fbpx
วิกิพีเดีย

หลักฐานเชิงประสบการณ์

หลักฐานเชิงประสบการณ์ (อังกฤษ: Empirical evidence, empirical data, sense experience, empirical knowledge, a posteriori) หรือ หลักฐานเชิงประจักษ์ หรือ ข้อมูลประจักษ์ หรือ ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส หรือ ความรู้เชิงประจักษ์ หรือ ความรู้เชิงประสบการณ์ เป็นแหล่งความรู้ที่ได้ผ่านการสังเกตการณ์และการทดลอง ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "empirical" มาจากภาษากรีกโบราณว่า "ἐμπειρία" (empeiría) ซึ่งแปลว่าประสบการณ์

หลักฐานเชิงประสบการณ์เป็นข้อมูลที่ใช้พิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับความเชื่อ หรือพิสูจน์ความเท็จในข้ออ้าง ในมุมมองของนักประสบการณ์นิยม เราจะสามารถอ้างว่ามีความรู้ก็ต่อเมื่อมีความเชื่อที่เป็นจริงอาศัยหลักฐานทางประสบการณ์ ซึ่งไม่เหมือนกับมุมมองของนักเหตุผลนิยมว่า เพียงเหตุผลหรือการครุ่นคิดไตร่ตรองก็เพียงพอที่จะเป็นหลักฐานแสดงความจริงหรือความเท็จของข้ออ้างประสาทสัมผัสเป็นแหล่งความรู้หลัก (แหล่งความรู้ปฐมภูมิ) ของหลักฐานเชิงประสบการณ์ ถึงแม้ว่าหลักฐานอื่น ๆ เช่นความจำและคำให้การของผู้อื่นอาจจะมาจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสในที่สุด แต่ว่านี้ก็ยังถือว่าเป็นแหล่งความรู้ทุติยภูมิหรือเป็นแหล่งความรู้โดยอ้อม

อีกนัยหนึ่ง คำว่า "empirical evidence" อาจใช้เป็นไวพจน์ของผลการทดลอง โดยนัยนี้ คำว่า ผลเชิงประจักษ์ (empirical result) หมายถึงผลที่ยืนยันสมมุติฐาน (ความเชื่อ ข้ออ้าง) โดยรวม ๆ ส่วนคำว่า semi-empirical (กึ่งประจักษ์) หมายถึงระเบียบวิธีในการคิดค้นทฤษฎีที่ใช้สัจพจน์พื้นฐาน หรือกฎวิทยาศาสตร์และผลทางการทดลอง วิธีการเช่นนี้ไม่เหมือนกับวิธีที่เรียกว่า ab initio ซึ่งหมายถึงวิธีที่ใช้การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive reasoning) อาศัยปฐมธาตุ (first principle) ซึ่งทางวิทยาศาสตร์หมายถึงงานทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่มีฐานจากกฎวิทยาศาสตร์ที่มีหลักดีแล้ว ที่ไม่ต้องใช้ข้อสมมุติอย่างเช่นรูปแบบเชิงประจักษ์ (empirical model)[ต้องการอ้างอิง]

ในเรื่องการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ หลักฐานเชิงประสบการณ์เป็นเรื่องจำเป็นก่อนที่สมมุติฐานใดสมมุติฐานหนึ่งจะได้การยอมรับจากชุมชนนักวิทยาศาสตร์ ดังนั้น งานทางวิทยาศาสตร์จะต้องผ่านการตรวจสอบผ่านวงจรที่เป็นระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์รวมทั้งการสร้างสมมุติฐาน การออกแบบการทดลอง การปริทัศน์จากผู้ชำนาญในสาขา (peer review) การปริทัศน์จากผู้มีความเห็นไม่ตรงกัน (adversarial review) การทำซ้ำผลการทดลอง (reproduction) การแสดงผลในงานประชุม และการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะผ่านกระบวนการเช่นนี้ ผู้ทำงานจะต้องสื่อสารแสดงสมมุติฐานที่ชัดเจน (บ่อยครั้งแสดงเป็นสูตรคณิต) แสดงขอบเขตจำกัดของการทดลองและกลุ่มควบคุม (บางครั้งจำเป็นต้องแสดงว่าใช้เครื่องมืออะไรบ้าง) และใช้วิธีการวัดการตรวจสอบที่เป็นมาตรฐาน

ประพจน์ (statement) หรือข้ออ้าง (argument) ที่พิสูจน์อาศัยหลักฐานเชิงประสบการณ์เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า a posteriori (แปลว่า มาจากทีหลัง) โดยเปรียบเทียบกับคำว่า a priori (แปลว่า มาจากก่อนหน้า) ความรู้หรือการให้เหตุผลแบบ a priori ไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ (ยกตัวอย่างเช่น "คนโสดทุกคนไม่มีคู่แต่งงาน") เทียบกับความรู้หรือการให้เหตุผลแบบ a posteriori ที่ต้องอาศัยประสบการณ์หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ (เช่น "คนโสดบางคนมีความสุขมาก") การแยกแยะระหว่างความรู้ที่เป็น a priori และ a posteriori ก็เป็นเช่นการแยกแยะระหว่างความรู้ที่ไม่อาศัยประสบการณ์ (ไม่อาศัยหลักฐาน) กับความรู้ที่อาศัยประสบการณ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาจากหนังสือ Critique of Pure Reason (บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล) ของนักปรัชญาทรงอิทธิพลอิมมานูเอล คานต์

มุมมองของปฏิฐานนิยม (positivism) ก็คือการสังเกตการณ์ ประสบการณ์ และการทดลอง เป็นตัวตัดสินที่เป็นกลางระหว่างทฤษฎีต่าง ๆ ที่แข่งขันกัน แต่ว่า ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960,[ต้องการหน้า] ก็เกิดบทวิจารณ์ที่ยังไม่สามารถลบล้างที่เสนอว่า กระบวนการเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อและประสบการณ์ที่มีมาก่อน ๆ ดังนั้น จึงไม่สามารถหวังได้ว่า นักวิทยาศาสตร์สองท่านที่มีการสังเกตการณ์ มีประสบการณ์ และทำการทดลองร่วมกัน จะสามารถทำการสังเกตการณ์ที่เป็นกลางต่อทฤษฎีต่าง ๆ โดยเหมือน ๆ กัน นั่นก็คือ บทบาทของการสังเกตการณ์โดยเป็นตัวตัดสินที่เป็นกลางต่อทฤษฎีต่าง ๆ อาจจะเป็นไปได้ในเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ empirical ว่า "เชิงประสบการณ์" หรือ "เชิงประจักษ์"
  2. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ empirical data ว่า "ข้อมูลประจักษ์"
  3. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ sense ว่า "ประสาทสัมผัส"
  4. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ empirical knowledge ว่า "ความรู้เชิงประจักษ์" หรือ "ความรู้เชิงประสบการณ์"
  5. Pickett 2006, p. 585
  6. Feldman 2001, p. 293
  7. Craig 2005, p. 1
  8. ปฏิฐานนิยม (positivism) เป็นหลักปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่า ความรู้ที่เชื่อถือได้ทั้งหมดต้องมาจากหลักตรรกศาสตร์ หลักคณิตศาสตร์ และรายงานประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสเท่านั้น
  9. Kuhn 1970
  10. Kuhn 1970
  • Bird, Alexander (2013). Zalta, Edward N. (บ.ก.). "Thomas Kuhn". Stanford Encyclopedia of Philosophy. สืบค้นเมื่อ 2012-01-25. |chapter= ignored (help)CS1 maint: ref=harv (link)
  • Craig, Edward (2005). "a posteriori". The Shorter Routledge Encyclopedia of Philosophy. Routledge. ISBN 9780415324953.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Feldman, Richard (2001) [1999]. "Evidence". ใน Audi, Robert (บ.ก.). The Cambridge Dictionary of Philosophy (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press. pp. 293–294. ISBN 978-0521637220.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Kuhn, Thomas S. (1970) [1962]. The Structure of Scientific Revolutions (2nd ed.). Chicago: University of Chicago Press. ISBN 978-0226458045.CS1 maint: ref=harv (link)[ต้องการหน้า]
  • Pickett, Joseph P., บ.ก. (2011). "Empirical". The American Heritage Dictionary of the English Language (5th ed.). Houghton Mifflin. ISBN 978-0-547-04101-8.CS1 maint: ref=harv (link)

หล, กฐานเช, งประสบการณ, งกฤษ, empirical, evidence, empirical, data, sense, experience, empirical, knowledge, posteriori, หร, หล, กฐานเช, งประจ, กษ, หร, อม, ลประจ, กษ, หร, ประสบการณ, ทางประสาทส, มผ, หร, ความร, เช, งประจ, กษ, หร, ความร, เช, งประสบการณ, เป, นแหล,. hlkthanechingprasbkarn 1 xngkvs Empirical evidence empirical data sense experience empirical knowledge a posteriori hrux hlkthanechingpracks 1 hrux khxmulpracks 2 hrux prasbkarnthangprasathsmphs 3 hrux khwamruechingpracks 4 hrux khwamruechingprasbkarn 4 epnaehlngkhwamruthiidphankarsngektkarnaelakarthdlxng 5 sphthphasaxngkvswa empirical macakphasakrikobranwa ἐmpeiria empeiria sungaeplwaprasbkarnhlkthanechingprasbkarnepnkhxmulthiichphisucnkhwamcringekiywkbkhwamechux hruxphisucnkhwamethcinkhxxang inmummxngkhxngnkprasbkarnniym eracasamarthxangwamikhwamruktxemuxmikhwamechuxthiepncringxasyhlkthanthangprasbkarn sungimehmuxnkbmummxngkhxngnkehtuphlniymwa ephiyngehtuphlhruxkarkhrunkhiditrtrxngkephiyngphxthicaepnhlkthanaesdngkhwamcringhruxkhwamethckhxngkhxxang 6 prasathsmphsepnaehlngkhwamruhlk aehlngkhwamrupthmphumi khxnghlkthanechingprasbkarn thungaemwahlkthanxun echnkhwamcaaelakhaihkarkhxngphuxunxaccamacakprasbkarnthangprasathsmphsinthisud aetwanikyngthuxwaepnaehlngkhwamruthutiyphumihruxepnaehlngkhwamruodyxxm 6 xiknyhnung khawa empirical evidence xacichepniwphcnkhxngphlkarthdlxng odynyni khawa phlechingpracks empirical result hmaythungphlthiyunynsmmutithan khwamechux khxxang odyrwm swnkhawa semi empirical kungpracks hmaythungraebiybwithiinkarkhidkhnthvsdithiichscphcnphunthan hruxkdwithyasastraelaphlthangkarthdlxng withikarechnniimehmuxnkbwithithieriykwa ab initio sunghmaythungwithithiichkarihehtuphlaebbnirny Deductive reasoning xasypthmthatu first principle sungthangwithyasastrhmaythungnganthvsdithangwithyasastrthimithancakkdwithyasastrthimihlkdiaelw thiimtxngichkhxsmmutixyangechnrupaebbechingpracks empirical model txngkarxangxing ineruxngkarsuksathangwithyasastr hlkthanechingprasbkarnepneruxngcaepnkxnthismmutithanidsmmutithanhnungcaidkaryxmrbcakchumchnnkwithyasastr dngnn nganthangwithyasastrcatxngphankartrwcsxbphanwngcrthiepnraebiybwithithangwithyasastrrwmthngkarsrangsmmutithan karxxkaebbkarthdlxng karprithsncakphuchanayinsakha peer review karprithsncakphumikhwamehnimtrngkn adversarial review karthasaphlkarthdlxng reproduction karaesdngphlinnganprachum aelakartiphimphphlnganinwarsarwithyasastr ephuxthicaphankrabwnkarechnni phuthangancatxngsuxsaraesdngsmmutithanthichdecn bxykhrngaesdngepnsutrkhnit aesdngkhxbekhtcakdkhxngkarthdlxngaelaklumkhwbkhum bangkhrngcaepntxngaesdngwaichekhruxngmuxxairbang aelaichwithikarwdkartrwcsxbthiepnmatrthanpraphcn statement hruxkhxxang argument thiphisucnxasyhlkthanechingprasbkarneriykidxikxyanghnungwa a posteriori aeplwa macakthihlng odyepriybethiybkbkhawa a priori aeplwa macakkxnhna khwamruhruxkarihehtuphlaebb a priori imtxngxasyprasbkarn yktwxyangechn khnosdthukkhnimmikhuaetngngan ethiybkbkhwamruhruxkarihehtuphlaebb a posteriori thitxngxasyprasbkarnhruxhlkthanechingpracks echn khnosdbangkhnmikhwamsukhmak karaeykaeyarahwangkhwamruthiepn a priori aela a posteriori kepnechnkaraeykaeyarahwangkhwamruthiimxasyprasbkarn imxasyhlkthan kbkhwamruthixasyprasbkarn sungepnaenwkhidthimacakhnngsux Critique of Pure Reason bthwiphakskhxngkarichehtuphl khxngnkprchyathrngxiththiphlximmanuexl khant 7 mummxngkhxngptithanniym positivism 8 kkhuxkarsngektkarn prasbkarn aelakarthdlxng epntwtdsinthiepnklangrahwangthvsditang thiaekhngkhnkn aetwa tngaetkhristthswrrs 1960 9 txngkarhna kekidbthwicarnthiyngimsamarthlblangthiesnxwa krabwnkarehlaniidrbxiththiphlcakkhwamechuxaelaprasbkarnthimimakxn 10 dngnn cungimsamarthhwngidwa nkwithyasastrsxngthanthimikarsngektkarn miprasbkarn aelathakarthdlxngrwmkn casamarththakarsngektkarnthiepnklangtxthvsditang odyehmuxn kn nnkkhux bthbathkhxngkarsngektkarnodyepntwtdsinthiepnklangtxthvsditang xaccaepnipidinehtukarnthiaetktangknduephim aekikhhlkthanodyeruxngela karwicy raebiybwithithangwithyasastr thvsdiechingxrrthaelaxangxing aekikh 1 0 1 1 sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitsthan khxmphiwetxr run 1 1 ihkhwamhmaykhxng empirical wa echingprasbkarn hrux echingpracks sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitsthan khxmphiwetxr run 1 1 ihkhwamhmaykhxng empirical data wa khxmulpracks sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitsthan khxmphiwetxr run 1 1 ihkhwamhmaykhxng sense wa prasathsmphs 4 0 4 1 sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitsthan khxmphiwetxr run 1 1 ihkhwamhmaykhxng empirical knowledge wa khwamruechingpracks hrux khwamruechingprasbkarn Pickett 2006 p 585 6 0 6 1 Feldman 2001 p 293 Craig 2005 p 1 ptithanniym positivism epnhlkprchyathangwithyasastrthiaesdngwa khwamruthiechuxthuxidthnghmdtxngmacakhlktrrksastr hlkkhnitsastr aelaraynganprasbkarnthangprasathsmphsethann Kuhn 1970 Kuhn 1970 Bird Alexander 2013 Zalta Edward N b k Thomas Kuhn Stanford Encyclopedia of Philosophy subkhnemux 2012 01 25 chapter ignored help CS1 maint ref harv link Craig Edward 2005 a posteriori The Shorter Routledge Encyclopedia of Philosophy Routledge ISBN 9780415324953 CS1 maint ref harv link Feldman Richard 2001 1999 Evidence in Audi Robert b k The Cambridge Dictionary of Philosophy 2nd ed Cambridge UK Cambridge University Press pp 293 294 ISBN 978 0521637220 CS1 maint ref harv link Kuhn Thomas S 1970 1962 The Structure of Scientific Revolutions 2nd ed Chicago University of Chicago Press ISBN 978 0226458045 CS1 maint ref harv link txngkarhna Pickett Joseph P b k 2011 Empirical The American Heritage Dictionary of the English Language 5th ed Houghton Mifflin ISBN 978 0 547 04101 8 CS1 maint ref harv link ekhathungcak https th wikipedia org w index php title hlkthanechingprasbkarn amp oldid 8900076, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม