fbpx
วิกิพีเดีย

ผกากรอง

ผกากรอง
ผกากรอง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Verbenaceae
สกุล: Lantana
สปีชีส์: L.  camara
ชื่อทวินาม
Lantana camara
L.
ชื่อพ้อง
  • Lantana aculeata
  • Lantana armata
ภาพวาดประกอบของผกากรอง
ผลสุกของผกากรอง
ผลดิบของผกากรอง

ผกากรอง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lantana camara L.) เป็นพืชในวงศ์ Verbenaceae เป็นพืชพื้นเมืองในทวีปอเมริกา นำเข้าไปปลูกเป็นไม้แต่งสวนในหลายประเทศและกลายเป็นพืชต่างถิ่นรุกรานในภูมิภาคเขตร้อน เป็นไม้พุ่มยืนต้นหรือไม้พุ่มกึ่งเลื้อย พุ่มไม้ที่ทึบจากกิ่งก้านแตกแขนงสาขามากและใบที่ขึ้นดกหนา ใบรูปไข่สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม ขอบใบจัก เส้นใบเห็นเป็นร่องชัดเจน ดอกเป็นช่อกระจุก มีหลายสี ดอกย่อยเป็นทรงปากแตร ดอกมีกลิ่นฉุน ขนตามลำต้นเมื่อถูกผิวหนังทำให้คัน ถ้ารับประทาน ทำให้ปวดท้อง อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจขัด หมดสติ ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซียนำใบไปต้มกับน้ำ ใช้ฉีดพ่นไล่แมลง

ผกากรองมีความสามารถในการเอาชนะพืชพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งนำไปสู่การลดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่นั้น นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดปัญหาความเป็นพิษต่อปศุสัตว์จากการรุกรานพื้นที่เกษตรกรรมของผกากรอง รวมทั้งความสามารถของผกากรองในการสร้างพุ่มไม้หนาทึบซึ่งยากต่อการกำจัด และหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่แวดระวังอาจสามารถลดผลผลิตของพื้นที่เพาะปลูกได้อย่างมาก และยังเป็นพืชที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดไฟป่าให้สูงขึ้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้พุ่มยืนต้นกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก แตกแขนงกิ่งก้านสาขามาก มีพุ่มไม้ที่ทึบในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ตามลำต้นเป็นร่องอาจมีหนามเล็กน้อย อาจมีขนปกคลุมทั่วทั้งต้น รากตื้นประมาณ 10-30 เซนติเมตรจากผิวดิน

ใบเดี่ยว รูปไข่สีเขียวเข้ม ขอบใบจัก ปลายใบแหลม เส้นใบเห็นเป็นร่องชัดเจน เส้นใบมีลักษณะย่น ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ใบออกตรงข้ามกัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-9 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนหยาบ ด้านท้องใบมีขนเล็กๆ เมื่อลูบจะรู้สึกระคายมือ ใบขึ้นดกหนา เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นฉุน และเนื่องจากมีการคัดเลือกพันธุ์อย่างกว้างขวางตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 เพื่อใช้เป็นไม้ประดับปัจจุบัน จึงมีพันธุ์ผกากรอง (L. camara) ที่แตกต่างกันออกไปมากมาย

ดอกเป็นช่อเรียงเป็นกระจุกในบริเวณขั้วดอก ช่อดอกรูปกึ่งทรงกลม มีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ละดอกมีสี่กลีบ ดอกเป็นรูปแตร มีท่อยาวปลายกลีบดอกบานออก ดอกจะทยอยบานจากด้านนอกเข้าไปในช่อดอก กลีบดอกมีหลายสี เช่น ขาว เหลืองนวล  ชมพู  ส้ม  แดง หรือมีหลายสีในช่อดอกเดียวกัน

ผลมีขนาดเล็กรูปทรงกลม ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีน้ำเงินม่วงเข้มเกือบดำ และการสืบพันธุ์ของเมล็ดเกิดขึ้น ผกากรองแต่ละต้นสามารถผลิตผล ได้มากถึง 12,000 ลูก ซึ่งนก เช่น นกกระติ๊ดขี้หมู และสัตว์อื่น ๆ จะกินและสามารถแพร่กระจายเมล็ดพืชไปในระยะทางไกล ๆ

การเปลี่ยนแปลงสีดอก

การมีหลายสีในช่อดอกเดียวกันของผกากรอง เกิดจากความแตกต่างของตำแหน่งบนช่อดอก การคัดเลือกพันธุ์ และอายุของดอก กล่าวคือหลังจากผสมเกสรแล้วสีของดอกไม้จะเปลี่ยนไป (โดยทั่วไปจากสีเหลือง เป็นสีส้มสีชมพูหรือสีแดง) ซึ่งเชื่อว่าเป็นสัญญาณให้แมลงผสมเกสรให้รู้นัยยะของสีทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนสี ดึงดูดให้เข้าหาดอกที่ยังไม่ได้รับการผสมเกสร และการเปลี่ยนสีนั้นเสมือนเป็นรางวัลให้แมลงรับรู้ว่าได้ช่วยดอกนั้นให้ผสมติดแล้ว ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของดอกไม้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผสมเกสรของแมลง

การกระจายพันธุ์

ผกากรอง (L. camara) เป็นพืชพันธุ์พื้นเมืองของอเมริกากลางและอเมริกาใต้ แต่ได้ถูกกระจายพันธุ์ใน 60 ประเทศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก ปัจจุบันพบได้บ่อยในแอฟริกาตะวันออกและตอนใต้ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 2,000 ม. มักกระจายพันธุ์เข้าไปในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมซึ่งเกิดจากการตัดไม้เพื่อการค้าเนื้อไม้ และพื้นที่แผ้วถางเพื่อการเกษตร

ผกากรองแพร่กระจายไปในแอฟริกา ยุโรปใต้ เช่น สเปน และโปรตุเกส รวมถึงตะวันออกกลาง อินเดีย เอเชียเขตร้อน เช่น ประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งหมู่เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ผกากรองกลายเป็นวัชพืชที่สำคัญในศรีลังกาซึ่งเล็ดลอดออกจากสวนพฤกษศาสตร์หลวงในปี พ.ศ. 2469 การแนะนำผกากรองให้ปลูกในฟิลิปปินส์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างสหรัฐอเมริกาและฟิลิปปินส์ (ซึ่งนำไปจากฮาวาย) ซึ่งได้เล็ดลอดสู่ธรรมชาติและกลายเป็นพืชพันธุ์พื้นเมืองในหมู่เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ พื้นที่การกระจายพันธุ์ของผกากรองยังคงเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลในปี 2517 ไม่เคยพบผกากรองในเกาะหลายแห่ง ได้แก่ หมู่เกาะกาลาปากอส ไซปัน และหมู่เกาะโซโลมอน แต่พบเห็นได้ปัจจุบัน

ความสามารถในการกระจายพันธุ์ของผกากรอง (L. camara) ซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วในพื้นที่ป่าเดิมที่ถูกรบกวน ป่าเสื่อมโทรม โดยเฉพาะในประเทศที่มีพื้นที่ที่มีการตัดไม้ การแผ้วถางเพื่อการเกษตร และไฟป่าที่เกิดโดยธรรมชาติิิและด้วยมือมนุษย์ ในทางตรงกันข้ามในประเทศที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่ของป่าหลักที่ยังคงสมบูรณ์ การกระจายของผกากรอกลับเป็นไปอย่างจำกัด

ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาในประเทศไทยเมื่อใด สันนิษฐานว่าคงเข้ามาในช่วง 100-200 ปีนี้เอง

นิเวศวิทยา

ผกากรองถูกนำเข้าเป็นไม้ดอกในหลายประเทศเนื่องจากดอกที่หลากสีและใบที่ดกปกคลุมผิวดิน จัดเป็นพรรณไม้ดอกกลางแจ้งที่มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด และสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายและระบายน้ำได้ดีมากกว่าดินชุ่มชื้นหรือดินเหนียว จึงจัดเป็นพืชที่มีความแข็งแรงทนทานมาก และมักพบขึ้นตามป่าละเมาะที่ค่อนข้างโปร่งและแห้งแล้ง

พืชชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน

ผกากรองเป็นวัชพืชที่พบได้ตามทุ่งหญ้าทั่วไป มักอยู่เป็นพุ่มต่ำ ในหลายพื้นที่และภูมิภาคของโลกถือว่าเป็นวัชพืชรุกราน เนื่องจากมีความสามารถสูงในการเจริญขึ้นและขยายพันธุ์ได้ดีตามธรรมชาติ มักขยายเผ่าพันธุ์และทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่ผกากรองได้เติบโตอยู่ เมื่อพุ่มของผกากรองเติบโตหนาแน่นมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของป่าไม้ที่ลดลง เนื่องจากต้นผกากรองสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชชนิดอื่นได้

ผกากรองเป็นพืชที่ทนต่อไฟป่า และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดไฟป่าให้สูงขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากต้นผกากรองจะมีคุณสมบัติเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี และบางครั้งสามารถเลื้ิอยไปบนต้นไม้อื่นได้สูงถึง 20 เมตร ทำให้ไฟป่าลุกลามไปถึงบริเวณเรือนยอด ซึ่งมักจะเกิดได้ในบริเวณที่แห้งแล้งหรือป่าดิบแล้งซึ่งไฟป่าสามารถลุกลามไปได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบนิเวศบริเวณนั้นถูกทำลายได้

พุ่มของต้นผกากรองจะไปยับยั้งการเติบโตของพืชไร่ทำให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยลง และยังก่อให้เกิดผลกระทบอื่น ๆ ตามมา คือ แมลงที่เป็นพาหะโรคมักชอบมาหลบอาศัยอยู่ในพุ่มผกากรอง เช่น ยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย และแมลงวันเซทซีซึ่งเป็นพาหะนำโรคเหงาหลับอีกด้วย

สาเหตุที่ผกากรองประสบความสำเร็จในการรุกรานไปยังพื้นที่ต่างๆนั้น ประกอบด้วย

1. มีสัตว์หลายชนิดที่กินผลของผกากรองแล้วแพร่กระจายเมล็ดไปยังพื้นที่อื่นเป็นวงกว้าง

2. ต้นและใบผกากรองมีความเป็นพิษ จึงไม่มีสัตว์มากินเป็นอาหาร

3. ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่หลากหลาย

4. การตัดไม้ การแผ้วถางป่า และการเปลี่ยนแปลงสภาพที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นผกากรอง

5. ต้นผกากรองมีการสร้างสารยับยั้งการเจริญต่อพืชชนิดอื่น

6. มีการเพิ่มจำนวนเมล็ดได้อย่างรวดเร็วมาก (ประมาณ 12,000 เมล็ด ต่อต้น ต่อปี)

ภูมิภาคและพื้นที่การรุกรานแบบวงกว้างของผกากรอง ได้แก่ ประเทศเอธิโอเปีย เคนยา แอฟริกาใต้ มาดากัสการ์ อูกันดา ประเทศอินเดียตอนเหนือและใต้ในรัฐชัมมูและกัศมีร์ ปัญจาบ หิมาจัลประเทศ ราชสถาน อุตตรประเทศ มัธยประเทศ อัสสัม กรณาฏกะ ทมิฬนาฑู และประเทศศรีลังกา

พิษวิทยา

ผกากรองทุกส่วนเป็นพิษต่อปศุสัตว์ เช่น วัว แกะ ม้า และแพะ รวมถึงสุนัขและมนุษย์ สารออกฤทธิ์ที่ก่อให้เกิดความเป็นพิษในสัตว์กินหญ้า คือ เพนตาไซคลิกไตรเทอร์พีนอยด์ ซึ่งส่งผลให้ตับถูกทำลาย และอาการผิวหนังไวต่อแสง

ผกากรองยังขับสารอัลลีโลพาธีซึ่งยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชโดยรอบ โดยทำลายการงอกและการยืดตัวของราก

ความเป็นพิษของผลผกากรองต่อมนุษย์นั้นไม่เป็นที่แน่ชัด โดยมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่าการกินผลผกากรองอาจเป็นพิษต่อมนุษย์ได้ เช่น การศึกษาของ O P Sharma ซึ่งระบุว่า "ผลไม้ที่ยังไม่สุกสีเขียวเป็นพิษต่อมนุษย์" อย่างไรก็ตามการศึกษาอื่น ๆ พบหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าผลของผกากรอง (L. camara) อาจไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมนุษย์เมื่อรับประทาน และอาจรับประทานได้เมื่อสุก

อาการในมนุษย์เมื่อกินผกากรองส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะใบและผลดิบ ได้แก่

  • ผลที่แก่แต่ยังไม่สุก มีสารพิษที่เรียกว่า แลนทาดีน-เอ (Lantadene A)  และ แลนทาดีน-บี (Lantadene B)  โดยแลนทาดีน-บี  มีพิษน้อยกว่าแลนทาดีน เอ  ความเป๋็นพิษหากกินเข้าไป สารนี้จะออกฤทธิให้มีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ไม่มีแรง ไม่สามารถยืนได้ มึนงง อาเจียน รูม่านตาขยาย ตัวเขียว ท้องเดิน หมดสติ หายใจลึกแต่ระดับการหายใจจะช้าลงๆ และ อาจตายได้
  • ในเมล็ดมีสาร glycosides corchoroside A และ B กระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วกว่าปกติ และสารรสขม corchorin ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ม่านตาขยาย ชีพจรผิดปกติ และอาจหมดสติ

การรุกรานในประเทศไทย

ผกากรองบางสายพันธุ์เป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วประเทศ พบการระบาดในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและกาญจนบุรี

การจัดการและการควบคุม

การจัดการที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมระยะยาวในผกากรอง (L. camara) ที่รุกราน ต้องมีการลดกิจกรรมการทำลายแหล่งอาศัยตามธรรมชาติของพืชพันธุ์พื้นเมืองเดิมให้เสื่อมโทรม การรักษาความแข็งแรงของระบบนิเวศพื้นเมืองเดิมให้สามารถทำงานได้เป็นปกติ (ระบบนิเวศพื้นเมืองที่สมบูรณ์ซึ่งทำงานได้เองตามธรรมชาติ) เป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันไม่ให้วัชพืชรุกรานอย่างผกากรอง เข้ามาสร้างอาณานิคมใหม่และเข้ามาลดการความสามารถในการแข่งขันของสัตว์และพืชพื้นเมืองเดิม

ทางชีวภาพ

แมลงที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติและสารควบคุมทางชีวภาพอื่น ๆ ได้รับการปรับใช้ในระดับความสำเร็จที่แตกต่างกันในการควบคุมผกากรอง ซึ่งเป็นวัชพืชชนิดแรกที่อยู่ภายใต้การควบคุมทางชีวภาพ อย่างไรก็ตามไม่มีโครงการใดที่ประสบความสำเร็จ แม้จะมีการใช้ตัวควบคุม 36 อย่างใน 33 ภูมิภาค การไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมทางชีวภาพในกรณีของผกากรอง น่าจะเกิดจากผกากรองมีพันธุ์ลูกผสมมากมาย คือมีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่กว้างขวางซึ่งทำให้ยากในการควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาล่าสุดในอินเดียแสดงให้เห็นผลลัพธ์ เกี่ยวกับการควบคุมทางชีวภาพของพืชชนิดนี้โดยใช้มวนปีกแก้ว (Tingidae)

แรงงานและเครื่องจักรกลการเกษตร

การควบคุมด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรในการจัดการผกากรองต้องพึ่งการใช้แรงงาน การกำจัดผกากรองด้วยแรงงานมนุษย์อาจได้ผลดี ด้วยการวิธีถางและขุดเอารากออก แต่ต้องใช้แรงงานมากและมีต้นทุนค่าแรงที่สูง วิธีนี้มักจะเหมาะสมเฉพาะในพื้นที่ขนาดเล็ก หรือในระยะแรกของการเข้าทำลายของผกากรอง วิธีการควบคุมเครื่องจักรกลอีกวิธีหนึ่งคือการปราบด้วยไฟและตามด้วยการปลูกพืชพันธุ์พื้นเมือง ในบางพื้นที่มีการขุดรากถอนโคนของต้นผกากรองในธรรมชาติมาปรับปรุงให้เป็นไม้กระถางประดับที่มีความสวยงามได้

สารเคมี

การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในการจัดการผกากรอง มีประสิทธิภาพมาก แต่ก็มีต้นทุนที่สูงในประเทศที่ยากจนซึ่งมักไม่เป็นที่ยอมรับ วิธีที่ได้ผลที่สุดในการปราบผกากรองทางเคมี คือการดายหญ้าบริเวณนั้นก่อนการฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าวัชพืช ซึ่งวิธีนี้จะส่งผลร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม และยังถูกห้ามใช้ในหลายประเทศที่มีการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคอย่างเข้มงวด

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. "Lantana camara L." Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 2007-05-29. สืบค้นเมื่อ 2009-10-21.
  2. Floridata LC (2007). "Lantana camara". Floridata LC. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
  3. Moyhill Publishing (2007). "English vs. Latin Names". Moyhill Publishing. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
  4. New South Wales National Parks and Wildlife Service (2007). "Lantana - fact sheet". Department of Environment and Climate Change - NSW. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
  5. เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552
  6. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
  7. Kohli, Ravinder K.; Batish, Daizy R.; Singh, H. P.; Dogra, Kuldip S. (2006-10). "Status, invasiveness and environmental threats of three tropical American invasive weeds (Parthenium hysterophorus L., Ageratum conyzoides L., Lantana camara L.) in India". Biological Invasions (ภาษาอังกฤษ). 8 (7): 1501–1510. doi:10.1007/s10530-005-5842-1. ISSN 1387-3547. Check date values in: |date= (help)
  8. Ensbey, Rob. "Lantana - Weed of National Significance"
  9. Ankila J. Hiremath and Bharath Sundaram. The Fire-Lantana Cycle Hypothesis in Indian Forests. Conservation and Society, Pages 26 - 42, volume 3, No. 1, June 2005. สิืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2563.
  10. Sharma, O.P. (1981). "A Review of the Toxicity of Lantana camara (Linn) in Animals". Clinical Toxicology. 18 (9): 1077–1094. doi:10.3109/15563658108990337. PMID 7032835.
  11. "Lantana camara". 2008.
  12. Weiss, Martha. R. (1990). "FLORAL COLOR CHANGES AS CUES FOR POLLINATORS". Cite journal requires |journal= (help)
  13. Florida Exotic Pest Plant Council (2005). "Florida Exotic Pest Plant Council: Lantana camanara" (PDF). Florida Exotic Pest Plant Council.
  14. Sanders, R.W. (2012). "Taxonomy of Lantana sect Lantana (Verbenaceae)". Journal of the Botanical Research Institute of Texas. 6 (2): 403–442.
  15. Gentle, C. B.; Duggin, J. A. (1997-09). "Lantana camara L. invasions in dry rainforest - open forest ecotones: The role of disturbances associated with fire and cattle grazing". Austral Ecology (ภาษาอังกฤษ). 22 (3): 298–306. doi:10.1111/j.1442-9993.1997.tb00675.x. ISSN 1442-9985. Check date values in: |date= (help)
  16. "Lantana camara". October 2006.
  17. Thaman, R. R. (2006). "Lantana camara: its introduction, dispersal and impact on islands of the tropical Pacific Ocean". Micronesia Journal of the University of Guam. 10: 17–39.
  18. "Forest Invasive Species: Country Report" (PDF). Food and Agriculture Organization of the United Nations.
  19. S. Ranwala, B. Marambe, S. Wijesundara, P. Silva, D. Weerakoon, N. Atapattu, J. Gunawardena, L. Manawadu, G. Gamage, Post-entry risk assessment of invasive alien flora in Sri Lanka-present status, GAP analysis, and the most troublesome alien invaders, Pakistan Journal of Weed Science Research, Special Issue, October, 2012: 863-871.
  20. "Forest Invasive Species: Country Report" (PDF). Food and Agriculture Organization of the United Nations. Retrieved March 23, 2014.
  21. Lantana : current management status and future prospects. Day, Michael D. (Weed scientist). Canberra, Australia: Australian Centre for International Agricultural Research. 2003. ISBN 1-86320-374-5. OCLC 54015865.CS1 maint: others (link)
  22. Duggin, J.A; Gentle, C.B (1998-09). "Experimental evidence on the importance of disturbance intensity for invasion of Lantana camara L. in dry rainforest–open forest ecotones in north-eastern NSW, Australia". Forest Ecology and Management (ภาษาอังกฤษ). 109 (1–3): 279–292. doi:10.1016/S0378-1127(98)00252-7. Check date values in: |date= (help)
  23. CABI Lantana camara (lantana) สิืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2563.
  24. Berry, Z C; Wevill, K; Curran, T J (2011-10). "The invasive weed Lantana camara increases fire risk in dry rainforest by altering fuel beds: Lantana camara increases fuel beds". Weed Research (ภาษาอังกฤษ). 51 (5): 525–533. doi:10.1111/j.1365-3180.2011.00869.x. Check date values in: |date= (help)
  25. "Lantana camara". Wikipedia. Lantana camara. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2559. Check date values in: |accessdate= (help)
  26. Ross, Ivan. A. (1999). Medicinal plants of the world (PDF). Humana Press. p. 187.
  27. Storey's horse-lover's encyclopedia : an English & Western A-to-Z guide. Burns, Deborah. Pownal, Vt.: Storey Books. 2001. ISBN 1-58017-317-9. OCLC 44952133.CS1 maint: others (link)
  28. Barceloux, Donald G. (2008). Medical toxicology of natural substances : foods, fungi, medicinal herbs, plants, and venomous animals. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons. ISBN 978-0-470-33557-4. OCLC 299026676.
  29. Ahmed, Romel; Uddin, Mohammad Belal; Khan, Mohammed Abu Sayed Arfin; Mukul, Sharif Ahmed; Hossain, Mohammed Kamal (2007-12). "Allelopathic effects of Lantana camara on germination and growth behavior of some agricultural crops in Bangladesh". Journal of Forestry Research (ภาษาอังกฤษ). 18 (4): 301–304. doi:10.1007/s11676-007-0060-6. ISSN 1007-662X. Check date values in: |date= (help)
  30. Sharma, Om P.; Sharma, Sarita; Pattabhi, Vasantha; Mahato, Shashi B.; Sharma, Pritam D. (2007-01). "A Review of the Hepatotoxic Plant Lantana camara". Critical Reviews in Toxicology (ภาษาอังกฤษ). 37 (4): 313–352. doi:10.1080/10408440601177863. ISSN 1040-8444. Check date values in: |date= (help)
  31. Herzog et al. (1996), Coppens d'Eeckenbrugge & Libreros Ferla (2000), TAMREC (2000)
  32. Carstairs, S. D.; Luk, J. Y.; Tomaszewski, C. A.; Cantrell, F. L. (2010-12-01). "Ingestion of Lantana camara Is Not Associated With Significant Effects in Children". PEDIATRICS (ภาษาอังกฤษ). 126 (6): e1585–e1588. doi:10.1542/peds.2010-1669. ISSN 0031-4005.
  33. สุนทร ตรีนันทวัน ผกากรอง สวยจริงแต่พิษร้าย 25 สิงหาคม 2553.
  34. ผกากรอง สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2563.
  35. "ผกากรอง". สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ชนิดพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในประเทศไทย ( IAS in Thailand ). สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2559. Check date values in: |accessdate= (help)
  36. "Karnataka gets nature's gift to fight deadly weed - Times of India". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2017-08-21.
  37. Quentin C. B. Cronk, Janice L. Fuller (1995). Plant Invaders: The Threat to Natural Ecosystems. Royal Botanic Gardens, Kew: Springer. ISBN 978-0-412-48380-6.

ผกากรอง, การจำแนกช, นทางว, ทยาศาสตร, อาณาจ, กร, plantaeไม, ได, ดลำด, angiospermsไม, ได, ดลำด, eudicotsไม, ได, ดลำด, asteridsอ, นด, lamialesวงศ, verbenaceaeสก, lantanaสป, camaraช, อทว, นามlantana, camaral, อพ, องlantana, aculeata, lantana, armata, ภาพวาดประกอบข. phkakrxngphkakrxngkarcaaenkchnthangwithyasastrxanackr Plantaeimidcdladb Angiospermsimidcdladb Eudicotsimidcdladb Asteridsxndb Lamialeswngs Verbenaceaeskul Lantanaspichis L camarachuxthwinamLantana camaraL chuxphxngLantana aculeata 1 Lantana armata phaphwadprakxbkhxngphkakrxng phlsukkhxngphkakrxng phldibkhxngphkakrxng phkakrxng chuxwithyasastr Lantana camara L epnphuchinwngs Verbenaceae epnphuchphunemuxnginthwipxemrika 2 3 naekhaipplukepnimaetngswninhlaypraethsaelaklayepnphuchtangthinrukraninphumiphakhekhtrxn 4 epnimphumyuntnhruximphumkungeluxy phumimthithubcakkingkanaetkaekhnngsakhamakaelaibthikhundkhna ibrupikhsiekhiywekhm playibaehlm khxbibck esnibehnepnrxngchdecn dxkepnchxkracuk mihlaysi dxkyxyepnthrngpakaetr dxkmiklinchun khntamlatnemuxthukphiwhnngthaihkhn tharbprathan thaihpwdthxng xaeciyn klamenuxxxnaerng hayickhd hmdsti 5 chawoxrngxsliinrtheprk praethsmaelesiynaibiptmkbna ichchidphnilaemlng 6 phkakrxngmikhwamsamarthinkarexachnaphuchphnthuphunemuxng sungnaipsukarldkhwamhlakhlaythangchiwphaphinphunthinn 7 nxkcakniyngxacthaihekidpyhakhwamepnphistxpsustwcakkarrukranphunthiekstrkrrmkhxngphkakrxng rwmthngkhwamsamarthkhxngphkakrxnginkarsrangphumimhnathubsungyaktxkarkacd aelahakplxythingiwodyimaewdrawngxacsamarthldphlphlitkhxngphunthiephaaplukidxyangmak 8 aelayngepnphuchthiephimkhwamesiyngkhxngkarekidifpaihsungkhun 9 enuxha 1 lksnathangphvkssastr 1 1 karepliynaeplngsidxk 2 karkracayphnthu 3 niewswithya 3 1 phuchchnidphnthutangthinrukran 3 2 phiswithya 3 3 karrukraninpraethsithy 4 karcdkaraelakarkhwbkhum 4 1 thangchiwphaph 4 2 aerngnganaelaekhruxngckrklkarekstr 4 3 sarekhmi 5 raebiyngphaph 6 xangxinglksnathangphvkssastr aekikhepnimphumyuntnkungeluxykhnadelk aetkaekhnngkingkansakhamak miphumimthithubinsphaphaewdlxmthihlakhlay 10 khwamsungkhxngtnpraman 1 2 emtr latnepnsiehliym tamlatnepnrxngxacmihnamelknxy xacmikhnpkkhlumthwthngtn raktunpraman 10 30 esntiemtrcakphiwdin 8 ibediyw rupikhsiekhiywekhm khxbibck playibaehlm esnibehnepnrxngchdecn esnibmilksnayn kanibyawpraman 1 esntiemtr ibxxktrngkhamkn ibmikhnadkwangpraman 2 3 5 esntiemtraelayawpraman 3 9 esntiemtr phiwibdanbnhyab danthxngibmikhnelk emuxlubcarusukrakhaymux ibkhundkhna emuxkhyidmcamiklinchun aelaenuxngcakmikarkhdeluxkphnthuxyangkwangkhwangtlxdkhriststwrrsthi 17 aela 18 ephuxichepnimpradbpccubn cungmiphnthuphkakrxng L camara thiaetktangknxxkipmakmaydxkepnchxeriyngepnkracukinbriewnkhwdxk chxdxkrupkungthrngklm midxkkhnadelkcanwnmak aetladxkmisiklib dxkepnrupaetr mithxyawplayklibdxkbanxxk dxkcathyxybancakdannxkekhaipinchxdxk klibdxkmihlaysi echn khaw ehluxngnwl chmphu sm aedng hruxmihlaysiinchxdxkediywknphlmikhnadelkrupthrngklm phlxxnmisiekhiyw emuxaekcamisinaenginmwngekhmekuxbda aelakarsubphnthukhxngemldekidkhun phkakrxngaetlatnsamarthphlitphl idmakthung 12 000 luk 11 sungnk echn nkkratidkhihmu aelastwxun cakinaelasamarthaephrkracayemldphuchipinrayathangikl karepliynaeplngsidxk aekikh karmihlaysiinchxdxkediywknkhxngphkakrxng ekidcakkhwamaetktangkhxngtaaehnngbnchxdxk karkhdeluxkphnthu aelaxayukhxngdxk klawkhuxhlngcakphsmeksraelwsikhxngdxkimcaepliynip odythwipcaksiehluxng epnsismsichmphuhruxsiaedng sungechuxwaepnsyyanihaemlngphsmeksrihrunyyakhxngsithngkxnaelahlngkarepliynsi dungdudihekhahadxkthiyngimidrbkarphsmeksr aelakarepliynsinnesmuxnepnrangwlihaemlngrbruwaidchwydxknnihphsmtidaelw sungepnklyuththkhxngdxkiminkarephimprasiththiphaphkarphsmeksrkhxngaemlng 12 karkracayphnthu aekikhphkakrxng L camara epnphuchphnthuphunemuxngkhxngxemrikaklangaelaxemrikait aetidthukkracayphnthuin 60 praethsekhtrxnaelakungekhtrxnthwolk 13 14 pccubnphbidbxyinaexfrikatawnxxkaelatxnitthiradbkhwamsungtakwa 2 000 m mkkracayphnthuekhaipinphunthipaesuxmothrmsungekidcakkartdimephuxkarkhaenuxim aelaphunthiaephwthangephuxkarekstr 15 phkakrxngaephrkracayipinaexfrika yuorpit echn sepn aelaoprtueks rwmthungtawnxxkklang xinediy exechiyekhtrxn echn praethsithy ewiydnam maelesiy xxsetreliy niwsiaelnd aelashrthxemrika rwmthnghmuekaainmhasmuthraextaelntik aepsifikaelamhasmuthrxinediy 16 17 phkakrxngklayepnwchphuchthisakhyinsrilngkasungeldlxdxxkcakswnphvkssastrhlwnginpi ph s 2469 18 19 karaenanaphkakrxngihplukinfilippinsepnswnhnungkhxngokhrngkaraelkepliynrahwangshrthxemrikaaelafilippins sungnaipcakhaway sungideldlxdsuthrrmchatiaelaklayepnphuchphnthuphunemuxnginhmuekaatang khxngfilippins 20 phunthikarkracayphnthukhxngphkakrxngyngkhngephimkhuncakkhxmulinpi 2517 imekhyphbphkakrxnginekaahlayaehng idaek hmuekaakalapakxs ispn aelahmuekaaosolmxn aetphbehnidpccubn 17 khwamsamarthinkarkracayphnthukhxngphkakrxng L camara sungepnipxyangrwderwinphunthipaedimthithukrbkwn paesuxmothrm odyechphaainpraethsthimiphunthithimikartdim karaephwthangephuxkarekstr aelaifpathiekidodythrrmchatiiiaeladwymuxmnusy inthangtrngknkhaminpraethsthimiphunthiswnihykhxngpahlkthiyngkhngsmburn karkracaykhxngphkakrxklbepnipxyangcakd 21 22 immihlkthanwaekhamainpraethsithyemuxid snnisthanwakhngekhamainchwng 100 200 piniexngniewswithya aekikhphkakrxngthuknaekhaepnimdxkinhlaypraethsenuxngcakdxkthihlaksiaelaibthidkpkkhlumphiwdin cdepnphrrnimdxkklangaecngthimixayuhlaypi chxbaesngaeddcd aelasphaphkhxnkhangaehngaelng ecriyetibotiddiindinrwnpnthrayaelarabaynaiddimakkwadinchumchunhruxdinehniyw cungcdepnphuchthimikhwamaekhngaerngthnthanmak aelamkphbkhuntampalaemaathikhxnkhangoprngaelaaehngaelng phuchchnidphnthutangthinrukran aekikh phkakrxngepnwchphuchthiphbidtamthunghyathwip mkxyuepnphumta inhlayphunthiaelaphumiphakhkhxngolkthuxwaepnwchphuchrukran 23 enuxngcakmikhwamsamarthsunginkarecriykhunaelakhyayphnthuidditamthrrmchati mkkhyayephaphnthuaelathalaykhwamhlakhlaythangchiwphaphinphunthithiphkakrxngidetibotxyu emuxphumkhxngphkakrxngetibothnaaennmakkhuncasngphlkrathbtxxtrakarkhyaytwkhxngpaimthildlng enuxngcaktnphkakrxngsamarthybyngkarecriyetibotkhxngphuchchnidxunidphkakrxngepnphuchthithntxifpa aelaephimkhwamesiyngkhxngkarekidifpaihsungkhunaelamikhwamrunaerngmakkhun enuxngcaktnphkakrxngcamikhunsmbtiepnechuxephlingxyangdi aelabangkhrngsamartheluixyipbntnimxunidsungthung 20 emtr thaihifpaluklamipthungbriewneruxnyxd sungmkcaekididinbriewnthiaehngaelnghruxpadibaelngsungifpasamarthluklamipidxyangrwderw sngphlihrabbniewsbriewnnnthukthalayid 24 9 phumkhxngtnphkakrxngcaipybyngkaretibotkhxngphuchirthaihekstrkrekbekiywphlphlitidnxylng aelayngkxihekidphlkrathbxun tamma khux aemlngthiepnphahaorkhmkchxbmahlbxasyxyuinphumphkakrxng echn yungsungepnphahanaorkhmalaeriy aelaaemlngwnesthsisungepnphahanaorkhehngahlbxikdwy 25 saehtuthiphkakrxngprasbkhwamsaercinkarrukranipyngphunthitangnn prakxbdwy 25 1 mistwhlaychnidthikinphlkhxngphkakrxngaelwaephrkracayemldipyngphunthixunepnwngkwang2 tnaelaibphkakrxngmikhwamepnphis cungimmistwmakinepnxahar3 thntxsphawaaewdlxmthihlakhlay4 kartdim karaephwthangpa aelakarepliynaeplngsphaphthixyuxasythiexuxtxkarecriyetibotkhxngtnphkakrxng5 tnphkakrxngmikarsrangsarybyngkarecriytxphuchchnidxun6 mikarephimcanwnemldidxyangrwderwmak praman 12 000 emld txtn txpi phumiphakhaelaphunthikarrukranaebbwngkwangkhxngphkakrxng idaek praethsexthioxepiy ekhnya aexfrikait madakskar xuknda praethsxinediytxnehnuxaelaitinrthchmmuaelaksmir pycab himaclpraeths rachsthan xuttrpraeths mthypraeths xssm krnatka thmilnathu aelapraethssrilngka 23 phiswithya aekikh phkakrxngthukswnepnphistxpsustw echn ww aeka ma aelaaepha rwmthungsunkhaelamnusy 8 26 27 sarxxkvththithikxihekidkhwamepnphisinstwkinhya khux ephntaiskhlikitrethxrphinxyd sungsngphlihtbthukthalay aelaxakarphiwhnngiwtxaesng 28 phkakrxngyngkhbsarxlliolphathisungybyngkarecriyetibotkhxngphuchodyrxb odythalaykarngxkaelakaryudtwkhxngrak 29 khwamepnphiskhxngphlphkakrxngtxmnusynnimepnthiaenchd odyminganwicyhlaychinthichiihehnwakarkinphlphkakrxngxacepnphistxmnusyid echn karsuksakhxng O P Sharma sungrabuwa phlimthiyngimsuksiekhiywepnphistxmnusy 30 xyangirktamkarsuksaxun phbhlkthanthichiihehnwaphlkhxngphkakrxng L camara xacimkxihekidkhwamesiyngtxmnusyemuxrbprathan aelaxacrbprathanidemuxsuk 31 32 xakarinmnusyemuxkinphkakrxngswnidswnhnung odyechphaaibaelaphldib idaek phlthiaekaetyngimsuk misarphisthieriykwa aelnthadin ex Lantadene A aela aelnthadin bi Lantadene B odyaelnthadin bi miphisnxykwaaelnthadin ex khwamepnphishakkinekhaip sarnicaxxkvththiihmixakarxxnephliy klamenuxthanganimprasankn immiaerng imsamarthyunid munngng xaeciyn rumantakhyay twekhiyw thxngedin hmdsti hayiclukaetradbkarhayiccachalng aela xactayid 33 inemldmisar glycosides corchoroside A aela B kratunhwicihetnerwkwapkti aelasarrskhm corchorin thaihkhlunis xaeciyn mantakhyay chiphcrphidpkti aelaxachmdsti 34 karrukraninpraethsithy aekikh phkakrxngbangsayphnthuepnwchphuchthiphbidthwpraeths phbkarrabadincnghwdaemhxngsxnaelakaycnburi 35 karcdkaraelakarkhwbkhum aekikhkarcdkarthimiprasiththiphaphinkarkhwbkhumrayayawinphkakrxng L camara thirukran txngmikarldkickrrmkarthalayaehlngxasytamthrrmchatikhxngphuchphnthuphunemuxngedimihesuxmothrm karrksakhwamaekhngaerngkhxngrabbniewsphunemuxngedimihsamarththanganidepnpkti rabbniewsphunemuxngthismburnsungthanganidexngtamthrrmchati epnkuyaecsakhyinkarpxngknimihwchphuchrukranxyangphkakrxng ekhamasrangxananikhmihmaelaekhamaldkarkhwamsamarthinkaraekhngkhnkhxngstwaelaphuchphunemuxngedim thangchiwphaph aekikh aemlngthiepnstrutamthrrmchatiaelasarkhwbkhumthangchiwphaphxun idrbkarprbichinradbkhwamsaercthiaetktangkninkarkhwbkhumphkakrxng sungepnwchphuchchnidaerkthixyuphayitkarkhwbkhumthangchiwphaph xyangirktamimmiokhrngkaridthiprasbkhwamsaerc aemcamikarichtwkhwbkhum 36 xyangin 33 phumiphakh karimprasbkhwamsaercinkarkhwbkhumthangchiwphaphinkrnikhxngphkakrxng nacaekidcakphkakrxngmiphnthulukphsmmakmay khuxmikhwamhlakhlaythangphnthukrrmthikwangkhwangsungthaihyakinkarkhwbkhumidxyangmiprasiththiphaph karsuksalasudinxinediyaesdngihehnphllphth ekiywkbkarkhwbkhumthangchiwphaphkhxngphuchchnidniodyichmwnpikaekw Tingidae 36 aerngnganaelaekhruxngckrklkarekstr aekikh karkhwbkhumdwyekhruxngckrklkarekstrinkarcdkarphkakrxngtxngphungkarichaerngngan karkacdphkakrxngdwyaerngnganmnusyxacidphldi dwykarwithithangaelakhudexarakxxk aettxngichaerngnganmakaelamitnthunkhaaerngthisung 37 withinimkcaehmaasmechphaainphunthikhnadelk hruxinrayaaerkkhxngkarekhathalaykhxngphkakrxng withikarkhwbkhumekhruxngckrklxikwithihnungkhuxkarprabdwyifaelatamdwykarplukphuchphnthuphunemuxng inbangphunthimikarkhudrakthxnokhnkhxngtnphkakrxnginthrrmchatimaprbprungihepnimkrathangpradbthimikhwamswyngamid 35 sarekhmi aekikh karichsarekhmikacdwchphuchinkarcdkarphkakrxng miprasiththiphaphmak aetkmitnthunthisunginpraethsthiyakcnsungmkimepnthiyxmrb withithiidphlthisudinkarprabphkakrxngthangekhmi khuxkardayhyabriewnnnkxnkarchidphndwynayakhawchphuch sungwithinicasngphlrayaerngtxsingaewdlxm aelayngthukhamichinhlaypraethsthimikarkhumkhrxngsingaewdlxmaelaphubriophkhxyangekhmngwdraebiyngphaph aekikh xangxing aekikh Lantana camara L Germplasm Resources Information Network United States Department of Agriculture 2007 05 29 subkhnemux 2009 10 21 Floridata LC 2007 Lantana camara Floridata LC subkhnemux September 19 2007 Moyhill Publishing 2007 English vs Latin Names Moyhill Publishing subkhnemux September 19 2007 New South Wales National Parks and Wildlife Service 2007 Lantana fact sheet Department of Environment and Climate Change NSW subkhnemux September 19 2007 esrsthmntr kaycnkul immiphis kthm esrsthsilp 2552 Samuel A J S J Kalusalingam A Chellappan D K Gopinath R Radhamani S Husain H A Muruganandham V Promwichit P 2010 Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong Perak West Malaysia Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine 6 5 Kohli Ravinder K Batish Daizy R Singh H P Dogra Kuldip S 2006 10 Status invasiveness and environmental threats of three tropical American invasive weeds Parthenium hysterophorus L Ageratum conyzoides L Lantana camara L in India Biological Invasions phasaxngkvs 8 7 1501 1510 doi 10 1007 s10530 005 5842 1 ISSN 1387 3547 Check date values in date help 8 0 8 1 8 2 Ensbey Rob Lantana Weed of National Significance 9 0 9 1 Ankila J Hiremath and Bharath Sundaram The Fire Lantana Cycle Hypothesis in Indian Forests Conservation and Society Pages 26 42 volume 3 No 1 June 2005 siubkhnemux 21 thnwakhm 2563 Sharma O P 1981 A Review of the Toxicity of Lantana camara Linn in Animals Clinical Toxicology 18 9 1077 1094 doi 10 3109 15563658108990337 PMID 7032835 Lantana camara 2008 Weiss Martha R 1990 FLORAL COLOR CHANGES AS CUES FOR POLLINATORS Cite journal requires journal help Florida Exotic Pest Plant Council 2005 Florida Exotic Pest Plant Council Lantana camanara PDF Florida Exotic Pest Plant Council Sanders R W 2012 Taxonomy of Lantana sect Lantana Verbenaceae Journal of the Botanical Research Institute of Texas 6 2 403 442 Gentle C B Duggin J A 1997 09 Lantana camara L invasions in dry rainforest open forest ecotones The role of disturbances associated with fire and cattle grazing Austral Ecology phasaxngkvs 22 3 298 306 doi 10 1111 j 1442 9993 1997 tb00675 x ISSN 1442 9985 Check date values in date help Lantana camara October 2006 17 0 17 1 Thaman R R 2006 Lantana camara its introduction dispersal and impact on islands of the tropical Pacific Ocean Micronesia Journal of the University of Guam 10 17 39 Forest Invasive Species Country Report PDF Food and Agriculture Organization of the United Nations S Ranwala B Marambe S Wijesundara P Silva D Weerakoon N Atapattu J Gunawardena L Manawadu G Gamage Post entry risk assessment of invasive alien flora in Sri Lanka present status GAP analysis and the most troublesome alien invaders Pakistan Journal of Weed Science Research Special Issue October 2012 863 871 Forest Invasive Species Country Report PDF Food and Agriculture Organization of the United Nations Retrieved March 23 2014 Lantana current management status and future prospects Day Michael D Weed scientist Canberra Australia Australian Centre for International Agricultural Research 2003 ISBN 1 86320 374 5 OCLC 54015865 CS1 maint others link Duggin J A Gentle C B 1998 09 Experimental evidence on the importance of disturbance intensity for invasion of Lantana camara L in dry rainforest open forest ecotones in north eastern NSW Australia Forest Ecology and Management phasaxngkvs 109 1 3 279 292 doi 10 1016 S0378 1127 98 00252 7 Check date values in date help 23 0 23 1 CABI Lantana camara lantana siubkhnemux 21 thnwakhm 2563 Berry Z C Wevill K Curran T J 2011 10 The invasive weed Lantana camara increases fire risk in dry rainforest by altering fuel beds Lantana camara increases fuel beds Weed Research phasaxngkvs 51 5 525 533 doi 10 1111 j 1365 3180 2011 00869 x Check date values in date help 25 0 25 1 Lantana camara Wikipedia Lantana camara subkhnemux 16 knyayn 2559 Check date values in accessdate help Ross Ivan A 1999 Medicinal plants of the world PDF Humana Press p 187 Storey s horse lover s encyclopedia an English amp Western A to Z guide Burns Deborah Pownal Vt Storey Books 2001 ISBN 1 58017 317 9 OCLC 44952133 CS1 maint others link Barceloux Donald G 2008 Medical toxicology of natural substances foods fungi medicinal herbs plants and venomous animals Hoboken NJ John Wiley amp Sons ISBN 978 0 470 33557 4 OCLC 299026676 Ahmed Romel Uddin Mohammad Belal Khan Mohammed Abu Sayed Arfin Mukul Sharif Ahmed Hossain Mohammed Kamal 2007 12 Allelopathic effects of Lantana camara on germination and growth behavior of some agricultural crops in Bangladesh Journal of Forestry Research phasaxngkvs 18 4 301 304 doi 10 1007 s11676 007 0060 6 ISSN 1007 662X Check date values in date help Sharma Om P Sharma Sarita Pattabhi Vasantha Mahato Shashi B Sharma Pritam D 2007 01 A Review of the Hepatotoxic Plant Lantana camara Critical Reviews in Toxicology phasaxngkvs 37 4 313 352 doi 10 1080 10408440601177863 ISSN 1040 8444 Check date values in date help Herzog et al 1996 Coppens d Eeckenbrugge amp Libreros Ferla 2000 TAMREC 2000 Carstairs S D Luk J Y Tomaszewski C A Cantrell F L 2010 12 01 Ingestion of Lantana camara Is Not Associated With Significant Effects in Children PEDIATRICS phasaxngkvs 126 6 e1585 e1588 doi 10 1542 peds 2010 1669 ISSN 0031 4005 sunthr trinnthwn phkakrxng swycringaetphisray 25 singhakhm 2553 phkakrxng sanknganokhrngkarxnurksphnthukrrmphuchxnenuxngmacakphrarachdari smedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari subkhnemux 21 thnwakhm 2563 35 0 35 1 phkakrxng sankkhwamhlakhlaythangchiwphaph sankngannoybayaelaaephnthrphyakrthrrmchatiaelasingaewdlxm krathrwngthrphyakrthrrmchatiaelasingaewdlxm chnidphnthuphuchtangthinrukraninpraethsithy IAS in Thailand subkhnemux 16 knyayn 2559 Check date values in accessdate help Karnataka gets nature s gift to fight deadly weed Times of India The Times of India subkhnemux 2017 08 21 Quentin C B Cronk Janice L Fuller 1995 Plant Invaders The Threat to Natural Ecosystems Royal Botanic Gardens Kew Springer ISBN 978 0 412 48380 6 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title phkakrxng amp oldid 9242909, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม