fbpx
วิกิพีเดีย

แดน บีช แบรดลีย์

หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ แพทยศาสตรบัณฑิต (อังกฤษ: Dan Beach Bradley) เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมายังเผยแพร่งานพิมพ์และการแพทย์แผนตะวันตกในราชอาณาจักรด้วย

แดน บีช แบรดลีย์
หมอบรัดเลย์ถ่ายเมื่อปี 2408
เกิด18 กรกฎาคม พ.ศ. 2347
เมืองมาร์เซลลัส รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต23 มิถุนายน พ.ศ. 2416 (68 ปี)
เมืองพระนคร ประเทศสยาม
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
อาชีพแพทย์, มิชชันนารี
ปีปฏิบัติงาน1835 – 1873
องค์การสมาคมมิชชันนารีอเมริกัน
มีชื่อเสียงจากการกำจัดโรคฝีดาษในสยาม
คู่สมรสEmelie Royce, m. 1834, †1845; Sarah Blachly, m. 1848
บุตร2 คน

ประวัติ

ชีวิตช่วงแรก

บรัดเลย์เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส (Marcellus) รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2347 บุตรคนที่ห้าของนายแดน บรัดเลย์และนางยูนิช บีช บรัดเลย์ บิดาเกิดที่เมืองแฮมเดน รัฐคอนเนตทิคัต ก่อนจะย้ายครอบครัวมายังเมืองมาร์เซลลัสเมื่อ พ.ศ. 2288 บิดาของหมอบรัดเลย์เป็นผู้หนึ่งที่เริ่มก่อตั้งเมืองมาร์เซลลัส ส่วนมารดา ยูนิช เสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2347 เมื่ออายุ 38 ปี หลังจากที่คลอดหมอบรัดเลย์ ท่านจึงได้มารดาเลี้ยงคือ แนนซี ดูแลในวัยเด็ก

บรัดเลย์เลือกศึกษาวิชาแพทย์เพราะในสมัยนั้นต้องการมิชชันนารีเป็นอย่างมาก ระยะแรกศึกษากับ ดร.เอ.เอฟ โอลิเวอร์ ที่เมืองเพนน์แยน โดยพยายามแก้ไขการพูดติดอ่างซึ่งเป็นมาตั้งแต่วัยรุ่นโดยการเข้ากลุ่มฝึกพูด เขาเคยไปฟังบรรยายทางการแพทย์ที่ฮาเวิร์ดใน ค.ศ. 1830 และกลับไปฝึกปฏิบัติงานการแพทย์ สลับกับการเป็นครูในหมู่บ้าน เมื่อสะสมเงินได้เพียงพอจึงไปโรงเรียแพทย์ที่กรุงนิวยอร์ก เพื่อเรียนและสอบได้รับปริญญาแพทย์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1833 ระหว่างอยู่ที่นิวยอร์กได้ปฏิบัติงานหาความชำนาญ จนสมัครเป็นแพทย์มิชชันนารีกับคณะกรรมการพันธกิจคริสตจักรโพ้นทะเล (American Board of Commissioners for Foreign Missions) เพื่อทำงานในเอเชีย

เดินทางมายังสยาม

บรัดเลย์ออกเดินทางพร้อมภรรยา เอมิลี จากเมืองบอสตัน เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 พร้อมมิชชันนารีกลุ่มหนึ่งซึ่งจะเดินทางไปพม่า โดยสารมากับเรือชื่อแคชเมียร์ ใช้เวลา 157 วัน จนถึงเมืองท่าแอมเฮิสต์ ของพม่า (ปัจจุบันคือเมืองไจคามี) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2377 จนวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม พ.ศ. 2378 เรือมาทอดสมอที่เกาะปีนัง แล้วเดินทางต่อมาถึงสิงคโปร์ 12 มกราคม ใช้เวลา 6 เดือนกว่าจะถึงสิงคโปร์ เมื่อมาถึงสิงคโปร์ได้พักอาศัยอยู่กับสมาคมมิชชันนารีแห่งลอนดอน (London Missionary Society) โดยพยายามเรียนภาษาไทยกับชาวอินเดียในสิงคโปร์ และเดินทางออกจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม เรือมาทอดสมออยู่นอกสันดอนแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่เช้า เวลา 7.00 น. ของวันที่ 16 กรกฎาคม รอน้ำขึ้นและคนนำร่อง ในที่สุดเรือผ่านสันดอนได้วันที่ 18 กรกฎาคม จึงได้ลงเรือยาวพร้อมกับสัมภาระบางส่วนเข้ามายังกรุงเทพฯ มาถึงปากน้ำเวลาเที่ยงวัน และถึงกรุงเทพฯ เวลา 21.00 น. ของวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2378 ซึ่งตรงกับวันเกิดปีที่ 31 พอดี

บรัดเลย์พักอาศัยอยู่แถววัดเกาะ สำเพ็ง (วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร) โดยอาศัยพักรวมกับครอบครัวของศาสนาจารย์สตีเฟน จอห์นสัน หมอบรัดเลย์เปิดโอสถศาลาขึ้นเป็นที่แรกในสยาม เพื่อทำการรักษา จ่ายยาและหนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้กับคนไข้ แต่เนื่องจากในย่านนั้นมีชาวจีนอาศัยอยู่ กิจการนี้จึงถูกเพ่งเล็งว่าอาจทำให้ชาวจีนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลสยามได้ จึงกดดันให้เจ้าของที่ดินคือนายกลิ่น ไม่ให้มิชชันนารีเช่าอีกต่อไป ต่อมาจึงย้ายไปอยู่แถวกุฎีจีน ที่เป็นย่านของชาวโปรตุเกส เช่าบ้านที่ปลูกให้ฝรั่งเช่าของเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งต่อมาคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) บริเวณหน้าวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร โดยหมอบรัดเลย์และคณะมิชชันนารีดัดแปลงบ้านเช่าที่พักแห่งใหม่นี้เป็น โอสถศาลา เปิดทำการเมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2378

ที่บ้านพักแห่งใหม่นี้ เขาได้ทำการผ่าตัดครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การแพทย์ของไทย โดยตัดแขนให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2380 พระภิกษุรูปนั้นประสบอุบัติเหตุจากกระบอกบรรจุดินดำทำพลุแตก ในงานฉลองที่วัดประยุรวงศ์ ซึ่งประสบความสำเร็จดีจนเป็นที่เลื่องลือ เพราะแต่ก่อนคนไทยยังไม่รู้วิธีผ่าตัดร่างกายมนุษย์แล้วยังมีชีวิตอยู่ดี หมอบรัดเลย์ได้ทำการรักษาคนไข้จนมีชื่อเสียง ส่วนภรรยา เอมิลี เข้าไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในวัง ค่าใช้จ่ายเริ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีใครสนับสนุน หมอจึงหางานเสริมมาเลี้ยงครอบครัว จนหน่วยงานด้านกิจการศาสนาในอเมริกา ขอยุติการสนับสนุนภารกิจของมิชชันนารีในสยาม และขอให้ยกทีมเดินทางกลับอเมริกา ส่วนหมอบรัดเลย์กำลังหมดตัว แต่คณะมิชชันนารีได้ทิ้งเครื่องพิมพ์ไว้ให้ จนหมอหันมาทุ่มเทด้านการพิมพ์ จนประดิษฐ์อักษรไทยสำเร็จ เมื่อ พ.ศ. 2395 และได้ทุนรับจ้างพิมพ์จากทางราชการสยาม

กลับอเมริกาและกลับมายังสยาม

 
สุสานหมอบรัดเลย์

จนภรรยาที่เป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้ราชสำนักสยามมานาน 10 ปีล้มป่วยและเสียชีวิตด้วยวัณโรค จึงพาลูก 4 คนที่เกิดในสยามกลับไปอเมริกา เป็นเวลา 3 ปีเศษ ส่งลูกศึกษาที่อเมริกา ดิ้นรนจนได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมมิชชันนารีอเมริกันเป็นผลสำเร็จ และได้พบรักใหม่กับภรรยาใหม่ ซาราห์ บลักลี (Sarah Blachly) บัณฑิตจากวิทยาลัยโอเบอร์ลิน รัฐโอไฮโอ หลังแต่งงานก็กลับสยามเพื่อทำงานที่ค้างไว้ในสยามเมื่อ 3 ปีก่อน การกลับมาครั้งนี้ ได้พิมพ์หนังสือพิมพ์ไทยฉบับแรก บางกอกรีคอร์เดอร์ เป็นทั้งบรรณาธิการและเขียนบทความเอง และได้พิมพ์หนังสือต่าง ๆ อีกหลายเล่ม ส่วนภรรยา ซาราห์ ก็สอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก หมอบรัดเลย์ยังริเริ่มการปลูกฝี ที่กำลังระบาดในสยาม

6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2395 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ดินให้หมอบรัดเลย์ รวมถึงมิชชานารี ได้สร้างโรงพิมพ์บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ข้างป้อมวิชัยประสิทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตบางกอกใหญ่) พระองค์เสด็จไปสนทนาภาษาอังกฤษและเรื่องราวความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์กับเขาและแหม่มซาราห์ที่บ้านอยู่บ่อยครั้ง

บรัดเลย์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2416 อายุ 69 ปี ศพฝังที่สุสานโปรเตสแตนต์ ที่ใกล้โรงงานยาสูบ ถนนตก ซึ่งยังมีอยู่มาถึงทุกวันนี้

ในฐานะหมอสอนศาสนา

บรัดเลย์สมัครเป็นมิชชันนารีกับคณะกรรมการพันธกิจคริสตจักรโพ้นทะเล (American Board of Commissioners for Foreign Missions) โดยเรียนศาสนศาสตร์ด้วยตัวเอง ต่อมาภายหลังเขาเชื่อหลักศาสนศาสตร์เรื่อง คริสเตียนสมบูรณ์แบบ (Christian perfection) ของชาลส์ ฟินนีย์ โดยเชื่อว่า คริสเตียนทำบาปไม่ได้ เขาเชื่อว่าคนมีสองพวกเท่านั้น คือคนชอบธรรมและอธรรม

สิ่งที่บรัดเลย์ทำเป็นประจำควบคู่กับการรักษาคนเจ็บป่วยที่คลินิกคือการเทศน์และการอธิบายถึงพระเจ้าแท้จริง เขาจะไปเทศน์อธิบายข้อความในพระคัมภีร์ทุกแห่งที่มีโอกาสไม่ว่าจะเป็นที่วัด เช่นเมื่อครั้งไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงผนวชอยู่ที่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ก็ถือโอกาสเทศน์ให้พระสงฆ์ หรือเมื่อไปรักษาคนเจ็บป่วยในวังก็เทศน์ให้ชาววัง ยังมีการแจกแผ่นปลิวที่พิมพ์เป็นภาษาไทย จากการแปลด้วยตัวเอง และมีครูภาษาไทยช่วยเรียบเรียงให้ในระยะแรก บรัดเลย์ยังแวะขึ้นเรือสำเภาที่จอดริมแม่น้ำเจ้าพระยา แถบท่าดินแดง ราชวงศ์ คลองสาน เรื่อยมาจนถึงบางรัก ยานนาวา แจกแก่ลูกเรือชาวแต้จิ๋ว

ในฐานะแพทย์

 
การอยู่ไฟของมารดาหลังคลอด

บรัดเลย์เป็นผู้นำแพทย์แผนปัจจุบัน (แบบตะวันตก) เข้ามาหลายประการ ทั้งการผ่าตัดและการป้องกันโรค หมอบรัดเลย์เปิดสถานพยาบาลรักษาผู้ป่วยในบางกอกเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2374 ในการรักษาโรคในระยะแรก ๆ เขาจะตรวจผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมากเกือบ 70-100 คน ในเวลา 3-4 ชั่วโมง ส่วนมากในช่วงเช้ามีคนช่วยจัดยาและแจกใบปลิวข้อความในพระคัมภีร์ด้วย

ในปีแรกเจ้าฟ้าน้อย (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้เสด็จมาเยี่ยม เล่าให้ฟังเรื่องประเพณีการอยู่ไฟของมารดาหลังคลอด หมอบรัดเลย์ได้เสนออยากจะสอนให้คนไทยบางคนรู้จักภาษาอังกฤษแลสอนวิชาแพทย์ที่มี โดยในช่วงที่มีการปลูกฝี มีหมอหลวงมาศึกษากับหมอบรัดเลย์ และยังเขียนหนังสือเพื่อสอนหมอชาวสยาม เขียนบทความอธิบายวิธีการปลูกฝี ในภายหลังรัชกาลที่ 3 ได้พระราชทานรางวัลให้ 250 บาท (เท่ากับ 145 ดอลลาร์อเมริกันในสมัยนั้น) ตำราแพทย์แผนปัจจุบันเล่มแรกนี้ชื่อว่า ครรภ์ทรักษา มีความหนา 200 หน้า มีภาพประกอบฝีมือคนไทยประมาณ 50 ภาพ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาการของโรคในการคลอดและวิธีการแก้ไขรักษา กับพยายามสอนให้คนไทยเลิกธรรมเนียมการอยู่ไฟ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มารดาหลังคลอดเสียชีวิต

สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้บรัดเลย์ คือการผ่าตัด มีการผ่าตัดก้อนเนื้อที่หน้าผากของผู้ป่วยรายหนึ่งเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1835 โดยไม่มียาสลบ และอีกหนึ่งการผ่าตัดที่ได้รับการจารึกไว้คือเมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1837 เกิดเหตุระเบิดของปืนใหญ่ที่งานวัดบริเวณวัดประยุรวงศาวาส มีคนตาย 8 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก เขาได้ตัดแขนของชายหนุ่มคนหนึ่งถึงเหลือหัวไหล่ ในภายหลังวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1840 หมอบรัดเลย์ได้บันทึกไว้ว่า ได้ตัดแขนเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุบนเรือฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีการบันทึกว่า วันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1837 เขาได้ใช้เวลาทั้งวันในการแก้ไขกรามบนของชายที่กรามหักในงานวันเมื่อ 6 วันก่อน

ในบันทึกของบรัดเลย์ ยังบันทึกการผ่าตัดรักษาต้อกระจกหลายครั้ง รวมถึงการผ่าตัดต้อเนื้อ เช่น เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1836 มีพระภิกษุรุปหนึ่งจากสุโขทัยเดินทางมา 15 วัน พาพี่ชายที่ตาบอดเพราะการอักเสบมาตรวจ แต่ช้าเกินกว่าจะรักษา หลังจากนั้น 4 ธันวาคม ค.ศ. 1836 พระภิกษุรูปเดิมพาพระจากสุโขทัย 5 รูป มาตรวจตา มีรูปหนึ่งอายุ 80 ปี เป็นต้อเนื้อ ก็ได้รับการผ่าตัดลอกต้อออกได้ ยังมีการผ่าตัดต้อกระจกขุนนางชั้นสูง เช่น เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1844 เขาได้ผ่าตัดต้อกระจกเจ้าพระยาพลเทพ อายุ 73 ปี ซึ่งอีก 2 เดือนต่อมาได้ให้ใส่แว่นก็เห็นได้ชัดเจนดี

งานพิมพ์

สิ่งพิมพ์

 
บางกอกรีคอเดอ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย

บรัดเลย์ถือเป็นผู้บุกเบิกงานพิมพ์ในประเทศไทย ภูมิหลังน่าจะได้มาจากบิดาซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือ และการสนใจในวรรณคดีแต่เด็ก การพิมพ์ในยุคแรกของเขามุ่งเน้นเรื่องทางศาสนา โดยได้แปลและพิมพ์หนังสือ ใบปลิวที่เกี่ยวกับศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมาก โดยไม่ยอมพิมพ์หนังสือเรื่องทางโลกอื่น ๆ ยกเว้นเรื่องทางการแพทย์และเอกสารของราชการ เนื่องจากหมอบรัดเลย์ได้พัฒนาอักษรและแท่นพิมพ์ให้เหมาะสม ทำให้ราชสำนักสยามว่าจ้างให้ตีพิมพ์เอกสารประกาศของราชการ อย่าง ประกาศห้ามมิให้คนสูบแลค้าขายฝิ่นจำนวน 9,000 ฉบับ ปีกุน พ.ศ. 2382 ออกเผยแพร่ให้แก่ราษฎร ซึ่งนับว่าเป็นเอกสารทางราชการไทยชิ้นแรกที่ได้จัดพิมพ์ขึ้น

แต่ต่อมาหลังจากกลับจากอเมริกาและถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1850 มีความจำเป็นต้องพึ่งตัวเองมากขึ้น จึงเริ่มพิมพ์งานอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น พิมพ์นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) ใน พ.ศ. 2404 โดยได้ซื้อลิขสิทธิ์จากหม่อมราโชทัยด้วยจำนวนเงิน 400 บาท ถือเป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์ในการพิมพ์หนังสือครั้งแรกในประเทศไทย และได้จัดพิมพ์หนังสือด้วยตัวอักษรลาวขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย มีการตีพิมพ์ ภูมิประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศส พิมพ์ตำราเรียนภาษาไทย เช่น ประถม ก กา จินดามณี หนังสือกฎหมาย ทั้งยังพิมพ์เรื่องในวรรณคดีต่าง ๆ เช่น ราชาธิราช สามก๊ก เลียดก๊ก ไซ่ฮั่น และก่อนจะเสียชีวิตในปี 1873 ได้ตีพิมพ์พจนานุกรมไทย ชื่อ อักขราภิธานศรับท์

นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ริเริ่มการพิมพ์หนังสือพิมพ์ในแนวจดหมายเหตุ ที่ชื่อ บางกอกรีคอเดอ ถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก ฉบับแรกออกเมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 เป็นเอกสารชั้นต้นซึ่งบันทึกข่าวสารเหตุการณ์สำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื้อหาในแต่ละฉบับมีข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ การแพทย์และการสาธารณสุข ตลอดจนให้ข้อมูลสินค้าของสยามและต่างประเทศ คำศัพท์สำนวนภาษาอังกฤษ พงศาวดารต่างชาติ ฯลฯ หมอบรัดเลย์นำเสนอข่าวสารอย่างกล้าหาญและรักความเป็นธรรม ตัวอย่างเช่นเมื่อกงสุลฝรั่งเศสชวนข้าทาสไทยให้เข้าไปอยู่ในความคุ้มครองของฝรั่งเศสและเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราโดยไม่บอกรัฐบาลไทยทราบ เมื่อลงหนังสือพิมพ์ก็ถูกฟ้องร้องและถูกปรับ แต่ฝรั่งในไทยช่วยกันรวมรวมเงินจ่ายค่าปรับแทน โดยรัชกาลที่ 4 พระราชทานเงินสมทบด้วย

บรัดเลย์ยังริเริ่มการเย็บเล่ม เข้าปกแบบหนังสือตะวันตก จึงเรียกว่า สมุดฝรั่ง และพิมพ์ปฏิทินสุริยคติเป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก

ตัวพิมพ์

ก่อนยุคหมอบรัดเลย์ การพิมพ์และหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยมีขึ้นแล้ว แต่ทำกันในต่างประเทศ ผลงานในยุคแรก ๆ เช่น หนังสือ James Low's Thai Grammar ใช้ตัวพิมพ์ซึ่งจัดทำโดยมิชชันนารีสตรีชาวอเมริกันชื่อ แอน แฮสเซลไทน์ จัดสัน และช่างพิมพ์ที่ชื่อนายฮัฟ การเรียงตัวและจัดพิมพ์ทำขึ้นที่อินเดียและพม่า ในราว พ.ศ. 2370 เมื่อเขาถึงกรุงเทพ ก็ได้นำตัวพิมพ์ชุดนี้เข้ามาใช้ในโรงพิมพ์ของเขา ต่อมาใน พ.ศ 2382 ได้รับจ้างราชการไทยพิมพ์เอกสาร แผ่นประกาศห้ามสูบฝิ่น เอกสารนี้ใช้ตัวเรียงซึ่งซื้อจากสิงคโปร์ จนมีการหล่อตัวพิมพ์ในประเทศไทยสำเร็จครั้งแรกใน พ.ศ. 2384 ผลงานชิ้นแรก ๆ เช่น ครรภ์ทรักษา

ส่วนตัวพิมพ์ที่เรียกกันว่า "บรัดเลย์เหลี่ยม" ใช้ในผลงานรุ่นถัดมา ปรากฏใช้ครั้งแรกใน บางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งออกใน พ.ศ. 2387 แบบอักษรของบรัดเลย์เหลี่ยมนั้น ถ่ายทอดมาจากตัวเขียนลายมือ สันนิษฐานได้ว่ามาจากลายมือแบบอาลักษณ์ อาจพบลายมือคล้ายกันนี้ในสมุดข่อย ซึ่งเขียนขึ้นในยุคต้นรัตนโกสินทร์หลายเล่ม ตัวอักษรของบรัดเลย์เหลี่ยม ทำเพื่อให้แกะง่ายขึ้น เช่น ดัดตัวให้ตรง มีเส้นนอนด้านบน ซึ่งหักมุมเหลี่ยมเป็นบุคลิกสำคัญ มีรูปทรงและสัดส่วนของอักษรที่แน่นอน เช่น ก ไก่ มีความกว้างยาวเป็นสัดส่วนราว 2 ต่อ 3 และมีรูปทรงสี่เหลี่ยนผืนผ้าแนวตั้ง ยังปรับปรุงโครงสร้างอื่น เช่น ทำเส้นตั้งหรือ ขา ให้ตั้งฉากกับเส้นนอน กำหนดหัวกลมโปร่งให้มีเอกภาพและตำแหน่งแน่นอน เส้นมีความหนา และการหักมุมเที่ยงตรงแบบเรขาคณิต ดูเป็นระเบียบมากขึ้น ตัวอักษรบรัดเลย์เหลี่ยมยังสร้างมาตรฐานใหม่ของอักษรไทย ถือกันว่าเป็นการวางฐานสำคัญให้แก่ตัวพิมพ์ไทย

นอกจากนั้นยังมีตัวอักษร "บรัดเลย์โค้ง" พิมพ์ครั้งแรกใน นิราษเมืองลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (กระต่าย) บรัดเลย์โค้งชุดนี้มี 2 ขนาด ใน บางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งออกช่วงปี 2408 ใช้บรัดเลย์โค้งเป็นตัวพาดหัว

ผลงาน

ผลงานการตีพิมพ์ของบรัดเลย์ที่ออกมาเป็นรูปเล่ม โดยหนังสือเรื่องแรกที่พิมพ์แต่ยังไม่ออกเป็นรูปเล่ม คือ พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ หนังสือต่าง ๆ เหล่านี้พิมพ์เป็นภาษาไทย

  • ค.ศ. 1837 - การสร้างโลก, ประวัติพระคริสต์, ลักษณะและพระบัญญัติของพระยะโฮวาห์, ประวัติพระพุทธและพระคริสต์โดยเปรียบเทียบ, หนทางที่แท้สู่สวรรค์
  • ค.ศ. 1838 - บทเพลงเพื่อดวงวิญญาณ (รวม 72 บท), คำตัดสินสุดท้าย, คำสอนของนักบุญ
  • ค.ศ. 1839 - คัมภีร์การปลูกฝี
  • ค.ศ. 1841 - ความเรียงว่าด้วยฝิ่น, จุลสารว่าด้วยวัฒนธรรมอินเดีย
  • ค.ศ. 1842 - ประวัติพระคัมภีร์เดิม ตอนที่ 4, ความเรียงว่าด้วยความชั่วร้ายของการเสพสุรา, ความเรียงว่าด้วยบุตรผู้รักดี, ความเรียงว่าด้วยลาซารัสและคนดำน้ำ, ความเรียงว่าด้วยทูตสวรรค์, ความเรียงว่าด้วยข้าวสาลีและภาชนะ
  • ค.ศ. 1843 - คำภีร์ครรภ์ทรักษา, ประวัติพระคัมภีร์เดิม ตอนที่ 5
  • ค.ศ. 1844 - จัดทำร่างพจนานุกรมบาลี
  • ค.ศ. 1845 - ประวัติพระคัมภีร์เดิม ตอนที่ 6
  • ค.ศ. 1846 - เรื่องของแดเนียล
  • ค.ศ. 1847 - เรื่องของโยเซฟ
  • ค.ศ. 1859 - กฎหมายว่าด้วยการจอดเรือ
  • ค.ศ. 1860 - นิราศลอนดอน, จินดามณี
  • ค.ศ. 1863 - ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศส
  • ค.ศ. 1864 - พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล
  • ค.ศ. 1865 - สามก๊ก
  • ค.ศ. 1870 - เลียดก๊ก
  • ค.ศ. 1872 - ไซ่ฮั่น
  • ค.ศ. 1873 - อักขราภิธานศรับท์

งานหลวง

บรัดเลย์ใช้วิชาการแพทย์แผนตะวันรักษาผู้ป่วยคนไทยเป็นจำนวนมาก จนพวกขุนนางและข้าราชการไทยได้รับบริการจากท่านด้วย กิตติศัพท์นี้เข้าถึงพระกรรณเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งผนวชอยู่ที่วัดราชาธิราช พระองค์รับสั่งให้หมอบรัดเลย์เข้าเฝ้า เพื่อถวายการรักษาพระโรคลมอัมพาตที่เกิดแก่พระพักตร์ของพระองค์ ต่อมายังเข้าถวายพระโอสถใช้รักษา ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2379 ผลการรักษา ได้ผลดีทำให้อาการของพระโรคทุเลาลงมาก ทำให้หมอบรัดเลย์ได้เข้าใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท จนโปรดเป็นพระสหายคนหนึ่งในเวลาต่อมา ดังจะเห็นได้จากการโปรดให้หมอบรัดเลย์ เข้าถวายพระอักษรภาษาอังกฤษใน พ.ศ. 2362 เจ้านายที่โปรดหมอบรัดเลย์มากอีกพระองค์คือ เจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ส่วนขุนนางที่สนิทสนมกับหมอบรัดเลย์ คือ หลวงนางสิทธิ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

บรัดเลย์เข้ามาในสยามในยามที่ชนชั้นนำกำลังปรับปรุงโลกทัศน์ตนเอง โดยเฉพาะหลังการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้านายฝ่ายนั้น พร้อมกับการขึ้นมาเป็นหัวหน้าขุนนางของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งเป็นขุนนางหัวก้าวหน้ามาตั้งแต่สมัยมิชชันนารีเริ่มเข้าสู่สยาม จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ในปีแรก ได้พูดคุยกับขุนนางชั้นสูงหลายคน ทั้งซักถามถึงวิทยาการแผนใหม่เช่นการแพทย์ โดยบันทึกไว้ว่า "เมื่อคนชั้นปกครองในเมืองไทยมีความกระหายที่จะเรียนรู้ความเจริญแบบยุโรปเช่นนี้ ก็ย่อมทำให้พวกเราเกิดมีใจมุมานะที่จะอยู่ และปฏิบัติกิจการของเราต่อไปเป็นอันมาก" เขายังเป็นผู้ร่างและแปลจดหมายภาษาอังกฤษถวายตลอดจนทรงปรึกษาบรัดเลย์ในบางกรณีที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับแบบแผนวัฒนธรรมตะวันตก บางครั้งเขาเป็นล่ามในการเจรจาทำสัญญาการค้ากับตะวันตกด้วย

ชีวิตส่วนตัว

บรัดเลย์สมรสกับภรรยาคนแรก เอมิลี รอยส์ บรัดเลย์ (Emilie Royce Bradley) เมื่อมาเมืองไทยรับลูกของมิชชันนารีด้วยกันเป็นบุตรบุญธรรมคนหนึ่ง และภรรยามีลูกอีก 2 คน รวมมีบุตรเป็น 3 คน แต่เอมิลีเสียชีวิต ใน พ.ศ. 2388 ด้วยโรควัณโรคและศพได้ฝังอยู่ในประเทศไทย จากนั้น พ.ศ. 2390 กลับอเมริกาโดยพาบุตรและบุตรบุญธรรมกลับ และกลับมาเมืองไทยอีกครั้งปี พ.ศ. 2393 มีภรรยาใหม่ชื่อ ซาราห์ บรักลีย์ บรัดเลย์ (Sarah Brachly Bradley) คงพักอยู่ในสยามโดยไม่ได้กลับอเมริกาเลยตลอดชีวิต เธอเสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2436 อายุ 75 ปี อยู่สยามรวม 43 ปี ส่วนลูกของเธอ 4 คนเดินทางกลับไปใช้ชีวิตในอเมริกา มีบุตรชายชื่อ คอร์เนลิอุส บี บรัดเลย์ (Cornelius) ลูกสาวคนหนึ่งของหมอพักอาศัยในบ้านหลังนี้ต่อไปจนเสียชีวิตด้วยโรคชรา และมอบที่ดินดังกล่าวให้กองทัพเรือ

เชิงอรรถ

  1. บ้างสะกดเป็น หมอบรัดเล หมอปลัดเล หมอปรัดเล หรือ หมอปรัดเลย์

อ้างอิง

  1. คทาวุธ โลกาพัฒนาและรักอร่าม ปิฏกานนท์. "Marcellus บ้านเกิดหมอบรัดเลย์" นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2547 หน้า 68-71
  2. คทาวุธ โลกาพัฒนา. "หมอบรัดเลย์" นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2547 หน้า 77-86
  3. นิพัทธ์ ทองเล็ก (27 กันยายน 2559). "หมอปลัดเล.. หมอเทวดาที่มาทำงานในสยาม โดย พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561. Check date values in: |accessdate=, |date= (help)
  4. ธัชชัย ยอดพิชัย. "โอสถศาลาหมอบรัดเลย์" นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 3 มกราคม 2552 หน้า 110-115
  5. อุบลวรรณ มีชูธน. "หมอบรัดเลย์กับการประกาศศาสนาในสยาม" นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2547 หน้า 87-95
  6. อยู่ไฟหลังคลอด ในความทรงจำแห่งอดีต
  7. หมอเผยที่มา ‘อยู่ไฟ’หลังคลอด มีแค่ไทยเท่านั้นทั่วโลกไม่ทำ แจงชัดดีต่อคุณแม่หรือไม่
  8. บางกอกรีคอร์เดอร์ : หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย
  9. การนำการพิมพ์ตัวอักษรไทยเข้ามาในเมืองไทย
  10. หมอบรัดเลย์ บิดาแห่งวงการพิมพ์ของไทย
  11. บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (The Bangkok Recorder) : หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย
  12. เดอะ กู๊ด เดอะ แบด แอนด์ ดิ อั๊กลี่ (2)
  13. ประชา สุวีรานนท์. "บรัดเลย์: ตัวพิมพ์กับกำเนิดโลกทัศน์ใหม่" นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2547 หน้า 72-74
  14. ความเป็นมาของการวิจัย อักขราภิธานศรับท์
  15. ขจร สุขพานิช. ข้อมูลประวัติศาสตร์สมัยบางกอก. (กรุงเทพฯ: คุรุสภา, 2531) หน้า 129.
  16. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. "หมอบรัดเลย์กับ American Orientalism ในสยาม" นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2547 หน้า 96-107

แหล่งข้อมูลอื่น

  • โบราณคดีไทย 200 ปีหมอบรัดเลย์
  • หมอบลัดเลย์กับหนังสือพิมพ์ไทย
  • Historic Missionaries in Buddhist World (อังกฤษ)

แดน, แบรดล, หมอบร, ดเลย, หร, แพทยศาสตรบ, ณฑ, งกฤษ, beach, bradley, เป, นนายแพทย, ชาวอเมร, นท, เข, ามาเผยแพร, ศาสนาคร, สต, ในกร, งร, ตนโกส, นทร, อมาย, งเผยแพร, งานพ, มพ, และการแพทย, แผนตะว, นตกในราชอาณาจ, กรด, วยหมอบร, ดเลย, ายเม, อป, 2408เก, ด18, กรกฎาคม, 2347. hmxbrdely a hrux aedn bich aebrdliy aephthysastrbnthit xngkvs Dan Beach Bradley epnnayaephthychawxemriknthiekhamaephyaephrsasnakhristinkrungrtnoksinthr txmayngephyaephrnganphimphaelakaraephthyaephntawntkinrachxanackrdwyaedn bich aebrdliyhmxbrdelythayemuxpi 2408ekid18 krkdakhm ph s 2347emuxngmareslls rthniwyxrk shrthxemrikaesiychiwit23 mithunayn ph s 2416 68 pi emuxngphrankhr praethssyamsychatixemriknsisyekamhawithyalyniwyxrkxachiphaephthy michchnnaripiptibtingan1835 1873xngkhkarsmakhmmichchnnarixemriknmichuxesiyngcakkarkacdorkhfidasinsyamkhusmrsEmelie Royce m 1834 1845 Sarah Blachly m 1848butr2 khn enuxha 1 prawti 1 1 chiwitchwngaerk 1 2 edinthangmayngsyam 1 3 klbxemrikaaelaklbmayngsyam 2 inthanahmxsxnsasna 3 inthanaaephthy 4 nganphimph 4 1 singphimph 4 2 twphimph 4 3 phlngan 5 nganhlwng 6 chiwitswntw 7 echingxrrth 8 xangxing 9 aehlngkhxmulxunprawti aekikhchiwitchwngaerk aekikh brdelyepnchawemuxngmareslls Marcellus rthniwyxrk shrth ekidwnthi 18 krkdakhm ph s 2347 butrkhnthihakhxngnayaedn brdelyaelanangyunich bich brdely bidaekidthiemuxngaehmedn rthkhxnentthikht kxncayaykhrxbkhrwmayngemuxngmaresllsemux ph s 2288 bidakhxnghmxbrdelyepnphuhnungthierimkxtngemuxngmareslls swnmarda yunich esiychiwitemuxwnthi 19 krkdakhm ph s 2347 emuxxayu 38 pi hlngcakthikhlxdhmxbrdely thancungidmardaeliyngkhux aennsi duaelinwyedk 1 brdelyeluxksuksawichaaephthyephraainsmynntxngkarmichchnnariepnxyangmak rayaaerksuksakb dr ex exf oxliewxr thiemuxngephnnaeyn odyphyayamaekikhkarphudtidxangsungepnmatngaetwyrunodykarekhaklumfukphud ekhaekhyipfngbrryaythangkaraephthythihaewirdin kh s 1830 aelaklbipfukptibtingankaraephthy slbkbkarepnkhruinhmuban emuxsasmenginidephiyngphxcungiporngeriyaephthythikrungniwyxrk ephuxeriynaelasxbidrbpriyyaaephthyineduxnemsayn kh s 1833 rahwangxyuthiniwyxrkidptibtinganhakhwamchanay cnsmkhrepnaephthymichchnnarikbkhnakrrmkarphnthkickhristckrophnthael American Board of Commissioners for Foreign Missions ephuxthanganinexechiy 2 edinthangmayngsyam aekikh brdelyxxkedinthangphrxmphrrya exmili cakemuxngbxstn emuxwnthi 2 krkdakhm ph s 2377 phrxmmichchnnariklumhnungsungcaedinthangipphma odysarmakberuxchuxaekhchemiyr ichewla 157 wn cnthungemuxngthaaexmehist khxngphma pccubnkhuxemuxngickhami emuxwnthi 6 thnwakhm ph s 2377 cnwnkhunpiihm 1 mkrakhm ph s 2378 eruxmathxdsmxthiekaapinng aelwedinthangtxmathungsingkhopr 12 mkrakhm ichewla 6 eduxnkwacathungsingkhopr emuxmathungsingkhopridphkxasyxyukbsmakhmmichchnnariaehnglxndxn London Missionary Society odyphyayameriynphasaithykbchawxinediyinsingkhopr aelaedinthangxxkcaksingkhopremuxwnthi 9 krkdakhm eruxmathxdsmxxyunxksndxnaemnaecaphrayatngaetecha ewla 7 00 n khxngwnthi 16 krkdakhm rxnakhunaelakhnnarxng inthisuderuxphansndxnidwnthi 18 krkdakhm cungidlngeruxyawphrxmkbsmpharabangswnekhamayngkrungethph mathungpaknaewlaethiyngwn aelathungkrungethph ewla 21 00 n khxngwnthi 18 krkdakhm ph s 2378 sungtrngkbwnekidpithi 31 phxdi 2 brdelyphkxasyxyuaethwwdekaa saephng wdsmphnthwngsaramwrwihar odyxasyphkrwmkbkhrxbkhrwkhxngsasnacarystiefn cxhnsn hmxbrdelyepidoxsthsalakhunepnthiaerkinsyam ephuxthakarrksa cayyaaelahnngsuxekiywkbsasnaihkbkhnikh aetenuxngcakinyannnmichawcinxasyxyu kickarnicungthukephngelngwaxacthaihchawcinkradangkraeduxngtxrthbalsyamid 3 cungkddnihecakhxngthidinkhuxnayklin imihmichchnnariechaxiktxip txmacungyayipxyuaethwkudicin thiepnyankhxngchawoprtueks echabanthiplukihfrngechakhxngecaphrayaphrakhlng sungtxmakhuxsmedcecaphrayabrmmhaprayurwngs dis bunnakh briewnhnawdprayurwngsawaswrwihar odyhmxbrdelyaelakhnamichchnnariddaeplngbanechathiphkaehngihmniepn oxsthsala epidthakaremux 30 tulakhm ph s 2378thibanphkaehngihmni ekhaidthakarphatdkhrngsakhyinprawtisastrkaraephthykhxngithy odytdaekhnihaekphiksuruphnung emuxwnthi 13 mkrakhm ph s 2380 phraphiksurupnnprasbxubtiehtucakkrabxkbrrcudindathaphluaetk innganchlxngthiwdprayurwngs sungprasbkhwamsaercdicnepnthieluxnglux ephraaaetkxnkhnithyyngimruwithiphatdrangkaymnusyaelwyngmichiwitxyudi 4 hmxbrdelyidthakarrksakhnikhcnmichuxesiyng swnphrrya exmili ekhaipepnkhrusxnphasaxngkvsinwng khaichcayerimsungkhuneruxy immiikhrsnbsnun hmxcunghanganesrimmaeliyngkhrxbkhrw cnhnwyngandankickarsasnainxemrika khxyutikarsnbsnunpharkickhxngmichchnnariinsyam aelakhxihykthimedinthangklbxemrika swnhmxbrdelykalnghmdtw aetkhnamichchnnariidthingekhruxngphimphiwih cnhmxhnmathumethdankarphimph cnpradisthxksrithysaerc emux ph s 2395 aelaidthunrbcangphimphcakthangrachkarsyam 3 klbxemrikaaelaklbmayngsyam aekikh susanhmxbrdely cnphrryathiepnkhrusxnphasaxngkvsihrachsanksyammanan 10 pilmpwyaelaesiychiwitdwywnorkh cungphaluk 4 khnthiekidinsyamklbipxemrika epnewla 3 piess sngluksuksathixemrika dinrncnidrbthunsnbsnuncaksmakhmmichchnnarixemriknepnphlsaerc aelaidphbrkihmkbphrryaihm sarah blkli Sarah Blachly bnthitcakwithyalyoxebxrlin rthoxihox hlngaetngngankklbsyamephuxthanganthikhangiwinsyamemux 3 pikxn karklbmakhrngni idphimphhnngsuxphimphithychbbaerk bangkxkrikhxredxr epnthngbrrnathikaraelaekhiynbthkhwamexng aelaidphimphhnngsuxtang xikhlayelm swnphrrya sarah ksxnphasaxngkvsinrachsank hmxbrdelyyngrierimkarplukfi thikalngrabadinsyam 3 6 kumphaphnth ph s 2395 phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwphrarachthanthidinihhmxbrdely rwmthungmichchanari idsrangorngphimphbriewnpakkhlxngbangkxkihy khangpxmwichyprasiththi pccubnxyuinekhtbangkxkihy phraxngkhesdcipsnthnaphasaxngkvsaelaeruxngrawkhwamkawhnathangwithyasastrkbekhaaelaaehmmsarahthibanxyubxykhrng 3 brdelyesiychiwitemuxwnthi 23 mithunayn ph s 2416 xayu 69 pi sphfngthisusanopretsaetnt thiiklorngnganyasub thnntk sungyngmixyumathungthukwnniinthanahmxsxnsasna aekikhbrdelysmkhrepnmichchnnarikbkhnakrrmkarphnthkickhristckrophnthael American Board of Commissioners for Foreign Missions odyeriynsasnsastrdwytwexng txmaphayhlngekhaechuxhlksasnsastreruxng khrisetiynsmburnaebb Christian perfection khxngchals finniy odyechuxwa khrisetiynthabapimid ekhaechuxwakhnmisxngphwkethann khuxkhnchxbthrrmaelaxthrrm 5 singthibrdelythaepnpracakhwbkhukbkarrksakhnecbpwythikhlinikkhuxkarethsnaelakarxthibaythungphraecaaethcring ekhacaipethsnxthibaykhxkhwaminphrakhmphirthukaehngthimioxkasimwacaepnthiwd echnemuxkhrngipekhaefaphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwkhnathithrngphnwchxyuthiwdrachathiwasrachwrwihar kthuxoxkasethsnihphrasngkh hruxemuxiprksakhnecbpwyinwngkethsnihchawwng yngmikaraeckaephnpliwthiphimphepnphasaithy cakkaraepldwytwexng aelamikhruphasaithychwyeriyberiyngihinrayaaerk brdelyyngaewakhuneruxsaephathicxdrimaemnaecaphraya aethbthadinaedng rachwngs khlxngsan eruxymacnthungbangrk yannawa aeckaeklukeruxchawaetciw 2 inthanaaephthy aekikh karxyuifkhxngmardahlngkhlxd brdelyepnphunaaephthyaephnpccubn aebbtawntk ekhamahlayprakar thngkarphatdaelakarpxngknorkh hmxbrdelyepidsthanphyabalrksaphupwyinbangkxkepnkhrngaerkemuxwnthi 4 singhakhm ph s 2374 6 inkarrksaorkhinrayaaerk ekhacatrwcphupwyidepncanwnmakekuxb 70 100 khn inewla 3 4 chwomng swnmakinchwngechamikhnchwycdyaaelaaeckibpliwkhxkhwaminphrakhmphirdwyinpiaerkecafanxy phrabathsmedcphrapineklaecaxyuhw idesdcmaeyiym elaihfngeruxngpraephnikarxyuifkhxngmardahlngkhlxd hmxbrdelyidesnxxyakcasxnihkhnithybangkhnruckphasaxngkvsaelsxnwichaaephthythimi odyinchwngthimikarplukfi mihmxhlwngmasuksakbhmxbrdely aelayngekhiynhnngsuxephuxsxnhmxchawsyam ekhiynbthkhwamxthibaywithikarplukfi inphayhlngrchkalthi 3 idphrarachthanrangwlih 250 bath ethakb 145 dxllarxemrikninsmynn taraaephthyaephnpccubnelmaerknichuxwa khrrphthrksa 7 mikhwamhna 200 hna miphaphprakxbfimuxkhnithypraman 50 phaph mienuxhaekiywkbxakarkhxngorkhinkarkhlxdaelawithikaraekikhrksa kbphyayamsxnihkhnithyelikthrrmeniymkarxyuif sungepnsaehtusakhythithaihmardahlngkhlxdesiychiwitsingthisrangchuxesiyngihbrdely khuxkarphatd mikarphatdkxnenuxthihnaphakkhxngphupwyrayhnungemuxwnthi 24 singhakhm kh s 1835 odyimmiyaslb aelaxikhnungkarphatdthiidrbkarcarukiwkhuxemuxwnthi 13 mkrakhm kh s 1837 ekidehturaebidkhxngpunihythinganwdbriewnwdprayurwngsawas mikhntay 8 khn aelabadecbcanwnmak ekhaidtdaekhnkhxngchayhnumkhnhnungthungehluxhwihl inphayhlngwnthi 7 knyayn kh s 1840 hmxbrdelyidbnthukiwwa idtdaekhnedkthiidrbxubtiehtubneruxfrngess nxkcakniyngmikarbnthukwa wnthi 2 phvscikayn kh s 1837 ekhaidichewlathngwninkaraekikhkrambnkhxngchaythikramhkinnganwnemux 6 wnkxn 2 inbnthukkhxngbrdely yngbnthukkarphatdrksatxkrackhlaykhrng rwmthungkarphatdtxenux echn emuxwnthi 10 phvscikayn kh s 1836 miphraphiksuruphnungcaksuokhthyedinthangma 15 wn phaphichaythitabxdephraakarxkesbmatrwc aetchaekinkwacarksa hlngcaknn 4 thnwakhm kh s 1836 phraphiksurupedimphaphracaksuokhthy 5 rup matrwcta miruphnungxayu 80 pi epntxenux kidrbkarphatdlxktxxxkid yngmikarphatdtxkrackkhunnangchnsung echn emuxwnthi 18 minakhm kh s 1844 ekhaidphatdtxkrackecaphrayaphlethph xayu 73 pi sungxik 2 eduxntxmaidihisaewnkehnidchdecndi 2 nganphimph aekikhsingphimph aekikh bangkxkrikhxedx hnngsuxphimphchbbaerkkhxngithy brdelythuxepnphubukebiknganphimphinpraethsithy phumihlngnacaidmacakbidasungepnbrrnathikarhnngsux aelakarsnicinwrrnkhdiaetedk karphimphinyukhaerkkhxngekhamungenneruxngthangsasna odyidaeplaelaphimphhnngsux ibpliwthiekiywkbsasnakhristepncanwnmak odyimyxmphimphhnngsuxeruxngthangolkxun ykewneruxngthangkaraephthyaelaexksarkhxngrachkar enuxngcakhmxbrdelyidphthnaxksraelaaethnphimphihehmaasm thaihrachsanksyamwacangihtiphimphexksarprakaskhxngrachkar xyang prakashammiihkhnsubaelkhakhayfincanwn 9 000 chbb pikun ph s 2382 xxkephyaephrihaekrasdr 8 sungnbwaepnexksarthangrachkarithychinaerkthiidcdphimphkhun 9 aettxmahlngcakklbcakxemrikaaelathungkrungethph inwnthi 28 phvsphakhm kh s 1850 mikhwamcaepntxngphungtwexngmakkhun cungerimphimphnganxun thiimekiywkhxngkbsasna echn phimphniraslxndxn khxnghmxmraochthy hmxmrachwngskratay xisrangkur in ph s 2404 odyidsuxlikhsiththicakhmxmraochthydwycanwnengin 400 bath thuxepnkarsuxkhaylikhsiththiinkarphimphhnngsuxkhrngaerkinpraethsithy aelaidcdphimphhnngsuxdwytwxksrlawkhunepnkhrngaerkdwy mikartiphimph phumiprawtisastrkhxngpraethsfrngess phimphtaraeriynphasaithy echn prathm k ka cindamni hnngsuxkdhmay thngyngphimpheruxnginwrrnkhditang echn rachathirach samkk eliydkk ishn 10 aelakxncaesiychiwitinpi 1873 idtiphimphphcnanukrmithy chux xkkhraphithansrbth 2 nxkcakniekhayngepnphurierimkarphimphhnngsuxphimphinaenwcdhmayehtu thichux bangkxkrikhxedx thuxepnhnngsuxphimphphasaithychbbaerk chbbaerkxxkemux 4 krkdakhm ph s 2387 epnexksarchntnsungbnthukkhawsarehtukarnsakhythnginpraethsaelatangpraeths enuxhainaetlachbbmikhxmulsingpradisth ethkhonolyiwithyasastr karaephthyaelakarsatharnsukh tlxdcnihkhxmulsinkhakhxngsyamaelatangpraeths khasphthsanwnphasaxngkvs phngsawdartangchati l 11 hmxbrdelynaesnxkhawsarxyangklahayaelarkkhwamepnthrrm twxyangechnemuxkngsulfrngesschwnkhathasithyihekhaipxyuinkhwamkhumkhrxngkhxngfrngessaelaepntwaethncahnaysuraodyimbxkrthbalithythrab emuxlnghnngsuxphimphkthukfxngrxngaelathukprb aetfrnginithychwyknrwmrwmengincaykhaprbaethn odyrchkalthi 4 phrarachthanenginsmthbdwy 12 brdelyyngrierimkareybelm ekhapkaebbhnngsuxtawntk cungeriykwa smudfrng 9 aelaphimphptithinsuriykhtiepnphasaithykhunepnkhrngaerk twphimph aekikh kxnyukhhmxbrdely karphimphaelahlxtwphimphphasaithymikhunaelw aetthaknintangpraeths phlnganinyukhaerk echn hnngsux James Low s Thai Grammar ichtwphimphsungcdthaodymichchnnaristrichawxemriknchux aexn aehseslithn cdsn aelachangphimphthichuxnayhf kareriyngtwaelacdphimphthakhunthixinediyaelaphma inraw ph s 2370 emuxekhathungkrungethph kidnatwphimphchudniekhamaichinorngphimphkhxngekha txmain ph s 2382 idrbcangrachkarithyphimphexksar aephnprakashamsubfin exksarniichtweriyngsungsuxcaksingkhopr cnmikarhlxtwphimphinpraethsithysaerckhrngaerkin ph s 2384 phlnganchinaerk echn khrrphthrksaswntwphimphthieriykknwa brdelyehliym ichinphlnganrunthdma praktichkhrngaerkin bangkxkrikhxredxr sungxxkin ph s 2387 aebbxksrkhxngbrdelyehliymnn thaythxdmacaktwekhiynlaymux snnisthanidwamacaklaymuxaebbxalksn xacphblaymuxkhlayknniinsmudkhxy sungekhiynkhuninyukhtnrtnoksinthrhlayelm twxksrkhxngbrdelyehliym thaephuxihaekangaykhun echn ddtwihtrng miesnnxndanbn sunghkmumehliymepnbukhliksakhy mirupthrngaelasdswnkhxngxksrthiaennxn echn k ik mikhwamkwangyawepnsdswnraw 2 tx 3 aelamirupthrngsiehliynphunphaaenwtng yngprbprungokhrngsrangxun echn thaesntnghrux kha ihtngchakkbesnnxn kahndhwklmoprngihmiexkphaphaelataaehnngaennxn esnmikhwamhna aelakarhkmumethiyngtrngaebberkhakhnit duepnraebiybmakkhun twxksrbrdelyehliymyngsrangmatrthanihmkhxngxksrithy thuxknwaepnkarwangthansakhyihaektwphimphithy 13 nxkcaknnyngmitwxksr brdelyokhng phimphkhrngaerkin nirasemuxnglxndxn khxnghmxmraochthy kratay brdelyokhngchudnimi 2 khnad in bangkxkrikhxredxr sungxxkchwngpi 2408 ichbrdelyokhngepntwphadhw 13 phlngan aekikh phlngankartiphimphkhxngbrdelythixxkmaepnrupelm odyhnngsuxeruxngaerkthiphimphaetyngimxxkepnrupelm khux phrakittikhunkhxngphraeysukhrist hnngsuxtang ehlaniphimphepnphasaithy kh s 1837 karsrangolk prawtiphrakhrist lksnaaelaphrabyytikhxngphrayaohwah prawtiphraphuththaelaphrakhristodyepriybethiyb hnthangthiaethsuswrrkh kh s 1838 bthephlngephuxdwngwiyyan rwm 72 bth khatdsinsudthay khasxnkhxngnkbuy kh s 1839 khmphirkarplukfi kh s 1841 khwameriyngwadwyfin culsarwadwywthnthrrmxinediy kh s 1842 prawtiphrakhmphiredim txnthi 4 khwameriyngwadwykhwamchwraykhxngkaresphsura khwameriyngwadwybutrphurkdi khwameriyngwadwylasarsaelakhndana khwameriyngwadwythutswrrkh khwameriyngwadwykhawsaliaelaphachna kh s 1843 khaphirkhrrphthrksa prawtiphrakhmphiredim txnthi 5 kh s 1844 cdtharangphcnanukrmbali kh s 1845 prawtiphrakhmphiredim txnthi 6 kh s 1846 eruxngkhxngaedeniyl kh s 1847 eruxngkhxngoyesf kh s 1859 kdhmaywadwykarcxderux kh s 1860 niraslxndxn cindamni kh s 1863 phumisastraelaprawtisastrkhxngpraethsfrngess kh s 1864 phrarachphngsawdar chbbhmxbrdel kh s 1865 samkk kh s 1870 eliydkk kh s 1872 ishn kh s 1873 xkkhraphithansrbthnganhlwng aekikhbrdelyichwichakaraephthyaephntawnrksaphupwykhnithyepncanwnmak cnphwkkhunnangaelakharachkarithyidrbbrikarcakthandwy kittisphthniekhathungphrakrrnecafamngkudsungphnwchxyuthiwdrachathirach phraxngkhrbsngihhmxbrdelyekhaefa ephuxthwaykarrksaphraorkhlmxmphatthiekidaekphraphktrkhxngphraxngkh txmayngekhathwayphraoxsthichrksa inwnthi 23 emsayn ph s 2379 phlkarrksa idphldithaihxakarkhxngphraorkhthuelalngmak thaihhmxbrdelyidekhaiklchidebuxngphrayukhlbath cnoprdepnphrashaykhnhnunginewlatxma dngcaehnidcakkaroprdihhmxbrdely ekhathwayphraxksrphasaxngkvsin ph s 2362 ecanaythioprdhmxbrdelymakxikphraxngkhkhux ecafacuthamni phrabathsmedcphrapineklaecaxyuhw swnkhunnangthisnithsnmkbhmxbrdely khux hlwngnangsiththi chwng bunnakh sungtxmakhux smedcecaphrayabrmmhasrisuriywngs chwng bunnakh 14 brdelyekhamainsyaminyamthichnchnnakalngprbprungolkthsntnexng odyechphaahlngkarkhunkhrxngrachykhxngphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw aelaecanayfaynn phrxmkbkarkhunmaepnhwhnakhunnangkhxngecaphrayasrisuriywngs chwng bunnakh sungepnkhunnanghwkawhnamatngaetsmymichchnnarierimekhasusyam cakbnthukkhxnghmxbrdely inpiaerk idphudkhuykbkhunnangchnsunghlaykhn thngskthamthungwithyakaraephnihmechnkaraephthy odybnthukiwwa emuxkhnchnpkkhrxnginemuxngithymikhwamkrahaythicaeriynrukhwamecriyaebbyuorpechnni kyxmthaihphwkeraekidmiicmumanathicaxyu aelaptibtikickarkhxngeratxipepnxnmak 15 ekhayngepnphurangaelaaeplcdhmayphasaxngkvsthwaytlxdcnthrngpruksabrdelyinbangkrnithiepneruxngekiywkbaebbaephnwthnthrrmtawntk bangkhrngekhaepnlaminkarecrcathasyyakarkhakbtawntkdwy 16 chiwitswntw aekikhbrdelysmrskbphrryakhnaerk exmili rxys brdely Emilie Royce Bradley emuxmaemuxngithyrblukkhxngmichchnnaridwyknepnbutrbuythrrmkhnhnung aelaphrryamilukxik 2 khn rwmmibutrepn 3 khn aetexmiliesiychiwit in ph s 2388 dwyorkhwnorkhaelasphidfngxyuinpraethsithy caknn ph s 2390 klbxemrikaodyphabutraelabutrbuythrrmklb aelaklbmaemuxngithyxikkhrngpi ph s 2393 miphrryaihmchux sarah brkliy brdely Sarah Brachly Bradley khngphkxyuinsyamodyimidklbxemrikaelytlxdchiwit ethxesiychiwitemuxwnthi 16 singhakhm ph s 2436 xayu 75 pi xyusyamrwm 43 pi swnlukkhxngethx 4 khnedinthangklbipichchiwitinxemrika mibutrchaychux khxrenlixus bi brdely Cornelius 9 luksawkhnhnungkhxnghmxphkxasyinbanhlngnitxipcnesiychiwitdwyorkhchra aelamxbthidindngklawihkxngthpherux 3 echingxrrth aekikh bangsakdepn hmxbrdel hmxpldel hmxprdel hrux hmxprdelyxangxing aekikh khthawuth olkaphthnaaelarkxram pitkannth Marcellus banekidhmxbrdely nitysarsilpwthnthrrm chbbthi 9 krkdakhm 2547 hna 68 71 2 0 2 1 2 2 2 3 2 4 2 5 khthawuth olkaphthna hmxbrdely nitysarsilpwthnthrrm chbbthi 9 krkdakhm 2547 hna 77 86 3 0 3 1 3 2 3 3 3 4 niphthth thxngelk 27 knyayn 2559 hmxpldel hmxethwdathimathanganinsyam ody phlexkniphthth thxngelk silpwthnthrrm subkhnemux 27 singhakhm 2561 Check date values in accessdate date help thchchy yxdphichy oxsthsalahmxbrdely nitysarsilpwthnthrrm chbbthi 3 mkrakhm 2552 hna 110 115 xublwrrn michuthn hmxbrdelykbkarprakassasnainsyam nitysarsilpwthnthrrm chbbthi 9 krkdakhm 2547 hna 87 95 xyuifhlngkhlxd inkhwamthrngcaaehngxdit hmxephythima xyuif hlngkhlxd miaekhithyethannthwolkimtha aecngchdditxkhunaemhruxim bangkxkrikhxredxr hnngsuxphimphchbbaerkkhxngithy 9 0 9 1 9 2 karnakarphimphtwxksrithyekhamainemuxngithy hmxbrdely bidaaehngwngkarphimphkhxngithy bangkxkrikhxrdedxr The Bangkok Recorder hnngsuxphimphchbbaerkkhxngithy edxa kud edxa aebd aexnd di xkli 2 13 0 13 1 pracha suwirannth brdely twphimphkbkaenidolkthsnihm nitysarsilpwthnthrrm chbbthi 9 krkdakhm 2547 hna 72 74 khwamepnmakhxngkarwicy xkkhraphithansrbth khcr sukhphanich khxmulprawtisastrsmybangkxk krungethph khuruspha 2531 hna 129 thens xaphrnsuwrrn hmxbrdelykb American Orientalism insyam nitysarsilpwthnthrrm chbbthi 9 krkdakhm 2547 hna 96 107aehlngkhxmulxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb aedn bich aebrdliyobrankhdiithy 200 pihmxbrdely hmxbldelykbhnngsuxphimphithy Historic Missionaries in Buddhist World xngkvs ekhathungcak https th wikipedia org w index php title aedn bich aebrdliy amp oldid 9490081, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม