fbpx
วิกิพีเดีย

เคมีวิเคราะห์

  • Analytical chemistry

เคมีวิเคราะห์ (อังกฤษ: Analytical chemistry) คือสาขาของวิชาเคมีที่ว่าด้วยการวิเคราะห์สารตัวอย่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงองค์ประกอบ และโครงสร้างทางเคมีของวัสดุนั้นๆ

เคมีวิเคราะห์อาจนิยามความหมายได้อย่างกว้างขวางขึ้นอยู่กับขอบเขตที่ศึกษา หรือจุดประสงค์ของการวัดวิเคราะห์ หรือกระบวนการดำเนินการทดสอบโดยอาศัยความรู้ทางเคมี เมอร์เรย์ (Murray, 1994) ได้นิยามเคมีวิเคราะห์แบบง่าย ๆ แต่แฝงด้วยความหมายและความสำคัญอันลึกซึ้งของเคมีวิเคราะห์ตามคำกล่าวของไรเลย์ (Charles Reilley) ที่กล่าวไว้ในปี ค.ศ. 1965 ซึ่งกล่าวไว้ว่า “Analytical chemistry is what analytical chemists do.” การกำหนดนิยามอย่างใดอย่างหนึ่งอาจไม่ครอบคลุมถึงแนวคิดพื้นฐานของเคมีวิเคราะห์ได้ทั้งหมด

ประเภทของการวิเคราะห์

การวิเคราะห์ทางเคมีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดอย่างกว้าง ๆ ดังนี้

1)    การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (qualitative analysis) คือ การวิเคราะห์ที่สนใจทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างว่ามีองค์ประกอบใด มีสารที่สนใจรวมอยู่หรือไม่ เป็นสารบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น ต้องการทราบว่าในตัวอย่างผงสีขาวเป็นเกลือแกงหรือไม่ จึงต้องทดสอบเพื่อยืนยันโดยอาศัยสมบัติทางกายภาพหรือทางเคมี เช่น ทดสอบการละลาย ทดสอบโดยเปลวไฟ เป็นต้น คำตอบของการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจะระบุเป็นเพียงใช่หรือไม่ใช่ มีหรือไม่มี แต่ไม่ได้บ่งบอกถึงระดับปริมาณของสารที่สนใจ

2)   การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (quantitative analysis) คือ การวิเคราะห์ที่ต้องการทราบระดับปริมาณของสารที่สนใจในสารตัวอย่าง เช่น ต้องการทราบปริมาณของแข็งทั้งหมด (total solid) ในตัวอย่างน้ำ ต้องการทราบปริมาณแร่ธาตุไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ในดินหรือปุ๋ย ต้องการทราบปริมาณสารหนู (As) ในข้าว ต้องการทราบปริมาณออกซิเจนละลาย (dissolved oxygen; DO) ในน้ำทิ้งหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นต้น การหาคำตอบจะต้องทำการทดลองตามขั้นตอนการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้คำตอบเป็นปริมาณสารที่สนใจในสารตัวอย่างอย่างถูกต้อง และต้องมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์สารที่สนใจในสารตัวอย่างหนึ่ง ๆ อาจจำเป็นต้องดำเนินการทั้งที่เป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและการวิเคราะห์เชิงปริมาณควบคู่กัน โดยการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจะเป็นการประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับการมีอยู่ของสารที่สนใจก่อนจะทำการวิเคราะห์เชิงปริมาณ แต่โดยส่วนใหญ่ในการวิเคราะห์ทางเคมีวิเคราะห์มักจำเป็นต้องการคำตอบที่เป็นปริมาณสารที่สนใจในสารตัวอย่าง ถึงกระนั้นไม่ได้หมายความว่าการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจะสามารถทำได้ง่ายกว่าการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และในบางกรณีอาจทำได้ยากกว่าเสียอีก เช่น การที่จะระบุว่าคุณภาพน้ำตัวอย่างจัดเป็นน้ำเสียหรือไม่ เนื่องจากต้องทำการวิเคราะห์ตามดัชนีที่ใช้เป็นเกณฑ์บอกระดับคุณภาพน้ำจึงจะสามารถระบุได้ว่าเป็นน้ำเสียหรือไม่เป็นน้ำเสีย หรือการทดสอบว่าสารที่สงสัยเป็นสารใดนั้นอาจจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคและวิธีการตรวจสอบหลายวิธีจึงจะสามารถตอบได้ ซึ่งต่างกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณที่ดำเนินการวิเคราะห์เพื่อบ่งชี้ระดับความเข้มข้นของสารที่สนใจเท่านั้น

เทคนิคการวิเคราะห์

เทคนิคในการวิเคราะห์ คือ หลักการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของวิธีการในการวัดสารที่สนใจในสารตัวอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1) การวิเคราะห์แบบแผนเดิม (classical method) คือ การวิเคราะห์ที่อาศัยเทคนิคพื้นฐานทางการวัดโดยอาจไม่ต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนมากนัก ได้แก่

·  การวิเคราะห์โดยน้ำหนัก (gravimetric method) ซึ่งเป็นวิธีวิเคราะห์โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักสารที่สนใจกับสารตัวอย่าง โดยอาศัยการเกิดตะกอนที่ละลายน้ำได้น้อยระหว่างสารที่สนใจกับตัวตกตะกอน โดยน้ำหนักตะกอนที่เกิดขึ้นหรือตะกอนที่ทำให้บริสุทธิ์จะสัมพันธ์กับสารตัวอย่างตามปริมาณสัมพันธ์ เช่น การวิเคราะห์แบเรียม (Ba2+) โดยตกตะกอนเป็น BaSO4 ดังสมการ

Ba2+(aq) + SO42-(aq)  ®  BaSO4(s)

·  ปริมาตรวิเคราะห์ (volumetric method) ซึ่งเป็นวิธีวิเคราะห์ที่อาศัยการเกิดปฏิกิริยาสมมูลกันระหว่างสารที่สนใจกับสารละลายมาตรฐานตามปริมาณสัมพันธ์ โดยวิธีที่นิยมใช้คือ การไทเทรต (titration) จึงอาจเรียกอีกชื่อว่า ไททริเมตรี (titrimetry) เช่น การวิเคราะห์หาปริมาณร้อยละกรดแอซีติก (CH3COOH) ในตัวอย่างน้ำส้มสายชูกลั่น โดยการไทเทรตกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ที่ทราบความเข้มข้นแน่นอนโดยใช้ฟีนอล์ฟทาลีนเป็นอินดิเคเตอร์ เรียกจุดที่อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสีว่า จุดยุติ (end point) ซึ่งปริมาตรของสารละลาย NaOH ที่ใช้ในการไทเทรตสามารถใช้คำนวณน้ำหนักของกรดแอซีติกโดยอาศัยปริมาณสัมพันธ์ได้


2) การวิเคราะห์แบบแผนใหม่ (modern method) คือ การวิเคราะห์ที่อาศัยหลักพื้นฐานทางเคมี และการพัฒนาการวัดด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ หรือที่เรียกว่า วิธีวิเคราะห์โดยเครื่องมือวิเคราะห์ (instrumental method) ซึ่งวิธีนี้อาศัยการวัดสมบัติทางกายภาพ และ/หรือ สมบัติทางเคมีของสารที่สนใจ หรือการวัดสัญญาณตอบสนองอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่เกิดขึ้นระหว่างการวัด ซึ่งสัญญาณตอบสนองที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับปริมาณของสารที่สนใจในสารตัวอย่าง การวิเคราะห์แบบแผนใหม่อาจแบ่งได้ตามลักษณะเฉพาะ ได้แก่

2.1) เทคนิคการวิเคราะห์ทางเคมีไฟฟ้า (electrochemical techniques) เป็นวิธีวิเคราะห์โดยการวัดสมบัติทางไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับชนิดหรือปริมาณสารที่สนใจ เช่น

·    เทคนิคโพเทนชิออเมตรี (potentiometry) เป็นเทคนิคการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าซึ่งสัมพันธ์กับความว่องไว (activity) ของไอออนตามสมการเนินสต์

·    เทคนิคคอนดักโตเมตรี (conductometry) เป็นเทคนิคการวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลาย

·    เทคนิคแอมเพอโรเมตรี (amperometry) เป็นเทคนิคที่ให้ศักย์ไฟฟ้าที่คงที่กับขั้วไฟฟ้าใช้งานที่เพียงพอในการทำให้เกิดปฏิกิริยาของสารตัวอย่างที่ผิวหน้าของขั้วไฟฟ้าได้ แล้ววัดค่ากระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่สัมพันธ์กับเวลา ซึ่งค่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้จะแปรผันโดยตรงกับความเข้มข้นของสารที่เกิดปฏิกิริยา

·    เทคนิคคูลอเมตรี (coulometry) เป็นการวัดปริมาณประจุไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ทำให้สารตัวอย่างเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์อย่างสมบูรณ์ โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณประจุไฟฟ้ากับจำนวนกรัมสมมูลของสารนั้นตามกฎฟาราเดย์

·    เทคนิคโวลแทมเมตรี (voltammetry) เป็นเทคนิควิเคราะห์ที่ให้ศักย์ไฟฟ้าแก่วงจร เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีของสารตัวอย่าง การจัดเซลล์ของวงจรเป็นแบบเซลล์ อิเล็กโทรไลต์และการไหลของกระแสอยู่ภายใต้สภาวะการเกิดโพลาไรเซชันที่ขั้วไฟฟ้า แล้ววัดกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ณ ศักย์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ให้แก่วงจร

2.2) เทคนิคทางสเปกโทรเมตรี (spectrometric techniques) หรือที่เรียกว่า วิธีทางแสง (optical method) ซึ่งอาศัยหลักการเกิดอันตรกิริยา (interaction) ระหว่างสสารของอนุมูลสารที่สนใจกับรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า โดยอันตรกิริยาที่เกิดขึ้นจะเป็นสมบัติเฉพาะของสสารกับพลังงานของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น

·   การดูดกลืน (absorption) เป็นวิธีวิเคราะห์ที่อาศัยหลักการดูดกลืนรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าของสสาร เช่น วิธียูวี-วิสิเบิลสเปกโทรเมตรี (UV-visible spectrometry; UV-vis) วิธีอะตอมมิกแอบซอร์บชันสเปกโทรเมตรี (atomic absorption spectrometry; AAS) วิธีอินฟราเรดสเปกโทรเมตรี (infrared spectrometry; IR) วิธีรามานสเปกโทรเมตรี (Raman spectrometry) วิธีนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์ (nuclear magnetic resonance; NMR)  เป็นต้น

·    การเปล่งออก (emission) เป็นวิธีวิเคราะห์ที่อาศัยหลักการเปล่งพลังงานออกมา เมื่ออนุมูลของสารที่สนใจเกิดอันตรกิริยากับรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น เทคนิคอะตอมมิกอีมิสชันสเปกโทรเมตรี (atomic emission spectrometry; AES) เทคนิคอินดักทีฟลีคัปเปิล-พลาสมาออพติคอลอีมิสชันสเปกโทรเมตรี (inductively coupled plasma optical emission spectrometry; ICP-OES) เทคนิคเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์สเปกโทรเมตรี (X-ray fluorescence; XRF) และเทคนิคลูมิเนสเซนต์สเปกโทรเมตรี (luminescence spectrometry) เป็นต้น

·    การกระเจิงแสง (scattering ) เป็นการวัดการกระเจิงแสงของสาร เช่น วิธีเทอบิดิเมตรี (turbidimetry)

·    การหักเหของรังสี (refraction) ใช้หลักการหักเหเมื่อรังสีผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่างกัน เช่น เทคนิครีแฟรกโตเมตรี (refractometry)

·    การเลี้ยวเบนของรังสี (diffraction) อาศัยหลักการเลี้ยวเบนของรังสีเมื่อกระทบกับตัวอย่าง เช่น การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ของเทคนิคเอกซเรย์ดิฟแฟรกโตเมตรี (X-ray diffractometry) เป็นต้น

2.3) เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการแยก (separation techniques) โดยส่วนใหญ่จะอาศัยวิธีโครมาโทกราฟี (chromatography) เป็นหลัก โดยอาศัยหลักการแยกสารที่สนใจออกจากสารตัวอย่าง อันเนื่องมาจากสารมีปฏิกิริยากับสองวัฏภาค (phase) ที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ระหว่างวัฏภาคของแข็งกับของเหลว (solid/liquid) ของเหลวกับของเหลว (liquid/liquid) และของเหลวกับแก๊ส (liquid/gas) ตัวอย่างวิธีวิเคราะห์ เช่น

·    เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี (GC) เป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับแยกสารตัวอย่างที่เป็นสารผสมที่สามารถระเหยเป็นไอได้ โดยไอระเหยที่เกิดขึ้นจะถูกนำเข้าสู่คอลัมน์โดยอาศัยการพาของวัฏภาคเคลื่อนที่ (mobile phase) ที่เป็นแก๊ส และไอสารตัวอย่างถูกแยกด้วยวัฏภาคคงที่ (stationary phase) ในคอลัมน์ โดยสารตัวอย่างจะถูกแยกเป็นส่วนในคอลัมน์ ตามสมบัติทางเคมี โครงสร้าง น้ำหนักโมเลกุล จุดเดือด เป็นต้น

·    เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลว (LC) เป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับแยกสารตัวอย่างที่เป็นสารผสมโดยอาศัยการพาของวัฏภาคเคลื่อนที่ที่เป็นของเหลว และสารตัวอย่างถูกแยกด้วยวัฏภาคคงที่ในคอลัมน์ที่เป็นของแข็ง หรือของเหลว

·    เทคนิคไอออนโครมาโทกราฟี (ion chromatography; IC) เป็นเทคนิคที่ใช้แยกแคตไอออนหรือแอนไอออน โดยอาศัยการแลกเปลี่ยนไอออน (ion exchange) ที่เกิดจากการดักจับไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามกับวัฏภาคคงที่ที่อยู่ภายในคอลัมน์ ซึ่งเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างประจุที่แตกต่างกัน

2.4) เทคนิคเกี่ยวข้องกับความร้อน (thermal analytical techniques) เป็นวิธีที่อาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือทางกายภาพ เมื่อสารได้รับความร้อน เช่น วิธีการวิเคราะห์โดยน้ำหนักด้วยความร้อน (thermogravitric analysis; TGA) ซึ่งเป็นการวัดมวลที่เปลี่ยนแปลงเมื่อสารได้รับความร้อนที่ระดับอุณหภูมิแตกต่างกัน

2.5) เทคนิคเกี่ยวกับการวิเคราะห์มวล (mass analysis) เช่น เทคนิค แมสสเปกโทรสโกปี (mass spectroscopy) เป็นวิธีวิเคราะห์โดยอาศัยค่ามวลต่อประจุของไอออนที่เกิดการแตกตัวเป็นไอออนย่อย (fragment ion)

2.6) วิธีวิเคราะห์ทางจลนพลศาสตร์ (kinetic method) เป็นวิธีการวิเคราะห์อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี การหาอันดับของปฏิกิริยา รวมทั้งศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีด้วย และนำมาใช้ตรวจสอบความเข้มข้นของสารที่สนใจ


เคมีวิเคราะห์เป็นการบูรณาการความรู้พื้นฐานทางเคมี และประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐาน หรือพัฒนาองค์ความรู้เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ เพื่อหาคำตอบของสารที่สนใจในสารตัวอย่างทั้งเชิงคุณภาพ และ/หรือ เชิงปริมาณ โดยมีกระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน คือ การพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นหรือเหตุผลในการวิเคราะห์สารที่สนใจ ชนิดสารตัวอย่าง การเลือกวิธีวิเคราะห์ที่เหมาะสมกับชนิดและระดับความเข้มข้นของสารที่สนใจ วิธีการชักตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของตัวอย่างทั้งหมด การเก็บรักษาตัวอย่างเพื่อรักษาสภาพหรือสมบัติทางเคมีและกายภาพไม่ให้เปลี่ยนแปลงก่อนดำเนินการเตรียมตัวอย่างโดยวิธีที่เหมาะสมและก่อนดำเนินการวิเคราะห์สารที่สนใจ การวัดด้วยวิธีมาตรฐานหรือเลือกเทคนิคการวิเคราะห์ที่มีความแม่นและความเที่ยงที่ยอมรับได้ และผู้ทดลองต้องสามารถแปรผลข้อมูล หรือสัญญาณตอบสนองที่ได้จากการทดลองเพื่อเป็นคำตอบที่ต้องการของสารที่สนใจที่สัมพันธ์กับตัวอย่าง เพื่อแสดงคำตอบที่แท้จริงในสารตัวอย่างนั้น ๆ ดังนั้น การวิเคราะห์นั้นต้องมีความแม่น เพื่อแสดงความใกล้กับค่าแท้จริงให้มากที่สุดและต้องคำนึงถึงความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการวิเคราะห์ในแต่ละขั้นตอน

อ้างอิง

[1] วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. 2563. เคมีวิเคราะห์: หลักการและเทคนิคการคำนวณเชิงปริมาณ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

  1. "เคมีวิเคราะห์ :หลักการและเทคนิคการคำนวณเชิงปริมาณ (ANALYTICAL CHEMISTRY: PRINCIPLE AND QUANTITATIVE". CHULABOOK.

เคม, เคราะห, บทความน, ไม, การอ, างอ, งจากแหล, งท, มาใดกร, ณาช, วยปร, บปร, งบทความน, โดยเพ, มการอ, างอ, งแหล, งท, มาท, าเช, อถ, เน, อความท, ไม, แหล, งท, มาอาจถ, กค, ดค, านหร, อลบออก, เร, ยนร, าจะนำสารแม, แบบน, ออกได, อย, างไรและเม, อไร, เว, บย, analytical, chem. bthkhwamniimmikarxangxingcakaehlngthimaidkrunachwyprbprungbthkhwamni odyephimkarxangxingaehlngthimathinaechuxthux enuxkhwamthiimmiaehlngthimaxacthukkhdkhanhruxlbxxk eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir ewbyx Analytical chemistry ekhmiwiekhraah xngkvs Analytical chemistry khuxsakhakhxngwichaekhmithiwadwykarwiekhraahsartwxyang ephuxihekidkhwamekhaicthungxngkhprakxb aelaokhrngsrangthangekhmikhxngwsdunnekhmiwiekhraahxacniyamkhwamhmayidxyangkwangkhwangkhunxyukbkhxbekhtthisuksa hruxcudprasngkhkhxngkarwdwiekhraah hruxkrabwnkardaeninkarthdsxbodyxasykhwamruthangekhmi emxrery Murray 1994 idniyamekhmiwiekhraahaebbngay aetaefngdwykhwamhmayaelakhwamsakhyxnluksungkhxngekhmiwiekhraahtamkhaklawkhxngirely Charles Reilley thiklawiwinpi kh s 1965 sungklawiwwa Analytical chemistry is what analytical chemists do karkahndniyamxyangidxyanghnungxacimkhrxbkhlumthungaenwkhidphunthankhxngekhmiwiekhraahidthnghmd 1 praephthkhxngkarwiekhraah aekikhkarwiekhraahthangekhmisamarthaebngxxkidepn 2 chnidxyangkwang dngni1 karwiekhraahechingkhunphaph qualitative analysis khux karwiekhraahthisnicthrabkhxmulekiywkbtwxyangwamixngkhprakxbid misarthisnicrwmxyuhruxim epnsarbrisuththihruxsarprakxb echn txngkarthrabwaintwxyangphngsikhawepnekluxaeknghruxim cungtxngthdsxbephuxyunynodyxasysmbtithangkayphaphhruxthangekhmi echn thdsxbkarlalay thdsxbodyeplwif epntn khatxbkhxngkarwiekhraahechingkhunphaphcarabuepnephiyngichhruximich mihruximmi aetimidbngbxkthungradbprimankhxngsarthisnic2 karwiekhraahechingpriman quantitative analysis khux karwiekhraahthitxngkarthrabradbprimankhxngsarthisnicinsartwxyang echn txngkarthrabprimankhxngaekhngthnghmd total solid intwxyangna txngkarthrabprimanaerthatuinotrecn N fxsfxrs P aelaophaethsesiym K indinhruxpuy txngkarthrabprimansarhnu As inkhaw txngkarthrabprimanxxksiecnlalay dissolved oxygen DO innathinghruxaehlngnathrrmchati epntn karhakhatxbcatxngthakarthdlxngtamkhntxnkarwiekhraahxyangepnrabbephuxihidkhatxbepnprimansarthisnicinsartwxyangxyangthuktxng aelatxngmikhwamkhladekhluxnnxythisudethathicathaidxyangirktam karwiekhraahsarthisnicinsartwxyanghnung xaccaepntxngdaeninkarthngthiepnkarwiekhraahechingkhunphaphaelakarwiekhraahechingprimankhwbkhukn odykarwiekhraahechingkhunphaphcaepnkarpraeminebuxngtnekiywkbkarmixyukhxngsarthisnickxncathakarwiekhraahechingpriman aetodyswnihyinkarwiekhraahthangekhmiwiekhraahmkcaepntxngkarkhatxbthiepnprimansarthisnicinsartwxyang thungkrannimidhmaykhwamwakarwiekhraahechingkhunphaphcasamarththaidngaykwakarwiekhraahechingpriman aelainbangkrnixacthaidyakkwaesiyxik echn karthicarabuwakhunphaphnatwxyangcdepnnaesiyhruxim enuxngcaktxngthakarwiekhraahtamdchnithiichepneknthbxkradbkhunphaphnacungcasamarthrabuidwaepnnaesiyhruximepnnaesiy hruxkarthdsxbwasarthisngsyepnsaridnnxaccaepntxngxasyethkhnikhaelawithikartrwcsxbhlaywithicungcasamarthtxbid sungtangkbkarwiekhraahechingprimanthidaeninkarwiekhraahephuxbngchiradbkhwamekhmkhnkhxngsarthisnicethannethkhnikhkarwiekhraah aekikhethkhnikhinkarwiekhraah khux hlkkarphunthanthangwithyasastrkhxngwithikarinkarwdsarthisnicinsartwxyangephuxihidkhxmulechingkhunphaphhruxechingpriman aebngxxkidepn 2 praephth dngni 1 1 karwiekhraahaebbaephnedim classical method khux karwiekhraahthixasyethkhnikhphunthanthangkarwdodyxacimtxngichekhruxngmuxthisbsxnmaknk idaek karwiekhraahodynahnk gravimetric method sungepnwithiwiekhraahodyxasykhwamsmphnthrahwangnahnksarthisnickbsartwxyang odyxasykarekidtakxnthilalaynaidnxyrahwangsarthisnickbtwtktakxn odynahnktakxnthiekidkhunhruxtakxnthithaihbrisuththicasmphnthkbsartwxyangtamprimansmphnth echn karwiekhraahaeberiym Ba2 odytktakxnepn BaSO4 dngsmkarBa2 aq SO42 aq BaSO4 s primatrwiekhraah volumetric method sungepnwithiwiekhraahthixasykarekidptikiriyasmmulknrahwangsarthisnickbsarlalaymatrthantamprimansmphnth odywithithiniymichkhux karithethrt titration cungxaceriykxikchuxwa iththriemtri titrimetry echn karwiekhraahhaprimanrxylakrdaexsitik CH3COOH intwxyangnasmsaychukln odykarithethrtkbsarlalayosediymihdrxkisd NaOH thithrabkhwamekhmkhnaennxnodyichfinxlfthalinepnxindiekhetxr eriykcudthixindiekhetxrepliynsiwa cudyuti end point sungprimatrkhxngsarlalay NaOH thiichinkarithethrtsamarthichkhanwnnahnkkhxngkrdaexsitikodyxasyprimansmphnthid2 karwiekhraahaebbaephnihm modern method khux karwiekhraahthixasyhlkphunthanthangekhmi aelakarphthnakarwddwyekhruxngmuxwiekhraah hruxthieriykwa withiwiekhraahodyekhruxngmuxwiekhraah instrumental method sungwithinixasykarwdsmbtithangkayphaph aela hrux smbtithangekhmikhxngsarthisnic hruxkarwdsyyantxbsnxngxnenuxngmacakkarepliynaeplngxyanghnungxyangidthiekidkhunrahwangkarwd sungsyyantxbsnxngthiekidkhunsmphnthkbprimankhxngsarthisnicinsartwxyang karwiekhraahaebbaephnihmxacaebngidtamlksnaechphaa idaek2 1 ethkhnikhkarwiekhraahthangekhmiiffa electrochemical techniques epnwithiwiekhraahodykarwdsmbtithangiffathismphnthkbchnidhruxprimansarthisnic echn ethkhnikhophethnchixxemtri potentiometry epnethkhnikhkarwdkhakhwamtangskyiffasungsmphnthkbkhwamwxngiw activity khxngixxxntamsmkareninst ethkhnikhkhxndkotemtri conductometry epnethkhnikhkarwdkhakarnaiffakhxngsarlalay ethkhnikhaexmephxoremtri amperometry epnethkhnikhthiihskyiffathikhngthikbkhwiffaichnganthiephiyngphxinkarthaihekidptikiriyakhxngsartwxyangthiphiwhnakhxngkhwiffaid aelwwdkhakraaesiffathiekidkhunthismphnthkbewla sungkhakraaesiffathiwdidcaaeprphnodytrngkbkhwamekhmkhnkhxngsarthiekidptikiriya ethkhnikhkhulxemtri coulometry epnkarwdprimanpracuiffathnghmdthiichthaihsartwxyangekidptikiriyaridxksxyangsmburn odyxasykhwamsmphnthrahwangprimanpracuiffakbcanwnkrmsmmulkhxngsarnntamkdfaraedy ethkhnikhowlaethmemtri voltammetry epnethkhnikhwiekhraahthiihskyiffaaekwngcr ephuxihekidptikiriyaekhmikhxngsartwxyang karcdesllkhxngwngcrepnaebbesll xielkothriltaelakarihlkhxngkraaesxyuphayitsphawakarekidophlaireschnthikhwiffa aelwwdkraaesiffathiekidkhun n skyiffatang thiihaekwngcr2 2 ethkhnikhthangsepkothremtri spectrometric techniques hruxthieriykwa withithangaesng optical method sungxasyhlkkarekidxntrkiriya interaction rahwangssarkhxngxnumulsarthisnickbrngsiaemehlkiffa odyxntrkiriyathiekidkhuncaepnsmbtiechphaakhxngssarkbphlngngankhxngrngsiaemehlkiffa echn kardudklun absorption epnwithiwiekhraahthixasyhlkkardudklunrngsiaemehlkiffakhxngssar echn withiyuwi wisiebilsepkothremtri UV visible spectrometry UV vis withixatxmmikaexbsxrbchnsepkothremtri atomic absorption spectrometry AAS withixinfraerdsepkothremtri infrared spectrometry IR withiramansepkothremtri Raman spectrometry withiniwekhliyraemkentikerosaenns nuclear magnetic resonance NMR epntn kareplngxxk emission epnwithiwiekhraahthixasyhlkkareplngphlngnganxxkma emuxxnumulkhxngsarthisnicekidxntrkiriyakbrngsiaemehlkiffa echn ethkhnikhxatxmmikximischnsepkothremtri atomic emission spectrometry AES ethkhnikhxindkthiflikhpepil phlasmaxxphtikhxlximischnsepkothremtri inductively coupled plasma optical emission spectrometry ICP OES ethkhnikhexkseryfluxxersesntsepkothremtri X ray fluorescence XRF aelaethkhnikhlumiensesntsepkothremtri luminescence spectrometry epntn karkraecingaesng scattering epnkarwdkarkraecingaesngkhxngsar echn withiethxbidiemtri turbidimetry karhkehkhxngrngsi refraction ichhlkkarhkehemuxrngsiphantwklangthimikhwamhnaaenntangkn echn ethkhnikhriaefrkotemtri refractometry kareliywebnkhxngrngsi diffraction xasyhlkkareliywebnkhxngrngsiemuxkrathbkbtwxyang echn kareliywebnkhxngrngsiexkskhxngethkhnikhexkserydifaefrkotemtri X ray diffractometry epntn2 3 ethkhnikhthiekiywkhxngkbkaraeyk separation techniques odyswnihycaxasywithiokhrmaothkrafi chromatography epnhlk odyxasyhlkkaraeyksarthisnicxxkcaksartwxyang xnenuxngmacaksarmiptikiriyakbsxngwtphakh phase thiimepnenuxediywkn echn rahwangwtphakhkhxngaekhngkbkhxngehlw solid liquid khxngehlwkbkhxngehlw liquid liquid aelakhxngehlwkbaeks liquid gas twxyangwithiwiekhraah echn ethkhnikhaeksokhrmaothkrafi GC epnethkhnikhthiichsahrbaeyksartwxyangthiepnsarphsmthisamarthraehyepnixid odyixraehythiekidkhuncathuknaekhasukhxlmnodyxasykarphakhxngwtphakhekhluxnthi mobile phase thiepnaeks aelaixsartwxyangthukaeykdwywtphakhkhngthi stationary phase inkhxlmn odysartwxyangcathukaeykepnswninkhxlmn tamsmbtithangekhmi okhrngsrang nahnkomelkul cudeduxd epntn ethkhnikhokhrmaothkrafikhxngehlw LC epnethkhnikhthiichsahrbaeyksartwxyangthiepnsarphsmodyxasykarphakhxngwtphakhekhluxnthithiepnkhxngehlw aelasartwxyangthukaeykdwywtphakhkhngthiinkhxlmnthiepnkhxngaekhng hruxkhxngehlw ethkhnikhixxxnokhrmaothkrafi ion chromatography IC epnethkhnikhthiichaeykaekhtixxxnhruxaexnixxxn odyxasykaraelkepliynixxxn ion exchange thiekidcakkardkcbixxxnthimipracutrngknkhamkbwtphakhkhngthithixyuphayinkhxlmn sungepnaerngyudehniywrahwangpracuthiaetktangkn2 4 ethkhnikhekiywkhxngkbkhwamrxn thermal analytical techniques epnwithithixasykarepliynaeplngthangekhmi hruxthangkayphaph emuxsaridrbkhwamrxn echn withikarwiekhraahodynahnkdwykhwamrxn thermogravitric analysis TGA sungepnkarwdmwlthiepliynaeplngemuxsaridrbkhwamrxnthiradbxunhphumiaetktangkn2 5 ethkhnikhekiywkbkarwiekhraahmwl mass analysis echn ethkhnikh aemssepkothrsokpi mass spectroscopy epnwithiwiekhraahodyxasykhamwltxpracukhxngixxxnthiekidkaraetktwepnixxxnyxy fragment ion 2 6 withiwiekhraahthangclnphlsastr kinetic method epnwithikarwiekhraahxtrakarekidptikiriyaekhmi karhaxndbkhxngptikiriya rwmthngsuksapccytang thimiphltxxtrakarekidptikiriyaekhmidwy aelanamaichtrwcsxbkhwamekhmkhnkhxngsarthisnicekhmiwiekhraahepnkarburnakarkhwamruphunthanthangekhmi aelaprayuktichkhwamruphunthan hruxphthnaxngkhkhwamruepnethkhnikhkarwiekhraah ephuxhakhatxbkhxngsarthisnicinsartwxyangthngechingkhunphaph aela hrux echingpriman odymikrabwnkarwiekhraahxyangepnkhntxn khux karphicarnapyhathiekidkhunhruxehtuphlinkarwiekhraahsarthisnic chnidsartwxyang kareluxkwithiwiekhraahthiehmaasmkbchnidaelaradbkhwamekhmkhnkhxngsarthisnic withikarchktwxyangthiepntwaethnkhxngtwxyangthnghmd karekbrksatwxyangephuxrksasphaphhruxsmbtithangekhmiaelakayphaphimihepliynaeplngkxndaeninkaretriymtwxyangodywithithiehmaasmaelakxndaeninkarwiekhraahsarthisnic karwddwywithimatrthanhruxeluxkethkhnikhkarwiekhraahthimikhwamaemnaelakhwamethiyngthiyxmrbid aelaphuthdlxngtxngsamarthaeprphlkhxmul hruxsyyantxbsnxngthiidcakkarthdlxngephuxepnkhatxbthitxngkarkhxngsarthisnicthismphnthkbtwxyang ephuxaesdngkhatxbthiaethcringinsartwxyangnn dngnn karwiekhraahnntxngmikhwamaemn ephuxaesdngkhwamiklkbkhaaethcringihmakthisudaelatxngkhanungthungkhwamkhladekhluxnthixacekidkhuncakkrabwnkarwiekhraahinaetlakhntxn 1 xangxing aekikh 1 wrwithy cnthrsuwrrn 2563 ekhmiwiekhraah hlkkaraelaethkhnikhkarkhanwnechingpriman sankphimphculalngkrnmhawithyaly bthkhwamekiywkbekhminiyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul duephimthi sthaniyxy ekhmi 1 0 1 1 1 2 ekhmiwiekhraah hlkkaraelaethkhnikhkarkhanwnechingpriman ANALYTICAL CHEMISTRY PRINCIPLE AND QUANTITATIVE CHULABOOK ekhathungcak https th wikipedia org w index php title ekhmiwiekhraah amp oldid 9418220, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม