fbpx
วิกิพีเดีย

มหายาน

พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน

ความหมายของมหายาน

 
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ด้านความเมตตา
 
พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ด้านกำลัง
 
พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ด้านปัญญา
 
พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ด้านกรุณา
 
พระกษิติครรภโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ด้านปณิธาน

มหายาน (สันสกฤต: महायान, จีน: 大乘; ญี่ปุ่น: 大乗; เวียดนาม: Đại Thừa; เกาหลี: 대승) มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี-สันสกฤต มหา + ยาน แปลว่า พาหนะที่ใหญ่ เป็นคำเรียกที่อาศัยการเปรียบเทียบ จากคำว่า หีนยาน ซึ่งแปลว่า พาหนะที่เล็ก ๆ มหายานยังมีความหมายว่า “ยานที่สูงสุด” ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน คำว่ามหายาน ไม่เพียงแต่เป็นยานใหญ่และสูงสุดเท่านั้น หากเป็นยานที่รื้อขนสรรพสัตว์ได้ทุกประเภททุกวัย รวมทั้งสัตว์โลกทุกรูปนาม เพื่อไปสู่พระนิพพาน และยานนี้ยังหมายถึงยานที่จะไปถึงพุทธภูมิ แล้วสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

คำว่า มหายาน จึงเป็นการเปรียบเทียบหมายถึงการขนสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากกว่าสาวกยาน ในคัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ คุรุนาคารชุนะ ปราชญ์ฝ่ายมหายาน ได้อธิบายความหมายของมหายานไว้ว่า “พระพุทธธรรมมีเอกรสเดียว คือ รสแห่งวิมุตติ ความรอดพ้นจากปวงทุกข์ แต่ชนิดของรสมี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเพื่อตัวเอง และชนิดที่สองเพื่อตัวเองและสรรพสัตว์ด้วย” อันหมายความว่า ฝ่ายสาวกยานมุ่งเพียงความหลุดพ้นเป็นอรหันต์สิ้นกิเลสเฉพาะตน ไม่มีปณิธานในการโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นด้วย แต่ฝ่ายมหายานย่อมมีอุคมคติตรงกันข้าม กล่าวคือ ย่อมมุ่งพุทธภูมิมีปณิธานจะตรัสรู้เป็นพระพุทธะเพื่อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์จนหมดสิ้น อธิบายว่า พุทธศาสนิกชนฝ่ายสาวกยานโดยทั่วไปมุ่งแต่สาวกภูมิเป็นสำคัญ ฉะนั้น จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สาวกยาน ส่วนพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานย่อมมุ่งพุทธภูมิทั้งนั้น จึงมีอีกชื่อว่า โพธิสัตวยาน หรือ พุทธยาน

ในสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ได้อธิบายความหมายของมหายานว่า “ถ้าสรรพสัตว์ได้สดับธรรมจากพระผู้มีพระภาค แล้วบังเกิดศรัทธาความเชื่อ ปสาทะความเลื่อมใส ได้วิริยะบำเพ็ญบารมีเพื่อสัพพัญญุตญาณอันเป็นธรรมชาติ ญาณอันปราศจากครูอาจารย์ ญาณแห่งพระตถาคต กำลังความกล้าหาญ มีความกรุณาปรารถนาต่อความสุขของสรรพสัตว์ บำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์ต่อทวยเทพและมนุษย์ โปรดสรรพนิกรให้พ้นทุกข์ นั่นชื่อว่า มหายาน”

นอกจากนี้ พระนาคารชุนได้กล่าวไว้ในทวาทศนิกายศาสตร์อีกว่า “มหายานคือยานอันประเสริฐกว่ายานทั้ง 2 เหตุนั้น จึงชื่อว่า 'มหายาน' พระพุทธเจ้าทั้งหลายอันใหญ่ยิ่ง ทรงอาศัยซึ่งยานนี้ และยานนี้จะสามารถนำเราเข้าถึงพระองค์ได้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' อนึ่ง ปวงพระพุทธเจ้าผู้มหาบุรุษได้อาศัยยานนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า 'มหา' และอีกทั้งสามารถดับทุกข์อันไพศาลของสรรพสัตว์และประกอบประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้ถึงพร้อม เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' อนึ่ง พระโพธิสัตว์ทั้งปวง มีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม), พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์, พระเมตไตรยโพธิสัตว์, พระมัญชุศรีโพธิสัตว์, พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ เป็นต้น ปวงมหาบุรุษได้ทรงอาศัย เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' อนึ่ง เมื่ออาศัยยานนี้แล้ว ก็ย่อมเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวง เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา'”

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีข้อความที่ยกย่องมหายานอีกเป็นจำนวนมากในคัมภีร์ของมหายาน เช่นเรียกว่า อนุตรยาน (ยานอันสูงสุด), โพธิสัตวยาน (ยานของพระโพธิสัตว์), พุทธยาน (ยานของพระพุทธเจ้า), เอกยาน (ยานอันเอก) เป็นต้น เพราะฉะนั้นคำว่า ยาน ในพระพุทธศาสนาจึงเป็นดั่งคำเปรียบเปรยของมรรควิถีอันจะนำไปสู่ความหลุดพ้นในรูปแบบที่แตกต่างกันนั่นเอง

กล่าวโดยสรุป ยานในพระพุทธศาสนาได้แบ่งออกเป็น 3 (ตามมติฝ่ายมหายาน) คือ

  1. สาวกยาน หรือ ศฺราวกยาน (เซียบุ้งเส็ง) คือยานของพระสาวก ที่มุ่งเพียงอรหัตภูมิ รู้แจ้งในอริยสัจ 4 ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า
  2. ปัจเจกยาน หรือ ปฺรตฺเยกพุทฺธยาน (ต๊กกักเส็ง) คือยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ผู้รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ให้บรรลุมรรคผลได้
  3. โพธิสัตตยาน หรือ โพธิสัตวยาน (ผู่สักเส็ง) คือยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีน้ำใจกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหัตภูมิ, ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวางกว่า 2 ยานแรก และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนยตาธรรม

พัฒนาการของพุทธศาสนามหายาน

หลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี

ในกาลต่อมาต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เกิดการสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุด อย่างไรก็ตาม การสังคายนาแต่ละครั้งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางความคิดในหมู่สงฆ์ จนก่อให้เกิดการแยกฝ่ายที่มีความคิดเห็นไม่ลงรอยกันในส่วนหลักธรรมและข้อวัตรปฏิบัติ

กล่าวกันว่า มูลเหตุของการแยกนิกายในพุทธศาสนามาจากในคราวใกล้เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้” (มหาปรินิพพานสูตร 10/141) พุทธดำรัสดังกล่าวไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้เกิดมีปัญหาในการตีความว่า สิกขาบทไหนเรียกว่าเล็กน้อย เป็นเหตุให้พระภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับการสังคายนาครั้งหลังๆ อีกหลายครั้ง เป็นเหตุให้มีกลุ่มที่แยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการแตกแยกทางลัทธิและนิกาย แต่ก็มิได้ถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใด

หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ 100 ปี อันเป็นช่วงเวลาที่มีการสังคายนาครั้งที่ 2 ได้มีคณะสงฆ์กลุ่มหนึ่งเรียกว่า มหาสังฆิกะ ซึ่งมีจำนวนมาก ได้แยกตนออกไปต่างหากจากกลุ่มเถรวาทเดิม การแยกตัวของมหาสังฆิกะนี้มีมูลเหตุจากความเห็นที่แตกต่างเรื่องหลักปฏิบัติของภิกษุ หลังจากนั้นมหาสังฆิกะได้แยกกลุ่มนิกายย่อยออกไปอีก 18 นิกาย เนื่องจากมีทัศนะ อุดมคติ การตีความหลักธรรม และวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นภิกษุบางรูปในนิกายทั้ง 18 นี้ ได้แยกตนออกมาตั้งคณะใหม่โดยถือปรัชญาและหลักจริยวัตรของตน กระทั่งในราวพุทธศตวรรษที่ 5 จึงได้เกิดกลุ่มคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ที่เรียกตนเองว่า "มหายาน" ขึ้น แม้จะมีที่มาไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานได้ว่าพัฒนาจากนิกายมหาสังฆิกะ ผสมผสานกับปรัชญาของนิกายพุทธศาสนาอื่นทั้ง 18 นิกาย รวมทั้งนิกายเถรวาทด้วย ก่อกำเนิดเป็นลัทธิมหายาน

แม้ไม่อาจกำหนดให้แน่ชัดลงไปได้ว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่แน่ชัดคือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ (ศตวรรษที่ 1 แห่งคริสต์ศักราช) ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกพระองค์แรกของนิกายมหายาน ได้ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานอย่างมั่นคงในราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงส่งธรรมทูตออกเผยแพร่ยังนานาประเทศ เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราชของฝ่ายเถรวาท

แนวคิดเรื่องตรีกาย

หลักการสำคัญประการหนึ่งของมหายานอยู่ที่หลักเรื่อง ตรีกาย อันหมายถึงพระกายทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้า ในกายตรัยสูตรของมหายาน พระอานนท์ทูลถามถึงเรื่องพระกายของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า ตถาคตมีกายเป็น 3 สภาวะคือตรีกาย อันได้แก่

  • นิรมาณกาย หมายถึง กายที่เปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพของสังขารในฐานะที่เป็นมนุษย์ พระศากยมุนีผู้ท่องเที่ยวอยู่บนโลก สั่งสอนธรรมแก่สาวกของพระองค์ และดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา
  • สัมโภคกาย หมายถึง กายที่ประทับในแดนพุทธเกษตรต่างๆ มีลักษณะเป็นทิพย์ มีอายุที่ยืนยาวมากดุจความเป็นนิรันดร์ และมีภาวะรุ่งเรืองแผ่ซ่านปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
  • ธรรมกาย หมายถึง กายอันไร้รูปร่างเป็นสภาวธรรม ในฐานะเป็นสภาพสูงสุด หลักแห่งความรู้, ความกรุณา และความสมบูรณ์

มหายานชั้นแรกดูเหมือนจะมีทัศนะตรงกับเถรวาทที่ว่า พระพุทธเจ้ามีพระกายเพียง 2 เท่านั้นคือ ธรรมกาย และนิรมานกาย ธรรมกายนั้นมีพระพุทธวจนะที่ตรัสโดยตรงในบาลีอัคคัญญสูตรแห่งทีฆนิกาย ส่วนนิรมาณกายนั้นได้แก่พระกายของพระศาสดาที่ประกอบด้วยขันธ์ 5 ในคัมภีร์ฝ่ายมาธยมิกชั้นแรก ก็ยังไม่พบกายที่ 3 ธรรมกาย ตามนัยแห่งเถรวาทหมายถึงพระคุณทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้า อันได้แก่ พระปัญญาคุณ, พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ มหายานได้สร้างแนวความคิดตรีกายขึ้นด้วยวิธีเพิ่มกายอีกกายหนึ่งเข้าไป คือ สัมโภคกาย ซึ่งเป็นกายของพระพุทธองค์อันสำแดงปรากฏให้เห็นเฉพาะหมู่ พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ เป็นทิพยภาวะมีรัศมีรุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป เพราะฉะนั้น แม้จนกระทั่งบัดนี้ พระโพธิสัตว์ก็ยังอาจจะเห็นพระศากยมุนีพุทธเจ้าได้ในรูปสัมโภคกาย พระพุทธองค์ยังทรงอาจสดับคำสวดมนต์ต์ของเรา แม้พระองค์จะดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ดี ทั้งนี้ก็ด้วยการดับขันธปรินิพพานนั้นเป็นเพียงการสำแดงให้เห็นปรากฏในรูปนิรมานกายเท่านั้น ส่วน ธรรมกาย นั้น ก็เป็นสภาวะอมตะ ไร้รูปร่างลักษณะ เป็นอจินไตย(นึกคิดหรือเดาไม่ได้หรืออยู่นอกเหนือความคิดออกไป) ไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด แผ่คลุมอยู่ทั่วไป ความคิดเรื่องสัมโภคกายนี้ มหายานได้รับจากนิกายมหาสังฆิกะ และในหมู่คณาจารย์ของมหายานก็ไม่มีความเห็นพ้องกันในเรื่องนี้

มหาปณิธาน 4

นอกจากดังที่กล่าวมาแล้ว พระโพธิสัตว์ยังต้องมีมหาปณิธานอีก 4 ซึ่งถือเป็นหลักการของผู้ดำเนินตามวิถีมหายาน ดังนี้

  1. เราจะละกิเลสทั้งปวงให้สิ้น
  2. เราจะศึกษาพระธรรมให้เจนจบ
  3. เราจะโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงความตรัสรู้
  4. เราจะต้องบรรลุพุทธภูมิอันประเสริฐ

จุดมุ่งหมายของมหายาน

หลักสำคัญของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือหลักแห่งพระโพธิสัตวภูมิซึ่งเป็นหลักที่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแต่ละนิกายยอมรับนับถือ มหายานทุกนิกายย่อมมุ่งหมายโพธิสัตวภูมิ ซึ่งเป็นเหตุที่ให้บรรลุพุทธภูมิ บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จะบรรลุถึงพุทธภูมิได้ ต้องผ่านการบำเพ็ญจริยธรรมแห่งพระโพธิสัตว์มาก่อน เพราะฉะนั้น จึงถือว่าโพธิสัตวภูมิเป็นเหตุ พุทธภูมิเป็นผล เมื่อบรรลุพุทธภูมิเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมโปรดสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นได้กว้างขวาง และขณะบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ยังสามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ในสังสารวัฏได้มากมาย อุดมคติอันเป็นจุดหมายสูงสุดของมหายานจึงอยู่ที่การบำเพ็ญบารมีตามแนวทางพระโพธิสัตว์ เพื่อนำพาสรรพสัตว์สู่ความหลุดพ้นจากวัฏสงสารให้หมดสิ้น

คัมภีร์ของมหายาน

พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมิได้ปฏิเสธพระไตรปิฎกดั้งเดิม หากแต่ถือว่าอาจยังไม่เพียงพอ เนื่องจากเกิดมีแนวคิดว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นโลกุตรสภาวะ ไม่อาจดับสูญ ที่ชาวโลกคิดว่าพระพุทธองค์ดับสูญไปแล้วนั้นเป็นเพียงภาพมายาของรูปขันธ์ แต่ธรรมกายอันเป็นสภาวธรรมของพระองค์เป็นธาตุพุทธะบริสุทธิ์ยังดำรงอยู่ต่อไป มหายานถือว่ามนุษย์ทุกคนมี พุทธธาตุ เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า หากมีกิเลสอวิชชาบดบังธาตุพุทธะจึงไม่ปรากฏ หากกิเลสอวิชชาเบาบางลงเท่าใดธาตุพุทธะก็จะปรากฏมากขึ้นเท่านั้น มหายานมีแนวคิดว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิและมีความสามารถที่จะบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ และสามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ หากฝึกฝนชำระจิตใจจนบริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยบารมีทั้ง 10 ประการ พระโพธิสัตว์ของฝ่ายมหายานจึงมีมากมาย แม้พระพุทธเจ้าก็มีปริมาณที่ไม่อาจคาดคำนวณได้ และพระโพธิสัตว์ทุกองค์ย่อมโปรดสรรพสัตว์เช่นเดียวกับจริยาของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระโพธิสัตว์จึงมีน้ำหนักเท่ากับพระไตรปิฎก ในพุทธศาสนามหายานจึงมีคัมภีร์สำคัญระดับเดียวกับพระไตรปิฎกเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก เพื่อให้เหมาะสมกับจริตและอินทรีย์ของสรรพสัตว์แต่ละจำพวก อีกทั้งเพื่อเป็นกุศโลบายในการสั่งสอนพุทธธรรม ทั้งนี้ก็เพื่อเจตจำนงจะเกื้อกูลสรรพชีวิตทั้งมวลให้ถึงพุทธรรมและบรรลุความหลุดพ้นจากสังสารวัฏ คัมภีร์ของมหายานดั้งเดิมเขียนขึ้นด้วยภาษาสันสกฤต แต่ก็มิใช่สันสกฤตแท้ หากเป็นภาษาสันสกฤตที่ปะปนกับภาษาปรากฤตตลอดจนภาษาบาลีและภาษาท้องถิ่นอื่นๆ เรียกว่าภาษาสันสกฤตทางพุทธศาสนา คัมภีร์เหล่านี้กล่าวในฐานะเป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าบ้าง คำสอนพระโพธิสัตว์บ้าง หรือแม้แต่ทวยเทพต่างๆ โดยมีเนื้อหาหลากหลาย สันนิษฐานว่าพระสูตรปรัชญาปารมิตา เป็นพระสูตรมหายานรุ่นเก่าที่สุด และได้มีการเขียนพระสูตรขึ้นต่อมาอีกอย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยคุปตะ พระสูตรบางเรื่องก็เกิดขึ้นในประเทศจีน และในหมู่คณาจารย์ของมหายานเองก็เขียนคัมภีร์ที่แสดงหลักปรัชญาอันลึกซึ้งของตน เรียกว่าศาสตร์ซึ่งเทียบได้กับอภิธรรมของฝ่ายเถรวาท ที่มีชื่อเสียงคือ มาธยมกศาสตร์, โยคาจารภูมิศาสตร์, อภิธรรมโกศศาสตร์, มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ในประเทศต่างๆ ที่นับถือมหายาน ก็มีการรจนาคัมภีร์ขึ้นเพื่อสั่งสอนหลักการของตนเองอีกเป็นอันมาก คัมภีร์ของมหายานจึงมีมากมายเท่าๆกับความหลากหลายและการแตกแยกทางความคิดในหมู่นักปราชญ์ของมหายาน

มนุษย์ทุกคนมีธาตุพุทธะร่วมกับพระพุทธเจ้า ถ้ามีกิเลสมาบดบังธาตุพุทธะก็ไม่ปรากฏ มนุษย์ทุกคนจึงมีศักยภาพที่จะ เป็นพระโพธิสัตว์ได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า ถ้าได้รับการฝึกฝนชำระจิตใจจนบริสุทธิ์ พระโพธิสัตว์จึงมีจำนวน มหาศาล และมีหน้าที่ส่งเสริมงานของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระโพธิสัตว์จึงมีน้ำหนักเท่ากับพระไตรปิฎก ด้วยสำนึก เช่นนี้ ฝ่ายมหายานจึงมีคัมภีร์เกิดขึ้นมากมาย และให้ความเคารพเทียบเท่าพระไตรปิฎก

พระวินัยปิฎกมหายาน

แม้นว่ามหายานจะมีทั้งพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม แต่พระวินัยของมหายานนั้น นอกจากจะมี 250 ข้อแล้ว ยังไม่ได้เป็นหมวดหมู่แบบเถรวาท สังฆกรรมต่าง ๆ ของฝ่ายมหายานต้องใช้คัมภีร์วินัยของสรวาสติวาท ธรรมคุปตะ มหาสังฆิกะ และมหิศาสกะ

สิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ 250 ข้อ ของฝ่ายมหายาน มีดังนี้ คือ

  1. ปาราชิก 4
  2. สังฆาทิเสส 13
  3. อนิยต 2
  4. นิสสัคคียปาจิตตีย์ 30
  5. ปาจิตตีย์ 90
  6. ปาฏิเทสนีย์ 4
  7. เสขิยะ 100
  8. อธิกรณสมถะ 7

สิกขาบทของมหายานได้เพิ่มวินัยของพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่กล่าวไว้ในพรหมชาลสูตร เรียก พรหมชาลโพธิสัตวศีล และ โยคะโพธิสัตวศีล ซึ่งอยู่ในคัมภีร์โยคาจารภูมิศาสตร์ปกรณ์พิเศษของนิกายวิชญาณวาทิน และมีข้อที่น่าสังเกตอีกอย่างคือ วินัยของโพธิสัตว์นั้นแม้จะต้องครุกาบัติ เป็นปาราชิกในโพธิสัตว์สิกขาบทก็สามารถ สมาทานใหม่ได้ ไม่เหมือนกับภิกขุปาฏิโมกข์ ซึ่งทำคืนอีกไม่ได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าสิกขาบทของภิกขุอยู่ในขอบเขตจำกัด ของปัจจุบันชาติ ส่วนสิกขาบทของโพธิสัตว์นั้นไม่จำกัดชาติ

ดังนั้น กุลบุตรฝ่ายมหายานเมื่ออุปสัมปทากรรมแล้วก็จะต้องรับศีลโพธิสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมพรหมชาล โพธิสัตว์ศีลมากกว่า โยคะโพธิสัตวศีล และศีลพระโพธิสัตว์นี้ได้ห้ามภิกษุฉันเนื้อสัตว์ ของสดคาว และหัวหอม หัวกระเทียม เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วย ส่งเสริมให้เกิดกำหนัดราคะกางกั้นจิตมิให้บรรลุสมาธิ และการกินเนื้อสัตว์นี้อาจกินถูกเนื้อบิดามารดาในชาติก่อนๆ ของตน ผู้รับศีลโพธิสัตว์จึงต้องถือมังสะวิรัติอย่างเคร่งครัด พระสงฆ์มหายานของจีนได้รับการยอมรับกันว่า ปฏิบัติในข้อนี้ได้เคร่งครัด กว่าพวกมหายานในประเทศอื่นๆ

ลัทธิมหายานมิได้มีภิกขุปาฏิโมกข์เป็นเอกเทศ คงปฏิบัติวินัยบัญญัติตามพระปาฏิโมกข์ของฝ่ายสาวกยาน แต่มีแปลกจากฝ่ายสาวกยานคือ โพธิสัตวสิกขา เพราะลัทธิมหายานสอนให้มุ่งพุทธิภูมิ บุคคลจึงต้องประพฤติโพธิจริยา มีศีลโพธิสัตวเป็นที่อาศัย วินัยโพธิสัตวนี้สาธารณทั่วไปแม้แก่ฆราวาสชนด้วย มีโพธิสัตวกุศลศีลสูตร 9 ผูก, พุทธ ปิฏกสูตร 4 ผูก, พรหมชาลสูตร (ต่างฉบับกับบาลี) 2 ผูก, โพธิสัตวศีลมูลสูตร 1 ผูก และอื่นๆ อีก พึงสังเกตว่าเรียกคัมภีร์เหล่านี้ว่า ?สูตร? มิได้จัดเป็นปิฎกหนึ่งต่างหาก อรรถกถาพระสูตรของคันถรจนาจารย์อินเดีย

พระสุตตันตปิฎกมหายาน

ชื่อพระสูตรสำคัญของมหายานที่คนส่วนใหญ่รู้จัก รวบรวมจากหนังสือของคณะสงฆ์จีนนิกายมี ดังนี้

  1. ปรัชญาปารมิตา
  2. ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
  3. อวตังสกสูตร 《大方廣佛華嚴經》
  4. คัณฑวยุหสูตร
  5. ทศภูมิกสูตร
  6. วิมลเกียรตินิทเทศสูตร《維摩詰經》
  7. ศูรางคมสูตร《大佛頂首楞嚴經》
  8. สัทธรรมปุณฑรีกสูตร 《妙法蓮華經》
  9. ศรีมาลาเทวีสูตร
  10. พรหมชาลสูตร (มหายาน)
  11. สุขาวดีวยุหสูตร《佛說大乘無量壽莊嚴清浄平等覺經)》
  12. ตถาคตครรภสูตร
  13. อสมปูรณอนุสูตร
  14. อุตรสรณสูตร
  15. มหาปรินิรวาณสูตร《大般涅盤經》
  16. สันธินิรโมจนสูตร
  17. ลังกาวตารสูตร《楞伽阿跋多羅寶經》/《楞伽經》
  18. พระสูตร 42 บท หรือ พระพุทธวจนะ 42 บท ชาวมหายานเชื่อว่าเป็นสูตรแรกที่ได้รับการแปลสู่พากย์จีน โดยท่านกาศยปะมาตังคะ และท่านธรรมรักษ์ เมื่อ พ.ศ. 612 รัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเม่งเต้ แห่งราชวงศ์ฮั่น
  19. โมหมาลาหรือร้อยอุทาหรณ์สูตร ซึ่งพระสิงหเสนเถระคัดมาจากนิทานที่ปรากฏในพระสูตร แล้วยกขึ้นมาตั้งเป็นอุทาหรณ์ (คณะสงฆ์จีนนิกายมหายาน. ม.ป.ป. : 225)

ในบรรดาพระสูตรเหล่านี้ ปรัชญาปารมิตาสูตรจัดว่าเป็นสูตรดั้งเดิมที่สุด เป็นมูลฐานทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องศูนยตา นอกจากนี้ก็มีอวตังสกสูตร เป็นสูตรสำคัญที่สุดของนิกายมหายาน เพราะเป็นพระสูตรที่เชื่อกันว่า พระพุทธองค์ทรง สั่งสอนเองเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในขณะที่พระองค์เข้าสมาธิ เข้าใจกันว่า ใจความสำคัญขอ'พระสูตรนี้ น่าจะเป็นของ พระโพธิสัตว์มากกว่า ซึ่งเราจะพิจารณาได้จากข้อความในหนังสือพระพุทธศาสนานิกายมหายานของคณะสงฆ์จีนนิกาย (ม.ป.ป. : 228-229)

นอกจากนี้ก็มีพระสูตรที่สำคัญอีกเช่นกันคือ วิมลเกียรตินิทเทศสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่มีปรัชญาเป็นมูลฐาน นิกายเซ็น ( Zen ) จึงชอบและนิยมมากที่สุด และพระสูตรที่สำคัญที่สุดซึ่งนิกายมหายานในจีนและญี่ปุ่นนับถือกันมากคือ สัทธรรมปุณฑริกสูตร คำสั่งสอนในนิกายเท็นได นิจิเร็น ล้วนอาศัยพระสูตรนี้เป็นรากฐานทั้งสิ้น และวัดในนิกายเซ็น ก็ต้องสวดพระสูตรนี้เป็นประจำทุกวัน ทั้งนี้เพราะเชื่อกันว่า พระสูตรนี้เป็นพระสูตรสุดท้ายของพระพุทธองค์จึงมีผู้แปลมาก โดยเฉพาะในภาษาจีนมี 3 ฉบับ แต่ที่ถือกันว่าเป็นฉบับที่ดีที่สุด คือ ของท่านกุมารชีพ

พระสูตรมหายานแบ่งเป็นหมวดได้ดังนี้

หมวดอวตังสกะ

หมวดนี้มีพระสูตรใหม่สูตรหนึ่งเป็นหัวใจคือ พุทธาวตังสกมหาไวปุลยสูตร 80 ผูก และมีสูตรปกิณณะย่อยๆ อีกหลายสูตร

หมวดไวปุลยะ

มีพระสูตรใหญ่ชื่อมหารัตนกูฏสูตร 120 ผูก เป็นหัวใจ มหาสังคีติสูตร 10 ผูก, มหายานโพธิสัตว์ปิฎกสูตร 20 ผูก, ตถาคตอจินไตยรหัศยมหายานสูตร 30 ผูก, สุวรรณประภาสสูตร 10 ผูก, กรุณาปุณฑริกสูตร 11 ผูก, มหายานมหาสังคีติกษิติครรภทศจักรสูตร 10 ผูก, มหาไวปุลยมหาสังคีติโพธิสัตวพุทธานุสสติสมาธิสูตร 10 ผูก,จันทร ประทีปสมาธิสูตร 11 ผูก, ลังกาวตารสูตร 7 ผูก, สันธินิรโมจนสูตร 5 ผูก, วิเศษจินดาพรหมปุจฉาสูตร 4 ผูก, อักโษภยพุทธเกษตรสูตร 2 ผูก, ไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาสปูรวประณิธานสูตร 2 ผูก, ลมโยปมสมาธิสูตร 3 ผูก, ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร 1 ผูก, อมิตายุรธยานสูตร 1 ผูก, มหาสุขาวดีวยูหสูตร 2 ผูก, อจินไตยประภาสโพธิสัตวนิทเทสูตร 1 ผูก, ศูรางคมสมาธิสูตร 3 ผูก, วิมลกีรตินิทเทศสูตร 3 ผูก และอื่นๆ อีกมากสูตรนัก ฯลฯ

อนึ่งคัมภีร์ฝ่ายลัทธิมนตรยานก็จัดสงเคราะห์ลงในหมวดไวปุลยะนี้ มีพระสูตรสำคัญ เช่น มหาไวโรจนสูตร 7 ผูก, เอกอักขระพุทธอุษฯราชาสูตร 6 ผูก, มหามณีวิปุลยะวิมาน วิศวศุภประดิษฐานคุหยปรมรหัสยะกัลปราชธารณีสูตร 3 ผูก, สุสิทธิกรสูตร 3 ผูก, วัชร เสขรสูตร 7 ผูก, โยคมหาตันตระราชาสูตร 5 ผูก, มหามรีจิโพธิสัตวสูตร 7 ผูก, วัชรเสข ระประโยคโหมตันตระ 1 ผูก, มหาสุวรรณมยุรีราชาธารณีสูตร 2 ผูก ฯลฯ

หมวดปรัชญา

มีพระสูตรใหญ่ ชื่อมหาปรัชญาปารมิตาสูตร 600 ผูก เป็นหัวใจ และมีสูตรปกิณณะ เช่น ราชไมตรีโลกปาลปารมิตาสูตร 2 ผูก วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร 1 ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ

หมวดสัทธรรมปุณฑริก

มีพระสูตรใหญ่ ชื่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร 8 ผูก เป็นหัวใจ และมีสูตรปกิณณะ เช่น อนิวรรตธรรมจักรสูตร 4 ผูก, วัชรสมาธิสูตร 2 ผูก, มหาธรรมเภรีสูตร 2 ผูก, สมันตภัทรโพธิสัตวจริยธรรมธยานสูตร 1 ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ

หมวดปรินิรวาณ

มีพระสูตรใหญ่ ชื่อมหาปรินิรวาณสูตร 40 ผูก เป็นหัวใจ มีสูตรปกิณณะ เช่น มหากรุณาสูตร 5 ผูก, มหามายาสูตร 2 ผูก, มหาเมฆสูตร 4 ผูก, อันตรภาวสูตร 2 ผูก เป็น อาทิ ฯลฯ

อรรถกถาสุตตันตปิฎกมหายาน

มี 33 ปกรณ์ เช่น มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ 100 ผูก แก้คัมภีร์มหาปรัชญาปารมีตาสูตร, ทศภูมิวิภาษาศาสตร์ 15 ผูก, สัทธรรมปุณฑริกสูตรอุปเทศ 2 ผูกเป็นอาทิ อรรถกถาพระสูตรของคันถรจนาจารย์จีน

มี 38 ปกรณ์ เช่น อรรถกถาพุทธาวตังสกมหาไพบูลยสูตร 60 ผูก และปกรณ์ ประเภทเดียวกันอีก 5 คัมภีร์ นอกนั้นมีอรรถกถาลังกาวตารสูตร 8 ผูก, อรรถกถาวิมล กีรตินิทเทศสูตร 10 ผูก, อรรถกถาสุวรรณประภาสสูตร 6 ผูก, อรรถกถาสัทธรรม ปุณฑริกสูตร 20 ผูก, อรรถกถามหาปรินิรวาณสูตร 33 ผูก เป็นอาทิ

ปกรณ์วิเศษของคันถรจนาจารย์อินเดีย มี 104 ปกรณ์ เช่น โยคาจารภูมิศาสตร์ 100 ผูก, ปกรณารยวาจาศาสตร์การิกา 20 ผูก, มหายานอภิธรรมสังยุกตสังคีคิศาสตร์ 16 ผูก, มหายานสัมปริครหศาสตร์ 3 ผูก, มัธยานตวิภังคศาสตร์ 2 ผูก เหตุวิทยาศาสตร์ 1 ผูก, มหายสนศรัทโธตปาทศาสตร์ 2 ผูก, มาธยมิกศาสตร์ 2 ผูก, ศตศาสตร์ 2 ผูก, มหายานวตารศาสตร์ 2 ผูก, มหายาน โพธิสัตวศึกษาสังคีติศาสตร์ 11 ผูก, มหายานสูตราลังการ 15 ผูก, ชาตกมาลา 10 ผูก, มหาปุรุษศาสตร์ 2 ผูก, สังยุกตอวทาน 2 ผูก ทวาทศทวารศาสตร์ 1 ผูก นอกนั้นก็เป็นปกรณ์สั้นๆ เช่น วิฃญาณมาตราตรีทศศาสตร์, วีศติกวิชญานมาตราศาสตร์, อลัมพนปริกษ ศาสตร์, อุปายหฤทัยศาสตร์, หัตถธารศาสตร์, วิชญานประวัตรศาสตร์, วิชญานนิทเทศ ศาสตร์, มหายานปัญจสกันธศาสตร์เป็นอาทิ

พระอภิธรรมปิฎกมหายาน

ส่วนพระอภิธรรมของมหายาน กำเนิดขึ้นเมื่อล่วงได้ 500 ปี นับแต่พุทธปรินิพพาน ในครั้งแรกไม่จัดเข้าเป็นปิฎก แต่พึ่งมาจัดเข้าในภายหลัง เรียกว่า ศาสตร์ เป็นนิพนธ์ของคณาจารย์อินเดีย เช่น นาคารชุน เทวะ อสังคะวสุพันธุ สถิรมติ ธรรมปาละ ภาวิเวก และทินนาค เป็นต้น ศาสตร์ของพวกมหายานส่วนใหญ่เป็นของฝ่ายวิชญาณวาทิน และศูนยตวาทิน ศาสตร์ที่ใหญ่และยาวที่สุด คือ โยคาจารภูมิศาสตร์

วิสุทธิภูมิหรือพุทธเกษตร

 
พระอมิตาภพุทธะและพุทธเกษตรในคติมหายาน
 
พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าและพุทธเกษตรในคติมหายาน

มหายานมีคติว่า พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์มีจำนวนมากมายดุจเมล็ดทรายในคงคานที และในจักรวาลอันเวิ้งว้างนี้ ก็มีโลกธาตุที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติแสดงพระสัทธรรมเทศนาอยู่ทั่วไปนับประมาณมิได้ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต แม้ในโลกธาตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะดับขันธปรินิพพานไปแล้ว แต่ในขณะนี้ ณ โลกธาตุอื่นก็มีพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ ทรงดำรงพระชนม์อยู่ และกำลังสั่งสอนสรรพสัตว์ โลกธาตุที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัตินั้น บางทีเรียกว่า พุทธเกษตร บางพุทธเกษตรบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยทิพยภาวะน่ารื่นรมย์ พุทธเกษตรนั้นไม่ใช่นิพพาน เกิดขึ้นด้วยอำนาจปณิธานของพระพุทธเจ้า เป็นสถานที่สรรพสัตว์ในโลกธาตุอื่น ๆ ควรมุ่งไป"เกิด" พุทธเกษตรสำคัญที่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางในหมู่พุทธศาสนิกชนคือ สุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภพุทธะ อยู่ทางทิศตะวันตกแห่งโลกธาตุนี้ พุทธเกษตรของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นพุทธเกษตรที่ชือว่า ศุทธิไวฑูรย์ ซึ่งมีรัศมีไพโรจน์แล้วด้วยมณีไพฑูรย์เเละไพลิน พุทธเกษตรของพระอักโษภยะแห่งหนึ่งที่มีชื่อว่า อภิรดีโลกธาตุ และมณฑลเกษตรของพระเมตไตรยโพธิสัตว์ในดุสิตสวรรค์อีกแห่งหนึ่ง เกษตรทั้ง 4 นี้ ปรากฏว่าสุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภะ เป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานมากที่สุด ถึงกับสามารถตั้งเป็นนิกายโดยเอกเทศต่างหาก

วิสุทธิภูมิเป็นหลักการสำคัญของมหายาน โดยนับเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะยังสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ ด้วยวิธีตั้งจิตประณิธานพึ่งอำนาจพุทธบารมีแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อไปอุบัติยังแดนพุทธเกษตรเหล่านั้น หากสรรพสัตว์มีศรัทธาเชื่อมั่นในพุทธบารมีย่อมสามารถไปอุบัติ ณ พุทธเกษตร เมื่อได้สดับธรรมะต่อเบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ ดินแดนนั้นแล้ว ย่อมบรรลุนิรวาณอันสงบ มหายานอธิบายว่าวิธีการหลุดพ้นจากสังสารวัฏเป็นได้ 2 กรณี คือพึ่งอำนาจตนเอง และพึ่งอำนาจผู้อื่น (คือพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์) การมุ่งขัดเกลากิเลสด้วยตนเองอาจเป็นไปได้ยากสำหรับปุถุชนสามัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคเสื่อมของพระสัทธรรม ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดจะนำสรรพสัตว์ถ้วนหน้าไปสู่ความหลุดพ้นก็คือการพึ่งอำนาจบารมีพระพุทธองค์ รับสรรพสัตว์เหล่านั้นไปสู่วิสุทธิภูมิเพื่อปฏิบัติธรรมและตรัสรู้ ณ ดินแดนนั้น อันเอื้ออำนวยต่อการหลุดพ้นมากกว่าโลกนี้ อย่างน้อยที่สุด ณ พุทธเกษตรเหล่านั้นก็จะไม่มีความทุกข์ใด ๆ ทุกผู้ทุกนามที่มีจิตตั้งมั่นอธิษฐานอุทิศขอไปเกิดยังพุทธเกษตรก็ย่อมได้อุบัติในพุทธเกษตรทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็ด้วยปณิธานแห่งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ณ พุทธเกษตรเหล่านั้นนั่นเอง ผู้ที่อุบัติในพุทธเกษตรย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เวียนลงต่ำ ย่อมไม่เกิดในโลกมนุษย์ตลอดจนภูมิที่ต่ำลงมาอีกแล้ว มุ่งตรงต่อพระนิรวาณอย่างเที่ยงแท้ หลักการนี้จึงมีคำกล่าวว่า "มหายานสำหรับมหาชน" กล่าวคือสามารถรื้อขนสรรพสัตว์ไปสู่ความหลุดพ้นได้โดยเสมอภาคนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในหมู่คณาจารย์ของนิกายมหายานก็ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไปในประเด็นนี้ เช่น นิกายสุขาวดีถือว่าพระอมิตาภะมีอยู่จริงและสุขาวดีอยู่ทางทิศตะวันตกของโลกนี้อย่างแน่นอน ขณะที่คณาจารย์บางท่านอธิบายว่าพระอมิตาภะแท้จริงแล้วก็คือพุทธภาวะที่บริสุทธิ์มีในสรรพสัตว์ และถือว่าวิสุทธิภูมินั้นก็อยู่ภายในจิตของเราเอง ดังที่ท่านเว่ยหล่างแห่งนิกายเซนกล่าวว่า "คนหลงสวดภาวนาถึงพระอมิตาภะปรารถนาไปอุบัติยังสุขาวดี แต่บัณฑิตพึงชำระจิตของตนให้สะอาด..." และในวิมลกีรตินิรเทศสูตรก็มีข้อความว่า "เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว พุทธเกษตรก็ย่อมบริสุทธิ์" ดังนี้เป็นต้น

การบำเพ็ญบารมี (ทศปารมิตา)

โพธิสัตวยาน คือยานของพระโพธิสัตว์ ได้แก่ผู้บำเพ็ญบารมีธรรม ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหัตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวางกว่า และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนยตาธรรม หลักพระโพธิสัตวยานนั้น ถือว่าจะต้องโปรดสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นทุกข์เสียก่อนแล้วตัวเราค่อยหลุดพ้นทุกข์ทีหลัง คือจะต้องชักพาให้สัตว์โลกอื่น ๆ ให้พ้นไปเสียก่อน ส่วนตัวเราเป็นคนสุดท้ายที่จะหลุดพ้นไป เป็นหลักแห่งโพธิสัตวยาน ซึ่งพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญ ทศปารมิตา คือบารมี 10 ของฝ่ายมหายาน ได้แก่

  • ทานปารมิตา หรือ ทานบารมี
  • ศีลปารมิตา หรือ ศีลบารมี
  • กฺษานฺติปารมิตา หรือ ขันติบารมี
  • วีรฺยปารมิตา หรือ วิริยบารมี
  • ธฺยานปารมิตา หรือ ฌานบารมี
  • ปฺรชฺญาปารมิตา หรือ ปัญญาบารมี
  • อุปายปารมิตา หรืออุบายบารมี
  • ปฺรณิธานปารมิตา หรือประณิธานบารมี
  • พลปารมิตา หรือ พลบารมี
  • ชฺญานปารมิตา หรือ ญาณบารมี

นิกายย่อยของมหายาน

พุทธศาสนามหายานแตกเป็นนิกายย่อยๆต่างกันไปในแต่ละประเทศดังนี้

ดูเพิ่ม

ข้อมูลเพิ่มเติม

มหาสางฆิกะ ปราติโมกษ์ Archived 2020-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อ้างอิง

  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ ปัญจสติกขันธกะ (เรื่องพระมหากัสสปเถระ สังคายนาปรารภคำของพระสุภัททวุฑฒบรรพชิต). พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[1]>. เข้าถึงเมื่อ 9-6-52
  • คณะสงฆ์จีนนิกาย.พระพุทธศาสนามหายาน.กรุงเทพ ฯ : ธนาคารกรุงเทพพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการ,2531.
  • ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม.โอเดียนสโตร์. 2548
  • เสฐียร พันธรังษี.พุทธศาสนามหายาน.กรุงเทพ ฯ : สุขภาพใจ,2543.
  • เสถียร โพธินันทะ.ปรัชญามหายาน.กรุงเทพ ฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย,2541.
  • อภิชัย โพธิประสิทธิศาสตร์.พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพ ฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย,2539.
  • Conze, Edward. Buddhist Scripture. London : Penguin Book, 1973.
  • D.T.Suzuki.Outline of Mahayana Buddhism.New York : Schocken Book,1973.
  • Davids, Rhys. Buddhism India. Patna :Indological Book House,1973.
  • Dayal H. The Bodhisattva Doctrine In Buddhist Sanskrit Literature. Delhi: Motilal Banarasidas,1970.
  • Dutt, Nalinaksha. Mahayana Buddhism. Delhi : Motilal Banarasidas,1977.
  • Kimura, Ryukan. History of Term Hinayana and Mahayana and The Origin of Mahayana Buddhism. Patana : Indological Book,1978.
  • McGovern,W.M.An Introduction to Mahayana Buddhism.Vanarasi : Sahityaratan Malakarijalaya,1967.

มหายาน, พระพ, ทธศาสนาฝ, าย, เป, นน, กายในศาสนาพ, ทธฝ, ายอาจร, ยวาท, บถ, อก, นอย, ประเทศแถบตอนเหน, อของอ, นเด, เนปาล, เกาหล, เว, ยดนาม, มองโกเล, ไปจนถ, งบางส, วนของร, สเซ, ดเด, นของน, กายน, อย, แนวค, ดเร, องการบำเพ, ญตนเป, นพระโพธ, ตว, สร, างบารม, เพ, อช, วยเหล. phraphuththsasnafaymhayan epnnikayinsasnaphuththfayxacriywath thinbthuxknxyupraethsaethbtxnehnuxkhxngxinediy enpal cin yipun ekahli ewiydnam mxngokeliy ipcnthungbangswnkhxngrsesiy cudednkhxngnikaynixyuthiaenwkhideruxngkarbaephytnepnphraophthistwsrangbarmiephuxchwyehluxsrrphchiwitinolkipsukhwamphnthukkh dwyehtuthimiphunbthuxxyumakinpraethsaethbehnuxcungeriykidxikchuxhnungwa xuttrnikay pccubnphuththsasnikchnswnihykhxngolkepnphunbthuxnikaymhayan enuxha 1 khwamhmaykhxngmhayan 2 phthnakarkhxngphuththsasnamhayan 3 aenwkhideruxngtrikay 4 mhapnithan 4 5 cudmunghmaykhxngmhayan 6 khmphirkhxngmhayan 6 1 phrawinypidkmhayan 6 2 phrasuttntpidkmhayan 6 2 1 hmwdxwtngska 6 2 2 hmwdiwpulya 6 2 3 hmwdprchya 6 2 4 hmwdsththrrmpunthrik 6 2 5 hmwdprinirwan 6 2 6 xrrthkthasuttntpidkmhayan 6 3 phraxphithrrmpidkmhayan 7 wisuththiphumihruxphuththekstr 8 karbaephybarmi thsparmita 9 nikayyxykhxngmhayan 10 duephim 11 khxmulephimetim 12 xangxingkhwamhmaykhxngmhayan aekikh phraxwolkietswrophthistw phraophthistwdankhwamemtta phramhasthampraptophthistw phraophthistwdankalng phramychusriophthistw phraophthistwdanpyya phrasmntphthrophthistw phraophthistwdankruna phraksitikhrrphophthistw phraophthistwdanpnithan mhayan snskvt मह य न cin 大乘 yipun 大乗 ewiydnam Đại Thừa ekahli 대승 macakthatusphthphasabali snskvt mha yan aeplwa phahnathiihy epnkhaeriykthixasykarepriybethiyb cakkhawa hinyan sungaeplwa phahnathielk mhayanyngmikhwamhmaywa yanthisungsud tamkhwamechuxkhxngphuththsasnikchnfaymhayan khawamhayan imephiyngaetepnyanihyaelasungsudethann hakepnyanthiruxkhnsrrphstwidthukpraephththukwy rwmthngstwolkthukrupnam ephuxipsuphraniphphan aelayanniynghmaythungyanthicaipthungphuththphumi aelwsaercepnphrasmmasmphuththecakhawa mhayan cungepnkarepriybethiybhmaythungkarkhnstwihkhamphnwtsngsaridmakkwasawkyan inkhmphirmhaprchyaparmitasastr khurunakharchuna prachyfaymhayan idxthibaykhwamhmaykhxngmhayaniwwa phraphuthththrrmmiexkrsediyw khux rsaehngwimutti khwamrxdphncakpwngthukkh aetchnidkhxngrsmi 2 chnid khux chnidaerkephuxtwexng aelachnidthisxngephuxtwexngaelasrrphstwdwy xnhmaykhwamwa faysawkyanmungephiyngkhwamhludphnepnxrhntsinkielsechphaatn immipnithaninkaroprdsrrphstwihthungkhwamhludphndwy aetfaymhayanyxmmixukhmkhtitrngknkham klawkhux yxmmungphuththphumimipnithancatrsruepnphraphuththaephuxkhnstwihphnthukkhcnhmdsin xthibaywa phuththsasnikchnfaysawkyanodythwipmungaetsawkphumiepnsakhy chann cungeriykxikchuxhnungwa sawkyan swnphuththsasnikchnfaymhayanyxmmungphuththphumithngnn cungmixikchuxwa ophthistwyan hrux phuththyaninsththrrmpunthriksutr idxthibaykhwamhmaykhxngmhayanwa thasrrphstwidsdbthrrmcakphraphumiphraphakh aelwbngekidsrththakhwamechux psathakhwameluxmis idwiriyabaephybarmiephuxsphphyyutyanxnepnthrrmchati yanxnprascakkhruxacary yanaehngphratthakht kalngkhwamklahay mikhwamkrunaprarthnatxkhwamsukhkhxngsrrphstw baephyhitanuhitpraoychntxthwyethphaelamnusy oprdsrrphnikrihphnthukkh nnchuxwa mhayan nxkcakni phranakharchunidklawiwinthwathsnikaysastrxikwa mhayankhuxyanxnpraesrithkwayanthng 2 ehtunn cungchuxwa mhayan phraphuththecathnghlayxnihyying thrngxasysungyanni aelayannicasamarthnaeraekhathungphraxngkhid ehtunncungchuxwa mha xnung pwngphraphuththecaphumhaburusidxasyyanni ehtunn cungchuxwa mha aelaxikthngsamarthdbthukkhxniphsalkhxngsrrphstwaelaprakxbpraoychnxnyingihyihthungphrxm ehtunncungchuxwa mha xnung phraophthistwthngpwng miphraxwolkietswrophthistw ecaaemkwnxim phramhasthampraptophthistw phraemtitryophthistw phramychusriophthistw phrasmntphthrophthistw aelaphraksitikhrrphmhaophthistw epntn pwngmhaburusidthrngxasy ehtunncungchuxwa mha xnung emuxxasyyanniaelw kyxmekhathungthisudaehngthrrmthngpwng ehtunncungchuxwa mha nxkcakthiklawmaaelw yngmikhxkhwamthiykyxngmhayanxikepncanwnmakinkhmphirkhxngmhayan echneriykwa xnutryan yanxnsungsud ophthistwyan yankhxngphraophthistw phuththyan yankhxngphraphuththeca exkyan yanxnexk epntn ephraachannkhawa yan inphraphuththsasnacungepndngkhaepriybeprykhxngmrrkhwithixncanaipsukhwamhludphninrupaebbthiaetktangknnnexngklawodysrup yaninphraphuththsasnaidaebngxxkepn 3 tammtifaymhayan khux sawkyan hrux s rawkyan esiybungesng khuxyankhxngphrasawk thimungephiyngxrhtphumi ruaecnginxriysc 4 dwykarsdbcakphraphuththeca pceckyan hrux p rt eykphuth thyan tkkkesng khuxyankhxngphrapceckphuththeca idaekphuruaecnginpticcsmupbathdwytnexng aetimsamarthaesdngthrrmsngsxnstwihbrrlumrrkhphlid ophthisttyan hrux ophthistwyan phuskesng khuxyankhxngphraophthistw sungidaekphuminaickwangkhwang prakxbdwymhakrunainsrrphstw imtxngkarxrhtphumi pceckphumi aetprarthnaphuththphumi ephuxoprdstwidkwangkhwangkwa 2 yanaerk aelaepnphuruaecnginsunytathrrmphthnakarkhxngphuththsasnamhayan aekikhhlngcakphraokhtmphuththecaesdcdbkhnthpriniphphanid 3 eduxn phrasawkphuidekhysdbsngsxnkhxngphraxngkhcanwn 500 rup kprachumthasngkhaynakhrngaerk n thastbrrnkhuha iklemuxngrachkhvh aekhwnmkhth ichewlasxbthanxyu 7 eduxn cungpramwlkhasxnkhxngphraphuththecaidsaercepnkhrngaerk nbepnbxekidkhxngkhmphirphraitrpidk khasxnthilngmtikniwinkhrngpthmsngkhaynaaelaidnbthuxknsubma eriykwa ethrwath aeplwa khasxnthiwangiwepnhlkkarodyphraethra khawa ethra inthini hmaythungphraethraphuprachumthasngkhaynakhrngaerk aelaphraphuththsasnasungthuxtamhlkthiidsngkhaynakhrngaerkdngklaw eriykwa nikayethrwath xnhmaythung khnasngkhklumthiyudkhasngsxnkhxngphraphuththeca thngthxykha aelaenuxkhwamthithansngkhaynaiwodyekhrngkhrd tlxdcnrksaaemaettwphasadngedimkhuxphasabali 1 inkaltxmatxmaemuxmipyhakhdaeyng phraethraphuihykprachumkhcdkhxkhdaeyngkn ekidkarsngkhaynatxmaxikhlaykhrng cnidphraitrpidkkhxngfayethrwathdngthieraruckknthukwnni sungthuxknthwipwaepnkhasxnodytrngkhxngphraphuththecathinbwaiklekhiyngthisud xyangirktam karsngkhaynaaetlakhrngaesdngihehnthungkhwamaetktangthangkhwamkhidinhmusngkh cnkxihekidkaraeykfaythimikhwamkhidehnimlngrxykninswnhlkthrrmaelakhxwtrptibtiklawknwa mulehtukhxngkaraeyknikayinphuththsasnamacakinkhrawiklesdcdbkhnthpriniphphan phraphuththecaidtrskbphraxannthwa dukrxannth odykallwngipaehngera thasngkhtxngkarkcngthxnsikkhabthelknxyesiybangkid mhapriniphphansutr 10 141 phuththdarsdngklawimchdecnephiyngphx thaihekidmipyhainkartikhwamwa sikkhabthihneriykwaelknxy epnehtuihphraphiksubangrupimehndwy aelaimyxmrbsngkhaynamatngaetkhrngaerk aelaehtukarnechnniekidkhunkbkarsngkhaynakhrnghlng xikhlaykhrng epnehtuihmiklumthiaeyktwthasngkhaynatanghak epnkaraetkaeykthanglththiaelanikay aetkmiidthuxwaepnkaraebngaeyksasnaaetprakaridhlngcakphraphuththxngkhpriniphphanid 100 pi xnepnchwngewlathimikarsngkhaynakhrngthi 2 idmikhnasngkhklumhnungeriykwa mhasngkhika sungmicanwnmak idaeyktnxxkiptanghakcakklumethrwathedim karaeyktwkhxngmhasngkhikanimimulehtucakkhwamehnthiaetktangeruxnghlkptibtikhxngphiksu hlngcaknnmhasngkhikaidaeykklumnikayyxyxxkipxik 18 nikay enuxngcakmithsna xudmkhti kartikhwamhlkthrrm aelawtrptibtithiaetktangkn hlngcaknnphiksubangrupinnikaythng 18 ni idaeyktnxxkmatngkhnaihmodythuxprchyaaelahlkcriywtrkhxngtn krathnginrawphuththstwrrsthi 5 cungidekidklumkhnasngkhaelakhvhsththieriyktnexngwa mhayan khun aemcamithimaimaenchd aetsnnisthanidwaphthnacaknikaymhasngkhika phsmphsankbprchyakhxngnikayphuththsasnaxunthng 18 nikay rwmthngnikayethrwathdwy kxkaenidepnlththimhayanaemimxackahndihaenchdlngipidwa phraphuththsasnanikaymhayanerimthuxkaenidkhuntngaetemuxid aetthiaenchdkhux phraecakniskamharach kstriyxngkhthi 7 aehngrachwngskusana stwrrsthi 1 aehngkhristskrach thrngepnexkxkhrsasnupthmphkphraxngkhaerkkhxngnikaymhayan idthrngplukfngphraphuththsasnamhayanxyangmnkhnginrachxanackrkhxngphraxngkh aelathrngsngthrrmthutxxkephyaephryngnanapraeths epriybidkbphraecaxoskmharachkhxngfayethrwathaenwkhideruxngtrikay aekikhhlkkarsakhyprakarhnungkhxngmhayanxyuthihlkeruxng trikay xnhmaythungphrakaythng 3 khxngphraphuththeca inkaytrysutrkhxngmhayan phraxannththulthamthungeruxngphrakaykhxngphraphuththeca phraphuththecacungtrsaekphraxannthwa tthakhtmikayepn 3 sphawakhuxtrikay xnidaek nirmankay hmaythung kaythiepliynaeplngidtamsphaphkhxngsngkharinthanathiepnmnusy phrasakymuniphuthxngethiywxyubnolk sngsxnthrrmaeksawkkhxngphraxngkh aeladbkhnthpriniphphanemuxphrachnmayuid 80 phrrsa smophkhkay hmaythung kaythiprathbinaednphuththekstrtang milksnaepnthiphy mixayuthiyunyawmakduckhwamepnnirndr aelamiphawarungeruxngaephsanpraktaekphraophthistwthnghlay thrrmkay hmaythung kayxnirruprangepnsphawthrrm inthanaepnsphaphsungsud hlkaehngkhwamru khwamkruna aelakhwamsmburnmhayanchnaerkduehmuxncamithsnatrngkbethrwaththiwa phraphuththecamiphrakayephiyng 2 ethannkhux thrrmkay aelanirmankay thrrmkaynnmiphraphuththwcnathitrsodytrnginbalixkhkhyysutraehngthikhnikay swnnirmankaynnidaekphrakaykhxngphrasasdathiprakxbdwykhnth 5 inkhmphirfaymathymikchnaerk kyngimphbkaythi 3 thrrmkay tamnyaehngethrwathhmaythungphrakhunthng 3 khxngphraphuththeca xnidaek phrapyyakhun phrawisuththikhun aelaphramhakrunathikhun mhayanidsrangaenwkhwamkhidtrikaykhundwywithiephimkayxikkayhnungekhaip khux smophkhkay sungepnkaykhxngphraphuththxngkhxnsaaedngpraktihehnechphaahmu phraophthistw mhastw epnthiphyphawamirsmirungeruxngaephsanthwip ephraachann aemcnkrathngbdni phraophthistwkyngxaccaehnphrasakymuniphuththecaidinrupsmophkhkay phraphuththxngkhyngthrngxacsdbkhaswdmnttkhxngera aemphraxngkhcadbkhnthpriniphphanipaelwkdi thngnikdwykardbkhnthpriniphphannnepnephiyngkarsaaedngihehnpraktinrupnirmankayethann swn thrrmkay nn kepnsphawaxmta irrupranglksna epnxcinity nukkhidhruxedaimidhruxxyunxkehnuxkhwamkhidxxkip immiebuxngtn thamklang thisud aephkhlumxyuthwip khwamkhideruxngsmophkhkayni mhayanidrbcaknikaymhasngkhika aelainhmukhnacarykhxngmhayankimmikhwamehnphxngknineruxngnimhapnithan 4 aekikhnxkcakdngthiklawmaaelw phraophthistwyngtxngmimhapnithanxik 4 sungthuxepnhlkkarkhxngphudaenintamwithimhayan dngni eracalakielsthngpwngihsin eracasuksaphrathrrmihecncb eracaoprdsrrphstwihthungkhwamtrsru eracatxngbrrluphuththphumixnpraesrithcudmunghmaykhxngmhayan aekikhhlksakhykhxngphraphuththsasnafaymhayan khuxhlkaehngphraophthistwphumisungepnhlkthiphraphuththsasnafaymhayanaetlanikayyxmrbnbthux mhayanthuknikayyxmmunghmayophthistwphumi sungepnehtuthiihbrrluphuththphumi bukhkhlhnungbukhkhlidthicabrrluthungphuththphumiid txngphankarbaephycriythrrmaehngphraophthistwmakxn ephraachann cungthuxwaophthistwphumiepnehtu phuththphumiepnphl emuxbrrluphuththphumiepnphrasmmasmphuththecayxmoprdstwihthungkhwamhludphnidkwangkhwang aelakhnabaephybarmiepnphraophthistw kyngsamarthchwyehluxsrrphstwthitkthukkhinsngsarwtidmakmay xudmkhtixnepncudhmaysungsudkhxngmhayancungxyuthikarbaephybarmitamaenwthangphraophthistw ephuxnaphasrrphstwsukhwamhludphncakwtsngsarihhmdsinkhmphirkhxngmhayan aekikhswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidphraphuththsasnafaymhayanmiidptiesthphraitrpidkdngedim hakaetthuxwaxacyngimephiyngphx enuxngcakekidmiaenwkhidwa phraphuththecathrngepnolkutrsphawa imxacdbsuy thichawolkkhidwaphraphuththxngkhdbsuyipaelwnnepnephiyngphaphmayakhxngrupkhnth aetthrrmkayxnepnsphawthrrmkhxngphraxngkhepnthatuphuththabrisuththiyngdarngxyutxip mhayanthuxwamnusythukkhnmi phuthththatu echnediywkbphraphuththeca hakmikielsxwichchabdbngthatuphuththacungimprakt hakkielsxwichchaebabanglngethaidthatuphuththakcapraktmakkhunethann mhayanmiaenwkhidwamnusythukkhnmisiththiaelamikhwamsamarththicabaephybarmiepnphraophthistw aelasamarthtrsruepnphraphuththecaid hakfukfncharaciticcnbrisuththiphudphxngdwybarmithng 10 prakar phraophthistwkhxngfaymhayancungmimakmay aemphraphuththecakmiprimanthiimxackhadkhanwnid aelaphraophthistwthukxngkhyxmoprdsrrphstwechnediywkbcriyakhxngphraphuththeca khasxnkhxngphraophthistwcungminahnkethakbphraitrpidk inphuththsasnamhayancungmikhmphirsakhyradbediywkbphraitrpidkephimkhunepnxnmak ephuxihehmaasmkbcritaelaxinthriykhxngsrrphstwaetlacaphwk xikthngephuxepnkusolbayinkarsngsxnphuthththrrm thngnikephuxectcanngcaekuxkulsrrphchiwitthngmwlihthungphuththrrmaelabrrlukhwamhludphncaksngsarwt khmphirkhxngmhayandngedimekhiynkhundwyphasasnskvt aetkmiichsnskvtaeth hakepnphasasnskvtthipapnkbphasaprakvttlxdcnphasabaliaelaphasathxngthinxun eriykwaphasasnskvtthangphuththsasna khmphirehlaniklawinthanaepnphrathrrmethsnakhxngphraphuththecabang khasxnphraophthistwbang hruxaemaetthwyethphtang odymienuxhahlakhlay snnisthanwaphrasutrprchyaparmita epnphrasutrmhayanrunekathisud aelaidmikarekhiynphrasutrkhuntxmaxikxyangtxenuxngcnthungsmykhupta phrasutrbangeruxngkekidkhuninpraethscin aelainhmukhnacarykhxngmhayanexngkekhiynkhmphirthiaesdnghlkprchyaxnluksungkhxngtn eriykwasastrsungethiybidkbxphithrrmkhxngfayethrwath thimichuxesiyngkhux mathymksastr oykhacarphumisastr xphithrrmokssastr mhayansrthothtpathsastr epntn nxkcakniinpraethstang thinbthuxmhayan kmikarrcnakhmphirkhunephuxsngsxnhlkkarkhxngtnexngxikepnxnmak khmphirkhxngmhayancungmimakmayethakbkhwamhlakhlayaelakaraetkaeykthangkhwamkhidinhmunkprachykhxngmhayanmnusythukkhnmithatuphuththarwmkbphraphuththeca thamikielsmabdbngthatuphuththakimprakt mnusythukkhncungmiskyphaphthica epnphraophthistwidechnediywkbphraphuththeca thaidrbkarfukfncharaciticcnbrisuththi phraophthistwcungmicanwn mhasal aelamihnathisngesrimngankhxngphraphuththeca khasxnkhxngphraophthistwcungminahnkethakbphraitrpidk dwysanuk echnni faymhayancungmikhmphirekidkhunmakmay aelaihkhwamekharphethiybethaphraitrpidk phrawinypidkmhayan aekikh aemnwamhayancamithngphrawiny phrasutr aelaphraxphithrrm aetphrawinykhxngmhayannn nxkcakcami 250 khxaelw yngimidepnhmwdhmuaebbethrwath sngkhkrrmtang khxngfaymhayantxngichkhmphirwinykhxngsrwastiwath thrrmkhupta mhasngkhika aelamhisaskasikkhabthinphrapatiomkkh 250 khx khxngfaymhayan midngni khux parachik 4 sngkhathiess 13 xniyt 2 nisskhkhiypacittiy 30 pacittiy 90 patiethsniy 4 eskhiya 100 xthikrnsmtha 7sikkhabthkhxngmhayanidephimwinykhxngphraophthistwsungepnswnhnungthiklawiwinphrhmchalsutr eriyk phrhmchalophthistwsil aela oykhaophthistwsil sungxyuinkhmphiroykhacarphumisastrpkrnphiesskhxngnikaywichyanwathin aelamikhxthinasngektxikxyangkhux winykhxngophthistwnnaemcatxngkhrukabti epnparachikinophthistwsikkhabthksamarth smathanihmid imehmuxnkbphikkhupatiomkkh sungthakhunxikimid thngniephraathuxwasikkhabthkhxngphikkhuxyuinkhxbekhtcakd khxngpccubnchati swnsikkhabthkhxngophthistwnnimcakdchatidngnn kulbutrfaymhayanemuxxupsmpthakrrmaelwkcatxngrbsilophthistw sungswnihyniymphrhmchal ophthistwsilmakkwa oykhaophthistwsil aelasilphraophthistwniidhamphiksuchnenuxstw khxngsdkhaw aelahwhxm hwkraethiym ephraasingehlanichwy sngesrimihekidkahndrakhakangkncitmiihbrrlusmathi aelakarkinenuxstwnixackinthukenuxbidamardainchatikxn khxngtn phurbsilophthistwcungtxngthuxmngsawirtixyangekhrngkhrd phrasngkhmhayankhxngcinidrbkaryxmrbknwa ptibtiinkhxniidekhrngkhrd kwaphwkmhayaninpraethsxunlththimhayanmiidmiphikkhupatiomkkhepnexkeths khngptibtiwinybyytitamphrapatiomkkhkhxngfaysawkyan aetmiaeplkcakfaysawkyankhux ophthistwsikkha ephraalththimhayansxnihmungphuththiphumi bukhkhlcungtxngpraphvtiophthicriya misilophthistwepnthixasy winyophthistwnisatharnthwipaemaekkhrawaschndwy miophthistwkuslsilsutr 9 phuk phuthth pitksutr 4 phuk phrhmchalsutr tangchbbkbbali 2 phuk ophthistwsilmulsutr 1 phuk aelaxun xik phungsngektwaeriykkhmphirehlaniwa sutr miidcdepnpidkhnungtanghak xrrthkthaphrasutrkhxngkhnthrcnacaryxinediy phrasuttntpidkmhayan aekikh chuxphrasutrsakhykhxngmhayanthikhnswnihyruck rwbrwmcakhnngsuxkhxngkhnasngkhcinnikaymi dngni prchyaparmita prchyaparmitahvthysutr xwtngsksutr 大方廣佛華嚴經 khnthwyuhsutr thsphumiksutr wimlekiyrtinithethssutr 維摩詰經 surangkhmsutr 大佛頂首楞嚴經 sththrrmpunthriksutr 妙法蓮華經 srimalaethwisutr phrhmchalsutr mhayan sukhawdiwyuhsutr 佛說大乘無量壽莊嚴清浄平等覺經 tthakhtkhrrphsutr xsmpurnxnusutr xutrsrnsutr mhaprinirwansutr 大般涅盤經 snthiniromcnsutr lngkawtarsutr 楞伽阿跋多羅寶經 楞伽經 phrasutr 42 bth hrux phraphuththwcna 42 bth chawmhayanechuxwaepnsutraerkthiidrbkaraeplsuphakycin odythankasypamatngkha aelathanthrrmrks emux ph s 612 rchsmykhxngphraecahnemnget aehngrachwngshn omhmalahruxrxyxuthahrnsutr sungphrasinghesnethrakhdmacaknithanthipraktinphrasutr aelwykkhunmatngepnxuthahrn khnasngkhcinnikaymhayan m p p 225 inbrrdaphrasutrehlani prchyaparmitasutrcdwaepnsutrdngedimthisud epnmulthanthvsdithiwadwyeruxngsunyta nxkcaknikmixwtngsksutr epnsutrsakhythisudkhxngnikaymhayan ephraaepnphrasutrthiechuxknwa phraphuththxngkhthrng sngsxnexngepnewla 3 spdahinkhnathiphraxngkhekhasmathi ekhaicknwa ickhwamsakhykhx phrasutrni nacaepnkhxng phraophthistwmakkwa sungeracaphicarnaidcakkhxkhwaminhnngsuxphraphuththsasnanikaymhayankhxngkhnasngkhcinnikay m p p 228 229 nxkcaknikmiphrasutrthisakhyxikechnknkhux wimlekiyrtinithethssutr sungepnphrasutrthimiprchyaepnmulthan nikayesn Zen cungchxbaelaniymmakthisud aelaphrasutrthisakhythisudsungnikaymhayanincinaelayipunnbthuxknmakkhux sththrrmpunthriksutr khasngsxninnikayethnid niciern lwnxasyphrasutrniepnrakthanthngsin aelawdinnikayesn ktxngswdphrasutrniepnpracathukwn thngniephraaechuxknwa phrasutrniepnphrasutrsudthaykhxngphraphuththxngkhcungmiphuaeplmak odyechphaainphasacinmi 3 chbb aetthithuxknwaepnchbbthidithisud khux khxngthankumarchiphphrasutrmhayanaebngepnhmwdiddngni hmwdxwtngska aekikh hmwdnimiphrasutrihmsutrhnungepnhwickhux phuththawtngskmhaiwpulysutr 80 phuk aelamisutrpkinnayxy xikhlaysutr hmwdiwpulya aekikh miphrasutrihychuxmhartnkutsutr 120 phuk epnhwic mhasngkhitisutr 10 phuk mhayanophthistwpidksutr 20 phuk tthakhtxcinityrhsymhayansutr 30 phuk suwrrnpraphassutr 10 phuk krunapunthriksutr 11 phuk mhayanmhasngkhitiksitikhrrphthsckrsutr 10 phuk mhaiwpulymhasngkhitiophthistwphuththanusstismathisutr 10 phuk cnthr prathipsmathisutr 11 phuk lngkawtarsutr 7 phuk snthiniromcnsutr 5 phuk wiesscindaphrhmpucchasutr 4 phuk xkosphyphuththekstrsutr 2 phuk iphschykhuruiwthurypraphaspurwpranithansutr 2 phuk lmoypmsmathisutr 3 phuk srimalaethwisinghnathsutr 1 phuk xmitayurthyansutr 1 phuk mhasukhawdiwyuhsutr 2 phuk xcinitypraphasophthistwnithethsutr 1 phuk surangkhmsmathisutr 3 phuk wimlkirtinithethssutr 3 phuk aelaxun xikmaksutrnk lxnungkhmphirfaylththimntryankcdsngekhraahlnginhmwdiwpulyani miphrasutrsakhy echn mhaiworcnsutr 7 phuk exkxkkhraphuththxusrachasutr 6 phuk mhamniwipulyawiman wiswsuphpradisthankhuhyprmrhsyaklprachtharnisutr 3 phuk susiththikrsutr 3 phuk wchr eskhrsutr 7 phuk oykhmhatntrarachasutr 5 phuk mhamriciophthistwsutr 7 phuk wchreskh rapraoykhohmtntra 1 phuk mhasuwrrnmyurirachatharnisutr 2 phuk l hmwdprchya aekikh miphrasutrihy chuxmhaprchyaparmitasutr 600 phuk epnhwic aelamisutrpkinna echn rachimtriolkpalparmitasutr 2 phuk wchrprchyaparmitasutr 1 phuk epnxathi l hmwdsththrrmpunthrik aekikh miphrasutrihy chuxsththrrmpunthriksutr 8 phuk epnhwic aelamisutrpkinna echn xniwrrtthrrmckrsutr 4 phuk wchrsmathisutr 2 phuk mhathrrmephrisutr 2 phuk smntphthrophthistwcriythrrmthyansutr 1 phuk epnxathi l hmwdprinirwan aekikh miphrasutrihy chuxmhaprinirwansutr 40 phuk epnhwic misutrpkinna echn mhakrunasutr 5 phuk mhamayasutr 2 phuk mhaemkhsutr 4 phuk xntrphawsutr 2 phuk epn xathi l xrrthkthasuttntpidkmhayan aekikh mi 33 pkrn echn mhaprchyaparmitasastr 100 phuk aekkhmphirmhaprchyaparmitasutr thsphumiwiphasasastr 15 phuk sththrrmpunthriksutrxupeths 2 phukepnxathi xrrthkthaphrasutrkhxngkhnthrcnacarycinmi 38 pkrn echn xrrthkthaphuththawtngskmhaiphbulysutr 60 phuk aelapkrn praephthediywknxik 5 khmphir nxknnmixrrthkthalngkawtarsutr 8 phuk xrrthkthawiml kirtinithethssutr 10 phuk xrrthkthasuwrrnpraphassutr 6 phuk xrrthkthasththrrm punthriksutr 20 phuk xrrthkthamhaprinirwansutr 33 phuk epnxathipkrnwiesskhxngkhnthrcnacaryxinediy mi 104 pkrn echn oykhacarphumisastr 100 phuk pkrnarywacasastrkarika 20 phuk mhayanxphithrrmsngyuktsngkhikhisastr 16 phuk mhayansmprikhrhsastr 3 phuk mthyantwiphngkhsastr 2 phuk ehtuwithyasastr 1 phuk mhaysnsrthothtpathsastr 2 phuk mathymiksastr 2 phuk stsastr 2 phuk mhayanwtarsastr 2 phuk mhayan ophthistwsuksasngkhitisastr 11 phuk mhayansutralngkar 15 phuk chatkmala 10 phuk mhapurussastr 2 phuk sngyuktxwthan 2 phuk thwathsthwarsastr 1 phuk nxknnkepnpkrnsn echn wikhyanmatratrithssastr wistikwichyanmatrasastr xlmphnpriks sastr xupayhvthysastr htththarsastr wichyanprawtrsastr wichyannitheths sastr mhayanpycsknthsastrepnxathi phraxphithrrmpidkmhayan aekikh swnphraxphithrrmkhxngmhayan kaenidkhunemuxlwngid 500 pi nbaetphuththpriniphphan inkhrngaerkimcdekhaepnpidk aetphungmacdekhainphayhlng eriykwa sastr epnniphnthkhxngkhnacaryxinediy echn nakharchun ethwa xsngkhawsuphnthu sthirmti thrrmpala phawiewk aelathinnakh epntn sastrkhxngphwkmhayanswnihyepnkhxngfaywichyanwathin aelasunytwathin sastrthiihyaelayawthisud khux oykhacarphumisastrwisuththiphumihruxphuththekstr aekikh phraxmitaphphuththaaelaphuththekstrinkhtimhayan phraiphschykhuruphuththecaaelaphuththekstrinkhtimhayan mhayanmikhtiwa phraphuththecaaelaphraophthistwmicanwnmakmayducemldthrayinkhngkhanthi aelainckrwalxnewingwangni kmiolkthatuthimiphraphuththecamaxubtiaesdngphrasththrrmethsnaxyuthwipnbpramanmiid thnginxdit pccubn aelaxnakht aeminolkthatuniphrasmmasmphuththecacadbkhnthpriniphphanipaelw aetinkhnani n olkthatuxunkmiphraphuththecaxngkhxun thrngdarngphrachnmxyu aelakalngsngsxnsrrphstw olkthatuthimiphraphuththecamaxubtinn bangthieriykwa phuththekstr bangphuththekstrbrisuththismburndwythiphyphawanarunrmy phuththekstrnnimichniphphan ekidkhundwyxanacpnithankhxngphraphuththeca epnsthanthisrrphstwinolkthatuxun khwrmungip ekid phuththekstrsakhythiepnthiruckknkwangkhwanginhmuphuththsasnikchnkhux sukhawdiphuththekstrkhxngphraxmitaphphuththa xyuthangthistawntkaehngolkthatuni phuththekstrkhxngphraiphschykhuruiwthurypraphaxyuthangthistawnxxk epnphuththekstrthichuxwa suththiiwthury sungmirsmiiphorcnaelwdwymniiphthuryeelaiphlin phuththekstrkhxngphraxkosphyaaehnghnungthimichuxwa xphirdiolkthatu aelamnthlekstrkhxngphraemtitryophthistwindusitswrrkhxikaehnghnung ekstrthng 4 ni praktwasukhawdiphuththekstrkhxngphraxmitapha epnthinbthuxkhxngphuththsasnikchnfaymhayanmakthisud thungkbsamarthtngepnnikayodyexkethstanghakwisuththiphumiepnhlkkarsakhykhxngmhayan odynbepnwithithanghnungthicayngsrrphstwihhludphncaksngsarwt dwywithitngcitpranithanphungxanacphuththbarmiaehngphrasmmasmphuththeca ephuxipxubtiyngaednphuththekstrehlann haksrrphstwmisrththaechuxmninphuththbarmiyxmsamarthipxubti n phuththekstr emuxidsdbthrrmatxebuxngphraphktrkhxngphraphuththeca n dinaednnnaelw yxmbrrlunirwanxnsngb mhayanxthibaywawithikarhludphncaksngsarwtepnid 2 krni khuxphungxanactnexng aelaphungxanacphuxun khuxphraphuththecaaelaphraophthistw karmungkhdeklakielsdwytnexngxacepnipidyaksahrbputhuchnsamy odyechphaaxyangyinginyukhesuxmkhxngphrasththrrm dngnnwithithidithisudcanasrrphstwthwnhnaipsukhwamhludphnkkhuxkarphungxanacbarmiphraphuththxngkh rbsrrphstwehlannipsuwisuththiphumiephuxptibtithrrmaelatrsru n dinaednnn xnexuxxanwytxkarhludphnmakkwaolkni xyangnxythisud n phuththekstrehlannkcaimmikhwamthukkhid thukphuthuknamthimicittngmnxthisthanxuthiskhxipekidyngphuththekstrkyxmidxubtiinphuththekstrthngsin thngnikdwypnithanaehngphraphuththecaaelaphraophthistw n phuththekstrehlannnnexng phuthixubtiinphuththekstryxmidchuxwaepnphuimewiynlngta yxmimekidinolkmnusytlxdcnphumithitalngmaxikaelw mungtrngtxphranirwanxyangethiyngaeth hlkkarnicungmikhaklawwa mhayansahrbmhachn klawkhuxsamarthruxkhnsrrphstwipsukhwamhludphnidodyesmxphakhnnexngxyangirktam inhmukhnacarykhxngnikaymhayankyngmikhwamkhidehnaetktangknxxkipinpraednni echn nikaysukhawdithuxwaphraxmitaphamixyucringaelasukhawdixyuthangthistawntkkhxngolknixyangaennxn khnathikhnacarybangthanxthibaywaphraxmitaphaaethcringaelwkkhuxphuththphawathibrisuththimiinsrrphstw aelathuxwawisuththiphuminnkxyuphayincitkhxngeraexng dngthithanewyhlangaehngnikayesnklawwa khnhlngswdphawnathungphraxmitaphaprarthnaipxubtiyngsukhawdi aetbnthitphungcharacitkhxngtnihsaxad aelainwimlkirtinirethssutrkmikhxkhwamwa emuxcitbrisuththiaelw phuththekstrkyxmbrisuththi dngniepntnkarbaephybarmi thsparmita aekikhophthistwyan khuxyankhxngphraophthistw idaekphubaephybarmithrrm prakxbdwymhakrunainsrrphstw imtxngkarxrhtphumi pceckphumi aetprarthnaphuththphumi ephuxoprdstwidkwangkhwangkwa aelaepnphuruaecnginsunytathrrm hlkphraophthistwyannn thuxwacatxngoprdsrrphstwihhludphnthukkhesiykxnaelwtwerakhxyhludphnthukkhthihlng khuxcatxngchkphaihstwolkxun ihphnipesiykxn swntweraepnkhnsudthaythicahludphnip epnhlkaehngophthistwyan sungphraophthistwtxngbaephy thsparmita khuxbarmi 10 khxngfaymhayan idaek thanparmita hrux thanbarmi silparmita hrux silbarmi k san tiparmita hrux khntibarmi wir yparmita hrux wiriybarmi th yanparmita hrux chanbarmi p rch yaparmita hrux pyyabarmi xupayparmita hruxxubaybarmi p rnithanparmita hruxpranithanbarmi phlparmita hrux phlbarmi ch yanparmita hrux yanbarminikayyxykhxngmhayan aekikhphuththsasnamhayanaetkepnnikayyxytangknipinaetlapraethsdngni inxinediy nikaymthymka nikayoykhacar nikaycitxmtwath nikaytntra incin nikayoksa hruxcwiesxcng nikaystysiththi hruxechingsuxcng nikaytrisastr hruxsanhluncng nikaythsphumika hruxtihluncng nikayniphphan hruxeniyphancng nikaysngprikhrasastr hruxesxhluncng nikaysukhawdi hruxcingthu nikaychan hruxchancng hruxesn nikaysththrrmpunthrika hruxethiynith nikaysnechiy hruxsneciyeciyw nikayxwtngska hrux hwehyiyn nikaythrrmlksna hrux nikayfaesiyng nikaywiny hruxlwuxcng nikayecinehyiyn hruxmntryan hruxwchryan inekahli nikaysmnxn hruxnikaytrisastr nikayekyul hruxnikaywiny nikayyxnphl hruxnikayniphphan nikayhwaxxm hruxnikayxwtngska nikaychxnaeth hruxnikaysththrrmpunthrika nikaysxn hruxnikayesn nikayaethok nikayochek inyipun nikayethnid nikaychinkxn hruxchinngxn nikayocod nikayesn nikaynichiern nikaysanrxn nikayhxsos nikayekhngxn nikayritsu nikaykucha nikayoccitsu inewiydnam nikaycuklm inthiebt nikayningma nikaykacu nikayskya nikayekluk inenpal nikayixswarik nikayswaphawik nikaykarmik nikayyatrikduephim aekikhphraphuththsasnanikayethrwath phraitrpidkphasacinkhxmulephimetim aekikhmhasangkhika pratiomks Archived 2020 09 19 thi ewyaebkaemchchinxangxing aekikh phraitrpidk elmthi 7 phrawinypidk elmthi 7 culwrrkh phakh 2 pycstikkhnthka eruxngphramhaksspethra sngkhaynaprarphkhakhxngphrasuphththwuththbrrphchit phraitrpidkchbbsyamrth xxniln ekhathungidcak lt 1 gt ekhathungemux 9 6 52 khnasngkhcinnikay phraphuththsasnamhayan krungethph thnakharkrungethphphimphepnthrrmbrrnakar 2531 prasngkh aesnburan phraphuththsasnamhayan kthm oxediynsotr 2548 esthiyr phnthrngsi phuththsasnamhayan krungethph sukhphaphic 2543 esthiyr ophthinntha prchyamhayan krungethph mhamkutrachwithyaly 2541 xphichy ophthiprasiththisastr phraphuththsasnamhayan krungethph mhamkutrachwithyaly 2539 Conze Edward Buddhist Scripture London Penguin Book 1973 D T Suzuki Outline of Mahayana Buddhism New York Schocken Book 1973 Davids Rhys Buddhism India Patna Indological Book House 1973 Dayal H The Bodhisattva Doctrine In Buddhist Sanskrit Literature Delhi Motilal Banarasidas 1970 Dutt Nalinaksha Mahayana Buddhism Delhi Motilal Banarasidas 1977 Kimura Ryukan History of Term Hinayana and Mahayana and The Origin of Mahayana Buddhism Patana Indological Book 1978 McGovern W M An Introduction to Mahayana Buddhism Vanarasi Sahityaratan Malakarijalaya 1967 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title mhayan amp oldid 9770498, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม