fbpx
วิกิพีเดีย

สาธารณรัฐออสเตรียที่ 1

สาธารณรัฐออสเตรียที่หนึ่ง (เยอรมัน: Republik Österreich) เป็นสาธารณรัฐที่สถาปนาขึ้นภายหลังจากการลงนามในสนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล เมื่อวันที่ 10 กันยายน 1919 ซึ่งเป็นข้อตกลงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อันเป็นการยุติบทบาทของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คและสาธารณรัฐเยอรมันออสเตรีย สาธารณรัฐดำรงอยู่จนสิ้นสุดลงเมื่อมีการประกาศจัดตั้งสหพันธรัฐออสเตรีย ซึ่งภายใต้การควบคุมโดยระบอบเผด็จการของเอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส และพรรคแนวร่วมปิตุภูมิในปี 1934 รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐได้รับการประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 1920 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1929 ในสมัยของการดำรงอยู่ของสาธารณรัฐที่หนึ่งได้เกิดความขัดแย้งต่าง ๆ มากมาย โดยได้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างผู้ที่มีมุมมองทางการเมืองที่โน้มเอียงไปทางฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์การจราจลเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1927 และตามมาด้วยสงครามกลางเมืองออสเตรียในปี 1934

สาธารณรัฐออสเตรีย

Republik Österreich (เยอรมัน)
1919–1934
เพลงชาติDeutschösterreich, du herrliches Land
"เยอรมัน-ออสเตรีย คือประเทศที่สวยงาม"
สาธารณรัฐออสเตรียที่ 1 ในปี 1930
เมืองหลวงเวียนนา
ภาษาทั่วไปเยอรมัน (ภาษาเยอรมันออสเตรีย)
ศาสนา
คริสต์ (โรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์, โปรเตสแตนต์), ยูดาห์
การปกครองสหพันธ์สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
ประธานาธิบดี 
• 1919–1920
คาร์ล ไซทซ์
• 1920–1928
ไมเคิล ไฮนิช
• 1928–1934
วิลเฮ็ล์ม มิคลัส
นายกรัฐมนตรี 
• 1919–1920 (คนแรก)
คาร์ล เร็นเนอร์
• 1932–1934 (คนสุดท้าย)
เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
• สภาสูง
สภาสหพันธรัฐ
• สภาล่าง
สภาแห่งชาติ
ยุคประวัติศาสตร์ระหว่างสงคราม
10 กันยายน 1919
• การจราจลเดือนกรกฎาคม
15 กรกฎาคม 1927
• สงครามกลางเมืองออสเตรีย
12 กุมภาพันธ์ 1934
• รัฐธรรมนูญเดือนพฤษภาคม
1 พฤษภาคม 1934
สกุลเงินโครนออสเตรีย (1919–1924)
ชิลลิงออสเตรีย (1924–1938)
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของออสเตรีย

การก่อตั้ง

 
ดินแดนที่อ้างสิทธิ์โดยเยอรมันออสเตรียในปี 1918

ในเดือนกันยายน 1919 รัฐตกค้างแห่งเยอรมัน-ออสเตรียได้รับการลดพรมแดนตามสนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง โดยต้องมอบดินแดนที่มีประชากรชาวเยอรมันอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ในซูเดเทินลันท์ให้แก่เชโกสโลวาเกีย ดินแดนเซาท์ทีโรลให้แก่อิตาลี และดินแดนบางส่วนของจังหวัดอัลไพน์ให้แก่ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (Kraljevina Srba, Hrvata i Slovenaca (SHS) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ยูโกสลาเวีย") แม้จะมีการคัดค้านจากออสเตรีย แต่สนธิสัญญาฉบับนี้ได้ช่วยยับยั้ง อันชลุส หรือ การรวมสหภาพออสเตรียกับเยอรมนี โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสันนิบาตชาติ ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่เห็นด้วยที่จะยอมให้เยอรมนีที่พ่ายแพ้ขยายอาณาเขตโดยการผนวกดินแดนที่หลงเหลืออยู่ของออสเตรีย ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ประเทศเยอรมัน-ออสเตรียต้องเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น สาธารณรัฐออสเตรีย

สาธารณรัฐใหม่นี้ได้กีดกั้นการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทั้งสองครั้งจากประเทศเพื่อนบ้าน ครั้งแรกคือดินแดนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคารินเทีย ซึ่งมีชาวสโลวีนอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนได้เข้าขัดขวางอำนาจของออสเตรียเหนือดินแดนนี้โดยผ่านการลงประชามติของชาวคารินเทียเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 1920 ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ยังคงเลือกที่จะอยู่กับออสเตรียต่อไป ครั้งที่สองคือการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนบัวร์เกินลันท์ของฮังการี ภายใต้ชื่อ "เวสเทิร์นฮังการี" (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฮังการีมาตั้งแต่ปี 907 โดยมีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีประชากรส่วนน้อยที่พูดภาษาโครเอเชียและฮังการีด้วย) ผ่านการลงนามในสนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็งจนดินแดนบัวร์เกินลันท์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐออสเตรียโดยสมบูรณ์ในปี 1921 อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการลงประชามติซึ่งยังคงพิพาทโดยออสเตรีย เมืองหลักของจังหวัดโชโปรน (เยอรมันเออเดินบูร์ก) ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของฮังการี

สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็งได้สร้างความไม่พอใจแก่ประชากรชาวเยอรมันในออสเตรีย โดยได้อ้างถึงการละเมิดหลักการสิบสี่ข้อของประธานาธิบดีสหรัฐ วูดโรว์ วิลสัน วางเอาไว้ระหว่างการเจรจาสันติภาพ โดยเฉพาะสิทธิในการ "กำหนดตนเอง" ของทุกประเทศ ผู้คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าการสูญเสียอาณาเขตของจักรวรรดิก่อนสงครามถึง 60% นั้น จะทำให้ออสเตรียไม่สามารถควบคุมดูแลทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองได้อีกต่อไปในฐานะรัฐที่แยกขาดจากกัน โดยปราศจากการรวมตัวกับเยอรมนี ออสเตรียในขณะนี้มีขนาดเล็กมาก กลายเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ซึ่งมีประชากรประมาณ 6.5 ล้านคน กรุงเวียนนาซึ่งมีประชากรเกือบ 2 ล้านคน ถูกทอดทิ้งให้อยู่ในเมืองหลวงอย่างอดอยาก ออสเตรียในสมัยนี้มีพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกเพียง 17.8 เปอร์เซนต์เท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ทำกินส่วนใหญ่ในอดีตของจักรวรรดิออสเตรีย กลายเป็นส่วนหนึ่งของเชโกสโลวาเกียและยูโกสลาเวีย

รัฐบาลและสถานการณ์ทางการเมืองในปี 1920–1934

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้สร้างสภานิติบัญญัติแบบสองสภาขึ้น โดยมีสภาสูงหรือสภาสหพันธรัฐ (Bundesrat) ซึ่งประกอบด้วยเหล่าผู้แทนจากรัฐต่าง ๆ ในสหพันธรัฐ และสภาล่างหรือสภาแห่งชาติ (Nationalrat) ซึ่งจะมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งระดับสากล ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐได้รับเลือกเป็นระยะเวลาสี่ปีในการประชุมใหญ่ของทั้งสองสภา ในขณะที่นายกรัฐมนตรีได้รับเลือกจากสภาแห่งชาติ เนื่องจากไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภา ออสเตรียจึงถูกปกครองโดยกลุ่มพันธมิตรของพรรคสังคมคริสเตียน และพรรคมหาชนเยอรมัน หรือ ลันด์บุนด์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวาที่เอนเอียงไปฝั่งอนุรักษนิยมมากกว่ารัฐบาลประชาธิปไตยสังคมนิยมชุดแรกของ คาร์ล เร็นเนอร์ ซึ่งได้จัดตั้งกฎหมายด้านเศรษฐกิจและสังคมและแรงงานที่ก้าวหน้าขึ้นจำนวนหนึ่ง

หลังจากปี 1920 รัฐบาลออสเตรียถูกควบคุมโดยพรรคสังคมคริสเตียนซึ่งต่อต้านแนวคิดอันชลุส โดยพรรคได้มีความสัมพันธ์กับคริสตจักรโรมันคาทอลิกอย่างใกล้ชิด นายกรัฐมนตรีคนแรกของพรรค อิกนาซ ไซเพิล ขึ้นสู่อำนาจในเดือนพฤษภาคม 1922 และพยายามสร้างพันธมิตรทางการเมืองระหว่างนักอุตสาหกรรมผู้มั่งคั่งและคริสตจักรโรมันคาทอลิก

ภายหลังจากการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในวันที่ 17 ตุลาคม 1920 พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมได้พ่ายแพ้ในรัฐสภาและยังคงเป็นฝ่ายค้านจนกระทั่งปี 1934 เมื่อด็อลฟูสได้ออกคำสั่งห้ามมีฝ่ายค้าน พรรคสังคมคริสเตียนชนะพรรคประชาธิปไตยด้วยคะแนนเสียง 85 ต่อ 69 พรรคมหาชนเยอรมันได้ 20 คะแนนเสียง และสหภาพชาวนา 8 คะแนนเสียง ไมเคิล ไฮนิช ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี ภายหลังจากการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม 1923 อิกนาซ ไซเพิล ได้ขึ้นสู่อำนาจและประกาศลาออกในเดือนพฤศจิกายน 1924 เมื่อสืบต่อตำแหน่งโดย รูดอล์ฟ ราเมค

ในเดือนธันวาคม 1928 วิลเฮ็ล์ม มิคลัส จากพรรคสังคมคริสเตียน ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐ และเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1929 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม โดยให้มีการลดสิทธิของรัฐสภา ทำให้ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐได้รับเลือกจากการลงคะแนนเสียงของประชาชนโดยตรง และประธานาธิบดีมีสิทธิในการแต่งตั้งรัฐบาลกลางและสามารถออกพระราชกำหนดฉุกเฉินได้

ภายหลังจากการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในปี 1930 พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมกลายเป็นพรรคที่ได้ที่นั่งในรัฐสภามากที่สุด คือ 72 ที่นั่ง แต่ออทโท เอ็นเดอร์ นายกรัฐมนตรีของพรรคสังคมคริสเตียน ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมโดยไม่มีสมาชิกพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมเลยแม้แต่น้อย

ความขัดแย้งฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา

ดูบทความหลักที่: การจราจลเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1927
 
การเดินสวนสนามของกองกำลังกึ่งทหารฝ่ายขวาในปี 1928
 
การเฉลิมฉลองของฝ่ายประชาธิปไตยสังคมนิยม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1932

แม้ว่าประเทศจะมีพรรคการเมืองที่มั่นคงครองอำนาจอยู่ แต่การเมืองภายในประเทศนั้นกลับมีความแตกแยกและความรุนแรง โดยทั้งฝ่ายประชาธิปไตยสังคมนิยม (Republikanischer Schutzbund) และกองกำลังกึ่งทหารฝ่ายขวา (Heimwehr) เริ่มมีความขัดแย้งกัน ประเทศจึงถูกแบ่งแยกกันระหว่างประชากรในชนบทหัวโบราณและฝ่ายเวียนนาแดงที่ควบคุมโดยฝ่ายประชาธิปไตยสังคมนิยม

ในปี 1927 ระหว่างการปะทะกันทางการเมืองในแถบบัวร์เกินลันท์ มีชายชราและเด็กถูกยิงโดยกองกำลังฝ่ายขวา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 1927 มือปืนได้รับการปล่อยตัวและผู้สนับสนุนฝ่ายซ้ายได้เริ่มประท้วงครั้งใหญ่ในระหว่างที่อาคารสำนักงานกระทรวงยุติธรรมถูกวางเพลิง เพื่อควบคุมความสงบเรียบร้อย ทางตำรวจและกองทัพจึงสั่งยิงประชาชน โดยมีผู้ถูกสังหารจำนวน 89 คน และบาดเจ็บอีก 600 คน การประท้วงครั้งใหญ่นี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การจราจลเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1927" ฝ่ายประชาธิปไตยสังคมนิยมเรียกร้องให้มีการปะทะกันซึ่งกินเวลานานถึงสี่วัน

ภายหลังจากเหตุการณ์ในปี 1927 ฝ่ายอนุรักษนิยมเริ่มแข็งแกร่งขึ้น และความรุนแรงในออสเตรียยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงในช่วงต้นทศวรรษที่ 1930 เมื่อ เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส ขึ้นสู่อำนาจ

เศรษฐกิจ

 
เหรียญทอง 25 ชิลลิง
 
หนึ่งในเคหะสถานที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวียนนาแดง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐใหม่นี้ควบคุมได้ยาก เนื่องจากพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจักรวรรดิในอดีต ส่วนใหญ่ถูกพรากไปจากการก่อตั้งรัฐชาติใหม่ และจะยิ่งยุ่งเหยิงขึ้นไปอีก ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐชาติใหม่เหล่านี้จำนวนหนึ่งยังคงต้องพึ่งพาธนาคารกลางของเวียนนา แต่กลับถูกกีดกันโดยพรมแดนและภาษีที่แตกต่างกัน

ดินแดนออสเตรียที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลแทบจะไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้และขาดพื้นฐานทางอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ เชโกสโลวาเกีย, ฮังการี, ยูโกสลาเวีย, และอิตาลี ได้กำหนดการปิดล้อมทางการค้าและปฏิเสธที่จะขายทรัพยากรและถ่านหินให้กับออสเตรีย ซึ่งท้ายที่สุดออสเตรียก็ได้รับการช่วยเหลือและการสนับสนุนจากพันธมิตรตะวันตก ภายในปี 1922 หนึ่งดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่าเท่ากับ 19,000 โครน และครึ่งหนึ่งของประชากรภายในประเทศตกงาน

ในเดือนธันวาคม 1921 สนธิสัญญาลานาที่ลงนามกันระหว่างออสเตรียและเชโกสโลวาเกีย โดยออสเตรียยอมรับพรมแดนของรัฐใหม่และยกเลิกการอ้างสิทธิ์ตัวแทนของชาติพันธุ์เยอรมันที่อาศัยอยู่ในดินแดนของเชโกสโลวาเกียที่สร้างขึ้นใหม่ ในทางกลับกัน เชโกสโลวาเกียได้ให้เงินกู้จำนวน 500 ล้านโครน แก่ออสเตรีย

ในปี 1922 ในความพยายามที่จะจัดการกับภาวะเงินเฟ้อภายหลังสงคราม นายกรัฐมนตรี อิกนาซ ไซเพิล ได้ทำเรื่องขอเงินกู้จากต่างประเทศและเสนอนโยบายประหยัดอย่างเข้มงวด ในเดือนตุลาคม 1922 สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, อิตาลี และเชโกสโลวาเกีย ได้ให้เงินกู้จำนวน 650 ล้านโครน หลังจากที่ไซเพิลสัญญาว่าจะไม่พยายามอันชลุสในอีก 20 ปีข้างหน้า และอนุญาตให้สันนิบาตชาติควบคุมเศรษฐกิจของออสเตรีย ในเดือนมีนาคม 1926 งบประมาณของรัฐมีเสถียรภาพและการควบคุมดูแลด้านการเงินระหว่างประเทศสิ้นสุดลง ธนาคารกลางออสเตรีย (Oesterreichische Nationalbank) ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 1923 ได้มีการประกาศใช้ภาษีการค้าในปี 1923 และในเดือนธันวาคม 1924 สกุลเงินชิลลิงออสเตรียได้เข้ามาแทนที่สกุลโครนออสเตรียเดิม

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่กระทบออสเตรียอย่างหนัก และในเดือนพฤษภาคม 1931 ธนาคารใหญ่ในออสเตรียอย่างเครดิทันส์ทัลท์ล่ม เพื่อทำการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ ออสเตรียจึงต้องการรวมสหภาพศุลการกรกับเยอรมนี แต่ในปี 1931 ฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศภาคีน้อยไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้

ฟาสซิสต์ออสเตรีย

ดูบทความหลักที่: ฟาสซิสต์ออสเตรีย และ สงครามกลางเมืองออสเตรีย
 
ด็อลฟูสกล่าวคำปราศรัยต่อสันนิบาตชาติในปี 1933
 
ทหารออสเตรียในช่วงสงครามกลางเมืองออสเตรียในปี 1934

นายกรัฐมนตรีแห่งพรรคสังคมคริสเตียน เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส ขึ้นสู่อำนาจเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 1932 และเปลี่ยนออสเตรียจากระบบพรรคการเมืองไปสู่ระบอบเผด็จการรวมศูนย์หรือระบอบฟาสซิสต์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฟาสซิสต์อิตาลีเป็นพันธมิตรระหว่างประเทศที่เข้มแข็งที่สุดในการต่อต้านเยอรมนี ในเดือนมีนาคม 1933 ด็อลฟูสได้ประกาศระงับรัฐสภา ซึ่งทำให้ตัวเขามีโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการได้โดยไม่มีรัฐสภา ในเดือนพฤษภาคม 1933 เขาได้ก่อตั้งแนวร่วมปิตุภูมิ ซึ่งต่อต้านแนวคิดเสรีนิยมและสังคมนิยมเพื่อสนับสนุนลัทธิบรรษัทนิยม

รัฐบาลพยายามชิงดีชิงเด่นกันกับพรรคนาซีออสเตรีย ซึ่งต้องการให้ออสเตรียเข้าร่วมกับเยอรมนี ระบอบฟาสซิสต์ออสเตรียของด็อลฟูสได้เชื่อมโยงอัตลักษณ์ของออสเตรียเข้ากับคริสตจักรโรมันคาทอลิก เพื่อต่อต้านสหภาพออสเตรียและโปรเตสแตนต์เยอรมนีที่มีอำนาจเหนือกว่า

จากความขัดแย้งทางการเมืองที่เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น จนนำไปสู่สงครามกลางเมืองออสเตรียในเดือนกุมภาพันธ์ 1934 ซึ่งเป็นการปะทะกันระหว่างฝ่ายนาซีกับฝ่ายประชาธิปไตยสังคมนิยมและกองกำลังฝ่ายรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1934 ด็อลฟูสได้เปลี่ยนออสเตรียให้เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียว โดยมีพรรคแนวร่วมปิตุภูมิ (เยอรมัน: Vaterländische Front) เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว พร้อมกับประกาศใช้ "รัฐธรรมนูญเดือนพฤษภาคม" ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ อีกทั้งยังเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศจาก "สาธารณรัฐออสเตรีย" เป็น "สหพันธรัฐออสเตรีย" และยังเปลี่ยนธงชาติ ตราแผ่นดิน และเพลงชาติอีกด้วย

ระบอบสหพันธรัฐและการควบคุมอำนาจของสภาสหพันธรัฐถูกลดทอนลง ในขณะที่การเลือกตั้งสภาแห่งชาติถูกยกเลิก สมาชิกที่ได้รับการเสนอชื่อโดยสภาบรรษัททั้งสี่ (สภาแห่งรัฐ (Staatsrat), สภาวัฒนธรรมสหพันธ์ (Bundeskulturrat), สภาเศรษฐกิจสหพันธ์ (Bundeswirtschaftsrat) และสภาประจำรัฐ (Länderrat)) ตามสมมติแล้วพวกเขาจะเป็นความเห็นที่ดีที่สุดในแต่ละด้าน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การออกกฎหมายและการแต่งตั้งทั้งหมดมาจากคำสั่งของนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐ

รัฐได้เข้าควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอย่างสมบูรณ์ และเริ่มปราบปรามผู้ที่สนับสนุนนาซีและผู้สนับสนุนการรวมชาติเยอรมัน พวกนาซีจึงตอบโต้กลับด้วยการลอบสังหารด็อลฟูสระหว่างการกบฏเดือนกรกฎาคมเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 1934 (ดูเพิ่มเติมที่ Maiverfassung 1934)

การลอบสังหารโดยนาซีออสเตรียในครั้งนี้ ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรียไม่พึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง ฟาสซิสต์อิตาลีภายใต้การนำของผู้นำเผด็จการเบนิโต มุสโสลินี ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับออสเตรียภายใต้การนำของด็อลฟูส ได้ให้สัญญาว่าหากเยอรมนีจะบุกออสเตรีย อิตาลีก็สนับสนุนทางด้านการทหารอย่างเต็มกำลัง เนื่องจากพวกนาซีได้อ้างสิทธิ์ในดินแดนทีโรลที่ปกครองโดยอิตาลี การสนับสนุนจากอิตาลีได้ช่วยให้ออสเตรียรอดพ้นจากการผนวกรวมที่อาจเกิดขึ้นในปี 1934

คูร์ท ชุชนิกก์ ได้ดำรงตำแหน่งต่อจากด็อลฟูส เขาได้สั่งห้ามการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของพวกนาซี แต่ก็ยังสั่งห้ามให้มีกองกำลังกึ่งทหารแห่งชาติออสเตรีย (Heimwehr) ด้วย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Vares, Mari (2008). The question of Western Hungary / Burgenland 1918-1923: a territorial question in the context of national and international policy (PDF). Jyväskylä: University of Jyväskylä. p. 25. ISBN 978-951-39-3074-5.
  2. DIVIDE ON GERMAN AUSTRIA. - Centrists Favor Union, but Strong Influences Oppose It., The New York Times, January 17, 1919 (PDF)
  3. Building an Unwanted Nation. ISBN 9780549324867.
  4. Jelavich, Barbara (September 25, 1987). Modern Austria: Empire and Republic, 1815-1986. Cambridge University Press. ISBN 9780521316255 – โดยทาง Google Books.
  5. "1931". 11 March 2009.
  6. "1934 to 1938: Ständestaat in the Name of "God, the Almighty"". www.wien.gv.at.

พิกัดภูมิศาสตร์: 48°12′N 16°22′E / 48.200°N 16.367°E / 48.200; 16.367

สาธารณร, ฐออสเตร, ยท, สาธารณร, ฐออสเตร, ยท, หน, เยอรม, republik, österreich, เป, นสาธารณร, ฐท, สถาปนาข, นภายหล, งจากการลงนามในสนธ, ญญาแซ, แฌร, แม, อง, แล, เม, อว, นท, นยายน, 1919, งเป, นข, อตกลงหล, งส, นส, ดสงครามโลกคร, งท, หน, นเป, นการย, บทบาทของราชวงศ, ฮาพส. satharnrthxxsetriythihnung eyxrmn Republik Osterreich epnsatharnrththisthapnakhunphayhlngcakkarlngnaminsnthisyyaaesng aechraemng xxng ael emuxwnthi 10 knyayn 1919 sungepnkhxtklnghlngsinsudsngkhramolkkhrngthihnung xnepnkaryutibthbathkhxngrachwngshaphsbwrkhaelasatharnrtheyxrmnxxsetriy satharnrthdarngxyucnsinsudlngemuxmikarprakascdtngshphnthrthxxsetriy sungphayitkarkhwbkhumodyrabxbephdckarkhxngexngengilaebrth dxlfus aelaphrrkhaenwrwmpituphumiinpi 1934 rththrrmnuyaehngsatharnrthidrbkarprakasichemuxwnthi 1 tulakhm 1920 aelaidmikaraekikhephimetimemuxwnthi 7 thnwakhm 1929 insmykhxngkardarngxyukhxngsatharnrththihnungidekidkhwamkhdaeyngtang makmay odyidekidkhwamkhdaeyngknrahwangphuthimimummxngthangkaremuxngthionmexiyngipthangfaysayaelafaykhwa sungnaipsuehtukarnkarcracleduxnkrkdakhm kh s 1927 aelatammadwysngkhramklangemuxngxxsetriyinpi 1934satharnrthxxsetriyRepublik Osterreich eyxrmn 1919 1934thngchati traaephndinephlngchati Deutschosterreich du herrliches Land eyxrmn xxsetriy khuxpraethsthiswyngam satharnrthxxsetriythi 1 inpi 1930emuxnghlwngewiynnaphasathwipeyxrmn phasaeyxrmnxxsetriy sasnakhrist ormnkhathxlik xisethirnxxrthxdxks opretsaetnt yudahkarpkkhrxngshphnthsatharnrthrabbrthsphaprathanathibdi 1919 1920kharl isths 1920 1928imekhil ihnich 1928 1934wilehlm mikhlsnaykrthmntri 1919 1920 khnaerk kharl ernenxr 1932 1934 khnsudthay exngengilaebrth dxlfussphanitibyytirthspha sphasungsphashphnthrth sphalangsphaaehngchatiyukhprawtisastrrahwangsngkhram snthisyyaaesng aechraemng10 knyayn 1919 karcracleduxnkrkdakhm15 krkdakhm 1927 sngkhramklangemuxngxxsetriy12 kumphaphnth 1934 rththrrmnuyeduxnphvsphakhm1 phvsphakhm 1934skulenginokhrnxxsetriy 1919 1924 chillingxxsetriy 1924 1938 kxnhna thdipsatharnrtheyxrmnxxsetriy shphnthrthxxsetriypccubnepnswnhnungkhxngxxsetriy enuxha 1 karkxtng 2 rthbalaelasthankarnthangkaremuxnginpi 1920 1934 2 1 khwamkhdaeyngfaysay faykhwa 3 esrsthkic 4 fassistxxsetriy 5 duephim 6 xangxingkarkxtng aekikhdubthkhwamhlkthi satharnrtheyxrmnxxsetriy dinaednthixangsiththiodyeyxrmnxxsetriyinpi 1918 ineduxnknyayn 1919 rthtkkhangaehngeyxrmn xxsetriyidrbkarldphrmaedntamsnthisyyaaesng aechraemng odytxngmxbdinaednthimiprachakrchaweyxrmnxasyxyuepnswnihyinsuedethinlnthihaekechoksolwaekiy dinaednesaththiorlihaekxitali aeladinaednbangswnkhxngcnghwdxliphnihaekrachxanackraehngchawesirb okhraext aelasolwin Kraljevina Srba Hrvata i Slovenaca SHS hruxthiruckkninchux yuokslaewiy aemcamikarkhdkhancakxxsetriy aetsnthisyyachbbniidchwyybyng xnchlus hrux karrwmshphaphxxsetriykbeyxrmni odyimidrbkhwamyinyxmcaksnnibatchati faysmphnthmitrimehndwythicayxmiheyxrmnithiphayaephkhyayxanaekhtodykarphnwkdinaednthihlngehluxxyukhxngxxsetriy dwyehtuniexng thaihpraethseyxrmn xxsetriytxngepliynchuxxyangepnthangkarepn satharnrthxxsetriysatharnrthihmniidkidknkarxangsiththiehnuxdinaednthngsxngkhrngcakpraethsephuxnban khrngaerkkhuxdinaednthangthistawnxxkechiyngitkhxngkharinethiy sungmichawsolwinxasyxyuepnswnihy rachxanackraehngchawesirb okhraext aelasolwinidekhakhdkhwangxanackhxngxxsetriyehnuxdinaednniodyphankarlngprachamtikhxngchawkharinethiyemuxwnthi 10 tulakhm 1920 sungprachakrswnihyyngkhngeluxkthicaxyukbxxsetriytxip khrngthisxngkhuxkarxangsiththiehnuxdinaednbwrekinlnthkhxnghngkari phayitchux ewsethirnhngkari sungepnswnhnungkhxngrachxanackrhngkarimatngaetpi 907 1 odymiprachakrthiphudphasaeyxrmnepnswnihy aetkyngmiprachakrswnnxythiphudphasaokhrexechiyaelahngkaridwy phankarlngnaminsnthisyyaaesng aechraemngcndinaednbwrekinlnthidklayepnswnhnungkhxngsatharnrthxxsetriyodysmburninpi 1921 xyangirktam phayhlngcakkarlngprachamtisungyngkhngphiphathodyxxsetriy emuxnghlkkhxngcnghwdochoprn eyxrmnexxedinburk yngkhngepnswnhnungkhxnghngkarisnthisyyaaesng aechraemngidsrangkhwamimphxicaekprachakrchaweyxrmninxxsetriy odyidxangthungkarlaemidhlkkarsibsikhxkhxngprathanathibdishrth wudorw wilsn wangexaiwrahwangkarecrcasntiphaph odyechphaasiththiinkar kahndtnexng khxngthukpraeths phukhnswnihyrusukwakarsuyesiyxanaekhtkhxngckrwrrdikxnsngkhramthung 60 nn cathaihxxsetriyimsamarthkhwbkhumduaelthangdanesrsthkicaelakaremuxngidxiktxipinthanarththiaeykkhadcakkn odyprascakkarrwmtwkbeyxrmni xxsetriyinkhnanimikhnadelkmak klayepnpraethsthiimmithangxxksuthael sungmiprachakrpraman 6 5 lankhn krungewiynnasungmiprachakrekuxb 2 lankhn thukthxdthingihxyuinemuxnghlwngxyangxdxyak xxsetriyinsmynimiphunthithiehmaaaekkarephaaplukephiyng 17 8 epxresntethann enuxngcakphunthithakinswnihyinxditkhxngckrwrrdixxsetriy klayepnswnhnungkhxngechoksolwaekiyaelayuokslaewiyrthbalaelasthankarnthangkaremuxnginpi 1920 1934 aekikhrththrrmnuychbbihmidsrangsphanitibyytiaebbsxngsphakhun odymisphasunghruxsphashphnthrth Bundesrat sungprakxbdwyehlaphuaethncakrthtang inshphnthrth aelasphalanghruxsphaaehngchati Nationalrat sungcamikareluxktngphuaethnrasdrinkareluxktngradbsakl prathanathibdiaehngshphnthrthidrbeluxkepnrayaewlasipiinkarprachumihykhxngthngsxngspha inkhnathinaykrthmntriidrbeluxkcaksphaaehngchati enuxngcakimmiphrrkhkaremuxngididrbesiyngkhangmakinrthspha xxsetriycungthukpkkhrxngodyklumphnthmitrkhxngphrrkhsngkhmkhrisetiyn aelaphrrkhmhachneyxrmn hrux lndbund sungepnphrrkhfaykhwathiexnexiyngipfngxnurksniymmakkwarthbalprachathipitysngkhmniymchudaerkkhxng kharl ernenxr sungidcdtngkdhmaydanesrsthkicaelasngkhmaelaaerngnganthikawhnakhuncanwnhnunghlngcakpi 1920 rthbalxxsetriythukkhwbkhumodyphrrkhsngkhmkhrisetiynsungtxtanaenwkhidxnchlus 2 odyphrrkhidmikhwamsmphnthkbkhristckrormnkhathxlikxyangiklchid naykrthmntrikhnaerkkhxngphrrkh xiknas isephil khunsuxanacineduxnphvsphakhm 1922 aelaphyayamsrangphnthmitrthangkaremuxngrahwangnkxutsahkrrmphumngkhngaelakhristckrormnkhathxlikphayhlngcakkareluxktngsphanitibyytiinwnthi 17 tulakhm 1920 phrrkhprachathipitysngkhmniymidphayaephinrthsphaaelayngkhngepnfaykhancnkrathngpi 1934 emuxdxlfusidxxkkhasnghammifaykhan phrrkhsngkhmkhrisetiynchnaphrrkhprachathipitydwykhaaennesiyng 85 tx 69 phrrkhmhachneyxrmnid 20 khaaennesiyng aelashphaphchawna 8 khaaennesiyng imekhil ihnich idrbeluxkihepnprathanathibdi phayhlngcakkareluxktngineduxntulakhm 1923 xiknas isephil idkhunsuxanacaelaprakaslaxxkineduxnphvscikayn 1924 emuxsubtxtaaehnngody rudxlf raemkhineduxnthnwakhm 1928 wilehlm mikhls cakphrrkhsngkhmkhrisetiyn idrbeluxkihdarngtaaehnngprathanathibdiaehngshphnthrth aelaemuxwnthi 7 thnwakhm 1929 idmikaraekikhrththrrmnuyephimetim odyihmikarldsiththikhxngrthspha thaihprathanathibdiaehngshphnthrthidrbeluxkcakkarlngkhaaennesiyngkhxngprachachnodytrng aelaprathanathibdimisiththiinkaraetngtngrthbalklangaelasamarthxxkphrarachkahndchukechinidphayhlngcakkareluxktngsphanitibyytiinpi 1930 phrrkhprachathipitysngkhmniymklayepnphrrkhthiidthinnginrthsphamakthisud khux 72 thinng aetxxthoth exnedxr naykrthmntrikhxngphrrkhsngkhmkhrisetiyn idcdtngrthbalphsmodyimmismachikphrrkhprachathipitysngkhmniymelyaemaetnxy khwamkhdaeyngfaysay faykhwa aekikh dubthkhwamhlkthi karcracleduxnkrkdakhm kh s 1927 karedinswnsnamkhxngkxngkalngkungthharfaykhwainpi 1928 karechlimchlxngkhxngfayprachathipitysngkhmniym emuxwnthi 1 phvsphakhm 1932 aemwapraethscamiphrrkhkaremuxngthimnkhngkhrxngxanacxyu aetkaremuxngphayinpraethsnnklbmikhwamaetkaeykaelakhwamrunaerng odythngfayprachathipitysngkhmniym Republikanischer Schutzbund aelakxngkalngkungthharfaykhwa Heimwehr erimmikhwamkhdaeyngkn praethscungthukaebngaeykknrahwangprachakrinchnbthhwobranaelafayewiynnaaedngthikhwbkhumodyfayprachathipitysngkhmniyminpi 1927 rahwangkarpathaknthangkaremuxnginaethbbwrekinlnth michaychraaelaedkthukyingodykxngkalngfaykhwa emuxwnthi 14 krkdakhm 1927 muxpunidrbkarplxytwaelaphusnbsnunfaysayiderimprathwngkhrngihyinrahwangthixakharsankngankrathrwngyutithrrmthukwangephling ephuxkhwbkhumkhwamsngberiybrxy thangtarwcaelakxngthphcungsngyingprachachn odymiphuthuksngharcanwn 89 khn aelabadecbxik 600 khn karprathwngkhrngihynimichuxeriykxikxyanghnungwa karcracleduxnkrkdakhm kh s 1927 fayprachathipitysngkhmniymeriykrxngihmikarpathaknsungkinewlananthungsiwnphayhlngcakehtukarninpi 1927 fayxnurksniymerimaekhngaekrngkhun aelakhwamrunaernginxxsetriyyngkhngthwikhwamrunaerngkhuneruxy cnthunginchwngtnthswrrsthi 1930 emux exngengilaebrth dxlfus khunsuxanacesrsthkic aekikh ehriyythxng 25 chilling hnunginekhhasthanthithuksrangkhuninchwngewiynnaaedng xyangirktam sthankarnthangesrsthkickhxngsatharnrthihmnikhwbkhumidyak enuxngcakphunthithangesrsthkicthisakhykhxngckrwrrdiinxdit swnihythukphrakipcakkarkxtngrthchatiihm aelacayingyungehyingkhunipxik dwykhxethccringthiwarthchatiihmehlanicanwnhnungyngkhngtxngphungphathnakharklangkhxngewiynna aetklbthukkidknodyphrmaednaelaphasithiaetktangkndinaednxxsetriythiimmithangxxksuthaelaethbcaimsamartheliyngdutwexngidaelakhadphunthanthangxutsahkrrmthiphthnaaelw nxkcakni echoksolwaekiy hngkari yuokslaewiy aelaxitali idkahndkarpidlxmthangkarkhaaelaptiesththicakhaythrphyakraelathanhinihkbxxsetriy sungthaythisudxxsetriykidrbkarchwyehluxaelakarsnbsnuncakphnthmitrtawntk phayinpi 1922 hnungdxllarshrthmimulkhaethakb 19 000 okhrn aelakhrunghnungkhxngprachakrphayinpraethstkngan 3 ineduxnthnwakhm 1921 snthisyyalanathilngnamknrahwangxxsetriyaelaechoksolwaekiy odyxxsetriyyxmrbphrmaednkhxngrthihmaelaykelikkarxangsiththitwaethnkhxngchatiphnthueyxrmnthixasyxyuindinaednkhxngechoksolwaekiythisrangkhunihm inthangklbkn echoksolwaekiyidihenginkucanwn 500 lanokhrn aekxxsetriy 4 inpi 1922 inkhwamphyayamthicacdkarkbphawaenginefxphayhlngsngkhram naykrthmntri xiknas isephil idthaeruxngkhxenginkucaktangpraethsaelaesnxnoybayprahydxyangekhmngwd ineduxntulakhm 1922 shrachxanackr frngess xitali aelaechoksolwaekiy idihenginkucanwn 650 lanokhrn hlngcakthiisephilsyyawacaimphyayamxnchlusinxik 20 pikhanghna aelaxnuyatihsnnibatchatikhwbkhumesrsthkickhxngxxsetriy ineduxnminakhm 1926 ngbpramankhxngrthmiesthiyrphaphaelakarkhwbkhumduaeldankarenginrahwangpraethssinsudlng thnakharklangxxsetriy Oesterreichische Nationalbank idrbkarcdtngkhunihmxikkhrnginpi 1923 idmikarprakasichphasikarkhainpi 1923 aelaineduxnthnwakhm 1924 skulenginchillingxxsetriyidekhamaaethnthiskulokhrnxxsetriyedimphawaesrsthkictktakhrngihykrathbxxsetriyxyanghnk aelaineduxnphvsphakhm 1931 thnakharihyinxxsetriyxyangekhrdithnsthlthlm 5 ephuxthakarfunfusphaphesrsthkic xxsetriycungtxngkarrwmshphaphsulkarkrkbeyxrmni aetinpi 1931 frngessaelaklumpraethsphakhinxyimehndwykberuxngnifassistxxsetriy aekikhdubthkhwamhlkthi fassistxxsetriy aela sngkhramklangemuxngxxsetriy dxlfusklawkhaprasrytxsnnibatchatiinpi 1933 thharxxsetriyinchwngsngkhramklangemuxngxxsetriyinpi 1934 naykrthmntriaehngphrrkhsngkhmkhrisetiyn exngengilaebrth dxlfus khunsuxanacemuxwnthi 20 phvsphakhm 1932 aelaepliynxxsetriycakrabbphrrkhkaremuxngipsurabxbephdckarrwmsunyhruxrabxbfassist swnhnungepnephraafassistxitaliepnphnthmitrrahwangpraethsthiekhmaekhngthisudinkartxtaneyxrmni ineduxnminakhm 1933 dxlfusidprakasrangbrthspha sungthaihtwekhamioxkasinkarcdtngrthbalephdckaridodyimmirthspha ineduxnphvsphakhm 1933 ekhaidkxtngaenwrwmpituphumi sungtxtanaenwkhidesriniymaelasngkhmniymephuxsnbsnunlththibrrsthniymrthbalphyayamchingdichingednknkbphrrkhnasixxsetriy sungtxngkarihxxsetriyekharwmkbeyxrmni rabxbfassistxxsetriykhxngdxlfusidechuxmoyngxtlksnkhxngxxsetriyekhakbkhristckrormnkhathxlik ephuxtxtanshphaphxxsetriyaelaopretsaetnteyxrmnithimixanacehnuxkwacakkhwamkhdaeyngthangkaremuxngthierimthwikhwamrunaerngmakkhun cnnaipsusngkhramklangemuxngxxsetriyineduxnkumphaphnth 1934 sungepnkarpathaknrahwangfaynasikbfayprachathipitysngkhmniymaelakxngkalngfayrthbal emuxwnthi 1 phvsphakhm 1934 dxlfusidepliynxxsetriyihepnrthphrrkhkaremuxngediyw odymiphrrkhaenwrwmpituphumi eyxrmn Vaterlandische Front epnphrrkhkaremuxngephiyngphrrkhediyw phrxmkbprakasich rththrrmnuyeduxnphvsphakhm sungepnrththrrmnuyephdckar xikthngyngepliynchuxxyangepnthangkarkhxngpraethscak satharnrthxxsetriy epn shphnthrthxxsetriy aelayngepliynthngchati traaephndin aelaephlngchatixikdwyrabxbshphnthrthaelakarkhwbkhumxanackhxngsphashphnthrththukldthxnlng inkhnathikareluxktngsphaaehngchatithukykelik smachikthiidrbkaresnxchuxodysphabrrsththngsi sphaaehngrth Staatsrat sphawthnthrrmshphnth Bundeskulturrat sphaesrsthkicshphnth Bundeswirtschaftsrat aelasphapracarth Landerrat tamsmmtiaelwphwkekhacaepnkhwamehnthidithisudinaetladan aetinthangptibtiaelw karxxkkdhmayaelakaraetngtngthnghmdmacakkhasngkhxngnaykrthmntriaelaprathanathibdiaehngshphnthrthrthidekhakhwbkhumkhwamsmphnthrahwangnaycangkblukcangxyangsmburn aelaerimprabpramphuthisnbsnunnasiaelaphusnbsnunkarrwmchatieyxrmn phwknasicungtxbotklbdwykarlxbsnghardxlfusrahwangkarkbteduxnkrkdakhmemuxwnthi 25 krkdakhm 1934 6 duephimetimthi Maiverfassung 1934 karlxbsngharodynasixxsetriyinkhrngni thaihpraethsephuxnbankhxngxxsetriyimphungphxicepnxyangying fassistxitaliphayitkarnakhxngphunaephdckarebniot musoslini sungmikhwamsmphnthxndikbxxsetriyphayitkarnakhxngdxlfus idihsyyawahakeyxrmnicabukxxsetriy xitaliksnbsnunthangdankarthharxyangetmkalng enuxngcakphwknasiidxangsiththiindinaednthiorlthipkkhrxngodyxitali karsnbsnuncakxitaliidchwyihxxsetriyrxdphncakkarphnwkrwmthixacekidkhuninpi 1934khurth chuchnikk iddarngtaaehnngtxcakdxlfus ekhaidsnghamkarcdkickrrmtang khxngphwknasi aetkyngsnghamihmikxngkalngkungthharaehngchatixxsetriy Heimwehr dwyduephim aekikhsatharnrtheyxrmnxxsetriy shphnthrthxxsetriy kharl ernenxrxangxing aekikh Vares Mari 2008 The question of Western Hungary Burgenland 1918 1923 a territorial question in the context of national and international policy PDF Jyvaskyla University of Jyvaskyla p 25 ISBN 978 951 39 3074 5 DIVIDE ON GERMAN AUSTRIA Centrists Favor Union but Strong Influences Oppose It The New York Times January 17 1919 PDF Building an Unwanted Nation ISBN 9780549324867 Jelavich Barbara September 25 1987 Modern Austria Empire and Republic 1815 1986 Cambridge University Press ISBN 9780521316255 odythang Google Books 1931 11 March 2009 1934 to 1938 Standestaat in the Name of God the Almighty www wien gv at phikdphumisastr 48 12 N 16 22 E 48 200 N 16 367 E 48 200 16 367 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title satharnrthxxsetriythi 1 amp oldid 10196921, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม