fbpx
วิกิพีเดีย

เมแทบอลิซึมของยา

เมแทบอลิซึมของยา (อังกฤษ: Drug metabolism) คือกระบวนการเผาผลาญยาหรือสารเคมีแปลกปลอมที่ได้รับจากภายนอกร่างกาย โดยทั่วไปกระบวนการนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของสารจากที่ไม่ชอบน้ำ (lipophilicity) ให้เป็นสารที่คุณสมบัติชอบน้ำ (Hydrophilicity) เพิ่มขึ้น

สำหรับการเมแทบอลิซึมยาในมนุษย์นั้นจัดว่าเป็นกระบวนการที่จำเป็นเนื่องจากในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์จำเป็นต้องได้รับ หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รับสารแปลกปลอมจากภายนอก (xenobiotics) เข้าสู่ร่างกาย ทั้งนี้อาจเพราะความจำเป็นในการดำรงชีวิตตามปกติ (เช่น สารอาหาร ยารักษาโรค) หรือโดยความไม่ตั้งใจ (เช่น การได้รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อม) ดังนั้นร่างกายจึงจำต้องมีกระบวนการเร่งการกำจัดสารส่วนเกิน หรือสารที่ไม่มีประโยชน์แล้วออกจากร่างกาย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสะสมของสารเคมีที่มากเกินควรจนอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ ดังนั้นกระบวนการเมแทบอลิซึมยาและสารเคมีจึงเป็นกลไกป้องกันตนเองที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์

สำหรับยาซึ่งเป็นสารเคมีที่ได้รับจากภายนอกเพื่อใช้ในการวินิจฉัย ป้องกัน หรือรักษาโรคนั้น เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายโดยทั่วไปจำเป็นต้องผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมเช่นเดียวกับสารเคมีอื่น ๆ ที่ได้รับจากภายนอกร่างกาย ทั้งนี้การเมแทบอลิซึมยา (drug metabolism) เป็นปฏิกิริยาเคมีที่ใช้เปลี่ยนรูปยาซึ่งส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปที่ละลายในไขมันได้ดี ให้กลายเป็นเมแทบอไลต์ (metabolite) ที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะหรือน้ำดีได้ง่ายขึ้น และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา หรือมีพิษลดน้อยลงกว่าสารเดิม (parent compound) อย่างไรก็ตาม การเมแทบอลิซึมยาบางชนิดอาจทำให้ได้เมแทบอไลต์ที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้น้อยลง หรือมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหรือพิษเพิ่มมากขึ้นก็ได้ สำหรับยาหรือสารเคมีที่ได้รับจากภายนอกร่างกายที่ละลายน้ำได้ดีอยู่แล้ว ร่างกายสามารถขับออกไปได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึม

กระบวนการเมแทบอลิซึมยาสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มตามชนิดของปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปฏิกิริยา oxidation, reduction, hydrolysis, hydration และ conjugation โดยปฏิกิริยา oxidation, reduction, hydrolysis และ hydration เป็นการทำให้โมเลกุลของยามีหมู่เคมีต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติชอบน้ำ (hydrophilic group) ทั้งนี้เพื่อให้ได้เมแทบอไลต์ที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดีขึ้น ส่วนปฏิกิริยา conjugation เป็นการนำโมเลกุลของยา หรือเมแทบอไลต์ที่เป็นผลผลิตจากปฏิกิริยาต่าง ๆ ข้างต้นมาควบคู่ (conjugate) กับสารเคมีในร่างกายที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี (เช่น กรด glucuronic, glutathione หรือ sulfate) กลายเป็นเมแทบอไลต์ที่อยู่ในรูป conjugated ที่โดยทั่วไปมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี ปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับการเมแทบอลิซึมยาส่วนใหญ่ต้องอาศัยเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้มักพบในส่วนต่าง ๆ ของเซลล์ ตัวอย่างเช่น cytochromes P450 (CYP), flavin-containing monooxygenases (FMOs) ซึ่งทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยา oxidation และ UDP-glucuronosyltransferases (UGTs) ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยา glucuronidation มักพบในร่างแหเอนโดพลาสซึมแบบเรียบ (smooth endoplasmic reticulum) ส่วนเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยา conjugation อื่น ๆ เช่น glutathione S-transferases (GSTs), sulfotransferases (SULTs) และ N-acetyltransferases (NATs) พบเฉพาะในไซโทซอล นอกจากนี้เอนไซม์ของจุลชีพประจำถิ่นที่อาศัยในทางเดินอาหาร (gut microflora) หรือเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างและสลายสารพลังงานต่าง ๆ ภายในร่างกาย (intermediary metabolism) อาจมีบทบาทสำคัญในการเมแทบอลิซึมยาหรือสารเคมีบางชนิดด้วย ตัวอย่างเช่น sulfasalazine จะถูกเมแทบอลิซึมโดยแบคทีเรียในทางเดินอาหารให้เป็น sulfapyridine และกรด 5-aminosalicylic โดยอาศัยเอนไซม์ azoreductase ส่วนกรด cinnamic อาจถูกเมแทบอลิซึมให้กลายเป็นกรด benzoic โดยเอนไซม์ในไมโทคอนเดรียที่ทำหน้าที่ในการเร่งปฏิกิริยา beta-oxidation ของกรดไขมัน

สำหรับเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เมแทบอลิซึมยา ถึงแม้จะต่างชนิดกันก็อาจทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาของหมู่เคมี (functional group) ชนิดเดียวกันได้ โดยทั่วไป ยารวมทั้งสารเคมีที่ได้รับจากภายนอกร่างกาย หรือสารเคมีที่มีอยู่ภายในร่างกายล้วนมีโครงสร้างทางเคมีที่ค่อนข้างซับซ้อน ประกอบด้วยหมู่เคมีหลายชนิด ดังนั้นเมื่อผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมจึงมักเป็นผลให้ได้เมแทบอไลต์หลายชนิด

อ้างอิง

  • วิจิตรา ทัศนียกุล. การเมแทบอลิซึมยาในมนุษย์: จากพื้นฐานระดับยีนสู่การประยุกต์ใช้ทางคลินิก (Human Drug Metabolism: From Genes to Clinical Applications). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์ม; 2554.

ดูเพิ่ม

เมแทบอล, มของยา, บทความน, งต, องการเพ, มแหล, งอ, างอ, งเพ, อพ, จน, ความถ, กต, อง, ณสามารถพ, ฒนาบทความน, ได, โดยเพ, มแหล, งอ, างอ, งตามสมควร, เน, อหาท, ขาดแหล, งอ, างอ, งอาจถ, กลบออก, งกฤษ, drug, metabolism, อกระบวนการเผาผลาญยาหร, อสารเคม, แปลกปลอมท, ได, บจากภา. bthkhwamniyngtxngkarephimaehlngxangxingephuxphisucnkhwamthuktxng khunsamarthphthnabthkhwamniidodyephimaehlngxangxingtamsmkhwr enuxhathikhadaehlngxangxingxacthuklbxxkemaethbxlisumkhxngya xngkvs Drug metabolism khuxkrabwnkarephaphlayyahruxsarekhmiaeplkplxmthiidrbcakphaynxkrangkay odythwipkrabwnkarnicaepnkarepliynaeplngkhunsmbtikhxngsarcakthiimchxbna lipophilicity ihepnsarthikhunsmbtichxbna Hydrophilicity ephimkhunsahrbkaremaethbxlisumyainmnusynncdwaepnkrabwnkarthicaepnenuxngcakinkardarngchiwitpracawnkhxngmnusycaepntxngidrb hruxhlikeliyngimidthicaidrbsaraeplkplxmcakphaynxk xenobiotics ekhasurangkay thngnixacephraakhwamcaepninkardarngchiwittampkti echn sarxahar yarksaorkh hruxodykhwamimtngic echn karidrbsarphiscaksingaewdlxm dngnnrangkaycungcatxngmikrabwnkarerngkarkacdsarswnekin hruxsarthiimmipraoychnaelwxxkcakrangkay thngniephuxpxngknkarsasmkhxngsarekhmithimakekinkhwrcnxacthaihekidxntrayaekchiwitid dngnnkrabwnkaremaethbxlisumyaaelasarekhmicungepnklikpxngkntnexngthisakhyxyanghnungkhxngmnusysahrbyasungepnsarekhmithiidrbcakphaynxkephuxichinkarwinicchy pxngkn hruxrksaorkhnn emuxidrbekhasurangkayodythwipcaepntxngphankrabwnkaremaethbxlisumechnediywkbsarekhmixun thiidrbcakphaynxkrangkay thngnikaremaethbxlisumya drug metabolism epnptikiriyaekhmithiichepliynrupyasungswnihymkxyuinrupthilalayinikhmniddi ihklayepnemaethbxilt metabolite thimikhunsmbtilalaynaidmakkhun thngniephuxthicaidthukkhbxxkcakrangkaythangpssawahruxnadiidngaykhun aelamivththithangephschwithya hruxmiphisldnxylngkwasaredim parent compound xyangirktam karemaethbxlisumyabangchnidxacthaihidemaethbxiltthimikhunsmbtilalaynaidnxylng hruxmivththithangephschwithyahruxphisephimmakkhunkid sahrbyahruxsarekhmithiidrbcakphaynxkrangkaythilalaynaiddixyuaelw rangkaysamarthkhbxxkipidodytrngodyimcaepntxngphankrabwnkaremaethbxlisumkrabwnkaremaethbxlisumyasamarthaebngxxkepnklumtamchnidkhxngptikiriyaekhmithiekiywkhxng idaek ptikiriya oxidation reduction hydrolysis hydration aela conjugation odyptikiriya oxidation reduction hydrolysis aela hydration epnkarthaihomelkulkhxngyamihmuekhmitang thimikhunsmbtichxbna hydrophilic group thngniephuxihidemaethbxiltthimikhunsmbtilalaynaiddikhun swnptikiriya conjugation epnkarnaomelkulkhxngya hruxemaethbxiltthiepnphlphlitcakptikiriyatang khangtnmakhwbkhu conjugate kbsarekhmiinrangkaythimikhunsmbtilalaynaiddi echn krd glucuronic glutathione hrux sulfate klayepnemaethbxiltthixyuinrup conjugated thiodythwipmikhunsmbtilalaynaiddi ptikiriyaekhmithiekiywkhxngkbkaremaethbxlisumyaswnihytxngxasyexnismepntwerngptikiriya sungexnismehlanimkphbinswntang khxngesll twxyangechn cytochromes P450 CYP flavin containing monooxygenases FMOs sungthahnathierngptikiriya oxidation aela UDP glucuronosyltransferases UGTs thithahnathierngptikiriya glucuronidation mkphbinrangaehexnodphlassumaebberiyb smooth endoplasmic reticulum swnexnismthiekiywkhxngkbptikiriya conjugation xun echn glutathione S transferases GSTs sulfotransferases SULTs aela N acetyltransferases NATs phbechphaainisothsxl nxkcakniexnismkhxngculchiphpracathinthixasyinthangedinxahar gut microflora hruxexnismthiekiywkhxngkbkrabwnkarsrangaelaslaysarphlngngantang phayinrangkay intermediary metabolism xacmibthbathsakhyinkaremaethbxlisumyahruxsarekhmibangchniddwy twxyangechn sulfasalazine cathukemaethbxlisumodyaebkhthieriyinthangedinxaharihepn sulfapyridine aelakrd 5 aminosalicylic odyxasyexnism azoreductase swnkrd cinnamic xacthukemaethbxlisumihklayepnkrd benzoic odyexnisminimothkhxnedriythithahnathiinkarerngptikiriya beta oxidation khxngkrdikhmnsahrbexnismthithahnathiemaethbxlisumya thungaemcatangchnidknkxacthahnathierngptikiriyakhxnghmuekhmi functional group chnidediywknid odythwip yarwmthngsarekhmithiidrbcakphaynxkrangkay hruxsarekhmithimixyuphayinrangkaylwnmiokhrngsrangthangekhmithikhxnkhangsbsxn prakxbdwyhmuekhmihlaychnid dngnnemuxphankrabwnkaremaethbxlisumcungmkepnphlihidemaethbxilthlaychnidxangxing aekikhwicitra thsniykul karemaethbxlisumyainmnusy cakphunthanradbyinsukarprayuktichthangkhlinik Human Drug Metabolism From Genes to Clinical Applications phimphkhrngthi 1 krungethphmhankhr biyxndexnethxriphrsm 2554 duephim aekikhemaethbxlisum chiwekhmi bthkhwamekiywkbephschkrrmaelayaniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul duephimthi sthaniyxy ephschkrrmekhathungcak https th wikipedia org w index php title emaethbxlisumkhxngya amp oldid 7988736, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม