fbpx
วิกิพีเดีย

การปรองดอง

การปรองดอง (reconciliation) หมายจัดการความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต ในสังคมที่เคยแตกแยก ต่อสู้ และปะทะกัน ทั้งในระดับความคิดและในระดับการใช้ความรุนแรงทางกายภาพ ในการตกลงเพื่อเข้าสู่การเจรจาสันติภาพ (peace talk) ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ โดยไม่ใช้ความรุนแรง และทำการสร้างองค์กรหรือสถาบันที่เป็นประชาธิปไตยในการเข้ามาช่วยปรองดองและต่อรองอำนาจระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในที่นี้อาจจะรวมถึงการใช้มาตรการออกกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือเยียวยาความเสียหายโดยเริ่มจากการแสวงหาความจริงในอดีต สาเหตุความไม่เป็นธรรมในสังคม การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเดือดร้อนจากความขัดแย้ง การแสวงหาข้อเท็จจริงของความคิดแต่ไม่หาคนผิด และการจัดสรรอำนาจใหม่ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ควรระลึกด้วยว่า การใช้กฎหมายนิรโทษกรรมแต่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถนำไปสู่การปรองดองอย่างแท้จริงได้ การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อต้นตอของความขัดแย้งในสังคมได้รับการแก้ไข การจะเริ่มแก้ไขได้ก็โดยการพิสูจน์ทราบ บันทึก และชี้แจงข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะสังคมมีสิทธิในการเข้าถึงความจริง การรับทราบความจริงจึงจะนำมาสู่ความเข้าใจ การให้อภัย และเมื่อนั้นการปรองดองจึงจะเกิดขึ้นได้ (Murphy, 2010: 1-37)

อรรถาธิบาย

สถาบันส่งเสริมประชาธิปไตยและการเลือกตั้งสากล (International Institute for Democracy and Electoral Assistance: IDEA) ได้กล่าวถึงกระบวนการการปรองดองใน 3 ขั้นตอนไว้ดังนี้

  1. การตกลงที่จะอยู่ร่วมกันโดยไม่ใช้ความรุนแรง เพื่อหยุดยั้งการมีชีวิตอยู่ภายใต้ความกลัว
  2. เมื่อความกลัวหมดไป ให้ทำการสร้างความเชื่อมั่นและความเชื่อใจ (confidence and trust)
  3. การสร้างสังคมที่เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น (empathy)

อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติจะพบว่าไม่มีการปรองดองในที่ใดไม่เกี่ยวกับ “การเมือง” และแทบจะไม่มีการปรองดองในที่ใดไม่มีผลประโยชน์ทาง “เศรษฐกิจ” ตัวอย่างเช่นในประเทศแอฟริกาใต้ที่เคยเกิดสงครามกลางเมืองและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ได้ทำการสร้างกระบวนการปรองดอง การเลือกตั้งที่ได้เนลสัน แมนเดลาขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี แม้จะได้คะแนนเสียงจากคนดำอย่างท่วมท้น แต่เนลสัน แมนเดลาถือว่าตนเป็นประธานาธิบดีของคนแอฟริกาใต้ทั้งประเทศ ไม่ว่าคนดำหรือคนขาว ความปรองดองของคนในชาติถือเป็นสิ่งสำคัญทำให้เนลสัน แมนเดลาเลือกอดีตประธานาธิบดีเดอเคลิร์กซึ่งเป็นคนขาว มาเป็นรองประธานาธิบดีในคณะรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อเปิดกระบวนการปรองดอง การสืบค้นหาความจริง การเยียวยา การนิรโทษกรรม และการเจรจากับกลุ่มต่าง ๆ อีกหลายครั้ง การสร้างกระบวนการปรองดองจึงต้องใช้เวลานานและความอดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างมาก (Whittaker, 1999: 28-29)

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างในประเทศพม่า การพัฒนาเขตเศรษฐกิจและท่าเรือน้ำลึกทวายในช่วงปี 2008 เป็นต้นมา ได้มีการพัฒนาเศรษฐกิจทำให้ผลประโยชน์จำนวนมหาศาลเข้าสู่ประเทศ ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับชนกลุ่มน้อยจึงเบาบางลง เพราะถนนในการเข้าถึงพื้นที่ทวายจำเป็นต้องตัดผ่านเขตการปกครองของชนกลุ่มน้อย ทำให้รัฐบาลเปิดกระบวนการเจรจาสันติภาพกับชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ร่วมกันทางเศรษฐกิจ

จะเห็นได้ว่ากระบวนการสร้างความปรองดองนั้นวางอยู่บนกรอบความคิดทางการเมืองพื้นฐานสามประการ ประการแรกคือการยึดหลักนิติธรรม (rule of law) เพราะแม้กระบวนการปรองดองจะพยายามไกล่เกลี่ย และมีการรอมชอมระหว่างคู่ขัดแย้ง แต่ความจริงทางการเมือง และความถูก-ผิด ภายใต้กรอบของกฎหมายก็ยังคงต้องดำรงอยู่ และมีการตัดสินไปตามกระบวนการปกติเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรม แต่ความเป็นธรรมที่ว่านี้ ตั้งอยู่ภายใต้แนวคิดความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน ประการที่สองคือ การสร้างความไว้วางใจทางการเมือง (political trust) ระหว่างคู่ขัดแย้ง และประการสุดท้ายก็คือ การสร้างศักยภาพ (capability) ให้แก่สถาบันทางการเมืองทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการเพื่อก่อร่างสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองที่ดีระหว่างคู่ขัดแย้ง (Murphy, 2010: 41, 71, 94)

ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย

สำหรับงานศึกษาของไทย พบงานของสถาบันพระปกเกล้า (2555: 18) ได้ให้ความหมายของการปรองดองไว้ว่า การปรองดองได้แก่กระบวนการต่าง ๆ ที่ป้องกันแก้ไขไม่ให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยการสร้างสันติภาพ หยุดยั้งวงจรความรุนแรง และสร้างสถาบันที่เป็นประชาธิปไตยให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง แต่ในส่วนของแนวทางการปฏิบัตินั้นเป็นที่ยอมรับว่าอาจไม่ง่ายนักที่จะสามารถทำตามแนวคิดทฤษฎีของการปรองดอง เนื่องจากกระบวนการปรองดองไม่สามารถแยกออกจากสังคมที่มีปัญหาความขัดแย้งและความหวาดกลัวอย่างรุนแรงได้ การปรองดองเป็นกระบวนการที่ยากลำบาก ยาวนาน คาดเดาได้ยากและเกี่ยวข้องกับการวางแผน ขั้นตอนและวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม และต้องทำอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เช่น การมีสันติธรรมแทนที่จะแก้แค้น การจัดการความทรงจำร่วมกัน และสร้างการอธิบายจากมุมมองต่าง ๆ ของความขัดแย้งอย่างเท่าเทียมกัน

ในทางปฏิบัติ สังคมไทยหลังปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา เป็นสังคมที่มีความแตกแยกกันอย่างมาก ทั้งความแตกแยกทางการเมือง (ระหว่างกลุ่มสีเสื้อต่าง ๆ ) ความแตกแยกทางเศรษฐกิจ (ความแตกต่างระหว่างชนชั้น ความไม่เป็นธรรมในการแบ่งบันทรัพยากร) และความแตกแยกทางสังคม (การไม่ได้รับความยุติธรรม หรือ ถูกปฏิบัติแบบ “สองมาตรฐาน”) นำมาสู่การจัดการปัญหาด้วยการตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) สมัชชาปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยในการสร้างความปรองดองในชาติ

การสืบค้นหาความจริงของ “คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ” ที่ได้ออกผลการศึกษาในช่วงปลายปี พ.ศ. 2555 และรายงานที่จัดทำโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ถึงผลการตรวจสอบกรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดง) ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 นำมาสู่ข้อถกเถียงและการตั้งคำถามอย่างกว้างขวางต่อเนื้อหาและข้อสรุป ความพยายามสร้างความปรองดองที่ผ่านมาของสังคมไทยสะท้อนว่า กระบวนการปรองดองเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องอาศัยการถกเถียงอย่างสร้างสรรค์ ต้องอดทนต่อข้อมูลและการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง จริงใจและเปิดใจยอมรับฟังเสียงจากผู้เห็นต่างให้มากกว่าเดิม ทั้งนี้เป้าหมายคือการสร้างความไว้วางใจระหว่างคนในสังคม

ในการนำหลักการและกระบวนการปรองดองมาใช้ในสังคมไทย ต้องไม่ลืมว่าการปรองดองมีความสัมพันธ์กับระบบการเมือง โครงสร้างทางเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด ไม่มีกระบวนการปรองดองใดที่แยกตัวออกจากเศรษฐกิจและการเมือง และต้องคำนึงว่าความขัดแย้งที่มีมาเป็นเวลายาวนานไม่สามารถจัดการได้ภายในระยะเวลาอันสั้น แต่จำเป็นต้องใช้กระบวนการที่กินเวลาในการเปิดเจรจาระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และใช้กลไกช่วยเหลือเยียวยาจนทุกกลุ่มในสังคมสามารถกลับมาดำรงอยู่ร่วมกันได้ด้วยความอดทนต่อความหลากหลาย และที่สำคัญที่สุด การปรองดองที่แท้จริงมิอาจทำได้โดยใช้ความรุนแรงและกำลังบังคับ มิอาจเกิดขึ้นได้ด้วยวาทกรรมที่ปราศจากสำนึกในความผิด และการสรุปบทเรียนแห่งความผิดพลาดที่จะไม่กระทำต่อกันอีก การปรองดองจะสำเร็จได้ก็ต้องเริ่มด้วยการชำระประวัติศาสตร์ ให้ข้อเท็จจริงปรากฏ ไม่ใช่การทำให้ความจริงหายไป

อ้างอิง

  1. Murphy, Colleen (2010). A Moral Theory of Political Reconciliation. Cambridge:Cambridge University Press.
  2. International Institute for Democracy and Electoral Assistance (2003). “Reconciliation after Violent Conflict”. Accessed October 3, 2012 from http://www.idea.int/publications/reconciliation/upload/reconciliation_chap02.pdf.
  3. Whittaker, David J. (1999). Conflict and Reconciliation in the Contemporary World. New York: Routledge.
  4. Murphy, Colleen (2010). A Moral Theory of Political Reconciliation. Cambridge: Cambridge University Press.
  5. สถาบันพระปกเกล้า (2555). รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ. รายงานวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร.
  6. รายงานฉบับสมบูรณ์คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) กรกฎาคม 2553- กรกฎาคม 2554. เข้าถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ใน http://www.slideshare.net/FishFly/2553-2554-14315242.
  7. รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กรณีเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. เข้าถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ใน http://www.nhrc.or.th/2012/wb/img_contentpage_attachment/692_file_name_9897.pdf 2013-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  8. “ลูกเสธ.แดง-แม่น้องเกด มอบหลักฐาน "ยงยุทธ" พิจารณาร่วมรายงาน "คอป”. มติชน. เข้าถึงวันที่ 25 กันยายน 2555 ใน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1348552553&grpid=02&catid=02[ลิงก์เสีย].

การปรองดอง, reconciliation, หมายจ, ดการความข, ดแย, งระหว, างกล, มต, ในส, งคมท, เคยแตกแยก, อส, และปะทะก, งในระด, บความค, ดและในระด, บการใช, ความร, นแรงทางกายภาพ, ในการตกลงเพ, อเข, าส, การเจรจาส, นต, ภาพ, peace, talk, ระหว, างกล, มต, าง, โดยไม, ใช, ความร, นแรง, . karprxngdxng reconciliation hmaycdkarkhwamkhdaeyngrahwangklumt insngkhmthiekhyaetkaeyk txsu aelapathakn thnginradbkhwamkhidaelainradbkarichkhwamrunaerngthangkayphaph inkartklngephuxekhasukarecrcasntiphaph peace talk rahwangklumtang odyimichkhwamrunaerng aelathakarsrangxngkhkrhruxsthabnthiepnprachathipityinkarekhamachwyprxngdxngaelatxrxngxanacrahwangklumtang inthinixaccarwmthungkarichmatrkarxxkkdhmaynirothskrrm ephuxepnekhruxngmuxeyiywyakhwamesiyhayodyerimcakkaraeswnghakhwamcringinxdit saehtukhwamimepnthrrminsngkhm karchwyehluxeyiywyaphuidrbkhwameduxdrxncakkhwamkhdaeyng karaeswnghakhxethccringkhxngkhwamkhidaetimhakhnphid aelakarcdsrrxanacihmrahwangklumtang insngkhmihsamarthxyurwmknid aetkhwrralukdwywa karichkdhmaynirothskrrmaetephiyngxyangediyw imsamarthnaipsukarprxngdxngxyangaethcringid karprxngdxngcaekidkhunidktxemuxtntxkhxngkhwamkhdaeynginsngkhmidrbkaraekikh karcaerimaekikhidkodykarphisucnthrab bnthuk aelachiaecngkhxethccringinehtukarnthiekidkhun ephraasngkhmmisiththiinkarekhathungkhwamcring karrbthrabkhwamcringcungcanamasukhwamekhaic karihxphy aelaemuxnnkarprxngdxngcungcaekidkhunid Murphy 2010 1 37 1 xrrthathibay aekikhsthabnsngesrimprachathipityaelakareluxktngsakl International Institute for Democracy and Electoral Assistance IDEA idklawthungkrabwnkarkarprxngdxngin 3 khntxniwdngni 2 kartklngthicaxyurwmknodyimichkhwamrunaerng ephuxhyudyngkarmichiwitxyuphayitkhwamklw emuxkhwamklwhmdip ihthakarsrangkhwamechuxmnaelakhwamechuxic confidence and trust karsrangsngkhmthiekhaickhwamrusukkhxngphuxun empathy xyangirkdi inthangptibticaphbwaimmikarprxngdxnginthiidimekiywkb karemuxng aelaaethbcaimmikarprxngdxnginthiidimmiphlpraoychnthang esrsthkic twxyangechninpraethsaexfrikaitthiekhyekidsngkhramklangemuxngaelakarkhalangephaphnthu idthakarsrangkrabwnkarprxngdxng kareluxktngthiidenlsn aemnedlakhunmaepnprathanathibdi aemcaidkhaaennesiyngcakkhndaxyangthwmthn aetenlsn aemnedlathuxwatnepnprathanathibdikhxngkhnaexfrikaitthngpraeths imwakhndahruxkhnkhaw khwamprxngdxngkhxngkhninchatithuxepnsingsakhythaihenlsn aemnedlaeluxkxditprathanathibdiedxekhlirksungepnkhnkhaw maepnrxngprathanathibdiinkhnarthbalaehngchati ephuxepidkrabwnkarprxngdxng karsubkhnhakhwamcring kareyiywya karnirothskrrm aelakarecrcakbklumtang xikhlaykhrng karsrangkrabwnkarprxngdxngcungtxngichewlananaelakhwamxdthntxkhwamkhidehnthiaetktangxyangmak Whittaker 1999 28 29 3 nxkcakniyngmitwxyanginpraethsphma karphthnaekhtesrsthkicaelathaeruxnalukthwayinchwngpi 2008 epntnma idmikarphthnaesrsthkicthaihphlpraoychncanwnmhasalekhasupraeths khwamkhdaeyngrahwangrthbalthharphmakbchnklumnxycungebabanglng ephraathnninkarekhathungphunthithwaycaepntxngtdphanekhtkarpkkhrxngkhxngchnklumnxy thaihrthbalepidkrabwnkarecrcasntiphaphkbchnklumnxytang ephuxekbekiywphlpraoychnrwmknthangesrsthkiccaehnidwakrabwnkarsrangkhwamprxngdxngnnwangxyubnkrxbkhwamkhidthangkaremuxngphunthansamprakar prakaraerkkhuxkaryudhlknitithrrm rule of law ephraaaemkrabwnkarprxngdxngcaphyayamiklekliy aelamikarrxmchxmrahwangkhukhdaeyng aetkhwamcringthangkaremuxng aelakhwamthuk phid phayitkrxbkhxngkdhmaykyngkhngtxngdarngxyu aelamikartdsiniptamkrabwnkarpktiephuxkxihekidkhwamepnthrrm aetkhwamepnthrrmthiwani tngxyuphayitaenwkhidkhwamyutithrrminchwngepliynphan prakarthisxngkhux karsrangkhwamiwwangicthangkaremuxng political trust rahwangkhukhdaeyng aelaprakarsudthaykkhux karsrangskyphaph capability ihaeksthabnthangkaremuxngthngthiepnthangkar aelaimepnthangkarephuxkxrangsrangkhwamsmphnththangkaremuxngthidirahwangkhukhdaeyng Murphy 2010 41 71 94 4 twxyangkarnaipichinpraethsithy aekikhsahrbngansuksakhxngithy phbngankhxngsthabnphrapkekla 2555 18 5 idihkhwamhmaykhxngkarprxngdxngiwwa karprxngdxngidaekkrabwnkartang thipxngknaekikhimihkhwamkhdaeyngekidkhunmaihmxikkhrng odykarsrangsntiphaph hyudyngwngcrkhwamrunaerng aelasrangsthabnthiepnprachathipityihklbkhunmaxikkhrnghnung aetinswnkhxngaenwthangkarptibtinnepnthiyxmrbwaxacimngaynkthicasamarththatamaenwkhidthvsdikhxngkarprxngdxng enuxngcakkrabwnkarprxngdxngimsamarthaeykxxkcaksngkhmthimipyhakhwamkhdaeyngaelakhwamhwadklwxyangrunaerngid karprxngdxngepnkrabwnkarthiyaklabak yawnan khadedaidyakaelaekiywkhxngkbkarwangaephn khntxnaelawithikartang thiehmaasm aelatxngthaxyangtxenuxng ekiywkhxngkbkarepliynaeplngthsnkhti echn karmisntithrrmaethnthicaaekaekhn karcdkarkhwamthrngcarwmkn aelasrangkarxthibaycakmummxngtang khxngkhwamkhdaeyngxyangethaethiymkninthangptibti sngkhmithyhlngpi ph s 2548 epntnma epnsngkhmthimikhwamaetkaeykknxyangmak thngkhwamaetkaeykthangkaremuxng rahwangklumsiesuxtang khwamaetkaeykthangesrsthkic khwamaetktangrahwangchnchn khwamimepnthrrminkaraebngbnthrphyakr aelakhwamaetkaeykthangsngkhm karimidrbkhwamyutithrrm hrux thukptibtiaebb sxngmatrthan namasukarcdkarpyhadwykartngkhnakrrmkarxisratrwcsxbaelakhnhakhwamcringephuxkarprxngdxngaehngchati khxp smchchaptiruppraeths aelakhnakrrmkarptiruppraethsithyinkarsrangkhwamprxngdxnginchatikarsubkhnhakhwamcringkhxng khnakrrmkarxisratrwcsxbaelakhnhakhwamcringephuxkarprxngdxngaehngchati thiidxxkphlkarsuksainchwngplaypi ph s 2555 6 aelaraynganthicdthaodykhnakrrmkarsiththimnusychnaehngchati ksm thungphlkartrwcsxbkrniehtukarnkarchumnumkhxngklumaenwrwmprachathipitytxtanephdckaraehngchati npch hruxklumkhnesuxaedng rahwangwnthi 12 minakhm ph s 2553 19 phvsphakhm ph s 2553 7 namasukhxthkethiyngaelakartngkhathamxyangkwangkhwangtxenuxhaaelakhxsrup khwamphyayamsrangkhwamprxngdxngthiphanmakhxngsngkhmithysathxnwa krabwnkarprxngdxngepneruxnglaexiydxxn txngxasykarthkethiyngxyangsrangsrrkh txngxdthntxkhxmulaelakaraesdngkhwamkhidehnthiaetktang cringicaelaepidicyxmrbfngesiyngcakphuehntangihmakkwaedim thngniepahmaykhuxkarsrangkhwamiwwangicrahwangkhninsngkhm 8 inkarnahlkkaraelakrabwnkarprxngdxngmaichinsngkhmithy txngimlumwakarprxngdxngmikhwamsmphnthkbrabbkaremuxng okhrngsrangthangesrsthkic aelasngkhmwthnthrrmxyangiklchid immikrabwnkarprxngdxngidthiaeyktwxxkcakesrsthkicaelakaremuxng aelatxngkhanungwakhwamkhdaeyngthimimaepnewlayawnanimsamarthcdkaridphayinrayaewlaxnsn aetcaepntxngichkrabwnkarthikinewlainkarepidecrcarahwangklumtang aelaichklikchwyehluxeyiywyacnthukkluminsngkhmsamarthklbmadarngxyurwmkniddwykhwamxdthntxkhwamhlakhlay aelathisakhythisud karprxngdxngthiaethcringmixacthaidodyichkhwamrunaerngaelakalngbngkhb mixacekidkhuniddwywathkrrmthiprascaksanukinkhwamphid aelakarsrupbtheriynaehngkhwamphidphladthicaimkrathatxknxik karprxngdxngcasaercidktxngerimdwykarcharaprawtisastr ihkhxethccringprakt imichkarthaihkhwamcringhayipxangxing aekikh Murphy Colleen 2010 A Moral Theory of Political Reconciliation Cambridge Cambridge University Press International Institute for Democracy and Electoral Assistance 2003 Reconciliation after Violent Conflict Accessed October 3 2012 from http www idea int publications reconciliation upload reconciliation chap02 pdf Whittaker David J 1999 Conflict and Reconciliation in the Contemporary World New York Routledge Murphy Colleen 2010 A Moral Theory of Political Reconciliation Cambridge Cambridge University Press sthabnphrapkekla 2555 raynganwicykarsrangkhwamprxngdxngaehngchati raynganwicyesnxtxkhnakrrmkarwisamyphicarnakarsuksaaenwthangkarsrangkhwamprxngdxngaehngchati sphaphuaethnrasdr raynganchbbsmburnkhnakrrmkarxisratrwcsxbaelakhnhakhwamcringephuxkarprxngdxngaehngchati khxp krkdakhm 2553 krkdakhm 2554 ekhathungwnthi 20 singhakhm 2555 in http www slideshare net FishFly 2553 2554 14315242 raynganphlkartrwcsxbephuxmikhxesnxaenaechingnoybay krniehtukarnchumnumkhxngklum npch rahwangwnthi 12 minakhm 2553 thungwnthi 19 phvsphakhm 2553 khnakrrmkarsiththimnusychnaehngchati ekhathungwnthi 20 singhakhm 2555 in http www nhrc or th 2012 wb img contentpage attachment 692 file name 9897 pdf Archived 2013 10 03 thi ewyaebkaemchchin lukesth aedng aemnxngekd mxbhlkthan yngyuthth phicarnarwmrayngan khxp mtichn ekhathungwnthi 25 knyayn 2555 in http www matichon co th news detail php newsid 1348552553 amp grpid 02 amp catid 02 lingkesiy ekhathungcak https th wikipedia org w index php title karprxngdxng amp oldid 9614863, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม