fbpx
วิกิพีเดีย

กำแพงฮาดริอานุส

กำแพงฮาดริอานุส (อังกฤษ: Hadrian’s Wall; ละติน: Vallum Aelium (the Aelian wall)) “กำแพงฮาดริอานุส” เป็นกำแพงหินบางส่วนและกำแพงหญ้าบางส่วนที่สร้างโดยจักรวรรดิโรมันขวางตลอดแนวตอนเหนือของเกาะอังกฤษใต้แนวพรมแดนอังกฤษและสกอตแลนด์ในปัจจุบัน การก่อสร้างกำแพงเริ่มขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิฮาดริอานุสในปี ค.ศ. 122 “กำแพงฮาดริอานุส” เป็นหนึ่งในสามแนวป้องกันการรุกรานอาณานิคมบริเตนของโรมัน แนวแรกเป็นแนวตั้งแต่แม่น้ำไคลด์ไปจนถึงแม่น้ำฟอร์ธที่สร้างในสมัยจักรพรรดิอากริโคลา และแนวสุดท้ายคือกำแพงอันโตนิน (Antonine Wall) แนวกำแพงทั้งสามสร้างขึ้นเพื่อ

กำแพงฮาดริอานุส
Hadrian’s Wall
แผนที่แสดงแนวกำแพงฮาดริอานุสและกำแพงอันโตนินเหนือขึ้นไป
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทกำแพงโรมัน
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมโรมัน
ประเทศสกอตแลนด์
เริ่มสร้างค.ศ. 122
:* ป้องกันการรุกรานโรมันบริเตนจากชนพิคท์ (Pict) ผู้เป็นชนเผ่าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางเหนือของสกอตแลนด์แต่เดิม
:* เพิ่มสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความสงบสุขในบริเตนของโรมัน
:* เป็นการกำหนดเขตแดนอย่างเป็นทางการของจักรวรรดิ

ในบรรดากำแพงสามกำแพงฮาดริอานุสเป็นกำแพงที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดเพราะยังคงทิ้งร่องรอยไว้ให้เห็นกันในปัจจุบัน กำแพงฮาดริอานุสเป็น “กำแพงโรมัน” (limes) ของเขตแดนทางเหนือของบริเตนและเป็นกำแพงที่สร้างเสริมอย่างแข็งแรงที่สุดในจักรวรรดิ นอกจากจะใช้ในการป้องกันศัตรูแล้วประตูกำแพงก็ยังใช้เป็นด่านศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีสินค้าด้วย

กำแพงบางส่วนยังคงเหลือให้เห็นกันในปัจจุบันโดยเฉพาะส่วนกลาง และตัวกำแพงสามารถเดินตามได้ตลอดแนวซึ่งทำให้เป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่นิยมกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของทางตอนเหนือของอังกฤษ กำแพงนี้บางครั้งก็เรียกกันง่ายๆ ว่า “กำแพงโรมัน” กำแพงฮาดริอานุสได้รับฐานะเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี ค.ศ. 1987 องค์การอนุรักษ์มรดกอังกฤษ (English Heritage) ซึ่งเป็นองค์การราชการในการบริหารสิ่งแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของอังกฤษบรรยายกำแพงฮาดริอานุสว่าเป็น “อนุสาวรีย์ที่สำคัญที่สุดที่สร้างโดยโรมันในบริเตน”

ขนาด

กำแพงฮาดริอานุสมีความยาวทั้งสิ้นด้วยกัน 80 โรมันไมล์ (73.5 ไมล์หรือ 117 กิโลเมตร) ความหนาและความสูงของกำแพงก็ขึ้นอยู่กับวัสดุก่อสร้างที่หาได้ในบริเวณที่สร้าง กำแพงทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเอิร์ทธิง (River Irthing) สร้างจากหินสี่เหลี่ยมหนา 3 เมตร (9.7 ฟุต) และสูง 5-6 เมตร (16-20 ฟุต) ขณะที่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำสร้างด้วยดิน/หญ้าที่หนา 6 เมตร (20 ฟุต) และสูง 3.5 เมตร (11.5 ฟุต) ตัวเลขนี้ไม่รวมโครงสร้างอื่นๆ นอกตัวกำแพงที่รวมทั้งคู, หอสังเกตการณ์ และป้อม ส่วนกลางของกำแพงหนา 8 โรมันฟุต (7.8 ฟุต หรือ 2.4 เมตร) บนฐานกว้าง 3.0 เมตร (10 ฟุต) บางส่วนของกำแพงที่เหลือยู่ก็สูงถึง 3.0 เมตร (10 ฟุต)

แนวกำแพง

 
บางส่วนของกำแพงฮาดริอานุสที่ยังหลงเหลืออยู่ใกล้กรีนเฮด กำแพงบางส่วนก็ถูกรื้อถอนไปเพื่อไปสร้างสิ่งก่อสร้างอื่นในบริเวณใกล้เคียง
 
กำแพงฮาดริอานุสไม่ไกลจากเฮาเสต็ดส์

กำแพงฮาดริอานุสเริ่มจากทางตะวันออกไปตั้งแต่ป้อมเซเกดูนัม (Segedunum) ที่วอลล์เซ็นด์บนฝั่งแม่น้ำไทน์ไปจนถึงโซลเวย์เฟิร์ธ (Solway Firth) ทางตะวันตก ทางหลวงสาย A69 และ B6318 ตัดเลียบแนวกำแพงตั้งแต่นิวคาสเซิลอัพพอนไทน์ทางตะวันออกไปจนถึงคาร์ไลล์ทางตะวันตก และขึ้นไปทางฝั่งทะเลทางเหนือของคัมเบรีย กำแพงทั้งหมดอยู่ในอังกฤษใต้เขตแดนอังกฤษ-สกอตแลนด์ ตัวกำแพงห่างจากสกอตแลนด์ราว 15 กิโลเมตรทางตะวันตก และราว 110 กิโลเมตรทางตะวันออก

จักรพรรดิฮาดริอานุส

กำแพงฮาดริอานุสสร้างขึ้นหลังจากที่จักรพรรดิฮาดริอานุส (ค.ศ. 76 - ค.ศ. 138) เสด็จมาบริเตนในปี ค.ศ. 122 จักรพรรดิฮาดริอานุสทรงประสบปัญหาทางการทหารในโรมันบริเตน และจากผู้ต่อต้านกลุ่มต่างๆ ทั่วจักรวรรดิที่รวมทั้งในอียิปต์, จูเดีย, ลิเบีย, มอเรทาเนีย และกลุ่มชนที่ทราจันจักรพรรดิโรมันองค์ก่อนหน้านั้นพิชิตมาได้ พระองค์จึงทรงต้องหาวิธีที่จะแสดงพระบรมราชนุภาพและเสริมสร้างความมั่นคงต่างๆ เพื่อจะเพิ่มความมั่นคงให้แก่จักรวรรดิ นอกจากกำแพงจะมีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์แล้วการสร้างโครงการขนาดใหญ่เช่นกำแพงฮาดริอานุสก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมหาอำนาจของจักรวรรดิโรมัน ที่ไม่แต่จะในอาณานิคมบริเตนที่ยึดครองเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงกรุงโรมเองด้วย

เขตแดนในสมัยต้นๆ ของจักรวรรดิมักจะเป็นเขตแดนธรรมชาติเช่นแม่น้ำหรือภูเขา หรือการตั้งกองทหารไว้ป้องกัน ถนนที่ใช้ทางการทหารมักจะเป็นถนนที่ตัดเลียบพรมแดนที่มีป้อมและหอสัญญาณเป็นระยะๆ จนกระทั่งมาถึงสมัยของจักรพรรดิโดมิเชียนในปลายคริสต์ศตวรรษแรกเท่านั้นจึงได้มีการเริ่มสร้างเขตแดนแบบถาวรขึ้นในเจอร์มาเนียเหนือ (Germania Superior) ซึ่งเริ่มด้วยการสร้างเป็นรั้วธรรมดา ฮาดริอานุสปรับปรุงความคิดนี้โดยสร้างเป็นกำแพงระเนียด (palisade) ตลอดแนวโดยมีป้อมสนับสนุนเป็นระยะๆ แม้ว่าการสร้างกำแพงเช่นนั้นจะมิได้เป็นการป้องกันการรุกรานได้อย่างจริงจังเท่าใดนัก แต่ก็เป็นการปักหลักเขตแดนของบริเวณที่ปกครองโดยโรมันอย่างเป็นทางการ และใช้เป็นการควบคุมการเข้าออกด้วย

หลังจากการตัดสินใจก่อสร้างกำแพงแบ่งเขตแดนแบบถาวรแล้วฮาดริอานุสก็ลดจำนวนทหารประจำการในอาณาบริเวณของชนบริกานทีส (Brigantes) ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ระหว่างแม่น้ำไทน์และแม่น้ำฮัมเบอร์ และหันไปมุ่งมั่นกับการสร้างแนวป้องกันทางด้านเหนือของบริเวณนั้นให้มั่นคงแทนถนนสเตนเกท (Stanegate) เดิม ที่เชื่อกันว่าเป็นถนนที่ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนโรมันมาจนกระทั่งบัดนั้น

การก่อสร้าง

 
ป้อมโรมันที่คอร์บริดจ์
 
ระบบป้องกันวาลลุมที่กำแพงฮาดริอานุสใกล้ป้อมไมล์ 42 (ตัวกำแพงอยู่บนสันเนินทางขวาของภาพ)
 
แผนผังการสร้างกำแพงและระบบป้องกันวาลลุม

การก่อสร้างอาจจะเริ่มราว ค.ศ. 122 กำแพงส่วนใหญ่สร้างเสร็จภายในระยะเวลาหกปีหลังจากนั้น การก่อสร้างเริ่มตั้งแต่ทางตะวันตกไปทางตะวันออกโดยกองทหารโรมัน (Roman Legion) สามกองที่ประจำการอยู่ในบริเวณนั้น แนวกำแพงเดินเลียบกับแนวถนนสเตนเกทเดิมจากลูกูวาเลียม (คาร์ไลล์ปัจจุบัน) ไปยังคอเรีย (คอร์บริดจ์ปัจจุบัน) ตามป้อมที่มีอยู่แล้วเป็นระยะๆ รวมทั้งป้อมวินโดลานดา (Vindolanda) กำแพงทางตะวันออกสร้างตามแนวหินแข็งชันไดอะเบส (diabase) ที่เรียกว่าวินซิลล์ (Whin Sill) กำแพงรวมคูอากริโคลา (Agricola's Ditch) เข้าด้วย ตามคำสันนิษฐานของสตีเฟน จอห์นสัน การสร้างกำแพงก็เพื่อป้องการการโจมตีโดยกลุ่มชนจำนวนน้อย หรือยับยั้งการย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานจากชนจากทางเหนือของกำแพง และไม่ใช่เพื่อเป็นการป้องกันการรุกรานอย่างเป็นจริงเป็นจัง

แผนการสร้างกำแพงแผนแรกประกอบด้วยคูและกำแพงพร้อมกับประตูย่อยๆ และป้อมไมล์ (milecastle) ที่มีประตูแปดสิบป้อม ป้อมไมล์แต่ละป้อมอยู่ห่างกันหนึ่งโรมันไมล์ โดยมีทหารประจำการป้อมๆ ละยี่สิบถึงสามสิบคน ระหว่างป้อมไมล์ก็เป็นหอสังเกตการณ์และส่งสัญญาณ วัสดุที่ใช้สร้างก็เป็นหินปูนที่พบในท้องถิ่นนอกจากกำแพงทางตะวันตกของเอิร์ทธิงที่ใช้ดิน/หญ้าสร้างเพราะในบริเวณนั้นไม่มีหิน ตัวป้อมไมล์ในบริเวณนี้ก็สร้างด้วยไม้และดินแทนที่จะสร้างด้วย stopione แต่หอสังเกตการณ์และส่งสัญญาณจะสร้างด้วยหิน กำแพงเมื่อเริ่มแรกสร้างด้วยดินเหนียวกับเศษวัสดุตรงกลางโดยแต่งด้านนอกด้วยหิน แต่ดูเหมือนว่าลักษณะการก่อสร้างวิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่มั่นคง เพราะกำแพงมักจะพังทลายลงมาหลังจากการก่อสร้างไม่นานนักซึ่งทำให้ต้องซ่อมแซมกันบ่อยๆ โดยการอัดปูนตรงกลางกำแพง

ป้อมไมล์และหอสังเกตการณ์มีสามแบบที่ขึ้นอยู่กับกองทหารโรมัน (Roman legion) ที่สร้าง — จากคำจารึกของกองออกัสตาที่ 2 (Legio II Augusta), กองวิคทริกซ์ที่ 6 (Legio VI Victrix) และกองวาเลเรียเวทริกซ์ที่ 20 (Legio XX Valeria Victrix) ทำให้ทราบได้ว่ากองทหารทั้งสามกองนี้มีความรับผิดชอบในการก่อสร้างกำแพง

การก่อสร้างแบ่งเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงก็ห่างกันราว 8 กิโลเมตร (5 ไมล์) ผู้สร้างกลุ่มแรกขุดบริเวณที่จะเป็นฐานและสร้างป้อมไมล์และหอสังเกตการณ์ พอเสร็จกลุ่มต่อมาก็ตามมาสร้างตัวกำแพง

เมื่อเริ่มการก่อสร้างหลังจากสร้างไปถึงตอนเหนือของแม่น้ำไทน์ความหนาของกำแพงก็แคบลงเหลือเพียง 2.5 เมตร (8.2 ฟุต) หรือบางครั้งก็บางยิ่งไปกว่านั้นลงไปถึง 1.8 เมตร แต่ฐานที่ขุดไว้แล้วที่ไปถึงแม่น้ำเอิร์ทธิงที่เป็นกำแพงดินหญ้าเป็นฐานที่ขุดไว้สำหรับกำแพงที่หนากว่า จึงทำให้สันนิษฐานได้ว่าการสร้างกำแพงเป็นการสร้างจากตะวันออกไปตะวันตก

ป้อมไมล์และหอสังเกตการณ์ที่สร้างไว้มีปีกกำแพงที่เตรียมไว้สำหรับการสร้างกำแพงที่มั่นคงกว่าเมื่อมีโอกาส ซึ่งทำให้กลายเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นถึงวิธีและลำดับเวลาของการก่อสร้าง

ภายในไม่กี่ปีหลังจากเริ่มสร้างก็มีการตัดสินใจว่าต้องเพิ่มป้อมขนาดมาตรฐานอีก 14 ถึง 17 ป้อมเป็นระยะๆ ตลอดแนวกำแพงรวมทั้งที่เวอร์โควิเซียม (Vercovicium) (เฮาสเตดส์) และที่บานนา (เบอร์โดส์วอลด์) แต่ละป้อมสามารถรับทหารกองเสริม (auxiliary troops) ได้ประมาณ 500 ถึง 1,000 คน (กองทหารเสริมเป็นกองทหารประจำการตามแนวกำแพง กองทหารโรมันปกติแล้วจะไม่มีหน้าที่ไม่ประจำการที่กำแพง) ทางด้านตะวันออกกำแพงขยายไปทางตะวันออกจากปอนส์ เอเลียส (นิวคาสเซิล) ไปยังเซเกดูนัม (วอลล์เซ็นด์) ที่ปากแม่น้ำไทน์ ป้อมใหญ่บางป้อมเช่นป้อมซิลูนัม (เชสเตอร์) และป้อมเวร์โควิเซียม (เฮาสเตดส์) สร้างบนที่เดิมที่เป็นป้อมไมล์และหอสังเกตการณ์มาก่อน จึงทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของแผนการสร้าง คำจารึกบนป้อมเป็นของข้าหลวงโรมันประจำอังกฤษยุคแรกออลัส พลาโตริอัส เนโพส (Aulus Platorius Nepos) ซึ่งเป็นการแสดงว่าการเปลี่ยนแปลงแผนการสร้างกำแพงเริ่มมาตั้งแต่ระยะแรกที่สร้าง แม้แต่ในสมัยของฮาดริอานุสเองก่อนปี ค.ศ. 138 ก็ได้มีการก่อสร้างกำแพงทางด้านตะวันตกของเอิร์ทธิงใหม่ด้วยหินทรายให้เป็นขนาดเดียวกับที่สร้างด้วยหินปูนทางตะวันออก

เมื่อสร้างป้อมเพิ่มขึ้นแล้วก็มีการสร้างบริเวณป้องกันการรุกรานที่เรียกว่าระบบป้องกันวาลลุม (Vallum) ทางด้านใต้ของตัวกำแพงที่ประกอบด้วยคูก้นแบนกว้าง 6 เมตร (20 ฟุต) และลึก 3 เมตร (10 ฟุต) ขนาบด้วยเนินราบทั้งสองด้านที่กว้าง 10 เมตร (33 ฟุต) เลยไปจากบริเวณนี้เป็นกำแพงดินกว้าง 6 เมตร (20 ฟุต) และสูง 2 เมตร (6.5 ฟุต) ทางข้ามคอสเวย์ (Causeway) สร้างข้ามคูเป็นระยะๆ

กองทหารประจำการ

กำแพงมีทหารกองเสริมประจำการที่ไม่ใช่หน่วยของกองทหารโรมันปกติ จำนวนทหารประจำการก็ขึ้นๆ ลงๆ ตลอดสมัยที่โรมันเข้ามายึดครองบริเตน แต่โดยประมาณแล้วก็ประมาณกันว่ามีจำนวน 9,000,000 คนรวมทั้งทหารราบและทหารม้า

ในปี ค.ศ. 180 จักรวรรดิได้รับการโจมตีอย่างหนักโดยเฉพาะระหว่างปี ค.ศ. 196 ถึงปี ค.ศ. 197 ที่ทำให้กองทหารอ่อนแอลง การสร้างเสริมกำแพงทำกันในสมัยของจักรพรรดิเซ็พติมิอัส เซเวอรัส จากนั้นมาบริเวณใกล้กำแพงก็มีความสงบสุขมาตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 3 นอกจากนั้นมีข้อเสนอว่าทหารที่ประจำการบางคนอาจจะแต่งงานกับสตรีท้องถิ่นและกลืนไปกับชุมชนท้องถิ่นตลอดสมัยการยึดครอง

หลังสมัยฮาดริอานุส

 
ส่วนหนึ่งของกำแพงฮาดริอานุสไม่ไกลจากเฮาสเตดส์
 
ภาพเขียนกำแพงโดย วิลเลียม เบลล์ สกอตต์
 
กำแพงฮาดริอานุสใกล้กับป้อมเบอร์ดอสวอลด์ที่ได้รับความเสียหายจากการใช้ยาฆ่าแมลงที่ทำลายจุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาหิน

หลังจากจักรพรรดิฮาดริอานุสเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 138 แล้ว จักรพรรดิองค์ใหม่อันโตนินัส ไพอัส (Antoninus Pius) ก็ทรงหมดความสนใจกับกำแพงและทิ้งไว้ให้เป็นกำแพงรอง ขณะเดียวกันก็ขึ้นไปสร้างกำแพงใหม่ลึกเข้าไปในสกอตแลนด์ราว 160 กิโลเมตร (100 ไมล์) เหนือกำแพงฮาดริอานุสเดิมที่เรียกว่ากำแพงอันโตนิน กำแพงนี้ยาว 40 โรมันไมล์ (ราว 60.8 กิโลเมตรหรือ 37.8 ไมล์) และมีป้อมมากกว่ากำแพงฮาดริอานุสมาก แต่กำแพงอันโตนินก็ไม่สามารถป้องการรุกรานชนเผ่าจากทางเหนือได้ เมื่อมาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) ขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมันพระองค์ก็ทรงเลิกใช้กำแพงอันโตนินและหันกลับมายึดกำแพงฮาดริอานุสเป็นหลักตามเดิมในปี ค.ศ. 164 กองทหารโรมันยังคงประจำการที่กำแพงฮาดริอานุสเรื่อยมาจนกระทั่งโรมันถอยจากบริเตน ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 การรุกรานของบาร์บาเรียน, สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการปฏิวัติกันในหมู่ทหารก็เป็นผลให้อำนาจของโรมันในบริเตนอ่อนแอลง เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 410 การครอบครองของโรมันในบริเตนจึงยุติลง บริเตนถูกทิ้งไว้ให้บริหารและป้องกันตัวเอง กองทหารประจำการกำแพงฮาดริอานุสที่ขณะนั้นก็คงจะเป็นทหารท้องถิ่นที่ไม่มีหนทางไปไหนก็คงตั้งตัวอยู่ที่นั่นอีกหลายชั่วคนต่อมา หลักฐานทางโบราณคดีกล่าวว่าบางส่วนของกำแพงมีผู้ประจำการต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 กำแพงตั้งอยู่จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เมื่อถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างสำนักสงฆ์จาร์โรว์ (Jarrow Priory) และมาจนเมื่อนักบุญบีดบรรยายถึงกำแพงในหนังสือ “ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับศาสนาของชนอังกฤษ” แต่เข้าใจผิดว่าจักรพรรดิเซ็พติมิอัส เซเวอรัสเป็นผู้สร้างกำแพง

ในที่สุดกำแพงก็อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมลงหลังจากการขาดการดูแลรักษาเป็นเวลานาน วัสดุที่ใช้ในการสร้างกำแพงบางส่วนก็ถูกขนไปใช้ในการสร้างสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20

การอนุรักษ์

กำแพงส่วนใหญ่สูญหายไปเกือบหมด แต่ผู้ที่สมควรได้รับการสรรเสริญในการอนุรักษ์กำแพงที่ยังคงหลงเหลืออยู่คือจอห์น เคลย์ตัน (John Clayton) จอห์น เคลย์ตันได้รับการศึกษาในการเป็นทนายและมาทำงานเป็นเสมียนอยู่ที่นิวคาสเซิลราวคริสต์ทศวรรษ 1830 เคลย์ตันกลายมาเป็นผู้สนใจในการอนุรักษ์กำแพงอย่างจริงจังหลังจากที่เดินทางไปเที่ยวที่เชสเตอร์ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ชาวนาขนหินจากกำแพงไปใช้เคลย์ตันก็เริ่มซื้อที่ดินในบริเวณกำแพง ต่อมาในปี ค.ศ. 1834 เคลย์ตันก็เริ่มกว้านซื้อที่ดินในบริเวณสตีลริกก์ จนกระทั่งได้เป็นเจ้าของที่ดินตั้งแต่บรุนตันไปจนถึงคอว์ฟิลด์ส ที่รวมทั้งกำแพงในเชสเตอร์, คาร์รอว์บะระห์, เฮาสเตดส์ และวินโดแลนดา นอกจากนั้นแล้วเคลย์ตันก็ยังทำการขุดค้นทางโบราณคดีที่ป้อมที่ซิเลอร์นัม (Cilurnum) และที่เฮาสเต็ดส์และป้อมไมล์บางป้อม

เคลย์ตันไม่เพียงแต่จะเป็นเจ้าของที่ดินบริเวณกำแพงเท่านั้น แต่ยังใช้ที่ดินในการทำฟาร์มและปรับปรุงวิธีการใช้ที่ดินและการเลี้ยงสัตว์และทำรายได้ดีพอที่จะนำมาใช้ในการบูรณปฏิสังขรณ์กำแพงได้ หลังจากเคลย์ตันเสียชีวิตแล้วที่ดินตกไปเป็นของญาติผู้ที่เสียที่ดินไปกับการพนัน ในที่สุดองค์การอนุรักษ์แห่งชาติ (National Trust for Places of Historic Interest or Natural Beauty) ก็เริ่มกระบวนการในการเป็นเจ้าของที่ดินที่เป็นที่ตั้งของกำแพง

ภายในคฤหาสน์วอลลิงตัน (Wallington Hall) ไม่ไกลจากมอร์เพ็ธมีภาพเขียนโดยวิลเลียม เบลล์ สกอตต์ (William Bell Scott) ที่เป็นภาพของนายทหารโรมันยืนดูแลการก่อสร้างกำแพง ที่ใบหน้าของนายทหารคือใบหน้าของเคลย์ตัน

มรดกโลก

กำแพงฮาดริอานุสได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปีค.ศ. 1987 และในปี ค.ศ. 2005 ก็กลายเป็นส่วนหนี่งของมรดกโลก “เขตแดนของจักรวรรดิโรมัน” ที่รวมทั้งสถานที่อื่นๆ ในเยอรมนี

ทางเดินกำแพงฮาดริอานุส

ในปี ค.ศ. 2003 องค์การทางเดินแห่งชาติ (National Trails) ของอังกฤษก็เปิดทางเดินที่ตามแนวกำแพงตั้งแต่วอลล์สเอ็นด์ไปจนถึงโบว์เนสส์ออนซอลเวย์. แต่สามารถใช้ได้เฉพาะในฤดูร้อนเพราะที่ดินในบริเวณกำแพงเป็นที่ดินที่ได้รับความเสียหายง่าย

อ้างอิง

  1. English Heritage
  2. BBC - History - Hadrian's Wall Gallery
  3. Wilson, 271.
  4. C.Michael Hogan (2007) Hadrian's Wall, ed. A. Burnham, The Megalithic Portal
  5. Stephen Johnson (2004) Hadrian's Wall, Sterling Publishing Company, Inc, 128 pages, ISBN 0-7134-8840-9
  6. UNESCO World Heritage Centre. "Frontiers of the Roman Empire". สืบค้นเมื่อ 2007-11-26.
  7. National Trails. "Hadrian's Wall Path". สืบค้นเมื่อ 2007-11-26.
  8. Hadrians Wall Path National Trail. "Every Footstep Counts - The Trail's Country Code". สืบค้นเมื่อ 2007-11-26.
  • Wilson, Roger J.A., A Guide to the Roman Remains in Britain. London: Constable & Company, 1980. ISBN 0-09-463260-X
  • Forde-Johnston, James L. Hadrian's Wall. London: Michael Joseph, 1978. ISBN 0-7181-1652-6.
  • de la Bédoyère, Guy. Hadrian's Wall. A History and Guide. Stroud: Tempus, 1998. ISBN 0-7524-1407-0.
  • Burton, Anthony Hadrian's Wall Path. 2004 Aurum Press Ltd. ISBN 1-85410-893-X
  • Hadrian's Wall Path (map). Harvey, 12-22 Main Street, Doune, Perthshire FK16 6BJ. harveymaps.co.uk
  • Tomlin, R.S.O., 'Inscriptions' in Britannia (2004), vol. xxxv, pp.344-5 (the Staffordshire Moorlands cup naming the Wall).
  • A set of Speed's maps were issued bound in a single volume in 1988 in association with the British Library and with an introduction by Nigel Nicolson as 'The Counties of Britain A Tudor Atlas by John Speed'.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กำแพงฮาดริอานุส

  • UNESCO เขตแดนของจักรวรรดิโรมัน
  • ข่าวทางเดินกำแพงฮาดริอานุส
  • Sycamore Gap photography feature

กำแพงฮาดร, อาน, บทความน, างอ, งคร, สต, กราช, คร, สต, ทศวรรษ, คร, สต, ศตวรรษ, งเป, นสาระสำค, ญของเน, อหา, งกฤษ, hadrian, wall, ละต, vallum, aelium, aelian, wall, เป, นกำแพงห, นบางส, วนและกำแพงหญ, าบางส, วนท, สร, างโดยจ, กรวรรด, โรม, นขวางตลอดแนวตอนเหน, อของเกาะ. bthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha kaaephnghadrixanus xngkvs Hadrian s Wall latin Vallum Aelium the Aelian wall kaaephnghadrixanus epnkaaephnghinbangswnaelakaaephnghyabangswnthisrangodyckrwrrdiormnkhwangtlxdaenwtxnehnuxkhxngekaaxngkvsitaenwphrmaednxngkvsaelaskxtaelndinpccubn karkxsrangkaaephngerimkhuninrchsmykhxngckrphrrdihadrixanusinpi kh s 122 kaaephnghadrixanus epnhnunginsamaenwpxngknkarrukranxananikhmbrietnkhxngormn aenwaerkepnaenwtngaetaemnaikhldipcnthungaemnafxrththisranginsmyckrphrrdixakriokhla aelaaenwsudthaykhuxkaaephngxnotnin Antonine Wall aenwkaaephngthngsamsrangkhunephuxkaaephnghadrixanusHadrian s Wallaephnthiaesdngaenwkaaephnghadrixanusaelakaaephngxnotninehnuxkhunipkhxmulthwippraephthkaaephngormnsthaptykrrmsthaptykrrmormnpraethsskxtaelnderimsrangkh s 122 pxngknkarrukranormnbrietncakchnphikhth Pict phuepnchnephathitngthinthanxyuthangehnuxkhxngskxtaelndaetedim ephimsrangkhwammnkhngthangesrsthkicaelakhwamsngbsukhinbrietnkhxngormn epnkarkahndekhtaednxyangepnthangkarkhxngckrwrrdiinbrrdakaaephngsamkaaephnghadrixanusepnkaaephngthiepnthiruckknmakthisudephraayngkhngthingrxngrxyiwihehnkninpccubn kaaephnghadrixanusepn kaaephngormn limes khxngekhtaednthangehnuxkhxngbrietnaelaepnkaaephngthisrangesrimxyangaekhngaerngthisudinckrwrrdi nxkcakcaichinkarpxngknstruaelwpratukaaephngkyngichepndansulkakrinkareriykekbphasisinkhadwykaaephngbangswnyngkhngehluxihehnkninpccubnodyechphaaswnklang aelatwkaaephngsamarthedintamidtlxdaenwsungthaihepnsingthidungdudnkthxngethiywthiniymknmakthisudaehnghnungkhxngthangtxnehnuxkhxngxngkvs kaaephngnibangkhrngkeriykknngay wa kaaephngormn kaaephnghadrixanusidrbthanaepnmrdkolkodyyuensokinpi kh s 1987 xngkhkarxnurksmrdkxngkvs English Heritage sungepnxngkhkarrachkarinkarbriharsingaewdlxmthangprawtisastrkhxngxngkvsbrryaykaaephnghadrixanuswaepn xnusawriythisakhythisudthisrangodyormninbrietn 1 enuxha 1 khnad 2 aenwkaaephng 3 ckrphrrdihadrixanus 4 karkxsrang 5 kxngthharpracakar 6 hlngsmyhadrixanus 6 1 karxnurks 6 2 mrdkolk 6 3 thangedinkaaephnghadrixanus 7 xangxing 8 duephim 9 aehlngkhxmulxunkhnad aekikhkaaephnghadrixanusmikhwamyawthngsindwykn 80 ormniml 73 5 imlhrux 117 kiolemtr 2 khwamhnaaelakhwamsungkhxngkaaephngkkhunxyukbwsdukxsrangthihaidinbriewnthisrang kaaephngthangdantawnxxkkhxngaemnaexirththing River Irthing srangcakhinsiehliymhna 3 emtr 9 7 fut aelasung 5 6 emtr 16 20 fut khnathithangdantawntkkhxngaemnasrangdwydin hyathihna 6 emtr 20 fut aelasung 3 5 emtr 11 5 fut twelkhniimrwmokhrngsrangxun nxktwkaaephngthirwmthngkhu hxsngektkarn aelapxm swnklangkhxngkaaephnghna 8 ormnfut 7 8 fut hrux 2 4 emtr bnthankwang 3 0 emtr 10 fut bangswnkhxngkaaephngthiehluxyuksungthung 3 0 emtr 10 fut aenwkaaephng aekikh bangswnkhxngkaaephnghadrixanusthiynghlngehluxxyuiklkrinehd kaaephngbangswnkthukruxthxnipephuxipsrangsingkxsrangxuninbriewniklekhiyng kaaephnghadrixanusimiklcakehaestds kaaephnghadrixanuserimcakthangtawnxxkiptngaetpxmesekdunm Segedunum thiwxllesndbnfngaemnaithnipcnthungoslewyefirth Solway Firth thangtawntk thanghlwngsay A69 aela B6318 tdeliybaenwkaaephngtngaetniwkhasesilxphphxnithnthangtawnxxkipcnthungkharillthangtawntk aelakhunipthangfngthaelthangehnuxkhxngkhmebriy kaaephngthnghmdxyuinxngkvsitekhtaednxngkvs skxtaelnd twkaaephnghangcakskxtaelndraw 15 kiolemtrthangtawntk aelaraw 110 kiolemtrthangtawnxxkckrphrrdihadrixanus aekikhkaaephnghadrixanussrangkhunhlngcakthickrphrrdihadrixanus kh s 76 kh s 138 esdcmabrietninpi kh s 122 ckrphrrdihadrixanusthrngprasbpyhathangkarthharinormnbrietn aelacakphutxtanklumtang thwckrwrrdithirwmthnginxiyipt cuediy liebiy mxerthaeniy aelaklumchnthithracnckrphrrdiormnxngkhkxnhnannphichitmaid phraxngkhcungthrngtxnghawithithicaaesdngphrabrmrachnuphaphaelaesrimsrangkhwammnkhngtang ephuxcaephimkhwammnkhngihaekckrwrrdi nxkcakkaaephngcamipraoychninthangyuththsastraelwkarsrangokhrngkarkhnadihyechnkaaephnghadrixanuskyngepnsylksnkhxngkhwamepnmhaxanackhxngckrwrrdiormn thiimaetcainxananikhmbrietnthiyudkhrxngethannaetyngrwmipthungkrungormexngdwyekhtaedninsmytn khxngckrwrrdimkcaepnekhtaednthrrmchatiechnaemnahruxphuekha hruxkartngkxngthhariwpxngkn thnnthiichthangkarthharmkcaepnthnnthitdeliybphrmaednthimipxmaelahxsyyanepnraya cnkrathngmathungsmykhxngckrphrrdiodmiechiyninplaykhriststwrrsaerkethanncungidmikarerimsrangekhtaednaebbthawrkhuninecxrmaeniyehnux Germania Superior sungerimdwykarsrangepnrwthrrmda hadrixanusprbprungkhwamkhidniodysrangepnkaaephngraeniyd palisade tlxdaenwodymipxmsnbsnunepnraya aemwakarsrangkaaephngechnnncamiidepnkarpxngknkarrukranidxyangcringcngethaidnk aetkepnkarpkhlkekhtaednkhxngbriewnthipkkhrxngodyormnxyangepnthangkar aelaichepnkarkhwbkhumkarekhaxxkdwyhlngcakkartdsinickxsrangkaaephngaebngekhtaednaebbthawraelwhadrixanuskldcanwnthharpracakarinxanabriewnkhxngchnbrikanthis Brigantes phuthitngthinthanxyurahwangaemnaithnaelaaemnahmebxr aelahnipmungmnkbkarsrangaenwpxngknthangdanehnuxkhxngbriewnnnihmnkhngaethnthnnsetnekth Stanegate edim thiechuxknwaepnthnnthiichepnesnaebngekhtaednormnmacnkrathngbdnnkarkxsrang aekikh pxmormnthikhxrbridc rabbpxngknwallumthikaaephnghadrixanusiklpxmiml 42 twkaaephngxyubnsneninthangkhwakhxngphaph aephnphngkarsrangkaaephngaelarabbpxngknwallum karkxsrangxaccaerimraw kh s 122 kaaephngswnihysrangesrcphayinrayaewlahkpihlngcaknn 3 karkxsrangerimtngaetthangtawntkipthangtawnxxkodykxngthharormn Roman Legion samkxngthipracakarxyuinbriewnnn aenwkaaephngedineliybkbaenwthnnsetnekthedimcaklukuwaeliym kharillpccubn ipyngkhxeriy khxrbridcpccubn tampxmthimixyuaelwepnraya rwmthngpxmwinodlanda Vindolanda kaaephngthangtawnxxksrangtamaenwhinaekhngchnidxaebs diabase thieriykwawinsill Whin Sill kaaephngrwmkhuxakriokhla Agricola s Ditch ekhadwy 4 tamkhasnnisthankhxngstiefn cxhnsn karsrangkaaephngkephuxpxngkarkarocmtiodyklumchncanwnnxy hruxybyngkaryayekhamatngthinthancakchncakthangehnuxkhxngkaaephng aelaimichephuxepnkarpxngknkarrukranxyangepncringepncng 5 aephnkarsrangkaaephngaephnaerkprakxbdwykhuaelakaaephngphrxmkbpratuyxy aelapxmiml milecastle thimipratuaepdsibpxm pxmimlaetlapxmxyuhangknhnungormniml odymithharpracakarpxm layisibthungsamsibkhn rahwangpxmimlkepnhxsngektkarnaelasngsyyan wsduthiichsrangkepnhinpunthiphbinthxngthinnxkcakkaaephngthangtawntkkhxngexirththingthiichdin hyasrangephraainbriewnnnimmihin twpxmimlinbriewnniksrangdwyimaeladinaethnthicasrangdwy stopione aethxsngektkarnaelasngsyyancasrangdwyhin kaaephngemuxerimaerksrangdwydinehniywkbesswsdutrngklangodyaetngdannxkdwyhin aetduehmuxnwalksnakarkxsrangwithiniepnwithithiimmnkhng ephraakaaephngmkcaphngthlaylngmahlngcakkarkxsrangimnannksungthaihtxngsxmaesmknbxy odykarxdpuntrngklangkaaephngpxmimlaelahxsngektkarnmisamaebbthikhunxyukbkxngthharormn Roman legion thisrang cakkhacarukkhxngkxngxxkstathi 2 Legio II Augusta kxngwikhthriksthi 6 Legio VI Victrix aelakxngwaeleriyewthriksthi 20 Legio XX Valeria Victrix thaihthrabidwakxngthharthngsamkxngnimikhwamrbphidchxbinkarkxsrangkaaephngkarkxsrangaebngepnchwng aetlachwngkhangknraw 8 kiolemtr 5 iml phusrangklumaerkkhudbriewnthicaepnthanaelasrangpxmimlaelahxsngektkarn phxesrcklumtxmaktammasrangtwkaaephngemuxerimkarkxsranghlngcaksrangipthungtxnehnuxkhxngaemnaithnkhwamhnakhxngkaaephngkaekhblngehluxephiyng 2 5 emtr 8 2 fut hruxbangkhrngkbangyingipkwannlngipthung 1 8 emtr aetthanthikhudiwaelwthiipthungaemnaexirththingthiepnkaaephngdinhyaepnthanthikhudiwsahrbkaaephngthihnakwa cungthaihsnnisthanidwakarsrangkaaephngepnkarsrangcaktawnxxkiptawntkpxmimlaelahxsngektkarnthisrangiwmipikkaaephngthietriymiwsahrbkarsrangkaaephngthimnkhngkwaemuxmioxkas sungthaihklayepnhlkthanthangobrankhdithiaesdngihehnthungwithiaelaladbewlakhxngkarkxsrangphayinimkipihlngcakerimsrangkmikartdsinicwatxngephimpxmkhnadmatrthanxik 14 thung 17 pxmepnraya tlxdaenwkaaephngrwmthngthiewxrokhwiesiym Vercovicium ehasetds aelathibanna ebxrodswxld aetlapxmsamarthrbthharkxngesrim auxiliary troops idpraman 500 thung 1 000 khn kxngthharesrimepnkxngthharpracakartamaenwkaaephng kxngthharormnpktiaelwcaimmihnathiimpracakarthikaaephng thangdantawnxxkkaaephngkhyayipthangtawnxxkcakpxns exeliys niwkhasesil ipyngesekdunm wxllesnd thipakaemnaithn pxmihybangpxmechnpxmsilunm echsetxr aelapxmewrokhwiesiym ehasetds srangbnthiedimthiepnpxmimlaelahxsngektkarnmakxn cungthaihehnthungkhwamepliynaeplngkhxngaephnkarsrang khacarukbnpxmepnkhxngkhahlwngormnpracaxngkvsyukhaerkxxls phlaotrixs enophs Aulus Platorius Nepos sungepnkaraesdngwakarepliynaeplngaephnkarsrangkaaephngerimmatngaetrayaaerkthisrang aemaetinsmykhxnghadrixanusexngkxnpi kh s 138 kidmikarkxsrangkaaephngthangdantawntkkhxngexirththingihmdwyhinthrayihepnkhnadediywkbthisrangdwyhinpunthangtawnxxkemuxsrangpxmephimkhunaelwkmikarsrangbriewnpxngknkarrukranthieriykwarabbpxngknwallum Vallum thangdanitkhxngtwkaaephngthiprakxbdwykhuknaebnkwang 6 emtr 20 fut aelaluk 3 emtr 10 fut khnabdwyeninrabthngsxngdanthikwang 10 emtr 33 fut elyipcakbriewnniepnkaaephngdinkwang 6 emtr 20 fut aelasung 2 emtr 6 5 fut thangkhamkhxsewy Causeway srangkhamkhuepnrayakxngthharpracakar aekikhkaaephngmithharkxngesrimpracakarthiimichhnwykhxngkxngthharormnpkti canwnthharpracakarkkhun lng tlxdsmythiormnekhamayudkhrxngbrietn aetodypramanaelwkpramanknwamicanwn 9 000 000 khnrwmthngthharrabaelathharmainpi kh s 180 ckrwrrdiidrbkarocmtixyanghnkodyechphaarahwangpi kh s 196 thungpi kh s 197 thithaihkxngthharxxnaexlng karsrangesrimkaaephngthakninsmykhxngckrphrrdiesphtimixs esewxrs caknnmabriewniklkaaephngkmikhwamsngbsukhmatlxdkhriststwrrsthi 3 nxkcaknnmikhxesnxwathharthipracakarbangkhnxaccaaetngngankbstrithxngthinaelaklunipkbchumchnthxngthintlxdsmykaryudkhrxnghlngsmyhadrixanus aekikh swnhnungkhxngkaaephnghadrixanusimiklcakehasetds phaphekhiynkaaephngody wileliym ebll skxtt kaaephnghadrixanusiklkbpxmebxrdxswxldthiidrbkhwamesiyhaycakkarichyakhaaemlngthithalayculinthriythichwyrksahin hlngcakckrphrrdihadrixanusesdcswrrkhtinpi kh s 138 aelw ckrphrrdixngkhihmxnotnins iphxs Antoninus Pius kthrnghmdkhwamsnickbkaaephngaelathingiwihepnkaaephngrxng khnaediywknkkhunipsrangkaaephngihmlukekhaipinskxtaelndraw 160 kiolemtr 100 iml ehnuxkaaephnghadrixanusedimthieriykwakaaephngxnotnin kaaephngniyaw 40 ormniml raw 60 8 kiolemtrhrux 37 8 iml aelamipxmmakkwakaaephnghadrixanusmak aetkaaephngxnotninkimsamarthpxngkarrukranchnephacakthangehnuxid emuxmarkhs xxerlixs Marcus Aurelius khunepnckrphrrdiormnphraxngkhkthrngelikichkaaephngxnotninaelahnklbmayudkaaephnghadrixanusepnhlktamediminpi kh s 164 kxngthharormnyngkhngpracakarthikaaephnghadrixanuseruxymacnkrathngormnthxycakbrietn intnkhriststwrrsthi 5inplaykhriststwrrsthi 4 karrukrankhxngbarbaeriyn sphawaesrsthkictkta aelakarptiwtikninhmuthharkepnphlihxanackhxngormninbrietnxxnaexlng emuxmathungpi kh s 410 karkhrxbkhrxngkhxngormninbrietncungyutilng brietnthukthingiwihbriharaelapxngkntwexng kxngthharpracakarkaaephnghadrixanusthikhnannkkhngcaepnthharthxngthinthiimmihnthangipihnkkhngtngtwxyuthinnxikhlaychwkhntxma hlkthanthangobrankhdiklawwabangswnkhxngkaaephngmiphupracakartxmacnthungkhriststwrrsthi 5 kaaephngtngxyucnmathungkhriststwrrsthi 8 emuxthuknaipichinkarkxsrangsanksngkhcarorw Jarrow Priory aelamacnemuxnkbuybidbrryaythungkaaephnginhnngsux prawtisastrekiywkbsasnakhxngchnxngkvs aetekhaicphidwackrphrrdiesphtimixs esewxrsepnphusrangkaaephnginthisudkaaephngkxyuinsphaphthiesuxmothrmlnghlngcakkarkhadkarduaelrksaepnewlanan wsduthiichinkarsrangkaaephngbangswnkthukkhnipichinkarsrangsingkxsrangxun inbriewniklekhiyngcnkrathngthungkhriststwrrsthi 20 karxnurks aekikh kaaephngswnihysuyhayipekuxbhmd aetphuthismkhwridrbkarsrresriyinkarxnurkskaaephngthiyngkhnghlngehluxxyukhuxcxhn ekhlytn John Clayton cxhn ekhlytnidrbkarsuksainkarepnthnayaelamathanganepnesmiynxyuthiniwkhasesilrawkhristthswrrs 1830 ekhlytnklaymaepnphusnicinkarxnurkskaaephngxyangcringcnghlngcakthiedinthangipethiywthiechsetxr ephuxthicapxngknimihchawnakhnhincakkaaephngipichekhlytnkerimsuxthidininbriewnkaaephng txmainpi kh s 1834 ekhlytnkerimkwansuxthidininbriewnstilrikk cnkrathngidepnecakhxngthidintngaetbruntnipcnthungkhxwfilds thirwmthngkaaephnginechsetxr kharrxwbarah ehasetds aelawinodaelnda nxkcaknnaelwekhlytnkyngthakarkhudkhnthangobrankhdithipxmthisielxrnm Cilurnum aelathiehasetdsaelapxmimlbangpxmekhlytnimephiyngaetcaepnecakhxngthidinbriewnkaaephngethann aetyngichthidininkarthafarmaelaprbprungwithikarichthidinaelakareliyngstwaelatharayiddiphxthicanamaichinkarburnptisngkhrnkaaephngid hlngcakekhlytnesiychiwitaelwthidintkipepnkhxngyatiphuthiesiythidinipkbkarphnn inthisudxngkhkarxnurksaehngchati National Trust for Places of Historic Interest or Natural Beauty kerimkrabwnkarinkarepnecakhxngthidinthiepnthitngkhxngkaaephngphayinkhvhasnwxllingtn Wallington Hall imiklcakmxrephthmiphaphekhiynodywileliym ebll skxtt William Bell Scott thiepnphaphkhxngnaythharormnyunduaelkarkxsrangkaaephng thiibhnakhxngnaythharkhuxibhnakhxngekhlytn mrdkolk aekikh kaaephnghadrixanusidrbeluxkihepnmrdkolkodyyuensokinpikh s 1987 aelainpi kh s 2005 kklayepnswnhningkhxngmrdkolk ekhtaednkhxngckrwrrdiormn thirwmthngsthanthixun ineyxrmni 6 thangedinkaaephnghadrixanus aekikh inpi kh s 2003 xngkhkarthangedinaehngchati National Trails khxngxngkvskepidthangedinthitamaenwkaaephngtngaetwxllsexndipcnthungobwenssxxnsxlewy 7 aetsamarthichidechphaainvdurxnephraathidininbriewnkaaephngepnthidinthiidrbkhwamesiyhayngay 8 xangxing aekikh English Heritage BBC History Hadrian s Wall Gallery Wilson 271 C Michael Hogan 2007 Hadrian s Wall ed A Burnham The Megalithic Portal Stephen Johnson 2004 Hadrian s Wall Sterling Publishing Company Inc 128 pages ISBN 0 7134 8840 9 UNESCO World Heritage Centre Frontiers of the Roman Empire subkhnemux 2007 11 26 National Trails Hadrian s Wall Path subkhnemux 2007 11 26 Hadrians Wall Path National Trail Every Footstep Counts The Trail s Country Code subkhnemux 2007 11 26 Wilson Roger J A A Guide to the Roman Remains in Britain London Constable amp Company 1980 ISBN 0 09 463260 X Forde Johnston James L Hadrian s Wall London Michael Joseph 1978 ISBN 0 7181 1652 6 de la Bedoyere Guy Hadrian s Wall A History and Guide Stroud Tempus 1998 ISBN 0 7524 1407 0 Burton Anthony Hadrian s Wall Path 2004 Aurum Press Ltd ISBN 1 85410 893 X Hadrian s Wall Path map Harvey 12 22 Main Street Doune Perthshire FK16 6BJ harveymaps co uk Tomlin R S O Inscriptions in Britannia 2004 vol xxxv pp 344 5 the Staffordshire Moorlands cup naming the Wall A set of Speed s maps were issued bound in a single volume in 1988 in association with the British Library and with an introduction by Nigel Nicolson as The Counties of Britain A Tudor Atlas by John Speed duephim aekikhckrphrrdihadrixanus ckrwrrdiormn ormnbrietnaehlngkhxmulxun aekikh wikimiediykhxmmxnsmisuxekiywkb kaaephnghadrixanus UNESCO ekhtaednkhxngckrwrrdiormn khawthangedinkaaephnghadrixanus Sycamore Gap photography featureekhathungcak https th wikipedia org w index php title kaaephnghadrixanus amp oldid 9178939, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม