fbpx
วิกิพีเดีย

วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน

วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน (ทมิฬ: விளையனூர் இராமச்சந்திரன், วิลยนูรฺ สุพฺรหฺมณฺยมฺ รามจนฺทรน อักษรโรมัน: Vilayanur Subramanian Ramachandran; เกิด พ.ศ. 2494) เป็นนักประสาทวิทยาศาสตร์ ที่มีผลงานเป็นที่รู้จักกันในสาขาพฤติกรรมประสาทวิทยา (behavioral neurology) และ จิตฟิสิกส์ (psychophysics) ดร.รามจันทรันปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการของศูนย์สมองและการรับรู้ (Center for Brain and Cognition) และศาสตราจารย์ในคณะจิตวิทยา และคณะประสาทวิทยาศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา

วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน
(Vilayanur S. Ramachandran)
รามจันทรันในงานฉลอง Time 100 ปี ค.ศ. 2011
เกิดค.ศ. 1951
รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย
ศิษย์เก่าแพทยศาสตร์บัณฑิต, ศัลยศาสตร์บัณฑิต (M.B.B.S.) จาก มหาวิทยาลัยมัทราส เมืองเจนไน; ปริญญาเอก จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
มีชื่อเสียงจากประสาทวิทยา, การรับรู้ทางตา, กลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่, ภาวะวิถีประสาทเจือกัน, ออทิซึม, body integrity identity disorder
รางวัลเหรียญ Ariens Kappers จาก ราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์; รางวัล Padma Bhushan จากประธานาธิบดีประเทศอินเดีย; BBC Reith Lectures, ค.ศ. 2003; ได้รับเลือกเป็นสมาชิกเยี่ยมเยียน (Visiting Fellows) ของ All Souls College อันเป็นสถาบันของ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด; ผู้ร่วมรับรางวัล Henry Dale Prize ปี ค.ศ. 2005 ของ ราชบัณฑิตยสถานบริเตนใหญ่
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาประสาทวิทยา, จิตวิทยา
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก (ศาสตราจารย์) และศูนย์สมองและการรับรู้ (Center for Brain and Cognition) (ผู้อำนวยการ)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกsOliver Braddick, David Whitteridge, FW Campbell, H Barlow

ดร.รามจันทรันมีชื่อเสียงในการทดลอง ที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเช่นการสร้างภาพประสาท (neuroimaging) แต่ถึงแม้ว่าจะใช้วิธีที่ง่าย ๆ ดร.รามจันทรันก็ได้สร้างความคิดใหม่ ๆ มากมายเกี่ยวกับการทำงานของสมอง

ริชาร์ด ดอว์กินส์ (ผู้เป็นนักชีววิทยาวิวัฒนาการที่มีชื่อเสียง) ได้เรียก ดร.รามจันทรันว่า "นายมาร์โก โปโล ของประสาทวิทยาศาสตร์" และเอริค แกนเดิล (ผู้เป็นแพทย์ประสาทจิตเวชผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 2000) ได้เรียกเขาว่า "นายพอล์ โบรคา ในยุคปัจจุบัน"

นิตยสาร Newsweek (ข่าวสัปดาห์) ยก ดร.รามจันทรันให้เป็นสมาชิกสโมสรแห่งศตวรรษ (The Century Club) เป็นบุคคลเด่นที่สุดคนหนึ่งใน 100 คนที่ควรจะติดตามในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ในปี ค.ศ. 2011 นิตยสารไทม์ ยกให้เขาเป็นหนึ่งในบรรดาบุคคล 100 คน ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกในรายชื่อ "ไทม์ 100"

ดร.รามจันทรันได้เขียนหนังสือหลายเล่ม ที่ก่อให้เกิดความสนใจอย่างกว้างขวางจากสาธารณชน รวมทั้ง Phantoms In the Brain (อวัยวะแฟนตอมในสมอง) (ค.ศ. 1999) และ The Tell-Tale Brain (สมองนักเล่านิทาน) (ค.ศ. 2010)

ชีวประวัติและการศึกษา

วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน (ตามประเพณีของคนทมิฬ นามสกุลของเขาคือ "วิลยนอร์" เขียนเป็นชื่อหน้า) เกิดในปี ค.ศ. 1951 (พ.ศ. 2494) ในรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย บิดาผู้ชื่อว่า ว.ม. สุพรหมัณยัม (V.M. Subramanian) เป็นวิศวกรทำงานกับองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrial Development) ขององค์การสหประชาชาติ ผู้ได้ทำหน้าที่ทูตในกรุงเทพมหานคร

รามจันทรันใช้ชีวิตในวัยเด็กส่วนมากเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ในประเทศอินเดียและในทวีปเอเชีย เมื่อเจริญวัยขึ้น รามจันทรันได้เข้าโรงเรียนที่เมืองเจนไน (ชื่อเดิม มัทราส) และโรงเรียนของคนอังกฤษในกรุงเทพมหานคร เขามีความสนใจในวิทยาศาสตร์หลายสาขารวมทั้งสังขวิทยา

รามจันทรันได้จบสำเร็จเป็นแพทยศาสตร์บัณฑิต, ศัลยศาสตร์บัณฑิต (M.B.B.S.) จาก วิทยาลัยการแพทย์มัทราส (Madras Medical College) (ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของ มหาวิทยาลัยมัทราส) เมืองเจนไน ประเทศอินเดีย และหลังจากนั้นได้รับปริญญาเอกจาก Trinity College ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

เมื่อเป็นบัณฑิตศึกษาอยู่ที่เคมบริดจ์ รามจันทรันมีส่วนร่วมในงานวิจัยกับคณะวิชาต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด รวมทั้งคณะสรีรวิทยา หลังจากนั้น เขาได้ใช้เวลา 2 ปี ที่สถาบันแคลเทค รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นผู้รับการฝึกอบรมงานวิจัย (research fellow) ได้ทำงานร่วมกับแจ็คก์ เพ็ตติกริว (ผู้ต่อมาเป็นศาสตราจารย์นักสรีรวิทยาชาวออสเตรเลีย) ต่อมา เขาได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ในปี ค.ศ. 1983 และได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ในสาขานั้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998

ดร.รามจันทรันเป็นหลานชายของเซอร์อัลลาดี กริษณสวามี ไลเออร์ ผู้เป็นที่ปรึกษากฎหมาย (Advocate General) ของเมืองมัทราส เป็นผู้ร่วมเขียนรัฐธรรมนูญของประเทศอินเดีย ดร.รามจันทรันมีคู่สมรสคือไดแอน รอเจอร์ส-รามจันทรัน และมีบุตรสองคนคือมานีและไชยา

งานวิทยาศาสตร์

เพื่อที่จะเข้าใจว่าสมองทำงานอย่างไร ดร.รามจันทรันได้ทำการศึกษากลุ่มอาการทางประสาทเช่นกลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่ (phantom limb), body integrity identity disorder, และ อาการหลงผิดคะกราส์ ยิ่งกว่านั้นแล้ว เขายังมีผลงานเกี่ยวกับภาวะวิถีประสาทเจือกัน (synesthesia) และเป็นที่รู้จักโดยสิ่งประดิษฐ์ของเขาเพื่อช่วยบรรเทากลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่ คือ กล่องกระจก

เขาได้เขียนบทความมากกว่า 180 ชิ้นในวารสารวิทยาศาสตร์ รวมทั้งวารสาร ''ธรรมชาติ (Nature)" "วิทยาศาสตร์ (Science)" "ธรรมชาติ-ประสาทวิทยาศาสตร์ (Nature Neuroscience)" "การรับรู้ (Perception)" และ "งานวิจัยในการเห็น (Vision Research)" รามจันทรันยังอยู่ในคณะกรรมการบรรณาธิการของวารสาร "สมมุติฐานทางการแพทย์ (Medical Hypotheses)" (ซึ่งเป็นวารสารของบริษัท Elsevier ที่ก่อน ค.ศ. 2010 เป็นวารสารวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีการตรวจสอบของผู้ชำนาญในสาขาเดียวกัน) และได้เขียนบทความถึง 15 ชิ้นในวารสารนั้นอีกด้วย

งานของรามจันทรันในพฤติกรรมประสาทวิทยา (behavioral neurology) ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางโดยสื่อมวลชน เขาได้ปรากฏในภาพยนตร์สารคดีของช่อง 4 (สถานีโทรทัศน์สาธารณะของประเทศอังกฤษ) และ PBS (เครือข่ายสถานีโทรทัศน์สาธารณะของประเทศสหรัฐอเมริกา) นอกจากนั้นแล้ว ยังมีรายการเกี่ยวกับเขาเผยแพร่โดยฺบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (BBC), Science Channel (ช่องวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ของบริษัท Discovery Communications ประเทศสหรัฐอเมริกา), นิตยสาร Newsweek (ข่าวสัปดาห์ ของสหรัฐอเมริกา), รายการวิทยุ Radio Lab (ของ WNYC ซึ่งเป็นสถานีวิทยุสาธารณะในนครนิวยอร์ก), รายการ This American Life (ของ WBEC ซึ่งป็นสถานีวิทยุสาธารณะในนครชิคาโก), งานประชุม TED Talks (TED.com), และรายการโทรทัศน์ของชาลี โรส หนังสือของเขา คือ Phantoms In the Brain (อวัยวะแฟนตอมในสมอง) ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดีสองตอนเผยแพร่โดยช่อง 4 ของบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (BBC) และเป็นภาพยนตร์ยาว 1 ชั่วโมงเผยแพร่โดย PBS ในสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นแล้ว เขายังเป็นหัวหน้าบรรณาธิการของ "สารานุกรมสมองมนุษย์" (ค.ศ. 2002) อีกด้วย

ดร.รามจันทรันได้กล่าวด้วยความอาลัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า งานวิทยาศาสตร์ได้กลายเป็นอาชีพเพื่อทำมาหากินมากเกินไป คือ ในการสัมภาษณ์กับสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์แห่งประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 2010 เขาได้กล่าวไว้ว่า

แต่ว่า ที่ ๆ ผมอยากจะไปจริง ๆ เลย ก็คือกลับไปในกาลเวลา กลับไปยังสมัยวิคตอเรีย ก่อนที่งานวิทยาศาสตร์จะกลายเป็นอาชีพเพื่อทำมาหากินมากเกินไป ก่อนที่จะกลายเป็นงาน 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ที่ประกอบด้วยความยุ่งยากเหมือนกับฝันร้ายในเรื่องการแสวงหาการใช้อำนาจและการหาเงินอุปถัมภ์งานวิจัย ในยุคนั้น นักวิทยาศาสตร์มีแต่ความสนุก สำหรับบุคคลเช่นชาลส์ ดาร์วิน และทอมัส ฮักซ์ลีย์ (นักชีววิทยาชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงในการสนับสนุนทฤษฎีของดาร์วิน) โลกทั้งใบเป็นสนามเล่นของพวกเขา

ในปี ค.ศ. 2012 นักประสาทวิทยาศาสตร์ปีเตอร์ บรักเกอร์ วิจารหนังสือของรามจันทรัน คือ The Tell-Tale Brain (สมองนักเล่านิทาน) ว่าเป็นหนังสือประสาทวิทยาศาสตร์ประชานิยม เพราะให้แต่คำตอบที่ล่องลอยไม่ชัดเจนต่อคำถามที่มีความสำคัญ

รามจันทรันตอบว่า

เป็นความจริงว่า ผมได้กล่าวประเด็นต่าง ๆ ไว้อย่างครอบคลุมจักรวาล รวมทั้งการรับรู้ทางตา, stereopsis (การเห็นทิวทัศน์พร้อมแนวลึก), กลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่ (phantom limb), การปฏิเสธสภาวะอัมพาต (ของคนไข้), อาการหลงผิดคะกราส์, ภาวะวิถีประสาทเจือกัน (synesthesia), และเรื่องอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งอาจจะดีหรือไม่ดี

การเห็นในมนุษย์

งานยุคต้น ๆ ของ ดร.รามจันทรันมีความเกี่ยวข้องกับการรับรู้ทางตา โดยใช้วิธีทางจิตกายภาพ เพื่อให้อนุมานได้อย่างชัดเจนถึงกลไกในสมอง ที่เป็นรากฐานของการประมวลผลทางตา รามจันทรันได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ค้นพบปรากฏการณ์และภาพลวงประสาททางตาแบบใหม่ ๆ

ดร.รามจันทรันยังได้ประดิษฐ์กลุ่มตัวกระตุ้นทางตาประเภทหนึ่ง (เรียกว่า เส้นขอบแฟนตอม [phantom contours]) ซึ่งเข้าไปกระตุ้นวิถีประสาท magnocellular ในการเห็นของมนุษย์ เป็นตัวกระตุ้นที่แอนน์ สเปอร์ลิงก์และคณะได้ใช้เพื่อตรวจสอบภาวะเสียการอ่านรู้ความ (dyslexia)

อวัยวะแฟนตอม

เมื่อมีการตัดแขนหรือขาออกไป คนไข้บ่อยครั้งยังมีความรู้สึกอย่างชัดเจนว่ายังมีอวัยวะเหล่านั้นอยู่ โดยเป็น "อวัยวะแฟนตอม" โดยต่อยอดงานวิจัยของโรแนลด์ เม็ลแซคก์ แห่งมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ (แคนาดา) และของทิโมธี พอนส์ แห่งสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (NIMH) (สหรัฐอเมริกา) ดร.รามจันทรันตั้งทฤษฎีว่า มีความสัมพันธ์กันระหว่างปรากฏการณ์อวัยวะแฟนตอมและสภาพพลาสติกของระบบประสาท (neural plasticity) ในสมองของมนุษย์ผู้ใหญ่

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขามีทฤษฎีว่า แผนที่ภาพทางกายในคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการตัดอวัยวะออก ในปี ค.ศ. 1993 โดยทำงานร่วมกับแยง ผู้กำลังทำงานวิจัยใช้ภาพ magnetoencephalography (MEG) ที่สถานบันวิจัยสคริปป์ส รามจันทรันแสดงให้เห็นว่า มีความเปลี่ยนแปลงที่วัดได้ในคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายของคนไข้หลายคนที่ผ่านการตัดแขนออก รามจันทรันตั้งทฤษฎีว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างการจัดระเบียบใหม่ในคอร์เทกซ์ที่ชัดเจนในภาพ MEG และความรู้สึกที่ยังหลงเหลืออยู่ที่พบในคนไข้ เขากล่าวถึงทฤษฎีนี้ในบทความ "ความสัมพันธ์ของการรับรู้กับการจัดระเบียบใหม่อย่างกว้างขวางในคอร์เทกซ์ (Perceptual correlates of massive cortical reorganization)"

ถึงแม้ว่ารามจันทรันจะเป็นคนหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์พวกแรก ๆ ที่เน้นบทบาทของการเปลี่ยนแปลงในคอร์เทกซ์ว่า เป็นมูลฐานของอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่ แต่งานวิจัยต่อ ๆ มากลับแสดงว่า ความรู้สึกที่หลงเหลืออยู่ไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงในคอร์เทกซ์หลังจากตัดอวัยวะออก จนถึงทุกวันนี้ คำถามว่า กระบวนการทางประสาทอะไรที่สัมพันธ์กับความรู้สึกที่ยังหลงเหลืออยู่และไม่ประกอบด้วยความเจ็บปวดนั้น ยังไม่มีคำตอบ

ข้อมูลป้อนกลับทางตาด้วยกระจก

รามจันทรันได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ประดิษฐ์กล่องกระจก และเริ่มใช้เทคนิคให้ข้อมูลป้อนกลับทางตากับสมองโดยใช้กล่องกระจก เพื่อบรรเทาภาวะหลายอย่างที่เกี่ยวกับความเจ็บปวดเนื่องด้วยอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่, โรคลมปัจจุบัน, และอาการเจ็บปวดเฉพาะที่. งานวิจัยหลายงานที่ใช้การรักษาด้วยกระจก แสดงอนาคตที่สดใสของวิธีรักษานี้

อย่างไรก็ดี โดยการทดลองที่มีกลุ่มควบคุมและใช้การสุ่ม วิธีรักษาด้วยกระจกกลับปรากฏว่ามีผลที่ขัดแย้งกัน (คือไม่ชัดเจนว่าได้ผลจริง ๆ หรือไม่) ดังนั้น การใช้วิธีรักษานี้ยังอยู่ภายใต้การตรวจสอบในขั้นทดลองอยู่

วงจรประสาทไขว้ในสมอง

 
ผู้มีภาวะวิถีประสาทเจือกันที่เห็นสีพร้อมกับเห็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ อาจสามารถค้นพบ "สามเหลี่ยม" ที่มีอยู่ทางภาพด้านซ้าย ได้อย่างง่าย ๆ และรวดเร็วกว่าผู้ไม่มีภาวะนี้
ดูบทความหลักที่: ภาวะวิถีประสาทเจือกัน

บนรากฐานของงานวิจัยเกี่ยวกับอวัยวะแฟนตอม รามจันทรันได้ตั้งทฤษฎีว่าภาวะวิถีประสาทเจือกัน (synesthesia) เกิดขึ้นจากการที่มีการทำงานข้ามไปข้ามมา (cross-activation) ในเขตต่าง ๆ ของสมอง

เขาได้กล่าวไว้ว่า

ประเภทย่อย ๆ ของการเจือกันของวิถีประสาทแบบสี-ตัวเลข เกิดจากการเชื่อมต่อกันเกินกว่าปกติระหว่างเขตสมองที่เกี่ยวข้องกับสีและตัวเลขในระดับต่าง ๆ ของระบบการประมวลผล ผู้มีวิถีประสาทเจือกันของเขตสมองระดับต่ำ อาจจะมีการทำงานที่ข้ามเขตในรอยนูนรูปกระสวย (fusiform gyrus) เปรียบเทียบกับผู้มีวิถีประสาทเจือกันของเขตสมองระดับสูง อาจจะมีการทำงานที่ข้ามเขตในรอยนูนแองกูลาร์ (angular gyrus)

และคล้องจองกันกับแบบแผนนี้ รามจันทรันพบการทำงานในระดับที่สูงขึ้นในเขตสมองที่ตอบสนองต่อสีในผู้มีวิถีประสาทเจือกัน เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มี โดยตรวจสอบด้วยภาพสมองแบบ fMRI และโดยใช้การสร้างภาพแบบ MEG เขาได้แสดงว่า ความแตกต่างในส่วนประสาทที่กล่าวถึงระหว่างผู้มีวิถีประสาทเจือกันและผู้ที่ไม่มี เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อมีการแสดงตัวอักษร

รามจันทรันคาดหมายว่า ภาวะวิถีประสาทเจือกันและคำอุปมาอาจจะมีมูลฐานเดียวกันคือการเชื่อมต่อกันข้ามคอร์เทกซ์ของระบบประสาท ในปี ค.ศ. 2003 รามจันทรันและเอ็ดวาร์ด ฮับบาร์ด พิมพ์งานวิจัยที่ให้การคาดหมายว่า รอยนูนแองกูลาร์เป็นองค์ประกอบในการเข้าใจคำอุปมาอุปไมย

วิวัฒนาการของภาษา

คล้องจองกับงานของแล็คอ็อฟและจอนห์สัน รามจันทรันยกประเด็นว่า คำอุปมาอุปไมยนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ

รามจันทรันและฮับบาร์ดเสนอว่า

กฏธรรมชาติ (ของการสร้างคำอุปมาอุปไมย) มีข้อจำกัดทางกายวิภาคที่สำคัญ ที่อนุญาตการทำงานข้ามเขตบางอย่าง แต่ไม่ใช่ทุกอย่าง:18

รามจันทรันเสนอว่า วิวัฒนาการของภาษาเกิดจากแผนที่สัมพันธ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ 3 อย่าง คือ เสียงกับรูปร่างที่เห็น (เช่นในปรากฏการณ์บูบา/กิกี) การเจือกันของวิถีประสาทของประสาทรับรู้กับประสาทสั่งการเคลื่อนไหว (sensory-to-motor) และ การเจือกันของวิถีประสาทของประสาทสั่งการเคลื่อนไหวกับประสาทสั่งการเคลื่อนไหว (motor-to-motor):18-23

เซลล์ประสาทกระจก

ดูบทความหลักที่: เซลล์ประสาทกระจก

เป็นที่รู้กันดีว่า รามจันทรันเป็นผู้เน้นความสำคัญของเซลล์ประสาทกระจก (Mirror neuron) เขาได้กล่าวว่า การค้นพบเซลล์ประสาทกระจกเป็นข่าวสำคัญที่สุดที่ไม่ได้รับการเผยแพร่ (จากสื่อมวลชน) ภายในทศวรรษที่ผ่านมา (คือมีการแจ้งถึงเซลล์ประสาทกระจกเป็นครั้งแรกในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1992 โดยกลุ่มนักวิจัยนำโดยเกียโคโม ริซโซลาตตี ที่มหาวิทยาลัยปาร์มา ที่เมืองปาร์มาในประเทศอิตาลี)

ในปี ค.ศ. 2000 รามจันทรันพยากรณ์ว่า

เซลล์ประสาทกระจกจะมีผลต่อจิตวิทยา เหมือนกับดีเอ็นเอมีผลต่อชีววิทยา คือ จะเป็นโครงสร้างโดยรวมที่ช่วยอธิบายความสามารถต่าง ๆ ของจิต ที่ยังเป็นสิ่งที่ลึกลับและเข้าถึงไม่ได้ด้วยการทดลอง

รามจันทรันคาดหมายว่า งานวิจัยถึงบทบาทในเซลล์ประสาทกระจก จะช่วยอธิบายความสามารถทางจิตใจของมนุษย์ เช่นความเห็นใจผู้อื่น การเรียนรู้โดยลอกเลียนแบบ และวิวัฒนาการทางภาษา รามจันทรันยังได้ตั้งทฤษฎีขึ้นด้วยว่า เซลล์ประสาทกระจกอาจเป็นกุญแจในการเข้าใจระบบประสาทซึ่งเป็นรากฐานของความรู้สึกว่าตนในมนุษย์

ทฤษฎีเกี่ยวกับออทิซึม

ดูบทความหลักที่: ออทิซึม

ในปี ค.ศ. 1999 รามจันทรัน โดยร่วมงานกับนายอีริค แอลท์สกูเลอร์ ผู้รับอบรมหลังปริญญาเอก (ในเวลานั้น) และเจมี พิเนดา ผู้เป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นกลุ่มนักวิจัยกลุ่มแรกที่เสนอว่า การสูญเสียเซลล์ประสาทกระจก อาจเป็นความบกพร่องตัวสำคัญที่อธิบายอาการและปรากฏการณ์หลาย ๆ อย่างของโรคกลุ่มออทิซึมสเปกตรัม (autism spectrum disorder ตัวย่อ ASD) ในระหว่างปี ค.ศ. 2000 และ 2006 รามจันทรันและคณะที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ได้พิมพ์บทความหลายชิ้นที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ ซึ่งกลายเป็นทฤษฎีที่รู้จักกันว่า "ทฤษฎีกระจกแตก" (Broken Mirrors) ของโรคออทิซึม รามจันทรันและคณะไม่ได้วัดค่าการทำงานของเซลล์ประสาทกระจกโดยตรง แต่แสดงให้เห็นว่า เด็กที่มีภาวะ ASD มีการตอบสนองที่ผิดปกติทางคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) (ที่รู้จักกันว่า Mu wave suppression หรือการระงับคลื่นสมองมู) เมื่อเปรียบเทียบกับสมองของผู้อื่น

ในปี ค.ศ. 2006 รามจันทรันให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Frontline (แนวหน้า) ของอินเดีย ซึ่งเขากล่าวว่า

สิ่งหนึ่งที่เราค้นพบในห้องทดลองก็คือเหตุของความผิดปกติที่โหดร้ายอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า ออทิซึม ความบกพร่องในระบบเซลล์ประสาทกระจกสามารถอธิบายกลุ่มอาการต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของโรคออทิซึมเพียงโรคเดียว ที่ไม่พบในโรคอื่น ๆ... โดยสรุปก็คือ เราได้ค้นพบมูลฐานของโรคออทิซึมในปี ค.ศ. 2000

การยืนยันของรามจันทรันว่า ระบบเซลล์ประสาทนิวรอนที่ผิดปกติเป็นมูลฐานของออทิซึม ยังเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ในบทความปฏิทัศน์ปี ค.ศ. 2011 ของหนังสือ The Tell-Tale Brain (สมองนักเล่านิทาน) ไซมอน บารอน-โคเฮ็น ผู้อำนวยการของศูนย์วิจัยออทิซึมที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวว่า

ในฐานะเป็นเครื่องอธิบายโรคออทิซึม ทฤษฎีกระจกแตกได้ให้เงื่อนงำที่ยั่วเย้าใจ แต่ว่า หลักฐานตรงกันข้ามบางอย่างขัดแย้งกับทฤษฎีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับขอบเขตของทฤษฎี

เมื่อตระหนักแล้วว่า ระบบเซลล์ประสาทกระจกที่ผิดปกติเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถอธิบายกลุ่มอาการที่กว้างขวางของ ASD รามจันทรันจึงได้ตั้งทฤษฎีเพิ่มขึ้นอีกว่า โรคลมชักในสมองกลีบขมับในวัยเด็ก และความผิดปกติช่วงพัฒนาของป่องรับกลิ่น (olfactory bulb dysgenesis) อาจมีบทบาทในกลุ่มอาการของ ASD

ในปี ค.ศ. 2010 รามจันทรันกล่าวว่า

ทฤษฎีเกี่ยวกับป่องรับกลิ่น มีความเกี่ยวข้องอย่างสำคัญในการวินิจฉัยและรักษา (โรคกลุ่มอาการ ASD)

และประกาศว่า คณะของเขาจะดำเนินงานวิจัยที่เปรียบเทียบขนาดป่องรับกลิ่นของคนไข้ออทิซึมเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมผู้เป็นปกติ

Apotemnophilia

ในปี ค.ศ. 2008 รามจันทรัน พร้อมทั้งเดวิด แบรงก์ และพอล์ แม็คกิออค ตีพิมพ์ผลงานวิจัยงานแรกที่เสนอว่า apotemnophilia เป็นโรคทางประสาทที่เกิดขึ้นจากความเสียหายในสมองกลีบข้าง

โรคที่มีน้อยนี้ ซึ่งคนไข้ต้องการจะให้ตัดอวัยวะของตนออก ได้รับการบ่งชี้เป็นครั้งแรกโดยจอหน์ มันนี ในปี ค.ศ. 1977. โดยต่อยอดงานก่อน ๆ ของรามจันทรันซึ่งชี้ถึงแผนภาพร่างกายในสมอง รามจันทรันและคณะได้เสนอว่า โรคนี้เกิดจากภาพร่างกายในสมองที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้มีภาวะนี้จึงเห็นอวัยวะของตนเป็นส่วนเกินที่ไม่คุ้นเคยและอยู่นอกกายของตน รามจันทรันได้ขยายของเขตทฤษฎีนี้โดยเสนอว่าโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ (anorexia nervosa) อาจจะเป็นโรคเกี่ยวกับภาพร่างกายที่มีมูลมาจากระบบประสาท ไม่ใช่เป็นโรคเกี่ยวกับความอยากอาหารที่มีเหตุในไฮโปทาลามัส

อาการหลงผิดคะกราส์

ดูบทความหลักที่: อาการหลงผิดคะกราส์

โดยร่วมงานกับผู้รับอบรมหลังปริญญาเอก (ในเวลานั้น) คือวิลเลียมส์ เฮอร์สไตน์ รามจันทรันตีพิมพ์งานวิจัยในปี ค.ศ. 1997 ซึ่งแสดงทฤษฎีที่อธิบายมูลฐานทางประสาทของอาการหลงผิดคะกราส์ (Capgras delusion) ซึ่งเป็นอาการหลงผิดที่คนไข้คิดว่า สมาชิกในครอบครัวและบุคคลผู้เป็นที่รักอื่น ๆ มีการทดแทนด้วยตัวปลอม ก่อนหน้านั้น อาการนี้ได้รับการอธิบายว่า เกิดจากความขาดออกจากกันของการรู้จำใบหน้า (facial recognition) และความตื่นตัวของอารมณ์ความรู้สึก (emotional arousal)

รามจันทรันและเฮอร์สไตน์ ได้เสนอคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างที่มีความเฉพาะเจาะจงยิ่งกว่าคำอธิบายเดิมว่า อาการหลงผิดคะกราส์เป็นผลจากการเชื่อมต่อที่ขาดจากกันของเขตรับรู้หน้าในรอยนูนรูปกระสวย (fusiform face area) ที่มีบทบาทในการรับรู้ใบหน้า และอะมิกดะลา (amygdala) ซึ่งมีบทบาทในการตอบสนองด้วยอารมณ์ความรู้สึกต่อใบหน้าที่คุ้นเคย

นอกจากนั้นแล้ว โดยมีพื้นฐานในแบบจำลองของพวกเขา และการตอบสนองของคนไข้ที่พวกเขาตรวจสอบ (ผู้เป็นชาวบราซิลที่มีความบาดเจ็บที่ศีรษะเนื่องจากอุบัติเหตุรถยนต์) รามจันทรันและเฮอร์สไตน์ได้เสนอทฤษฎีที่ทั่วไปเกี่ยวกับการสร้างความทรงจำ พวกเขาสันนิษฐานว่า บุคคลผู้มีอาการหลงผิดคะกราส์ สูญเสียความสามารถในการจัดระเบียบหรือการจัดประเภทของความทรงจำ ดังนั้น จึงไม่สามารถจัดการความจำเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่จะมีความทรงจำเชื่อมต่อกันเกี่ยวข้องกับคน ๆ หนึ่ง ความทรงจำต่าง ๆ กันกลับประกอบด้วยความรู้สึกว่าเกี่ยวข้องกับคนต่าง ๆ กัน

ความมีเพศสลับไปมา

ในปี ค.ศ. 2012 เคสและรามจันทรันรายงานถึงผลการสำรวจบุคคลผู้มีภาวะ bigender ผู้ประสบการสลับไปมาระหว่างพฤติกรรมเป็นชายและพฤติกรรมเป็นหญิงที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ เคสและรามจันทรันสันนิษฐานว่า การสลับไปมาของของพฤติกรรมอาจจะเกิดจากการสลับการทำงานในสมองสองซีกในระดับที่ลึกซึ้งกว่าปกติ และมีการเข้าไปยับยั้งแผนที่ทางกายที่เป็นไปตามเพศจริง ๆ ของตนในคอร์เทกซ์กลีบข้าง

พวกเขาได้กล่าวไว้ว่า

เราสันนิษฐานว่า โดยติดตาม nasal cycle ระดับการสลับตาในปรากฏการณ์การแข่งขันระหว่างสองตา และตัวบ่งชี้อย่างอื่นที่แสดงการสลับการทำงานระหว่างซีกสมองทั้งสองข้าง ก็จะสามารถค้นพบเหตุทางสรีรภาพ ของการที่ผู้มีพฤติกรรมสองเพศแจ้งถึงการกลับเพศที่เป็นอัตวิสัย ทฤษฎีของเรามีมูลฐานในความสัมพันธ์ระหว่างสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวากับเพศชายและเพศหญิง ทั้งที่แสดงไว้ตั้งแต่สมัยโบราณและทั้งที่แสดงไว้ในปัจจุบัน

การเป็นพยานในศาลฐานผู้เชี่ยวชาญ

รามจันทรันได้รับเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญในศาลในเรื่องการตั้งครรภ์เท็จ (pseudocyesis) ในคดีปี ค.ศ. 2007 ของลิซา เอ็ม มอนต์กอมเมอรี รามจันทรันเป็นพยานว่า มอนต์กอมเมอรีมีอาการหลงผิดที่เกิดจากภาวะการตั้งครรภ์เท็จขั้นรุนแรง จนกระทั่งเธอไม่สามารถตระหนักว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือตระหนักถึงความผิดถูกของพฤติกรรมของตน

รางวัลและเกียรติคุณ

รามจันทรันได้รับเลือกเป็น "Visiting Fellow (สมาชิกเยี่ยมเยือน)" ของ All Souls College ซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดในประเทศอังกฤษ (ค.ศ. 1998-1999) นอกจากนั้นแล้ว เขายังได้รับตำแหน่งเป็น "Hilgard visiting professor (ศาสตราจารย์เยี่ยมเยือนฮิลการ์ด)" ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในประเทศสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 2005) เขาได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์จากวิทยาลัยคอนเน็คติกัต ประเทศสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 2001) และจากสถาบันเทคโนโลยีอินเดียในเมืองมัทราส ประเทศอินเดีย (ค.ศ. 2004)

รามจันทรันได้รับรางวัล "รามอน อี กาฮาล" จากสมาคมประสาทจิตเวชระหว่างประเทศ (ค.ศ 2004) และเหรียญอาเรียนส์-แค็ปเปอร์ส จากราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ เพราะผลงานของเขาในประสาทวิทยาศาสตร์ (ค.ศ. 1999). เขาได้รับรางวัลเฮ็นรี เดล ร่วมกับไมเคิล เบรดี จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในปี ค.ศ. 2005 และโดยเป็นส่วนของรางวัลนั้น ได้รับเลือกเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ตลอดชีวิตของราชบัณฑิตยสถานบริเตนใหญ่ (Royal Institute of Great Britain) ของประเทศอังกฤษ เพราะ "งานวิจัยโดดเด่นระหว่างสาขา"

ในปี ค.ศ. 2007 ประธานาธิบดีของประเทศอินเดียได้มอบรางวัลพลเรือนระดับสามจากสูงสุด และบรรดาศักดิ์ของประเทศอินเดีย คือรางวัล Padma Bhushan ให้แก่ ดร.รามจันทรัน ในปี ค.ศ. 2008 เขาติดอันดับ 50 ในโพลสาธารณะยอดนักปราชญ์ 100 (Top 100 Public Intellectuals Poll)

ปาฐกถา

รามจันทรันเป็นที่รู้จักกันดีในลีลาความเป็นผู้กล่าวปาฐกถาที่ดึงดูดใจ เขาได้เป็นผู้กล่าวปาฐกถานำ (คีย์โน้ตสปี๊กเก้อร์) และเป็นผู้กล่าวปาฐกถาทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา ประเทศอังกฤษ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศอินเดีย

  • ในปี ค.ศ. 1995 เขาได้เป็นผู้กล่าวปาฐกถา "ทศวรรษของสมอง" ณ การประชุมประจำปีครั้งที่ 25 ของสมาคมประสาทวิทยา
  • ในปี ค.ศ. 1997 ได้ให้ปาฐกถาอนุสรณ์บีต์ตี ที่มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ประเทศแคนาดา
  • ในปี ค.ศ. 1999 ได้ให้ปาฐกถานำที่งานประชุมทศวรรษแห่งสมอง ต่อหน้าองค์ประชุมของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) และหอสมุดรัฐสภา ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ได้ให้ปาฐกถา "Rabindranath Tagore" ณ ศูนย์ปรัชญาและมูลนิธิวิทยาศาสตร์ ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย
  • ในปี ค.ศ. 2003 ได้ให้ปาฐกถา "รีธ" (Reith Lectures) ที่มีเป็นประจำปีของบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ
  • ในปี ค.ศ. 2007 ได้ให้ปาฐกถาซึ่งเป็นส่วนของปาฐกถาชุด โดยรับการสนับสนุนจากมูลนิธิเท็มเปิลตันของราชสมาคมแห่งลอนดอน
  • ในปี ค.ศ. 2010 ได้ให้ปาฐกถาดีเด่น IAS ณ สถาบันการศึกษาชั้นสูง (Institute of Advanced Studies หรือ IAS) ของมหาวิทยาลัยบริสตอล อุทิศให้กับสหายเก่าผู้เป็นเพื่อนร่วมงานของเขาคือนายริชาร์ด เกร็กกอรี
  • ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 ได้ให้ปาฏฐกถามีชื่อว่า "ประสาทวิทยาของธรรมชาติมนุษย์" ที่งานประชุมโนเบล ณ วิทยาลัยกัสตาวัส อดอล์ฟัส ในเมืองเซนต์ปีเตอร์ รัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ในปี ค.ศ. 2012 ได้ให้ปาฐกถากิฟฟอร์ด (28-30 พ.ค.) ณ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์

Minotaurasaurus ramachandrani

ความสนใจของเขาในบรรพชีวินวิทยา (paleontology) กระตุ้นรามจันทรันให้จัดซื้อกะโหลกซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์จากทะเลทรายโกบี ซึ่งได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของเขาว่า Minotaurasaurus ramachandrani ในปี ค.ศ. 2009

ข้อถกเถียงย่อย ๆ ได้เกิดขึ้นเพราะประวัติความเป็นมาของกะโหลกใบนี้ นักบรรพชีวินวิทยาบางท่านกล่าวว่า ซากดึกดำบรรพ์นี้ขุดมาจากทะเลทรายโกบีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลจีน และได้รับการขายโดยไม่มีการแลกเปลี่ยนเอกสารที่สมควร รามจันทรันผู้ได้ซื้อซากดึกดำบรรพ์นี้ที่เมืองทัคสัน รัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวว่า เขามีความยินดีที่จะส่งคืนซากดึกดำบรรพ์นี้กลับไปยังประเทศที่สมควร ถ้ามีใครแสดง "หลักฐานว่า ซากดึกดำบรรพ์นี้มีการส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต" แก่เขา ในตอนนี้ กะโหลกที่เป็นแบบตัวอย่างนั้น ยังอยู่ที่พิพิธภัณฑ์หุบเขาวิคเตอร์ (Victor Valley Museum) ซึ่งอยู่ในระยะการเดินทางชั่วโมงหนึ่งโดยรถยนต์ ด้านทิศตะวันออกของนครลอสแอนเจลิส ที่เมืองหุบเขาแอปเปิล รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

หนังสือที่เขียน

  • Phantoms in the Brain: Probing the Mysteries of the Human Mind (อวัยวะแฟนตอมในสมอง - การสำรวจความลึกลับของใจมนุษย์), เขียนร่วมกับ Sandra Blakeslee, ค.ศ. 1998, ISBN 0-688-17217-2
  • Encyclopedia of the Human Brain (สารานุกรมสมองมนุษย์) (หัวหน้าบรรณาธิการ) ISBN 0-12-227210-2
  • The Emerging Mind (ใจที่กำลังเผยตัว), ค.ศ. 2003, ISBN 1-86197-303-9
  • A Brief Tour of Human Consciousness: From Impostor Poodles to Purple Numbers (ทัวร์สั้น ๆ ของใจมนุษย์ - ตั้งแต่สุนัขพูเดิลตัวปลอม จนถึงตัวเลขมีสีม่วง), ค.ศ. 2005, ISBN 0-13-187278-8 (ปกอ่อน)
  • The Tell-Tale Brain: A Neuroscientist's Quest for What Makes Us Human (สมองนักเล่านิทาน – การสืบหาความเป็นมนุษย์ของนักประสาทวิทยาคนหนึ่ง), ค.ศ. 2010, ISBN 978-0-393-07782-7

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. วีดีโอที่ ดร.รามจันทรันออกเสียงชื่อของตน ที่นาที 1.45 ว่า "วิละยะนอร์"
  2. "BBC–Radio 4–Reith Lectures 2003–The Emerging Mind". สืบค้นเมื่อ October 4, 2011. หรือโหลดได้ที่
    • "(ตอนหนึ่ง) BBC–Radio 4–Reith Lectures 2003–The Emerging Mind 1 2003" (เอ็มพี3). April 2, 2003. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
    • "(ตอนสอง) BBC–Radio 4–Reith Lectures 2003–The Emerging Mind 2 2003" (เอ็มพี3). April 9, 2003. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
    • "(ตอนสาม) BBC–Radio 3–Reith Lectures 2003–The Emerging Mind 3 2003" (เอ็มพี3). April 16, 2003. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
    • "(ตอนสี่) BBC–Radio 3–Reith Lectures 2003–The Emerging Mind 4 2003" (เอ็มพี3). April 23, 2003. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
    • "(ตอนห้า) BBC–Radio 3–Reith Lectures 2003–The Emerging Mind 5 2003" (เอ็มพี3). April 30, 2003. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
  3. Center for Brain and Cognition website
  4. Ramachandran Bio on CBC website
  5. Psychology Department Webage with link to CBC
  6. UCSD Psychology Faculty Directory
  7. Ramachandran Neurosciences Graduate Program Webpage
  8. Anthony, VS Ramachandran: The Marco Polo of neuroscience, The Observer, January 29, 2011.
  9. พอล์ โบรคา เป็นศัลยแพทย์และนักกายวิภาคศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง ผู้ค้นพบเขตโบรคาซึ่งเป็นเขตประสาทในสมองมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา เป็นหลักฐานทางกายวิภาคชิ้นแรกสุดที่แสดงการทำกิจเฉพาะอย่างของเขตต่าง ๆ ในสมอง
  10. A Brief Tour of Human Consciousness, 2004, Back Cover
  11. "The Century Club". Newsweek. April 21, 1997. สืบค้นเมื่อ February 16, 2011.
  12. "V.S. Ramachandran - Time 100". April 21, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2011. ทอม อินเซิล ผู้อำนวยการของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงรามจันทรันว่า "เป็นผู้ที่ครั้งหนึ่งได้รับการพรรณนาว่า เป็นนายมาร์โก โปโล ของประสาทวิทยาศาสตร์ รามจันทรันได้ทำแผนที่ของส่วนต่าง ๆ ที่ลึกลับที่สุดในจิตใจ ได้ทำการศึกษาในการรับรู้ทางตา และในโรคพร้อมกับภาวะอื่น ๆ ตั้งแต่ ภาวะเจือกันของวิถีประสาท (synesthesia) จนถึงออทิซึม รามจันทรันกำลังเปลี่ยนวิธีที่สมองของเรา จะคิดถึงจิตใจของเรา"
  13. ในโพลสาธารณะสำหรับบุคคลที่อยู่ในรายชื่อของนิตยสารไทม์ปี ค.ศ. 2011 รามจันทรันติดอันดับที่ 97 จาก 100
  14. อวัยวะแฟนตอม คือเป็นอวัยวะที่ไม่มีอยู่จริง ๆ แต่รู้สึกเหมือนว่ามี
  15. The Science Studio Interview, June 10, 2006, transcript
  16. Colapinto, J (May 11, 2009). "Brain Games; The Marco Polo of Neuroscience". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ March 11, 2011. Full text via Lexis-Nexus here
  17. Andrew Anthony. date = January 30, 2011 "VS Ramachandran: The Marco Polo of neuroscience" Check |url= value (help). guardian.co.uk. สืบค้นเมื่อ August 8, 2011. Missing pipe in: |url= (help)
  18. Ramachandran V.S.,The Making of a Scientist,essay included in Curious Minds:How a Child Becomes a Scientist,page 211[1]
  19. Caltech Catalog,1987-1988, page 325
  20. Ravi, Y.V. (2003-09-23). "Legal luminary". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21.
  21. ScienceInsider, March 8, 2010
  22. Bulletin, BNA, page 14, issue 62, Autumn 2010
  23. Brugger, Peter, Book Review, Cognitive Neuropsychiatry, Vol. 17, Issue 4, 2012
  24. Ramachandran,V.S. Author Response, Cognitive Neuropsychiatry, Vol. 17, Issue 4, 2012
  25. Sperling et al., Selective magnocellular deficits in dyslexia: a "phantom contour" study, Neuropsychologia, 41,(2003)1422-1429
  26. magnetoencephalography เป็นเทคนิคการทำแผนภาพของการทำงานในสมอง โดยใช้แมกเนโตมิเตอร์ที่มีความละเอียดอ่อนสูง บันทึกสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าที่แล่นไปตามธรรมชาติในสมอง
  27. Yang, UCSD Faculty web page
  28. Yang TT, Gallen CC, Ramachandran VS, Cobb S, Schwartz BJ, Bloom FE (1994). "Noninvasive detection of cerebral plasticity in adult human somatosensory cortex". NeuroReport. 5 (6): 701–4. doi:10.1097/00001756-199402000-00010. PMID 8199341. Unknown parameter |month= ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  29. เพื่อดูความเห็นที่ต่างกัน โปรดดู: Flor et al., Nature Reviews, Vol 7, November 2006 [2]
  30. Ramachandran, Rogers-Ramachandran, Stewart, Perceptual correlates of massive cortical reorganization, Science, 1992, Nov 13, 1159-1160
  31. Reprogramming the cerebral cortex: plasticity following central and peripheral lesions, Oxford, 2006, Edited by Stephen Lomber, pages 334
  32. Ramachandran VS, Rogers-Ramachandran D (1996). "Synaesthesia in phantom limbs induced with mirrors". Proc. Biol. Sci. 263 (1369): 377–86. doi:10.1098/rspb.1996.0058. PMID 8637922. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23. Unknown parameter |month= ignored (help)
  33. Chan, B; Witt, R; Charrow, A; Magee, A; Howard, R; Pasquina, P. Mirror Therapy for Phantom Limb Pain, N Engl J Med 2007; 357:2206–2207November 22, 2007.
  34. Moseley, L; Flor, H. Targeting Cortical Representations in the Treatment of Chronic Pain: A Review, Neurorehabilitation & Neural Repair, XX(X) 1–7, 2012.
  35. Subedi, Bishnu; Grossberg, George. Phantom Limb Pain: Mechanisms and Treatment Approaches, Pain Research and Treatment, Vol 2011, Article ID 864605.
  36. Ramachandran VS and Hubbard EM (2001). "Synaesthesia: A window into perception, thought and language" (PDF). Journal of Consciousness Studies. 8 (12): 3–34.
  37. Hubbard EM, Arman AC, Ramachandran VS, Boynton GM (2005). "Individual differences among grapheme-color synesthetes: brain-behavior correlations" (PDF). Neuron. 45 (6): 975–85. doi:10.1016/j.neuron.2005.02.008. PMID 15797557. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21. Unknown parameter |month= ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  38. Hubbard EM, Ramachandran VS (2005). "Neurocognitive mechanisms of synesthesia" (PDF). Neuron. 48 (3): 509–520. doi:10.1016/j.neuron.2005.10.012. PMID 16269367.
  39. Brang D, Hubbard EM, Coulson S, Huang M, Ramachandran VS (2010). "Magnetoencephalography reveals early activation of V4 in grapheme-color synesthesia". Neuroimage. 53 (1): 268–274. doi:10.1016/j.neuroimage.2010.06.00. PMID 20547226.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  40. Ramachandran, Hubbard, "Neural cross wiring and synesthesia", Journal of Vision, Dec 2000[3]
  41. Lakoff, G & Johnson, M (1980). Metaphors We Live By. Chicago, IL: University of Chicago Press.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  42. Ramachandran, V.S. (June 1, 2000). "Mirror neurons and imitation learning as the driving force behind "the great leap forward" in human evolution". Edge Foundation web site. สืบค้นเมื่อ October 19, 2011.
  43. Rizzolatti,G.,Fabbri-Destro,M,"Mirror Neurons:From Discovery to Autism" Experimental Brain Research, (2010)200:223–237 [4]
  44. Jarrett Christian, Brain Myths,Psychology Today, December 10,2012 [5]
  45. Baron-Cohen, Making Sense of the Brain's Mysteries, American Scientist, On-line Book Review, July–August, 2011 [6]
  46. Oberman, L.M. & Ramachandran, V.S. (2008). "Reflections on the Mirror Neuron System: Their Evolutionary Functions Beyond Motor Representation". ใน Pineda, J. A. (บ.ก.). Mirror Neuron Systems: The Role of Mirroring Processes in Social Cognition. Contemporary Neuroscience. Humana Press. pp. 39–62. ISBN 978-1-934115-34-3.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  47. Ramachandran, V.S. (January 1, 2009). "Self Awareness: The Last Frontier". Edge Foundation web site. สืบค้นเมื่อ October 19, 2011.
  48. โรคกลุ่มออทิซึมสเปกตรัม (autism spectrum) เป็นคำเรียกโรคต่าง ๆ ที่เป็นความผิดปกติทางการพัฒนาที่แผ่ไปทั่ว (pervasive developmental disorder) รับการนิยามไว้ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ว่า รวมกลุ่มอาการต่าง ๆ คือ ออทิซึม กลุ่มอาการแอสเปอร์เจอร์ ความผิดปกติทางการพัฒนาที่แผ่ไปทั่วอื่น ๆ เช่น กลุ่มอาการเฮ็ลเลอร์ และกลุ่มอาการเร็ตต์
  49. E.L. Altschuler, A. Vankov, E.M. Hubbard, E. Roberts, V.S. Ramachandran and J.A. Pineda (2000). "Mu wave blocking by observer of movement and its possible use as a tool to study theory of other minds". 30th Annual Meeting of the Society for Neuroscience. Society for Neuroscience.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  50. Oberman LM, Hubbard EM, McCleery JP, Altschuler EL, Ramachandran VS & Pineda JA. (2005). "EEG evidence for mirror neuron dysfunction in autism spectrum disorders" (PDF). Cognitive Brain Research. 24 (2): 190–198. doi:10.1016/j.cogbrainres.2005.01.014. PMID 15993757.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  51. Ramachandran, V.S. & Oberman, L.M. (October 16, 2006). "Broken Mirrors: A Theory of Autism" (PDF). Scientific American. 295 (5): 62–69. doi:10.1038/scientificamerican1106-62. PMID 17076085.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  52. Oberman LM & Ramachandran VS. (2007). "The simulating social mind: the role of the mirror neuron system and simulation in the social and communicative deficits of autism spectrum disorders" (PDF). Psychological Bulletin. 133 (2): 310–327. doi:10.1037/0033-2909.133.2.310. PMID 17338602.
  53. Interview with Sashi Kumar, Frontline,Vol 23,Issue 06,Mar 25, 2006
  54. Baron-Cohen,Simon,"Making Sense of the Brain's Mysteries, American Scientist, On-line Book Review, July–August,2011 [7]
  55. Brang,D, Ramachandran,VS, Olfactory bulb dysgenesis, mirror neuron system dysfunction, and autonomic dsyregulation as the neural basis for autism, Medical Hypotheses, 74, 2010, 919-921 [8]
  56. Brang, D McGeoch, P & Ramachandran VS (2008). "Apotemnophilia: A Neurological Disorder" (PDF). Cognitive Neuroscience and Neuropsychology. 19: 1305–1306. doi:10.1097/WNR.0b013e32830abc4d. PMID 18695512.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  57. Ramachandran VS, Brang D, McGeoch PD, Rosar W. (2009). "Sexual and food preference in apotemnophilia and anorexia: interactions between 'beliefs' and 'needs' regulated by two-way connections between body image and limbic structures" (PDF). Perception. 38 (5): 775–777. PMID 19662952.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  58. Ellis MD, Young, Accounting for delusional misidentifications, British Journal of Psychiatry, Aug 1990, 239-248 [9]
  59. Hirstein, W; Ramachandran, VS (1997). "Capgras syndrome: a novel probe for understanding the neural representation of the identity and familiarity of persons" (PDF). Proc Biol Sci., B. 264 (1380): 437–444. doi:10.1098/rspb.1997.0062. PMC 1688258. PMID 9107057.
  60. bigender (ผู้มีเพศสอง, พฤติกรรมสองเพศ) เป็นคำกำหนดความโน้มน้าวในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมระหว่างเพศชายและเพศหญิง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ผู้มีภาวะนี้บางครั้งเรียกว่า "dual gender" หรือ "two spitrits"
  61. nasal cycle (วงจรการคัดจมูก) เป็นการสลับกันระหว่างภาวะคัดจมูกและภาวะโล่งจมูกในมนุษย์ เป็นผลจากการที่ไฮโปทาลามัสเข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติทีละครึ่ง
  62. Case,L, Ramachandran,VS, Alternating gender incongruity: A new neuropsyhchiatric syndrome providing insight into the dynamic plasticity of brain-sex,Med Hypotheses. 2012 May;78(5):626-3 [10]
  63. Neuroskeptic web page, Sunday,April 8, 2012
  64. Karen Olson (October 21, 2007). "Brain Expert Witness Testifies in Lisa Montgomery Trial". Expert Witness Blog, Juris Pro. สืบค้นเมื่อ November 21, 2011.
  65. "United States of America v. Lisa M. Montgomery". American Lawyer. April 7, 2011. สืบค้นเมื่อ November 21, 2011.
  66. Science Direct, 2 January 2007
  67. [11]
  68. Search on http://india.gov.in/myindia/advsearch_awards.php for Ramachandaran (sic!) in March 2008.
  69. "Intellectuals". Prospect Magazine. 2009. สืบค้นเมื่อ June 4, 2011.
  70. Society for Neuroscience (1995). Society for Neuroscience Abstracts, Volume 21, Part 1. Society for Neuroscience. p. viii. ISBN 978-0-916110-45-1.
  71. Past Beatty Talks web site, McGill Universtiy[12]
  72. "The Science of Cognition". Library of Congress. January 3, 2000. สืบค้นเมื่อ October 4, 2011.
  73. "NIH Record 11-02-99--Cognitive Science Advances Understanding of Brain, Experience". NIH. November 2, 1999. สืบค้นเมื่อ October 4, 2011.
  74. "Proceedings: Welcome to CPFS". สืบค้นเมื่อ October 4, 2011.
  75. "Nature and nurture in brain function: clues from synesthesia and phantom limbs". November 28, 2007. สืบค้นเมื่อ October 4, 2011.
  76. "2010 IAS Distinguished Lecture: Neuroscience and Human Nature". University of Bristol. June 28, 2010. สืบค้นเมื่อ June 4, 2011.
  77. งานประชุมโนเบล (Nobel Conference) เป็นงานประชุมวิชาการที่ยังจัดกันอยู่ เป็นงานแรกที่ได้รับการอนุญาตอย่างเป็นทางการจากมูลนิธิโนเบล ของกรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน มีการจัดทุก ๆ ปี ณ วิทยาลัยกัสตาวัส อดอล์ฟัส ในเมืองเซนต์ปีเตอร์ รัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เปิดโอกาสให้สาธารณชนสนทนากับนักวิชาการและนักวิจัยระดับโลก เกี่ยวข้องกับปัญหาต่าง ๆ ยุคปัจจุบันทางสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
  78. "Schedule, Nobel Conference 47". Gustavus Adolphus College. สืบค้นเมื่อ October 4, 2011.
  79. "Body And Mind: Insights From Neuroscience". สืบค้นเมื่อ October 4, 2011.
  80. Miles, Clifford A. and Clark J. Miles (2009). "Skull of Minotaurasaurus ramachandrani, a new Cretaceous ankylosaur from the Gobi Desert" (PDF). Current Science. 96 (1): 65–70.
  81. naturenews, February 2, 2009

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วีดีโอของ TED.com เรื่อง "ร่องรอย ๓ อย่างเพื่อเข้าใจสมองของคุณ (3 Clues to Understanding Your Brain)" โดย ดร.รามจันทรัน ค.ศ. 2007, เป็นภาษาอังกฤษแต่มีคำบรรยายแปลด้านล่าง
  • "รามจันทรันกับใจของคุณ" เล็กเช่อร์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับความเสียหายในสมองและโครงสร้างของใจ, มีคำบรรยายไทยด้านล่าง, ที่ TED.com
  • Vilayanur S. Ramachandran (official webpage)
  • Take the Neuron Express for a Brief Tour of Consciousness The Science Network interview with V.S. Ramachandran
  • Ramachandran Illusions
  • All in the Mind interview
  • Reith Lectures 2003 The Emerging Mind by Ramachandran หรือ โหลดได้ที่
    • "(ตอนหนึ่ง) BBC–Radio 4–Reith Lectures 2003–The Emerging Mind 1 2003" (เอ็มพี3). April 2, 2003. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
    • "(ตอนสอง) BBC–Radio 4–Reith Lectures 2003–The Emerging Mind 2 2003" (เอ็มพี3). April 9, 2003. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
    • "(ตอนสาม) BBC–Radio 3–Reith Lectures 2003–The Emerging Mind 3 2003" (เอ็มพี3). April 16, 2003. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
    • "(ตอนสี่) BBC–Radio 3–Reith Lectures 2003–The Emerging Mind 4 2003" (เอ็มพี3). April 23, 2003. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
    • "(ตอนห้า) BBC–Radio 3–Reith Lectures 2003–The Emerging Mind 5 2003" (เอ็มพี3). April 30, 2003. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
  • Talk at Princeton A 2009 talk about his work.
  • The Third Culture Scroll down for three of his essays regarding mirror neurons and self-awareness
  • Ramachandran's contribution to The Science Network's Beyond Belief 2007 Lectures on synaesthesia and metaphor.
[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]]
ชื่อ วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน}
ชื่ออื่น ทมิฬ: விளையனூர் இராமச்சந்திரன்
รายละเอียดโดยย่อ นักประสาทวิทยาศาสตร์
วันเกิด ค.ศ. 1951 (พ.ศ. 2494)
สถานที่เกิด รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย
วันตาย
สถานที่ตาย

ลยนอร, พรหม, ณย, รามจ, นทร, ลยนอร, พรหม, ณย, รามจ, นทร, ทม, யன, இர, மச, சந, ரன, ลยน, รห, มณ, ยม, รามจน, ทรน, กษรโรม, vilayanur, subramanian, ramachandran, เก, 2494, เป, นน, กประสาทว, ทยาศาสตร, ผลงานเป, นท, กก, นในสาขาพฤต, กรรมประสาทว, ทยา, behavioral, neurolog. wilynxr 1 2 suphrhmnym ramcnthrn thmil வ ள யன ர இர மச சந த ரன wilynur suph rh mn ym ramcn thrn xksrormn Vilayanur Subramanian Ramachandran ekid ph s 2494 epnnkprasathwithyasastr thimiphlnganepnthiruckkninsakhaphvtikrrmprasathwithya behavioral neurology aela citfisiks psychophysics dr ramcnthrnpccubnepnphuxanwykarkhxngsunysmxngaelakarrbru Center for Brain and Cognition 3 4 5 aelasastracaryinkhnacitwithya 6 aelakhnaprasathwithyasastrinradbbnthitsuksa 7 khxngmhawithyalyaekhlifxreniy sandiexok praethsshrthxemrikawilynxr suphrhmnym ramcnthrn Vilayanur S Ramachandran ramcnthrninnganchlxng Time 100 pi kh s 2011ekidkh s 1951rththmilnathu praethsxinediysisyekaaephthysastrbnthit slysastrbnthit M B B S cak mhawithyalymthras emuxngecnin priyyaexk cak mhawithyalyekhmbridcmichuxesiyngcakprasathwithya karrbruthangta klumxakarhlngphidwaaekhnkhayngkhngxyu phawawithiprasathecuxkn xxthisum body integrity identity disorderrangwlehriyy Ariens Kappers cak rachbnthitysthanwithyasastraehngpraethsenethxraelnd rangwl Padma Bhushan cakprathanathibdipraethsxinediy BBC Reith Lectures kh s 2003 idrbeluxkepnsmachikeyiymeyiyn Visiting Fellows khxng All Souls College xnepnsthabnkhxng mhawithyalyxxksfxrd phurwmrbrangwl Henry Dale Prize pi kh s 2005 khxng rachbnthitysthanbrietnihyxachiphthangwithyasastrsakhaprasathwithya citwithyasthabnthithanganmhawithyalyaekhlifxreniy sandiexok sastracary aelasunysmxngaelakarrbru Center for Brain and Cognition phuxanwykar xacarythipruksainradbpriyyaexksOliver Braddick David Whitteridge FW Campbell H Barlowdr ramcnthrnmichuxesiynginkarthdlxng thiimtxngxasyethkhonolyithisbsxnechnkarsrangphaphprasath neuroimaging aetthungaemwacaichwithithingay dr ramcnthrnkidsrangkhwamkhidihm makmayekiywkbkarthangankhxngsmxng 8 richard dxwkins phuepnnkchiwwithyawiwthnakarthimichuxesiyng ideriyk dr ramcnthrnwa naymarok opol khxngprasathwithyasastr aelaexrikh aeknedil phuepnaephthyprasathcitewchphuidrbrangwloneblinpi kh s 2000 ideriykekhawa nayphxl obrkha 9 inyukhpccubn 10 nitysar Newsweek khawspdah yk dr ramcnthrnihepnsmachiksomsraehngstwrrs The Century Club epnbukhkhlednthisudkhnhnungin 100 khnthikhwrcatidtaminkhriststwrrsthi 21 11 inpi kh s 2011 nitysarithm ykihekhaepnhnunginbrrdabukhkhl 100 khn thimixiththiphlmakthisudinolkinraychux ithm 100 12 13 dr ramcnthrnidekhiynhnngsuxhlayelm thikxihekidkhwamsnicxyangkwangkhwangcaksatharnchn rwmthng Phantoms In the Brain xwywaaefntxminsmxng 14 kh s 1999 aela The Tell Tale Brain smxngnkelanithan kh s 2010 enuxha 1 chiwprawtiaelakarsuksa 2 nganwithyasastr 2 1 karehninmnusy 2 2 xwywaaefntxm 2 3 khxmulpxnklbthangtadwykrack 2 4 wngcrprasathikhwinsmxng 2 5 wiwthnakarkhxngphasa 2 6 esllprasathkrack 2 7 thvsdiekiywkbxxthisum 2 8 Apotemnophilia 2 9 xakarhlngphidkhakras 2 10 khwammiephsslbipma 3 karepnphyaninsalthanphuechiywchay 4 rangwlaelaekiyrtikhun 5 pathktha 6 Minotaurasaurus ramachandrani 7 hnngsuxthiekhiyn 8 echingxrrthaelaxangxing 9 aehlngkhxmulxunchiwprawtiaelakarsuksa aekikhwilynxr suphrhmnym ramcnthrn tampraephnikhxngkhnthmil namskulkhxngekhakhux wilynxr ekhiynepnchuxhna ekidinpi kh s 1951 ph s 2494 inrththmilnathu praethsxinediy bidaphuchuxwa w m suphrhmnym V M Subramanian epnwiswkrthangankbxngkhkrphthnaxutsahkrrm Industrial Development khxngxngkhkarshprachachati phuidthahnathithutinkrungethphmhankhr 15 ramcnthrnichchiwitinwyedkswnmakedinthangipinthitang inpraethsxinediyaelainthwipexechiy 16 17 emuxecriywykhun ramcnthrnidekhaorngeriynthiemuxngecnin chuxedim mthras aelaorngeriynkhxngkhnxngkvsinkrungethphmhankhr 18 ekhamikhwamsnicinwithyasastrhlaysakharwmthngsngkhwithya 16 ramcnthrnidcbsaercepnaephthysastrbnthit slysastrbnthit M B B S cak withyalykaraephthymthras Madras Medical College sungekhyepnswnhnungkhxng mhawithyalymthras emuxngecnin praethsxinediy 19 aelahlngcaknnidrbpriyyaexkcak Trinity College khxngmhawithyalyekhmbridc praethsxngkvsemuxepnbnthitsuksaxyuthiekhmbridc ramcnthrnmiswnrwminnganwicykbkhnawichatang thimhawithyalyxxksfxrd rwmthngkhnasrirwithya hlngcaknn ekhaidichewla 2 pi thisthabnaekhlethkh rthaekhlifxreniy epnphurbkarfukxbrmnganwicy research fellow idthanganrwmkbaeckhk ephttikriw phutxmaepnsastracarynksrirwithyachawxxsetreliy txma ekhaidrbtaaehnngphuchwysastracarysakhacitwithya thimhawithyalyaekhlifxreniy sandiexok inpi kh s 1983 aelaidrbtaaehnngepnsastracaryinsakhanntngaetpi kh s 1998dr ramcnthrnepnhlanchaykhxngesxrxlladi krisnswami ilexxr phuepnthipruksakdhmay Advocate General khxngemuxngmthras epnphurwmekhiynrththrrmnuykhxngpraethsxinediy 17 20 dr ramcnthrnmikhusmrskhuxidaexn rxecxrs ramcnthrn aelamibutrsxngkhnkhuxmaniaelaichya 16 nganwithyasastr aekikhephuxthicaekhaicwasmxngthanganxyangir dr ramcnthrnidthakarsuksaklumxakarthangprasathechnklumxakarhlngphidwaaekhnkhayngkhngxyu phantom limb body integrity identity disorder aela xakarhlngphidkhakras yingkwannaelw ekhayngmiphlnganekiywkbphawawithiprasathecuxkn synesthesia 12 16 aelaepnthiruckodysingpradisthkhxngekhaephuxchwybrrethaklumxakarhlngphidwaaekhnkhayngkhngxyu khux klxngkrackekhaidekhiynbthkhwammakkwa 180 chininwarsarwithyasastr rwmthngwarsar thrrmchati Nature withyasastr Science thrrmchati prasathwithyasastr Nature Neuroscience karrbru Perception aela nganwicyinkarehn Vision Research ramcnthrnyngxyuinkhnakrrmkarbrrnathikarkhxngwarsar smmutithanthangkaraephthy Medical Hypotheses sungepnwarsarkhxngbristh Elsevier thikxn kh s 2010 epnwarsarwithyasastrthiimmikartrwcsxbkhxngphuchanayinsakhaediywkn aelaidekhiynbthkhwamthung 15 chininwarsarnnxikdwy 21 ngankhxngramcnthrninphvtikrrmprasathwithya behavioral neurology idrbkarephyaephrxyangkwangkhwangodysuxmwlchn ekhaidpraktinphaphyntrsarkhdikhxngchxng 4 sthaniothrthsnsatharnakhxngpraethsxngkvs aela PBS ekhruxkhaysthaniothrthsnsatharnakhxngpraethsshrthxemrika nxkcaknnaelw yngmiraykarekiywkbekhaephyaephrody brrsthaephrphaphkracayesiyngxngkvs BBC Science Channel chxngwithyasastr sungepnsthaniothrthsnkhxngbristh Discovery Communications praethsshrthxemrika nitysar Newsweek khawspdah khxngshrthxemrika raykarwithyu Radio Lab khxng WNYC sungepnsthaniwithyusatharnainnkhrniwyxrk raykar This American Life khxng WBEC sungpnsthaniwithyusatharnainnkhrchikhaok nganprachum TED Talks TED com aelaraykarothrthsnkhxngchali ors hnngsuxkhxngekha khux Phantoms In the Brain xwywaaefntxminsmxng 14 idrbkarsrangepnphaphyntrsarkhdisxngtxnephyaephrodychxng 4 khxngbrrsthaephrphaphkracayesiyngxngkvs BBC aelaepnphaphyntryaw 1 chwomngephyaephrody PBS inshrthxemrika nxkcaknnaelw ekhayngepnhwhnabrrnathikarkhxng saranukrmsmxngmnusy kh s 2002 xikdwydr ramcnthrnidklawdwykhwamxalyemuxerw niwa nganwithyasastridklayepnxachiphephuxthamahakinmakekinip khux inkarsmphasnkbsmakhmprasathwithyasastraehngpraethsxngkvsinpi kh s 2010 ekhaidklawiwwaaetwa thi phmxyakcaipcring ely kkhuxklbipinkalewla klbipyngsmywikhtxeriy kxnthinganwithyasastrcaklayepnxachiphephuxthamahakinmakekinip kxnthicaklayepnngan 9 omngechathung 5 omngeyn thiprakxbdwykhwamyungyakehmuxnkbfnrayineruxngkaraeswnghakarichxanacaelakarhaenginxupthmphnganwicy inyukhnn nkwithyasastrmiaetkhwamsnuk sahrbbukhkhlechnchals darwin aelathxms hksliy nkchiwwithyachawxngkvsphumichuxesiynginkarsnbsnunthvsdikhxngdarwin olkthngibepnsnamelnkhxngphwkekha 22 inpi kh s 2012 nkprasathwithyasastrpietxr brkekxr wicarhnngsuxkhxngramcnthrn khux The Tell Tale Brain smxngnkelanithan waepnhnngsuxprasathwithyasastrprachaniym ephraaihaetkhatxbthilxnglxyimchdecntxkhathamthimikhwamsakhy 23 ramcnthrntxbwaepnkhwamcringwa phmidklawpraedntang iwxyangkhrxbkhlumckrwal rwmthngkarrbruthangta stereopsis karehnthiwthsnphrxmaenwluk klumxakarhlngphidwaaekhnkhayngkhngxyu phantom limb karptiesthsphawaxmphat khxngkhnikh xakarhlngphidkhakras phawawithiprasathecuxkn synesthesia aelaeruxngxun xikmak sungxaccadihruximdi 24 karehninmnusy aekikh nganyukhtn khxng dr ramcnthrnmikhwamekiywkhxngkbkarrbruthangta odyichwithithangcitkayphaph ephuxihxnumanidxyangchdecnthungklikinsmxng thiepnrakthankhxngkarpramwlphlthangta ramcnthrnidrbekhrditwaepnphukhnphbpraktkarnaelaphaphlwngprasaththangtaaebbihm dr ramcnthrnyngidpradisthklumtwkratunthangtapraephthhnung eriykwa esnkhxbaefntxm phantom contours sungekhaipkratunwithiprasath magnocellular inkarehnkhxngmnusy epntwkratunthiaexnn sepxrlingkaelakhnaidichephuxtrwcsxbphawaesiykarxanrukhwam dyslexia 25 xwywaaefntxm aekikh dubthkhwamhlkthi klumxakarhlngphidwaaekhnkhayngkhngxyu emuxmikartdaekhnhruxkhaxxkip khnikhbxykhrngyngmikhwamrusukxyangchdecnwayngmixwywaehlannxyu odyepn xwywaaefntxm 14 odytxyxdnganwicykhxngoraenld emlaeskhk aehngmhawithyalyaemkhkill aekhnada aelakhxngthiomthi phxns aehngsthabnsukhphaphcitaehngchati NIMH shrthxemrika dr ramcnthrntngthvsdiwa mikhwamsmphnthknrahwangpraktkarnxwywaaefntxmaelasphaphphlastikkhxngrabbprasath neural plasticity insmxngkhxngmnusyphuihyodyechphaaxyangying ekhamithvsdiwa aephnthiphaphthangkayinkhxrethksrbkhwamrusukthangkay epliynaeplngipemuxmikartdxwywaxxk inpi kh s 1993 odythanganrwmkbaeyng phukalngthanganwicyichphaph magnetoencephalography MEG 26 thisthanbnwicyskhripps 27 ramcnthrnaesdngihehnwa mikhwamepliynaeplngthiwdidinkhxrethksrbkhwamrusukthangkaykhxngkhnikhhlaykhnthiphankartdaekhnxxk 28 29 ramcnthrntngthvsdiwa mikhwamsmphnthrahwangkarcdraebiybihminkhxrethksthichdecninphaph MEG aelakhwamrusukthiynghlngehluxxyuthiphbinkhnikh ekhaklawthungthvsdiniinbthkhwam khwamsmphnthkhxngkarrbrukbkarcdraebiybihmxyangkwangkhwanginkhxrethks Perceptual correlates of massive cortical reorganization 30 thungaemwaramcnthrncaepnkhnhnunginnkwithyasastrphwkaerk thiennbthbathkhxngkarepliynaeplnginkhxrethkswa epnmulthankhxngxakarhlngphidwaaekhnkhayngkhngxyu aetnganwicytx maklbaesdngwa khwamrusukthihlngehluxxyuimidekidkhunenuxngdwykarepliynaeplnginkhxrethkshlngcaktdxwywaxxk 31 cnthungthukwnni khathamwa krabwnkarthangprasathxairthismphnthkbkhwamrusukthiynghlngehluxxyuaelaimprakxbdwykhwamecbpwdnn yngimmikhatxb khxmulpxnklbthangtadwykrack aekikh ramcnthrnidrbekhrditwaepnphupradisthklxngkrack aelaerimichethkhnikhihkhxmulpxnklbthangtakbsmxngodyichklxngkrack ephuxbrrethaphawahlayxyangthiekiywkbkhwamecbpwdenuxngdwyxakarhlngphidwaaekhnkhayngkhngxyu orkhlmpccubn aelaxakarecbpwdechphaathi nganwicyhlaynganthiichkarrksadwykrack aesdngxnakhtthisdiskhxngwithirksani 32 33 xyangirkdi odykarthdlxngthimiklumkhwbkhumaelaichkarsum withirksadwykrackklbpraktwamiphlthikhdaeyngkn khuximchdecnwaidphlcring hruxim 34 dngnn karichwithirksaniyngxyuphayitkartrwcsxbinkhnthdlxngxyu 35 wngcrprasathikhwinsmxng aekikh phumiphawawithiprasathecuxknthiehnsiphrxmkbehnsylksntang xacsamarthkhnphb samehliym thimixyuthangphaphdansay idxyangngay aelarwderwkwaphuimmiphawani dubthkhwamhlkthi phawawithiprasathecuxkn bnrakthankhxngnganwicyekiywkbxwywaaefntxm 14 ramcnthrnidtngthvsdiwaphawawithiprasathecuxkn synesthesia ekidkhuncakkarthimikarthangankhamipkhamma cross activation inekhttang khxngsmxng 36 37 ekhaidklawiwwapraephthyxy khxngkarecuxknkhxngwithiprasathaebbsi twelkh ekidcakkarechuxmtxknekinkwapktirahwangekhtsmxngthiekiywkhxngkbsiaelatwelkhinradbtang khxngrabbkarpramwlphl phumiwithiprasathecuxknkhxngekhtsmxngradbta xaccamikarthanganthikhamekhtinrxynunrupkraswy fusiform gyrus epriybethiybkbphumiwithiprasathecuxknkhxngekhtsmxngradbsung xaccamikarthanganthikhamekhtinrxynunaexngkular angular gyrus 36 aelakhlxngcxngknkbaebbaephnni ramcnthrnphbkarthanganinradbthisungkhuninekhtsmxngthitxbsnxngtxsiinphumiwithiprasathecuxkn emuxethiybkbphuthiimmi odytrwcsxbdwyphaphsmxngaebb fMRI 37 38 aelaodyichkarsrangphaphaebb MEG ekhaidaesdngwa khwamaetktanginswnprasaththiklawthungrahwangphumiwithiprasathecuxknaelaphuthiimmi ekidkhunxyangrwderwemuxmikaraesdngtwxksr 39 ramcnthrnkhadhmaywa phawawithiprasathecuxknaelakhaxupmaxaccamimulthanediywknkhuxkarechuxmtxknkhamkhxrethkskhxngrabbprasath inpi kh s 2003 ramcnthrnaelaexdward hbbard phimphnganwicythiihkarkhadhmaywa rxynunaexngkularepnxngkhprakxbinkarekhaickhaxupmaxupimy 40 wiwthnakarkhxngphasa aekikh khlxngcxngkbngankhxngaelkhxxfaelacxnhsn 41 ramcnthrnykpraednwa khaxupmaxupimynn imidekidkhunlxy ramcnthrnaelahbbardesnxwaktthrrmchati khxngkarsrangkhaxupmaxupimy mikhxcakdthangkaywiphakhthisakhy thixnuyatkarthangankhamekhtbangxyang aetimichthukxyang 36 18 ramcnthrnesnxwa wiwthnakarkhxngphasaekidcakaephnthismphnththiimidekidkhunlxy 3 xyang khux esiyngkbruprangthiehn echninpraktkarnbuba kiki karecuxknkhxngwithiprasathkhxngprasathrbrukbprasathsngkarekhluxnihw sensory to motor aela karecuxknkhxngwithiprasathkhxngprasathsngkarekhluxnihwkbprasathsngkarekhluxnihw motor to motor 36 18 23 esllprasathkrack aekikh dubthkhwamhlkthi esllprasathkrack epnthirukndiwa ramcnthrnepnphuennkhwamsakhykhxngesllprasathkrack Mirror neuron ekhaidklawwa karkhnphbesllprasathkrackepnkhawsakhythisudthiimidrbkarephyaephr caksuxmwlchn phayinthswrrsthiphanma 42 khuxmikaraecngthungesllprasathkrackepnkhrngaerkinnganwicythitiphimphinpi kh s 1992 odyklumnkwicynaodyekiyokhom risoslatti thimhawithyalyparma thiemuxngparmainpraethsxitali 43 inpi kh s 2000 ramcnthrnphyakrnwaesllprasathkrackcamiphltxcitwithya ehmuxnkbdiexnexmiphltxchiwwithya khux caepnokhrngsrangodyrwmthichwyxthibaykhwamsamarthtang khxngcit thiyngepnsingthiluklbaelaekhathungimiddwykarthdlxng 44 45 ramcnthrnkhadhmaywa nganwicythungbthbathinesllprasathkrack cachwyxthibaykhwamsamarththangcitickhxngmnusy echnkhwamehnicphuxun kareriynruodylxkeliynaebb aelawiwthnakarthangphasa ramcnthrnyngidtngthvsdikhundwywa esllprasathkrackxacepnkuyaecinkarekhaicrabbprasathsungepnrakthankhxngkhwamrusukwatninmnusy 46 47 thvsdiekiywkbxxthisum aekikh dubthkhwamhlkthi xxthisum inpi kh s 1999 ramcnthrn odyrwmngankbnayxirikh aexlthskuelxr phurbxbrmhlngpriyyaexk inewlann aelaecmi phienda phuepnephuxnrwmngan epnklumnkwicyklumaerkthiesnxwa karsuyesiyesllprasathkrack xacepnkhwambkphrxngtwsakhythixthibayxakaraelapraktkarnhlay xyangkhxngorkhklumxxthisumsepktrm autism spectrum disorder twyx ASD 48 49 inrahwangpi kh s 2000 aela 2006 ramcnthrnaelakhnathimhawithyalyaekhlifxreniy sandiexok idphimphbthkhwamhlaychinthisnbsnunthvsdini sungklayepnthvsdithiruckknwa thvsdikrackaetk Broken Mirrors khxngorkhxxthisum 50 51 52 ramcnthrnaelakhnaimidwdkhakarthangankhxngesllprasathkrackodytrng aetaesdngihehnwa edkthimiphawa ASD mikartxbsnxngthiphidpktithangkhluniffasmxng EEG thiruckknwa Mu wave suppression hruxkarrangbkhlunsmxngmu emuxepriybethiybkbsmxngkhxngphuxuninpi kh s 2006 ramcnthrnihsmphasnkbnitysar Frontline aenwhna khxngxinediy sungekhaklawwasinghnungthierakhnphbinhxngthdlxngkkhuxehtukhxngkhwamphidpktithiohdrayxyanghnungsungeriykwa xxthisum khwambkphrxnginrabbesllprasathkracksamarthxthibayklumxakartang thiepnsylksnkhxngorkhxxthisumephiyngorkhediyw thiimphbinorkhxun odysrupkkhux eraidkhnphbmulthankhxngorkhxxthisuminpi kh s 2000 53 karyunynkhxngramcnthrnwa rabbesllprasathniwrxnthiphidpktiepnmulthankhxngxxthisum yngepnsingthithkethiyngknxyangkwangkhwang inbthkhwamptithsnpi kh s 2011 khxnghnngsux The Tell Tale Brain smxngnkelanithan ismxn barxn okhehn phuxanwykarkhxngsunywicyxxthisumthimhawithyalyekhmbridcklawwainthanaepnekhruxngxthibayorkhxxthisum thvsdikrackaetkidihenguxnngathiyweyaic aetwa hlkthantrngknkhambangxyangkhdaeyngkbthvsdini odyechphaaxyangyingekiywkbkhxbekhtkhxngthvsdi 54 emuxtrahnkaelwwa rabbesllprasathkrackthiphidpktiephiyngxyangediyw imsamarthxthibayklumxakarthikwangkhwangkhxng ASD ramcnthrncungidtngthvsdiephimkhunxikwa orkhlmchkinsmxngklibkhmbinwyedk aelakhwamphidpktichwngphthnakhxngpxngrbklin olfactory bulb dysgenesis xacmibthbathinklumxakarkhxng ASDinpi kh s 2010 ramcnthrnklawwathvsdiekiywkbpxngrbklin mikhwamekiywkhxngxyangsakhyinkarwinicchyaelarksa orkhklumxakar ASD aelaprakaswa khnakhxngekhacadaeninnganwicythiepriybethiybkhnadpxngrbklinkhxngkhnikhxxthisumepriybethiybkbklumkhwbkhumphuepnpkti 55 Apotemnophilia aekikh inpi kh s 2008 ramcnthrn phrxmthngedwid aebrngk aelaphxl aemkhkixxkh tiphimphphlnganwicynganaerkthiesnxwa apotemnophilia epnorkhthangprasaththiekidkhuncakkhwamesiyhayinsmxngklibkhang 56 orkhthiminxyni sungkhnikhtxngkarcaihtdxwywakhxngtnxxk idrbkarbngchiepnkhrngaerkodycxhn mnni inpi kh s 1977 odytxyxdngankxn khxngramcnthrnsungchithungaephnphaphrangkayinsmxng ramcnthrnaelakhnaidesnxwa orkhniekidcakphaphrangkayinsmxngthiimsmburn dngnn phumiphawanicungehnxwywakhxngtnepnswnekinthiimkhunekhyaelaxyunxkkaykhxngtn 56 ramcnthrnidkhyaykhxngekhtthvsdiniodyesnxwaorkhebuxxaharehtucitic anorexia nervosa xaccaepnorkhekiywkbphaphrangkaythimimulmacakrabbprasath imichepnorkhekiywkbkhwamxyakxaharthimiehtuinihopthalams 57 xakarhlngphidkhakras aekikh dubthkhwamhlkthi xakarhlngphidkhakras odyrwmngankbphurbxbrmhlngpriyyaexk inewlann khuxwileliyms ehxrsitn ramcnthrntiphimphnganwicyinpi kh s 1997 sungaesdngthvsdithixthibaymulthanthangprasathkhxngxakarhlngphidkhakras Capgras delusion sungepnxakarhlngphidthikhnikhkhidwa smachikinkhrxbkhrwaelabukhkhlphuepnthirkxun mikarthdaethndwytwplxm kxnhnann xakarniidrbkarxthibaywa ekidcakkhwamkhadxxkcakknkhxngkarrucaibhna facial recognition aelakhwamtuntwkhxngxarmnkhwamrusuk emotional arousal 58 ramcnthrnaelaehxrsitn idesnxkhaxthibayekiywkbokhrngsrangthimikhwamechphaaecaacngyingkwakhaxthibayedimwa xakarhlngphidkhakrasepnphlcakkarechuxmtxthikhadcakknkhxngekhtrbruhnainrxynunrupkraswy fusiform face area thimibthbathinkarrbruibhna aelaxamikdala amygdala sungmibthbathinkartxbsnxngdwyxarmnkhwamrusuktxibhnathikhunekhynxkcaknnaelw odymiphunthaninaebbcalxngkhxngphwkekha aelakartxbsnxngkhxngkhnikhthiphwkekhatrwcsxb phuepnchawbrasilthimikhwambadecbthisirsaenuxngcakxubtiehturthynt ramcnthrnaelaehxrsitnidesnxthvsdithithwipekiywkbkarsrangkhwamthrngca phwkekhasnnisthanwa bukhkhlphumixakarhlngphidkhakras suyesiykhwamsamarthinkarcdraebiybhruxkarcdpraephthkhxngkhwamthrngca dngnn cungimsamarthcdkarkhwamcaehlannidxyangmiprasiththiphaph aethnthicamikhwamthrngcaechuxmtxknekiywkhxngkbkhn hnung khwamthrngcatang knklbprakxbdwykhwamrusukwaekiywkhxngkbkhntang kn 59 khwammiephsslbipma aekikh inpi kh s 2012 ekhsaelaramcnthrnraynganthungphlkarsarwcbukhkhlphumiphawa bigender 60 phuprasbkarslbipmarahwangphvtikrrmepnchayaelaphvtikrrmepnhyingthixyunxkxanaccitic ekhsaelaramcnthrnsnnisthanwa karslbipmakhxngkhxngphvtikrrmxaccaekidcakkarslbkarthanganinsmxngsxngsikinradbthiluksungkwapkti aelamikarekhaipybyngaephnthithangkaythiepniptamephscring khxngtninkhxrethksklibkhangphwkekhaidklawiwwaerasnnisthanwa odytidtam nasal cycle 61 radbkarslbtainpraktkarnkaraekhngkhnrahwangsxngta aelatwbngchixyangxunthiaesdngkarslbkarthanganrahwangsiksmxngthngsxngkhang kcasamarthkhnphbehtuthangsrirphaph khxngkarthiphumiphvtikrrmsxngephsaecngthungkarklbephsthiepnxtwisy thvsdikhxngeramimulthaninkhwamsmphnthrahwangsmxngsiksayaelasmxngsikkhwakbephschayaelaephshying thngthiaesdngiwtngaetsmyobranaelathngthiaesdngiwinpccubn 62 63 karepnphyaninsalthanphuechiywchay aekikhramcnthrnidrbepnphyanphuechiywchayinsalineruxngkartngkhrrphethc pseudocyesis inkhdipi kh s 2007 khxnglisa exm mxntkxmemxri ramcnthrnepnphyanwa mxntkxmemxrimixakarhlngphidthiekidcakphawakartngkhrrphethckhnrunaerng cnkrathngethximsamarthtrahnkwatnexngkalngthaxairxyu hruxtrahnkthungkhwamphidthukkhxngphvtikrrmkhxngtn 64 65 rangwlaelaekiyrtikhun aekikhramcnthrnidrbeluxkepn Visiting Fellow smachikeyiymeyuxn khxng All Souls College sungepnsthabnhnungkhxngmhawithyalyxxksfxrdinpraethsxngkvs kh s 1998 1999 nxkcaknnaelw ekhayngidrbtaaehnngepn Hilgard visiting professor sastracaryeyiymeyuxnhilkard khxngmhawithyalysaetnfxrdinpraethsshrthxemrika kh s 2005 ekhaidrbpriyyaexkkittimskdicakwithyalykhxnenkhtikt praethsshrthxemrika kh s 2001 aelacaksthabnethkhonolyixinediyinemuxngmthras praethsxinediy kh s 2004 66 ramcnthrnidrbrangwl ramxn xi kahal caksmakhmprasathcitewchrahwangpraeths kh s 2004 aelaehriyyxaeriyns aekhpepxrs cakrachbnthitysthanwithyasastraehngpraethsenethxraelnd ephraaphlngankhxngekhainprasathwithyasastr kh s 1999 ekhaidrbrangwlehnri edl rwmkbimekhil ebrdi cakmhawithyalyxxksfxrd inpi kh s 2005 aelaodyepnswnkhxngrangwlnn idrbeluxkepnsmachikkittimskditlxdchiwitkhxngrachbnthitysthanbrietnihy Royal Institute of Great Britain khxngpraethsxngkvs ephraa nganwicyoddednrahwangsakha 67 inpi kh s 2007 prathanathibdikhxngpraethsxinediyidmxbrangwlphleruxnradbsamcaksungsud aelabrrdaskdikhxngpraethsxinediy khuxrangwl Padma Bhushan ihaek dr ramcnthrn 68 inpi kh s 2008 ekhatidxndb 50 inophlsatharnayxdnkprachy 100 Top 100 Public Intellectuals Poll 69 pathktha aekikhramcnthrnepnthiruckkndiinlilakhwamepnphuklawpathkthathidungdudic ekhaidepnphuklawpathkthana khiyontspikekxr aelaepnphuklawpathkthathnginpraethsshrthxemrika praethsaekhnada praethsxngkvs praethsxxsetreliy aelapraethsxinediy inpi kh s 1995 ekhaidepnphuklawpathktha thswrrskhxngsmxng n karprachumpracapikhrngthi 25 khxngsmakhmprasathwithya 70 inpi kh s 1997 idihpathkthaxnusrnbitti thimhawithyalyaemkhkill praethsaekhnada 71 inpi kh s 1999 idihpathkthanathinganprachumthswrrsaehngsmxng txhnaxngkhprachumkhxngsthabnsukhphaphaehngchati NIH aelahxsmudrthspha praethsshrthxemrika 72 73 idihpathktha Rabindranath Tagore n sunyprchyaaelamulnithiwithyasastr n krungniwedli praethsxinediy 74 inpi kh s 2003 idihpathktha rith Reith Lectures thimiepnpracapikhxngbrrsthaephrphaphkracayesiyngxngkvs 2 inpi kh s 2007 idihpathkthasungepnswnkhxngpathkthachud odyrbkarsnbsnuncakmulnithiethmepiltnkhxngrachsmakhmaehnglxndxn 75 inpi kh s 2010 idihpathkthadiedn IAS n sthabnkarsuksachnsung Institute of Advanced Studies hrux IAS khxngmhawithyalybristxl xuthisihkbshayekaphuepnephuxnrwmngankhxngekhakhuxnayrichard ekrkkxri 76 ineduxntulakhm kh s 2011 idihpatthkthamichuxwa prasathwithyakhxngthrrmchatimnusy thinganprachumonebl 77 n withyalykstaws xdxlfs inemuxngesntpietxr rthminniosta praethsshrthxemrika 78 inpi kh s 2012 idihpathkthakiffxrd 28 30 ph kh n mhawithyalyklasokw 79 Minotaurasaurus ramachandrani aekikhkhwamsnickhxngekhainbrrphchiwinwithya paleontology kratunramcnthrnihcdsuxkaohlksakdukdabrrphkhxngidonesarcakthaelthrayokbi sungidrbkartngchuxtamchuxkhxngekhawa Minotaurasaurus ramachandrani inpi kh s 2009 80 khxthkethiyngyxy idekidkhunephraaprawtikhwamepnmakhxngkaohlkibni nkbrrphchiwinwithyabangthanklawwa sakdukdabrrphnikhudmacakthaelthrayokbiodyimidrbxnuyatcakrthbalcin aelaidrbkarkhayodyimmikaraelkepliynexksarthismkhwr ramcnthrnphuidsuxsakdukdabrrphnithiemuxngthkhsn rthaexriosna praethsshrthxemrika idklawwa ekhamikhwamyindithicasngkhunsakdukdabrrphniklbipyngpraethsthismkhwr thamiikhraesdng hlkthanwa sakdukdabrrphnimikarsngxxkodyimidrbxnuyat aekekha intxnni kaohlkthiepnaebbtwxyangnn yngxyuthiphiphithphnthhubekhawikhetxr Victor Valley Museum sungxyuinrayakaredinthangchwomnghnungodyrthynt danthistawnxxkkhxngnkhrlxsaexneclis thiemuxnghubekhaaexpepil rthaekhlifxreniy praethsshrthxemrika 81 hnngsuxthiekhiyn aekikhPhantoms in the Brain Probing the Mysteries of the Human Mind xwywaaefntxm 14 insmxng karsarwckhwamluklbkhxngicmnusy ekhiynrwmkb Sandra Blakeslee kh s 1998 ISBN 0 688 17217 2 Encyclopedia of the Human Brain saranukrmsmxngmnusy hwhnabrrnathikar ISBN 0 12 227210 2 The Emerging Mind icthikalngephytw kh s 2003 ISBN 1 86197 303 9 A Brief Tour of Human Consciousness From Impostor Poodles to Purple Numbers thwrsn khxngicmnusy tngaetsunkhphuediltwplxm cnthungtwelkhmisimwng kh s 2005 ISBN 0 13 187278 8 pkxxn The Tell Tale Brain A Neuroscientist s Quest for What Makes Us Human smxngnkelanithan karsubhakhwamepnmnusykhxngnkprasathwithyakhnhnung kh s 2010 ISBN 978 0 393 07782 7echingxrrthaelaxangxing aekikh widioxthi dr ramcnthrnxxkesiyngchuxkhxngtn thinathi 1 45 wa wilayanxr 2 0 2 1 BBC Radio 4 Reith Lectures 2003 The Emerging Mind subkhnemux October 4 2011 hruxohldidthi txnhnung BBC Radio 4 Reith Lectures 2003 The Emerging Mind 1 2003 exmphi3 April 2 2003 subkhnemux 18 krkdakhm 2557 Check date values in accessdate help txnsxng BBC Radio 4 Reith Lectures 2003 The Emerging Mind 2 2003 exmphi3 April 9 2003 subkhnemux 18 krkdakhm 2557 Check date values in accessdate help txnsam BBC Radio 3 Reith Lectures 2003 The Emerging Mind 3 2003 exmphi3 April 16 2003 subkhnemux 18 krkdakhm 2557 Check date values in accessdate help txnsi BBC Radio 3 Reith Lectures 2003 The Emerging Mind 4 2003 exmphi3 April 23 2003 subkhnemux 18 krkdakhm 2557 Check date values in accessdate help txnha BBC Radio 3 Reith Lectures 2003 The Emerging Mind 5 2003 exmphi3 April 30 2003 subkhnemux 18 krkdakhm 2557 Check date values in accessdate help Center for Brain and Cognition website Ramachandran Bio on CBC website Psychology Department Webage with link to CBC UCSD Psychology Faculty Directory Ramachandran Neurosciences Graduate Program Webpage Anthony VS Ramachandran The Marco Polo of neuroscience The Observer January 29 2011 phxl obrkha epnslyaephthyaelankkaywiphakhsastrphumichuxesiyng phukhnphbekhtobrkhasungepnekhtprasathinsmxngmihnathiekiywkhxngkbkarichphasa epnhlkthanthangkaywiphakhchinaerksudthiaesdngkarthakicechphaaxyangkhxngekhttang insmxng A Brief Tour of Human Consciousness 2004 Back Cover The Century Club Newsweek April 21 1997 subkhnemux February 16 2011 12 0 12 1 V S Ramachandran Time 100 April 21 2011 subkhnemux April 21 2011 thxm xinesil phuxanwykarkhxngsthabnsukhphaphaehngchati praethsshrthxemrika idklawthungramcnthrnwa epnphuthikhrnghnungidrbkarphrrnnawa epnnaymarok opol khxngprasathwithyasastr ramcnthrnidthaaephnthikhxngswntang thiluklbthisudincitic idthakarsuksainkarrbruthangta aelainorkhphrxmkbphawaxun tngaet phawaecuxknkhxngwithiprasath synesthesia cnthungxxthisum ramcnthrnkalngepliynwithithismxngkhxngera cakhidthungcitickhxngera inophlsatharnasahrbbukhkhlthixyuinraychuxkhxngnitysarithmpi kh s 2011 ramcnthrntidxndbthi 97 cak 100 14 0 14 1 14 2 14 3 14 4 xwywaaefntxm khuxepnxwywathiimmixyucring aetrusukehmuxnwami The Science Studio Interview June 10 2006 transcript 16 0 16 1 16 2 16 3 Colapinto J May 11 2009 Brain Games The Marco Polo of Neuroscience The New Yorker subkhnemux March 11 2011 Full text via Lexis Nexus here 17 0 17 1 Andrew Anthony date January 30 2011 VS Ramachandran The Marco Polo of neuroscience Check url value help guardian co uk subkhnemux August 8 2011 Missing pipe in url help Ramachandran V S The Making of a Scientist essay included in Curious Minds How a Child Becomes a Scientist page 211 1 Caltech Catalog 1987 1988 page 325 Ravi Y V 2003 09 23 Legal luminary The Hindu subkhnemux 2011 04 21 ScienceInsider March 8 2010 Bulletin BNA page 14 issue 62 Autumn 2010 Brugger Peter Book Review Cognitive Neuropsychiatry Vol 17 Issue 4 2012 Ramachandran V S Author Response Cognitive Neuropsychiatry Vol 17 Issue 4 2012 Sperling et al Selective magnocellular deficits in dyslexia a phantom contour study Neuropsychologia 41 2003 1422 1429 magnetoencephalography epnethkhnikhkarthaaephnphaphkhxngkarthanganinsmxng odyichaemkenotmietxrthimikhwamlaexiydxxnsung bnthuksnamaemehlkthiekidkhuncakkraaesiffathiaelniptamthrrmchatiinsmxng Yang UCSD Faculty web page Yang TT Gallen CC Ramachandran VS Cobb S Schwartz BJ Bloom FE 1994 Noninvasive detection of cerebral plasticity in adult human somatosensory cortex NeuroReport 5 6 701 4 doi 10 1097 00001756 199402000 00010 PMID 8199341 Unknown parameter month ignored help CS1 maint multiple names authors list link ephuxdukhwamehnthitangkn oprddu Flor et al Nature Reviews Vol 7 November 2006 2 Ramachandran Rogers Ramachandran Stewart Perceptual correlates of massive cortical reorganization Science 1992 Nov 13 1159 1160 Reprogramming the cerebral cortex plasticity following central and peripheral lesions Oxford 2006 Edited by Stephen Lomber pages 334 Ramachandran VS Rogers Ramachandran D 1996 Synaesthesia in phantom limbs induced with mirrors Proc Biol Sci 263 1369 377 86 doi 10 1098 rspb 1996 0058 PMID 8637922 subkhnemux 2008 09 23 Unknown parameter month ignored help Chan B Witt R Charrow A Magee A Howard R Pasquina P Mirror Therapy for Phantom Limb Pain N Engl J Med 2007 357 2206 2207November 22 2007 Moseley L Flor H Targeting Cortical Representations in the Treatment of Chronic Pain A Review Neurorehabilitation amp Neural Repair XX X 1 7 2012 Subedi Bishnu Grossberg George Phantom Limb Pain Mechanisms and Treatment Approaches Pain Research and Treatment Vol 2011 Article ID 864605 36 0 36 1 36 2 36 3 Ramachandran VS and Hubbard EM 2001 Synaesthesia A window into perception thought and language PDF Journal of Consciousness Studies 8 12 3 34 37 0 37 1 Hubbard EM Arman AC Ramachandran VS Boynton GM 2005 Individual differences among grapheme color synesthetes brain behavior correlations PDF Neuron 45 6 975 85 doi 10 1016 j neuron 2005 02 008 PMID 15797557 subkhnemux 2011 04 21 Unknown parameter month ignored help CS1 maint multiple names authors list link Hubbard EM Ramachandran VS 2005 Neurocognitive mechanisms of synesthesia PDF Neuron 48 3 509 520 doi 10 1016 j neuron 2005 10 012 PMID 16269367 Brang D Hubbard EM Coulson S Huang M Ramachandran VS 2010 Magnetoencephalography reveals early activation of V4 in grapheme color synesthesia Neuroimage 53 1 268 274 doi 10 1016 j neuroimage 2010 06 00 PMID 20547226 CS1 maint multiple names authors list link Ramachandran Hubbard Neural cross wiring and synesthesia Journal of Vision Dec 2000 3 Lakoff G amp Johnson M 1980 Metaphors We Live By Chicago IL University of Chicago Press CS1 maint multiple names authors list link Ramachandran V S June 1 2000 Mirror neurons and imitation learning as the driving force behind the great leap forward in human evolution Edge Foundation web site subkhnemux October 19 2011 Rizzolatti G Fabbri Destro M Mirror Neurons From Discovery to Autism Experimental Brain Research 2010 200 223 237 4 Jarrett Christian Brain Myths Psychology Today December 10 2012 5 Baron Cohen Making Sense of the Brain s Mysteries American Scientist On line Book Review July August 2011 6 Oberman L M amp Ramachandran V S 2008 Reflections on the Mirror Neuron System Their Evolutionary Functions Beyond Motor Representation in Pineda J A b k Mirror Neuron Systems The Role of Mirroring Processes in Social Cognition Contemporary Neuroscience Humana Press pp 39 62 ISBN 978 1 934115 34 3 CS1 maint multiple names authors list link Ramachandran V S January 1 2009 Self Awareness The Last Frontier Edge Foundation web site subkhnemux October 19 2011 orkhklumxxthisumsepktrm autism spectrum epnkhaeriykorkhtang thiepnkhwamphidpktithangkarphthnathiaephipthw pervasive developmental disorder rbkarniyamiwinkhumuxkarwinicchyaelasthitisahrbkhwamphidpktithangcit DSM wa rwmklumxakartang khux xxthisum klumxakaraexsepxrecxr khwamphidpktithangkarphthnathiaephipthwxun echn klumxakarehlelxr aelaklumxakarertt E L Altschuler A Vankov E M Hubbard E Roberts V S Ramachandran and J A Pineda 2000 Mu wave blocking by observer of movement and its possible use as a tool to study theory of other minds 30th Annual Meeting of the Society for Neuroscience Society for Neuroscience CS1 maint multiple names authors list link Oberman LM Hubbard EM McCleery JP Altschuler EL Ramachandran VS amp Pineda JA 2005 EEG evidence for mirror neuron dysfunction in autism spectrum disorders PDF Cognitive Brain Research 24 2 190 198 doi 10 1016 j cogbrainres 2005 01 014 PMID 15993757 CS1 maint multiple names authors list link Ramachandran V S amp Oberman L M October 16 2006 Broken Mirrors A Theory of Autism PDF Scientific American 295 5 62 69 doi 10 1038 scientificamerican1106 62 PMID 17076085 CS1 maint multiple names authors list link Oberman LM amp Ramachandran VS 2007 The simulating social mind the role of the mirror neuron system and simulation in the social and communicative deficits of autism spectrum disorders PDF Psychological Bulletin 133 2 310 327 doi 10 1037 0033 2909 133 2 310 PMID 17338602 Interview with Sashi Kumar Frontline Vol 23 Issue 06 Mar 25 2006 Baron Cohen Simon Making Sense of the Brain s Mysteries American Scientist On line Book Review July August 2011 7 Brang D Ramachandran VS Olfactory bulb dysgenesis mirror neuron system dysfunction and autonomic dsyregulation as the neural basis for autism Medical Hypotheses 74 2010 919 921 8 56 0 56 1 Brang D McGeoch P amp Ramachandran VS 2008 Apotemnophilia A Neurological Disorder PDF Cognitive Neuroscience and Neuropsychology 19 1305 1306 doi 10 1097 WNR 0b013e32830abc4d PMID 18695512 CS1 maint multiple names authors list link Ramachandran VS Brang D McGeoch PD Rosar W 2009 Sexual and food preference in apotemnophilia and anorexia interactions between beliefs and needs regulated by two way connections between body image and limbic structures PDF Perception 38 5 775 777 PMID 19662952 CS1 maint multiple names authors list link Ellis MD Young Accounting for delusional misidentifications British Journal of Psychiatry Aug 1990 239 248 9 Hirstein W Ramachandran VS 1997 Capgras syndrome a novel probe for understanding the neural representation of the identity and familiarity of persons PDF Proc Biol Sci B 264 1380 437 444 doi 10 1098 rspb 1997 0062 PMC 1688258 PMID 9107057 bigender phumiephssxng phvtikrrmsxngephs epnkhakahndkhwamonmnawinkarepliynaeplngphvtikrrmrahwangephschayaelaephshying khunxyukbsthankarn phumiphawanibangkhrngeriykwa dual gender hrux two spitrits nasal cycle wngcrkarkhdcmuk epnkarslbknrahwangphawakhdcmukaelaphawaolngcmukinmnusy epnphlcakkarthiihopthalamsekhaipkratunkarthangankhxngrabbprasathxtonmtithilakhrung Case L Ramachandran VS Alternating gender incongruity A new neuropsyhchiatric syndrome providing insight into the dynamic plasticity of brain sex Med Hypotheses 2012 May 78 5 626 3 10 Neuroskeptic web page Sunday April 8 2012 Karen Olson October 21 2007 Brain Expert Witness Testifies in Lisa Montgomery Trial Expert Witness Blog Juris Pro subkhnemux November 21 2011 United States of America v Lisa M Montgomery American Lawyer April 7 2011 subkhnemux November 21 2011 Science Direct 2 January 2007 11 Search on http india gov in myindia advsearch awards php for Ramachandaran sic in March 2008 Intellectuals Prospect Magazine 2009 subkhnemux June 4 2011 Society for Neuroscience 1995 Society for Neuroscience Abstracts Volume 21 Part 1 Society for Neuroscience p viii ISBN 978 0 916110 45 1 Past Beatty Talks web site McGill Universtiy 12 The Science of Cognition Library of Congress January 3 2000 subkhnemux October 4 2011 NIH Record 11 02 99 Cognitive Science Advances Understanding of Brain Experience NIH November 2 1999 subkhnemux October 4 2011 Proceedings Welcome to CPFS subkhnemux October 4 2011 Nature and nurture in brain function clues from synesthesia and phantom limbs November 28 2007 subkhnemux October 4 2011 2010 IAS Distinguished Lecture Neuroscience and Human Nature University of Bristol June 28 2010 subkhnemux June 4 2011 nganprachumonebl Nobel Conference epnnganprachumwichakarthiyngcdknxyu epnnganaerkthiidrbkarxnuyatxyangepnthangkarcakmulnithionebl khxngkrungstxkohlm praethsswiedn mikarcdthuk pi n withyalykstaws xdxlfs inemuxngesntpietxr rthminniosta praethsshrthxemrika thiepidoxkasihsatharnchnsnthnakbnkwichakaraelankwicyradbolk ekiywkhxngkbpyhatang yukhpccubnthangsngkhmsastraelawithyasastrthrrmchati Schedule Nobel Conference 47 Gustavus Adolphus College subkhnemux October 4 2011 Body And Mind Insights From Neuroscience subkhnemux October 4 2011 Miles Clifford A and Clark J Miles 2009 Skull of Minotaurasaurus ramachandrani a new Cretaceous ankylosaur from the Gobi Desert PDF Current Science 96 1 65 70 naturenews February 2 2009aehlngkhxmulxun aekikhwidioxkhxng TED com eruxng rxngrxy 3 xyangephuxekhaicsmxngkhxngkhun 3 Clues to Understanding Your Brain ody dr ramcnthrn kh s 2007 epnphasaxngkvsaetmikhabrryayaepldanlang ramcnthrnkbickhxngkhun elkechxrphasaxngkvsekiywkbkhwamesiyhayinsmxngaelaokhrngsrangkhxngic mikhabrryayithydanlang thi TED com Vilayanur S Ramachandran official webpage Take the Neuron Express for a Brief Tour of Consciousness The Science Network interview with V S Ramachandran Ramachandran Illusions All in the Mind interview Reith Lectures 2003 The Emerging Mind by Ramachandran hrux ohldidthi txnhnung BBC Radio 4 Reith Lectures 2003 The Emerging Mind 1 2003 exmphi3 April 2 2003 subkhnemux 18 krkdakhm 2557 Check date values in accessdate help txnsxng BBC Radio 4 Reith Lectures 2003 The Emerging Mind 2 2003 exmphi3 April 9 2003 subkhnemux 18 krkdakhm 2557 Check date values in accessdate help txnsam BBC Radio 3 Reith Lectures 2003 The Emerging Mind 3 2003 exmphi3 April 16 2003 subkhnemux 18 krkdakhm 2557 Check date values in accessdate help txnsi BBC Radio 3 Reith Lectures 2003 The Emerging Mind 4 2003 exmphi3 April 23 2003 subkhnemux 18 krkdakhm 2557 Check date values in accessdate help txnha BBC Radio 3 Reith Lectures 2003 The Emerging Mind 5 2003 exmphi3 April 30 2003 subkhnemux 18 krkdakhm 2557 Check date values in accessdate help Talk at Princeton A 2009 talk about his work The Third Culture Scroll down for three of his essays regarding mirror neurons and self awareness Ramachandran s contribution to The Science Network s Beyond Belief 2007 Lectures on synaesthesia and metaphor wikiphiediy khxmulbukhkhl chux wilynxr suphrhmnym ramcnthrn chuxxun thmil வ ள யன ர இர மச சந த ரன raylaexiydodyyx nkprasathwithyasastrwnekid kh s 1951 ph s 2494 sthanthiekid rththmilnathu praethsxinediywntaysthanthitayekhathungcak https th wikipedia org w index php title wilynxr suphrhmnym ramcnthrn amp oldid 9384161, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม