fbpx
วิกิพีเดีย

อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง

เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (อังกฤษ: Sir Alexander Fleming) เป็นแพทย์ นักชีววิทยา นักเภสัชวิทยา และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1881 ในดาร์เวล ประเทศสก็อตแลนด์ ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือการค้นพบเอนไซม์ไลโซไซม์ในปี ค.ศ. 1923 และการค้นพบสารเบนซิลเพนนิซิลิน (เพนนิซิลิน จี) จากเชื้อรา pennicilium notatum ในปี ค.ศ. 1928 ซึ่งนำไปสู่การพัฒนายาปฏิชีวนะตัวแรกของโลก การค้นพบนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ. 1945

เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง
เกิด06 สิงหาคม ค.ศ. 1881(1881-08-06)
ล็อกช์ฟิลล์, อีสอายไชร์, สก็อตแลนด์
เสียชีวิต11 มีนาคม ค.ศ. 1955 (73 ปี)
ลอนดอน, อังกฤษ
พลเมืองสหราชอาณาจักร
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจากการค้นพบเพนิซิลิน
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาแบคทีเรียวิทยา, ภูมิคุ้มกันวิทยา

ประวัติและการศึกษา

เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง เกิดวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1881 ที่ดาร์เวล เมืองอีสต์อายร์ไชร์ ประเทศสก็อตแลนด์ ตอนเหนือของสหราชอาณาจักร เขาเป็นลูกคนที่ 3 จากทั้งหมด 4 คน ของ ฮิวจ์ เฟลมมิง ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในวัยเด็กเขาเป็นเด็กซุกซนและฉลาดหลักแหลม

เฟลมมิงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนโลวเดินส์ มัวร์ และโรงเรียนดาร์เวล ก่อนที่เขาย้ายไปยังลอนดอน นอกจากนี้ เขายัง ได้รับทุนการศึกษา 2 ปีเต็มจากคิวมาร์น็อก อะคาเดมีอีกด้วย เมื่อย้ายไปยังลอนดอนเขาได้เข้าศึกษาที่สถาบัน รอยัล พอลีเทคนิค หลังจากทำงานอยู่ในบริษัทขนส่งสินค้าเป็นเวลาสี่ปี เฟลมมิ่งในวัย 20 ปี ก็ได้รับการเชิญชวนให้เช้าศึกษาวิชาแพทย์ จากทอม พี่ชายของเขาซึ่งเป็นแพทย์ ในปี1903 เขาจึงได้เข้าศึกษาที่โรงพยาบาลเซนต์แมรี่ เมืองแพดดิงตัน ในอีกสามปีต่อมา เขาได้รับปริญญาสาขาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตและศัลยศาสตร์บัณฑิต หลังจากจบการศึกษา เขาได้เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยด้านแบคทีเรียวิทยาของ เซอร์ อาร์มร็อท ไรท์ ผู้บุกเบิกการรักษาด้วยวัคซีนได้รับและวิชาการศึกษาระบบภูมิคุ้มกัน ในปี1908 เขาปริญญาอีกใบจากสาขาวิทยาศาสตร์บัณฑิต ด้วยเกียรตินิยมเหรียญทอง จากนั้นเขาได้ทำงานเป็นอาจารย์ที่สถาบันเดิมจนถึงปี 1914 ใน ช่วงปี1914 – 1918 เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เฟลมมิงได้เข้าร่วมในสงครามในฐานะแพทย์ภาคสนามในแนวรบด้านตะวันตก ประเทศฝรั่งเศส ร่วมกับเพื่อนร่วมงานของเขา หลังจากสงครามจบ เขาจึงกลับไปทำงานที่โรงพยาบาลเซนต์แมรี่ ซึ่งในปี 1928 เขาได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ในด้านแบคทีเรียวิทยาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน จากนั้น ในปี 1951 เขาได้รับเลือกให้เป็นอธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระ

ผลงานการศึกษาวิจัย

ก่อนการค้นพบเพนิซิลิน

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เฟลมมิงเห็นทหารจำนวนมากเสียชีวิตจากภาวะพิษเหตุติดเชื้อ เฟลมมิงพยายามช่วยรักษาแผลโดยใช้ยาฆ่าเชื้อโรค แต่ยาฆ่าเชื้อโรคกลับทำให้แผลบาดเจ็บเหล่านั้นมีสภาพแย่ลง ในบทความที่เขาได้ส่งไปยังวารสารทางการแพทย์ แลนด์เซทในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เฟลมมิงได้กล่าวถึงการทดลองอันชาญฉลาดซึ่งสามารถอธิบายเหตุผลที่ยาฆ่าเชื้อเหล่านั้นใช้ไม่ได้ผลและทำให้แผลเหล่านั้นมีอาการแย่ลง เขาอธิบายว่ายาฆ่าเชื้อใช้ได้ผลดีเฉพาะระดับผิวหนัง แต่สำหรับแผลลึกยาฆ่าเชื้อจะเข้าไปทำลายแบคทีเรียที่มีประโยชน์ เซอร์ อาร์มร็อท ไรท์ ได้สนับสนุนการค้นพบครั้งนี้เป็นอย่างมาก แต่แพทย์ทหารก็ยังคงใช้ยาฆ่าเชื้อตัวเดิมในการรักษาแม้ว่าจะทำให้บาดแผลแย่ลงก็ตาม เมื่อกลับมาที่โรงพยาบาลเซนต์แมรี่ ได้กลับมาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารต้านแบคทีเรีย และได้ค้นพบไลโซไซม์ ซึ่งเป็นสารยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียในสารคัดหลั่งจากจมูก

การค้นพบเพนิซิลิน

ในปี 1927 เฟลมมิงได้ทำการศึกษาคุณสมบัติของ Staphylococcus ในขณะนั้นเขาได้รับการยอมรับว่าเป็นนักวิจัยที่ชาญฉลาด แต่ห้องแล็ปของเค้ามีสภาพที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ในวันที่ 3 กันยายน 1928 เฟลมมิงกลับมายังห้องแล็ปของเขาหลังจากลาพักร้อนกับครอบครัวในเดือนสิงหาคม ก่อนนั้นเขาได้วางถาดเพาะเลี้ยงเชื้อไว้บนม้านั่งที่มุมห้อง เมื่อกลับมาเขาได้พบว่ามีถาดเพาะเชื้ออันหนึ่งเกิดการปนเปื้อนด้วยเชื้อรา และในบริเวณที่เชื้อราเกิดขึ้นนั้นแบคทีเรียถูกทำลายไป เขาได้นำถาดเพาะเชื้อชิ้นนั้นไปเพาะเลี้ยงต่อ แล้วพบว่าเชื้อรานั้นได้ฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิด ในวันที่ 7 มีนาคม 1929 เขาได้ตั้งชื่อสารนั้นว่าเพนนิซิลิน

รางวัลและเกียรติยศ

การค้นพบโดยบังเอิญของเฟลมมิงและการสกัดสารเพนนิซิลินในเดือนกันยายน 1928 เป็นจุดเปลี่ยนของการแพทย์สมัยใหม่ เป็นยุคของการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งตัวยาเพนนิซิลินได้ถูกใช้รักษาชีวิตคนจำนวนหลายล้านคนจนถึงปัจจุบัน จากการค้นพบดังกล่าว ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี 1945 นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องจากสถาบันต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยลอนดอน สถาบันรอยัล พอลีเทคนิค (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเวสมินสเตอร์) และได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินจากพระเจ้าจอร์จที่ 6

อ้างอิง

  1. Colebrook, L. (1956). "Alexander Fleming 1881-1955". Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society. 2: 117–126. doi:10.1098/rsbm.1956.0008. JSTOR 769479.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NobelPrizeBio
  3. "Alexander Fleming Biography". Les Prix Nobel. The Nobel Foundation. 1945. สืบค้นเมื่อ 27 March 2011.
  4. Hugh, TB (2002). "Howard Florey, Alexander Fleming and the fairy tale of penicillin". The Medical journal of Australia. 177 (1): 52–53, author 53 53. PMID 12436980.
  5. Cruickshank, Robert (1955). "Sir Alexander Fleming, F.R.S". Nature. 175 (4459): 663. doi:10.1038/175663a0.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ชีวประวัติอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง
  • Time, March 29, 1999, Bacteriologist ALEXANDER FLEMING
  • สถานที่และบันทึกความจำที่เกี่ยวข้องกับอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง
  • อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง

อเล, กซานเดอร, เฟลมม, เซอร, งกฤษ, alexander, fleming, เป, นแพทย, กช, วว, ทยา, กเภส, ชว, ทยา, และน, กพฤกษศาสตร, ชาวสก, อตแลนด, เก, ดเม, อว, นท, งหาคม, 1881, ในดาร, เวล, ประเทศสก, อตแลนด, ผลงานท, อเส, ยงท, ดของเขาค, อการค, นพบเอนไซม, ไลโซไซม, ในป, 1923, และการค,. esxr xelksanedxr eflmming xngkvs Sir Alexander Fleming epnaephthy nkchiwwithya nkephschwithya aelankphvkssastrchawskxtaelnd ekidemuxwnthi 6 singhakhm kh s 1881 indarewl praethsskxtaelnd phlnganthimichuxesiyngthisudkhxngekhakhuxkarkhnphbexnismilosisminpi kh s 1923 aelakarkhnphbsarebnsilephnnisilin ephnnisilin ci cakechuxra pennicilium notatum inpi kh s 1928 sungnaipsukarphthnayaptichiwnatwaerkkhxngolk karkhnphbnithaihekhaidrbrangwloneblsakhasrirwithyahruxkaraephthyinpi kh s 1945 3 4 5 esxr xelksanedxr eflmmingekid06 singhakhm kh s 1881 1881 08 06 lxkchfill xisxayichr skxtaelndesiychiwit11 minakhm kh s 1955 73 pi lxndxn xngkvsphlemuxngshrachxanackrsisyekaRoyal Polytechnic Institutionwithyalyaephthy orngphyabalesntaemrirachwithyalylxndxnmichuxesiyngcakkarkhnphbephnisilinrangwlFRS 1943 1 rangwloneblsakhasrirwithyahruxkaraephthy 1945 2 FRSE FRCS Eng Knight Bachelor 1944 xachiphthangwithyasastrsakhaaebkhthieriywithya phumikhumknwithya enuxha 1 prawtiaelakarsuksa 2 phlngankarsuksawicy 2 1 kxnkarkhnphbephnisilin 2 2 karkhnphbephnisilin 3 rangwlaelaekiyrtiys 4 xangxing 5 aehlngkhxmulxunprawtiaelakarsuksa aekikhesxr xelksanedxr eflmming ekidwnthi 6 singhakhm kh s 1881 thidarewl emuxngxistxayrichr praethsskxtaelnd txnehnuxkhxngshrachxanackr ekhaepnlukkhnthi 3 cakthnghmd 4 khn khxng hiwc eflmming sungprakxbxachiphekstrkrrm inwyedkekhaepnedksuksnaelachladhlkaehlmeflmmingekharbkarsuksathiorngeriynolwedins mwr aelaorngeriyndarewl kxnthiekhayayipynglxndxn nxkcakni ekhayng idrbthunkarsuksa 2 pietmcakkhiwmarnxk xakhaedmixikdwy emuxyayipynglxndxnekhaidekhasuksathisthabn rxyl phxliethkhnikh hlngcakthanganxyuinbristhkhnsngsinkhaepnewlasipi eflmminginwy 20 pi kidrbkarechiychwnihechasuksawichaaephthy cakthxm phichaykhxngekhasungepnaephthy inpi1903 ekhacungidekhasuksathiorngphyabalesntaemri emuxngaephddingtn inxiksampitxma ekhaidrbpriyyasakhaaephthysastrbnthitaelaslysastrbnthit hlngcakcbkarsuksa ekhaidekhathanganepnphuchwydanaebkhthieriywithyakhxng esxr xarmrxth irth phubukebikkarrksadwywkhsinidrbaelawichakarsuksarabbphumikhumkn inpi1908 ekhapriyyaxikibcaksakhawithyasastrbnthit dwyekiyrtiniymehriyythxng caknnekhaidthanganepnxacarythisthabnedimcnthungpi 1914 in chwngpi1914 1918 ekidsngkhramolkkhrngthihnung eflmmingidekharwminsngkhraminthanaaephthyphakhsnaminaenwrbdantawntk praethsfrngess rwmkbephuxnrwmngankhxngekha hlngcaksngkhramcb ekhacungklbipthanganthiorngphyabalesntaemri sunginpi 1928 ekhaidrbtaaehnngepnsastracaryindanaebkhthieriywithyathimhawithyalylxndxn caknn inpi 1951 ekhaidrbeluxkihepnxthikarbdiaehngmhawithyalyexdinbaraphlngankarsuksawicy aekikhkxnkarkhnphbephnisilin aekikh chwngsngkhramolkkhrngthi 1 eflmmingehnthharcanwnmakesiychiwitcakphawaphisehtutidechux eflmmingphyayamchwyrksaaephlodyichyakhaechuxorkh aetyakhaechuxorkhklbthaihaephlbadecbehlannmisphaphaeylng inbthkhwamthiekhaidsngipyngwarsarthangkaraephthy aelndesthinchwngsngkhramolkkhrngthi 1 eflmmingidklawthungkarthdlxngxnchaychladsungsamarthxthibayehtuphlthiyakhaechuxehlannichimidphlaelathaihaephlehlannmixakaraeylng ekhaxthibaywayakhaechuxichidphldiechphaaradbphiwhnng aetsahrbaephllukyakhaechuxcaekhaipthalayaebkhthieriythimipraoychn esxr xarmrxth irth idsnbsnunkarkhnphbkhrngniepnxyangmak aetaephthythharkyngkhngichyakhaechuxtwediminkarrksaaemwacathaihbadaephlaeylngktam emuxklbmathiorngphyabalesntaemri idklbmakhnkhwaephimetimekiywkbsartanaebkhthieriy aelaidkhnphbilosism sungepnsarybyngkaretibotkhxngaebkhthieriyinsarkhdhlngcakcmuk karkhnphbephnisilin aekikh inpi 1927 eflmmingidthakarsuksakhunsmbtikhxng Staphylococcus inkhnannekhaidrbkaryxmrbwaepnnkwicythichaychlad aethxngaelpkhxngekhamisphaphthiimepnraebiyberiybrxy inwnthi 3 knyayn 1928 eflmmingklbmaynghxngaelpkhxngekhahlngcaklaphkrxnkbkhrxbkhrwineduxnsinghakhm kxnnnekhaidwangthadephaaeliyngechuxiwbnmanngthimumhxng emuxklbmaekhaidphbwamithadephaaechuxxnhnungekidkarpnepuxndwyechuxra aelainbriewnthiechuxraekidkhunnnaebkhthieriythukthalayip ekhaidnathadephaaechuxchinnnipephaaeliyngtx aelwphbwaechuxrannidkhaaebkhthieriythikxihekidorkhhlaychnid inwnthi 7 minakhm 1929 ekhaidtngchuxsarnnwaephnnisilinrangwlaelaekiyrtiys aekikhkarkhnphbodybngexiykhxngeflmmingaelakarskdsarephnnisilinineduxnknyayn 1928 epncudepliynkhxngkaraephthysmyihm epnyukhkhxngkarichyaptichiwna sungtwyaephnnisilinidthukichrksachiwitkhncanwnhlaylankhncnthungpccubn cakkarkhnphbdngklaw thaihekhaidrbrangwloneblinsakhasrirwithyahruxkaraephthyinpi 1945 nxkcakniyngidrbkarykyxngcaksthabntang echn mhawithyalylxndxn sthabnrxyl phxliethkhnikh pccubnkhux mhawithyalyewsminsetxr aelaidrbkaraetngtngepnxswincakphraecacxrcthi 6xangxing aekikh Colebrook L 1956 Alexander Fleming 1881 1955 Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society 2 117 126 doi 10 1098 rsbm 1956 0008 JSTOR 769479 xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imthuktxng immikarkahndkhxkhwamsahrbxangxingchux NobelPrizeBio Alexander Fleming Biography Les Prix Nobel The Nobel Foundation 1945 subkhnemux 27 March 2011 Hugh TB 2002 Howard Florey Alexander Fleming and the fairy tale of penicillin The Medical journal of Australia 177 1 52 53 author 53 53 PMID 12436980 Cruickshank Robert 1955 Sir Alexander Fleming F R S Nature 175 4459 663 doi 10 1038 175663a0 aehlngkhxmulxun aekikhchiwprawtixelksanedxr eflmming Time March 29 1999 Bacteriologist ALEXANDER FLEMING sthanthiaelabnthukkhwamcathiekiywkhxngkbxelksanedxr eflmming xelksanedxr eflmming bthkhwamekiywkbchiwprawtiniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmulekhathungcak https th wikipedia org w index php title xelksanedxr eflmming amp oldid 7133603, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม