fbpx
วิกิพีเดีย

ประวัติศาสตร์เยอรมนี

แนวคิดของเยอรมนีในฐานะที่เป็นภูมิภาคที่แตกต่างในยุโรปกลางสามารถเชื่อมโยงไปถึงผู้บัญชาการทหารโรมัน จูเลียส ซีซาร์ ผู้ที่กล่าวอ้างถึงพื้นที่ดินแดนที่ยังไม่ได้ถูกพิชิตทางด้านตะวันออกของแม่น้ำไรน์คือเจอร์มาเนีย(Germania) ดังนั้นจึงมีความแตกต่างจากพวกกอล(ฝรั่งเศส), ซึ่งเขาพิชิตลงได้ การได้รับชัยชนะของชนเผ่าเจอร์มานิคในยุทธการที่ป่าทอยโทบวร์ค(Teutoburg Forest)(ปีค.ศ. 9) ได้ขัดขวางการผนวกดินแดนโดยจักรวรรดิโรมัน แม้ว่ามณฑลของโรมันของเกร์มาเนียซูเปรีออร์และเกร์มาเนียอินเฟรีออร์จะถูกสร้างขึ้นตามแนวแม่น้ำไรน์ ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก พวกแฟรงก์ได้พิชิตชนเผ่าเจอร์มานิคทางตะวันตกอื่นๆ เมื่อจักรวรรดิแฟรงก์ได้ถูกแบ่งแยกระหว่างทายาทของชาร์เลอมาญในปีค.ศ. 843 ส่วนทางด้านตะวันออกได้กลายเป็นอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก ในปี ค.ศ. 962 พระเจ้าออทโทที่ 1 ได้กลายเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์องค์แรกของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นรัฐเยอรมันในสมัยยุคกลาง

ในช่วงปลายยุคกลาง ดยุกของแคว้น เจ้าชายและมุขนายกต่างได้รับอำนาจจากค่าใช่จ่ายอันสิ้นเปลืองของจักรพรรดิ มาร์ติน ลูเธอร์ได้นำการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ต่อต้านศาสนจักรคาทอลิก หลังปี ค.ศ. 1517 เนื่องจากรัฐทางตอนเหนือได้กลายเป็นพวกนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ ในขณะที่รัฐทางตอนใต้ที่เหลือเป็นพวกนับถือนิกายคาทอลิก ทั้งสองฝ่าย​ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้เกิดการปะทะกันในสงครามสามสิบปี (ค.ศ. 1618-1648) ซึ่งเป็นความพินาศย่อยยับแก่พลเรือนยี่สิบล้านคนที่อาศัยอยู่ในทั้งสองฝ่าย สงครามสามสิบปีได้นำไปสู่การทำลายล้างแก่เยอรมนีอย่างมาก; มากกว่า 1/4 ของประชากรและ 1/2 ของประชากรชายในรัฐเยอรมันได้ถูกฆ่าตายโดยความวิบัติสงคราม ปีค.ศ. 1648 ได้มีผลทำให้การสิ้นสุดลงของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจุดเริ่มต้นของระบบรัฐชาติที่ทันสมัย ด้วยเยอรมนีได้แบ่งแยกออกเป็นรัฐอิสระหลายแห่ง เช่น ปรัสเซีย บาวาเรีย ซัคเซิน ออสเตรียและรัฐอื่นๆ ซึ่งยังคงควบคุมดินแดนนอกพื้นที่ที่ถือว่าเป็น"เยอรมนี"

ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1803-1815 ระบบศักดินาได้หมดไปและเสรีนิยมและชาตินิยมได้ปะทะกันด้วยผลสะท้อน การปฏิวัติเยอรมัน ปี ค.ศ. 1848-49 ได้ล้มเหลวลง การปฏิวัติอุสาหกรรมได้ทำให้เกิดความทันสมัยของเศรษฐกิจเยอรมัน ได้นำไปสู่การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองและอุบัติการ์ณของขบวนการสังคมนิยมในเยอรมนี ปรัสเซีย, กับเมืองหลวงคือเบอร์ลิน, ได้เติบโตขึ้นในอำนาจ มหาวิทยาลัยของเยอรมันได้กลายเป็นศูนย์กลางชั้นนำของโลกสำหรับวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในขณะที่ดนตรีและศิลปะได้เจริญขึ้น การรวมชาติเยอรมัน(ยกเว้นเพียงออสเตรียและพื้นที่ที่พูดเป็นภาษาเยอรมันของประเทศสวิตเซอร์แลนด์)ได้ประสบความสำเร็จภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีอ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค ด้วยการก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมันในปี ค.ศ. 1871 ซึ่งได้เสนอวิธีแก้ไขปัญหาเยอรมันออกเป็นสองทางคือ อนุประเทศเยอรมัน(Kleindeutsche Lösung) ทางออกขนาดเล็กของเยอรมัน(เยอรมนีโดยปราศจากออสเตรีย) หรือมหาประเทศเยอรมัน (Großdeutsche Lösung), ทางออกขนาดใหญ่ของเยอรมัน(เยอรมนีรวมเข้ากับออสเตรีย), ในอดีตที่ผ่านมา รัฐสภาไรส์ทาคใหม่ เป็นรัฐสภาการเลือกตั้ง ได้มีบทบาทที่จำกัดในรัฐบาลจักรวรรดิ, เยอรมันได้เข้าร่วมกับมหาอำนาจอื่นๆในการขยายอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและมหาสมุทรแปซิฟิก

เยอรมนีได้เป็นประเทศที่มีอำนาจเหนือกว่าทวีปยุโรป ในปี ค.ศ. 1900 การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมโดยผ่านอังกฤษ ทำให้สามารถแข่งขันทางเรือได้ เยอรมนีได้นำฝ่ายมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง(ค.ศ. 1914-1918) เข้าต่อสู้รบกับฝรั่งเศส, บริเตนใหญ่ รัสเซีย และ(ในปี ค.ศ. 1917)สหรัฐอเมริกา ด้วยความปราชัยและการครอบครองพื้นที่บางส่วน เยอรมนีได้ถูกบังคับให้จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามโดยสนธิสัญญาแวร์ซายและถอนตัวออกจากดินแดนอาณานิคมเช่นเดียวกับพื้นที่ที่ถูกกำหนดให้สร้างโปแลนด์ขึ้นมาใหม่และอาลซัส-ลอแรน การปฏิวัติเยอรมันในปีค.ศ. 1918-19 ได้ปลดจักรพรรดิและกษัตริย์ต่างๆและเจ้าชาย ได้นำไปสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐไวมาร์ ที่เป็นรัฐสภาระบอบประชาธิปไตยที่ไม่มั่นคง

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1930 ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลกได้โจมตีเยอรมนีอย่างหนัก เนื่องจากการว่างงานเพิ่มขึ้นสูงและประชาชนได้สูญเสียความเชื่อมั่นในรัฐบาล ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1933 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนี พรรคนาซีได้เริ่มที่จะกำจัดศัตรูทางการเมืองทั้งหมดและรวมรวบอำนาจไว้ ฮิตเลอร์ได้สร้างระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จได้อย่างรวดเร็ว เริ่มต้นขึ้นในปลายปี ค.ศ. 1930 นาซีเยอรมนีได้ทำให้เกิดความก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อยๆในการเรียกร้องดินแดน การข่มขู่ว่าจะทำสงคราม หากพวกเขาไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ช่วงแรกที่ได้มาถึงคือการส่งทหารกลับเข้าไปยังไรน์ลันท์ ในปี ค.ศ. 1936 การผนวกรวมออสเตรียในอันชลุสและส่วนหนึ่งของเชโกสโลวาเกียด้วยข้อตกลงมิวนิกในปี ค.ศ. 1938(แม้ว่าในปี ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ได้ผนวกรวมดินแดนทั้งหมดของเชโกสโลวาเกีย) เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เยอรมนีได้เริ่มสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปด้วยการบุกครองโปแลนด์ หลังจากที่ได้ทำข้อตกลงกับสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์และสตาลินได้แบ่งแยกทวีปยุโรปตะวันออก ภายหลังสงครามลวงในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เยอรมันได้เข้ายึดครองประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์, ประเทศแผ่นดินต่ำและฝรั่งเศส ทำให้เยอรมนีเข้าควบคุมเกือบทั้งหมดของยุโรปตะวันตก ฮิตเลอร์ได้สั่งให้กองทัพเข้ารุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941

ด้วยการเหยียดเชื้อชาติ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการต่อต้านชาวยิว เป็นศูนย์กลางของระบอบการปกครอง. ในเยอรมนี, แต่ส่วนใหญ่ในพื้นที่ดินแดนที่ถูกยึดครองโดยเยอรมัน โครงการการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นระบบที่รู้จักกันคือฮอโลคอสต์ ได้สังหารชาวยิวจำนวนหกล้านคน เช่นเดียวกับอื่นๆอีกห้าล้านคน รวมทั้งชาวเยอรมันที่ไม่เห็นด้วย ชาวยิปซี คนพิการ ชาวโปล ชาวโรมานี ชาวโซเวียต(ผู้ที่เป็นชาวรัสเซียและไม่ใช่รัสเซีย) และอื่นๆ ในปี ค.ศ. 1942 การบุกครองสหภาพโซเวียตของเยอรมนีต้องหยุดชะงักลง, และภายหลังจากสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมสงคราม อังกฤษได้กลายเป็นฐานสำหรับการทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ของอังกฤษและอเมริกันลงใส่เมืองเยอรมัน เยอรมนีต้องต่อสู้รบในสงครามหลายแนวรบในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942-1944 อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกครองนอร์ม็องดี(เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944) กองทัพเยอรมันได้ถูกผลักดันกลับทั้งหมดของแนวรบจนกระทั่งท้ายที่สุดต้องล่มสลายลงในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945

ภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตร ดินแดนเยอรมนีได้ถูกแบ่งแยก, ออสเตรียได้เป็นประเทศที่แยกตัวออกมาอีกครั้ง โครงการการขจัดนาซีได้เกิดขึ้น และสงครามเย็นได้ส่งผลทำให้ส่วนหนึ่งของประเทศได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่ายได้แก่ เยอรมนีตะวันตกอันมีระบอบประชาธิปไตยและเยอรมนีตะวันออกอันมีระบอบคอมมิวนิสต์ ชนเชื้อชาติเยอรมันนับล้านคนได้ถูกขับไล่หรือหนีออกจากพื้นที่คอมมิวนิสต์ไปยังเยอรมนีตะวันตก ซึ่งจากประสบการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว, และกลายเป็นเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญในยุโรปตะวันตก เยอรมนีได้รับการติดตั้งอาวุธใหม่อีกครั้งในปี ค.ศ. 1950 ภายใต้การดูแลขององค์นาโต้ แต่ไม่สามารถมีอาวุธนิวเคลียร์ได้ ความสัมพันธ์มิตรภาพระหว่างฝรั่งเศส-เยอรมนีได้กลายเป็นพื้นฐานสำหรับการรวมตัวกันทางการเมืองของยุโรปตะวันตกในสหภาพยุโรป ในปี ค.ศ. 1989 กำแพงเบอร์ลินได้ถูกทำลายลง, สหภาพโซเวียตล่มสลายลงและเยอรมนีตะวันออกก็ได้รวมเข้ากับเยอรมนีตะวันตกในปีค.ศ. 1990 ในปีค.ศ. 1998-1999 เยอรมนีเป็นหนึ่งในประเทศที่ก่อตั้งยูโรโซน เยอรมนียังคงเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของทวีปยุโรป ได้มีส่วนร่วมประมาณหนึ่งในสี่ปของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทุกประจำปีของยูโรโซน ในช่วงต้นปีค.ศ. 2010 เยอรมนีได้มีบทบาทสำคัญในการพยายามที่จะแก้ไขวิกฤตการณ์ของยูโรที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะกรีซและประเทศอื่นๆในยุโรปตอนใต้ ในช่วงกลางทศวรรษ, ประเทศได้เผชิญวิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป ที่เป็นผู้รับที่สำคัญของผู้ลี้ภัยจากซีเรียและภูมิภาคอื่นๆที่ตกทุกข์ได้ยาก

ชนชาติเยอรมัน

ดูบทความหลักที่: ชนชาติเยอรมัน

ประมาณ 100 ปีก่อน ค.ศ. ชนชาติเยอรมันลงใต้จากสแกนดิเนเวียและแพร่กระจายไปทั่วตั้งแต่แม่น้ำไรน์จนถึงเทือกเขายูรัล และเผชิญหน้ากับการแผ่ขยายของจักรวรรดิโรมัน แม้ชาวโรมันจะพยายามจะพิชิตชาวเยอรมัน ใน ค.ศ. 9 ทัพโรมันพ่ายแพ้ชาวเยอรมันที่ป่าทอยโทบวร์ค ทำให้ชาวโรมันเลิกล้มความคิดที่จะรุกรานเยอรมัน และชนชาติเยอรมันก็รุกคืบไปตั้งรกรากตามชายแดนจักรวรรดิโรมัน และแตกออกเป็นหลายเผ่า ที่มีชื่อเสียงคือ วิซิกอธ แวนดัล แฟรงก์ ฯลฯ และเข้ารีตคริสต์ศาสนานิกายอาเรียนิสม์ (Arianism) ซึ่งชาวโรมันไม่ยอมรับ

แต่ในศตวรรษที่ 4 ชาวฮั่นมาจากเอเชียเป็นนักรบบนหลังม้าที่ป่าเถื่อน เข้าบุกเผาทำลายหมู่บ้านและสังหารชาวเยอรมันอย่างโหดเหี้ยม ทำให้เผ่าเยอรมันต่าง ๆ ทนไม่ไหวต้องหลบหนีเข้าไปในจักรวรรดิโรมัน บ้างด้วยสันติวิธีบ้างก็บุกเข้าไป ทำให้จักรวรรดิโรมันอ่อนแอ จนในค.ศ. 410 โอโดอาเซอร์ (Odoacer) ผู้นำเผ่าเยอรมันเผ่าหนึ่ง ยึดกรุงโรมและปลดจักรพรรดิโรมันองค์สุดท้ายใน ค.ศ. 476 จักรวรรดิโรมันจึงล่มสลาย

เมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายชาวแฟรงก์ที่ตั้งรกรากในฝรั่งเศสก็เรืองอำนาจที่สุดในยุโรปภายใต้ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงในเยอรมนี มีเผ่าทั้งหลายปกครองตนเองได้แก่พวกซูเอบี (Suebi) พวกทือริงงิน (Thuringen) พวกซัคเซิน (Saxons) พวกบาวาเรีย (Bayern) และพวกแฟรงก์ (Franks) ซึ่งจะกลายเป็นชื่อแว่นแคว้นในเยอรมนี (ชวาเบิน ทือริงเงิน ซัคเซิน บาวาเรีย และฟรังเคิน ตามลำดับ) แต่เผ่าเหล่านี้ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกแฟรงก์ ซึ่งแผ่ขยายอำนาจมาในศตวรรษที่ 5 ถึง 8 โดยเฉพาะสงครามกับพวกซัคเซินของพระเจ้าชาร์เลอมาญ (Charlemagne) ของชาวแฟรงก์ แห่งราชวงศ์การอแล็งเฌียง ทำให้พวกซัคเซินต้องเข้ารีตศาสนาคริสต์และอยู่ภายใต้การปกครองของพวกแฟรงก์

ยังมีเผ่าเยอรมันอีกเผ่า คือ พวกลอมบาร์ด (Lombards) เข้าบุกอิตาลี ทำให้พระสันตะปาปาทรงขอให้พระเจ้าชาร์เลอมาญทรงช่วยเหลือ พระเจ้าชาร์เลอมาญทรงขับไล่พวกลอมบาร์ดได้และได้รับการราชาภิเษกจากพระสันตะปาปาเป็นจักรพรรดิโรมัน ใน ค.ศ. 800 เป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรวรรดิของพระเจ้าชาร์เลอมาญถูกแบ่งเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์ดังใน ค.ศ. 843 อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกจะกลายเป็นเยอรมนีในปัจจุบัน

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในสมัยกลาง

ราชวงศ์การอแล็งเฌียงสิ้นสุดไปในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก ผู้นำแว่นแคว้นทั้งสี่ (ซัคเซิน, บาวาเรีย, ฟรังเคิน, ชวาเบิน) จึงเลือกดยุกไฮน์ริชแห่งซัคเซินเป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนีใน ค.ศ. 955 ชาวมัจยาร์ (Magyars) หรือชาวฮังการี เป็นชนเผ่าเร่ร่อนจากเอเชีย บุกมาถึงเยอรมนี เข้าเผาทำลายปล้มสะดมหมู่บ้าน สร้างความเดือดร้อน แต่จักรพรรดิอ็อทโทก็ทรงขับไล่พวกมัจยาร์ได้ในการรบที่เลคฟิล์ด (Lechfield) ตามการสนับสนุนของพระสันตะปาปา พระโอรสคือ พระเจ้าอ็อทโท เข้าช่วยเหลือพระสันตะปาปาจากการยึดครองของกษัตริย์แห่งอิตาลี (อาณาจักรแฟรงก์กลาง) พระเจ้าอ็อทโทนำทัพเข้าปราบยึดอิตาลี และได้รับการราชาภิเษกจากพระสันตะปาปาเป็นจักรพรรดิอ็อทโทที่ 1ใน ค.ศ. 962 เป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ใน ค.ศ. 1033 ราชอาณาจักรบูร์กอญในฝรั่งเศสถูกผนวกเข้ากับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มีอาณาเขตไพศาลทั่วยุโรปกลาง และยังแผ่ขยายไปทางตะวันออกปราบปรามชาวสลาฟต่าง ๆ ได้แก่ พวกเวนด์ (Wends) พวกโอโบเดอไรต์ (Oboderites) และพวกโปล (Poles) กลายเป็นแคว้นมัคเลินบวร์ค (Mecklenburg) แคว้นพอเมอเรเนีย (Pomerania) และแคว้นบรันเดินบวร์ค (Brandenburg) กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย (Bohemia - Czech) ก็เข้าสวามิภักดิ์ ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แผ่ขยายอิทธิพลทั้งทางการเมืองและภาษาวัฒนธรรมไปยังดินแดนของชาวสลาฟทางตะวันออก เรียกว่า Ostsiedlung

 
เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกทั้งเจ็ดแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้เลือกจักรพรรดิ

จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 ทรงต้องการจะรวบอำนาจในองค์การศาสนา เช่น การแต่งตั้งบรรดามุขนายกมาอยู่ที่พระองค์ แต่พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 8 ทรงไม่ยินยอมจึงเกิดข้อขัดแย้งในอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ (Investiture Controversy) พระสันตะปาปาทรงบัพพาชนียกรรม (ขับจากศาสนา) จักรพรรดิไฮน์ริชใน ค.ศ. 1072 ซึ่งเป็นโทษทีร้ายแรงยิ่งกว่าตายสำหรับคนสมัยนั้น และปลดจักรพรรดิไฮน์ริชจากตำแหน่ง ทำให้บรรดาขุนนางก่อกบฏแย่งอำนาจจากพระเจ้าไฮน์ริชและแยกตัว ทำให้พระเจ้าไฮน์ริชยอมจำนน ใน ค.ศ. 1077 ทรงรอพระสันตะปาปาเท้าเปล่ากลางพายุหิมะที่คาโนสซา (Canossa) เพื่อขอขมาพระสันตะปาปา เป็นชัยชนะของฝ่ายศาสนาต่อฝ่ายโลก ให้อำนาจของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เสื่อมลงแต่บัดนั้น จนใน ค.ศ. 1122 ทั้งสองฝ่ายจึงสงบศึกในโองการพระสันตะปาปาแห่งเมืองวอร์ม (Concordat of Worms)

ราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน ( ค.ศ. 1138 ถึง ค.ศ. 1254)

จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน (Hohenstaufen) ทรงพยายามจะหยุดยั้งสงครามระหว่างพวกขุนนางในเยอรมนี โดยทรงแต่งตั้งดยุกไฮน์ริชแห่งซัคเซิน (Henry the Lion, Duke of Saxony) จากตระกูลเวล์ฟ (Welf) เป็นดยุกแห่งบาวาเรีย โดยเจ้าครองแคว้นเดิม คือมาร์คกราฟแห่งออสเตรีย (Margrave of Austria) ได้เลื่อนขั้นเป็นดยุก จักรพรรดิฟรีดริชทรงบุกอิตาลีเพื่อปราบกบฏและทำสงครามกับพระสันตะปาปาแต่อิตาลีรวมตัวเป็นสันนิบาตลอมบาร์ด (Lombard League) ต่อต้านพระจักรพรรดิและสนับสนุนพระสันตะปาปา จักรพรรดิฟรีดริชทรงกริ้วและปลดดยุกไฮน์ริชที่ไม่ช่วยเหลือพระองค์ ยกบาวาเรียให้ราชวงศ์วิทเทิลส์บัค และแตกแคว้นซัคเซินแบ่งเป็นหลายส่วน

จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 ทรงพยายามจะยึดอิตาลีอีกครั้ง โดยฝ่ายของพระองค์ เรียกว่าพวกกิบเบลลีน (Ghibelline) ต่อสู้กับพวกเกล์ฟ (Guelph) หรือตระกูลเวล์ฟที่ไปเข้าข้างพระสันตะปาปา จักรพรรดิฟรีดริชทรงต้องการจะพ้นจากความวุ่นวายใขเยอรมนี จึงทรงมอบอำนาจให้เจ้าครองแว่นแคว้น ทำให้เจ้าครองแคว้นในเยอรมนีแยกตัวออกไปแตกกระจัดกระจายในสมัยพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 พระสันตะปาปาทรงเอาชนะจักรพรรดิได้

ใน ค.ศ. 1226 จักรพรรดิฟรีดริชโปรดให้อัศวินทิวทัน (Teutonic Knights) ไปพิชิตชาวบอลติก (Balts) ที่ยังไม่เข้ารีตคริสต์ศาสนาทางเหนือในสงครามครูเสดตอนเหนือ (Northern Crusades) ทำสงครามอย่างโหดเหี้ยมกับชาวพื้นเมือง ทำให้อิทธิพลของเยอรมันและคริสต์ศาสนาเข้าสู่บริเวณบอลติก

จักรพรรดิฟรีดริชสิ้นพระชนม์ ทำให้ราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟินล่มสลายจนกลายเป็นสมัยไร้จักรพรรดิ (Interregnum)

เมื่อไม่มีผู้นำดยุกรูดอล์ฟแห่งออสเตรีย (Rudolf of Habsburg) จากราชวงศ์ฮาพส์บวร์คจึงได้รับเลือกเป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนีใน ค.ศ. 1273 แต่ไม่ได้ราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิ บรรดาเจ้าครองแว่นแคว้น ก็อาศัยโอกาสตั้งตนเป็นอิสระกันหมด ทำให้พระเจ้ารูดอล์ฟทรงมีอำนาจเฉพาะในแคว้นออสเตรียเท่านั้น สามราชวงศ์คือ ฮาพส์บวร์ค ลักเซมเบิร์ก และวิทเทิลส์บัค ผลัดกันเป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนีใน ค.ศ. 1312 พระเจ้าไฮน์ริชแห่งโบฮีเมีย ตระกูลลักเซมแบร์คราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิ ทำให้มีจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อีกครั้ง แต่นับแต่นั้นมาจักรพรรดิทุกพระองค์มีอำนาจเฉพาะในแคว้นของตนเท่านั้น เยอรมนีจึงแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย และรวมกันไม่ได้อีกเลยไปอีก 600 ปี

ราชวงศ์ลักเซมแบร์คปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แต่มีอำนาจเฉพาะในแคว้นโบฮีเมียเท่านั้น แม้จักรพรรดิหลายพระองค์จะทรงพยายามกู้พระราชอำนาจคืนแต่ก็ไม่สำเร็จ ใน ค.ศ. 1350 กาฬโรคก็ระบาดมายังเยอรมนี คร่าชีวิตผู้คนไปหลายล้าน ใน ค.ศ. 1356 ออกพระราชโองการสารตราทอง (Golden Bull) ปรับปรุงระบบการปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใหม่ โดยการแต่งตั้งเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกเจ็ดองค์ เป็นบรรพชิตสามองค์และเป็นขุนนางสี่คนที่รวมทั้ง

  1. อัครมุขนายกแห่งโคโลญ (Archbishop of Cologne, เยอรมัน: Erzbischof von Köln)
  2. อัครมุขนายกแห่งไมนทซ์ (Archbishop of Mainz, เยอรมัน: Erzbischof von Mainz)
  3. อัครมุขนายกแห่งเทรียร์ (Archbishop of Trier, เยอรมัน: Erzbischof von Trier)
  4. กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย (King of Bohemia, เยอรมัน: König von Böhmen)
  5. มาร์คกราฟแห่งบรันเดินบวร์ค (Margrave of Brandenburg, เยอรมัน: Markgraf von Brandenburg)
  6. ฟัลทซ์กราฟแห่งไรน์ (Count Palatinate of the Rhine, เยอรมัน: Plazgraf bei Rhein)
  7. ดยุกแห่งซัคเซิน (Duke of Saxony, เยอรมัน: Herzog von Sachsen) เลื่อนขั้นมาจาก ซัคเซิน-วิทเทินแบร์ค (Sachsen-Wittenberg)
 
พระเจ้าซิกิสมุนด์

ใน ค.ศ. 1414 พระเจ้าซิกิสมุนด์แห่งฮังการี (Sigismund) ทรงได้เป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนี ในแคว้นโบฮีเมียเกิดลัทธินอกรีตของ ยัน ฮุส (Jan Hus) ยัน ฮุส ถูกเผาทั้งเป็นใน ค.ศ. 1415 ใน ค.ศ. 1417 ทรงแต่งตั้งให้ตระกูลโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น เป็นมาร์คกราฟแห่งบรันเดินบวร์ค ใน ค.ศ. 1419 พระเจ้าซิกิสมุนด์ได้เป็นกษัตริย์แห่งโบฮีเมีย แต่ชาวโบฮีเมียไม่ยอมรับ เพราะทรงสังหารยัน ฮุส ก่อกบฏลุกฮือต่อต้าน พระเจ้าซิกิสมุนด์ทรงนำทัพเข้าปราบเรียกว่าสงครามฮุสไซต์ (Hussite War) ซึ่งพระเจ้าซิจิสมุนด์ก็ทรงไม่สามารถจะยึดแคว้นโบฮีเมียได้

ใน ค.ศ. 1437 ฟรีดริช ดยุกแห่งออสเตรีย พระชามาดาในพระเจ้าซิกิสมุนด์ ขึ้นเป็นจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 ทำให้ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไปอีก 400 ปี

จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1ทรงอภิเษกกับมารีแห่งบูร์กอญ (Mary of Burgundy) ทำให้ทรงได้รับแคว้นบูร์กอญและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ (Low Countries) มาครอง ทรงมอบแคว้นบูร์กอญให้พระโอรสคือพระเจ้าเฟลีเปที่ 1 แห่งคาสตีล (Philip the Handsome) ใน ค.ศ. 1495 ทรงออกจักรวรรดิปฏิรูป (Reichsreform) แบ่งรัฐต่างในเป็นเครือราชรัฐ (Reichskreise) และตั้งศาลสูงจักรวรรดิ (Reichskammergeritch) การปฏิรูปของจักรพรรดิมัคซีมีลีอานจะส่งผลต่อการปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไปจนล่มสลาย

การปฏิรูปศาสนาและสงครามสามสิบปี

กษัตริย์ฝรั่งเศสทรงพยายามจะบุกยึดคาบสมุทรอิตาลีใน ค.ศ. 1494 ในสงครามอิตาลี (Italian Wars) จักรพรรดิมัคซีมีลีอานทรงร่วมมือกับชาติต่าง ๆ ในยุโรปและพระสันตะปาปาต้านการรุกรานของฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1519 พระโอรสคือพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งสเปน ขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ เป็นการรวมสองอาณาจักรทำให้อาณาเขตของราชวงศ์แฮปสบูร์กแผ่ขยาย

การปฏิรูปศาสนา

 
มาร์ติน ลูเธอร์
ดูบทความหลักที่: การปฏิรูปศาสนา

พระสันตะปาปาทรงต้องการจะหาเงินมาสร้างวิหารอันสวยงามตามสถาปัตยกรรมเรเนสซองส์ จึงทรงขายบัตรไถ่บาป (indulgences) ในเยอรมนีเพื่อหาเงินโดยอ้างว่าใครซื้อบัตรนี้จะได้รับการไถ่บาป ซึ่งแน่นอนว่าได้รับการประท้วงจากทั้งชาวบ้านขุนนางและสงฆ์ทั้งหลาย การปฏิรูปศาสนา (The Reformation) จึงเริ่มใน ค.ศ. 1517 เมื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ตอกตะปูคำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ไว้หน้าโบสถ์ในเมืองวิทเทินแบร์ค (Wittenburg) ลูเธอร์ได้รับการสนับสนุนจากเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งซัคเซิน จักรพรรดิชาร์ลส์และพระสันตะปาปาทรงเรียกประชุมสภาเมืองวอร์มส์ (Diet of Worms) บังคับให้ลูเธอร์ขอโทษพระสันตะปาปาและถอนคำประท้วงคืน แต่ลูเธอร์ไม่ยอม

นิกายลูเทอแรนจึงแผ่ขยายไปทั่วเยอรมนี เป็นนิกายแรกของโปรเตสแตนต์ เพราะบรรดาเจ้าครองแคว้นต่างต้องการพ้นจากอำนาจของจักรพรรดิจึงใช่ศาสนาเป็นเครื่องมือ เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งซัคเซินให้ลูเธอร์เก็บตัวอยู่ในปราสาทวาร์ทบวร์คเพื่อความปลอกภัยและที่นั่นเองลูเธอร์แปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาเยอรมันเป็นครั้งแรก

บรรดาชาวบ้านที่เข้านับถือนิกายลูเทอแรน จึงฉวยโอกาสก่อกบฏใน ค.ศ. 1524 ต่อเจ้านครต่าง ๆ ในสงครามชาวบ้าน (Peasants' War) แต่เจ้าครองแคว้นก็ปราบปรามกบฏอย่างรวดเร็ว และขุนนางใหญ่คือเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งซัคเซินและลันท์กราฟแห่งเฮ็สเซิน (Landgrave of Hesse) ตั้งสันนิบาติชมาลคาดิค (Schmalkadic League) และชักชวนขุนนางอื่น ๆ เข้าร่วมอ้างว่าเพื่อปกป้องนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ที่จริงเพื่อทำลายอำนาจของจักรพรรดิ จักรพรรดิชาร์ลส์ทรงง่วนอยู่กับสงครามต่างประเทศ ทำให้นิกายโปรเตสแตนต์สามารถแทรกซึมฝังรากลึกลงไปในเยอรมนี จนใน ค.ศ. 1546 ก็ทรงว่างสามารถมาปราบกบฏขุนนางโปรเตสแตนต์ เป็นสงครามชมาลคาดิค (Schmalkadic War) และปราบได้ใน ค.ศ. 1547 ใน ค.ศ. 1548 ทรงทำสนธิสัญญาสันติภาพเอาคส์บวร์ค (Peace of Augsburg) ยอมรับนิกายลูเทอแรน (แต่ไม่ยอมรับนิกายอื่น) และใช้คนในรัฐนั้นนับถือศาสนาตามเจ้าครองแคว้น (Cuius regio, eius regio)

สงครามสามสิบปี

ดูบทความหลักที่: สงครามสามสิบปี

แม้สนธิสัญญาสันติภาพเอาคส์บวร์คจะให้เสรีภาพแก่นิกายลูเทอแรน แต่ภายหลังไม่นานลัทธิคาลวิน (Calvinism) ก็เข้าแทนที่นิกายลูเทอแรนในหลาย ๆ แคว้น และเรียกร้องสิทธิของนิกายตน และสนธิสัญญาสันติภาพเอาคส์บวร์คก็ให้เสรีภาพกับนิกายลูเทอแรนและพวกเจ้าครองแคว้นเท่านั้น ประชาชนที่ต้องถูกหลัก Cuius regio, eius regio บังคับอยู่นั้นไม่ได้มีเสรีภาพเลย ในเยอรมนีก็เกิดสองขั้วศาสนา คือพวกคาทอลิกทางใต้ (บาวาเรีย เวือทซ์บวร์ค ฯลฯ) พวกลูเธอรันทางเหนือเป็นส่วนใหญ่ และพวกคาลวินในบางแคว้น เช่น พาลาติเนต (Pfalz) เฮ็สเซิน (Hesse) และบรันเดินบวร์ค (Brandenburg)

 
ฟรีดริช เจ้านครรัฐฟัลทซ์ กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย "เหมันตกษัตริย์"

ใน ค.ศ. 1606 บรรดาแคว้นที่เป็นคาลวินรู้สึกไม่ปลอดภัย จึงตั้งสันนิบาติสหภาพอิแวนเจลิคัล (League of Evangelical Union) นำโดยเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกฟรีดริช ฝ่ายคาทอลิกนำโดยดยุกมัคซีมีลีอานแห่งบาวาเรีย (Maximilian, Duke of Bavaria) ตั้งสันนิบาตคาทอลิกใน ค.ศ. 1609 จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงเป็นคาทอลิกที่เคร่งครัดและต้องการจะทำลายล้างนิกายอื่นให้สิ้น พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์แห่งโบฮีเมียด้วย ซึ่งชาวโบฮีเมียก็ไม่พอใจจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิอยู่แล้วตั้งแต่สงครามฮุสไซต์ ใน ค.ศ. 1618 ชาวโบฮีเมียจับผู้แทนพระองค์โยนออกนอกหน้าต่างของอาคารหลังหนึ่ง เรียกว่าการโยนบกที่กรุงปราก (Defenestration of Prague) สงครามสามสิบปี (Thirty Years' War) จึงเริ่ม

จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ทรงเป็นกษัตริย์แห่งโบฮีเมียก่อนราชาภิเษก กบฏโบฮีเมียจึงให้เจ้าชายฟรีดริชเป็นกษัตริย์แทนใน ค.ศ. 1619 ทำให้ในบรรดาเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกมีพวกโปรแตสแตนต์มากกว่า อันตรายว่าพระเจ้าแฟร์ดีนันด์จะไม่ได้เป็นจักรพรรดิ จึงทรงรีบราชาภิเษกก่อนที่บรรดาเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกจะทราบข่าวว่าเจ้าชายฟรีดริชเป็นกษัตริย์แห่งโบฮีเมียแทนที่พระองค์ เกิดกบฏของพวกโปรเตสแตนต์ลุกลามในโบฮีเมียและออสเตรีย สเปนส่งทัพมาช่วยเพราะหวังจะได้ยึดแคว้นพาลาติเนต จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์เอาชนะเจ้าชายฟรีดริชในการรบที่ภูเขาขาว (White Mountain) ใน ค.ศ. 1620 ความพ่ายแพ้ของเจ้าชายทำให้สันนิบาติสหภาพอิแวนเจลิคัลล่มสลาย แคว้นพาลาติเนตถูกสเปนยึด เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกฟรีดริชหลบหนีไปเนเธอร์แลนด์ จักรพรรดิทรงออกพระราชกฤษฎีกายึดดินแดนคืน (Edict of Restitution) ใน ค.ศ. 1629 เพื่อยึดดินแดนที่เคยเป็นคาทอลิกตามสนธิสัญญาสันติภาพเอาคส์บวร์คคืน

สงครามนี้ควรจะเป็นแค่กบฏของโบฮีเมียและพาลาติเนต แต่พระเจ้าคริสเตียนที่ 4 แห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นลูเธอรันและต้องการจะยึดเมืองต่าง ๆ ทางเหนือของเยอรมนีเพื่อจะคุมการค้าในทะเลนบอลติก จึงนำทัพบุกใน ค.ศ. 1625 จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ส่งวาลเลนสไตน์ (Albretch von Wallenstein) และทิลลี (General Tilly) ไปปราบทัพเดนมาร์ก ยึดแคว้นโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ ได้ และบุกยึดเดนมาร์ก พระเจ้าคริสเตียนจึงยอมแพ้

 
พระเจ้ากุสตาฟที่ 2 แห่งสวีเดนสิ้นพระชนม์ในการรบที่ลืทเซน

พระเจ้ากุสตาฟที่ 2 อดอล์ฟ (Gustaf II Adolf) แห่งสวีเดนทรงยกทัพมาช่วยพวกลูเธอรันใน ค.ศ. 1630 ด้วยความช่วยเหลือของคาร์ดินัล ริเชอลิเออ (Cardinal Richelieu) แห่งฝรั่งเศสที่ต้องการโค่นอำนาจพระจักรพรรดิ พระเจ้ากุสตาฟทรงเอาชนะทิลลีได้ที่ไบร์เทนฟิลด์ (Breitenfield) ใน ค.ศ. 1631 วาลเลนสไตน์มาสู้กับพระเจ้ากุสตาฟที่ลืตเซน (Lützen) ปลงพระชนม์พระเจ้ากุสตาฟใน ค.ศ. 1632 จนนำไปสู่สนธิสัญญาปรากในค.ศ. 1635 เลื่อนการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกายึดดินแดนคืนไปอีก 40 ปี เพื่อให้เจ้าครองโปรแตสแตนต์เตรียมตัว ซึ่งฝรั่งเศสไม่พอใจ เพราะจักรพรรดิทรงมีอำนาจมากขึ้น

ฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามใน ค.ศ. 1636 แต่ก็ถูกสเปนดักไว้ทุกทาง แต่ก็ยังเป็นโอกาสให้สวีเดนเอาชนะทัพจักรวรรดิได้ สวีเดนและฝรั่งเศสชนะออสเตรียที่เลนส์ (Lens) และสเปนที่โรครัว (Rocroi) นำไปสู่สนธิสัญญาสันติภาพเว็สท์ฟาเลิน (Peace of Westphalia) ในค.ศ. 1648

สนธิสัญญาสันติภาพเว็สท์ฟาเลินเป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่ยุติสงครามศาสนาในยุโรป มีข้อตกลงหลายประการ ที่เกี่ยวกับเยอรมนีมีดังนี้

  • ใช้หลัก Cuius regio, eius regio ตามสนธิสัญญาสันติภาพพเอาคส์บวร์ค เพิ่มนิกายคาลวินมาอีกหนึ่ง แต่คนที่ศาสนาไม่ตรงกับแคว้นจะประกอบพิธีกรรมได้ในที่ที่จัดหรือในบ้าน
  • สวีเดนได้พอเมอเรเนียตะวันตก (Western Pomerania) เมืองบรีเมนและแวร์ดัง คุมปากแม่น้ำโอเดอร์และเอ็ลเบอ
  • ดยุกแห่งบาวาเรียได้เป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกคนที่แปด
  • แคว้นพาลาติเนตแบ่งเป็นพาลาติเนตบน (Upper Palatinate) ยกให้บาวาเรีย พาลาติเนตเหลือเพียงพาลาติเนตล่าง (Lower Palatinate) ยังคงเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกเหมือนเดิม
  • แคว้นบรันเดินบวร์คได้ขยายดินแดนเพิ่ม

จุดจบของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

สงครามสามสิบปีทำให้แว่นแคว้นเยอรมันราบเป็นหน้ากลอง ประชากรล้มตายไปมาก สนธิสัญญาสันติภาพเว็สท์ฟาเลินทำให้อำนาจของเจ้าครองแว่นแคว้น ลดลง เพราะไม่อาจมีกองทัพเป็นของตนเองและไม่สามารถเข้าร่วมการเมืองระหว่างประเทศได้ ทำให้ออสเตรียแผ่อิทธิพลเข้ามาในเยอรมนีแต่ก็ต้องแข่งขันกับสวีเดนที่ได้ดินแดนทางเหนือของเยอรมันไปมาก ขณะเดียวกันทางตะวันตกพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสก็ทรงทำทุกวิถีทางเพื่อจะให้ได้แคว้นในลุ่มแม่น้ำไรน์ไปครอง

แต่แคว้นในเยอรมนีที่มีอำนาจที่สุดคือบรันเดินบวร์ค หรือเรียกว่าบรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย (Brandenburg-Prussia) เพราะเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์คนั้น เป็นดยุกแห่งปรัสเซีย (Duke of Prussia) อันเป็นตำแหน่งขุนนางของกษัตริย์โปแลนด์ ครองแคว้นปรัสเซียที่โปแลนดืยึดมาจากอัศวินทิวโทนิค ใน ค.ศ. 1701 บรันเดินบวร์ค-ปรัสเซียได้เลื่อนสถานะเป็นอาณาจักรในปรัสเซีย (Kingdom in Prussia) อาณาจักรปรัสเซียทำสงครามล้มล้างอิทธิพลของสวีเดนในเยอรมนีเหนือ และสะสมดินแดนเรื่อย ๆ จนใหญ่ขึ้น พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย ทรงเปลี่ยนชื่ออาณาจักรเป็นอาณาจักรแห่งปรัสเซีย (Kingdom of Prussia)

ใน ค.ศ. 1740 จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา ทรงเป็นสตรี ทำให้ไม่อาจครองบัลลังก์ได้โดยไม่มีข้อขัดแย้งตามกฎซาลิค (Salic Law) ทำให้พระเจ้าฟรีดริชบุกออสเตรียเพื่อปลดพระนางจากบัลลังก์ เป็นสงครามสืบราชสมบัติออสเตรีย พระเจ้าฟรีดริชทรงยึดแคว้นไซลีเซียมาจากออสเตรียได้ ดังนั้นบรรดาประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเห็นว่าการขยายตัวของปรัสเซียเป็นภัยจึงรวมกันทำสงครามกับปรัสเซียในสงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) ปรัสเซียต่อสู้กับสามมหาอำนาจ (ฝรั่งเศส ออสเตรีย รัสเซีย) มีเพียงบริเตนเป็นพันธมิตร แต่ก็สามารถชนะสงครามได้ อาณาจักรปรัสเซียยิ่งแผ่ขยายไปอีกในการแบ่งประเทศโปแลนด์ (Partition of Poland) ใน ค.ศ. 1772 ค.ศ. 1793 และ ค.ศ. 1795

การยึดครองของนโปเลียน

 
การรบที่เมืองอุล์ม (Ulm)

ใน ค.ศ. 1789 ฝรั่งเศสเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส บรรดาชาติต่าง ๆ รวมตัวกันต่อต้านคณะปฏิวัติที่กำลังแผ่อิทธิพลออกมาจากฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1800 ตามสนธิสัญญาลูเนวิลล์ (Luneville) ยกเยอรมนีส่วนตะวันตกของแม่น้ำไรน์ทั้งหมดให้ฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1804 นโปเลียนปราบดาภิเษกตนเองเป็นจักรพรรดิ ทำให้ชาติต่างรวมตัวเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ 3 (Third Coalition) จนพ่ายแพ้นโปเลียนในการรบที่อุล์ม (Ulm) ใน ค.ศ. 1805 ทำสนธิสัญญาเพรสบูร์ก (Pressburg) ล้มล้างจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กลายเป็นจักรพรรดิออสเตรีย ขณะที่แว่นแคว้น ที่เหลือรวมตัวกันเป็น สมาพันธรัฐแห่งไรน์ (Confederation of the Rhine) เป็นรัฐบริวารของนโปเลียน แว่นแคว้น ก็ได้เลื่อนขั้น เช่น ซัคเซิน บาวาเรีย เวือร์ทเทิมแบร์ค ได้เป็นอาณาจักร สมาพันธรัฐนำโดยสังฆราช (Primate) คือ คาร์ล เทโอดอร์ ฟอน ดัลแบร์ค (Karl Theodore von Dalberg) รัฐต่าง ๆ ในสมาพันธรัฐจะต้องส่งทัพเข้าช่วยฝรั่งเศส โดยที่ฝรั่งเศสจะให้การปกป้องเป็นการตอนแทน

ปรัสเซียแพ้ฝรั่งเศสในยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท จนทำสนธิสัญญาทิลซิท (Tilsit) ในค.ศ. 1807 ปรัสเซียเสียทางตะวันออกของแม่น้ำเอลเบกลายเป็นแคว้นวอร์ซอว์ (Grand Duchy of Warsaw) และก่อตั้งราชอาณาจักรเว็สท์ฟาเลิน (Kingdom of Westphalia) ความพ่ายแพ้ของปรัสเซียทำให้เยอรมนีตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส จนสุดท้ายสมาพันธรัฐประกอบด้วยสี่อาณาจักร (เว็สท์ฟาเลิน บาวาเรีย ซัคเซิน เวือร์ทเทิมแบร์ค) ห้าแกรนด์ดัชชี (บาเดิน เฮ็สเซิน แบร์ค แฟรงก์เฟิร์ต และเวือทซ์บวร์ค) สิบสามดัชชี สิบเจ็ดเจ้าชาย และนครรัฐอิสระสามนคร คือฮัมบวร์ค ลือเบค และเบรเมิน

ใน ค.ศ. 1813 นโปเลียนพ่ายแพ้สัมพันธมิตรในการรบที่ไลพ์ซิช (Leipzig) อำนาจของฝรั่งเศสจึงจบลง สมาพันธรัฐแห่งไรน์จึงถูกยุบ บรรดาชาติต่าง ๆ ในยุโรป จึงฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยในยุโรป จึงตั้งคองเกรสแห่งเวียนนา (Congress of Vienna) มาประชุมหารือ นำโดยเจ้าชายเมตเตอร์นิค (Metternich) อัครเสนาบดีออสเตรีย

สมาพันธรัฐเยอรมัน

ดูบทความหลักที่: สมาพันธรัฐเยอรมัน

คองเกรสแห่งเวียนนาให้แว่นแคว้น ในจักรวรรดิโรมันเดิม รวมตัวกลายเป็น สมาพันธรัฐเยอรมัน (German Confederation) มีจักรพรรดิออสเตรียเป็นประมุข มีสภาสมาพันธรัฐ (Federal Assembly) ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ตเป็นสภาหารือกิจการบ้านเมือง ทางปรัสเซียก็ได้รับการฟื้นฟูดินแดนคืน มีผลทำให้ออสเตรียและปรัสเซียเป็นสองมหาอำนาจที่แผ่อิทธิพลเข้าครอบงำเยอรมนี

แม้คองเกรสแห่งเวียนนาจะพยายามบีบให้ยุโรปกลับสู่ระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์สักเพียงใด แต่ก็สายไปแล้ว เพราะด้วยอิทธิพลของฝรั่งเศสและนโปเลียน ทำให้แนวความคิดเสรีนิยม (Liberalism) ฝังรากลงไปในเยอรมนี ใน ค.ศ. 1817 พวกนักศึกษาหัวก้าวหน้าจัดงานเลี้ยงที่เมืองวาร์ตบูร์กเผาทำลายหนังสือที่สนับสนุนระบอบกษัตริย์ ใน ค.ศ. 1819 นักศึกษาคนหนึ่งสังหารอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเพราะตำหนิแนวความคิดเสรีนิยมและชาตินิยม (Nationalism) ของนักเรียน ทำให้เจ้าชายเมตเตอร์นิคทรงออกกฤษฎีกาคาร์ลสบาด (Karlsbad Decrees) ให้มีการเซนเซอร์หนังสือและควบคุมมหาวิทยาลัยมิให้แนวความคิดปฏิวัติแพร่ไป รวมทั้งลงโทษพวกเสรีนิยมด้วย แต่พวกเสรีนิยมก็เก็บความเคียดแค้นไว้ เกิดนักเขียนหลายท่านตามกระแสโรแมนติค (Romanticism) ที่มีผลงานปรัชญาต่อต้านระบอบกษัตริย์ เรียกว่า สมัยฟอร์ไมซ์ (Vormärz - สมัยก่อนเดือนมีนาคม)

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเข้าสู่เยอรมนีในที่สุด สมาพันธรัฐเยอรมัน ยกเว้นออสเตรีย ทำข้อตกลงการค้าเสรีปลอดภาษีกับรัสเซีย รวมกันเป็นเขตเสรีการค้าโชลเฟอเรน (Zollverein)

 
การปฏิวัติปี ค.ศ. 1848

ใน ค.ศ. 1848 เกิดการปฏิวัติทั่วยุโรป ในเยอรมนีก็เช่นกัน เรียกว่าการปฏิวัติเดือนมีนาคม (March Revolution) ในแว่นแคว้น ทั่วเยอรมัน บรรดาเจ้าครองนครต่างเกรงว่าตนจะประสบชะตากรรมเดียวกับกษัตริย์ฝรั่งเศส จึงยอมจำนนแต่โดยดี ขณะปฏิวัติกำลังจะร่างรัฐธรรมนูญที่สภาแฟรงเฟิร์ต และมอบบัลลังก์ให้พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 4 แห่งปรัสเซียไปครอง แต่ทรงปฏิเสธ ทำให้การปฏิวัติล้มเหลวจบลงทันที เจ้าครองแคว้นก็ลุกฮือต่อต้านอีกครั้ง คณะปฏิวัติจึงสลายตัว

การรวมประเทศเยอรมนีของปรัสเซีย

ดูบทความหลักที่: สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ

ในช่วงสมาพันธรัฐเยอรมัน ปรัสเซียเกิดความขัดแย้งกับออสเตรียเรื่องการยึดครองดัชชีชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ (Schleswig-Holstein) ดินแดนทางตอนเหนือของเยอรมนีติดกับเดนมาร์ก ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมีความต้องการดินแดนนั้นมาก ต่อมาได้มีการประชุมกันหารือที่เมืองแฟรงก์เพิร์ตอัมไมน์ ผลก็คือฝ่ายปรัสเซียเป็นฝ่ายผิด เป็นเพราะเอกอัครทูตรัฐต่าง ๆ ในสมาพันธรัฐเยอรมันส่วนใหญ่ต่างเข้าข้างออสเตรียหมดและไม่ต้องการให้ปรัสเซียครอบงำในสมาพันธรัฐเยอรมัน สร้างความไม่พอใจอย่างมากสำหรับปรัสเซียจึงได้ประกาศสงครามกับออสเตรียและแยกตัวออกจากสมาพันธรัฐเยอรมันทันที

กองทัพปรัสเซียและออสเตรียได้ปะทะกันในยุทธการที่เคอนิชเกรทซ์ (Battle of Königgrätz) แคว้นโบฮีเมียของออสเตรีย กองทัพปรัสเซียได้ใช้กลยุทธ์เดินขบวนแยกกันและโจมตีพร้อมกันทำให้กองทัพออสเตรียและพันธมิตรถูกปิดล้อมและได้พยายามจะตีฝ่าออกไปแต่ไม่สำเร็จ เพราะฝ่ายปรัสเซียมีอาวุธปืนที่ทันสมัยนั้นก็คือ ปืนนีดเดิล (Needle Gun) ซึ่งเป็นปืนที่บรรจุได้นัดเดียวและกระสุนนั้นเป็นปลอกกระดาษ โดยในปลอกกระดาษนั้นจะมีลูกปืนอยู่ที่หัวดินปืนอยู่ตรงกลางและแก็ปอยู่ตรงท้ายเพื่อให้เข็มแทงฉนวนแทงไปที่แก็ปทำให้เกิดระเบิดและลูกกระสุนก็จะถูกยิงออกไป นอกจากนั้นสามารถบรรจุกระสุนได้อย่างรวดเร็ว ต่างจากออสเตรียซึ่งยังใช้ปืนแบบตักดินปืนลงปากกระบอกเพื่อบรรจุกระสุนซึ่งทำให้เสียเวลามากในการยิง ด้วยความได้เปรียบของปรัสเซียนี่เองทำให้ออสเตรียพ่ายแพ้อย่างยับเยินและเสียหทหารไปอย่างมาก ออสเตรียได้ส่งทูตเจรจากับปรัสเซียเพื่อเจรจาสงบศึกทันทีโดยสัญญาว่าจะไม่ก้าวก่ายในสมาพันธรัฐเยอรมันอีก และจะนับถือกันเป็นเมืองพี่เมืองน้อง แต่มีเงื่อนไขเดียวคือไม่ยอมเสียดินแดนอย่างเด็ดขาด ออทโท ฟอน บิสมาร์คเห็นด้วยกับช้อเสนอนี้แต่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 กลับไม่เห็นด้วยและต้องการแผ่นดินบางส่วนของออสเตรีย บิสมาร์คได้พยายามเกลี้ยกล่อมจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 อย่างหนักและยืนกรานว่า หากไม่ยอมรับข้อเสนอของออสเตรีย จะขอลาออกจากตำแหน่งทันที เวลาต่อมาในที่สุดพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงยอมรับข้อเสนอของออสเตรีย ผลก็คือ ออสเตรียไม่เสียดินแดนและเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ดีกับปรัสเซียในที่สุด

หลังจากนั้นปรัสเซียได้ผนวกราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์และรัฐอื่น ๆ จัดตั้งเป็นสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือและมีความคิดที่จะรวมภาคใต้มาเข้าด้วยกัน แต่ทว่าทางจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2ได้เข้ามาแทรกแซงยับยั้งทำให้สมาพันธรัฐเยอรมันใต้ยังคงเป็นอิสระอยู่ ต่อมาทางเสปนได้อัญเชิญเจ้าชายเลโอโปลด์แห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงิน ผู้มีเชื้อสายปรัสเซียขึ้นครองราชย์ในเสปน เจ้าชายเกิดความรู้สึกลังเลอยู่พักแต่ก็ตอบรับในที่สุด แต่กลับไม่เป็นไปตามนั้น ทางฝรั่งเศสไม่ต้องการให้เจ้าชายเลโอโปลด์ให้ขึ้นครองราชย์ในเสปนเพราะเกรงอำนาจในปรัสเซียจึงได้บีบบังคับให้เจ้าชายเลโอโปลด์สละสิทธิ์เสีย เจ้าชายเลโอโปลด์ก็ต้องยอมสละสิทธิ์ทันที

จักรวรรดิเยอรมันและสงครามโลกครั้งที่ 1

จักรวรรดิเยอรมัน (เยอรมัน: Deutsches Reich, หรืออย่างไม่เป็นทางการว่า Deutsches Kaiserreich ; อังกฤษ: German Empire) เป็นชื่อที่ใช้เรียกเพื่อหมายถึงรัฐเยอรมันในช่วงตั้งแต่การประกาศเป็นจักรพรรดิเยอรมันของวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย (18 มกราคม พ.ศ. 2414) ถึงการสละราชสมบัติของวิลเฮล์มที่ 2 (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461) รวมเวลา 47 ปี ในสมัยนี้เยอรมนีรุ่งเรืองมากทั้งด้านเศรษฐกิจ การทหาร และอื่น ๆ ถือว่าเป็นมหาอำนาจใหม่แห่งยุโรป มีอำนาจเทียบได้กับจักรวรรดิอังกฤษ แต่ช่วงหลังของจักรวรรดิเยอรมันได้มีปัญหากับบริเตนเรื่องการขยายอำนาจทางทะเล และ การสร้างจักรวรรดิอาณานิคมขึ้นมา จึงทำให้เกิดปัญหากับจักรวรรดิอังกฤษมหาอำนาจเดิม ปีค.ศ.1914 จักรวรรดิเยอรมนีรุ่งเรืองสุดขีด มีอาณานิคมทั่วโลก ทั้งในแอฟริกา อาทิ โตโก แคเมอรูน นามิเบีย และ แทนซาเนีย ส่วนในเอเชียก็มีบริเวณชิงเต่าของจีน และทางตอนเหนือของปาปัวนิวกินี รวมทั้งหมู่เกาะบางแห่งในมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย ต่อมาจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีมีปัญหากับเซอเบียจึงเกิดสงครามขึ้นโดย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีดึงจักรวรรดิเยอรมันเข้าร่วมสงครามในนามฝ่ายมหาอำนาจกลาง เป็นเหตุให้เยอรมันเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1ช่วงต้นสงครามฝ่ายมหาอำนาจกลางได้เปรียบฝ่ายสัมพันธมิตรหลายอย่างทั้ง กลยุทธทางการสงคราม และความแข็งแกร่งของทหาร ระหว่างสงครามเยอรมันได้ประดิษฐ์ แก๊สพิษ ที่ทำให้ทหารฝรั่งเศสหายใจติดขัดและอาจถึงตายได้ แต่ระหว่างสงครามพระโอรสของพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 2 ได้ขอร้องพระบิดาให้ทำสนธิสัญญาสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตรแต่ไม่สำเร็จ ช่วงท้ายของสงครามหลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมสงคราม เยอรมันก็เริ่มเสียเปรียบ พันธมิตรของเยอรมันทั้ง ออสเตรีย-ฮังการีก็ประกาศยอมแพ้ ส่วนบัลแกเรียและอ็อทโทมันแพ้สงครามให้กับสัมพันธมิตร ทำให้เยอรมนีต้องต่อสู้กับพันธมิตรอย่างโดดเดี่ยวและได้แพ้สงครามในค.ศ.1918 และได้เป็นจุดจบของจักรวรรดิเยอรมนี

สาธารณรัฐไวมาร์

ดูบทความหลักที่: สาธารณรัฐไวมาร์

สาธารณรัฐไวมาร์ (เยอรมัน: Weimarer Republik ; อังกฤษ: Weimar Republic) เป็นชื่อที่ในปัจจุบันใช้เรียกสาธารณรัฐที่ปกครองประเทศเยอรมนีช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 1919 ถึง 1933 ประวัติศาสตร์เยอรมนีช่วงนี้นิยมเรียกว่า ช่วงไวมาร์

ชื่อของสาธารณรัฐนั้นตั้งตามชื่อเมืองไวมาร์ ที่ซึ่งรัฐสภาได้ประชุมกันเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังจากจักรวรรดิเยอรมันถูกล้มล้างลงหลังจากพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ถึงแม้ว่ารูปแบบการปกครองจะเปลี่ยนไป แต่สาธารณรัฐแห่งใหม่นี้ ยังคงเรียกตัวเองว่า "Deutsches Reich" ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับในสมัยที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย ก่อน ค.ศ. 1919

คำว่า "สาธารณรัฐไวมาร์" เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์คิดขึ้นมาใช้ และไม่เคยถูกใช้อย่างเป็นทางการในช่วงที่สาธารณรัฐดังกล่าวดำรงอยู่ ในระหว่างยุคนี้ คำว่า Deutsches Reich ส่วนใหญ่แล้วจะถูกแปลเป็น "The German Reich" ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ โดยที่คำว่า "Reich" จะไม่ถูกแปลเป็น "Empire" อีกต่อไป

จากความอ่อนแอของสาธารณรัฐไวมาร์ เกิดจากสนธิสัญญาแวร์ซายที่มีมาตรการที่กดขี่ ประการหนึ่งก็คือเรื่องของค่าปฏิกรรมสงครามที่มูลค่ามหาศาล และมาตรการอื่น ๆ ที่สร้างความอึดอัดต่อเยอรมนีอย่างมาก โดยต่อมาเกิดวิกฤติการณ์ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (Wall Street) ล้มสลาย เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ สร้างความพินาศแก่ระบบเศรษฐกิจไปทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรป ทำให้สถานการภายในประเทศเกิดความปั่นป่วนวุ่นวายมากขึ้น ผู้คนตกงาน นายจ้างและผู้ใช้แรงงานรับภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้พรรคนาซีของฮิตเลอร์ อ้างความชอบธรรมในการสถาปนาตนเองขึ้น

จักรวรรดิไรซ์ที่ 3ของฮิตเลอร์

ดูบทความหลักที่: นาซีเยอรมนี

ระบอบนาซีได้รื้อฟื้นความมั่นคั่งทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานที่ได้ขยายเป็นวงกว้างโดยใช้ค่าใช้จ่ายอย่างหนักทางด้านการทหาร ในขณะที่ได้ทำการปราบปรามสหภาพแรงงานและการนัดหยุดงาน การกลับมาของความมั่งคั่งได้ให้ความนิยมต่อพรรคนาซีเป็นอย่างมาก กับเพียงรองลงมา, ความโดดเดี่ยวและต่อมากรณีที่ไม่ประสบความสำเร็จของการต่อต้านระหว่างชาวเยอรมันในช่วงเวลา 12 ปี ที่ผ่านมาของการปกครอง เกสตาโพ(ตำรวจลับ)ภายใต้การนำของไฮน์ริช ฮิมเลอร์ ได้กำจัดคู่แข่งทางการเมืองและข่มเหงต่อชาวยิว, ได้พยายามที่จะบังคับพวกเขาให้ถูกเนรเทศ ในขณะที่ได้ยึดทรัพย์สินของพวกเขา พรรคได้เข้าควบคุมอำนาจศาล, รัฐบาลท้องถิ่น และองค์กรพลเรือนไว้ทั้งหมดยกเว้นเพียงโบสถ์คริสตจักรโปรเตสแตนต์และคาทอลิก การแสดงออกของความคิดเห็นสาธารณชนทั้งหมดจะถูกควบคุมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาชวนเชื่อของฮิตเลอร์ โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ ผู้ที่ทำด้วยการใช้ภาพยนตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ, ชุมนุมประชาชน และการกล่าวสุนทรพจน์ที่อันต้องมนต์สะกดของฮิตเลอร์ รัฐนาซีที่ได้เทิดทูนฮิตเลอร์ในฐานะที่เป็นฟือเรอร์(ผู้นำ) ทำให้อำนาจทั้งหมดได้ตกอยู่ในมือของเขา โฆษณาชวนเชื่อนาซีได้กล่าวเน้นต่อฮิตเลอร์และเป็นประสิทธิภาพอย่างมากในการสร้างสิ่งที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า "ตำนานฮิตเลอร์"—ว่าฮิตเลอร์เป็นผู้รอบรู้ทั้งหมดและความผิดพลาดหรือความล้มเหลวใดๆของผู้อื่นจะได้รับการแก้ไขเมื่อได้รับความสนใจจากเขา ในความเป็นจริง ฮิตเลอร์มีวิสัยแคบของผลประโยชน์และการตัดสินใจได้ถูกทำให้กระจายไปมาท่ามกลางความทับซ้อน วางอำนาจตัวเองเป็นศูนย์กลาง; ด้วยประเด็นบางอย่างที่เขาเป็นคนที่มีความอดทน เพียงแค่ยอมรับแรงกดดันจากใครก็ตามที่มีหูของเขา บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงได้รายงานต่อฮิตเลอร์และติดตามผลนโยบายพื้นฐานของเขา แต่พวกเขามีอิสระอย่างมากในแต่ละวัน

การก่อตั้งระบอบนาซี

ในคำสั่งเพื่อความปลอดภัยส่วนใหญ่สำหรับพรรคนาซีของเขาในรัฐสภาไรชส์ทาค ฮิตเลอร์ได้เรียกร้องสำหรับการเลือกตั้งใหม่ เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1933 อาคารไรชส์ทาคถูกลอบวางเพลิง ฮิตเลอร์ได้กล่าวประณามถึงการลุกฮือของพวกคอมมิวนิสต์อย่างรวดเร็ว และเชื่อมั่นว่าประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คจะลงนามกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค ซึ่งได้ทำการยกเลิกเสรีภาพของพลเรือนชาวเยอรมันเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงสิทธิในการชุมนุมและเสรีภาพในการเรียกร้อง กฤษฎีกาฉบับนี้ได้อนุญาตให้ตำรวจสามารถกักขังบุคคลโดยไม่มีการเรียกเก็บเงินหรือได้รับอำนาจของศาล สมาชิกสี่พันคนของพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนีถูกจับกุม การปลุกปั่นของคอมมิวนิสต์ได้ถูกห้าม แต่ในช่วงเวลานี้ไม่ใช่พรรคคอมมิวนิสต์เอง พวกคอมมิวนิสต์และพวกสังคมนิยมถูกส่งไปยังค่ายกักกันนาซีที่ได้ถูกเตรียมพร้อมเอาไว้อย่างเร่งรีบ เช่น ค่ายกักกันเคมนา ที่พวกเขาอยู่ภายใต้ความเมตตาของเกสตาโพ กองกำลังตำรวจลับที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ สมาชิกรัฐสภาไรชส์ทาคคอมมิวนิสต์ได้ถูกนำตัวไปอยู่ภายใต้การคุ้มครอง (แม้พวกเขาจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ)

แม้ว่าด้วยความหวาดกลัวและโฆษณาชวนเชื่อที่คาดไม่ถึง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1933 ในขณะที่ผลลัพธ์ใน 43.9% ได้ล้มเหลวในการให้คะแนนเสียงส่วนมากสำหรับพรรคนาซี(NSDAP)ที่ฮิตเลอร์คาดหวัง ร่วมกับพรรคประชาชนแห่งชาติเยอรมัน(DNVP) อย่างไรก็ตาม เขาสามารถสร้างเสียงข้างน้อยของรัฐบาลได้ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1933 รัฐบัญญัติมอบอำนาจ, ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญไวมาร์ ซึ่งผ่านการลงมติในรัฐสภาไรชส์ทาคโดยคะแนนเสียง 444 ต่อ 94

สงครามเย็น

แบ่งประเทศและรวมประเทศ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Kershaw, Ian (2001). The "Hitler Myth": Image and Reality in the Third Reich.
  2. Williamson, David (2002). "Was Hitler a Weak Dictator?". History Review: 9+.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

แหล่งค้นคว้า

  • Biesinger, Joseph A. Germany: a reference guide from the Renaissance to the present (2006)
  • Bithell, Jethro, ed. Germany: A Companion to German Studies (5th ed. 1955), 578pp; essays on German literature, music, philosophy, art and, especially, history. online edition
  • Buse, Dieter K. ed. Modern Germany: An Encyclopedia of History, People, and Culture 1871–1990 (2 vol 1998)
  • Clark, Christopher. Iron Kingdom: The Rise and Downfall of Prussia, 1600–1947 (2006)
  • Detwiler, Donald S. Germany: A Short History (3rd ed. 1999) 341pp; online edition
  • Fulbrook, Mary. A Concise History of Germany (2004)
  • Gall, Lothar. Milestones - Setbacks - Sidetracks: The Path to Parliamentary Democracy in Germany, Historical Exhibition in the Deutscher Dom in Berlin (2003), exhibit catalog; heavily illustrated, 420pp; political history since 1800
  • Holborn, Hajo. A History of Modern Germany (1959–64); vol 1: The Reformation; vol 2: 1648–1840; vol 3: 1840–1945; standard scholarly survey
  • Maehl, William Harvey. Germany in Western Civilization (1979), 833pp; focus on politics and diplomacy
  • Ozment, Steven. A Mighty Fortress: A New History of the German People (2005), focus on cultural history
  • Raff, Diether. History of Germany from the Medieval Empire to the Present (1988) 507pp
  • Reinhardt, Kurt F. Germany: 2000 Years (2 vols., 1961), stress on cultural topics
  • Richie, Alexandra. Faust's Metropolis: A History of Berlin (1998), 1168 pp by scholar; excerpt and text search; emphasis on 20th century
  • Sagarra, Eda. A Social History of Germany 1648–1914 (1977, 2002 edition)
  • Schulze, Hagen, and Deborah Lucas Schneider. Germany: A New History (2001)
  • Taylor, A.J.P. The Course of German History: A Survey of the Development of German History since 1815. (2001). 280pp; online edition
  • Watson, Peter. The German Genius (2010). 992 pp covers many thinkers, writers, scientists etc. since 1750; ISBN 978-0-7432-8553-7
  • Winkler, Heinrich August. Germany: The Long Road West (2 vol, 2006), since 1789; excerpt and text search vol 1

จักรวรรดิโรมัน

  • Arnold, Benjamin. Medieval Germany, 500–1300: A Political Interpretation (1998)
  • Arnold, Benjamin. Power and Property in Medieval Germany: Economic and Social Change, c. 900–1300 (Oxford University Press, 2004) online edition
  • Barraclough, Geoffrey. The Origins of Modern Germany (2d ed., 1947)
  • Fuhrmann, Horst. Germany in the High Middle Ages: c. 1050–1200 (1986)
  • Haverkamp, Alfred, Helga Braun, and Richard Mortimer. Medieval Germany 1056–1273 (1992)
  • Innes; Matthew. State and Society in the Early Middle Ages: The Middle Rhine Valley, 400–1000 (Cambridge U.P. 2000) online edition
  • Jeep, John M. Medieval Germany: An Encyclopedia (2001), 928pp, 650 articles by 200 scholars cover AD 500 to 1500
  • Nicholas, David. The Northern Lands: Germanic Europe, c. 1270–c. 1500 (Wiley-Blackwell, 2009). 410 pages.
  • Reuter, Timothy. Germany in the Early Middle Ages, c. 800–1056 (1991)

Reformation

  • Bainton, Roland H. Here I Stand: A Life of Martin Luther (1978; reprinted 1995)
  • Dickens, A. G. Martin Luther and the Reformation (1969), basic introduction
  • Holborn, Hajo. A History of Modern Germany: vol 1: The Reformation (1959)
  • Junghans, Helmar. Martin Luther: Exploring His Life and Times, 1483–1546. (book plus CD ROM) (1998)
  • MacCulloch, Diarmaid. The Reformation (2005), influential recent survey
  • Ranke, Leopold von. History of the Reformation in Germany (1905) 792 pp; by Germany's foremost scholar complete text online free
  • Smith, Preserved. The Age of the Reformation (1920) 861 pages; complete text online free

ประวัติศาสตร์สมัยใหม่

  • Asprey, Robert B. Frederick the Great: The Magnificent Enigma (2007)
  • Atkinson, C.T. A history of Germany, 1715–1815 (1908) old; focus on political-military-diplomatic history of Germany and Austria online edition
  • Clark, Christopher. Iron Kingdom: The Rise and Downfall of Prussia, 1600–1947 (2006)
  • Gagliardo, John G. Germany under the Old Regime, 1600–1790 (1991) online edition
  • Heal, Bridget. The Cult of the Virgin Mary in Early Modern Germany: Protestant and Catholic Piety, 1500–1648 (2007)
  • Holborn, Hajo. A History of Modern Germany. Vol 2: 1648–1840 (1962)
  • Hughes, Michael. Early Modern Germany, 1477–1806 (1992)
  • Ogilvie, Sheilagh. Germany: A New Social and Economic History, Vol. 1: 1450–1630 (1995) 416pp; Germany: A New Social and Economic History, Vol. 2: 1630–1800 (1996), 448pp
  • Ozment, Steven. Flesh and Spirit: Private Life in Early Modern Germany (2001)

ค.ศ. 1815–1890

  • Blackbourn, David. The Long Nineteenth Century: A History of Germany, 1780–1918 (1998) excerpt and text search
  • Blackbourn, David, and Geoff Eley. The Peculiarities of German History: Bourgeois Society and Politics in Nineteenth-Century Germany (1984) online edition
  • Brose, Eric Dorn. German History, 1789–1871: From the Holy Roman Empire to the Bismarckian Reich. (1997) online edition
  • Hamerow, Theodore S. ed. Age of Bismarck: Documents and Interpretations (1974), 358pp; 133 excerpts from primary sources put in historical context by Professor Hamerow
  • Hamerow, Theodore S. ed. Otto Von Bismarck and Imperial Germany: A Historical Assessment (1993), excerpts from historians and primary sources
  • Nipperdey, Thomas. Germany from Napoleon to Bismarck (1996), very dense coverage of every aspect of German society, economy and government
  • Ogilvie, Sheilagh, and Richard Overy. Germany: A New Social and Economic History Volume 3: Since 1800 (2004)
  • Pflanze Otto, ed. The Unification of Germany, 1848–1871 (1979), essays by historians
  • Sheehan, James J. German History, 1770–1866 (1993), the major survey in English
  • Steinberg, Jonathan. Bismarck: A Life (2011), a major scholarly biography
  • Stern, Fritz. Gold and Iron: Bismark, Bleichroder, and the Building of the German Empire (1979) Bismark worked closely with this leading banker and financier excerpt and text search
  • Taylor, A.J.P. Bismarck: The Man and the Statesman (1967) online edition
  • Wehler, Hans-Ulrich. The German Empire 1871–1918 (1984)

ค.ศ. 1890–1933

  • Berghahn, Volker Rolf. Modern Germany: society, economy, and politics in the twentieth century (1987) ACLS E-book
  • Berghahn, Volker Rolf. Imperial Germany, 1871–1914: Economy, Society, Culture, and Politics (2nd ed. 2005)
  • Cecil, Lamar. Wilhelm II: Prince and Emperor, 1859–1900 (1989) online edition; vol2: Wilhelm II: Emperor and Exile, 1900–1941 (1996) online edition
  • Craig, Gordon A. Germany, 1866–1945 (1978) online edition
  • Gordon, Peter E., and John P. McCormick, eds. Weimar Thought: A Contested Legacy (Princeton U.P. 2013) 451 pages; scholarly essays on law, culture, politics, philosophy, science, art and architecture
  • Herwig, Holger H. The First World War: Germany and Austria–Hungary 1914–1918 (1996), ISBN 0-340-57348-1
  • Kolb, Eberhard. The Weimar Republic (2005)
  • Mommsen, Wolfgang J. Imperial Germany 1867–1918: Politics, Culture and Society in an Authoritarian State (1995)
  • Peukert, Detlev. The Weimar Republic (1993)
  • Retallack, James. Imperial Germany, 1871–1918 (Oxford University Press, 2008)
  • Scheck, Raffael. "Lecture Notes, Germany and Europe, 1871–1945" (2008) full text online, a brief textbook by a leading scholar

มหาจักรวรรดิเยอรมัน

แหล่งค้นคว้า

  • Burleigh, Michael. The Third Reich: A New History. (2000). 864 pp. Stress on antisemitism;
  • Evans, Richard J. The Coming of the Third Reich: A History. 2004. 622 pp., a major scholarly survey; The Third Reich in Power: 1933–1939. (2005). 800 pp.; The Third Reich at war 1939–1945 (2009)
  • Overy, Richard. The Dictators: Hitler's Germany and Stalin's Russia (2004). comparative history
  • Roderick, Stacke. Hitler's Germany: Origins, Interpretations, Legacies (1999)
  • Spielvogel, Jackson J. and David Redles. Hitler and Nazi Germany (6th ed. 2009) excerpt and text search, 5th ed. 2004
  • Zentner, Christian and Bedürftig, Friedemann, eds. The Encyclopedia of the Third Reich. (2 vol. 1991). 1120 pp.; see Encyclopedia of the Third Reich

หัวข้อพิเศษ

  • Bullock, Alan. Hitler: A Study in Tyranny, (1962) online edition
  • Friedlander, Saul. Nazi Germany and the Jews, 1933–1945 (2009) abridged version of the standard two volume history
  • Kershaw, Ian. Hitler, 1889–1936: Hubris. vol. 1. 1999. 700 pp. ; vol 2: Hitler, 1936–1945: Nemesis. 2000. 832 pp.; the leading scholarly biography.
  • Koonz, Claudia. Mothers in the Fatherland: Women, Family Life, and Nazi Ideology, 1919–1945. (1986). 640 pp. The major study
  • Speer, Albert. Inside the Third Reich: Memoirs 1970.
  • Stibbe, Matthew. Women in the Third Reich, 2003, 208 pp.
  • Tooze, Adam. The Wages of Destruction: The Making and Breaking of the Nazi Economy (2007), highly influential new study; online review by Richard Tilly; summary of reviews
  • Thomsett, Michael C. The German Opposition to Hitler: The Resistance, the Underground, and Assassination Plots, 1938–1945 (2nd ed 2007) 278 pages

ตั้งแต่ ค.ศ. 1945

  • Bark, Dennis L., and David R. Gress. A History of West Germany Vol 1: From Shadow to Substance, 1945–1963 (1992); ISBN 978-0-631-16787-7; vol 2: Democracy and Its Discontents 1963–1988 (1992) ISBN 978-0-631-16788-4
  • Berghahn, Volker Rolf. Modern Germany: society, economy, and politics in the twentieth century (1987) ACLS E-book online
  • Hanrieder, Wolfram F. Germany, America, Europe: Forty Years of German Foreign Policy (1989) ISBN 0-300-04022-9
  • Jarausch, Konrad H.After Hitler: Recivilizing Germans, 1945–1995 (2008)
  • Junker, Detlef, ed. The United States and Germany in the Era of the Cold War (2 vol 2004), 150 short essays by scholars covering 1945–1990 excerpt and text search vol 1; excerpt and text search vol 2
  • Schwarz, Hans-Peter. Konrad Adenauer: A German Politician and Statesman in a Period of War, Revolution and Reconstruction (2 vol 1995) excerpt and text search vol 2; also full text vol 1; and full text vol 2
  • Smith, Gordon, ed, Developments in German Politics (1992) ISBN 0-8223-1266-2, broad survey of reunified nation
  • Weber, Jurgen. Germany, 1945–1990 (Central European University Press, 2004) online edition

เยอรมนีตะวันออก

  • Fulbrook, Mary. Anatomy of a Dictatorship: Inside the GDR, 1949–1989 (1998)
  • Fulbrook, Mary. The People's State: East German Society from Hitler to Honecker (2008) excerpt and text search
  • Harsch, Donna. Revenge of the Domestic: Women, the Family, and Communism in the German Democratic Republic (2008)
  • Jarausch, Konrad H.. and Eve Duffy. Dictatorship As Experience: Towards a Socio-Cultural History of the GDR (1999)
  • Jarausch, Konrad H., and Volker Gransow, eds. Uniting Germany: Documents and Debates, 1944–1993 (1994), primary sources on reunification
  • Pence, Katherine, and Paul Betts, eds. Socialist Modern: East German Everyday Culture and Politics (2008) excerpt and text search
  • Pritchard, Gareth. The Making of the GDR, 1945–53 (2004)
  • Ross, Corey. The East German Dictatorship: Problems and Perspectives in the Interpretation of the GDR (2002)
  • Steiner, André. The Plans That Failed: An Economic History of East Germany, 1945–1989 (2010)

Historiography

  • Berghahn, Volker R., and Simone Lassig, eds. Biography between Structure and Agency: Central European Lives in International Historiography (2008)
  • Chickering, Roger, ed. Imperial Germany: A Historiographical Companion (1996), 552pp; 18 essays by specialists;
  • Evans, Richard J. Rereading German History: From Unification to Reunification, 1800–1996 (1997) online edition
  • Hagemann, Karen, and Jean H. Quataert, eds. Gendering Modern German History: Rewriting Historiography (2008)
  • Hagemann, Karen. "From the Margins to the Mainstream? Women's and Gender History in Germany," Journal of Women's History, (2007) 19#1 pp 193–199
  • Jarausch, Konrad H., and Michael Geyer, eds. Shattered Past: Reconstructing German Histories (2003)
  • Klessmann, Christoph. The Divided Past: Rewriting Post-War German History (2001) online edition
  • Lehmann, Hartmut, and James Van Horn Melton, eds. Paths of Continuity: Central European Historiography from the 1930s to the 1950s (2003)
  • Perkins, J. A. "Dualism in German Agrarian Historiography, Comparative Studies in Society and History, Apr 1986, Vol. 28 Issue 2, pp 287–330,
  • Stuchtey, Benedikt, and Peter Wende, eds. British and German Historiography, 1750–1950: Traditions, Perceptions, and Transfers (2000)

ประว, ศาสตร, เยอรมน, บทความน, ได, บแจ, งให, ปร, บปร, งหลายข, กร, ณาช, วยปร, บปร, งบทความ, หร, ออภ, ปรายป, ญหาท, หน, าอภ, ปราย, บทความน, องการจ, ดร, ปแบบข, อความ, การจ, ดหน, การแบ, งห, วข, การจ, ดล, งก, ภายใน, และอ, บทความน, องการพ, จน, กษร, อาจเป, นด, านการใช,. bthkhwamniidrbaecngihprbprunghlaykhx krunachwyprbprungbthkhwam hruxxphipraypyhathihnaxphipray bthkhwamnitxngkarcdrupaebbkhxkhwam karcdhna karaebnghwkhx karcdlingkphayin aelaxun bthkhwamnitxngkarphisucnxksr xacepndankarichphasa karsakd iwyakrn rupaebbkarekhiyn hruxkaraeplcakphasaxun bthkhwamnimikhxkhwamepnphasaxun txngkaraeplepnphasaithy bthkhwamniyngkhadaehlngxangxingephuxphisucnkhwamthuktxngaenwkhidkhxngeyxrmniinthanathiepnphumiphakhthiaetktanginyuorpklangsamarthechuxmoyngipthungphubychakarthharormn cueliys sisar phuthiklawxangthungphunthidinaednthiyngimidthukphichitthangdantawnxxkkhxngaemnairnkhuxecxrmaeniy Germania dngnncungmikhwamaetktangcakphwkkxl frngess sungekhaphichitlngid karidrbchychnakhxngchnephaecxrmanikhinyuththkarthipathxyothbwrkh Teutoburg Forest pikh s 9 idkhdkhwangkarphnwkdinaednodyckrwrrdiormn aemwamnthlkhxngormnkhxngekrmaeniysueprixxraelaekrmaeniyxinefrixxrcathuksrangkhuntamaenwaemnairn phayhlngkarlmslaykhxngckrwrrdiormntawntk phwkaefrngkidphichitchnephaecxrmanikhthangtawntkxun emuxckrwrrdiaefrngkidthukaebngaeykrahwangthayathkhxngcharelxmayinpikh s 843 swnthangdantawnxxkidklayepnxanackraefrngktawnxxk inpi kh s 962 phraecaxxthoththi 1 idklayepnckrphrrdiormnxnskdisiththixngkhaerkkhxngckrwrrdiormnxnskdisiththi sungepnrtheyxrmninsmyyukhklanginchwngplayyukhklang dyukkhxngaekhwn ecachayaelamukhnayktangidrbxanaccakkhaichcayxnsinepluxngkhxngckrphrrdi martin luethxridnakarptirupsasnafayopretsaetnttxtansasnckrkhathxlik hlngpi kh s 1517 enuxngcakrththangtxnehnuxidklayepnphwknbthuxnikayopretsaetnt inkhnathirththangtxnitthiehluxepnphwknbthuxnikaykhathxlik thngsxngfay khxngckrwrrdiormnxnskdisiththiidekidkarpathakninsngkhramsamsibpi kh s 1618 1648 sungepnkhwamphinasyxyybaekphleruxnyisiblankhnthixasyxyuinthngsxngfay sngkhramsamsibpiidnaipsukarthalaylangaekeyxrmnixyangmak makkwa 1 4 khxngprachakraela 1 2 khxngprachakrchayinrtheyxrmnidthukkhatayodykhwamwibtisngkhram pikh s 1648 idmiphlthaihkarsinsudlngkhxngckrwrrdiormnxnskdisiththiaelacuderimtnkhxngrabbrthchatithithnsmy dwyeyxrmniidaebngaeykxxkepnrthxisrahlayaehng echn prsesiy bawaeriy skhesin xxsetriyaelarthxun sungyngkhngkhwbkhumdinaednnxkphunthithithuxwaepn eyxrmni phayhlngkarptiwtifrngessaelasngkhramnopeliyn tngaetpi kh s 1803 1815 rabbskdinaidhmdipaelaesriniymaelachatiniymidpathakndwyphlsathxn karptiwtieyxrmn pi kh s 1848 49 idlmehlwlng karptiwtixusahkrrmidthaihekidkhwamthnsmykhxngesrsthkiceyxrmn idnaipsukaretibotxyangrwderwkhxngemuxngaelaxubtikarnkhxngkhbwnkarsngkhmniymineyxrmni prsesiy kbemuxnghlwngkhuxebxrlin idetibotkhuninxanac mhawithyalykhxngeyxrmnidklayepnsunyklangchnnakhxngolksahrbwithyasastraelamnusysastr inkhnathidntriaelasilpaidecriykhun karrwmchatieyxrmn ykewnephiyngxxsetriyaelaphunthithiphudepnphasaeyxrmnkhxngpraethsswitesxraelnd idprasbkhwamsaercphayitkarnakhxngnaykrthmntrixxthoth fxn bismarkh dwykarkxtngckrwrrdieyxrmninpi kh s 1871 sungidesnxwithiaekikhpyhaeyxrmnxxkepnsxngthangkhux xnupraethseyxrmn Kleindeutsche Losung thangxxkkhnadelkkhxngeyxrmn eyxrmniodyprascakxxsetriy hruxmhapraethseyxrmn Grossdeutsche Losung thangxxkkhnadihykhxngeyxrmn eyxrmnirwmekhakbxxsetriy inxditthiphanma rthsphairsthakhihm epnrthsphakareluxktng idmibthbaththicakdinrthbalckrwrrdi eyxrmnidekharwmkbmhaxanacxuninkarkhyayxananikhminthwipaexfrikaaelamhasmuthraepsifikeyxrmniidepnpraethsthimixanacehnuxkwathwipyuorp inpi kh s 1900 karkhyaytwxyangrwderwkhxngesrsthkicxutsahkrrmodyphanxngkvs thaihsamarthaekhngkhnthangeruxid eyxrmniidnafaymhaxanacklanginsngkhramolkkhrngthihnung kh s 1914 1918 ekhatxsurbkbfrngess brietnihy rsesiy aela inpi kh s 1917 shrthxemrika dwykhwamprachyaelakarkhrxbkhrxngphunthibangswn eyxrmniidthukbngkhbihcaykhaptikrrmsngkhramodysnthisyyaaewrsayaelathxntwxxkcakdinaednxananikhmechnediywkbphunthithithukkahndihsrangopaelndkhunmaihmaelaxalss lxaern karptiwtieyxrmninpikh s 1918 19 idpldckrphrrdiaelakstriytangaelaecachay idnaipsukarkxtngsatharnrthiwmar thiepnrthspharabxbprachathipitythiimmnkhnginchwngtnpi kh s 1930 dwyphawaesrsthkictktakhrngihythwolkidocmtieyxrmnixyanghnk enuxngcakkarwangnganephimkhunsungaelaprachachnidsuyesiykhwamechuxmninrthbal ineduxnmkrakhm kh s 1933 xdxlf hitelxridrbkaraetngtngepnnaykrthmntrieyxrmni phrrkhnasiiderimthicakacdstruthangkaremuxngthnghmdaelarwmrwbxanaciw hitelxridsrangrabbrwbxanacebdesrcidxyangrwderw erimtnkhuninplaypi kh s 1930 nasieyxrmniidthaihekidkhwamkawrawmakkhuneruxyinkareriykrxngdinaedn karkhmkhuwacathasngkhram hakphwkekhaimidsingthitxngkar chwngaerkthiidmathungkhuxkarsngthharklbekhaipyngirnlnth inpi kh s 1936 karphnwkrwmxxsetriyinxnchlusaelaswnhnungkhxngechoksolwaekiydwykhxtklngmiwnikinpi kh s 1938 aemwainpi kh s 1939 hitelxridphnwkrwmdinaednthnghmdkhxngechoksolwaekiy emuxwnthi 1 knyayn kh s 1939 eyxrmniiderimsngkhramolkkhrngthisxnginthwipyuorpdwykarbukkhrxngopaelnd hlngcakthiidthakhxtklngkbshphaphosewiytinpi kh s 1939 hitelxraelastalinidaebngaeykthwipyuorptawnxxk phayhlngsngkhramlwnginchwngvduibimphli eyxrmnidekhayudkhrxngpraethsednmarkaelanxrewy praethsaephndintaaelafrngess thaiheyxrmniekhakhwbkhumekuxbthnghmdkhxngyuorptawntk hitelxridsngihkxngthphekharukranshphaphosewiytineduxnmithunayn kh s 1941dwykarehyiydechuxchati odyechphaaxyangyingkbkartxtanchawyiw epnsunyklangkhxngrabxbkarpkkhrxng ineyxrmni aetswnihyinphunthidinaednthithukyudkhrxngodyeyxrmn okhrngkarkarkhalangephaphnthuxyangepnrabbthiruckknkhuxhxolkhxst idsngharchawyiwcanwnhklankhn echnediywkbxunxikhalankhn rwmthngchaweyxrmnthiimehndwy chawyipsi khnphikar chawopl chawormani chawosewiyt phuthiepnchawrsesiyaelaimichrsesiy aelaxun inpi kh s 1942 karbukkhrxngshphaphosewiytkhxngeyxrmnitxnghyudchangklng aelaphayhlngcakshrthxemrikaidekharwmsngkhram xngkvsidklayepnthansahrbkarthingraebidkhnadihykhxngxngkvsaelaxemriknlngisemuxngeyxrmn eyxrmnitxngtxsurbinsngkhramhlayaenwrbinchwngtngaetpi kh s 1942 1944 xyangirktam phayhlngcakfaysmphnthmitridbukkhrxngnxrmxngdi eduxnmithunayn kh s 1944 kxngthpheyxrmnidthukphlkdnklbthnghmdkhxngaenwrbcnkrathngthaythisudtxnglmslaylngineduxnphvsphakhm kh s 1945phayitkaryudkhrxngkhxngfaysmphnthmitr dinaedneyxrmniidthukaebngaeyk xxsetriyidepnpraethsthiaeyktwxxkmaxikkhrng okhrngkarkarkhcdnasiidekidkhun aelasngkhrameynidsngphlthaihswnhnungkhxngpraethsidaetkaeykxxkepnsxngfayidaek eyxrmnitawntkxnmirabxbprachathipityaelaeyxrmnitawnxxkxnmirabxbkhxmmiwnist chnechuxchatieyxrmnnblankhnidthukkhbilhruxhnixxkcakphunthikhxmmiwnistipyngeyxrmnitawntk sungcakprasbkarnkarkhyaytwthangesrsthkicxyangrwderw aelaklayepnesrsthkicthimibthbathsakhyinyuorptawntk eyxrmniidrbkartidtngxawuthihmxikkhrnginpi kh s 1950 phayitkarduaelkhxngxngkhnaot aetimsamarthmixawuthniwekhliyrid khwamsmphnthmitrphaphrahwangfrngess eyxrmniidklayepnphunthansahrbkarrwmtwknthangkaremuxngkhxngyuorptawntkinshphaphyuorp inpi kh s 1989 kaaephngebxrlinidthukthalaylng shphaphosewiytlmslaylngaelaeyxrmnitawnxxkkidrwmekhakbeyxrmnitawntkinpikh s 1990 inpikh s 1998 1999 eyxrmniepnhnunginpraethsthikxtngyuorosn eyxrmniyngkhngepnhnunginmhaxanacthangesrsthkickhxngthwipyuorp idmiswnrwmpramanhnunginsipkhxngphlitphnthmwlrwminpraethsthukpracapikhxngyuorosn inchwngtnpikh s 2010 eyxrmniidmibthbathsakhyinkarphyayamthicaaekikhwikvtkarnkhxngyuorthithwikhwamrunaerngmakkhunodyechphaakrisaelapraethsxuninyuorptxnit inchwngklangthswrrs praethsidephchiywikvtkarnphuyaythinyuorp thiepnphurbthisakhykhxngphuliphycaksieriyaelaphumiphakhxunthitkthukkhidyak enuxha 1 chnchatieyxrmn 2 ckrwrrdiormnxnskdisiththiinsmyklang 2 1 rachwngsohexinchetaefin kh s 1138 thung kh s 1254 3 karptirupsasnaaelasngkhramsamsibpi 3 1 karptirupsasna 3 2 sngkhramsamsibpi 4 cudcbkhxngckrwrrdiormnxnskdisiththi 4 1 karyudkhrxngkhxngnopeliyn 5 smaphnthrtheyxrmn 6 karrwmpraethseyxrmnikhxngprsesiy 7 ckrwrrdieyxrmnaelasngkhramolkkhrngthi 1 8 satharnrthiwmar 9 ckrwrrdiirsthi 3khxnghitelxr 9 1 karkxtngrabxbnasi 10 sngkhrameyn 11 aebngpraethsaelarwmpraeths 12 duephim 13 xangxing 14 hnngsuxxanephimetim 14 1 aehlngkhnkhwa 14 2 ckrwrrdiormn 14 3 Reformation 14 4 prawtisastrsmyihm 14 5 kh s 1815 1890 14 6 kh s 1890 1933 14 7 mhackrwrrdieyxrmn 14 7 1 aehlngkhnkhwa 14 7 2 hwkhxphiess 14 8 tngaet kh s 1945 14 8 1 eyxrmnitawnxxk 14 9 Historiographychnchatieyxrmn aekikhdubthkhwamhlkthi chnchatieyxrmn praman 100 pikxn kh s chnchatieyxrmnlngitcaksaekndienewiyaelaaephrkracayipthwtngaetaemnairncnthungethuxkekhayurl aelaephchiyhnakbkaraephkhyaykhxngckrwrrdiormn aemchawormncaphyayamcaphichitchaweyxrmn in kh s 9 thphormnphayaephchaweyxrmnthipathxyothbwrkh thaihchawormneliklmkhwamkhidthicarukraneyxrmn aelachnchatieyxrmnkrukkhubiptngrkraktamchayaednckrwrrdiormn aelaaetkxxkepnhlayepha thimichuxesiyngkhux wisikxth aewndl aefrngk l aelaekharitkhristsasnanikayxaeriynism Arianism sungchawormnimyxmrbaetinstwrrsthi 4 chawhnmacakexechiyepnnkrbbnhlngmathipaethuxn ekhabukephathalayhmubanaelasngharchaweyxrmnxyangohdehiym thaihephaeyxrmntang thnimihwtxnghlbhniekhaipinckrwrrdiormn bangdwysntiwithibangkbukekhaip thaihckrwrrdiormnxxnaex cninkh s 410 oxodxaesxr Odoacer phunaephaeyxrmnephahnung yudkrungormaelapldckrphrrdiormnxngkhsudthayin kh s 476 ckrwrrdiormncunglmslayemuxckrwrrdiormnlmslaychawaefrngkthitngrkrakinfrngesskeruxngxanacthisudinyuorpphayitrachwngsemrxaewngechiyngineyxrmni miephathnghlaypkkhrxngtnexngidaekphwksuexbi Suebi phwkthuxringngin Thuringen phwkskhesin Saxons phwkbawaeriy Bayern aelaphwkaefrngk Franks sungcaklayepnchuxaewnaekhwnineyxrmni chwaebin thuxringengin skhesin bawaeriy aelafrngekhin tamladb aetephaehlanitxngtkxyuphayitxanackhxngphwkaefrngk sungaephkhyayxanacmainstwrrsthi 5 thung 8 odyechphaasngkhramkbphwkskhesinkhxngphraecacharelxmay Charlemagne khxngchawaefrngk aehngrachwngskarxaelngechiyng thaihphwkskhesintxngekharitsasnakhristaelaxyuphayitkarpkkhrxngkhxngphwkaefrngkyngmiephaeyxrmnxikepha khux phwklxmbard Lombards ekhabukxitali thaihphrasntapapathrngkhxihphraecacharelxmaythrngchwyehlux phraecacharelxmaythrngkhbilphwklxmbardidaelaidrbkarrachaphieskcakphrasntapapaepnckrphrrdiormn in kh s 800 epncuderimtnkhxngckrwrrdiormnxnskdisiththi ckrwrrdikhxngphraecacharelxmaythukaebngepnsamswntamsnthisyyaaewrdngin kh s 843 xanackraefrngktawnxxkcaklayepneyxrmniinpccubnckrwrrdiormnxnskdisiththiinsmyklang aekikhdubthkhwamhlkthi ckrwrrdiormnxnskdisiththi rachwngskarxaelngechiyngsinsudipinxanackraefrngktawnxxk phunaaewnaekhwnthngsi skhesin bawaeriy frngekhin chwaebin cungeluxkdyukihnrichaehngskhesinepnkstriyaehngeyxrmniin kh s 955 chawmcyar Magyars hruxchawhngkari epnchnephaerrxncakexechiy bukmathungeyxrmni ekhaephathalayplmsadmhmuban srangkhwameduxdrxn aetckrphrrdixxthothkthrngkhbilphwkmcyaridinkarrbthielkhfild Lechfield tamkarsnbsnunkhxngphrasntapapa phraoxrskhux phraecaxxthoth ekhachwyehluxphrasntapapacakkaryudkhrxngkhxngkstriyaehngxitali xanackraefrngkklang phraecaxxthothnathphekhaprabyudxitali aelaidrbkarrachaphieskcakphrasntapapaepnckrphrrdixxthoththi 1in kh s 962 epnckrphrrdixngkhaerkaehngckrwrrdiormnxnskdisiththiin kh s 1033 rachxanackrburkxyinfrngessthukphnwkekhakbckrwrrdiormnxnskdisiththi thaihckrwrrdiormnxnskdisiththimixanaekhtiphsalthwyuorpklang aelayngaephkhyayipthangtawnxxkprabpramchawslaftang idaek phwkewnd Wends phwkoxobedxirt Oboderites aelaphwkopl Poles klayepnaekhwnmkhelinbwrkh Mecklenburg aekhwnphxemxereniy Pomerania aelaaekhwnbrnedinbwrkh Brandenburg kstriyaehngobhiemiy Bohemia Czech kekhaswamiphkdi thaihckrwrrdiormnxnskdisiththiaephkhyayxiththiphlthngthangkaremuxngaelaphasawthnthrrmipyngdinaednkhxngchawslafthangtawnxxk eriykwa Ostsiedlung ecankhrrthphukhdeluxkthngecdaehngckrwrrdiormnxnskdisiththi phueluxkckrphrrdi ckrphrrdiihnrichthi 4 thrngtxngkarcarwbxanacinxngkhkarsasna echn karaetngtngbrrdamukhnaykmaxyuthiphraxngkh aetphrasntapapaekrkxrithi 8 thrngimyinyxmcungekidkhxkhdaeynginxanackaraetngtngsngkh Investiture Controversy phrasntapapathrngbphphachniykrrm khbcaksasna ckrphrrdiihnrichin kh s 1072 sungepnothsthirayaerngyingkwataysahrbkhnsmynn aelapldckrphrrdiihnrichcaktaaehnng thaihbrrdakhunnangkxkbtaeyngxanaccakphraecaihnrichaelaaeyktw thaihphraecaihnrichyxmcann in kh s 1077 thrngrxphrasntapapaethaeplaklangphayuhimathikhaonssa Canossa ephuxkhxkhmaphrasntapapa epnchychnakhxngfaysasnatxfayolk ihxanackhxngckrwrrdiormnxnskdisiththiesuxmlngaetbdnn cnin kh s 1122 thngsxngfaycungsngbsukinoxngkarphrasntapapaaehngemuxngwxrm Concordat of Worms rachwngsohexinchetaefin kh s 1138 thung kh s 1254 aekikh ckrphrrdifridrichthi 1 aehngrachwngsohexinchetaefin Hohenstaufen thrngphyayamcahyudyngsngkhramrahwangphwkkhunnangineyxrmni odythrngaetngtngdyukihnrichaehngskhesin Henry the Lion Duke of Saxony caktrakulewlf Welf epndyukaehngbawaeriy odyecakhrxngaekhwnedim khuxmarkhkrafaehngxxsetriy Margrave of Austria ideluxnkhnepndyuk ckrphrrdifridrichthrngbukxitaliephuxprabkbtaelathasngkhramkbphrasntapapaaetxitalirwmtwepnsnnibatlxmbard Lombard League txtanphrackrphrrdiaelasnbsnunphrasntapapa ckrphrrdifridrichthrngkriwaelaplddyukihnrichthiimchwyehluxphraxngkh ykbawaeriyihrachwngswithethilsbkh aelaaetkaekhwnskhesinaebngepnhlayswnckrphrrdifridrichthi 2 thrngphyayamcayudxitalixikkhrng odyfaykhxngphraxngkh eriykwaphwkkibebllin Ghibelline txsukbphwkeklf Guelph hruxtrakulewlfthiipekhakhangphrasntapapa ckrphrrdifridrichthrngtxngkarcaphncakkhwamwunwayikheyxrmni cungthrngmxbxanacihecakhrxngaewnaekhwn thaihecakhrxngaekhwnineyxrmniaeyktwxxkipaetkkracdkracayinsmyphraecafridrichthi 2 phrasntapapathrngexachnackrphrrdiidin kh s 1226 ckrphrrdifridrichoprdihxswinthiwthn Teutonic Knights ipphichitchawbxltik Balts thiyngimekharitkhristsasnathangehnuxinsngkhramkhruesdtxnehnux Northern Crusades thasngkhramxyangohdehiymkbchawphunemuxng thaihxiththiphlkhxngeyxrmnaelakhristsasnaekhasubriewnbxltikckrphrrdifridrichsinphrachnm thaihrachwngsohexinchetaefinlmslaycnklayepnsmyirckrphrrdi Interregnum emuximmiphunadyukrudxlfaehngxxsetriy Rudolf of Habsburg cakrachwngshaphsbwrkhcungidrbeluxkepnkstriyaehngeyxrmniin kh s 1273 aetimidrachaphieskepnckrphrrdi brrdaecakhrxngaewnaekhwn kxasyoxkastngtnepnxisraknhmd thaihphraecarudxlfthrngmixanacechphaainaekhwnxxsetriyethann samrachwngskhux haphsbwrkh lkesmebirk aelawithethilsbkh phldknepnkstriyaehngeyxrmniin kh s 1312 phraecaihnrichaehngobhiemiy trakullkesmaebrkhrachaphieskepnckrphrrdi thaihmickrphrrdiormnxnskdisiththixikkhrng aetnbaetnnmackrphrrdithukphraxngkhmixanacechphaainaekhwnkhxngtnethann eyxrmnicungaetkepnaekhwnelkaekhwnnxy aelarwmknimidxikelyipxik 600 pirachwngslkesmaebrkhpkkhrxngckrwrrdiormnxnskdisiththiaetmixanacechphaainaekhwnobhiemiyethann aemckrphrrdihlayphraxngkhcathrngphyayamkuphrarachxanackhunaetkimsaerc in kh s 1350 kalorkhkrabadmayngeyxrmni khrachiwitphukhniphlaylan in kh s 1356 xxkphrarachoxngkarsartrathxng Golden Bull prbprungrabbkarpkkhrxngckrwrrdiormnxnskdisiththiihm odykaraetngtngecankhrrthphukhdeluxkecdxngkh epnbrrphchitsamxngkhaelaepnkhunnangsikhnthirwmthng xkhrmukhnaykaehngokholy Archbishop of Cologne eyxrmn Erzbischof von Koln xkhrmukhnaykaehngimnths Archbishop of Mainz eyxrmn Erzbischof von Mainz xkhrmukhnaykaehngethriyr Archbishop of Trier eyxrmn Erzbischof von Trier kstriyaehngobhiemiy King of Bohemia eyxrmn Konig von Bohmen markhkrafaehngbrnedinbwrkh Margrave of Brandenburg eyxrmn Markgraf von Brandenburg flthskrafaehngirn Count Palatinate of the Rhine eyxrmn Plazgraf bei Rhein dyukaehngskhesin Duke of Saxony eyxrmn Herzog von Sachsen eluxnkhnmacak skhesin withethinaebrkh Sachsen Wittenberg phraecasikismund in kh s 1414 phraecasikismundaehnghngkari Sigismund thrngidepnkstriyaehngeyxrmni inaekhwnobhiemiyekidlththinxkritkhxng yn hus Jan Hus yn hus thukephathngepnin kh s 1415 in kh s 1417 thrngaetngtngihtrakulohexinthsxlelirn epnmarkhkrafaehngbrnedinbwrkh in kh s 1419 phraecasikismundidepnkstriyaehngobhiemiy aetchawobhiemiyimyxmrb ephraathrngsngharyn hus kxkbtlukhuxtxtan phraecasikismundthrngnathphekhapraberiykwasngkhramhusist Hussite War sungphraecasicismundkthrngimsamarthcayudaekhwnobhiemiyidin kh s 1437 fridrich dyukaehngxxsetriy phrachamadainphraecasikismund khunepnckrphrrdifridrichthi 3 thaihrachwngshaphsbwrkhpkkhrxngckrwrrdiormnxnskdisiththiipxik 400 pickrphrrdimkhsimilixanthi 1thrngxphieskkbmariaehngburkxy Mary of Burgundy thaihthrngidrbaekhwnburkxyaelaklumpraethsaephndinta Low Countries makhrxng thrngmxbaekhwnburkxyihphraoxrskhuxphraecaefliepthi 1 aehngkhastil Philip the Handsome in kh s 1495 thrngxxkckrwrrdiptirup Reichsreform aebngrthtanginepnekhruxrachrth Reichskreise aelatngsalsungckrwrrdi Reichskammergeritch karptirupkhxngckrphrrdimkhsimilixancasngphltxkarpkkhrxngkhxngckrwrrdiormnxnskdisiththiipcnlmslaykarptirupsasnaaelasngkhramsamsibpi aekikhkstriyfrngessthrngphyayamcabukyudkhabsmuthrxitaliin kh s 1494 insngkhramxitali Italian Wars ckrphrrdimkhsimilixanthrngrwmmuxkbchatitang inyuorpaelaphrasntapapatankarrukrankhxngfrngess in kh s 1519 phraoxrskhuxphraecacharlsthi 1 aehngsepn khunepnckrphrrdiormnxnskdisiththi epnkarrwmsxngxanackrthaihxanaekhtkhxngrachwngsaehpsburkaephkhyay karptirupsasna aekikh martin luethxr dubthkhwamhlkthi karptirupsasna phrasntapapathrngtxngkarcahaenginmasrangwiharxnswyngamtamsthaptykrrmerenssxngs cungthrngkhaybtrithbap indulgences ineyxrmniephuxhaenginodyxangwaikhrsuxbtrnicaidrbkarithbap sungaennxnwaidrbkarprathwngcakthngchawbankhunnangaelasngkhthnghlay karptirupsasna The Reformation cungerimin kh s 1517 emux martin luethxr Martin Luther txktapukhaprathwng 95 khx 95 Theses iwhnaobsthinemuxngwithethinaebrkh Wittenburg luethxridrbkarsnbsnuncakecankhrrthphukhdeluxkaehngskhesin ckrphrrdicharlsaelaphrasntapapathrngeriykprachumsphaemuxngwxrms Diet of Worms bngkhbihluethxrkhxothsphrasntapapaaelathxnkhaprathwngkhun aetluethxrimyxmnikayluethxaerncungaephkhyayipthweyxrmni epnnikayaerkkhxngopretsaetnt ephraabrrdaecakhrxngaekhwntangtxngkarphncakxanackhxngckrphrrdicungichsasnaepnekhruxngmux ecankhrrthphukhdeluxkaehngskhesinihluethxrekbtwxyuinprasathwarthbwrkhephuxkhwamplxkphyaelathinnexngluethxraeplkhmphiribebilepnphasaeyxrmnepnkhrngaerkbrrdachawbanthiekhanbthuxnikayluethxaern cungchwyoxkaskxkbtin kh s 1524 txecankhrtang insngkhramchawban Peasants War aetecakhrxngaekhwnkprabpramkbtxyangrwderw aelakhunnangihykhuxecankhrrthphukhdeluxkaehngskhesinaelalnthkrafaehngehsesin Landgrave of Hesse tngsnnibatichmalkhadikh Schmalkadic League aelachkchwnkhunnangxun ekharwmxangwaephuxpkpxngnikayopretsaetnt aetthicringephuxthalayxanackhxngckrphrrdi ckrphrrdicharlsthrngngwnxyukbsngkhramtangpraeths thaihnikayopretsaetntsamarthaethrksumfngrakluklngipineyxrmni cnin kh s 1546 kthrngwangsamarthmaprabkbtkhunnangopretsaetnt epnsngkhramchmalkhadikh Schmalkadic War aelaprabidin kh s 1547 in kh s 1548 thrngthasnthisyyasntiphaphexakhsbwrkh Peace of Augsburg yxmrbnikayluethxaern aetimyxmrbnikayxun aelaichkhninrthnnnbthuxsasnatamecakhrxngaekhwn Cuius regio eius regio sngkhramsamsibpi aekikh dubthkhwamhlkthi sngkhramsamsibpi aemsnthisyyasntiphaphexakhsbwrkhcaihesriphaphaeknikayluethxaern aetphayhlngimnanlththikhalwin Calvinism kekhaaethnthinikayluethxaerninhlay aekhwn aelaeriykrxngsiththikhxngnikaytn aelasnthisyyasntiphaphexakhsbwrkhkihesriphaphkbnikayluethxaernaelaphwkecakhrxngaekhwnethann prachachnthitxngthukhlk Cuius regio eius regio bngkhbxyunnimidmiesriphaphely ineyxrmnikekidsxngkhwsasna khuxphwkkhathxlikthangit bawaeriy ewuxthsbwrkh l phwkluethxrnthangehnuxepnswnihy aelaphwkkhalwininbangaekhwn echn phalatient Pfalz ehsesin Hesse aelabrnedinbwrkh Brandenburg fridrich ecankhrrthflths kstriyaehngobhiemiy ehmntkstriy in kh s 1606 brrdaaekhwnthiepnkhalwinrusukimplxdphy cungtngsnnibatishphaphxiaewneclikhl League of Evangelical Union naodyecankhrrthphukhdeluxkfridrich faykhathxliknaodydyukmkhsimilixanaehngbawaeriy Maximilian Duke of Bavaria tngsnnibatkhathxlikin kh s 1609 ckrphrrdiaefrdinndthi 2 aehngckrwrrdiormnxnskdisiththi thrngepnkhathxlikthiekhrngkhrdaelatxngkarcathalaylangnikayxunihsin phraxngkhthrngepnkstriyaehngobhiemiydwy sungchawobhiemiykimphxicckrphrrdiormnxnskdisiththixyuaelwtngaetsngkhramhusist in kh s 1618 chawobhiemiycbphuaethnphraxngkhoynxxknxkhnatangkhxngxakharhlnghnung eriykwakaroynbkthikrungprak Defenestration of Prague sngkhramsamsibpi Thirty Years War cungerimckrphrrdiaefrdinndthrngepnkstriyaehngobhiemiykxnrachaphiesk kbtobhiemiycungihecachayfridrichepnkstriyaethnin kh s 1619 thaihinbrrdaecankhrrthphukhdeluxkmiphwkopraetsaetntmakkwa xntraywaphraecaaefrdinndcaimidepnckrphrrdi cungthrngribrachaphieskkxnthibrrdaecankhrrthphukhdeluxkcathrabkhawwaecachayfridrichepnkstriyaehngobhiemiyaethnthiphraxngkh ekidkbtkhxngphwkopretsaetntluklaminobhiemiyaelaxxsetriy sepnsngthphmachwyephraahwngcaidyudaekhwnphalatient ckrphrrdiaefrdinndexachnaecachayfridrichinkarrbthiphuekhakhaw White Mountain in kh s 1620 khwamphayaephkhxngecachaythaihsnnibatishphaphxiaewneclikhllmslay aekhwnphalatientthuksepnyud ecankhrrthphukhdeluxkfridrichhlbhniipenethxraelnd ckrphrrdithrngxxkphrarachkvsdikayuddinaednkhun Edict of Restitution in kh s 1629 ephuxyuddinaednthiekhyepnkhathxliktamsnthisyyasntiphaphexakhsbwrkhkhunsngkhramnikhwrcaepnaekhkbtkhxngobhiemiyaelaphalatient aetphraecakhrisetiynthi 4 aehngednmark thrngepnluethxrnaelatxngkarcayudemuxngtang thangehnuxkhxngeyxrmniephuxcakhumkarkhainthaelnbxltik cungnathphbukin kh s 1625 ckrphrrdiaefrdinndsngwalelnsitn Albretch von Wallenstein aelathilli General Tilly ipprabthphednmark yudaekhwnopretsaetnttang id aelabukyudednmark phraecakhrisetiyncungyxmaeph phraecakustafthi 2 aehngswiednsinphrachnminkarrbthiluthesn phraecakustafthi 2 xdxlf Gustaf II Adolf aehngswiednthrngykthphmachwyphwkluethxrnin kh s 1630 dwykhwamchwyehluxkhxngkhardinl riechxliexx Cardinal Richelieu aehngfrngessthitxngkarokhnxanacphrackrphrrdi phraecakustafthrngexachnathilliidthiibrethnfild Breitenfield in kh s 1631 walelnsitnmasukbphraecakustafthilutesn Lutzen plngphrachnmphraecakustafin kh s 1632 cnnaipsusnthisyyaprakinkh s 1635 eluxnkarbngkhbichphrarachkvsdikayuddinaednkhunipxik 40 pi ephuxihecakhrxngopraetsaetntetriymtw sungfrngessimphxic ephraackrphrrdithrngmixanacmakkhunfrngesscungprakassngkhramin kh s 1636 aetkthuksepndkiwthukthang aetkyngepnoxkasihswiednexachnathphckrwrrdiid swiednaelafrngesschnaxxsetriythielns Lens aelasepnthiorkhrw Rocroi naipsusnthisyyasntiphaphewsthfaelin Peace of Westphalia inkh s 1648snthisyyasntiphaphewsthfaelinepnsnthisyyasntiphaphthiyutisngkhramsasnainyuorp mikhxtklnghlayprakar thiekiywkbeyxrmnimidngni ichhlk Cuius regio eius regio tamsnthisyyasntiphaphphexakhsbwrkh ephimnikaykhalwinmaxikhnung aetkhnthisasnaimtrngkbaekhwncaprakxbphithikrrmidinthithicdhruxinban swiednidphxemxereniytawntk Western Pomerania emuxngbriemnaelaaewrdng khumpakaemnaoxedxraelaexlebx dyukaehngbawaeriyidepnecankhrrthphukhdeluxkkhnthiaepd aekhwnphalatientaebngepnphalatientbn Upper Palatinate ykihbawaeriy phalatientehluxephiyngphalatientlang Lower Palatinate yngkhngepnecankhrrthphukhdeluxkehmuxnedim aekhwnbrnedinbwrkhidkhyaydinaednephimcudcbkhxngckrwrrdiormnxnskdisiththi aekikhsngkhramsamsibpithaihaewnaekhwneyxrmnrabepnhnaklxng prachakrlmtayipmak snthisyyasntiphaphewsthfaelinthaihxanackhxngecakhrxngaewnaekhwn ldlng ephraaimxacmikxngthphepnkhxngtnexngaelaimsamarthekharwmkaremuxngrahwangpraethsid thaihxxsetriyaephxiththiphlekhamaineyxrmniaetktxngaekhngkhnkbswiednthiiddinaednthangehnuxkhxngeyxrmnipmak khnaediywknthangtawntkphraecahluysthi 14 aehngfrngesskthrngthathukwithithangephuxcaihidaekhwninlumaemnairnipkhrxngaetaekhwnineyxrmnithimixanacthisudkhuxbrnedinbwrkh hruxeriykwabrnedinbwrkh prsesiy Brandenburg Prussia ephraaecankhrrthphukhdeluxkaehngbrnedinbwrkhnn epndyukaehngprsesiy Duke of Prussia xnepntaaehnngkhunnangkhxngkstriyopaelnd khrxngaekhwnprsesiythiopaelnduyudmacakxswinthiwothnikh in kh s 1701 brnedinbwrkh prsesiyideluxnsthanaepnxanackrinprsesiy Kingdom in Prussia xanackrprsesiythasngkhramlmlangxiththiphlkhxngswiednineyxrmniehnux aelasasmdinaedneruxy cnihykhun phraecafridrichthi 2 aehngprsesiy thrngepliynchuxxanackrepnxanackraehngprsesiy Kingdom of Prussia in kh s 1740 ckrphrrdinimaeriy ethersa thrngepnstri thaihimxackhrxngbllngkidodyimmikhxkhdaeyngtamkdsalikh Salic Law thaihphraecafridrichbukxxsetriyephuxpldphranangcakbllngk epnsngkhramsubrachsmbtixxsetriy phraecafridrichthrngyudaekhwnisliesiymacakxxsetriyid dngnnbrrdapraethstang inyuorpehnwakarkhyaytwkhxngprsesiyepnphycungrwmknthasngkhramkbprsesiyinsngkhramecdpi Seven Years War prsesiytxsukbsammhaxanac frngess xxsetriy rsesiy miephiyngbrietnepnphnthmitr aetksamarthchnasngkhramid xanackrprsesiyyingaephkhyayipxikinkaraebngpraethsopaelnd Partition of Poland in kh s 1772 kh s 1793 aela kh s 1795 karyudkhrxngkhxngnopeliyn aekikh karrbthiemuxngxulm Ulm in kh s 1789 frngessekidkarptiwtifrngess brrdachatitang rwmtwkntxtankhnaptiwtithikalngaephxiththiphlxxkmacakfrngess in kh s 1800 tamsnthisyyaluenwill Luneville ykeyxrmniswntawntkkhxngaemnairnthnghmdihfrngess in kh s 1804 nopeliynprabdaphiesktnexngepnckrphrrdi thaihchatitangrwmtwepnsmphnthmitrkhrngthi 3 Third Coalition cnphayaephnopeliyninkarrbthixulm Ulm in kh s 1805 thasnthisyyaephrsburk Pressburg lmlangckrwrrdiormnxnskdisiththi ckrphrrdiaehngckrwrrdiormnxnskdisiththiklayepnckrphrrdixxsetriy khnathiaewnaekhwn thiehluxrwmtwknepn smaphnthrthaehngirn Confederation of the Rhine epnrthbriwarkhxngnopeliyn aewnaekhwn kideluxnkhn echn skhesin bawaeriy ewuxrthethimaebrkh idepnxanackr smaphnthrthnaodysngkhrach Primate khux kharl ethoxdxr fxn dlaebrkh Karl Theodore von Dalberg rthtang insmaphnthrthcatxngsngthphekhachwyfrngess odythifrngesscaihkarpkpxngepnkartxnaethnprsesiyaephfrngessinyuththkarthieyna exaexxrchetth cnthasnthisyyathilsith Tilsit inkh s 1807 prsesiyesiythangtawnxxkkhxngaemnaexlebklayepnaekhwnwxrsxw Grand Duchy of Warsaw aelakxtngrachxanackrewsthfaelin Kingdom of Westphalia khwamphayaephkhxngprsesiythaiheyxrmnitkxyuphayitxiththiphlkhxngfrngess cnsudthaysmaphnthrthprakxbdwysixanackr ewsthfaelin bawaeriy skhesin ewuxrthethimaebrkh haaekrnddchchi baedin ehsesin aebrkh aefrngkefirt aelaewuxthsbwrkh sibsamdchchi sibecdecachay aelankhrrthxisrasamnkhr khuxhmbwrkh luxebkh aelaebreminin kh s 1813 nopeliynphayaephsmphnthmitrinkarrbthiilphsich Leipzig xanackhxngfrngesscungcblng smaphnthrthaehngirncungthukyub brrdachatitang inyuorp cungfunfurabxbrachathipityinyuorp cungtngkhxngekrsaehngewiynna Congress of Vienna maprachumharux naodyecachayemtetxrnikh Metternich xkhresnabdixxsetriysmaphnthrtheyxrmn aekikhdubthkhwamhlkthi smaphnthrtheyxrmn khxngekrsaehngewiynnaihaewnaekhwn inckrwrrdiormnedim rwmtwklayepn smaphnthrtheyxrmn German Confederation mickrphrrdixxsetriyepnpramukh misphasmaphnthrth Federal Assembly thiemuxngaefrngkefirtepnsphaharuxkickarbanemuxng thangprsesiykidrbkarfunfudinaednkhun miphlthaihxxsetriyaelaprsesiyepnsxngmhaxanacthiaephxiththiphlekhakhrxbngaeyxrmniaemkhxngekrsaehngewiynnacaphyayambibihyuorpklbsurabxbsmburnayasiththirachyskephiyngid aetksayipaelw ephraadwyxiththiphlkhxngfrngessaelanopeliyn thaihaenwkhwamkhidesriniym Liberalism fngraklngipineyxrmni in kh s 1817 phwknksuksahwkawhnacdnganeliyngthiemuxngwartburkephathalayhnngsuxthisnbsnunrabxbkstriy in kh s 1819 nksuksakhnhnungsngharxacaryinmhawithyalyephraatahniaenwkhwamkhidesriniymaelachatiniym Nationalism khxngnkeriyn thaihecachayemtetxrnikhthrngxxkkvsdikakharlsbad Karlsbad Decrees ihmikaresnesxrhnngsuxaelakhwbkhummhawithyalymiihaenwkhwamkhidptiwtiaephrip rwmthnglngothsphwkesriniymdwy aetphwkesriniymkekbkhwamekhiydaekhniw ekidnkekhiynhlaythantamkraaesoraemntikh Romanticism thimiphlnganprchyatxtanrabxbkstriy eriykwa smyfxrims Vormarz smykxneduxnminakhm karptiwtixutsahkrrmekhasueyxrmniinthisud smaphnthrtheyxrmn ykewnxxsetriy thakhxtklngkarkhaesriplxdphasikbrsesiy rwmknepnekhtesrikarkhaochlefxern Zollverein karptiwtipi kh s 1848 in kh s 1848 ekidkarptiwtithwyuorp ineyxrmnikechnkn eriykwakarptiwtieduxnminakhm March Revolution inaewnaekhwn thweyxrmn brrdaecakhrxngnkhrtangekrngwatncaprasbchatakrrmediywkbkstriyfrngess cungyxmcannaetodydi khnaptiwtikalngcarangrththrrmnuythisphaaefrngefirt aelamxbbllngkihphraecafridrich wilehlmthi 4 aehngprsesiyipkhrxng aetthrngptiesth thaihkarptiwtilmehlwcblngthnthi ecakhrxngaekhwnklukhuxtxtanxikkhrng khnaptiwticungslaytwkarrwmpraethseyxrmnikhxngprsesiy aekikhdubthkhwamhlkthi smaphnthrtheyxrmnehnux inchwngsmaphnthrtheyxrmn prsesiyekidkhwamkhdaeyngkbxxsetriyeruxngkaryudkhrxngdchchichelswich hxlchitn Schleswig Holstein dinaednthangtxnehnuxkhxngeyxrmnitidkbednmark sungthngsxngfaytangmikhwamtxngkardinaednnnmak txmaidmikarprachumknharuxthiemuxngaefrngkephirtxmimn phlkkhuxfayprsesiyepnfayphid epnephraaexkxkhrthutrthtang insmaphnthrtheyxrmnswnihytangekhakhangxxsetriyhmdaelaimtxngkarihprsesiykhrxbngainsmaphnthrtheyxrmn srangkhwamimphxicxyangmaksahrbprsesiycungidprakassngkhramkbxxsetriyaelaaeyktwxxkcaksmaphnthrtheyxrmnthnthikxngthphprsesiyaelaxxsetriyidpathakninyuththkarthiekhxnichekrths Battle of Koniggratz aekhwnobhiemiykhxngxxsetriy kxngthphprsesiyidichklyuththedinkhbwnaeykknaelaocmtiphrxmknthaihkxngthphxxsetriyaelaphnthmitrthukpidlxmaelaidphyayamcatifaxxkipaetimsaerc ephraafayprsesiymixawuthpunthithnsmynnkkhux punnidedil Needle Gun sungepnpunthibrrcuidndediywaelakrasunnnepnplxkkradas odyinplxkkradasnncamilukpunxyuthihwdinpunxyutrngklangaelaaekpxyutrngthayephuxihekhmaethngchnwnaethngipthiaekpthaihekidraebidaelalukkrasunkcathukyingxxkip nxkcaknnsamarthbrrcukrasunidxyangrwderw tangcakxxsetriysungyngichpunaebbtkdinpunlngpakkrabxkephuxbrrcukrasunsungthaihesiyewlamakinkarying dwykhwamidepriybkhxngprsesiyniexngthaihxxsetriyphayaephxyangybeyinaelaesiyhthharipxyangmak xxsetriyidsngthutecrcakbprsesiyephuxecrcasngbsukthnthiodysyyawacaimkawkayinsmaphnthrtheyxrmnxik aelacanbthuxknepnemuxngphiemuxngnxng aetmienguxnikhediywkhuximyxmesiydinaednxyangeddkhad xxthoth fxn bismarkhehndwykbchxesnxniaetphraecawilehlmthi 1 klbimehndwyaelatxngkaraephndinbangswnkhxngxxsetriy bismarkhidphyayamekliyklxmckrphrrdiwilehlmthi 1 xyanghnkaelayunkranwa hakimyxmrbkhxesnxkhxngxxsetriy cakhxlaxxkcaktaaehnngthnthi ewlatxmainthisudphraecawilehlmthi 1 thrngyxmrbkhxesnxkhxngxxsetriy phlkkhux xxsetriyimesiydinaednaelaerimfunfukhwamsmphnththidikbprsesiyinthisudhlngcaknnprsesiyidphnwkrachxanackrhnonefxraelarthxun cdtngepnsmaphnthrtheyxrmnehnuxaelamikhwamkhidthicarwmphakhitmaekhadwykn aetthwathangckrwrrdifrngessthi 2idekhamaaethrkaesngybyngthaihsmaphnthrtheyxrmnityngkhngepnxisraxyu txmathangespnidxyechiyecachayeloxopldaehngohexinthsxlelirn sikhmaringengin phumiechuxsayprsesiykhunkhrxngrachyinespn ecachayekidkhwamrusuklngelxyuphkaetktxbrbinthisud aetklbimepniptamnn thangfrngessimtxngkarihecachayeloxopldihkhunkhrxngrachyinespnephraaekrngxanacinprsesiycungidbibbngkhbihecachayeloxopldslasiththiesiy ecachayeloxopldktxngyxmslasiththithnthi swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidckrwrrdieyxrmnaelasngkhramolkkhrngthi 1 aekikhdubthkhwamhlkthi ckrwrrdieyxrmn aela sngkhramolkkhrngthi 1 ckrwrrdieyxrmn eyxrmn Deutsches Reich hruxxyangimepnthangkarwa Deutsches Kaiserreich xngkvs German Empire epnchuxthiicheriykephuxhmaythungrtheyxrmninchwngtngaetkarprakasepnckrphrrdieyxrmnkhxngwilehlmthi 1 aehngprsesiy 18 mkrakhm ph s 2414 thungkarslarachsmbtikhxngwilehlmthi 2 9 phvscikayn ph s 2461 rwmewla 47 pi insmynieyxrmnirungeruxngmakthngdanesrsthkic karthhar aelaxun thuxwaepnmhaxanacihmaehngyuorp mixanacethiybidkbckrwrrdixngkvs aetchwnghlngkhxngckrwrrdieyxrmnidmipyhakbbrietneruxngkarkhyayxanacthangthael aela karsrangckrwrrdixananikhmkhunma cungthaihekidpyhakbckrwrrdixngkvsmhaxanacedim pikh s 1914 ckrwrrdieyxrmnirungeruxngsudkhid mixananikhmthwolk thnginaexfrika xathi otok aekhemxrun namiebiy aela aethnsaeniy swninexechiykmibriewnchingetakhxngcin aelathangtxnehnuxkhxngpapwniwkini rwmthnghmuekaabangaehnginmhasmuthraepsifikdwy txmackrwrrdixxsetriy hngkarimipyhakbesxebiycungekidsngkhramkhunody ckrwrrdixxsetriy hngkaridungckrwrrdieyxrmnekharwmsngkhraminnamfaymhaxanacklang epnehtuiheyxrmnekharwmsngkhramolkkhrngthi1chwngtnsngkhramfaymhaxanacklangidepriybfaysmphnthmitrhlayxyangthng klyuthththangkarsngkhram aelakhwamaekhngaekrngkhxngthhar rahwangsngkhrameyxrmnidpradisth aeksphis thithaihthharfrngesshayictidkhdaelaxacthungtayid aetrahwangsngkhramphraoxrskhxngphraecawilehlmthi 2 idkhxrxngphrabidaihthasnthisyyasngbsukkbfaysmphnthmitraetimsaerc chwngthaykhxngsngkhramhlngcakthixemrikaekharwmsngkhram eyxrmnkerimesiyepriyb phnthmitrkhxngeyxrmnthng xxsetriy hngkarikprakasyxmaeph swnblaekeriyaelaxxthothmnaephsngkhramihkbsmphnthmitr thaiheyxrmnitxngtxsukbphnthmitrxyangoddediywaelaidaephsngkhraminkh s 1918 aelaidepncudcbkhxngckrwrrdieyxrmnisatharnrthiwmar aekikhdubthkhwamhlkthi satharnrthiwmar satharnrthiwmar eyxrmn Weimarer Republik xngkvs Weimar Republic epnchuxthiinpccubnicheriyksatharnrththipkkhrxngpraethseyxrmnichwngtngaet kh s 1919 thung 1933 prawtisastreyxrmnichwngniniymeriykwa chwngiwmarchuxkhxngsatharnrthnntngtamchuxemuxngiwmar thisungrthsphaidprachumknephuxekhiynrththrrmnuychbbihmhlngcakckrwrrdieyxrmnthuklmlanglnghlngcakphayaephsngkhramolkkhrngthihnungthungaemwarupaebbkarpkkhrxngcaepliynip aetsatharnrthaehngihmni yngkhngeriyktwexngwa Deutsches Reich sungepnchuxediywkbinsmythipkkhrxngdwyrabxbrachathipity kxn kh s 1919khawa satharnrthiwmar epnkhathinkprawtisastrkhidkhunmaich aelaimekhythukichxyangepnthangkarinchwngthisatharnrthdngklawdarngxyu inrahwangyukhni khawa Deutsches Reich swnihyaelwcathukaeplepn The German Reich inpraethsthiichphasaxngkvs odythikhawa Reich caimthukaeplepn Empire xiktxipcakkhwamxxnaexkhxngsatharnrthiwmar ekidcaksnthisyyaaewrsaythimimatrkarthikdkhi prakarhnungkkhuxeruxngkhxngkhaptikrrmsngkhramthimulkhamhasal aelamatrkarxun thisrangkhwamxudxdtxeyxrmnixyangmak odytxmaekidwikvtikarntladhlkthrphyniwyxrk Wall Street lmslay ekidphawaesrsthkictktakhrngihy srangkhwamphinasaekrabbesrsthkicipthwolk odyechphaathwipyuorp thaihsthankarphayinpraethsekidkhwampnpwnwunwaymakkhun phukhntkngan naycangaelaphuichaerngnganrbpharakhaichcaymakkhun cungepnehtuihphrrkhnasikhxnghitelxr xangkhwamchxbthrrminkarsthapnatnexngkhunckrwrrdiirsthi 3khxnghitelxr aekikhdubthkhwamhlkthi nasieyxrmni rabxbnasiidruxfunkhwammnkhngthangesrsthkicaelayutikarwangnganthiidkhyayepnwngkwangodyichkhaichcayxyanghnkthangdankarthhar inkhnathiidthakarprabpramshphaphaerngnganaelakarndhyudngan karklbmakhxngkhwammngkhngidihkhwamniymtxphrrkhnasiepnxyangmak kbephiyngrxnglngma khwamoddediywaelatxmakrnithiimprasbkhwamsaerckhxngkartxtanrahwangchaweyxrmninchwngewla 12 pi thiphanmakhxngkarpkkhrxng ekstaoph tarwclb phayitkarnakhxngihnrich himelxr idkacdkhuaekhngthangkaremuxngaelakhmehngtxchawyiw idphyayamthicabngkhbphwkekhaihthukenreths inkhnathiidyudthrphysinkhxngphwkekha phrrkhidekhakhwbkhumxanacsal rthbalthxngthin aelaxngkhkrphleruxniwthnghmdykewnephiyngobsthkhristckropretsaetntaelakhathxlik karaesdngxxkkhxngkhwamkhidehnsatharnchnthnghmdcathukkhwbkhumodyrthmntriwakarkrathrwngokhsnachwnechuxkhxnghitelxr oyesf ekibebils phuthithadwykarichphaphyntridxyangmiprasiththiphaph chumnumprachachn aelakarklawsunthrphcnthixntxngmntsakdkhxnghitelxr rthnasithiidethidthunhitelxrinthanathiepnfuxerxr phuna thaihxanacthnghmdidtkxyuinmuxkhxngekha okhsnachwnechuxnasiidklawenntxhitelxraelaepnprasiththiphaphxyangmakinkarsrangsingthinkprawtisastreriykwa tananhitelxr wahitelxrepnphurxbruthnghmdaelakhwamphidphladhruxkhwamlmehlwidkhxngphuxuncaidrbkaraekikhemuxidrbkhwamsniccakekha 1 inkhwamepncring hitelxrmiwisyaekhbkhxngphlpraoychnaelakartdsinicidthukthaihkracayipmathamklangkhwamthbsxn wangxanactwexngepnsunyklang dwypraednbangxyangthiekhaepnkhnthimikhwamxdthn ephiyngaekhyxmrbaerngkddncakikhrktamthimihukhxngekha brrdaecahnathiradbsungidrayngantxhitelxraelatidtamphlnoybayphunthankhxngekha aetphwkekhamixisraxyangmakinaetlawn 2 karkxtngrabxbnasi aekikh inkhasngephuxkhwamplxdphyswnihysahrbphrrkhnasikhxngekhainrthsphairchsthakh hitelxrideriykrxngsahrbkareluxktngihm emuxchwngeynkhxngwnthi 27 mithunayn kh s 1933 xakharirchsthakhthuklxbwangephling hitelxridklawpranamthungkarlukhuxkhxngphwkkhxmmiwnistxyangrwderw aelaechuxmnwaprathanathibdihinedinbwrkhcalngnamkvsdikaephlingihmirchsthakh sungidthakarykelikesriphaphkhxngphleruxnchaweyxrmnepnswnihy rwmthungsiththiinkarchumnumaelaesriphaphinkareriykrxng kvsdikachbbniidxnuyatihtarwcsamarthkkkhngbukhkhlodyimmikareriykekbenginhruxidrbxanackhxngsal smachiksiphnkhnkhxngphrrkhkhxmmiwnisteyxrmnithukcbkum karplukpnkhxngkhxmmiwnistidthukham aetinchwngewlaniimichphrrkhkhxmmiwnistexng phwkkhxmmiwnistaelaphwksngkhmniymthuksngipyngkhaykkknnasithiidthuketriymphrxmexaiwxyangerngrib echn khaykkknekhmna thiphwkekhaxyuphayitkhwamemttakhxngekstaoph kxngkalngtarwclbthiephingkxtngihm smachikrthsphairchsthakhkhxmmiwnistidthuknatwipxyuphayitkarkhumkhrxng aemphwkekhacamisiththitamrththrrmnuy aemwadwykhwamhwadklwaelaokhsnachwnechuxthikhadimthung kareluxktngthwipkhrngsudthay emuxwnthi 5 minakhm kh s 1933 inkhnathiphllphthin 43 9 idlmehlwinkarihkhaaennesiyngswnmaksahrbphrrkhnasi NSDAP thihitelxrkhadhwng rwmkbphrrkhprachachnaehngchatieyxrmn DNVP xyangirktam ekhasamarthsrangesiyngkhangnxykhxngrthbalid ineduxnminakhm kh s 1933 rthbyytimxbxanac idaekikhrththrrmnuyiwmar sungphankarlngmtiinrthsphairchsthakhodykhaaennesiyng 444 tx 94 swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidsngkhrameyn aekikhdubthkhwamhlkthi prawtisastreyxrmni kh s 1945 1990 swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidaebngpraethsaelarwmpraeths aekikhswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidduephim aekikhxlamanni chnecxrmanikhxangxing aekikh Kershaw Ian 2001 The Hitler Myth Image and Reality in the Third Reich Williamson David 2002 Was Hitler a Weak Dictator History Review 9 hnngsuxxanephimetim aekikhaehlngkhnkhwa aekikh Biesinger Joseph A Germany a reference guide from the Renaissance to the present 2006 Bithell Jethro ed Germany A Companion to German Studies 5th ed 1955 578pp essays on German literature music philosophy art and especially history online edition Buse Dieter K ed Modern Germany An Encyclopedia of History People and Culture 1871 1990 2 vol 1998 Clark Christopher Iron Kingdom The Rise and Downfall of Prussia 1600 1947 2006 Detwiler Donald S Germany A Short History 3rd ed 1999 341pp online edition Fulbrook Mary A Concise History of Germany 2004 Gall Lothar Milestones Setbacks Sidetracks The Path to Parliamentary Democracy in Germany Historical Exhibition in the Deutscher Dom in Berlin 2003 exhibit catalog heavily illustrated 420pp political history since 1800 Holborn Hajo A History of Modern Germany 1959 64 vol 1 The Reformation vol 2 1648 1840 vol 3 1840 1945 standard scholarly survey Maehl William Harvey Germany in Western Civilization 1979 833pp focus on politics and diplomacy Ozment Steven A Mighty Fortress A New History of the German People 2005 focus on cultural history Raff Diether History of Germany from the Medieval Empire to the Present 1988 507pp Reinhardt Kurt F Germany 2000 Years 2 vols 1961 stress on cultural topics Richie Alexandra Faust s Metropolis A History of Berlin 1998 1168 pp by scholar excerpt and text search emphasis on 20th century Sagarra Eda A Social History of Germany 1648 1914 1977 2002 edition Schulze Hagen and Deborah Lucas Schneider Germany A New History 2001 Taylor A J P The Course of German History A Survey of the Development of German History since 1815 2001 280pp online edition Watson Peter The German Genius 2010 992 pp covers many thinkers writers scientists etc since 1750 ISBN 978 0 7432 8553 7 Winkler Heinrich August Germany The Long Road West 2 vol 2006 since 1789 excerpt and text search vol 1ckrwrrdiormn aekikh Arnold Benjamin Medieval Germany 500 1300 A Political Interpretation 1998 Arnold Benjamin Power and Property in Medieval Germany Economic and Social Change c 900 1300 Oxford University Press 2004 online edition Barraclough Geoffrey The Origins of Modern Germany 2d ed 1947 Fuhrmann Horst Germany in the High Middle Ages c 1050 1200 1986 Haverkamp Alfred Helga Braun and Richard Mortimer Medieval Germany 1056 1273 1992 Innes Matthew State and Society in the Early Middle Ages The Middle Rhine Valley 400 1000 Cambridge U P 2000 online edition Jeep John M Medieval Germany An Encyclopedia 2001 928pp 650 articles by 200 scholars cover AD 500 to 1500 Nicholas David The Northern Lands Germanic Europe c 1270 c 1500 Wiley Blackwell 2009 410 pages Reuter Timothy Germany in the Early Middle Ages c 800 1056 1991 Reformation aekikh Bainton Roland H Here I Stand A Life of Martin Luther 1978 reprinted 1995 Dickens A G Martin Luther and the Reformation 1969 basic introduction Holborn Hajo A History of Modern Germany vol 1 The Reformation 1959 Junghans Helmar Martin Luther Exploring His Life and Times 1483 1546 book plus CD ROM 1998 MacCulloch Diarmaid The Reformation 2005 influential recent survey Ranke Leopold von History of the Reformation in Germany 1905 792 pp by Germany s foremost scholar complete text online free Smith Preserved The Age of the Reformation 1920 861 pages complete text online freeprawtisastrsmyihm aekikh Asprey Robert B Frederick the Great The Magnificent Enigma 2007 Atkinson C T A history of Germany 1715 1815 1908 old focus on political military diplomatic history of Germany and Austria online edition Clark Christopher Iron Kingdom The Rise and Downfall of Prussia 1600 1947 2006 Gagliardo John G Germany under the Old Regime 1600 1790 1991 online edition Heal Bridget The Cult of the Virgin Mary in Early Modern Germany Protestant and Catholic Piety 1500 1648 2007 Holborn Hajo A History of Modern Germany Vol 2 1648 1840 1962 Hughes Michael Early Modern Germany 1477 1806 1992 Ogilvie Sheilagh Germany A New Social and Economic History Vol 1 1450 1630 1995 416pp Germany A New Social and Economic History Vol 2 1630 1800 1996 448pp Ozment Steven Flesh and Spirit Private Life in Early Modern Germany 2001 kh s 1815 1890 aekikh Blackbourn David The Long Nineteenth Century A History of Germany 1780 1918 1998 excerpt and text search Blackbourn David and Geoff Eley The Peculiarities of German History Bourgeois Society and Politics in Nineteenth Century Germany 1984 online edition Brose Eric Dorn German History 1789 1871 From the Holy Roman Empire to the Bismarckian Reich 1997 online edition Hamerow Theodore S ed Age of Bismarck Documents and Interpretations 1974 358pp 133 excerpts from primary sources put in historical context by Professor Hamerow Hamerow Theodore S ed Otto Von Bismarck and Imperial Germany A Historical Assessment 1993 excerpts from historians and primary sources Nipperdey Thomas Germany from Napoleon to Bismarck 1996 very dense coverage of every aspect of German society economy and government Ogilvie Sheilagh and Richard Overy Germany A New Social and Economic History Volume 3 Since 1800 2004 Pflanze Otto ed The Unification of Germany 1848 1871 1979 essays by historians Sheehan James J German History 1770 1866 1993 the major survey in English Steinberg Jonathan Bismarck A Life 2011 a major scholarly biography Stern Fritz Gold and Iron Bismark Bleichroder and the Building of the German Empire 1979 Bismark worked closely with this leading banker and financier excerpt and text search Taylor A J P Bismarck The Man and the Statesman 1967 online edition Wehler Hans Ulrich The German Empire 1871 1918 1984 kh s 1890 1933 aekikh Berghahn Volker Rolf Modern Germany society economy and politics in the twentieth century 1987 ACLS E book Berghahn Volker Rolf Imperial Germany 1871 1914 Economy Society Culture and Politics 2nd ed 2005 Cecil Lamar Wilhelm II Prince and Emperor 1859 1900 1989 online edition vol2 Wilhelm II Emperor and Exile 1900 1941 1996 online edition Craig Gordon A Germany 1866 1945 1978 online edition Gordon Peter E and John P McCormick eds Weimar Thought A Contested Legacy Princeton U P 2013 451 pages scholarly essays on law culture politics philosophy science art and architecture Herwig Holger H The First World War Germany and Austria Hungary 1914 1918 1996 ISBN 0 340 57348 1 Kolb Eberhard The Weimar Republic 2005 Mommsen Wolfgang J Imperial Germany 1867 1918 Politics Culture and Society in an Authoritarian State 1995 Peukert Detlev The Weimar Republic 1993 Retallack James Imperial Germany 1871 1918 Oxford University Press 2008 Scheck Raffael Lecture Notes Germany and Europe 1871 1945 2008 full text online a brief textbook by a leading scholarmhackrwrrdieyxrmn aekikh aehlngkhnkhwa aekikh Burleigh Michael The Third Reich A New History 2000 864 pp Stress on antisemitism Evans Richard J The Coming of the Third Reich A History 2004 622 pp a major scholarly survey The Third Reich in Power 1933 1939 2005 800 pp The Third Reich at war 1939 1945 2009 Overy Richard The Dictators Hitler s Germany and Stalin s Russia 2004 comparative history Roderick Stacke Hitler s Germany Origins Interpretations Legacies 1999 Spielvogel Jackson J and David Redles Hitler and Nazi Germany 6th ed 2009 excerpt and text search 5th ed 2004 Zentner Christian and Bedurftig Friedemann eds The Encyclopedia of the Third Reich 2 vol 1991 1120 pp see Encyclopedia of the Third Reichhwkhxphiess aekikh Bullock Alan Hitler A Study in Tyranny 1962 online edition Friedlander Saul Nazi Germany and the Jews 1933 1945 2009 abridged version of the standard two volume history Kershaw Ian Hitler 1889 1936 Hubris vol 1 1999 700 pp vol 2 Hitler 1936 1945 Nemesis 2000 832 pp the leading scholarly biography Koonz Claudia Mothers in the Fatherland Women Family Life and Nazi Ideology 1919 1945 1986 640 pp The major study Speer Albert Inside the Third Reich Memoirs 1970 Stibbe Matthew Women in the Third Reich 2003 208 pp Tooze Adam The Wages of Destruction The Making and Breaking of the Nazi Economy 2007 highly influential new study online review by Richard Tilly summary of reviews Thomsett Michael C The German Opposition to Hitler The Resistance the Underground and Assassination Plots 1938 1945 2nd ed 2007 278 pagestngaet kh s 1945 aekikh Bark Dennis L and David R Gress A History of West Germany Vol 1 From Shadow to Substance 1945 1963 1992 ISBN 978 0 631 16787 7 vol 2 Democracy and Its Discontents 1963 1988 1992 ISBN 978 0 631 16788 4 Berghahn Volker Rolf Modern Germany society economy and politics in the twentieth century 1987 ACLS E book online Hanrieder Wolfram F Germany America Europe Forty Years of German Foreign Policy 1989 ISBN 0 300 04022 9 Jarausch Konrad H After Hitler Recivilizing Germans 1945 1995 2008 Junker Detlef ed The United States and Germany in the Era of the Cold War 2 vol 2004 150 short essays by scholars covering 1945 1990 excerpt and text search vol 1 excerpt and text search vol 2 Schwarz Hans Peter Konrad Adenauer A German Politician and Statesman in a Period of War Revolution and Reconstruction 2 vol 1995 excerpt and text search vol 2 also full text vol 1 and full text vol 2 Smith Gordon ed Developments in German Politics 1992 ISBN 0 8223 1266 2 broad survey of reunified nation Weber Jurgen Germany 1945 1990 Central European University Press 2004 online editioneyxrmnitawnxxk aekikh Fulbrook Mary Anatomy of a Dictatorship Inside the GDR 1949 1989 1998 Fulbrook Mary The People s State East German Society from Hitler to Honecker 2008 excerpt and text search Harsch Donna Revenge of the Domestic Women the Family and Communism in the German Democratic Republic 2008 Jarausch Konrad H and Eve Duffy Dictatorship As Experience Towards a Socio Cultural History of the GDR 1999 Jarausch Konrad H and Volker Gransow eds Uniting Germany Documents and Debates 1944 1993 1994 primary sources on reunification Pence Katherine and Paul Betts eds Socialist Modern East German Everyday Culture and Politics 2008 excerpt and text search Pritchard Gareth The Making of the GDR 1945 53 2004 Ross Corey The East German Dictatorship Problems and Perspectives in the Interpretation of the GDR 2002 Steiner Andre The Plans That Failed An Economic History of East Germany 1945 1989 2010 Historiography aekikh Berghahn Volker R and Simone Lassig eds Biography between Structure and Agency Central European Lives in International Historiography 2008 Chickering Roger ed Imperial Germany A Historiographical Companion 1996 552pp 18 essays by specialists Evans Richard J Rereading German History From Unification to Reunification 1800 1996 1997 online edition Hagemann Karen and Jean H Quataert eds Gendering Modern German History Rewriting Historiography 2008 Hagemann Karen From the Margins to the Mainstream Women s and Gender History in Germany Journal of Women s History 2007 19 1 pp 193 199 Jarausch Konrad H and Michael Geyer eds Shattered Past Reconstructing German Histories 2003 Klessmann Christoph The Divided Past Rewriting Post War German History 2001 online edition Lehmann Hartmut and James Van Horn Melton eds Paths of Continuity Central European Historiography from the 1930s to the 1950s 2003 Perkins J A Dualism in German Agrarian Historiography Comparative Studies in Society and History Apr 1986 Vol 28 Issue 2 pp 287 330 Stuchtey Benedikt and Peter Wende eds British and German Historiography 1750 1950 Traditions Perceptions and Transfers 2000 bthkhwamekiywkbprawtisastrniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul duephimthi sthaniyxy prawtisastrekhathungcak https th wikipedia org w index php title prawtisastreyxrmni amp oldid 9101173, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม