fbpx
วิกิพีเดีย

มหาสติปัฏฐานสูตร

มหาสติปัฏฐานสูตร หรือ สติปัฏฐานสูตรเป็นพระสูตรที่รวมวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาด้วยการเจริญสติ ที่เรียกว่า สติปัฏฐานสี่ คือ การมีสติอันเป็นไปใน กาย, เวทนา, จิต, และ ธรรม จนเห็นรูปนามตามความเป็นจริงว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นทางสายเอกในอันที่จะนำพาผู้ปฏิบัติไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพานได้

มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ชาวกุรุชนบท ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ โดยปัจจุบันเมืองกัมมาสทัมมะอยู่ในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย. สติปัฏฐานสูตรหรือมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นแนวทางปฏิบัตินี้มีเป้าหมายเดียว คือ การบรรลุนิพพาน.

มหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อพิจารณาจากพระพุทธพจน์ตอนเริ่มพระสูตร อาจกล่าวได้ว่าพระสูตรนี้แสดงหลักการพัฒนาตนเพื่อเป้าหมายคือการบรรลุนิพพานสำหรับบุคคลหลายจริต หลายระดับ คือให้มีสติสัมปชัญญะตามดูอารมณ์กรรมฐานไม่ขาดตอนให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง เพื่อไม่ถูกครอบงำด้วยอำนาจกิเลสต่าง ๆ โดยมีแนวปฏิบัติ 4 ขั้นตอนไล่จากการตามพิจารณาอารมณ์กรรมฐานที่หยาบไปจนละเอียด คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม(เหตุเกิดเหตุดับ).

บทวิเคราะห์ศัพท์

มหา ​เป็น​ คุณศัพท์​ ​แปลว่า​ ​ใหญ่​

สูตร​ เป็น นามกิตก์ แปลว่า​ ​การฟัง​ ​หรือ​อาจแปลได้​อีกหลาย​ความ​หมาย​ ​แต่​ใน​ที่นี้หมาย​ถึง​พระสูตร​ใน​พระ​ไตรปิฎกหมวดสุตตันตปิฎก​ ​ซึ่ง​หมาย​ถึง​ ​สิ่งที่​ได้​ฟัง​แล้ว​จำ​มา​ได้​.

สติปัฏฐาน​ ดูที่ สติปัฏฐาน 4

มหาสติปัฏฐานสูตร​ หมายถึง ​ ​พระสูตรที่กล่าว​ถึง​วิธี​เจริญสติปัฏฐาน​ 21 ​บรรพะ​ ​อยู่​ใน​พระสุตตันตปิฎก​ ​ทีฆนิกาย​ ​มหาวรรค​ ​เป็น​สูตรที่​ 9 ​รองสุดท้ายของวรรคนี้

สติปัฏฐานสูตร​ ​คือ​ ​พระสูตรที่กล่าว​ถึง​วิธี​เจริญสติปัฏฐาน​ ​สติปัฏฐานสูตรนี้อาจมีอยู่ในพระไตรปิฎกหลายที่​แล้ว​แต่​ท่านจะ​ตั้งชื่อ​ ​แต่ที่นิยมเอามาพูด​ถึง​ ​จะ​อยู่​ใน​พระสุตตันตปิฎก​ ​มัชฌิมนิกาย​ ​มูลปัณณาสก์​ ​กล่าว​ถึง​วิธี​เจริญสติปัฏฐาน​ 21 ​บรรพะ​เหมือน​ใน​ทีฆนิกายนั่นเอง​.

โครงสร้างสูตร

ในมหาสติปัฏฐานสูตรท่านได้แสดงเรื่องเกี่ยวกับสติปัฏฐานไว้อย่างละเอียด โดยแบ่งแสดงออกเป็นข้อ ๆ เรียกว่า ปพฺพ(ปัพพะ,บรรพะ, ข้อ, แบบ) โดยในพระบาลีใช้คำว่า อปิจ(อะปิจะ - อีกอย่างหนึ่ง) เป็นเครื่องหมายในการแบ่งสติปัฏฐาน 4 อย่างลงไปอีก รวมทั้งสิ้น 21 บรรพะ เริ่มที่อานาปานบรรพะและไปสิ้นสุดที่สัจจบรรพะ.

อรรถกถาของสูตรนี้กล่าวว่า ชาวกุรุเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยสมบูรณ์และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจึงตรัสกรรมฐานไว้อย่างย่อ, ทรงแสดงพลววิปัสสนาญาณคือขยญาณและภังคญาณไว้เป็นหลักในตอนท้ายของทุกบรรพะ, อีกทั้งในตอนท้ายอรรถกถาแสดงว่ามีผู้บรรลุหลังฟังสูตรนี้จบด้วย.

บรรพะ 21

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

กายานุปัสสนาสติปัฏฐานแสดงวิธีทำกรรมฐานด้วยการตามดูกาย 14 บรรพะ. ตามหลักเนตติปกรณ์บรรพะนี้เหมาะสำหรับการเริ่มต้นของตัณหาจริต ที่มีอินทรีย์คือปัญญาอ่อนกำลัง เพราะกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นรูปกรรมฐานเป็นของหยาบพิจารณาได้ชัดเจนง่ายกว่านามกรรมฐานใน 3 สติปัฏฐานที่เหลือ. ตามอรรถกถาของเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานและหลักเนตติปกรณ์ ผู้ที่ปฏิบัติตามกายานุปัสสนาสติปัฏฐานจนสามารถตทังคปหานหรือวิกขัมภนปหานอภิชฌาและโทมนัสได้แล้ว เท่ากับได้รูปกรรมฐานแล้ว ฉะนั้น จะต้องทำสติปัฏฐาน 3 ข้อหลังต่อด้วย, เพื่อทำปหานในอรูปธรรมด้วย ไม่เช่นนั้น อนุสัยกิเลสก็จะนอนเนื่องในอรูปกรรมฐานเหล่านั้น คอยเป็นอุปปนิสสยปัจจัยแบบอารัมมณะแก่ปริยุฏฐานกิเลส. อนึ่ง ในทุกๆ ท้ายบรรพะ จะมีการทำภังคญาณในสติของจิตดวงที่ทำรูปกรรมฐานหรืออรูปกรรมฐานดับไปในวาระจิตก่อนหน้าด้วย เพราะแม้เมื่อทำกรรมฐานทั้ง 21 บรรพะจนเป็นตทังคปหานหรือวิกขัมภนปหานแล้ว แต่อภิชฌาและโทมนัสก็ยังสามารถอาศัยอยู่ในจิตที่เพิ่งทำวิปัสสนาได้. ต่อไปนี้เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 14 แบบ:-

1. อานาปานบรรพะ - แสดงวิธีทำกรรมฐานด้วยการตามดูลมหายใจ หรือ ที่เรียกว่า อานาปานสติ โดยพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างย่อเฉพาะฝ่ายสมถะ 4 ข้อ จาก 16 ข้อ ในอานาปานัสสติสูตร.

อรรถกถากล่าวว่า "บรรพะนี้เหมาะกับสมถยานิก" เพราะเป็นกรรมฐานที่ทำให้ถึงโลกิยอัปปนาได้. ส่วนวิปัสสนาที่เหลือ 12 ข้อในอานาปานัสสติสูตร ถูกย่อไว้ในท้ายบรรพะที่แสดงวิธีการเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาไว้ว่า "โยคีตามเห็นเหตุเกิดในกายบ้าง ตามเห็นเหตุดับในกายบ้าง (สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา ฯลฯ)", ซึ่งอรรถกถาอธิบายข้อความนั้นไว้ 2 ส่วน คือ

  1. ส่วนสมถะ อธิบายเหตุให้เกิดลมหายใจ
  2. ส่วนภังคญาณ อธิบายนิโรธสัจของสติในจิตที่พิจารณาเหตุเกิดส่วนสมถะไป

อนึ่ง บรรพะนี้และทุกบรรพะรวมถึงในอุทเทส แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. ส่วนอารมณ์ที่ถูกตามดู จะอยู่ก่อนอนุปัสสี (ตามพิจารณาเห็น) และ อิติ (ดังนี้) ศัพท์ ซึ่งส่วนนี้ของแต่ละบรรพะจะเหมาะกับสมถยานิกหรือวิปัสสนายานิกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น. อย่างอานาปานสติบรรพะนี้ ท่านแสดงว่าเป็นสมถยานิก.
  2. ส่วนสติสัมปชัญญะที่ตามดู จะอยู่หลังอนุปัสสีและอิติศัพท์ ซึ่งส่วนนี้ของแต่ละบรรพะจะให้ตามดูอารมณ์กรรมฐานนั้นๆ ทั้งของตนเองและของผู้อื่น แต่ตอนจบจะเหมือนกัน คือ ภังคญาณที่พิจารณาอริยสัจในสติดวงที่เพิ่งดับไปหลังทำกรรมฐานในอารมณ์ที่แสดงไว้ในส่วนแรกของบรรพะ.

อนึ่ง ส่วนนี้ในพระไตรปิฎกของมหายานไม่มี เพราะตามมหาโคสิงคสาลสูตรพระเถระผู้นำในสังคายนาครั้งที่ 1ของเถรวาท ส่วนมากท่านเป็นลูกศิษย์พระสารีบุตรอัครสาวกด้วย ฉะนั้น ท่านจึงแสดงมหาสติปัฏฐานสูตรตามที่ฟังมาจากพระสารีบุตร เพราะพระพุทธเจ้ายกย่องธรรมะที่พระสารีบุตรแสดงให้เทียบเท่ากับที่พระองค์แสดง, ส่วนทางนิกายอื่นรวมถึงมหายานนั้น สังคายนากันโดยไม่มีพระเถระเหล่านั้นอยู่ด้วย ฉะนั้น พระสูตรฝั่งมหายานจึงไม่มีส่วนที่มาจากพระสารีบุตร ทั้งในสูตรนี้ และทั้งอภิธรรมด้วย.

วิสุทธิมรรคกล่าวว่า อานาปานสติเป็นกรรมฐานสำหรับโมหจริต (คนขี้ลืม). และกล่าวว่า สติมีหน้าที่ทำให้จิตเจตสิกไม่หลงลืมอารมณ์ (อสัมโมหรสา), ดังนั้น ถ้ายังเป็นคนขี้หลงขี้ลืมอยู่ สติก็จะไม่สามารถเจริญได้. พระพุทธเจ้าจึงต้องแสดงอานาปานสติก่อนบรรพะอื่นเพื่อข่มความขี้ลืมนี้ไว้ก่อนจะไปทำกรรมฐานบรรพะอื่น เพราะลมหายใจอยู่กับตัวและเคลื่อนไหวอัตโนมัติอยู่ตลอด ลมหายใจจึงเป็นกรรมฐานที่เหมือนมีคนมาสะกิดไม่ให้ลืมอยู่ตลอด ในระยะเริ่มกรรมฐานจึงง่ายต่อการรักษาสติไว้มากกว่ากรรมฐานกองอื่น, ลมหายใจมีระดับสำหรับการฝึกที่ชัดเจน คือ ถ้าลมหายหาลมไม่เจอแสดงว่า สติไม่มีกำลังพอจะรู้ลมในระดับนั้น, และใช้มนสิการน้อย คือ เมื่อหลงลืมกรรมฐานไปแล้ว เพราะสติไม่มีกำลังหรือเพราะไปใส่ใจเรื่องอื่นก็ตาม แต่ลมหยาบก็ยังคงมาปรากฏเตือนให้เห็นเรื่อยๆ อยู่ดี. จะเห็นได้ว่า กรรมฐานอื่นไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้สมบูรณ์เท่าอานาปานัสสติเลย, ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงแสดงอานาปานบรรพะก่อน เพราะเกื้อกูลต่อการเจริญสติมากที่สุด.

2. อิริยาปถบรรพะ - แสดงวิธีการทำกรรมฐานที่เรียนมาใดๆ ทั้งสมถะและวิปัสสนาให้ต่อเนื่องทุกอิริยาบถใหญ่ทั้ง 4 อิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน. กล่าวคือ เมื่อเรียนกรรมฐานมีอานาปานัสสติเป็นต้นแล้ว ก็ให้บริหารให้เจริญขึ้นต่อเนื่องอยู่ตลอดทั้งอิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อย.

มีประเด็นว่า มหาอรรถกถาไม่ให้ปฏิบัติวิปัสสนาโดยใช้อิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อย เพราะอิริยาบถไม่ใช่สัมมสนรูป, แต่พระมหาสิวะได้อธิบายวิธีที่สามารถนำมาทำวิปัสสนาได้ โดยการแยกรูปปรมัตถ์ออกจากอิริยาบถที่เป็นอัตถบัญญัติ แล้วทำวิปัสสนาเฉพาะในสัมมสนรูป. อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์โดยหลักจตุพยูหหาระแล้ว วัตถุประสงค์ของบรรพะนี้ คือ การเน้นให้โยคีทำกรรมฐานที่เรียนมาเช่นอานาปานัสสติเป็นต้นตลอดเวลาไม่ขาดช่วง, ฉะนั้น มติของมหาอรรถกถาจึงอธิบายโครงสร้างของสูตรได้ตรงตามพุทธประสงค์มากกว่า. ส่วนมติของพระมหาสิวะนั้นก็ถูกต้องตามหลักธรรมะและช่วยอธิบายเรื่องสมถยานิกและวิปัสสนายานิกที่มาในมหาอรรถกถาด้วย แม้จะไม่เข้ากับโครงสร้างของสูตรนี้ก็ตาม. ทั้งสองมติไม่ได้ขัดแย้งกันและเป็นประโยชน์ทั้งคู่ พระพุทธโฆสาจารย์จึงไม่ตัดสินถูกผิดใดๆ ในสองมตินี้ เพียงแต่ให้มติของมหาอรรถกถาเป็นมติหลัก เพราะมติของมหาอรรถกถาเข้ากับโครงสร้างของสูตรมากกว่า.

อิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะ เป็นกรรมฐานที่เหมาะกับวิปัสสนายานิก เพราะ

  1. มหาอรรถกถา ว่าบรรพะนี้ไม่ได้แสดงอารมณ์กรรมฐานไว้โดยตรง เพราะเป็นแค่บรรพะที่ย้ำให้ทำกรรมฐานใดๆ ให้ตลอดเวลาไม่มีหยุดพัก จึงไม่แสดงอารมณ์ของกรรมฐานไว้โดยตรง, อิริยาบถเองก็เป็นทั้งบัญญัติด้วย ซ้ำอิริยาบถยังเป็นบัญญัติแบบเดียวกับอสัมมสนรูปด้วย อรรถกถาจึงกล่าวว่าไม่ต้องเรียนกรรมฐานใน 2 บรรพะนี้. อย่างไรก็ตามเมื่อทำธาตุมนสิการบรรพะแล้วจะสามารถแยกอิริยาบถบัญญัติจากปรมัตถ์ตามคำอธิบายของพระมหาสิวะด้านล่าง ก็จะได้อารมณ์เป็นรูปปรมัตถ์ ซึ่งรูปปรมัตถ์ไม่เป็นอารมณ์ของอัปปนาฌาน, ฉะนั้น อัปปนาจึงไม่เกิดในสองบรรพะนี้, แต่สามารถทำวิปัสสนาได้. ในมหาอรรถกถาของสองบรรพะนี้จึงแสดงวิปัสสนาไว้ และกล่าวว่าบรรพะนี้เหมาะกะสมถยานิก.
    • พระมหาสิวะอธิบายคำของมหาอรรถกถาว่า อารมณ์ที่แสดงในบรรพะนี้และสัมปชัญญะบรรพะไม่ใช่อารมณ์แบบอัปปนากรรมฐาน 30 จึงทำให้ถึงอัปปนาไม่ได้, และยังไม่ใช่ธรรมที่ควรสัมมสนะอีกด้วย. แต่เมื่อผ่านธาตุมนสิกาบรรพะมาแล้ว ก็จะสามารถแยกอิริยาบถและสัมปชัญญะไม่ให้เป็นสัตว์บุคคลได้ ดังนั้น จึงสามารถทำวิปัสสนาได้.
  2. อัปปนาสามารถเกิดได้ง่ายกว่าในอิริยาบถนั่ง, ถ้าท่านแสดงสองบรรพะนี้เป็นสมถะด้วย โยคีผู้ใหม่จะเดินบ้าง นอนบ้างทำสมถะ ซึ่งเป็นอิริยาบถที่ยากต่อการทำให้เกิดอัปปนา. แม้ผู้ที่ได้วสีแล้ว อิริยาบถนั่งก็ยังเป็นอิริยาบถที่เข้าอัปปนาได้ง่ายกว่า. อย่างไรก็ตาม สมถยานิกผู้ใหม่เมื่อเริ่มทำสมถะก็ควรทำทั้งอิริยาบถใหญ่และย่อยเช่นกันเพื่อรักษานิมิตกรรมฐาน เพียงแต่เน้นที่อิริยาบถนั่งเพราะจิตจะตั้งมั่นได้ง่ายกว่า กรรมฐานจะเจริญขึ้นง่ายและไวกว่าอิริยาบถอื่น.

ด้วยประการดังกล่าวมาแล้วนั้น อิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะจึงเหมาะกับวิปัสสนายานิก. นอกจากนี้ มหาอรรถกถาของบรรพะนี้ก็อธิบายไว้ตามแนววิปัสสนาด้วย.

3. สัมปชัญญบรรพะ - แสดงวิธีการทำกรรมฐานใดๆ ที่เรียนมาทั้งสมถะและวิปัสสนาให้ต่อเนื่องทุกอิริยาบถย่อยทั้ง 7 คือ เดินหน้า ถอยหลัง แล เหลียว เหยียด คู้ ใช้สอยข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ. คำอธิบายที่เหลือดูคำอธิบายอิริยาบถบรรพะข้างบน.

4. ธาตุมนสิการบรรพะ - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยธาตุ 4อย่างย่อ คือ แสดงเพียงธาตุดิน (m-มวล) ธาตุน้ำ (a-ความดึงดูด,ความเร่ง,ความหนืด) ธาตุไฟ (t-อุณหภูมิ) ธาตุลม (v,u-ความเร็ว,ความไหว) ซึ่งต่างจากมหาหัตถิปโทปมสูตรที่แสดงไว้อย่างละเอียดกว่า. บรรพะนี้เหมาะกับวิปัสสนายานิก เพราะธาตุ 4 เป็นรูปปรมัตถ์ ไม่ใช่อารมณ์ของอัปปนา อรรถกถาของบรรพะนี้จึงอธิบายทั้งสองส่วนของสูตรเป็นกรรมฐานวิปัสสนาทั้งหมด คือ จตุธาตุววัตถานในส่วนแรกและภังคญาณในส่วนหลัง.

จตุธาตุววัตถานแสดงต่อจากอานาปานัสสติ,อิริยาบถ,และสัมปชัญญบรรพะ เพราะสมถวิปัสสนาเป็นยุคนัทธธรรม ต้องเจริญคู่กัน. ฉะนั้น แสดงอานาปานสติในอิริยาบถใหญ่น้อยแล้ว จึงแสดงรูปกรรมฐานด้วยจตุธาตุววัตถานต่อกัน. จะเห็นได้ว่า ในอรรถกถาของ 3 บรรพะจึงกล่าวถึงจตุธาตุววัตถานวิปัสสนาในฐานะรูปกรรมฐานไว้ แม้ว่าวิปัสสนาในรูปกรรมฐานควรจะเริ่มที่บรรพะนี้ก็ตาม นั่นก็เพราะเหตุที่สมถวิปัสสนาเป็นยุคนัทธธรรมนั่นเอง.

5. ปฏิกูลมนสิการบรรพะ - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการระลึกถึงแต่อวัยวะ 32 หรือที่เรียกว่า อาการ 32. บรรพะนี้เหมาะกับสมถะยานิก เพราะมีอารมณ์เป็นอวัยวะสมูหฆนอัตถบัญญัติจึงสามารถบรรลุโลกิยอัปปนาได้. คำอธิบายที่เหลือดูคำอธิบายอานาปานบรรพะข้างบน.

6-14. นวสีวถิกาบรรพะ - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยสีวถิกหรือ ซากศพไว้ 9 วาระ. มหาอรรถกถาแนะนำว่า "บรรพะนี้เหมาะกับสมถยานิก" เพราะอารมณ์ของอสุภกรรมฐานที่ทำให้บรรลุโลกิยอัปปนาได้. และพระมหาสิวะได้กล่าวเสริมว่า "บรรพะนี้แสดงวิปัสสนา" ไว้ด้วย เพราะพระพุทธเจ้าทรงแสดงนวสีวถิกาไว้ด้วยสำนวนอาทีนวญาณ. สรุปว่า อารมณ์เหมาะกับสมถยานิก แต่ก็สามารถนำไปทำวิปัสสนาได้เช่นกัน.

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานแสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยเวทนา 3 ไว้ 1 บรรพะ. ตามหลักเนตติปกรณ์บรรพะนี้เหมาะสำหรับโยคีที่เป็นตัณหาจริต ที่มีอินทรีย์คือปัญญาแก่กล้า เพราะเมื่อปหานอภิชฌาและโทมนัสในกายได้แล้ว ตัณหาก็จะไปติดใจในอรูปธรรมอยู่อีก ทำให้นิวรณ์ยังคงเกิดแทรกภาวนาได้ ทั้งโลกิยะและโลกุตตรอัปปนาจึงไม่อาจเกิดได้ ทางแก้คือ ทำอรูปกรรมฐาน แต่อรูปกรรมฐานมีถึง 3 สติปัฏฐาน จะต้องเลือกว่าจะเจริญสติปัฏฐานไหนก่อน มหาอรรถกถาจึงอธิบายว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานต่อจากกายานุปัสสนา เพราะเวทนา ผัสสะ และจิต สามารถตามดูได้ชัดเจนง่ายกว่าอรูปธรรมอื่นๆ. ส่วนวิธีเลือกว่าจะเอาเวทนาหรือจิตมาเป็นอารมณ์กรรมฐานนั้น ตามหลักเนตติปกรณ์ มีหลักอยู่ว่า โยคีตัณหาจริตที่มีปัญญาแก่กล้าแล้ว ยังมีสุขเวทนาวิปัลลาสในอรูปธรรมอยู่มาก จึงควรทำปหานะตัณหาในเวทนาก่อน ด้วยการทำเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, ส่วนโยคีทิฏฐิจริตที่อินทรีย์คือปัญญาอ่อนหัดนั้นปหานวิปัลลาสในเวทนาได้แล้ว จึงให้ทำจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะเหลือนิจจและอัตตวิปัลลาสอยู่ โดยให้ทำจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานก่อน เพราะมีรายละเอียดน้อยกว่าธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เมื่อปหานนิจจทิฏฐิได้แล้ว ถ้ายังไม่บรรลุมรรคผลค่อยทำธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเพื่อละอัตตทิฏฐิ. ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายหลักการปฏิบัติโดยย่อ:-

15. เวทนาบรรพะ - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยเวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ ที่มีอามิส ไม่มีอามิสไว้ เพื่อที่จะทำปหานะเวทนาที่มีอามิสและเจริญเวทนาที่ไม่มีอามิสแทน . บรรพะนี้เหมาะสำหรับวิปัสสนายานิก เพราะไม่สามารถถบรรลุอัปปนาได้ เนื่องจากมีเวทนาหลายดวงเป็นอารมณ์.

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยจิต 1 บรรพะ. ตามหลักเนตติปกรณ์บรรพะนี้เหมาะสำหรับโยคีที่เป็นทิฏฐิจริต ที่มีอินทรีย์คือปัญญาอ่อนหัด คำอธิบายอื่นดูในหัวข้อเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน. ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายหลักการปฏิบัติโดยย่อ:-

16. จิตตบรรพะ - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยจิตด้วยการวิเคราะห์สัมปยุตธรรมของจิตปัจจุบันสันตติ เพื่อทำฆนะวินิพโภคะ (การแยกปัจจัยปัจจยุปบันที่ซับซ้อน)ในอรูปธรรม. บรรพะนี้เหมาะสำหรับวิปัสสนายานิก เพราะไม่สามารถบรรลุอัปปนาได้ เนื่องจากมีจิตหลายดวงเป็นอารมณ์ (แต่วิญญาณัญจายตนอัปปนา มีอารมณ์แค่อากาสานัญจายตนจิตอย่างเดียวเท่านั้น).

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานแสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการหาเหตุเกิดและเหตุดับ 5 บรรพะ (ธัมม ศัพท์ ในอรรถการณะ, เหตุ). ตามหลักเนตติปกรณ์บรรพะนี้เหมาะสำหรับโยคีที่เป็นทิฏฐิจริต ที่มีอินทรีย์คือปัญญาแก่กล้า คำอธิบายอื่นดูในหัวข้อเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน. ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายหลักการปฏิบัติโดยย่อ:-

17. นีวรณบรรพะ - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการหาเหตุเกิดและเหตุดับของนิวรณ์ เพื่อดับนิวรณ์ทั้งปวงโดยการทำสมถะเข้าฌาน แล้วทำให้ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปด้วยการทำปริญญากิจตามขันธบรรพะ. บรรพะนี้และบรรพะที่เหลือเหมาะสำหรับวิปัสสนายานิก เพราะไม่สามารถถบรรลุอัปปนาได้ เนื่องจากการหาเหตุเกิดความดับไม่ใช่ทำให้ได้อัปปนา.

18. ขันธบรรพะ - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการหาเหตุเกิดและเหตุดับของขันธ์ทั้งปวง เพื่อดับขันธ์ทั้งปวงโดยไม่มีส่วนเหลือด้วยการทำสมุจเฉทปหานในเหตุเกิดและเหตุดับ คือ อวิชชาสังโยชน์และตัณหาสังโยชน์ตามอายตนบรรพะ.

19. อายตนบรรพะ - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการหาเหตุเกิดและเหตุดับของสังโยชน์ เพื่อทำให้สังโยชน์ทั้งปวงเกิดไม่ได้อีกต่อไป ด้วยการทำภาเวตัพพกิจตามโพชฌังคบรรพะ.

20. โพชฌังคบรรพะ - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการหาเหตุเกิดและเหตุดับของโพชฌงค์ (องค์แห่งการตรัสรู้) เพื่อทำให้เจริญงอกงามสมบูรณ์เป็นอริยมรรคสัจที่ตรัสรู้อริยสัจ 4 ตามสัจจบรรพะ.

21. สัจจะบรรพะ - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการใช้สัมมาทิฏฐิในมรรคสัจหาเหตุเกิด (สมุทัยสัจ) และเหตุดับ (นิโรธสัจ) ของทุกข์. สัจจบรรพะในสูตรนี้แสดงละเอียดกว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพราะในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรกล่าวว่า"ผู้ฟังมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 หมื่นคน" และ "ผู้ฟังมีทั้งบรรพชิตและฆราวาส" ฉะนั้น จึงมีคนที่ไม่เคยเรียนรู้เรื่องฌานรวมอยู่ด้วย จึงต้องแสดงสัจจบรรพะละเอียดกว่า ส่วนพระปัญจวัคคีย์นั้นตามพระโพธิสัตว์มานานจึงเคยทำฌานมาก่อนแล้ว เลยไม่ต้องแสดงมรรคสัจฝ่ายศีลและสมาธิอีก สมุทัยสัจและนิโรธสัจก็ไม่ต้องแสดงละเอียดเท่า เพราะข่มมาดีแล้วด้วยฌาน.

สมถวิปัสสนาของ 3 อาจารย์ไม่ขัดแย้งกัน

ในเรื่องบรรพะไหนเหมาะกะสมถยานิก บรรพะไหนเหมาะกะวิปัสสนายานิกนี้ มีอย่างน้อย 3 นัยที่อาจารย์กรรมฐานจะต้องใช้ในการพิจารณาเลือกกรรมฐานให้ลูกศิษย์:

  1. นัยของมหาอรรถกถา ท่านมองว่าอารมณ์กรรมฐานในบรรพะไหนสามารถทำให้บรรลุโลกิยอัปปนาได้, บรรพะนั้นเหมาะกะสมถยานิก. นอกนั้นเหมาะกะวิปัสสนายานิก. อย่างไรก็ตาม มหาอรรถกถามองว่าอิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะใช้ประกอบกับบรรพะอื่นๆ ไม่ใช่อารมณ์ที่ต้องท่องจำเพื่อนำมาใช้ทำวิปัสสนากรรมฐานโดยตรง เพราะอิริยาบถใหญ่น้อยเป็นอสัมมสนรูป (รูปที่ไม่เหมาะทำวิปัสสนา), แต่จัดว่าเหมาะกับวิปัสสนายานิกเพราะอสัมโมหสัมปชัญญะในสัมปชัญญบรรพะนั้นใช้ศัพท์ว่า ปชานาติ, ซึ่งเป็นศัพท์เดียวกับวิปัสสนาบรรพะส่วนใหญ่ มหาอรรถกถาจึงอธิบาย 2 บรรพะนี้ โดยใช้เนื้อหาในวิปัสสนาบรรพะอื่นมาทำฆนวินิพโภคะ 2 บรรพะนี้เพื่อให้ได้นามรูปปรมัตถ์มาทำวิปัสสนา.
  2. นัยของพระมหาสิวเถระ ท่านมองสีวถิกบรรพะว่าเป็นอาทีนวานุปัสสนา จึงเหมาะกะวิปัสสนายานิก ส่วนมหาอรรถกถามองว่า สีวถิกาสามารถใช้ทำโลกิยอัปปนาได้ จึงเหมาะกับสมถยานิก ทั้งสองมติถูกต้องทั้งคู่ คือ มติของมหาอรรถกถา อาจารย์กรรมฐานจะใช้สำหรับเลือกบรรพะที่เหมาะสมกะลูกศิษย์ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า สามารถข้ามลำดับสูตรได้, ส่วนมติของพระมหาสิวะ จะใช้เมื่อลูกศิษย์มีปัญญินทรีย์อ่อนหัด ต้องปฏิบัติไล่ลำดับตั้งแต่อานาปานบรรพะมา ดังนั้น เมื่อปัญญินทรีย์อ่อนหัดเริ่มแก่กล้าจากการทำทิฏฐิวิสุทธิด้วยธาตุมนสิการในปฏิกูลมาแล้วใน 2 บรรพะก่อน ก็ให้นำขึ้นสู่อาทีนวานุปัสสนาด้วยนวสีวถิกาตามนัยยะของพระมหาสิวะ. อนึ่ง พระมหาสิวะกล่าวว่า อิริยาบถและสัมปชัญญบรรพะสามารถเอามาท่องจำเพื่อใช้ทำวิปัสสนาได้ โดยการแยกบัญญัติจากปรมัตถ์ ตรงนี้ท่านกล่าวตามอรรถกถาสัมปชัญญบรรพะ หัวข้ออสัมโมหสัมปชัญญะ จึงไม่ได้ขัดแย้งกับมหาอรรถกถา แต่เป็นการอธิบายให้เห็นภาพว่าที่มหาอรรถกถากล่าวไว้ว่า "2 บรรพะนี้เหมาะสำหรับวิปัสสนายานิก"นั้น เป็นอย่างไรเท่านั้นเอง.

นัยของเนตติปกรณ์

  1. สีหวิกีฬิตนัย จะลำดับข้อปฏิบัติให้สอดคล้องกะอัธยาศัยของสีหะคือครูผู้สอน ในนยสมุฏฐานจึงแสดงองค์สภาวะธรรมข้อที่เท่ากันแม้ต่างหมวดไว้เท่ากัน.
  2. ติปุกขลนัย จะลำดับข้อปฏิบัติให้สอดคล้องกะอัธยาศัยของสัตว์ที่จะออกจากวัฏฏะ ในนยสมุฏฐานจึงเป็นการนำสีหวิกีฬิตนัยมาลำดับใหม่ให้เหมาะกับรายบุคคลนั้นๆ ดังนั้น องค์สภาวธรรม คนละลำดับข้อกัน ถ้าต่างหมวดก็อาจมีองค์ธรรมไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอัธยาศัยของสัตว์คนนั้นๆ.

พระมหาสิวะกับมหาอรรถกถาไม่ได้ขัดแย้งกัน คำอธิบายของมหาอรรถกถาในมหาสติปักฐานสูตรมีสองแบบ คือ แบบที่อธิบายด้วยสีหวิกีฬิตนัย และแบบที่อธิบายด้วยติปุกขลนัย.

  1. มหาอรรถกถาแบบที่อธิบายด้วยสีหวิกีฬิตนัย จะอยู่ในอรรถกถาของแต่ละบรรพะ เพราะสติปัฏฐาน 4 จัดอยู่ในสีหวิกีฬิตนัย มหาสติปัฏฐานสูตรจึงแสดงตามสีหวิกีฬิตนัย, ฉะนั้น ในอรรถกถาของแต่ละบรรพะจึงต้องอธิบายองค์สภาวะธรรมของบรรพะตามลำดับสีหวิกีฬิตนัย คือ แสดงลำดับครบถ้วนตั้งแต่การเชื่อมโยงกับบรรพะก่อน ไปจนวิธีการทำกรรมฐานจนถึงขยญาณ ตามลำดับในพระบาลีแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร, ไม่ใช่การจัดโปรแกรมเฉพาะบุคคลแบบติปุกขลนัย.
  2. มหาอรรถกถาแบบที่อธิบายด้วยติปุกขลนัย จะอยู่นอกอรรถกถาของบรรพะ เช่น
    1. ในมหาอรรถกถาใช้ติปุกขลนัยอธิบายวิธีเลือกกรรมฐานไว้ตอนท้ายว่า "อิริยาบถบรรพะกับสัมปชัญญบรรพะไม่ใช่อารมณ์กรรมฐานที่อภินิเวสได้ (ไม่ต้องเอามาเป็นอารมณ์กรรมฐาน)" แต่ก็แสดงว่า "บรรพะนี้เป็นอารมณ์สมถกรรมฐานหรืออารมณ์วิปัสสนากรรมฐาน" ซึ่งก็หมายถึงสมถยานิกบุคคลและวิปัสสนายานิกบุคคลในติปุกขลนัยนั่นเอง. ซึ่งผู้ที่อ่านผ่านๆ จะไม่เข้าใจและมองว่ามหาอรรถกถาขัดแย้งกันเอง พระมหาสิวเถระจึงต้องใช้สีหวิกีฬิตนัยมาอธิบายติปุกขลนัยของมหาอรรถกถาว่า "อิริยาบถเมื่อทำฆนวินิพโภคะแล้ว ก็จะได้นามรูปมาเป็นอารมณ์แก่วิปัสสนายานิก ฉะนั้น มหาอรรถกถาแม้กล่าวว่าสองบรรพะนี้ไม่เป็นอารมณ์กรรมฐานด้วยติปุกขลนัยไว้ แต่ก็ในอรรถกถาของทั้งสองบรรพะนี้มหาอรรถกถาก็อธิบายไว้ด้วยสีหวิกีฬิตนัย. เมื่อพระมหาสิวะอธิบายติปุกขลนัยให้เป็นสีหวิกีฬิตนัยอย่างนี้ ครูผู้สอนกรรมฐานก็จะเข้าใจมหาอรรถกถาตรงตามจุดประสงค์ว่า "เมื่อจะให้อารมณ์กรรมฐาน ไม่ควรเริ่มให้อิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะตั้งแต่แรก เพราะเป็นอสัมมสนธรรม, แต่เมื่อชำนาญจตุธาตุววัตถานและนามบรรพะด้วยญาตปริญญาแล้ว แม้อิริยาบถกับสัมปชัญญะบรรพะ ก็เป็นอารมณ์กรรมฐานได้ด้วยการทำฆนวินิพโภคะ".

จะมองว่า สิ่งที่มีอยู่แล้วไม่ต้องปฏิบัติให้ทำขั้นต่อไปได้เลย เช่น คนที่ได้โลกิยอัปปนาอยู่แล้วเป็นอุคฆฏิตัญญูไม่ต้องทำกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้ทำสมถะแล้วปฏิบัติธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานได้เลย เป็นต้น หลักการนี้ก็ถูกต้อง แต่ในสถานการที่ต้องสอนกรรมฐานจริง แม้อุคฆฏิตัญญูบางท่านก็ยังต้องพึ่งกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เช่น โยคีอุคฆฏิตัญญูอาจไม่เคยทำโลกิยอัปปนามาก่อนในชาตินั้น เนตติปกรณ์ให้อุคฆฏิตัญญูเป็นสมถยานิก จึงต้องให้โยคีนี้ทำฌานก่อน เมื่อจะต้องสอนอารมณ์กรรมฐานในมหาสติปัฏฐานสูตรจึงต้องเลือกให้กายานุปัสสนาสติปัฏฐานที่เหมาะกะสมถยานิก เป็นต้น.


จะเห็นได้ว่าตามหลักเนตติปกรณ์แล้ว มติของมหาอรรถกถากับของพระมหาสิวะนั้นเพียงแค่อธิบายเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเท่านั้น ไม่ได้ขัดแย้งกันเลย พระพุทธโฆสาจารย์จึงไม่แสดงการวินิจฉัยอย่างในที่อื่นๆ เพียงวางมติของมหาอรรถกถาไว้ก่อน แล้ววางมติของพระมหาสิวะต่อกัน เพื่ออธิบายมหาอรรถกถาอีกทีหนึ่ง เท่านั้น.

เปรียบเทียบมหาสติปัฏฐานสูตรกับสติปัฏฐานสูตร

มหาสติปัฏฐานสูตร กับ สติปัฏฐานสูตร ต่างกันดังนี้ :-

  1. มหาสติปัฏฐานสูตรอยู่ในทีฆนิกาย ส่วนสติปัฏฐานสูตรอยู่ในมัชฌิมนิกาย และในสังยุตตนิกายเป็นต้น
  2. ​สติปัฏฐานสูตร​ใน​มัชฌิมนิกาย ​จะ​มีการ​ใช้​เปยยาล​(ฯลฯ) ​มาย่อข้อ​ความ​ที่​ซ้ำ​ๆ​กัน​ ​จึง​ทำ​ให้​ดู​เหมือน​​สั้นลง​ ​แต่​ความ​จริง​ถ้า​แทนเปยยาล​ด้วย​ข้อ​ความ​ปรกติก็​จะ​ต้อง​มีขนาด​เท่า​กัน
  3. อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร​ ​ใน​ทีฆนิกายนั้น​ ​บางบรรพะ​ ​เช่น​ อรรถกถาของสัมปชัญญบรรพะ ​เป็น​ต้น​ ​จะมีขนาด​สั้นกว่า​ อรรถกถาของสติปัฏฐานสูตร​ ​ใน​มัชฌิมนิกาย ​เพราะ​ท่าน​ได้​อธิบาย​ไว้​ก่อน​แล้ว​ในอรรถกถาของสามัญญผลสูตรเป็น​ต้น​ ​ท่าน​จึง​ไม่​กล่าว​ซ้ำ​อีก​. ​อรรถกถาของสติปัฏฐานสูตร​ ​ใน​มัชฌิมนิกายก็​เช่น​กัน​ ​คือ อรรถกถาของบางบรรพะ​ ​เช่น​ อรรถกถาของสัจจบรรพะ ​เป็น​ต้น​ ​ก็​จะ​สั้นกว่าอรรถกถา​เรื่องเดียว​กัน​ใน​ทีฆนิกาย ​เพราะ​ท่าน​ได้​กล่าว​ไว้​ก่อน​แล้ว​ใน​อรรถกถาสูตร​อื่น​ที่มาก่อน​ ซึ่ง​อยู่​ใน​มัชฌิมนิกายเหมือน​กัน​ ​เพราะ​แต่ละนิกายก็​จะ​มีอรรถกถาคนละ​เล่ม เช่น​ ​อรรถกถาของทีฆนิกาย​ ​ชื่อ​ ​สุมังคลวิลาสินี​, ​อรรถกถาของมัชฌิมนิกาย​ ​ชื่อ​ ​ปปัญจสูทนี​ ​เป็น​ต้น​ ​ซึ่ง​แม้​จะ​มี​เนื้อหาคล้ายๆ​กัน​ ​แต่ก็​จะ​มีการเรียงเนื้อหาอธิบายต่าง​กัน​ ขึ้น​อยู่​กับ​ว่า​ สูตรไหนมาก่อน​-​คำ​ไหนมาก่อน​ ​ก็ถูกอธิบายก่อน​, ​สูตรไหนมาหลัง​-​คำ​ไหนมาหลัง​ ​ก็ถูกอธิบายทีหลัง​ ​ที่อธิบายมา​แล้ว​ท่านก็​จะ​ให้​ย้อนดูอันที่ผ่านมา​แล้ว​ ​ไม่​อธิบาย​ซ้ำ​อีก​, ​พอ​เป็น​อรรถกถาคนละ​เล่ม​กัน​ ​อรรถกถา​จึง​สั้นยาวต่าง​กัน​ ​แต่​ถ้า​เอาที่ท่านละ​ไว้​มา​เติมก็​จะ​ได้​พอๆ​กัน​ ​ต่าง​กัน​บ้าง​เล็ก​น้อยแค่​ใน​บางจุด​เท่า​นั้น​.

อนึ่ง ข้อน่าสังเกต คือ ฉ. ฉัฏฐสังคายนาของพม่า สติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย ชื่อของพระพุทธพจน์จะใช้ มหาสติปัฏฐานสูตร ส่วนในอรรถกถาจะใช้แค่สติปัฏฐานสูตร. เมื่อตรวจสอบกับที่อื่นๆ ในอรรถกถาก็พบว่า เมื่อสุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกายอ้างถึงมหาสติปัฏฐานสูตรว่าจะอธิบายในสูตรนี้ ท่านก็จะใช้คำว่า "มหาสติปฏฺฐานสุตฺต". แต่ถ้าเป็นปปัญจสูทนี อรรถกถาของมัชฌิมนิกาย เวลาอ้างท่านจะใช้แค่ว่า "สติปฏฺฐานสุตฺต" ไม่ใช่ "มหาสติปฏฺฐานสุตฺต". ซึ่งเป็นอย่างนี้ทั้งในอรรถกถาและฏีกาของทั้ง 2 คัมภีร์ และตรงกันทั้ง ฉบับไทย ทั้ง ฉบับพม่า. จึงมีความเป็นไปได้ว่า ท่านใช้ชื่อสติปัฏฐานสูตรกับมหาสติปัฏฐานสูตร ตามแบบที่ไทยใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ โดยแยกอย่างนี้มาตั้งแต่โบราณแล้ว.

ในอรรถกถาที่อื่นนั้น มีอยู่ 1 ที่ ในนิทานวรรคท่านเรียกรวมทั้ง มหาสติปัฏฐานสูตร ในทีฆนิกาย และ สติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย รวมกันทั้ง 2 สูตร ว่าเป็น "มหาสติปัฏฐาน" ไปเลยก็มี. คงเป็นเพราะว่า ถ้าสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกายไม่ทำเปยยาลแล้วเขียนเต็มก็จะต้องมีขนาดเท่ากับมหาสติปัฏฐาน สูตรในมัชฌิมนิกายนั่นเอง.

เบ็ดเตล็ด

เกร็ด​เล็ก​เกร็ดน้อย​จาก​อรรถกถา​-​ฏีกาของสติปัฏฐานสูตร​และ​สติปัฏฐานสูตร มีดังนี้​ :-

  1. ใน​อรรถกถา​-​ฏีกาท่านแนะ​ไว้​ใน ​สัจจบรรพะวรรณนา​ ของทีฆนิกายว่า​ ​ไม่​ควรกำ​หนด​ 4 ​บรรพะดังต่อไปนี้ก่อน​ ​คือ​ ​อิริยาบถบรรพะ​ ​สัมปชัญญบรรพะ​ ​นิวรณบรรพะ​ ​และ​โพชฌังคบรรพะ

​เพราะ​อิริยาบถ​ทั้ง​น้อย​และ​ใหญ่​ไม่​ใช่​สัมมสนรูป จึงไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนา, นิวรณ์เป็นปหาตัพพธรรม ควรข่มให้ได้ก่อน ไม่ใช่มัวแต่สัมมสนะ แล้วปล่อยให้นิวรณ์เกิด,​ ​ส่วน​โพชฌงค์​ใน​ที่นี้ท่านหมาย​ถึง​โลกิยโพชฌงค์​ ​ซึ่ง​ถ้า​หากกำ​หนด​ให้​เบื่อหน่าย​แล้ว​ก็​จะ​ไม่​คิดเจริญต่อ​ ​ฉะ​นั้น​จึง​ไม่​ควรกำ​หนดตั้งแต่​แรก​.

  1. ​ใน​อรรถกถาท่านกล่าวว่า​ สติปัฏฐาน​ เป็น​วินัย​ทั้ง​ 2 ​คือ​ ​ทั้งตทังควินัย​และ​วิกขัมภนวินัย ​กล่าวคือ​ ​เป็น​ได้​ทั้ง​ขณิกสมาธิ​และอัปปนาสมาธิ​ ​ซึ่ง​อีกที่หนึ่งก็กล่าว​ให้​บางบรรพะ​เป็น​สมถะ​และ​บางบรรพะ​เป็น​ วิปัสสนา​ ​จึง​สรุป​ความ​ได้​ว่า​ สติปัฏฐาน​เป็น​ได้​ทั้ง​สมถะ​และ​วิปัสสนา​ อย่าง ​อิริยาบถบรรพะ​เป็น​ต้นท่านก็ว่า​เป็น​วิปัสสนา​ ​ส่วน​การ​จะ​ทำ​ฌาน​ให้​เป็น​สติปัฏฐาน​ได้​นั้น​ก​็ต้อง​ทำ​เพื่อ​เป็นบาทของวิปัสสนา​ ​และ​ถ้า​ไม่​ทำ​ฌานแต่​จะ​ทำ​สติปัฏฐานก็​ต้อง​ทำ​วิปัสสนา​ ​เพียงแต่การ​ได้​ฌาน​จะ​ช่วย​ให้​บรรลุ​ได้​สบายขึ้นกว่าคนที่​ไม่​ทำ​ฌาน มาก่อน​เท่า​นั้น​เอง​.
  2. หลักการวิปัสสนาที่อรรถกถาขยาย​ความ​สติปัฏฐาน​ใน​แต่ละบรรพะคือหลักปริญญา​ 3 ​ที่มา​ใน​ ​พระ​ไตรปิฎก เล่ม​ 29 ​คัมภีร์มหานิทเทส​ และปฏิสัมภิทามรรค​ของพระสารีบุตร​ รวมถึงเนตติปกรณ์ทั้ง​สิ้น​ พระพุทธโฆสาจารย์ไม่​ใช่​การแต่งขึ้นเองแต่อย่าง​ใด​.
  3. บทว่า​ ​สมุทยธมฺมานุปสฺสี​, ​วยธมฺมานุปสฺสี​, ​สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี​ ​ ที่มี​อยู่​ใน​ทุกบรรพะ​ ​ใน​อรรถกถา​และ​ฏีกาท่าน​ให้​แปลว่า​ ​ผู้​หมั่นเห็นเหตุของ​ความ​เกิดขึ้น​, ​ผู้​หมั่นเหตุ​แห่ง​ความ​หมดไป​, ​ผู้​หมั่นเหตุ​แห่ง​ความ​เกิดขึ้น​และ​ความ​หมดไป​ ​ตามลำ​ดับ​. ​เพราะ​คำ​ว่า​ ​ธรรม​ หมาย​ถึง​เหตุ​เกิดขึ้น​หรือ​เหตุดับของขันธ์​ 5 ​อย่าง ​ที่มา​ในปฏิสัมภิทามรรค​ ​อุทยัพพยญาณนิทเทส ​และ​วิสุทธิมรรค​ ​อุทยัพพยญาณกถา​ ​ได้​แก่​ ​การเกิดขึ้น​และ​การดับของธรรมะ​ 2 ​อย่าง​ ​คือ​ ​ปัจจัย​ 6 ​อย่าง​ ​ได้​แก่​ ​อวิชชา​ ​ตัณหา​ ​กรรม​ ​อาหาร​ ผัสสะ นามรูป ​และ​นิพพัตติลักษณะ​ ​คือ​ ​อุปาทขณะของสภาวะธรรม​นั้น​ ​ๆ​ ​หรือ​ ​วิปริณามลักษณะ​ ​คือ​ ​ภังคขณะของสภาวะธรรม​นั้น​ ​ๆ​ ​อย่าง​ใด​อย่างหนึ่ง​ ​หากแปลว่า​ ​ธรรมคือ​ความ​เกิด​ ​เป็น​ต้น​ ​จะ​หมาย​ถึง​ ​นิพพัตติลักษณะ​หรือ​วิปริณามลักษณะ​เท่า​นั้น​ ​ส่วน​ธรรมอีก​ 4 ​อย่างที่​เป็น​ปัจจัย​จะ​คลุม​ไม่​ถึง​ จึงเป็นคำแปลที่ขัดกับปฏิสัมภิทามรรค, อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร, ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร.
  4. ​ใน​อรรถกถาของทีฆนิกาย​ ​ระบุจำ​นวนคนที่บรรลุ​ไว้​ 30,000 ​ใน​ตอนจบของอรรถกถาสูตรนี้​.
  5. ใน​อรรถกถา​ใช้​หลักปริญญา​ 3 ​เป็น​เกณฑ์​ใน​การอธิบายเนื้อ​ความ​ทั้ง​หมด​ ​และ​ท่านขยาย​ความปริญญา​ 3 ​ไว้​แล้ว​ ​ใน​นิทเทสของวิสุทธิ​ 3 ​ได้​แก่​ ​ทิฏฐิวิสุทธิ​ ​กังขาวิตรณวิสุทธิ​ ​และ​มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ​ ​ซึ่ง​เมื่อรวมพื้นฐาน​แล้ว​ก็​ได้​วิสุทธิ​ทั้ง​ 7 ​หรือ​ ​วิสุทธิมรรค​ทั้ง​เล่มนั่นเอง​. ​ฉะ​นั้น​ท่าน​จึง​อ้าง​ถึง​วิสุทธิมรรค​ไว้​บ่อยมาก​ ​และ​ใครที่​ไม่​เคยอ่านวิสุทธิมรรค​ ​หรือ​อ่าน​แล้ว​แต่​ไม่​รู้​เรื่อง​เพราะ​ไม่​ชำ​นาญพระอภิธรรม​ ​หากไปอ่านอรรถกถาของมหาสติปัฏฐานสูตร​เป็น​ต้น​ ​และ​อรรถกถา​ส่วน​ใหญ่​ที่​เป็น​ข้อปฏิบัติอาจ​จะ​ไม่​เข้า​ใจเลย​ ​เพราะ​ข้ามลำ​ดับการศึกษา​ไปนั่นเอง​ ​แต่​ทั้ง​นี้หาก​จะ​อ่าน​ให้​ผ่านตา​ไว้​ก่อน​ใน​ระหว่างศึกษาคัมภีร์พื้นฐาน​อยู่​ก็ควรทำ​ ​เพราะ​จะ​สะสม​เป็น​อุปนิสัย​ ​ให้​สามารถ​เข้า​ใจ​ใน​อนาคต​ได้​ใน​ที่สุด​.
  6. ก่อนสติปัฏฐานสูตร​ ​ใน​มัชฌิมนิกาย​ ​มีสูตรชื่อว่า​ สัมมาทิฏฐิสูตร ​ซึ่ง​ท่านพระสารีบุตรบอกกรรมฐาน​ไว้​มากกว่าสติปัฏฐานสูตรอีก​ ​โดย​กล่าว​ไว้​ถึง​ 32 ​กรรมฐาน​ ​ใน​ขณะที่สติปัฏฐานสูตรกล่าว​ไว้​เพียง​ 21 ​กรรมฐาน​เท่า​นั้น​. ​ใน​บรรดาพระสูตร​ด้วย​กัน​ ​สัมมาทิฏฐิสูตร​จึง​ถูกจัดว่า​ ​เป็นสูตรที่​แสดงกรรมฐาน​ไว้​มากที่สุด.
  7. ใน​อรรถกถา​และ​ฏีกาท่านอธิบายคำ​ว่า​ ​เอกายนมรรค​ ​ไว้​ว่า​ ​หมาย​ถึง​ ​ทางมุ่งสู่พระนิพพานอย่างเดียว​. ​ซึ่ง​จาก​คำ​อธิบาย​และ​ตัวอย่าง​ใน​ฏีกา​นั้น​ ​ทำ​ให้​ทราบ​ได้​ว่า​ ​เอกายนมรรคอาจ​จะ​มีข้อปฏิบัติหลายอย่าง​ได้​ ​เช่น​ ​ในสติปัฏฐานสูตรก็มีกรรมฐาน​ถึง​ 21 ​ข้อ​ ​ใน​​สัมมาทิฏฐิสูตรก็มีกรรมฐาน​ถึง​ 32 ​ข้อ​ ​เป็น​ต้น​.
  8. จาก​การที่สติปัฏฐาน​เป็น​ได้​ทั้ง​สมถะ​และ​วิปัสสนา​จึง​ทำ​ให้​ทราบ​ได้ว่าสติปัฏฐานมี​ทั้ง​บัญญัติ​และ​ปรมัตถ์​เป็น​อารมณ์​ ​เพราะ​สมถะ​ ​เช่น​ ​​ นิมิต​ ​ซึ่ง​เป็น​ที่ทราบ​กัน​ดีว่านิมิตเป็น​บัญญัติ​, ​ส่วน​วิปัสสนา​ ​เช่น​ ​อิริยาบถบรรพะ​ ​ก็มีอิริยาบถ​และไตรลักษณ์เป็น​ต้น​ ​ซึ่ง​เป็น​บัญญัติ​ ​เป็น​อารมณ์​ได้​.
  9. ในสติปัฏฐานสูตรจะเน้นให้พิจารณาทั้งสิ่งที่เป็นของตนและของคนอื่นเพราะมี ข้อความว่า "พหิทฺธา วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ-เป็นผู้หมั่นพิจารณากายในกายอยู่" อยู่ในทุกบรรพะทั้ง 21 บรรพะเลยทีเดียว ซึ่งพระอรรถกถาและพระฏีกาจารย์ก็ย้ำไว้อีกในอรรถกถาของทุกบรรพะเช่นกันว่า "พิจารณาภายนอก หมายถึง ของคนอื่น". คำนี้ก็สอดคล้องกับสูตรทั่วไป เช่นที่เรามักได้ยินคำว่า "รูปที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายใน ภายนอก หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ไกล ใกล้" เป็นต้น.
  10. สาเหตุที่คนมักเข้าใจว่า ท่านให้พิจารณาแค่จิตของตนเท่านั้น กายของตน เท่านั้น เป็นต้น อย่างหนึ่งน่าจะมาจากข้อความว่า "กายยาววาหนาคืบ"ซึ่งมีต้นเค้ามาจากพระไตรปิฎก แต่คำนี้ท่านก็ไม่ได้ระบุว่าหมายถึงของตนเองเท่านั้น.
  11. คำว่า "ตัณหาจริตอย่างอ่อน" และ"ทิฏฐิจริตอย่างอ่อน"นั้น สมัยนี้มีการพูดถึงกันมาก เพราะเอามาจากอรรถกถาสติปัฏฐานสูตรเป็นต้นนั่นเอง มาจากศัพท์ว่า "มนฺทสฺส ตณฺหาจริตสฺส" กับ "ทิฏฺฐิจริตสฺส มนฺทสฺส" ซึ่งดูจากฏีกาวิสุทธิมรรค และเนตติปกรณ์ รวมถึงในอรรถกถาของทีฆนิกายแล้ว ถ้าจะอ่านให้รู้เรื่องควรเข้าใจคำนี้ว่าเป็น "ตัณหาจริต ปัญญินทรีย์แก่กล้า/ปัญญินทรีย์อ่อนหัด" กับ "ทิฏฐิจริต ปัญญินทรีย์แก่กล้า/ปัญญินทรีย์อ่อนหัด".
  12. การแสดงข้อมูลสำหรับสะสมอบรมสติปัฏฐานไว้ถึง 21 แบบ ซ้ำกันไปซ้ำกันมาในเรื่องเดียวกันอยู่อย่างนี้ เพราะทรงแสดงตามนิสัยสันดานของแต่ละคนที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านข้อมูลและภาษาเป็นต้นมาไม่เหมือนกัน หากทรงแสดงย่อเพียงแบบใดแบบหนึ่ง ผู้ฟังบางส่วนอาจไม่สามารถทำความเข้าใจจนบรรลุได้. แต่หากทรงแสดงหลากหลายแบบ เลือกคำพูดและร้อยเรียงเอาเรื่องราวที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลมาแสดงแล้ว ก็อาจทำให้ผู้ฟังบรรลุได้ตามประสงค์ เพราะผู้ฟังก็มีความเข้าใจในเรื่องนั้นๆอยู่ในระดับชำนาญเฉพาะทางอยู่แล้ว เพียงแค่ทรงบอกแนะเพิ่มเติมในจุดที่ขาดตกบกพร่องไปเท่านั้นเขาก็สามารถเข้าใจและบรรลุตามได้ไม่ยากเลย, เหมือนการอธิบายเรื่องพระเจ้าหลุยให้ชาวฝรั่งเศสฟังด้วยภาษาฝรั่งเศส ถ้าเจอคนโง่ก็อธิบายให้คนโง่ฟังอย่างละเอียด ถ้าเจอคนฉลาดก็อธิบายให้คนฉลาดอย่างสังเขป เป็นต้นนั่นเอง.
  13. ทั้ง 21 บรรพะนี้ พึงทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้อย่างย่อเท่านั้น รายละเอียดจำเป็นต้องดูเพิ่มเติมที่สติปัฏฐานสังยุตต์ ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, สติปัฏฐานนิทเทส ในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, สติปัฏฐานวิภังค์ ในอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์(<<ละเอียดที่สุด) และคัมภีร์ชั้นอรรถกถา-ฏีกา เช่น อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร ในสุมังคลวิลาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร ในปปัญจสูทนีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสังยุตต์ ในสารัตถปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานนิทเทส ในสัทธัมมปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังค์ ในสัมโมหวิโนทนีปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีฏีกา ฏีกาของอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 7(ย่อไว้ดีมาก),ฏีกา-อนุฏีกาของอรรถกถาเหล่านั้น เป็นต้น. อย่างไรก็ตาม การจะทำความเข้าใจอย่างละเอียดนั้นจำเป็นต้องมีพื้นฐานในด้านข้อมูล-ภาษา-และความสัมพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก-อรรถกถา-ฏีกามากพอสมควร ซึ่งสามารถหาประสบการณ์และความชำนาญได้ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติมไปอีก เช่น ถ้าอ่านเรื่อง "รูปขันธ์" ในขันธบรรพะ พร้อมอรรถกถา-ฏีกาแล้ว ก็ควรอ่านขันธวารวรรค ในสังยุตตนิกาย, ขันธวิภังค์ ในวิภังคปกรณ์, ขันธนิทเทส ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิทเทส, การจำแนกขันธ์ที่มาในธัมมสังคณีปกรณ์, อภิธัมมัตถสังคหปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีปกรณ์ เป็นต้น.

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร . พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 7-7-52
  2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 7-7-52
  3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต สติปัฏฐานสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [3]. เข้าถึงเมื่อ 7-7-52
  4. อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร. อรถกถาพระไตรปิฎก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [4]. เข้าถึงเมื่อ 7-7-52
  5. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 7-7-52
  6. อรรถกถาภิกขุโนวาทกสิกขาบท กรรมฐาน 2 แบบ ที่ทำให้บรรลุอรหัตผล
  7. ม.อ. (ปปญฺจ.๑) สติปฏฺฐานสุตฺตวณฺณนา

มหาสต, ฏฐานส, ตร, หร, สต, ฏฐานส, ตรเป, นพระส, ตรท, รวมว, การปฏ, สสนาด, วยการเจร, ญสต, เร, ยกว, สต, ฏฐานส, การม, สต, นเป, นไปใน, กาย, เวทนา, และ, ธรรม, จนเห, นร, ปนามตามความเป, นจร, งว, าเป, อน, จจ, กข, อน, ตตา, นเป, นทางสายเอกในอ, นท, จะนำพาผ, ปฏ, ไปส, การบรรล. mhastiptthansutr hrux stiptthansutrepnphrasutrthirwmwithikarptibtiwipssnadwykarecriysti thieriykwa stiptthansi khux karmistixnepnipin kay ewthna cit aela thrrm cnehnrupnamtamkhwamepncringwaepn xniccng thukkhng xntta xnepnthangsayexkinxnthicanaphaphuptibtiipsukarbrrlumrrkhphlniphphanidmhastiptthansutr epnphrasutrsakhyinphraphuththsasnathiphraphuththecatrsaekchawkuruchnbth chuxwakmmasthmma 1 2 3 odypccubnemuxngkmmasthmmaxyuinkrungniwedli emuxnghlwngkhxngpraethsxinediy stiptthansutrhruxmhastiptthansutr epnphrasutrthiphraphuththecatrswaepnaenwthangptibtinimiepahmayediyw khux karbrrluniphphan mhastiptthansutr emuxphicarnacakphraphuththphcntxnerimphrasutr xacklawidwaphrasutrniaesdnghlkkarphthnatnephuxepahmaykhuxkarbrrluniphphansahrbbukhkhlhlaycrit hlayradb 4 khuxihmistismpchyyatamduxarmnkrrmthanimkhadtxnihruehnethathntamkhwamepncring 5 ephuximthukkhrxbngadwyxanackielstang odymiaenwptibti 4 khntxnilcakkartamphicarnaxarmnkrrmthanthihyabipcnlaexiyd khux kay ewthna cit aela thrrm ehtuekidehtudb enuxha 1 bthwiekhraahsphth 2 okhrngsrangsutr 2 1 brrpha 21 2 1 1 kayanupssnastiptthan 2 1 2 ewthnanupssnastiptthan 2 1 3 cittanupssnastiptthan 2 1 4 thmmanupssnastiptthan 2 2 smthwipssnakhxng 3 xacaryimkhdaeyngkn 2 3 epriybethiybmhastiptthansutrkbstiptthansutr 2 4 ebdetld 2 5 duephim 2 6 xangxing bthwiekhraahsphth aekikh mha epn khunsphth aeplwa ihy sutr epn namkitk aeplwa karfng hrux xacaeplid xikhlay khwam hmay aet in thinihmay thung phrasutr in phra itrpidkhmwdsuttntpidk sung hmay thung singthi id fng aelw ca ma id stiptthan duthi stiptthan 4mhastiptthansutr hmaythung phrasutrthiklaw thung withi ecriystiptthan 21 brrpha xyu in phrasuttntpidk thikhnikay mhawrrkh epn sutrthi 9 rxngsudthaykhxngwrrkhnistiptthansutr khux phrasutrthiklaw thung withi ecriystiptthan stiptthansutrnixacmixyuinphraitrpidkhlaythi aelw aet thanca tngchux aetthiniymexamaphud thung ca xyu in phrasuttntpidk mchchimnikay mulpnnask klaw thung withi ecriystiptthan 21 brrpha ehmuxn in thikhnikaynnexng okhrngsrangsutr aekikhbthkhwamnixactxngkartrwcsxbtnchbb indaniwyakrn rupaebbkarekhiyn kareriyberiyng khunphaph hruxkarsakd khunsamarthchwyphthnabthkhwamidinmhastiptthansutrthanidaesdngeruxngekiywkbstiptthaniwxyanglaexiyd odyaebngaesdngxxkepnkhx eriykwa pph ph pphpha brrpha khx aebb odyinphrabaliichkhawa xpic xapica xikxyanghnung epnekhruxnghmayinkaraebngstiptthan 4 xyanglngipxik rwmthngsin 21 brrpha erimthixanapanbrrphaaelaipsinsudthisccbrrpha xrrthkthakhxngsutrniklawwa chawkuruepnphuthimixthyasysmburnaelamisphaphaewdlxmthiehmaasmcungtrskrrmthaniwxyangyx thrngaesdngphlwwipssnayankhuxkhyyanaelaphngkhyaniwepnhlkintxnthaykhxngthukbrrpha xikthngintxnthayxrrthkthaaesdngwamiphubrrluhlngfngsutrnicbdwy brrpha 21 aekikh kayanupssnastiptthan aekikh kayanupssnastiptthanaesdngwithithakrrmthandwykartamdukay 14 brrpha tamhlkenttipkrnbrrphaniehmaasahrbkarerimtnkhxngtnhacrit thimixinthriykhuxpyyaxxnkalng ephraakayanupssnastiptthanepnrupkrrmthanepnkhxnghyabphicarnaidchdecnngaykwanamkrrmthanin 3 stiptthanthiehlux tamxrrthkthakhxngewthnanupssnastiptthanaelahlkenttipkrn phuthiptibtitamkayanupssnastiptthancnsamarthtthngkhphanhruxwikkhmphnphanxphichchaaelaothmnsidaelw ethakbidrupkrrmthanaelw chann catxngthastiptthan 3 khxhlngtxdwy ephuxthaphaninxrupthrrmdwy imechnnn xnusykielskcanxnenuxnginxrupkrrmthanehlann khxyepnxuppnissypccyaebbxarmmnaaekpriyutthankiels xnung inthuk thaybrrpha camikarthaphngkhyaninstikhxngcitdwngthitharupkrrmthanhruxxrupkrrmthandbipinwaracitkxnhnadwy ephraaaememuxthakrrmthanthng 21 brrphacnepntthngkhphanhruxwikkhmphnphanaelw aetxphichchaaelaothmnskyngsamarthxasyxyuincitthiephingthawipssnaid txipniepnkayanupssnastiptthan 14 aebb 1 xanapanbrrpha aesdngwithithakrrmthandwykartamdulmhayic hrux thieriykwa xanapansti odyphraphuththecathrngaesdngiwxyangyxechphaafaysmtha 4 khx cak 16 khx inxanapansstisutr xrrthkthaklawwa brrphaniehmaakbsmthyanik 6 ephraaepnkrrmthanthithaihthungolkiyxppnaid swnwipssnathiehlux 12 khxinxanapansstisutr thukyxiwinthaybrrphathiaesdngwithikarecriythngsmthaaelawipssnaiwwa oykhitamehnehtuekidinkaybang tamehnehtudbinkaybang smuthythm manups si wa l sungxrrthkthaxthibaykhxkhwamnniw 2 swn khux swnsmtha xthibayehtuihekidlmhayic swnphngkhyan xthibayniorthsckhxngstiincitthiphicarnaehtuekidswnsmthaipxnung brrphaniaelathukbrrpharwmthunginxutheths aeykxxkepn 2 swn khux swnxarmnthithuktamdu caxyukxnxnupssi tamphicarnaehn aela xiti dngni sphth sungswnnikhxngaetlabrrphacaehmaakbsmthyanikhruxwipssnayanikxyangidxyanghnungethann xyangxanapanstibrrphani thanaesdngwaepnsmthyanik swnstismpchyyathitamdu caxyuhlngxnupssiaelaxitisphth sungswnnikhxngaetlabrrphacaihtamduxarmnkrrmthannn thngkhxngtnexngaelakhxngphuxun aettxncbcaehmuxnkn khux phngkhyanthiphicarnaxriyscinstidwngthiephingdbiphlngthakrrmthaninxarmnthiaesdngiwinswnaerkkhxngbrrpha xnung swnniinphraitrpidkkhxngmhayanimmi ephraatammhaokhsingkhsalsutrphraethraphunainsngkhaynakhrngthi 1khxngethrwath swnmakthanepnluksisyphrasaributrxkhrsawkdwy chann thancungaesdngmhastiptthansutrtamthifngmacakphrasaributr ephraaphraphuththecaykyxngthrrmathiphrasaributraesdngihethiybethakbthiphraxngkhaesdng swnthangnikayxunrwmthungmhayannn sngkhaynaknodyimmiphraethraehlannxyudwy chann phrasutrfngmhayancungimmiswnthimacakphrasaributr thnginsutrni aelathngxphithrrmdwy wisuththimrrkhklawwa xanapanstiepnkrrmthansahrbomhcrit khnkhilum aelaklawwa stimihnathithaihcitectsikimhlnglumxarmn xsmomhrsa dngnn thayngepnkhnkhihlngkhilumxyu stikcaimsamarthecriyid phraphuththecacungtxngaesdngxanapanstikxnbrrphaxunephuxkhmkhwamkhilumniiwkxncaipthakrrmthanbrrphaxun ephraalmhayicxyukbtwaelaekhluxnihwxtonmtixyutlxd lmhayiccungepnkrrmthanthiehmuxnmikhnmasakidimihlumxyutlxd inrayaerimkrrmthancungngaytxkarrksastiiwmakkwakrrmthankxngxun lmhayicmiradbsahrbkarfukthichdecn khux thalmhayhalmimecxaesdngwa stiimmikalngphxcarulminradbnn aelaichmnsikarnxy khux emuxhlnglumkrrmthanipaelw ephraastiimmikalnghruxephraaipisiceruxngxunktam aetlmhyabkyngkhngmapraktetuxnihehneruxy xyudi caehnidwa krrmthanxunimmikhunsmbtiehlanismburnethaxanapansstiely chann phraphuththecacungaesdngxanapanbrrphakxn ephraaekuxkultxkarecriystimakthisud 2 xiriyapthbrrpha aesdngwithikarthakrrmthanthieriynmaid thngsmthaaelawipssnaihtxenuxngthukxiriyabthihythng 4 xiriyabth khux yun edin nng nxn klawkhux emuxeriynkrrmthanmixanapansstiepntnaelw kihbriharihecriykhuntxenuxngxyutlxdthngxiriyabthihyaelaxiriyabthyxy mipraednwa mhaxrrthktha 7 imihptibtiwipssnaodyichxiriyabthihyaelaxiriyabthyxy ephraaxiriyabthimichsmmsnrup aetphramhasiwaidxthibaywithithisamarthnamathawipssnaid odykaraeykrupprmtthxxkcakxiriyabththiepnxtthbyyti aelwthawipssnaechphaainsmmsnrup xyangirktam emuxwiekhraahodyhlkctuphyuhharaaelw wtthuprasngkhkhxngbrrphani khux karennihoykhithakrrmthanthieriynmaechnxanapansstiepntntlxdewlaimkhadchwng chann mtikhxngmhaxrrthkthacungxthibayokhrngsrangkhxngsutridtrngtamphuththprasngkhmakkwa swnmtikhxngphramhasiwannkthuktxngtamhlkthrrmaaelachwyxthibayeruxngsmthyanikaelawipssnayanikthimainmhaxrrthkthadwy aemcaimekhakbokhrngsrangkhxngsutrniktam thngsxngmtiimidkhdaeyngknaelaepnpraoychnthngkhu phraphuththokhsacarycungimtdsinthukphidid insxngmtini ephiyngaetihmtikhxngmhaxrrthkthaepnmtihlk ephraamtikhxngmhaxrrthkthaekhakbokhrngsrangkhxngsutrmakkwa xiriyabthbrrphaaelasmpchyyabrrpha epnkrrmthanthiehmaakbwipssnayanik ephraa mhaxrrthktha wabrrphaniimidaesdngxarmnkrrmthaniwodytrng ephraaepnaekhbrrphathiyaihthakrrmthanid ihtlxdewlaimmihyudphk cungimaesdngxarmnkhxngkrrmthaniwodytrng xiriyabthexngkepnthngbyytidwy saxiriyabthyngepnbyytiaebbediywkbxsmmsnrupdwy xrrthkthacungklawwaimtxngeriynkrrmthanin 2 brrphani xyangirktamemuxthathatumnsikarbrrphaaelwcasamarthaeykxiriyabthbyyticakprmtthtamkhaxthibaykhxngphramhasiwadanlang kcaidxarmnepnrupprmtth sungrupprmtthimepnxarmnkhxngxppnachan chann xppnacungimekidinsxngbrrphani aetsamarththawipssnaid inmhaxrrthkthakhxngsxngbrrphanicungaesdngwipssnaiw aelaklawwabrrphaniehmaakasmthyanik phramhasiwaxthibaykhakhxngmhaxrrthkthawa xarmnthiaesdnginbrrphaniaelasmpchyyabrrphaimichxarmnaebbxppnakrrmthan 30 cungthaihthungxppnaimid aelayngimichthrrmthikhwrsmmsnaxikdwy aetemuxphanthatumnsikabrrphamaaelw kcasamarthaeykxiriyabthaelasmpchyyaimihepnstwbukhkhlid dngnn cungsamarththawipssnaid xppnasamarthekididngaykwainxiriyabthnng thathanaesdngsxngbrrphaniepnsmthadwy oykhiphuihmcaedinbang nxnbangthasmtha sungepnxiriyabththiyaktxkarthaihekidxppna aemphuthiidwsiaelw xiriyabthnngkyngepnxiriyabththiekhaxppnaidngaykwa xyangirktam smthyanikphuihmemuxerimthasmthakkhwrthathngxiriyabthihyaelayxyechnknephuxrksanimitkrrmthan ephiyngaetennthixiriyabthnngephraacitcatngmnidngaykwa krrmthancaecriykhunngayaelaiwkwaxiriyabthxun dwyprakardngklawmaaelwnn xiriyabthbrrphaaelasmpchyyabrrphacungehmaakbwipssnayanik nxkcakni mhaxrrthkthakhxngbrrphanikxthibayiwtamaenwwipssnadwy 3 smpchyybrrpha aesdngwithikarthakrrmthanid thieriynmathngsmthaaelawipssnaihtxenuxngthukxiriyabthyxythng 7 khux edinhna thxyhlng ael ehliyw ehyiyd khu ichsxykhawkhxngekhruxngichtang khaxthibaythiehluxdukhaxthibayxiriyabthbrrphakhangbn 4 thatumnsikarbrrpha aesdngwithikarthakrrmthandwythatu 4xyangyx khux aesdngephiyngthatudin m mwl thatuna a khwamdungdud khwamerng khwamhnud thatuif t xunhphumi thatulm v u khwamerw khwamihw sungtangcakmhahtthipothpmsutrthiaesdngiwxyanglaexiydkwa brrphaniehmaakbwipssnayanik ephraathatu 4 epnrupprmtth imichxarmnkhxngxppna xrrthkthakhxngbrrphanicungxthibaythngsxngswnkhxngsutrepnkrrmthanwipssnathnghmd khux ctuthatuwwtthaninswnaerkaelaphngkhyaninswnhlng ctuthatuwwtthanaesdngtxcakxanapanssti xiriyabth aelasmpchyybrrpha ephraasmthwipssnaepnyukhnthththrrm txngecriykhukn chann aesdngxanapanstiinxiriyabthihynxyaelw cungaesdngrupkrrmthandwyctuthatuwwtthantxkn caehnidwa inxrrthkthakhxng 3 brrphacungklawthungctuthatuwwtthanwipssnainthanarupkrrmthaniw aemwawipssnainrupkrrmthankhwrcaerimthibrrphaniktam nnkephraaehtuthismthwipssnaepnyukhnthththrrmnnexng 5 ptikulmnsikarbrrpha aesdngwithikarthakrrmthandwykarralukthungaetxwywa 32 hruxthieriykwa xakar 32 brrphaniehmaakbsmthayanik ephraamixarmnepnxwywasmuhkhnxtthbyyticungsamarthbrrluolkiyxppnaid khaxthibaythiehluxdukhaxthibayxanapanbrrphakhangbn 6 14 nwsiwthikabrrpha aesdngwithikarthakrrmthandwysiwthikhrux saksphiw 9 wara mhaxrrthkthaaenanawa brrphaniehmaakbsmthyanik ephraaxarmnkhxngxsuphkrrmthanthithaihbrrluolkiyxppnaid aelaphramhasiwaidklawesrimwa brrphaniaesdngwipssna iwdwy ephraaphraphuththecathrngaesdngnwsiwthikaiwdwysanwnxathinwyan srupwa xarmnehmaakbsmthyanik aetksamarthnaipthawipssnaidechnkn ewthnanupssnastiptthan aekikh ewthnanupssnastiptthanaesdngwithikarthakrrmthandwyewthna 3 iw 1 brrpha tamhlkenttipkrnbrrphaniehmaasahrboykhithiepntnhacrit thimixinthriykhuxpyyaaekkla ephraaemuxphanxphichchaaelaothmnsinkayidaelw tnhakcaiptidicinxrupthrrmxyuxik thaihniwrnyngkhngekidaethrkphawnaid thngolkiyaaelaolkuttrxppnacungimxacekidid thangaekkhux thaxrupkrrmthan aetxrupkrrmthanmithung 3 stiptthan catxngeluxkwacaecriystiptthanihnkxn mhaxrrthkthacungxthibaywaphraphuththecathrngaesdngewthnanupssnastiptthantxcakkayanupssna ephraaewthna phssa aelacit samarthtamduidchdecnngaykwaxrupthrrmxun swnwithieluxkwacaexaewthnahruxcitmaepnxarmnkrrmthannn tamhlkenttipkrn mihlkxyuwa oykhitnhacritthimipyyaaekklaaelw yngmisukhewthnawipllasinxrupthrrmxyumak cungkhwrthaphanatnhainewthnakxn dwykarthaewthnanupssnastiptthan swnoykhithitthicritthixinthriykhuxpyyaxxnhdnnphanwipllasinewthnaidaelw cungihthacittanupssnastiptthan ephraaehluxniccaelaxttwipllasxyu odyihthacittanupssnastiptthankxn ephraamiraylaexiydnxykwathmmanupssnastiptthan emuxphanniccthitthiidaelw thayngimbrrlumrrkhphlkhxythathmmanupssnastiptthanephuxlaxttthitthi txipniepnkhaxthibayhlkkarptibtiodyyx 15 ewthnabrrpha aesdngwithikarthakrrmthandwyewthna khux khwamrusuksukh thukkh echy thimixamis immixamisiw ephuxthicathaphanaewthnathimixamisaelaecriyewthnathiimmixamisaethn brrphaniehmaasahrbwipssnayanik ephraaimsamarththbrrluxppnaid enuxngcakmiewthnahlaydwngepnxarmn cittanupssnastiptthan aekikh cittanupssnastiptthanaesdngwithikarthakrrmthandwycit 1 brrpha tamhlkenttipkrnbrrphaniehmaasahrboykhithiepnthitthicrit thimixinthriykhuxpyyaxxnhd khaxthibayxunduinhwkhxewthnanupssnastiptthan txipniepnkhaxthibayhlkkarptibtiodyyx 16 cittbrrpha aesdngwithikarthakrrmthandwycitdwykarwiekhraahsmpyutthrrmkhxngcitpccubnsntti ephuxthakhnawiniphophkha karaeykpccypccyupbnthisbsxn inxrupthrrm brrphaniehmaasahrbwipssnayanik ephraaimsamarthbrrluxppnaid enuxngcakmicithlaydwngepnxarmn aetwiyyanycaytnxppna mixarmnaekhxakasanycaytncitxyangediywethann thmmanupssnastiptthan aekikh thmmanupssnastiptthanaesdngwithikarthakrrmthandwykarhaehtuekidaelaehtudb 5 brrpha thmm sphth inxrrthkarna ehtu tamhlkenttipkrnbrrphaniehmaasahrboykhithiepnthitthicrit thimixinthriykhuxpyyaaekkla khaxthibayxunduinhwkhxewthnanupssnastiptthan txipniepnkhaxthibayhlkkarptibtiodyyx 17 niwrnbrrpha aesdngwithikarthakrrmthandwykarhaehtuekidaelaehtudbkhxngniwrn ephuxdbniwrnthngpwngodykarthasmthaekhachan aelwthaihimekidkhunxiktxipdwykarthapriyyakictamkhnthbrrpha brrphaniaelabrrphathiehluxehmaasahrbwipssnayanik ephraaimsamarththbrrluxppnaid enuxngcakkarhaehtuekidkhwamdbimichthaihidxppna 18 khnthbrrpha aesdngwithikarthakrrmthandwykarhaehtuekidaelaehtudbkhxngkhnththngpwng ephuxdbkhnththngpwngodyimmiswnehluxdwykarthasmucechthphaninehtuekidaelaehtudb khux xwichchasngoychnaelatnhasngoychntamxaytnbrrpha 19 xaytnbrrpha aesdngwithikarthakrrmthandwykarhaehtuekidaelaehtudbkhxngsngoychn ephuxthaihsngoychnthngpwngekidimidxiktxip dwykarthaphaewtphphkictamophchchngkhbrrpha 20 ophchchngkhbrrpha aesdngwithikarthakrrmthandwykarhaehtuekidaelaehtudbkhxngophchchngkh xngkhaehngkartrsru ephuxthaihecriyngxkngamsmburnepnxriymrrkhscthitrsruxriysc 4 tamsccbrrpha 21 sccabrrpha aesdngwithikarthakrrmthandwykarichsmmathitthiinmrrkhschaehtuekid smuthysc aelaehtudb niorthsc khxngthukkh sccbrrphainsutrniaesdnglaexiydkwathmmckkppwttnsutr ephraainxrrthkthamhastiptthansutrklawwa phufngmicanwnimnxykwa 3 hmunkhn aela phufngmithngbrrphchitaelakhrawas chann cungmikhnthiimekhyeriynrueruxngchanrwmxyudwy cungtxngaesdngsccbrrphalaexiydkwa swnphrapycwkhkhiynntamphraophthistwmanancungekhythachanmakxnaelw elyimtxngaesdngmrrkhscfaysilaelasmathixik smuthyscaelaniorthsckimtxngaesdnglaexiydetha ephraakhmmadiaelwdwychan smthwipssnakhxng 3 xacaryimkhdaeyngkn aekikh ineruxngbrrphaihnehmaakasmthyanik brrphaihnehmaakawipssnayanikni mixyangnxy 3 nythixacarykrrmthancatxngichinkarphicarnaeluxkkrrmthanihluksisy nykhxngmhaxrrthktha thanmxngwaxarmnkrrmthaninbrrphaihnsamarththaihbrrluolkiyxppnaid brrphannehmaakasmthyanik nxknnehmaakawipssnayanik xyangirktam mhaxrrthkthamxngwaxiriyabthbrrphaaelasmpchyyabrrphaichprakxbkbbrrphaxun imichxarmnthitxngthxngcaephuxnamaichthawipssnakrrmthanodytrng ephraaxiriyabthihynxyepnxsmmsnrup rupthiimehmaathawipssna aetcdwaehmaakbwipssnayanikephraaxsmomhsmpchyyainsmpchyybrrphannichsphthwa pchanati sungepnsphthediywkbwipssnabrrphaswnihy mhaxrrthkthacungxthibay 2 brrphani odyichenuxhainwipssnabrrphaxunmathakhnwiniphophkha 2 brrphaniephuxihidnamrupprmtthmathawipssna nykhxngphramhasiwethra thanmxngsiwthikbrrphawaepnxathinwanupssna cungehmaakawipssnayanik swnmhaxrrthkthamxngwa siwthikasamarthichthaolkiyxppnaid cungehmaakbsmthyanik thngsxngmtithuktxngthngkhu khux mtikhxngmhaxrrthktha xacarykrrmthancaichsahrbeluxkbrrphathiehmaasmkaluksisythimipyyinthriyaekkla samarthkhamladbsutrid swnmtikhxngphramhasiwa caichemuxluksisymipyyinthriyxxnhd txngptibtiilladbtngaetxanapanbrrphama dngnn emuxpyyinthriyxxnhderimaekklacakkarthathitthiwisuththidwythatumnsikarinptikulmaaelwin 2 brrphakxn kihnakhunsuxathinwanupssnadwynwsiwthikatamnyyakhxngphramhasiwa xnung phramhasiwaklawwa xiriyabthaelasmpchyybrrphasamarthexamathxngcaephuxichthawipssnaid odykaraeykbyyticakprmtth trngnithanklawtamxrrthkthasmpchyybrrpha hwkhxxsmomhsmpchyya cungimidkhdaeyngkbmhaxrrthktha aetepnkarxthibayihehnphaphwathimhaxrrthkthaklawiwwa 2 brrphaniehmaasahrbwipssnayanik nn epnxyangirethannexng nykhxngenttipkrn sihwikilitny caladbkhxptibtiihsxdkhlxngkaxthyasykhxngsihakhuxkhruphusxn innysmutthancungaesdngxngkhsphawathrrmkhxthiethaknaemtanghmwdiwethakn tipukkhlny caladbkhxptibtiihsxdkhlxngkaxthyasykhxngstwthicaxxkcakwtta innysmutthancungepnkarnasihwikilitnymaladbihmihehmaakbraybukhkhlnn dngnn xngkhsphawthrrm khnlaladbkhxkn thatanghmwdkxacmixngkhthrrmimethakn khunxyukbxthyasykhxngstwkhnnn phramhasiwakbmhaxrrthkthaimidkhdaeyngkn khaxthibaykhxngmhaxrrthkthainmhastipkthansutrmisxngaebb khux aebbthixthibaydwysihwikilitny aelaaebbthixthibaydwytipukkhlny mhaxrrthkthaaebbthixthibaydwysihwikilitny caxyuinxrrthkthakhxngaetlabrrpha ephraastiptthan 4 cdxyuinsihwikilitny mhastiptthansutrcungaesdngtamsihwikilitny chann inxrrthkthakhxngaetlabrrphacungtxngxthibayxngkhsphawathrrmkhxngbrrphatamladbsihwikilitny khux aesdngladbkhrbthwntngaetkarechuxmoyngkbbrrphakxn ipcnwithikarthakrrmthancnthungkhyyan tamladbinphrabaliaehngmhastiptthansutr imichkarcdopraekrmechphaabukhkhlaebbtipukkhlny mhaxrrthkthaaebbthixthibaydwytipukkhlny caxyunxkxrrthkthakhxngbrrpha echn inmhaxrrthkthaichtipukkhlnyxthibaywithieluxkkrrmthaniwtxnthaywa xiriyabthbrrphakbsmpchyybrrphaimichxarmnkrrmthanthixphiniewsid imtxngexamaepnxarmnkrrmthan aetkaesdngwa brrphaniepnxarmnsmthkrrmthanhruxxarmnwipssnakrrmthan sungkhmaythungsmthyanikbukhkhlaelawipssnayanikbukhkhlintipukkhlnynnexng sungphuthixanphan caimekhaicaelamxngwamhaxrrthkthakhdaeyngknexng phramhasiwethracungtxngichsihwikilitnymaxthibaytipukkhlnykhxngmhaxrrthkthawa xiriyabthemuxthakhnwiniphophkhaaelw kcaidnamrupmaepnxarmnaekwipssnayanik chann mhaxrrthkthaaemklawwasxngbrrphaniimepnxarmnkrrmthandwytipukkhlnyiw aetkinxrrthkthakhxngthngsxngbrrphanimhaxrrthkthakxthibayiwdwysihwikilitny emuxphramhasiwaxthibaytipukkhlnyihepnsihwikilitnyxyangni khruphusxnkrrmthankcaekhaicmhaxrrthkthatrngtamcudprasngkhwa emuxcaihxarmnkrrmthan imkhwrerimihxiriyabthbrrphaaelasmpchyyabrrphatngaetaerk ephraaepnxsmmsnthrrm aetemuxchanayctuthatuwwtthanaelanambrrphadwyyatpriyyaaelw aemxiriyabthkbsmpchyyabrrpha kepnxarmnkrrmthaniddwykarthakhnwiniphophkha camxngwa singthimixyuaelwimtxngptibtiihthakhntxipidely echn khnthiidolkiyxppnaxyuaelwepnxukhkhtityyuimtxngthakayanupssnastiptthan ihthasmthaaelwptibtithmmanupssnastiptthanidely epntn hlkkarnikthuktxng aetinsthankarthitxngsxnkrrmthancring aemxukhkhtityyubangthankyngtxngphungkayanupssnastiptthan echn oykhixukhkhtityyuxacimekhythaolkiyxppnamakxninchatinn enttipkrnihxukhkhtityyuepnsmthyanik cungtxngihoykhinithachankxn emuxcatxngsxnxarmnkrrmthaninmhastiptthansutrcungtxngeluxkihkayanupssnastiptthanthiehmaakasmthyanik epntn caehnidwatamhlkenttipkrnaelw mtikhxngmhaxrrthkthakbkhxngphramhasiwannephiyngaekhxthibayechuxmoyngsungknaelaknethann imidkhdaeyngknely phraphuththokhsacarycungimaesdngkarwinicchyxyanginthixun ephiyngwangmtikhxngmhaxrrthkthaiwkxn aelwwangmtikhxngphramhasiwatxkn ephuxxthibaymhaxrrthkthaxikthihnung ethann epriybethiybmhastiptthansutrkbstiptthansutr aekikh mhastiptthansutr kb stiptthansutr tangkndngni mhastiptthansutrxyuinthikhnikay swnstiptthansutrxyuinmchchimnikay aelainsngyuttnikayepntn stiptthansutr in mchchimnikay ca mikar ich epyyal l mayxkhx khwam thi sa kn cung tha ih du ehmuxn snlng aet khwam cring tha aethnepyyal dwy khx khwam prktik ca txng mikhnad etha kn xrrthkthamhastiptthansutr in thikhnikaynn bangbrrpha echn xrrthkthakhxngsmpchyybrrpha epn tn camikhnad snkwa xrrthkthakhxngstiptthansutr in mchchimnikay ephraa than id xthibay iw kxn aelw inxrrthkthakhxngsamyyphlsutrepn tn than cung im klaw sa xik xrrthkthakhxngstiptthansutr in mchchimnikayk echn kn khux xrrthkthakhxngbangbrrpha echn xrrthkthakhxngsccbrrpha epn tn k ca snkwaxrrthktha eruxngediyw kn in thikhnikay ephraa than id klaw iw kxn aelw in xrrthkthasutr xun thimakxn sung xyu in mchchimnikayehmuxn kn ephraa aetlanikayk ca mixrrthkthakhnla elm echn xrrthkthakhxngthikhnikay chux sumngkhlwilasini xrrthkthakhxngmchchimnikay chux ppycsuthni epn tn sung aem ca mi enuxhakhlay kn aetk ca mikareriyngenuxhaxthibaytang kn khun xyu kb wa sutrihnmakxn kha ihnmakxn kthukxthibaykxn sutrihnmahlng kha ihnmahlng kthukxthibaythihlng thixthibayma aelw thank ca ih yxnduxnthiphanma aelw im xthibay sa xik phx epn xrrthkthakhnla elm kn xrrthktha cung snyawtang kn aet tha exathithanla iw ma etimk ca id phx kn tang kn bang elk nxyaekh in bangcud etha nn xnung khxnasngekt khux ch chtthsngkhaynakhxngphma stiptthansutr inmchchimnikay chuxkhxngphraphuththphcncaich mhastiptthansutr swninxrrthkthacaichaekhstiptthansutr emuxtrwcsxbkbthixun inxrrthkthakphbwa emuxsumngkhlwilasini xrrthkthathikhnikayxangthungmhastiptthansutrwacaxthibayinsutrni thankcaichkhawa mhastipt thansut t aetthaepnppycsuthni xrrthkthakhxngmchchimnikay ewlaxangthancaichaekhwa stipt thansut t imich mhastipt thansut t sungepnxyangnithnginxrrthkthaaelatikakhxngthng 2 khmphir aelatrngknthng chbbithy thng chbbphma cungmikhwamepnipidwa thanichchuxstiptthansutrkbmhastiptthansutr tamaebbthiithyichknxyuinpccubnni odyaeykxyangnimatngaetobranaelw inxrrthkthathixunnn mixyu 1 thi innithanwrrkhthaneriykrwmthng mhastiptthansutr inthikhnikay aela stiptthansutr inmchchimnikay rwmknthng 2 sutr waepn mhastiptthan ipelykmi khngepnephraawa thastiptthansutr inmchchimnikayimthaepyyalaelwekhiynetmkcatxngmikhnadethakbmhastiptthan sutrinmchchimnikaynnexng ebdetld aekikh ekrd elk ekrdnxy cak xrrthktha tikakhxngstiptthansutr aela stiptthansutr midngni in xrrthktha tikathanaena iw in sccbrrphawrrnna khxngthikhnikaywa im khwrka hnd 4 brrphadngtxipnikxn khux xiriyabthbrrpha smpchyybrrpha niwrnbrrpha aela ophchchngkhbrrpha ephraa xiriyabth thng nxy aela ihy im ich smmsnrup cungimichxarmnkhxngwipssna niwrnepnphatphphthrrm khwrkhmihidkxn imichmwaetsmmsna aelwplxyihniwrnekid swn ophchchngkh in thinithanhmay thung olkiyophchchngkh sung tha hakka hnd ih ebuxhnay aelw k ca im khidecriytx cha nn cung im khwrka hndtngaet aerk in xrrthkthathanklawwa stiptthan epn winy thng 2 khux thngtthngkhwiny aela wikkhmphnwiny klawkhux epn id thng khniksmathi aelaxppnasmathi sung xikthihnungkklaw ih bangbrrpha epn smtha aela bangbrrpha epn wipssna cung srup khwam id wa stiptthan epn id thng smtha aela wipssna xyang xiriyabthbrrpha epn tnthankwa epn wipssna swn kar ca tha chan ih epn stiptthan id nn k txng tha ephux epnbathkhxngwipssna aela tha im tha chanaet ca tha stiptthank txng tha wipssna ephiyngaetkar id chan ca chwy ih brrlu id sbaykhunkwakhnthi im tha chan makxn etha nn exng hlkkarwipssnathixrrthkthakhyay khwam stiptthan in aetlabrrphakhuxhlkpriyya 3 thima in phra itrpidk elm 29 khmphirmhanitheths aelaptismphithamrrkh khxngphrasaributr rwmthungenttipkrnthng sin phraphuththokhsacaryim ich karaetngkhunexngaetxyang id bthwa smuthythm manups si wythm manups si smuthywythm manups si thimi xyu in thukbrrpha in xrrthktha aela tikathan ih aeplwa phu hmnehnehtukhxng khwam ekidkhun phu hmnehtu aehng khwam hmdip phu hmnehtu aehng khwam ekidkhun aela khwam hmdip tamla db ephraa kha wa thrrm hmay thung ehtu ekidkhun hrux ehtudbkhxngkhnth 5 xyang thima inptismphithamrrkh xuthyphphyyannitheths aela wisuththimrrkh xuthyphphyyanktha id aek karekidkhun aela kardbkhxngthrrma 2 xyang khux pccy 6 xyang id aek xwichcha tnha krrm xahar phssa namrup aela niphphttilksna khux xupathkhnakhxngsphawathrrm nn hrux wiprinamlksna khux phngkhkhnakhxngsphawathrrm nn xyang id xyanghnung hakaeplwa thrrmkhux khwam ekid epn tn ca hmay thung niphphttilksna hrux wiprinamlksna etha nn swn thrrmxik 4 xyangthi epn pccy ca khlum im thung cungepnkhaaeplthikhdkbptismphithamrrkh xrrthkthamhastiptthansutr thmmckkppwttnsutr in xrrthkthakhxngthikhnikay rabuca nwnkhnthibrrlu iw 30 000 in txncbkhxngxrrthkthasutrni in xrrthktha ich hlkpriyya 3 epn eknth in karxthibayenux khwam thng hmd aela thankhyay khwampriyya 3 iw aelw in nithethskhxngwisuththi 3 id aek thitthiwisuththi kngkhawitrnwisuththi aela mkhkhamkhyanthssnwisuththi sung emuxrwmphunthan aelw k id wisuththi thng 7 hrux wisuththimrrkh thng elmnnexng cha nn than cung xang thung wisuththimrrkh iw bxymak aela ikhrthi im ekhyxanwisuththimrrkh hrux xan aelw aet im ru eruxng ephraa im cha nayphraxphithrrm hakipxanxrrthkthakhxngmhastiptthansutr epn tn aela xrrthktha swn ihy thi epn khxptibtixac ca im ekha icely ephraa khamla dbkarsuksa ipnnexng aet thng nihak ca xan ih phanta iw kxn in rahwangsuksakhmphirphunthan xyu kkhwrtha ephraa ca sasm epn xupnisy ih samarth ekha ic in xnakht id in thisud kxnstiptthansutr in mchchimnikay misutrchuxwa smmathitthisutr sung thanphrasaributrbxkkrrmthan iw makkwastiptthansutrxik ody klaw iw thung 32 krrmthan in khnathistiptthansutrklaw iw ephiyng 21 krrmthan etha nn in brrdaphrasutr dwy kn smmathitthisutr cung thukcdwa epnsutrthi aesdngkrrmthan iw makthisud in xrrthktha aela tikathanxthibaykha wa exkaynmrrkh iw wa hmay thung thangmungsuphraniphphanxyangediyw sung cak kha xthibay aela twxyang in tika nn tha ih thrab id wa exkaynmrrkhxac ca mikhxptibtihlayxyang id echn instiptthansutrkmikrrmthan thung 21 khx in smmathitthisutrkmikrrmthan thung 32 khx epn tn cak karthistiptthan epn id thng smtha aela wipssna cung tha ih thrab idwastiptthanmi thng byyti aela prmtth epn xarmn ephraa smtha echn nimit sung epn thithrab kn diwanimitepn byyti swn wipssna echn xiriyabthbrrpha kmixiriyabth aelaitrlksnepn tn sung epn byyti epn xarmn id instiptthansutrcaennihphicarnathngsingthiepnkhxngtnaelakhxngkhnxunephraami khxkhwamwa phhith tha wa kaey kayanups si wihrti epnphuhmnphicarnakayinkayxyu xyuinthukbrrphathng 21 brrphaelythiediyw sungphraxrrthkthaaelaphratikacarykyaiwxikinxrrthkthakhxngthukbrrphaechnknwa phicarnaphaynxk hmaythung khxngkhnxun khaniksxdkhlxngkbsutrthwip echnthieramkidyinkhawa rupthiepnxdit xnakht pccubn phayin phaynxk hyab laexiyd elw pranit ikl ikl epntn saehtuthikhnmkekhaicwa thanihphicarnaaekhcitkhxngtnethann kaykhxngtn ethann epntn xyanghnungnacamacakkhxkhwamwa kayyawwahnakhub sungmitnekhamacakphraitrpidk aetkhanithankimidrabuwahmaythungkhxngtnexngethann khawa tnhacritxyangxxn aela thitthicritxyangxxn nn smynimikarphudthungknmak ephraaexamacakxrrthkthastiptthansutrepntnnnexng macaksphthwa mn ths s tn hacrits s kb thit thicrits s mn ths s sungducaktikawisuththimrrkh aelaenttipkrn rwmthunginxrrthkthakhxngthikhnikayaelw thacaxanihrueruxngkhwrekhaickhaniwaepn tnhacrit pyyinthriyaekkla pyyinthriyxxnhd kb thitthicrit pyyinthriyaekkla pyyinthriyxxnhd karaesdngkhxmulsahrbsasmxbrmstiptthaniwthung 21 aebb saknipsaknmaineruxngediywknxyuxyangni ephraathrngaesdngtamnisysndankhxngaetlakhnthimikhwamrukhwamekhaicthangdankhxmulaelaphasaepntnmaimehmuxnkn hakthrngaesdngyxephiyngaebbidaebbhnung phufngbangswnxacimsamarththakhwamekhaiccnbrrluid aethakthrngaesdnghlakhlayaebb eluxkkhaphudaelarxyeriyngexaeruxngrawthiehmaasmkbaetlabukhkhlmaaesdngaelw kxacthaihphufngbrrluidtamprasngkh ephraaphufngkmikhwamekhaicineruxngnnxyuinradbchanayechphaathangxyuaelw ephiyngaekhthrngbxkaenaephimetimincudthikhadtkbkphrxngipethannekhaksamarthekhaicaelabrrlutamidimyakely ehmuxnkarxthibayeruxngphraecahluyihchawfrngessfngdwyphasafrngess thaecxkhnongkxthibayihkhnongfngxyanglaexiyd thaecxkhnchladkxthibayihkhnchladxyangsngekhp epntnnnexng thng 21 brrphani phungthrabwa phraphuththxngkhthrngaesdngiwxyangyxethann raylaexiydcaepntxngduephimetimthistiptthansngyutt insngyuttnikay mhawarwrrkh stiptthannitheths inkhuththknikay ptismphithamrrkh stiptthanwiphngkh inxphithrrmpidk wiphngkhpkrn lt lt laexiydthisud aelakhmphirchnxrrthktha tika echn xrrthkthamhastiptthansutr insumngkhlwilasinipkrn xrrthkthastiptthansutr inppycsuthnipkrn xrrthkthastiptthansngyutt insartthpkasinipkrn xrrthkthastiptthannitheths insththmmpkasinipkrn xrrthkthastiptthanwiphngkh insmomhwionthnipkrn xphithmmtthwiphawinitika tikakhxngxphithmmtthsngkhha pricechththi 7 yxiwdimak tika xnutikakhxngxrrthkthaehlann epntn xyangirktam karcathakhwamekhaicxyanglaexiydnncaepntxngmiphunthanindankhxmul phasa aelakhwamsmphnththipraktxyuinphraitrpidk xrrthktha tikamakphxsmkhwr sungsamarthhaprasbkarnaelakhwamchanayiddwykarhakhwamruephimetimipxik echn thaxaneruxng rupkhnth inkhnthbrrpha phrxmxrrthktha tikaaelw kkhwrxankhnthwarwrrkh insngyuttnikay khnthwiphngkh inwiphngkhpkrn khnthnitheths inwisuththimrrkh pyyanitheths karcaaenkkhnththimainthmmsngkhnipkrn xphithmmtthsngkhhpkrn xphithmmtthwiphawinipkrn epntn duephim aekikh yan wisuththi xanapansti wisuththimrrkh wiplasxangxing aekikh phraitrpidk elmthi 10 phrasuttntpidk elmthi 2 thikhnikay mhawrrkh mhastiptthansutr phraitrpidkchbbsyamrth xxniln ekhathungidcak 1 ekhathungemux 7 7 52 phraitrpidk elmthi 12 phrasuttntpidk elmthi 4 mchchimnikay mulpnnask stiptthansutr phraitrpidkchbbsyamrth xxniln ekhathungidcak 2 ekhathungemux 7 7 52 phraitrpidk elmthi 22 phrasuttntpidk elmthi 14 xngkhuttrnikay pyck chkknibat stiptthansutr phraitrpidkchbbsyamrth xxniln ekhathungidcak 3 ekhathungemux 7 7 52 xrrthktha thikhnikay mhawrrkh mhastiptthansutr xrthkthaphraitrpidk xxniln ekhathungidcak 4 ekhathungemux 7 7 52 phraphrhmkhunaphrn p x pyut ot phcnanukrmphuththsasn chbbpramwlsphth xxniln ekhathungemux 7 7 52 xrrthkthaphikkhuonwathksikkhabth krrmthan 2 aebb thithaihbrrluxrhtphl m x ppy c 1 stipt thansut twn nna bthkhwamekiywkbsasnaphuththniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul duephimthi sthaniyxy phraphuththsasnaekhathungcak https th wikipedia org w index php title mhastiptthansutr amp oldid 8716678, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม