fbpx
วิกิพีเดีย

การรับมือ (จิตวิทยา)

ในสาขาจิตวิทยา การรับมือ (อังกฤษ: coping) เป็นการตั้งใจพยายามแก้ปัญหาส่วนตัวหรือกับคนอื่น แล้วเอาชนะ ลด หรืออดทนความเครียดหรือความรู้สึกขัดใจของตน ประสิทธิผลของความพยายามขึ้นอยู่กับรูปแบบความเครียดหรือความขัดแย้ง บุคคลอื่น และสถานการณ์อื่น ๆ

กลไกการรับมือทางใจเรียกอย่างสามัญในภาษาอังกฤษว่า coping strategies (กลยุทธ์การรับมือ) หรือ coping skills (ทักษะการรับมือ) เป็นสิ่งที่ไม่รวมกลยุทธ์ใต้สำนึก (เช่น กลไกป้องกันตน [defence mechanism])

คำทั่วไปหมายถึงกลยุทธ์รับมือที่เป็นการปรับตัวที่ดี (adaptive) หรือว่าเป็นแบบสร้างสรรค์ ซึ่งก็คือ ช่วยลดความเครียด โดยกลยุทธ์บางอย่างพิจารณาว่า เป็นการปรับตัวผิด (maladaptive) คือ เพิ่มความเครียด การรับมือแบบผิด ๆ อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการไม่รับมือ นอกจากนั้นแล้ว เป็นคำที่หมายถึงปฏิกิริยา คือเป็นการรับมือตอบสนองต่อตัวสร้างความเครียด (stressor) เทียบกับการรับมือล่วงหน้า (proactive coping) ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อดักตัวก่อความเครียดที่จะเกิดในอนาคต การรับมือส่วนหนึ่งควบคุมโดยบุคลิกภาพคือลักษณะที่เป็นนิสัย แต่ส่วนหนึ่งก็คุมโดยสถานการณ์ทางสังคม โดยเฉพาะธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่ก่อความเครียด

รูปแบบการรับมือ

มีกลยุทธ์การรับมือเป็นร้อย ๆ แต่การจัดเป็นลำดับชั้นโดยเป็นหมวดหมู่ยังไม่มีมติร่วมกัน การแยกแยะหมวดหมู่มักจะทำแบบเป็นคู่ ๆ เช่น มีปัญหาเป็นศูนย์ หรือมีอารมณ์เป็นศูนย์, สู้หรือหนี, โดยการรู้คิดหรือโดยพฤติกรรม หนังสือเรียนจิตวิทยาเล่มหนึ่งกำหนดชนิดกลยุทธ์การรับมือไว้ 4 อย่างแบบกว้าง ๆ คือ

  • เพ่งการประเมิน (appraisal-focused) - เพื่อค้านความคิดสมมุติของตนเอง เป็นการปรับตัวโดยความคิด (adaptive cognitive)
  • เพ่งปัญหา (problem-focused) - เพื่อลดหรือกำจัดตัวก่อความเครียด เป็นการปรับตัวโดยพฤติกรรม (adaptive behavioral)
  • เพ่งอารมณ์ (emotion-focused) - เพื่อเปลี่ยนปฏิกิริยาทางอารมณ์ของตนเอง
  • เพ่งสิ่งที่ทำ (occupation-focused) - เพื่อทำอะไรนาน ๆ ที่ให้การตอบสนองที่ดี
กลยุทธ์เพ่งการประเมิน

กลยุทธ์เพ่งการประเมินเป็นการเปลี่ยนความคิดของตน ยกตัวอย่างเช่น ปฏิเสธความจริง (denial) หรือแยกตัวจากปัญหา (distancing) หรือเมื่อเปลี่ยนวิธีคิดถึงปัญหาโดยเปลี่ยนเป้าหมายและค่านิยมของตน เช่น เห็นความน่าขันในสถานการณ์เช่น "มีคนที่แนะว่า มุกตลกอาจมีบทบาทสำคัญเป็นตัวลดความเครียดในหญิงมากกว่าชาย" (คือ เปลี่ยนปัญหาหญิงเครียดกว่าชายไปเป็นเรื่องขำ ๆ)

กลยุทธ์เพ่งปัญหา

ส่วนคนที่ใช้กลยุทธ์เพ่งปัญหาจะพยายามจัดการเหตุของปัญหา โดยหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาแล้วเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในการจัดการปัญหา เป็นกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนหรือกำจัดตัวก่อความเครียด ศาสตราจารย์จิตวิทยาทรงอิทธิพลที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ดร. ลาซารัส และเพื่อนร่วมงานได้กำหนดกลยุทธ์ว่า เป็นการเข้าควบคุม การหาข้อมูล และการประเมินส่วนได้ส่วนเสีย

กลยุท์เพ่งอารมณ์

ส่วนกลยุทธ์เพ่งอารมณ์รวมทั้งการ

  • คลายอารมณ์
  • หันไปสนใจเรื่องอื่น
  • จัดการความโกรธ

กลยุทธ์นี้ "มุ่งจัดการอารมณ์ที่ตามมากับการรับรู้ความเครียด" ส่วนดร. ลาซารัสกำหนดกลยุทธ์ว่าเป็น

  • การไม่ยอมรับ (disclaiming)
  • การหลีกเลี่ยงหนีปัญหา (escape-avoidance)
  • การรับผิดชอบ
  • การควบคุมตนเอง
  • การประเมินใหม่ในแง่ดี

กลยุทธ์นี้ บรรเทาความเครียดโดยลดมันให้ต่ำที่สุด หรือป้องกันอารมณ์ที่จะมากับตัวก่อความเครียด โดยประยุกต์ใช้ได้หลายแบบ เช่น

  • หาคนสนับสนุน/ช่วย
  • ประเมินตัวก่อความเครียดในแง่ดี
  • ยอมรับผิดชอบ
  • หลีกเลี่ยง
  • ควบคุมตนเอง
  • แยกตัวจากปัญหา (distancing)

กลยุทธ์นี้มุ่งเปลี่ยนความหมายของตัวสร้างความเครียดหรือย้ายความสนใจไปในเรื่องอื่น ยกตัวอย่างเช่น การประเมินใหม่พยายามหาความหมายที่ดีเกี่ยวกับเหตุของตัวก่อความเครียดเพื่อลดอารมณ์ที่เกิดตอบสนอง การหลีกเลี่ยงความทุกข์ทางใจเป็นการหันไปสนใจเรื่องอื่นจากความรู้สึกไม่ดีที่สัมพันธ์กับตัวก่อทุกข์ เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะกับตัวก่อความเครียดที่เหมือนจะควบคุมไม่ได้ (เช่น การได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคระยะสุดท้าย หรือการสูญเสียบุคคลที่รัก)

กลไกการรับมือเพ่งที่อารมณ์บางอย่าง เช่น การหลีกเลี่ยง สามารถบรรเทาความทุกข์ระยะสั้น ๆ แต่ว่า อาจจะก่อความเสียหายถ้าใช้ในระยะยาว ส่วนกลไกเชิงบวกอื่น ๆ เช่น การหาคนสนับสนุน และการประเมินใหม่ในแง่ดี สัมพันธ์กับผลที่ดีกว่าการรับมือโดยวิธีทางอารมณ์ (Emotional approach coping) เป็นรูปแบบการรับมือโดยเพ่งอารมณ์อย่างหนึ่ง ที่การแสดงและการประมวลอารมณ์นำมาใช้อย่างปรับตัวได้เพื่อบริหารการตอบสนองต่อตัวก่อความเครียด

โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์จะใช้กลยุทธ์รับมือทั้งสามอย่างผสมผเสกัน และทักษะการรับมือปัญหาปกติจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา วิธีทั้งหมดนี้สามารถมีประโยชน์ได้ แต่ก็มีนักวิชาการที่อ้างว่าผู้ที่ใช้กลยุทธ์เพ่งปัญหาจะปรับตัวในชีวิตได้ดีกว่า เพราะว่า กลยุทธ์อาจช่วยให้รู้สึกว่าสามารถควบคุมปัญหาของตนได้ดีกว่า เทียบกับวิธีเพ่งอารมณ์ที่บางครั้งทำให้รู้สึกว่าควบคุมเหตุการณ์ได้น้อย ซึ่งถือเป็นการรับมือแบบปรับตัวได้ไม่ดี ดร. ลาซารัสแนะให้สังเกตความเชื่อมกันระหว่างแนวคิดเรื่องการประเมินใหม่เพื่อป้องกันตน (defensive reappraisals) หรือการรับมือด้วยความคิด กับแนวคิดของฟรอยด์เรื่องการป้องกันอัตตา (ego-defenses) ดังนั้น กลยุทธ์การรับมือจึงมีส่วนคาบเกี่ยวกับกลไกป้องกันตน

เทคนิคบวก (ที่เป็นการปรับตัวหรือการรับมือที่สร้างสรรค์)

กลยุทธ์การรับมือที่ดีอันหนึ่ง เป็นการคาดหมายหรือการเตรียมป้องกันปัญหา ซึ่งเรียกว่า การรับมือล่วงหน้า (proactive coping) การคาดหมายเป็นการลดความเครียดในเรื่องอะไรที่ยาก โดยคาดว่ามันจะเป็นอย่างไรแล้วเตรียมตัวรับมือกับมัน

กลยุทธ์ที่ดีอีกสองอย่างก็คือ การรับมือทางสังคม (social coping) เช่น การหาคนสนับสนุน และการรับมือแบบเพ่งความหมาย ที่บุคคลพยายามหาความหมายจากประสบการณ์เครียด การทานอาหาร การออกกำลังกาย และการนอนหลับให้พอเพียง ล้วนมีส่วนช่วยบริหารความเครียด และแม้แต่ความแข็งแรงของร่างกายและเทคนิคการผ่อนคลายเช่น progressive muscle relaxation ที่ผู้บำบัดสอนให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อในทุก ๆ ส่วนของร่างกาย ก็มีส่วนเช่นกัน

วิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งที่สามารถใช้กับเหตุการณ์ที่ก่อความเจ็บปวดก็คือมุกตลก คือ แม้ว่าเราจะรู้สึกไปตามเหตุการณ์ตามที่ควรจะเป็น แต่ก็เอาชนะมันโดยเปลี่ยนมันให้เป็นเรื่องตลกและน่าขัน

เมื่อรับมือกับความเครียด สำคัญที่จะจัดการเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางกาย ทางใจ และทางสังคม ทุกคนควรรักษาสุขภาพและรู้จักผ่อนคลายเมื่อเกิดความเครียด ส่วนทางจิตใจ เป็นเรื่องสำคัญที่จะคิดถึงเรื่องต่าง ๆ ในเชิงบวก ให้คุณค่าตัวเอง บริหารการใช้เวลาได้ดี วางแผนและคิดถึงอนาคต และแสดงอารมณ์ ทางสังคม เราควรจะคุยกับคนอื่นและหาทำสิ่งใหม่ ๆ โดยใช้กลยุทธ์ง่าย ๆ เหล่านี้ การตอบสนองต่อความเครียดในชีวิตจะง่ายขึ้น

เทคนิคเชิงลบ (เป็นการปรับตัวผิดหรือเป็นการไม่รับมือ)

เทียบกับวิธีการรับมือที่เป็นการปรับตัวที่ดีซึ่งช่วยเพิ่มสมรรถภาพในชีวิต เทคนิคที่เป็นการปรับตัวผิดแม้จะช่วยลดอาการของปัญหาแต่ก็จะช่วยรักษาและเสริมแรงปัญหานั้น เทคนิคที่ปรับตัวผิดจะมีประสิทธิผลในระยะสั้นเท่านั้นไม่เหมือนการรับมือระยะยาว ตัวอย่างของกลยุทธ์การรับมือที่เป็นการปรับตัวผิดรวมทั้งการแยกตัวทางใจจากสิ่งแวดล้อมหรือความจริง (dissociation) การเพิ่มความไวปฏิกิริยาต่อสิ่งก่อความเครียด (sensitization) พฤติกรรมที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยแต่ไม่ช่วยแก้ปัญหา (safety behaviors) การหนีไม่ประสบกับเหตุการณ์/ตัวก่อความเครียดที่อาจก่อปัญหา (avoidance coping) และการหนีจากความจริงที่ต้องประสบในชีวิต (escape) รวมทั้งการใช้สารเสพติด กลยุทธ์เหล่านี้ขัดขวางการเรียนรู้ที่จะแยกความวิตกกังวลออกจากเหตุการณ์ที่กลายมาเป็นเรื่องสัมพันธ์กัน เป็นการปรับตัวไม่ดีที่ช่วยดำรงความผิดปกติทางจิต

การแยกตัว (dissociation) เป็นความสามารถของใจที่จะแยกและจัดแบ่งส่วนของความคิด ความจำ และอารมณ์ ซึ่งบ่อยครั้งสัมพันธ์กับความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PSD) การทำให้ไว (sensitization) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลพยายามเรียนรู้ ฝึกซ้อม หรือคาดการณ์เหตุการณ์ที่กลัว โดยเป็นความพยายามเพื่อป้องกันเหตุการณ์เหล่านั้นไม่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก แต่ความจริงทำให้เกิดความระมัดระวังเกินไปและความวิตกกังวลที่ซ้ำ ๆ พฤติกรรมที่ทำให้รู้สึกปลอดภัย (safety behavior) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลที่มีโรควิตกกังวลกลายมาพึ่งอะไรบางอย่าง หรือคนบางคน เพื่อรับมือความวิตกกังวลที่มีเกิน การรับมือแบบหลีกเลี่ยง (avoidance coping) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้วิตกกังวลโดยทุกวิถีทาง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สามัญที่สุด การหนี (escape) คล้ายกับการหลีกเลี่ยง ซึ่งเกิดในคนไข้โรคตื่นตระหนกหรือโรคกลัวอะไรบางอย่าง ผู้ต้องการหนีจากเหตุการณ์ทันทีที่รู้สึกวิตกกังวล

ตัวอย่างอื่น ๆ

ตัวอย่างอื่น ๆ ของกลยุทธ์การรับมือรวมทั้ง คนคุยที่ช่วยบรรเทาทุกข์ อุปกรณ์ช่วยบรรเทาทุกข์ การหันไปสนใจสิ่งอื่น การปฏิเสธว่ามีปัญหา การใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในทางที่ผิด การโทษตัวเอง และการอยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไร (behavioral disengagement)

หลายคนคิดว่า การนั่งสมาธิ/การเจริญกรรมฐาน "ไม่ใช่เพียงสงบอารมณ์ของเราเท่านั้น แต่ ... ทำให้เรารู้สึกเป็นหนึ่งเดียว" และอีกด้วยก็คือ "การสวดมนต์ที่คุณพยายามได้ความสงบและสันติภาพในภายใน"

การรับมือโดยไม่พยายาม (low-effort coping) หมายถึงปฏิกิริยาของชนกลุ่มน้อยเมื่อพยายามจะเข้ากับวัฒนธรรมของคนกลุ่มใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนที่เป็นชนกลุ่มน้อยอาจเรียนรู้ที่จะพยายามให้น้อยที่สุดเพราะคิดว่าคนกลุ่มใหญ่กีดกันตนโดยความเดียดฉันท์

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ตามประวัติ

ความแตกต่างระหว่างเพศ

ชายกับหญิงอาจมีตัวก่อความเครียดและกลยุทธ์รับมือที่แตกต่างกัน มีหลักฐานว่า ชายมักจะเครียดเพราะเหตุอาชีพ เทียบกับหญิงที่มักจะเครียดเพราะปัญหาความสัมพันธ์กับคนอื่น งานศึกษาต้น ๆ แสดงว่า "มีความแตกต่างระหว่างเพศในเรื่องแหล่งก่อความเครียด แต่ว่า ความแตกต่างระหว่างเพศในการรับมือค่อนข้างจะน้อยเมื่อควบคุมแหล่งก่อความเครียดแล้ว" โดยปี 2552 ได้ยืนยันว่ามี "ความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างชายหญิงในกลยุทธ์รับมือเมื่อศึกษาบุคคลต่าง ๆ ในสถานการณ์คล้าย ๆ กัน"

โดยทั่วไปแล้ว งานศึกษาชี้ว่า หญิงมักจะใช้การรับมือโดยเพ่งที่อารมณ์ และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดโดยดูแลลูกและหาเพื่อน (tend-and-befriend) เทียบกับชายที่มักใช้การรับมือเพ่งที่ปัญหา และมีปฏิกิริยาแบบสู้หรือหนี (fight-or-flight) ซึ่งอาจเป็นเพราะมาตรฐานสังคมสนับสนุนให้ชายเป็นตัวของตัวเองมากกว่า และสนับสนุนให้หญิงเกื้อกูลกันมากกว่า ทฤษฎีอีกอย่างที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ก็คือเป็นเรื่องทางพันธุกรรม แต่ระดับอิทธิพลที่ปัจจัยทางพันธุกรรมเทียบกับทางสังคมมีต่อพฤติกรรม ก็ยังไม่มีข้อยุติ

มูลฐานทางสรีรภาพ

ฮอร์โมนอาจมีบทบาทในการบริหารความเครียด ฮอร์โมนความเครียดคือคอร์ติซอล พบว่าเพิ่มขึ้นในชายในสถานการณ์ที่ก่อความเครียด แต่ว่าในหญิง ระดับฮอร์โมนกลับลดลง แต่สมองส่วนระบบลิมบิกทำงานเพิ่มขึ้น นักวิจัยจำนวนมากเชื่อว่า ผลเช่นนี้เป็นเหตุที่ชายมีปฏิกิริยาสู้หรือหนี (fight-or-flight) ต่อความเครียด เทียบกับหญิงที่มีปฏิกิริยาดูแลลูกและหาเพื่อน (tend-and-befriend) เพราะปฏิกิริยาสู้หรือหนีทำให้ระบบประสาทซิมพาเทติกทำงาน มีผลเป็นการเพิ่มระดับสมาธิและอะดรีนาลีน (อีพิเนฟริน) และนัยตรงกันข้ามปฏิกิริยาดูแลลูกและหาเพื่อนหมายถึงความโน้มเอียงที่หญิงจะปกป้องลูกและญาติ แม้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะสนับสนุนทฤษฎีทางพันธุกรรม แต่ไม่ควรเข้าใจว่า โดยทั่วไปแล้ว หญิงจะไม่มีปฏิกิริยาสู้หรือหนี หรือว่าชายจะไม่มีพฤติกรรมดูแลลูกและหาเพื่อน

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. Weiten, W; Lloyd, MA (2008). Psychology Applied to Modern Life (9th ed.). Wadsworth Cengage Learning. ISBN 0-495-55339-5.CS1 maint: uses authors parameter (link)[ต้องการหน้า]
  2. Snyder, C.R. (ed.) (1999) Coping: The Psychology of What Works. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-511934-7.[ต้องการหน้า]
  3. Zeidner, M. & Endler, N.S. (editors) (1996) Handbook of Coping: Theory, Research, Applications. New York: John Wiley. ISBN 0-471-59946-8.[ต้องการหน้า]
  4. Cummings, E. Mark; Greene, Anita L.; Karraker, Katherine H., บ.ก. (1991). Life-span Developmental Psychology: Perspectives on Stress and Coping. p. 92. ISBN 978-0-8058-0371-6.
  5. Lazarus, RS; Folkman, S (1984). Stress, Appraisal, and Coping. p. 141. ISBN 0-8261-4191-9.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  6. Carver, Charles S.; Connor-Smith, Jennifer (2010). "Personality and Coping". Annual Review of Psychology. 61: 679–704. doi:10.1146/annurev.psych.093008.100352. PMID 19572784.
  7. Worell, J (2001). Encyclopedia of Women and Gender. I. p. 603.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  8. Brannon, Linda; Feist, Jess (2009). "Personal Coping Strategies". Health Psychology: An Introduction to Behavior and Health: An Introduction to Behavior and Health (7th ed.). Wadsworth Cengage Learning. pp. 121–3. ISBN 978-0-495-60132-6.
  9. Robinson, Jenefer (2005). Deeper Than Reason: Emotion and Its Role in Literature, Music, and Art. p. 438. ISBN 978-0-19-926365-3.
  10. Carver, CS (2011). Contrada, RJ; Baum, A (บ.ก.). Coping. The Handbook of Stress Science: Biology, Psychology, and Health. New York: Springer Publishing Company. pp. 220–229.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  11. Folkman, S.; Lazarus, R. S. (1988). "Coping as a mediator of emotion". Journal of Personality and Social Psychology. 54 (3): 466–75. doi:10.1037/0022-3514.54.3.466. PMID 3361419.
  12. Ben-Zur, H. (2009). "Coping styles and affect". International Journal of Stress Management. 16 (2): 87–101. doi:10.1037/a0015731.
  13. Stanton, A. L.; Parsa, A.; Austenfeld, J. L. (2002). Snyder, C. R.; Lopez, S. J. (บ.ก.). Oxford Handbook of Positive Psychology. New York: Oxford University Press. pp. 16–17. ISBN 978-0-19-986216-0.
  14. Taylor, SE (2006). Health Psychology, international edition. McGraw-Hill Education. p. 193.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  15. Skynner, Robin; Cleese, John (1994). Life and How to Survive It. London. p. 55. ISBN 978-0-7493-1108-7.
  16. Madders, Jane (1981). Stress and Relaxation. pp. 24–5.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  17. Skynner, Robin; Cleese, John (1994). Life and How to Survive It. London. pp. 53–6. ISBN 978-0-7493-1108-7.
  18. Lane, Daniel. "Anxiety Strategies". Perth Brain Centre. สืบค้นเมื่อ 2015-08-11.
  19. "Tips to Manage Anxiety and Stress". Anxiety & Depression Association of America. สืบค้นเมื่อ 2015-08-11.
  20. Jacofsky, Matthew. "The Maintenance of Anxiety Disorders: Maladaptive Coping Strategies". สืบค้นเมื่อ 2011-07-25.
  21. Stoeber, Joachim; Janssen, Dirk P. (2011). "Perfectionism and coping with daily failures: Positive reframing helps achieve satisfaction at the end of the day". Anxiety, Stress & Coping. 24 (5): 477–97. doi:10.1080/10615806.2011.562977. PMID 21424944.
  22. Albertus, Sargent. . Stress Treatment. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2017-06-12. สืบค้นเมื่อ 2015-08-11.
  23. Skynner, Robin; Cleese, John (1994). Life and How to Survive It. London. p. 355. ISBN 978-0-7493-1108-7.
  24. Ogbu, John U. (1991). "Minority coping responses and school experience". The Journal of Psychohistory. 18 (4): 433–56.
  25. Davis, Mary C.; Matthews, Karen A.; Twamley, Elizabeth W. (1999). "Is life more difficult on mars or venus? A meta-analytic review of sex differences in major and minor life events". Annals of Behavioral Medicine. 21 (1): 83–97. doi:10.1007/BF02895038. PMID 18425659.
  26. Billings, Andrew G.; Moos, Rudolf H. (1981). "The role of coping responses and social resources in attenuating the stress of life events". Journal of Behavioral Medicine. 4 (2): 139–57. doi:10.1007/BF00844267. PMID 7321033.
  27. Brannon, Linda; Feist, Jess (2009). Health Psychology: An Introduction to Behavior and Health: An Introduction to Behavior and Health (7th ed.). Wadsworth Cengage Learning. p. 125. ISBN 978-0-495-60132-6.
  28. Washburn-Ormachea, Jill M.; Hillman, Stephen B.; Sawilowsky, Shlomo S. (2004). "Gender and Gender-Role Orientation Differences on Adolescents' Coping with Peer Stressors". Journal of Youth and Adolescence. 33 (1): 31–40. doi:10.1023/A:1027330213113.
  29. Wang, J.; Korczykowski, M.; Rao, H.; Fan, Y.; Pluta, J.; Gur, R. C.; McEwen, B. S.; Detre, J. A. (2007). "Gender difference in neural response to psychological stress". Social Cognitive and Affective Neuroscience. 2 (3): 227–39. doi:10.1093/scan/nsm018. PMC 1974871. PMID 17873968.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Folkman, Susan; Lazarus, Richard S (1990). Stein, Nancy และคณะ (บ.ก.). Coping and Emotion. Psychological and Biological Approaches to Emotion. Explicit use of et al. in: |editors= (help)CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  • Brougham, Ruby R.; Zail, Christy M.; Mendoza, Celeste M.; Miller, Janine R. (2009). "Stress, Sex Differences, and Coping Strategies Among College Students". Current Psychology. 28 (2): 85–97. doi:10.1007/s12144-009-9047-0.
  • Spirituality and Health
  • Mental Health Coping Skills
  • Coping Skills for Trauma
  • Coping Strategies for Children and Teenagers Living with Domestic Violence

การร, บม, ตว, ทยา, ในสาขาจ, ตว, ทยา, การร, บม, งกฤษ, coping, เป, นการต, งใจพยายามแก, ญหาส, วนต, วหร, อก, บคนอ, แล, วเอาชนะ, ลด, หร, ออดทนความเคร, ยดหร, อความร, กข, ดใจของตน, ประส, ทธ, ผลของความพยายามข, นอย, บร, ปแบบความเคร, ยดหร, อความข, ดแย, คคลอ, และสถานการณ. insakhacitwithya karrbmux xngkvs coping epnkartngicphyayamaekpyhaswntwhruxkbkhnxun aelwexachna ld hruxxdthnkhwamekhriydhruxkhwamrusukkhdickhxngtn 1 2 3 4 5 prasiththiphlkhxngkhwamphyayamkhunxyukbrupaebbkhwamekhriydhruxkhwamkhdaeyng bukhkhlxun aelasthankarnxun klikkarrbmuxthangiceriykxyangsamyinphasaxngkvswa coping strategies klyuththkarrbmux hrux coping skills thksakarrbmux epnsingthiimrwmklyuththitsanuk echn klikpxngkntn defence mechanism khathwiphmaythungklyuththrbmuxthiepnkarprbtwthidi adaptive hruxwaepnaebbsrangsrrkh sungkkhux chwyldkhwamekhriyd odyklyuththbangxyangphicarnawa epnkarprbtwphid maladaptive khux ephimkhwamekhriyd karrbmuxaebbphid xaccaeriykidwa epnkarimrbmux nxkcaknnaelw epnkhathihmaythungptikiriya khuxepnkarrbmuxtxbsnxngtxtwsrangkhwamekhriyd stressor ethiybkbkarrbmuxlwnghna proactive coping sungepnkarkrathaephuxdktwkxkhwamekhriydthicaekidinxnakht karrbmuxswnhnungkhwbkhumodybukhlikphaphkhuxlksnathiepnnisy aetswnhnungkkhumodysthankarnthangsngkhm odyechphaathrrmchatikhxngsingaewdlxmthikxkhwamekhriyd 6 enuxha 1 rupaebbkarrbmux 1 1 ethkhnikhbwk thiepnkarprbtwhruxkarrbmuxthisrangsrrkh 1 2 ethkhnikhechinglb epnkarprbtwphidhruxepnkarimrbmux 1 3 twxyangxun 2 thvsdicitwiekhraahtamprawti 3 khwamaetktangrahwangephs 4 multhanthangsrirphaph 5 duephim 6 echingxrrthaelaxangxing 7 aehlngkhxmulxunrupaebbkarrbmux aekikhmiklyuththkarrbmuxepnrxy 6 aetkarcdepnladbchnodyepnhmwdhmuyngimmimtirwmkn karaeykaeyahmwdhmumkcathaaebbepnkhu echn mipyhaepnsuny hruxmixarmnepnsuny suhruxhni odykarrukhidhruxodyphvtikrrm hnngsuxeriyncitwithyaelmhnungkahndchnidklyuththkarrbmuxiw 4 xyangaebbkwang khux 1 ephngkarpraemin appraisal focused ephuxkhankhwamkhidsmmutikhxngtnexng epnkarprbtwodykhwamkhid adaptive cognitive ephngpyha problem focused ephuxldhruxkacdtwkxkhwamekhriyd epnkarprbtwodyphvtikrrm adaptive behavioral ephngxarmn emotion focused ephuxepliynptikiriyathangxarmnkhxngtnexng ephngsingthitha occupation focused ephuxthaxairnan thiihkartxbsnxngthidiklyuththephngkarpraeminklyuththephngkarpraeminepnkarepliynkhwamkhidkhxngtn yktwxyangechn ptiesthkhwamcring denial hruxaeyktwcakpyha distancing hruxemuxepliynwithikhidthungpyhaodyepliynepahmayaelakhaniymkhxngtn echn ehnkhwamnakhninsthankarnechn mikhnthiaenawa muktlkxacmibthbathsakhyepntwldkhwamekhriydinhyingmakkwachay khux epliynpyhahyingekhriydkwachayipepneruxngkha 7 klyuththephngpyhaswnkhnthiichklyuththephngpyhacaphyayamcdkarehtukhxngpyha odyhakhxmulekiywkbpyhaaelweriynruthksaihm inkarcdkarpyha epnklyuththephuxepliynhruxkacdtwkxkhwamekhriyd sastracarycitwithyathrngxiththiphlthimhawithyalyaekhlifxreniy ebirkliy dr lasars aelaephuxnrwmnganidkahndklyuththwa epnkarekhakhwbkhum karhakhxmul aelakarpraeminswnidswnesiy klyuthephngxarmnswnklyuththephngxarmnrwmthngkar khlayxarmn hnipsniceruxngxun cdkarkhwamokrth ecriykrrmthan nngsmathi phxnkhlayxyangepnrabb klyuththni mungcdkarxarmnthitammakbkarrbrukhwamekhriyd 8 swndr lasarskahndklyuththwaepn 9 karimyxmrb disclaiming karhlikeliynghnipyha escape avoidance karrbphidchxb karkhwbkhumtnexng karpraeminihminaengdi klyuththni brrethakhwamekhriydodyldmnihtathisud hruxpxngknxarmnthicamakbtwkxkhwamekhriyd 10 odyprayuktichidhlayaebb echn 10 11 hakhnsnbsnun chwy praemintwkxkhwamekhriydinaengdi yxmrbphidchxb hlikeliyng khwbkhumtnexng aeyktwcakpyha distancing klyuththnimungepliynkhwamhmaykhxngtwsrangkhwamekhriydhruxyaykhwamsnicipineruxngxun 11 yktwxyangechn karpraeminihmphyayamhakhwamhmaythidiekiywkbehtukhxngtwkxkhwamekhriydephuxldxarmnthiekidtxbsnxng karhlikeliyngkhwamthukkhthangicepnkarhnipsniceruxngxuncakkhwamrusukimdithismphnthkbtwkxthukkh epnklyuthththiehmaakbtwkxkhwamekhriydthiehmuxncakhwbkhumimid echn karidwinicchywaepnorkhrayasudthay hruxkarsuyesiybukhkhlthirk 10 klikkarrbmuxephngthixarmnbangxyang echn karhlikeliyng samarthbrrethakhwamthukkhrayasn aetwa xaccakxkhwamesiyhaythaichinrayayaw swnklikechingbwkxun echn karhakhnsnbsnun aelakarpraeminihminaengdi smphnthkbphlthidikwa 12 karrbmuxodywithithangxarmn Emotional approach coping epnrupaebbkarrbmuxodyephngxarmnxyanghnung thikaraesdngaelakarpramwlxarmnnamaichxyangprbtwidephuxbriharkartxbsnxngtxtwkxkhwamekhriyd 13 odythwipaelw mnusycaichklyuththrbmuxthngsamxyangphsmpheskn aelathksakarrbmuxpyhapkticaepliyniptamkalewla withithnghmdnisamarthmipraoychnid aetkminkwichakarthixangwaphuthiichklyuththephngpyhacaprbtwinchiwitiddikwa 14 ephraawa klyuththxacchwyihrusukwasamarthkhwbkhumpyhakhxngtniddikwa ethiybkbwithiephngxarmnthibangkhrngthaihrusukwakhwbkhumehtukarnidnxy sungthuxepnkarrbmuxaebbprbtwidimdi dr lasarsaenaihsngektkhwamechuxmknrahwangaenwkhideruxngkarpraeminihmephuxpxngkntn defensive reappraisals hruxkarrbmuxdwykhwamkhid kbaenwkhidkhxngfrxyderuxngkarpxngknxtta ego defenses 9 dngnn klyuththkarrbmuxcungmiswnkhabekiywkbklikpxngkntn ethkhnikhbwk thiepnkarprbtwhruxkarrbmuxthisrangsrrkh aekikh klyuththkarrbmuxthidixnhnung epnkarkhadhmayhruxkaretriympxngknpyha sungeriykwa karrbmuxlwnghna proactive coping 8 karkhadhmayepnkarldkhwamekhriydineruxngxairthiyak odykhadwamncaepnxyangiraelwetriymtwrbmuxkbmn 15 klyuthththidixiksxngxyangkkhux karrbmuxthangsngkhm social coping echn karhakhnsnbsnun aelakarrbmuxaebbephngkhwamhmay thibukhkhlphyayamhakhwamhmaycakprasbkarnekhriyd 8 karthanxahar karxxkkalngkay aelakarnxnhlbihphxephiyng lwnmiswnchwybriharkhwamekhriyd aelaaemaetkhwamaekhngaerngkhxngrangkayaelaethkhnikhkarphxnkhlayechn progressive muscle relaxation thiphubabdsxnihphxnkhlayklamenuxinthuk swnkhxngrangkay kmiswnechnkn 16 withithidithisudxyanghnungthisamarthichkbehtukarnthikxkhwamecbpwdkkhuxmuktlk khux aemwaeracarusukiptamehtukarntamthikhwrcaepn aetkexachnamnodyepliynmnihepneruxngtlkaelanakhn 17 emuxrbmuxkbkhwamekhriyd sakhythicacdkareruxngkhwamepnxyuthidithngthangkay thangic aelathangsngkhm thukkhnkhwrrksasukhphaphaelaruckphxnkhlayemuxekidkhwamekhriyd swnthangcitic epneruxngsakhythicakhidthungeruxngtang inechingbwk ihkhunkhatwexng briharkarichewlaiddi wangaephnaelakhidthungxnakht aelaaesdngxarmn thangsngkhm erakhwrcakhuykbkhnxunaelahathasingihm odyichklyuththngay ehlani kartxbsnxngtxkhwamekhriydinchiwitcangaykhun 18 19 ethkhnikhechinglb epnkarprbtwphidhruxepnkarimrbmux aekikh ethiybkbwithikarrbmuxthiepnkarprbtwthidisungchwyephimsmrrthphaphinchiwit ethkhnikhthiepnkarprbtwphidaemcachwyldxakarkhxngpyhaaetkcachwyrksaaelaesrimaerngpyhann ethkhnikhthiprbtwphidcamiprasiththiphlinrayasnethannimehmuxnkarrbmuxrayayaw twxyangkhxngklyuththkarrbmuxthiepnkarprbtwphidrwmthngkaraeyktwthangiccaksingaewdlxmhruxkhwamcring dissociation karephimkhwamiwptikiriyatxsingkxkhwamekhriyd sensitization phvtikrrmthithaihrusukplxdphyaetimchwyaekpyha safety behaviors karhniimprasbkbehtukarn twkxkhwamekhriydthixackxpyha avoidance coping aelakarhnicakkhwamcringthitxngprasbinchiwit escape rwmthngkarichsaresphtid klyuththehlanikhdkhwangkareriynruthicaaeykkhwamwitkkngwlxxkcakehtukarnthiklaymaepneruxngsmphnthkn epnkarprbtwimdithichwydarngkhwamphidpktithangcitkaraeyktw dissociation epnkhwamsamarthkhxngicthicaaeykaelacdaebngswnkhxngkhwamkhid khwamca aelaxarmn sungbxykhrngsmphnthkbkhwamphidpktithiekidhlngkhwamekhriydthisaethuxnic PSD karthaihiw sensitization ekidkhunemuxbukhkhlphyayameriynru fuksxm hruxkhadkarnehtukarnthiklw odyepnkhwamphyayamephuxpxngknehtukarnehlannimihekidkhuntngaetaerk aetkhwamcringthaihekidkhwamramdrawngekinipaelakhwamwitkkngwlthisa phvtikrrmthithaihrusukplxdphy safety behavior ekidkhunemuxbukhkhlthimiorkhwitkkngwlklaymaphungxairbangxyang hruxkhnbangkhn ephuxrbmuxkhwamwitkkngwlthimiekin karrbmuxaebbhlikeliyng avoidance coping ekidkhunemuxbukhkhleliyngsthankarnthithaihwitkkngwlodythukwithithang sungepnklyuthththisamythisud karhni escape khlaykbkarhlikeliyng sungekidinkhnikhorkhtuntrahnkhruxorkhklwxairbangxyang phutxngkarhnicakehtukarnthnthithirusukwitkkngwl 20 twxyangxun aekikh twxyangxun khxngklyuththkarrbmuxrwmthng 21 khnkhuythichwybrrethathukkh xupkrnchwybrrethathukkh karhnipsnicsingxun karptiesthwamipyha karichsarxxkvththitxcitprasathinthangthiphid karothstwexng aelakarxyuechy imthaxair behavioral disengagement 22 hlaykhnkhidwa karnngsmathi karecriykrrmthan imichephiyngsngbxarmnkhxngeraethann aet thaiherarusukepnhnungediyw aelaxikdwykkhux karswdmntthikhunphyayamidkhwamsngbaelasntiphaphinphayin 23 karrbmuxodyimphyayam low effort coping hmaythungptikiriyakhxngchnklumnxyemuxphyayamcaekhakbwthnthrrmkhxngkhnklumihy yktwxyangechn nkeriynthiepnchnklumnxyxaceriynruthicaphyayamihnxythisudephraakhidwakhnklumihykidkntnodykhwamediydchnth 24 thvsdicitwiekhraahtamprawti aekikhswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkhwamaetktangrahwangephs aekikhchaykbhyingxacmitwkxkhwamekhriydaelaklyuththrbmuxthiaetktangkn mihlkthanwa chaymkcaekhriydephraaehtuxachiph ethiybkbhyingthimkcaekhriydephraapyhakhwamsmphnthkbkhnxun 25 ngansuksatn aesdngwa mikhwamaetktangrahwangephsineruxngaehlngkxkhwamekhriyd aetwa khwamaetktangrahwangephsinkarrbmuxkhxnkhangcanxyemuxkhwbkhumaehlngkxkhwamekhriydaelw 26 odypi 2552 idyunynwami khwamaetktangelknxyrahwangchayhyinginklyuththrbmuxemuxsuksabukhkhltang insthankarnkhlay kn 27 odythwipaelw ngansuksachiwa hyingmkcaichkarrbmuxodyephngthixarmn aelamiptikiriyatxbsnxngtxkhwamekhriydodyduaellukaelahaephuxn tend and befriend ethiybkbchaythimkichkarrbmuxephngthipyha aelamiptikiriyaaebbsuhruxhni fight or flight sungxacepnephraamatrthansngkhmsnbsnunihchayepntwkhxngtwexngmakkwa aelasnbsnunihhyingekuxkulknmakkwa thvsdixikxyangthiichxthibaypraktkarnniidkkhuxepneruxngthangphnthukrrm aetradbxiththiphlthipccythangphnthukrrmethiybkbthangsngkhmmitxphvtikrrm kyngimmikhxyuti 28 multhanthangsrirphaph aekikhhxromnxacmibthbathinkarbriharkhwamekhriyd hxromnkhwamekhriydkhuxkhxrtisxl phbwaephimkhuninchayinsthankarnthikxkhwamekhriyd aetwainhying radbhxromnklbldlng aetsmxngswnrabblimbikthanganephimkhun nkwicycanwnmakechuxwa phlechnniepnehtuthichaymiptikiriyasuhruxhni fight or flight txkhwamekhriyd ethiybkbhyingthimiptikiriyaduaellukaelahaephuxn tend and befriend 29 ephraaptikiriyasuhruxhnithaihrabbprasathsimphaethtikthangan miphlepnkarephimradbsmathiaelaxadrinalin xiphienfrin aelanytrngknkhamptikiriyaduaellukaelahaephuxnhmaythungkhwamonmexiyngthihyingcapkpxnglukaelayati aemwaphvtikrrmehlanicasnbsnunthvsdithangphnthukrrm aetimkhwrekhaicwa odythwipaelw hyingcaimmiptikiriyasuhruxhni hruxwachaycaimmiphvtikrrmduaellukaelahaephuxnduephim aekikh2The unnamed parameter 2 is no longer supported Please see the documentation for columns list khwamchladthangxarmn karichstildkhwamekhriyd karichdntriepnklyuththrbmux Psychological resilience karkhwbkhumxarmntnexng khwamekhriyd karcdkarkhwamekhriyd karcdkartrabapthangsngkhmechingxrrthaelaxangxing aekikh 1 0 1 1 Weiten W Lloyd MA 2008 Psychology Applied to Modern Life 9th ed Wadsworth Cengage Learning ISBN 0 495 55339 5 CS1 maint uses authors parameter link txngkarhna Snyder C R ed 1999 Coping The Psychology of What Works New York Oxford University Press ISBN 0 19 511934 7 txngkarhna Zeidner M amp Endler N S editors 1996 Handbook of Coping Theory Research Applications New York John Wiley ISBN 0 471 59946 8 txngkarhna Cummings E Mark Greene Anita L Karraker Katherine H b k 1991 Life span Developmental Psychology Perspectives on Stress and Coping p 92 ISBN 978 0 8058 0371 6 Lazarus RS Folkman S 1984 Stress Appraisal and Coping p 141 ISBN 0 8261 4191 9 CS1 maint uses authors parameter link 6 0 6 1 Carver Charles S Connor Smith Jennifer 2010 Personality and Coping Annual Review of Psychology 61 679 704 doi 10 1146 annurev psych 093008 100352 PMID 19572784 Worell J 2001 Encyclopedia of Women and Gender I p 603 CS1 maint uses authors parameter link 8 0 8 1 8 2 Brannon Linda Feist Jess 2009 Personal Coping Strategies Health Psychology An Introduction to Behavior and Health An Introduction to Behavior and Health 7th ed Wadsworth Cengage Learning pp 121 3 ISBN 978 0 495 60132 6 9 0 9 1 Robinson Jenefer 2005 Deeper Than Reason Emotion and Its Role in Literature Music and Art p 438 ISBN 978 0 19 926365 3 10 0 10 1 10 2 Carver CS 2011 Contrada RJ Baum A b k Coping The Handbook of Stress Science Biology Psychology and Health New York Springer Publishing Company pp 220 229 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link 11 0 11 1 Folkman S Lazarus R S 1988 Coping as a mediator of emotion Journal of Personality and Social Psychology 54 3 466 75 doi 10 1037 0022 3514 54 3 466 PMID 3361419 Ben Zur H 2009 Coping styles and affect International Journal of Stress Management 16 2 87 101 doi 10 1037 a0015731 Stanton A L Parsa A Austenfeld J L 2002 Snyder C R Lopez S J b k Oxford Handbook of Positive Psychology New York Oxford University Press pp 16 17 ISBN 978 0 19 986216 0 Taylor SE 2006 Health Psychology international edition McGraw Hill Education p 193 CS1 maint uses authors parameter link Skynner Robin Cleese John 1994 Life and How to Survive It London p 55 ISBN 978 0 7493 1108 7 Madders Jane 1981 Stress and Relaxation pp 24 5 CS1 maint uses authors parameter link Skynner Robin Cleese John 1994 Life and How to Survive It London pp 53 6 ISBN 978 0 7493 1108 7 Lane Daniel Anxiety Strategies Perth Brain Centre subkhnemux 2015 08 11 Tips to Manage Anxiety and Stress Anxiety amp Depression Association of America subkhnemux 2015 08 11 Jacofsky Matthew The Maintenance of Anxiety Disorders Maladaptive Coping Strategies subkhnemux 2011 07 25 Stoeber Joachim Janssen Dirk P 2011 Perfectionism and coping with daily failures Positive reframing helps achieve satisfaction at the end of the day Anxiety Stress amp Coping 24 5 477 97 doi 10 1080 10615806 2011 562977 PMID 21424944 Albertus Sargent Basic Coping Strategies For Stress Stress Treatment khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2017 06 12 subkhnemux 2015 08 11 Skynner Robin Cleese John 1994 Life and How to Survive It London p 355 ISBN 978 0 7493 1108 7 Ogbu John U 1991 Minority coping responses and school experience The Journal of Psychohistory 18 4 433 56 Davis Mary C Matthews Karen A Twamley Elizabeth W 1999 Is life more difficult on mars or venus A meta analytic review of sex differences in major and minor life events Annals of Behavioral Medicine 21 1 83 97 doi 10 1007 BF02895038 PMID 18425659 Billings Andrew G Moos Rudolf H 1981 The role of coping responses and social resources in attenuating the stress of life events Journal of Behavioral Medicine 4 2 139 57 doi 10 1007 BF00844267 PMID 7321033 Brannon Linda Feist Jess 2009 Health Psychology An Introduction to Behavior and Health An Introduction to Behavior and Health 7th ed Wadsworth Cengage Learning p 125 ISBN 978 0 495 60132 6 Washburn Ormachea Jill M Hillman Stephen B Sawilowsky Shlomo S 2004 Gender and Gender Role Orientation Differences on Adolescents Coping with Peer Stressors Journal of Youth and Adolescence 33 1 31 40 doi 10 1023 A 1027330213113 Wang J Korczykowski M Rao H Fan Y Pluta J Gur R C McEwen B S Detre J A 2007 Gender difference in neural response to psychological stress Social Cognitive and Affective Neuroscience 2 3 227 39 doi 10 1093 scan nsm018 PMC 1974871 PMID 17873968 aehlngkhxmulxun aekikhFolkman Susan Lazarus Richard S 1990 Stein Nancy aelakhna b k Coping and Emotion Psychological and Biological Approaches to Emotion Explicit use of et al in editors help CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link Brougham Ruby R Zail Christy M Mendoza Celeste M Miller Janine R 2009 Stress Sex Differences and Coping Strategies Among College Students Current Psychology 28 2 85 97 doi 10 1007 s12144 009 9047 0 Spirituality and Health Mental Health Coping Skills Coping Skills for Trauma Coping Strategies for Children and Teenagers Living with Domestic Violenceekhathungcak https th wikipedia org w index php title karrbmux citwithya amp oldid 9559440, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม