fbpx
วิกิพีเดีย

เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล)

เจ้าพระยาพิษณุโลก (พ.ศ. 2262 - พ.ศ. 2311) (เขียนแบบเก่า "เจ้าพระยาพิศณุโลก" ,"--พิศณุโลกย์" ) เดิมชื่อ เรือง หรือ บุญเรือง เป็นเจ้าพระยามหานครผู้ครองหัวเมืองชั้นเอก ผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก และเป็นผู้ตั้งชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง มีราชทินนามขุนนางตามที่ปรากฏในทำเนียบพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง พ.ศ. 1998 ว่า “เจ้าพระยาสุรสีห์พิศณุวาธิราช ชาติพัทยาธิเบศวรธิบดี อภัยพิริยบรากรมภาหุ” เจ้าเมืองพิษณุโลกเอกอุหรือเจ้าเมืองขุนนางระดับ นา 10000 เอกอุ (นา 10000 ชั้นสูงสุด) ถือศักดินา 10000 และเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นต้นสกุล "โรจนกุล”

เจ้าพระยาพิษณุโลก
(เรือง)
เจ้าเมืองพิษณุโลก
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 227? ถึง พ.ศ. 2311
ก่อนหน้า เจ้าพระยาพิษณุโลก (เมฆ)
(พ.ศ. 2251-2275)
ถัดไป สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
(พ.ศ. 2313-2346)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด เรือง,บุญเรือง
พ.ศ. 2262
กรุงศรีอยุธยา
เสียชีวิต ราวเดือน 11 พ.ศ. 2311
เมืองพิษณุโลก
พลเมือง สยาม
สัญชาติ ไทย
คู่สมรส ท่านผู้หญิงเชียง
บุตร ไม่ปรากฏ
ที่อยู่ เมืองพิษณุโลก
ทรัพย์สินสุทธิ ศักดินา 10,000
ศาสนา พุทธ

ราชการและบรรดาศักดิ์

เจ้าพระยาพิศณุโลก (เรือง) เริ่มรับราชการตั้งแต่วัยเยาว์ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) แต่ไม่ปรากฏตำแหน่งใด กรมใด ส่วนในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศปรากฏว่าเคยรับราชการอยู่ด้วยกันกับหลวงพินิจอักษร (ทองดี) ฝ่ายอาลักษณ์ กรมมหาดไทย ในกรุงศรีอยุธยาและเป็นสหายที่สนิทสนมกันตั้งแต่นั้นมา บรรดาศักดิ์เท่าที่ปรากฏไว้มีดังนี้

  • หลวงมหาอำมาตยาธิบดี (เรือง) ตำแหน่งมหาดไทยฝ่ายเหนือ ขึ้นกับกรมมหาดไทย ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ไม่ทราบศักดินา)
  • พระราชฤทธานนพหลภักดี (เรือง) ตำแหน่งยกกระบัตรเมืองพระพิษณุโลก ขึ้นกับกรมวัง ศักดินา 3000 รั้งตำแหน่งพระปลัดเมืองพระพิษณุโลกในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (หัวเมืองพิษณุโลกมีปลัดเมือง 2 คน ไม่ปรากฏชื่อปลัดขุนนางคนที่ 2)
  • พระยาพิศณุโลก (เรือง) ตำแหน่งเจ้าเมืองพระพิษณุโลก ศักดินา 10000 (พระยาพานทอง) สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ขึ้นกับกรมมหาดไทย เมืองพิษณุโลก ปรากฏราชทินนามว่า พระยาสุรสุนทรบวรพิศณุวาธิราช ชาติพัทยาธิเบศวรธิบดี อภัยพิรียบรากรมภาหุ
  • เจ้าพระยาพิศณุโลก (เรือง) ตำแหน่งเจ้าเมืองพระพิษณุโลก ศักดินา 10000 เอกอุ (บรรดาศักดิ์ขุนนางชั้นสูงสุด) สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร และสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) พ.ศ. 2302 ปรากฏราชทินนามว่า เจ้าพระยาสุรสีห์พิศณุวาธิราช ชาติพัทยาธิเบศวรธิบดี อภัยพิริยบรากรมภาหุ สำหรับตำแหน่งเจ้าพระยามหานครผู้ครองหัวเมืองชั้นเอกดัง ให้รับราชการเจ้าเมืองที่เมืองพิษณุโลก แม้ไม่ได้เป็นเจ้านายแต่ก็ยังอยู่ในฐานะพิเศษ กล่าวคือ ศักดินาเจ้าเมืองเทียบเท่าอัครมหาเสนาบดีที่สมุหนายกและสมุหพระกลาโหม มียศสูงกว่าเสนาบดีชั้นจตุสดมภ์ และยังมีฐานะเปรียบได้ดั่งกษัตริย์ในบ้านเมืองของตน เพราะเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองหลวงในช่วงที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงครองราชย์ในช่วงราชอาณาจักรอยุธยาซึ่งเป็นช่วงที่มีส่งครามยืดเยื้อกับอาญาจักรล้านนา ไม่เพียงแต่เป็นเมืองพระมหาอุปราช แต่ยังเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่คอยดูแลหัวเมืองเหนือทั้งหมดและดูเหตุการณ์ด้านเมืองพม่าและเมืองมอญ

เจ้าพระยาสุรสีห์ ฯ นั้นเป็นราชทินนามประจำเจ้าเมืองพิษณุโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สำหรับขุนนางบรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยา และพระญาติพระวงศ์ที่ครองหัวเมืองพิษณุโลก

  • พระเจ้าพิศณุโลก (เรือง) (หรือ King Ruang) ราชาภิเษกตนเองเป็นพระมหากษัตริย์ครองหัวเมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. 2311 สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยจัดพระราชพิธีราชาภิเษกตามระบบจารีตประเพณีของอาณาจักรอยุธยา มีพระราชปุโรหิตาจารย์ในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ขุนนางหัวเมืองขั้นโทชั้นตรีรอบเมืองพิษณุโลกต่างๆ และขุนนางที่หลบหนีมาจากกรุงศรีอยุธยาครั้นกรุงแตกจำนวนมากร่วมพระราชพิธีดังกล่าว ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินเมืองพิษณุโลก หัวเมืองชั้นเอก ครอบคลุมทั้ง 7 มณฑล พระเจ้าพิศณุโลก (เรือง) มีพระราชประสงค์ต้องการรวบเข้ากับชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ให้เป็นปึกแผ่นเพื่อให้มีพระราชอำนาจครอบคลุมหัวเมืองเหนือทั้งหมด โดยพยายามยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ถึง 3 ครั้ง รวมทั้งยังมีความพยายามที่จะบูรณะฟื้นฟูพระราชวังจันทน์เพื่อใช้เป็นที่ประทับ โดยพบร่องรอยหลักฐานบางประการภายในบริเวณพระราชวังเก่านี้ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเจ้าเมืองพิษณุโลก ก่อนเสด็จสวรรคตด้วยโรคฝีละลอกในคอในฤดูน้ำหลาก นอกจากนี้ยังมีปรากฏในจดหมายเหตุจีน ว่า พิษณุโลกได้ส่งพระราชสาส์นถวายสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งต้าชิง เพื่อให้พระองค์ยอมรับสถานะของ เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยแห่งกรุงศรีอยุธยาที่ถูกต้องสืบต่อจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดิม รวมทั้งยังต่อต้านการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินจนเป็นเหตุให้พระเจ้าเฉียนหลงแห่งต้าชิงไม่ยอมรับสถานะพระมหากษัตริย์ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน

หมายเหตุ:

1) สันนิษฐานว่าอาจจะได้ตั้งบรรดาศักดิ์ชั้นพระยา และเจ้าพระยาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เนื่องจากไม่พบหลักฐานว่าสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ตั้งเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เพราะขณะนั้นเป็นช่วงฉุกละหุกเกิดการสับเปลี่ยนกษัตริย์ภายในราชวงศ์ ประกอบกับหัวเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองเอกที่เป็นหน้าด่านเกิดสงครามบ่อยครั้ง อย่างไรก็ตามปรากฏบรรดาศักดิ์เด่นชัดของเจ้าพระยาพิศณุโลก (เรือง) ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ เมื่อได้ทรงครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร

2) สันนิษฐานว่าเจ้าพระยาพิศณุโลก (เรือง) อาจเกี่ยวดองกับราชวงศ์บ้านพลูหลวงในฐานะเครือญาติ ได้รับการไว้วางพระทัยให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนหัวเมืองพิษณุโลกทุกรัชสมัย และมีการกล่าวถึงในพระนิพนธ์เรื่อง ไทยรบพม่า ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอนเจ้าฟ้าจีดพาพรรคพวกหนีไปยังเมืองพิษณุโลกว่าทำนองจะเกี่ยวดองว่าเป็นญาติกับเจ้าพระยาพิศณุโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ เจ้าพระยาพิศณุโลก (เรือง) ยังเคยช่วยเจ้าฟ้าจีดให้หนีออกมาจากการต้องโทษในรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

3) เจ้าเมืองพิษณุโลกทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาร่วมกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

เครื่องยศขุนนางที่ได้รับพระราชทาน

เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ได้รับพระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้า ตามทำเนียบศักดินาหัวเมืองเจ้าเมืองพิษณุโลกและเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (เข้าใจว่าเสมอเจ้าต่างกรม เช่นเดี่ยวกับเครื่องยศของสมเด็จเจ้าพระยา) รวมถึงมีตำรวจสำหรับแห่อย่างเจ้า ที่ปรากฏในกฏมณเฑียรบาล ตำแหน่งพระยาหัวเมือง กินเมืองทั้ง 4 ฝ่าย (จตุสดมภ์) ดังนี้

  • ขี่คานหามกรรชิงหุ้มผ้าขาว (ขุนนางสามัญชน) (สำหรับขุนนางหัวเมืองชั้นเจ้าพระยา) หรือเสลี่ยงหามเป็นยานพาหนะ
  • ดาบพระแสงราชศัสตรา (พระแสงดาบอาญาสิทธิ์) ประจำหัวเมืองพิษณุโลก
  • เครื่องสูง
  • พานทองเครื่องยศอย่างเจ้า
  • น้ำเต้าน้ำทอง
  • เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัว
  • เจียดทองซ้ายขวา
  • เครื่องทอง
  • กระบี่กั้นหยั่น กระบี่บั้งทอง
  • ร่มปลิก 2 คัน
  • ทานตะวันเบื้อ 1 คู่
  • กรรชิงหุ้มผ้าแดง 1 คัน
  • เรือกูบแมงดาคฤ 3 ตอน
  • บดลาดสาวตคุดหัวท้ายนั่งหน้าสอง คานหาม เก้าอี้ทอง ศิโรเพฐน์มวยทอง แตรลำโพง 3 คู่ และปี่กลอง

ความเกี่ยวข้องกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองสืบต่อเนื่องจากสงครามพระเจ้าอลองพญา

เมื่อ พ.ศ. 2302 ในสมัยที่สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (เจ้าฟ้าดอกเดื่อ) ได้เพียง 1 ปี เกิดสงครามพระเจ้าอลองพญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางทหารระหว่างราชวงศ์คองบองของพม่ากับอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง สงครามเริ่มต้นขึ้นราวเดือนธันวาคม ฝ่ายพม่าหมายจะยกทัพมารุกรานอาณาจักรอยุธยา และนำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310

เมื่อ พ.ศ. 2304 ภายหลังจากที่ “เนเมียวสีหบดี” เสร็จสิ้นจากการไปตีหัวเมืองมอญแล้ว “มังลอก” พระโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าอลองพญา จัดทัพมาตีเชียงใหม่ โดยมี “อภัยคามณี” เป็นแม่ทัพ และ “มังละศิริ” เป็นปลัดทัพพร้อมด้วยพลจำนวน 7,500 นาย พระเจ้าจันทร์ เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ กรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น ทรงแต่งหนักสือมาถวายพระเจ้าเอกทัศพร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการ มีพระประสงค์ให้เชียงใหม่เป็นเมืองออกของอยุธยา และขอกำลังทหารไปรักษาเมืองใหม่ พระเจ้าเอกทัศจึงตรัสสั่งให้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เกณฑ์ทัพพลหัวเมืองเหนือจำนวน 5,000 นาย ยกไปช่วยเมืองเชียงใหม่ แต่ทัพเจ้าพระยาพิษณุโลกไปได้ถึงบ้านระแหงนั้นจึงได้ทราบข่าวว่าฝ่ายพม่าล้อมเมืองเชียงใหม่แล้วแต่ฝ่ายเชียงใหม่มีกำลังไม่แข็งกล้านักจึงเสียเมืองให้แก่ฝ่ายพม่าไป โดยมี “เนเมียวสีหบดี” อยู่รักษาเมืองเชียงใหม่

เมื่อ พ.ศ. 2309 “เนเมียวสีหบดี” ซึ่งอยู่รักษาเมืองเชียงใหม่กับ “มังมหานรธา” ซึ่งอยู่รักษาเมืองที่ทวายได้รับหนังสือจากพระเจ้ามังระภายหลังจากที่เสด็จไปประทับกรุงอังวะ เมืองหลวงของพม่าว่าให้ยกทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้ก็เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าอลองพญาที่ตรัสสั่งไว้ก่อนสิ้นพระชนม์ว่าให้ตีอยุธยาให้ได้ ทั้งสองจึงต่างเกณฑ์พลยกทัพเข้าปล้นเมืองต่าง ๆ อีกฝ่ายหนึ่งบุกปล้นตั้งแต่เมืองนครสวรรค์ลงมาถึงเมืองอินทรเมืองพรหม (จังหวัดสิงห์บุรี) อีกฝ่ายหนึ่งก็ปล้นอยู่แถวเมืองสุพรรณบุรี เมืองราชบุรี และเพชรบุรี แล้วจึงมารวมทัพกัน โดยหวังทำลายกำลังฝ่ายอยุธยาตั้งแต่ชั้นนอก พระเจ้าเอกทัศจึงตรัสให้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เกณฑ์ทัพหัวเมืองเหนือไปขับไล่ และให้ทัพในกรุงยกทัพไปไล่พม่าทั้งด้านเมืองนครสวรรค์และเมืองราชบุรีด้วย โดยทัพด้านเหนือให้พระยาธิเบศร์บริวัตรเป็นแม่ทัพ ทัพใต้ให้พระสุนทรสงครามเป็นแม่ทัพ ต่อมาพระเจ้าเอกทัศทรงทราบความว่าพม่าตามตีมาจนถึงธนบุรีก็ตกพระทัยเกรงว่าพม่าจะล่วงจู่โจมเข้าถึงพระนคร จึงให้พระยารัตนาธิเบศร์คุมกองทัพซึ่งเกณฑ์มาจากนครราชสีมาลงมารักษาธนบุรีอีกทัพหนึ่งให้พระยายมราชคุมกองทัพอีกกองหนึ่งลงมารักษานนทบุรีคอยสกัดพม่าเอาไว้ ส่วนทัพของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ขับไล่พม่าจนมาสิ้นสุดที่พระนครศรีอยุธยา ณ วัดภูเขาทอง ตามพระประสงค์ของพระเจ้าเอกทัศ แต่เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ถือโอกาสให้เจ้าพระยาพลเทพกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระบรมราชานุญาตพระเจ้าเอกทัศแทนตนเพื่อขอไปปลงศพมารดา และขอพระราชทานให้หลวงมหาดไทย หลวงโกษา (ยัง) และหลวงเสนา อยู่คุมทัพที่วัดภูเขาทองแทนตน ต่อมาเนเมียวสีหบดีรวบรวมพลจากล้านนา และล้านช้างราว 40,000 นาย จึงยกทัพจากเชียงใหม่แบ่งมาทางตาก และทางสวรรคโลก ตีหัวเมืองเหนือเรื่อยลงมา ฝ่ายเจ้าเมืองกรมการหัวเมืองเหนือเห็นข้าศึกพม่ามามากมายจึงหลบหนีเข้าป่า พม่าก็ได้หัวเมืองเรื่อยมาตั้งแต่พิชัย สวรรคโลก จนถึงเมืองสุโขทัย หลังพม่ายึดหัวเมืองสุโขทัยได้จึงตั้งค่ายอยู่ที่สุโขทัย เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) กับเจ้าเมืองกรมการหัวเมืองเหนือตัดสินใจรวบรวมพลยกทัพไปช่วยพระยาสุโขทัยรบพม่าที่ยึดเมืองเมืองสุโขทัย และเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) มักถือดาบพระแสงราชศัสตราหรือพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ที่ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าเอกทัศตลอดเวลาขณะไปราชการศึกหัวเมืองเหนือ

หลังจากเจ้าพระยาพิษณุโลกยกทัพออกไปแล้ว พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจีด กรมขุนสุรินทรสงคราม พระราชโอรสของพระองค์เจ้าชายแก้วกับเจ้าฟ้าหญิงเทพ พระราชธิดาของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระหรือเจ้าฟ้าเพชร) และเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระเพทราชา ขณะนั้นทรงต้องโทษถึงสิ้นพระชนม์พร้อมกับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) อยู่ในกรุง เมื่อสถานการณ์ระส่ำระสาย เจ้าฟ้าจีดจึงตัดสินบนผู้คุมหลุดจากที่คุมขังแล้วจึงรวบรวมพรรคพวกยกกันไปเมืองพิษณุโลก ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ความว่า

ฝ่ายเจ้าพระยาพิศณุโลกก็ยกกองทัพไปช่วยรบพม่าณเมืองศุโขไทยด้วย ขณะนั้นเจ้าฟ้าจีดเปนบุตรพระองค์เจ้าดำ ซึ่งต้องสำเร็จโทษครั้งเจ้าฟ้าอไภยเจ้าฟ้าบรเมศร พระมารดานั้นเจ้าฟ้าเทพ เปนพระราชธิดาสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงแผ่นดินทรงปลา แลเปนเจ้าพี่เจ้าฟ้านิ่มเจ้าฟ้าสังวาลซึ่งเปนโทษครั้งกรมพระราชวังนั้น แลเจ้าฟ้าจีดต้องโทษจำอยู่ในพระราชวัง หลวงโกษาผลเมืองพระพิศณุโลกช่วยคิดอ่านให้หนีออกจากโทษได้ ไปรับณค่ายภูเขาทอง แล้วพากันหนีไปเมืองกับทั้งบ่าวไพร่ในกองของตัว

เมื่อมาถึงแล้วไม่พบเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เจ้าเมือง จึงมีแผนหมายจะยึดเมืองพิษณุโลกโดยคิดหลอกให้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เข้าใจผิดว่าเพื่อรักษาเมืองให้มั่นคง จึงเรียกขุนนางในเมืองสั่งความว่าตนจะเป็นเจ้าเมืองแทน เมื่อเจ้าฟ้าจีดขึ้นนั่งเมืองพิษณุโลก จึงได้แอบเข้าเก็บริบทรัพย์สินเงินทองและยังจุดเพลิงเผาจวนเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ทิ้งเสีย ชาวเมืองต่างไม่มีผู้ใดกล้าสู้ด้วยเห็นว่าเป็นเจ้านาย ซึ่งหลวงโกษา (ยัง) ทหารเอกของเจ้าพระยาพิษณุโลกคิดเห็นชอบกับเจ้าฟ้าจีดด้วยเหตุว่าเป็นเจ้านายเช่นกัน แต่ญาติของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เห็นการณ์ ท่านผู้หญิงเชียง ภริยา พร้อมด้วยพรรคพวกและบ่าวไพร่จำนวนหนึ่งแอบหนีลงเรือขึ้นไปยังเมืองสุโขทัย เพื่อนำความไปแจ้งกับเจ้าพระยาพิษณุโลก เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) จึงเลิกทัพกลับมารวบรวมผู้คนแถวเมืองพิจิตรได้มากแล้วจึงตั้งค่ายเตรียมรบกับพวกเจ้าฟ้าจีดที่ท้ายเมืองพระพิศณุโลก รบกันหลายเพลาจนกระทั่งพวกเจ้าฟ้าจีดแตก เจ้าฟ้าจีดสั่งให้ทหารเตรียมรบป้องกันเมืองแต่ทหารกลับไม่ต่อสู้ใด ๆ เพราะทหารในเมืองต่างก็นับถือเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เมื่อทหารจับตัวเจ้าฟ้าจีดได้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) จึงว่ากล่าวติเตียนแล้วจับใส่กรงส่งตัวไปยังพระนคร เมื่อมาถึงบริเวณทุ่งสากเหล็กเขตเมืองพิจัตร ฝ่ายผู้คุมทัพรู้ว่ามีพม่าตั้งทัพที่บ้านกูบและที่เมืองนครสวรรค์จึงลงไปพระนครไม่ได้ เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) จึงสั่งให้ทหารจับตัวเจ้าฟ้าจีดไปถ่วงน้ำที่เกยชัยบริเวณน้ำน่านและน้ำยม บรรดาพรรคพวกก็เอาไปประหารเสีย ในระหว่างที่เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) กลับมาปราบเจ้าฟ้าจีด พม่าถือโอกาสยกทัพล่วงเลยจากสุโขทัยมานครสวรรค์ลงมายังกำแพงเพชร หมายจะรุกรานกรุงต่อไป เมืองพิษณุโลกจึงมิได้เสียเมืองแก่พม่า (ทางไทยกล่าวว่า "...ทำนองเจ้าพระยาพิศณุโลกจะเปนคนเข้มแข็ง จึงรักษาเมืองพิศณุโลกไว้ได้..." แต่ทางพม่ากล่าวว่าพม่าได้เมืองพิษณุโลกด้วย)

หมายเหตุ:

1) ประเด็นเรื่องการเสียเมืองพิษณุโลก

เนเมียวสีบดีพร้อมกองทัพพม่า 40,000 นาย (เหตุการณ์ขณะนั้นอ้างถึงประชุมพงศาวดารภาคที่ 6 เรื่องไทยรบพม่าครั้งกรุงเก่า ตอน คราวเสียกรุงครั้งหลัง) เดินทางมาจากเชียงใหม่มาทางเมืองสวรรคโลก และเมืองสุโขทัย ซึ่งหัวเมืองเหนือพระเจ้าเอกทัศโปรดให้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) รักษาหัวเมืองอยู่ (ยังคงอยู่ที่หัวเมืองพิษณุโลก) เมื่อกองทัพพม่าเริ่มตีได้เมืองสวรรคโลกเข้ามา เจ้าพระยาพิษณุโลก จึงยกทัพไปช่วยเมืองสุโขทัย ในระหว่างนี้เจ้าฟ้าจีดถือโอกาสตั้งเป็นเจ้าเมืองเสียเอง เจ้าพระยาพิษณุโลกทราบข่าวจึงกลับมาปราบเจ้าฟ้าจีดจนสำเร็จและตั้งทัพรักษาเมืองพิษณุโลกไว้ เมืองสุโขทัยต้านทัพพม่าไม่ไหวจึงเสียเมืองให้พม่าเพราะเจ้าพระยาพิษณุโลกนำทัพกลับไปหัวเมืองพิษณุโลกไปแล้ว เมืองที่พม่าตีได้คือเมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองพิจิตร (หลวงโกษา เจ้าเมืองพิจิตรมาช่วยราชการอยู่ที่หัวเมืองพิษณุโลกอยู่ก่อนจะเสียเมือง) หลังจากนั้นกองทัพเนเมียวสีหบดีจึงมารวมที่เมืองนครสวรรค์เคลื่อนทัพผ่านสิงบุรีห์ลงไปตั้งกองทัพอยู่ที่ วัดป่าฝ้าย ชานกรุงศรีอยุธยา (อ้างถึงพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา)

'ข้อสันนิษฐาน: หากพม่าตีเมืองพิษณุโลกได้'

1.1) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ไม่อาจมีกำลังไพร่พลพอที่จะตั้งชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ได้ วิธีพม่ายกทัพเข้ามาในครั้งนี้ปรากฏในพงศาวดารพม่าที่กำหนดไว้เป็นอุบายไว้คือ "...ถ้าเมืองไหน หรือแม้แต่ตำบลบ้านไหนต่อสู้ พม่าตีได้แล้ว เก็บริบทรัพย์สมบัติเอาจนหมด ผู้คนก็จับเปนเชลยส่งไปเมืองพม่า แล้วให้เผาบ้านช่องเสียไม่ให้เหลือ ถ้าบ้านไหนเมืองไหนเข้าอ่อนน้อมต่อพม่าโดยดี พม่าให้กระทำสัตย์แล้ว ไม่ปล้นสดมภ์เก็บริบทรัพย์สมบัติ เปนแต่เรียกเอาเสบียงอาหารผู้คนพาหนะมาใช้สรอยการทัพตามแต่จะต้องการ..." เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) คงมิอาจเข้าอ่อนน้อมพม่าให้เสียเมืองแต่โดยดี

1.2) ทัพเนเมียวสีบดีอาจเสียกำลังพล มีกำลังไม่เพียงพอที่จะตีหัวเมืองล่างๆ เมืองพิษณุโลกอีกจำนวนมากเพราะกองทัพของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เข้มแข็งมาก (ข้อมูลพงศาวดารของไทยและของพม่าขัดแย้งกัน ไม่อาจกล่าวได้ว่าฝ่ายใดถูกต้องกว่าใคร)

2) การขอไปปลงศพมารดาของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง)

การเลิกทัพกลับเมืองพิษณุโลกมีความขัดแย้งกัน ดังนี้

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า เมื่อพม่าเข้าตีหัวเมืองเหนือ กรมการฝ่ายเหนือจึงแจ้งข่าวต่อกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าเอกทัศจึงโปรดให้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ยกทัพไปตีพม่า ในขณะเดียวกันหลวงโกษา (ยัง) ก็พาเจ้าฟ้าจีด และกองทัพของหลวงโกษา (ยัง) คุมอยู่นั้น หนีกลับเข้าเมืองพิษณุโลกเท่านั้น แต่ทัพเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ไม่ได้กลับเข้าเมืองมาด้วย

ส่วนพระราชพงศาวดารฉบับอื่นๆ กล่าวตรงกันว่า เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เลิกทัพกลับไปเมืองพิษณุโลกโดยขอกราบทูลเพื่อลาไปปลงศพมารดา ทั้งนี้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ให้ความเห็นสอดคล้องกับประเด็นนี้ไว้ว่า การขอทูลลาไปปลงศพมารดาของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) นั้นเป็นเพียงข้ออ้างที่จะทิ้งกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยและอนาคตทางการเมืองของตนเอง รวมทั้งการได้เป็นอิสระจากกรุงศรีอยุธยา

มีบางหลักฐานระบุว่า มีการแพร่ข่าวเรื่อง พระยาพิษณุโลก (เรือง) ขอไปปลงศพมารดาอย่างแพร่หลายรวมทั้งยังปิดข่าวราชการสำคัญซึ่งกระทำโดยราชสำนักในกรุงศรีอยุธยาเพื่อให้เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ได้รับความเสียหาย

ความเกี่ยวข้องกับสภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

การหลบหนีของพระญาติพระวงศ์สู่เมืองพิษณุโลก

เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน นพศก ขณะที่กรุงศรีอยุธยาเกิดสงครามกับพม่าจวนจะเสียแก่ข้าศึก โดยมีทัพ “เนเมียวสีหบดี” กับทัพ “มังมหานรธา” เข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (บุญมา) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา (คุณลา) ทรงหลบหนีไปอยู่เมืองพิษณุโลก ซึ่งเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นเจ้าเมืองอยู่โดยมี นายทองขวัญและนายแย้ม บุตรของหลวงรักษ์เสนา (จำรัส) เป็นผู้ติดตามมาด้วย สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกเป็นพระสหายเก่าของเจ้าพระยาพิษณุโลก จึงได้รับต้อนรับอย่างดีถึงกับสถาปนาบรรดาศักดิ์แก่สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ขณะนั้นสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกทรงมีราชทินนามว่าออกพระอักษรสุนทรศาสตร์ กรมมหาดไทย) เป็นอัครมหาเสนาบดี ตำแหน่งสมุหนายกแคว้นพิษณุโลก มีราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี อภัยพิริยบรากรมภาหุ ศักดินา 10000 ดังปรากฏใน พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงเซอร์ ยอน เบาริง (1969:62 - 63) ความว่า

บรรพบุรุษของพระองค์เดิมเป็นชาวมอญอยู่ในกรุงหงสาวดี ได้ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเข้ามารับราชการในกรุงศรีอยุธยา เมื่อตอนสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ท่านผู้นี้คือ พระยาเกียรติ ได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่วัดขุนแสน ได้มีลูกหลานสืบต่อมาจนถึงโกษาปานในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ โดยเป็นราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งกรุงฝรั่งเศส ต่อมาลูกหลานคนหนึ่งได้รับราชการกับเจ้าพระยาพิษณุโลกเมื่อตอนกรุงศรีอยุธยาแตก และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระอักษรสุนทรเสมียนตรา พระอักษรเสมียนตรามีลูกหลานหลายคน คนที่ 4 เป็นชาย ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็น พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นปู่ของพระองค์ท่าน

และตั้งนายทองขวัญ ผู้ติดตาม เป็นนายชำนาญ (กระบวน) นายเวรกรมมหาดไทย เมืองพิษณุโลก สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ทรงประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกจนสวรรคตก่อนที่จะเสียกรุง เนื่องจากทรงพระประชวร ปรากฏในอภินิหารบรรพบุรุษ งานนิพนธ์ของหม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์ ว่า

...ครั้งนั้นพระเจ้าแผ่นดินพระพิษณุโลก ก็กระทำการฌาปนกิจเผาศพตามตำแหน่งยศเสนาบดีเสร็จ คุณบุญมากับพระบุตร ท่านได้เก็บพระอัฐิกับมหาสังข์อุตราวัฏของท่านไว้ภายหลังได้นำเข้ามา ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นสำคัญ...


ต่อมามีการตั้งชุมนุมขึ้นทั้งหมด 8 ชุมนุม แบ่งเป็นชุมนุมขนาดใหญ่ 5 ชุมนุม ชุมนุมขนาดย่อม 2 ชุมนุม และชุมนุมชนชาติอื่น 1 ชุมนุม ดังนี้

ชุมนุมขนาดใหญ่ 5 ชุมนุม

ชุมนุมขนาดย่อม 2 ชุมนุม

  • ชุมนุมหลวงอร่ามเรืองฤทธิ์ (ทองด้วง) ที่ จ.สมุทรสงคราม ก่อนจะรวบเข้ากับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่กรุงธนบุรี ภายหลังปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กรุงรัตนโกสินทร์
  • ชุมนุมนายบุญส่งและพระยาธนบุรี ตั้งอยู่ที่เมืองธนบุรี

ชุมนุมชนชาติอื่น 1 ชุมนุม

  • ชุมนุมสุกี้ (ชุมนุมชนชาติมอญ) หรือนายทองสุก ตั้งอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น (ปัจจุบันคือพื้นที่ ต.พุทเลา และ ต.โพธิ์สามต้น อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา)

การสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์

ครั้นกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกแล้ว เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) จึงคิดตั้งตนเป็น พระเจ้าแผ่นดิน และยกเมืองพระพิษณุโลกขึ้นเป็นพระมหานครเป็นรัฐเอกราชของสยามแห่งใหม่เพื่อสร้างฐานราชการบ้านเมืองให้มั่นคงเช่นเดียวกับกรุงศรีอยุธยา จึงแต่งตั้งข้าราชการขุนนางขึ้นครบทุกตำแหน่ง โดยแต่งตั้งอัครมหาเสนาบดี เสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรม ตั้งอัฐมนตรี 8 ฝ่าย และตั้งภริยาบุตรหลานที่อยู่เมืองพระพิษณุโลกขึ้นเป็นเจ้านายโดยทั่วถึงกัน พร้อมจัดพิธีราชาภิเษกตามจารีตประเพณีอาณาจักรอยุธยาเป็น พระเจ้าพิษณุโลก มีฐานะเป็น พระมหากษัตริย์แห่งกรุงพระพิษณุโลก และใช้พระราชวังจันทน์เป็นที่ประทับ ขาดแต่ยังไม่มีพิธีแห่เลียบพระนคร ส่วนคำสั่งให้บังคับใช้ว่า พระราชโองการ ทั้งทรงพระราชยานผูกแปด มีองครักษ์ตามเสด็จหน้าหลังอย่างมีแบบแผนตามจารีตประเพณีพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พร้อมทั้งจัดบ้านเมืองคอยท่าจะรับกองทัพพม่าเลยมาตีกรุงพิษณุโลก

ปรากฏใน พงษาวดารกรุงศรีอยุทธยาภาษามคธ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ว่า "บรรดาชนทั้ง ๔ นั้น พระยาพิษณุโลกที่อยู่ในเมืองพิษณุโลกนั้น ชนทั้งหลายรับพระโองการแล้ว ก็ให้ยกเสวตรฉัตรทำการราชาภิเสก..."

รายชื่อผู้ที่ได้รับแต่งตั้งตามที่มีหลักฐานปรากฏไว้ มีดังนี้
รายชื่อบุคคล/ขุนนาง ตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง หมายเหตุ
ท่านผู้หญิงเชียง พระอัครมเหสี ภริยาเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง)
พระอินทร์อากร พระมหาอุปราชที่กรมพระราชวังบวร น้องชายเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง)
พระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) อัครมหาเสนาบดี ที่สมุหนายก เป็นที่ปรึกษาราชการบ้านเมือง
พระยาไชยบูรณ์ (จับ) ปลัดเมืองพระพิษณุโลก
หลวงโกษา (ยัง) ราชองครักษ์
นายทองขวัญ นายชำนาญ นายเวร กรมมหาดไทย ผู้ติดตามพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี)
นายยิ้ม เสมียน กรมมหาดไทย
นายแย้ม เสมียน กรมมหาดไทย ผู้ติดตามพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี)

ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง)

ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นชุมนุมของขุนนางตามระบบจารีตของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งเจ้าพระยาพิษณุโลก มีฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ เป็น พระเจ้าพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ถือเป็นชุมนุมหัวเมืองเหนือที่ใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่บนฝั่งลำน้ำน่าน มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์และปากน้ำโพครอบคลุม 7 มณฑล คือ 1. เมืองพิษณุโลก (เมืองสรลวงสองแคว) 2. เมืองสุโขทัย (นครไทย) 3. เมืองศรีสัชนาลัย (เมืองสวรรคโลก หรือเมืองเชลียง หรือเมืองเชียงชื่น) 4. เมืองกำแพงเพชร (รวมเมืองนครชุม) 5. เมืองพิจิตร (รวมเมืองปากยม) 6. เมืองพระบาง และ 7. เมืองทุ่งยั้ง (เมืองพิชัย) หลังจากตั้งตนเองเป็นผู้นำชุมนุมแล้วได้มีบรรดาข้าราชการเก่ากรุงศรีอยุธยามาสวามิภักดิ์ด้วยหลายนายเนื่องจากเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นผู้มีความสามารถในการสู้รบ เป็นขุนนางเก่าแก่ชั้นสูงในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงมีผู้นับถืออยู่มาก ดังปรากฏในพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า "...คงเปนเพราะเปนผู้มีชื่อเสียงเกียรติยศดังกล่าวมานี้ จึงมีผู้นิยมนับถือมาก แม้ข้าราชการเก่าในกรุงศรีอยุทธยาก็ไปเข้ากับเจ้าพิศณุโลกมากด้วยกัน..." หลังจากผ่านพิธีบรมราชาภิเษกเสร็จ พระเจ้าพิษณุโลก (เรือง) ต้องการมีอำนาจหัวเมืองเหนือทั้งหมด จึงได้ยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ถึง 3 ครั้ง แต่ไม่แพ้ไม่ชนะกัน ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาว่า "...แลเจ้าพิศณุโลกยกพลทหารออกต่อรบเปนสามารถ ทัพฝางจะหักเอาเมืองมิได้ แต่รบกันอยู่ประมาณหกเดือน ทัพฝางก็พากันเลิกกลับไปเมือง..."

 
ภาพแสดงที่ตั้งชุมนุมต่าง ๆ หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง (พ.ศ. 2310)
1: ชุมนุมพระยาตาก (รวมกับชุมนุมสุกี้พระนายกอง)
2: ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง)
3: ชุมนุมเจ้าพระฝาง
4: ชุมนุมเจ้าพิมาย
5: ชุมนุมเจ้าพระยานครศรีธรรมราช

เมื่อ พ.ศ. 2311 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบข้อมูลจากเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) เกี่ยวกับเจ้าพระยาพิษณุโลก ราวเดือนตุลาคม ฤดูน้ำหลากจึงยกทัพด้วยกำลังพล 15,000 นาย ไปปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นชุมนุมแรกซึ่งเป็นชุมนุมใหญ่ เจ้าพระยาพิษณุโลกจึงได้ให้หลวงโกษา (ยัง) ยกกองทัพมาตั้งรับที่ตำบลเกยชัย เขตเมืองนครสวรรค์ คอยดักซุ่มสกัดทัพ ครั้นกองทัพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกขึ้นไปถึง ก็ได้ปะทะรบพุ่งกันอย่างสามารถ ทหารฝ่ายชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ได้ยิงปืนมาถูกพระชงฆ์ (หน้าแข้ง) ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รับบาดเจ็บ จึงต้องยกทัพกลับ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่มที่ 3 บันทึกว่า

เจ้าพระพิษณุโลก (เรือง) ได้ทราบข่าวศึก จึงแต่งให้หลวงโกษา (ยัง) ยกกองทัพลงมาตั้งรับ ได้รบกันเป็นสามารถ ข้าศึกยิงปืนมาต้องพระชงฆ์ข้างซ้าย จึงให้ล่าทัพหลวงกลับมายังกรุงธนบุรี

ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวว่า

พระยาพิษณุโลกรู้ประพฤติเหตุ แต่งพลทหารให้หลวงโกษา (ยัง) ยกออกมาตั้งรับ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จนำพลทั้งปวงเข้ารณรงค์ด้วยข้าศึกครั้งนั้น ฝ่ายข้าศึกยิงปืนมาดังห่าฝนต้องพระชงฆ์เบื้องซ้าย เลียบตัดผิวพระมังสะไปจึงให้ลาดทัพกลับยังกรุงธนบุรี

พระยาศรีสัชนาลัยบดี (เลี้ยง ศิริปาละกะ) บันทึกว่า

ในปลายปีชวดนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จยกพยุหโยธาไทยจีน สรรพด้วยสรรพาวุธทั้งทางบกทางเรือ ขึ้นไปตีเมืองพิษณุโลก ซึ่งเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นเจ้าแข็งเมืองอยู่ ได้รบกันเป็นสามารถ ข้าศึกยิงปืนกระสุนปืนเฉียดขาเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ซึ่งนั่งเรือหน้าพระที่ นั่งผ้านุ่งขาด กระสุนเลยไปต้องพระองค์เบื้องซ้าย จึงได้ล่าทัพกลับพระนคร

บันทึกความทรงจำของ พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี บันทึกไว้ว่า

ไปตีเกยชัย ถูกปืนไม่เข้า

ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) นับเป็นชุมนุมใหญ่ชุมนุมแรกที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปตีแล้วไม่สำเร็จ ต่อมา "พระเจ้าพิษณุโลก" ก็เสด็จสวรรคตด้วยโรคฝีละลอกเมื่อเดือน 11 ปีชวดสัมฤทธิศก ตรงกับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311

โดยเหตุการณ์เสด็จสวรรคตนี้ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวแตกต่างกันออกไป เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาภาษามคธ ฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตอน แผ่นดินพระยาพิศณุโลก กล่าวว่า “พระยาพิษณุโลกอยู่ในราชสมบัติ 6 เดือน พระชนมายุได้ 49 ปี ก็เสด็จสวรรคตไปตามยถากรรม” พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ฉบับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งนิพนธ์ขึ้นในสมัยหลัง กล่าวขัดแย้งกัน ว่า "...ในปีชวด สัมฤทธิศกนั้น ฝ่ายเจ้าพระพิษณุโลกเรืองเมื่อมีชัยชพนะแก้ข้าศึกฝ่ายใต้แล้ว ก็มีน้ำใจกำเริบถือตัวว่ามีบุญญาธิการมาก จึงตั้งตัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินรับพระราชโองการ อยู่ได้ประมาณเจ็ดวัน ก็บังเกิดวัณโรคขึ้นในคอถึงพิราลัย..."

พระอินทร์อากร น้องชายของเจ้าพระยาพิษณุโลกซึ่งเป็นปลัดเมืองอยู่เดิม จึงได้ขึ้นครองเมืองแทน แต่ไม่ได้สถาปนาเป็นกษัตริย์ ภายหลังเมืองพิษณุโลกอ่อนแอลงเนื่องจากพระอินทร์อากรไม่ชำนาญการรบ เป็นคนธรรมะธรรมโม ชอบเข้าวัดฟังเทศน์ทําบุญอยู่เป็นนิตย์ และไม่เป็นที่นิยมของชาวเมืองและบรรดาข้าราชการ แต่อย่างไรก็ตามมีหลายหลักฐานที่ไม่ได้ปรากฏนามของ พระอินทร์อากรและไม่ได้เกี่ยวข้องกับเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) มีบางหลักฐานปรากฏว่าพระอินทร์อากรถูกเจ้าพระฝาง (เรือน) จับต้องโทษจนเสียชีวิต ต่อมาชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) จึงอ่อนแอลงจึงเกิดไส้ศึกมีชาวเมืองเปิดประตูเมืองรับทัพเจ้าพระฝางเข้าเมือง เนื่องจากทัพเจ้าพระฝากมาล้อมเมืองพิษณุโลกได้ 2 เดือนจนบ้านเมืองเกิดความอดอยาก ส่งผลให้เกิดการรุกรานของชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ขึ้นจนตีเมืองเมืองพิษณุโลกแตกไปในที่สุด บรรดาขุนนางและชาวเมืองพิษณุโลกที่หนีออกมาได้จึงหนีไปพึ่งเป็นบริวารของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังปรากฏในจดหมายเหตุโหร ความว่า "ปีชวด จ.ศ. ๑๑๓๑ เมืองพิษณุโลก เมืองพิจิตร แตกมาสู่โพธิสมภาร..."

ชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) เป็นชุมนุมของกบฏไพร่ ตั้งอยู่ที่วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี (เมืองฝาง) มีอาณาเขตทางเหนือถึงหัวเมืองแพร่และนาน เชื่อมต่อกับวัฒนธรรมระหว่างสยาม ล้านนา และล้านช้าง และอาณาณาเขตทางใต้ถึงหัวเมืองอุทัยธานี รุกล้ำเข้าแดนเมืองชัยนาท ดังปรากฏ "ด้วยเหล่าร้ายนั้นยกลงมาตระเวน ตีเอาข้าวปลาอาหาร เผาเรือนเสียหายหลายตำบล ไพร่บ้านพลเมืองได้รับความแค้นเคืองขัดสน” ซึ่งอาณาเขตทางใต้ได้มาจากการที่ชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ผนวกกับชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เจ้าพระฝาง (เรือน) ถูกกล่าวหาว่าเป็น “คนอาสัตย์อาธรรมฝ่ายเหนือ” เพราะเป็นพระภิกษุที่ย่ำยีพระธรรมวินัย

พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง "เที่ยวตามทางรถไฟ" กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ว่า เมื่อพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยา ยกกองทัพมาทางเมืองกาญจนบุรี 1 ทาง ทางเมืองเชียงใหม่ 1 ทาง พม่าไม่กล้าไปตีเมืองพิษณุโลก ยกหลีกเลยมาทางเมืองสุโขทัย เจ้าพระยาพิษณุโลกยกกองทัพติดตามไปตีพม่า กำลังรบกันอยู่ทางเมืองพิษณุโลกมีพวกไทยด้วยกันชิงเมือง (หมายถึงเจ้าฟ้าจืด) เจ้าพระยาพิษณุโลกจึงล่าทัพกลับไปรักษาเมืองตามเดิม ครั้นไม่มีพระราชาธิบดีปกครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว เจ้าพระยาพิษณุโลกตั้งชุมนุม เจ้าพระฝางยกกองทัพมาตีเมืองพิษณุโลก ต้องล้อมเมืองอยู่ 7 เดือนตีไม่ได้เมืองจึงล่าทัพกลับไป

เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมายกกองทัพหมายจะตีเมืองพิษณุโลกแต่ก็ถูกปืนต้องล่าทัพกลับ เจ้าพระยาพิษณุโลกจึงตั้งตัวเป็นใหญ่ได้ทำพิธีราชาภิเษกตั้งตัวขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ แต่เผอิญเกิดโรคที่ในคอ พอราชาพิเษกได้ 7 วันก็ถึงแก่พิราลัย เป็นเหตุให้คนทั้งหลายเห็นว่ายกตนเกินวาสนา เมืองพิษณุโลกจึงอ่อนแอลง เจ้าพระฝางได้ยกทัพมาอีกตั้งล้อมอยู่ 2 เดือนก็ได้เมืองพิษณุโลก

หมายเหตุ: หลวงโกษา (ยัง) เดิมเป็นเจ้าเมืองพิจิตร เป็นขุนนางที่สนิทสนมกับเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ซึ่งมาช่วยราชการในการสู้รบเสมอ หลังจากเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) รวบหัวเมืองและตั้งชุมนุมแล้วจึงแต่งตั้งให้หลวงโกษา (ยัง) เป็นทหารของตนเอง หลังจากชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) พ่าย จึงหลบหนีไปเมืองสวางคบุรีไปเป็นทหารของชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน)

การปราบหัวเมืองเหนือ และการฟื้นฟูสู่กรุงธนบุรี พ.ศ. 2313

พ.ศ. 2313 ตรงกับวันเสาร์เดือน 8 แรม 14 ค่ำ เดือนมิถุนายน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปตี ชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) และพม่า หัวเมืองเหนืออีกครั้งโดยแบ่งเป็น

  • 1. ทัพหลวงเป็นทัพเรือ กำลังพล 12,000 นาย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จขึ้นไปถึงพิษณุโลกก่อนทัพบก 9 วัน ตีเมืองพิษณุโลกไปก่อน
  • 2. ทัพบกที่ 1 กำลังพล 5,000 นาย ให้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (บุญมา) (ขณะนั้นทรงบรรดาศักดิ์เป็น "พระยายมราช") เป็นแม่ทัพ เดินทัพไปทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำน่าน ซึ่งทัพบกที่ 1 เดินทางมาถึงก่อนทัพบกที่ 2 2 วัน
  • 3. ทัพบกที่ 2 กำลังพล 5,000 นาย ให้ เจ้าพระยาพิชัยราชา (ขณะนั้นบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาพิชัยราชา") เป็นแม่ทัพ ให้เดินทัพไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำน่านบรรจบกับทัพยกที่ 1 ที่พิษณุโลก

ชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) นับเป็นชุมนุมสุดท้ายที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตีได้ ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้เดินทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (บุญมา) ไปตีเมืองสวางคบุรี เมื่อทัพบกของเจ้าพระยาพิชัยราชามาถึงจึงให้รีบไปช่วยทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (บุญมา) ตีเมืองสวางคบุรี

วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 7 ค่ำ เมื่อตีเมืองสวางคบุรีได้แล้ว มีชาวเมืองสวางคบุรีส่วนหนึ่งหนีขึ้นไปล้านนา ส่งผลให้ "โปมะยุง่วน" ขุนนางพม่าเชื้อพระวงศ์ เป็นอุปราชอาณาจักรล้านนา เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ขณะนั้นทรงทราบสถานการณ์แล้วว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสามารถรวบรวมประเทศเป็นอาณาจักรเดียวกันเรียบร้อยแล้วนับจากวันที่เริ่มกอบกู้อาณาจักร 6 พฤศจิกายน 2310 เป็นเวลานาน 2 ปี 10 เดือน

วัฒนธรรมร่วมสมัย

บทบาทการมีตัวตนของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) รวมถึงบุคคลในครอบครัวถูกสร้างการรับรู้แก่สังคมไทยในยุคปัจจุบันผ่านวรรณกรรม งานเขียน ละคร และนวนิยายอิงประวัติศาสตร์หลากหลาย เช่น

  • บทละครรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เรื่องงานสร้างชาติไทย มีการกล่าวถึงการเกิดสงครามปะทะกันหลายครั้งระหว่างที่เจ้าพิษณุโลก (เรือง ต้นสกุลโรจนกุล) ยังมีพระชนม์อยู่
  • กรุงแตก เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ประพันธ์โดย หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) หรือกิมเหลียง โดยกล่าวถึงบทบาททางการสงครามของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) คราวเสียงกรุงครั้งที่สอง และท่านผู้หญิงเชียง ภริยาของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) กับคุณหญิงนิ่มนวล ในบทบาทสตรีที่เป็นผู้ต่อต้านการเข้ายึดเมืองพิษณุโลกของเจ้าฟ้าจีด
  • ฟ้าใหม่ เป็นนวนิยายประพันธ์โดย ศุภร บุนนาค ดัดแปลงเป็นบทโทรทัศน์เมื่อ พ.ศ. 2547 กล่าวถึง เรณูนวล นำแสดงโดย พัชราภา ไชยเชื้อ บทบาทลูกสาวคนเดียวเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) และบทบาทของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) นำแสดงโดย อรรถชัย อนันตเมฆ แต่ภายหลังถูกตัดออกไป
  • สายโลหิต เป็นนวนิยายประพันธ์โดย โสภาค สุวรรณ และมีการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ เมื่อคราวออกอากาศครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2561 กล่าวถึงเหตุการณ์ เกิดกบฏที่เมืองพิษณุโลกขณะเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ยกทัพไปช่วยพระยาสุโขทัย เป็นเหตุให้ต้องล่าทัพกลับเมืองพิษณุโลก
  • พรหมลิขิต เป็นนิยายภาคต่อจาก บุพเพสันนิวาส ประพันธ์โดย รอมแพง ซึ่งได้เปิดเผยในงาน เกร็ดประวัติศาสตร์ที่ยังคาใจจากศิลปากรสู่บุพเพสันนิวาส ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ คุณเรืองและคุณริดบุตรชายของแม่การะเกดกับขุนศรีวิสารวาจาจะไปอยู่ที่เมืองพิษณุโลกพร้อมกับหมื่นเรืองราชภักดี มีกระแสทางสื่อโซเชี่ยลว่า คุณเรืองหรือหมื่นเรืองราชภักดี คนใดคนหนึ่ง อาจเกี่ยวข้องกับตำแหน่งเจ้าเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นช่วงคาบเกี่ยวกับเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ที่เริ่มรับราชการในช่วงรัชกาลของพระเจ้าท้ายสระ
  • ยุคันตวาต ๒ ภาคสงครามพระเจ้าอลองพญา นิยายแฟนตาซีอิงประวัติศาสตร์ แต่งโดย LanzaDeluz (นามแฝง) กล่าวถึงบทบาทของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตอน ราชการศึกในท้องพระโรง

ต้นสกุลโรจนกุล

โรจนกุล เป็นนามสกุลพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ 6 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสกุลของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ในคราวนั้นมี พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ) กรมปลัดเสือป่า กองเสนาหลวงรักษาพระองค์ในรัชกาลที่ 6 รองเสวกเอก หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ) ปลัดกรมกองรายงานหนังสือไปมา กรมราชเลขานุการ และนายพันโท หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ทหารมหาดเล็ก กรมยุทธนาธิการ (หรือกรมทหารบก) เป็นผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามสกุล เมื่อสืบสายขึ้นไปแล้วจึงทรงพระราชวินิจฉัยใช้คำว่า "โรจนะ" รวมกับคำว่า "กุล" ให้หมายถึง ตระกูลของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามสกุลว่า โรจนะกุล (ปัจจุบันนิยมสะกดว่า "โรจนกุล") อักษรโรมัน "Rochanakul" ให้แก่ นายพันโท หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) และรองเสวกเอก หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ) เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2456 ตามที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ 5 ลำดับที่ 368 เล่มที่ 30 หน้า 1,246 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธรในขณะนั้นรับสนองพระบรมราชโองการ

ลำดับสมาชิกวงศ์ตระกูล

สมาชิกวงศ์ตระกูลเท่าที่จะสืบได้มีดังนี้

  • เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) (พ.ศ. 2262 - 2311) เจ้าเมืองพระพิษณุโลก
  • รองอำมาตย์โท ขุนโรจนกุลประภัทร (ปอนด์ โรจนกุล) นายอำเภอ
  • ศรีชัย โรจนกุล (แป้น โรจนกุล) (ไม่ปรากฏ - 2538) เสมียนตรามหาดไท และปลัดอำเภอ

มรดก

  • ถนนเจ้าพระยาพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

หมายเหตุ

  1. ราชทินนามเดิมมีชื่อว่า เจ้าพระยาสรศรี แล้วแปลงเป็น สุรศรี ต่อมาเป็น สรสีห์ กระทั่งกลายเป็น เจ้าพระยาสุรสีห์ มีความหมายว่า เจ้าเมืองพิษณุโลก ผู้เก่งกาจเหมือนราชสีห์ ส่วนสร้อย พิษณุวาธิราช เดิมใช้คำว่า พิศมาธิราช แล้วแปลงเป็น พิศมวาธิราช บ้าง พิษัณุวาธิราช บ้าง พิศณุวาธิราช บ้าง จนกลายเป็น พิศณุวาธิราช
  2. ราชทินนามที่เขียนอีกแบบ ปรากฏชื่อว่า เจ้าพระยาสุรสีห์พิศมวาธิราช (บุญเรือง)
  3. เป็นราชทินนามสำหรับเจ้าพระยาหรือพระญาติพระวงศ์ครองเจ้าเมืองชั้นเอก เมืองพิษณุโลก ปรากฏในมลเฑียรบาลเรียกว่า นา 10000 กินเมืองทั้ง 4 ฝ่าย หรือ ท้าวพระยาหัวเมืองทั้ง 4
  4. ขุนนางชั้นเอกของราชอาณาจักรที่มีศักดิระดับนา 10000 ในสมัยอยุธยายังแบ่งเป็น เอกอุ หรือ เอกอุตม (เอกสมบูรณ์) เอกม. หรือ เอกมัธยม (เอกระดับกลาง) และ เอกส. หรือ เอกสามัญ (เอกสามัญ)
  5. พระราชกำหนดเก่า พ.ศ. 2302 ไม่มีปรากฏตำแหน่งยุกระบัตรประจำหัวเมืองพระพิศณุโลก

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ก.ศ.ร. กุหลาบ ตฤษณานนท์. มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ ว่าด้วยลำดับวงศ์ตระกูลขุนนางไทยทั้งสิ้นในแผ่นดินสยาม. พระนคร : สยามประเภท, ร.ศ. 124.
  2. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
  3. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด)
  4. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป. (2516). กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์, 2516. หน้า 3. (พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพนายวิรุฬห์ บุณยรัตพันธุ์ ณ เมรุวัดระฆังโฆสิตาราม ถนนอรุณอมรินทร์ กรุงเทพฯ วันที่ 27 ตุลาคม 2516).
  5. ชูศักดิ์ ศรีเพ็ญ, พลโท, และคณะ. บันทึกพระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ) "เล่าให้ลูกฟัง". สืบค้น เมษายน, 2555
  6. ประยุทธ สิทธิพันธ์. ต้นตระกูลขุนนางไทย. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2505. 544 หน้า. หน้า 127.
  7. มานพ ถนอมศรี. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) : ราชทูตแห่งพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามต้นราชวงศ์พระบรมมาราชจักรี. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ, 2533. 68 หน้า. หน้า 41.
  8. ละออง ศรีสุคนธ์. เที่ยวเมืองไทย 71 จังหวัด เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2508.
  9. พิเศศ บูรณะสมบัติ. 2547. ประวัติศาสตร์การปกครองของไทย (ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกถึงเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย พ.ศ. 2475). กรุงเทพฯ : รวมสาส์น (1977).
  10. จดหมายเหตุโหรฉบับรามัญ
  11. ศิลปากร เล่มที่ 1 ฉบับที่ 2. พระนคร : กรมศิลปากร, 2480.
  12. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘๒ เรื่อง พระราชพงศาวดารกรุงสยาม: จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2537. 423 หน้า. หน้า 115. ISBN 974-419-025-6
  13. ประชา นิยมวงศ์. บันทึกหลักฐานและเหตุการณ์ สมัยกรุงเทพฯ, เล่มที่ 1. พระนคร : มิตรไทย, 2483. หน้า 91.
  14. คณะกรรมสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ. จังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย: 71 จังหวัด, เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ : สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, 2500.
  15. กรมศิลปากร. เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท. กรุงเทพฯ : ประยูรวงศ์, 2522. หน้า 115.
  16. อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย: อักษร ฆ ง จ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526. หน้า 410. ISBN 974-792-228-2
  17. กฏหมายตราสามดวง เล่ม 1. พระนคร : คุรุสภา, 2515:317.
  18. ประวัติมหาดไทย (ส่วนกลาง) เล่มที่ 2 ฉบับที่ 2. ม.ป.พ., 2511. หน้า 190
  19. นามสกุลพระราชทาน. พระราชวังพญาไท. หมวดอักษร ร. ลำดับที่ 368
  20. นามสกุลพระราชทาน ร.ศ.113-124 (ค.ศ.1894-1905). นามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย (ร)
  21. ภูมิพิสัยพิสุทธิวรพงศ์-ร..๒ นามสกุลพระราชทาน-ร..๒
  22. กี อยู่โพธิ์, ปรีดา ศรีชลาลัย, และวิลเลียม เจ. เก็ดนีย์. บทละครรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2484. หน้า 200.
  23. เทพ สุนทรศารทูล. มงคลนาม ตามตำราโหราศาสตร์. กรุงเทพฯ : พระนารายณ์, 2534. หน้า 205.
  24. ประกอบ โชประการ, และคณะ. (2521). ปฏิวัติสามสมัย : ประวัติศาสตร์การเมืองไทย เรื่องของคนไทย. กรุงเทพฯ : รวมข่าว. 1152 หน้า. หน้า 196.
  25. ประยูร พิศนาคะ. สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดกลาง 09, 2516. 463 หน้า. หน้า 88.
  26. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. สมเด็จพระปฐมบรมชนกนาถ. กรุงเทพฯ : บันทึกสยาม, 2544. 126 หน้า. หน้า 66. ISBN 974-862-989-9
  27. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. [ม.ป.ป]
  28. ภาสกร วงศ์ตาวัน. ประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ยิปซี กรุ๊ป, 2553. 174 หน้า. หน้า 49. ISBN 611-707-101-9
  29. เทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ : พี.เค.พริ้นติ้ง, 2540. 160 หน้า. หน้า 39-43.
  30. บุญยเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. หัวเมืองชั้นเอก. สถาบันพระปกเกล้า.
  31. Mishra, Patit Paban. (2010). History of Thailand. California: Greenwood. pp. 69-70
  32. W.A.R. WOOD, cut. H.B.M., CONSUL-GENERAL, CHIENGMAI. (1924). A History Of Siam: From The Earliest Times To The Year A. D. 1781. Bangkok : Chalermnit Press. pp. 255-256.
  33. Committee of National Annual Report. THAILAND Official Year Book 1964. Bangkok : Government House Printing Office, 2507:80.
  34. Tate, D. J., The Making of Modern Southeast Asia, The European conquest. 1st ed. United Kingdom : Oxford University Press, 1971:500.
  35. Shiv Shanker Tiwary. Encyclopaedia of Southeast Asian Dynasties Vol. II., Anmol Publications, 2008. pp 46.
  36. Bowrings, Sir John. (1855). THE KINGDOM AND PEOPLE OF SIAM: WITH A NARRATIVE OF THE MISSION TO THAT COUNTRY IN 1855. VOLUME I. London : John W. Parker and Son, West Strand. pp. 67.
  37. จุลจักรพงษ์. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). กรุงเทพฯ : เดลิเมล์, 2480. พิมพ์แจกงานพระราชทานเพลิงศพ นายพันเอก พระยาสิริจุลเสวก (พัว จุลเสวก) ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม.
  38. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์, เล่มที่ 53, ฉบับที่ 10-18. หน้า 31.
  39. ณัฏฐภัทร จันทวิช. ข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายและกรุงธนบุรีจากจดหมายเหตุจีน. ศิลปากร, ปีที่ 24, เล่มที่ 2 และ 3 (2523). หน้า 21 - 22.
  40. วิบูล วิจิตรวาทการ. สตรีสยามในอดีต. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2542. 370 หน้า. หน้า 81. ISBN 974-737-729-2
  41. ศิลปากร. เล่มที่ 48 ฉบับที่ 1-3.
  42. ศิลปากร, เล่มที่ 6, ฉบับที่ 1. พระนคร : กรมศิลปากร, 2505.
  43. นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. สาส์นสมเด็จ ภาคที่ 27. พระนคร : กรมศิลปากร, 2493. หน้า 54.
  44. หมอบลัดเล. หนังสือเรื่องกฏหมายเมืองไทย, เล่มที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 4 จุลศักราช 1243 ปีมะเส็งตรีศก). กรุงเทพฯ : ริมป้อมปากคลองบางกอกใหญ่, 2425.
  45. ธรรม คามน์ โภวาที. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนาย รง ทัศนาญชลี (ป.ช. ป.ม.) ณ ฌาปนสถาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ วัดตรีทศเทพวรวิหาร 15 กรุงเทพมหานคร 2544. กรุงเทพฯ : [ม.ป.ท.], 2554. 206 หน้า.
  46. หวน พินธุพันธ์. พิษณุโลกของเรา. พระนคร : กรุงสยามการพิมพ์, 2514. หน้า 21.
  47. Lt. Gen. Sir Arthur P. Phayre (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta. pp. 188–190.
  48. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 64 พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
  49. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา หน้า 267.
  50. นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : มติชน, 2529. หน้า 51-52.
  51. คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2542.
  52. เพลิง ภูผา. รัฐประหารยึดบัลลังก์กษัตริย์บนแผ่นดินอยุธยา. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยา, 2557. หน้า 185.
  53. ส. พลายน้อย. สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์น, 2517. 508 หน้า.
  54. วิบูล วิจิตรวาทการ. สตรีสยามในอดีต. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2543. 359 หน้า.
  55. แดน บีช แบรดลีย์. พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล) จุลศักราช ๑๒๒๕ ภาคที่ ๒๗ (พิมพ์ครั้งที่ 2). พระนคร : โรงพิมพ์มิศชันเอรีแอโซซีเอซัน ริมป้อมปากคลองบางหลวง, 2434.
  56. ดำรงราชานุภาพ.สมเด็จกรมพระยา. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 6 เรื่องไทยรบพม่าครั้งกรุงเก่า.สงครามครั้งที่ 24 คราวเสียกรุงครั้งหลัง. กรุงเทพฯ : อักษรนิติ์, 2460.
  57. นิธิ เอียวศรีวงศ์. กรุงแตก พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย: ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์.กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, 2538 (1995). 299 หน้า. หน้า 84. ISBN 974-711-426-7.
  58. สุรินทร์ เทพกาญจนา และรง ทัศนาญชลี. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายรง ทัศนาญชลี. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., 2544. 206 หน้า, หน้า 160. ISBN 974-765-472-5.
  59. GE Harvey (1925). History of Burma. London: Frank Cass & Co. Ltd.. pp. 250–254.
  60. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, "ปฐมวงศ์" ประชุมพงศาวดาร เล่ม 8, (พระนคร : ก้าวหน้า, 2507), หน้า 231.
  61. Bowring , Sir John. The Kingdom and People of Siam. Vol 1 , Oxford University Press , 1969.
  62. เทพ สุนทรศารทูล. พระพุทธยอดฟ้ามหาราช กษัตริย์นักรบ นักรัก นักกวี นักการทูต. ตอนที่ 5.
  63. อภินิหารบรรพบุรุษ อนุสรณ์ หม่อมเจ้าปิยภักดีนารถ สุประดิษฐ์. สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต โปรดให้พิมพ์เป็นของชำร่วยในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าปิยภักดีนารถ สุประดิษฐ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. (2473). 64 หน้า. หน้า 29-30.
  64. เกริกฤทธิ์ เชื้อมงคล. แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : สยามความรู้, 2562. 209 หน้า, หน้า 18. ISBN 978-6-16-441530-0
  65. เทพ สุนทรศารทูล. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ตอน 8 ก๊กกรุงสยาม. กรุงเทพฯ : ดวงแก้ว, 2546. 99 หน้า.
  66. พนรัตน์ วัดพระเชตุพน, สมเด็จพระ. (2459). พงษาวดารกรุงศรีอยุทธยาภาษามคธ แลคำแปล [พจนสุนทร (เรือง อติเปรมานนท์), พระยา, ผู้แปล]. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย. หน้า 32-33.
  67. อําไพ ปาลวัฒน์วิไชย. ราชสกุลกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (กรมพระราชวังหลัง) (1982). ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยายอดเมืองขวาง (ม.ล. อั้น เสนีวงศ์) ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : เจริญผล, 2525. 153 หน้า. หน้า 14.
  68. กหช.จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ.1199 เลขที่ 75
  69. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2463). พงษาวดาร เรื่องเรารบพม่า ครั้งกรุงศรีอยุทธยา. เล่มที่ 2. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอรรคโยธินทร์ โปรดให้พิมพ์ครั้งแรก ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาวาดรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๖๓. พระนคร : โรงพิมพ์ไทย. 392 หน้า.
  70. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคจบ), ๒๕๐๕ : ๓๐๘.
  71. วสินธ์ สาริกะภูติ, พลเรือเอก. "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตอนหักคีมพม่าและเสือพบสิงห์" นาวิกศาสตร์ สำนักงานราชนาวิสภา. 91(8) : 6 - 12 : สิงหาคม 2551.
  72. จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี หน้า ๙๐ ข้อที่ ๒๐
  73. ชัยฤกษ์ ไชยโกมินทร์, พลเอก. ประเด็นพระยาตากเป็นกบฏ.
  74. Bowrings, Sir John. (1855). THE KINGDOM AND PEOPLE OF SIAM: WITH A NARRATIVE OF THE MISSION TO THAT COUNTRY IN 1855. VOLUME I. London : John W. Parker and Son, West Strand. pp. 67.
  75. พนรัตน์, พระ, พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาภาษามคธและคำแปล, พระยาพจนสุนทร แปล, พระนคร, พิมพ์ในงานศพท่านเลื่อม บุนนาค 2459, หน้า 32-33
  76. สังคีติยวงศ์ พงศาวดาร เรื่องสังคายนาพระธรรมวินัย สมเด็จพระวันรัตน์ วัดพระเชตุพน ในรัชกาลที่ ๑.กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร , 2521.
  77. กี อยู่โพธิ์, ปรีดา ศรีชลาลัย, และวิลเลียม เจ. เก็ดนีย์. บทละครรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2484. หน้า 200.
  78. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (ฉบับพิมพ์ซ้ำ). กรุงเทพฯ : ตั้งท่งฮวด, 2511. 884 หน้า. หน้า 622.
  79. เชาวน์ รูปเทวินทร์. ย่ำอดีต พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับงานกู้อิสรภาพของชาติไทย. กรุงเทพฯ : พี.วาทิน พับลิเคชั่น, 2528. หน้า 343.
  80. ประชุมพงษาวดาร, เล่มที่ 6 (1914). พระนคร : โรงพิมพ์ไทย, 2457. หน้า 39.
  81. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา, และกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ. (2461). ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ 8 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2507. หน้า 116.
  82. กรมศิลปากร. 2530 : 20
  83. ประชุมพงศาวดารภาคที่ 65-66 เล่มที่ 40 , 2512 : 46 และขวัญเมือง จันโรจนี : 33
  84. วาปีบุษบากร, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. "เรื่องเมืองพิษณุโลก" พระนิพนธ์สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2496. หน้า 28 - 30.
  85. ตากสินมหาราช, สมเด็จพระเจ้า, ธนิต อยู่โพธิ์, และปรีดา ศรีชลาลัย. บทละครรามเกียรติ์ เล่าเรื่องหนังสือรามเกียรติ์ และเรื่องงานสร้างชาติไทย. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2484. หน้า 200.
  86. นิยายไทยรัฐ เรื่อง สายโลหิต ตอนที่ 6 หน้า 9.
  87. มติชนออนไลน์ รอมแพงเผย ‘แม่การะเกด’ ยกครอบครัวย้ายไปเพชรบุรี ใน ‘พรหมลิขิต’ เหตุเกิดยุคพระเจ้าท้ายสระ. 4 พฤษภาคม 2561.
  88. ยุคันตวาต ๒ ...ภาคสงครามพระเจ้าอลองพญา ตอนที่ ๑ ราชการศึกในท้องพระโรง(๑)
  89. ทำเนียบตำแหน่งข้าราชการ กองรายงานหนังสือไปมา กรมราชเลขานุการ. นาครสงเคราะห์ ประจำพุทธศักราช 2456. พระนคร : พระราชเสภา, 2456. หน้า 90.
  90. นาครสงเคราะห์ ประจำพุทธศักราช 2456. พระนคร : พระราชเสภา, 2456. หน้า 458.
  91. อักขรานุกรมขุนนาง. โรงเรียนมหาดเล็ก, 1909. หน้า 118.
  92. อมรวงษ์วิจิตร์ (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร), หม่อม.. ประชุมพงศาวดารภาค ๔ และประวัติท้องที่จังหวัดมหาสารคาม : พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาน. หน้า 123.
  93. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานเครื่องอิศริยาภรณ์ วันที่ ๑๕ ธันวาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๒๐. เล่ม 18 หน้า 745. วันที่ 22 ธันวาคม 120 (พ.ศ. 2444).
  94. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๕. เล่มที่ 30 หน้า 1,246. วันที่ 14 กันยายน 2456.
  95. ตรี อมาตยกุล. ประวัติเมืองสำคัญ. พระนคร : บรรณาคาร, 2494. 527 หน้า. หน้า 188.
บรรณานุกรม
  • จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, ๒๓๙๖ - ๒๔๔๓. จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี พิมพ์พร้อมกับฉบับเพิ่มเติม (พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๘๑) และพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลลอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เฉพาะตอน พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๖๓). พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2560. 400 หน้า. หน้า 2. ISBN 978-616-283-353-3
  • สัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ), พระยา. เล่าให้ลูกฟัง : ชีวิตข้าราชการมหาดไทยยุคใกล้อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด, 2557. 276 หน้า. หน้า 21. ISBN 978-974-021-264-5
  • ศรีนิล น้อยบุญแนว, บก. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ฉบับหมอบรัดเล จุลศักราช 1128 - 1144. กรุงเทพฯ : กรมตำรา กระทรวงธรรมการ, 2472.
  • ส. พลายน้อย (นามแฝง). สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : พิมพ์คำ, 2553. 512 หน้า. หน้า 105-106. ISBN 978-616-500-020-8
  • ภาณุพันธุวงศ์วรเดช, จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยา. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค 1. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.), 2455.
  • ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. ไทยรบกับพม่าฉบับรวมเล่ม. พระนคร : ศิลปาบรรณาคาร, 2524.
  • ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. พระราชพงศาวดารรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 – 2. พระนคร : คุรุสภา, 2505.
  • จรรยา ประชิตโรมรัน. การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550.
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วพิมพ์, 2527.
  • สุเนตร ชุตินธรานนท์. สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2310) : ศึกษาจากพงศาวดารพม่า ฉบับราชวงศ์คองบอง. กรุงเทพฯ : สยาม, 2541.
  • วิจารณ์ พานิช. (2550). สนุกกับภาษาไทย – ภาษาอัชฌาไศรย 44. ชายคาภาษาไทย (23). สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน, 2555.
  • สมบัติ ปลาน้อย. ขุนนางสยาม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน. 2541. 271 หน้า
  • กฤตภาส โรจนกุล. โรจนกุล ชีวประวัติและเชื้อสายสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : [ม.ป.ท.], 2554.
  • สมชาย เดือนเพ็ญ. ประวัติศาสตร์ชุมชนเมืองและอำเภอจังหวัดสุโขทัย.
  • สุเนตร ชุตินธรานนท์. สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2310) ศึกษาจากพงศาวดารพม่า ฉบับราชวงศ์คองบอง. กรุงเทพฯ : สองสยาม, 2531.
  • รายงานผลสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลกครั้งที่ 2. วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม พิษณุโลก. กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2527.
  • มานพ ถาวรวัฒน์สกุล. ขุนนางกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการปกครองในสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์, 2530.
  • เมืองพิษณุโลก. ม.ป.ท. , ม.ป.ป. , พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.อ.พูน เสาว์ภายน, 2504.
  • พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติสมิวเซียม. พระนคร : อักษรสัมพันธ์, 2507.
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพัน จันทนุมาศ. พระนคร : คุรุสภา, 2512.
  • กหช.จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 , จ.ศ.1199 , เลขที่ 75 จดหมายเหตุบันทึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ 62 ปี.
  • แดน บีช แบรดลีย์. พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล พ.ศ. 2407.

เจ, าพระยาพ, ษณ, โลก, เร, อง, โรจนก, เจ, าพระยาพ, ษณ, โลก, 2262, 2311, เข, ยนแบบเก, เจ, าพระยาพ, ศณ, โลก, ศณ, โลกย, เด, มช, เร, อง, หร, ญเร, อง, เป, นเจ, าพระยามหานครผ, ครองห, วเม, องช, นเอก, สำเร, จราชการเม, องพ, ษณ, โลก, และเป, นผ, งช, มน, มเจ, าพระยาพ, ษณ, . ecaphrayaphisnuolk ph s 2262 ph s 2311 ekhiynaebbeka ecaphrayaphisnuolk 2 3 phisnuolky 4 edimchux eruxng hrux buyeruxng 5 6 7 epnecaphrayamhankhrphukhrxnghwemuxngchnexk phusaercrachkaremuxngphisnuolk 8 6 aelaepnphutngchumnumecaphrayaphisnuolk eruxng hlngcakesiykrungsrixyuthyakhrngthisxng mirachthinnamkhunnangtamthipraktinthaeniybphraixykartaaehnngnaphleruxn nathhar hwemuxng ph s 1998 wa ecaphrayasursihphisnuwathirach chatiphthyathiebswrthibdi xphyphiriybrakrmphahu 5 9 note 1 note 2 note 3 ecaemuxngphisnuolkexkxuhruxecaemuxngkhunnangradb na 10000 exkxu 17 18 note 4 na 10000 chnsungsud thuxskdina 10000 aelaecaphrayaphisnuolkepntnskul orcnkul 19 20 21 22 23 ecaphrayaphisnuolk eruxng ecaemuxngphisnuolkdarngtaaehnng ph s 227 thung ph s 2311kxnhna ecaphrayaphisnuolk emkh ph s 2251 2275 1 thdip smedcphrabwrrachecamhasursinghnath ph s 2313 2346 khxmulswnbukhkhlekid eruxng buyeruxng ph s 2262krungsrixyuthyaesiychiwit raweduxn 11 ph s 2311emuxngphisnuolkphlemuxng syamsychati ithykhusmrs thanphuhyingechiyngbutr impraktthixyu emuxngphisnuolkthrphysinsuththi skdina 10 000sasna phuthth enuxha 1 rachkaraelabrrdaskdi 2 ekhruxngyskhunnangthiidrbphrarachthan 3 khwamekiywkhxngkbkaresiykrungsrixyuthyakhrngthisxngsubtxenuxngcaksngkhramphraecaxlxngphya 4 khwamekiywkhxngkbsphaphclaclhlngkaresiykrungsrixyuthyakhrngthisxng 4 1 karhlbhnikhxngphrayatiphrawngssuemuxngphisnuolk 4 2 karsthapnakhunepnphramhakstriy 4 3 chumnumecaphrayaphisnuolk eruxng 4 4 karprabhwemuxngehnux aelakarfunfusukrungthnburi ph s 2313 5 wthnthrrmrwmsmy 6 tnskulorcnkul 6 1 ladbsmachikwngstrakul 7 mrdk 8 hmayehtu 9 xangxingrachkaraelabrrdaskdi aekikhecaphrayaphisnuolk eruxng erimrbrachkartngaetwyeyawinrchsmysmedcphrasrrephchythi 9 phraecathaysra aetimprakttaaehnngid krmid swninchwngrchsmysmedcphraecaxyuhwbrmokspraktwaekhyrbrachkarxyudwyknkbhlwngphinicxksr thxngdi fayxalksn 24 krmmhadithy inkrungsrixyuthyaaelaepnshaythisnithsnmkntngaetnnma 25 26 brrdaskdiethathipraktiwmidngni hlwngmhaxamatyathibdi eruxng taaehnngmhadithyfayehnux khunkbkrmmhadithy insmysmedcphraecaxyuhwbrmoks imthrabskdina phrarachvththannphhlphkdi eruxng taaehnngykkrabtremuxngphraphisnuolk note 5 khunkbkrmwng skdina 3000 rngtaaehnngphrapldemuxngphraphisnuolkinsmysmedcphraecaxyuhwbrmoks hwemuxngphisnuolkmipldemuxng 2 khn impraktchuxpldkhunnangkhnthi 2 phrayaphisnuolk eruxng taaehnngecaemuxngphraphisnuolk skdina 10000 phrayaphanthxng smysmedcphraecaxyuhwbrmoks khunkbkrmmhadithy emuxngphisnuolk praktrachthinnamwa phrayasursunthrbwrphisnuwathirach chatiphthyathiebswrthibdi xphyphiriybrakrmphahu 27 ecaphrayaphisnuolk eruxng taaehnngecaemuxngphraphisnuolk skdina 10000 exkxu brrdaskdikhunnangchnsungsud smysmedcphraecaxyuhwbrmoks smysmedcphraecaxuthumphr aelasmysmedcphrathinngsuriyasnxmrinthr phraecaexkths ph s 2302 praktrachthinnamwa ecaphrayasursihphisnuwathirach chatiphthyathiebswrthibdi xphyphiriybrakrmphahu sahrbtaaehnngecaphrayamhankhrphukhrxnghwemuxngchnexkdng ihrbrachkarecaemuxngthiemuxngphisnuolk aemimidepnecanayaetkyngxyuinthanaphiess klawkhux skdinaecaemuxngethiybethaxkhrmhaesnabdithismuhnaykaelasmuhphraklaohm miyssungkwaesnabdichnctusdmph 28 aelayngmithanaepriybiddngkstriyinbanemuxngkhxngtn 29 30 ephraaemuxngphisnuolkepnemuxnghlwnginchwngthismedcphrabrmitrolknath thrngkhrxngrachyinchwngrachxanackrxyuthyasungepnchwngthimisngkhramyudeyuxkbxayackrlanna imephiyngaetepnemuxngphramhaxuprach aetyngepnemuxngyuththsastrthikhxyduaelhwemuxngehnuxthnghmdaeladuehtukarndanemuxngphmaaelaemuxngmxyecaphrayasursih nnepnrachthinnampracaecaemuxngphisnuolkinsmykrungsrixyuthyacnthungsmyrtnoksinthr sahrbkhunnangbrrdaskdichnecaphraya aelaphrayatiphrawngsthikhrxnghwemuxngphisnuolk phraecaphisnuolk eruxng hrux King Ruang 31 32 33 34 35 rachaphiesktnexngepnphramhakstriykhrxnghwemuxngphisnuolk 36 37 emux ph s 2311 smysmedcphraecakrungthnburi odycdphrarachphithirachaphiesktamrabbcaritpraephnikhxngxanackrxyuthya miphrarachpuorhitacaryinsmedcphrathinngsuriyasnxmrinthr khunnanghwemuxngkhnothchntrirxbemuxngphisnuolktang aelakhunnangthihlbhnimacakkrungsrixyuthyakhrnkrungaetkcanwnmakrwmphrarachphithidngklaw thrngsaercrachkaraephndinemuxngphisnuolk hwemuxngchnexk khrxbkhlumthng 7 mnthl phraecaphisnuolk eruxng miphrarachprasngkhtxngkarrwbekhakbchumnumecaphrafang eruxn ihepnpukaephnephuxihmiphrarachxanackhrxbkhlumhwemuxngehnuxthnghmd odyphyayamykthphiptichumnumecaphrafang eruxn thung 3 khrng rwmthngyngmikhwamphyayamthicaburnafunfuphrarachwngcnthnephuxichepnthiprathb odyphbrxngrxyhlkthanbangprakarphayinbriewnphrarachwngekanisungxacekiywkhxngkbecaemuxngphisnuolk 38 kxnesdcswrrkhtdwyorkhfilalxkinkhxinvdunahlak nxkcakniyngmipraktincdhmayehtucin 39 wa phisnuolkidsngphrarachsasnthwaysmedcphrackrphrrdiechiynhlngaehngtaching ephuxihphraxngkhyxmrbsthanakhxng ecaphrayaphisnuolk eruxng epnphramhakstriyithyaehngkrungsrixyuthyathithuktxngsubtxcakphramhakstriyphraxngkhedim rwmthngyngtxtankarkhunkhrxngrachykhxngsmedcphraecataksincnepnehtuihphraecaechiynhlngaehngtachingimyxmrbsthanaphramhakstriykhxngsmedcphraecataksinhmayehtu 1 snnisthanwaxaccaidtngbrrdaskdichnphraya aelaecaphrayainsmysmedcphraecaxyuhwbrmoks enuxngcakimphbhlkthanwasmedcphrathinngsuriyasnxmrinthrtngecaphrayaphisnuolk eruxng ephraakhnannepnchwngchuklahukekidkarsbepliynkstriyphayinrachwngs prakxbkbhwemuxngphisnuolkepnemuxngexkthiepnhnadanekidsngkhrambxykhrng xyangirktampraktbrrdaskdiednchdkhxngecaphrayaphisnuolk eruxng insmysmedcphrathinngsuriyasnxmrinthr emuxidthrngkhrxngrachytxcaksmedcphraecaxuthumphr2 snnisthanwaecaphrayaphisnuolk eruxng xacekiywdxngkbrachwngsbanphluhlwnginthanaekhruxyati idrbkariwwangphrathyihepnphusaercrachkaraethnhwemuxngphisnuolkthukrchsmy aelamikarklawthunginphraniphntheruxng ithyrbphma khxngsmedckrmphrayadarngrachanuphaph txnecafacidphaphrrkhphwkhniipyngemuxngphisnuolkwathanxngcaekiywdxngwaepnyatikbecaphrayaphisnuolkxyangidxyanghnung nxkcakni ecaphrayaphisnuolk eruxng yngekhychwyecafacidihhnixxkmacakkartxngothsinrchsmyaephndinsmedcphraecaxyuhwbrmoks 40 3 ecaemuxngphisnuolkthaphithithuxnaphraphiphthnstyarwmkbsmedcphraecaxyuhwbrmoks 41 ekhruxngyskhunnangthiidrbphrarachthan aekikhecaphrayaphisnuolk eruxng idrbphrarachthanekhruxngysxyangeca 42 43 tamthaeniybskdinahwemuxngecaemuxngphisnuolkaelaecaemuxngnkhrsrithrrmrach ekhaicwaesmxecatangkrm echnediywkbekhruxngyskhxngsmedcecaphraya rwmthungmitarwcsahrbaehxyangeca thipraktinktmnethiyrbal taaehnngphrayahwemuxng kinemuxngthng 4 fay ctusdmph 44 dngni khikhanhamkrrchinghumphakhaw khunnangsamychn sahrbkhunnanghwemuxngchnecaphraya hruxesliynghamepnyanphahna dabphraaesngrachsstra phraaesngdabxayasiththi pracahwemuxngphisnuolk 45 ekhruxngsung phanthxngekhruxngysxyangeca naetanathxng esliyngnga esliyngklibbw eciydthxngsaykhwa ekhruxngthxng krabiknhyn krabibngthxng rmplik 2 khn thantawnebux 1 khu krrchinghumphaaedng 1 khn eruxkubaemngdakhv 3 txn bdladsawtkhudhwthaynnghnasxng khanham ekaxithxng siorephthnmwythxng aetrlaophng 3 khu aelapiklxngkhwamekiywkhxngkbkaresiykrungsrixyuthyakhrngthisxngsubtxenuxngcaksngkhramphraecaxlxngphya aekikhduephimetimthi sngkhramphraecaxlxngphya aela karesiykrungsrixyuthyakhrngthisxng emux ph s 2302 insmythismedcphrathinngsuriyasnxmrinthr phraecaexkths esdckhunkhrxngrachytxcaksmedcphraecaxuthumphr ecafadxkedux idephiyng 1 pi ekidsngkhramphraecaxlxngphyaxnenuxngmacakkhwamkhdaeyngthangthharrahwangrachwngskhxngbxngkhxngphmakbxanackrxyuthyasmyrachwngsbanphluhlwng sngkhramerimtnkhunraweduxnthnwakhm fayphmahmaycaykthphmarukranxanackrxyuthya aelanaipsukaresiykrungsrixyuthyakhrngthisxnginpi ph s 2310emux ph s 2304 phayhlngcakthi enemiywsihbdi esrcsincakkariptihwemuxngmxyaelw mnglxk phraoxrsxngkhihykhxngphraecaxlxngphya cdthphmatiechiyngihm odymi xphykhamni epnaemthph aela mnglasiri epnpldthphphrxmdwyphlcanwn 7 500 nay phraecacnthr ecaphukhrxngemuxngechiyngihm krungsrixyuthyainkhnann thrngaetnghnksuxmathwayphraecaexkthsphrxmdwyekhruxngrachbrrnakar miphraprasngkhihechiyngihmepnemuxngxxkkhxngxyuthya aelakhxkalngthhariprksaemuxngihm phraecaexkthscungtrssngihecaphrayaphisnuolk eruxng eknththphphlhwemuxngehnuxcanwn 5 000 nay ykipchwyemuxngechiyngihm aetthphecaphrayaphisnuolkipidthungbanraaehngnncungidthrabkhawwafayphmalxmemuxngechiyngihmaelwaetfayechiyngihmmikalngimaekhngklankcungesiyemuxngihaekfayphmaip 46 odymi enemiywsihbdi xyurksaemuxngechiyngihmemux ph s 2309 enemiywsihbdi sungxyurksaemuxngechiyngihmkb mngmhanrtha sungxyurksaemuxngthithwayidrbhnngsuxcakphraecamngraphayhlngcakthiesdcipprathbkrungxngwa emuxnghlwngkhxngphmawaihykthphiptikrungsrixyuthya thngnikepnphraprasngkhkhxngphraecaxlxngphyathitrssngiwkxnsinphrachnmwaihtixyuthyaihid thngsxngcungtangeknthphlykthphekhaplnemuxngtang xikfayhnungbukplntngaetemuxngnkhrswrrkhlngmathungemuxngxinthremuxngphrhm cnghwdsinghburi xikfayhnungkplnxyuaethwemuxngsuphrrnburi emuxngrachburi aelaephchrburi aelwcungmarwmthphkn 47 odyhwngthalaykalngfayxyuthyatngaetchnnxk phraecaexkthscungtrsihecaphrayaphisnuolk eruxng eknththphhwemuxngehnuxipkhbil aelaihthphinkrungykthphipilphmathngdanemuxngnkhrswrrkhaelaemuxngrachburidwy odythphdanehnuxihphrayathiebsrbriwtrepnaemthph thphitihphrasunthrsngkhramepnaemthph txmaphraecaexkthsthrngthrabkhwamwaphmatamtimacnthungthnburiktkphrathyekrngwaphmacalwngcuocmekhathungphrankhr cungihphrayartnathiebsrkhumkxngthphsungeknthmacaknkhrrachsimalngmarksathnburixikthphhnungihphrayaymrachkhumkxngthphxikkxnghnunglngmarksannthburikhxyskdphmaexaiw swnthphkhxngecaphrayaphisnuolk eruxng khbilphmacnmasinsudthiphrankhrsrixyuthya n wdphuekhathxng tamphraprasngkhkhxngphraecaexkths 48 aetecaphrayaphisnuolk eruxng thuxoxkasihecaphrayaphlethphkrabbngkhmthulphrakrunakhxphrabrmrachanuyatphraecaexkthsaethntnephuxkhxipplngsphmarda aelakhxphrarachthanihhlwngmhadithy hlwngoksa yng aelahlwngesna xyukhumthphthiwdphuekhathxngaethntn 49 txmaenemiywsihbdirwbrwmphlcaklanna aelalanchangraw 40 000 nay cungykthphcakechiyngihmaebngmathangtak aelathangswrrkholk tihwemuxngehnuxeruxylngma fayecaemuxngkrmkarhwemuxngehnuxehnkhasukphmamamakmaycunghlbhniekhapa phmakidhwemuxngeruxymatngaetphichy swrrkholk cnthungemuxngsuokhthy hlngphmayudhwemuxngsuokhthyidcungtngkhayxyuthisuokhthy ecaphrayaphisnuolk eruxng kbecaemuxngkrmkarhwemuxngehnuxtdsinicrwbrwmphlykthphipchwyphrayasuokhthyrbphmathiyudemuxngemuxngsuokhthy 50 aelaecaphrayaphisnuolk eruxng mkthuxdabphraaesngrachsstrahruxphraaesngdabxayasiththithiidrbphrarachthancakphraecaexkthstlxdewlakhnaiprachkarsukhwemuxngehnuxhlngcakecaphrayaphisnuolkykthphxxkipaelw phraecalukyaethx ecafacid krmkhunsurinthrsngkhram phrarachoxrskhxngphraxngkhecachayaekwkbecafahyingethph phrarachthidakhxngsmedcphrasrrephchythi 9 smedcphraecaxyuhwthaysrahruxecafaephchr aelaepnphrarachnddakhxngsmedcphraephthracha khnannthrngtxngothsthungsinphrachnmphrxmkbecafathrrmthiebsichyechsthsuriywngs ecafakung xyuinkrung emuxsthankarnrasarasay ecafacidcungtdsinbnphukhumhludcakthikhumkhngaelwcungrwbrwmphrrkhphwkykknipemuxngphisnuolk praktinphrarachphngsawdarchbbphrarachhtthelkha khwamwa fayecaphrayaphisnuolkkykkxngthphipchwyrbphmanemuxngsuokhithydwy khnannecafacidepnbutrphraxngkhecada sungtxngsaercothskhrngecafaxiphyecafabremsr phramardannecafaethph epnphrarachthidasmedcphraphuththecahlwngaephndinthrngpla aelepnecaphiecafanimecafasngwalsungepnothskhrngkrmphrarachwngnn aelecafacidtxngothscaxyuinphrarachwng hlwngoksaphlemuxngphraphisnuolkchwykhidxanihhnixxkcakothsid iprbnkhayphuekhathxng aelwphaknhniipemuxngkbthngbawiphrinkxngkhxngtw emuxmathungaelwimphbecaphrayaphisnuolk eruxng ecaemuxng cungmiaephnhmaycayudemuxngphisnuolkodykhidhlxkihecaphrayaphisnuolk eruxng ekhaicphidwaephuxrksaemuxngihmnkhng cungeriykkhunnanginemuxngsngkhwamwatncaepnecaemuxngaethn emuxecafacidkhunnngemuxngphisnuolk cungidaexbekhaekbribthrphysinenginthxngaelayngcudephlingephacwnecaphrayaphisnuolk eruxng thingesiy 51 52 chawemuxngtangimmiphuidklasudwyehnwaepnecanay sunghlwngoksa yng thharexkkhxngecaphrayaphisnuolkkhidehnchxbkbecafaciddwyehtuwaepnecanayechnkn aetyatikhxngecaphrayaphisnuolk eruxng ehnkarn thanphuhyingechiyng 53 54 phriya phrxmdwyphrrkhphwkaelabawiphrcanwnhnungaexbhnilngeruxkhunipyngemuxngsuokhthy ephuxnakhwamipaecngkbecaphrayaphisnuolk ecaphrayaphisnuolk eruxng cungelikthphklbmarwbrwmphukhnaethwemuxngphicitridmakaelwcungtngkhayetriymrbkbphwkecafacidthithayemuxngphraphisnuolk 55 rbknhlayephlacnkrathngphwkecafacidaetk ecafacidsngihthharetriymrbpxngknemuxngaetthharklbimtxsuid ephraathharinemuxngtangknbthuxecaphrayaphisnuolk eruxng emuxthharcbtwecafacididecaphrayaphisnuolk eruxng cungwaklawtietiynaelwcbiskrngsngtwipyngphrankhr emuxmathungbriewnthungsakehlkekhtemuxngphictr fayphukhumthphruwamiphmatngthphthibankubaelathiemuxngnkhrswrrkhcunglngipphrankhrimid ecaphrayaphisnuolk eruxng cungsngihthharcbtwecafacidipthwngnathiekychybriewnnananaelanaym brrdaphrrkhphwkkexaippraharesiy inrahwangthiecaphrayaphisnuolk eruxng klbmaprabecafacid phmathuxoxkasykthphlwngelycaksuokhthymankhrswrrkhlngmayngkaaephngephchr hmaycarukrankrungtxip emuxngphisnuolkcungmiidesiyemuxngaekphma thangithyklawwa thanxngecaphrayaphisnuolkcaepnkhnekhmaekhng cungrksaemuxngphisnuolkiwid aetthangphmaklawwaphmaidemuxngphisnuolkdwy 56 hmayehtu 1 praedneruxngkaresiyemuxngphisnuolkenemiywsibdiphrxmkxngthphphma 40 000 nay ehtukarnkhnannxangthungprachumphngsawdarphakhthi 6 eruxngithyrbphmakhrngkrungeka txn khrawesiykrungkhrnghlng edinthangmacakechiyngihmmathangemuxngswrrkholk aelaemuxngsuokhthy sunghwemuxngehnuxphraecaexkthsoprdihecaphrayaphisnuolk eruxng rksahwemuxngxyu yngkhngxyuthihwemuxngphisnuolk emuxkxngthphphmaerimtiidemuxngswrrkholkekhama ecaphrayaphisnuolk cungykthphipchwyemuxngsuokhthy inrahwangniecafacidthuxoxkastngepnecaemuxngesiyexng ecaphrayaphisnuolkthrabkhawcungklbmaprabecafacidcnsaercaelatngthphrksaemuxngphisnuolkiw emuxngsuokhthytanthphphmaimihwcungesiyemuxngihphmaephraaecaphrayaphisnuolknathphklbiphwemuxngphisnuolkipaelw emuxngthiphmatiidkhuxemuxngswrrkholk emuxngsuokhthy emuxngphichy emuxngphicitr hlwngoksa ecaemuxngphicitrmachwyrachkarxyuthihwemuxngphisnuolkxyukxncaesiyemuxng hlngcaknnkxngthphenemiywsihbdicungmarwmthiemuxngnkhrswrrkhekhluxnthphphansingburihlngiptngkxngthphxyuthi wdpafay chankrungsrixyuthya xangthungphrarachphngsawdarchbbphrarachhtthelkha khxsnnisthan hakphmatiemuxngphisnuolkid 1 1 ecaphrayaphisnuolk eruxng imxacmikalngiphrphlphxthicatngchumnumecaphrayaphisnuolk eruxng id withiphmaykthphekhamainkhrngnipraktinphngsawdarphmathikahndiwepnxubayiwkhux thaemuxngihn hruxaemaettablbanihntxsu phmatiidaelw ekbribthrphysmbtiexacnhmd phukhnkcbepnechlysngipemuxngphma aelwihephabanchxngesiyimihehlux thabanihnemuxngihnekhaxxnnxmtxphmaodydi phmaihkrathastyaelw implnsdmphekbribthrphysmbti epnaeteriykexaesbiyngxaharphukhnphahnamaichsrxykarthphtamaetcatxngkar ecaphrayaphisnuolk eruxng khngmixacekhaxxnnxmphmaihesiyemuxngaetodydi1 2 thphenemiywsibdixacesiykalngphl mikalngimephiyngphxthicatihwemuxnglang emuxngphisnuolkxikcanwnmakephraakxngthphkhxngecaphrayaphisnuolk eruxng ekhmaekhngmak khxmulphngsawdarkhxngithyaelakhxngphmakhdaeyngkn imxacklawidwafayidthuktxngkwaikhr 2 karkhxipplngsphmardakhxngecaphrayaphisnuolk eruxng karelikthphklbemuxngphisnuolkmikhwamkhdaeyngkn dngniphrarachphngsawdarchbbphrarachhtthelkha klawwa emuxphmaekhatihwemuxngehnux krmkarfayehnuxcungaecngkhawtxkrungsrixyuthya phraecaexkthscungoprdihecaphrayaphisnuolk eruxng ykthphiptiphma inkhnaediywknhlwngoksa yng kphaecafacid aelakxngthphkhxnghlwngoksa yng khumxyunn hniklbekhaemuxngphisnuolkethann aetthphecaphrayaphisnuolk eruxng imidklbekhaemuxngmadwyswnphrarachphngsawdarchbbxun klawtrngknwa ecaphrayaphisnuolk eruxng elikthphklbipemuxngphisnuolkodykhxkrabthulephuxlaipplngsphmarda thngni nithi exiywsriwngs idihkhwamehnsxdkhlxngkbpraednniiwwa 57 karkhxthullaipplngsphmardakhxngecaphrayaphisnuolk eruxng nnepnephiyngkhxxangthicathingkrungsrixyuthya thngnikephuxkhwamplxdphyaelaxnakhtthangkaremuxngkhxngtnexng rwmthngkaridepnxisracakkrungsrixyuthyamibanghlkthanrabuwa 58 mikaraephrkhaweruxng phrayaphisnuolk eruxng khxipplngsphmardaxyangaephrhlayrwmthngyngpidkhawrachkarsakhysungkrathaodyrachsankinkrungsrixyuthyaephuxihecaphrayaphisnuolk eruxng idrbkhwamesiyhaykhwamekiywkhxngkbsphaphclaclhlngkaresiykrungsrixyuthyakhrngthisxng aekikhduephimetimthi karesiykrungsrixyuthyakhrngthisxng aela sphaphclaclhlngkaresiykrungsrixyuthyakhrngthisxng karhlbhnikhxngphrayatiphrawngssuemuxngphisnuolk aekikh emuxwnthi 7 emsayn ph s 2310 trngkbwnxngkhar khun 9 kha eduxn 5 pikun nphsk khnathikrungsrixyuthyaekidsngkhramkbphmacwncaesiyaekkhasuk odymithph enemiywsihbdi kbthph mngmhanrtha ekharukrankrungsrixyuthya 59 smedcphrabwrrachecamhasursinghnath buyma smedcphrapthmbrmmhachnk thxngdi aelasmedcphraecabrmwngsethx ecafala krmhlwngckrecsda khunla thrnghlbhniipxyuemuxngphisnuolk sungecaphrayaphisnuolkepnecaemuxngxyuodymi naythxngkhwyaelanayaeym butrkhxnghlwngrksesna cars epnphutidtammadwy 5 smedcphrapthmbrmmhachnkepnphrashayekakhxngecaphrayaphisnuolk 5 cungidrbtxnrbxyangdithungkbsthapnabrrdaskdiaeksmedcphrapthmbrmmhachnk khnannsmedcphrapthmbrmmhachnkthrngmirachthinnamwaxxkphraxksrsunthrsastr krmmhadithy 36 epnxkhrmhaesnabdi 60 taaehnngsmuhnaykaekhwnphisnuolk mirachthinnamwa ecaphrayackrisrixngkhrks smuhnaykxkhrmhaesnabdi xphyphiriybrakrmphahu skdina 10000 dngpraktin phrarachhtthelkhakhxngphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw thungesxr yxn ebaring 1969 62 63 khwamwa 61 brrphburuskhxngphraxngkhedimepnchawmxyxyuinkrunghngsawdi idtidtamsmedcphranerswrmharachekhamarbrachkarinkrungsrixyuthya emuxtxnsmedcphranerswrprakasxisrphaph thanphunikhux phrayaekiyrti idekhamatngbaneruxnxyuthiwdkhunaesn idmilukhlansubtxmacnthungoksapaninaephndinsmedcphranarayn odyepnrachthutipecriysmphnthimtrikbphraecahluysthi 14 aehngkrungfrngess txmalukhlankhnhnungidrbrachkarkbecaphrayaphisnuolkemuxtxnkrungsrixyuthyaaetk aelaidrbbrrdaskdiepnphraxksrsunthresmiyntra phraxksresmiyntramilukhlanhlaykhn khnthi 4 epnchay sungtxmaidkhunkhrxngrachsmbtiepn phraphuththyxdfaculaolk sungepnpukhxngphraxngkhthan aelatngnaythxngkhwy phutidtam epnnaychanay krabwn nayewrkrmmhadithy emuxngphisnuolk smedcphrapthmbrmmhachnk thrngprathbxyuthiemuxngphisnuolkcnswrrkhtkxnthicaesiykrung enuxngcakthrngphraprachwr 36 62 praktinxphiniharbrrphburus nganniphnthkhxnghmxmecapiyaphkdinath supradisth wa 63 64 khrngnnphraecaaephndinphraphisnuolk kkrathakarchapnkicephasphtamtaaehnngysesnabdiesrc khunbuymakbphrabutr thanidekbphraxthikbmhasngkhxutrawtkhxngthaniwphayhlngidnaekhama thwayphrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolkepnsakhy txmamikartngchumnumkhunthnghmd 8 chumnum 65 aebngepnchumnumkhnadihy 5 chumnum chumnumkhnadyxm 2 chumnum aelachumnumchnchatixun 1 chumnum dngnichumnumkhnadihy 5 chumnum chumnumphrayatak sin hruxphrayawchirprakar tngxyuthicnthburi chumnumecaphrayaphisnuolk eruxng mixanaekhtemuxngphichy emuxngnkhrswrrkh chumnumecaphrayankhrsrithrrmrach hnu mixanaekhttngaetemuxngchumphr mlayu chumnumchumnumecaphimay phraecalukyaethx phraxngkhecaaekhk krmhmunethphphiphith phrarachoxrsinsmedcphraecaxyuhwbrmoks mixanaekhttngaetemuxngsraburi phimay lanchang kmphucha chumnumecaphrafang eruxn mixanaekhttngaetemuxngaephr nan aelahlwngphrabangchumnumkhnadyxm 2 chumnum chumnumhlwngxrameruxngvththi thxngdwng thi c smuthrsngkhram kxncarwbekhakbsmedcphraecataksinmharachthikrungthnburi phayhlngprabdaphieskkhunepnphrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolkmharach krungrtnoksinthr chumnumnaybuysngaelaphrayathnburi tngxyuthiemuxngthnburichumnumchnchatixun 1 chumnum chumnumsuki chumnumchnchatimxy hruxnaythxngsuk tngxyuthikhayophthisamtn pccubnkhuxphunthi t phuthela aela t ophthisamtn x bangpahn c phrankhrsrixyuthya karsthapnakhunepnphramhakstriy aekikh khrnkrungsrixyuthyaesiyaekkhasukaelw ecaphrayaphisnuolk eruxng cungkhidtngtnepn phraecaaephndin aelaykemuxngphraphisnuolkkhunepnphramhankhrepnrthexkrachkhxngsyamaehngihmephuxsrangthanrachkarbanemuxngihmnkhngechnediywkbkrungsrixyuthya 6 cungaetngtngkharachkarkhunnangkhunkhrbthuktaaehnng odyaetngtngxkhrmhaesnabdi esnabdictusdmph 4 krm tngxthmntri 8 fay aelatngphriyabutrhlanthixyuemuxngphraphisnuolkkhunepnecanayodythwthungkn phrxmcdphithirachaphiesktamcaritpraephnixanackrxyuthyaepn phraecaphisnuolk mithanaepn phramhakstriyaehngkrungphraphisnuolk aelaichphrarachwngcnthnepnthiprathb khadaetyngimmiphithiaeheliybphrankhr swnkhasngihbngkhbichwa phrarachoxngkar thngthrngphrarachyanphukaepd mixngkhrkstamesdchnahlngxyangmiaebbaephntamcaritpraephniphramhakstriyaehngkrungsrixyuthya phrxmthngcdbanemuxngkhxythacarbkxngthphphmaelymatikrungphisnuolkpraktin phngsawdarkrungsrixyuththyaphasamkhth smedcphraphnrtn wdphraechtuphn wa brrdachnthng 4 nn phrayaphisnuolkthixyuinemuxngphisnuolknn chnthnghlayrbphraoxngkaraelw kihykeswtrchtrthakarrachaphiesk 66 raychuxphuthiidrbaetngtngtamthimihlkthanpraktiw midngni raychuxbukhkhl khunnang taaehnngthiidrbaetngtng hmayehtuthanphuhyingechiyng phraxkhrmehsi phriyaecaphrayaphisnuolk eruxng phraxinthrxakr phramhaxuprachthikrmphrarachwngbwr nxngchayecaphrayaphisnuolk eruxng phraxksrsunthrsastr thxngdi xkhrmhaesnabdi thismuhnayk 67 epnthipruksarachkarbanemuxngphrayaichyburn cb pldemuxngphraphisnuolkhlwngoksa yng rachxngkhrksnaythxngkhwy naychanay nayewr krmmhadithy phutidtamphraxksrsunthrsastr thxngdi nayyim esmiyn krmmhadithynayaeym esmiyn krmmhadithy phutidtamphraxksrsunthrsastr thxngdi chumnumecaphrayaphisnuolk eruxng aekikh chumnumecaphrayaphisnuolkepnchumnumkhxngkhunnangtamrabbcaritkhxngxanackrxyuthya sungecaphrayaphisnuolk mithanaepnphramhakstriy epn phraecaphisnuolk 68 chumnumecaphrayaphisnuolk thuxepnchumnumhwemuxngehnuxthiihythisud tngxyubnfnglananan mixanaekhttngaetemuxngphichylngmacnthungemuxngnkhrswrrkhaelapaknaophkhrxbkhlum 7 mnthl khux 1 emuxngphisnuolk emuxngsrlwngsxngaekhw 2 emuxngsuokhthy nkhrithy 3 emuxngsrischnaly emuxngswrrkholk hruxemuxngechliyng hruxemuxngechiyngchun 4 emuxngkaaephngephchr rwmemuxngnkhrchum 5 emuxngphicitr rwmemuxngpakym 6 emuxngphrabang aela 7 emuxngthungyng emuxngphichy hlngcaktngtnexngepnphunachumnumaelwidmibrrdakharachkarekakrungsrixyuthyamaswamiphkdidwyhlaynayenuxngcakecaphrayaphisnuolkepnphumikhwamsamarthinkarsurb epnkhunnangekaaekchnsunginsmykrungsrixyuthya cungmiphunbthuxxyumak dngpraktinphraniphnthsmedckrmphrayadarngrachanuphaphwa khngepnephraaepnphumichuxesiyngekiyrtiysdngklawmani cungmiphuniymnbthuxmak aemkharachkarekainkrungsrixyuththyakipekhakbecaphisnuolkmakdwykn 69 hlngcakphanphithibrmrachaphieskesrc phraecaphisnuolk eruxng txngkarmixanachwemuxngehnuxthnghmd cungidykthphiptichumnumecaphrafang eruxn thung 3 khrng aetimaephimchnakn dngpraktinphrarachphngsawdar chbbphrarachhtthelkhawa 70 aelecaphisnuolkykphlthharxxktxrbepnsamarth thphfangcahkexaemuxngmiid aetrbknxyupramanhkeduxn thphfangkphaknelikklbipemuxng phaphaesdngthitngchumnumtang hlngkaresiykrungsrixyuthyakhrngthisxng ph s 2310 1 chumnumphrayatak rwmkbchumnumsukiphranaykxng 2 chumnumecaphrayaphisnuolk eruxng 3 chumnumecaphrafang 4 chumnumecaphimay 5 chumnumecaphrayankhrsrithrrmrachemux ph s 2311 hlngcakthismedcphraecakrungthnburithrngthrabkhxmulcakecaphrayackri thxngdwng ekiywkbecaphrayaphisnuolk raweduxntulakhm vdunahlakcungykthphdwykalngphl 15 000 nay ipprabchumnumecaphrayaphisnuolkepnchumnumaerksungepnchumnumihy ecaphrayaphisnuolkcungidihhlwngoksa yng ykkxngthphmatngrbthitablekychy ekhtemuxngnkhrswrrkh khxydksumskdthph khrnkxngthphkhxngsmedcphraecakrungthnburiykkhunipthung kidpatharbphungknxyangsamarth thharfaychumnumecaphrayaphisnuolk idyingpunmathukphrachngkh hnaaekhng khxngsmedcphraecakrungthnburiidrbbadecb cungtxngykthphklb dngpraktinphrarachphngsawdar chbbphrarachhtthelkha elmthi 3 bnthukwaecaphraphisnuolk eruxng idthrabkhawsuk cungaetngihhlwngoksa yng ykkxngthphlngmatngrb idrbknepnsamarth khasukyingpunmatxngphrachngkhkhangsay cungihlathphhlwngklbmayngkrungthnburipraktinphrarachphngsawdarkrungthnburi chbbphncnthnumas ecim klawwaphrayaphisnuolkrupraphvtiehtu aetngphlthharihhlwngoksa yng ykxxkmatngrb phraecaxyuhwesdcnaphlthngpwngekharnrngkhdwykhasukkhrngnn faykhasukyingpunmadnghafntxngphrachngkhebuxngsay eliybtdphiwphramngsaipcungihladthphklbyngkrungthnburiphrayasrischnalybdi eliyng siripalaka bnthukwainplaypichwdnn smedcphraecaxyuhwesdcykphyuhoythaithycin srrphdwysrrphawuththngthangbkthangerux khuniptiemuxngphisnuolk sungecaphrayaphisnuolk eruxng tngtwepnecaaekhngemuxngxyu idrbknepnsamarth khasukyingpunkrasunpunechiydkhaecahmuniwywrnath sungnngeruxhnaphrathi nngphanungkhad krasunelyiptxngphraxngkhebuxngsay cungidlathphklbphrankhrbnthukkhwamthrngcakhxng phraecaipyikaethx krmhlwngnrinthrethwi bnthukiwwa 71 72 iptiekychy thukpunimekha chumnumecaphrayaphisnuolk eruxng nbepnchumnumihychumnumaerkthismedcphraecakrungthnburiiptiaelwimsaerc 73 txma phraecaphisnuolk kesdcswrrkhtdwyorkhfilalxkemuxeduxn 11 pichwdsmvththisk trngkbeduxnphvscikayn ph s 2311odyehtukarnesdcswrrkhtni mihlkthanthangprawtisastrklawaetktangknxxkip echn phngsawdarkrungsrixyuthyaphasamkhth chbb smedcphraphnrtn wdphraechtuphn txn aephndinphrayaphisnuolk klawwa phrayaphisnuolkxyuinrachsmbti 6 eduxn phrachnmayuid 49 pi kesdcswrrkhtiptamythakrrm 74 75 76 77 phrarachphngsawdar chbbphrarachhtthelkha chbbsmedckrmphrayadarngrachanuphaph sungniphnthkhuninsmyhlng klawkhdaeyngkn wa inpichwd smvththisknn fayecaphraphisnuolkeruxngemuxmichychphnaaekkhasukfayitaelw kminaickaeribthuxtwwamibuyyathikarmak cungtngtwkhunepnphraecaaephndinrbphrarachoxngkar xyuidpramanecdwn kbngekidwnorkhkhuninkhxthungphiraly 78 phraxinthrxakr nxngchaykhxngecaphrayaphisnuolksungepnpldemuxngxyuedim cungidkhunkhrxngemuxngaethn aetimidsthapnaepnkstriy phayhlngemuxngphisnuolkxxnaexlngenuxngcakphraxinthrxakrimchanaykarrb epnkhnthrrmathrrmom chxbekhawdfngethsnthabuyxyuepnnity aelaimepnthiniymkhxngchawemuxngaelabrrdakharachkar 79 aetxyangirktammihlayhlkthanthiimidpraktnamkhxng phraxinthrxakraelaimidekiywkhxngkbecaphrayaphisnuolk eruxng mibanghlkthanpraktwaphraxinthrxakrthukecaphrafang eruxn cbtxngothscnesiychiwit txmachumnumecaphrayaphisnuolk eruxng cungxxnaexlngcungekidissukmichawemuxngepidpratuemuxngrbthphecaphrafangekhaemuxng 80 enuxngcakthphecaphrafakmalxmemuxngphisnuolkid 2 eduxncnbanemuxngekidkhwamxdxyak sngphlihekidkarrukrankhxngchumnumecaphrafang eruxn khuncntiemuxngemuxngphisnuolkaetkipinthisud brrdakhunnangaelachawemuxngphisnuolkthihnixxkmaidcunghniipphungepnbriwarkhxngsmedcphraecakrungthnburi dngpraktincdhmayehtuohr 81 khwamwa pichwd c s 1131 emuxngphisnuolk emuxngphicitr aetkmasuophthismphar chumnumecaphrafang eruxn epnchumnumkhxngkbtiphr tngxyuthiwdphrafang emuxngswangkhburi emuxngfang mixanaekhtthangehnuxthunghwemuxngaephraelanan echuxmtxkbwthnthrrmrahwangsyam lanna aelalanchang aelaxananaekhtthangitthunghwemuxngxuthythani 82 ruklaekhaaednemuxngchynath dngprakt dwyehlaraynnyklngmatraewn tiexakhawplaxahar ephaeruxnesiyhayhlaytabl iphrbanphlemuxngidrbkhwamaekhnekhuxngkhdsn 83 sungxanaekhtthangitidmacakkarthichumnumecaphrafang eruxn phnwkkbchumnumecaphrayaphisnuolk eruxng ecaphrafang eruxn thukklawhawaepn khnxastyxathrrmfayehnux ephraaepnphraphiksuthiyayiphrathrrmwinyphraniphnthkhxngsmedcphraecabrmwngsethx phraxngkhecadiswrkumar krmphrayadarngrachanuphaph eruxng ethiywtamthangrthif 84 klawthungehtukarndngklawiwwa emuxphmamatikrungsrixyuthya ykkxngthphmathangemuxngkaycnburi 1 thang thangemuxngechiyngihm 1 thang phmaimklaiptiemuxngphisnuolk ykhlikelymathangemuxngsuokhthy ecaphrayaphisnuolkykkxngthphtidtamiptiphma kalngrbknxyuthangemuxngphisnuolkmiphwkithydwyknchingemuxng hmaythungecafacud ecaphrayaphisnuolkcunglathphklbiprksaemuxngtamedim khrnimmiphrarachathibdipkkhrxngkrungsrixyuthyaaelw ecaphrayaphisnuolktngchumnum ecaphrafangykkxngthphmatiemuxngphisnuolk txnglxmemuxngxyu 7 eduxntiimidemuxngcunglathphklbipemuxsmedcphraecakrungthnburimaykkxngthphhmaycatiemuxngphisnuolkaetkthukpuntxnglathphklb ecaphrayaphisnuolkcungtngtwepnihyidthaphithirachaphiesktngtwkhunepnphramhakstriy aetephxiyekidorkhthiinkhx phxrachaphieskid 7 wnkthungaekphiraly epnehtuihkhnthnghlayehnwayktnekinwasna emuxngphisnuolkcungxxnaexlng ecaphrafangidykthphmaxiktnglxmxyu 2 eduxnkidemuxngphisnuolkhmayehtu hlwngoksa yng edimepnecaemuxngphicitr epnkhunnangthisnithsnmkbecaphrayaphisnuolk eruxng sungmachwyrachkarinkarsurbesmx hlngcakecaphrayaphisnuolk eruxng rwbhwemuxngaelatngchumnumaelwcungaetngtngihhlwngoksa yng epnthharkhxngtnexng hlngcakchumnumecaphrayaphisnuolk eruxng phay cunghlbhniipemuxngswangkhburiipepnthharkhxngchumnumecaphrafang eruxn karprabhwemuxngehnux aelakarfunfusukrungthnburi ph s 2313 aekikh ph s 2313 71 trngkbwnesareduxn 8 aerm 14 kha eduxnmithunayn smedcphraecakrungthnburiykthphipti chumnumecaphrafang eruxn aelaphma hwemuxngehnuxxikkhrngodyaebngepn 1 thphhlwngepnthpherux kalngphl 12 000 nay smedcphraecakrungthnburi esdckhunipthungphisnuolkkxnthphbk 9 wn tiemuxngphisnuolkipkxn 2 thphbkthi 1 kalngphl 5 000 nay ih smedcphrabwrrachecamhasursinghnath buyma khnannthrngbrrdaskdiepn phrayaymrach epnaemthph edinthphipthangfngtawnxxkkhxngaemnaecaphrayaaelananan sungthphbkthi 1 edinthangmathungkxnthphbkthi 2 2 wn 3 thphbkthi 2 kalngphl 5 000 nay ih ecaphrayaphichyracha khnannbrrdaskdiepn phrayaphichyracha epnaemthph ihedinthphipthangfngtawntkkhxngaemnaecaphrayaaelanananbrrcbkbthphykthi 1 thiphisnuolkchumnumecaphrafang eruxn nbepnchumnumsudthaythismedcphraecakrungthnburitiid txmasmedcphraecakrungthnburioprdihedinthphsmedcphrabwrrachecamhasursinghnath buyma iptiemuxngswangkhburi emuxthphbkkhxngecaphrayaphichyrachamathungcungihribipchwythphkhxngsmedcphrabwrrachecamhasursinghnath buyma tiemuxngswangkhburiwnxathity eduxn 9 aerm 7 kha emuxtiemuxngswangkhburiidaelw michawemuxngswangkhburiswnhnunghnikhuniplanna sngphlih opmayungwn khunnangphmaechuxphrawngs epnxuprachxanackrlanna ecaphukhrxngemuxngechiyngihmkhnannthrngthrabsthankarnaelwwa smedcphraecakrungthnburisamarthrwbrwmpraethsepnxanackrediywkneriybrxyaelwnbcakwnthierimkxbkuxanackr 6 phvscikayn 2310 epnewlanan 2 pi 10 eduxn 71 wthnthrrmrwmsmy aekikhbthbathkarmitwtnkhxngecaphrayaphisnuolk eruxng rwmthungbukhkhlinkhrxbkhrwthuksrangkarrbruaeksngkhmithyinyukhpccubnphanwrrnkrrm nganekhiyn lakhr aelanwniyayxingprawtisastrhlakhlay echn bthlakhrramekiyrti phrarachniphnthsmedcphraecakrungthnburi eruxngngansrangchatiithy mikarklawthungkarekidsngkhrampathaknhlaykhrngrahwangthiecaphisnuolk eruxng tnskulorcnkul yngmiphrachnmxyu 85 krungaetk epnnwniyayxingprawtisastr praphnthody hlwngwicitrwathkar wicitr wicitrwathkar hruxkimehliyng odyklawthungbthbaththangkarsngkhramkhxngecaphrayaphisnuolk eruxng khrawesiyngkrungkhrngthisxng aelathanphuhyingechiyng phriyakhxngecaphrayaphisnuolk eruxng kbkhunhyingnimnwl inbthbathstrithiepnphutxtankarekhayudemuxngphisnuolkkhxngecafacid faihm epnnwniyaypraphnthody suphr bunnakh ddaeplngepnbthothrthsnemux ph s 2547 klawthung ernunwl naaesdngody phchrapha ichyechux bthbathluksawkhnediywecaphrayaphisnuolk eruxng aelabthbathkhxngecaphrayaphisnuolk eruxng naaesdngody xrrthchy xnntemkh aetphayhlngthuktdxxkip sayolhit epnnwniyaypraphnthody osphakh suwrrn aelamikarddaeplngepnlakhrothrthsn emuxkhrawxxkxakaskhrngthi 4 pi ph s 2561 klawthungehtukarn ekidkbtthiemuxngphisnuolkkhnaecaphrayaphisnuolk eruxng ykthphipchwyphrayasuokhthy epnehtuihtxnglathphklbemuxngphisnuolk 86 phrhmlikhit epnniyayphakhtxcak buphephsnniwas praphnthody rxmaephng sungidepidephyinngan ekrdprawtisastrthiyngkhaiccaksilpakrsubuphephsnniwas 87 waepnehtukarnthiekidkhuninrchkalphraecathaysra khuneruxngaelakhunridbutrchaykhxngaemkaraekdkbkhunsriwisarwacacaipxyuthiemuxngphisnuolkphrxmkbhmuneruxngrachphkdi mikraaesthangsuxosechiylwa khuneruxnghruxhmuneruxngrachphkdi khnidkhnhnung xacekiywkhxngkbtaaehnngecaemuxngphisnuolk sungepnchwngkhabekiywkbecaphrayaphisnuolk eruxng thierimrbrachkarinchwngrchkalkhxngphraecathaysra yukhntwat 2 phakhsngkhramphraecaxlxngphya niyayaefntasixingprawtisastr aetngody LanzaDeluz namaefng klawthungbthbathkhxngecaphrayaphisnuolk eruxng txn rachkarsukinthxngphraorng 88 tnskulorcnkul aekikhorcnkul epnnamskulphrarachthaninsmyrchkalthi 6 trngkbrchsmyphrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw epnskulkhxngecaphrayaphisnuolk eruxng inkhrawnnmi phrayachanayxksr plxb krmpldesuxpa kxngesnahlwngrksaphraxngkhinrchkalthi 6 rxngeswkexk 89 hlwnglikhitpricha plxb pldkrmkxngraynganhnngsuxipma krmrachelkhanukar 90 aelanayphnoth hlwngphisnthyuththkar puk thharmhadelk 91 krmyuththnathikar 92 hruxkrmthharbk 93 epnphukrabbngkhmthulkhxphrarachthannamskul emuxsubsaykhunipaelwcungthrngphrarachwinicchyichkhawa orcna rwmkbkhawa kul ihhmaythung trakulkhxngecaphrayaphisnuolk eruxng thrngmiphrabrmrachoxngkaroprdekla phrarachthannamskulwa orcnakul pccubnniymsakdwa orcnkul xksrormn Rochanakul ihaek nayphnoth hlwngphisnthyuththkar puk aelarxngeswkexk hlwnglikhitpricha plxb emuxwnthi 14 knyayn ph s 2456 tamthipraktinrachkiccanuebksa prakasphrarachthannamskulkhrngthi 5 94 ladbthi 368 elmthi 30 hna 1 246 odyphraecabrmwngsethx krmphranersrwrvththi esnabdikrathrwngmurthathrinkhnannrbsnxngphrabrmrachoxngkar ladbsmachikwngstrakul aekikh smachikwngstrakulethathicasubidmidngni ecaphrayaphisnuolk eruxng ph s 2262 2311 ecaemuxngphraphisnuolkhlwnglikhitpricha khum orcnkul ecakrmphraxalksn fayphrarachwngbwrsthanmngkhl smyrchkalthi 3nayphnoth hlwngphisnthyuththkar puk orcnkul krmthharbk smyrchkalthi 5rxngeswkexk hlwnglikhitpricha plxb orcnkul pldkrmkxngraynganhnngsuxipma krmrachelkhanukar smyrchkalthi 5 phrayachanayxksr plxb orcnkul pldkrm krmpldesuxpa kxngesnahlwngrksaphraxngkhinrchkalthi 6 phraxanwyentiphcn eluxng orcnkul imprakt ph s 2472 phuphiphaksahwhnasalcnghwdrxngxamatyexk hlwngwiorcnrthkic epruxng orcnkul phuwarachkarcnghwdrxngxamatyoth khunorcnkulpraphthr 95 pxnd orcnkul nayxaephx srichy orcnkul aepn orcnkul imprakt 2538 esmiyntramhadith aelapldxaephx dd dd dd dd dd dd dd mrdk aekikhthnnecaphrayaphisnuolk xaephxemuxng cnghwdphisnuolksxyorcnkul tablkhlxngdan xaephxbangbx cnghwdsmuthrprakarhmayehtu aekikh rachthinnamedimmichuxwa ecaphrayasrsri 10 11 12 13 aelwaeplngepn sursri txmaepn srsih krathngklayepn ecaphrayasursih 14 mikhwamhmaywa ecaemuxngphisnuolk phuekngkacehmuxnrachsih 15 swnsrxy phisnuwathirach edimichkhawa phismathirach 16 aelwaeplngepn phismwathirach bang phisnuwathirach bang phisnuwathirach bang cnklayepn phisnuwathirach rachthinnamthiekhiynxikaebb praktchuxwa ecaphrayasursihphismwathirach buyeruxng 6 epnrachthinnamsahrbecaphrayahruxphrayatiphrawngskhrxngecaemuxngchnexk emuxngphisnuolk praktinmlethiyrbaleriykwa na 10000 kinemuxngthng 4 fay hrux thawphrayahwemuxngthng 4 khunnangchnexkkhxngrachxanackrthimiskdiradbna 10000 insmyxyuthyayngaebngepn exkxu hrux exkxutm exksmburn exkm hrux exkmthym exkradbklang aela exks hrux exksamy exksamy phrarachkahndeka ph s 2302 immiprakttaaehnngyukrabtrpracahwemuxngphraphisnuolkxangxing aekikhechingxrrth k s r kuhlab tvsnannth mhamukhmatyanukulwngs wadwyladbwngstrakulkhunnangithythngsininaephndinsyam phrankhr syampraephth r s 124 phrarachphngsawdar chbbphrarachhtthelkha phrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphrackrphrrdiphngs cad phrarachphngsawdarkrungthnburisngekhp 2516 krungethph xmrkarphimph 2516 hna 3 phimphinnganchapnkicsphnaywirulh bunyrtphnthu n emruwdrakhngokhsitaram thnnxrunxmrinthr krungethph wnthi 27 tulakhm 2516 5 0 5 1 5 2 5 3 chuskdi sriephy phloth aelakhna bnthukphrayasccaphirmyxudmrachphkdi srwng sriephy elaihlukfng subkhn emsayn 2555 6 0 6 1 6 2 6 3 prayuthth siththiphnth tntrakulkhunnangithy krungethph khlngwithya 2505 544 hna hna 127 manph thnxmsri ecaphrayaoksathibdi pan rachthutaehngphraecaaephndinkrungsyamtnrachwngsphrabrmmarachckri phimphkhrngthi 1 krungethph tnxx 2533 68 hna hna 41 laxxng srisukhnth ethiywemuxngithy 71 cnghwd elmthi 1 krungethph khlngwithya 2508 phiess burnasmbti 2547 prawtisastrkarpkkhrxngkhxngithy tngaetsmyerimaerkthungepliynepnprachathipity ph s 2475 krungethph rwmsasn 1977 cdhmayehtuohrchbbramy silpakr elmthi 1 chbbthi 2 phrankhr krmsilpakr 2480 prachumphngsawdar phakhthi 82 eruxng phrarachphngsawdarkrungsyam caktnchbbkhxngbritichmiwesiymkrunglxndxn phimphkhrngthi 2 krungethph krmsilpakr 2537 423 hna hna 115 ISBN 974 419 025 6 pracha niymwngs bnthukhlkthanaelaehtukarn smykrungethph elmthi 1 phrankhr mitrithy 2483 hna 91 khnakrrmsphawthnthrrmaehngchati cnghwdtang inpraethsithy 71 cnghwd elmthi 2 krungethph sphawthnthrrmaehngchati krathrwngwthnthrrm 2500 krmsilpakr echlimphraekiyrtismedcphrabwrrachecamhasursinghnath krungethph prayurwngs 2522 hna 115 xkkhranukrmprawtisastrithy xksr kh ng c krungethph krmsilpakr 2526 hna 410 ISBN 974 792 228 2 kthmaytrasamdwng elm 1 phrankhr khuruspha 2515 317 prawtimhadithy swnklang elmthi 2 chbbthi 2 m p ph 2511 hna 190 namskulphrarachthan phrarachwngphyaith hmwdxksr r ladbthi 368 namskulphrarachthan r s 113 124 kh s 1894 1905 namskulthikhuntndwy r phumiphisyphisuththiwrphngs r 2 namskulphrarachthan r 2 ki xyuophthi prida srichlaly aelawileliym ec ekdniy bthlakhrramekiyrti phrarachniphnthsmedcphraecakrungthnburi krungethph orngphimphphracnthr 2484 hna 200 ethph sunthrsarthul mngkhlnam tamtaraohrasastr krungethph phranarayn 2534 hna 205 prakxb ochprakar aelakhna 2521 ptiwtisamsmy prawtisastrkaremuxngithy eruxngkhxngkhnithy krungethph rwmkhaw 1152 hna hna 196 prayur phisnakha smedcphraphuththyxdfaculaolk krungethph sankhxsmudklang 09 2516 463 hna hna 88 phladisy siththithykic smedcphrapthmbrmchnknath krungethph bnthuksyam 2544 126 hna hna 66 ISBN 974 862 989 9 eruxngtngecaphrayainkrungrtnoksinthr m p p phaskr wngstawn prawtisastrsngkhramekathph smytnkrungrtnoksinthr krungethph sankphimphyipsi krup 2553 174 hna hna 49 ISBN 611 707 101 9 ethphrtnrachsuda syambrmrachkumari smedcphra bnthukeruxngkarpkkhrxngkhxngithysmyxyuthyaaelatnrtnoksinthr phrarachniphnthinsmedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari krungethph phi ekh phrinting 2540 160 hna hna 39 43 buyyekiyrti karaewkphnthu aelakhna hwemuxngchnexk sthabnphrapkekla Mishra Patit Paban 2010 History of Thailand California Greenwood pp 69 70 W A R WOOD cut H B M CONSUL GENERAL CHIENGMAI 1924 A History Of Siam From The Earliest Times To The Year A D 1781 Bangkok Chalermnit Press pp 255 256 Committee of National Annual Report THAILAND Official Year Book 1964 Bangkok Government House Printing Office 2507 80 Tate D J The Making of Modern Southeast Asia The European conquest 1st ed United Kingdom Oxford University Press 1971 500 Shiv Shanker Tiwary Encyclopaedia of Southeast Asian Dynasties Vol II Anmol Publications 2008 pp 46 36 0 36 1 36 2 Bowrings Sir John 1855 THE KINGDOM AND PEOPLE OF SIAM WITH A NARRATIVE OF THE MISSION TO THAT COUNTRY IN 1855 VOLUME I London John W Parker and Son West Strand pp 67 culckrphngs phraecawrwngsethx phraxngkheca prachumphngsawdar phakhthi 65 phrarachphngsawdarkrungthnburi chbbphncnthnumas ecim krungethph edlieml 2480 phimphaecknganphrarachthanephlingsph nayphnexk phrayasiriculeswk phw culeswk n wdmkutkstriyaram syamrthspdahwicarn elmthi 53 chbbthi 10 18 hna 31 ntthphthr cnthwich khxethccringbangprakarekiywkbprawtisastrsmyxyuthyatxnplayaelakrungthnburicakcdhmayehtucin silpakr pithi 24 elmthi 2 aela 3 2523 hna 21 22 wibul wicitrwathkar strisyaminxdit krungethph srangsrrkhbukhs 2542 370 hna hna 81 ISBN 974 737 729 2 silpakr elmthi 48 chbbthi 1 3 silpakr elmthi 6 chbbthi 1 phrankhr krmsilpakr 2505 nrisranuwdtiwngs smedc ecafakrmphraya sasnsmedc phakhthi 27 phrankhr krmsilpakr 2493 hna 54 hmxbldel hnngsuxeruxngkthmayemuxngithy elmthi 2 phimphkhrngthi 4 culskrach 1243 pimaesngtrisk krungethph rimpxmpakkhlxngbangkxkihy 2425 thrrm khamn ophwathi xnusrnnganphrarachthanephlingsphnay rng thsnaychli p ch p m n chapnsthan sankngantarwcaehngchati wdtrithsethphwrwihar 15 krungethphmhankhr 2544 krungethph m p th 2554 206 hna hwn phinthuphnth phisnuolkkhxngera phrankhr krungsyamkarphimph 2514 hna 21 Lt Gen Sir Arthur P Phayre 1883 History of Burma 1967 ed London Susil Gupta pp 188 190 prachumphngsawdar phakhthi 64 phngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim phrarachphngsawdar chbbphrarachhtthelkha hna 267 nithi exiywsriwngs karemuxngithysmyphraecakrungthnburi krungethph mtichn 2529 hna 51 52 khnakrrmkarxanwykarcdnganchlxngsirirachsmbtikhrb 50 pi prachumphngsawdarchbbkaycnaphiesk krungethph krmsilpakr 2542 ephling phupha rthpraharyudbllngkkstriybnaephndinxyuthya krungethph ecaphraya 2557 hna 185 s phlaynxy saranukrmprawtisastrithy krungethph barungsasn 2517 508 hna wibul wicitrwathkar strisyaminxdit krungethph srangsrrkhbukhs 2543 359 hna aedn bich aebrdliy phrarachphngsawdarkrungeka chbbhmxbrdel culskrach 1225 phakhthi 27 phimphkhrngthi 2 phrankhr orngphimphmischnexriaexossiexsn rimpxmpakkhlxngbanghlwng 2434 darngrachanuphaph smedckrmphraya prachumphngsawdar phakhthi 6 eruxngithyrbphmakhrngkrungeka sngkhramkhrngthi 24 khrawesiykrungkhrnghlng krungethph xksrniti 2460 nithi exiywsriwngs krungaetk phraecatak aelaprawtisastrithy wadwyprawtisastraelaprawtisastrniphnth krungethph sankphimphmtichn 2538 1995 299 hna hna 84 ISBN 974 711 426 7 surinthr ethphkaycna aelarng thsnaychli xnusrnnganphrarachthanephlingsphnayrng thsnaychli krungethph m p ph 2544 206 hna hna 160 ISBN 974 765 472 5 GE Harvey 1925 History of Burma London Frank Cass amp Co Ltd pp 250 254 phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw pthmwngs prachumphngsawdar elm 8 phrankhr kawhna 2507 hna 231 Bowring Sir John The Kingdom and People of Siam Vol 1 Oxford University Press 1969 ethph sunthrsarthul phraphuththyxdfamharach kstriynkrb nkrk nkkwi nkkarthut txnthi 5 xphiniharbrrphburus xnusrn hmxmecapiyphkdinarth supradisth smedcphraecaphiyaethx ecafakrmphrankhrswrrkhwrphinit oprdihphimphepnkhxngcharwyinnganphrarachthanephlingsph hmxmecapiyphkdinarth supradisth emux ph s 2473 phrankhr orngphimphosphnphiphrrththnakr 2473 64 hna hna 29 30 ekrikvththi echuxmngkhl aerksthapnakrungrtnoksinthr krungethph syamkhwamru 2562 209 hna hna 18 ISBN 978 6 16 441530 0 ethph sunthrsarthul smedcphraecataksinmharach krungthnburisrimhasmuthr txn 8 kkkrungsyam krungethph dwngaekw 2546 99 hna phnrtn wdphraechtuphn smedcphra 2459 phngsawdarkrungsrixyuththyaphasamkhth aelkhaaepl phcnsunthr eruxng xtieprmannth phraya phuaepl krungethph orngphimphithy hna 32 33 xaiph palwthnwiichy rachskulkrmphrarachwngbwrsthanphimukh krmphrarachwnghlng 1982 innganphrarachthanephlingsph xamatyexk phrayayxdemuxngkhwang m l xn esniwngs n emruwdmkudkstriyaram 16 thnwakhm 2525 krungethph ecriyphl 2525 153 hna hna 14 khch cdhmayehturchkalthi 3 c s 1199 elkhthi 75 darngrachanuphaph smedckrmphraya 2463 phngsawdar eruxngerarbphma khrngkrungsrixyuththya elmthi 2 phraecanxngyaethx krmkhunkaaephngephchrxrrkhoythinthr oprdihphimphkhrngaerk innganphrarachthanephlingsph ecacxmmardawadrchkalthi 5 emuxpiwxk ph s 2463 phrankhr orngphimphithy 392 hna phrarachphngsawdar chbbphrarachhtthelkha phakhcb 2505 308 71 0 71 1 71 2 wsinth sarikaphuti phleruxexk smedcphraecataksinmharach txnhkkhimphmaaelaesuxphbsingh nawiksastr sanknganrachnawispha 91 8 6 12 singhakhm 2551 cdhmayehtukhwamthrngcakhxngkrmhlwngnrinthrethwi hna 90 khxthi 20 chyvks ichyokminthr phlexk praednphrayatakepnkbt Bowrings Sir John 1855 THE KINGDOM AND PEOPLE OF SIAM WITH A NARRATIVE OF THE MISSION TO THAT COUNTRY IN 1855 VOLUME I London John W Parker and Son West Strand pp 67 phnrtn phra phngsawdarkrungsrixyuthyaphasamkhthaelakhaaepl phrayaphcnsunthr aepl phrankhr phimphinngansphthaneluxm bunnakh 2459 hna 32 33 sngkhitiywngs phngsawdar eruxngsngkhaynaphrathrrmwiny smedcphrawnrtn wdphraechtuphn inrchkalthi 1 krungethph hanghunswncakd siwphr 2521 ki xyuophthi prida srichlaly aelawileliym ec ekdniy bthlakhrramekiyrti phrarachniphnthsmedcphraecakrungthnburi krungethph orngphimphphracnthr 2484 hna 200 darngrachanuphaph smedckrmphraya phrarachphngsawdar chbbphrarachhtthelkha chbbphimphsa krungethph tngthnghwd 2511 884 hna hna 622 echawn rupethwinthr yaxdit phrarachprawti smedcphraecataksinmharachkbngankuxisrphaphkhxngchatiithy krungethph phi wathin phbliekhchn 2528 hna 343 prachumphngsawdar elmthi 6 1914 phrankhr orngphimphithy 2457 hna 39 darngrachanuphaph smedckrmphraya aelakrrmkarhxphrasmudwchiryan 2461 prachumphngsawdar elmthi 8 phimphkhrngthi 1 krungethph khuruspha 2507 hna 116 krmsilpakr 2530 20 prachumphngsawdarphakhthi 65 66 elmthi 40 2512 46 aelakhwyemuxng cnorcni 33 wapibusbakr phraecabrmwngsethx phraxngkheca eruxngemuxngphisnuolk phraniphnthsmedc krmphrayadarngrachanuphaph krungethph krmsilpakr 2496 hna 28 30 taksinmharach smedcphraeca thnit xyuophthi aelaprida srichlaly bthlakhrramekiyrti elaeruxnghnngsuxramekiyrti aelaeruxngngansrangchatiithy phrankhr orngphimphphracnthr 2484 hna 200 niyayithyrth eruxng sayolhit txnthi 6 hna 9 mtichnxxniln rxmaephngephy aemkaraekd ykkhrxbkhrwyayipephchrburi in phrhmlikhit ehtuekidyukhphraecathaysra 4 phvsphakhm 2561 yukhntwat 2 phakhsngkhramphraecaxlxngphya txnthi 1 rachkarsukinthxngphraorng 1 thaeniybtaaehnngkharachkar kxngraynganhnngsuxipma krmrachelkhanukar nakhrsngekhraah pracaphuththskrach 2456 phrankhr phrarachespha 2456 hna 90 nakhrsngekhraah pracaphuththskrach 2456 phrankhr phrarachespha 2456 hna 458 xkkhranukrmkhunnang orngeriynmhadelk 1909 hna 118 xmrwngswicitr hmxmrachwngspthm khencr hmxm prachumphngsawdarphakh 4 aelaprawtithxngthicnghwdmhasarkham phngsawdarhwemuxngmnthlxisan hna 123 rachkiccanuebksa phrarachthanekhruxngxisriyaphrn wnthi 15 thnwakhm rtnoksinthr sk 120 elm 18 hna 745 wnthi 22 thnwakhm 120 ph s 2444 rachkiccanuebksa prakasphrarachthannamskul khrngthi 5 elmthi 30 hna 1 246 wnthi 14 knyayn 2456 tri xmatykul prawtiemuxngsakhy phrankhr brrnakhar 2494 527 hna hna 188 brrnanukrmculcxmeklaecaxyuhw phrabathsmedcphra 2396 2443 cdhmayehtukhwamthrngcakhxngkrmhlwngnrinthrethwi phimphphrxmkbchbbephimetim ph s 2310 2381 aelaphrarachwicarninphrabathsmedcphracullxmeklaecaxyuhw echphaatxn ph s 2310 2363 phimphkhrngthi 7 krungethph sankwrrnkrrmaelaprawtisastr krmsilpakr 2560 400 hna hna 2 ISBN 978 616 283 353 3 sccaphirmy xudmrachphkdi srwng sriephy phraya elaihlukfng chiwitkharachkarmhadithyyukhiklxwsansmburnayasiththirachy phimphkhrngthi 1 krungethph orngphimphmtichnpakekrd 2557 276 hna hna 21 ISBN 978 974 021 264 5 srinil nxybuyaenw bk phrarachphngsawdarkrungthnburi aephndinsmedcphrabrmrachathi 4 smedcphraecataksinmharach chbbhmxbrdel culskrach 1128 1144 krungethph krmtara krathrwngthrrmkar 2472 s phlaynxy namaefng saranukrmprawtisastrithy krungethph phimphkha 2553 512 hna hna 105 106 ISBN 978 616 500 020 8 phanuphnthuwngswredch cxmphlsmedc ecafa krmphraya phrarachphngsawdar chbbphrarachhtthelkha phakh 1 krungethph m p th 2455 darngrachanuphaph smedc krmphraya ithyrbkbphmachbbrwmelm phrankhr silpabrrnakhar 2524 darngrachanuphaph smedc krmphraya phrarachphngsawdarrtnoksinthrrchkalthi 1 2 phrankhr khuruspha 2505 crrya prachitormrn karesiykrungsrixyuthyakhrngthi 2 ph s 2310 krungethph culalngkrnmhawithyaly 2547 nithi exiywsriwngs karemuxngithysmyphraecakrungthnburi krungethph mtichn 2550 nithi exiywsriwngs karemuxngithysmyphraecakrungthnburi krungethph eruxnaekwphimph 2527 suentr chutinthrannth sngkhramkhrawesiykrungsrixyuthyakhrngthi 2 ph s 2310 suksacakphngsawdarphma chbbrachwngskhxngbxng krungethph syam 2541 wicarn phanich 2550 snukkbphasaithy phasaxchchaisry 44 chaykhaphasaithy 23 subkhnemuxwnthi 4 mithunayn 2555 smbti planxy khunnangsyam krungethph sankphimphmtichn 2541 271 hna kvtphas orcnkul orcnkul chiwprawtiaelaechuxsaysmphnth krungethph m p th 2554 smchay eduxnephy prawtisastrchumchnemuxngaelaxaephxcnghwdsuokhthy suentr chutinthrannth sngkhramesiykrungsrixyuthyakhrngthi 2 ph s 2310 suksacakphngsawdarphma chbbrachwngskhxngbxng krungethph sxngsyam 2531 raynganphlsmmnaprawtisastremuxngphisnuolkkhrngthi 2 withyalykhruphibulsngkhram phisnuolk krungethph khuruspha 2527 manph thawrwthnskul khunnangkbkarepliynaeplngthangkaremuxngaelakarpkkhrxnginsmyxyuthya withyaniphnthxksrsastrmhabnthit phakhwichaprawtisastr culalngkrn 2530 emuxngphisnuolk m p th m p p phimphinnganphrarachthanephlingsph r x phun esawphayn 2504 phrarachphngsawdarkrungsyam chbbbritismiwesiym phrankhr xksrsmphnth 2507 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphn cnthnumas phrankhr khuruspha 2512 khch cdhmayehturchkalthi 3 c s 1199 elkhthi 75 cdhmayehtubnthukehtukarnsakhythangprawtisastr 62 pi aedn bich aebrdliy phrarachphngsawdar chbbhmxbrdel ph s 2407 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title ecaphrayaphisnuolk eruxng orcnkul amp oldid 9715164, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม