fbpx
วิกิพีเดีย

การข่มขืนกระทำชำเรา

การข่มขืนกระทำชำเรา (อังกฤษ: rape) เป็นการทำร้ายร่างกาย ซึ่งปกติเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์หรือการใช้กำลังในการการบังคับแบบอื่นต่อบุคคล โดยปราศจากความยินยอมของบุคคลเหล่านั้น การกระทำดังกล่าวอาจโดยใช้กำลังทางกาย การบีบบังคับ การละเมิดอำนาจหรือต่อบุคคลที่ไม่สามารถให้ความยินยอมสมบูรณ์ได้ เช่น ผู้ที่หมดสติ ไร้ความสามารถหรืออายุต่ำกว่าอายุที่ยอมให้มีการร่วมประเวณีได้ตามกฎหมาย คำว่า "ข่มขืนกระทำชำเรา" บางครั้งใช้แทนคำว่า "การทำร้ายร่างกายทางเพศ" ได้

การข่มขืนกระทำชำเรา
การข่มขืนกระทำชำเราหญิงอภิชนลูเครเชีย
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10T74.2
ICD-9E960.1
MedlinePlus001955
eMedicinearticle/806120
MeSHD011902

อุบัติการณ์การข่มขืนกระทำชำเราที่ตำรวจบันทึกทั่วโลกในปี 2553 แปรผันระหว่าง 0.2 ต่อ 100,000 คนในประเทศอาเซอร์ไบจาน ถึง 92.9 ต่อ 100,000 คนในประเทศบอตสวานา โดยมีค่า 6.3 ต่อ 100,000 คนในประเทศลิทัวเนียเป็นมัธยฐาน ตามข้อมูลของสมาคมแพทย์อเมริกา (2538) ความรุนแรงทางเพศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการข่มขืนกระทำชำเรา ถูกพิจารณาว่าเป็นอาชญากรรมรุนแรงที่มีรายงานต่ำกว่าจริงมากที่สุด อัตราการรายงาน ดำเนินคดีและการพิพากษาลงโทษสำหรับการข่มขืนกระทำชำเราต่างกันมากตามเขตอำนาจ สถิติกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา (2542) ประมาณว่า 91% ของเหยื่อการข่มขืนกระทำชำเราในสหรัฐอเมริกาเป็นหญิง และ 9% เป็นชาย การข่มขืนกระทำชำเราโดยคนแปลกหน้าปกติพบน้อยกว่าการข่มขืนกระทำชำเราโดยบุคคลที่ผู้เสียหายรู้จัก และการศึกษาหลายครั้งแย้งว่าการข่มขืนกระทำชำเราในเรือนจำระหว่างชายต่อชายและหญิงต่อหญิงค่อนข้างพบบ่อยและอาจเป็นการข่มขืนกระทำชำเราแบบที่รายงานน้อยที่สุด

ผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราอาจได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงและอาจประสบความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ นอกเหนือไปจากความเสียหายทางจิตวิทยาอันเกิดจากการกระทำดังกล่าวแล้ว การกระทำชำเรายังอาจก่อการบาดเจ็บทางกาย หรือมีผลอย่างอื่นต่อผู้เสียหาย เช่น ได้รับการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หรือตั้งครรภ์ ยิ่งไปกว่านั้น หลังการข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหายยังอาจเผชิญความรุนแรงหรือการข่มขู่จากผู้ข่มขืน และในบางวัฒนธรรม จากครอบครัวและญาติของผู้เสียหายเอง

บทนิยาม

ในการตัดสินคดีความ อาชญากรรมต่อการข่มขืนกระทำชำเราถูกให้นิยามเมื่อมีการร่วมประเวณีเกิดขึ้น (หรือพยายามทำให้เกิด) โดยไม่มีการยินยอมโดยสมควร เมื่อมีคนใดคนหนึ่ง (ไม่ยอม) มาเกี่ยวข้องด้วย และมักจะมีคำจำกัดความของการสอดใส่เข้าไปในช่องคลอดหรือทวารหนักโดยอวัยวะเพศชาย ในบางการตัดสิน การสอดใส่ไม่จำเป็นต้องใช้องคชาติ แต่สามารถเป็นอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย (เช่น นิ้วหนึ่งนิ้วหรือมากกว่านั้น หรือการสอดใส่ทางอื่นๆ เช่น ทางปาก ร่องอก หรือร่องก้น) หรือ โดยวัตถุ (เช่น ขวด) หรืออีกนิยามคือการผลักดันโดยใช้อวัยวะเพศหญิงหรือทวารหนักบนองคชาติของเพศชาย โดยผู้กระทำเป็นผู้หญิง

คำตัดสินอื่นขยายความว่า คำว่า ข่มขืนกระทำชำเรา หมายถึงกิจการใดๆที่กระทำโดยใช้อวัยวะเพศ ของคนหนึ่งคนหรือสองคน ในเวลานั้น ตัวอย่างเช่น การใช้ปากหรือใช้มือสำเร็จความใคร่ให้กับผู้อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ถูกกระทำ

  • ภายใต้การขู่บังคับประเภทต่างๆ (การใช้กำลัง, ความรุนแรง, การแบล็คเมล์ และอื่นๆ)
  • การวินิจฉัยอ่อนแอลง หรือไร้ความสามารถ โดยแอลกอฮอล์ หรือยาชนิดอื่นๆ ไม่ว่ายานั้นจะถูกหรือผิดกฎหมายก็ตาม
  • การตัดสินใจอ่อนแอลง อาจจะมาจากความป่วยไข้ หรือไม่มีพัฒนาการตามวัยสมควร
  • อายุต่ำกว่าเกณท์ที่จะให้การยินยอม ที่นับว่าถูกตามกฎหมายได้

การข่มขืนกระทำชำเราผู้มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่ยินยอมให้ร่วมประเวณีด้วยได้ (Statutory Rape) นับการมีการสัมพันธ์ทางเพศว่าเป็นการข่มขืนกระทำชำเรา โดยไม่จำเป็นว่า มีการใช้อำนาจบังคับหรือเป็นอีกฝ่ายพร้อมใจหรือไม่ กฎหมายแบบนี้ เป็นเรื่องปกติและมีขึ้นเพื่อป้องกันผู้ใหญ่ที่อยากจะมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก ที่ดูเหมือนว่าจะยังไม่สามารถให้การตัดสินใจที่มีรอบคอบ

ในบทลงโทษของกฎหมายบราซิล กล่าวถึงการข่มขืนกระทำชำเราว่า ต้องเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่เหมือนในยุโรปและอเมริกาส่วนมาก ผู้ชายข่มขืนกระทำชำเราผู้ชาย, การข่มขืนกระทำชำเราทางทวารหนัก และการข่มขืนกระทำชำเราทางปาก ไม่นับว่าเป็นอาชญากรรม ในกรณีนี้ จะนับว่าเป็น “ความพยายามอย่างรุนแรงต่อสู้ความอ่อนน้อมของคนๆหนึ่ง“ เท่านั้น บทลงโทษเองก็เช่นเดียวกัน

ในสก็อตแลนด์ การข่มขืนกระทำชำเราเป็นการระบุเพศลงไป หมายความว่ามันสามารถทำได้โดยผู้ชายต่อผู้หญิงเท่านั้น ปาก, ทวารหนัก จะไม่นับว่าเป็น “การข่มขืนกระทำชำเรา” รวมถึงการสอดใส่ทางอื่นๆ ด้วย คำจำกัดความถูกใช้โดยศาลสากลของรวันดาตามท้องที่ในปี 1998 ว่า “การบุกรุกทางร่างกายในความเป็นธรรมชาติในเรื่องเพศ กระทำโดยบุคคลภายใต้สถานการณ์ที่ใช้กำลังบังคับ” ในการตัดสินอย่างเจาะจงลงไป มันเป็นไปไม่ได้ที่จะตัดสินว่ามีความผิด ระหว่างคู่สามีภรรยา เพราะต่างก็อยู่บนพื้นฐานของ “ความยินยอมโดยนัย” หรือ (ในกรณีของอาณานิคมอังกฤษก่อนหน้านี้) เพราะข้อเรียกร้องของการเห็นชอบด้วยกฎหมาย ว่าการร่วมประเวณี ถือเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ซึ่งอยู่นอกขอบข่ายของการแต่งงาน) อย่างไรก็ตาม ในหลายๆการตัดสิน สามารถที่จะนำการฟ้องร้องดำเนินคดีได้ โดยระบุลงไปว่ามันคือการขู่บังคับ

ประเภท

มีประเภทของการข่มขืนกระทำชำเรา 6 – 7 อย่าง โดยมากจะถูกจำแนกออกโดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บุคลิกของเหยื่อ และบุคลิกของผู้ก่อเหตุ ประเภทที่แตกต่างของการข่มขืนกระทำชำเรารวมอยู่ด้วยกัน แต่ไม่ได้หมายความว่านั่นคือจบ เช่น การข่มขืนกระทำชำเราขณะออกเดท, การข่มขืนกระทำชำเราแบบกลุ่ม, การข่มขืนกระทำชำเราในสมรส, การข่มขืนกระทำชำเราในห้องคุมขัง, การข่มขืนกระทำชำเราโดยคนรู้จัก และการข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสงคราม

แม้ว่าคนพยายามจะทึกทักเอาเอง แต่การข่มขืนกระทำชำเราโดยคนแปลกหน้าเกิดขึ้นน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับรูปแบบอื่นของการข่มขืนกระทำชำเรา อย่างไรก็ตามการข่มขืนกระทำชำเรารูปแบบนี้พบได้บ่อยในข่าวอาชญากรรม

การข่มขืนกระทำชำเราโดยผู้กระทำการ

ผู้กระทำการ ความถี่
คู่เดทสม่ำเสมอ 21.6 %
เพื่อนๆ 16.5 %
แฟนเก่า 12.2 %
คนคุ้นเคย 10.8 %
เพื่อนสนิท 10.1 %
คู่เดทบางครั้งบางคราว 10.1 %
สามี 7.2 %
คนแปลกหน้า 2 %

ผลการวิจัยทางการข่มขืนกระทำชำเราและการแจ้งความระบุว่า การข่มขืนกระทำชำเราส่วนใหญ่มีคำจำกัดความว่าฝ่ายชายกระทำต่อฝ่ายหญิงเท่านั้น งานวิจัยของชายกระทำต่อชายและผู้หญิงต่อผู้ชายกำลังดำเนินการ ใกล้จะเสร็จ อย่างไรก็ตาม ไม่มีการวิจัยใดเลยที่กล่าวว่ามีผู้หญิงข่มขืนกระทำชำเราผู้หญิง แม้ว่าผู้หญิงส่วนมากจะสามารถต้องข้อหาว่าข่มขืนกระทำชำเราได้ก็ตาม

คำว่า tournante เป็นคำคุณศัพท์ภาษาฝรั่งเศส แปลว่า “เปลี่ยน” และใช้เป็นคำสแลงในความหมายของการโทรม สืบเนื่องมาจากประสบการณ์ของเหยื่อที่นับได้ ผู้หญิงต้องถูกขับออกจากวัฒนธรรมเดิม ไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน ประพฤติ แต่งกายอย่างชาวตะวันตก ต้องการที่จะอยู่อย่างคนยุโรป และปฏิเสธที่จะสวมใส่เสื้อผ้าประจำชาติของตนเอง นับว่าเป็น “ความยุติธรรม” แล้ว สำหรับการโทรม

สาเหตุและแรงจูงใจ

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการใช้สิ่งเสพติด มักจะเกี่ยวข้องกับการข่มขืนกระทำชำเรา ใน 47% ของการข่มขืนกระทำชำเราทั้งเหยื่อและผู้กระทำผิดจะดื่มเหล้า มีเพียง 17% ที่ผู้กระทำผิดเท่านั้นดื่ม 7% ของเหยื่อทั้งหมดเท่านั้นที่ดื่ม การข่มขืนกระทำชำเราที่ไม่มีการดื่มเหล้าทั้งผู้กระทำและเหยื่อมีเพียง 29% ของทั้งหมด สาเหตุที่เป็นแรงจูงใจของผู้ข่มขืนกระทำชำเราจะมีแตกต่างกันไป

นักวิจัยส่วนใหญ่พบว่า มูลเหตุของการข่มขืนกระทำชำเราคือ ความปรารถนาที่ก้าวร้าวที่ต้องการจะอยู่เหนือฝ่ายตรงข้าม มากกว่าต้องการที่จะได้รับความสุขทางเพศ “เราสามารถคิดได้ว่าไม่มีคำอ้างอื่นใดที่ดีกว่านี้ในทางสังคมศาสตร์ ได้มีการยอมรับอย่างกว้างขวางในหลักฐานที่มีเหลืออยู่น้อยมากๆ” เขียนโดย Felson และผู้แต่งร่วม Tedaschi ผู้เริ่มมุมมองที่ขัดแย้งกันของการปะทะทางสังคม ที่กล่าวว่า ความปรารถนาทางเพศอาจเป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่งของเท่านั้น พวกเขาระบุว่า การข่มขืนกระทำชำเรานับเป็นการกระทำของความทารุณมากกว่าการเผชิญหน้ากันทางเพศ คันดิฟ (2004) แย้งว่านั่นคือความไม่ปรากฏของทางออกอื่นของความใคร่ของผู้ชาย ตัวอย่างเช่น การขายบริการทางเพศ อาจเป็นสิ่งหนึ่งที่ชักนำสู่การข่มขืนกระทำชำเรา

นักข่มขืนกระทำชำเราส่วนมากไม่มีการเลือกว่าจะข่มขืนกระทำชำเรา ต่อเมื่อมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ประมาณ 90% ของนักข่มขืนกระทำชำเราคนที่เข้าร่วมทดลองกับ Baxter et al ในปี 1986 กล่าวว่า จะถูกกระตุ้นโดยภาพที่ดีงามของการพึ่งพาอาศัยกันและมีความสุขในเรื่องเซ็กส์ มากกว่าการข่มขืนกระทำชำเราที่ต้องใช้ความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ไม่มีความแตกต่างกันมากนักระหว่างรูปแบบของการกระตุ้นอารมณ์ของนักข่มขืนกระทำชำเราและผู้ที่ไม่ใช่

ขัดแย้งกับความเชื่อของคนโดยทั่วไป การข่มขืนกระทำชำเราภายนอกบ้านน่าจะมากที่สุด แท้จริงแล้วเป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้น มากกว่า 2 ใน 3 ของการข่มขืนกระทำชำเราทั้งหมด เกิดที่ “ บ้าน ” ของใคร คนใดคนหนึ่ง, 30.9 % เกิดในบ้านของผู้กระทำการ, 26.6 % เกิดในบ้านของเหยื่อ, 10.1 % เกิดในบ้านที่เช่าร่วมกันของเหยื่อและผู้กระทำความผิด , 7.2 % เกิดในงานปาร์ตี้, 7.2 % เกิดในยานพาหนะ, 3.6 % เกิดนอกบ้าน และ 2.2 % เกิดในบาร์

ผลกระทบ

หลังถูกข่มขืนกระทำชำเราเป็นเรื่องปกติสำหรับเหยื่อที่จะประสบกับความเครียด และบางครั้งก็คาดเดาไม่ได้ ความรู้สึกอ่อนไหวมาก และพวกเขาอาจจะพบว่ายากที่จะจัดการกับความทรงจำของพวกเขาต่อเหตุการณ์ ผู้ถูกกระทำอาจรู้สึกบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการขู่บังคับและอาจพบความยากลำบากในการดำเนินชีวิตปกติ ไม่มีสมาธิ รูปแบบการนอนและการรับประทานเปลี่ยนไป เช่น อาจรู้สึกดีในการอยู่ที่ขอบตึก ในหลายเดือนต่อมาหลังเกิดเหตุการณ์ ปัญหาเหล่านี้จะรุนแรงขึ้น เศร้าสลดมากขึ้น และอาจทำให้ผู้ประสบเหตุการณ์ไม่บอกเล่าเหตุการณ์เหล่านี้กับเพื่อนหรือคนในครอบครัว ไม่ไปแจ้งความกับตำรวจหรือมองหาการให้คำปรึกษา นี่อาจมีผลต่ออาการเครียดอย่างรุนแรงและควบคุมไม่ได้ (Acute Stress Disorder) ซึ่งมีอาการดังนี้

    • รู้สึกชา และถูกตัดขาด เหมือนอยู่ในภวังค์หรือความฝัน หรือรู้สึกว่าโลกนี้เปลี่ยนไปและไม่เป็นความจริง
    • ยากที่จะจำเหตุการณ์ส่วนสำคัญของการขู่บังคับได้
    • ผ่อนบรรเทาความรู้สึกแย่ๆได้โดยการคิดซ้ำแล้วซ้ำอีกในความทรงจำอันนั้น
    • หลีกเลี่ยงสิ่งของ สถานที่ ความคิด ความรู้สึก ที่จะเตือนถึงการขู่บังคับวันนั้น
    • เครียดกังวลเพิ่มสูงขึ้น หรือถูกรุกเร้าได้ง่าย (นอนหลับยาก ควบคุมสมาธิยาก ฯลฯ)
    • หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตในสังคม หรือสถานที่เกิดเหตุ

มันสามารถทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย (Post-Traumatic Stress Disorder หรือ PTSD) อย่างไรก็ดีขณะที่ผลกระทบของฝันร้ายอาจจะแย่มาก และอาจส่งผลกระทบต่อผู้รอดมาได้ในการใช้กำหนดชีวิต มันยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจำว่าการตอบสนองของผู้รอดชีวิตเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลและแตกต่างกันไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละคน

ในปี 1972 แอน วอล์เบิร์ท เบอร์เก็สส์ และลินดา ลีทเทิ่ล โฮลสตอร์ม ได้ทำการศึกษาของผลการตอบสนองต่อการข่มขืนกระทำชำเรา พวกเขาสัมภาษณ์เหยื่อที่ได้ให้คำปรึกษาแล้วจากห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลเมืองบอสตันและพบว่ามีรูปแบบของปฏิกิริยาตอบสนองที่เขาเรียกว่า อาการบาดเจ็บของการข่มขืนกระทำชำเรา พวกเขาอธิบายว่า มี 2 องค์ประกอบที่สำคัญคือระยะล่อแหลม (Acute) และระยะปรับตัวใหม่ (Reorganization)

ระหว่างระยะล่อแหลมผู้รอดชีวิตจะพบกับความช็อกและไม่เชื่อ รู้สึกตัวแข็ง หรืออาจจะพยายามงดติดต่อกับผู้อื่น และมองว่าตัวพวกเขาเอง คือ “พวกคนที่ถูกข่มขืนกระทำชำเรา” เขาจะรู้สึกอับอาย สับสน สกปรก สำนึกผิด กับการขู่เข็ญที่ได้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ข่มขืนกระทำชำเราเป็นคนรู้จัก ความฝันที่เลวร้ายนี้ ทำให้ความวิตกกังวลถึงขีดสุด บ่อยครั้งมีภาพหวนซ้ำๆและความพยายามอย่างแข็งแกร่งที่จะหยุดติดต่อกับอารมณ์ของตัวเอง เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้น และนั่นคือ “การปฏิเสธ” พยายามที่จะทำให้ตนเองเชื่อว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นความจริง ถ้าการข่มขืนกระทำชำเราเป็นไปโดยคนรู้จัก เหยื่ออาจจะพยายามปกป้องผู้กระทำการ

เหยื่ออาจจะตอบสนองการข่มขืนกระทำชำเราในทางที่แสดงออกหรือในทางควบคุม ในทางที่แสดงออกจะปรากฏภายนอกอย่างชัดเจน เช่น ร้องไห้, สั่น, โกรธ, ความเครียด, การประชดประชัน, การหัวเราะอิหลักอิเหลื่อ, ความไม่ผ่อนคลาย ในแบบควบคุม จะปรากฏคือเหยื่อเงียบ ขรึม และพยายามไล่เลียงเหตุการณ์อย่างเป็นระบบ แม้เมื่อเผชิญหน้ากับความสับสนภายในตัวที่รุนแรง ไม่มีการกำหนดว่าต้องเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่เกิดกับเหยื่อ ทุกๆคน จะต้องเผชิญกับอารมณ์ที่โศกสับสนสุดขีด แตกต่างกันไป

หลังระยะล่อแหลม ระยะปรับตัวใหม่จะเกิดขึ้น และผู้รอดชีวิตพยายามที่จะสร้างโลกใบใหม่ที่ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยรู้จัก ระยะนี้จะอยู่ไปเป็นเดือนๆหรือเป็นปีๆหลังการขู่บังคับ และแม้ว่า เขาจะมีความพยายามอย่างมากที่สุดในระยะนี้มันก็จะผ่านไปด้วยความรู้สึกของผิด ละอาย กลัว และเครียดกังวล อารมณ์ต่างๆ อย่างเช่น โกรธ วิตกกังวล การหักล้างกัน และ การสูญเสีย (ความมั่นคง) จะปรากฏขึ้น การพัฒนาการในการไร้ความสามารถที่จะ เชื่อ มักจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดตามมาหลังการข่มขืนกระทำชำเรา ความสูญเสียนี้ ในความต้องการขั้นพื้นฐาน สามารถที่จะทำลายชีวิตของผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราให้พังราบเลยทีเดียว ทำให้พวกเขารู้สึกไร้กำลัง และไม่สามารถควบคุมร่างกายมนุษย์ของตนได้ เขาอาจจะรู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งสามารถทำให้ความเครียดวิตกกังวลสูงขึ้นเช่นเดียวกับความยากลำบากในการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด เหยื่ออาจจะพยายามที่จะกลับไปสู่การตอบสนองที่ธรรมดาตามรูปแบบสังคม (เช่น มีการหมั้นหมาย) แต่ก็จะพบว่า ตัวของเขาเองไม่สามารถทำได้ และความพยายามที่จะ “ปั้น” ตัวเขาขึ้นใหม่ในความสัมพันธ์อาจต้องถูกยกเลิกไปเพราะการขาดความเชื่อมั่น

ผู้รอดชีวิตมักจะแยกตัวอยู่ตามลำพังจากกลุ่มคนที่สนับสนุนเขา อาจเป็นทางร่างกายหรือทางอารมณ์ความรู้สึก ผู้รอดชีวิตอาจจะรู้สึกแปลกแยกจากเพื่อนเนื่องจากมุมมองที่เกี่ยวเนื่องกับประสบการณ์ส่วนตัว การกระจัดกระจายไปของความเชื่อ ทำให้มีผลต่อความสัมพันธ์เชิงลึก เพราะผู้รอดชีวิตมักจะมีความสงสัยที่เพิ่มขึ้นต่อแรงจูงใจและความรู้สึกของผู้อื่น

อีกขอบข่ายหนึ่งของการค้นคว้า อ้างถึง ”การเป็นเหยื่อครั้งที่สอง” นั่นคือการที่ตำรวจและแพทย์ สอบสวนและปฏิบัติกับเขาอย่างทำลายจิตใจ และมีข้อสงสัย

การข่มขู่ทางเพศสามารถมีผลกระทบต่อคนๆ นั้นตลอดไป เปลี่ยนเขาให้เป็นคนที่อยู่ในระยะยุ่งเหยิงตลอดเวลา ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดผลลัพธ์ออกมาอาจเป็นการฆ่าตัวตาย

การโทษผู้เสียหาย

“การฟ้องผิดของตัวเหยื่อเอง” เป็นสิ่งที่ยึดเหยื่อไว้กับอาชญากรรม อาจจะหมายถึงว่าทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกิดขึ้น เหยื่อต้องรับผิดชอบ ในบริบทของการข่มขืนกระทำชำเรา ความคิดนี้อ้างถึงทฤษฎี “โลกที่ยุติธรรม” (Just World Theory) และเป็นความคิดที่นิยมมากว่าพฤติกรรมของเหยื่อคนนั้น (เช่นชอบหว่านเสน่ห์, หรือใส่เสื้อผ้าที่เปิดเผย) อาจทำให้เกิดการข่มขืนกระทำชำเราขึ้น ในกรณีที่มากที่สุด เหยื่ออาจบอกว่า “เรียกร้องมากเหลือเกิน” เพียงแค่ไม่ได้ประพฤติตัวเรียบร้อยเป็นผ้าพับไว้เท่านั้น ในประเทศแถบตะวันตก การป้องกัน ”การเปิดเผย” ไม่ถูกยอมรับว่าจะทำให้การข่มขืนกระทำชำเราผ่อนคลายลง การสำรวจทั่วโลกพบว่าทัศนคติที่มีต่อความรุนแรงทางเพศที่มีในคุยกันรอบโลกเพื่อการวิจัยด้านสุขภาพ (Global Forum for Health Research) แสดงว่าทฤษฎีเรื่องการโทษตัวเองของเหยื่ออย่างน้อยก็ได้รับการยอมรับในประเทศต่างๆ มากมาย ในบางประเทศ การที่เหยื่อโทษตัวเองยิ่งเป็นสิ่งธรรมดากว่า และผู้หญิงที่ถูกข่มขืนกระทำชำเราก็จะถูกลงความเห็นว่าประพฤติตัวไม่เหมาะสม บ่อยครั้งที่หลายประเทศมีการรณรงค์ทางการเมืองและสร้างสื่อโฆษณาเพื่อกำจัดเรื่องราวของการข่มขืนกระทำชำเรา (ทัศนคติและความเชื่อยุยงที่ก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงทางเพศ) การยืนกรานอย่างแข็งขัน แต่หลายๆ ความคิดเห็นก็ยังคงโต้แย้งว่าต้องมีผู้หญิงบางคน ที่ชอบกามวิปริตและการหลอกลวง

การป้องกันรักษา

การตอบสนองทางคำปรึกษาพบว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์ในเยียวยาคือ ลดการฟ้องผิดในตัวเองลง, การให้ความรู้ความเข้าใจในทางจิตวิทยา (เรียนรู้เกี่ยวกับอาการทรมานจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา) และสิ่งที่อธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของการฟ้องผิด การสำหรับการโทษตัวเองคือการสร้างใหม่ด้วยเหตุผล (cognitive restructuring) หรือ การเยียวยาจากพฤติกรรมเชิงเหตุผล ( cognitive-behavioral therapy) การสร้างใหม่ด้วยเหตุผลคือกระบวนการของการนำเอาความจริงมาสร้างข้อสรุปที่สมเหตุสมผลจากพวกเขา ซึ่งข้อสรุปนั้นที่ได้รับอิทธิพลน้อยที่สุดจากความละอายและความรู้สึกผิดของตัวเขาเอง

มุมมองทางสังคมชีววิทยา

บางคนโต้แย้งว่าการข่มขืนกระทำชำเรา คือยุทธวิธีของการสืบเผ่าพันธุ์ ที่ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์หลายอย่างในอาณาจักรสัตว์ (เช่น เป็ด, ห่าน, และปลาโลมาบางชนิด) มันเป็นการยากที่จะกำหนดลงไปว่าอะไรทำให้เกิดการข่มขืนกระทำชำเราขึ้นมาระหว่างสัตว์ อย่างเช่น การขาดการแสดงออกถึงความยินยอม อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นท่ามกลางมนุษย์ สามารถดูได้อีกจาก Non-human animal sexuality.

นักสังคมชีววิทยาบางคนโต้แย้งว่าความสามารถของเราที่จะเข้าใจการข่มขืนกระทำชำเรา (และในการป้องกันมัน) เป็นเรื่องที่ครึ่งๆกลางๆอย่างรุนแรง เพราะจุดเริ่มต้นของมันในวิวัฒนาการมนุษย์ถูกเพิกเฉยเสีย บางการศึกษาชี้ให้เห็นว่าในทฤษฏีวิวัฒนาการนั้น สำหรับเพศชายที่ขาดความสามารถในการชักจูงผู้หญิงให้ร่วมหลับนอนด้วยโดยไม่ใช้ความรุนแรงได้ส่งผ่านต่อมาทางยีนส์พันธุกรรม

นักวิจารณ์สังคมชาวอเมริกันชื่อ คามิลล์ ปาเจลีย และนักสังคมชีววิทยาบางคน ได้โต้เถียงว่าพลังการโทษตัวเองของเหยื่อ อาจจะไม่มีส่วนประกอบทางจิตวิทยาเลยในบางกรณี ตัวอย่างของแบบแผนทางสังคมชีววิทยาชี้ให้เห็นว่าพวกเขาอาจจะได้รับถ่ายทอดทางยีนส์ สำหรับผู้ชายหรือผู้หญิงที่ยอมตัวให้อ่อนแอลงจนทำให้มีการข่มขืนกระทำชำเราได้ และนี่อาจเป็นหน้าตาของชีววิทยาว่าด้วยเรื่องสมาชิกในสายพันธุ์

สถิติ

สหประชาชาติได้รับความยินยอมจากรัฐบาลจากหลักฐานที่แสดงว่า มากกว่า 250,000 คดีข่มขืนกระทำชำเรา หรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราทุกปี ได้ถูกบันทึกไว้โดยตำรวจ ข้อมูลนี้ครอบคลุมถึง 65 ประเทศ

สืบเนื่องมาจากเอกสารทางความยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรมในสหรัฐอเมริกา “การทำให้เป็นเหยื่ออาชญากรรมในสหรัฐอเมริกา” , มีเหยื่อ 191,670 คนจากการข่มขืนกระทำชำเราและการขู่บังคับในปี 2005 เพียง 16% เท่านั้นของทั้งสองอย่างนี้ ที่ถูกรายงานถึงตำรวจ (การข่มขืนกระทำชำเราในอเมริกา: รายงานต่อประชาชาติ. 1992 Rape in America: A Report to the Nation. 1992) 1 ใน 6 ของผู้หญิงอเมริกันมีประสบการณ์ของการถูกพยายามข่มขืนกระทำชำเราหรือถูกทำจนสำเร็จ บางประเภทของการข่มขืนกระทำชำเราถูกแยกออกไปจากการรายงานอย่างเป็นทางการ (คำจำกัดความของ FBI ตัวอย่างเช่น ไม่รวมการข่มขืนกระทำชำเราทุกประเภท ยกเว้นการข่มขืนกระทำชำเราแบบใช้กำลังบังคับเพศหญิงเท่านั้น) เพราะจำนวนตัวเลขหลักๆ ของการข่มขืนกระทำชำเราไม่ได้ถูกรายงาน ถึงแม้เขาจะรวบรวมในสิ่งที่รายงานได้ไปแล้ว และเพราะจำนวนตัวเลขต่างๆเหล่านั้นที่รายงานเข้ามาถึงตำรวจ ไม่ดำเนินการต่อในการฟ้องร้องด้วย

การข่มขืนกระทำชำเราโดยผู้หญิงเป็นปรากฏการณ์ที่ยากจะเข้าใจ นั่นคือเป็นที่โจษขานว่าไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และถ้ามี ก็จะเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความตกใจ, ช็อค, หรือความสับสนอย่างมาก ในสหรัฐอเมริกาสืบเนื่องจาก การวิจัยเหยื่ออาชญากรรมแห่งชาติ การปรับเปลี่ยนอัตราการการเป็นเหยื่อหรือการข่มขืนกระทำชำเรา ต่อประชากร 1 ได้ลดลงจากประมาณ 2.4 % ต่อประชาชน 1,000 คน (อายุ 12 ขึ้นไป) ในปี 1980 ประมาณ 0.4 ต่อ 1,000 คน ซึ่งลดลงถึง 85% แต่การสำรวจของรัฐบาลอื่นๆ เช่น การตกเป็นเหยื่อทางเพศของวิทยาลัยสตรีศึกษา วิจารณ์การวิจัยเหยื่ออาชญากรรมแห่งชาติ บนพื้นฐานที่ว่ามันรวบรวมแค่การกระทำที่จามความเข้าใจของเหยื่อว่าเป็นอาชญากรรมเท่านั้น และรายงานอัตราการตกเป็นเหยื่อที่สูงขึ้น

ขณะที่นักวิจัยและทนายความไม่เห็นด้วยกับเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอนของการกล่าวหา พวกเขาเห็นด้วยว่า น่าจะประมาณ 2 – 8 % ความเชื่อที่ว่ามีการกล่าวหาที่ผิดเป็นปัญหาธรรมดา เป็นเรื่องไม่เข้าท่า ด้วยเรื่องความเชื่อนี้ได้บั่นทอนกำลังใจของผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราไม่ให้ฟ้องร้อง เพราะกลัวว่าตัวเองจะต้องตกเป็นผู้ต้องหาเสียเอง สืบเนื่องจากรายงานของกระทรวงป้องกันผู้ต้องสงสัยทั่วไป ที่ออกมาในปี 2005 ประมาณว่า 73% ของผู้หญิงและ 72% ของผู้ชายในการศึกษาด้านทหาร เชื่อว่าการกล่าวหาที่ผิดจากการข่มขู่ทางเพศเป็นเป็นปัญหาใหญ่

จากปี 2000 -2005 , 95% ของการข่มขืนกระทำชำเราไม่ดู้กรายงานภายใต้ระบบกฎหมาย ปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจผิดอันนี้คือ การข่มขืนกระทำชำเราส่วนหใญ่กระทำโดยคนที่ไม่รู้จัก ในความเป็นจริง จากแผนกสถิติเพื่อความยุติธรรม กล่าวว่า 38% ของเหยื่อ ถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยเพื่อนหรือคนรู้จัก ,28% ถูกข่มขืนกระทำชำเราโดย “ เพื่อนสนิท” , 7% โดยคนที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อื่นๆ, และ 26% ถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยคนแปลกหน้า เกือบ 4 ใน 10 ของการขู่บังคับทางเพศ เกิดที่บ้านของเหยื่อเอง

มากกว่า 67,000 คดี ที่เกิดขึ้นกับเด็ก ถูกรายงานในปี 2000, ในอาฟริกาใต้ กลุ่มสวัสดิการเด็ก เชื่อว่าจำนวนตัวเลขที่ไม่ได้ถูกรายงานเข้ามาน่าจะมากกว่าจำนวนตัวเลขที่มี 10 เท่า ความเชื่อที่เป็นสากลของอาฟริกาใต้คือ การมีเพศสัมพันธ์กับสาวพรหมจารีย์จะช่วยรักษาผู้ชายจาก HIV หรือโรคเอดส์ได้ อาฟริกาใต้มีจำนวนประชากรติดเชื้อ HIV สูงที่สุดในโลก สืบเนื่องจากตัวเลขของทางการ 1 ใน 8 ของชาวอาฟริกามีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว Edith Kriel, นักสังคมสงเคราะห์ ที่ช่วยผู้ถูกกระทำเด็ก ในแหลมตะวันออก กล่าวว่า “ การกระทำทารุณกรรมเด็กทางเพศมักจะทำโดยญาติของเด็กเอง อาจเป็นพ่อหรือคนที่หาเลี้ยงครอบครัว”

สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัย Durban-Westville แผนกมานุษยวิทยาและนักวิจัย ชื่อ SuZanne Leclerc-Madlana, "ตำนานการมีเพศสัมพันธ์กับพรหมจารีย์ เพื่อรักษาเอดส์ไม่ได้มีแค่ในอาฟริกาใต้เท่านั้น" กลุ่มนักติดตามผู้วิจัยเรื่องเอดส์ในแซมเบีย, ซิมบับเว และไนจีเรีย กล่าวว่า ความเชื่อนี้มีอยู่ในประเทศเหล่านี้ มันจึงถูกโทษว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้อัตราการใช้เด็กในทางที่ผิดทางเพศสูง โดยเฉพาะต่อเด็กเล็กๆ

ประวัติศาสตร์

 
ภาพวาดของ Konstantin Makovsky ในชื่อภาพ The Bulgarian martyresses ในปี ค.ศ. 1877 แสดงถึงภาพการข่มขืนกระทำชำเรา

คำว่า “ข่มขืนกระทำชำเรา” มีต้นกำเนิดมาจากคำกริยาภาษาลาตินว่า Rapare หมายถึง ฉวยไว้ หรือ เอามาโดยกำลัง คำนี้ในต้นกำเนิดไม่ได้มีความหมายทางเพศเลย และก็ยังคงใช้อย่างนี้เรื่อยมาในภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ของการข่มขืนกระทำชำเราและการเปลี่ยนไปในความหมาย ค่อนข้างซับซ้อน ในกฎหมายโรมัน การข่มขืนกระทำชำเราถูกจัดอยู่ในอาชญากรรมของการก้าวล่วง ไม่เหมือนกับขโมยหรือโจรปล้น การข่มขืนกระทำชำเราถูกใช้ในความหมายที่ว่า “การกระทำผิดต่อสาธารณะ” ซึ่งขัดแย้งกับ “การกระทำผิดต่อบุคคล” ซีซาร์ ออกัสตัส ออกกฎหมายปฏิรูปการข่มขืนกระทำชำเรา ภายใต้กฎหมาย Lex lulia de vi publica ซึ่งมีนามสกุลของพระองค์ คือ “lulia” ที่อยู่ใต้กฎหมาย ประพฤติล่วงประเวณี Lex lulia de adulteriis ที่โรมฟ้องร้องต่ออาชญากรรมประเภทนี้ จักรพรรดิจัสติเนียนยังคงใช้กฎหมายนี้สำหรับเอาผิดผู้กระทำการข่มขืนกระทำชำเราตลอดศตวรรษที่ 6 ในอาณาจักรโรมันตะวันออก ในยุคโบราณตอนปลาย คำว่า Raptus หมายถึง การลักพาเรียกค่าไถ่, การหนีตามกันไป, การปล้น หรือการข่มขืนกระทำชำเรา ในความหมายปัจจุบัน ความสับสนระหว่างคำนี้ ได้เกิดขึ้น เมื่อผู้เขียนจดหมายเหตุของคริสตจักรในสมัยแรก ใช้แยกแยะระหว่าง การหนีตามกันไปเอง โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก บิดามารดา และ การก้าวล่วง ทั้งสองอย่างนี้ มีบทลงโทษทางการเมือง โดยอาจจะถูกขับออกจากกลุ่มของครอบครัวหรือหมู่บ้านของผู้หญิงที่ได้ถูกลักพาตัวไป ถึงแม้ว่ากฎหมายฉบับนี้จะทำให้เกิดการลงโทษ การทำให้เสียโฉม หรือความตายแล้วก็ตาม

ผ่านส่วนต่างๆ ของประวัติศาสตร์ อาชญากรรมการข่มขืนกระทำชำเรา ถูกมองน้อยกว่าว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการบังคับความต้องการของเพศหญิง แต่เป็นอาชญากรรมที่รุนแรงต่อทรัพย์สินของบุรุษ ผู้ที่เป็นเจ้าของเธอ ในอดีต เรื่องนี้ค่อนข้างจะจริงในกรณีของพรหมจารีที่มีคู่หมั้นไว้แล้ว ถ้าหากเสียความบริสุทธิ์ จะถูกมองว่าเสียคุณค่าอย่างรุนแรง ต่อสามีของเธอ ในกฎหมาย กรณีนี้ จะถือว่าการหมั้นโมฆะ และต้องมีการจ่ายค่าเสียหาย จากชายที่เป็นฝ่ายข่มขืนกระทำชำเรา แก่ครอบครัวของฝ่ายหญิง ภายใต้กฎหมายของพระคัมภีร์ไบเบิ้ลในสมัยแรก ผู้ข่มขืนกระทำชำเรา จะต้องแต่งงานกับผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน โดยไม่ต้องรับโทษ หากว่าพ่อของเธอยินยอม ในเรื่องของความรุนแรงต่อความต้องการของเพศหญิงนี้ แบ่งได้เป็นสองแบบ แบบแรก คือ ในความหมายของการข่มขืนกระทำชำเรา และอีกอันคือ การที่ผู้ชายผู้หญิงบังคับครอบครัวเขาให้พวกเขาได้แต่งงานกัน

ในยุคโบราณของกรีกและโรมันจนถึงยุคล่าอาณานิคม ข่มขืนกระทำชำเราเทียบคู่ไปได้กับ การลอบวางเพลิง, การขายชาติ และการฆาตกรรม เลยทีเดียว จะได้รับการลงโทษประหารชีวิต "คนที่ทำการข่มขืนกระทำชำเราจะต้องได้รับโทษประหารที่มีมากมายหลายแบบ ซึ่งก็ดูเหมือนว่าจะโหดร้าย เลือดสาด และ ณ เวลานั้น ก็น่าตื่นเต้น” ในศตวรรษที่ 12 ญาติของผู้เสียหาย จะถูกให้ทางเลือกที่จะประหารผู้กระทำผิดด้วยตัวพวกเขาเอง ในอังกฤษ ในศตวรรษที่ 14 ตอนต้น เหยื่อของการข่มขืนกระทำชำเรา จะถูกคาดหวังให้ควักลูกตาหรือตีลูกอัณฑะของผู้กระทำผิดให้แตกด้วยตัวของเธอเอง

กฎหมายของอังกฤษระบุว่าการข่มขืนกระทำชำเราถือเป็นตัณหารุนแรง ขัดขืนต่อเพศหญิงและความต้องการของเธอ กฎหมายสามัญระบุว่า ตัณหานี้คือการสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศหญิง (และรวมถึงการกระทำอื่นๆภายนอก) อาชญากรรมการข่มขืนกระทำชำเรามีความแตกต่างในขอบข่ายที่ว่ามันมุ่งเน้นไปที่สภาพของจิตใจที่ไม่ได้มีการยินยอม และการกระทำที่ไม่มีการยินยอม นอกจากการกระทำของผู้ประพฤติผิด เหยื่อต้องแสดงหลักฐานการไม่มีการสมยอม ซึ่งถ้าหากยอม จะหมายถึงการที่แค่สามีได้หลับนอนกับภรรยาเท่านั้น ข้อความที่ได้ยินบ่อยๆในการตัดสิน กล่าวโดยผู้พิพากษาศาลสูงของท่านเซอร์ มัทธิว เฮลล์ ในศตวรรษที่ 17 ว่า “การข่มขืนกระทำชำเรา... เป็นคำที่กล่าวได้ง่ายและยากที่จะพิสูจน์ และยากที่จะป้องกันได้โดยฝั่งที่ถูกกล่าวหา รวมทั้งฝั่งที่เป็นผู้แจ้งความ” ผู้พิพากษาเฮลล์ยังเป็นคนให้คำพูดที่ว่า “ในการข่มขืนกระทำชำเรา ผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราต้องขึ้นศาล ไม่ใช่ผู้ข่มขืนกระทำชำเรา” ความโน้มเอียงนี้ “ลงโทษคนถูกข่มขืนกระทำชำเรา” ยังมีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีการปฏิรูประบบการตัดสินใหม่ที่จะกำจัดความเข้าใจที่ผิดนี้ไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ กฎหมายที่ไม่มีเพศ ได้ต่อสู้กับมุมมองเก่าๆที่ว่าการข่มขืนกระทำชำเราไม่เคยมีขึ้นกับเพศชาย ขณะที่ กฎหมายตัวอื่นอาจลืมบริบทนี้ไปด้วยซ้ำ

การพัฒนาทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเราเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 นี้ รวมถึงการตัดสินใจที่โดดเด่นโดยศาลสากลของรวันดา ที่อธิบายการข่มขืนกระทำชำเราว่าเป็นอาวุธระหว่างสถาบันของสงครามล้างเผ่าพันธุ์ที่ทำอย่างจงใจและเป็นระบบ

ระบบการให้ความยุติธรรมเกี่ยวกับอาชญากรรมยุคใหม่ เป็นที่รู้กันว่าไม่มีความยุติธรรมต่อบุคคลผู้ตกเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงทางเพศ (Macdonalds, 2001) กฎหมายที่เป็นแบบฉบับของความไม่เท่าเทียมกันและ กฎหมายพื้นฐานรวมกัน ทำให้การข่มขืนกระทำชำเรา เป็น “กระบวนการอาชญากรรมที่เหยื่อและพฤติกรรมของเธอต้องขึ้นเขียง ไม่ใช่ตัวผู้กระทำผิด” (Howard & Francis, 2000) ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในมุมมองของการขู่บังคับทางเพศ เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพลังหญิงอย่างกว้างขวาง และการให้คำจำกัดความ ว่าเป็นอาชญากรรมของอำนาจและการควบคุมมากกว่าความต้องการเรื่องเซ็กส์ล้วนๆ อย่างไรก็ตามผู้ถูกกระทำต้องขึ้นศาลในการข่มขืนกระทำชำเราหลายๆคดี การเคลื่อนไหวทางสิทธิเสรีภาพของผู้หญิงในปี 1970 ทำให้มีศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุข่มขืนกระทำชำเราแห่งแรก การเคลื่อนไหวนี้ถูกดูแลโดย สถาบันระดับชาติเพื่อผู้หญิง National Organization for Women หรือ NOW ศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยข่มขืนกระทำชำเราที่แรกๆอีกที่หนึ่ง ได้แก่ D.C. Rape Crisis Center เปิดในปี 1972 ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างความรู้สึกรและความเข้าใจร่วมกันของการข่มขืนกระทำชำเรา และผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำ ในปี 1960 มีการเอ่ยถึงอัตราการแจ้งความผิดพลาด 20% ก่อนปี 1973 สถิติได้ลดลงมาอยู่ที่ 15% หลังปี 1973 สำนักงานตำรวจนิวยอร์ก ใช้เจ้าหน้าที่ผู้หญิงสืบสวนผู้ถูกกระทำทางเพศและอัตราลดลงถึง 2% จากข้อมูลของ FBI (Decanis, 1993) การรายงานที่ผิดยากที่จะแปลความได้ การแปรเปลี่ยนไปตามสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งทำให้เกิด “ความผิดพลาด” ไม่ว่าจะหมายถึงอย่างไร ตำรวจหรือ DA มีจะพยายามหาหลักฐานมามากเพียงพอที่จะจับตัวมาขึ้นศาล แม้ว่าคดีจะตกไป หรือแม้ศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด หรือแม้ว่าผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราถอนฟ้องเอง ความเป็นไปได้ทั้งหมดนี้ ไม่ได้หมายความว่าการแจ้งความเป็นเท็จ เพราะผู้คนมักจะกล่าวว่าเป็นความผิดของเหยื่อผู้มาแจ้ง

ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งของประวัติศาสตร์การข่มขืนกระทำชำเราคือการก่อตั้งมูลนิธิ RAINN ในปี 1994 โดย Tori Amos (ดารานักร้องชื่อดัง) และ Scott Berkowitz RAINN เป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ของการเคลื่อนไหวการช่วยผู้ประสบภัยข่มขืนกระทำชำเรา และทำให้มีสายด่วนให้ความช่วยเหลือ เก็บสถิติ และให้ข้อมูลผ่านโทรทัศน์เป็นที่แรกๆ การข่มขืนกระทำชำเราแบบชายกับชาย ถูกปิดบังเป็นความลับเป็นเวลานานตามประวัติศาสตร์ ถือเป็นเรื่องน่าอายเพราะต้องถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยผู้ชายอีกคนหนึ่ง นักจิตวิทยาชื่อ Dr. Sarah Crome ได้มีรายงานว่า การข่มขืนกระทำชำเราของผู้ชายน้อยกว่า 1 ใน 10 ถูกแจ้งความเข้ามา และโดยคนหมู่มาก กล่าวว่า เหยื่อของการถูกข่มขืนกระทำชำเราเพศชายไม่มีการช่วยเหลือและสนับสนุนมากเพียงพอ รวมถึงกฎหมายที่ไม่สามารถจัดการดูแลเรื่องนี้ได้อย่างเต็มที่

วัฒนธรรมทั่วโลกส่วนใหญ่ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ที่ผู้หญิงจะข่มขืนกระทำชำเราผู้ชายหรือผู้หญิงด้วยกันเองได้ บทลงโทษทางกฎหมายส่วนใหญ่ จึงไม่ได้ระบุลงไป ว่านี่คือการก่ออาชญากรรมร้ายด้วย การข่มขืนกระทำชำเราจะถูกจำกัดความด้วยทั่วไปว่า เป็นการสอดใส่เข้าไป กระทำโดยผู้ข่มขืนกระทำชำเรา ในปี 2007 ในอาฟริกาใต้ กลุ่มของผู้หญิงสาวถูกแจ้งความว่าข่มขืนกระทำชำเราผู้ชายคนหนึ่ง อย่างไรก็ตามความมีอยู่ของเรื่องเหล่านี้ ยังถูกปกคลุมอยู่ด้วยเหตุการณ์ที่โดดเด่นกว่า ของเรื่องการข่มขืนกระทำชำเราปกติ และมักจะถูกอ้างถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกลุ่มเพศหญิงและความสนใจเกี่ยวกับเพศหญิง และเหตุการณ์ทางเพศ ในฐานะของความสนใจเพื่อเพิ่มความเข้าใจ จนกระทั่งบัดนี้ เรารู้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้มีความหมายแค่ที่เราได้เคยได้ยินทั่วไปเท่านั้น ต่อจากนี้เราจะได้รู้ว่า การข่มขืนกระทำชำเรา มันมีความหมายมากกว่านั้น

การข่มขืนกระทำชำเรายามสงคราม

การข่มขืนกระทำชำเรา ในฐานะมูลเหตุของสงคราม ย้อนกลับไปในสมัยโบราณ ไกลเท่าที่กับมีพูดถึงในคัมภีร์ไบเบิ้ล ทหารชาวอิสราเอล กรีก เปอร์เซีย และโรมัน มักจะข่มขืนกระทำชำเราผู้หญิงและเด็กชาย ในพื้นที่ที่เขาได้ครอบครอง ในยุคปัจจุบัน การข่มขืนกระทำชำเราถูกนับว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม เมื่อถูกทำโดยทหาร หรือกองกำลังมากถึง 80,000 คน ผู้หญิงที่ถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยทหารญี่ปุ่นใน 6 สัปดาห์ของการฆ่าหมู่ในนานกิง คำพูดที่ว่า “ผู้หญิงที่ช่วยให้สบาย” เป็นคำนุ่มนวลที่ใช้ในการบังคับผู้หญิงประมาณ 200,000 คนให้เป็นโสเภณีในซ่องทหารญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ทหารกองทัพแดง ข่มขืนกระทำชำเราผู้หญิงประมาณ 2,000,000 คนของเยอรมันรวมถึง เด็ก ทหารโมร็อกโค – ฝรั่งเศส รู้จักในนามของ กูเมียร์ (Goumiers) ได้ข่มขืนกระทำชำเราและทำอาชญากรรมสงครามอื่นๆหลังการสู้รบที่ Monte Cassino.

มีคำกล่าวว่ามีผู้หญิงประมาณ 200,000 คน ถูกข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพของบังคลาเทศโดยทหารชาวปากีสถาน แม้จะเป็นที่ถกเถียงกันมากก็ตาม Sarmila Bose และผู้หญิงอิสลามของ Bosnia ถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยกองกำลังชาวเซิร์บ ระหว่างสงครามบอสเนีย การแพร่ข่าวลือเรื่องสงครามมักจะทำให้เกิดการปฏิบัติต่อประชากรในท้องที่หนึ่งๆ ไม่ดี โดยกองกำลังของศัตรู เพราะเหตุนี้มันจึงยากในทางปฏิบัติและในทางนโยบายทางการเมืองที่จะมองอย่างคมชัด ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกันแน่

อ้างอิง

  1. "Rape". Merriam-Webster. April 15, 2011. Italic or bold markup not allowed in: |publisher= (help)
  2. "Sexual violence chapter 6" (PDF). World Health Organization. April 15, 2011. Italic or bold markup not allowed in: |publisher= (help)
  3. "Rape". dictionary.reference.com. April 15, 2011.
  4. "Rape". legal-dictionary.thefreedictionary.com. April 15, 2011.
  5. Hedge, edited by Jenny Petrak, Barbara (2003). The Trauma of Sexual Assault Treatment, Prevention and Practice. Chichester: John Wiley & Sons. p. 2. ISBN 9780470851388.CS1 maint: extra text: authors list (link)
  6. "Rape at the National Level, number of police recorded offenses". United Nations.
  7. American Medical Association (1995) Sexual Assault in America. AMA.
  8. "A gap or a chasm? Attrition in reported rape cases" (PDF). คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2011-03-14. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31.
  9. "Sex Offenses and Offenders" (PDF). United States Department of Justice/bjs.ojp.usdoj.gov. pp. 5 and 8. สืบค้นเมื่อ November 8, 2013.
  10. Abbey, A., BeShears, R., Clinton-Sherrod, A. M., & McAuslan, P. (2004). Psychology of Women Quarterly, 28, 323-332."Similarities and differences in women's sexual assault experiences based on tactics used by the perpetrator". 10.12.2007.
  11. "Statistics | Rape, Abuse & Incest National Network". Rape, Abuse & Incest National Network/rainn.org. สืบค้นเมื่อ 2008-01-01.
  12. Alberto R. Gonzales et al. Extent, Nature, and Consequences of Rape Victimization: Findings From the National Violence Against Women Survey. U.S. Department of Justice Office of Justice Programs. January 2006
  13. "Sexual Assault in Australia: A Statistical Overview, 2004". Abs.gov.au. 2006-12-08. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31.
  14. "Rape and sexual assault of women: findings from the British Crime Survey" (PDF). คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2011-02-18. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31.
  15. Human Rights WatchNo Escape: Male Rape In U.S. Prisons. Part VII. Anomaly or Epidemic: The Incidence of Prisoner-on-Prisoner Rape.; estimates that 100,000–140,000 violent male-male rapes occur in U.S. prisons annually; compare with FBI statistics that estimate 90,000 violent male-female rapes occur annually.
  16. Robert W. Dumond, "Ignominious Victims: Effective Treatment of Male Sexual Assault in Prison," August 15, 1995, p. 2; states that "evidence suggests that [male-male sexual assault in prison] may a staggering problem"). Quoted in Mariner, Joanne; (Organization), Human Rights Watch (2001-04-17). No escape: male rape in U.S. prisons. Human Rights Watch. p. 370. ISBN 978-1-56432-258-6. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010.
  17. Struckman-Johnson, Cindy (2006). "A Comparison of Sexual Coercion Experiences Reported by Men and Women in Prison". Journal of Interpersonal Violence. 21 (12): 1591–1615. doi:10.1177/0886260506294240. ISSN 0886-2605. PMID 17065656. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help); reports that "Greater percentages of men (70%) than women (29%) reported that their incident resulted in oral, vaginal, or anal sex. More men (54%) than women (28%) reported an incident that was classified as rape."
  18. "Post Traumatic Stress Disorder in Rape Survivors". The American Academy of Experts in Traumatic Stress. 1995. สืบค้นเมื่อ 2013-04-30.
  19. "Rape victim threatened to withdraw case in UP". Zeenews.india.com. 2011-03-19. สืบค้นเมื่อ 2013-02-03.
  20. . WISE Muslim Women. 2002-01-31. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-11-08. สืบค้นเมื่อ 2013-02-03.
  21. Harter, Pascale (2011-06-14). "BBC News - Libya rape victims 'face honour killings'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2013-02-03.

บรรณานุกรม

  • 1 Smith, M. D. (2004). Encyclopedia of Rape. USA: Greenwood Press.
  • 2 Macdonals, John (1993). World Book Encyclopedia. United States of America: World Book Inc.
  • 3 Kahn, Ada. (1992). The A-Z of women's sexuality : a concise encyclopedia. Alameda, Calif.: Hunter House.
  • 4 The Columbia encyclopedia. Sixth edition,.
  • 5 Leonard, Arthur S. (1993). Sexuality and the law : an encyclopedia of major legal cases. New York : Garland Pub
  • 6 Kazdin, Alan E. (2000). Encyclopedia of psychology. Washington, D.C. : American Psychological Association ; Oxford ; New York : Oxford University Press
  • 7 Sedney, Mary Anne, "rape (crime)." Grolier Multimedia Encyclopedia. Scholastic Library Publishing, 2006[1]
  • 8 Kittleson, M., Harper, J., & Hilgenkamp, K. (2005). The Truth About Rape. USA: Facts on File
  • 9 Medical Foundation for the Care of Victims of Torture (2004) Rape as a Method of Torture Edited by Dr Michael Peel

การเป็นเหยื่อครั้งที่สองและการกล่าวโทษตัวเอง

  • 1 Lamb, Sharon, The Trouble with Blame: Victims, Perpetrators and Responsibility, Harvard Univ Press, 1999.
  • 2 Madigan, L. and Gamble, N. (1991). The Second Rape: Society's Continued Betrayal of the Victim. New York: Lexington Books.
  • 3 Murray JD, Spadafore JA, McIntosh WD. (2005) Belief in a just world and social perception: evidence for automatic activation. J Soc Psychol. Feb;145 (1) :35-47.
  • 4 Frese, B., Moya, M., & Megius, J. L. (2004). Social Perception of Rape: How Rape Myth Acceptance Modulates the Influence of Situational Factors. Journal-of-Interpersonal-Violence, 19 (2) , 143-161.
  • 5 Pauwels, B. (2002). Blaming the victim of rape: The culpable control model perspective. Dissertation-Abstracts-International:-Section-B:-The-Sciences-and-Engineering, 63 (5-B)
  • 6 Blumberg, M. & Lester, D. (1991). High school and college students' attitudes toward rape. Adolescence, 26 (103) , 727-729.
  • 7 Shaver (2002). Attribution of rape blame as a function of victim gender and sexuality, and perceived similarity to the victim. Journal of Homosexuality, 43 (2)
  • 8 Anderson, K. J. & Accomando, C. (1999). Madcap Misogyny and Romanticized Victim-Blaming: Discourses of Stalking in There's Something About Mary. Women & Language, 1, 24-28.
  • 9 The effect of participant sex, victim dress, and traditional attitudes on causal judgments for marital rape victims. (Author Abstract). Mark A. Whatley. Journal of Family Violence 20.3 (June 2005) : p191 (10).
  • 10 Kay, Aaron C., Jost, John T. & Young, Sean (2005) Victim Derogation and Victim Enhancement as Alternate Routes to System Justification. Psychological Science 16 (3) , 240-246.

ประวัติศาสตร์ของการข่มขืนกระทำชำเรา

  • 1 Dejanikus, T. (1981). Rape Crisis Centers: Ten Years After. Off Our Backs, Washington: 14 (8) p. 17.
  • 2 DiCanio, M. (1993). The encyclopedia of violence : origins, attitudes, consequences. New York : Facts on File
  • 3 Howard, A. & Kavenik Francis (2000). Handbook of American Women's History. CA: Sage Publications Inc.
  • 4 Macdonalds, John (2001). World Book Encyclopedia. United States of America: World Book Inc.
  • 5 Pride, A. (1981) To respectability and back: A ten year view of the anti-rape movement. Fight Back! (pp. 114-118).
  • 6 Largen, M. (1981). "Grassroots Centers and National Task Forces: A History of the Anti-Rape Movement," Aegis: A Magazine on Ending Violence Against Women, Autumn.
  • 7 Geis, G. (2007). Rape. Encyclopedia Americana. Retrieved May 3, 2007, from Grolier Online http://ea.grolier.com/cgi-bin/article?assetid=0328610-00

การโทษตัวเอง

  • 1 Tangney, June Price and Dearing, Ronda L., Shame and Guilt, The Guilford Press, 2002
  • 2 Matsushita-Arao, Yoshiko. (1997). Self-blame and depression among forcible rape survivors. Dissertation Abstracts International: Section B: The Sciences and Engineering. 57 (9-B). pp. 5925.
  • 3 Branscombe, Nyla R.; Wohl, Michael J. A.; Owen, Susan; Allison, Julie A.; N'gbala, Ahogni. (2003). Counterfactual Thinking, Blame Assignment, and Well-Being in Rape Victims. Basic & Applied Social Psychology, 25 (4). p265, 9p.
  • 4 Frazier, Patricia A.; Mortensen, Heather; Steward, Jason. (2005). Coping Strategies as Mediators of the Relations Among Perceived Control and Distress in Sexual Assault Survivors. Journal of Counseling Psychology, Jul2005, Vol. 52 Issue 3, p267-278

สาเหตุของการเป็นเหยื่อหลายครั้ง

  • 1 Follette et al., (1996). Cumulative trauma: the impact of child sexual abuse, adult sexual assault, and spouse abuse. J Trauma Stress.9 (1) :25-35.
  • 2 Sarkar, N. N.; Sarkar, Rina, (2005). Sexual Assault on a Woman: Its Impact on Her Life and Living in Society. Sexual & Relationship Therapy. 20 (4) , 407-419
  • 3 Parillo, K., Robert C. Freeman, & Paul Young. (2003) Association Between Child Sexual Abuse and Sexual Revictimization in Adulthood Among Women Sex Partners of Injection Drug Users. Violence and Victims. 18 (4) : 473-484.
  • 4 Shields, N. & Hanneke, C. (1988). Multiple Sexual Victimization: The Case of Incest and Marital Rape. In G. Hotaling, D. Finkelhor, J. Kirkpatrick, & M. Strauss (Eds) , Family abuse and its consequences: New directions in research. (pp. 255-269). Newbury Park, CA: Sage.
  • 5 Sorenson SB, Siegel JM, Golding JM, Stein JA. (1991). Repeated sexual victimization. Violence Vict., 6 (4) : 299-308.

เหยื่อเพศชาย

  • 1 Dorais, Michel, Don't Tell: The Sexual Abuse of Boys, McGill-Queen Univ Press, 2002.
  • 2 Mezey, Gillian, and King, Michael, Male Victims of Sexual Assault, Oxford, 2000.
  • 3 Morgan, Luke "Hollyoaks : Luke's Secret Diary" by kaddy benyon (2002)

ทฤษฎี

  • 1 Anderson, Peter and Struckman-Johnson Cindy, Sexually Aggressive Women: Current Perspectives and Controversies, Guilford, 1998.
  • 2 Harris, Grant, et al, The Causes of Rape: Understanding Individual Differences in Male Propensity for Sexual Aggression, American Psychological Association, 2005.
  • 3 "Psychosexual Disorders." Section 15, Chapter 192 in The Merck Manual of Diagnosis and Therapy , edited by Mark H. Beers, MD, and Robert Berkow, MD. Whitehouse Station, NJ: Merck Research Laboratories, 2002.
  • 4 Brownmiller, Susan: Against Our Will : Men, Women, and Rape, Ballantine Books, 1975.
  • 5 Gavey, Nicola, Just Sex: The Cultural Scaffolding of Rape, Routledge, 2005.
  • 6 Scruton, Roger, Sexual Desire: A Moral Philoshopy of the Erotic, Free, 1986.
  • 7 Ellis, Lee, Theories of Rape: Inquiries Into the Causes of Rape, Hemisphere, 1989.
  • 8 McDonald, John, Rape: Controversial Issues: Criminal Profiles, Date Rape, False Reports, and False Memories, Charles C Thomas, 1995.
  • 9 Cothran, Helen, Sexual Violence: Opposing Viewpoints, Thompson Gale, 2003.
  • 10 Holmes, Ronald and Steven, Current Perspectives on Sex Crimes, Sage, 2002.
  • 11 Emilie Buchwald, Pamela Fletcher, Martha Roth (ed.) , Transforming a Rape Culture, Milkweed Editions, 2005.
  • 12 Kanin, Eugene J. (1994). False Rape Allegations. Archives of Sexual Behavior.
  • 13 Sarah Projansky, Watching Rape: Film and Television in Postfeminist Culture, New York University Press 2001
  • 14 Thornhill, Randy and Palmer, Craig T. A Natural History of Rape: Biological Bases of Sexual Coercion. MIT Press, 2001.
  • 15 Roussel, D.E. and R. Bolen. (2000). The Epidemic of Rape and Child Sexual Abuse in the United States. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
  • 16 Mclean, D. (1995). Privacy and its invasion. CT: Praeger.
  • 17 Margulis, Stephen T., (2003). Privacy as a social issue and behavioral concept. Journal of social issues 59 (2) :243-261
  • 18 Pedersen, DM (1997) Psychological functions of privacy. Journal Of Environmental Psychology, 17:147-156

การข่มขืนกระทำชำเราเด็กและการขู่บังคับเด็กทางเพศ

  • 1 Levesque, Roger, Sexual Abuse of Children, Indiana University Press, 1999.
  • 2 Pryor, Douglass, W. Unspeakable Acts: Why Men Sexually Abuse Children, New York University Press, 1996.

ผู้กระทำการเพศหญิง

  • 1 Women's sexual aggression against men: prevalence and predictors
  • 2 Denov, Myriam S., Perspectives on Female Sex Offending: A Culture of Denial, Ashgate, 2004.
  • 3 Pearson, Patricia, When She Was Bad: Violent Women and the Myth of Innocence, Viking Adult, 1997.
  • 4 Adams, Ken, Silently Seduced: When Parents Make their Children Partners-Understanding Covert Incest, HCI, 1991.
  • 5 Anderson, Peter B., and Struckman-Johnson Cindy, Sexually Aggressive Women: Current Perspectives and Controversies, Guilford, 1998.
  • 6 Kierski, Werner [12], Female Violence: Can We Therapists Face Up to it?, Counseling and Psychotherapy Journal, 12/2002 (ISSN 1474-5372) [13].
  • 7 Rosencrans, Bobbie, The Last Secret: Daughters Sexually Abused by Mothers, Safer Society, 1997.
  • 8 Miletski, Hani, Mother-Son Incest: The Unthinkable Broken Taboo, Safer Society, 1999.
  • 9 Elliot, Michelle, Female Sexual Abuse of Children, Guilford, 1994
  • 10 Hislop, Julia, Female Sex Offenders: What Therapists, Law Enforcement and Child Protective Services Need to Know, Issues Press, 2001.

การข่มขืนกระทำชำเราในการสมรสหรือผู้ใกล้ชิด

  • 1 Easteal, P, and McOrmond-Plummer, L, Real Rape, Real Pain: Help for Women Sexually Assaulted by Male Partners, Hybrid Publishers, 2006.
  • 2 Russell, Diana E.H., Rape in Marriage, MacMillan Publishing Company, 1990.
  • 3 Bergen, Raquel K., Wife Rape: Understanding the Response of Survivors and Service Providers, Sage Publications Inc., 1996.
  • 4 Finkelhor, D. and Yllo, K., License to Rape: Sexual Abuse of Wives, The Free Press, 1985.
  • 5 Hall, R., James, S. and Kertesz, J., The Rapist Who Pays the Rent Women Against Rape, UK.
  • 6 การข่มขืนกระทำชำเราแฟน

ผู้กระทำการเพศชาย

  • 1 Shapcott, David, The Face of the Rapist, Penguin Books, Auckland, 1988.
  • 2 Groth, Nicholas A., Men Who Rape: The Psychology of the offender, Plenum Press, New York, 1979.

ด้านอื่น ๆ

  • Anonymous. A Woman in Berlin: Six Weeks in the Conquered City. Translated by Anthes Bell. ISBN.
  • de Becker, Gavin (1998). The Gift of Fear: Survival Signals that Protect Us from Violence. New York: Dell. ISBN (recognizing and handling dangerous people and situations)
  • Doe, Jane (2003). The Real Story of Jane Doe. Toronto: Random House.
  • Ghiglieri, Michael P. (1999). The Dark Side of Man: Tracing the Origins of Violence. Reading, MA: Perseus Books, 1999. ISBN 0-7382-0076-X.
  • McElroy, Wendy (2001). Sexual Correctness: The Gender-Feminist Attack on Women. Jefferson, NC: McFarland. ISBN.
  • Kipnes, Laura, The Female Thing: Dirt, Sex, Envy, Vulnerability. ISBN.
  • Sebold, Alice (1999). Lucky: A Memoir. New York: Scribner. ISBN. (author recounts her own rape at the age of 18)
  • ^ สถิติการข่มขืนกระทำชำเรา [1]จาก UCSC Rape Prevention Education

แหล่งข้อมูลอื่น

ผลงานวิจัยและข้อมูลเพิ่มเติม

องค์กรของชาติ

  • Men Can Stop Rape
  • Rape, Abuse, Incest National Network (RAINN)
  • Rape Victim Advocates
  • Sexual Assault Care Centre Scarborough
  • Speaking Out About Rape

แหล่งสนับสนุน

  • After Silence, online support group, message board and chat room for survivors of rape, sexual abuse and molestation.
  • Pandora's Aquarium An online support group, message board and chat room for rape and sexual abuse survivors and their supporters.
  • Award Winning Documentary on Rape and Healing

การข, มข, นกระทำชำเรา, บทความน, อาจต, องการตรวจสอบต, นฉบ, ในด, านไวยากรณ, ปแบบการเข, ยน, การเร, ยบเร, ยง, ณภาพ, หร, อการสะกด, ณสามารถช, วยพ, ฒนาบทความได, บทความน, หร, อส, วนน, ของบทความต, องการปร, บร, ปแบบ, งอาจหมายถ, องการจ, ดร, ปแบบข, อความ, ดหน, แบ, งห, วข,. bthkhwamnixactxngkartrwcsxbtnchbb indaniwyakrn rupaebbkarekhiyn kareriyberiyng khunphaph hruxkarsakd khunsamarthchwyphthnabthkhwamidbthkhwamnihruxswnnikhxngbthkhwamtxngkarprbrupaebb sungxachmaythung txngkarcdrupaebbkhxkhwam cdhna aebnghwkhx cdlingkphayin aela hruxkarcdraebiybxun khunsamarthchwyaekikhpyhaniidodykarkdthipum aekikh danbn caknnprbprunghruxcdrupaebbxun inbthkhwamihehmaasmkarkhmkhunkrathachaera xngkvs rape epnkartharayrangkay sungpktiekiywkhxngkbephssmphnthhruxkarichkalnginkarkarbngkhbaebbxuntxbukhkhl odyprascakkhwamyinyxmkhxngbukhkhlehlann karkrathadngklawxacodyichkalngthangkay karbibbngkhb karlaemidxanachruxtxbukhkhlthiimsamarthihkhwamyinyxmsmburnid echn phuthihmdsti irkhwamsamarthhruxxayutakwaxayuthiyxmihmikarrwmpraewniidtamkdhmay 1 2 3 4 khawa khmkhunkrathachaera bangkhrngichaethnkhawa kartharayrangkaythangephs id 5 karkhmkhunkrathachaerakarkhmkhunkrathachaerahyingxphichnluekhrechiybychicaaenkaelalingkipphaynxkICD 10T74 2ICD 9E960 1MedlinePlus001955eMedicinearticle 806120MeSHD011902xubtikarnkarkhmkhunkrathachaerathitarwcbnthukthwolkinpi 2553 aeprphnrahwang 0 2 tx 100 000 khninpraethsxaesxribcan thung 92 9 tx 100 000 khninpraethsbxtswana odymikha 6 3 tx 100 000 khninpraethslithweniyepnmthythan 6 tamkhxmulkhxngsmakhmaephthyxemrika 2538 khwamrunaerngthangephs aelaodyechphaaxyangyingkarkhmkhunkrathachaera thukphicarnawaepnxachyakrrmrunaerngthimirayngantakwacringmakthisud 7 8 xtrakarrayngan daeninkhdiaelakarphiphaksalngothssahrbkarkhmkhunkrathachaeratangknmaktamekhtxanac sthitikrathrwngyutithrrmshrthxemrika 2542 pramanwa 91 khxngehyuxkarkhmkhunkrathachaerainshrthxemrikaepnhying aela 9 epnchay 9 karkhmkhunkrathachaeraodykhnaeplkhnapktiphbnxykwakarkhmkhunkrathachaeraodybukhkhlthiphuesiyhayruck 10 11 12 13 14 aelakarsuksahlaykhrngaeyngwakarkhmkhunkrathachaeraineruxncarahwangchaytxchayaelahyingtxhyingkhxnkhangphbbxyaelaxacepnkarkhmkhunkrathachaeraaebbthirayngannxythisud 15 16 17 phuthukkhmkhunkrathachaeraxacidrbbadecbxyangrunaerngaelaxacprasbkhwamphidpktithiekidhlngkhwamekhriydthisaethuxnic 18 nxkehnuxipcakkhwamesiyhaythangcitwithyaxnekidcakkarkrathadngklawaelw karkrathachaerayngxackxkarbadecbthangkay hruxmiphlxyangxuntxphuesiyhay echn idrbkartidechuxthangephssmphnthhruxtngkhrrph yingipkwann hlngkarkhmkhunkrathachaera phuesiyhayyngxacephchiykhwamrunaernghruxkarkhmkhucakphukhmkhun aelainbangwthnthrrm cakkhrxbkhrwaelayatikhxngphuesiyhayexng 19 20 21 enuxha 1 bthniyam 1 1 praephth 2 saehtuaelaaerngcungic 3 phlkrathb 3 1 karothsphuesiyhay 4 karpxngknrksa 5 mummxngthangsngkhmchiwwithya 6 sthiti 7 prawtisastr 7 1 karkhmkhunkrathachaerayamsngkhram 8 xangxing 9 brrnanukrm 10 aehlngkhxmulxun 10 1 phlnganwicyaelakhxmulephimetim 10 2 xngkhkrkhxngchati 10 3 aehlngsnbsnunbthniyam aekikhinkartdsinkhdikhwam xachyakrrmtxkarkhmkhunkrathachaerathukihniyamemuxmikarrwmpraewniekidkhun hruxphyayamthaihekid odyimmikaryinyxmodysmkhwr emuxmikhnidkhnhnung imyxm maekiywkhxngdwy aelamkcamikhacakdkhwamkhxngkarsxdisekhaipinchxngkhlxdhruxthwarhnkodyxwywaephschay inbangkartdsin karsxdisimcaepntxngichxngkhchati aetsamarthepnxwywaswnxunkhxngrangkay echn niwhnungniwhruxmakkwann hruxkarsxdisthangxun echn thangpak rxngxk hruxrxngkn hrux odywtthu echn khwd hruxxikniyamkhuxkarphlkdnodyichxwywaephshyinghruxthwarhnkbnxngkhchatikhxngephschay odyphukrathaepnphuhyingkhatdsinxunkhyaykhwamwa khawa khmkhunkrathachaera hmaythungkickaridthikrathaodyichxwywaephs khxngkhnhnungkhnhruxsxngkhn inewlann twxyangechn karichpakhruxichmuxsaerckhwamikhrihkbphuxun odyimidrbkhwamyinyxmcakphuthukkratha phayitkarkhubngkhbpraephthtang karichkalng khwamrunaerng karaeblkheml aelaxun karwinicchyxxnaexlng hruxirkhwamsamarth odyaexlkxhxl hruxyachnidxun imwayanncathukhruxphidkdhmayktam kartdsinicxxnaexlng xaccamacakkhwampwyikh hruximmiphthnakartamwysmkhwr xayutakwaeknththicaihkaryinyxm thinbwathuktamkdhmayidkarkhmkhunkrathachaeraphumixayutakwaeknththiyinyxmihrwmpraewnidwyid Statutory Rape nbkarmikarsmphnththangephswaepnkarkhmkhunkrathachaera odyimcaepnwa mikarichxanacbngkhbhruxepnxikfayphrxmichruxim kdhmayaebbni epneruxngpktiaelamikhunephuxpxngknphuihythixyakcamiephssmphnthkbedk thiduehmuxnwacayngimsamarthihkartdsinicthimirxbkhxbinbthlngothskhxngkdhmaybrasil klawthungkarkhmkhunkrathachaerawa txngepnkarmiephssmphnththangchxngkhlxdethann dngnn cungimehmuxninyuorpaelaxemrikaswnmak phuchaykhmkhunkrathachaeraphuchay karkhmkhunkrathachaerathangthwarhnk aelakarkhmkhunkrathachaerathangpak imnbwaepnxachyakrrm inkrnini canbwaepn khwamphyayamxyangrunaerngtxsukhwamxxnnxmkhxngkhnhnung ethann bthlngothsexngkechnediywkninskxtaelnd karkhmkhunkrathachaeraepnkarrabuephslngip hmaykhwamwamnsamarththaidodyphuchaytxphuhyingethann pak thwarhnk caimnbwaepn karkhmkhunkrathachaera rwmthungkarsxdisthangxun dwy khacakdkhwamthukichodysalsaklkhxngrwndatamthxngthiinpi 1998 wa karbukrukthangrangkayinkhwamepnthrrmchatiineruxngephs krathaodybukhkhlphayitsthankarnthiichkalngbngkhb inkartdsinxyangecaacnglngip mnepnipimidthicatdsinwamikhwamphid rahwangkhusamiphrrya ephraatangkxyubnphunthankhxng khwamyinyxmodyny hrux inkrnikhxngxananikhmxngkvskxnhnani ephraakhxeriykrxngkhxngkarehnchxbdwykdhmay wakarrwmpraewni thuxepnsingthiimchxbdwykdhmay sungxyunxkkhxbkhaykhxngkaraetngngan xyangirktam inhlaykartdsin samarththicanakarfxngrxngdaeninkhdiid odyrabulngipwamnkhuxkarkhubngkhb praephth aekikh mipraephthkhxngkarkhmkhunkrathachaera 6 7 xyang odymakcathukcaaenkxxkodyehtukarnthiekidkhun bukhlikkhxngehyux aelabukhlikkhxngphukxehtu praephththiaetktangkhxngkarkhmkhunkrathachaerarwmxyudwykn aetimidhmaykhwamwannkhuxcb echn karkhmkhunkrathachaerakhnaxxkedth karkhmkhunkrathachaeraaebbklum karkhmkhunkrathachaerainsmrs karkhmkhunkrathachaerainhxngkhumkhng karkhmkhunkrathachaeraodykhnruck aelakarkhmkhunkrathachaerarahwangsngkhramaemwakhnphyayamcathukthkexaexng aetkarkhmkhunkrathachaeraodykhnaeplkhnaekidkhunnxythisudemuxethiybkbrupaebbxunkhxngkarkhmkhunkrathachaera xyangirktamkarkhmkhunkrathachaerarupaebbniphbidbxyinkhawxachyakrrmkarkhmkhunkrathachaeraodyphukrathakar phukrathakar khwamthikhuedthsmaesmx 21 6 ephuxn 16 5 aefneka 12 2 khnkhunekhy 10 8 ephuxnsnith 10 1 khuedthbangkhrngbangkhraw 10 1 sami 7 2 khnaeplkhna 2 phlkarwicythangkarkhmkhunkrathachaeraaelakaraecngkhwamrabuwa karkhmkhunkrathachaeraswnihymikhacakdkhwamwafaychaykrathatxfayhyingethann nganwicykhxngchaykrathatxchayaelaphuhyingtxphuchaykalngdaeninkar iklcaesrc xyangirktam immikarwicyidelythiklawwamiphuhyingkhmkhunkrathachaeraphuhying aemwaphuhyingswnmakcasamarthtxngkhxhawakhmkhunkrathachaeraidktamkhawa tournante epnkhakhunsphthphasafrngess aeplwa epliyn aelaichepnkhasaelnginkhwamhmaykhxngkarothrm subenuxngmacakprasbkarnkhxngehyuxthinbid phuhyingtxngthukkhbxxkcakwthnthrrmedim ipxyupraethsephuxnban praphvti aetngkayxyangchawtawntk txngkarthicaxyuxyangkhnyuorp aelaptiesththicaswmisesuxphapracachatikhxngtnexng nbwaepn khwamyutithrrm aelw sahrbkarothrmsaehtuaelaaerngcungic aekikhkardumekhruxngdumaexlkxhxlhruxkarichsingesphtid mkcaekiywkhxngkbkarkhmkhunkrathachaera in 47 khxngkarkhmkhunkrathachaerathngehyuxaelaphukrathaphidcadumehla miephiyng 17 thiphukrathaphidethanndum 7 khxngehyuxthnghmdethannthidum karkhmkhunkrathachaerathiimmikardumehlathngphukrathaaelaehyuxmiephiyng 29 khxngthnghmd saehtuthiepnaerngcungickhxngphukhmkhunkrathachaeracamiaetktangknipnkwicyswnihyphbwa mulehtukhxngkarkhmkhunkrathachaerakhux khwamprarthnathikawrawthitxngkarcaxyuehnuxfaytrngkham makkwatxngkarthicaidrbkhwamsukhthangephs erasamarthkhididwaimmikhaxangxunidthidikwaniinthangsngkhmsastr idmikaryxmrbxyangkwangkhwanginhlkthanthimiehluxxyunxymak ekhiynody Felson aelaphuaetngrwm Tedaschi phuerimmummxngthikhdaeyngknkhxngkarpathathangsngkhm thiklawwa khwamprarthnathangephsxacepnephiyngaekhpccyhnungkhxngethann phwkekharabuwa karkhmkhunkrathachaeranbepnkarkrathakhxngkhwamtharunmakkwakarephchiyhnaknthangephs khndif 2004 aeyngwannkhuxkhwamimpraktkhxngthangxxkxunkhxngkhwamikhrkhxngphuchay twxyangechn karkhaybrikarthangephs xacepnsinghnungthichknasukarkhmkhunkrathachaerankkhmkhunkrathachaeraswnmakimmikareluxkwacakhmkhunkrathachaera txemuxmikhwamehnphxngepnexkchnth praman 90 khxngnkkhmkhunkrathachaerakhnthiekharwmthdlxngkb Baxter et al inpi 1986 klawwa cathukkratunodyphaphthidingamkhxngkarphungphaxasyknaelamikhwamsukhineruxngesks makkwakarkhmkhunkrathachaerathitxngichkhwamrunaerngekhamaekiywkhxng aetimmikhwamaetktangknmaknkrahwangrupaebbkhxngkarkratunxarmnkhxngnkkhmkhunkrathachaeraaelaphuthiimichkhdaeyngkbkhwamechuxkhxngkhnodythwip karkhmkhunkrathachaeraphaynxkbannacamakthisud aethcringaelwepneruxngyakthicaekidkhun makkwa 2 in 3 khxngkarkhmkhunkrathachaerathnghmd ekidthi ban khxngikhr khnidkhnhnung 30 9 ekidinbankhxngphukrathakar 26 6 ekidinbankhxngehyux 10 1 ekidinbanthiecharwmknkhxngehyuxaelaphukrathakhwamphid 7 2 ekidinnganparti 7 2 ekidinyanphahna 3 6 ekidnxkban aela 2 2 ekidinbarphlkrathb aekikhhlngthukkhmkhunkrathachaeraepneruxngpktisahrbehyuxthicaprasbkbkhwamekhriyd aelabangkhrngkkhadedaimid khwamrusukxxnihwmak aelaphwkekhaxaccaphbwayakthicacdkarkbkhwamthrngcakhxngphwkekhatxehtukarn phuthukkrathaxacrusukbadecbxyangrunaerngcakkarkhubngkhbaelaxacphbkhwamyaklabakinkardaeninchiwitpkti immismathi rupaebbkarnxnaelakarrbprathanepliynip echn xacrusukdiinkarxyuthikhxbtuk inhlayeduxntxmahlngekidehtukarn pyhaehlanicarunaerngkhun esrasldmakkhun aelaxacthaihphuprasbehtukarnimbxkelaehtukarnehlanikbephuxnhruxkhninkhrxbkhrw imipaecngkhwamkbtarwchruxmxnghakarihkhapruksa nixacmiphltxxakarekhriydxyangrunaerngaelakhwbkhumimid Acute Stress Disorder sungmixakardngni rusukcha aelathuktdkhad ehmuxnxyuinphwngkhhruxkhwamfn hruxrusukwaolkniepliynipaelaimepnkhwamcring yakthicacaehtukarnswnsakhykhxngkarkhubngkhbid phxnbrrethakhwamrusukaeyidodykarkhidsaaelwsaxikinkhwamthrngcaxnnn hlikeliyngsingkhxng sthanthi khwamkhid khwamrusuk thicaetuxnthungkarkhubngkhbwnnn ekhriydkngwlephimsungkhun hruxthukrukeraidngay nxnhlbyak khwbkhumsmathiyak l hlikeliyngkarichchiwitinsngkhm hruxsthanthiekidehtumnsamarththaihekidkhwamphidpktithangciticphayhlngphyntray Post Traumatic Stress Disorder hrux PTSD xyangirkdikhnathiphlkrathbkhxngfnrayxaccaaeymak aelaxacsngphlkrathbtxphurxdmaidinkarichkahndchiwit mnyngepnsingsakhythitxngcawakartxbsnxngkhxngphurxdchiwitepneruxngechphaabukhkhlaelaaetktangkniptamexklksnkhxngaetlakhninpi 1972 aexn wxlebirth ebxrekss aelalinda lithethil ohlstxrm idthakarsuksakhxngphlkartxbsnxngtxkarkhmkhunkrathachaera phwkekhasmphasnehyuxthiidihkhapruksaaelwcakhxngchukechinkhxngorngphyabalemuxngbxstnaelaphbwamirupaebbkhxngptikiriyatxbsnxngthiekhaeriykwa xakarbadecbkhxngkarkhmkhunkrathachaera phwkekhaxthibaywa mi 2 xngkhprakxbthisakhykhuxrayalxaehlm Acute aelarayaprbtwihm Reorganization rahwangrayalxaehlmphurxdchiwitcaphbkbkhwamchxkaelaimechux rusuktwaekhng hruxxaccaphyayamngdtidtxkbphuxun aelamxngwatwphwkekhaexng khux phwkkhnthithukkhmkhunkrathachaera ekhacarusukxbxay sbsn skprk sanukphid kbkarkhuekhythiidekidkhun odyechphaaxyangyingthaphukhmkhunkrathachaeraepnkhnruck khwamfnthielwrayni thaihkhwamwitkkngwlthungkhidsud bxykhrngmiphaphhwnsaaelakhwamphyayamxyangaekhngaekrngthicahyudtidtxkbxarmnkhxngtwexng epneruxngthrrmdathiekidkhun aelannkhux karptiesth phyayamthicathaihtnexngechuxwaeruxngthiekidkhunnn imepnkhwamcring thakarkhmkhunkrathachaeraepnipodykhnruck ehyuxxaccaphyayampkpxngphukrathakarehyuxxaccatxbsnxngkarkhmkhunkrathachaerainthangthiaesdngxxkhruxinthangkhwbkhum inthangthiaesdngxxkcapraktphaynxkxyangchdecn echn rxngih sn okrth khwamekhriyd karprachdprachn karhweraaxihlkxiehlux khwamimphxnkhlay inaebbkhwbkhum capraktkhuxehyuxengiyb khrum aelaphyayamileliyngehtukarnxyangepnrabb aememuxephchiyhnakbkhwamsbsnphayintwthirunaerng immikarkahndwatxngepnrupaebbidrupaebbhnungthiekidkbehyux thukkhn catxngephchiykbxarmnthiosksbsnsudkhid aetktangkniphlngrayalxaehlm rayaprbtwihmcaekidkhun aelaphurxdchiwitphyayamthicasrangolkibihmthikhrnghnungphwkekhaekhyruck rayanicaxyuipepneduxnhruxepnpihlngkarkhubngkhb aelaaemwa ekhacamikhwamphyayamxyangmakthisudinrayanimnkcaphanipdwykhwamrusukkhxngphid laxay klw aelaekhriydkngwl xarmntang xyangechn okrth witkkngwl karhklangkn aela karsuyesiy khwammnkhng capraktkhun karphthnakarinkarirkhwamsamarththica echux mkcaepnehtukarnthiekidtammahlngkarkhmkhunkrathachaera khwamsuyesiyni inkhwamtxngkarkhnphunthan samarththicathalaychiwitkhxngphuthukkhmkhunkrathachaeraihphngrabelythiediyw thaihphwkekharusukirkalng aelaimsamarthkhwbkhumrangkaymnusykhxngtnid ekhaxaccarusukimplxdphy sungsamarththaihkhwamekhriydwitkkngwlsungkhunechnediywkbkhwamyaklabakinkarmikhwamsmphnththiiklchid ehyuxxaccaphyayamthicaklbipsukartxbsnxngthithrrmdatamrupaebbsngkhm echn mikarhmnhmay aetkcaphbwa twkhxngekhaexngimsamarththaid aelakhwamphyayamthica pn twekhakhunihminkhwamsmphnthxactxngthukykelikipephraakarkhadkhwamechuxmnphurxdchiwitmkcaaeyktwxyutamlaphngcakklumkhnthisnbsnunekha xacepnthangrangkayhruxthangxarmnkhwamrusuk phurxdchiwitxaccarusukaeplkaeykcakephuxnenuxngcakmummxngthiekiywenuxngkbprasbkarnswntw karkracdkracayipkhxngkhwamechux thaihmiphltxkhwamsmphnthechingluk ephraaphurxdchiwitmkcamikhwamsngsythiephimkhuntxaerngcungicaelakhwamrusukkhxngphuxunxikkhxbkhayhnungkhxngkarkhnkhwa xangthung karepnehyuxkhrngthisxng nnkhuxkarthitarwcaelaaephthy sxbswnaelaptibtikbekhaxyangthalaycitic aelamikhxsngsykarkhmkhuthangephssamarthmiphlkrathbtxkhn nntlxdip epliynekhaihepnkhnthixyuinrayayungehyingtlxdewla inkrnithirayaerngthisudphllphthxxkmaxacepnkarkhatwtay karothsphuesiyhay aekikh karfxngphidkhxngtwehyuxexng epnsingthiyudehyuxiwkbxachyakrrm xaccahmaythungwathnghmdhruxbangswnthiekidkhun ehyuxtxngrbphidchxb inbribthkhxngkarkhmkhunkrathachaera khwamkhidnixangthungthvsdi olkthiyutithrrm Just World Theory aelaepnkhwamkhidthiniymmakwaphvtikrrmkhxngehyuxkhnnn echnchxbhwanesnh hruxisesuxphathiepidephy xacthaihekidkarkhmkhunkrathachaerakhun inkrnithimakthisud ehyuxxacbxkwa eriykrxngmakehluxekin ephiyngaekhimidpraphvtitweriybrxyepnphaphbiwethann inpraethsaethbtawntk karpxngkn karepidephy imthukyxmrbwacathaihkarkhmkhunkrathachaeraphxnkhlaylng karsarwcthwolkphbwathsnkhtithimitxkhwamrunaerngthangephsthimiinkhuyknrxbolkephuxkarwicydansukhphaph Global Forum for Health Research aesdngwathvsdieruxngkarothstwexngkhxngehyuxxyangnxykidrbkaryxmrbinpraethstang makmay inbangpraeths karthiehyuxothstwexngyingepnsingthrrmdakwa aelaphuhyingthithukkhmkhunkrathachaerakcathuklngkhwamehnwapraphvtitwimehmaasm bxykhrngthihlaypraethsmikarrnrngkhthangkaremuxngaelasrangsuxokhsnaephuxkacderuxngrawkhxngkarkhmkhunkrathachaera thsnkhtiaelakhwamechuxyuyngthikxihekidkarichkhwamrunaerngthangephs karyunkranxyangaekhngkhn aethlay khwamkhidehnkyngkhngotaeyngwatxngmiphuhyingbangkhn thichxbkamwipritaelakarhlxklwngkarpxngknrksa aekikhkartxbsnxngthangkhapruksaphbwasingthiepnpraoychnineyiywyakhux ldkarfxngphidintwexnglng karihkhwamrukhwamekhaicinthangcitwithya eriynruekiywkbxakarthrmancakkarthukkhmkhunkrathachaera aelasingthixthibayekiywkbsaehtukhxngkarfxngphid karsahrbkarothstwexngkhuxkarsrangihmdwyehtuphl cognitive restructuring hrux kareyiywyacakphvtikrrmechingehtuphl cognitive behavioral therapy karsrangihmdwyehtuphlkhuxkrabwnkarkhxngkarnaexakhwamcringmasrangkhxsrupthismehtusmphlcakphwkekha sungkhxsrupnnthiidrbxiththiphlnxythisudcakkhwamlaxayaelakhwamrusukphidkhxngtwekhaexng swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidmummxngthangsngkhmchiwwithya aekikhbangkhnotaeyngwakarkhmkhunkrathachaera khuxyuththwithikhxngkarsubephaphnthu thitxngephchiyhnakbehtukarnhlayxyanginxanackrstw echn epd han aelaplaolmabangchnid mnepnkaryakthicakahndlngipwaxairthaihekidkarkhmkhunkrathachaerakhunmarahwangstw xyangechn karkhadkaraesdngxxkthungkhwamyinyxm xthibaysingthiekidkhunthamklangmnusy samarthduidxikcak Non human animal sexuality nksngkhmchiwwithyabangkhnotaeyngwakhwamsamarthkhxngerathicaekhaickarkhmkhunkrathachaera aelainkarpxngknmn epneruxngthikhrungklangxyangrunaerng ephraacuderimtnkhxngmninwiwthnakarmnusythukephikechyesiy bangkarsuksachiihehnwainthvstiwiwthnakarnn sahrbephschaythikhadkhwamsamarthinkarchkcungphuhyingihrwmhlbnxndwyodyimichkhwamrunaerngidsngphantxmathangyinsphnthukrrmnkwicarnsngkhmchawxemriknchux khamill paecliy aelanksngkhmchiwwithyabangkhn idotethiyngwaphlngkarothstwexngkhxngehyux xaccaimmiswnprakxbthangcitwithyaelyinbangkrni twxyangkhxngaebbaephnthangsngkhmchiwwithyachiihehnwaphwkekhaxaccaidrbthaythxdthangyins sahrbphuchayhruxphuhyingthiyxmtwihxxnaexlngcnthaihmikarkhmkhunkrathachaeraid aelanixacepnhnatakhxngchiwwithyawadwyeruxngsmachikinsayphnthusthiti aekikhshprachachatiidrbkhwamyinyxmcakrthbalcakhlkthanthiaesdngwa makkwa 250 000 khdikhmkhunkrathachaera hruxphyayamkhmkhunkrathachaerathukpi idthukbnthukiwodytarwc khxmulnikhrxbkhlumthung 65 praethssubenuxngmacakexksarthangkhwamyutithrrmkhxngkrathrwngyutithrrminshrthxemrika karthaihepnehyuxxachyakrrminshrthxemrika miehyux 191 670 khncakkarkhmkhunkrathachaeraaelakarkhubngkhbinpi 2005 ephiyng 16 ethannkhxngthngsxngxyangni thithukraynganthungtarwc karkhmkhunkrathachaerainxemrika rayngantxprachachati 1992 Rape in America A Report to the Nation 1992 1 in 6 khxngphuhyingxemriknmiprasbkarnkhxngkarthukphyayamkhmkhunkrathachaerahruxthukthacnsaerc bangpraephthkhxngkarkhmkhunkrathachaerathukaeykxxkipcakkarraynganxyangepnthangkar khacakdkhwamkhxng FBI twxyangechn imrwmkarkhmkhunkrathachaerathukpraephth ykewnkarkhmkhunkrathachaeraaebbichkalngbngkhbephshyingethann ephraacanwntwelkhhlk khxngkarkhmkhunkrathachaeraimidthukrayngan thungaemekhacarwbrwminsingthiraynganidipaelw aelaephraacanwntwelkhtangehlannthiraynganekhamathungtarwc imdaeninkartxinkarfxngrxngdwykarkhmkhunkrathachaeraodyphuhyingepnpraktkarnthiyakcaekhaic nnkhuxepnthiocskhanwaimepnthiyxmrbodythwip aelathami kcaepnehtukarnthithaihekidkhwamtkic chxkh hruxkhwamsbsnxyangmak inshrthxemrikasubenuxngcak karwicyehyuxxachyakrrmaehngchati karprbepliynxtrakarkarepnehyuxhruxkarkhmkhunkrathachaera txprachakr 1 idldlngcakpraman 2 4 txprachachn 1 000 khn xayu 12 khunip inpi 1980 praman 0 4 tx 1 000 khn sungldlngthung 85 aetkarsarwckhxngrthbalxun echn kartkepnehyuxthangephskhxngwithyalystrisuksa wicarnkarwicyehyuxxachyakrrmaehngchati bnphunthanthiwamnrwbrwmaekhkarkrathathicamkhwamekhaickhxngehyuxwaepnxachyakrrmethann aelaraynganxtrakartkepnehyuxthisungkhunkhnathinkwicyaelathnaykhwamimehndwykbepxresntthiaennxnkhxngkarklawha phwkekhaehndwywa nacapraman 2 8 khwamechuxthiwamikarklawhathiphidepnpyhathrrmda epneruxngimekhatha dwyeruxngkhwamechuxniidbnthxnkalngickhxngphuthukkhmkhunkrathachaeraimihfxngrxng ephraaklwwatwexngcatxngtkepnphutxnghaesiyexng subenuxngcakrayngankhxngkrathrwngpxngknphutxngsngsythwip thixxkmainpi 2005 pramanwa 73 khxngphuhyingaela 72 khxngphuchayinkarsuksadanthhar echuxwakarklawhathiphidcakkarkhmkhuthangephsepnepnpyhaihycakpi 2000 2005 95 khxngkarkhmkhunkrathachaeraimdukraynganphayitrabbkdhmay pccyhnungthiekiywkhxngkbkhwamekhaicphidxnnikhux karkhmkhunkrathachaeraswnhiykrathaodykhnthiimruck inkhwamepncring cakaephnksthitiephuxkhwamyutithrrm klawwa 38 khxngehyux thukkhmkhunkrathachaeraodyephuxnhruxkhnruck 28 thukkhmkhunkrathachaeraody ephuxnsnith 7 odykhnthimikhwamekiywkhxngsmphnthxun aela 26 thukkhmkhunkrathachaeraodykhnaeplkhna ekuxb 4 in 10 khxngkarkhubngkhbthangephs ekidthibankhxngehyuxexngmakkwa 67 000 khdi thiekidkhunkbedk thukraynganinpi 2000 inxafrikait klumswsdikaredk echuxwacanwntwelkhthiimidthukraynganekhamanacamakkwacanwntwelkhthimi 10 etha khwamechuxthiepnsaklkhxngxafrikaitkhux karmiephssmphnthkbsawphrhmcariycachwyrksaphuchaycak HIV hruxorkhexdsid xafrikaitmicanwnprachakrtidechux HIV sungthisudinolk subenuxngcaktwelkhkhxngthangkar 1 in 8 khxngchawxafrikamiechuxiwrsxyuintw Edith Kriel nksngkhmsngekhraah thichwyphuthukkrathaedk inaehlmtawnxxk klawwa karkrathatharunkrrmedkthangephsmkcathaodyyatikhxngedkexng xacepnphxhruxkhnthihaeliyngkhrxbkhrw subenuxngcakmhawithyaly Durban Westville aephnkmanusywithyaaelankwicy chux SuZanne Leclerc Madlana tanankarmiephssmphnthkbphrhmcariy ephuxrksaexdsimidmiaekhinxafrikaitethann klumnktidtamphuwicyeruxngexdsinaesmebiy simbbew aelaincieriy klawwa khwamechuxnimixyuinpraethsehlani mncungthukothswaepntnehtuthithaihxtrakarichedkinthangthiphidthangephssung odyechphaatxedkelkprawtisastr aekikh phaphwadkhxng Konstantin Makovsky inchuxphaph The Bulgarian martyresses inpi kh s 1877 aesdngthungphaphkarkhmkhunkrathachaera khawa khmkhunkrathachaera mitnkaenidmacakkhakriyaphasalatinwa Rapare hmaythung chwyiw hrux examaodykalng khaniintnkaenidimidmikhwamhmaythangephsely aelakyngkhngichxyangnieruxymainphasaxngkvs prawtisastrkhxngkarkhmkhunkrathachaeraaelakarepliynipinkhwamhmay khxnkhangsbsxn inkdhmayormn karkhmkhunkrathachaerathukcdxyuinxachyakrrmkhxngkarkawlwng imehmuxnkbkhomyhruxocrpln karkhmkhunkrathachaerathukichinkhwamhmaythiwa karkrathaphidtxsatharna sungkhdaeyngkb karkrathaphidtxbukhkhl sisar xxksts xxkkdhmayptirupkarkhmkhunkrathachaera phayitkdhmay Lex lulia de vi publica sungminamskulkhxngphraxngkh khux lulia thixyuitkdhmay praphvtilwngpraewni Lex lulia de adulteriis thiormfxngrxngtxxachyakrrmpraephthni ckrphrrdicstieniynyngkhngichkdhmaynisahrbexaphidphukrathakarkhmkhunkrathachaeratlxdstwrrsthi 6 inxanackrormntawnxxk inyukhobrantxnplay khawa Raptus hmaythung karlkphaeriykkhaith karhnitamknip karpln hruxkarkhmkhunkrathachaera inkhwamhmaypccubn khwamsbsnrahwangkhani idekidkhun emuxphuekhiyncdhmayehtukhxngkhristckrinsmyaerk ichaeykaeyarahwang karhnitamknipexng odyimidrbkhwamyinyxmcak bidamarda aela karkawlwng thngsxngxyangni mibthlngothsthangkaremuxng odyxaccathukkhbxxkcakklumkhxngkhrxbkhrwhruxhmubankhxngphuhyingthiidthuklkphatwip thungaemwakdhmaychbbnicathaihekidkarlngoths karthaihesiyochm hruxkhwamtayaelwktamphanswntang khxngprawtisastr xachyakrrmkarkhmkhunkrathachaera thukmxngnxykwawaepnrupaebbhnungkhxngkarbngkhbkhwamtxngkarkhxngephshying aetepnxachyakrrmthirunaerngtxthrphysinkhxngburus phuthiepnecakhxngethx inxdit eruxngnikhxnkhangcacringinkrnikhxngphrhmcarithimikhuhmniwaelw thahakesiykhwambrisuththi cathukmxngwaesiykhunkhaxyangrunaerng txsamikhxngethx inkdhmay krnini cathuxwakarhmnomkha aelatxngmikarcaykhaesiyhay cakchaythiepnfaykhmkhunkrathachaera aekkhrxbkhrwkhxngfayhying phayitkdhmaykhxngphrakhmphiribebilinsmyaerk phukhmkhunkrathachaera catxngaetngngankbphuhyingthiyngimidaetngngan odyimtxngrboths hakwaphxkhxngethxyinyxm ineruxngkhxngkhwamrunaerngtxkhwamtxngkarkhxngephshyingni aebngidepnsxngaebb aebbaerk khux inkhwamhmaykhxngkarkhmkhunkrathachaera aelaxikxnkhux karthiphuchayphuhyingbngkhbkhrxbkhrwekhaihphwkekhaidaetngngankninyukhobrankhxngkrikaelaormncnthungyukhlaxananikhm khmkhunkrathachaeraethiybkhuipidkb karlxbwangephling karkhaychati aelakarkhatkrrm elythiediyw caidrbkarlngothspraharchiwit khnthithakarkhmkhunkrathachaeracatxngidrbothspraharthimimakmayhlayaebb sungkduehmuxnwacaohdray eluxdsad aela n ewlann knatunetn instwrrsthi 12 yatikhxngphuesiyhay cathukihthangeluxkthicapraharphukrathaphiddwytwphwkekhaexng inxngkvs instwrrsthi 14 txntn ehyuxkhxngkarkhmkhunkrathachaera cathukkhadhwngihkhwkluktahruxtilukxnthakhxngphukrathaphidihaetkdwytwkhxngethxexngkdhmaykhxngxngkvsrabuwakarkhmkhunkrathachaerathuxepntnharunaerng khdkhuntxephshyingaelakhwamtxngkarkhxngethx kdhmaysamyrabuwa tnhanikhuxkarsxdisekhaipinxwywaephshying aelarwmthungkarkrathaxunphaynxk xachyakrrmkarkhmkhunkrathachaeramikhwamaetktanginkhxbkhaythiwamnmungennipthisphaphkhxngciticthiimidmikaryinyxm aelakarkrathathiimmikaryinyxm nxkcakkarkrathakhxngphupraphvtiphid ehyuxtxngaesdnghlkthankarimmikarsmyxm sungthahakyxm cahmaythungkarthiaekhsamiidhlbnxnkbphrryaethann khxkhwamthiidyinbxyinkartdsin klawodyphuphiphaksasalsungkhxngthanesxr mththiw ehll instwrrsthi 17 wa karkhmkhunkrathachaera epnkhathiklawidngayaelayakthicaphisucn aelayakthicapxngknidodyfngthithukklawha rwmthngfngthiepnphuaecngkhwam phuphiphaksaehllyngepnkhnihkhaphudthiwa inkarkhmkhunkrathachaera phuthukkhmkhunkrathachaeratxngkhunsal imichphukhmkhunkrathachaera khwamonmexiyngni lngothskhnthukkhmkhunkrathachaera yngmitxenuxngmathungpccubn thungaemwacamikarptiruprabbkartdsinihmthicakacdkhwamekhaicthiphidniipaelwktam nxkcakni kdhmaythiimmiephs idtxsukbmummxngekathiwakarkhmkhunkrathachaeraimekhymikhunkbephschay khnathi kdhmaytwxunxaclumbribthniipdwysakarphthnathangdankdhmayekiywkbkarkhmkhunkrathachaeraekidkhuninstwrrsthi 20 ni rwmthungkartdsinicthioddednodysalsaklkhxngrwnda thixthibaykarkhmkhunkrathachaerawaepnxawuthrahwangsthabnkhxngsngkhramlangephaphnthuthithaxyangcngicaelaepnrabbrabbkarihkhwamyutithrrmekiywkbxachyakrrmyukhihm epnthiruknwaimmikhwamyutithrrmtxbukhkhlphutkepnehyuxkarichkhwamrunaerngthangephs Macdonalds 2001 kdhmaythiepnaebbchbbkhxngkhwamimethaethiymknaela kdhmayphunthanrwmkn thaihkarkhmkhunkrathachaera epn krabwnkarxachyakrrmthiehyuxaelaphvtikrrmkhxngethxtxngkhunekhiyng imichtwphukrathaphid Howard amp Francis 2000 tngaetthswrrsthi 1970 mikarepliynaeplnghlayxyangekidkhuninmummxngkhxngkarkhubngkhbthangephs enuxngcakmikarekhluxnihwkhxngklumphlnghyingxyangkwangkhwang aelakarihkhacakdkhwam waepnxachyakrrmkhxngxanacaelakarkhwbkhummakkwakhwamtxngkareruxngeskslwn xyangirktamphuthukkrathatxngkhunsalinkarkhmkhunkrathachaerahlaykhdi karekhluxnihwthangsiththiesriphaphkhxngphuhyinginpi 1970 thaihmisunychwyehluxphuprasbehtukhmkhunkrathachaeraaehngaerk karekhluxnihwnithukduaelody sthabnradbchatiephuxphuhying National Organization for Women hrux NOW sunychwyphuprasbphykhmkhunkrathachaerathiaerkxikthihnung idaek D C Rape Crisis Center epidinpi 1972 thuksrangkhunephuxsrangkhwamrusukraelakhwamekhaicrwmknkhxngkarkhmkhunkrathachaera aelaphlkrathbtxphuthukkratha inpi 1960 mikarexythungxtrakaraecngkhwamphidphlad 20 kxnpi 1973 sthitiidldlngmaxyuthi 15 hlngpi 1973 sankngantarwcniwyxrk ichecahnathiphuhyingsubswnphuthukkrathathangephsaelaxtraldlngthung 2 cakkhxmulkhxng FBI Decanis 1993 karraynganthiphidyakthicaaeplkhwamid karaeprepliyniptamsthanthiekidehtu sungthaihekid khwamphidphlad imwacahmaythungxyangir tarwchrux DA micaphyayamhahlkthanmamakephiyngphxthicacbtwmakhunsal aemwakhdicatkip hruxaemsaltdsinwaimmikhwamphid hruxaemwaphuthukkhmkhunkrathachaerathxnfxngexng khwamepnipidthnghmdni imidhmaykhwamwakaraecngkhwamepnethc ephraaphukhnmkcaklawwaepnkhwamphidkhxngehyuxphumaaecngswnthisakhyxyanghnungkhxngprawtisastrkarkhmkhunkrathachaerakhuxkarkxtngmulnithi RAINN inpi 1994 ody Tori Amos darankrxngchuxdng aela Scott Berkowitz RAINN epnsunyklangthangprawtisastrsmyihm khxngkarekhluxnihwkarchwyphuprasbphykhmkhunkrathachaera aelathaihmisaydwnihkhwamchwyehlux ekbsthiti aelaihkhxmulphanothrthsnepnthiaerk karkhmkhunkrathachaeraaebbchaykbchay thukpidbngepnkhwamlbepnewlanantamprawtisastr thuxepneruxngnaxayephraatxngthukkhmkhunkrathachaeraodyphuchayxikkhnhnung nkcitwithyachux Dr Sarah Crome idmiraynganwa karkhmkhunkrathachaerakhxngphuchaynxykwa 1 in 10 thukaecngkhwamekhama aelaodykhnhmumak klawwa ehyuxkhxngkarthukkhmkhunkrathachaeraephschayimmikarchwyehluxaelasnbsnunmakephiyngphx rwmthungkdhmaythiimsamarthcdkarduaeleruxngniidxyangetmthiwthnthrrmthwolkswnihyimkhidwacaepnipidthiphuhyingcakhmkhunkrathachaeraphuchayhruxphuhyingdwyknexngid bthlngothsthangkdhmayswnihy cungimidrabulngip wanikhuxkarkxxachyakrrmraydwy karkhmkhunkrathachaeracathukcakdkhwamdwythwipwa epnkarsxdisekhaip krathaodyphukhmkhunkrathachaera inpi 2007 inxafrikait klumkhxngphuhyingsawthukaecngkhwamwakhmkhunkrathachaeraphuchaykhnhnung xyangirktamkhwammixyukhxngeruxngehlani yngthukpkkhlumxyudwyehtukarnthioddednkwa khxngeruxngkarkhmkhunkrathachaerapkti aelamkcathukxangthungxyangkwangkhwang odyechphaaklumephshyingaelakhwamsnicekiywkbephshying aelaehtukarnthangephs inthanakhxngkhwamsnicephuxephimkhwamekhaic cnkrathngbdni eraruwaehtukarnehlaniimidmikhwamhmayaekhthieraidekhyidyinthwipethann txcaknieracaidruwa karkhmkhunkrathachaera mnmikhwamhmaymakkwann karkhmkhunkrathachaerayamsngkhram aekikh karkhmkhunkrathachaera inthanamulehtukhxngsngkhram yxnklbipinsmyobran iklethathikbmiphudthunginkhmphiribebil thharchawxisraexl krik epxresiy aelaormn mkcakhmkhunkrathachaeraphuhyingaelaedkchay inphunthithiekhaidkhrxbkhrxng inyukhpccubn karkhmkhunkrathachaerathuknbwaepnxachyakrrmsngkhram emuxthukthaodythhar hruxkxngkalngmakthung 80 000 khn phuhyingthithukkhmkhunkrathachaeraodythharyipunin 6 spdahkhxngkarkhahmuinnanking khaphudthiwa phuhyingthichwyihsbay epnkhanumnwlthiichinkarbngkhbphuhyingpraman 200 000 khnihepnosephniinsxngthharyipun insngkhramolkkhrngthi 2 hlngsngkhramolkkhrngthi 2 cblng thharkxngthphaedng khmkhunkrathachaeraphuhyingpraman 2 000 000 khnkhxngeyxrmnrwmthung edk thharomrxkokh frngess ruckinnamkhxng kuemiyr Goumiers idkhmkhunkrathachaeraaelathaxachyakrrmsngkhramxunhlngkarsurbthi Monte Cassino mikhaklawwamiphuhyingpraman 200 000 khn thukkhmkhunkrathachaerarahwangsngkhramprakasxisrphaphkhxngbngkhlaethsodythharchawpakisthan aemcaepnthithkethiyngknmakktam Sarmila Bose aelaphuhyingxislamkhxng Bosnia thukkhmkhunkrathachaeraodykxngkalngchawesirb rahwangsngkhrambxseniy karaephrkhawluxeruxngsngkhrammkcathaihekidkarptibtitxprachakrinthxngthihnung imdi odykxngkalngkhxngstru ephraaehtunimncungyakinthangptibtiaelainthangnoybaythangkaremuxngthicamxngxyangkhmchd wamixairekidkhunknaenxangxing aekikh Rape Merriam Webster April 15 2011 Italic or bold markup not allowed in publisher help Sexual violence chapter 6 PDF World Health Organization April 15 2011 Italic or bold markup not allowed in publisher help Rape dictionary reference com April 15 2011 Rape legal dictionary thefreedictionary com April 15 2011 Hedge edited by Jenny Petrak Barbara 2003 The Trauma of Sexual Assault Treatment Prevention and Practice Chichester John Wiley amp Sons p 2 ISBN 9780470851388 CS1 maint extra text authors list link Rape at the National Level number of police recorded offenses United Nations American Medical Association 1995 Sexual Assault in America AMA A gap or a chasm Attrition in reported rape cases PDF khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim PDF emux 2011 03 14 subkhnemux 2010 12 31 Sex Offenses and Offenders PDF United States Department of Justice bjs ojp usdoj gov pp 5 and 8 subkhnemux November 8 2013 Abbey A BeShears R Clinton Sherrod A M amp McAuslan P 2004 Psychology of Women Quarterly 28 323 332 Similarities and differences in women s sexual assault experiences based on tactics used by the perpetrator 10 12 2007 Statistics Rape Abuse amp Incest National Network Rape Abuse amp Incest National Network rainn org subkhnemux 2008 01 01 Alberto R Gonzales et al Extent Nature and Consequences of Rape Victimization Findings From the National Violence Against Women Survey U S Department of Justice Office of Justice Programs January 2006 Sexual Assault in Australia A Statistical Overview 2004 Abs gov au 2006 12 08 subkhnemux 2010 12 31 Rape and sexual assault of women findings from the British Crime Survey PDF khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim PDF emux 2011 02 18 subkhnemux 2010 12 31 Human Rights WatchNo Escape Male Rape In U S Prisons Part VII Anomaly or Epidemic The Incidence of Prisoner on Prisoner Rape estimates that 100 000 140 000 violent male male rapes occur in U S prisons annually compare with FBI statistics that estimate 90 000 violent male female rapes occur annually Robert W Dumond Ignominious Victims Effective Treatment of Male Sexual Assault in Prison August 15 1995 p 2 states that evidence suggests that male male sexual assault in prison may a staggering problem Quoted in Mariner Joanne Organization Human Rights Watch 2001 04 17 No escape male rape in U S prisons Human Rights Watch p 370 ISBN 978 1 56432 258 6 subkhnemux 7 June 2010 Struckman Johnson Cindy 2006 A Comparison of Sexual Coercion Experiences Reported by Men and Women in Prison Journal of Interpersonal Violence 21 12 1591 1615 doi 10 1177 0886260506294240 ISSN 0886 2605 PMID 17065656 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help reports that Greater percentages of men 70 than women 29 reported that their incident resulted in oral vaginal or anal sex More men 54 than women 28 reported an incident that was classified as rape Post Traumatic Stress Disorder in Rape Survivors The American Academy of Experts in Traumatic Stress 1995 subkhnemux 2013 04 30 Rape victim threatened to withdraw case in UP Zeenews india com 2011 03 19 subkhnemux 2013 02 03 Stigmatization of Rape amp Honor Killings WISE Muslim Women 2002 01 31 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2012 11 08 subkhnemux 2013 02 03 Harter Pascale 2011 06 14 BBC News Libya rape victims face honour killings BBC News subkhnemux 2013 02 03 brrnanukrm aekikh1 Smith M D 2004 Encyclopedia of Rape USA Greenwood Press 2 Macdonals John 1993 World Book Encyclopedia United States of America World Book Inc 3 Kahn Ada 1992 The A Z of women s sexuality a concise encyclopedia Alameda Calif Hunter House 4 The Columbia encyclopedia Sixth edition 5 Leonard Arthur S 1993 Sexuality and the law an encyclopedia of major legal cases New York Garland Pub 6 Kazdin Alan E 2000 Encyclopedia of psychology Washington D C American Psychological Association Oxford New York Oxford University Press 7 Sedney Mary Anne rape crime Grolier Multimedia Encyclopedia Scholastic Library Publishing 2006 1 8 Kittleson M Harper J amp Hilgenkamp K 2005 The Truth About Rape USA Facts on File 9 Medical Foundation for the Care of Victims of Torture 2004 Rape as a Method of Torture Edited by Dr Michael Peelkarepnehyuxkhrngthisxngaelakarklawothstwexng 1 Lamb Sharon The Trouble with Blame Victims Perpetrators and Responsibility Harvard Univ Press 1999 2 Madigan L and Gamble N 1991 The Second Rape Society s Continued Betrayal of the Victim New York Lexington Books 3 Murray JD Spadafore JA McIntosh WD 2005 Belief in a just world and social perception evidence for automatic activation J Soc Psychol Feb 145 1 35 47 4 Frese B Moya M amp Megius J L 2004 Social Perception of Rape How Rape Myth Acceptance Modulates the Influence of Situational Factors Journal of Interpersonal Violence 19 2 143 161 5 Pauwels B 2002 Blaming the victim of rape The culpable control model perspective Dissertation Abstracts International Section B The Sciences and Engineering 63 5 B 6 Blumberg M amp Lester D 1991 High school and college students attitudes toward rape Adolescence 26 103 727 729 7 Shaver 2002 Attribution of rape blame as a function of victim gender and sexuality and perceived similarity to the victim Journal of Homosexuality 43 2 8 Anderson K J amp Accomando C 1999 Madcap Misogyny and Romanticized Victim Blaming Discourses of Stalking in There s Something About Mary Women amp Language 1 24 28 9 The effect of participant sex victim dress and traditional attitudes on causal judgments for marital rape victims Author Abstract Mark A Whatley Journal of Family Violence 20 3 June 2005 p191 10 10 Kay Aaron C Jost John T amp Young Sean 2005 Victim Derogation and Victim Enhancement as Alternate Routes to System Justification Psychological Science 16 3 240 246 prawtisastrkhxngkarkhmkhunkrathachaera 1 Dejanikus T 1981 Rape Crisis Centers Ten Years After Off Our Backs Washington 14 8 p 17 2 DiCanio M 1993 The encyclopedia of violence origins attitudes consequences New York Facts on File 3 Howard A amp Kavenik Francis 2000 Handbook of American Women s History CA Sage Publications Inc 4 Macdonalds John 2001 World Book Encyclopedia United States of America World Book Inc 5 Pride A 1981 To respectability and back A ten year view of the anti rape movement Fight Back pp 114 118 6 Largen M 1981 Grassroots Centers and National Task Forces A History of the Anti Rape Movement Aegis A Magazine on Ending Violence Against Women Autumn 7 Geis G 2007 Rape Encyclopedia Americana Retrieved May 3 2007 from Grolier Online http ea grolier com cgi bin article assetid 0328610 00karothstwexng 1 Tangney June Price and Dearing Ronda L Shame and Guilt The Guilford Press 2002 2 Matsushita Arao Yoshiko 1997 Self blame and depression among forcible rape survivors Dissertation Abstracts International Section B The Sciences and Engineering 57 9 B pp 5925 3 Branscombe Nyla R Wohl Michael J A Owen Susan Allison Julie A N gbala Ahogni 2003 Counterfactual Thinking Blame Assignment and Well Being in Rape Victims Basic amp Applied Social Psychology 25 4 p265 9p 4 Frazier Patricia A Mortensen Heather Steward Jason 2005 Coping Strategies as Mediators of the Relations Among Perceived Control and Distress in Sexual Assault Survivors Journal of Counseling Psychology Jul2005 Vol 52 Issue 3 p267 278saehtukhxngkarepnehyuxhlaykhrng 1 Follette et al 1996 Cumulative trauma the impact of child sexual abuse adult sexual assault and spouse abuse J Trauma Stress 9 1 25 35 2 Sarkar N N Sarkar Rina 2005 Sexual Assault on a Woman Its Impact on Her Life and Living in Society Sexual amp Relationship Therapy 20 4 407 419 3 Parillo K Robert C Freeman amp Paul Young 2003 Association Between Child Sexual Abuse and Sexual Revictimization in Adulthood Among Women Sex Partners of Injection Drug Users Violence and Victims 18 4 473 484 4 Shields N amp Hanneke C 1988 Multiple Sexual Victimization The Case of Incest and Marital Rape In G Hotaling D Finkelhor J Kirkpatrick amp M Strauss Eds Family abuse and its consequences New directions in research pp 255 269 Newbury Park CA Sage 5 Sorenson SB Siegel JM Golding JM Stein JA 1991 Repeated sexual victimization Violence Vict 6 4 299 308 ehyuxephschay 1 Dorais Michel Don t Tell The Sexual Abuse of Boys McGill Queen Univ Press 2002 2 Mezey Gillian and King Michael Male Victims of Sexual Assault Oxford 2000 3 Morgan Luke Hollyoaks Luke s Secret Diary by kaddy benyon 2002 thvsdi 1 Anderson Peter and Struckman Johnson Cindy Sexually Aggressive Women Current Perspectives and Controversies Guilford 1998 2 Harris Grant et al The Causes of Rape Understanding Individual Differences in Male Propensity for Sexual Aggression American Psychological Association 2005 3 Psychosexual Disorders Section 15 Chapter 192 in The Merck Manual of Diagnosis and Therapy edited by Mark H Beers MD and Robert Berkow MD Whitehouse Station NJ Merck Research Laboratories 2002 4 Brownmiller Susan Against Our Will Men Women and Rape Ballantine Books 1975 5 Gavey Nicola Just Sex The Cultural Scaffolding of Rape Routledge 2005 6 Scruton Roger Sexual Desire A Moral Philoshopy of the Erotic Free 1986 7 Ellis Lee Theories of Rape Inquiries Into the Causes of Rape Hemisphere 1989 8 McDonald John Rape Controversial Issues Criminal Profiles Date Rape False Reports and False Memories Charles C Thomas 1995 9 Cothran Helen Sexual Violence Opposing Viewpoints Thompson Gale 2003 10 Holmes Ronald and Steven Current Perspectives on Sex Crimes Sage 2002 11 Emilie Buchwald Pamela Fletcher Martha Roth ed Transforming a Rape Culture Milkweed Editions 2005 12 Kanin Eugene J 1994 False Rape Allegations Archives of Sexual Behavior 13 Sarah Projansky Watching Rape Film and Television in Postfeminist Culture New York University Press 2001 14 Thornhill Randy and Palmer Craig T A Natural History of Rape Biological Bases of Sexual Coercion MIT Press 2001 15 Roussel D E and R Bolen 2000 The Epidemic of Rape and Child Sexual Abuse in the United States Thousand Oaks CA Sage Publications 16 Mclean D 1995 Privacy and its invasion CT Praeger 17 Margulis Stephen T 2003 Privacy as a social issue and behavioral concept Journal of social issues 59 2 243 261 18 Pedersen DM 1997 Psychological functions of privacy Journal Of Environmental Psychology 17 147 156karkhmkhunkrathachaeraedkaelakarkhubngkhbedkthangephs 1 Levesque Roger Sexual Abuse of Children Indiana University Press 1999 2 Pryor Douglass W Unspeakable Acts Why Men Sexually Abuse Children New York University Press 1996 phukrathakarephshying 1 Women s sexual aggression against men prevalence and predictors 2 Denov Myriam S Perspectives on Female Sex Offending A Culture of Denial Ashgate 2004 3 Pearson Patricia When She Was Bad Violent Women and the Myth of Innocence Viking Adult 1997 4 Adams Ken Silently Seduced When Parents Make their Children Partners Understanding Covert Incest HCI 1991 5 Anderson Peter B and Struckman Johnson Cindy Sexually Aggressive Women Current Perspectives and Controversies Guilford 1998 6 Kierski Werner 12 Female Violence Can We Therapists Face Up to it Counseling and Psychotherapy Journal 12 2002 ISSN 1474 5372 13 7 Rosencrans Bobbie The Last Secret Daughters Sexually Abused by Mothers Safer Society 1997 8 Miletski Hani Mother Son Incest The Unthinkable Broken Taboo Safer Society 1999 9 Elliot Michelle Female Sexual Abuse of Children Guilford 1994 10 Hislop Julia Female Sex Offenders What Therapists Law Enforcement and Child Protective Services Need to Know Issues Press 2001 karkhmkhunkrathachaerainkarsmrshruxphuiklchid 1 Easteal P and McOrmond Plummer L Real Rape Real Pain Help for Women Sexually Assaulted by Male Partners Hybrid Publishers 2006 2 Russell Diana E H Rape in Marriage MacMillan Publishing Company 1990 3 Bergen Raquel K Wife Rape Understanding the Response of Survivors and Service Providers Sage Publications Inc 1996 4 Finkelhor D and Yllo K License to Rape Sexual Abuse of Wives The Free Press 1985 5 Hall R James S and Kertesz J The Rapist Who Pays the Rent Women Against Rape UK 6 karkhmkhunkrathachaeraaefnphukrathakarephschay 1 Shapcott David The Face of the Rapist Penguin Books Auckland 1988 2 Groth Nicholas A Men Who Rape The Psychology of the offender Plenum Press New York 1979 danxun Anonymous A Woman in Berlin Six Weeks in the Conquered City Translated by Anthes Bell ISBN de Becker Gavin 1998 The Gift of Fear Survival Signals that Protect Us from Violence New York Dell ISBN recognizing and handling dangerous people and situations Doe Jane 2003 The Real Story of Jane Doe Toronto Random House Ghiglieri Michael P 1999 The Dark Side of Man Tracing the Origins of Violence Reading MA Perseus Books 1999 ISBN 0 7382 0076 X McElroy Wendy 2001 Sexual Correctness The Gender Feminist Attack on Women Jefferson NC McFarland ISBN Kipnes Laura The Female Thing Dirt Sex Envy Vulnerability ISBN Sebold Alice 1999 Lucky A Memoir New York Scribner ISBN author recounts her own rape at the age of 18 sthitikarkhmkhunkrathachaera 1 cak UCSC Rape Prevention Educationaehlngkhxmulxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb karkhmkhunkrathachaera wikiphcnanukrm mikhwamhmaykhxngkhawa khmkhunkrathachaera phlnganwicyaelakhxmulephimetim aekikh Abuse Rape and Domestic Violence Aid and Resource Collection Rape Crisis Information Pathfinder Research WikiCrimeLine Rape Law England and Wales karkhmkhunkrathachaeraaefnxngkhkrkhxngchati aekikh Men Can Stop Rape Rape Abuse Incest National Network RAINN Rape Victim Advocates Sexual Assault Care Centre Scarborough Speaking Out About Rapeaehlngsnbsnun aekikh After Silence online support group message board and chat room for survivors of rape sexual abuse and molestation Pandora s Aquarium An online support group message board and chat room for rape and sexual abuse survivors and their supporters Award Winning Documentary on Rape and Healingekhathungcak https th wikipedia org w index php title karkhmkhunkrathachaera amp oldid 9558696, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม