fbpx
วิกิพีเดีย

กรณียเมตตสูตร

กรณียเมตตสูตร หรือ เมตตสูตร เป็นพระสูตรในขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย ของพระสุตตันตปิฎก เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการเจริญเมตตา และการปฏิบัติตนเพื่อเจริญธรรม นำไปสู่การบรรลุมรรคผลในท้ายที่สุด พระสูตรนี้มีลักษณะเป็นคาถาจำนวน 10 บท โดยมีฉันทลักษณ์เป็นแบบคีติโบราณ (Old Giti) อันเป็นฉันทลักษณ์แบบเก่าแก่ที่สุเดแบบหนึ่งในฉันทลักษณ์ภาษาบาลี

ทั้งนี้ กรณียเมตตสูตร บางครั้งเรียกว่า เมตตปริตร เนื่องจากใช้สวดเป็นพระปริตร เพื่อป้องกัน คุ้มครองภยันตรายต่าง ๆ รวมอยู่ในบทสวด 7 ตำนาน หรือจุลราชปริตร และบทสวด 12 ตำนาน หรือ มหาราชปริตร อีกทั้งยังจัดเป็นมหาปริตร หรือพระปริตรซึ่งมีความสำคัญยิ่งยวด อันประกอบด้วยมงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร

ที่มา

ตัวบทของพระสูตรที่ปรากฏในขุททกปาฐะ ในขุททกนิกาย ของพระสุตตันตปิฎก มีเพียงพระคาถา 10 บท มิได้ระบุถึงที่มาของการตรัสพระสุตรแต่อย่างใด ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับที่ปรากฏในพระสูตรอื่นๆ ในขุททกปาฐะ ทว่า ในคัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรถกถาอธิบายความในขุททกปาฐะ ได้อธิบายไว้ว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสพระสูตรนี้ที่สาวัตถี เพื่อให้บรรดาพระภิกษุได้เจริญเมตตาเพื่อยังความร่ำเย็น เป็นสุข และเพื่อความเป็นมิตรต่อสัตว์ทั้งหลาย มิให้เบียดเบียนกัน

โดยที่มาของพระสูตรเกิดขึ้นเมื่อพระภิกษุประมาณ 500 รูป ได้เรียนกรรมฐานจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นได้เดินทางไปแสวงหาเสนาสนะที่เป็นสัปปายะ สุดท้ายพระภิกษุทั้งหมดได้บำเพ็ญพระกรรมฐานอยู่ตามโคนไม้ ณ ป่าหิมวันต์ ในปัจจันตประเทศ

อย่างไรก็ตาม บรรดาารุกขเทวดาและเทพยดาที่สถิตอยู่ตามต้นไม้ ต่างต้องลงมาจากวิมานของตน เนื่องจากบรรดาพระภิกษุได้กระทำความเพียรอยู่ ณ โคนต้นไม้ เมื่อได้รับความลำบาก และคิดว่าพระภิกษุเหล่านี้ต้องกระทำความเพียรตลอดพรรษาไม่อาจจะไปที่ไหนได้อีก จะยังความลำบากให้แก่พวกตนและลุกหลานของตนอีกยาวนาน บรรดารุกขเทวดาและเทพยดาในถิ่นนั้น จึงรวมตัวกันแสดงอาการอันน่ากลัว แล้วหลอก เพื่อขับไล่พระภิกษุเหล่านั้น

พระภิกษุเหล่านั้นได้รับความลำบากกายลำบากใจอย่างยิ่งที่ถูกบรรดารุกขเทวดาและเทพยดาจำแลงกายหลอกหลอนตน จนไม่อาจบำเพ็ญเพียรเจริญพระกรรมฐานได้ ต่อมาจึงพากันเดินทางไปยังนครสาวัตถีเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงสดับเรื่องราวแล้ว ทรงมีพระดำรัสให้ภิกษุทั้งหลายกลับไปเจริญพระกรรมฐานยังสถานที่แห่งเดิม แล้วจึงทรงตรัสเมตตสูตร เพื่อให้ภิกษุทั้ง 500 รูปได้เจริญเมตตาโปรดรุกขเทวดาเทพยดาทั้งหลาย ให้หยุดจองเวรเสีย

เนื้อหา

เนื้อหาของพระสูตรนี้ เป็นคาถามีทั้งหมด 10 บท สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน กล่าวคือ บทที่ 1 - บทที่ 3 เป็นการแนะนำการปฏิบัติตน เพื่อให้เกิดความอ่อนน้อมถ่อมตน ตรวจสอบคุณสมบัติให้อยู่ในกรอบอันดีงาม พร้อมที่จะรับฟังคำแนะนำได้ และทำให้เป็นคนมีเมตตา แสดงความเอื้อเฟื้อต่อสรรพสัตว์อยู่เป็นนิจ ซึ่งโดยสรุปแล้ว เนื้อหาส่วนแรก ได้ระบุถึงคุณสมบัติของบุคคลอันพึงประสงค์ไว้ดังนี้

  1. สักโก เป็นคนกล้าหาญ
  2. อุชุ เป็นคนตรง คือมีกายสุจริต วจีสุจริต
  3. สหุชุ เป็นคนตรงจริง ๆ คือมีมโนสุจริตด้วย
  4. สุวะโจ เป็นคนว่านอนสอนง่าย
  5. มุทุ เป็นคนอ่อนโยน
  6. อะนะติมานี เป็นคนไม่หยิ่ง ไม่ถือตัว
  7. สันตุสสะโก เป็นคนสันโดษ
  8. สุภะโร เป็นคนเลี้ยงง่าย
  9. อัปปะกิจโจ เป็นคนไม่แบกภาระมาก มีห่วงมาก
  10. สัลละหุกะวุฒติ เบากาย เบาใจ
  11. สันติณตริโย เป็นผู้สำรวมอินทรีย์
  12. นิปะโก เป็นผู้มีปัญญารักษาตัว
  13. อัปปะคัพโภ เป็นคนไม่คะนอง
  14. กุเลสุ อะนะนุทคิทโธ เป็นผู้ไม่ติดในตระกูล

ส่วนที่ 2 คือระหว่างบทที่ 4 - บทที่ 5 เป็นการแผ่เมตตา และส่วนที่ 3 ระหว่างบทที่ 6 - บทที่ 10 เป็นการเจริญพรหมวิหาร และอานิสงส์ของการเจริญพรหมวิหาร ว่าสามารถนำไปสู่มรรคผลนิพพานได้ ดังที่ระบุผลไว้บทที่ 10 ดังนี้

  1. ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน หรือ "ท่านผู้เจริญเมตตาจิต ที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ" ในบาทที่ 1 ในบทที่ 10 เป็นการระบุถึงคุณสมบัติของผู้บรรลุโสดาบัน กล่าวคือ พระอริยะบุคคลผู้มีสัมมาทิษฐิ คือไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ปราศจากความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยและอริยสัจสี่ และมีศีลครบถ้วน อันคุณสมบัติสังเขปของลักษณะพระโสดาบันที่สามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
  2. กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง หรือ "ขจัดความใคร่ในกามได้" ในบาทที่ 3 ในบทที่ 10 เป็นการระบุถึงคุณสมบัติของผู้บรรลุสกทาคามี กล่าวคือ พระอริยะบุคคลผู้สามารถละกามฉันทะ และปฏิฆะ อันหมายถึง ความกระทบกระทั่งในใจ
  3. นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ หรือ "จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้" ในบาทที่ 4 หรือบาทสุดท้าย ในบทที่ 10 เป็นการระบุถึงคุณสมบัติของผู้บรรลุอนาคามี คือ พระอริยะบุคคลผู้ไม่กลับบมาเกิดอีก บำเพ็ญเพียรภาวนาต่อไปในพรหมโลก อีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะบรรลุอรหันต์นิพพานจากพรหมโลก

การสวดสาธยาย

กรณียเมตตสูตร เป็นหนึ่งในพระปริตร นิยมใช้สวดกัน เพื่อป้องกันภยันตรายทั้งหลาย มิให้มากร้ำกราย และเพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวของที่มาพระสูตร ที่ปรากฏในอรรถกถา นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อกันว่า พระสูตรนี้เป็นที่ยำเกรงของภูติผีปีศาจ และทำให้ผู้สวดสาธยายเป็นที่รักใคร่ในหมู่เทพยดาทั้งหลาย

อย่างไรก็ตาม การสาธยายพระสูตรนี้ ยังมีประโยชน์อย่างยิ่ง ในการเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต เนื่องจากเป็นพระสูตรที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนถึงแนวทางการในการปฏิบัติให้เป็นที่รักใคร่ ให้เป็นผู้มีเสน่ห์ ด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน ตรวจสอบตนเองให้พ้นจากการกระทำชั่ว และเจริญเมตตาอยู่เป็นนิตย์ ซึ่งไม่เพียงยังความสงบแก่จิตใจของตนเองเท่านั้น แต่ยังความสงบสันติแก่สรรพสัตว์และสากลโลกอีกด้วย นับเป็นพระสูตรที่มีคุณประโยชน์มหาศาล

วศิน อินทสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงพระสูตรนี้ว่า เป็นการแสดงคุณสมบัติของผู้ปรารถนาสันติ คือทางแห่งผู้สงบ หรือทางแห่งคนดี หรือบัณฑิต ดังพุทธภาษิตที่ว่า บัณฑิตชอบสันติ (ความสงบ) (สนฺติมิจฺฉนฺติ ปณฺฑิตา )

ดูเพิ่ม

ตัวบท และข้อมูลเพิ่มเติม

  • กรณียเมตตสูตรในขุททกปาฐะ
  • อรรถกถาเมตตสูตร
  • คุณสมบัติของผู้มุ่งสันตบท

อ้างอิง

  1. An Outline of the Metresin the Pali Canon
  2. David J. Kalupahana. (2001). หน้า 139
  3. ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 332
  4. ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 333
  5. ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 335
  6. วศิน อินทสระ. (2554). คุณสมบัติของผู้มุ่งสันตบท. หน้า 7 - 8

บรรณานุกรม

  • พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1
  • ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกปาฐะในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1
  • สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2550). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ . กรมการศาสนา พระทรวงวัฒนธรรม.
  • วศิน อินทสระ. (2554). คุณสมบัติของผู้มุ่งสันตบท. กรุงเทพฯ. ชมรมกัลยาณธรรม
  • David J. Kalupahana. (2001). Buddhist Thought and Ritual. Delhi. Motilal Banarsidass.
  • Anandajoti Bhikkhu. An Outline of the Metresin the Pali Canon.ใน http://www.buddhanet-de.net/ancient-buddhist-texts/Textual-Studies/Outline/index.htm
  • Anandajoti Bhikkhu. Main Metres in the Pali Canon. ใน http://www.ancient-buddhist-texts.net/Reference/Main-Metres.htm
  • Metrical Units. ใน http://www.chantpali.org/popups/primer_metta.html

กรณ, ยเมตตส, ตร, หร, เมตตส, ตร, เป, นพระส, ตรในข, ททกปาฐะ, ททกน, กาย, ของพระส, ตต, นตป, ฎก, เป, นพระส, ตรท, าด, วยการเจร, ญเมตตา, และการปฏ, ตนเพ, อเจร, ญธรรม, นำไปส, การบรรล, มรรคผลในท, ายท, พระส, ตรน, กษณะเป, นคาถาจำนวน, บท, โดยม, นทล, กษณ, เป, นแบบค, โบราณ, . krniyemttsutr hrux emttsutr epnphrasutrinkhuththkpatha khuththknikay khxngphrasuttntpidk epnphrasutrthiwadwykarecriyemtta aelakarptibtitnephuxecriythrrm naipsukarbrrlumrrkhphlinthaythisud phrasutrnimilksnaepnkhathacanwn 10 bth odymichnthlksnepnaebbkhitiobran Old Giti xnepnchnthlksnaebbekaaekthisuedaebbhnunginchnthlksnphasabali 1 thngni krniyemttsutr bangkhrngeriykwa emttpritr enuxngcakichswdepnphrapritr ephuxpxngkn khumkhrxngphyntraytang rwmxyuinbthswd 7 tanan hruxculrachpritr aelabthswd 12 tanan hrux mharachpritr xikthngyngcdepnmhapritr hruxphrapritrsungmikhwamsakhyyingywd xnprakxbdwymngkhlsutr rtnsutr aelakrniymettsutr 2 enuxha 1 thima 2 enuxha 3 karswdsathyay 4 duephim 5 twbth aelakhxmulephimetim 6 xangxing 7 brrnanukrmthima aekikhtwbthkhxngphrasutrthipraktinkhuththkpatha inkhuththknikay khxngphrasuttntpidk miephiyngphrakhatha 10 bth miidrabuthungthimakhxngkartrsphrasutraetxyangid sungepnlksnaediywkbthipraktinphrasutrxun inkhuththkpatha thwa inkhmphirprmtthochtika xrrthkthaxthibaykhwaminkhuththkpatha idxthibayiwwa smedcphrasmmasmphuththecathrngtrsphrasutrnithisawtthi ephuxihbrrdaphraphiksuidecriyemttaephuxyngkhwamraeyn epnsukh aelaephuxkhwamepnmitrtxstwthnghlay miihebiydebiynknodythimakhxngphrasutrekidkhunemuxphraphiksupraman 500 rup ideriynkrrmthancaksmedcphrasmmasmphuththeca caknnidedinthangipaeswnghaesnasnathiepnsppaya sudthayphraphiksuthnghmdidbaephyphrakrrmthanxyutamokhnim n pahimwnt inpccntpraeths 3 xyangirktam brrdaarukkhethwdaaelaethphydathisthitxyutamtnim tangtxnglngmacakwimankhxngtn enuxngcakbrrdaphraphiksuidkrathakhwamephiyrxyu n okhntnim emuxidrbkhwamlabak aelakhidwaphraphiksuehlanitxngkrathakhwamephiyrtlxdphrrsaimxaccaipthiihnidxik cayngkhwamlabakihaekphwktnaelalukhlankhxngtnxikyawnan brrdarukkhethwdaaelaethphydainthinnn cungrwmtwknaesdngxakarxnnaklw aelwhlxk ephuxkhbilphraphiksuehlann 4 phraphiksuehlannidrbkhwamlabakkaylabakicxyangyingthithukbrrdarukkhethwdaaelaethphydacaaelngkayhlxkhlxntn cnimxacbaephyephiyrecriyphrakrrmthanid txmacungphaknedinthangipyngnkhrsawtthiephuxekhaefasmedcphrasmmasmphuththeca phraphuththxngkhthrngsdberuxngrawaelw thrngmiphradarsihphiksuthnghlayklbipecriyphrakrrmthanyngsthanthiaehngedim aelwcungthrngtrsemttsutr ephuxihphiksuthng 500 rupidecriyemttaoprdrukkhethwdaethphydathnghlay ihhyudcxngewresiy 5 enuxha aekikhenuxhakhxngphrasutrni epnkhathamithnghmd 10 bth samarthaebngxxkepn 3 swn klawkhux bththi 1 bththi 3 epnkaraenanakarptibtitn ephuxihekidkhwamxxnnxmthxmtn trwcsxbkhunsmbtiihxyuinkrxbxndingam phrxmthicarbfngkhaaenanaid aelathaihepnkhnmiemtta aesdngkhwamexuxefuxtxsrrphstwxyuepnnic sungodysrupaelw enuxhaswnaerk idrabuthungkhunsmbtikhxngbukhkhlxnphungprasngkhiwdngni skok epnkhnklahay xuchu epnkhntrng khuxmikaysucrit wcisucrit shuchu epnkhntrngcring khuxmimonsucritdwy suwaoc epnkhnwanxnsxnngay muthu epnkhnxxnoyn xanatimani epnkhnimhying imthuxtw sntussaok epnkhnsnods suphaor epnkhneliyngngay xppakicoc epnkhnimaebkpharamak mihwngmak sllahukawuthti ebakay ebaic sntintrioy epnphusarwmxinthriy nipaok epnphumipyyarksatw xppakhphoph epnkhnimkhanxng kuelsu xananuthkhithoth epnphuimtidintrakulswnthi 2 khuxrahwangbththi 4 bththi 5 epnkaraephemtta aelaswnthi 3 rahwangbththi 6 bththi 10 epnkarecriyphrhmwihar aelaxanisngskhxngkarecriyphrhmwihar wasamarthnaipsumrrkhphlniphphanid dngthirabuphliwbththi 10 dngni thitthiyca xanupakhmma silawa thssaenna smpnon hrux thanphuecriyemttacit thilakhwamehnphidaelw misil mikhwamehnchxb inbaththi 1 inbththi 10 epnkarrabuthungkhunsmbtikhxngphubrrluosdabn klawkhux phraxriyabukhkhlphumismmathisthi khuximyudmnthuxmnintwtn prascakkhwamlngelsngsyinphrartntryaelaxriyscsi aelamisilkhrbthwn xnkhunsmbtisngekhpkhxnglksnaphraosdabnthisamarthlasngoychnebuxngtaid 3 prakar khux skkaythitthi wicikiccha silphphtpramas kaemsu wienyya ekhthng hrux khcdkhwamikhrinkamid inbaththi 3 inbththi 10 epnkarrabuthungkhunsmbtikhxngphubrrluskthakhami klawkhux phraxriyabukhkhlphusamarthlakamchntha aelaptikha xnhmaythung khwamkrathbkrathnginic na hi chatu khphphaesyyng punaertiti hrux caimklbmaekidxikepnaenaeth inbaththi 4 hruxbathsudthay inbththi 10 epnkarrabuthungkhunsmbtikhxngphubrrluxnakhami khux phraxriyabukhkhlphuimklbbmaekidxik baephyephiyrphawnatxipinphrhmolk xikephiyngkhrngediyw aelwcabrrluxrhntniphphancakphrhmolkkarswdsathyay aekikhkrniyemttsutr epnhnunginphrapritr niymichswdkn ephuxpxngknphyntraythnghlay miihmakrakray aelaephuxihekidswsdimngkhl sungsxdkhlxngkberuxngrawkhxngthimaphrasutr thipraktinxrrthktha nxkcakni yngmikhwamechuxknwa phrasutrniepnthiyaekrngkhxngphutiphipisac aelathaihphuswdsathyayepnthirkikhrinhmuethphydathnghlayxyangirktam karsathyayphrasutrni yngmipraoychnxyangying inkarepnbrrthdthaninkardaeninchiwit enuxngcakepnphrasutrthismedcphrasmmasmphuththecathrngtrssxnthungaenwthangkarinkarptibtiihepnthirkikhr ihepnphumiesnh dwykarxxnnxmthxmtn trwcsxbtnexngihphncakkarkrathachw aelaecriyemttaxyuepnnity sungimephiyngyngkhwamsngbaekcitickhxngtnexngethann aetyngkhwamsngbsntiaeksrrphstwaelasaklolkxikdwy nbepnphrasutrthimikhunpraoychnmhasalwsin xinthsra phuechiywchaydanphuththsasna idklawthungphrasutrniwa epnkaraesdngkhunsmbtikhxngphuprarthnasnti khuxthangaehngphusngb hruxthangaehngkhndi hruxbnthit dngphuththphasitthiwa bnthitchxbsnti khwamsngb sn timic chn ti pn thita 6 duephim aekikhprmtthochtika phanwar pritrtwbth aelakhxmulephimetim aekikhkrniyemttsutrinkhuththkpatha xrrthkthaemttsutr khunsmbtikhxngphumungsntbthxangxing aekikh An Outline of the Metresin the Pali Canon David J Kalupahana 2001 hna 139 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpathainphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 hna 332 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpathainphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 hna 333 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpathainphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 hna 335 wsin xinthsra 2554 khunsmbtikhxngphumungsntbth hna 7 8brrnanukrm aekikhphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 prmtthochtika xrrthkthakhuththkpathainphraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly phrasuttntpidk khuththknikay khuththkpatha elm 1 phakh 1 suchiph puyyanuphaph 2550 phraitrpidkchbbprachachn krungethph krmkarsasna phrathrwngwthnthrrm wsin xinthsra 2554 khunsmbtikhxngphumungsntbth krungethph chmrmklyanthrrm David J Kalupahana 2001 Buddhist Thought and Ritual Delhi Motilal Banarsidass Anandajoti Bhikkhu An Outline of the Metresin the Pali Canon in http www buddhanet de net ancient buddhist texts Textual Studies Outline index htm Anandajoti Bhikkhu Main Metres in the Pali Canon in http www ancient buddhist texts net Reference Main Metres htm Metrical Units in http www chantpali org popups primer metta htmlekhathungcak https th wikipedia org w index php title krniyemttsutr amp oldid 6033779, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม