fbpx
วิกิพีเดีย

ระหัด

ระหัด (อังกฤษ: Rahat หรือ Chain Pump) เป็นเครื่องชักน้ำหรือวิดน้ำ ประกอบด้วย โครงราง เพลา(กงระหัด) ใบระหัดหรือโซ่ระหัด (คล้ายสายพาน โซ่จักรยาน) โดยทั่วไปรางและใบระหัดทำจากไม้ ใช้มือหมุน ใช้ถีบด้วยเท้า หรือใช้แรงสัตว์ หรือใช้แรงกลแปลงจากกระแสน้ำหรือลม ใช้ในการชลประทานเพื่อการกสิกรรมทั่วไปที่ต้องอาศัยน้ำสำหรับทำการเพาะปลูก โดยเฉพาะการทำนาต้องดึงน้ำขังต้นข้าวจนกระทั่งก่อนข้าวออกรวงจึงดึงน้ำออก ชาวนาจะปลูกข้าวในฤดูฝนปีละครั้ง เรียกว่า ข้าวนาปี แต่เมื่อมีการชลประทานดีขึ้นจะปลูกข้าวนอกฤดูฝนอีกด้วย ซึ่งเรียกว่า นาปรัง การใช้ระหัดวิดน้ำมีความสำคัญต่อการทำนาในสมัยก่อนมาก

ระหัดวิดน้ำ ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเหลืออยู่ไม่เกิน 30 ชิ้น
กังหันลมซึ่งแปลงแรงจากลม เพื่อหมุนดึงเพลาระหัดให้ระหัดวิดน้ำสม่ำเสมอ ในนาเกลือ
ภาพระหัดแบบใช้แรงกลแปลงจากกระแสน้ำ
ระหัดวิดน้ำใช้แรงถีบ ไต้หวัน ประเทศจีน ปีค.ศ. 1915
ระหัดวิดน้ำใช้แรงถีบ ประเทศจีน ปี 1911
ระหัดวิดน้ำใช้เทียมวัว จากหนังสือสารานุกรมจักรพรรดิ (古今图书集成 Gǔjīn Túshū Jíchéng) ประเทศจีน ราวปีค.ศ. 1700-17/5
ระหัดวิดน้ำแบบไม่มีราง ในประเทศอินเดีย

ประวัติ

สำหรับการเพาะปลูกในช่วงที่ยังไม่มีเครื่องยนต์ที่ใช้กับเครื่องจักรกลการเกษตร ชาวนาจะใช้โพงหรือระหัดวิดน้ำเข้าแปลงนา การใช้โพง (หรืิอเรียก ชงโลง ที่ทําด้วยไม้ขุด หรือสานด้วยไม้ไผ่ให้มีรูปร่างคล้ายช้อนมี ด้ามยาว) วิดน้ำได้ครั้งละไม่มากนัก และต้องออกแรงมากเนืื่องจากต้องวิดน้ำและเหวี่ยงข้ามคันนาไปอีกข้างหนึ่ง เพื่อประหยัดแรงจึงได้คิดวิธีวิดน้ำหรือชักน้ำ โดยการใช้เครื่องจักรกลแบบชักน้ำอย่างต่อเนื่องอย่างระหัดขึ้นแทน ในระยะแรกใช้แรงมือหมุน ต่อมาการชักน้ำด้วยมือไม่เพียงพอกับการทำไร่นามีขนาดใหญ่ ต้องเปลี่ยนมาใช้การทุ่นแรงโดยปรับเพลาหมุนที่แปลงแรงถีบของคนหลายคน หรือแรงสัตว์แทน หรืออาจใช้แรงกลจากกังหันซึ่งสามารถชักน้ำได้เป็นเวลานานกว่าและต่อเนื่องโดยไม่ต้องเฝ้าดูแลตลอดเวลา

สันนิษฐานว่าระหัดถูกประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน (เรืยก 水转翻车 Shuǐ zhuǎn fānchē) หรือ อินเดีย โดยอาจพัฒนาแนวคิดในการประดิษฐ์ระหัดมาจาก “กังหันวิดน้ำ” ที่อาจจะเกิดขึ้นก่อน ระหัด กังหันน้ำเป็นเครื่องวิดน้ำหรือเครื่องชักน้ำคล้ายกับระหัด ใช้ตักน้ำหรือชักน้ำที่อยู่ในระดับต่ำขึ้นมายังที่สูง โดยใช้กระแสน้ำหมุนวงล้อขนาดใหญ่ที่ทําด้วยไม้ มักจะตั้งไว้ริมตลิ่งที่มีน้ำไหล ให้ขนาดของวงล้อใหญ่สูงกว่าระดับตลิ่งเพื่อให้น้ำไหลลงไปตามรางรับน้ำที่ทอดไปสู่บริเวณที่ต้องการน้ำ บนขอบของวงล้อมีภาชนะสําหรับตักน้ำ ซึ่งมีหลักฐานว่าเริ่มจากในอียิปต์โบราณ อาหรับ หรือเปอร์เซีย (เรืยก Noria) กังหันวิดน้ำนี้ในประเทศไทยอาจเรียกว่า ระหัดวง หรือ หลุก

ในประเทศอินเดีย ระหัดมีชื่อเรียกในภาษาฮินดีและอูรดูว่า Rahat (ราหัท) หรือ Rehat เป็นเครื่องชักน้ำคล้ายระหัดคือมีสายโซ่ที่เรียงด้วยกระบอกน้ำหลายใบ แต่ไม่มีราง ใช้ชักน้ำด้วยแรงคนหรือสัตว์ในแนวดิ่งจากบ่อน้ำที่มีความลึกค่อนข้างมาก

ในประเทศไทยไม่มีหลักฐานที่จะค้นคว้าหรืออ้างอิงได้แน่นอนว่า คนไทยใช้ระหัดหรือได้รับการแนะนำให้รู้จักในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงรวมทั้งประเทศไทยตั้งแต่สมัยใด คําว่า “ระหัด” ที่ปรากฏในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ ของ ดร.แดนนิช แบรดเลย์ หรือหมอบรัดเลย์ที่พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2416 เขียนว่า “ระหัศ อย่างหนึ่ง เป็นของเครื่องใช้บีบเยื่อฝ้ายให้เล็ดออกเสีย นั้น, อย่างหนึ่งเป็นเครื่องวิดน้ำเข้านา” จากหลักฐานดังกล่าวนี้แสดงว่า ระหัดเป็นเครื่องวิดน้ำที่คนไทยใช้กันมาอย่างน้อยร้อยปีเศษแล้ว

ลักษณะ

ระหัดในประเทศไทยมักทำด้วยไม้สักเนื่องจากทนน้ำ ระหัดมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ รางน้ำ ใบระหัด และกงระหัด

โครงรางน้ำ โดยมากใช้ไม้สักทำเป็นโครง มีความยาวประมาณ 3 – 6 เมตร ใช้ไม้แผ่นบาง ๆ ตีประกบทั้ง 2 ข้าง ให้รางน้ำซีกข้างบนโปร่ง ด้านล่างตีไม้ทึบ รางน้ำมีความสูงประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร รางเป็นชั้นเดียว หรือสองชั้นหากรางมีความยาวมากซึ่งต้องแยกใบระหัดทั้งสองทางออกจากกัน

ใบระหัด โซ่ระหัด หรือลูกระหัด เป็นไม้แผ่นบางแบนเพื่อดันน้ำเข้าไปตามราง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวน 30 – 40 ใบ กว้างประมาณ 8 – 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12 – 15 เซนติเมตร เข้าเดือยใบระหัดแต่ละใบโดยใช้สลักตอกให้แกนใบยึดซึ่งกันและกัน ใบระหัดยึดคล้องกันแบบลูกโซ่ มีความยาวประมาณ 2 เท่า ของรางน้ำ ระหัดวิดน้ำอาจมีขนาดสั้นและยาวตามความต้องการของผู้ใช้

เพลา หรือกงระหัด หรือจักรระหัด มี 2 ชิ้นหัวและท้ายราง เป็นท่อนไม้วงกลมใช้ไม้หรือเหล็กเป็นแกน เจาะรูหลวม ๆ ให้หมุนได้สะดวก มีลักษณะคล้ายฟันเฟือง 6 หรือ 8 ซึ่ หมุนสับกันเป็นวง ทำหน้าที่ชักดึงให้ใบระหัดเคลื่อนหมุนได้ด้วยแรงหมุน แรงที่หมุนเพลานี้อาจต่อเข้ากับมือหมุน 2 ข้างจะทำเป็นแกนมีที่จับ เจาะรูยึดกับแกนเพลา ใช้หมุนโดยการดึงสลับข้างกัน มือหมุนอาจต่อกับไม้ชักอีกทีเพื่อทุ่นแรง (คล้ายการถีบจักรยาน) ข้อจํากัดของระหัดมือที่ คือ ต้องใช้แรงคนซึ่งไม่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน จึงพัฒนาโดยต่อการฉุดเพลาเข้ากับแรงอื่น ได้แก่ เท้าถีบ หรือเพลาเดิน หรือใช้แรงสัตว์เทียมกับล้อเพลาที่มีฟันเฟืองผ่านแรง หรือใช้แรงกลแปลงจากกระแสน้ำหรือลม หรือเครื่องยนต์เป็นตัวฉุด และมีรางขนาดใหญ่ขึ้น

เวลาใช้จะวางระหัดด้านปลายจุ่มไปในน้ำให้เอียงทอดไปบนคันนา ซึ่งมีความลาดชันไม่มากเกิน ดึงมือหมุนทีละข้างสลับกันไปเรื่อย ๆ แกนเพลาเมื่อหมุนแล้วจะทำให้ฟันเฟืองและใบระหัดหมุนตาม ใบระหัดจะพุ้ยน้ำหรือตักน้ำขึ้นมาในรางและไหลออกตรงช่องมือหมุน การวิดระหัดอาจใช้คนเดียวหรือ 2 คน ช่วยกันหมุน ซึ่งทำให้ผ่อนแรงได้มากการใช้ระหัดวิดน้ำนอกจากใช้เพื่อการเพาะปลูกแล้ว ยังใช้วิดน้ำหาปลาได้อีกด้วย

ปัจจุบันในประเทศไทยไม่นิยมใช้ระหัดวิดน้ำในการกสิกรรมแล้ว โดยส่วนมากเกษตรกรหันมาใช้เครื่องสูบน้ำเข้ามาแทน แต่อาจพบเห็นได้ในนาเกลือซึ่งเป็นระหัดที่ีใช้แรงกลแปลงจากกระแสลม

ส่วนประกอบสำคัญของระหัดฉุดน้ำแบบกังหันลม

  1. ส่วนของใบพัด ก้านใบทำจากไม้ยึดติดกับแกนหมุน ใบรับลมทำจากเสื่อ ลำแพน หรือ ผ้าใบ ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้แผ่นพลาสติก มีจำนวน 6 ใบ แกนหมุนตั้งในแนวนอนอยู่บนเสาไม้
  2. เสาของกังหันลม ทำจากไม้จำนวน 2 ต้น ปักไว้เป็นคู่เพื่อรองรับแกนหมุน
  3. สายพานขับแกนเพลา ทำจากเชือกที่มีความเหนียวและทนต่อแรงเสียดสี ทำหน้าที่ถ่ายแรงจากการหมุนของแกนหมุนไปยังแกนเพลาให้หมุนตามเพื่อใช้ฉุดระหัดไม้
  4. แกนเพลา ทำจากเหล็กหรือไม้กลม วางอยู่บนเสาไม้คู่เหนือพื้นดินที่พอเหมาะ มีซี่ไม้ลักษณะคล้ายเฟืองยึดติดกลางแกนเพลาเพื่อขับหมุนฉุดแผ่นระหัด
  5. ส่วนของรางน้ำและระหัด ทำจากไม้ ลักษณะรางน้ำเป็นกล่องรางไม้ตัว บ. (ตัวยู u) เป็นร่องน้ำเปิดโปร่ง พาดเฉียงระหว่างท้องน้ำ กับพื้นนาเกลือแล้วใช้ไม้แผ่นขนาดเท่าหน้าตัดของกล่องรางน้ำทำระหัดเรียงต่อกันเป็นซี่ ๆ ด้วย เชือก หรือ โซ่ห่างกันพอประมาณเพื่อกักเก็บและฉุดน้ำเคลื่อนตัวจากที่ต่ำขึ้นที่สูง

อ้างอิง

  • กังหันลมแบบระหัดฉุดน้ำของคนไทยโบราณ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน
  1. ศิลปวัฒนธรรม. ระหัด เครื่องวิดน้ำภูมิปัญญาพื้นบ้าน 2 กันยายน พ.ศ. 2562.
  2. 钦定古今图书集成/经济汇编/考工典/第244卷
  3. Srikantaiah Vishwanath. The Persian Wheel in India. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563.
  4. https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=skit&month=10-2009&date=28&group=8&gblog=27
  5. วารสารสิ่งแวดล้อม ระหัดวิดน้ำ : การจัดการทรัพยากรน้ำตามภูมินิเวศน์ของชุมชนลุ่มน้ำลำตะคอง สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 19 เมษายน 2562.
  6. The Tribune India. ‘Rahat’: A farmers’ companion of olden days สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563.
  7. India Culture. RAHAT- A Traditional Irrigation Technique, Madhya Pradesh สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563.
  8. S.Vishwanath, Amitangshu Acharya. Persian wheel : The water lifting device in Kolar, Karnataka India Water Portal.
  9. บริษัท โรงเลื่อยจักรเสริมวงศ์ จำกัด ข้อดีของการใช้ไม้สักมาผลิตเฟอร์นิเจอร์ สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563.
  10. ไม้ที่ใช้ทำเรือ สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563.

ระห, งกฤษ, rahat, หร, chain, pump, เป, นเคร, องช, กน, ำหร, อว, ดน, ประกอบด, วย, โครงราง, เพลา, กง, ใบหร, อโซ, คล, ายสายพาน, โซ, กรยาน, โดยท, วไปรางและใบทำจากไม, ใช, อหม, ใช, บด, วยเท, หร, อใช, แรงส, ตว, หร, อใช, แรงกลแปลงจากกระแสน, ำหร, อลม, ใช, ในการชลประทานเ. rahd xngkvs Rahat hrux Chain Pump epnekhruxngchknahruxwidna prakxbdwy okhrngrang ephla kngrahd ibrahdhruxosrahd khlaysayphan osckryan odythwiprangaelaibrahdthacakim ichmuxhmun ichthibdwyetha hruxichaerngstw hruxichaerngklaeplngcakkraaesnahruxlm ichinkarchlprathanephuxkarksikrrmthwipthitxngxasynasahrbthakarephaapluk odyechphaakarthanatxngdungnakhngtnkhawcnkrathngkxnkhawxxkrwngcungdungnaxxk chawnacaplukkhawinvdufnpilakhrng eriykwa khawnapi aetemuxmikarchlprathandikhuncaplukkhawnxkvdufnxikdwy sungeriykwa naprng karichrahdwidnamikhwamsakhytxkarthanainsmykxnmakrahdwidna praethsyipun pccubnehluxxyuimekin 30 chin knghnlmsungaeplngaerngcaklm ephuxhmundungephlarahdihrahdwidnasmaesmx innaeklux phaphrahdaebbichaerngklaeplngcakkraaesna rahdwidnaichaerngthib ithwn praethscin pikh s 1915 rahdwidnaichaerngthib praethscin pi 1911 rahdwidnaichethiymww cakhnngsuxsaranukrmckrphrrdi 古今图书集成 Gǔjin Tushu Jicheng praethscin rawpikh s 1700 17 5 rahdwidnaaebbimmirang inpraethsxinediy enuxha 1 prawti 2 lksna 3 swnprakxbsakhykhxngrahdchudnaaebbknghnlm 4 xangxingprawti aekikhsahrbkarephaaplukinchwngthiyngimmiekhruxngyntthiichkbekhruxngckrklkarekstr chawnacaichophnghruxrahdwidnaekhaaeplngna karichophng hruixeriyk chngolng thithadwyimkhud hruxsandwyimiphihmiruprangkhlaychxnmi damyaw 1 widnaidkhrnglaimmaknk aelatxngxxkaerngmakenuuxngcaktxngwidnaaelaehwiyngkhamkhnnaipxikkhanghnung ephuxprahydaerngcungidkhidwithiwidnahruxchkna odykarichekhruxngckrklaebbchknaxyangtxenuxngxyangrahdkhunaethn inrayaaerkichaerngmuxhmun txmakarchknadwymuximephiyngphxkbkarthairnamikhnadihy txngepliynmaichkarthunaerngodyprbephlahmunthiaeplngaerngthibkhxngkhnhlaykhn hruxaerngstwaethn hruxxacichaerngklcakknghnsungsamarthchknaidepnewlanankwaaelatxenuxngodyimtxngefaduaeltlxdewlasnnisthanwarahdthukpradisthkhunkhrngaerkinpraethscin 2 eruyk 水转翻车 Shuǐ zhuǎn fanche hrux xinediy odyxacphthnaaenwkhidinkarpradisthrahdmacak knghnwidna thixaccaekidkhunkxn rahd knghnnaepnekhruxngwidnahruxekhruxngchknakhlaykbrahd ichtknahruxchknathixyuinradbtakhunmayngthisung odyichkraaesnahmunwnglxkhnadihythithadwyim mkcatngiwrimtlingthiminaihl ihkhnadkhxngwnglxihysungkwaradbtlingephuxihnaihllngiptamrangrbnathithxdipsubriewnthitxngkarna bnkhxbkhxngwnglxmiphachnasahrbtkna sungmihlkthanwaerimcakinxiyiptobran xahrb hruxepxresiy 3 eruyk Noria knghnwidnaniinpraethsithyxaceriykwa rahdwng hrux hluk 4 5 inpraethsxinediy rahdmichuxeriykinphasahindiaelaxurduwa Rahat rahth 6 7 hrux Rehat epnekhruxngchknakhlayrahdkhuxmisayosthieriyngdwykrabxknahlayib aetimmirang ichchknadwyaerngkhnhruxstwinaenwdingcakbxnathimikhwamlukkhxnkhangmak 8 inpraethsithyimmihlkthanthicakhnkhwahruxxangxingidaennxnwa khnithyichrahdhruxidrbkaraenanaihruckinpraethsephuxnbaniklekhiyngrwmthngpraethsithytngaetsmyid khawa rahd thipraktinhnngsuxxkkhraphithansrbth khxng dr aednnich aebrdely hruxhmxbrdelythiphimphemux ph s 2416 ekhiynwa rahs xyanghnung epnkhxngekhruxngichbibeyuxfayiheldxxkesiy nn xyanghnungepnekhruxngwidnaekhana 1 cakhlkthandngklawniaesdngwa rahdepnekhruxngwidnathikhnithyichknmaxyangnxyrxypiessaelwlksna aekikhrahdinpraethsithymkthadwyimskenuxngcakthnna 5 9 10 rahdmiswnprakxbthisakhy khux rangna ibrahd aelakngrahdokhrngrangna odymakichimskthaepnokhrng mikhwamyawpraman 3 6 emtr ichimaephnbang tiprakbthng 2 khang ihrangnasikkhangbnoprng danlangtiimthub rangnamikhwamsungpraman 30 50 esntiemtr rangepnchnediyw hruxsxngchnhakrangmikhwamyawmaksungtxngaeykibrahdthngsxngthangxxkcakknibrahd osrahd hruxlukrahd epnimaephnbangaebnephuxdnnaekhaiptamrang 1 epnrupsiehliymphunpha canwn 30 40 ib kwangpraman 8 10 esntiemtr yawpraman 12 15 esntiemtr ekhaeduxyibrahdaetlaibodyichslktxkihaeknibyudsungknaelakn ibrahdyudkhlxngknaebblukos mikhwamyawpraman 2 etha khxngrangna rahdwidnaxacmikhnadsnaelayawtamkhwamtxngkarkhxngphuichephla hruxkngrahd hruxckrrahd mi 2 chinhwaelathayrang epnthxnimwngklmichimhruxehlkepnaekn ecaaruhlwm ihhmunidsadwk milksnakhlayfnefuxng 6 hrux 8 su hmunsbknepnwng thahnathichkdungihibrahdekhluxnhmuniddwyaernghmun aerngthihmunephlanixactxekhakbmuxhmun 2 khangcathaepnaeknmithicb ecaaruyudkbaeknephla ichhmunodykardungslbkhangkn muxhmunxactxkbimchkxikthiephuxthunaerng khlaykarthibckryan khxcakdkhxngrahdmuxthi khux txngichaerngkhnsungimsamarththanganidxyangtxenuxngaelayawnan cungphthnaodytxkarchudephlaekhakbaerngxun idaek ethathib hruxephlaedin hruxichaerngstwethiymkblxephlathimifnefuxngphanaerng hruxichaerngklaeplngcakkraaesnahruxlm hruxekhruxngyntepntwchud aelamirangkhnadihykhun 1 ewlaichcawangrahddanplaycumipinnaihexiyngthxdipbnkhnna sungmikhwamladchnimmakekin dungmuxhmunthilakhangslbkniperuxy aeknephlaemuxhmunaelwcathaihfnefuxngaelaibrahdhmuntam ibrahdcaphuynahruxtknakhunmainrangaelaihlxxktrngchxngmuxhmun karwidrahdxacichkhnediywhrux 2 khn chwyknhmun sungthaihphxnaerngidmakkarichrahdwidnanxkcakichephuxkarephaaplukaelw yngichwidnahaplaidxikdwypccubninpraethsithyimniymichrahdwidnainkarksikrrmaelw odyswnmakekstrkrhnmaichekhruxngsubnaekhamaaethn aetxacphbehnidinnaekluxsungepnrahdthiiichaerngklaeplngcakkraaeslmswnprakxbsakhykhxngrahdchudnaaebbknghnlm aekikhswnkhxngibphd kanibthacakimyudtidkbaeknhmun ibrblmthacakesux laaephn hrux phaib pccubnmikarprayuktichaephnphlastik micanwn 6 ib aeknhmuntnginaenwnxnxyubnesaim esakhxngknghnlm thacakimcanwn 2 tn pkiwepnkhuephuxrxngrbaeknhmun sayphankhbaeknephla thacakechuxkthimikhwamehniywaelathntxaerngesiydsi thahnathithayaerngcakkarhmunkhxngaeknhmunipyngaeknephlaihhmuntamephuxichchudrahdim aeknephla thacakehlkhruximklm wangxyubnesaimkhuehnuxphundinthiphxehmaa misiimlksnakhlayefuxngyudtidklangaeknephlaephuxkhbhmunchudaephnrahd swnkhxngrangnaaelarahd thacakim lksnarangnaepnklxngrangimtw b twyu u epnrxngnaepidoprng phadechiyngrahwangthxngna kbphunnaekluxaelwichimaephnkhnadethahnatdkhxngklxngrangnatharahderiyngtxknepnsi dwy echuxk hrux oshangknphxpramanephuxkkekbaelachudnaekhluxntwcakthitakhunthisungxangxing aekikhknghnlmaebbrahdchudnakhxngkhnithyobran krmphthnaphlngnganthdaethnaelaxnurksphlngngan phph krathrwngphlngngan 1 0 1 1 1 2 1 3 silpwthnthrrm rahd ekhruxngwidnaphumipyyaphunban 2 knyayn ph s 2562 钦定古今图书集成 经济汇编 考工典 第244卷 Srikantaiah Vishwanath The Persian Wheel in India subkhnemux 30 phvscikayn 2563 https www bloggang com m viewdiary php id skit amp month 10 2009 amp date 28 amp group 8 amp gblog 27 5 0 5 1 warsarsingaewdlxm rahdwidna karcdkarthrphyakrnatamphuminiewsnkhxngchumchnlumnalatakhxng sthabnwicysphawaaewdlxm culalngkrnmhawithyaly 19 emsayn 2562 The Tribune India Rahat A farmers companion of olden days subkhnemux 30 phvscikayn 2563 India Culture RAHAT A Traditional Irrigation Technique Madhya Pradesh subkhnemux 30 phvscikayn 2563 S Vishwanath Amitangshu Acharya Persian wheel The water lifting device in Kolar Karnataka India Water Portal bristh orngeluxyckresrimwngs cakd khxdikhxngkarichimskmaphlitefxrniecxr subkhnemux 30 phvscikayn 2563 imthiichthaerux subkhnemux 30 phvscikayn 2563 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title rahd amp oldid 9160554, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม