fbpx
วิกิพีเดีย

ไซโตไคนิน

ไซโทไคนิน (อังกฤษ: Cytokinin) เป็นกลุ่มของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุม การแบ่งเซลล์ การขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์พืช มีผลต่อการข่มของตายอด การเจริญของตาข้าง และการชราของใบการออกฤทธิ์ของสารกลุ่มนี้ค้นพบในน้ำมะพร้าวเมื่อ พ.ศ. 2483 โดย Folke Skoog นักวิทยาศาสตร์ที่ University of Wisconsin–Madison

ซีเอติน ไซโตไคนินธรรมชาติที่พบในพืช

ไซโตไคนินมีสองประเภท ได้แก่ ไซโตไคนินที่เป็นอนุพันธ์ของอะดีนีนโดยมีโซ่ข้างมาเชื่อมต่อกับเบสที่ตำแหน่ง N6 ไซโตไคนินแบ่งได้เป็นสองชนิดตามชนิดของโซ่ข้างคือ ไอโซพรีนอยด์ ไซโตไคนิน (Isoprenoid cytokinin) มีโซ่ข้างเป็นสารกลุ่มไอโซพรีน กับ อะโรมาติก ไซโตไคนิน เช่น ไคนีติน ซีเอติน และ6-benzylaminopurine อีกกลุ่มหนึ่งคือไซโตไคนินที่เป็นอนุพันธ์ของไดฟีนิลยูเรีย และ ไทเดียซูรอน (TDZ) ไซโตไคนินชนิดอะดีนีนมักสังเคราะห์ที่ราก แคมเบียม และเนื้อเยื่อเจริญอื่นๆเป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์ไวโตไคนินเช่นกัน ไม่มีหลักฐานว่าพืชสร้างไซโตไคนินชนิดฟีนิลยูเรียได้ ไซโตไคนินเกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณทั้งระยะใกล้และระยะไกล และเกี่ยวข้องกับการขนส่งนิวคลีโอไทด์ในพืช โดยทั่วไป ไซโตไคนินถูกขนส่งผ่านไซเลม.

การสังเคราะห์ในสิ่งมีชีวิต

Adenosine phosphate-isopentenyltransferase (IPT) เป็นเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาแรกในการสังเคราะห์ไซโตไคนินชนิดไอโซพรีน อาจจะใช้ ATP ADP หรือ AMP เป็นสารตั้งต้นและอาจจะใช้ dimethylallyl diphosphate (DMAPP) หรือ hydroxymethylbutenyl diphosphate (HMBDP) เป็นตัวให้หมู่พรีนิล ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาที่จำกัดการสังเคราะห์ไซโตไคนิน DMAPP และ HMBDP ที่ใช้ในการสังเคราะห์ไซโตไคนิน สร้างมาจากmethylerythritol phosphate pathway (MEP)

ไซโตไคนินอาจจะสังเคราะห์มาจาก tRNA ในพืชและแบคทีเรีย tRNAs ที่มี anticodon ที่เริ่มด้วย uridine และเป็นตัวพาอะดินีนที่เติมหมู่พรีนิลแล้วจะถูกสลายเพื่อนำอะดินีนไปสร้างเป็นไซโตไคนิน การเติมหมู่พรีนิลของอะดินีนเกิดขึ้นโดยเอนไซม์ tRNA-isopentenyltransferase. ออกซินมีบทบาทในการควบคุมการสังเคราะห์ไซโตไคนิน

แบคทีเรียบางชนิดผลิตไซโตไคนินได้ เช่น Rhodospirillum robrom ซึ่งเป็นแบคทีเรียสีม่วง สร้างสารคล้ายไซโตไคนิน 4-hydroxyphenethyl ได้ และ Paenibacillus polymyxa ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบในไรโซสเฟียร์ของพืช สร้างไซโตไคนินชนิด iP ได้ ไซโตไคนินบางชนิดมีผลต่อจุลินทรีย์ด้วย เช่น ไคนีติน กระตุ้นการเจริญ การสร้างรงควัตถุและการตรึงไนโตรเจนของ Anabaena doliolum เร่งการเจริญเติบโตและการแบ่งเซลล์ในยีสต์ และราบางชนิดในสกุล Aspergillus และ Penicillium ใช้ไซโตไคนินเป็นแหล่งไนโตรเจน

การออกฤทธิ์ทางสรีรวิทยา

อัตราส่วนระหว่างออกซินและไซโตไคนินมีความสำคัญต่อการทำงานของไซโตไคนินในพืช เนื้อเยื่อพาเรนไคมาที่เลี้ยงในอาหารที่มีออกซินและไม่มีไซโตไคนิน เซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้นแต่ไม่แบ่งตัว เมื่อใช้ไซโตไคนินร่วมกับออกซิน เซลล์จึงจะขยายตัวไปพร้อมกับการแบ่งตัว อย่างไรก็ตาม เมื่อเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารที่มีไซโตไคนินเท่านั้น จะไม่เกิดผลใดๆ ถ้าใช้ไซโตไคนินและออกซินในปริมาณเท่าๆกัน พาเรนไคมาจะกลายเป็นแคลลัส ถ้ามีไซโตไคนินมากกว่าจะกลายเป็นยอด ถ้าออกซินมากกว่าจะกลายเป็นราก

การออกฤทธิ์ทางสรีรวิทยาที่สำคัญของไซโตไคนินได้แก่

  • สนับสนุนการขยายตัวของเซลล์ ที่เกี่ยวข้องกับการดูดน้ำเข้าไปภายในเซลล์ เพราะไม่ทำให้น้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้น
  • สนับสนุนการพัฒนาและการแตกตาข้าง ไซโตไคนินสามารถกระตุ้นให้ตาข้างที่ถูกยับยั้งด้วยตายอดเจริญออกมาได้ สิ่งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากอัตราส่วนระหว่างไซโตไคนินต่อออกซิน ออกซินจากตายอด จะถูกขนส่งลงไปยังตาข้างเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโต ทำให้ยอดยาวขึ้น แต่ไม่แตกกิ่งใหม่ ในขณะที่ไซโตไคนินจะเคลื่อนที่จากรากขึ้นมายังยอด และจะเป็นตัวกระตุ้นการเจริญของตาข้าง ถ้าตัดตายอดออกไป ตาข้างจะไม่ถูกยับยั้งและจะเจริญออกมาได้ พืชจึงเจริญออกทางด้านข้างมากขึ้น ถ้าให้ออกซินที่รอยตัด การเจริญของตาข้างยังคงถูกยับยั้งต่อไป
  • การชะลอการชรา ความชราของพืชเกิดจากกระบวนการแก่ตัวของเซลล์ มีการสูญเสียคลอโรฟิลล์ RNA โปรตีน และไขมัน การชะลอความชราของออกซินเกิดขึ้นโดยการป้องกันการสลายตัวของโปรตีน กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน และขนส่งธาตุอาหารมายังเนื้อเยื่อ ไซโตไคนินสนับสนุนการเกิดคลอโรฟิลล์และการเปลี่ยนอีทิโอพลาสต์ไปเป็นคลอโรพลาสต์
  • การเกิดปม ปมที่เกิดในพืชเป็นเนื้อเยื่อที่ไม่มีการกำหนดพัฒนาและมีลักษณะคล้ายเนื้องอก เกิดจากเชื้อ Agrobacterium tumefaciens
  • ไซโตไคนินจากปลายรากมีผลต่อการเจริญของลำต้นและราก การตัดรากออกไปจะทำให้การเจริญเติบโตของลำต้นหยุดชะงัก
  • การเพิ่มไซโตไคนินจากภายนอกลดขนาดของเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายรากลงโดยไม่กระทบต่ออัตราการขยายตัวของเซลล์ภายในเนื้อเยื่อเจริญ แต่ไซโตไคนินปริมาณมากจะมีความจำเป็นในการรักษากิจกรรมของเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายยอด
  • กระตุ้นการออกดอกของพืชวันสั้นบางชนิด เช่นในแหนเป็ด ไซโตไคนินกระตุ้นให้พืชสร้างสารฟลอริเจน (Florigen) ซึ่งชักนำให้พืชออกดอกได้ ไซโตไคนินยังช่วยให้เกิดดอกตัวเมียมากขึ้น
  • ทำลายระยะพักตัวของพืช ของเมล็ดพืชหลายชนิดได้ เช่น ผักกาดหอม

การใช้ประโยชน์

ในทางการค้าใช้เพิ่มผลผลิตของพืชเศรษฐกิจ ผลผลิตของฝ้ายเพิ่มขึ้น 5-10% เมื่อแช่ในไซโตไคนินตั้งแต่ยังเป็นเมล็ด

อ้างอิง

  1. J.J. Kieber (2002): Tribute to Folke Skoog: Recent advances in our understanding of cytokinin biology. Journal of Plant Growth Regulation 21, 1-2. [1][ลิงก์เสีย]
  2. Campbell, Neil A., Jane B. Reece, Lisa Andrea. Urry, Michael L. Cain, Steven Alexander. Wasserman, Peter V. Minorsky, and Robert Bradley Jackson. Biology. 8th ed. San Francisco: Pearson, Benjamin Cummings, 2008. 827-30.
  3. Chen, C. et al. 1985. Localization of Cytokinin Biosynthetic Sites in Pea Plants and Carrot Roots. Plant Physiology 78:510–513.
  4. Mok, DWS and Mok, MC. 2001. Cytokinin metabolism and action. Annual Review of Plant Physiology and Plant Molecular Biology 52: 89-118
  5. Sakakibara, H. 2006. Cytokinins: Activity, Biosynthesis, and Translocation. Annual Review of Plant Biology 57: 431-449
  6. Ildoo Hwang, Hitoshi Sakakibara (2006) Cytokinin biosynthesis and perception Physiologia Plantarum 126 (4), 528–538
  7. Kaori Miyawaki, Miho Matsumoto-Kitano, Tatsuo Kakimoto (2004) Expression of cytokinin biosynthetic isopentenyltransferase genes in Arabidopsis: tissue specificity and regulation by auxin, cytokinin, and nitrate The Plant Journal 37 (1), 128–138
  8. Nordström, A. 2004. Auxin regulation of cytokinin biosynthesis in Arabidopsis thaliana: A factor of potential importance for auxin–cytokinin-regulated development. PNAS 101:8039–8044
  9. Serdyuk, O.P., Smolygina, L.D., Muzafarov, E.N., Adanin, V.M., and Arinbasarov, M.V. 1995. 4-Hydroxyphenethyl alcohol – a new cytokinin – like substance from the phototrophic purple bacteria Rhodospirillum robrom 1R. FEBS Letter. 365, 10 – 12
  10. Timmusk, S., Nicander, B., Granhall, U., and Tillberg, E. 1999. Cytokonin production by Paenibacillus polymyxa. Soil Biology and Biochemistry. 31, 1847 - 1852
  11. Tsavkelova, E.A., Klimova, S.Y., Cherdyntseva, T.A., and Netrusov, A.I. 2006. Microbial producers of plant growth stimulators and their practical use: A review. Applied Biochemistry and Microbiology, 42, 117 – 126
  12. Saupe, S.G. 2008. Plant Hormones – Cytokinins.
  13. Sakakibara, H. 2006. Cytokinin: Activity, biosynthesis, and translocation. Annual Review of Plant Biology. 57: 431 – 449
  14. Saupe, 2008
  15. สถาพร ดียิ่ง. 2542. ฮอร์โมนพืช. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  16. Ioio, R.D., Linhares, F.S., and Sabatini, S. 2008. Emerging role of cytokinin as a regulator of cellular differentiation. Current Opinion in Plant Biology. 11, 23 – 27
  17. มานี เตื้อสกุล. 2542. สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช: ไซโตไคนิน. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  18. วันทนี สว่างอารมณ์. 2542. การเจริญและการเติบโตของพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  19. http://www.ars.usda.gov/is/pr/2010/100310.htm

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Chapter 21 of Plant Physiology Book: Cytokinins: Regulators of Cell Division
  • Plant Physiology:Cytokinin
  • Agrares Fertilizer with cytokinins
  • Regulation of Leaf Senescence by Cytokinin, Sugar, and Light

ไซโตไคน, ไซโทไคน, งกฤษ, cytokinin, เป, นกล, มของสารควบค, มการเจร, ญเต, บโตท, บทบาทสำค, ญในการควบค, การแบ, งเซลล, การขยายต, วและการเปล, ยนแปลงของเซลล, ผลต, อการข, มของตายอด, การเจร, ญของตาข, าง, และการชราของใบการออกฤทธ, ของสารกล, มน, นพบในน, ำมะพร, าวเม, 2483, . isothikhnin xngkvs Cytokinin epnklumkhxngsarkhwbkhumkarecriyetibotthimibthbathsakhyinkarkhwbkhum karaebngesll karkhyaytwaelakarepliynaeplngkhxngesllphuch miphltxkarkhmkhxngtayxd karecriykhxngtakhang aelakarchrakhxngibkarxxkvththikhxngsarklumnikhnphbinnamaphrawemux ph s 2483 ody Folke Skoog nkwithyasastrthi University of Wisconsin Madison 1 siextin isotikhninthrrmchatithiphbinphuch isotikhninmisxngpraephth idaek isotikhninthiepnxnuphnthkhxngxadininodymioskhangmaechuxmtxkbebsthitaaehnng N6 isotikhninaebngidepnsxngchnidtamchnidkhxngoskhangkhux ixosphrinxyd isotikhnin Isoprenoid cytokinin mioskhangepnsarklumixosphrin kb xaormatik isotikhnin echn ikhnitin siextin aela6 benzylaminopurine xikklumhnungkhuxisotikhninthiepnxnuphnthkhxngidfinilyueriy aela ithediysurxn TDZ isotikhninchnidxadininmksngekhraahthirak 2 aekhmebiym aelaenuxeyuxecriyxunepnaehlngthimikarsngekhraahiwotikhninechnkn 3 immihlkthanwaphuchsrangisotikhninchnidfinilyueriyid 4 isotikhninekiywkhxngkbkarsngsyyanthngrayaiklaelarayaikl aelaekiywkhxngkbkarkhnsngniwkhlioxithdinphuch 5 odythwip isotikhninthukkhnsngphaniselm 2 enuxha 1 karsngekhraahinsingmichiwit 2 karxxkvththithangsrirwithya 3 karichpraoychn 4 xangxing 5 aehlngkhxmulxunkarsngekhraahinsingmichiwit aekikhAdenosine phosphate isopentenyltransferase IPT epnexnismthierngptikiriyaaerkinkarsngekhraahisotikhninchnidixosphrin xaccaich ATP ADP hrux AMP epnsartngtnaelaxaccaich dimethylallyl diphosphate DMAPP hrux hydroxymethylbutenyl diphosphate HMBDP epntwihhmuphrinil 6 ptikiriyaniepnptikiriyathicakdkarsngekhraahisotikhnin DMAPP aela HMBDP thiichinkarsngekhraahisotikhnin srangmacakmethylerythritol phosphate pathway MEP 6 isotikhninxaccasngekhraahmacak tRNA inphuchaelaaebkhthieriy 6 7 tRNAs thimi anticodon thierimdwy uridine aelaepntwphaxadininthietimhmuphrinilaelwcathukslayephuxnaxadininipsrangepnisotikhnin 6 karetimhmuphrinilkhxngxadininekidkhunodyexnism tRNA isopentenyltransferase 7 xxksinmibthbathinkarkhwbkhumkarsngekhraahisotikhnin 8 aebkhthieriybangchnidphlitisotikhninid echn Rhodospirillum robrom sungepnaebkhthieriysimwng srangsarkhlayisotikhnin 4 hydroxyphenethyl id 9 aela Paenibacillus polymyxa sungepnaebkhthieriythiphbinirossefiyrkhxngphuch srangisotikhninchnid iP id 10 isotikhninbangchnidmiphltxculinthriydwy echn ikhnitin kratunkarecriy karsrangrngkhwtthuaelakartrunginotrecnkhxng Anabaena doliolum erngkarecriyetibotaelakaraebngesllinyist aelarabangchnidinskul Aspergillus aela Penicillium ichisotikhninepnaehlnginotrecn 11 karxxkvththithangsrirwithya aekikhxtraswnrahwangxxksinaelaisotikhninmikhwamsakhytxkarthangankhxngisotikhnininphuch enuxeyuxphaernikhmathieliynginxaharthimixxksinaelaimmiisotikhnin esllcamikhnadihykhunaetimaebngtw emuxichisotikhninrwmkbxxksin esllcungcakhyaytwipphrxmkbkaraebngtw xyangirktam emuxeliyngenuxeyuxinxaharthimiisotikhninethann caimekidphlid thaichisotikhninaelaxxksininprimanethakn phaernikhmacaklayepnaekhlls thamiisotikhninmakkwacaklayepnyxd thaxxksinmakkwacaklayepnrak 2 karxxkvththithangsrirwithyathisakhykhxngisotikhninidaek snbsnunkarkhyaytwkhxngesll thiekiywkhxngkbkardudnaekhaipphayinesll ephraaimthaihnahnkaehngephimkhun 12 snbsnunkarphthnaaelakaraetktakhang isotikhninsamarthkratunihtakhangthithukybyngdwytayxdecriyxxkmaid 13 singniekidkhunenuxngcakxtraswnrahwangisotikhnintxxxksin xxksincaktayxd cathukkhnsnglngipyngtakhangephuxybyngkarecriyetibot thaihyxdyawkhun aetimaetkkingihm inkhnathiisotikhnincaekhluxnthicakrakkhunmayngyxd aelacaepntwkratunkarecriykhxngtakhang thatdtayxdxxkip takhangcaimthukybyngaelacaecriyxxkmaid phuchcungecriyxxkthangdankhangmakkhun thaihxxksinthirxytd karecriykhxngtakhangyngkhngthukybyngtxip 2 karchalxkarchra khwamchrakhxngphuchekidcakkrabwnkaraektwkhxngesll mikarsuyesiykhlxorfill RNA oprtin aelaikhmn karchalxkhwamchrakhxngxxksinekidkhunodykarpxngknkarslaytwkhxngoprtin kratunkarsngekhraahoprtin aelakhnsngthatuxaharmayngenuxeyux 2 isotikhninsnbsnunkarekidkhlxorfillaelakarepliynxithioxphlastipepnkhlxorphlast karekidpm pmthiekidinphuchepnenuxeyuxthiimmikarkahndphthnaaelamilksnakhlayenuxngxk ekidcakechux Agrobacterium tumefaciens 14 isotikhnincakplayrakmiphltxkarecriykhxnglatnaelarak kartdrakxxkipcathaihkarecriyetibotkhxnglatnhyudchangk 15 karephimisotikhnincakphaynxkldkhnadkhxngenuxeyuxecriythiplayraklngodyimkrathbtxxtrakarkhyaytwkhxngesllphayinenuxeyuxecriy aetisotikhninprimanmakcamikhwamcaepninkarrksakickrrmkhxngenuxeyuxecriythiplayyxd 16 kratunkarxxkdxkkhxngphuchwnsnbangchnid echninaehnepd isotikhninkratunihphuchsrangsarflxriecn Florigen sungchknaihphuchxxkdxkid isotikhninyngchwyihekiddxktwemiymakkhun 17 thalayrayaphktwkhxngphuch khxngemldphuchhlaychnidid echn phkkadhxm 18 karichpraoychn aekikhinthangkarkhaichephimphlphlitkhxngphuchesrsthkic phlphlitkhxngfayephimkhun 5 10 emuxaechinisotikhnintngaetyngepnemld 19 xangxing aekikh J J Kieber 2002 Tribute to Folke Skoog Recent advances in our understanding of cytokinin biology Journal of Plant Growth Regulation 21 1 2 1 lingkesiy 2 0 2 1 2 2 2 3 2 4 Campbell Neil A Jane B Reece Lisa Andrea Urry Michael L Cain Steven Alexander Wasserman Peter V Minorsky and Robert Bradley Jackson Biology 8th ed San Francisco Pearson Benjamin Cummings 2008 827 30 Chen C et al 1985 Localization of Cytokinin Biosynthetic Sites in Pea Plants and Carrot Roots Plant Physiology 78 510 513 Mok DWS and Mok MC 2001 Cytokinin metabolism and action Annual Review of Plant Physiology and Plant Molecular Biology 52 89 118 Sakakibara H 2006 Cytokinins Activity Biosynthesis and Translocation Annual Review of Plant Biology 57 431 449 6 0 6 1 6 2 6 3 Ildoo Hwang Hitoshi Sakakibara 2006 Cytokinin biosynthesis and perception Physiologia Plantarum 126 4 528 538 7 0 7 1 Kaori Miyawaki Miho Matsumoto Kitano Tatsuo Kakimoto 2004 Expression of cytokinin biosynthetic isopentenyltransferase genes in Arabidopsis tissue specificity and regulation by auxin cytokinin and nitrate The Plant Journal 37 1 128 138 Nordstrom A 2004 Auxin regulation of cytokinin biosynthesis in Arabidopsis thaliana A factor of potential importance for auxin cytokinin regulated development PNAS 101 8039 8044 Serdyuk O P Smolygina L D Muzafarov E N Adanin V M and Arinbasarov M V 1995 4 Hydroxyphenethyl alcohol a new cytokinin like substance from the phototrophic purple bacteria Rhodospirillum robrom 1R FEBS Letter 365 10 12 Timmusk S Nicander B Granhall U and Tillberg E 1999 Cytokonin production by Paenibacillus polymyxa Soil Biology and Biochemistry 31 1847 1852 Tsavkelova E A Klimova S Y Cherdyntseva T A and Netrusov A I 2006 Microbial producers of plant growth stimulators and their practical use A review Applied Biochemistry and Microbiology 42 117 126 Saupe S G 2008 Plant Hormones Cytokinins Sakakibara H 2006 Cytokinin Activity biosynthesis and translocation Annual Review of Plant Biology 57 431 449 Saupe 2008 sthaphr diying 2542 hxromnphuch chaechingethra mhawithyalyrachphtrachnkhrinthr Ioio R D Linhares F S and Sabatini S 2008 Emerging role of cytokinin as a regulator of cellular differentiation Current Opinion in Plant Biology 11 23 27 mani etuxskul 2542 sarkhwbkhumkarecriyetibotkhxngphuch isotikhnin sngkhla mhawithyalyrachphtsngkhla wnthni swangxarmn 2542 karecriyaelakaretibotkhxngphuch phimphkhrngthi 2 krungethph mhawithyalyrachphtbansmedcecaphraya http www ars usda gov is pr 2010 100310 htmaehlngkhxmulxun aekikhChapter 21 of Plant Physiology Book Cytokinins Regulators of Cell Division Plant Physiology Cytokinin Agrares Fertilizer with cytokinins Regulation of Leaf Senescence by Cytokinin Sugar and Lightekhathungcak https th wikipedia org w index php title isotikhnin amp oldid 9556123, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม