fbpx
วิกิพีเดีย

Event-related potential

ข้อมูลเพิ่มเติม: Evoked potential

event-related potential (ตัวย่อ ERP) หรือ ศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ เป็นค่าการตอบสนองของสมอง เป็นผลโดยตรงต่อเหตุการณ์ทางการรับรู้ความรู้สึก ทางประชาน หรือทางระบบสั่งการ โดยรูปนัย มันเป็นการตอบสนองทางสรีรวิทยาไฟฟ้าแบบเป็นพิมพ์เดียวกัน (stereotyped) ต่อตัวกระตุ้น วิธีนี้ช่วยให้สามารถประเมินการทำงานของสมองโดยไม่ต้องผ่าต้องเจาะสรีระร่างกาย

รูปคลื่นแสดงองค์ประกอบของ ERP หลายอย่าง รวมทั้ง N100 (ขึ้นป้ายว่า N1) และ P300 (ขึ้นป้ายว่า P3) ให้สังเกตว่า ERP วาดให้ศักย์ลบอยู่ด้านบน นี่เป็นข้อปฏิบัติที่สามัญแม้จะไม่สากลในงานวิจัยเกี่ยวกับ ERP

ERP สามารถวัดโดยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ส่วนการวัดสัญญาณที่เสมอกับ ERP คือ event-related field (ERF) ซึ่งทำด้วยการบันทึกสนามแม่เหล็กในสมอง (magnetoencephalography, ตัวย่อ MEG)evoked potential และ induced potential เป็นรูปแบบย่อยของ ERP

ประวัติ

ในปี 1924 จิตแพทย์ชาวเยอรมัน นพ.ฮานส์ เบอร์เกอร์ แสดงว่า สามารถบันทึกการทำงานทางไฟฟ้าของสมองมนุษย์โดยติดอิเล็กโทรดที่หนังศีรษะแล้วขยายสัญญาณ เป็นวิธีที่เรียกว่า การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalogram ตัวย่อ EEG) คือความเปลี่ยนแปลงทางศักย์ไฟฟ้าสามารถแสดงเป็นกราฟตามเวลา หมอให้ข้อสังเกตว่า ศักย์ไฟฟ้าได้รับอิทธิพลภายนอกเช่นการกระตุ้นประสาทสัมผัส EEG ในทศวรรษต่อ ๆ จึงใช้บันทึกคลื่นไฟฟ้าของสมอง แต่การบันทึกคลื่นสมองที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางประสาทโดยเฉพาะ ๆ ซึ่งเป็นประเด็นของการศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์ประชาน (cognitive neuroscience) ก็ยังเป็นเรื่องยาก เพราะข้อมูล EEG อย่างเดียวไม่สามารถแยกแยะกระบวนการทางประสาทโดยเฉพาะ ๆ

ERP จึงเป็นวิธีที่ดีกว่าเพื่อดึงข้อมูลทางความรู้สึก ทางประชาน และทางระบบประสาทสั่งการโดยเฉพาะ ๆ ด้วยเทคนิคการเฉลี่ยที่ทำง่าย ๆ ในระหว่างปี 1935-1936 คู่นักสรีรวิทยาชาวอเมริกัน (Hallowell Davis และภรรยาคือ Pauline Davis) เป็นพวกแรกที่ได้บันทึก ERP ในมนุษย์ที่ตื่นอยู่แล้วตีพิมพ์ผลงานในปี 1939 แต่เพราะสงครามโลกครั้งที่สอง จึงไม่มีงานทดลองต่อจากนั้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ์ 1940 แต่งานวิจัยเกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกก็กลับเพิ่มขึ้นอีกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 ในปี 1964 นักประสาทสรีรวิทยาชาวอังกฤษเกรย์ วอลเตอร์ และผู้ร่วมงานได้เริ่มงานศึกษาที่แสดงองค์ประกอบ (component) ของ ERP เมื่อรายงานองค์ประกอบ ERP ทางประชานเป็นอย่างแรก ที่เรียกว่า contingent negative variation (CNV) งานศึกษาในปี 1965 สร้างความก้าวหน้าเมื่อค้นพบองค์ประกอบ P3 ที่เกิดเมื่อตัดสินใจ ต่อมาอีก 15 ปี งานวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบ ERP ก็เป็นเรื่องนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในคริสต์ทศวรรษ 1980 การมีคอมพิวเตอร์ที่ราคาไม่แพง ก็ได้เปิดประตูใหม่ให้แก่งานวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์ปริชาน

ปัจจุบัน ERP เป็นวิธีที่ใช้มากที่สุดในสาขาประสาทวิทยาศาสตร์ปริชานเพื่อศึกษาสหสัมพันธ์ทางสรีรวิทยา (physiological correlate) ของการรับความรู้สึก การรับรู้ และปริชาน กับการแปลผลข้อมูล

การคำนวณ

ERP สามารถวัดอย่างน่าเชื่อถือได้ด้วยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ซึ่งใช้อิเล็กโทรดติดหนังศีรษะบันทึกคลื่นสมองตามเวลา คลื่น EEG สะท้อนการทำงานของกระบวนการในสมองเป็นพัน ๆ ที่เกิดพร้อมกัน ซึ่งก็หมายความว่า การตอบสนองของสมองต่อตัวกระตุ้นเดี่ยว ๆ หรือเหตุการณ์ที่เป็นเป้าหมายปกติจะมองไม่เห็นในค่า EEG ที่บันทึกคราวเดียว ดังนั้น เพื่อให้เห็นการตอบสนองของสมองต่อสิ่งเร้า จึงต้องทำการทดลองหลายรอบแล้วหาค่าเฉลี่ยของผลที่ได้ ซึ่งลบสัญญาณการทำงานของสมองที่เป็นไปโดยสุ่มออกไปได้ เหลือแต่รูปแบบคลื่นที่เป็นประเด็นคือ ERP

สัญญาณรบกวนที่เป็นค่าสุ่มรวมทั้งการทำงานของสมองพื้นหลังบวกกับสัญญาณทางชีวภาพอื่น ๆ (เช่น electrooculography, คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ) และสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าแม่เหล็ก (เช่น ในสายหลอดไฟเรืองแสง) ล้วนแต่ทำให้สัญญาณที่ต้องการคือ ERP ไม่ชัด จากมุมมองทางวิศวกรรม สามารถนิยามอัตราสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (SNR) ของ ERP ที่บันทึก เหตุผลที่การทำค่าเฉลี่ยเพิ่ม SNR ของ ERP คือทำให้ชัดขึ้นและตีความหมายได้ มีคำอธิบายง่าย ๆ ทางคณิตศาสตร์ถ้าสมมุติปัจจัยบางอย่างให้ง่าย ๆ ได้ ข้อสมมุติก็คือ

  1. สัญญาณที่สนใจเป็นชุด ERP ที่ล็อกอยู่กับเหตุการณ์ (event-locked) โดยมีเวลาการตอบสนอง (latency) และรูปคลื่นที่ไม่เปลี่ยน
  2. สัญญาณรบกวน (noise) สามารถประมาณได้ด้วยการแจกแจงปรกติที่มีค่าเฉลี่ยเป็น 0 มีค่าความแปรปรวน (variance) เป็น   ซึ่งไม่สัมพันธ์กับกันและกันระหว่างการทดลองและไม่ได้ล็อกเวลา (time-locked) กับเหตุการณ์ แต่ข้อสมมุตินี้ก็ละเมิดได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ร่วมการทดลองขยับลิ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อนับสิ่งที่เป็นเป้าหมายในการทดลอง

ถ้ากำหนดลำดับการทดลองเป็น   กำหนดเวลาที่ผ่านไปหลังเหตุการณ์  th เป็น   ค่าบันทึกของการทดลองแต่ละการทดลอง ๆ สามารถกำหนดเป็น   โดย   ก็คือสัญญาณ ERP ที่ต้องการและ   ก็คือสัญญาณรบกวน (noise) ให้สังเกตว่า ตามข้อสมมุติที่ว่ามาแล้ว สัญญาณไม่ได้ขึ้นกับการทดลองใดทดลองหนึ่ง แต่สัญญาณรบกวนจะขึ้น

ค่าเฉลี่ยของการทดลอง   ครั้งก็คือ

 

ค่าคาดหมายของ   (ตามที่หวัง) ก็คือสัญญาณ ERP เองซึ่งก็คือ  

ความแปรปรวน (variance) ของมันก็คือ

 

เพราะเหตุนี้ แอมพลิจูดสัญญาณรบกวนของค่าเฉลี่ยการทดลอง   ครั้งจึงคาดหมายว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่ามัชฌิม (mean) ซึ่งก็คือ   โดยน้อยกว่าหรือเท่ากับ   ในกรณี 68% คือโดยเฉพาะ ค่าเบี่ยงเบนในกรณี 68% จะเป็น   ของค่าเบี่ยงเบนที่ได้ในการทดลองเดี่ยว ๆ (คือ  ) โดยค่าเบี่ยงเบนที่ใหญ่กว่าคือ   จึงคาดได้ว่าจะครอบคลุม 95% ของแอมพลิจูดสัญญาณรวบกวนที่เป็นไปได้

สัญญาณรบกวนที่มีแอมพลิจูดกว้าง (เช่น สัญญาณเนื่องกับการกะพริบตาหรือการเคลื่อนไหว) บ่อยครั้งใหญ่กว่าสัญญาณ ERP ที่ต้องการมาก จึงต้องเอาออกก่อนทำการเฉลี่ย ซึ่งทำได้ด้วยมือ (คือใช้ตาตรวจ) หรือใช้ระบบอัตโนมัติที่อาศัยขีดแบ่งตายตัวที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (เช่น จำกัดแอมพลิจูดมากสุดหรือจำกัดความชัน) หรือขีดแบ่งที่เปลี่ยนไปตามเวลาที่ได้จากสถิติของชุดการทดลอง[แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง?]

การตั้งชื่อองค์ประกอบ

รูปคลื่น ERP ประกอบด้วยคลื่นศักย์ไฟฟ้าในทางบวกและทางลบ โดยมีชุด "องค์ประกอบ" (component) เป็นมูลฐาน แม้องค์ประกอบ ERP บางอย่างจะเรียกเป็นอักษรย่อ (เช่น CNV, ERN) โดยมากก็เรียกด้วยอักษรตัวเดียว (N/P) ซึ่งระบุขั้ว (ลบ/บวก) ตามด้วยตัวเลขซึ่งระบุเวลาที่ล่วงไปหลังการแสดงตัวกระตุ้น (latency) มีหน่วยเป็นมิลลิวินาที หรือตามด้วยตัวเลขระบุอันดับในรูปคลื่น ยกตัวอย่างเช่น ยอดในทางลบซึ่งเป็นยอดสำคัญแรกในรูปคลื่นและเกิดที่ 100 มิลลิวินาทีหลังจากแสดงตัวกระตุ้น บ่อยครั้งเรียกว่า N100 (ซึ่งระบุว่าเกิด 100 มิลลิวินาทีหลังตัวกระตุ้นและมีค่าลบ) หรือ N1 (ระบุว่ามันเป็นยอดแรกและมีค่าลบ) ยอดแรกนี้มักตามด้วยยอดบวกซึ่งปกติเรียกว่า P200 หรือ P2 เวลาหลังจากตัวกระตุ้นขององค์ประกอบ ERP มักจะต่าง ๆ กัน โดยเฉพาะองค์ประกอบหลัง ๆ ที่สัมพันธ์กับการแปลทางประชาน ยกตัวอย่างเช่น องค์ประกอบ P300 อาจมียอดในพิสัย 250-700 มิลลิวินาที

ข้อดีข้อเสีย

เทียบกับการวัดพฤติกรรม

เทียบกับวิธีการวัดทางพฤติกรรม ERP ให้ข้อมูลการแปลผลของระบบประสาทอย่างต่อเนื่องระหว่างเวลาที่แสดงสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ทำให้สามารถระบุได้ว่า การเปลี่ยนปัจจัยต่าง ๆ ทางการทดลองมีผลต่อการแปลผลระยะไหน ข้อดีอีกอย่างเหนือวิธีการวัดทางพฤติกรรมก็คือ อาจให้ข้อมูลการแปลผลตัวกระตุ้นแม้พฤติกรรมจะไม่ได้เปลี่ยนไป แต่เพราะ ERP มีขนาดเล็กมาก จึงต้องทำการทดลองเป็นจำนวนมากเพื่อให้วัดมันได้อย่างถูกต้อง

เทียบกับการวัดทางประสาทสรีรภาพอื่น ๆ

การต้องเจาะต้องผ่า

ไม่เหมือนกับการวัดด้วยไมโครอิเล็กโทรดซึ่งต้องสอดเข้าไปในสมอง และการถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน (PET) ที่ต้องฉายรังสี ERP ใช้การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองซึ่งเป็นหัตถการที่ไม่ต้องตัดต้องผ่า (non-invasive)

รายละเอียดเชิงพื้นที่และเวลา

ERP ให้รายละเอียดเชิงเวลาได้ดี เพราะความเร็วการบันทึกจำกัดด้วยอัตราการชักตัวอย่างที่อุปกรณ์บันทึกสามารถทำได้ เทียบกับการวัดอาศัยเลือด (เช่น fMRI, PET และ fNIRS) ที่จำกัดเพราะการเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนในเลือดเนื่องกับการทำงานของเซลล์ประสาทคือ Blood-oxygen-level dependent (BOLD) เป็นไปช้ากว่า ถึงกระนั้น รายละเอียดเชิงพื้นที่จะแย่กว่าวิธีการวัดอาศัยเลือด เพราะจริง ๆ แล้วการระบุต้นกำเนิดของสัญญาณ ERP เป็นการหาเหตุจากรายละเอียดที่สังเกตเห็น (inverse problem) ที่ทำไม่ได้อย่างแน่นอนเพียงแต่ประมาณได้ ดังนั้น ERP จึงให้คำตอบได้ดีถ้าเป็นคำถามเกี่ยวกับความเร็วของประสาท แต่ไม่ค่อยเหมาะเพื่อระบุตำแหน่งประสาทที่ทำงาน

ค่าใช้จ่าย

งานวิจัยที่ใช้ ERP มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่างานที่ต้องใช้การสร้างภาพวิธีอื่น ๆ เช่น fMRI, PET และ MEG เพราะการซื้อและการบำรุงรักษาเครื่อง EEG มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

ERP ในการตรวจรักษา

แพทย์และประสาทแพทย์บางครั้งจะใช้ภาพกระดานหมากรุกที่กะพริบเป็นตัวกระตุ้นทางตาเพื่อตรวจความเสียหายหรือการบาดเจ็บในระบบการเห็น ในคนปกติ นี้จะก่อการตอบสนองเป็นอย่างดีในเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิ (primary visual cortex หรือ V1) ในสมองกลีบท้ายทอย

ความผิดปกติขององค์ประกอบ ERP ได้พบในงานวิจัยทางการแพทย์เมื่อมีปัญหาทางประสาทเช่น

ERP ในงานวิจัย

ERP ใช้อย่างกว้างขวางในสาขาประสาทวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาปริชาน (cognitive psychology) ประชานศาสตร์ และจิตสรีรวิทยา (psychophysiology) นักจิตวิทยาเชิงทดลอง (experimental psychology) และนักประสาทวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสิ่งเร้าหลายอย่างที่ก่อการตอบสนองของ ERP ที่เชื่อถือได้จากผู้ร่วมการทดลอง เวลาการตอบสนองเช่นนี้เชื่อว่า เป็นค่าวัดระยะการสื่อสารหรือระยะแปลผลในสมอง ในตัวอย่างกระดานหมากรุกที่กล่าวด้านบนในบุคคลปกติ การตอบสนองของเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิอยู่ที่ราว ๆ 50-70 มิลลิวินาที นี่ดูเหมือนจะบ่งเวลาที่ใช้เพื่อถ่ายโอนตัวกระตุ้นทางตาคือแสงที่เข้ามาในตาให้เป็นกระแสประสาทแล้วส่งไปถึงเปลือกสมอง

อีกอย่างหนึ่ง การตอบสนองที่เรียกว่า P300 จะเกิดราว ๆ 300 วินาทีในการทดลองที่ให้ตัวกระตุ้นซ้ำ ๆ โดยขัดไม่ค่อยบ่อยด้วยตัวกระตุ้นที่ผิดไป (ซึ่งเรียกว่า oddball paradigm) ไม่ว่าตัวกระตุ้นจะเป็นทางไหน เช่น ทางตา ทางสัมผัส ทางหู ทางจมูก ทางการรู้รส เป็นต้น เพราะนี่เป็นความไม่แปรเปลี่ยนโดยทั่วไปไม่ว่าจะมีตัวกระตุ้นเช่นไร จึงเข้าใจว่า องค์ประกอบ P300 สะท้อนการตอบสนองทางประชานในระดับการแปลผลที่สูงขึ้นต่อตัวกระตุ้นที่ไม่คาดหวังหรือที่เด่น (salient) การตอบสนอง P300 ยังได้ศึกษาในเรื่องการตรวจหาข้อมูลและความจำในสมอง เพราะ P300 คงเส้นคงวามากต่อตัวกระตุ้นใหม่ ๆ จึงสามารถสร้างตัวต่อประสานระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์อาศัยมันได้ เช่น เมื่อบุคคลมองที่ตัวอักษรที่ต้องการเป็นลำดับต่อ ๆ กันในเมทริกซ์ แล้วจัดให้แถวและสดมภ์ของเมทริกซ์กะพริบโดยสุ่ม การตอบสนองแบบ P300 จะเกิดเมื่อแถวหรือสดมภ์ซึ่งมีอักษรที่กำลังมองกะพริบ ซึ่งในที่สุดทำให้คอมพิวเตอร์ระบุอักษรที่ต้องการได้

องค์ประกอบ ERP อื่น ๆ ที่ใช้บ่อย ๆ ในงานวิจัยโดยเฉพาะในสาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยารวมทั้ง ELAN, N400 และ P600/SPS

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Luck, Steven J. (2005). An Introduction to the Event-Related Potential Technique. The MIT Press. ISBN 978-0-262-12277-1.
  2. Brown, Colin M; Peter Hagoort (1999). "The cognitive neuroscience of language". ใน Brown, Colin M; Hagoort, Peter (บ.ก.). The Neurocognition of Language. New York: Oxford University Press. p. 6.CS1 maint: multiple names: editors list (link)
  3. Walter, W. Grey; Cooper, R.; Aldridge, V. J.; McCallum, W. C.; Winter, A. L. (July 1964). "Contingent Negative Variation: An Electric Sign of Sensori-Motor Association and Expectancy in the Human Brain". Nature. 203 (4943): 380–384. Bibcode:1964Natur.203..380W. doi:10.1038/203380a0. PMID 14197376.
  4. Sutton, S.; Braren, M.; Zubin, J.; John, E. R. (1965-11-26). "Evoked-Potential Correlates of Stimulus Uncertainty". Science. 150 (3700): 1187–1188. Bibcode:1965Sci...150.1187S. doi:10.1126/science.150.3700.1187. PMID 5852977.
  5. Handy, T. C. (2005). Event Related Potentials: A Methods Handbook. Cambridge, Massachusetts: Bradford/MIT Press.CS1 maint: uses authors parameter (link) แม่แบบ:Pn
  6. Coles, M. G. H.; Rugg, M. D. (1995). "Event-related brain potentials: An introduction". ใน Rugg, M. D.; Coles, M. G. H. (บ.ก.). Electrophysiology of mind: Event-related brain potentials and cognition. Oxford psychology series, No. 25. New York: Oxford University Press. pp. 1–26.
  7. "ERP_REJECT, rejection of outlier trials from ERP studies". Matlab File Exchange. สืบค้นเมื่อ 2011-12-30.
  8. Luck, S.J.; Kappenman, E.S., บ.ก. (2012). The Oxford Handbook of Event-Related Potential Components. Oxford University Press. p. 664. ISBN 9780195374148.
  9. For discussion of ERP component naming conventions see Luck, Steven (2005), An Introduction to the Event-Related Potential Technique, MIT Press, pp. 10-11.
  10. Haider, Ali; Fazel-Rezai, Reza (2017). "Application of P300 Event-Related Potential in Brain-Computer Interface". Event-Related Potentials and Evoked Potentials. doi:10.5772/intechopen.69309. ISBN 978-953-51-3639-2.
  11. Luck, Steven (2005). "Comparison with Behavioral Measures". An Introduction to the Event-Related Potential Technique. MIT Press. pp. 21–23.
  12. Johnstone, Stuart J.; Barry, Robert J.; Clarke, Adam R. (April 2013). "Ten years on: A follow-up review of ERP research in attention-deficit/hyperactivity disorder". Clinical Neurophysiology. 124 (4): 644–657. doi:10.1016/j.clinph.2012.09.006.
  13. Barry, Robert J; Johnstone, Stuart J; Clarke, Adam R (February 2003). "A review of electrophysiology in attention-deficit/hyperactivity disorder: II. Event-related potentials". Clinical Neurophysiology. 114 (2): 184–198. doi:10.1016/S1388-2457(02)00363-2.
  14. Boutros, Nashaat; Torello, Michael W.; Burns, Elizabeth M.; Wu, Shu-Shieh; Nasrallah, Henry A. (June 1995). "Evoked potentials in subjects at risk for Alzheimer's Disease". Psychiatry Research. 57 (1): 57–63. doi:10.1016/0165-1781(95)02597-P.
  15. S, Prabhakar; Syal, P; Srivastava, T (2000-07-01). "P300 in newly diagnosed non-dementing Parkinson's disease : effect of dopaminergic drugs". Neurology India. 48 (3): 239–42. PMID 11025627.
  16. Boose, Martha A.; Cranford, Jerry L. (1996). "Auditory Event-Related Potentials in Multiple Sclerosis". Otology & Neurotology. 17 (1): 165–70. PMID 8694124.
  17. Duncan, Connie C.; Kosmidis, Mary H.; Mirsky, Allan F. (2008-06-28). "Event-related potential assessment of information processing after closed head injury". Psychophysiology. 40 (1): 45–59. doi:10.1111/1469-8986.00006. PMID 12751803.
  18. D'Arcy, Ryan C.N; Marchand, Yannick; Eskes, Gail A; Harrison, Edmund R; Phillips, Stephen J; Major, Alma; Connolly, John F (April 2003). "Electrophysiological assessment of language function following stroke". Clinical Neurophysiology. 114 (4): 662–672. doi:10.1016/S1388-2457(03)00007-5.
  19. Hanna, Gregory L.; Carrasco, Melisa; Harbin, Shannon M.; Nienhuis, Jenna K.; LaRosa, Christina E.; Chen, Poyu; Fitzgerald, Kate D.; Gehring, William J. (September 2012). "Error-Related Negativity and Tic History in Pediatric Obsessive-Compulsive Disorder". Journal of the American Academy of Child & Adolescent Psychiatry. 51 (9): 902–910. doi:10.1016/j.jaac.2012.06.019. PMC 3427894. PMID 22917203.
  20. McCormick, Brian (2006). "Your Thoughts May Deceive You: The Constitutional Implications of Brain Fingerprinting Technology and How It May Be Used to Secure Our Skies". Law & Psychology Review. 30: 171–84.
  21. Farwell, L.A.; Donchin, E. (December 1988). "Talking off the top of your head: toward a mental prosthesis utilizing event-related brain potentials". Electroencephalography and Clinical Neurophysiology. 70 (6): 510–23. doi:10.1016/0013-4694(88)90149-6. PMID 2461285.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Steven J. Luck: An Introduction to the Event-Related Potential Technique, Second edition. Cambridge, Massachusetts: The MIT Press, 2014. ISBN 9780262525855.
  • Todd C. Handy: Event-Related Potentials : A Methods Handbook. Cambridge, Massachusetts: The MIT Press (B&T), 2004.
  • Luck, S.J., and Kappenman, E.S., ed. (2012). The Oxford Handbook of Event-Related Potential Components. Oxford University Press. pp. 664. ISBN 9780195374148.
  • Fabiani, Monica; Gratton, Gabriele; Federmeier, Kara D. (2007). "Event-Related Brain Potentials: Methods, Theory, and Applications". ใน Cacioppo, John T.; Tassinary, Louis G.; Berntson, Gary G. (บ.ก.). Handbook of Psychophysiology (3rd ed.). Cambridge: Cambridge University. pp. 85–119. ISBN 978-0-521-84471-0.
  • Polich, John; Corey-Bloom, Jody (2005-12-01). "Alzheimers Disease and P300: Review and Evaluation of Task and Modality". Current Alzheimer Research. 2 (5): 515–25. doi:10.2174/156720505774932214. PMID 16375655.
  • Zani A. & Proverbio A.M. (2003) Cognitive Electrophysiology of Mind and Brain. Academic Press/Elsvier.
  • Kropotov J. (2009)" Quantitative EEG, Event-Related Potentials and Neurotherapy" Academic Press/Elsvier.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • [1] - ERP Summer School 2017 was held in The School of Psychology, Bangor University from 25-30 June 2017
  • EEGLAB Toolbox - A freely available, open-source, Matlab toolbox for processing and analyzing EEG data
  • ERPLAB Toolbox - A freely available, open-source, Matlab toolbox for processing and analyzing ERP data
  • The ERP Boot Camp - A series of training workshops for ERP researchers led by Steve Luck and Emily Kappenman
  • Virtual ERP Boot Camp - A blog with information, announcements, and tips about ERP methodology

event, related, potential, บทความน, อเป, นภาษาอ, งกฤษ, เน, องจากย, งไม, อภาษาไทยท, กระช, เหมาะสม, ไม, ปรากฏคำอ, านท, แน, หร, อไม, ปรากฏคำแปลท, ใช, ในทางว, ชาการบทความน, างอ, งคร, สต, กราช, คร, สต, ทศวรรษ, คร, สต, ศตวรรษ, งเป, นสาระสำค, ญของเน, อหา, อม, ลเพ, มเ. bthkhwamnimichuxepnphasaxngkvs enuxngcakyngimmichuxphasaithythikrachb ehmaasm impraktkhaxanthiaenchd hruximpraktkhaaeplthiichinthangwichakarbthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha khxmulephimetim Evoked potential event related potential twyx ERP hrux skyiffasmxngsmphnthkbehtukarn epnkhakartxbsnxngkhxngsmxng epnphlodytrngtxehtukarnthangkarrbrukhwamrusuk thangprachan hruxthangrabbsngkar 1 odyrupny mnepnkartxbsnxngthangsrirwithyaiffaaebbepnphimphediywkn stereotyped txtwkratun withinichwyihsamarthpraeminkarthangankhxngsmxngodyimtxngphatxngecaasrirarangkayrupkhlunaesdngxngkhprakxbkhxng ERP hlayxyang rwmthng N100 khunpaywa N1 aela P300 khunpaywa P3 ihsngektwa ERP wadihskylbxyudanbn niepnkhxptibtithisamyaemcaimsaklinnganwicyekiywkb ERP ERP samarthwdodykarbnthukkhluniffasmxng EEG swnkarwdsyyanthiesmxkb ERP khux event related field ERF sungthadwykarbnthuksnamaemehlkinsmxng magnetoencephalography twyx MEG 2 evoked potential aela induced potential epnrupaebbyxykhxng ERP enuxha 1 prawti 2 karkhanwn 3 kartngchuxxngkhprakxb 4 khxdikhxesiy 4 1 ethiybkbkarwdphvtikrrm 4 2 ethiybkbkarwdthangprasathsrirphaphxun 4 2 1 kartxngecaatxngpha 4 2 2 raylaexiydechingphunthiaelaewla 4 3 khaichcay 5 ERP inkartrwcrksa 6 ERP innganwicy 7 duephim 8 xangxing 9 aehlngkhxmulxun 10 aehlngkhxmulxunprawti aekikhinpi 1924 citaephthychaweyxrmn nph hans ebxrekxr aesdngwa samarthbnthukkarthanganthangiffakhxngsmxngmnusyodytidxielkothrdthihnngsirsaaelwkhyaysyyan epnwithithieriykwa karbnthukkhluniffasmxng electroencephalogram twyx EEG khuxkhwamepliynaeplngthangskyiffasamarthaesdngepnkraftamewla hmxihkhxsngektwa skyiffaidrbxiththiphlphaynxkechnkarkratunprasathsmphs EEG inthswrrstx cungichbnthukkhluniffakhxngsmxng aetkarbnthukkhlunsmxngthismphnthkbkrabwnkarthangprasathodyechphaa sungepnpraednkhxngkarsuksathangprasathwithyasastrprachan cognitive neuroscience kyngepneruxngyak ephraakhxmul EEG xyangediywimsamarthaeykaeyakrabwnkarthangprasathodyechphaa ERP cungepnwithithidikwaephuxdungkhxmulthangkhwamrusuk thangprachan aelathangrabbprasathsngkarodyechphaa dwyethkhnikhkarechliythithangay inrahwangpi 1935 1936 khunksrirwithyachawxemrikn Hallowell Davis aelaphrryakhux Pauline Davis epnphwkaerkthiidbnthuk ERP inmnusythitunxyuaelwtiphimphphlnganinpi 1939 aetephraasngkhramolkkhrngthisxng cungimminganthdlxngtxcaknninchwngkhristthswrrs 1940 aetnganwicyekiywkbkarrbrukhwamrusukkklbephimkhunxikinchwngkhristthswrrs 1950 inpi 1964 nkprasathsrirwithyachawxngkvsekry wxletxr aelaphurwmnganiderimngansuksathiaesdngxngkhprakxb component khxng ERP emuxraynganxngkhprakxb ERP thangprachanepnxyangaerk thieriykwa contingent negative variation CNV 3 ngansuksainpi 1965 srangkhwamkawhnaemuxkhnphbxngkhprakxb P3 thiekidemuxtdsinic 4 txmaxik 15 pi nganwicyekiywkbxngkhprakxb ERP kepneruxngniymephimkhuneruxy inkhristthswrrs 1980 karmikhxmphiwetxrthirakhaimaephng kidepidpratuihmihaeknganwicythangprasathwithyasastrprichanpccubn ERP epnwithithiichmakthisudinsakhaprasathwithyasastrprichanephuxsuksashsmphnththangsrirwithya physiological correlate khxngkarrbkhwamrusuk karrbru aelaprichan kbkaraeplphlkhxmul 5 karkhanwn aekikhERP samarthwdxyangnaechuxthuxiddwykarbnthukkhluniffasmxng EEG sungichxielkothrdtidhnngsirsabnthukkhlunsmxngtamewla khlun EEG sathxnkarthangankhxngkrabwnkarinsmxngepnphn thiekidphrxmkn sungkhmaykhwamwa kartxbsnxngkhxngsmxngtxtwkratunediyw hruxehtukarnthiepnepahmaypkticamxngimehninkha EEG thibnthukkhrawediyw dngnn ephuxihehnkartxbsnxngkhxngsmxngtxsingera cungtxngthakarthdlxnghlayrxbaelwhakhaechliykhxngphlthiid sunglbsyyankarthangankhxngsmxngthiepnipodysumxxkipid ehluxaetrupaebbkhlunthiepnpraednkhux ERP 6 syyanrbkwnthiepnkhasumrwmthngkarthangankhxngsmxngphunhlngbwkkbsyyanthangchiwphaphxun echn electrooculography khluniffaklamenux khluniffahwic aelasyyanrbkwnthangiffaaemehlk echn insayhlxdiferuxngaesng lwnaetthaihsyyanthitxngkarkhux ERP imchd cakmummxngthangwiswkrrm samarthniyamxtrasyyantxsyyanrbkwn SNR khxng ERP thibnthuk ehtuphlthikarthakhaechliyephim SNR khxng ERP khuxthaihchdkhunaelatikhwamhmayid mikhaxthibayngay thangkhnitsastrthasmmutipccybangxyangihngay id khxsmmutikkhux syyanthisnicepnchud ERP thilxkxyukbehtukarn event locked odymiewlakartxbsnxng latency aelarupkhlunthiimepliyn syyanrbkwn noise samarthpramaniddwykaraeckaecngprktithimikhaechliyepn 0 mikhakhwamaeprprwn variance epn s 2 displaystyle sigma 2 sungimsmphnthkbknaelaknrahwangkarthdlxngaelaimidlxkewla time locked kbehtukarn aetkhxsmmutiniklaemididngay yktwxyangechn thaphurwmkarthdlxngkhyblinelk nxy emuxnbsingthiepnepahmayinkarthdlxngthakahndladbkarthdlxngepn k displaystyle k kahndewlathiphaniphlngehtukarn k displaystyle k th epn t displaystyle t khabnthukkhxngkarthdlxngaetlakarthdlxng samarthkahndepn x t k s t n t k displaystyle x t k s t n t k ody s t displaystyle s t kkhuxsyyan ERP thitxngkaraela n t k displaystyle n t k kkhuxsyyanrbkwn noise ihsngektwa tamkhxsmmutithiwamaaelw syyanimidkhunkbkarthdlxngidthdlxnghnung aetsyyanrbkwncakhunkhaechliykhxngkarthdlxng N displaystyle N khrngkkhux x t 1 N k 1 N x t k s t 1 N k 1 N n t k displaystyle bar x t frac 1 N sum k 1 N x t k s t frac 1 N sum k 1 N n t k khakhadhmaykhxng x t displaystyle bar x t tamthihwng kkhuxsyyan ERP exngsungkkhux E x t s t displaystyle operatorname E bar x t s t khwamaeprprwn variance khxngmnkkhux Var x t E x t E x t 2 1 N 2 E k 1 N n t k 2 1 N 2 k 1 N E n t k 2 s 2 N displaystyle operatorname Var bar x t operatorname E left left bar x t operatorname E bar x t right 2 right frac 1 N 2 operatorname E left left sum k 1 N n t k right 2 right frac 1 N 2 sum k 1 N operatorname E left n t k 2 right frac sigma 2 N ephraaehtuni aexmphlicudsyyanrbkwnkhxngkhaechliykarthdlxng N displaystyle N khrngcungkhadhmaywacaebiyngebnipcakkhamchchim mean sungkkhux s t displaystyle s t odynxykwahruxethakb s N displaystyle sigma sqrt N inkrni 68 khuxodyechphaa khaebiyngebninkrni 68 caepn 1 N displaystyle 1 sqrt N khxngkhaebiyngebnthiidinkarthdlxngediyw khux s N displaystyle sigma sqrt N odykhaebiyngebnthiihykwakhux 2 s N displaystyle 2 sigma sqrt N cungkhadidwacakhrxbkhlum 95 khxngaexmphlicudsyyanrwbkwnthiepnipidsyyanrbkwnthimiaexmphlicudkwang echn syyanenuxngkbkarkaphribtahruxkarekhluxnihw bxykhrngihykwasyyan ERP thitxngkarmak cungtxngexaxxkkxnthakarechliy sungthaiddwymux khuxichtatrwc hruxichrabbxtonmtithixasykhidaebngtaytwthikahndiwlwnghna echn cakdaexmphlicudmaksudhruxcakdkhwamchn hruxkhidaebngthiepliyniptamewlathiidcaksthitikhxngchudkarthdlxng 7 aehlngkhxmulthitiphimphexng kartngchuxxngkhprakxb aekikhrupkhlun ERP prakxbdwykhlunskyiffainthangbwkaelathanglb odymichud xngkhprakxb component epnmulthan 8 aemxngkhprakxb ERP bangxyangcaeriykepnxksryx echn CNV ERN odymakkeriykdwyxksrtwediyw N P sungrabukhw lb bwk tamdwytwelkhsungrabuewlathilwngiphlngkaraesdngtwkratun latency mihnwyepnmilliwinathi hruxtamdwytwelkhrabuxndbinrupkhlun yktwxyangechn yxdinthanglbsungepnyxdsakhyaerkinrupkhlunaelaekidthi 100 milliwinathi hlngcakaesdngtwkratun bxykhrngeriykwa N100 sungrabuwaekid 100 milliwinathihlngtwkratunaelamikhalb hrux N1 rabuwamnepnyxdaerkaelamikhalb yxdaerknimktamdwyyxdbwksungpktieriykwa P200 hrux P2 ewlahlngcaktwkratunkhxngxngkhprakxb ERP mkcatang kn odyechphaaxngkhprakxbhlng thismphnthkbkaraeplthangprachan yktwxyangechn xngkhprakxb P300 xacmiyxdinphisy 250 700 milliwinathi 9 10 khxdikhxesiy aekikhethiybkbkarwdphvtikrrm aekikh ethiybkbwithikarwdthangphvtikrrm ERP ihkhxmulkaraeplphlkhxngrabbprasathxyangtxenuxngrahwangewlathiaesdngsingerakbkartxbsnxng thaihsamarthrabuidwa karepliynpccytang thangkarthdlxngmiphltxkaraeplphlrayaihn khxdixikxyangehnuxwithikarwdthangphvtikrrmkkhux xacihkhxmulkaraeplphltwkratunaemphvtikrrmcaimidepliynip aetephraa ERP mikhnadelkmak cungtxngthakarthdlxngepncanwnmakephuxihwdmnidxyangthuktxng 11 ethiybkbkarwdthangprasathsrirphaphxun aekikh kartxngecaatxngpha aekikh imehmuxnkbkarwddwyimokhrxielkothrdsungtxngsxdekhaipinsmxng aelakarthayphaphrngsiranabdwykarplxyophsitrxn PET thitxngchayrngsi ERP ichkarbnthukkhluniffasmxngsungepnhtthkarthiimtxngtdtxngpha non invasive raylaexiydechingphunthiaelaewla aekikh ERP ihraylaexiydechingewlaiddi ephraakhwamerwkarbnthukcakddwyxtrakarchktwxyangthixupkrnbnthuksamarththaid ethiybkbkarwdxasyeluxd echn fMRI PET aela fNIRS thicakdephraakarepliynaeplngkhxngxxksiecnineluxdenuxngkbkarthangankhxngesllprasathkhux Blood oxygen level dependent BOLD epnipchakwa thungkrann raylaexiydechingphunthicaaeykwawithikarwdxasyeluxd ephraacring aelwkarrabutnkaenidkhxngsyyan ERP epnkarhaehtucakraylaexiydthisngektehn inverse problem thithaimidxyangaennxnephiyngaetpramanid dngnn ERP cungihkhatxbiddithaepnkhathamekiywkbkhwamerwkhxngprasath aetimkhxyehmaaephuxrabutaaehnngprasaththithangan 1 khaichcay aekikh nganwicythiich ERP mikhaichcaynxykwanganthitxngichkarsrangphaphwithixun echn fMRI PET aela MEG ephraakarsuxaelakarbarungrksaekhruxng EEG mikhaichcaynxykwaERP inkartrwcrksa aekikhaephthyaelaprasathaephthybangkhrngcaichphaphkradanhmakrukthikaphribepntwkratunthangtaephuxtrwckhwamesiyhayhruxkarbadecbinrabbkarehn inkhnpkti nicakxkartxbsnxngepnxyangdiinepluxksmxngswnkarehnpthmphumi primary visual cortex hrux V1 insmxngklibthaythxykhwamphidpktikhxngxngkhprakxb ERP idphbinnganwicythangkaraephthyemuxmipyhathangprasathechnorkhsnsmathisn ADHD 12 13 phawasmxngesuxm dementia 14 orkhpharkhinsn 15 orkhplxkprasathesuxmaekhng MS 16 karbadecbthisirsa 17 orkhhlxdeluxdsmxng 18 orkhyakhidyatha OCD 19 ERP innganwicy aekikhERP ichxyangkwangkhwanginsakhaprasathwithyasastr citwithyaprichan cognitive psychology prachansastr aelacitsrirwithya psychophysiology nkcitwithyaechingthdlxng experimental psychology aelankprasathwithyasastridkhnphbsingerahlayxyangthikxkartxbsnxngkhxng ERP thiechuxthuxidcakphurwmkarthdlxng ewlakartxbsnxngechnniechuxwa epnkhawdrayakarsuxsarhruxrayaaeplphlinsmxng intwxyangkradanhmakrukthiklawdanbninbukhkhlpkti kartxbsnxngkhxngepluxksmxngswnkarehnpthmphumixyuthiraw 50 70 milliwinathi niduehmuxncabngewlathiichephuxthayoxntwkratunthangtakhuxaesngthiekhamaintaihepnkraaesprasathaelwsngipthungepluxksmxngxikxyanghnung kartxbsnxngthieriykwa P300 caekidraw 300 winathiinkarthdlxngthiihtwkratunsa odykhdimkhxybxydwytwkratunthiphidip sungeriykwa oddball paradigm imwatwkratuncaepnthangihn echn thangta thangsmphs thanghu thangcmuk thangkarrurs epntn ephraaniepnkhwamimaeprepliynodythwipimwacamitwkratunechnir cungekhaicwa xngkhprakxb P300 sathxnkartxbsnxngthangprachaninradbkaraeplphlthisungkhuntxtwkratunthiimkhadhwnghruxthiedn salient kartxbsnxng P300 yngidsuksaineruxngkartrwchakhxmulaelakhwamcainsmxng 20 ephraa P300 khngesnkhngwamaktxtwkratunihm cungsamarthsrangtwtxprasanrahwangsmxngkbkhxmphiwetxrxasymnid echn emuxbukhkhlmxngthitwxksrthitxngkarepnladbtx kninemthriks aelwcdihaethwaelasdmphkhxngemthrikskaphribodysum kartxbsnxngaebb P300 caekidemuxaethwhruxsdmphsungmixksrthikalngmxngkaphrib sunginthisudthaihkhxmphiwetxrrabuxksrthitxngkarid 21 xngkhprakxb ERP xun thiichbxy innganwicyodyechphaainsakhaphasasastrprasathwithyarwmthng ELAN N400 aela P600 SPSduephim aekikhEvoked potential Somatosensory evoked potentialxangxing aekikh 1 0 1 1 Luck Steven J 2005 An Introduction to the Event Related Potential Technique The MIT Press ISBN 978 0 262 12277 1 Brown Colin M Peter Hagoort 1999 The cognitive neuroscience of language in Brown Colin M Hagoort Peter b k The Neurocognition of Language New York Oxford University Press p 6 CS1 maint multiple names editors list link Walter W Grey Cooper R Aldridge V J McCallum W C Winter A L July 1964 Contingent Negative Variation An Electric Sign of Sensori Motor Association and Expectancy in the Human Brain Nature 203 4943 380 384 Bibcode 1964Natur 203 380W doi 10 1038 203380a0 PMID 14197376 Sutton S Braren M Zubin J John E R 1965 11 26 Evoked Potential Correlates of Stimulus Uncertainty Science 150 3700 1187 1188 Bibcode 1965Sci 150 1187S doi 10 1126 science 150 3700 1187 PMID 5852977 Handy T C 2005 Event Related Potentials A Methods Handbook Cambridge Massachusetts Bradford MIT Press CS1 maint uses authors parameter link aemaebb Pn Coles M G H Rugg M D 1995 Event related brain potentials An introduction in Rugg M D Coles M G H b k Electrophysiology of mind Event related brain potentials and cognition Oxford psychology series No 25 New York Oxford University Press pp 1 26 ERP REJECT rejection of outlier trials from ERP studies Matlab File Exchange subkhnemux 2011 12 30 Luck S J Kappenman E S b k 2012 The Oxford Handbook of Event Related Potential Components Oxford University Press p 664 ISBN 9780195374148 For discussion of ERP component naming conventions see Luck Steven 2005 An Introduction to the Event Related Potential Technique MIT Press pp 10 11 Haider Ali Fazel Rezai Reza 2017 Application of P300 Event Related Potential in Brain Computer Interface Event Related Potentials and Evoked Potentials doi 10 5772 intechopen 69309 ISBN 978 953 51 3639 2 Luck Steven 2005 Comparison with Behavioral Measures An Introduction to the Event Related Potential Technique MIT Press pp 21 23 Johnstone Stuart J Barry Robert J Clarke Adam R April 2013 Ten years on A follow up review of ERP research in attention deficit hyperactivity disorder Clinical Neurophysiology 124 4 644 657 doi 10 1016 j clinph 2012 09 006 Barry Robert J Johnstone Stuart J Clarke Adam R February 2003 A review of electrophysiology in attention deficit hyperactivity disorder II Event related potentials Clinical Neurophysiology 114 2 184 198 doi 10 1016 S1388 2457 02 00363 2 Boutros Nashaat Torello Michael W Burns Elizabeth M Wu Shu Shieh Nasrallah Henry A June 1995 Evoked potentials in subjects at risk for Alzheimer s Disease Psychiatry Research 57 1 57 63 doi 10 1016 0165 1781 95 02597 P S Prabhakar Syal P Srivastava T 2000 07 01 P300 in newly diagnosed non dementing Parkinson s disease effect of dopaminergic drugs Neurology India 48 3 239 42 PMID 11025627 Boose Martha A Cranford Jerry L 1996 Auditory Event Related Potentials in Multiple Sclerosis Otology amp Neurotology 17 1 165 70 PMID 8694124 Duncan Connie C Kosmidis Mary H Mirsky Allan F 2008 06 28 Event related potential assessment of information processing after closed head injury Psychophysiology 40 1 45 59 doi 10 1111 1469 8986 00006 PMID 12751803 D Arcy Ryan C N Marchand Yannick Eskes Gail A Harrison Edmund R Phillips Stephen J Major Alma Connolly John F April 2003 Electrophysiological assessment of language function following stroke Clinical Neurophysiology 114 4 662 672 doi 10 1016 S1388 2457 03 00007 5 Hanna Gregory L Carrasco Melisa Harbin Shannon M Nienhuis Jenna K LaRosa Christina E Chen Poyu Fitzgerald Kate D Gehring William J September 2012 Error Related Negativity and Tic History in Pediatric Obsessive Compulsive Disorder Journal of the American Academy of Child amp Adolescent Psychiatry 51 9 902 910 doi 10 1016 j jaac 2012 06 019 PMC 3427894 PMID 22917203 McCormick Brian 2006 Your Thoughts May Deceive You The Constitutional Implications of Brain Fingerprinting Technology and How It May Be Used to Secure Our Skies Law amp Psychology Review 30 171 84 Farwell L A Donchin E December 1988 Talking off the top of your head toward a mental prosthesis utilizing event related brain potentials Electroencephalography and Clinical Neurophysiology 70 6 510 23 doi 10 1016 0013 4694 88 90149 6 PMID 2461285 aehlngkhxmulxun aekikhSteven J Luck An Introduction to the Event Related Potential Technique Second edition Cambridge Massachusetts The MIT Press 2014 ISBN 9780262525855 Todd C Handy Event Related Potentials A Methods Handbook Cambridge Massachusetts The MIT Press B amp T 2004 Luck S J and Kappenman E S ed 2012 The Oxford Handbook of Event Related Potential Components Oxford University Press pp 664 ISBN 9780195374148 Fabiani Monica Gratton Gabriele Federmeier Kara D 2007 Event Related Brain Potentials Methods Theory and Applications in Cacioppo John T Tassinary Louis G Berntson Gary G b k Handbook of Psychophysiology 3rd ed Cambridge Cambridge University pp 85 119 ISBN 978 0 521 84471 0 Polich John Corey Bloom Jody 2005 12 01 Alzheimers Disease and P300 Review and Evaluation of Task and Modality Current Alzheimer Research 2 5 515 25 doi 10 2174 156720505774932214 PMID 16375655 Zani A amp Proverbio A M 2003 Cognitive Electrophysiology of Mind and Brain Academic Press Elsvier Kropotov J 2009 Quantitative EEG Event Related Potentials and Neurotherapy Academic Press Elsvier aehlngkhxmulxun aekikh 1 ERP Summer School 2017 was held in The School of Psychology Bangor University from 25 30 June 2017 EEGLAB Toolbox A freely available open source Matlab toolbox for processing and analyzing EEG data ERPLAB Toolbox A freely available open source Matlab toolbox for processing and analyzing ERP data The ERP Boot Camp A series of training workshops for ERP researchers led by Steve Luck and Emily Kappenman Virtual ERP Boot Camp A blog with information announcements and tips about ERP methodology ekhathungcak https th wikipedia org w index php title Event related potential amp oldid 8936427, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม