fbpx
วิกิพีเดีย

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (อังกฤษ: chronic obstructive pulmonary disease, COPD, chronic obstructive lung disease, COLD, chronic obstructive airway disease, COAD) เป็นโรคปอดอุดกั้นที่มีลักษณะเฉพาะคือความบกพร่องอย่างเรื้อรังในการไหลผ่านของอากาศของระบบทางเดินหายใจ และมักจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป อาการที่พบบ่อยได้แก่ เหนื่อย ไอ และ มีเสมหะ ผู้ป่วยหลอดลมอักเสบเรื้อรังส่วนใหญ่จะมี COPD ด้วย

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
(Chronic obstructive pulmonary disease)
ชื่ออื่นChronic obstructive lung disease (COLD), chronic obstructive airway disease (COAD)
Section of a lung showing centrilobular emphysema, with enlarged airspaces in the centre of a lobule usually caused by smoking and a major feature of COPD
สาขาวิชาPulmonology
อาการShortness of breath, chronic cough
ภาวะแทรกซ้อนAnxiety, depression, pulmonary heart disease, pneumothorax
การตั้งต้นOver 35 years old
ระยะดำเนินโรคLong term
สาเหตุTobacco smoking, air pollution, genetics
วิธีวินิจฉัยSpirometry
โรคอื่นที่คล้ายกันAsthma, congestive heart failure, bronchiectasis, tuberculosis, obliterative bronchiolitis, diffuse panbronchiolitis
การป้องกันStopping smoking, improving indoor and outdoor air quality, tobacco control measures
การรักษาPulmonary rehabilitation, long-term oxygen therapy, lung volume reduction
ยาInhaled bronchodilators and steroids
ความชุก174.5 million (2015)
การเสียชีวิต3.2 million (2019)

สาเหตุพบบ่อยที่สุดของ COPD คือการสูบบุหรี่ สาเหตุอื่นๆ ที่มีบทบาทบ้างแต่น้อยกว่าการสูบบุหรี่ได้แก่ มลพิษทางอากาศ และ พันธุกรรม เป็นต้น สาเหตุของมลพิษทางอากาศที่พบบ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนาอีกอย่างหนึ่งได้แก่ อากาศเสียจากการทำอาหารหรือควันไฟ การสัมผัสสิ่งระคายเคืองเหล่านี้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานจะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบขึ้นในเนื้อปอด ทำให้หลอดลมฝอยตีบลงและการแตกตัวของเนื้อเยื้อปอด เรียกว่า ถุงลมโป่งพอง อังกฤษ:emphysema การวินิจฉัยนั้นใช้พื้นฐานของความสามารถในการไหลผ่านของอากาศด้วยการตรวจวัดโดย การทดสอบการทำงานของปอด โดยมีความแตกต่างจากโรคหอบหืด คือ การลดลงของปริมาณอากาศที่ไหลผ่านด้วยการให้ยานั้นไม่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

COPD สามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของสาเหตุของโรคที่ทราบ ซึ่งรวมถึงการลดปริมาณการสูบบุหรี่และการปรับปรุงคุณภาพของอากาศทั้งภายในและภายนอก การรักษา COPD ได้แก่: การเลิกสูบบุหรี่ การฉีดวัคซีน การฟื้นฟูสภาพ และการพ่นสูดยาขยายหลอดลมบ่อยๆ และการใช้ยาสเตียรอยด์ บางคนอาจได้รับประโยชน์จากการบำบัดด้วยออกซิเจนระยะยาวหรือการปลูกถ่ายปอด ในกลุ่มผู้ที่มีการทรุดลงอย่างเฉียบพลันช่วงหนึ่ง การเพิ่มยาที่ใช้รักษาและการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอาจเป็นสิ่งจำเป็น

ในทั่วโลกมีผู้ที่ป่วยด้วย COPD จำนวน 329 ล้านคนหรือเกือบ 5% ของจำนวนประชากร ในปี ค.ศ. 2012 โรคนี้เป็นโรคอันดับที่สามที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนจำนวนกว่า 3 ล้านคน จำนวนของผู้เสียชีวิตนั้นประมาณว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากอัตราการสูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้นและอายุของประชากรในหลายๆ ประเทศ ซึ่งมีการประมาณว่าจะส่งผลที่เป็นค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจจำนวน $2.1 พันล้านในปี ค.ศ. 2010


อาการแสดงและอาการของโรค

The sound of wheezing as heard with a stethoscope.

หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์นี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ

อาการของ COPD ที่พบมากที่สุดคือ มีเสมหะ เหนื่อย และไอ อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นเวลานาน และโดยมากจะแย่ลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า COPD มีหลายประเภทหรือไม่ ทั้งนี้ในอดีตมีการแบ่งประเภทออกเป็น โรคถุงลมโป่งพอง และ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพองนั้นเป็นเพียงการอธิบายของการเปลี่ยนแปลงของปอดมากกว่าของโรค และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังนั้นเป็นเพียงคำอธิบายของอาการที่อาจเกิดกับ COPD หรือไม่ก็ได้

การไอ

การไอเรื้อรังนั้นมักเป็นอาการแรกที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดอาการนี้เป็นเวลามากกว่าสามเดือนในหนึ่งปี หรือมากกว่าสองปี ร่วมกับมีเสมหะและโดยไม่มีสาเหตุอื่น ก็จะถูกจัดว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง สภาวะนี้อาจเกิดขึ้นก่อนที่ COPD จะเกิดขึ้นอย่างเต็มตัว ปริมาณของเสมหะที่เกิด อาจเปลี่ยนแปลงภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน ในบางกรณีอาจไม่มีอาการไอหรืออาจมีเป็นบางครั้งคราว และอาจไม่มีเลยก็ได้ ผู้เป็น COPD บางรายอาจแสดงอาการของ "การไอของผู้สูบบุหรี่" เสมหะนั้นอาจถูกกลืนหรือถูกถ่มออก ทั้งนี้มักขึ้นกับปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ความรุนแรงของการไออาจนำไปสู่การหักร้าวของกระดูกซี่โครง หรือ การหมดสติชั่วครู่ ผู้ที่เป็น COPD มักมีประวัติของการเป็น "ไข้หวัดธรรมดา" เป็นเวลานาน

อาการเหนื่อย

อาการเหนื่อยมักเป็นอาการที่ก่อความกังวลในผู้ป่วยส่วนใหญ่ ซึ่งโดยทั่วไปได้รับการอธิบายว่าเป็น: "ฉันต้องใช้ความพยายามในการหายใจ" "ฉันรู้สึกหายใจไม่ออก" หรือ "ฉันไม่สามารถสูดอากาศได้มากพอ" อย่างไรก็ตาม อาจมีการใช้คำอธิบายอื่นๆ ที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมที่ต่างกัน โดยทั่วไปอาการเหนื่อยนั้นจะแย่ลงเมื่อมีการใช้แรง ซึ่งได้เกิดขึ้นเป็นเวลานานและมีอาการทรุดลงเมื่อเวลาผ่านไป ในระยะลุกลาม อาการอาจเกิดขึ้นในระหว่างพักและอาจเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยมีที่มาจากทั้งความวิตกกังวลและคุณภาพชีวิตที่แย่ของผู้ที่ป่วยด้วย COPD ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็น COPD ขั้นลุกลาม หายใจโดยการห่อริมฝีปาก และการกระทำนี้อาจกลายเป็นอาการเหนื่อยได้ในผู้ป่วยบางราย

ลักษณะอื่นๆ

ในผู้ป่วย COPD นั้นอาจต้องใช้เวลาในการหายใจออกนานกว่าการหายใจเข้า อาจมีอาการแน่นหน้าอก แต่ไม่ใช่อาการปกติและอาจเกิดจากปัญหาอื่น ผู้ที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจอาจมีการหายใจมีเสียงวี้ด หรือมีเสียงลดลงขณะที่สูดหายใจเข้า เวลาที่ตรวจหน้าอกด้วยหูฟังของแพทย์ ภาวะอกโอ่ง ที่ทรวงอกมีขนาดใหญ่กว่าปกติเนื่องจากมีลมค้างอยู่ในปอดมาก ก็เป็นสัญญาณที่เป็นลักษณะเฉพาะของ COPD แต่ทั้งนี้พบได้น้อยมาก ท่าขาหยั่งสามขา ที่เป็นการนั่งตัวตรงเอนไปข้างหน้าโดยวางแขนทั้งสองไว้บนเข่า อาจเกิดขึ้นเมื่ออาการของโรคทรุดลง

COPD ขั้นลุกลามสามารถก่อให้เกิดความดันโลหิตในหลอดเลือดปอดสูง ซึ่งเป็นสายพันธ์ของหัวใจห้องล่างด้านขวา สถานการณ์นี้อาจกล่าวว่าเป็นโรคหัวใจเพราะปอด และนำไปสู่อาการแสดงของ ขาบวม และเส้นเลือดที่คอโป่งพอง COPD นั้นพบได้มากกว่าโรคปอดอื่นๆ เนื่องจากสาเหตุของโรคหัวใจเพราะปอด โรคหัวใจเพราะปอดได้กลายเป็นโรคที่พบได้น้อย นับตั้งแต่มีการใช้ออกซิเจนเสริม

COPD มักพบร่วมกับสภาวะอื่นๆ จำนวนหนึ่ง ส่วนหนึ่งเนื่องจากการมีปัจจัยเสียงร่วม สภาวะเหล่านี้ ได้แก่: โรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การสูญเสียกล้ามเนื้อ ภาวะกระดูกพรุน มะเร็งปอด โรคประสาทกังวล และ ภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคขั้นรุนแรง การรู้สึกว่ามีความเหนื่อยอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นสิ่งปกติ การโป่งของเล็บนิ้วนั้นไม่ใช่อาการเฉพาะของ COPD และควรต้องทำการตรวจการแฝงตัวของมะเร็งปอดทันที

การกำเริบของโรค

การกำเริบเฉียบพลันของ COPD นั้นมีการนิยามว่าเป็นการเพิ่มขึ้นของอาการเหนื่อย การมีเสมหะมากขึ้น การเปลี่ยนสีของเสมหะจากใสเป็นเขียวหรือเหลือง หรือการไอเพิ่มขึ้นในผู้ที่มี COPD บางราย โดยอาจมีการแสดงร่วมกับสัญญาณของการทำงานเพิ่มขึ้นในการหายใจ การหายใจอย่างเร็ว อัตราการเต้นของหัวใจสูง เหงื่อออก การทำงานหนักของ กล้ามเนื้อคอ จ้ำสีเขียวบนผิว และ การสับสน หรือพฤติกรรมชอบต่อสู้ในการกำเริบของโรคขั้นรุนแรง อาจได้ยินเสียงประทุในระหว่างการตรวจปอดด้วยหูฟังของแพทย์

สาเหตุ

สาเหตุหลักของ COPD คือการสูบบุหรี่ ร่วมกับการได้รับสัมผัสทางอาชีพ และมลพิษทางอากาศจากเพลิงไหม้ภายในสถานที่ เป็นสาเหตุสำคัญในบางประเทศ โดยทั่วไปการได้รับสัมผัสเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายสิบปีก่อนที่อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้น พันธุกรรมของบุคคลก็มีผลกะทบต่อความเสี่ยงเช่นกัน

การสูบบุหรี่

Percentage of females smoking tobacco as of the late 1990s early 2000s
Percentage of males smoking tobacco as of the late 1990s early 2000s. Note the scales used for females and males differ.

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับ COPD ในทั่วโลกคือการสูบบุหรี่ ประมาณ 20% ของผู้ที่สูบบุหรี่จะเป็น COPD และจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเวลานานเกือบชั่วชีวิตจะเป็น COPD ในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 80-95% ของผู้ที่เป็น COPD นั้นเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ในปัจจุบันหรือเคยสูบบุหรี่ แนวโน้มในการพัฒนาโรคของ COPD เพิ่มขึ้นจากการได้รับสัมผัสจากการสูบบุหรี่ทั้งหมด นอกจากนี้แล้ว เพศหญิงยังมีความไวต่อผลกระทบที่เป็นอันตรายของการสูบบุหรี่สูงกว่าเพศชาย ในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ การอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่คือกรณีที่เป็นสาเหตุของโรคประมาณ 20% การสูบประเภทอื่นๆ อาทิเช่น การสูบกัญชา ซิการ์ และไปป์น้ำ ก็ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน หญิงที่สูบบุหรี่ในระหว่างการตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงของ COPD ในเด็กได้

มลพิษทางอากาศ

การถ่ายเทที่ไม่ดีของควันไฟจากการทำอาหาร ซึ่งส่วนมากใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินหรือเชื้อเพลิงมวลชีวภาพ เช่น ไม้ และมูลสัตว์ ที่ส่งผลต่อมลพิษทางอากาศภายในอาคารและเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของ COPD ในประเทศที่กำลังพัฒนา ควันไฟจากรูปแบบของการทำอาหารและการทำความร้อนเหล่านี้ส่งผลให้ผู้คนจำนวนเกือบ 3 พันล้านคนได้รับผลกระทบทางสุขภาพมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงเนื่องจากการได้รับสัมผัสที่สูงกว่า เชื้อเพลิงเหล่านี้ถูกใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักของพลังงานในครัวเรือน ซึ่งคิดเป็น 80% ในประเทศอินเดีย จีนและแอฟริกาใต้สะฮารา

ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่มีอัตราของ COPD สูงกว่าเมื่อเทียบกับประชากรที่อาศัยอยู่ในชนบทห่างไกล ขณะที่มลพิษทางอากาศในชนบทมีปัจจัยที่ส่งผลเป็นการกำเริบของโรค บทบาทโดยรวมของมลพิษทางอากาศที่เป็นสาเหตุของ COPD นั้นยังไม่ทราบอย่างชัดเจน โดยทั่วไปพื้นที่ต่างๆ ที่มีคุณภาพอากาศภายนอกอาคารที่ไม่ดี รวมถึงจากควันไอเสียนั้นมีอัตราของ COPD ที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม ผลกระทบโดยรวมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่นั้นเชื่อว่ามีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การได้รับสัมผัสทางอาชีพ

การได้รับสัมผัสของฝุ่น สารเคมี และควันในสถานที่ทำงานในขนาดเข้มข้นและเป็นเวลานานนั้นทำให้ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงของ COPD มากขึ้น โดยเชื่อว่าการได้รับสัมผัสทางอาชีพนั้นเป็นสาเหตุของการป่วยที่คิดเป็น 10-20% ในสหรัฐอเมริกา คนที่นั่นเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับการป่วยที่คิดเป็น 30% ของกลุ่มผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่และอาจแสดงความเสี่ยงที่สูงกว่าในประเทศที่ไม่มีระเบียบข้อบังคับที่มีประสิทธิภาพ

จำนวนของอุตสาหกรรมและแหล่งที่มาก็มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึง ระดับความเข้มข้นสูงของฝุ่นในการทำเหมืองถ่านหิน การทำเหมืองทองและอุตสาหกรรมสิ่งทอจากฝ้าย อาชีพที่เกี่ยวข้องกับแคดเมียมและไอโซไซยาเนต และควันจากการเชื่อมโลหะ Working in agriculture is also a risk. ในบางอาชีพความเสี่ยงนี้มีการประมาณว่าเท่ากับการสูบบุหรี่จำนวนครึ่งซองถึงสองซองต่อวัน การได้รับสัมผัสฝุ่นจากซิลิกาก็สามารถส่งผลเป็น COPD ได้เช่นกัน อนึ่งความเสี่ยงนี้ไม่เกี่ยวข้องกับโรคฝุ่นหินจับปอด ผลกระทบเชิงลบของการได้รับสัมผัสฝุ่นและการสูบบุหรี่คือการเสพติดหรืออาจยิ่งกว่าการเสพติด

พันธุกรรม

พันธุกรรมมีบทบาทในการพัฒนาของ COPD ซึ่งโดยทั่วไปพบในกลุ่มญาติของผู้ที่เป็น COPD ซึ่งเป็นผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ในปัจจุบัน ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถสืบทอดได้ที่แน่ชัดนั้นคือการพร่องอัลฟ่า วัน-แอนติทริพซิน (AAT) เท่านั้น ความเสี่ยงนี้มีระดับสูงก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นพร่องอัลฟ่า วัน-แอนติทริพซิน พร้อมกับการสูบบุหรี่ สาเหตุนี้คิดเป็นประมาณ 1-5% ของผู้ป่วย และสภาวะนี้คิดเป็นประมาณ 3-4 คนจากจำนวน 10,000 คน ปัจจัยทางพันธุกรรมอื่นๆ นั้นอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนมาก

อื่นๆ

จำนวนของปัจจัยอื่นๆ นั้นมีความเกี่ยวข้องกับ COPD น้อยกว่า ความเสี่ยงนี้เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มคนจน ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเนื่องมาจากความยากจนหรือปัจจัยเสี่ยงอื่นที่เกี่ยวข้องกับความยากจน อาทิเช่น มลพิษทางอากาศและทุพโภชนาการ มีหลักฐานที่อาจเป็นไปได้ว่ากลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืดและภาวะระบบทางเดินหายใจตอบสนองไวเกินนั้นมีความเสี่ยงของ COPD เพิ่มมากขึ้น ปัจจัยจากการเกิด เช่น น้ำหนักน้อยเมื่อคลอด อาจมีบทบาทต่อการเป็นโรคติดเชื้อบางอย่างเช่นกัน รวมถึงเอชไอวี /เอดส์และวัณโรค การติดเชื้อของระบบหายใจ เช่น ปอดบวมนั้นไม่แสดงว่าเป็นปัจจัยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของ COPD อย่างน้อยก็ในผู้ใหญ่

การกำเริบของโรค

การกำเริบของโรคอย่างเฉียบพลัน(อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว) นั้นโดยมากมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือมลพิษจากสิ่งแวดล้อม หรือบางครั้งโดยปัจจัยอื่น เช่น การใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง การติดเชื้อซึ่งดูเหมือนจะเป็นสาเหตุนั้นคิดเป็น 75% ของผู้ป่วย โดยเชื้อแบคทีเรียคิดเป็น 25% เชื้อไวรัส 25% และทั้งสองเชื้อ 25% มลพิษจากสิ่งแวดล้อมนี้ ได้แก่ คุณภาพของอากาศทั้งภายในและภายนอกอาคาร การได้รับสัมผัสโดยการสูบบุหรี่ของบุคคลนั้นและการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่นั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยง อากาศเย็นอาจมีบทบาทด้วยเช่นกัน โดยการกำเริบของโรคส่วนใหญ่เกิดขึ้นในฤดูหนาว กลุ่มผู้ที่มีโรคร้ายแรงกว่าแอบแฝง จะมีการกำเริบของโรคบ่อยครั้งกว่า: ในโรคเล็กน้อยคิดเป็น 1.8 ครั้งต่อปี ขั้นปานกลาง 2 ถึง 3 ครั้งต่อปีและขั้นรุนแรงคือ 3.4 ครั้งต่อปี กลุ่มผู้ที่มีการกำเริบของโรคหลายครั้งมีอัตราการเสื่อมสภาพของการทำงานของปอดที่สูงกว่า ในผู้ป่วยที่เคยเป็น COPD มาก่อนสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (เลือดอุดกั้นในปอด) อาจทำให้อาการทรุดลงได้

พยาธิสรีรวิทยา

 
ทางด้านซ้ายคือแผนภาพของปอดและทางเดินหายใจพร้อมภาพประกอบที่แสดงรายละเอียดของภาพตัดตามแนวขวางของหลอดลมฝอยและถุงลมในปอดสภาพปกติ ทางด้านขวาคือปอดที่ถูกทำลายโดย COPD พร้อมภาพประกอบที่แสดงภาพตัดตามแนวขวางของหลอดลมฝอยและถุงลมในปอดที่ถูกทำลาย

COPD เป็นโรคปอดอุดกั้นประเภทหนึ่งในกลุ่มความบกพร่องของระบบทางเดินหายใจ (การจำกัดของระบบทางเดินหายใจ) ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และไม่สามารถหายใจออกได้อย่างเต็มที่ (การมีลมค้างในปอด) ความบกพร่องในการไหลผ่านของอากาศเป็นผลมาจากการแตกตัวของเนื้อเยื้อปอด (ที่รู้จักกันว่าโรคถุงลมโป่งพอง) และโรคหลอดลมฝอยอักเสบ ที่รู้จักกันว่าโรคการอุดกั้นของหลอดลมฝอย ผลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทั้งสองนี้จะแตกต่างกันไปตามตัวบุคคล หลอดลมฝอยที่ถูกทำลายอย่างรุนแรงอาจกลายเป็นการขยายใหญ่ขึ้นของลมที่ตกค้าง—ที่เรียกว่าเม็ดพุพอง—ที่ขึ้นมาแทนที่เนื้อเยื่อปอด โรครูปแบบนี้เรียกกันว่าถุงลมโป่งพองแบบเม็ดพุพอง

 
ไมโครกราฟ แสดงถุงลมโป่งพอง (ซ้าย – พื้นที่ว่างขนาดใหญ่) และเนื้อเยื่อปอดกับถุงลมในปอดที่ยังคงเป็นปกติมากกว่า (ขวา)

COPD ที่พัฒนาเป็นการอักเสบอย่างมีนัยสำคัญและเรื้อรังซึ่งตอบสนองต่อสารระคายเคืองที่ได้รับการสูดดมเข้าสู่ร่างกาย การติดเชื้อแบคทีเรียแบบเรื้อรังก็อาจส่งผลต่อระดับความรุนแรงของการอักเสบนี้ได้ การอักเสบของเซลล์นั้นเกี่ยวข้องกับเซลล์เม็ดเลือดสองชนิดคือแกรนูโลไซต์ นิวโตรฟิล และ แมโครฟาจ นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่ยังมีความเกี่ยวข้องกับTc1 ลิมโฟไซต์ และผู้ป่วย COPD บางรายมีความเกี่ยวข้องกับอีโอซิโนฟิลที่คล้ายกับผู้ที่เป็นโรคหอบหืด ส่วนของเซลล์เหล่านี้เป็นผลมาจากตอบสนองต่อสารตัวกลางของการอักเสบ อาทิเช่น ปัจจัยที่เป็นปฏิกิริยาชักนำทางเคมี การดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำลายปอด ได้แก่ภาวะเครียดออกซิเดชัน ที่เกิดจากอนุมูลอิสระที่มีระดับความเข้มข้นสูงจากการสูบบุหรี่และถูกปลดปล่อยจากการอักเสบของเซลล์ และการแตกตัวของเนื้อเยื่อยึดต่อของปอดโดยโปรตีเอส ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งโดยตัวยับยั้งโปรตีเอส การถูกทำลายของเนื้อเยื่อยึดต่อของปอดคือการกลายเป็นโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งหลังจากนั้นก็เป็นการบกพร่องของระบบทางเดินหายใจ และท้ายสุดก็คือความบกพร่องในการดูดซึมและการปล่อยก๊าซในระบบทางเดินหายใจ การสูญเสียกล้ามเนื้อทั่วไปที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วย COPD นั้นส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากสารตัวกลางของการอักเสบที่ปอดปล่อยออกสู่เลือด

การตีบแคบของทางเดินหายใจนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการอักเสบและแผลเป็นภายในทางเดินหายใจ การตีบแคบนี้ทำให้ไม่สามารถหายใจออกได้อย่างเต็มที่ ระดับการหายใจที่ลดลงอย่างมากนั้นเกิดขึ้นเมื่อหายใจออก จากความดันในหน้าอกที่กดดันทางเดินหายใจในขณะนั้น สิ่งนี้อาจส่งผลต่อการหายใจมากยิ่งขึ้นเนื่องจากอากาศที่คั่งค้างอยู่ในปอดจากการหายใจครั้งก่อนหน้า เมื่อการหายใจครั้งถัดไปเริ่มขึ้น จึงส่งผลให้ปริมาณทั้งหมดของอากาศในปอดเพิ่มขึ้นในขณะนั้น สิ่งนี้มีชื่อว่าปอดขยายตัวสูงเกินหรือการค้างของอากาศ ภาวะปอดขยายตัวสูงเกินจากการออกกำลังนั้นเกี่ยวพันกับอาการเหนื่อยในผู้ป่วย COPD เนื่องจากความไม่สะดวกในการหายใจเข้าเนื่องจากมีอากาศบางส่วนค้างอยู่ในปอด

ผู้ป่วยบางรายมีภาวะหลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นผิดปกติ ในระดับหนึ่งต่อสิ่งกระตุ้นที่คล้ายกับที่พบในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด

ระดับออกซิเจนต่ำ และในที่สุดอาจเกิดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงจากการแลกเปลี่ยนก๊าซ เนื่องจากการลดลงของการถ่ายเทอากาศจากการอุดกั้นของทางเดินอากาศ การขยายตัวมากเกินไปของปอด และการลดลงของการหายใจที่ต้องการ ในระหว่างที่โรคกำเริบนั้น การอักเสบของทางเดินหายใจก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ปอดมีการขยายตัวมากเกินไป อากาศที่ผ่านเข้าออกระบบทางเดินหายใจลดลง และความถดถอยของการถ่ายเทก๊าซ อีกทั้งยังสามารถนำไปสู่ความไม่เพียงพอในการถ่ายเทอากาศ และในที่สุดก็ส่งผลทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ หากอาการนี้ปรากฏเป็นเวลานาน ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำก็สามารถส่งผลทำให้มีการตีบแคบของหลอดเลือด ในปอด ขณะเดียวกันโรคถุงลมโป่งพองสามารถส่งผลให้หลอดเลือดฝอยในปอดแตกตัว การเปลี่ยนแปลงทั้งสองนี้ส่งผลทำให้ความดันเลือดในหลอดเลือดแดงพัลโมนารี สูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคหัวใจเพราะปอด

การวินิจฉัย

 
A person blowing into a spirometer. Smaller handheld devices are available for office use.

การวินิจฉัย COPD นั้นควรพิจารณาดำเนินการในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ถึง 40 ปีขึ้นไปที่มีอาการเหนื่อย การไอเรื้อรัง มีเสมหะ หรือเป็นไข้หวัดบ่อยในฤดูหนาว และมีประวัติของการได้รับสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงของโรค จากนั้นจึงใช้การวัดปริมาตรอากาศหายใจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยนั้น

การวัดปริมาตรอากาศหายใจ

การวัดปริมาตรอากาศหายใจเป็นการวัดปริมาณการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจในปัจจุบันและโดยทั่วไปเป็นการดำเนินการหลังจากการใช้ยาขยายหลอดลม ซึ่งเป็นยาที่ช่วยเปิดทางเดินหายใจ องค์ประกอบหลักสองข้อที่จะมีการตรวจวัดเพื่อการวินิจฉัยโรค คือ ปริมาตรการหายใจออกที่ทำอย่างเต็มกำลังในหนึ่งวินาที (FEV1)ซึ่งเป็นปริมาตรสูงสุดของอากาศที่สามารถหายใจออกมาได้ในวินาทีแรกของการหายใจออก และปริมาตรอากาศที่วัดได้เมื่อหายใจเต็มกำลัง (FVC) ซึ่งเป็นปริมาตรสูงสุดของอากาศที่สามารถหายใจออกมาได้ในการหายใจอย่างเต็มที่หนึ่งครั้ง โดยทั่วไป 75-80% ของค่า FVC จะได้จากวินาทีแรก และค่า FEV1/อัตรา FVC ที่ต่ำกว่า 70% ในผู้ที่มีอาการแสดงของ COPD ได้รับการนิยามว่าคือผู้ที่เป็นโรคดังกล่าว ตามพื้นฐานของการตรวจวัดเหล่านี้ การวัดปริมาตรอากาศหายใจอาจนำไปสู่ความผิดพลาดในการวินิจฉัย COPD ในผู้สูงอายุได้ นอกจากนี้ เกณฑ์ของสถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านการแพทย์ได้กำหนดให้ค่า FEV1 ต้องต่ำกว่า 80% ของค่าคาดคะเน

หลักฐานสำหรับการใช้การวัดปริมาตรอากาศหายใจในกลุ่มผู้ที่ไม่มีอาการแสดงเพื่อการวินิจฉัยอาการแต่เนิ่นๆ นั้นให้ผลที่ไม่แน่นอน และด้วยเหตุนี้จึงไม่แนะนำในปัจจุบัน ระดับสูงสุดของอากาศที่หายใจออก (อัตราสูงสุดของการหายใจออก) ซึ่งโดยทั่วไปใช้ในผู้ป่วยโรคหอบหืดนั้นไม่มีประสิทธิภาพมากพอสำหรับการการวินิจฉัย COPD

ความรุนแรง

แบบประเมินความเหนื่อย MRC
คะแนน กิจกรรมที่ส่งผลกระทบ
1 เฉพาะกิจกรรมที่ต้องออกแรงเท่านั้น
2 เมื่อเดินเร็วๆ
3 เมื่อเดินตามปกติ
4 หลังจากการเดินเพียงไม่กี่นาที
5 เมื่อเปลี่ยนเสื้อผ้า
คะแนนระดับ GOLD
ความรุนแรง FEV1 % ที่คาดคะเน
เล็กน้อย (GOLD 1) ≥80
ปานกลาง (GOLD 2) 50–79
รุนแรง (GOLD 3) 30–49
รุนแรงมาก (GOLD 4) <30 หรือ ความล้มเหลวของระบบทางเดินหายใจแบบเรื้อรัง

มีวิธีการอยู่หลายวิธีในการระบุระดับผลกระทบของ COPD ในแต่ละบุคคล แบบทดสอบBritish Medical Research Councilฉบับที่ได้รับการแก้ไข (mMRC) หรือแบบประเมินการทดสอบ COPD (CAT) นั้นเป็นแบบสอบถามง่ายๆ ที่อาจจะใช้เพื่อระบุความรุนแรงของอาการ คะแนนจากแบบประเมิน CAT อยู่ระหว่าง 0–40 โดยหากคะแนนยิ่งสูง ความรุนแรงของโรคก็ยิ่งสูง การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยการวัดปริมาตรอากาศหายใจอาจช่วยระบุความรุนแรงของการมีลมค้างในปอดได้ โดยทั่วไปนั้นใช้พื้นฐานของ FEV1 ที่มีการแสดงไว้ในอัตราร้อยละ สำหรับอาการ "ปกติ" ที่มีการคาดหมายตามอายุ เพศ ความสูงและน้ำหนักของแต่ละบุคคล แนวปฏิบัติของทั้งอเมริกาและยุโรปได้แนะนำให้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานการรักษาสำหรับ FEV1 แนวปฏิบัติ GOLD แนะนำการแบ่งผู้ป่วยออกเป็นสี่กลุ่มตามพื้นฐานของการประเมินอาการและการมีลมค้างในปอด และควรนำการลดลงของน้ำหนักและความอ่อนแอของกล้ามเนื้อ ตลอดจนการแสดงของโรคอื่นๆ มาใช้ในการพิจารณาด้วย

การทดสอบอื่นๆ

การตรวจเอกซเรย์ทรวงอกและการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบรูณ์อาจเป็นประโยชน์สำหรับการแยกอาการอื่นๆ ออกในเวลาที่ทำการวินิจฉัย สัญญาณที่เป็นลักษณะเฉพาะจากการเอกซเรย์คือปอดที่โตผิดปกติหรือกะบังลมที่แฟบแบน พื้นที่ของอากาศหลังกระดูกอกเพิ่มขึ้น และตุ่มพุพอง ขณะเดียวกันมันก็ยังสามารถช่วยในการแยกโรคปอดอื่นๆ ออกได้ เช่น ปอดบวม ปอดบวมน้ำ หรือภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ การสแกนทรวงอกโดยใช้ความละเอียดสูงด้วยการถ่ายภาพส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์อาจแสดงผลของโรคถุงลมโป่งพองทั่วทั้งปอดได้และอาจเป็นประโยชน์ในการแยกโรคปอดอื่นๆ ออก อย่างไรก็ตามภาวะเหล่านี้จะไม่ส่งกระทบต่อการจัดการโรค เว้นแต่ว่าได้มีการวางแผนการผ่าตัดไว้ การวิเคราะห์ก๊าซในหลอดเลือดแดงถูกใช้เพื่อระบุความต้องการของออกซิเจน สิ่งนี้เป็นข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มี FEV1 ต่ำกว่า 35% จากที่คาดหมายไว้ ผู้ที่มีความอิ่มตัวของออกซิเจนส่วนปลายต่ำกว่า 92% และผู้ที่มีอาการแสดงของโรคเลือดคั่ง ในพื้นที่ที่การพร่องอัลฟ่า วัน-แอนติทริพซินนั้นเป็นภาวะปกติ ผู้ที่เป็นโรค COPD (โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 45 ปีและปอดส่วนล่างได้รับผลกระทบจากโรคถุงลมโป่งพอง) ควรได้รับการพิจารณาให้ได้รับการทดสอบนี้

ความแตกต่างในการวินิจฉัย

COPD อาจจำเป็นต้องมีการวินิจฉัยที่แตกต่างจากสาเหตุอื่นๆ ของความเหนื่อย อาทิเช่น โรคหัวใจเลือดคั่ง สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด ปอดบวม หรือภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ ผู้ที่มี COPD หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นโรคหอบหืด ความแตกต่างระหว่างโรคหอบหืดและ COPD นั้น คือพื้นฐานของอาการ ประวัติการสูบบุหรี่และการมีลมค้างในปอดซึ่งสามารถแก้อาการได้ด้วยยาขยายหลอดลมโดยการวัดปริมาตรอากาศหายใจ นอกจากนี้อาการของโรควัณโรคยังอาจมีการแสดงออกของการไอเรื้อรังและควรพิจารณาเรื่องสถานที่ว่าเป็นสถานที่ที่พบโรคนี้ได้ทั่วไปหรือไม่ด้วย อาการที่พบไม่บ่อยที่อาจเกิดขึ้นซึ่งเป็นอาการที่คล้ายกันก็คือการเจริญผิดปกติของหลอดลมและเนื้อปอดและหลอดลมฝอยอักเสบจากการถูกทำลาย การอักเสบเรื้อรังของหลอดลมอาจเกิดขึ้นได้พร้อมกับการไหลของอากาศที่ปกติและในสถานการณ์นี้อาจไม่ถูกจัดว่าเป็น COPD


การป้องกัน

COPD หลายกรณีนั้นสามารถป้องกันได้โดยการลดสัมผัสจากบุหรี่และการปรับปรุงคุณภาพของอากาศ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปีแก่ผู้ที่เป็นโรค COPD ก็สามารถลดการกำเริบของโรค การต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตได้ การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อปอดบวมก็อาจเป็นประโยชน์เช่นกัน

การหยุดสูบบุหรี่

การป้องกันมิให้ผู้คนเริ่มสูบบุหรี่นั้นเป็นหลักสำคัญของการป้องกัน COPD นโยบายของรัฐบาล หน่วยงานสาธารณสุขและองค์กรต่อต้านการสูบบุหรี่ สามารถลดอัตราการสูบบุหรี่โดยการกีดกันมิให้ผู้คนริเริ่มการสูบบุหรี่และส่งเสริมการหยุดสูบบุหรี่ การห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะและสถานที่ทำงานนั้นเป็นมาตรการที่สำคัญในการลดการสัมผัสของบุหรี่จากการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่และขณะเดียวกันก็ขอแนะนำให้หลายๆ สถานที่จัดตั้งการห้ามให้มากขึ้น

ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ การหยุดสูบบุหรี่นั้นเป็นมาตรการเดียวเท่านั้นที่แสดงถึงการชะลอการทรุดลงของโรค COPD แม้ว่าจะเป็นระยะท้ายๆ ของโรคก็ตาม การหยุดสูบบุหรี่ก็สามารถลดอัตราของการแย่ลงของการทำงานของปอดและชะลอการเริ่มต้นของความทุพพลภาพและการเสียชีวิตได้ การหยุดสูบบุหรี่เริ่มจากการตัดสินใจหยุดสูบบุหรี่ และจากนั้นจึงเป็นการพยายามที่จะหยุดสูบบุหรี่ โดยส่วนใหญ่นั้นจำเป็นต้องมีการพยายามหลายครั้งก่อนที่จะประสบความสำเร็จของการงดเว้นในระยะยาว ในคนจำนวนเกือบ 40% การพยายามเป็นเวลามากกว่า 5 ปีนั้นจะส่งผลที่เป็นความสำเร็จ

ในผู้สูบบุหรี่บางรายนั้นสามารถบรรลุความสำเร็จของการหยุดสูบบุหรี่ในระยะยาวได้ด้วยพลังจากความตั้งใจเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การสูบบุหรี่นั้นเป็นสิ่งเสพติดที่เลิกได้ยาก และผู้สูบบุหรี่หลายรายต้องการการสนับสนุนด้านอื่นๆ โอกาสของการหยุดสูบบุหรี่นั้นสามารถเพิ่มขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนจากสังคม การเข้าร่วมในโครงการการหยุดสูบบุหรี่และการใช้ยา อาทิ การบำบัดด้วยการทดแทนนิโคติน ยา bupropion หรือ varenicline

อาชีวอนามัย

ได้มีการใช้มาตรการจำนวนหนึ่งเพื่อลดแนวโน้มในการสูบบุหรี่ของผู้ทำงานในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การทำเหมืองถ่านหิน การก่อสร้างและการก่อสร้างอิฐ ที่สามารถก่อโรค COPD ตัวอย่างของมาตรการเหล่านี้ได้แก่: การจัดตั้งนโยบายสาธารณะ การให้ความรู้แก่พนักงานและฝ่ายบริหารเรื่องความเสี่ยง การส่งเสริมการหยุดสูบบุหรี่ การตรวจสอบในกลุ่มพนักงาน เพื่อสำรวจสัญญาณเริ่มแรกของ COPD โดยใช้เครื่องช่วยหายใจและการควบคุมฝุ่น การควบคุมฝุ่นที่มีประสิทธิภาพสามารถทำได้โดยการปรับปรุงระบบระบายอากาศ โดยใช้การพ่นน้ำและโดยการใช้เทคนิคการทำเหมืองที่ลดการก่อฝุ่น หากพนักงานมีการพัฒนาโรค COPD การหยุดยั้งไม่ให้ปอดถูกทำลายเพิ่มมากขึ้นสามารถทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของพนักงาน

มลพิษทางอากาศ

คุณภาพของอากาศทั้งภายในและภายนอกสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ซึ่งสิ่งนี้อาจป้องกัน COPD หรือชะลอการทรุดลงของโรคที่เป็นอยู่ได้ สิ่งนี้อาจบรรลุความสำเร็จได้จากนโยบายของสาธารณะ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมโดยส่วนตัว

ประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศประสบความสำเร็จในการปรับปรุงคุณภาพของอากาศภายนอกโดยใช้ระเบียบข้อบังคับ ซึ่งการนี้ได้ส่งผลที่เป็นการเสริมสร้างการทำงานของปอดของประชากรของประเทศเหล่านี้ ผู้ที่เป็นโรค COPD อาจเกิดอาการน้อยลงหากพวกเขาได้อยู่ภายในสถานที่ในวันที่อากาศภายนอกมีคุณภาพไม่ดี

ความพยายามสำคัญข้อหนึ่งคือการลดการได้รับสัมผัสของควันจากการประกอบอาหารและเชื้อเพลิงที่มีความร้อนด้วยการปรับปรุงระบบระบายอากาศของบ้านและเตาทำอาหารและเตาผิงให้ดีขึ้น เตาทำอาหารที่เหมาะสมนั้นอาจเป็นการปรับปรุงคุณภาพของอากาศภายในได้ถึง 85% การใช้แหล่งพลังงานที่เป็นทางเลือก เช่น เตาอบแสงอาทิตย์ และเครื่องทำความร้อนไฟฟ้านั้นเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวิธีเหล่านี้เป็นการใช้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมันก๊าดหรือถ่านหินแทนการใช้เชื้อเพลิงมวลชีวภาพ

การจัดการโรค

โรค COPD นั้นไม่มีการรักษาที่เป็นที่ทราบ แต่อาการของโรคนั้นสามารถรักษาได้และสามารถชะลอความก้าวหน้าของโรคได้ เป้าหมายหลักของการจัดการโรคคือการลดปัจจัยเสี่ยง จัดการความคงที่ของ COPD ป้องกันการกำเริบของโรคแบบเฉียบพลันและจัดการความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้อง มาตรการที่ได้แสดงถึงการลดการเสียชีวิตคือการหยุดสูบบุหรี่และการใช้ออกซิเจนเสริมเท่านั้น การหยุดสูบบุหรี่นั้นเป็นการลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตได้ 18% ข้อแนะนำอื่นๆ นั้นได้แก่: การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อปอดบวมทุกๆ 5 ปี และการลดการสัมผัสจากสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศ ในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคขั้นลุกลาม การรักษาบรรเทาอาจช่วยลดอาการต่างๆ ได้ พร้อมกับการช่วยให้ความรู้สึกเนื่องจากความเหนื่อยดีขึ้นด้วยมอร์ฟีน การใช้เครื่องช่วยหายใจแบบไม่มีการเจาะผ่าอาจใช้เพื่อสนับสนุนการหายใจได้

การออกกำลังกาย

การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคทางปอดคือโครงการที่เป็นการประสานร่วมกันของการออกกำลังกาย การจัดการโรคและการให้คำปรึกษา เพื่อประโยชน์ของบุคคลนั้นๆ ในกลุ่มผู้ที่มีการกำเริบของโรคเมื่อไม่นานมานี้ การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคทางปอดนั้นดูเหมือนจะเป็นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยรวมและความสามารถในการออกกำลังกาย และการเสียชีวิตได้ โครงการนี้ยังได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาความตระหนักในการควบคุมของบุคคลเกี่ยวกับโรคของตน ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกของพวกเขา การฝึกฝนการหายใจเข้าและออกด้วยตนเองนั้นดูเหมือนจะมีข้อจำกัด

การมีน้ำหนักน้อยหรือมากเกินไปสามารถส่งผลต่ออาการต่างๆ ระดับความพิการและการพยากรณ์โรค COPD ได้ ผู้ที่เป็น COPD ซึ่งมีน้ำหนักน้อยเกินไปสามารถปรับปรุงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อการหายใจของตนได้โดยการเพิ่มปริมาณแคลอรี่ที่บริโภค เมื่อร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือโครงการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคทางปอด ก็สามารถส่งผลที่เป็นการปรับปรุงอาการของ COPD ให้ดีขึ้นได้ การรับประทานอาหารเสริมอาจมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีภาวะขาดอาหาร

ยาขยายหลอดลม

ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นนั้นเป็นการรักษาหลักที่ใช้ และส่งผลที่เป็นประโยชน์โดยรวมเล็กน้อย กลุ่มยาชนิดหลักๆ มีสองชนิดคือ β2 agonists และ แอนติโคลิเนอร์จิก ซึ่งมีทั้งชนิดออกฤทธิ์ระยะยาวและออกฤทธิ์ระยะสั้น ยาเหล่านี้สามารถลดความเหนื่อย การหายใจมีเสียงวี้ดและขีดจำกัดในการออกกำลังกายได้ ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ทั้งนี้ไม่เป็นที่ชัดเจนว่ายาเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงการกำเริบของโรคพื้นเดิมได้หรือไม่

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคระยะเบื้องต้น แนะนำให้ใช้ยาชนิดออกฤทธิ์สั้นเมื่อจำเป็น ส่วนในผู้ป่วยที่มีโรคในขั้นที่รุนแรงกว่านั้น แนะนำให้ใช้ยาชนิดออกฤทธิ์นาน หากยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์นานไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยส่วนใหญ่จะมีการเสริมด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่น ในส่วนของยาชนิดออกฤทธิ์นานนั้น ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่ายา tiotropium (แอนติโคลิเนอร์จิกชนิดออกฤทธิ์นาน) หรือ ตัวต่อต้านบีต้า (LABAs) นั้นดีกว่าหรือไม่ และการทดลองใช้ยาแต่ละตัวอาจจะมีประโยชน์ จากนั้นจึงใช้เฉพาะยาตัวที่ได้ผลดีที่สุดอย่างต่อเนื่องต่อไป ยาทั้งสองประเภทนี้แสดงผลที่เป็นการลดความเสี่ยงของการกำเริบของโรคแบบเฉียบพลันได้ 15-25% ขณะที่การใช้ยาทั้งสองตัวในเวลาเดียวกันนั้นอาจมีประโยชน์ แต่ทั้งนี้ประโยชน์ที่อาจได้รับนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่ยังคงเป็นข้อสงสัย

กลุ่มยาที่เป็นตัวต่อต้าน β2 ชนิดออกฤทธิ์สั้นมีอยู่หลายตัวด้วยกัน ได้แก่ salbutamol (Ventolin) และ terbutaline ยาเหล่านี้สามารถบรรเทาอาการบางอย่างได้เป็นเวลาสี่ถึงหกชั่วโมง ส่วนยาที่เป็นตัวต่อต้าน β2 ชนิดออกฤทธิ์นาน เช่น salmeterol และ formoterol นั้นมักใช้เป็นการรักษาเพื่อจัดการโรค ผู้ป่วยบางรายไม่รู้สึกว่าได้รับประโยชน์ที่ชัดเจนจากยาเหล่านี้ แต่ขณะเดียวกันผู้ป่วยอื่นๆ สามารถเห็นประโยชน์ที่ชัดเจน การใช้ยาเหล่านี้ผู้ป่วย COPD ในระยะยาวนั้นดูเหมือนมีความปลอดภัย รวมทั้งอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ได้แก่ ความสั่น และ อัตราการเต้นของหัวใจเร็วหรือไม่สม่ำเสมอ เมื่อมีการใช้ร่วมกับสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นยาเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคปอดบวม ขณะที่สเตียรอยด์และ LABA อาจให้ผลดีกว่าเมื่อใช้ร่วมกัน แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าประโยชน์เล็กน้อยนี้มีความสำคัญมากกว่าความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นหรือไม่

มียากลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิกหลักๆ สองตัวที่ใช้ใน COPD คือ ipratropium และ tiotropium ยา Ipratropium เป็นยาชนิดออกฤทธิ์สั้น ส่วนยา tiotropium เป็นยาชนิดออกฤทธิ์นาน ยา Tiotropium นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการลดลงของการกำเริบของโรคและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และยา tiotropium นั้นให้ผลที่ดีกว่ายา ipratropium แต่ทั้งนี้ไม่ดูเหมือนว่าจะส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิตหรือการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลโดยรวม แอนติโคลิเนอร์จิกอาจเป็นสาเหตุของอาการปากแห้งและกลุ่มอาการของทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ ยาเหล่านี้ยังเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจและการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง ยา Aclidinium ซึ่งเป็นยาชนิดออกฤทธิ์นานอีกตัวหนึ่งที่มีการนำออกสู่ตลาดเมื่อปี 2012 ได้รับการใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นอกเหนือจากยา tiotropium

คอร์ติโคสเตียรอยด์

คอร์ติโคสเตียรอยด์มักใช้ในรูปแบบสูดพ่นแต่อาจจะมีการใช้ในรูปแบบเม็ดเพื่อรักษาและป้องกันการกำเริบของโรคแบบเฉียบพลัน แม้ว่าคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่น (ICS) ไม่แสดงถึงประโยชน์สำหรับผู้ที่เป็นโรค COPD ในระยะเบื้องต้น แต่ก็สามารถลดการกำเริบของโรคแบบเฉียบพลันในผู้ป่วยที่เป็นโรคระยะปานกลางและระยะรุนแรงได้ เมื่อใช้ร่วมกับ LABA ยาเหล่านี้ลดการเสียชีวิตได้มากกว่าการใช้ยา ICS หรือ LABA เพียงตัวเดียว โดยตัวของมันเองแล้วยาเหล่านี้ไม่มีผลต่อการเสียชีวิตโดยรวมในหนึ่งปีแต่เกี่ยวข้องกับอัตราที่เพิ่มขึ้นของโรคปอดบวม ไม่เป็นที่แน่ชัดว่ายาเหล่านี้ส่งผลต่อการก้าวหน้าของโรคหรือไม่ การรักษาระยะยาวด้วยยาสเตียรอยด์ชนิดเม็ดนั้นมีความเกี่ยวข้องกับผลข้างเคียงที่มีนัยสำคัญต่างๆ

ยาอื่นๆ

การใช้ยายาปฏิชีวนะในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาในกลุ่ม macrolide เช่น erythromycin สามารถลดความถี่ของการกำเริบของโรคในผู้ที่มีการกำเริบของโรคตั้งแต่สองครั้งต่อปีขึ้นไป รูปแบบการรักษานี้อาจมีความคุ้มค่าสำหรับในบางพื้นที่ของโลก ข้อกังวลต่างๆ เช่น การดื้อต่อยาปฏิชีวนะ และปัญหาของการได้ยินจากยาอะซิโธรมัยซิน Methylxanthines อาทิเช่น theophylline โดยทั่วไปเป็นโทษมากกว่าเป็นประโยชน์ และดังนั้นจึงไม่แนะนำ แต่อาจใช้เป็นยาสำรองในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการควบคุมโดยมาตรการอื่นๆ ยา Mucolytic อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยบางรายที่มีเสมหะชนิดข้นหนืด แต่โดยทั่วไปนั้นไม่จำเป็น ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้ไอ

ออกซิเจน

การใช้ออกซิเจนเสริมเป็นสิ่งที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีระดับออกซิเจนต่ำขณะพัก (ความดันของออกซิเจนบางส่วนในระดับที่ต่ำกว่า 50–55 mmHg หรือความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำกว่า 88%) ในคนกลุ่มนี้ การบำบัดนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลวและการเสียชีวิตได้หากใช้เป็นเวลา 15 ชั่วโมงต่อวัน แต่อาจเพิ่มความสามารถในการออกกำลังของบุคคลนั้นได้ ในกลุ่มของผู้ที่มีระดับออกซิเจนปกติหรือต่ำเล็กน้อย การใช้ออกซิเจนเสริมอาจช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยได้ ทั้งนี้มีความเสี่ยงของไฟไหม้และประโยชน์เพียงเล็กน้อยเมื่อผู้ที่ใช้ออกซิเจนยังคงสูบบุหรี่อยู่ ในระดับความเข้มข้นนี้ มีบางคำแนะนำที่ต่อต้านการใช้การบำบัดนี้ ในระหว่างการกำเริบของโรคแบบเฉียบพลัน การบำบัดด้วยออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหลายคน การใช้ออกซิเจนเข้มข้นโดยไม่คำนึงถึงระดับความเข้มข้นของบุคคลนั้น อาจนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของระดับคาร์บอนไดออกไซด์และผลที่เลวร้ายกว่าได้ ในผู้ที่มีความเสี่ยงของการมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงนั้น แนะนำให้ใช้ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ 88–92% ส่วนผู้ที่ไม่มีความสี่ยง ระดับที่แนะนำคือ 94-98%

การผ่าตัด

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคระยะร้ายแรง บางครั้งการผ่าตัดก็เป็นประโยชน์และอาจรวมถึงการปลูกถ่ายปอดหรือการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรของปอด การผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรของปอดเป็นการตัดเนื้อปอดบางส่วนที่ถูกทำลายโดยโรคถุงลมโป่งพอง เพื่อให้เนื้อเยื่อปอดส่วนที่ยังสามารถทำงานได้ขยายตัวและทำงานได้ดีขึ้น การปลูกถ่ายปอดนั้นบางครั้งมีการดำเนินการสำหรับผู้ที่เป็นโรค COPD ขั้นรุนแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่อายุน้อย

การกำเริบของโรค

การกำเริบของโรคแบบเฉียบพลันนั้นโดยทั่วไปมีการรักษาโดยการเพิ่มการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้น ซึ่งเป็นการรักษาทั่วไป รวมถึงการรักษาร่วมกับตัวต่อต้านบีต้าชนิดสูดพ่นและแอนติโคลิเนอร์จิก ยาเหล่านี้สามารถให้โดยใช้กระบอกพ่นละอองยาสำเร็จรูปพร้อมกับกระบอกช่วยสูด หรือด้วยเครื่องพ่นละออง เนื่องจากทั้งสอบรูปแบบนี้แสดงประสิทธิภาพที่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้เครื่องพ่นละอองอาจจะใช้งานได้ง่ายกว่าสำหรับผู้ที่สุขภาพไม่ดี

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน สามารถเพิ่มโอกาสของการฟื้นตัวและลดระยะเวลาของการเกิดของอาการโดยรวมได้ ในผู้ที่มีการกำเริบของโรคขั้นรุนแรง ยาปฏิชีวนะสามารถบรรเทาผลได้ ยาปฏิชีวนะต่างๆ จำนวนหนึ่งที่มีการใช้ ได้แก่: อะม็อกซีซิลลิน ด็อกซีซัยคลิน หรือ อะซิโทรมัยซิน ทั้งนี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ายาตัวหนึ่งตัวใดตัวหนึ่งดีกว่าตัวอื่นๆ หรือไม่ และไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนสำหรับผู้ที่มีอาการของโรคที่รุนแรงน้อยกว่า

การใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อปรับความดันแบบไม่มีการเจาะผ่าในผู้ที่มีระดับ CO2 สูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน (ภาวะการหายใจล้มเหลวชนิดที่ 2) สามารถลดความเป็นไปได้ของการเสียชีวิตหรือความจำเป็นต้องเข้าพักรักษาตัวด้วยเครื่องช่วยหายใจในหน่วยอภิบาล นอกจากนั้น ยาธีโอฟิลลีนอาจส่งผลในการรักษาในผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อมาตรการอื่นๆ การกำเริบของโรคที่จำเป็นต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนั้นมีจำนวนต่ำกว่า 20% ในกลุ่มผู้ที่ไม่มีภาวะกรดสาเหตุจากการหายใจล้มเหลว การรักษาพยาบาลที่บ้าน ("โรงพยาบาลที่บ้าน") อาจช่วยหลีกเลี่ยงการต้องเข้าพักรักษาตัวได้

พยากรณ์โรค

 
ปีสุขภาวะที่สูญเสียไปจากโรคและการบาดเจ็บของประชากรสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อประชากร 100,000 คนในปี 2004
  no data
  ≤110
  110–220
  220–330
  330–440
  440–550
  550–660
  660–770
  770–880
  880–990
  990–1100
  1100–1350
  ≥1350

COPD มักค่อยๆ มีอาการแย่ลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปและในที่สุดอาจส่งผลที่เป็นการเสียชีวิตได้ มีการคาดการณ์ว่าประมาณ 3% ของความพิการทั้งหมดนั้นเกี่ยวข้องกับ COPD สัดส่วนของความพิการจาก COPD ในทั่วโลกได้ลดลงนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 ถึง 2010 เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพของอากาศภายในสถานที่ โดยเริ่มจากในเอเชีย อย่างไรก็ตาม จำนวนของปีโดยรวมที่ต้องใช้ชีวิตโดยมีความพิการเนื่องจาก COPD นั้นได้เพิ่มขึ้น

อัตราการแย่ลงของ COPD นั้นแตกต่างกันไปตามการปรากฏของปัจจัยต่างๆ ที่สามารถพยากรณ์ผลเชิงลบได้ ได้แก่: การอุดกั้นทางเดินหายใจขั้นรุนแรง ความสามารถในการออกกำลังกายต่ำ อาการเหนื่อย ความผอมหรืออ้วนที่สำคัญ โรคหัวใจเลือดคั่ง การยังคงสูบบุหรี่อยู่และความถี่ของการกำเริบของโรค ผลระยะยาวใน COPD นั้นสามารถคาดการณ์ได้โดยการใช้ BODE index ซึ่งแสดงผลคะแนนจากศูนย์ถึงสิบ โดยขึ้นอยู่กับ FEV1 ดัชนีมวลกาย ระยะทางที่เดินได้ใน 6 นาที และแบบประเมิน modified MRC dyspnea scale ความผอมที่สำคัญนั้นเป็นสัญญาณที่ไม่ดี ผลการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยการวัดปริมาตรอากาศหายใจก็เป็นเครื่องพยากรณ์ความก้าวหน้าของโรคในอนาคตที่ดีเช่นกัน แต่ไม่ดีเท่า BODE index

วิทยาการระบาด

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 มีประชากรที่เป็นโรค COPD ประมาณ 329 ล้านคนทั่วโลก (4.8% ของของประชากร) และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย นี่เป็นการเปรียบเทียบของผู้ที่เป็นโรคจำนวน 64 ล้านคนในปี ค.ศ. 2004 การเพิ่มขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนาระหว่างปี ค.ศ. 1970 ถึง 2010 นั้นเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของอัตราการสูบบุหรี่ในภูมิภาคนี้ และการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการมีอายุยืนยาวขึ้นของประชากร เนื่องจากการลดลงของการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆ เช่นโรคติดเชื้อ ความชุกของ COPD ในประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศพบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้น โดยบางประเทศมีอัตราคงที่และบางประเทศมีอัตราลดลง จำนวนโดยรวมทั่วโลกนั้นคาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ นั้นยังคงพบได้ทั่วไปเช่นเดิมและประชากรยังคงมีอายุยืนยาวขึ้นเรื่อยๆ

ระหว่างปี ค.ศ. 1990 ถึง 2010 จำนวนการเสียชีวิตจาก COPD ได้ลดลงเล็กน้อย จาก 3.1 ล้านคน เป็น 2.9 ล้านคน โดยรวมแล้ว โรคนี้จัดเป็นอันดับสี่ของสาเหตุการเสียชีวิต ในบางประเทศ อัตราการเสียชีวิตได้ลดลงในเพศชายแต่เพิ่มขึ้นในเพศหญิง แนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุดของเรื่องนี้เนื่องมาจากอัตราการสูบบุหรี่ในเพศหญิงและชายนั้นมีจำนวนเท่าๆ กัน COPD นั้นพบได้ทั่วไปในผู้สูงอายุ โรคนี้เกิดขึ้นในคนจำนวน 34-200 จากจำนวน 1000 คน ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประชากรที่สำรวจ

ในประเทศอังกฤษ ประมาณว่ามีคนจำนวน 0.84 ล้านคน (จาก 50 ล้านคน) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น COPD หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ประมาณหนึ่งคนจาก 59 คนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น COPD ที่ช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของพวกเขา ในพื้นที่ของประเทศที่มีความขาดแคลนทางเศรษฐกิจมากที่สุด ประชากรหนึ่งคนใน 32 คนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น COPD เมื่อเปรียบเทียบกับหนึ่งใน 98 คนในพื้นที่ที่มั่งคั่งที่สุด ในสหรัฐอเมริกา คิดเป็นประมาณ 6.3% ของประชากรผู้ใหญ่ และจำนวนรวมทั้งหมดประมาณ 15 ล้านคน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น COPD ประชากรจำนวน 25 ล้านคน อาจมี COPD หากรวมถึงกรณีที่ยังไม่ได้การวินิจฉัยสาเหตุในปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 2011 มีผู้ป่วยประมาณ 730,000 คนเข้ารับการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากโรค COPD

ประวัติ

 
Giambattista Morgagni who made one of the earliest recorded descriptions of emphysema in 1769

คำว่า "emphysema" (โรคถุงลมโป่งพอง) ถูกผันมาจากคำว่า emphysan ในกรีก ἐμφυσᾶν ซึ่งแปลว่า"พองลม" ซึ่งเป็นคำที่ประกอบด้วยคำว่า ἐν en ซึ่งแปลว่า "ใน" และ φυσᾶν physan ซึ่งแปลว่า "หายใจ, ระเบิด" คำว่าการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมได้เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1808 ส่วนคำว่า COPD นั้นเชื่อว่าถูกใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1965 ในอดีต โรคนี้มีชื่อต่างๆ กันมากมายหลายชื่อ ได้แก่: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังบรองโคพัลโมนารี (chronic obstructive bronchopulmonary), โรคระบบการเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive respiratory disease), โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง (chronic airflow obstruction disease), การจำกัดของทางเดินหายใจ (chronic airflow limitation), โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive lung disease), โรคปอดเรื้อรังที่ไม่เฉพาะเจาะจง (nonspecific chronic pulmonary disease), และกลุ่มอาการปอดอุดกั้นแพร่กระจาย (diffuse obstructive pulmonary syndrome) คำว่าโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและถุงลมโป่งพองนั้นได้รับการจำกัดความอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1959 ที่การประชุมสัมมนาของ CIBA และในปี ค.ศ. 1962 ที่การประชุมคณะกรรมการเรื่องมาตรฐานการวินิจฉัยโรคของ American Thoracic Society

การอธิบายในช่วงเริ่มแรกของโรคที่อาจเป็นโรคถุงลมโป่งพอง ได้แก่: ในปี ค.ศ. 1679 โดย T. Bonet ว่าเป็นสภาวะของ "ปอดมีขนาดใหญ่" และในปี ค.ศ. 1769 โดย Giovanni Morgagni ว่าปอดนั้นมี "การบวมที่มีสาเหตุเนื่องจากอากาศโดยเฉพาะ" ในปี ค.ศ. 1721 ภาพวาดภาพแรกของโรคถุงลมโป่งพองสร้างขึ้นโดย Ruysh แล้วตามด้วยรูปภาพโดย Matthew Baillie ในปี ค.ศ. 1789 และคำอธิบายของลักษณะของสภาวะซึ่งเป็นการทำลาย ในปี ค.ศ. 1814 Charles Badham ได้ใช้คำว่า "เยื่อเมือกอักเสบ" เพื่ออธิบายการไอและเสหะที่มากผิดปกติในโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง René Laennec ซึ่งเป็นแพทย์ผู้ประดิษฐ์หูฟังของแพทย์ได้ใช้คำว่า "โรคถุงลมโป่งพอง" ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า A Treatise on the Diseases of the Chest and of Mediate Auscultation (1837) เพื่ออธิบายสภาวะของปอดที่ไม่ยุบตัวเมื่อเขาผ่าหน้าอกในระหว่างการชันสูตรศพ เขาได้บันทึกว่าถุงลมเหล่านี้ไม่ยุบตัวตามปกติเนื่องจากเต็มไปด้วยอากาศและทางเดินหายใจนั้นเต็มไปด้วยเสมหะ ในปี 1842 John Hutchinson ได้ประดิษฐ์ เครื่องวัดปริมาตรอากาศหายใจ ซึ่งให้ความสามารถในการตรวจวัดความจุชีพของปอด อย่างไรก็ตาม เครื่องวัดปริมาตรอากาศหายใจของเขาสามารถวัดได้เพียงปริมาตร ไม่ใช่การไหลของอากาศ ในปี ค.ศ. 1947 Tiffeneau และ Pinelli ได้ทำการระบุรายละเอียดหลักการในการวัดการไหลของอากาศ

ในปี ค.ศ. 1953 นายแพทย์ George L. Waldbott แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ชาวอเมริกัน เป็นบุคคลแรกที่ได้อธิบายถึงโรคใหม่ที่เขาตั้งชื่อว่า "smoker's respiratory syndrome" (กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจของผู้สูบบุหรี่) ในวารสารของสมาคมแพทย์แห่งอเมริกา ปี ค.ศ. 1953 ซึ่งเป็นการรวมระหว่างการสูบบุหรี่กับโรคทางเดินหายใจเรื้อรังไว้ด้วยกันเป็นครั้งแรก

การรักษาในระยะแรก ที่นอกเหนือจากสิ่งอื่นๆ แล้ว ยังมีการใช้ กระเทียม อบเชย และอีเพ็คค่า อีกด้วย การรักษาแผนใหม่ได้รับการพัฒนาขึ้นในระหว่างครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 หลักฐานสนับสนุนของการใช้สเตียรอยด์ใน COPD ได้รับการตีพิมพ์ในช่วงปี 1955-60 ในปี ค.ศ. 1960-70 ได้เริ่มมีการใช้ยาขยายหลอดลม หลังจากการศึกษาวิจัยยาไอโซพรีนาลีนที่มีความหวัง ต่อจากนั้นยาขยายหลอดลมอื่นๆ เช่น salbutamol จึงได้รับการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1970-80 และการใช้ยาในกลุ่ม LABA ได้เริ่มต้นเมื่อช่วงกลางระหว่างปี ค.ศ. 1990-2000

สังคมและวัฒนธรรม

ดูเพิ่มเติมที่: COPD Awareness Month

COPD ได้รับการอ้างอิงว่าเป็น "ปอดของผู้สูบบุหรี่" ผู้ที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองได้รับการขนานนามว่า "pink puffers" (ผู้สูบสีชมพู) หรือ "ประเภท A" เนื่องจากลักษณะผิวสีชมพูที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง อัตราการหายใจเร็วและการหายใจโดยห่อริมฝีปาก และผู้ที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้รับการขนานนามว่า "blue bloaters" (ผู้พองบวมสีน้ำเงิน) หรือ "ประเภท B" เนื่องจากมักมีผิวและริมฝีปากมีสีคล้ำเขียว เนื่องจากระดับออกซิเจนต่ำและข้อเท้าบวม คำจำกัดเหล่านี้ไม่ได้รับการยอมรับว่ามีประโยชน์อีกต่อไปเนื่องจากผู้ที่เป็นโรค COPD ส่วนใหญ่นั้นมีภาวะร่วมของทั้งสองภาวะดังกล่าว

ระบบสุขภาพหลายระบบประสบความยากลำบากในการรับรองคำจำกัดความ การวินิจฉัยและการพยาบาลที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย COPD กระทรวงสาธารณะสุขของสหราชอาณาจักรได้ระบุว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาหลักของ National Health Service และได้นำเสนอกลยุทธ์ที่เฉพาะเจาะจงในการรับมือกับปัญหาเหล่านี้

สภาพเศรษฐกิจ

ในทั่วโลก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 โรค COPD ได้รับการคาดว่าส่งผลต่อค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจเป็นเงิน $2.1 ล้านล้าน ซึ่งครึ่งหนึ่งเกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา จากยอดรวมนี้คาดว่าเงินจำนวน $1.9 ล้านล้านนั้นเป็นค่าใช้จ่ายโดยตรง เช่น การรักษาทางการแพทย์ และอีก $0.2 ล้านล้านเป็นค่าใช้จ่ายโดยอ้อม เช่น การขาดงาน มีการคาดหมายว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าในอีก 20  ปีข้างหน้า ในยุโรป COPD มีสัดส่วนคิดเป็น 3% ของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้านสุขภาพ ในสหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายของโรคนี้นั้นคาดว่าอยู่ที่ $50 พันล้าน ส่วนใหญ่นั้นเป็นค่าใช้จ่ายเนื่องจากการกำเริบของโรค COPD นั้นเป็นโรคโรคหนึ่งในกลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดที่พบในโรงพยาบาลในอเมริกาในปี ค.ศ. 2011 โดยค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดนั้นประมาณ $5.7 พันล้าน

การวิจัย

ดูเพิ่มเติมที่: COPD: Journal of Chronic Obstructive Pulmonary Disease

ยา Infliximab เป็นแอนติบอดีกดภูมิคุ้มกัน ที่ได้รับการทดสอบใน COPD แต่ไม่มีหลักฐานของความเป็นประโยชน์ และมีความเป็นไปได้ของความเป็นโทษ ยา Roflumilast แสดงถึงการลดอัตราการกำเริบของโรคที่มีความหวัง แต่ไม่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิต ยาชนิดออกฤทธิ์นานจำนวนหนึ่งนั้นอยู่ในระหว่างการพัฒนา และการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดนั้นกำลังได้รับการศึกษาวิจัย ขณะที่ความปลอดภัยโดยทั่วไปและข้อมูลของการศึกษาวิจัยในสัตว์นั้นให้ความหวัง แต่ข้อมูลของการใช้ในมนุษย์ ณ ปี ค.ศ. 2014 นั้นมีน้อยมาก

สัตว์อื่นๆ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจเกิดขึ้นในสัตว์อื่นๆ จำนวนหนึ่งได้ และอาจเกิดจากการได้รับสัมผัสจากบุหรี่ อย่างไรก็ตาม โรคส่วนใหญ่นั้นมีระดับแค่เล็กน้อย ในม้าซึ่งเป็นที่ทราบทั่วไปว่าเป็นการอุดกั้นทางเดินหายใจที่กลับเป็นซ้ำ และโดยทั่วไปเกิดขึ้นเนื่องจากปฏิกิริยาภูมิแพ้จากฟางที่มีเชื้อรา COPD พบได้ทั่วไปในสุนัขแก่

อ้างอิง

  1. "Chronic obstructive pulmonary disease". NICE. สืบค้นเมื่อ 5 July 2021.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BMJbp
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WHO2021
  4. Gold Report 2021, pp. 20-23, Chapter 2: Diagnosis and initial assessment.
  5. Gold Report 2021, pp. 33–35, Chapter 2: Diagnosis and initial assessment.
  6. Gold Report 2021, pp. 40–46, Chapter 3: Evidence supporting prevention and maintenance therapy.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GBD2015Pre
  8. Vestbo, Jørgen (2013). "Definition and Overview" (PDF). Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. pp. 1–7.
  9. Reilly, John J.; Silverman, Edwin K.; Shapiro, Steven D. (2011). "Chronic Obstructive Pulmonary Disease". ใน Longo, Dan; Fauci, Anthony; Kasper, Dennis; Hauser, Stephen; Jameson, J.; Loscalzo, Joseph (บ.ก.). Harrison's Principles of Internal Medicine (18th ed.). McGraw Hill. pp. 2151–9. ISBN 978-0-07-174889-6.
  10. Decramer M, Janssens W, Miravitlles M (April 2012). "Chronic obstructive pulmonary disease". Lancet. 379 (9823): 1341–51. doi:10.1016/S0140-6736(11)60968-9. PMID 22314182.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  11. Rabe KF, Hurd S, Anzueto A, Barnes PJ, Buist SA, Calverley P, Fukuchi Y, Jenkins C, Rodriguez-Roisin R, van Weel C, Zielinski J (September 2007). "Global strategy for the diagnosis, management, and prevention of chronic obstructive pulmonary disease: GOLD executive summary". Am. J. Respir. Crit. Care Med. 176 (6): 532–55. doi:10.1164/rccm.200703-456SO. PMID 17507545.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  12. Nathell L, Nathell M, Malmberg P, Larsson K (2007). "COPD diagnosis related to different guidelines and spirometry techniques". Respir. Res. 8 (1): 89. doi:10.1186/1465-9921-8-89. PMC 2217523. PMID 18053200.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  13. "The 10 leading causes of death in the world, 2000 and 2011". World Health Organization. July 2013. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  14. Mathers CD, Loncar D (November 2006). "Projections of Global Mortality and Burden of Disease from 2002 to 2030". PLoS Med. 3 (11): e442. doi:10.1371/journal.pmed.0030442. PMC 1664601. PMID 17132052.
  15. Lomborg, Bjørn (2013). Global problems, local solutions : costs and benefits. Cambridge University Pres. p. 143. ISBN 978-1-107-03959-9.
  16. Vestbo, Jørgen (2013). "Diagnosis and Assessment" (PDF). Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. pp. 9–17.
  17. National Institute for Health and Clinical Excellence. Clinical guideline 101: Chronic Obstructive Pulmonary Disease. London, June 2010.
  18. Mahler DA (2006). "Mechanisms and measurement of dyspnea in chronic obstructive pulmonary disease". Proceedings of the American Thoracic Society. 3 (3): 234–8. doi:10.1513/pats.200509-103SF. PMID 16636091.
  19. "What Are the Signs and Symptoms of COPD?". National Heart, Lung, and Blood Institute. July 31, 2013. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  20. MedlinePlus Encyclopedia Chronic obstructive pulmonary disease
  21. Morrison, [edited by] Nathan E. Goldstein, R. Sean (2013). Evidence-based practice of palliative medicine. Philadelphia: Elsevier/Saunders. p. 124. ISBN 978-1-4377-3796-7.CS1 maint: extra text: authors list (link)
  22. Holland AE, Hill CJ, Jones AY, McDonald CF (2012). Holland, Anne E (บ.ก.). "Breathing exercises for chronic obstructive pulmonary disease". Cochrane Database Syst Rev. 10: CD008250. doi:10.1002/14651858.CD008250.pub2. PMID 23076942.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  23. Gruber, Phillip (November 2008). "The Acute Presentation of Chronic Obstructive Pulmonary Disease In the Emergency Department: A Challenging Oxymoron". Emergency Medicine Practice. 10 (11).
  24. Weitzenblum E, Chaouat A (2009). "Cor pulmonale". Chron Respir Dis. 6 (3): 177–85. doi:10.1177/1479972309104664. PMID 19643833.
  25. "Cor pulmonale". Professional guide to diseases (9th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. 2009. pp. 120–2. ISBN 978-0-7817-7899-2.
  26. Mandell, editors, James K. Stoller, Franklin A. Michota, Jr., Brian F. (2009). The Cleveland Clinic Foundation intensive review of internal medicine (5th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 419. ISBN 978-0-7817-9079-6.CS1 maint: extra text: authors list (link)
  27. Brulotte CA, Lang ES (May 2012). "Acute exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease in the emergency department". Emerg. Med. Clin. North Am. 30 (2): 223–47, vii. doi:10.1016/j.emc.2011.10.005. PMID 22487106.
  28. Spiro, Stephen (2012). Clinical respiratory medicine expert consult (4th ed.). Philadelphia, PA: Saunders. p. Chapter 43. ISBN 978-1-4557-2329-4.
  29. World Health Organization (2008). WHO Report on the Global Tobacco Epidemic 2008: The MPOWER Package (PDF). Geneva: World Health Organization. pp. 268–309. ISBN 92-4-159628-7.
  30. Ward, Helen (2012). Oxford Handbook of Epidemiology for Clinicians. Oxford University Press. pp. 289–290. ISBN 978-0-19-165478-7.
  31. Laniado-Laborín, R (January 2009). "Smoking and chronic obstructive pulmonary disease (COPD). Parallel epidemics of the 21st century". International journal of environmental research and public health. 6 (1): 209–24. doi:10.3390/ijerph6010209. PMC 2672326. PMID 19440278.
  32. Rennard, Stephen (2013). Clinical management of chronic obstructive pulmonary disease (2nd ed.). New York: Informa Healthcare. p. 23. ISBN 978-0-8493-7588-0.
  33. Anita Sharma ; with a contribution by David Pitchforth ; forewords by Gail Richards; Barclay, Joyce (2010). COPD in primary care. Oxford: Radcliffe Pub. p. 9. ISBN 978-1-84619-316-3.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  34. Goldman, Lee (2012). Goldman's Cecil medicine (24th ed.). Philadelphia: Elsevier/Saunders. p. 537. ISBN 978-1-4377-1604-7.
  35. Kennedy SM, Chambers R, Du W, Dimich-Ward H (December 2007). "Environmental and occupational exposures: do they affect chronic obstructive pulmonary disease differently in women and men?". Proceedings of the American Thoracic Society. 4 (8): 692–4. doi:10.1513/pats.200707-094SD. PMID 18073405.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  36. Pirozzi C, Scholand MB (July 2012). "Smoking cessation and environmental hygiene". Med. Clin. North Am. 96 (4): 849–67. doi:10.1016/j.mcna.2012.04.014. PMID 22793948.
  37. Halbert RJ, Natoli JL, Gano A, Badamgarav E, Buist AS, Mannino DM (September 2006). "Global burden of COPD: systematic review and meta-analysis". Eur. Respir. J. 28 (3): 523–32. doi:10.1183/09031936.06.00124605. PMID 16611654.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  38. Devereux, Graham (2006). "Definition, epidemiology and risk factors". BMJ. 332 (7550): 1142–4. doi:10.1136/bmj.332.7550.1142. PMC 1459603. PMID 16690673.
  39. Laine, Christine (2009). In the Clinic: Practical Information about Common Health Problems. ACP Press. p. 226. ISBN 978-1-934465-64-6.
  40. Barnes, Peter J.; Drazen, Jeffrey M.; Rennard, Stephen I.; Thomson, Neil C., บ.ก. (2009). "Relationship between cigarette smoking and occupational exposures". Asthma and COPD: Basic Mechanisms and Clinical Management. Amsterdam: Academic. p. 464. ISBN 978-0-12-374001-4.
  41. Rushton, Lesley (2007). "Chronic Obstructive Pulmonary Disease and Occupational Exposure to Silica". Reviews on Environmental Health. 22 (4): 255–72. doi:10.1515/REVEH.2007.22.4.255. PMID 18351226.
  42. Foreman MG, Campos M, Celedón JC (July 2012). "Genes and chronic obstructive pulmonary disease". Med. Clin. North Am. 96 (4): 699–711. doi:10.1016/j.mcna.2012.02.006. PMC 3399759. PMID 22793939.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  43. Brode SK, Ling SC, Chapman KR (September 2012). "Alpha-1 antitrypsin deficiency: a commonly overlooked cause of lung disease". CMAJ. 184 (12): 1365–71. doi:10.1503/cmaj.111749. PMC 3447047. PMID 22761482.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  44. Vestbo, Jørgen (2013). "Management of Exacerbations" (PDF). Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. pp. 39–45.
  45. Dhar, Raja (2011). Textbook of pulmonary and critical care medicine. New Delhi: Jaypee Brothers Medical Publishers. p. 1056. ISBN 978-93-5025-073-0.
  46. Palange, Paolo (2013). ERS Handbook of Respiratory Medicine. European Respiratory Society. p. 194. ISBN 978-1-84984-041-5.
  47. Lötvall, Jan (2011). Advances in combination therapy for asthma and COPD. Chichester, West Sussex: John Wiley & Sons. p. 251. ISBN 978-1-119-97846-6.
  48. Barnes, Peter (2009). Asthma and COPD : basic mechanisms and clinical management (2nd ed.). Amsterdam: Academic. p. 837. ISBN 978-0-12-374001-4.
  49. Hanania, Nicola (2010-12-09). COPD a Guide to Diagnosis and Clinical Management (1st ed.). Totowa, NJ: Springer Science+Business Media, LLC. p. 197. ISBN 978-1-59745-357-8.
  50. Beasley, V; Joshi, PV; Singanayagam, A; Molyneaux, PL; Johnston, SL; Mallia, P (2012). "Lung microbiology and exacerbations in COPD". International journal of chronic obstructive pulmonary disease. 7: 555–69. doi:10.2147/COPD.S28286. PMC 3437812. PMID 22969296.
  51. Murphy DMF, Fishman AP (2008). "Chapter 53". Fishman's Pulmonary Diseases and Disorders (4th ed.). McGraw-Hill. p. 913. ISBN 0-07-145739-9.
  52. Calverley PM, Koulouris NG (2005). "Flow limitation and dynamic hyperinflation: key concepts in modern respiratory physiology". Eur Respir J. 25 (1): 186–199. doi:10.1183/09031936.04.00113204. PMID 15640341.
  53. Currie, Graeme P. (2010). ABC of COPD (2nd ed.). Chichester, West Sussex, UK: Wiley-Blackwell, BMJ Books. p. 32. ISBN 978-1-4443-2948-3.
  54. O'Donnell DE (2006). "Hyperinflation, Dyspnea, and Exercise Intolerance in Chronic Obstructive Pulmonary Disease". The Proceedings of the American Thoracic Society. 3 (2): 180–4. doi:10.1513/pats.200508-093DO. PMID 16565429.
  55. Qaseem A, Wilt TJ, Weinberger SE, Hanania NA, Criner G, van der Molen T, Marciniuk DD, Denberg T, Schünemann H, Wedzicha W, MacDonald R, Shekelle P (August 2011). "Diagnosis and management of stable chronic obstructive pulmonary disease: a clinical practice guideline update from the American College of Physicians, American College of Chest Physicians, American Thoracic Society, and European Respiratory Society". Ann. Intern. Med. 155 (3): 179–91. doi:10.7326/0003-4819-155-3-201108020-00008. PMID 21810710.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  56. Young, Vincent B. (2010). Blueprints medicine (5th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott William & Wilkins. p. 69. ISBN 978-0-7817-8870-0.
  57. "COPD Assessment Test (CAT)". American Thoracic Society. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  58. National Institute for Health and Clinical Excellence. Clinical guideline 101: Chronic Obstructive Pulmonary Disease. London, June 2010.
  59. Torres M, Moayedi S (May 2007). "Evaluation of the acutely dyspneic elderly patient". Clin. Geriatr. Med. 23 (2): 307–25, vi. doi:10.1016/j.cger.2007.01.007. PMID 17462519.
  60. BTS COPD Consortium (2005). . pp. 8–9. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2014-08-26. สืบค้นเมื่อ 25 August 2014.
  61. Mackay AJ, Hurst JR (July 2012). "COPD exacerbations: causes, prevention, and treatment". Med. Clin. North Am. 96 (4): 789–809. doi:10.1016/j.mcna.2012.02.008. PMID 22793945.
  62. Poole PJ, Chacko E, Wood-Baker RW, Cates CJ (2006). Poole, Phillippa (บ.ก.). "Influenza vaccine for patients with chronic obstructive pulmonary disease". Cochrane Database Syst Rev (1): CD002733. doi:10.1002/14651858.CD002733.pub2. PMID 16437444.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  63. Vestbo, Jørgen (2013). "Introduction". Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease (PDF). Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. xiii–xv.
  64. Policy Recommendations for Smoking Cessation and Treatment of Tobacco Dependence. World Health Organization. pp. 15–40. ISBN 978-92-4-156240-9.
  65. Jiménez-Ruiz CA, Fagerström KO (March 2013). "Smoking cessation treatment for COPD smokers: the role of counselling". Monaldi Arch Chest Dis. 79 (1): 33–7. PMID 23741944.
  66. Kumar P, Clark M (2005). Clinical Medicine (6th ed.). Elsevier Saunders. pp. 900–1. ISBN 0-7020-2763-4.
  67. Tønnesen P (March 2013). "Smoking cessation and COPD". Eur Respir Rev. 22 (127): 37–43. doi:10.1183/09059180.00007212. PMID 23457163.
  68. "Why is smoking addictive?". NHS Choices. December 29, 2011. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  69. Smith, Barbara K. Timby, Nancy E. (2005). Essentials of nursing : care of adults and children. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. p. 338. ISBN 978-0-7817-5098-1.
  70. Rom, William N.; Markowitz, Steven B., บ.ก. (2007). Environmental and occupational medicine (4th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins. pp. 521–2. ISBN 978-0-7817-6299-1.
  71. "Wet cutting". Health and Safety Executive. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  72. George, Ronald B. (2005). Chest medicine : essentials of pulmonary and critical care medicine (5th ed.). Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins. p. 172. ISBN 978-0-7817-5273-2.
  73. Vestbo, Jørgen (2013). "Management of Stable COPD". Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease (PDF). Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. pp. 31–8.
  74. Drummond MB, Dasenbrook EC, Pitz MW, Murphy DJ, Fan E (November 2008). "Inhaled corticosteroids in patients with stable chronic obstructive pulmonary disease: a systematic review and meta-analysis". JAMA. 300 (20): 2407–16. doi:10.1001/jama.2008.717. PMID 19033591.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  75. Carlucci A, Guerrieri A, Nava S (December 2012). "Palliative care in COPD patients: is it only an end-of-life issue?". Eur Respir Rev. 21 (126): 347–54. doi:10.1183/09059180.00001512. PMID 23204123.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  76. "COPD — Treatment". U.S. National Heart Lung and Blood Institute. สืบค้นเมื่อ 2013-07-23.
  77. Puhan MA, Gimeno-Santos E, Scharplatz M, Troosters T, Walters EH, Steurer J (2011). Puhan, Milo A (บ.ก.). "Pulmonary rehabilitation following exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease". Cochrane Database Syst Rev (10): CD005305. doi:10.1002/14651858.CD005305.pub3. PMID 21975749.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  78. Lacasse Y, Goldstein R, Lasserson TJ, Martin S (2006). Lacasse, Yves (บ.ก.). "Pulmonary rehabilitation for chronic obstructive pulmonary disease". Cochrane Database Syst Rev (4): CD003793. doi:10.1002/14651858.CD003793.pub2. PMID 17054186.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  79. Ferreira IM, Brooks D, White J, Goldstein R (2012). Ferreira, Ivone M (บ.ก.). "Nutritional supplementation for stable chronic obstructive pulmonary disease". Cochrane Database Syst Rev. 12: CD000998. doi:10.1002/14651858.CD000998.pub3. PMID 23235577.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  80. van Dijk WD, van den Bemt L, van Weel C (2013). "Megatrials for bronchodilators in chronic obstructive pulmonary disease (COPD) treatment: time to reflect". J Am Board Fam Med. 26 (2): 221–4. doi:10.3122/jabfm.2013.02.110342. PMID 23471939.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  81. Liesker JJ, Wijkstra PJ, Ten Hacken NH, Koëter GH, Postma DS, Kerstjens HA (February 2002). "A systematic review of the effects of bronchodilators on exercise capacity in patients with COPD". Chest. 121 (2): 597–608. doi:10.1378/chest.121.2.597. PMID 11834677.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  82. Chong J, Karner C, Poole P (2012). Chong, Jimmy (บ.ก.). "Tiotropium versus long-acting beta-agonists for stable chronic obstructive pulmonary disease". Cochrane Database Syst Rev. 9: CD009157. doi:10.1002/14651858.CD009157.pub2. PMID 22972134.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  83. Karner C, Cates CJ (2012). Karner, Charlotta (บ.ก.). "Long-acting beta(2)-agonist in addition to tiotropium versus either tiotropium or long-acting beta(2)-agonist alone for chronic obstructive pulmonary disease". Cochrane Database Syst Rev. 4: CD008989. doi:10.1002/14651858.CD008989.pub2. PMID 22513969. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Karner2012" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  84. Vestbo, Jørgen (2013). "Therapeutic Options" (PDF). Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. pp. 19–30.
  85. Cave, AC.; Hurst, MM. (May 2011). "The use of long acting β₂-agonists, alone or in combination with inhaled corticosteroids, in chronic obstructive pulmonary disease (COPD): a risk-benefit analysis". Pharmacol Ther. 130 (2): 114–43. doi:10.1016/j.pharmthera.2010.12.008. PMID 21276815.
  86. Spencer, S; Karner, C; Cates, CJ; Evans, DJ (Dec 7, 2011). Spencer, Sally (บ.ก.). "Inhaled corticosteroids versus long-acting beta(2)-agonists for chronic obstructive pulmonary disease". The Cochrane database of systematic reviews (12): CD007033. doi:10.1002/14651858.CD007033.pub3. PMID 22161409.
  87. Wang, J; Nie, B; Xiong, W; Xu, Y (April 2012). "Effect of long-acting beta-agonists on the frequency of COPD exacerbations: a meta-analysis". Journal of clinical pharmacy and therapeutics. 37 (2): 204–11. doi:10.1111/j.1365-2710.2011.01285.x. PMID 21740451.
  88. Decramer ML, Hanania NA, Lötvall JO, Yawn BP (2013). "The safety of long-acting β2-agonists in the treatment of stable chronic obstructive pulmonary disease". Int J Chron Obstruct Pulmon Dis. 8: 53–64. doi:10.2147/COPD.S39018. PMC 3558319. PMID 23378756.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  89. Nannini, LJ; Lasserson, TJ; Poole, P (Sep 12, 2012). Nannini, Luis Javier (บ.ก.). "Combined corticosteroid and long-acting beta(2)-agonist in one inhaler versus long-acting beta(2)-agonists for chronic obstructive pulmonary disease". The Cochrane database of systematic reviews. 9: CD006829. doi:10.1002/14651858.CD006829.pub2. PMID 22972099.
  90. Cheyne L, Irvin-Sellers MJ, White J (Sep 16, 2013). Cheyne, Leanne (บ.ก.). "Tiotropium versus ipratropium bromide for chronic obstructive pulmonary disease". Cochrane Database of Systematic Reviews. 9 (9): CD009552. doi:10.1002/14651858.CD009552.pub2. PMID 24043433.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  91. Karner, C; Chong, J; Poole, P (Jul 11, 2012). Karner, Charlotta (บ.ก.). "Tiotropium versus placebo for chronic obstructive pulmonary disease". The Cochrane database of systematic reviews. 7: CD009285. doi:10.1002/14651858.CD009285.pub2. PMID 22786525.
  92. Singh S, Loke YK, Furberg CD (September 2008). "Inhaled anticholinergics and risk of major adverse cardiovascular events in patients with chronic obstructive pulmonary disease: a systematic review and meta-analysis". JAMA. 300 (12): 1439–50. doi:10.1001/jama.300.12.1439. PMID 18812535.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  93. Singh S, Loke YK, Enright P, Furberg CD (January 2013). "Pro-arrhythmic and pro-ischaemic effects of inhaled anticholinergic medications". Thorax. 68 (1): 114–6. doi:10.1136/thoraxjnl-2011-201275. PMID 22764216.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  94. Jones, P (Apr 2013). "Aclidinium bromide twice daily for the treatment of chronic obstructive pulmonary disease: a review". Advances in therapy. 30 (4): 354–68. doi:10.1007/s12325-013-0019-2. PMID 23553509.
  95. Cazzola, M; Page, CP; Matera, MG (Jun 2013). "Aclidinium bromide for the treatment of chronic obstructive pulmonary disease". Expert opinion on pharmacotherapy. 14 (9): 1205–14. doi:10.1517/14656566.2013.789021. PMID 23566013.
  96. Gartlehner G, Hansen RA, Carson SS, Lohr KN (2006). "Efficacy and Safety of Inhaled Corticosteroids in Patients With COPD: A Systematic Review and Meta-Analysis of Health Outcomes". Ann Fam Med. 4 (3): 253–62. doi:10.1370/afm.517. PMC 1479432. PMID 16735528.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  97. Shafazand S (June 2013). "ACP Journal Club. Review: inhaled medications vary substantively in their effects on mortality in COPD". Ann. Intern. Med. 158 (12): JC2. doi:10.7326/0003-4819-158-12-201306180-02002. PMID 23778926.
  98. Mammen MJ, Sethi S (2012). "Macrolide therapy for the prevention of acute exacerbations in chronic obstructive pulmonary disease". Pol. Arch. Med. Wewn. 122 (1–2): 54–9. PMID 22353707.
  99. Herath, SC; Poole, P (Nov 28, 2013). "Prophylactic antibiotic therapy for chronic obstructive pulmonary disease (COPD)". The Cochrane database of systematic reviews. 11: CD009764. doi:10.1002/14651858.CD009764.pub2. PMID 24288145.
  100. Simoens, S; Laekeman, G; Decramer, M (May 2013). "Preventing COPD exacerbations with macrolides: a review and budget impact analysis". Respiratory medicine. 107 (5): 637–48. doi:10.1016/j.rmed.2012.12.019. PMID 23352223.
  101. Barr RG, Rowe BH, Camargo CA (2003). Barr, R Graham (บ.ก.). "Methylxanthines for exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease". Cochrane Database Syst Rev (2): CD002168. doi:10.1002/14651858.CD002168. PMID 12804425.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  102. COPD Working, Group (2012). "Long-term oxygen therapy for patients with chronic obstructive pulmonary disease (COPD): an evidence-based analysis". Ontario health technology assessment series. 12 (7): 1–64. PMC 3384376. PMID 23074435.
  103. Bradley JM, O'Neill B (2005). Bradley, Judy M (บ.ก.). "Short-term ambulatory oxygen for chronic obstructive pulmonary disease". Cochrane Database Syst Rev (4): CD004356. doi:10.1002/14651858.CD004356.pub3. PMID 16235359.
  104. Uronis H, McCrory DC, Samsa G, Currow D, Abernethy A (2011). Abernethy, Amy (บ.ก.). "Symptomatic oxygen for non-hypoxaemic chronic obstructive pulmonary disease". Cochrane Database Syst Rev (6): CD006429. doi:10.1002/14651858.CD006429.pub2. PMID 21678356.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  105. Chapman, Stephen (2009). Oxford handbook of respiratory medicine (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press. p. 707. ISBN 978-0-19-954516-2.
  106. Blackler, Laura (2007). Managing chronic obstructive pulmonary disease. Chichester, England: John Wiley & Sons. p. 49. ISBN 978-0-470-51798-7.
  107. Jindal, Surinder K (2013). Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Jaypee Brothers Medical. p. 139. ISBN 978-93-5090-353-7.
  108. O'Driscoll, BR; Howard, LS; Davison, AG; British Thoracic, Society (October 2008). "BTS guideline for emergency oxygen use in adult patients". Thorax. 63 (Suppl 6): vi1–68. doi:10.1136/thx.2008.102947. PMID 18838559.
  109. Vollenweider DJ, Jarrett H, Steurer-Stey CA, Garcia-Aymerich J, Puhan MA (2012). Vollenweider, Daniela J (บ.ก.). "Antibiotics for exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease". Cochrane Database Syst Rev. 12: CD010257. doi:10.1002/14651858.CD010257. PMID 23235687.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  110. Jeppesen, E; Brurberg, KG; Vist, GE; Wedzicha, JA; Wright, JJ; Greenstone, M; Walters, JA (May 16, 2012). "Hospital at home for acute exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease". The Cochrane database of systematic reviews. 5: CD003573. doi:10.1002/14651858.CD003573.pub2. PMID 22592692.
  111. "WHO Disease and injury country estimates". World Health Organization. 2009. สืบค้นเมื่อ Nov 11, 2009.
  112. Murray CJ, Vos T, Lozano R, Naghavi M, Flaxman AD, Michaud C, Ezzati M, Shibuya K, Salomon JA; และคณะ (December 2012). "Disability-adjusted life years (DALYs) for 291 diseases and injuries in 21 regions, 1990–2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2197–223. doi:10.1016/S0140-6736(12)61689-4. PMID 23245608. Explicit use of et al. in: |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link) CS1 maint: display-authors (link)
  113. Vos T, Flaxman AD, Naghavi M, Lozano R, Michaud C, Ezzati M, Shibuya K, Salomon JA, Abdalla S, Aboyans V; และคณะ (December 2012). "Years lived with disability (YLDs) for 1160 sequelae of 289 diseases and injuries 1990–2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2163–96. doi:10.1016/S0140-6736(12)61729-2. PMID 23245607. Explicit use of et al. in: |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link) CS1 maint: display-authors (link)
  114. Medicine, prepared by the Department of Medicine, Washington University School of (2009). The Washington manual general internal medicine subspecialty consult (2nd ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 96. ISBN 978-0-7817-9155-7.
  115. "Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) Fact sheet N°315". WHO. November 2012.
  116. Lozano R, Naghavi M, Foreman K, Lim S, Shibuya K, Aboyans V, Abraham J, Adair T, Aggarwal R; และคณะ (December 2012). "Global and regional mortality from 235 causes of death for 20 age groups in 1990 and 2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2095–128. doi:10.1016/S0140-6736(12)61728-0. PMID 23245604. Explicit use of et al. in: |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link) CS1 maint: display-authors (link)
  117. Rycroft CE, Heyes A, Lanza L, Becker K (2012). "Epidemiology of chronic obstructive pulmonary disease: a literature review". Int J Chron Obstruct Pulmon Dis. 7: 457–94. doi:10.2147/COPD.S32330. PMC 3422122. PMID 22927753.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  118. Simpson CR, Hippisley-Cox J, Sheikh A (2010). "Trends in the epidemiology of chronic obstructive pulmonary disease in England: a national study of 51 804 patients". Brit J Gen Pract. 60 (576): 483–8. doi:10.3399/bjgp10X514729. PMC 2894402. PMID 20594429.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  119. Centers for Disease Control and Prevention (Nov 23, 2012). "Chronic Obstructive Pulmonary Disease Among Adults — United States, 2011". Morbidity and Mortality Weekly Report. 61 (46): 938–43. PMID 23169314.
  120. "Morbidity & Mortality: 2009 Chart Book on Cardiovascular, Lung, and Blood Diseases" (PDF). National Heart, Lung, and Blood Institute.
  121. Torio CM, Andrews RM (2006). "National Inpatient Hospital Costs: The Most Expensive Conditions by Payer, 2011: Statistical Brief #160". Healthcare Cost and Utilization Project (HCUP) Statistical Briefs. Agency for Health Care Policy and Research. PMID 24199255.
  122. "Emphysema". Dictionary.com. สืบค้นเมื่อ 21 November 2013.
  123. Ziment, Irwin (1991). "History of the Treatment of Chronic Bronchitis". Respiration. 58 (Suppl 1): 37–42. doi:10.1159/000195969. PMID 1925077.
  124. Petty TL (2006). "The history of COPD". Int J Chron Obstruct Pulmon Dis. 1 (1): 3–14. doi:10.2147/copd.2006.1.1.3. PMC 2706597. PMID 18046898.
  125. Wright, Joanne L.; Churg, Andrew (2008). "Pathologic Features of Chronic Obstructive Pulmonary Disease: Diagnostic Criteria and Differential Diagnosis" (PDF). ใน Fishman, Alfred; Elias, Jack; Fishman, Jay; Grippi, Michael; Senior, Robert; Pack, Allan (บ.ก.). Fishman's Pulmonary Diseases and Disorders (4th ed.). New York: McGraw-Hill. pp. 693–705. ISBN 978-0-07-164109-8.
  126. George L. Waldbott (1965). A struggle with Titans. Carlton Press. p. 6.
  127. Fishman AP (May 2005). "One hundred years of chronic obstructive pulmonary disease". Am. J. Respir. Crit. Care Med. 171 (9): 941–8. doi:10.1164/rccm.200412-1685OE. PMID 15849329.
  128. Yuh-Chin, T. Huang (2012-10-28). A clinical guide to occupational and environmental lung diseases. [New York]: Humana Press. p. 266. ISBN 978-1-62703-149-3.
  129. "Pink Puffer - definition of Pink Puffer in the Medical dictionary - by the Free Online Medical Dictionary, Thesaurus and Encyclopedia". Medical-dictionary.thefreedictionary.com. สืบค้นเมื่อ 2013-07-23.
  130. Weinberger, Steven E. (2013-05-08). Principles of pulmonary medicine (6th ed.). Philadelphia: Elsevier/Saunders. p. 165. ISBN 978-1-62703-149-3.
  131. Des Jardins, Terry (2013). Clinical Manifestations & Assessment of Respiratory Disease (6th ed.). Elsevier Health Sciences. p. 176. ISBN 978-0-323-27749-5.
  132. An outcomes strategy for people with chronic obstructive pulmonary disease (COPD) and asthma in England (PDF). Department of Health. 18 July 2011. p. 5. สืบค้นเมื่อ 27 November 2013.
  133. Bloom, D (2011). The Global Economic Burden of Noncommunicable Diseases (PDF). World Economic Forum. p. 24.
  134. Nici, Linda (2011). Chronic Obstructive Pulmonary Disease: Co-Morbidities and Systemic Consequences. Springer. p. 78. ISBN 978-1-60761-673-3.
  135. Inamdar, AC; Inamdar, AA (Oct 2013). "Mesenchymal stem cell therapy in lung disorders: pathogenesis of lung diseases and mechanism of action of mesenchymal stem cell". Experimental lung research. 39 (8): 315–27. doi:10.3109/01902148.2013.816803. PMID 23992090.
  136. Conese, M; Piro, D; Carbone, A; Castellani, S; Di Gioia, S (2014). "Hematopoietic and mesenchymal stem cells for the treatment of chronic respiratory diseases: role of plasticity and heterogeneity". TheScientificWorldJournal. 2014: 859817. doi:10.1155/2014/859817. PMC 3916026. PMID 24563632.
  137. Akers, R. Michael; Denbow, D. Michael (2008). Anatomy and Physiology of Domestic Animals. Arnes, AI: Wiley. p. 852. ISBN 978-1-118-70115-7.
  138. Wright, JL; Churg, A (December 2002). "Animal models of cigarette smoke-induced COPD". Chest. 122 (6 Suppl): 301S–6S. doi:10.1378/chest.122.6_suppl.301S. PMID 12475805.
  139. Churg, A; Wright, JL (2007). "Animal models of cigarette smoke-induced chronic obstructive lung disease". Contributions to microbiology. Contributions to Microbiology. 14: 113–25. doi:10.1159/000107058. ISBN 3-8055-8332-X. PMID 17684336.
  140. Marinkovic D, Aleksic-Kovacevic S, Plamenac P (2007). "Cellular basis of chronic obstructive pulmonary disease in horses". Int. Rev. Cytol. International Review of Cytology. 257: 213–47. doi:10.1016/S0074-7696(07)57006-3. ISBN 978-0-12-373701-4. PMID 17280899.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  141. Miller MS, Tilley LP, Smith FW (January 1989). "Cardiopulmonary disease in the geriatric dog and cat". Vet. Clin. North Am. Small Anim. Pract. 19 (1): 87–102. PMID 2646821.CS1 maint: multiple names: authors list (link)

แหล่งข้อมูลอื่น

  • "Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease, Updated 2013" (PDF). Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  • National Institute for Health and Clinical Excellence. Clinical guideline 101: Chronic Obstructive Pulmonary Disease. London, June 2010.
  • Qaseem, Amir; Wilt, TJ; Weinberger, SE; Hanania, NA; Criner, G; Van Der Molen, T; Marciniuk, DD; Denberg, T; Schünemann, H; Wedzicha, W; MacDonald, R; Shekelle, P; American College Of, Physicians; American College of Chest Physicians; American Thoracic, Society; European Respiratory, Society (2011). "Diagnosis and Management of Stable Chronic Obstructive Pulmonary Disease: A Clinical Practice Guideline Update from the American College of Physicians, American College of Chest Physicians, American Thoracic Society, and European Respiratory Society". Annals of Internal Medicine. 155 (3): 179–91. doi:10.7326/0003-4819-155-3-201108020-00008. PMID 21810710.
การจำแนกโรค
V · T · D
  • ICD-10: J40–J44, J47
  • ICD-9-CM: 490–492, 494–496
  • OMIM: 606963
  • DiseasesDB: 2672
ทรัพยากรภายนอก
  • MedlinePlus: 000091
  • eMedicine: med/373 emerg/99
  • Patient UK: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง


โรคปอดอ, ดก, นเร, อร, งกฤษ, chronic, obstructive, pulmonary, disease, copd, chronic, obstructive, lung, disease, cold, chronic, obstructive, airway, disease, coad, เป, นโรคปอดอ, ดก, นท, กษณะเฉพาะค, อความบกพร, องอย, างเร, อร, งในการไหลผ, านของอากาศของระบบทางเด,. orkhpxdxudkneruxrng xngkvs chronic obstructive pulmonary disease COPD chronic obstructive lung disease COLD chronic obstructive airway disease COAD epnorkhpxdxudknthimilksnaechphaakhuxkhwambkphrxngxyangeruxrnginkarihlphankhxngxakaskhxngrabbthangedinhayic aelamkcaaeylngemuxewlaphanip xakarthiphbbxyidaek ehnuxy ix aela miesmha 8 phupwyhlxdlmxkesberuxrngswnihycami COPD dwy 9 orkhpxdxudkneruxrng Chronic obstructive pulmonary disease chuxxunChronic obstructive lung disease COLD chronic obstructive airway disease COAD Section of a lung showing centrilobular emphysema with enlarged airspaces in the centre of a lobule usually caused by smoking and a major feature of COPDsakhawichaPulmonologyxakarShortness of breath chronic cough 1 phawaaethrksxnAnxiety depression pulmonary heart disease pneumothorax 2 1 kartngtnOver 35 years old 1 rayadaeninorkhLong term 1 saehtuTobacco smoking air pollution genetics 3 withiwinicchySpirometry 4 orkhxunthikhlayknAsthma congestive heart failure bronchiectasis tuberculosis obliterative bronchiolitis diffuse panbronchiolitis 5 karpxngknStopping smoking improving indoor and outdoor air quality tobacco control measures 3 6 karrksaPulmonary rehabilitation long term oxygen therapy lung volume reduction 6 yaInhaled bronchodilators and steroids 6 khwamchuk174 5 million 2015 7 karesiychiwit3 2 million 2019 3 saehtuphbbxythisudkhxng COPD khuxkarsubbuhri saehtuxun thimibthbathbangaetnxykwakarsubbuhriidaek mlphisthangxakas aela phnthukrrm epntn 10 saehtukhxngmlphisthangxakasthiphbbxyinpraethsthikalngphthnaxikxyanghnungidaek xakasesiycakkarthaxaharhruxkhwnif karsmphssingrakhayekhuxngehlanitxenuxngknepnewlanancakratunihekidptikiriyakarxkesbkhuninenuxpxd thaihhlxdlmfxytiblngaelakaraetktwkhxngenuxeyuxpxd eriykwa thunglmopngphxng xngkvs emphysema 11 karwinicchynnichphunthankhxngkhwamsamarthinkarihlphankhxngxakasdwykartrwcwdodykarthdsxbkarthangankhxngpxd 12 odymikhwamaetktangcakorkhhxbhud khux karldlngkhxngprimanxakasthiihlphandwykarihyannimdikhunxyangminysakhyCOPD samarthpxngknidodykarldpccyesiyngkhxngsaehtukhxngorkhthithrab sungrwmthungkarldprimankarsubbuhriaelakarprbprungkhunphaphkhxngxakasthngphayinaelaphaynxk karrksa COPD idaek kareliksubbuhri karchidwkhsin karfunfusphaph aelakarphnsudyakhyayhlxdlmbxy aelakarichyasetiyrxyd bangkhnxacidrbpraoychncakkarbabddwyxxksiecnrayayawhruxkarplukthaypxd 11 inklumphuthimikarthrudlngxyangechiybphlnchwnghnung karephimyathiichrksaaelakarekhaphkrksatwinorngphyabalxacepnsingcaepninthwolkmiphuthipwydwy COPD canwn 329 lankhnhruxekuxb 5 khxngcanwnprachakr inpi kh s 2012 orkhniepnorkhxndbthisamthiepnsaehtukhxngkaresiychiwit sungkhrachiwitphukhncanwnkwa 3 lankhn 13 canwnkhxngphuesiychiwitnnpramanwacamicanwnephimmakkhunenuxngcakxtrakarsubbuhrithiephimkhunaelaxayukhxngprachakrinhlay praeths 14 sungmikarpramanwacasngphlthiepnkhaichcaythangesrsthkiccanwn 2 1 phnlaninpi kh s 2010 15 enuxha 1 xakaraesdngaelaxakarkhxngorkh 1 1 karix 1 2 xakarehnuxy 1 3 lksnaxun 1 4 karkaeribkhxngorkh 2 saehtu 2 1 karsubbuhri 2 2 mlphisthangxakas 2 3 karidrbsmphsthangxachiph 2 4 phnthukrrm 2 5 xun 2 6 karkaeribkhxngorkh 3 phyathisrirwithya 4 karwinicchy 4 1 karwdprimatrxakashayic 4 2 khwamrunaerng 4 3 karthdsxbxun 4 4 khwamaetktanginkarwinicchy 5 karpxngkn 5 1 karhyudsubbuhri 5 2 xachiwxnamy 5 3 mlphisthangxakas 6 karcdkarorkh 6 1 karxxkkalngkay 6 2 yakhyayhlxdlm 6 3 khxrtiokhsetiyrxyd 6 4 yaxun 6 5 xxksiecn 6 6 karphatd 6 7 karkaeribkhxngorkh 7 phyakrnorkh 8 withyakarrabad 9 prawti 10 sngkhmaelawthnthrrm 10 1 sphaphesrsthkic 11 karwicy 12 stwxun 13 xangxing 14 aehlngkhxmulxunxakaraesdngaelaxakarkhxngorkh aekikhWheezing source source The sound of wheezing as heard with a stethoscope hakmipyhainkarelniflni duthi withiichsuxxakarkhxng COPD thiphbmakthisudkhux miesmha ehnuxy aelaix 16 xakarehlanicaekidkhunepnewlanan 9 aelaodymakcaaeylngeruxy emuxewlaphanip 11 thngniyngimmikhwamchdecnwa COPD mihlaypraephthhruxim 10 thngniinxditmikaraebngpraephthxxkepn orkhthunglmopngphxng aela orkhhlxdlmxkesberuxrng orkhthunglmopngphxngnnepnephiyngkarxthibaykhxngkarepliynaeplngkhxngpxdmakkwakhxngorkh aelaorkhhlxdlmxkesberuxrngnnepnephiyngkhaxthibaykhxngxakarthixacekidkb COPD hruximkid 8 karix aekikh karixeruxrngnnmkepnxakaraerkthiekidkhun emuxekidxakarniepnewlamakkwasameduxninhnungpi hruxmakkwasxngpi rwmkbmiesmhaaelaodyimmisaehtuxun kcathukcdwaepnorkhhlxdlmxkesberuxrng sphawanixacekidkhunkxnthi COPD caekidkhunxyangetmtw primankhxngesmhathiekid xacepliynaeplngphayinimkichwomnghruximkiwn inbangkrnixacimmixakarixhruxxacmiepnbangkhrngkhraw aelaxacimmielykid phuepn COPD bangrayxacaesdngxakarkhxng karixkhxngphusubbuhri esmhannxacthukklunhruxthukthmxxk thngnimkkhunkbpccythangsngkhmaelawthnthrrm khwamrunaerngkhxngkarixxacnaipsukarhkrawkhxngkraduksiokhrng hrux karhmdstichwkhru phuthiepn COPD mkmiprawtikhxngkarepn ikhhwdthrrmda epnewlanan 16 xakarehnuxy aekikh xakarehnuxymkepnxakarthikxkhwamkngwlinphupwyswnihy 17 sungodythwipidrbkarxthibaywaepn chntxngichkhwamphyayaminkarhayic chnrusukhayicimxxk hrux chnimsamarthsudxakasidmakphx 18 xyangirktam xacmikarichkhaxthibayxun thiaetktangkniptamwthnthrrmthitangkn 16 odythwipxakarehnuxynncaaeylngemuxmikarichaerng sungidekidkhunepnewlananaelamixakarthrudlngemuxewlaphanip 16 inrayaluklam xakarxacekidkhuninrahwangphkaelaxacekidkhuntlxdewla 19 20 odymithimacakthngkhwamwitkkngwlaelakhunphaphchiwitthiaeykhxngphuthipwydwy COPD 16 phupwyswnihythiepn COPD khnluklamhayicodykarhxrimfipak aelakarkrathanixacklayepnxakarehnuxyidinphupwybangray 21 22 lksnaxun aekikh inphupwy COPD nnxactxngichewlainkarhayicxxknankwakarhayicekha 23 xacmixakaraennhnaxk 16 aetimichxakarpktiaelaxacekidcakpyhaxun 17 phuthimikarxudknkhxngthangedinhayicxacmikarhayicmiesiyngwid hruxmiesiyngldlngkhnathisudhayicekha ewlathitrwchnaxkdwyhufngkhxngaephthy 23 phawaxkoxng thithrwngxkmikhnadihykwapktienuxngcakmilmkhangxyuinpxdmak kepnsyyanthiepnlksnaechphaakhxng COPD aetthngniphbidnxymak 23 thakhahyngsamkha thiepnkarnngtwtrngexnipkhanghnaodywangaekhnthngsxngiwbnekha xacekidkhunemuxxakarkhxngorkhthrudlng 9 COPD khnluklamsamarthkxihekidkhwamdnolhitinhlxdeluxdpxdsung sungepnsayphnthkhxnghwichxnglangdankhwa 11 24 25 sthankarnnixacklawwaepnorkhhwicephraapxd aelanaipsuxakaraesdngkhxngkhabwm 16 aelaesneluxdthikhxopngphxng 11 COPD nnphbidmakkwaorkhpxdxun enuxngcaksaehtukhxngorkhhwicephraapxd 24 orkhhwicephraapxdidklayepnorkhthiphbidnxy nbtngaetmikarichxxksiecnesrim 9 COPD mkphbrwmkbsphawaxun canwnhnung swnhnungenuxngcakkarmipccyesiyngrwm 10 sphawaehlani idaek orkhhwickhadeluxd khwamdnolhitsung orkhebahwan karsuyesiyklamenux phawakradukphrun maerngpxd orkhprasathkngwl aela phawasumesra 10 inphupwythimixakarkhxngorkhkhnrunaerng karrusukwamikhwamehnuxyxyutlxdewlannepnsingpkti 16 karopngkhxngelbniwnnimichxakarechphaakhxng COPD aelakhwrtxngthakartrwckaraefngtwkhxngmaerngpxdthnthi 26 karkaeribkhxngorkh aekikh karkaeribechiybphlnkhxng COPD nnmikarniyamwaepnkarephimkhunkhxngxakarehnuxy karmiesmhamakkhun karepliynsikhxngesmhacakisepnekhiywhruxehluxng hruxkarixephimkhuninphuthimi COPD bangray 23 odyxacmikaraesdngrwmkbsyyankhxngkarthanganephimkhuninkarhayic karhayicxyangerw xtrakaretnkhxnghwicsung ehnguxxxk karthanganhnkkhxng klamenuxkhx casiekhiywbnphiw aela karsbsn hruxphvtikrrmchxbtxsuinkarkaeribkhxngorkhkhnrunaerng 23 27 xacidyinesiyngprathuinrahwangkartrwcpxddwyhufngkhxngaephthy 28 saehtu aekikhsaehtuhlkkhxng COPD khuxkarsubbuhri rwmkbkaridrbsmphsthangxachiph aelamlphisthangxakascakephlingihmphayinsthanthi epnsaehtusakhyinbangpraeths 8 odythwipkaridrbsmphsehlanitxngekidkhunepnewlahlaysibpikxnthixakarehlanicaekidkhun 8 phnthukrrmkhxngbukhkhlkmiphlkathbtxkhwamesiyngechnkn 8 karsubbuhri aekikh Percentage of females smoking tobacco as of the late 1990s early 2000s Percentage of males smoking tobacco as of the late 1990s early 2000s Note the scales used for females and males differ 29 pccyesiyngsakhysahrb COPD inthwolkkhuxkarsubbuhri 8 praman 20 khxngphuthisubbuhricaepn COPD 30 aelacanwnkhrunghnungkhxngphuthisubbuhriepnewlananekuxbchwchiwitcaepn COPD 31 inpraethsshrthxemrikaaelashrachxanackr 80 95 khxngphuthiepn COPD nnepnphuthisubbuhriinpccubnhruxekhysubbuhri 30 32 33 aenwonminkarphthnaorkhkhxng COPD ephimkhuncakkaridrbsmphscakkarsubbuhrithnghmd 34 nxkcakniaelw ephshyingyngmikhwamiwtxphlkrathbthiepnxntraykhxngkarsubbuhrisungkwaephschay 33 inphuthiimsubbuhri karxyuiklchidphuthisubbuhrikhuxkrnithiepnsaehtukhxngorkhpraman 20 32 karsubpraephthxun xathiechn karsubkycha sikar aelaippna kthuxepnpccyesiyngechnkn 8 hyingthisubbuhriinrahwangkartngkhrrphxacephimkhwamesiyngkhxng COPD inedkid 8 mlphisthangxakas aekikh karthayeththiimdikhxngkhwnifcakkarthaxahar sungswnmakichechuxephlingcakthanhinhruxechuxephlingmwlchiwphaph echn im aelamulstw thisngphltxmlphisthangxakasphayinxakharaelaepnhnunginsaehtuhlkkhxng COPD inpraethsthikalngphthna 35 khwnifcakrupaebbkhxngkarthaxaharaelakarthakhwamrxnehlanisngphlihphukhncanwnekuxb 3 phnlankhnidrbphlkrathbthangsukhphaphmakkhun odyswnihyepnephshyingenuxngcakkaridrbsmphsthisungkwa 8 35 echuxephlingehlanithukichepnaehlngechuxephlinghlkkhxngphlngnganinkhrweruxn sungkhidepn 80 inpraethsxinediy cinaelaaexfrikaitsahara 36 prachakrthixasyxyuinemuxngihymixtrakhxng COPD sungkwaemuxethiybkbprachakrthixasyxyuinchnbthhangikl 37 khnathimlphisthangxakasinchnbthmipccythisngphlepnkarkaeribkhxngorkh bthbathodyrwmkhxngmlphisthangxakasthiepnsaehtukhxng COPD nnyngimthrabxyangchdecn 8 odythwipphunthitang thimikhunphaphxakasphaynxkxakharthiimdi rwmthungcakkhwnixesiynnmixtrakhxng COPD thisungkwa 36 xyangirktam phlkrathbodyrwminswnthiekiywkhxngkbkarsubbuhrinnechuxwamiephiyngelknxyethann 8 karidrbsmphsthangxachiph aekikh karidrbsmphskhxngfun sarekhmi aelakhwninsthanthithanganinkhnadekhmkhnaelaepnewlanannnthaihthngphuthisubbuhriaelaphuthiimsubbuhrimikhwamesiyngkhxng COPD makkhun 38 odyechuxwakaridrbsmphsthangxachiphnnepnsaehtukhxngkarpwythikhidepn 10 20 39 inshrthxemrika khnthinnechuxwamikhwamekiywkhxngkbkarpwythikhidepn 30 khxngklumphuthiimekhysubbuhriaelaxacaesdngkhwamesiyngthisungkwainpraethsthiimmiraebiybkhxbngkhbthimiprasiththiphaph 8 canwnkhxngxutsahkrrmaelaaehlngthimakmiswnekiywkhxng rwmthung 36 radbkhwamekhmkhnsungkhxngfuninkarthaehmuxngthanhin karthaehmuxngthxngaelaxutsahkrrmsingthxcakfay xachiphthiekiywkhxngkbaekhdemiymaelaixosisyaent aelakhwncakkarechuxmolha 38 Working in agriculture is also a risk 36 inbangxachiphkhwamesiyngnimikarpramanwaethakbkarsubbuhricanwnkhrungsxngthungsxngsxngtxwn 40 karidrbsmphsfuncaksilikaksamarthsngphlepn COPD idechnkn xnungkhwamesiyngniimekiywkhxngkborkhfunhincbpxd 41 phlkrathbechinglbkhxngkaridrbsmphsfunaelakarsubbuhrikhuxkaresphtidhruxxacyingkwakaresphtid 40 phnthukrrm aekikh phnthukrrmmibthbathinkarphthnakhxng COPD 8 sungodythwipphbinklumyatikhxngphuthiepn COPD sungepnphuthisubbuhrimakkwaphuthiimekiywkhxngkbkarsubbuhri 8 inpccubn pccyesiyngthisamarthsubthxdidthiaenchdnnkhuxkarphrxngxlfa wn aexntithriphsin AAT ethann 42 khwamesiyngnimiradbsungktxemuxbukhkhlnnphrxngxlfa wn aexntithriphsin phrxmkbkarsubbuhri 42 saehtunikhidepnpraman 1 5 khxngphupwy 42 43 aelasphawanikhidepnpraman 3 4 khncakcanwn 10 000 khn 9 pccythangphnthukrrmxun nnxyuinrahwangkarsuksawicy 42 sungmiaenwonmwacamicanwnmak 36 xun aekikh canwnkhxngpccyxun nnmikhwamekiywkhxngkb COPD nxykwa khwamesiyngniephimsungkhuninklumkhncn thungaemwacaimepnthichdecnwaenuxngmacakkhwamyakcnhruxpccyesiyngxunthiekiywkhxngkbkhwamyakcn xathiechn mlphisthangxakasaelathuphophchnakar 8 mihlkthanthixacepnipidwaklumphuthiepnorkhhxbhudaelaphawarabbthangedinhayictxbsnxngiwekinnnmikhwamesiyngkhxng COPD ephimmakkhun 8 pccycakkarekid echn nahnknxyemuxkhlxd xacmibthbathtxkarepnorkhtidechuxbangxyangechnkn rwmthungexchixwi exdsaelawnorkh 8 kartidechuxkhxngrabbhayic echn pxdbwmnnimaesdngwaepnpccykhwamesiyngthiephimkhunkhxng COPD xyangnxykinphuihy 9 karkaeribkhxngorkh aekikh karkaeribkhxngorkhxyangechiybphln xakarthrudlngxyangrwderw 44 nnodymakmisaehtumacakkartidechuxhruxmlphiscaksingaewdlxm hruxbangkhrngodypccyxun echn karichyaxyangimthuktxng 45 kartidechuxsungduehmuxncaepnsaehtunnkhidepn 75 khxngphupwy 45 46 odyechuxaebkhthieriykhidepn 25 echuxiwrs 25 aelathngsxngechux 25 47 mlphiscaksingaewdlxmni idaek khunphaphkhxngxakasthngphayinaelaphaynxkxakhar 45 karidrbsmphsodykarsubbuhrikhxngbukhkhlnnaelakarxyuiklchidphuthisubbuhrinnepnkarephimkhwamesiyng 36 xakaseynxacmibthbathdwyechnkn odykarkaeribkhxngorkhswnihyekidkhuninvduhnaw 48 klumphuthimiorkhrayaerngkwaaexbaefng camikarkaeribkhxngorkhbxykhrngkwa inorkhelknxykhidepn 1 8 khrngtxpi khnpanklang 2 thung 3 khrngtxpiaelakhnrunaerngkhux 3 4 khrngtxpi 49 klumphuthimikarkaeribkhxngorkhhlaykhrngmixtrakaresuxmsphaphkhxngkarthangankhxngpxdthisungkwa 50 inphupwythiekhyepn COPD makxnsinghludxudhlxdeluxd eluxdxudkninpxd xacthaihxakarthrudlngid 10 phyathisrirwithya aekikh thangdansaykhuxaephnphaphkhxngpxdaelathangedinhayicphrxmphaphprakxbthiaesdngraylaexiydkhxngphaphtdtamaenwkhwangkhxnghlxdlmfxyaelathunglminpxdsphaphpkti thangdankhwakhuxpxdthithukthalayody COPD phrxmphaphprakxbthiaesdngphaphtdtamaenwkhwangkhxnghlxdlmfxyaelathunglminpxdthithukthalay COPD epnorkhpxdxudknpraephthhnunginklumkhwambkphrxngkhxngrabbthangedinhayic karcakdkhxngrabbthangedinhayic thiimsamarthrksaihhaykhadid aelaimsamarthhayicxxkidxyangetmthi karmilmkhanginpxd 10 khwambkphrxnginkarihlphankhxngxakasepnphlmacakkaraetktwkhxngenuxeyuxpxd thiruckknwaorkhthunglmopngphxng aelaorkhhlxdlmfxyxkesb thiruckknwaorkhkarxudknkhxnghlxdlmfxy phlthiekiywkhxngkbpccythngsxngnicaaetktangkniptamtwbukhkhl 8 hlxdlmfxythithukthalayxyangrunaerngxacklayepnkarkhyayihykhunkhxnglmthitkkhang thieriykwaemdphuphxng thikhunmaaethnthienuxeyuxpxd orkhrupaebbnieriykknwathunglmopngphxngaebbemdphuphxng 51 imokhrkraf aesdngthunglmopngphxng say phunthiwangkhnadihy aelaenuxeyuxpxdkbthunglminpxdthiyngkhngepnpktimakkwa khwa COPD thiphthnaepnkarxkesbxyangminysakhyaelaeruxrngsungtxbsnxngtxsarrakhayekhuxngthiidrbkarsuddmekhasurangkay 8 kartidechuxaebkhthieriyaebberuxrngkxacsngphltxradbkhwamrunaerngkhxngkarxkesbniid 50 karxkesbkhxngesllnnekiywkhxngkbesllemdeluxdsxngchnidkhuxaekrnuolist niwotrfil aela aemokhrfac nxkcakniinklumphuthisubbuhriyngmikhwamekiywkhxngkbTc1 limofist aelaphupwy COPD bangraymikhwamekiywkhxngkbxioxsionfilthikhlaykbphuthiepnorkhhxbhud swnkhxngesllehlaniepnphlmacaktxbsnxngtxsartwklangkhxngkarxkesb xathiechn pccythiepnptikiriyachknathangekhmi kardaeninkarxun thiekiywkhxngkbkarthalaypxd idaekphawaekhriydxxksiedchn thiekidcakxnumulxisrathimiradbkhwamekhmkhnsungcakkarsubbuhriaelathukpldplxycakkarxkesbkhxngesll aelakaraetktwkhxngenuxeyuxyudtxkhxngpxdodyoprtiexs thimiprasiththiphaphinkarybyngodytwybyngoprtiexs karthukthalaykhxngenuxeyuxyudtxkhxngpxdkhuxkarklayepnorkhthunglmopngphxng sunghlngcaknnkepnkarbkphrxngkhxngrabbthangedinhayic aelathaysudkkhuxkhwambkphrxnginkardudsumaelakarplxykasinrabbthangedinhayic 8 karsuyesiyklamenuxthwipthimkekidkhuninphupwy COPD nnswnhnungxacenuxngmacaksartwklangkhxngkarxkesbthipxdplxyxxksueluxd 8 kartibaekhbkhxngthangedinhayicnnekidkhunenuxngcakkarxkesbaelaaephlepnphayinthangedinhayic kartibaekhbnithaihimsamarthhayicxxkidxyangetmthi radbkarhayicthildlngxyangmaknnekidkhunemuxhayicxxk cakkhwamdninhnaxkthikddnthangedinhayicinkhnann 52 singnixacsngphltxkarhayicmakyingkhunenuxngcakxakasthikhngkhangxyuinpxdcakkarhayickhrngkxnhna emuxkarhayickhrngthdiperimkhun cungsngphlihprimanthnghmdkhxngxakasinpxdephimkhuninkhnann singnimichuxwapxdkhyaytwsungekinhruxkarkhangkhxngxakas 52 53 phawapxdkhyaytwsungekincakkarxxkkalngnnekiywphnkbxakarehnuxyinphupwy COPD enuxngcakkhwamimsadwkinkarhayicekhaenuxngcakmixakasbangswnkhangxyuinpxd 54 phupwybangraymiphawahlxdlmiwtxsingkratunphidpkti inradbhnungtxsingkratunthikhlaykbthiphbinklumphupwythiepnorkhhxbhud 9 radbxxksiecnta aelainthisudxacekidradbkharbxnidxxkisdineluxdsungcakkaraelkepliynkas enuxngcakkarldlngkhxngkarthayethxakascakkarxudknkhxngthangedinxakas karkhyaytwmakekinipkhxngpxd aelakarldlngkhxngkarhayicthitxngkar 8 inrahwangthiorkhkaeribnn karxkesbkhxngthangedinhayickephimkhundwyechnkn sngphlihpxdmikarkhyaytwmakekinip xakasthiphanekhaxxkrabbthangedinhayicldlng aelakhwamthdthxykhxngkarthayethkas xikthngyngsamarthnaipsukhwamimephiyngphxinkarthayethxakas aelainthisudksngphlthaihradbxxksiecnineluxdta 11 hakxakarnipraktepnewlanan radbxxksiecnineluxdtaksamarthsngphlthaihmikartibaekhbkhxnghlxdeluxd inpxd khnaediywknorkhthunglmopngphxngsamarthsngphlihhlxdeluxdfxyinpxdaetktw karepliynaeplngthngsxngnisngphlthaihkhwamdneluxdinhlxdeluxdaedngphlomnari sungkhun sungxacepnsaehtukhxngorkhhwicephraapxd 8 karwinicchy aekikh A person blowing into a spirometer Smaller handheld devices are available for office use karwinicchy COPD nnkhwrphicarnadaeninkarinphuthimixayutngaet 35 thung 40 pikhunipthimixakarehnuxy karixeruxrng miesmha hruxepnikhhwdbxyinvduhnaw aelamiprawtikhxngkaridrbsmphskbpccyesiyngkhxngorkh 16 17 caknncungichkarwdprimatrxakashayicephuxyunynkarwinicchynn 16 55 karwdprimatrxakashayic aekikh karwdprimatrxakashayicepnkarwdprimankarxudknkhxngrabbthangedinhayicinpccubnaelaodythwipepnkardaeninkarhlngcakkarichyakhyayhlxdlm sungepnyathichwyepidthangedinhayic 55 xngkhprakxbhlksxngkhxthicamikartrwcwdephuxkarwinicchyorkh khux primatrkarhayicxxkthithaxyangetmkalnginhnungwinathi FEV1 sungepnprimatrsungsudkhxngxakasthisamarthhayicxxkmaidinwinathiaerkkhxngkarhayicxxk aelaprimatrxakasthiwdidemuxhayicetmkalng FVC sungepnprimatrsungsudkhxngxakasthisamarthhayicxxkmaidinkarhayicxyangetmthihnungkhrng 56 odythwip 75 80 khxngkha FVC caidcakwinathiaerk 56 aelakha FEV1 xtra FVC thitakwa 70 inphuthimixakaraesdngkhxng COPD idrbkarniyamwakhuxphuthiepnorkhdngklaw 55 tamphunthankhxngkartrwcwdehlani karwdprimatrxakashayicxacnaipsukhwamphidphladinkarwinicchy COPD inphusungxayuid 55 nxkcakni eknthkhxngsthabnaehngchatiephuxkhwamepnelisdankaraephthyidkahndihkha FEV1 txngtakwa 80 khxngkhakhadkhaen 17 hlkthansahrbkarichkarwdprimatrxakashayicinklumphuthiimmixakaraesdngephuxkarwinicchyxakaraetenin nnihphlthiimaennxn aeladwyehtunicungimaenanainpccubn 16 55 radbsungsudkhxngxakasthihayicxxk xtrasungsudkhxngkarhayicxxk sungodythwipichinphupwyorkhhxbhudnnimmiprasiththiphaphmakphxsahrbkarkarwinicchy COPD 17 khwamrunaerng aekikh aebbpraeminkhwamehnuxy MRC 17 khaaenn kickrrmthisngphlkrathb1 echphaakickrrmthitxngxxkaerngethann2 emuxedinerw3 emuxedintampkti4 hlngcakkaredinephiyngimkinathi5 emuxepliynesuxphakhaaennradb GOLD 16 khwamrunaerng FEV1 thikhadkhaenelknxy GOLD 1 80panklang GOLD 2 50 79runaerng GOLD 3 30 49runaerngmak GOLD 4 lt 30 hrux khwamlmehlwkhxngrabbthangedinhayicaebberuxrngmiwithikarxyuhlaywithiinkarraburadbphlkrathbkhxng COPD inaetlabukhkhl 16 aebbthdsxbBritish Medical Research Councilchbbthiidrbkaraekikh mMRC hruxaebbpraeminkarthdsxb COPD CAT nnepnaebbsxbthamngay thixaccaichephuxrabukhwamrunaerngkhxngxakar 16 khaaenncakaebbpraemin CAT xyurahwang 0 40 odyhakkhaaennyingsung khwamrunaerngkhxngorkhkyingsung 57 kartrwcsmrrthphaphpxddwykarwdprimatrxakashayicxacchwyrabukhwamrunaerngkhxngkarmilmkhanginpxdid 16 odythwipnnichphunthankhxng FEV1 thimikaraesdngiwinxtrarxyla sahrbxakar pkti thimikarkhadhmaytamxayu ephs khwamsungaelanahnkkhxngaetlabukhkhl 16 aenwptibtikhxngthngxemrikaaelayuorpidaenanaihepnswnhnungkhxngphunthankarrksasahrb FEV1 55 aenwptibti GOLD aenanakaraebngphupwyxxkepnsiklumtamphunthankhxngkarpraeminxakaraelakarmilmkhanginpxd 16 aelakhwrnakarldlngkhxngnahnkaelakhwamxxnaexkhxngklamenux tlxdcnkaraesdngkhxngorkhxun maichinkarphicarnadwy 16 karthdsxbxun aekikh kartrwcexkserythrwngxkaelakartrwcnbemdeluxdxyangsmbrunxacepnpraoychnsahrbkaraeykxakarxun xxkinewlathithakarwinicchy 58 syyanthiepnlksnaechphaacakkarexkserykhuxpxdthiotphidpktihruxkabnglmthiaefbaebn phunthikhxngxakashlngkradukxkephimkhun aelatumphuphxng khnaediywknmnkyngsamarthchwyinkaraeykorkhpxdxun xxkid echn pxdbwm pxdbwmna hruxphawaophrngeyuxhumpxdmixakas 59 karsaeknthrwngxkodyichkhwamlaexiydsungdwykarthayphaphswntdxasykhxmphiwetxrxacaesdngphlkhxngorkhthunglmopngphxngthwthngpxdidaelaxacepnpraoychninkaraeykorkhpxdxun xxk 9 xyangirktamphawaehlanicaimsngkrathbtxkarcdkarorkh ewnaetwaidmikarwangaephnkarphatdiw 9 karwiekhraahkasinhlxdeluxdaedngthukichephuxrabukhwamtxngkarkhxngxxksiecn singniepnkhxaenanasahrbphupwythimi FEV1 takwa 35 cakthikhadhmayiw phuthimikhwamximtwkhxngxxksiecnswnplaytakwa 92 aelaphuthimixakaraesdngkhxngorkheluxdkhng 16 inphunthithikarphrxngxlfa wn aexntithriphsinnnepnphawapkti phuthiepnorkh COPD odyechphaaxyangyingphuthimixayutakwa 45 piaelapxdswnlangidrbphlkrathbcakorkhthunglmopngphxng khwridrbkarphicarnaihidrbkarthdsxbni 16 Chest X ray demonstrating severe COPD Note the small heart size in comparison to the lungs A lateral chest x ray of a person with emphysema Note the barrel chest and flat diaphragm Lung bulla as seen on CXR in a person with severe COPD A severe case of bullous emphysema Axial CT image of the lung of a person with end stage bullous emphysema khwamaetktanginkarwinicchy aekikh COPD xaccaepntxngmikarwinicchythiaetktangcaksaehtuxun khxngkhwamehnuxy xathiechn orkhhwiceluxdkhng singhludxudhlxdeluxdkhxngpxd pxdbwm hruxphawaophrngeyuxhumpxdmixakas phuthimi COPD hlaykhnekhaicphidkhidwatnepnorkhhxbhud 23 khwamaetktangrahwangorkhhxbhudaela COPD nn khuxphunthankhxngxakar prawtikarsubbuhriaelakarmilmkhanginpxdsungsamarthaekxakariddwyyakhyayhlxdlmodykarwdprimatrxakashayic 60 nxkcaknixakarkhxngorkhwnorkhyngxacmikaraesdngxxkkhxngkarixeruxrngaelakhwrphicarnaeruxngsthanthiwaepnsthanthithiphborkhniidthwiphruximdwy 16 xakarthiphbimbxythixacekidkhunsungepnxakarthikhlayknkkhuxkarecriyphidpktikhxnghlxdlmaelaenuxpxdaelahlxdlmfxyxkesbcakkarthukthalay 58 karxkesberuxrngkhxnghlxdlmxacekidkhunidphrxmkbkarihlkhxngxakasthipktiaelainsthankarnnixacimthukcdwaepn COPD 9 karpxngkn aekikhCOPD hlaykrninnsamarthpxngknidodykarldsmphscakbuhriaelakarprbprungkhunphaphkhxngxakas 36 karchidwkhsinpxngknikhhwdihypracapiaekphuthiepnorkh COPD ksamarthldkarkaeribkhxngorkh kartxngekhaphkrksatwinorngphyabalaelakaresiychiwitid 61 62 karchidwkhsinpxngknechuxpxdbwmkxacepnpraoychnechnkn 61 karhyudsubbuhri aekikh karpxngknmiihphukhnerimsubbuhrinnepnhlksakhykhxngkarpxngkn COPD 63 noybaykhxngrthbal hnwyngansatharnsukhaelaxngkhkrtxtankarsubbuhri samarthldxtrakarsubbuhriodykarkidknmiihphukhnrierimkarsubbuhriaelasngesrimkarhyudsubbuhri 64 karhamsubbuhriinphunthisatharnaaelasthanthithangannnepnmatrkarthisakhyinkarldkarsmphskhxngbuhricakkarxyuiklchidphuthisubbuhriaelakhnaediywknkkhxaenanaihhlay sthanthicdtngkarhamihmakkhun 36 inklumphusubbuhri karhyudsubbuhrinnepnmatrkarediywethannthiaesdngthungkarchalxkarthrudlngkhxngorkh COPD 65 aemwacaepnrayathay khxngorkhktam karhyudsubbuhriksamarthldxtrakhxngkaraeylngkhxngkarthangankhxngpxdaelachalxkarerimtnkhxngkhwamthuphphlphaphaelakaresiychiwitid 66 karhyudsubbuhrierimcakkartdsinichyudsubbuhri aelacaknncungepnkarphyayamthicahyudsubbuhri odyswnihynncaepntxngmikarphyayamhlaykhrngkxnthicaprasbkhwamsaerckhxngkarngdewninrayayaw 64 inkhncanwnekuxb 40 karphyayamepnewlamakkwa 5 pinncasngphlthiepnkhwamsaerc 67 inphusubbuhribangraynnsamarthbrrlukhwamsaerckhxngkarhyudsubbuhriinrayayawiddwyphlngcakkhwamtngicethann xyangirktam karsubbuhrinnepnsingesphtidthielikidyak 68 aelaphusubbuhrihlayraytxngkarkarsnbsnundanxun oxkaskhxngkarhyudsubbuhrinnsamarthephimkhuniddwykarsnbsnuncaksngkhm karekharwminokhrngkarkarhyudsubbuhriaelakarichya xathi karbabddwykarthdaethnniokhtin ya bupropion hrux varenicline 64 67 xachiwxnamy aekikh idmikarichmatrkarcanwnhnungephuxldaenwonminkarsubbuhrikhxngphuthanganinxutsahkrrmthimikhwamesiyngsung echn karthaehmuxngthanhin karkxsrangaelakarkxsrangxith thisamarthkxorkh COPD 36 twxyangkhxngmatrkarehlaniidaek karcdtngnoybaysatharna 36 karihkhwamruaekphnknganaelafaybrihareruxngkhwamesiyng karsngesrimkarhyudsubbuhri kartrwcsxbinklumphnkngan ephuxsarwcsyyanerimaerkkhxng COPD odyichekhruxngchwyhayicaelakarkhwbkhumfun 69 70 karkhwbkhumfunthimiprasiththiphaphsamarththaidodykarprbprungrabbrabayxakas odyichkarphnnaaelaodykarichethkhnikhkarthaehmuxngthildkarkxfun 71 hakphnknganmikarphthnaorkh COPD karhyudyngimihpxdthukthalayephimmakkhunsamarththaiddwykarhlikeliyngkarsmphsfunxyangtxenuxng twxyangechn karepliynaeplnghnathikhxngphnkngan 72 mlphisthangxakas aekikh khunphaphkhxngxakasthngphayinaelaphaynxksamarthprbprungihdikhunid sungsingnixacpxngkn COPD hruxchalxkarthrudlngkhxngorkhthiepnxyuid 36 singnixacbrrlukhwamsaercidcaknoybaykhxngsatharna karepliynaeplngthangwthnthrrm aelakarmiswnrwmodyswntw 73 praethsthikalngphthnahlaypraethsprasbkhwamsaercinkarprbprungkhunphaphkhxngxakasphaynxkodyichraebiybkhxbngkhb sungkarniidsngphlthiepnkaresrimsrangkarthangankhxngpxdkhxngprachakrkhxngpraethsehlani 36 phuthiepnorkh COPD xacekidxakarnxylnghakphwkekhaidxyuphayinsthanthiinwnthixakasphaynxkmikhunphaphimdi 11 khwamphyayamsakhykhxhnungkhuxkarldkaridrbsmphskhxngkhwncakkarprakxbxaharaelaechuxephlingthimikhwamrxndwykarprbprungrabbrabayxakaskhxngbanaelaetathaxaharaelaetaphingihdikhun 73 etathaxaharthiehmaasmnnxacepnkarprbprungkhunphaphkhxngxakasphayinidthung 85 karichaehlngphlngnganthiepnthangeluxk echn etaxbaesngxathity aelaekhruxngthakhwamrxniffannepnwithikarthimiprasiththiphaph enuxngcakwithiehlaniepnkarichechuxephling echn namnkadhruxthanhinaethnkarichechuxephlingmwlchiwphaph 36 karcdkarorkh aekikhorkh COPD nnimmikarrksathiepnthithrab aetxakarkhxngorkhnnsamarthrksaidaelasamarthchalxkhwamkawhnakhxngorkhid 63 epahmayhlkkhxngkarcdkarorkhkhuxkarldpccyesiyng cdkarkhwamkhngthikhxng COPD pxngknkarkaeribkhxngorkhaebbechiybphlnaelacdkarkhwamecbpwythiekiywkhxng 11 matrkarthiidaesdngthungkarldkaresiychiwitkhuxkarhyudsubbuhriaelakarichxxksiecnesrimethann 74 karhyudsubbuhrinnepnkarldkhwamesiyngkhxngkaresiychiwitid 18 10 khxaenanaxun nnidaek karchidwkhsinpxngknikhhwdihypilakhrng karchidwkhsinpxngknechuxpxdbwmthuk 5 pi aelakarldkarsmphscaksphaphaewdlxmthimimlphisthangxakas 10 inklumphuthiepnorkhkhnluklam karrksabrrethaxacchwyldxakartang id phrxmkbkarchwyihkhwamrusukenuxngcakkhwamehnuxydikhundwymxrfin 75 karichekhruxngchwyhayicaebbimmikarecaaphaxacichephuxsnbsnunkarhayicid 75 karxxkkalngkay aekikh karfunfuphupwyorkhthangpxdkhuxokhrngkarthiepnkarprasanrwmknkhxngkarxxkkalngkay karcdkarorkhaelakarihkhapruksa ephuxpraoychnkhxngbukhkhlnn 76 inklumphuthimikarkaeribkhxngorkhemuximnanmani karfunfuphupwyorkhthangpxdnnduehmuxncaepnkarprbprungkhunphaphchiwitodyrwmaelakhwamsamarthinkarxxkkalngkay aelakaresiychiwitid 77 okhrngkarniyngidaesdngihehnthungkarphthnakhwamtrahnkinkarkhwbkhumkhxngbukhkhlekiywkborkhkhxngtn tlxdcnxarmnkhwamrusukkhxngphwkekha 78 karfukfnkarhayicekhaaelaxxkdwytnexngnnduehmuxncamikhxcakd 22 karminahnknxyhruxmakekinipsamarthsngphltxxakartang radbkhwamphikaraelakarphyakrnorkh COPD id phuthiepn COPD sungminahnknxyekinipsamarthprbprungkhwamaekhngaerngkhxngklamenuxkarhayickhxngtnidodykarephimprimanaekhlxrithibriophkh 11 emuxrwmkbkarxxkkalngkayxyangsmaesmxhruxokhrngkarfunfuphupwyorkhthangpxd ksamarthsngphlthiepnkarprbprungxakarkhxng COPD ihdikhunid karrbprathanxaharesrimxacmipraoychnsahrbphuthimiphawakhadxahar 79 yakhyayhlxdlm aekikh yakhyayhlxdlmchnidphnnnepnkarrksahlkthiich 10 aelasngphlthiepnpraoychnodyrwmelknxy 80 klumyachnidhlk misxngchnidkhux b2 agonists aela aexntiokhlienxrcik sungmithngchnidxxkvththirayayawaelaxxkvththirayasn yaehlanisamarthldkhwamehnuxy karhayicmiesiyngwidaelakhidcakdinkarxxkkalngkayid sungsngphlihkhunphaphchiwitdikhun 81 thngniimepnthichdecnwayaehlanisamarthepliynaeplngkarkaeribkhxngorkhphunedimidhruxim 10 inphupwythiepnorkhrayaebuxngtn aenanaihichyachnidxxkvththisnemuxcaepn 10 swninphupwythimiorkhinkhnthirunaerngkwann aenanaihichyachnidxxkvththinan 10 hakyakhyayhlxdlmchnidxxkvththinanimmiprasiththiphaphephiyngphx odyswnihycamikaresrimdwyyakhxrtiokhsetiyrxydchnidsudphn 10 inswnkhxngyachnidxxkvththinannn yngimmikhxmulthichdecnwaya tiotropium aexntiokhlienxrcikchnidxxkvththinan hrux twtxtanbita LABAs nndikwahruxim aelakarthdlxngichyaaetlatwxaccamipraoychn caknncungichechphaayatwthiidphldithisudxyangtxenuxngtxip 82 yathngsxngpraephthniaesdngphlthiepnkarldkhwamesiyngkhxngkarkaeribkhxngorkhaebbechiybphlnid 15 25 10 khnathikarichyathngsxngtwinewlaediywknnnxacmipraoychn aetthngnipraoychnthixacidrbni epnsingsakhythiyngkhngepnkhxsngsy 83 klumyathiepntwtxtan b2 chnidxxkvththisnmixyuhlaytwdwykn idaek salbutamol Ventolin aela terbutaline 84 yaehlanisamarthbrrethaxakarbangxyangidepnewlasithunghkchwomng 84 swnyathiepntwtxtan b2 chnidxxkvththinan echn salmeterol aela formoterol nnmkichepnkarrksaephuxcdkarorkh phupwybangrayimrusukwaidrbpraoychnthichdecncakyaehlani 85 aetkhnaediywknphupwyxun samarthehnpraoychnthichdecn 86 87 karichyaehlaniphupwy COPD inrayayawnnduehmuxnmikhwamplxdphy 88 rwmthngxakarimphungprasngkhtang idaek khwamsn aela xtrakaretnkhxnghwicerwhruximsmaesmx 10 emuxmikarichrwmkbsetiyrxydchnidsudphnyaehlanicaephimkhwamesiyngkhxngorkhpxdbwm 10 khnathisetiyrxydaela LABA xacihphldikwaemuxichrwmkn 85 aetyngimthrabaenchdwapraoychnelknxynimikhwamsakhymakkwakhwamesiyngthiephimkhunhruxim 89 miyaklumaexntiokhlienxrcikhlk sxngtwthiichin COPD khux ipratropium aela tiotropium ya Ipratropium epnyachnidxxkvththisn swnya tiotropium epnyachnidxxkvththinan ya Tiotropium nnmikhwamekiywkhxngkbkarldlngkhxngkarkaeribkhxngorkhaelakhunphaphchiwitthidikhun 83 aelaya tiotropium nnihphlthidikwaya ipratropium 90 aetthngniimduehmuxnwacasngphltxxtrakaresiychiwithruxkarekhaphkrksatwinorngphyabalodyrwm 91 aexntiokhlienxrcikxacepnsaehtukhxngxakarpakaehngaelaklumxakarkhxngthangedinpssawa 10 nxkcakni yaehlaniyngekiywkhxngkbkhwamesiyngthiephimkhunkhxngorkhhwicaelakarxudtnkhxngesnolhitthiipeliyngsmxng 92 93 ya Aclidinium sungepnyachnidxxkvththinanxiktwhnungthimikarnaxxksutlademuxpi 2012 idrbkarichepnxikthangeluxkhnungthinxkehnuxcakya tiotropium 94 95 khxrtiokhsetiyrxyd aekikh khxrtiokhsetiyrxydmkichinrupaebbsudphnaetxaccamikarichinrupaebbemdephuxrksaaelapxngknkarkaeribkhxngorkhaebbechiybphln aemwakhxrtiokhsetiyrxydchnidsudphn ICS imaesdngthungpraoychnsahrbphuthiepnorkh COPD inrayaebuxngtn aetksamarthldkarkaeribkhxngorkhaebbechiybphlninphupwythiepnorkhrayapanklangaelarayarunaerngid 96 emuxichrwmkb LABA yaehlanildkaresiychiwitidmakkwakarichya ICS hrux LABA ephiyngtwediyw 97 odytwkhxngmnexngaelwyaehlaniimmiphltxkaresiychiwitodyrwminhnungpiaetekiywkhxngkbxtrathiephimkhunkhxngorkhpxdbwm 74 imepnthiaenchdwayaehlanisngphltxkarkawhnakhxngorkhhruxim 10 karrksarayayawdwyyasetiyrxydchnidemdnnmikhwamekiywkhxngkbphlkhangekhiyngthiminysakhytang 84 yaxun aekikh karichyayaptichiwnainrayayaw odyechphaaxyangyingyainklum macrolide echn erythromycin samarthldkhwamthikhxngkarkaeribkhxngorkhinphuthimikarkaeribkhxngorkhtngaetsxngkhrngtxpikhunip 98 99 rupaebbkarrksanixacmikhwamkhumkhasahrbinbangphunthikhxngolk 100 khxkngwltang echn karduxtxyaptichiwna aelapyhakhxngkaridyincakyaxasiothrmysin 99 Methylxanthines xathiechn theophylline odythwipepnothsmakkwaepnpraoychn aeladngnncungimaenana 101 aetxacichepnyasarxnginklumphupwythimikarkhwbkhumodymatrkarxun 11 ya Mucolytic xacmipraoychninphupwybangraythimiesmhachnidkhnhnud aetodythwipnnimcaepn 61 thngniimaenanaihichyaaekix 84 xxksiecn aekikh karichxxksiecnesrimepnsingthiaenanasahrbphupwythimiradbxxksiecntakhnaphk khwamdnkhxngxxksiecnbangswninradbthitakwa 50 55 mmHg hruxkhwamekhmkhnkhxngxxksiecntakwa 88 84 102 inkhnklumni karbabdnicaephimkhwamesiyngkhxngphawahwiclmehlwaelakaresiychiwitidhakichepnewla 15 chwomngtxwn 84 102 aetxacephimkhwamsamarthinkarxxkkalngkhxngbukhkhlnnid 103 inklumkhxngphuthimiradbxxksiecnpktihruxtaelknxy karichxxksiecnesrimxacchwybrrethaxakarehnuxyid 104 thngnimikhwamesiyngkhxngifihmaelapraoychnephiyngelknxyemuxphuthiichxxksiecnyngkhngsubbuhrixyu 105 inradbkhwamekhmkhnni mibangkhaaenanathitxtankarichkarbabdni 106 inrahwangkarkaeribkhxngorkhaebbechiybphln karbabddwyxxksiecnepnsingcaepnsahrbhlaykhn karichxxksiecnekhmkhnodyimkhanungthungradbkhwamekhmkhnkhxngbukhkhlnn xacnaipsukarephimkhunkhxngradbkharbxnidxxkisdaelaphlthielwraykwaid 107 108 inphuthimikhwamesiyngkhxngkarmiradbkharbxnidxxkisdsungnn aenanaihichkhwamekhmkhnkhxngxxksiecnthi 88 92 swnphuthiimmikhwamsiyng radbthiaenanakhux 94 98 108 karphatd aekikh sahrbphupwythiepnorkhrayarayaerng bangkhrngkarphatdkepnpraoychnaelaxacrwmthungkarplukthaypxdhruxkarphatdephuxldprimatrkhxngpxd 10 karphatdephuxldprimatrkhxngpxdepnkartdenuxpxdbangswnthithukthalayodyorkhthunglmopngphxng ephuxihenuxeyuxpxdswnthiyngsamarththanganidkhyaytwaelathanganiddikhun 84 karplukthaypxdnnbangkhrngmikardaeninkarsahrbphuthiepnorkh COPD khnrunaerngmak odyechphaaxyangyinginphuthixayunxy 84 karkaeribkhxngorkh aekikh karkaeribkhxngorkhaebbechiybphlnnnodythwipmikarrksaodykarephimkarichyakhyayhlxdlmchnidxxkvththisn 10 sungepnkarrksathwip rwmthungkarrksarwmkbtwtxtanbitachnidsudphnaelaaexntiokhlienxrcik 44 yaehlanisamarthihodyichkrabxkphnlaxxngyasaercrupphrxmkbkrabxkchwysud hruxdwyekhruxngphnlaxxng enuxngcakthngsxbrupaebbniaesdngprasiththiphaphthiethaethiymkn 44 thngniekhruxngphnlaxxngxaccaichnganidngaykwasahrbphuthisukhphaphimdi 44 yakhxrtiokhsetiyrxydchnidrbprathan samarthephimoxkaskhxngkarfuntwaelaldrayaewlakhxngkarekidkhxngxakarodyrwmid 10 44 inphuthimikarkaeribkhxngorkhkhnrunaerng yaptichiwnasamarthbrrethaphlid 109 yaptichiwnatang canwnhnungthimikarich idaek xamxksisillin dxksisykhlin hrux xasiothrmysin thngniimepnthithrabaenchdwayatwhnungtwidtwhnungdikwatwxun hruxim 61 aelaimmihlkthanthichdecnsahrbphuthimixakarkhxngorkhthirunaerngnxykwa 109 karichekhruxngchwyhayicephuxprbkhwamdnaebbimmikarecaaphainphuthimiradb CO2 sungkhunxyangechiybphln phawakarhayiclmehlwchnidthi 2 samarthldkhwamepnipidkhxngkaresiychiwithruxkhwamcaepntxngekhaphkrksatwdwyekhruxngchwyhayicinhnwyxphibal 10 nxkcaknn yathioxfillinxacsngphlinkarrksainphuthiimtxbsnxngtxmatrkarxun 10 karkaeribkhxngorkhthicaepntxngekhaphkrksatwinorngphyabalnnmicanwntakwa 20 44 inklumphuthiimmiphawakrdsaehtucakkarhayiclmehlw karrksaphyabalthiban orngphyabalthiban xacchwyhlikeliyngkartxngekhaphkrksatwid 44 110 phyakrnorkh aekikh pisukhphawathisuyesiyipcakorkhaelakarbadecbkhxngprachakrsahrborkhpxdxudkneruxrngtxprachakr 100 000 khninpi 2004 111 no data 110 110 220 220 330 330 440 440 550 550 660 660 770 770 880 880 990 990 1100 1100 1350 1350 COPD mkkhxy mixakaraeylngeruxy emuxewlaphanipaelainthisudxacsngphlthiepnkaresiychiwitid mikarkhadkarnwapraman 3 khxngkhwamphikarthnghmdnnekiywkhxngkb COPD 112 sdswnkhxngkhwamphikarcak COPD inthwolkidldlngnbtngaetpi kh s 1990 thung 2010 enuxngcakkarphthnakhunphaphkhxngxakasphayinsthanthi odyerimcakinexechiy 112 xyangirktam canwnkhxngpiodyrwmthitxngichchiwitodymikhwamphikarenuxngcak COPD nnidephimkhun 113 xtrakaraeylngkhxng COPD nnaetktangkniptamkarpraktkhxngpccytang thisamarthphyakrnphlechinglbid idaek karxudknthangedinhayickhnrunaerng khwamsamarthinkarxxkkalngkayta xakarehnuxy khwamphxmhruxxwnthisakhy orkhhwiceluxdkhng karyngkhngsubbuhrixyuaelakhwamthikhxngkarkaeribkhxngorkh 11 phlrayayawin COPD nnsamarthkhadkarnidodykarich BODE index sungaesdngphlkhaaenncaksunythungsib odykhunxyukb FEV1 dchnimwlkay rayathangthiedinidin 6 nathi aelaaebbpraemin modified MRC dyspnea scale 114 khwamphxmthisakhynnepnsyyanthiimdi 9 phlkartrwcsmrrthphaphpxddwykarwdprimatrxakashayickepnekhruxngphyakrnkhwamkawhnakhxngorkhinxnakhtthidiechnkn aetimdietha BODE index 9 17 withyakarrabad aekikhtngaetpi kh s 2010 miprachakrthiepnorkh COPD praman 329 lankhnthwolk 4 8 khxngkhxngprachakr aelaphbinephschaymakkwaephshyingelknxy 113 niepnkarepriybethiybkhxngphuthiepnorkhcanwn 64 lankhninpi kh s 2004 115 karephimkhuninpraethsthikalngphthnarahwangpi kh s 1970 thung 2010 nnechuxwaekiywkhxngkbkarephimkhunkhxngxtrakarsubbuhriinphumiphakhni aelakarephimkhunkhxngcanwnprachakraelakarmixayuyunyawkhunkhxngprachakr enuxngcakkarldlngkhxngkaresiychiwitcaksaehtuxun echnorkhtidechux 10 khwamchukkhxng COPD inpraethsthikalngphthnabangpraethsphbwamixtraephimkhun odybangpraethsmixtrakhngthiaelabangpraethsmixtraldlng 10 canwnodyrwmthwolknnkhadwacayngkhngephimkhunxyangtxenuxng enuxngcakpccyesiyngtang nnyngkhngphbidthwipechnedimaelaprachakryngkhngmixayuyunyawkhuneruxy 63 rahwangpi kh s 1990 thung 2010 canwnkaresiychiwitcak COPD idldlngelknxy cak 3 1 lankhn epn 2 9 lankhn 116 odyrwmaelw orkhnicdepnxndbsikhxngsaehtukaresiychiwit 10 inbangpraeths xtrakaresiychiwitidldlnginephschayaetephimkhuninephshying 117 aenwonmthiepnipidmakthisudkhxngeruxngnienuxngmacakxtrakarsubbuhriinephshyingaelachaynnmicanwnetha kn 9 COPD nnphbidthwipinphusungxayu 8 orkhniekidkhuninkhncanwn 34 200 cakcanwn 1000 khn khxngphuthimixayumakkwa 65 pi thngnikhunxyukbprachakrthisarwc 8 59 inpraethsxngkvs pramanwamikhncanwn 0 84 lankhn cak 50 lankhn idrbkarwinicchywaepn COPD hruxklawidxikxyanghnungwa pramanhnungkhncak 59 khnidrbkarwinicchywaepn COPD thichwngidchwnghnunginchiwitkhxngphwkekha inphunthikhxngpraethsthimikhwamkhadaekhlnthangesrsthkicmakthisud prachakrhnungkhnin 32 khnidrbkarwinicchywaepn COPD emuxepriybethiybkbhnungin 98 khninphunthithimngkhngthisud 118 inshrthxemrika khidepnpraman 6 3 khxngprachakrphuihy aelacanwnrwmthnghmdpraman 15 lankhn thiidrbkarwinicchywaepn COPD 119 prachakrcanwn 25 lankhn xacmi COPD hakrwmthungkrnithiyngimidkarwinicchysaehtuinpccubn 120 inpi kh s 2011 miphupwypraman 730 000 khnekharbkarphkrksatwinorngphyabalinshrthxemrikaenuxngcakorkh COPD 121 prawti aekikh Giambattista Morgagni who made one of the earliest recorded descriptions of emphysema in 1769 khawa emphysema orkhthunglmopngphxng thukphnmacakkhawa emphysan inkrik ἐmfysᾶn sungaeplwa phxnglm sungepnkhathiprakxbdwykhawa ἐn en sungaeplwa in aela fysᾶn physan sungaeplwa hayic raebid 122 khawakarxkesberuxrngkhxnghlxdlmiderimichinpi kh s 1808 123 swnkhawa COPD nnechuxwathukichkhrngaerkemuxpi kh s 1965 124 inxdit orkhnimichuxtang knmakmayhlaychux idaek orkhpxdxudkneruxrngbrxngokhphlomnari chronic obstructive bronchopulmonary orkhrabbkaredinhayicxudkneruxrng chronic obstructive respiratory disease orkhthangedinhayicxudkneruxrng chronic airflow obstruction disease karcakdkhxngthangedinhayic chronic airflow limitation orkhpxdxudkneruxrng chronic obstructive lung disease orkhpxderuxrngthiimechphaaecaacng nonspecific chronic pulmonary disease aelaklumxakarpxdxudknaephrkracay diffuse obstructive pulmonary syndrome khawaorkhhlxdlmxkesberuxrngaelathunglmopngphxngnnidrbkarcakdkhwamxyangepnthangkarinpi kh s 1959 thikarprachumsmmnakhxng CIBA aelainpi kh s 1962 thikarprachumkhnakrrmkareruxngmatrthankarwinicchyorkhkhxng American Thoracic Society 124 karxthibayinchwngerimaerkkhxngorkhthixacepnorkhthunglmopngphxng idaek inpi kh s 1679 ody T Bonet waepnsphawakhxng pxdmikhnadihy aelainpi kh s 1769 ody Giovanni Morgagni wapxdnnmi karbwmthimisaehtuenuxngcakxakasodyechphaa 124 125 inpi kh s 1721 phaphwadphaphaerkkhxngorkhthunglmopngphxngsrangkhunody Ruysh 125 aelwtamdwyrupphaphody Matthew Baillie inpi kh s 1789 aelakhaxthibaykhxnglksnakhxngsphawasungepnkarthalay inpi kh s 1814 Charles Badham idichkhawa eyuxemuxkxkesb ephuxxthibaykarixaelaeshathimakphidpktiinorkhhlxdlmxkesberuxrng Rene Laennec sungepnaephthyphupradisthhufngkhxngaephthyidichkhawa orkhthunglmopngphxng inhnngsuxkhxngekhathichuxwa A Treatise on the Diseases of the Chest and of Mediate Auscultation 1837 ephuxxthibaysphawakhxngpxdthiimyubtwemuxekhaphahnaxkinrahwangkarchnsutrsph ekhaidbnthukwathunglmehlaniimyubtwtampktienuxngcaketmipdwyxakasaelathangedinhayicnnetmipdwyesmha inpi 1842 John Hutchinson idpradisth ekhruxngwdprimatrxakashayic sungihkhwamsamarthinkartrwcwdkhwamcuchiphkhxngpxd xyangirktam ekhruxngwdprimatrxakashayickhxngekhasamarthwdidephiyngprimatr imichkarihlkhxngxakas inpi kh s 1947 Tiffeneau aela Pinelli idthakarraburaylaexiydhlkkarinkarwdkarihlkhxngxakas 124 inpi kh s 1953 nayaephthy George L Waldbott aephthyphuechiywchaydanorkhphumiaephchawxemrikn epnbukhkhlaerkthiidxthibaythungorkhihmthiekhatngchuxwa smoker s respiratory syndrome klumxakarrabbthangedinhayickhxngphusubbuhri inwarsarkhxngsmakhmaephthyaehngxemrika pi kh s 1953 sungepnkarrwmrahwangkarsubbuhrikborkhthangedinhayiceruxrngiwdwyknepnkhrngaerk 126 karrksainrayaaerk thinxkehnuxcaksingxun aelw yngmikarich kraethiym xbechy aelaxiephkhkha xikdwy 123 karrksaaephnihmidrbkarphthnakhuninrahwangkhrunghlngkhxngstwrrsthi 20 hlkthansnbsnunkhxngkarichsetiyrxydin COPD idrbkartiphimphinchwngpi 1955 60 inpi kh s 1960 70 iderimmikarichyakhyayhlxdlm hlngcakkarsuksawicyyaixosphrinalinthimikhwamhwng txcaknnyakhyayhlxdlmxun echn salbutamol cungidrbkarphthnakhuninpi kh s 1970 80 aelakarichyainklum LABA iderimtnemuxchwngklangrahwangpi kh s 1990 2000 127 sngkhmaelawthnthrrm aekikhduephimetimthi COPD Awareness Month COPD idrbkarxangxingwaepn pxdkhxngphusubbuhri 128 phuthiepnorkhthunglmopngphxngidrbkarkhnannamwa pink puffers phusubsichmphu hrux praephth A enuxngcaklksnaphiwsichmphuthiekidkhunbxykhrng xtrakarhayicerwaelakarhayicodyhxrimfipak 129 130 aelaphuthiepnorkhhlxdlmxkesberuxrngidrbkarkhnannamwa blue bloaters phuphxngbwmsinaengin hrux praephth B enuxngcakmkmiphiwaelarimfipakmisikhlaekhiyw enuxngcakradbxxksiecntaaelakhxethabwm 130 131 khacakdehlaniimidrbkaryxmrbwamipraoychnxiktxipenuxngcakphuthiepnorkh COPD swnihynnmiphawarwmkhxngthngsxngphawadngklaw 9 130 rabbsukhphaphhlayrabbprasbkhwamyaklabakinkarrbrxngkhacakdkhwam karwinicchyaelakarphyabalthiehmaasmsahrbphupwy COPD krathrwngsatharnasukhkhxngshrachxanackridrabuwasingniepnpyhahlkkhxng National Health Service aelaidnaesnxklyuthththiechphaaecaacnginkarrbmuxkbpyhaehlani 132 sphaphesrsthkic aekikh inthwolk nbtngaetpi kh s 2010 orkh COPD idrbkarkhadwasngphltxkhaichcaythangesrsthkicepnengin 2 1 lanlan sungkhrunghnungekidkhuninpraethsthikalngphthna 15 cakyxdrwmnikhadwaengincanwn 1 9 lanlannnepnkhaichcayodytrng echn karrksathangkaraephthy aelaxik 0 2 lanlanepnkhaichcayodyxxm echn karkhadngan 133 mikarkhadhmaywacaephimkhunmakkwasxngethainxik 20 pikhanghna 15 inyuorp COPD misdswnkhidepn 3 khxngkhaichcayinkarrksaphyabaldansukhphaph 8 inshrthxemrika khaichcaykhxngorkhninnkhadwaxyuthi 50 phnlan swnihynnepnkhaichcayenuxngcakkarkaeribkhxngorkh 8 COPD nnepnorkhorkhhnunginklumorkhthimikhaichcaysungthisudthiphbinorngphyabalinxemrikainpi kh s 2011 odykhaichcayrwmthnghmdnnpraman 5 7 phnlan 121 karwicy aekikhduephimetimthi COPD Journal of Chronic Obstructive Pulmonary Disease ya Infliximab epnaexntibxdikdphumikhumkn thiidrbkarthdsxbin COPD aetimmihlkthankhxngkhwamepnpraoychn aelamikhwamepnipidkhxngkhwamepnoths 134 ya Roflumilast aesdngthungkarldxtrakarkaeribkhxngorkhthimikhwamhwng aetimaesdngthungkarepliynaeplngkhxngkhunphaphchiwit 10 yachnidxxkvththinancanwnhnungnnxyuinrahwangkarphthna 10 aelakarrksadwyeslltnkaenidnnkalngidrbkarsuksawicy 135 khnathikhwamplxdphyodythwipaelakhxmulkhxngkarsuksawicyinstwnnihkhwamhwng aetkhxmulkhxngkarichinmnusy n pi kh s 2014 nnminxymak 136 stwxun aekikhorkhpxdxudkneruxrngxacekidkhuninstwxun canwnhnungid aelaxacekidcakkaridrbsmphscakbuhri 137 138 xyangirktam orkhswnihynnmiradbaekhelknxy 139 inmasungepnthithrabthwipwaepnkarxudknthangedinhayicthiklbepnsa aelaodythwipekidkhunenuxngcakptikiriyaphumiaephcakfangthimiechuxra 140 COPD phbidthwipinsunkhaek 141 xangxing aekikh 1 0 1 1 1 2 1 3 Chronic obstructive pulmonary disease NICE subkhnemux 5 July 2021 xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imthuktxng immikarkahndkhxkhwamsahrbxangxingchux BMJbp 3 0 3 1 3 2 xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imthuktxng immikarkahndkhxkhwamsahrbxangxingchux WHO2021 Gold Report 2021 pp 20 23 Chapter 2 Diagnosis and initial assessment Gold Report 2021 pp 33 35 Chapter 2 Diagnosis and initial assessment 6 0 6 1 6 2 Gold Report 2021 pp 40 46 Chapter 3 Evidence supporting prevention and maintenance therapy xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imthuktxng immikarkahndkhxkhwamsahrbxangxingchux GBD2015Pre 8 00 8 01 8 02 8 03 8 04 8 05 8 06 8 07 8 08 8 09 8 10 8 11 8 12 8 13 8 14 8 15 8 16 8 17 8 18 8 19 8 20 8 21 8 22 8 23 8 24 8 25 8 26 Vestbo Jorgen 2013 Definition and Overview PDF Global Strategy for the Diagnosis Management and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease pp 1 7 9 00 9 01 9 02 9 03 9 04 9 05 9 06 9 07 9 08 9 09 9 10 9 11 9 12 9 13 Reilly John J Silverman Edwin K Shapiro Steven D 2011 Chronic Obstructive Pulmonary Disease in Longo Dan Fauci Anthony Kasper Dennis Hauser Stephen Jameson J Loscalzo Joseph b k Harrison s Principles of Internal Medicine 18th ed McGraw Hill pp 2151 9 ISBN 978 0 07 174889 6 10 00 10 01 10 02 10 03 10 04 10 05 10 06 10 07 10 08 10 09 10 10 10 11 10 12 10 13 10 14 10 15 10 16 10 17 10 18 10 19 10 20 10 21 10 22 10 23 10 24 10 25 10 26 10 27 Decramer M Janssens W Miravitlles M April 2012 Chronic obstructive pulmonary disease Lancet 379 9823 1341 51 doi 10 1016 S0140 6736 11 60968 9 PMID 22314182 CS1 maint multiple names authors list link 11 00 11 01 11 02 11 03 11 04 11 05 11 06 11 07 11 08 11 09 11 10 Rabe KF Hurd S Anzueto A Barnes PJ Buist SA Calverley P Fukuchi Y Jenkins C Rodriguez Roisin R van Weel C Zielinski J September 2007 Global strategy for the diagnosis management and prevention of chronic obstructive pulmonary disease GOLD executive summary Am J Respir Crit Care Med 176 6 532 55 doi 10 1164 rccm 200703 456SO PMID 17507545 CS1 maint multiple names authors list link Nathell L Nathell M Malmberg P Larsson K 2007 COPD diagnosis related to different guidelines and spirometry techniques Respir Res 8 1 89 doi 10 1186 1465 9921 8 89 PMC 2217523 PMID 18053200 CS1 maint multiple names authors list link The 10 leading causes of death in the world 2000 and 2011 World Health Organization July 2013 subkhnemux November 29 2013 Mathers CD Loncar D November 2006 Projections of Global Mortality and Burden of Disease from 2002 to 2030 PLoS Med 3 11 e442 doi 10 1371 journal pmed 0030442 PMC 1664601 PMID 17132052 15 0 15 1 15 2 Lomborg Bjorn 2013 Global problems local solutions costs and benefits Cambridge University Pres p 143 ISBN 978 1 107 03959 9 16 00 16 01 16 02 16 03 16 04 16 05 16 06 16 07 16 08 16 09 16 10 16 11 16 12 16 13 16 14 16 15 16 16 16 17 16 18 16 19 16 20 Vestbo Jorgen 2013 Diagnosis and Assessment PDF Global Strategy for the Diagnosis Management and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease pp 9 17 17 0 17 1 17 2 17 3 17 4 17 5 17 6 National Institute for Health and Clinical Excellence Clinical guideline 101 Chronic Obstructive Pulmonary Disease London June 2010 Mahler DA 2006 Mechanisms and measurement of dyspnea in chronic obstructive pulmonary disease Proceedings of the American Thoracic Society 3 3 234 8 doi 10 1513 pats 200509 103SF PMID 16636091 What Are the Signs and Symptoms of COPD National Heart Lung and Blood Institute July 31 2013 subkhnemux November 29 2013 MedlinePlus Encyclopedia Chronic obstructive pulmonary disease Morrison edited by Nathan E Goldstein R Sean 2013 Evidence based practice of palliative medicine Philadelphia Elsevier Saunders p 124 ISBN 978 1 4377 3796 7 CS1 maint extra text authors list link 22 0 22 1 Holland AE Hill CJ Jones AY McDonald CF 2012 Holland Anne E b k Breathing exercises for chronic obstructive pulmonary disease Cochrane Database Syst Rev 10 CD008250 doi 10 1002 14651858 CD008250 pub2 PMID 23076942 CS1 maint multiple names authors list link 23 0 23 1 23 2 23 3 23 4 23 5 Gruber Phillip November 2008 The Acute Presentation of Chronic Obstructive Pulmonary Disease In the Emergency Department A Challenging Oxymoron Emergency Medicine Practice 10 11 24 0 24 1 Weitzenblum E Chaouat A 2009 Cor pulmonale Chron Respir Dis 6 3 177 85 doi 10 1177 1479972309104664 PMID 19643833 Cor pulmonale Professional guide to diseases 9th ed Philadelphia Wolters Kluwer Health Lippincott Williams amp Wilkins 2009 pp 120 2 ISBN 978 0 7817 7899 2 Mandell editors James K Stoller Franklin A Michota Jr Brian F 2009 The Cleveland Clinic Foundation intensive review of internal medicine 5th ed Philadelphia Wolters Kluwer Health Lippincott Williams amp Wilkins p 419 ISBN 978 0 7817 9079 6 CS1 maint extra text authors list link Brulotte CA Lang ES May 2012 Acute exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease in the emergency department Emerg Med Clin North Am 30 2 223 47 vii doi 10 1016 j emc 2011 10 005 PMID 22487106 Spiro Stephen 2012 Clinical respiratory medicine expert consult 4th ed Philadelphia PA Saunders p Chapter 43 ISBN 978 1 4557 2329 4 World Health Organization 2008 WHO Report on the Global Tobacco Epidemic 2008 The MPOWER Package PDF Geneva World Health Organization pp 268 309 ISBN 92 4 159628 7 30 0 30 1 Ward Helen 2012 Oxford Handbook of Epidemiology for Clinicians Oxford University Press pp 289 290 ISBN 978 0 19 165478 7 Laniado Laborin R January 2009 Smoking and chronic obstructive pulmonary disease COPD Parallel epidemics of the 21st century International journal of environmental research and public health 6 1 209 24 doi 10 3390 ijerph6010209 PMC 2672326 PMID 19440278 32 0 32 1 Rennard Stephen 2013 Clinical management of chronic obstructive pulmonary disease 2nd ed New York Informa Healthcare p 23 ISBN 978 0 8493 7588 0 33 0 33 1 Anita Sharma with a contribution by David Pitchforth forewords by Gail Richards Barclay Joyce 2010 COPD in primary care Oxford Radcliffe Pub p 9 ISBN 978 1 84619 316 3 CS1 maint multiple names authors list link Goldman Lee 2012 Goldman s Cecil medicine 24th ed Philadelphia Elsevier Saunders p 537 ISBN 978 1 4377 1604 7 35 0 35 1 Kennedy SM Chambers R Du W Dimich Ward H December 2007 Environmental and occupational exposures do they affect chronic obstructive pulmonary disease differently in women and men Proceedings of the American Thoracic Society 4 8 692 4 doi 10 1513 pats 200707 094SD PMID 18073405 CS1 maint multiple names authors list link 36 00 36 01 36 02 36 03 36 04 36 05 36 06 36 07 36 08 36 09 36 10 36 11 36 12 Pirozzi C Scholand MB July 2012 Smoking cessation and environmental hygiene Med Clin North Am 96 4 849 67 doi 10 1016 j mcna 2012 04 014 PMID 22793948 Halbert RJ Natoli JL Gano A Badamgarav E Buist AS Mannino DM September 2006 Global burden of COPD systematic review and meta analysis Eur Respir J 28 3 523 32 doi 10 1183 09031936 06 00124605 PMID 16611654 CS1 maint multiple names authors list link 38 0 38 1 Devereux Graham 2006 Definition epidemiology and risk factors BMJ 332 7550 1142 4 doi 10 1136 bmj 332 7550 1142 PMC 1459603 PMID 16690673 Laine Christine 2009 In the Clinic Practical Information about Common Health Problems ACP Press p 226 ISBN 978 1 934465 64 6 40 0 40 1 Barnes Peter J Drazen Jeffrey M Rennard Stephen I Thomson Neil C b k 2009 Relationship between cigarette smoking and occupational exposures Asthma and COPD Basic Mechanisms and Clinical Management Amsterdam Academic p 464 ISBN 978 0 12 374001 4 Rushton Lesley 2007 Chronic Obstructive Pulmonary Disease and Occupational Exposure to Silica Reviews on Environmental Health 22 4 255 72 doi 10 1515 REVEH 2007 22 4 255 PMID 18351226 42 0 42 1 42 2 42 3 Foreman MG Campos M Celedon JC July 2012 Genes and chronic obstructive pulmonary disease Med Clin North Am 96 4 699 711 doi 10 1016 j mcna 2012 02 006 PMC 3399759 PMID 22793939 CS1 maint multiple names authors list link Brode SK Ling SC Chapman KR September 2012 Alpha 1 antitrypsin deficiency a commonly overlooked cause of lung disease CMAJ 184 12 1365 71 doi 10 1503 cmaj 111749 PMC 3447047 PMID 22761482 CS1 maint multiple names authors list link 44 0 44 1 44 2 44 3 44 4 44 5 44 6 Vestbo Jorgen 2013 Management of Exacerbations PDF Global Strategy for the Diagnosis Management and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease pp 39 45 45 0 45 1 45 2 Dhar Raja 2011 Textbook of pulmonary and critical care medicine New Delhi Jaypee Brothers Medical Publishers p 1056 ISBN 978 93 5025 073 0 Palange Paolo 2013 ERS Handbook of Respiratory Medicine European Respiratory Society p 194 ISBN 978 1 84984 041 5 Lotvall Jan 2011 Advances in combination therapy for asthma and COPD Chichester West Sussex John Wiley amp Sons p 251 ISBN 978 1 119 97846 6 Barnes Peter 2009 Asthma and COPD basic mechanisms and clinical management 2nd ed Amsterdam Academic p 837 ISBN 978 0 12 374001 4 Hanania Nicola 2010 12 09 COPD a Guide to Diagnosis and Clinical Management 1st ed Totowa NJ Springer Science Business Media LLC p 197 ISBN 978 1 59745 357 8 50 0 50 1 Beasley V Joshi PV Singanayagam A Molyneaux PL Johnston SL Mallia P 2012 Lung microbiology and exacerbations in COPD International journal of chronic obstructive pulmonary disease 7 555 69 doi 10 2147 COPD S28286 PMC 3437812 PMID 22969296 Murphy DMF Fishman AP 2008 Chapter 53 Fishman s Pulmonary Diseases and Disorders 4th ed McGraw Hill p 913 ISBN 0 07 145739 9 52 0 52 1 Calverley PM Koulouris NG 2005 Flow limitation and dynamic hyperinflation key concepts in modern respiratory physiology Eur Respir J 25 1 186 199 doi 10 1183 09031936 04 00113204 PMID 15640341 Currie Graeme P 2010 ABC of COPD 2nd ed Chichester West Sussex UK Wiley Blackwell BMJ Books p 32 ISBN 978 1 4443 2948 3 O Donnell DE 2006 Hyperinflation Dyspnea and Exercise Intolerance in Chronic Obstructive Pulmonary Disease The Proceedings of the American Thoracic Society 3 2 180 4 doi 10 1513 pats 200508 093DO PMID 16565429 55 0 55 1 55 2 55 3 55 4 55 5 Qaseem A Wilt TJ Weinberger SE Hanania NA Criner G van der Molen T Marciniuk DD Denberg T Schunemann H Wedzicha W MacDonald R Shekelle P August 2011 Diagnosis and management of stable chronic obstructive pulmonary disease a clinical practice guideline update from the American College of Physicians American College of Chest Physicians American Thoracic Society and European Respiratory Society Ann Intern Med 155 3 179 91 doi 10 7326 0003 4819 155 3 201108020 00008 PMID 21810710 CS1 maint multiple names authors list link 56 0 56 1 Young Vincent B 2010 Blueprints medicine 5th ed Philadelphia Wolters Kluwer Health Lippincott William amp Wilkins p 69 ISBN 978 0 7817 8870 0 COPD Assessment Test CAT American Thoracic Society subkhnemux November 29 2013 58 0 58 1 National Institute for Health and Clinical Excellence Clinical guideline 101 Chronic Obstructive Pulmonary Disease London June 2010 59 0 59 1 Torres M Moayedi S May 2007 Evaluation of the acutely dyspneic elderly patient Clin Geriatr Med 23 2 307 25 vi doi 10 1016 j cger 2007 01 007 PMID 17462519 BTS COPD Consortium 2005 Spirometry in practice a practical guide to using spirometry in primary care pp 8 9 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2014 08 26 subkhnemux 25 August 2014 61 0 61 1 61 2 61 3 Mackay AJ Hurst JR July 2012 COPD exacerbations causes prevention and treatment Med Clin North Am 96 4 789 809 doi 10 1016 j mcna 2012 02 008 PMID 22793945 Poole PJ Chacko E Wood Baker RW Cates CJ 2006 Poole Phillippa b k Influenza vaccine for patients with chronic obstructive pulmonary disease Cochrane Database Syst Rev 1 CD002733 doi 10 1002 14651858 CD002733 pub2 PMID 16437444 CS1 maint multiple names authors list link 63 0 63 1 63 2 Vestbo Jorgen 2013 Introduction Global Strategy for the Diagnosis Management and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease PDF Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease xiii xv 64 0 64 1 64 2 Policy Recommendations for Smoking Cessation and Treatment of Tobacco Dependence World Health Organization pp 15 40 ISBN 978 92 4 156240 9 Jimenez Ruiz CA Fagerstrom KO March 2013 Smoking cessation treatment for COPD smokers the role of counselling Monaldi Arch Chest Dis 79 1 33 7 PMID 23741944 Kumar P Clark M 2005 Clinical Medicine 6th ed Elsevier Saunders pp 900 1 ISBN 0 7020 2763 4 67 0 67 1 Tonnesen P March 2013 Smoking cessation and COPD Eur Respir Rev 22 127 37 43 doi 10 1183 09059180 00007212 PMID 23457163 Why is smoking addictive NHS Choices December 29 2011 subkhnemux November 29 2013 Smith Barbara K Timby Nancy E 2005 Essentials of nursing care of adults and children Philadelphia Lippincott Williams amp Wilkins p 338 ISBN 978 0 7817 5098 1 Rom William N Markowitz Steven B b k 2007 Environmental and occupational medicine 4th ed Philadelphia Wolters Kluwer Lippincott Williams amp Wilkins pp 521 2 ISBN 978 0 7817 6299 1 Wet cutting Health and Safety Executive subkhnemux November 29 2013 George Ronald B 2005 Chest medicine essentials of pulmonary and critical care medicine 5th ed Philadelphia PA Lippincott Williams amp Wilkins p 172 ISBN 978 0 7817 5273 2 73 0 73 1 Vestbo Jorgen 2013 Management of Stable COPD Global Strategy for the Diagnosis Management and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease PDF Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease pp 31 8 74 0 74 1 Drummond MB Dasenbrook EC Pitz MW Murphy DJ Fan E November 2008 Inhaled corticosteroids in patients with stable chronic obstructive pulmonary disease a systematic review and meta analysis JAMA 300 20 2407 16 doi 10 1001 jama 2008 717 PMID 19033591 CS1 maint multiple names authors list link 75 0 75 1 Carlucci A Guerrieri A Nava S December 2012 Palliative care in COPD patients is it only an end of life issue Eur Respir Rev 21 126 347 54 doi 10 1183 09059180 00001512 PMID 23204123 CS1 maint multiple names authors list link COPD Treatment U S National Heart Lung and Blood Institute subkhnemux 2013 07 23 Puhan MA Gimeno Santos E Scharplatz M Troosters T Walters EH Steurer J 2011 Puhan Milo A b k Pulmonary rehabilitation following exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease Cochrane Database Syst Rev 10 CD005305 doi 10 1002 14651858 CD005305 pub3 PMID 21975749 CS1 maint multiple names authors list link Lacasse Y Goldstein R Lasserson TJ Martin S 2006 Lacasse Yves b k Pulmonary rehabilitation for chronic obstructive pulmonary disease Cochrane Database Syst Rev 4 CD003793 doi 10 1002 14651858 CD003793 pub2 PMID 17054186 CS1 maint multiple names authors list link Ferreira IM Brooks D White J Goldstein R 2012 Ferreira Ivone M b k Nutritional supplementation for stable chronic obstructive pulmonary disease Cochrane Database Syst Rev 12 CD000998 doi 10 1002 14651858 CD000998 pub3 PMID 23235577 CS1 maint multiple names authors list link van Dijk WD van den Bemt L van Weel C 2013 Megatrials for bronchodilators in chronic obstructive pulmonary disease COPD treatment time to reflect J Am Board Fam Med 26 2 221 4 doi 10 3122 jabfm 2013 02 110342 PMID 23471939 CS1 maint multiple names authors list link Liesker JJ Wijkstra PJ Ten Hacken NH Koeter GH Postma DS Kerstjens HA February 2002 A systematic review of the effects of bronchodilators on exercise capacity in patients with COPD Chest 121 2 597 608 doi 10 1378 chest 121 2 597 PMID 11834677 CS1 maint multiple names authors list link Chong J Karner C Poole P 2012 Chong Jimmy b k Tiotropium versus long acting beta agonists for stable chronic obstructive pulmonary disease Cochrane Database Syst Rev 9 CD009157 doi 10 1002 14651858 CD009157 pub2 PMID 22972134 CS1 maint multiple names authors list link 83 0 83 1 Karner C Cates CJ 2012 Karner Charlotta b k Long acting beta 2 agonist in addition to tiotropium versus either tiotropium or long acting beta 2 agonist alone for chronic obstructive pulmonary disease Cochrane Database Syst Rev 4 CD008989 doi 10 1002 14651858 CD008989 pub2 PMID 22513969 xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imsmehtusmphl miniyamchux Karner2012 hlaykhrngdwyenuxhatangkn 84 0 84 1 84 2 84 3 84 4 84 5 84 6 84 7 Vestbo Jorgen 2013 Therapeutic Options PDF Global Strategy for the Diagnosis Management and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease pp 19 30 85 0 85 1 Cave AC Hurst MM May 2011 The use of long acting b agonists alone or in combination with inhaled corticosteroids in chronic obstructive pulmonary disease COPD a risk benefit analysis Pharmacol Ther 130 2 114 43 doi 10 1016 j pharmthera 2010 12 008 PMID 21276815 Spencer S Karner C Cates CJ Evans DJ Dec 7 2011 Spencer Sally b k Inhaled corticosteroids versus long acting beta 2 agonists for chronic obstructive pulmonary disease The Cochrane database of systematic reviews 12 CD007033 doi 10 1002 14651858 CD007033 pub3 PMID 22161409 Wang J Nie B Xiong W Xu Y April 2012 Effect of long acting beta agonists on the frequency of COPD exacerbations a meta analysis Journal of clinical pharmacy and therapeutics 37 2 204 11 doi 10 1111 j 1365 2710 2011 01285 x PMID 21740451 Decramer ML Hanania NA Lotvall JO Yawn BP 2013 The safety of long acting b2 agonists in the treatment of stable chronic obstructive pulmonary disease Int J Chron Obstruct Pulmon Dis 8 53 64 doi 10 2147 COPD S39018 PMC 3558319 PMID 23378756 CS1 maint multiple names authors list link Nannini LJ Lasserson TJ Poole P Sep 12 2012 Nannini Luis Javier b k Combined corticosteroid and long acting beta 2 agonist in one inhaler versus long acting beta 2 agonists for chronic obstructive pulmonary disease The Cochrane database of systematic reviews 9 CD006829 doi 10 1002 14651858 CD006829 pub2 PMID 22972099 Cheyne L Irvin Sellers MJ White J Sep 16 2013 Cheyne Leanne b k Tiotropium versus ipratropium bromide for chronic obstructive pulmonary disease Cochrane Database of Systematic Reviews 9 9 CD009552 doi 10 1002 14651858 CD009552 pub2 PMID 24043433 CS1 maint multiple names authors list link Karner C Chong J Poole P Jul 11 2012 Karner Charlotta b k Tiotropium versus placebo for chronic obstructive pulmonary disease The Cochrane database of systematic reviews 7 CD009285 doi 10 1002 14651858 CD009285 pub2 PMID 22786525 Singh S Loke YK Furberg CD September 2008 Inhaled anticholinergics and risk of major adverse cardiovascular events in patients with chronic obstructive pulmonary disease a systematic review and meta analysis JAMA 300 12 1439 50 doi 10 1001 jama 300 12 1439 PMID 18812535 CS1 maint multiple names authors list link Singh S Loke YK Enright P Furberg CD January 2013 Pro arrhythmic and pro ischaemic effects of inhaled anticholinergic medications Thorax 68 1 114 6 doi 10 1136 thoraxjnl 2011 201275 PMID 22764216 CS1 maint multiple names authors list link Jones P Apr 2013 Aclidinium bromide twice daily for the treatment of chronic obstructive pulmonary disease a review Advances in therapy 30 4 354 68 doi 10 1007 s12325 013 0019 2 PMID 23553509 Cazzola M Page CP Matera MG Jun 2013 Aclidinium bromide for the treatment of chronic obstructive pulmonary disease Expert opinion on pharmacotherapy 14 9 1205 14 doi 10 1517 14656566 2013 789021 PMID 23566013 Gartlehner G Hansen RA Carson SS Lohr KN 2006 Efficacy and Safety of Inhaled Corticosteroids in Patients With COPD A Systematic Review and Meta Analysis of Health Outcomes Ann Fam Med 4 3 253 62 doi 10 1370 afm 517 PMC 1479432 PMID 16735528 CS1 maint multiple names authors list link Shafazand S June 2013 ACP Journal Club Review inhaled medications vary substantively in their effects on mortality in COPD Ann Intern Med 158 12 JC2 doi 10 7326 0003 4819 158 12 201306180 02002 PMID 23778926 Mammen MJ Sethi S 2012 Macrolide therapy for the prevention of acute exacerbations in chronic obstructive pulmonary disease Pol Arch Med Wewn 122 1 2 54 9 PMID 22353707 99 0 99 1 Herath SC Poole P Nov 28 2013 Prophylactic antibiotic therapy for chronic obstructive pulmonary disease COPD The Cochrane database of systematic reviews 11 CD009764 doi 10 1002 14651858 CD009764 pub2 PMID 24288145 Simoens S Laekeman G Decramer M May 2013 Preventing COPD exacerbations with macrolides a review and budget impact analysis Respiratory medicine 107 5 637 48 doi 10 1016 j rmed 2012 12 019 PMID 23352223 Barr RG Rowe BH Camargo CA 2003 Barr R Graham b k Methylxanthines for exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease Cochrane Database Syst Rev 2 CD002168 doi 10 1002 14651858 CD002168 PMID 12804425 CS1 maint multiple names authors list link 102 0 102 1 COPD Working Group 2012 Long term oxygen therapy for patients with chronic obstructive pulmonary disease COPD an evidence based analysis Ontario health technology assessment series 12 7 1 64 PMC 3384376 PMID 23074435 Bradley JM O Neill B 2005 Bradley Judy M b k Short term ambulatory oxygen for chronic obstructive pulmonary disease Cochrane Database Syst Rev 4 CD004356 doi 10 1002 14651858 CD004356 pub3 PMID 16235359 Uronis H McCrory DC Samsa G Currow D Abernethy A 2011 Abernethy Amy b k Symptomatic oxygen for non hypoxaemic chronic obstructive pulmonary disease Cochrane Database Syst Rev 6 CD006429 doi 10 1002 14651858 CD006429 pub2 PMID 21678356 CS1 maint multiple names authors list link Chapman Stephen 2009 Oxford handbook of respiratory medicine 2nd ed Oxford Oxford University Press p 707 ISBN 978 0 19 954516 2 Blackler Laura 2007 Managing chronic obstructive pulmonary disease Chichester England John Wiley amp Sons p 49 ISBN 978 0 470 51798 7 Jindal Surinder K 2013 Chronic Obstructive Pulmonary Disease Jaypee Brothers Medical p 139 ISBN 978 93 5090 353 7 108 0 108 1 O Driscoll BR Howard LS Davison AG British Thoracic Society October 2008 BTS guideline for emergency oxygen use in adult patients Thorax 63 Suppl 6 vi1 68 doi 10 1136 thx 2008 102947 PMID 18838559 109 0 109 1 Vollenweider DJ Jarrett H Steurer Stey CA Garcia Aymerich J Puhan MA 2012 Vollenweider Daniela J b k Antibiotics for exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease Cochrane Database Syst Rev 12 CD010257 doi 10 1002 14651858 CD010257 PMID 23235687 CS1 maint multiple names authors list link Jeppesen E Brurberg KG Vist GE Wedzicha JA Wright JJ Greenstone M Walters JA May 16 2012 Hospital at home for acute exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease The Cochrane database of systematic reviews 5 CD003573 doi 10 1002 14651858 CD003573 pub2 PMID 22592692 WHO Disease and injury country estimates World Health Organization 2009 subkhnemux Nov 11 2009 112 0 112 1 Murray CJ Vos T Lozano R Naghavi M Flaxman AD Michaud C Ezzati M Shibuya K Salomon JA aelakhna December 2012 Disability adjusted life years DALYs for 291 diseases and injuries in 21 regions 1990 2010 a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010 Lancet 380 9859 2197 223 doi 10 1016 S0140 6736 12 61689 4 PMID 23245608 Explicit use of et al in author help CS1 maint multiple names authors list link CS1 maint display authors link 113 0 113 1 Vos T Flaxman AD Naghavi M Lozano R Michaud C Ezzati M Shibuya K Salomon JA Abdalla S Aboyans V aelakhna December 2012 Years lived with disability YLDs for 1160 sequelae of 289 diseases and injuries 1990 2010 a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010 Lancet 380 9859 2163 96 doi 10 1016 S0140 6736 12 61729 2 PMID 23245607 Explicit use of et al in author help CS1 maint multiple names authors list link CS1 maint display authors link Medicine prepared by the Department of Medicine Washington University School of 2009 The Washington manual general internal medicine subspecialty consult 2nd ed Philadelphia Wolters Kluwer Health Lippincott Williams amp Wilkins p 96 ISBN 978 0 7817 9155 7 Chronic obstructive pulmonary disease COPD Fact sheet N 315 WHO November 2012 Lozano R Naghavi M Foreman K Lim S Shibuya K Aboyans V Abraham J Adair T Aggarwal R aelakhna December 2012 Global and regional mortality from 235 causes of death for 20 age groups in 1990 and 2010 a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010 Lancet 380 9859 2095 128 doi 10 1016 S0140 6736 12 61728 0 PMID 23245604 Explicit use of et al in author help CS1 maint multiple names authors list link CS1 maint display authors link Rycroft CE Heyes A Lanza L Becker K 2012 Epidemiology of chronic obstructive pulmonary disease a literature review Int J Chron Obstruct Pulmon Dis 7 457 94 doi 10 2147 COPD S32330 PMC 3422122 PMID 22927753 CS1 maint multiple names authors list link Simpson CR Hippisley Cox J Sheikh A 2010 Trends in the epidemiology of chronic obstructive pulmonary disease in England a national study of 51 804 patients Brit J Gen Pract 60 576 483 8 doi 10 3399 bjgp10X514729 PMC 2894402 PMID 20594429 CS1 maint multiple names authors list link Centers for Disease Control and Prevention Nov 23 2012 Chronic Obstructive Pulmonary Disease Among Adults United States 2011 Morbidity and Mortality Weekly Report 61 46 938 43 PMID 23169314 Morbidity amp Mortality 2009 Chart Book on Cardiovascular Lung and Blood Diseases PDF National Heart Lung and Blood Institute 121 0 121 1 Torio CM Andrews RM 2006 National Inpatient Hospital Costs The Most Expensive Conditions by Payer 2011 Statistical Brief 160 Healthcare Cost and Utilization Project HCUP Statistical Briefs Agency for Health Care Policy and Research PMID 24199255 Emphysema Dictionary com subkhnemux 21 November 2013 123 0 123 1 Ziment Irwin 1991 History of the Treatment of Chronic Bronchitis Respiration 58 Suppl 1 37 42 doi 10 1159 000195969 PMID 1925077 124 0 124 1 124 2 124 3 Petty TL 2006 The history of COPD Int J Chron Obstruct Pulmon Dis 1 1 3 14 doi 10 2147 copd 2006 1 1 3 PMC 2706597 PMID 18046898 125 0 125 1 Wright Joanne L Churg Andrew 2008 Pathologic Features of Chronic Obstructive Pulmonary Disease Diagnostic Criteria and Differential Diagnosis PDF in Fishman Alfred Elias Jack Fishman Jay Grippi Michael Senior Robert Pack Allan b k Fishman s Pulmonary Diseases and Disorders 4th ed New York McGraw Hill pp 693 705 ISBN 978 0 07 164109 8 George L Waldbott 1965 A struggle with Titans Carlton Press p 6 Fishman AP May 2005 One hundred years of chronic obstructive pulmonary disease Am J Respir Crit Care Med 171 9 941 8 doi 10 1164 rccm 200412 1685OE PMID 15849329 Yuh Chin T Huang 2012 10 28 A clinical guide to occupational and environmental lung diseases New York Humana Press p 266 ISBN 978 1 62703 149 3 Pink Puffer definition of Pink Puffer in the Medical dictionary by the Free Online Medical Dictionary Thesaurus and Encyclopedia Medical dictionary thefreedictionary com subkhnemux 2013 07 23 130 0 130 1 130 2 Weinberger Steven E 2013 05 08 Principles of pulmonary medicine 6th ed Philadelphia Elsevier Saunders p 165 ISBN 978 1 62703 149 3 Des Jardins Terry 2013 Clinical Manifestations amp Assessment of Respiratory Disease 6th ed Elsevier Health Sciences p 176 ISBN 978 0 323 27749 5 An outcomes strategy for people with chronic obstructive pulmonary disease COPD and asthma in England PDF Department of Health 18 July 2011 p 5 subkhnemux 27 November 2013 Bloom D 2011 The Global Economic Burden of Noncommunicable Diseases PDF World Economic Forum p 24 Nici Linda 2011 Chronic Obstructive Pulmonary Disease Co Morbidities and Systemic Consequences Springer p 78 ISBN 978 1 60761 673 3 Inamdar AC Inamdar AA Oct 2013 Mesenchymal stem cell therapy in lung disorders pathogenesis of lung diseases and mechanism of action of mesenchymal stem cell Experimental lung research 39 8 315 27 doi 10 3109 01902148 2013 816803 PMID 23992090 Conese M Piro D Carbone A Castellani S Di Gioia S 2014 Hematopoietic and mesenchymal stem cells for the treatment of chronic respiratory diseases role of plasticity and heterogeneity TheScientificWorldJournal 2014 859817 doi 10 1155 2014 859817 PMC 3916026 PMID 24563632 Akers R Michael Denbow D Michael 2008 Anatomy and Physiology of Domestic Animals Arnes AI Wiley p 852 ISBN 978 1 118 70115 7 Wright JL Churg A December 2002 Animal models of cigarette smoke induced COPD Chest 122 6 Suppl 301S 6S doi 10 1378 chest 122 6 suppl 301S PMID 12475805 Churg A Wright JL 2007 Animal models of cigarette smoke induced chronic obstructive lung disease Contributions to microbiology Contributions to Microbiology 14 113 25 doi 10 1159 000107058 ISBN 3 8055 8332 X PMID 17684336 Marinkovic D Aleksic Kovacevic S Plamenac P 2007 Cellular basis of chronic obstructive pulmonary disease in horses Int Rev Cytol International Review of Cytology 257 213 47 doi 10 1016 S0074 7696 07 57006 3 ISBN 978 0 12 373701 4 PMID 17280899 CS1 maint multiple names authors list link Miller MS Tilley LP Smith FW January 1989 Cardiopulmonary disease in the geriatric dog and cat Vet Clin North Am Small Anim Pract 19 1 87 102 PMID 2646821 CS1 maint multiple names authors list link aehlngkhxmulxun aekikh Global Strategy for the Diagnosis Management and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease Updated 2013 PDF Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease subkhnemux November 29 2013 National Institute for Health and Clinical Excellence Clinical guideline 101 Chronic Obstructive Pulmonary Disease London June 2010 Qaseem Amir Wilt TJ Weinberger SE Hanania NA Criner G Van Der Molen T Marciniuk DD Denberg T Schunemann H Wedzicha W MacDonald R Shekelle P American College Of Physicians American College of Chest Physicians American Thoracic Society European Respiratory Society 2011 Diagnosis and Management of Stable Chronic Obstructive Pulmonary Disease A Clinical Practice Guideline Update from the American College of Physicians American College of Chest Physicians American Thoracic Society and European Respiratory Society Annals of Internal Medicine 155 3 179 91 doi 10 7326 0003 4819 155 3 201108020 00008 PMID 21810710 karcaaenkorkhV T DICD 10 J40 J44 J47ICD 9 CM 490 492 494 496OMIM 606963DiseasesDB 2672thrphyakrphaynxkMedlinePlus 000091eMedicine med 373 emerg 99Patient UK orkhpxdxudkneruxrngkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb orkhpxdxudkneruxrng bthkhwamekiywkbaephthysastrniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul duephimthi sthaniyxy aephthysastrekhathungcak https th wikipedia org w index php title orkhpxdxudkneruxrng amp oldid 9566637, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม