากับหอเคารพ หรือ ไฮเด็ง (haiden) ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับสาธารณชนไว้สวดภาวนาหรือเคารพคามิที่เก็บไว้ในฮนเด็ง อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสำคัญของศาลเจ้าชินโตไม่ได้มีไว้เพื่อการสักการะเป็นหลัก แต่มีไว้เพื่อเก็บรักษาศาสนวัตถุศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น

สำหรับศาลเจ้าขนาดเล็กริมทางเรียกว่า โฮโกระ (hokora) และศาลเจ้าพกพาเรียกว่า มิโกชิ (mikoshi) ซึ่งจะอัญเชิญแห่ในพิธี (มัตสึริ; matsuri) ทั้งคู่ก็จัดเป็นศาลเจ้าชินโตประเภทหนึ่งเช่นกัน

องค์ประกอบ

 
ภาพวาดแสดงถาวรวัตถุต่าง ๆ ในศาลเจ้าชินโตทั่วไป

จากภาพ หมายเลขต่าง ๆ คือถาวรวัตถุที่มักพบในศาลเจ้าชินโต ดังนี้

  1. โทริอิ – ทางเข้าศาลเจ้าชินโต
  2. บันไดหิน
  3. ซันโด – ทางเดินตรงเข้าสู่ศาลเจ้า
  4. โชซูยะ หรือ เทมิซูยะ – จุดชำระล้างร่ายกายให้สะอาดก่อนเข้าศาลเจ้า โดยทั่วไปคือการใช้น้ำตักใส่กระบวยและล้างมือกับปาก
  5. โตโร – โคมไฟหิน
  6. คางูระ-เด็ง – อาคารสำหรับการแสดงโนะ
  7. ชามูโชะ – สำนักงานบริหารของศาลเจ้า ในบางแห่งอาจรวมถึงร้านค้าของศาลเจ้า
  8. เอมะ – จุดแขวนป้ายคำอธิษฐาน หรือ จุดผูกดวงเซียมซีโชคร้าย
  9. เซ็สชะ/มัสชะ – ศาลเจ้าประกอบขนาดเล็ก
  10. โคไมนุ – สิงโตหิน
  11. ไฮเด็ง – หอเคารพ บริเวณที่ผู้คนใช้สวดภาวนาและสักการะคามิ
  12. ทามางากิ – รั้วที่ล้อมรอบฮนเด็ง
  13. ฮนเด็ง – อาคารหลัก สถิตคามิ โดยทั่วไปไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเด็ดขาด

อย่างไรก็ตาม ส่วนประกอบของศาลเจ้าชินโตมักมีการจัดรูปแบบที่หลากหลายกว่านี้มาก แม้นแต่ฮนเด็งซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของศาลเจ้าอาจไม่ก็ได้ หากคามิเชื่อว่าสถิตในบริเวณหรือสถานที่โดยรอบศาลเจ้า

วัดพุทธกับศาลเจ้าชินโต

 
ภาพวาดโบราณแสดงศาลเจ้าสึรูงาโอกะฮาจิมังซึ่งอยู่ด้านบนของภาพซึ่งมีวัดพุทธสร้างประกอบ สังเกตได้จากเจดีย์สองชั้นด้านล่าง

จากเดิม การสร้างศาลเจ้าชินโตนั้นมักสร้างแบบชั่วคราว ไม่ได้มีลักษณะเป็นถาวรวัตถุ จนกระทั่งการเข้ามาของพระพุทธศาสนา สร้างแนวติดของการสร้างถาวรวัตถุขึ้น ซึ่งชาวญี่ปุ่นนิยมสร้างวัดพุทธไว้ประกอบร่วมกับศาลเจ้าชินโตเดิม ลักษณะแบบนี่นี้เรียกว่า จิงกู-จิ (ญี่ปุ่น: 神宮寺 โรมาจิ: jingū-ji) ซึ่งแปลตรงตัวว่าวัดศาลเจ้า ซึ่งส่วนมากได้ถูกทำลายในภายหลังด้วยข้อกฎหมายใหม่ที่บัญญัติให้แยกวัดและศาลเจ้าออกจากกัน อย่างไรก็ตาม คติการสร้างศาลเจ้าชินโตใกล้กับวัดพุทธยังคงปรากฏให้เห็นทั่วไป เช่น วัดอาซากูซะในโตเกียว ประกอบด้วย วัดเซ็นโซซึ่งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน กับ ศาลเจ้าอาซากูซะ ซึ่งเป็นศาลเจ้าชินโตที่บูชาดวงวิญญาณของผู้สร้างวัดเซ็นโซ เป็นต้น ซึ่งรูปแบบของศาลเจ้าอาซากูซะที่กล่าวไปข้างต้นจะเรียกว่า ชินจู-โด ซึ่งเป็นชินจูชะประเภทหนึ่ง

โดยทั่วไปศาลเจ้าชินโตจะมีการสร้างใหม่บนศาลเจ้าเดิมเป็นรอบ ๆ เช่น ศาลเจ้าอิเซะจะสร้างใหม่ทุก 20 ปี แต่ที่สำคัญเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกศาลเจ้ามาตลอดตั้งแต่อดีต คือจะไม่มีการเปลี่ยนทรงศาลเจ้าเด็ดขาด และจะสร้างด้วยสถาปัตยกรรมดั้งเดิมเหมือนศาลเจ้าหลังเดิมเท่านั้น

ชินจูชะ

 
ศาลเจ้าฮิโยชิ ไตฉะ (Hiyoshi Taisha) เป็นชินจูฉะของวัดเอ็นเรียกุ

ชินจูชะ (ญี่ปุ่น: 鎮守社/鎮社 โรมาจิ: chinjusha) เป็นศาลเจ้าชินโตรูปแบบหนึ่งที่สถิตคามิผู้ปกป้อง ที่เรียกว่า ชินจูงามิ (鎮守神; chinjugami) ซึ่งคือคามิที่พิทักษ์กป้องบริเวณพื้นที่หนึ่ง เช่น หมู่บ้าน ถนน อาคาร หรือแม้แต่ วัดพุทธ และ พระราชวัง เปรียบเทียบกับความเชื่อแบบไทยคล้ายกับ ผีเจ้าที่ สำหรับในจิงกู-จิ ศาลเจ้าชินจูชะจะเรียกว่า "ชินจู-โด"

อ้างอิง

  1. Stuart D. B. Picken, 1994. p. xxiii
  2. Bernhard Scheid. "Religiöse Bauwerke in Japan" (ภาษาเยอรมัน). University of Vienna. สืบค้นเมื่อ 27 June 2010.
  3. Iwanami ญี่ปุ่น: Kōjien โรมาจิ: 広辞苑 Japanese dictionary
  4. Mori Mizue
  5. Fujita, Koga (2008:20-21)
  6. ข้อมูลจากหน้า ศาลเจ้าอาซากูซะ บนวิกิพีเดียภาษาไทย
  7. Iwanami ญี่ปุ่น: Kōjien โรมาจิ: 広辞苑 Japanese dictionary, 6th Edition (2008), DVD version
  8. Tamura, Yoshiro (2000). Japanese Buddhism - A Cultural History (First ed.). Tokyo: Kosei Publishing Company. p. 86. ISBN 978-4-333-01684-6.
  9. Bocking, Brian (1997). A Popular Dictionary of Shinto - 'Jisha'. Routledge. ISBN 978-0-7007-1051-5.

ศาลเจ, าช, นโต, หร, นจะ, 神社, โรมาจ, jinja, อย, ของเทพเจ, เป, นศาสนสถานท, ประด, ษฐานคาม, หร, เทพเจ, าของญ, นหน, งพระองค, หร, ออาจมากกว, าน, นก, ได, โดยอาคารหล, กของจะม, ไว, สำหร, บเก, บร, กษาศาสนว, ตถ, นศ, กด, ทธ, แต, ไม, ใช, สำหร, บให, คนเข, าไปส, กการะ, ในภาษ. salecachinot hrux cinca yipun 神社 ormaci jinja thixyukhxngethpheca 1 epnsasnsthanthipradisthankhami hrux ethphecakhxngyipunhnungphraxngkhhruxxacmakkwannkid odyxakharhlkkhxngsalecachinotcamiiwsahrbekbrksasasnwtthuxnskdisiththi aetimichsahrbihphukhnekhaipskkara 2 inphasayipun salecachinotmihlaychux nxkcakchux cinca aelwyngmi kngekng gongen yachiora yashiro ithcha taisha sungeriykaetktangkniptamkhwamhmayechphaaphaphwadkhxngsalecachinotaehnghnung xakharthiechuxwaepnthisthitkhxngkhami ethpheca caeriykwa hnedng honden hruxbangkhrngkichkhawa chinedng shinden 3 sungodythwipcaimepidihsatharnchnekhachm aetinbangsalecaxacimmihnedngkid echninkrnithisalecannbuchaphuekhathnglukodytrng kmkcapradisthanephiyngaethnbuchathieriykwa hiomorngi himorogi hruxphukthisakdwiyyan oyrichiora yorishiro kbwtthutang echn tnim hruxkxnhin 4 twxakharhnedngmkcaechuxmtxekhakbhxekharph hrux ihedng haiden sungepnphunthisahrbsatharnchniwswdphawnahruxekharphkhamithiekbiwinhnedng xyangirktam epahmaysakhykhxngsalecachinotimidmiiwephuxkarskkaraepnhlk aetmiiwephuxekbrksasasnwtthuskdisiththiethann 2 sahrbsalecakhnadelkrimthangeriykwa ohokra hokora aelasalecaphkphaeriykwa miokchi mikoshi sungcaxyechiyaehinphithi mtsuri matsuri thngkhukcdepnsalecachinotpraephthhnungechnkn enuxha 1 xngkhprakxb 2 wdphuththkbsalecachinot 3 chincucha 4 xangxingxngkhprakxb aekikh phaphwadaesdngthawrwtthutang insalecachinotthwip cakphaph hmayelkhtang khuxthawrwtthuthimkphbinsalecachinot dngni othrixi thangekhasalecachinot bnidhin snod thangedintrngekhasusaleca ochsuya hrux ethmisuya cudcharalangraykayihsaxadkxnekhasaleca odythwipkhuxkarichnatkiskrabwyaelalangmuxkbpak otor okhmifhin khangura edng xakharsahrbkaraesdngona chamuocha sanknganbriharkhxngsaleca inbangaehngxacrwmthungrankhakhxngsaleca exma cudaekhwnpaykhaxthisthan hrux cudphukdwngesiymsiochkhray esscha mscha salecaprakxbkhnadelk okhimnu singothin ihedng hxekharph briewnthiphukhnichswdphawnaaelaskkarakhami thamangaki rwthilxmrxbhnedng hnedng xakharhlk sthitkhami odythwipimepidihsatharnchnekhachmeddkhadxyangirktam swnprakxbkhxngsalecachinotmkmikarcdrupaebbthihlakhlaykwanimak aemnaethnedngsungepnswnsakhythisudkhxngsalecaxacimkid hakkhamiechuxwasthitinbriewnhruxsthanthiodyrxbsalecawdphuththkbsalecachinot aekikh phaphwadobranaesdngsalecasurungaoxkahacimngsungxyudanbnkhxngphaphsungmiwdphuththsrangprakxb sngektidcakecdiysxngchndanlang cakedim karsrangsalecachinotnnmksrangaebbchwkhraw imidmilksnaepnthawrwtthu cnkrathngkarekhamakhxngphraphuththsasna srangaenwtidkhxngkarsrangthawrwtthukhun 5 sungchawyipunniymsrangwdphuththiwprakxbrwmkbsalecachinotedim lksnaaebbninieriykwa cingku ci yipun 神宮寺 ormaci jingu ji sungaepltrngtwwawdsaleca sungswnmakidthukthalayinphayhlngdwykhxkdhmayihmthibyytiihaeykwdaelasalecaxxkcakkn xyangirktam khtikarsrangsalecachinotiklkbwdphuththyngkhngpraktihehnthwip echn wdxasakusainotekiyw prakxbdwy wdesnossungepnwdinphraphuththsasna nikaymhayan kb salecaxasakusa sungepnsalecachinotthibuchadwngwiyyankhxngphusrangwdesnos epntn 6 sungrupaebbkhxngsalecaxasakusathiklawipkhangtncaeriykwa chincu od sungepnchincuchapraephthhnungodythwipsalecachinotcamikarsrangihmbnsalecaedimepnrxb echn salecaxiesacasrangihmthuk 20 pi aetthisakhyepnaenwthangptibtikhxngthuksalecamatlxdtngaetxdit khuxcaimmikarepliynthrngsalecaeddkhad aelacasrangdwysthaptykrrmdngedimehmuxnsalecahlngedimethann 5 chincucha aekikh salecahioychi itcha Hiyoshi Taisha epnchincuchakhxngwdexneriyku chincucha yipun 鎮守社 鎮社 ormaci chinjusha epnsalecachinotrupaebbhnungthisthitkhamiphupkpxng thieriykwa chincungami 鎮守神 chinjugami sungkhuxkhamithiphithkskpxngbriewnphunthihnung echn hmuban thnn xakhar hruxaemaet wdphuthth aela phrarachwng epriybethiybkbkhwamechuxaebbithykhlaykb phiecathi 7 sahrbincingku ci salecachincuchacaeriykwa chincu od 8 9 xangxing aekikh Stuart D B Picken 1994 p xxiii 2 0 2 1 Bernhard Scheid Religiose Bauwerke in Japan phasaeyxrmn University of Vienna subkhnemux 27 June 2010 Iwanami yipun Kōjien ormaci 広辞苑 Japanese dictionary Mori Mizue 5 0 5 1 Fujita Koga 2008 20 21 khxmulcakhna salecaxasakusa bnwikiphiediyphasaithy Iwanami yipun Kōjien ormaci 広辞苑 Japanese dictionary 6th Edition 2008 DVD version Tamura Yoshiro 2000 Japanese Buddhism A Cultural History First ed Tokyo Kosei Publishing Company p 86 ISBN 978 4 333 01684 6 Bocking Brian 1997 A Popular Dictionary of Shinto Jisha Routledge ISBN 978 0 7007 1051 5 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title salecachinot amp oldid 9323729, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม