fbpx
วิกิพีเดีย

ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี

บทความนี้กล่าวถึงทีมชาย สำหรับทีมหญิง ดูที่ ฟุตบอลหญิงทีมชาติเยอรมนี

ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี (เยอรมัน: Deutsche Fußballnationalmannschaft) เป็นทีมฟุตบอลของประเทศเยอรมนีในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยคว้าตำแหน่งชนะเลิศฟุตบอลโลก 4 สมัย, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 3 สมัย และคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 1 สมัย และเหรียญทองกีฬาโอลิมปิก 1 สมัยในนามทีมเยอรมนีตะวันออก และยังเป็นชาติเดียวในโลกที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลกทั้งในประเภททีมชายและทีมหญิง

เยอรมนี
ฉายาNationalelf (ชาติที่สิบเอ็ด)
DFB-Elf (เดเอ็ฟเบ สิบเอ็ด)
Die Mannschaft (ทีม)
อินทรีเหล็ก (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมสมาคมฟุตบอลเยอรมัน
(Deutscher Fußball-Bund; DFB; เดเอ็ฟเบ)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ทวีปยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนฮันส์-ดีเทอร์ ฟลิค
กัปตันมานูเอ็ล น็อยเออร์
ติดทีมชาติสูงสุดโลทาร์ มัทเทอุส (150)
ทำประตูสูงสุดมีโรสลัฟ โคลเซอ (71)
รหัสฟีฟ่าGER
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 16 4 (12 สิงหาคม 2021)
อันดับสูงสุด1 (มิถุนายน ค.ศ. 1994)
อันดับต่ำสุด22 (มีนาคม ค.ศ. 2006)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
สวิตเซอร์แลนด์ 5 - 3 เยอรมนี
(บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์; 5 เมษายน ค.ศ. 1908)
ชนะสูงสุด
เยอรมนี 16 - 0 จักรวรรดิรัสเซีย
(สต็อกโฮล์ม สวีเดน; 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1912)
แพ้สูงสุด
สมัครเล่นอังกฤษ 9 - 0 เยอรมนี
(ออกซฟอร์ด อังกฤษ; 16 มีนาคม ค.ศ. 1909)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม16 (ครั้งแรกใน 1934)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ 1954, 1974, 1990, 2014
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม9 (ครั้งแรกใน 1972)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ 1972, 1980, 1996
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 1999)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ 2017

ทีมชาติเยอรมนีอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมฟุตบอลเยอรมัน (ก่อตั้งใน ค.ศ. 1900) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) และสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) และภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ฟีฟ่าได้ให้การรับรองทีมเยอรมนีตะวันตก (สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี), ทีมซาร์ลันด์ (ค.ศ. 1950–1956) และทีมเยอรมนีตะวันออก (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี) ในการแข่งขันระดับทางการ โดยเยอรมนีตะวันตกสามารถชนะเลิศฟุตบอลโลกได้สามสมัยและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอีกสองสมัย ต่อมาทั้งสองทีมได้ยุบรวมกันภายหลังการรวมประเทศเยอรมนีใน ค.ศ. 1990 และพวกเขาสามารถชนะเลิศฟุตบอลโลกและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปเพิ่มได้อีกรายการละหนึ่งสมัยใน ค.ศ. 2014 และ 1996 ตามลำดับ และยังเป็นทีมจากยุโรปเพียงชาติเดียวที่ชนะเลิศฟุตบอลโลกที่ทวีปอเมริกา

เยอรมนีเป็นหนึ่งในชาติที่เป็นต้นกำเนิดของนักฟุตบอลระดับโลกมาหลายยุคสมัย ปัจจุบันทีมชาติเยอรมนีมีผู้ฝึกสอนคือ ฮันส์-ดีเทอร์ ฟลิค ซึ่งเข้ารับตำแหน่งต่อจาก โยอาคิม เลิฟ ใน ค.ศ. 2021

ประวัติ

ยุคแรกของการก่อตั้ง (ค.ศ. 1899–1942)

 
ภาพถ่ายของทีมฟุตบอลเยอรมนีในปี 1908

เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1897 เยอรมนีจัดการแข่งขันครั้งฟุตบอลนัดแรกขึ้นในเมืองฮัมบวร์ค ผลปรากฏว่าทีมเดนมาร์กเอาชนะทีมสมาคมฮัมบวร์ค-อัลโทนาไปได้ 5–0

ในช่วงระหว่างปี 1899 ถึง 1901 ก่อนมีการก่อตั้งทีมชาติอย่างเป็นทางการ มีการแข่งขันนานาชาติอย่างไม่เป็นทางการอีก 5 นัดระหว่างทีมคัดเลือกจากเยอรมนีและอังกฤษซึ่งเยอรมนีแพ้ไปอย่างยับเยินทุกนัด ต่อมาอีก 8 ปี ภายหลังการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลเยอรมัน (DFB) ใน ค.ศ. 1900 มีการแข่งขันนัดแรกอย่างเป็นทางการของเยอรมนีเมื่อวันที่ 5 เมษายน 1908 โดยเป็นการพบกับทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ที่เมืองบาเซิล โดยเยอรมนีแพ้ไป 3–5 ยูลีอุส เฮิร์สช์ เป็นผู้เล่นชาวยิวคนแรกที่เป็นตัวแทนทีมชาติเยอรมนีหลังเข้าร่วมทีมในปี 1911 และยิง 4 ประตูในนัดที่พบกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์ในปี 1912 เขากลายเป็นผู้เล่นเยอรมนีคนแรกที่ยิงได้ถึง 4 ประตูในนัดเดียว

กอทท์ฟรีด ฟุช สร้างสถิติทำ 10 ประตูในนัดที่เยอรมนีชนะทีมจักรวรรดิรัสเซีย 16–0 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 1912 ที่ประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นสถิติมาอย่างยาวนานจนถึงปี 2001 ก่อนจะถูกทำลายโดยผู้เล่นชาวออสเตรเลีย อาร์ชี ทอมป์สัน ซึ่งทำคนเดียว 13 ประตูในนัดที่ทีมชาติออสเตรเลียชนะหมู่เกาะซามัวไปได้ถึง 31–0 แต่ฟุชยังเป็นเจ้าของสถิติทำประตูมากที่สุดในนัดเดียวของเยอรมนีจนถึงปัจจุบัน

 
กอทท์ฟรีด ฟุช ผู้ยิง 10 ประตูในนัดเดียวซึ่งเป็นสถิติตลอดกาลของทีมชาติเยอรมนี

ในยุคแรก นักเตะทีมชาติทุกคนถูกคัดเลือกโดยตรงจากสมาคมฟุตบอลเยอรมนีเนื่องจากยังไม่มีผู้ฝึกสอนที่เหมาะสม ผู้จัดการทีมคนแรกของทีมชาติเยอรมนีคือ อ็อตโต เนิร์ซ (Otto Nerz) ครูจากโรงเรียนมันไฮม์และอดีตนายทหารเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 1926–1936 รัฐบาลเยอรมนีไม่มีงบประมาณให้ทีมชาติเดินทางไปร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก ณ ประเทศอุรุกวัย ในปี 1930 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ อย่างไรก็ตาม เยอรมนีเข้าร่วมฟุตบอลโลกครั้งแรกของพวกเขาในปี 1934 และจบการแข่งขันในอันดับ 3 หลังจากนั้น ทีมมีผลงานที่ย่ำแย่ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 ที่กรุงเบอร์ลิน ทำให้ เซ็พพ์ แฮร์แบร์เกอร์ เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมโดยมีผลงานที่เป็นที่จดจำคือการรวบรวมผู้เล่น 11 ตัวจริงที่มีผลงานโดดเด่นจนได้รับฉายากจากสื่อในประเทศว่า Breslau Elf (Breslau Eleven) ซึ่งมีผลงานสำคัญคือการเอาชนะทีมชาติเดนมาร์ก 8–0

ปาฏิหาริย์แห่งเบิร์นและแชมป์โลกสมัยแรก (ค.ศ. 1954)

ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองมีรัฐที่เกิดขึ้นใหม่ คือ เยอรมนีตะวันตก ซาร์ลันด์ และเยอรมนีตะวันออก โดยเยอรมนีถูกฟีฟ่าห้ามลงแข่งขันจนถึงปี 1950

 
ฟริตซ์ วอลเตอร์ (ซ้ายมือ) กัปตันทีมชาติเยอรมนีตะวันตกในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1954 ซึ่งพวกเขาคว้าแชมป์โลกได้เป็นสมัยแรก

เยอรมนีตะวันตกนำโดย ฟริตซ์ วอลเตอร์ (Fritz Walter) เป็นกัปตันทีมในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1954 ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งพบกับทีมเต็งอย่างทีมชาติฮังการีในรอบแบ่งกลุ่ม ก่อนจะแพ้ไป 3–8 ก่อนที่ทั้งสองทีมจะมาพบกันอีกครั้งในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งเยอรมนีถูกมองว่าเป็นรองเนื่องจากก่อนหน้านั้นทีมชาติฮังการีมีสถิติไม่แพ้ใครติดต่อกันทุกรายการรวม 32 นัด แต่เยอรมนีตะวันตกสามารถเอาชนะไปได้ 3–2 อย่างเหนือความคาดหมาย โดยเฮลมุท ราห์น (Helmut Rahn) เป็นผู้ทำประตูชัยในช่วงท้ายเกม ส่งผลให้เยอรมนีคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกได้เป็นสมัยแรกในนามเยอรมนีตะวันตก และความสำเร็จในครั้งนั้นได้รับการยกย่องว่าเป็น "ปาฏิหาริย์แห่งเบิร์น" (Das Wunder von Bern)

การแข่งขันครั้งประวัติศาสตร์ (ค.ศ. 1958–1970)

ภายหลังจากเยอรมนีตะวันตกทำได้เพียงคว้าอันดับที่ 4 ในฟุตบอลโลก 1958 และตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก 1962 สมาคมจึงมีการเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มมีการจ้างทีมงานอาชีพและคัดทีมจากลีกท้องถิ่นเข้าสู่บุนเดิสลีกาที่เปิดใหม่ (ในปี 1963) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ทีมชาติ

 
แกร์ท มึลเลอร์ เจ้าของสถิติผู้ทำ 14 ประตูในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 2 สมัย

ในฟุตบอลโลก 1966 เยอรมนีตะวันตกสามารถผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศได้โดยเอาชนะโซเวียตได้ในรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะเข้าไปพบกับทีมชาติอังกฤษเจ้าภาพในช่วงต่อเวลาพิเศษ และประตูแรกของเจฟฟ์ เฮิร์สท์ ถือเป็นหนึ่งในประตูที่มีการโต้เถียงกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลโลก โดยผู้กำกับเส้นส่งสัญญาณว่าลูกฟุตบอลได้ข้ามเส้นไปแล้วหลังจากกระเด้งลงมาจากคานประตู แต่เมื่อดูภาพรีเพลย์ซ้ำอีกครั้งดูเหมือนลูกบอลยังไม่ข้ามเส้นไปทั้งใบ จากนั้นเฮิร์สต์ก็ยิงประตูเพิ่มให้อังกฤษเอาชนะไป 4–2

ในฟุตบอลโลก 1970 เยอรมนีตะวันตกเอาชนะอังกฤษคืนได้ 3–2 ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย แต่ไปแพ้ทีมชาติอิตาลี 3–4 ในช่วงต่อเวลาพิเศษรอบรองชนะเลิศ ซึ่งมีการทำประตูกันมากถึง 5 ประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษ และจัดเป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่น่าตื่นเต้นที่สุดนัดหนึ่งรวมทั้งได้รับขนานนามว่าเป็น "เกมแห่งศตวรรษ" เยอรมนีตะวันตกจบการแข่งขันด้วยการคว้าอันดับที่ 3 และผู้ทำประตูสูงสุดในรายการได้แก่ แกร์ท มึลเลอร์ จำนวน 10 ประตู

แชมป์ยุโรปสมัยแรกและแชมป์โลกสมัยที่สอง

ในปี 1971 ฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ เป็นกัปตันทีมชาติเยอรมนีตะวันตกและพาทีมชนะเลิศการแข่งขันชิงแชมป์ยุโรปปี 1972 โดยเอาชนะสหภาพโซเวียต 3–0 ในรอบชิงชนะเลิศคว้าแชมป์ฟุตบอลยูโรได้เป็นสมัยแรก

 
การแข่งขันฟุตบอลโลกปี 1974 รอบชิงชนะเลิศระหว่างเยอรมนีตะวันตกและเนเธอร์แลนด์ ณ เมืองมิวนิก

ต่อมาพวกเขาเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 1974 และสามารถคว้าแชมป์ได้เป็นสมัยที่สอง หลังจากที่ชนะทีมชาติเนเธอร์แลนด์ 2–1 ในรอบชิงชนะเลิศที่เมืองมิวนิก ในรายการนี้เยอรมนีได้ส่งทีมเข้าแข่งขัน 2 ทีมได้แก่ เยอรมนีตะวันออก และเยอรมนีตะวันตก ซึ่งทั้งสองทีมพบกันในรอบแบ่งกลุ่มและเยอรมนีตะวันออกเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 1–0 ก่อนที่เยอรมนีตะวันตกจะสามารถผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศและคว้าแชมป์ไปได้

ล้มเหลวในการป้องกันแชมป์สองรายการใหญ่ (ค.ศ. 1976–1980)

เยอรมนีตะวันตกไม่สามารถป้องกันแชมป์ได้ในการแข่งขันสองรายการต่อมา โดยแพ้เชโกสโลวาเกีย 3-5 ในการดวลจุดโทษนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลยูโร 1976 และนับตั้งแต่นั้น เยอรมนีไม่แพ้การดวลจุดโทษให้กับทีมใดอีกเลยในการแข่งขันรายการใหญ่

ในฟุตบอลโลก 1978 เยอรมนีตะวันตกตกรอบแบ่งกลุ่มหลังแพ้ทีมชาติออสเตรีย 2–3 และจุปป์ เดอร์วอลล์ (Jupp Derwall) เข้ามารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนหลังจบรายการ

เดอร์วอลล์พาทีมประสบความสำเร็จในการกลับมาชนะเลิศฟุตบอลยูโร 1980 เป็นสมัยที่สอง ซึ่งเยอรมนีตะวันตกเอาชนะทีมชาติเบลเยียมไปได้ 2–1 ในนัดชิงชนะเลิศ ต่อมา เยอรมนีตะวันตกผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1982 แต่แพ้ทีมชาติอิตาลี 1–3

ในช่วงเวลาดังกล่าว แกร์ท มึลเลอร์ ทำสถิติทำ 14 ประตูในการแข่งขันฟุตบอลโลกจำนวน 2 สมัย และจำนวน 10 ประตูที่เขาทำได้ในฟุตบอลโลกปี 1970 ถือเป็นสถิติสูงที่สุดอันดับที่ 3 ในฟุตบอลโลก (ต่อมาถูกทำลายโดยโรนัลโดในฟุตบอลโลกปี 2006 และอีกครั้งในฟุตบอลโลกปี 2014 โดย มีโรสลัฟ โคลเซอ)

การคุมทีมของฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ (ค.ศ. 1984–1990)

 
โลธาร์ มัทเธอุส กัปตันทีมชาติเยอรมนีในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 1990

หลังจากเยอรมนีตะวันตกตกรอบแรกในฟุตบอลยูโร 1984 ฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีม โดยเยอรมนีตะวันตกผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในฟุตบอลโลก 1986 ก่อนที่จะแพ้ให้กับทีมชาติอาร์เจนตินาซึ่งนำโดยดิเอโก มาราโดนา ไป 2–3 และในสองปีถัดมา เยอรมนีตะวันตกในฐานะเจ้าภาพยูโร 1988 ผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศก่อนจะแพ้เนเธอร์แลนด์ 1–2

 
ฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ ตำนานทีมชาติเยอรมนีผู้ทำสถิติเป็นบุคคลแรกที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกได้ทั้งในฐานะนักเตะและผู้จัดการทีม

ในฟุตบอลโลก 1990 เยอรมนีตะวันตกคว้าแชมป์โลกได้เป็นสมัยที่ 3 ซึ่งเป็นการเข้าแข่งขันในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน ทีมชุดนั้นมีกัปตันทีมคือ โลธาร์ มัทเธอุส (Lothar Matthäus) และพวกเขาสามารถล้างตาเอาชนะอาร์เจนตินาในรอบชิงชนะเลิศ 1–0 และฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ถือเป็นบุคคลแรกที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลกได้ทั้งในฐานะนักเตะและผู้จัดการทีม ซึ่งก่อนหน้านี้เขาอยู่ในทีมชุดที่ชนะเลิศฟุตบอลโลกในปี 1974

หลังรวมประเทศเยอรมนี

ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1990 หลังการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน เยอรมนีตะวันออกและเยอรมนีตะวันตกจับสลากมาอยู่กลุ่มเดียวกันในยูโร 1992 รอบคัดเลือกกลุ่ม 5 โดยในเดือนพฤศจิกายน 1990 สมาคมฟุตบอลแห่งเยอรมันตะวันออก (Deutscher Fußball-Verband) ได้รวมเข้ากับ DFB และทีมเยอรมนีตะวันออกได้ยุติบทบาทลงอย่างเป็นทางการ โดยเล่นนัดสุดท้ายในวันที่ 12 กันยายน 1990 ทีมชาติเยอรมนีที่รวมกันเป็นหนึ่งมีการปรับโครงสร้างของลีกฟุตบอลภายในประเทศในปี 1991–92 เกมแรกอย่างเป็นทางการของเยอรมนีภายหลังจากรวมตัวกันคือการพบกับสวีเดนในวันที่ 10 ตุลาคม 1990 ในการแข่งขันกระชับมิตรซึ่งเยอรมนีชนะ 3–1

หลังจบฟุตบอลโลก 1990 เบ็คเคินเบาเออร์ได้ประกาศวางมือและผู้ที่มารับตำแหน่งต่อคือ แบร์ตี โฟกตส์ (Berti Vogts) โดยได้พาทีมประเดิมในฟุตบอลยูโร 1992 แต่พ่ายให้กับเดนมาร์กในรอบชิงชนะเลิศไป 0–2 ต่อมาในฟุตบอลโลก 1994 เยอรมนีตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย โดยแพ้บัลแกเรีย 1–2

 
แบร์ตี้ โฟ้กตส์ ผู้จัดการทีมชาติเยอรมนีในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990

ทีมชาติเยอรมนีคว้าแชมป์รายการใหญ่รายการแรกหลังรวมประเทศได้ในยูโร 1996 ซึ่งเป็นการคว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 3 (นับรวมสมัยเยอรมนีตะวันตก) โดยชนะทีมชาติอังกฤษเจ้าภาพในรอบรองชนะเลิศ ก่อนที่จะผ่านเข้าไปเอาชนะทีมชาติเช็กเกียด้วยการทำประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษ (golden goal)

อย่างไรก็ตาม ในฟุตบอลโลก 1998 ที่ประเทศฝรั่งเศส ทีมชาติเยอรมนีตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายโดยแพ้ให้กับทีมชาติโครเอเชีย 0–3 ซึ่งประตูทั้งหมดเกิดขึ้นหลังจากกองหลังเยอรมนีได้รับใบแดง และแบร์ตี้ โฟ้กตส์ได้ประกาศลาออก และผู้ที่มาทำหน้าที่แทนได้แก่ เอริช ริบเบ็ค

ยุคของ อ็อลลีเวอร์ คาห์น และมิชชาเอล บัลลัค (ค.ศ. 2000–2006)

ในการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2000 เยอรมนีตกรอบแรก เริ่มจากพ่ายทีมชาติอังกฤษ 0–1, ทีมชาติโปรตุเกส 0–3 และเสมอกับทีมชาติโรมาเนีย เอริช ริบเบ็ค ได้ลาออกจากตำแหน่ง และรูดี เฟิลเลอร์ เข้ามารับตำแหน่งต่อ

 
อ็อลลีเวอร์ คาห์น ผู้รักษาประตูมือหนึ่งของทีมชาติเยอรมนีในช่วงปี 1995-2005

เยอรมนีเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 โดยมีนักเตะชื่อดัง เช่น อ็อลลีเวอร์ คาห์น, มิชชาเอล บัลลัค และมีโรสลัฟ โคลเซอเป็นกำลังหลักของทีม ก่อนหน้านี้ความคาดหวังไม่ค่อยสูงนักเนื่องจากพวกเขาทำผลงานไม่ค่อยดีในรอบคัดเลือก แต่ทีมก็สามารถผ่านรอบแบ่งกลุ่มเข้าสู่รอบตัดเชือกโดยชนะ 1–0 ได้ในสามนัดถัดมา (พบทีมชาติปารากวัย, สหรัฐและทีมชาติเกาหลีใต้เจ้าภาพร่วมตามลำดับ) และผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศได้ก่อนที่จะแพ้ให้กับบราซิลไป 0–2 จากประตูของโรนัลโด อย่างไรก็ตาม อ็อลลีเวอร์ คาห์น ได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมประจำการแข่งขันซึ่งถือเป็นครั้งแรกในฟุตบอลโลกที่ผู้รักษาประตูได้รับรางวัลนี้

เยอรมนีตกรอบแรกในฟุตบอลยูโร 2004ประเทศกรีซ โดยเสมอ 2 นัด และแพ้ต่อทีมเช็กเกียในรอบแบ่งกลุ่ม ส่งผลให้ รูดี เฟิลเลอร์ลาออก และเยือร์เกิน คลีนส์มัน เข้ามารับช่วงต่อ เขาพาทีมผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในฟุตบอลโลก 2006 ที่เยอรมนีเป็นเจ้าภาพโดยแพ้ให้กับทีมชาติอิตาลีในรอบรองชนะเลิศในช่วงต่อเวลาพิเศษ 0–2 แต่พวกเขาสามารถคว้าอันดับสามได้โดยเอาชนะทีมชาติโปรตุเกส 3–1

การคุมทีมของ โยอาคิม เลิฟ (ค.ศ. 2006–2021)

โยอาคิม เลิฟ อดีตผู้ช่วยผู้จัดการทีมเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมต่อจากคลีนส์มัน และเลิฟสามารถพาทีมผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในฟุตบอลยูโร 2008 แต่ไปแพ้ทีมชาติสเปน 0–1

ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 เยอรมนีเข้าสู่รอบตัดเชือกโดยเป็นที่ 1 ของกลุ่ม ก่อนชนะทีมชาติอังกฤษ 4–1 ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย นัดนั้นมีกรณีปัญหาที่ถกเถียงกันจากประตูของแฟรงก์ แลมพาร์ดที่ทำประตูได้แต่ผู้ตัดสินกลับไม่ให้เป็นประตู เยอรมนีสามารถเอาชนะอาร์เจนตินา 4–0 ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย ก่อนจะแพ้ทีมชาติสเปนในรอบรองชนะเลิศ 0–1 และเอาชนะทีมชาติอุรุกวัยไปได้ 3–2 ในนัดชิงอันดับที่ 3 และโทมัส มึลเลอร์ ได้รับรางวัลรองเท้าทองคำ (FIFA World Cup Golden Boot) และรางวัลนักเตะดาวรุ่งผู้มีผลงานโดดเด่น (Best Young Player Award)

 
ทีมชาติเยอรมนีในการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012

ต่อมา ในฟุตบอลยูโร 2012 เยอรมนีชนะทีมชาติโปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์กได้ทั้ง 3 นัดในรอบแบ่งกลุ่ม ตามด้วยการเอาชนะทีมชาติกรีซในรอบ 8 ทีมสุดท้าย และสร้างสถิติชนะรวด 15 นัดในการแข่งขันทุกรายการในขณะนั้นก่อนไปแพ้ทีมชาติอิตาลี 1–2 ในรอบรองชนะเลิศ

แชมป์ฟุตบอลโลก 2014

 
ทีมชาติเยอรมนีฉลองแชมป์ฟุตบอลโลกปี 2014

เยอรมนีสามารถคว้าแชมป์โลกได้เป็นสมัยที่ 4 ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล โดยพวกเขาทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมตั้งแต่การแข่งขันรอบคัดเลือก โดยในรอบแบ่งพวกเขาอยู่ร่วมกับสหรัฐอเมริกา, กานา และโปรตุเกสก่อนที่จะจบรอบแบ่งกลุ่มด้วยผลงานชนะ 2 นัดและเสมอ 1 นัด ในการแข่งขันรอบ 16 ทีมสุดท้ายพวกเขาเอาชนะทีมชาติแอลจีเรียไปได้ 2-1 จากการทำประตูของเมซุท เออซิล ในนาทีสุดท้ายช่วงต่อเวลาพิเศษ ก่อนที่จะผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายและเอาชนะทีมชาติฝรั่งเศสไป 1-0 จากการทำประตูของ มัทซ์ ฮุมเมิลส์ ทำสถิติเป็นทีมแรกที่ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 4 สมัยติดต่อกัน

ในรอบรองชนะเลิศ เยอรมนีถล่มเอาชนะทีมชาติบราซิลไปถึง 7-1 โดยพวกเขาใช้เวลาเพียง 30 นาทีแรกในการทำ 5 ประตู และถือเป็นความพ่ายแพ้ที่ยับเยินที่สุดของทีมชาติบราซิลในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย และเป็นความพ่ายแพ้ที่ยับเยินที่สุดในการแข่งขันทุกรายการของทีมชาติบราซิลนับตั้งแต่ ค.ศ. 1920 จากชัยชนะดังกล่าวส่งผลให้เยอรมนีสร้างสถิติใหม่ขึ้นมาหลายรายการ ได้แก่: เป็นทีมแรกที่ยิงได้ถึง 7 ประตูในการแข่งขันรอบแพ้คัดออก (Knockout) ในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย, เป็นทีมที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในการยิง 5 ประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (และใช้เวลาเพียง 400 วินาที ในการทำ 4 ประตูแรก), เป็นทีมแรกที่ยิงได้ 5 ประตูในครึ่งเวลาแรกในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย และเป็นทีมที่ทำประตูรวมในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายมากที่สุดนับตั้งแต่จัดการแข่งขันครั้งแรกใน ค.ศ. 1930 (223 ประตู) นอกจากนี้ มีโรสลัฟ โคลเซอ ยังทำสถิติเป็นผู้เล่นที่ทำประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้มากที่สุดตลอดกาล (16 ประตู)

 
ทีมชาติเยอรมนีขณะถ่ายภาพหมู่ในพิธีฉลองแชมป์ฟุตบอลโลก 2014

การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ณ กรุงรีโอเดจาเนโร โดยเยอรมนีเอาชนะอาร์เจนตินาคู่แข่งสำคัญที่นำทีมโดย ลิโอเนล เมสซิไปได้ 1-0 จากการทำประตูชัยของ มารีโอ เกิทเซอ ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ซึ่งถือเป็นการเอาชนะทีมชาติอาร์เจนตินาในการแข่งขันฟุตบอลโลกได้ 4 ครั้งติดต่อกันนับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1990 พร้อมทำสถิติเป็นทีมจากยุโรปเพียงชาติเดียวที่สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ทวีปอเมริกาใต้ได้

ฟุตบอลยูโร 2016 และคอนเฟเดอเรชัน คัพ 2017

ภายหลังจากเยอรมนีคว้าแชมป์โลกได้ในปี 2014 ทีมเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งโดยผู้เล่นหลายคนได้ประกาศอำลาทีมชาติ เช่น ฟิลลิพ ลาห์ม, มีโรสลัฟ โคลเซอ และแพร์ แมร์เทิสอัคเคอร์ ก่อนเข้าสู่การแข่งขันฟุตบอลยูโร 2016 แม้ว่าเยอรมนีจะทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในการแข่งขันรอบสุดท้ายโดยไม่แพ้ทีมใดเลยตลอด 3 นัดในรอบแบ่งกลุ่ม ตามด้วยการเอาชนะทีมชาติสโลวาเกียในรอบ 16 ทีมสุดท้ายรวมทั้งเอาชนะทีมชาติอิตาลีได้ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายด้วยการดวลจุดโทษ แต่พวกเขาก็ต้องตกรอบรองชนะเลิศโดยแพ้ให้กับฝรั่งเศสเจ้าภาพไป 0-2 และนี่ถือเป็นการแพ้ให้กับฝรั่งเศสในการแข่งขันรายการใหญ่เป็นครั้งแรกในรอบ 58 ปี

อย่างไรก็ตาม เยอรมนีกลับมาประสบความสำเร็จในรายการใหญ่อีกครั้งโดยการคว้าแชมป์ คอนเฟเดอเรชัน คัพ ได้ในปี 2017 ณ ประเทศรัสเซีย โดยเอาชนะทีมชาติชิลีไปได้ในรอบชิงชนะเลิศ 1-0 คว้าแชมป์รายการนี้ได้เป็นสมัยแรก

ฟุตบอลโลก 2018, ยูฟ่าเนชันส์ลีก และ ฟุตบอลยูโร 2020

ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ถือเป็นความล้มเหลวอย่างแท้จริงโดยพวกเขาตกรอบตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่ม ในการแข่งขันนัดแรกของกลุ่มเอฟ พวกเขาประเดิมสนามด้วยการแพ้ทีมชาติเม็กซิโกไป 0-1 ก่อนจะกลับมาเอาชนะทีมชาติสวีเดนไปได้ 2-1 แต่แพ้ให้กับทีมชาติเกาหลีใต้ในนัดสุดท้าย 0-2 และถือเป็นการตกรอบที่เร็วที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายของพวกเขานับตั้งแต่ปี 1938 และเป็นการตกรอบแบ่งกลุ่มครั้งแรกนับตั้งแต่การแข่งขันปรับรูปแบบมาใช้ระบบใหม่ในการเล่นรอบแบ่งกลุ่มในปี 1950

 
โยอาคิม เลิฟ ผู้จัดการทีมชาติเยอรมนีในช่วงระหว่าง ค.ศ. 2006-2021

ภายหลังจบการแข่งขันฟุตบอลโลก เยอรมนีก็ยังไม่สามารถเรียกฟอร์มการเล่นที่ดีกลับมาได้และยังคงมีผลงานที่ไม่น่าประทับใจในการแข่งขัน ยูฟ่าเนชันส์ลีก ซึ่งพวกเขาอยู่ในลีกเอร่วมกับกับทีมชาติฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ โดยในนัดแรกเยอรมนีเสมอกับฝรั่งเศสไป 0-0 ตามด้วยความพ่ายแพ้ต่อเนเธอร์แลนด์ถึง 0-3 และพ่ายแพ้ต่อเนื่องให้กับฝรั่งเศส 1-2 ในนัดที่สามของการแข่งขัน ส่งผลให้เยอรมนีต้องพบกับความพ่ายแพ้เป็นนัดที่ 4 จากการแข่งขันในรายการสำคัญ 6 นัดหลังสุด

ในเดือนมีนาคม ปี 2021 สมาคมฟุตบอลเยอรมันได้ประกาศว่า โยอาคิม เลิฟ จะยุติบทบาทภายหลังจบการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 ในช่วงเดือนกรกฎาคม และผู้ที่จะเข้ามารับตำแหน่งต่อได้แก่ ฮันส์-ดีเทอร์ ฟลิค โดยเกมแรกอย่างเป็นทางการในการคุมทีมของฟลิคคือนัดที่เยอรมนีจะพบกับทีมชาติลิกเตนสไตน์ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก 2022 ในเดือนกันยายน

ทีมชาติเยอรมนีลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปในเดือนมิถุนายน โดยพวกเขาอยู่ในกลุ่มเอฟร่วมกับทีมชาติโปรตุเกส, ฝรั่งเศส และฮังการี เยอรมนีจบรอบแบ่งกลุ่มด้วยผลงาน ชนะ 1, เสมอ 1 และแพ้ 1 นัด ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะเข้าไปแพ้ทีมชาติอังกฤษคู่ปรับสำคัญ 0-2 และถือเป็นการยุติบทบาทการทำหน้าที่ผู้จัดการทีมระยะเวลา 15 ปีของ โยอาคิม เลิฟ อย่างเป็นทางการ

ภาพลักษณ์ทีม

ชุดแข่งและสัญลักษณ์

ผู้ผลิตชุดแข่ง

ผู้ผลิตชุดแข่ง ช่วงปี หมายเหตุ
  Leuzela ไม่ทราบปี–1954 เยอรมนีสวมชุดแข่งของ Leuzela ในฟุตบอลโลก 1954
  อาดิดาส 1954–ปัจจุบัน ในทศวรรษ 1970 เยอรมนีสวมชุดแข่งของ Erima
(แบรนด์ของเยอรมนีซึ่งเดิมเป็นบริษัทลูกของอาดิดาส

ข้อตกลงชุดแข่ง

ผู้ผลิตชุด ช่วงปี สัญญา หมายเหตุ
วันที่ประกาศ ระยะเวลา
  อาดิดาส 1954–ปัจจุบัน 20 มิถุนายน ค.ศ. 2016 2019–2022 (4 ปี) 50 ล้านยูโรต่อปี (56.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ทั้งหมด: 250 ล้านยูโร (283.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
10 กันยายน ค.ศ. 2018 2023–2026 (4 ปี) ไม่เปิดเผย

ชุดแข่งในแต่ละปี

ชุดเหย้า

 
 
 
 
 
 
 
1908
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1934
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1938
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1954
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1962
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1966
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1970
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1974
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1978
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร 1980
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก 1982
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
1984
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1986
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร 1988 และ ฟุตบอลโลก 1990
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
1992
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1994
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
1996
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1998
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2000
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2002
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2004
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2006
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2008
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2010
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2012
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2014
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2016
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
2017
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2018

ชุดเยือน

 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1954 – 1958
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1966 – 1970
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1974 – 1978
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร 1980 – ฟุตบอลโลก 1982
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร 1984
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก 1986
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร 1988 – ฟุตบอลโลก 1990
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
1992
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1994
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
1996
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
1998
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2000
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2002
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2004
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
2005
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2006
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2008
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2010
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2012
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2014
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูโร
2016
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟุตบอลโลก
2018

สนามแข่ง

 
สนามโอลึมพีอาชตาดีอ็อน ณ กรุงเบอร์ลิน

ทีมชาติเยอรมนีใช้สนามแข่งขันในหลายเมืองทั่วประเทศซึ่งเปลี่ยนแปลงตามรายการแข่งขัน, สภาพอากาศ, คู่แข่ง และปัจจัยอื่นๆ ที่ผ่านมาเยอรมนีใช้สนามแข่งขันจากเมืองต่างๆรวม 43 เมืองด้วยกันรวมถึงสนามกีฬาในกรุงเวียนนา, ประเทศออสเตรีย ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีในอดีตจำนวน 3 นัด ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1938-1942

เยอรมนีมักจะใช้สนามกีฬาของกรุงเบอร์ลินเป็นสนามเหย้าหลัก (42 นัด) ซึ่งเป็นสนามนัดเหย้านัดแรกของเยอรมนีในปี 1908 ซึ่งพบกับทีมชาติอังกฤษ สนามในเมืองอื่นๆ ที่ทีมชาติเยอรมนีใช้ในฐานะเจ้าบ้าน ได้แก่ ฮัมบวร์ค (34 นัด), ชตุทท์การ์ท (32 นัด), ฮันโนเฟอร์ (28 นัด) และดอร์ทมุนด์ ส่วนสนามแข่งขันที่โดดเด่นอีกแห่งอยู่ที่มิวนิก ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขันนัดสำคัญหลายรายการรวมถึงรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1974 ซึ่งเยอรมนีตะวันตกเอาชนะทีมชาติเนเธอร์แลนด์ไปได้

สถิติต่างๆ

สถิติฟุตบอลโลก

     ชนะเลิศ       รองชนะเลิศ       อันดับที่สาม       อันดับที่สี่  

สถิติในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย สถิติในรอบคัดเลือก
ปี รอบ อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ* แพ้ ได้ เสีย ผู้เล่น แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
  1930 ไม่เข้าร่วม ไม่เข้าร่วม
  1934 อันดับที่ 3 3 4 3 0 1 11 8 ผู้เล่น 1 1 0 0 9 1 1934
  1938 รอบแรก 10 2 0 1 1 3 5 ผู้เล่น 3 3 0 0 11 1 1938
  1950 ถูกสั่งห้ามแข่งขัน 1950
  1954 ชนะเลิศ 1 6 5 0 1 25 14 ผู้เล่น 4 3 1 0 12 3 1954
  1958 อันดับที่ 4 4 6 2 2 2 12 14 ผู้เล่น ผ่านเข้ารอบในฐานะแชมป์เก่า 1958
  1962 รอบก่อนรองชนะเลิศ 7 4 2 1 1 4 2 ผู้เล่น 4 4 0 0 11 5 1962
  1966 รองชนะเลิศ 2 6 4 1 1 15 6 ผู้เล่น 4 3 1 0 14 2 1966
  1970 อันดับที่ 3 3 6 5 0 1 17 10 ผู้เล่น 6 5 1 0 20 3 1970
  1974 ชนะเลิศ 1 7 6 0 1 13 4 ผู้เล่น ผ่านเข้ารอบในฐานะเจ้าภาพ 1974
  1978 รอบแบ่งกลุ่มที่สอง 6 6 1 4 1 10 5 ผู้เล่น ผ่านเข้ารอบในฐานะแชมป์เก่า 1978
  1982 รองชนะเลิศ 2 7 3 2 2 12 10 ผู้เล่น 8 8 0 0 33 3 1982
  1986 รองชนะเลิศ 2 7 3 2 2 8 7 ผู้เล่น 8 5 2 1 22 9 1986
  1990 ชนะเลิศ 1 7 5 2 0 15 5 ผู้เล่น 6 3 3 0 13 3 1990
  1994 รอบก่อนรองชนะเลิศ 5 5 3 1 1 9 7 ผู้เล่น ผ่านเข้ารอบในฐานะแชมป์เก่า 1994
  1998 รอบก่อนรองชนะเลิศ 7 5 3 1 1 8 6 ผู้เล่น 10 6 4 0 23 9 1998
    2002 รองชนะเลิศ 2 7 5 1 1 14 3 ผู้เล่น 10 6 3 1 19 12 2002
  2006 อันดับที่ 3 3 7 5 1 1 14 6 ผู้เล่น ผ่านเข้ารอบในฐานะเจ้าภาพ 2006
  2010 อันดับที่ 3 3 7 5 0 2 16 5 ผู้เล่น 10 8 2 0 26 5 2010
  2014 ชนะเลิศ 1 7 6 1 0 18 4 ผู้เล่น 10 9 1 0 36 10 2014
  2018 รอบแบ่งกลุ่ม 22 3 1 0 2 2 4 ผู้เล่น 10 10 0 0 43 4 2018
  2022 กำลังแข่งขัน กำลังแข่งขัน 2022
      2026 2026
ทั้งหมด 19/21 4 สมัย 109 67 20* 22 226 125 94 74 18 2 292 70 ทั้งหมด
* นัดที่เสมอ รวมนัดแพ้คัดออกที่ตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ
** กรอบสีแดง หมายถึง การแข่งขันที่ชาตินี้เป็นเจ้าภาพ


นอกจากนี้แล้วทีมชาติเยอรมนี ถือเป็นทีมแรกจากทวีปยุโรปที่สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในทวีปอเมริกาใต้ได้ (ฟุตบอลโลก 2014 ณ ประเทศบราซิล)และยังเป็นทีมที่เข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกมากที่สุดจำนวน 8 ครั้ง

สถิติคอนเฟเดอเรชันส์คัพ

การแข่งขันคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
ปี รอบ อันดับ จำนวนนัดรวม ชนะ เสมอ แพ้ ประตูที่ได้ ประตูที่เสีย Squad
  1992 ไม่เข้าร่วม
  1995 ไม่เข้าร่วม
  1997 ไม่เข้าร่วม
  1999 รอบแบ่งกลุ่ม 5th 3 1 0 2 2 6 Squad
    2001 ไม่เข้าร่วม
  2003 ไม่เข้าร่วม
  2005 อันดับสาม 3rd 5 3 1 1 15 11 Squad
  2009 ไม่เข้าร่วม
  2013
  2017 ชนะเลิศ 1st 5 4 1 0 12 5 Squad
2021 To Be Determined
รวม ชนะเลิศ 1 สมัย 3/10 13 8 2 3 29 22 -

สถิติฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป

ปี รอบ จำนวนนัดรวม ชนะ เสมอ แพ้ ประตูที่ได้ ประตูที่เสีย Squad
  1960 ไม่เข้าร่วม - - - - - - -
  1964 ไม่เข้าร่วม - - - - - - -
  1968 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - -