fbpx
วิกิพีเดีย

มงแต็สกีเยอ

ชาร์ล-หลุยส์ เดอ เซอกงดา บารอนแห่งลาแบรดและมงแต็สกีเยอ (ฝรั่งเศส: Charles-Louis de Secondat, baron de La Brède et de Montesquieu) หรือรู้จักกันในชื่อ มงแต็สกีเยอ (ฝรั่งเศส: Montesquieu) เป็นนักวิพากษ์สังคมและนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ในยุคเรืองปัญญา มีชื่อเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจที่พูดถึงในการปกครองสมัยใหม่และใช้ในรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ และเป็นผู้ที่ทำให้คำว่าระบบเจ้าขุนมูลนายและจักรวรรดิไบแซนไทน์ใช้กันอย่างแพร่หลาย

มงแต็สกีเยอ
ภาพวาดมงแต็สกีเยอ
เกิด18 มกราคม ค.ศ. 1689
ปราสาทลาแบรด, จังหวัดฌีรงด์ ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
เสียชีวิต10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1755 (66 ปี)
ปารีส, ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ยุคปรัชญาศตวรรษที่ 18
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สำนักยุคเรืองปัญญา
ความสนใจหลัก
ปรัชญาการเมือง
แนวคิดเด่น
การแบ่งแยกอำนาจ: อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ

ประวัติ

 
ปราสาทลาแบรด ที่เกิดของมงแต็สกีเยอ
 
Lettres familieres a divers amis d'Italie, 1767

ชาร์ล-หลุยส์ เดอ เซอกงดา เกิด ณ ปราสาทลาแบรด ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส บิดามีนามว่าฌัก เดอ เซอกงดา เป็นนายทหารซึ่งเกิดในตระกูลผู้ดี ย่าของชาร์ลนามว่ามารี-ฟร็องซวซ เดอ แป็สแนล ซึ่งเสียชีวิตเมื่อบิดาของชาร์ลมีอายุได้เพียง 7 ขวบ เป็นผู้รับมรดกทางการเงินก้อนใหญ่และเป็นผู้ทำให้ตระกูลเซอกงดาได้รับบรรดาศักดิ์ ลาแบรด ของขุนนางบารอน ภายหลังได้เข้ารับการศึกษาจากวิทยาลัยคาทอลิกแห่งฌุยยี ชาร์ลได้แต่งงานกับหญิงชาวโปรเตสแตนต์นามว่าฌาน เดอ ลาร์ตีก ซึ่งได้มอบสินสอดให้แก่ชาร์ลเมื่อเขาอายุได้ 26 ปี ในปีถัดมาชาร์ลได้รับมรดกจากการที่ลุงของเขาที่เสียชีวิตลงและยังได้รับบรรดาศักดิ์ บารงเดอมงแต็สกีเยอ รวมถึงตำแหน่ง เพรซีด็องอามอร์ตีเย ในรัฐสภาเมืองบอร์โดอีกด้วย ในช่วงเวลานี้เองที่อังกฤษประกาศว่าตนเองเป็นประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (ค.ศ. 1688–1689) และได้รวมเข้ากับสกอตแลนด์จากพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ในการก่อตั้งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ถัดมาในปี ค.ศ. 1715 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ทรงครองราชย์มาอย่างยาวนานสวรรคตและได้รับการสืบทอดราชบัลลังก์โดยโอรสพระชนมายุ 5 พรรษา พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 การเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของชาติครั้งนี้เองที่มีผลอย่างมากต่อตัวของชาร์ล และกษัตริย์ทั้งสองพระองค์นี้จะถูกกล่าวถึงในงานเขียนของชาร์ลมากมายในเวลาต่อมา

เวลาต่อมาเพียงไม่นานเขาก็ประสบความสำเร็จทางด้านวรรณกรรมจากการตีพิมพ์ แล็ทร์แปร์ซาน (จดหมายเหตุเปอร์เซีย–ค.ศ. 1721) งานเขียนเสียดสีซึ่งสมมติถึงชาวเปอร์เซียผู้เขียนจดหมายตอบโต้ระหว่างเดินทางมายังปารีส ชี้ให้เห็นถึงความไร้สาระของสังคมร่วมสมัย ต่อมาเขาได้ตีพิมพ์ กงซีเดราซียง ซูร์ เล โกซ เดอ ลา กร็องเดอร์ เด รอแม็ง เอ เดอ เลอร์ เดกาด็องส์ (ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่และความเสื่อมถอยของชาวโรมัน–ค.ศ. 1734) ซึ่งนักวิชาการบางกลุ่มมองว่าเป็นผลงานที่เชื่อมระหว่าง แล็ทร์แปร์ซาน กับผลงานชิ้นเอกของเขา เดอแล็สพรีเดลัว (จิตวิญญาณแห่งกฎหมาย) ซึ่งแต่แรกในปี ค.ศ. 1748 ถูกตีพิมพ์โดยไม่ระบุชื่อผู้เขียน และได้กลายมาเป็นงานเขียนซึ่งมีอิทธิพลมหาศาลต่อสังคมภายในเวลาอันรวดเร็ว ในฝรั่งเศสการตอบรับต่องานเขียนนี้ไม่ค่อยจะเป็นมิตรมากนักทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านระบอบการปกครองปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1751 โบสถ์คาทอลิกทั่วประเทศประกาศห้ามเผยแพร่ แล็สพรี–รวมไปถึงงานเขียนชิ้นอื่นของมงแต็สกีเยอ–และถูกบรรจุอยู่ในรายชื่อหนังสือต้องห้าม แต่ในส่วนอื่นของยุโรปกลับได้การตอบรับอย่างสูงโดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร

มงแต็สกีเยอได้รับการยกย่องอย่างสูงจากอาณานิคมของอังกฤษในอเมริกาเหนือ ในฐานะผู้สนับสนุนเสรีภาพแบบอังกฤษ (แม้จะไม่ใช่ผู้สนับสนุนเอกราชของอเมริกา) นักรัฐศาสตร์ โดนัลด์ ลุตซ์ พบว่ามงแต็สกีเยอคือบุคคลทางรัฐศาสตร์และการเมืองที่ถูกเอ่ยถึงมากที่สุดบนแผ่นดินอเมริกาเหนือช่วงก่อนเกิดการปฏิวัติอเมริกา ซึ่งถูกอ้างอิงมากกว่าแหล่งอื่น ๆ โดยผู้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา เป็นรองก็แต่เพียงคัมภีร์ไบเบิลเท่านั้น ตามมาด้วยการปฏิวัติอเมริกา งานเขียนของมงแต็สกีเยอยังคงมีอิทธิพลอย่างสูงต่อเหล่าผู้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะเจมส์ แมดิสันแห่งเวอร์จิเนีย , บิดาแห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ปรัชญาของมงแต็สกีเยอที่ว่า "รัฐบาลควรถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อที่จะได้ไม่มีมนุษย์ผู้ใดระแวงกันเอง" ได้ยั้งเตือนแมดิสันและผู้อื่นในคณะว่ารากฐานที่เสรีและมั่นคงของรัฐบาลแห่งชาติใหม่นั้นจำเป็นจะต้องมีการแบ่งแยกอำนาจที่ถ่วงดุลและถูกกำหนดกฎเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจน

นอกจากการประพันธ์งานเขียนเกี่ยวกับการเมืองและสังคมแล้ว มงแต็สกีเยอยังใช้เวลาหลายปีในการเดินทางไปทั่วยุโรป เช่น ออสเตรียและฮังการี ใช้ชีวิตหนึ่งปีเต็มในอิตาลีและอีก 18 เดือนในอังกฤษ ก่อนที่เขาจะกลับมาพำนักในฝรั่งเศสอีกครั้ง เขาทุกข์ทรมานจากสายตาที่ย่ำแย่ลงจนกระทั่งบอดสนิทในช่วงที่เขาเสียชีวิตจากอาการไข้สูงในปี ค.ศ. 1755 มงแต็สกีเยอถูกฝัง ณ สุสานของโบสถ์แซ็ง-ซูลปิสในกรุงปารีส

ปรัชญาแห่งประวัติศาสตร์

หลักปรัชญาแห่งประวัติศาสตร์ของมงแต็สกีเยอได้ลดบทบาทของเหตุการณ์ย่อยและปัจเจกบุคคลลง ซึ่งเขาได้อธิบายทรรศนะนี้ไว้ใน กงซีเดราซียง ซูร์ เล โกซ เดอ ลา กร็องเดอร์ เด รอแม็ง เอ เดอ เลอร์ เดกาด็องส์ ว่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แต่ละครั้งล้วนแล้วแต่ถูกขับเคลื่อนโดยกระบวนการความเป็นไปของโลก

มันไม่ใช่โชคชะตาที่กำหนดความเป็นไปของโลก ถามชาวโรมันสิ, ผู้ซึ่งประสบกับความสำเร็จสืบเนื่องกันหลายครั้งหลายคราในช่วงที่พวกเขาถูกชักนำโดยแผนการอันชาญฉลาด ในทางกลับกัน, พวกเขาก็เผชิญกับเหตุการณ์เลวร้ายและความเสื่อมถอยเมื่อดำเนินตามอีกแผนการหนึ่ง มันอธิบายได้ว่ามีสาเหตุทั่วไปทั้งทางด้านศีลธรรมและรูปธรรมซึ่งส่งผลต่อกษัตริย์โรมันทุกพระองค์ ทั้งการยกระดับบารมี, การดำรงอยู่ของพระราชอำนาจ หรือแม้แต่การทำให้พระบารมีของกษัตริย์เองนั้นตกต่ำจรดดิน แม้แต่อุบัติเหตุเองก็ถูกควบคุมโดยสาเหตุตัวแปรเหล่านี้ และถ้าหากการรบเพียงครั้งเดียว (ซึ่งเป็นสาเหตุ) ได้นำพารัฐไปสู่ความล่มสลาย ก็จะอธิบายได้ว่าเหตุผลโดยทั่วไปเป็นตัวที่ทำให้ประเทศนั้นถึงกาลสูญสิ้นจากการรบครั้งนั้น ทำให้แนวโน้มความเป็นไปของโลกจึงถูกรังสรรค์ขึ้นจากเหตุการณ์ที่อุบัติสืบเนื่องต่อ ๆ กันมา

ในข้ออภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองของโรมันจากสาธารณรัฐไปสู่จักรวรรดิ มงแต็สกีเยอได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า หากจูเลียส ซีซาร์ และปอมเปย์ไม่ได้กระตือรือร้นที่จะช่วงชิงอำนาจจากรัฐบาลสาธารณรัฐแล้ว อย่างไรก็ดีจะต้องมีบุคคลผู้อื่นมากระทำการนี้แทนเขาสองคนอย่างแน่นอน ชี้ให้เห็นว่าต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่เกิดจากตัวจูเลียส ซีซาร์ และปอมเปย์ หากแต่เกิดจากความทะเยอทะยานของมนุษย์ชาวโรมันนั่นเอง

ทรรศนะทางการเมือง

มงแต็สกีเยอถือว่าเป็นหนึ่งในนักปรัชญาแถวหน้าของมานุษยวิทยาร่วมกับเฮโรโดตุสและแทซิทัส ที่เป็นหนึ่งในบุคคลกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่ตีแผ่ข้อเปรียบเทียบของกระบวนการจำแนกรูปแบบทางการเมืองในสังคมมนุษย์ อันที่จริงแล้วนักมานุษยวิทยาการเมืองชาวฝรั่งเศสที่ชื่อว่ายอร์ช บาล็องดิแยร์ พิจารณามงแต็สกีเยอว่าเป็น "ผู้ริเริ่มองค์กรทางวิทยาศาสตร์ที่ครั้งหนึ่งเคยมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อวงการมานุษยวิทยาทางวัฒนธรรมและสังคม" ตามคำกล่าวอ้างของดี.เอฟ. โพคอค นักมานุษยวิทยาทางสังคม "จิตวิญญาณของกฎหมายของมงแต็สกีเยอคือความพยายามครั้งแรกในการที่จะสำรวจความหลากหลายของสังคมมนุษย์, เพื่อที่จะจำแนกและเปรียบเทียบ และเพื่อศึกษาระบบการทำงานระหว่างสถาบันในสังคม" และหลักมานุษยวิทยาทางการเมืองนี้เองได้นำเขาไปสู่การคิดค้นทฤษฎีว่าด้วยรัฐบาลในเวลาต่อมา

ผลงานเขียนที่มีอิทธิพลมากที่สุดของเขาได้แบ่งแยกฝรั่งเศสออกเป็นสามชนชั้นได้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน, อภิสิทธิ์ชน และราษฎร แล้วเขายังมองเห็นรูปแบบอำนาจของรัฐออกเป็นสองแบบคืออำนาจอธิปไตยและอำนาจบริหารรัฐกิจ ซึ่งอำนาจบริหารรัฐกิจประกอบด้วยอำนาจบริหาร, อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ โดยแต่ละอำนาจควรเป็นอิสระและแยกออกจากกัน ทำให้อำนาจใดอำนาจหนึ่งไม่สามารถก้าวก่ายอีกสองอำนาจที่เหลือหรือรวมกันเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จได้ หากพิจารณาในแบบยุคสมัยของมงแต็สกีเยอแล้ว แนวคิดนี้จะถูกพิจารณาว่าเป็นแนวคิดหัวรุนแรง เพราะหลักการของแนวคิดดังกล่าวเท่ากับเป็นการล้มล้างการปกครองของฝรั่งเศสในสมัยนั้นที่ยึดถือฐานันดรแห่งราชอาณาจักรอย่างสิ้นเชิง โดยฐานันดรแห่งรัฐประกอบด้วยสามฐานันดรคือ เคลอจี, อภิสิทธิ์ชนหรือขุนนาง และประชาชนทั่วไป ซึ่งฐานันดรสุดท้ายมีผู้แทนในสภาฐานันดรมากที่สุด และท้ายที่สุดแนวคิดนี้จะเป็นแนวคิดที่ทำลายระบบฟิวดัลในฝรั่งเศสลง

ขณะเดียวกันมงแต็สกีเยอได้ออกแบบรูปแบบการปกครองออกเป็นสามแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบถูกสนับสนุนด้วย หลักการทางสังคม ของตัวมันเอง ได้แก่

  • ราชาธิปไตย (รัฐบาลอิสระที่มีประมุขเป็นบุคคลจากการสืบตระกูล เช่น กษัตริย์, จักรพรรดิ หรือราชินี) เป็นระบอบที่ยึดถือบนหลักการของเกียรติยศ
  • สาธารณรัฐ (รัฐบาลอิสระที่มีประมุขเป็นบุคคลที่ได้รับเลือกจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน) เป็นระบอบที่ยึดถือบนหลักการของคุณธรรม
  • เผด็จการ (รัฐบาลกดขี่ที่มีประมุขเป็นผู้นำเผด็จการ) เป็นระบอบที่ยึดถือบนหลักการของความยำเกรง

ซึ่งรัฐบาลอิสระจะขึ้นอยู่กับการเตรียมการทางกฎหมายอันเปราะบาง มงแต็สกีเยอได้อุทิศเนื้อหาสี่บทใน จิตวิญญาณแห่งกฎหมาย ในการอภิปรายประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศรัฐบาลอิสระร่วมสมัยที่ซึ่งเสรีภาพคงอยู่ได้ด้วยการถ่วงดุลอำนาจ และมงแต็สกีเยอยังกังวลว่าอำนาจในฝรั่งเศสที่อยู่กึ่งกลาง (เช่น ระบบขุนนาง) ที่ทัดทานกับอำนาจของราชวงศ์นั้นกำลังเสื่อมสลายลง แนวคิดการควบคุมอำนาจนี้เองที่บ่อยครั้งมักถูกนำไปใช้โดยมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์

อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดที่มงแต็สกีเยอระบุไว้ในจิตวิญญาณแห่งกฎหมายในการสนับสนุนการปฏิรูประบบทาสนั้นค่อนข้างจะล้ำหน้ากว่ายุคสมัยที่เขามีชีวิตอยู่ เขายังได้นำเสนอข้อโต้แย้งสมมติเชิงเสียดสีเกี่ยวกับความเป็นทาสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในข้อสนับสนุนของเขาไว้ด้วย อย่างไรก็ดีทรรศนะของมงแต็สกีเยอหลายหัวข้ออาจถูกโต้แย้งและถกเถียงในปัจจุบันเช่นเดียวกับทรรศนะอื่น ๆ ที่มาจากบุคคลยุคเดียวกับเขา เขายอมรับถึงบทบาทของตระกูลขุนนางและราชวงศ์ไว้อย่างเหนียวแน่นเช่นเดียวกันกับการยอมรับถึงสิทธิของบุตรหัวปี ในขณะเดียวกันเขาก็รับรองแนวคิดของการมีสตรีเป็นประมุขของประเทศ แต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัวได้

อ้างอิง

  1. "The Relative Influence of European Writers on Late Eighteenth-Century American Political Thought," American Political Science Review 78,1(March, 1984), 189-197.
  2. Montesquieu (1734), Considerations on the Causes of the Greatness of the Romans and their Decline, The Free Press, สืบค้นเมื่อ 2011-11-30 Ch. XVIII.
  3. G. Balandier, Political Anthropology, Random House, 1970, p 3.
  4. D. Pocock, Social Anthropology, Sheed and Ward, 1961, p 9.

มงแต, สก, เยอ, ชาร, หล, ยส, เดอ, เซอกงดา, บารอนแห, งลาแบรดและ, ฝร, งเศส, charles, louis, secondat, baron, brède, montesquieu, หร, อร, กก, นในช, ฝร, งเศส, montesquieu, เป, นน, กว, พากษ, งคมและน, กค, ดทางการเม, องชาวฝร, งเศสผ, ตอย, ในย, คเร, องป, ญญา, อเส, ยงเก,. charl hluys edx esxkngda barxnaehnglaaebrdaelamngaetskieyx frngess Charles Louis de Secondat baron de La Brede et de Montesquieu hruxruckkninchux mngaetskieyx frngess Montesquieu epnnkwiphakssngkhmaelankkhidthangkaremuxngchawfrngessphumichiwitxyuinyukheruxngpyya michuxesiyngekiywkbthvsdikaraebngaeykxanacthiphudthunginkarpkkhrxngsmyihmaelaichinrththrrmnuyinhlaypraeths aelaepnphuthithaihkhawarabbecakhunmulnayaelackrwrrdiibaesnithnichknxyangaephrhlaymngaetskieyxphaphwadmngaetskieyxekid18 mkrakhm kh s 1689prasathlaaebrd cnghwdchirngd rachxanackrfrngessesiychiwit10 kumphaphnth kh s 1755 66 pi paris rachxanackrfrngessyukhprchyastwrrsthi 18aenwthangprchyatawntksankyukheruxngpyyakhwamsnichlkprchyakaremuxngaenwkhidednkaraebngaeykxanac xanacnitibyyti xanacbrihar xanactulakaridrbxiththiphlcak xrisotetil othms hxbs phxliebiys erxen edkart nikxla malbrxngch chxng bxaedng cxhn lxk rththrrmnuyxngkvskhristskrachthi 18epnxiththiphltx edwid hum othms ephn chxng chk ruos exdmnd ebirk rththrrmnuyshrthxemrikaaelarabbkaremuxng cxrc wilehlm fridrich ehekil xaelxsis edx thxkekxwiy ximil edxrikhhm hnnah xaerntbthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha enuxha 1 prawti 2 prchyaaehngprawtisastr 3 thrrsnathangkaremuxng 4 xangxingprawti aekikh prasathlaaebrd thiekidkhxngmngaetskieyx Lettres familieres a divers amis d Italie 1767 charl hluys edx esxkngda ekid n prasathlaaebrd inphakhtawntkechiyngitkhxngfrngess bidaminamwachk edx esxkngda epnnaythharsungekidintrakulphudi yakhxngcharlnamwamari frxngsws edx aepsaenl sungesiychiwitemuxbidakhxngcharlmixayuidephiyng 7 khwb epnphurbmrdkthangkarenginkxnihyaelaepnphuthaihtrakulesxkngdaidrbbrrdaskdi laaebrd khxngkhunnangbarxn phayhlngidekharbkarsuksacakwithyalykhathxlikaehngchuyyi charlidaetngngankbhyingchawopretsaetntnamwachan edx lartik sungidmxbsinsxdihaekcharlemuxekhaxayuid 26 pi inpithdmacharlidrbmrdkcakkarthilungkhxngekhathiesiychiwitlngaelayngidrbbrrdaskdi barngedxmngaetskieyx rwmthungtaaehnng ephrsidxngxamxrtiey inrthsphaemuxngbxrodxikdwy inchwngewlaniexngthixngkvsprakaswatnexngepnpraethsrachathipityphayitrththrrmnuysungepnchwnghnungkhxngkarptiwtixnrungorcn kh s 1688 1689 aelaidrwmekhakbskxtaelndcakphrarachbyytishphaph kh s 1707 inkarkxtngrachxanackrbrietnihy thdmainpi kh s 1715 phraecahluysthi 14 phuthrngkhrxngrachymaxyangyawnanswrrkhtaelaidrbkarsubthxdrachbllngkodyoxrsphrachnmayu 5 phrrsa phraecahluysthi 15 karepliynphankhrngsakhykhxngchatikhrngniexngthimiphlxyangmaktxtwkhxngcharl aelakstriythngsxngphraxngkhnicathukklawthunginnganekhiynkhxngcharlmakmayinewlatxmaewlatxmaephiyngimnanekhakprasbkhwamsaercthangdanwrrnkrrmcakkartiphimph aelthraeprsan cdhmayehtuepxresiy kh s 1721 nganekhiynesiydsisungsmmtithungchawepxresiyphuekhiyncdhmaytxbotrahwangedinthangmayngparis chiihehnthungkhwamirsarakhxngsngkhmrwmsmy txmaekhaidtiphimph kngsiedrasiyng sur el oks edx la krxngedxr ed rxaemng ex edx elxr edkadxngs khxkhwrphicarnaekiywkbkhwamyingihyaelakhwamesuxmthxykhxngchawormn kh s 1734 sungnkwichakarbangklummxngwaepnphlnganthiechuxmrahwang aelthraeprsan kbphlnganchinexkkhxngekha edxaelsphriedlw citwiyyanaehngkdhmay sungaetaerkinpi kh s 1748 thuktiphimphodyimrabuchuxphuekhiyn aelaidklaymaepnnganekhiynsungmixiththiphlmhasaltxsngkhmphayinewlaxnrwderw infrngesskartxbrbtxnganekhiynniimkhxycaepnmitrmaknkthngfaysnbsnunaelafaytxtanrabxbkarpkkhrxngpccubn inpi kh s 1751 obsthkhathxlikthwpraethsprakashamephyaephr aelsphri rwmipthungnganekhiynchinxunkhxngmngaetskieyx aelathukbrrcuxyuinraychuxhnngsuxtxngham aetinswnxunkhxngyuorpklbidkartxbrbxyangsungodyechphaainshrachxanackrmngaetskieyxidrbkarykyxngxyangsungcakxananikhmkhxngxngkvsinxemrikaehnux inthanaphusnbsnunesriphaphaebbxngkvs aemcaimichphusnbsnunexkrachkhxngxemrika nkrthsastr odnld luts phbwamngaetskieyxkhuxbukhkhlthangrthsastraelakaremuxngthithukexythungmakthisudbnaephndinxemrikaehnuxchwngkxnekidkarptiwtixemrika sungthukxangxingmakkwaaehlngxun odyphukxtngshrthxemrika epnrxngkaetephiyngkhmphiribebilethann 1 tammadwykarptiwtixemrika nganekhiynkhxngmngaetskieyxyngkhngmixiththiphlxyangsungtxehlaphukxtngshrthxemrika odyechphaaecms aemdisnaehngewxrcieniy bidaaehngrththrrmnuyshrthxemrika prchyakhxngmngaetskieyxthiwa rthbalkhwrthukcdtngkhunephuxthicaidimmimnusyphuidraaewngknexng idyngetuxnaemdisnaelaphuxuninkhnawarakthanthiesriaelamnkhngkhxngrthbalaehngchatiihmnncaepncatxngmikaraebngaeykxanacthithwngdulaelathukkahndkdeknthiwxyangchdecnnxkcakkarpraphnthnganekhiynekiywkbkaremuxngaelasngkhmaelw mngaetskieyxyngichewlahlaypiinkaredinthangipthwyuorp echn xxsetriyaelahngkari ichchiwithnungpietminxitaliaelaxik 18 eduxninxngkvs kxnthiekhacaklbmaphankinfrngessxikkhrng ekhathukkhthrmancaksaytathiyaaeylngcnkrathngbxdsnithinchwngthiekhaesiychiwitcakxakarikhsunginpi kh s 1755 mngaetskieyxthukfng n susankhxngobsthaesng sulpisinkrungparisprchyaaehngprawtisastr aekikhhlkprchyaaehngprawtisastrkhxngmngaetskieyxidldbthbathkhxngehtukarnyxyaelapceckbukhkhllng sungekhaidxthibaythrrsnaniiwin kngsiedrasiyng sur el oks edx la krxngedxr ed rxaemng ex edx elxr edkadxngs waehtukarnthangprawtisastraetlakhrnglwnaelwaetthukkhbekhluxnodykrabwnkarkhwamepnipkhxngolk mnimichochkhchatathikahndkhwamepnipkhxngolk thamchawormnsi phusungprasbkbkhwamsaercsubenuxngknhlaykhrnghlaykhrainchwngthiphwkekhathukchknaodyaephnkarxnchaychlad inthangklbkn phwkekhakephchiykbehtukarnelwrayaelakhwamesuxmthxyemuxdaenintamxikaephnkarhnung mnxthibayidwamisaehtuthwipthngthangdansilthrrmaelarupthrrmsungsngphltxkstriyormnthukphraxngkh thngkarykradbbarmi kardarngxyukhxngphrarachxanac hruxaemaetkarthaihphrabarmikhxngkstriyexngnntktacrddin aemaetxubtiehtuexngkthukkhwbkhumodysaehtutwaeprehlani aelathahakkarrbephiyngkhrngediyw sungepnsaehtu idnapharthipsukhwamlmslay kcaxthibayidwaehtuphlodythwipepntwthithaihpraethsnnthungkalsuysincakkarrbkhrngnn thaihaenwonmkhwamepnipkhxngolkcungthukrngsrrkhkhuncakehtukarnthixubtisubenuxngtx knma 2 inkhxxphiprayeruxngkarepliynaeplngkarpkkhrxngkhxngormncaksatharnrthipsuckrwrrdi mngaetskieyxidihkhxsngektiwwa hakcueliys sisar aelapxmepyimidkratuxruxrnthicachwngchingxanaccakrthbalsatharnrthaelw xyangirkdicatxngmibukhkhlphuxunmakrathakarniaethnekhasxngkhnxyangaennxn chiihehnwatnehtukhxngkarepliynaeplngniimichekidcaktwcueliys sisar aelapxmepy hakaetekidcakkhwamthaeyxthayankhxngmnusychawormnnnexngthrrsnathangkaremuxng aekikhmngaetskieyxthuxwaepnhnunginnkprchyaaethwhnakhxngmanusywithyarwmkbehorodtusaelaaethsiths thiepnhnunginbukhkhlklumaerk khxngolkthitiaephkhxepriybethiybkhxngkrabwnkarcaaenkrupaebbthangkaremuxnginsngkhmmnusy xnthicringaelwnkmanusywithyakaremuxngchawfrngessthichuxwayxrch balxngdiaeyr phicarnamngaetskieyxwaepn phurierimxngkhkrthangwithyasastrthikhrnghnungekhymiswnsakhyxyangmaktxwngkarmanusywithyathangwthnthrrmaelasngkhm 3 tamkhaklawxangkhxngdi exf ophkhxkh nkmanusywithyathangsngkhm citwiyyankhxngkdhmaykhxngmngaetskieyxkhuxkhwamphyayamkhrngaerkinkarthicasarwckhwamhlakhlaykhxngsngkhmmnusy ephuxthicacaaenkaelaepriybethiyb aelaephuxsuksarabbkarthanganrahwangsthabninsngkhm 4 aelahlkmanusywithyathangkaremuxngniexngidnaekhaipsukarkhidkhnthvsdiwadwyrthbalinewlatxmaphlnganekhiynthimixiththiphlmakthisudkhxngekhaidaebngaeykfrngessxxkepnsamchnchnidaek phraecaaephndin xphisiththichn aelarasdr aelwekhayngmxngehnrupaebbxanackhxngrthxxkepnsxngaebbkhuxxanacxthipityaelaxanacbriharrthkic sungxanacbriharrthkicprakxbdwyxanacbrihar xanacnitibyyti aelaxanactulakar odyaetlaxanackhwrepnxisraaelaaeykxxkcakkn thaihxanacidxanachnungimsamarthkawkayxiksxngxanacthiehluxhruxrwmknepnxanacebdesrcid hakphicarnainaebbyukhsmykhxngmngaetskieyxaelw aenwkhidnicathukphicarnawaepnaenwkhidhwrunaerng ephraahlkkarkhxngaenwkhiddngklawethakbepnkarlmlangkarpkkhrxngkhxngfrngessinsmynnthiyudthuxthanndraehngrachxanackrxyangsineching odythanndraehngrthprakxbdwysamthanndrkhux ekhlxci xphisiththichnhruxkhunnang aelaprachachnthwip sungthanndrsudthaymiphuaethninsphathanndrmakthisud aelathaythisudaenwkhidnicaepnaenwkhidthithalayrabbfiwdlinfrngesslngkhnaediywknmngaetskieyxidxxkaebbrupaebbkarpkkhrxngxxkepnsamaebb sungaetlarupaebbthuksnbsnundwy hlkkarthangsngkhm khxngtwmnexng idaek rachathipity rthbalxisrathimipramukhepnbukhkhlcakkarsubtrakul echn kstriy ckrphrrdi hruxrachini epnrabxbthiyudthuxbnhlkkarkhxngekiyrtiys satharnrth rthbalxisrathimipramukhepnbukhkhlthiidrbeluxkcakesiyngswnihykhxngprachachn epnrabxbthiyudthuxbnhlkkarkhxngkhunthrrm ephdckar rthbalkdkhithimipramukhepnphunaephdckar epnrabxbthiyudthuxbnhlkkarkhxngkhwamyaekrngsungrthbalxisracakhunxyukbkaretriymkarthangkdhmayxnepraabang mngaetskieyxidxuthisenuxhasibthin citwiyyanaehngkdhmay inkarxphipraypraethsxngkvs sungepnpraethsrthbalxisrarwmsmythisungesriphaphkhngxyuiddwykarthwngdulxanac aelamngaetskieyxyngkngwlwaxanacinfrngessthixyukungklang echn rabbkhunnang thithdthankbxanackhxngrachwngsnnkalngesuxmslaylng aenwkhidkarkhwbkhumxanacniexngthibxykhrngmkthuknaipichodymksimieliyng rxaebspiaeyrxacklawidwaaenwkhidthimngaetskieyxrabuiwincitwiyyanaehngkdhmayinkarsnbsnunkarptiruprabbthasnnkhxnkhangcalahnakwayukhsmythiekhamichiwitxyu ekhayngidnaesnxkhxotaeyngsmmtiechingesiydsiekiywkbkhwamepnthassungepnswnhnunginkhxsnbsnunkhxngekhaiwdwy xyangirkdithrrsnakhxngmngaetskieyxhlayhwkhxxacthukotaeyngaelathkethiynginpccubnechnediywkbthrrsnaxun thimacakbukhkhlyukhediywkbekha ekhayxmrbthungbthbathkhxngtrakulkhunnangaelarachwngsiwxyangehniywaennechnediywknkbkaryxmrbthungsiththikhxngbutrhwpi inkhnaediywknekhakrbrxngaenwkhidkhxngkarmistriepnpramukhkhxngpraeths aetkimmiprasiththiphaphphxthicaepnhwhnakhrxbkhrwidxangxing aekikh The Relative Influence of European Writers on Late Eighteenth Century American Political Thought American Political Science Review 78 1 March 1984 189 197 Montesquieu 1734 Considerations on the Causes of the Greatness of the Romans and their Decline The Free Press subkhnemux 2011 11 30 Ch XVIII G Balandier Political Anthropology Random House 1970 p 3 D Pocock Social Anthropology Sheed and Ward 1961 p 9 bthkhwamekiywkbchiwprawtiniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmulekhathungcak https th wikipedia org w index php title mngaetskieyx amp oldid 8604259, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม