fbpx
วิกิพีเดีย

พุทธเศรษฐศาสตร์

พุทธเศรษฐศาสตร์ คือ การประยุกต์แนวความคิดทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์มาใช้อธิบายหลักการและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ เป็นแนวทางใหม่ในการทำความเข้าใจเศรษฐศาตร์ ไม่ได้มีข้อโต้แย้งมากมายอะไรนักเกี่ยวกับกระบวนการวิเคราะห์ที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้อยู่ การนำเอาวิธีการอนุมาณเชิงตรรกะเข้ามาใช้ในวิชาเศรษฐศาสตร์ เช่นเดียวกับการนำไปใช้ในวิชาอื่น ๆ แต่ข้อสมมุติขั้นพื้นฐานบางประการเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักใช้ยังไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างเพียงพอ นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักส่วนมากไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควรในประเด็นนี้[ต้องการอ้างอิง] ส่วนใหญ่จะยอมรับไปโดยปริยาย และนักเศรษฐศาสตร์ก็ได้สร้างเครื่องมือการวิเคราะห์ขึ้นบนรากฐานที่เปราะบาง ผลที่ตามมาคือข้อสรุปส่วนใหญ่ที่ได้จากกระบวนการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถเผชิญกับการท้าทายจากภาวะวิกฤตได้[ต้องการอ้างอิง] ข้อสมมุติพื้นฐานบางส่วนที่สร้างขึ้นมาจากเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นจริงและบางครั้งก็ขัดแย้งกับกฎธรรมชาติ ซึ่งทำให้พลังในการอรรถาธิบายของเศรษฐศาสตร์แบบเดิมอ่อนลงไปมาก[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อนำเอาแนวความคิดในเชิงพุทธเข้ามาทดแทนข้อสมมุติฐานที่เป็นปัญหาดังกล่าว ทำให้การมองปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และกฎเกณฑ์ธรรมชาติใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น และเพิ่มพลังในการอรรถาธิบายของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักให้หนักแน่นมากขึ้น อย่างน้อยก็ในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งเป็นเหตุผลหลักของบทความนี้ที่เรียกว่า “ พุทธเศรษฐศาสตร์” แนวคิดนี้ค่อนข้างแตกต่างไปจาก “เศรษฐศาสตร์สำหรับชาวพุทธ” โดยคำหลังไม่เกี่ยวข้องกับแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเพียงพอ และมักจะเป็นเพียงการตรวจสอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จากมุมมองของชาวพุทธที่มีค่านิยมและความเชื่อเป็นของตนเอง ไม่ได้เป็นการพยายามที่จะค้นหาและตรวจสอบแนวความคิดเชิงพุทธและเชิงเศรษฐศาสตร์ในทางลึกอย่างเพียงพอ

ถ้าปราศจากการท้าทายโดยตรงต่อตัวแบบการคิดของเศรษฐศาสตร์ปัจจุบัน จุดอ่อนในการวิเคราะห์ของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะไม่ปรากฏขึ้น พุทธเศรษฐศาสตร์ได้เตรียมรับมือกับการท้าทายนี้โดยมุ่งไปยังจุดอ่อนพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและนำเอาแนวคิดเชิงพุทธที่สอดคล้องกับความป็นจริงมากกว่าเข้ามาทดแทนจุดอ่อนนี้[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งส่วนหนึ่งคือความพยายามที่จะเยียวยาวิกฤตการณ์ของการวิเคราะห์ที่ซ้ำเติมภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของเอเซียอยู่ในปัจจุบัน

เศรษฐศาสตร์เชิงปฏิฐานและเชิงปทัสฐาน

วิกฤตการณ์ของการวิเคราะห์ในทางเศรษฐศาสตร์มีรากฐานมาจากการแบ่งแยกที่ตายตัวระหว่างแนวความคิดเชิงปฏิฐานนิยม (Positive Economics) และปทัสฐานนิยม (Normative Economics) เศรษฐศาสตร์แบบปฏิฐานนิยมให้คำนิยามการวิเคราะห์ในเชิงวัตถุวิสัย (Objective) ซึ่งบางครั้งเรียกว่ากฎธรรมชาติโดยปราศจากการตัดสินด้วยค่านิยมส่วนตัว แนวความคิดนี้เมื่อเอาไปเปรียบเทียบกับแนวคิดเชิงปทัสฐานนิยมซึ่งจะเอารวมความเห็นและการตัดสินเชิงคุณค่าเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย การแบ่งแยกกันระหว่างสองแนวทางนี้เกิดจากการขาดความเข้าใจความเชื่อมโยงกับธรรมชาติของมนุษย์

เศรษฐศาสตร์เชิงปฏิฐานนิยมตั้งข้อสมมุติว่า ความโลภ (Greed) หรือจะพูดให้เบากว่านี้คือ ผลประโยชน์ส่วนตน (Self Interest) เป็นธรรมชาติที่สำคัญของมนุษย์ เป็นพฤติกรรมที่มีเหตุผล (Rational Behaviour) ดังนั้นการกระทำใด ๆ เพื่อบรรลุอรรถประโยชน์สูงสุดจึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นการกระทำที่มีเหตุผล en:Jeremy Bentham กล่าวว่ามนุษย์ขาดเสียไม่ได้ที่จะคอยปรนนิบัติความต้องการของตัวเอง ปัจเจกบุคคลทั้งหลายได้รับแรงกระตุ้นจากความต้องการของตนเองให้กระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อบรรลุผลประโยชน์ส่วนตนให้มากที่สุด ความต้องการหรือความปรารถนานี้เกิดขึ้นเพื่อแสวงหาประสบการณ์ที่ตนเองชื่นชอบและพยายามหลีกเลี่ยงหรือหลีกหนีจากความเจ็บปวดต่าง ๆ (Bowden 1990:77) นี่คือจุดเริ่มต้นของมุมมองแบบเศรษฐศาสตร์เชิงปฏิฐานนิยม

ยังคงมีคำถามอีกหลายประการ แม้ว่า “กฎธรรมชาติ” ที่ได้รับการเสนอแนะโดย Bentham จะเป็นจริงทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น แต่ปัจเจกบุคคลอื่น ๆ สามารถมีพฤติกรรมแตกต่างไปจากนี้ได้โดยเป็นข้อยกเว้นของกฎธรรมชาตินี้ได้หรือไม่ หรือจะถือว่าพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากข้อสมมุติฐานนี้ เป็นพฤติกรรมที่ไม่มีเหตุผล มนุษย์จะมีรูปแบบพฤติกรรมอื่น ๆ มากไปกว่าการบรรลุอรรถประโยชน์สูงสุดได้หรือไม่ รูปแบบพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นอยู่ (เช่น การให้ความรักต่อศัตรูของตน หรือการทำงานอย่างหนักเพื่อคนอื่นโดยที่ตนเองต้องทนกระเหม็ดกระแหม่[ต้องการอ้างอิง]) พฤติกรรมเหล่านี้จะได้รับการพิจารณาว่าไม่มีเหตุผลได้หรือไม่ หรือจะพิจารณาว่าเป็นข้อยกเว้นจากกฎทั่วไป ข้อเท็จจริงก็คือ พฤติกรรมที่เป็นอยู่นี้ขัดแย้งกับข้อสมมุติฐานของเศรษฐศาสตร์เชิงปฏิฐานนิยม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของมนุษย์[ต้องการอ้างอิง] ดังนั้นข้อสรุปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เชิงปฏิฐานนิยมคือ เป็นเพียง “เชิงปฏิฐาน” (Positive) เท่านั้น เนื่องจากประกอบด้วยกฎเกณฑ์ชุดหนึ่งที่มีคำนิยามของตนเอง ดังนั้นจึงอาจมีคำถามว่า “Positive” หรือเศรษฐศาสตร์เชิงปฏิฐานนั้นเป็นอย่างไร นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักส่วนใหญ่ไม่ต้องการเผชิญกับคำถามที่ค่อนข้างยากนี้ ส่วนใหญ่จะยอมรับเอาแนวความคิดนี้มาใช้โดยปริยาย เพื่อที่จะมุ่งไปยังการพัฒนาการวิเคราะห์แบบจำลองของตน ซึ่งพบว่าอยู่ในฐานะที่สามารถจะควบคุมข้อโต้แย้งต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ แต่การสร้างแบบจำลองใด ๆ ก็ตามบนรากฐานที่ไม่มั่นคงย่อมไม่สามารถนำไปสู่คำตอบที่ดีได้[ต้องการอ้างอิง]

ทฤษฎีอรรถประโยชน์ได้รับการขัดเกลามาเป็นอย่างดีแต่ก็ไม่ได้ทำให้ความคลุมเครือลดน้อยลงแต่อย่างใด ดังเช่นที่ Boulding ให้ข้อสรุปไว้ว่า “นักเศรษฐศาสตร์ตระหนักเป็นอย่างดีว่าความต้องการทางวัตถุเป็นแต่เพียงสินค้าขั้นกลาง ที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายขั้นสุดท้ายที่เรียกว่า “อรรถประโยชน์” แต่นักเศรษฐศาสตร์ก็ไม่ทราบว่าอรรถประโยชน์แท้จริงคืออะไร[ต้องการอ้างอิง] เช่นเดียวกันกับที่นักฟิสิกส์ไม่ทราบว่าไฟฟ้าคืออะไร แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้โดยปราศจากมัน (Boulding 1968 : 193-94)

ความเป็นฉับพลันของฟังชั่นก์อรรถประโยชน์

ฟังชั้นก์อรรถประโยชน์ดังที่กล่าวมาแล้วไม่ได้เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางด้านเวลา[ต้องการอ้างอิง] มันแสดงลักษณะที่ถึงการเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน คนเราจะมีความสนุก เป็นสุข ปีติยินดี มีความพอใจ และชื่นชอบ เมื่อได้บริโภคสินค้าอย่างฉับพลันทันที เงื่อนไขเหล่านี้จะลดลงหลังจากนั้น ความพึงพอใจจะเกิดขึ้นโดยทันที ณ เวลาที่เขาบริโภคสินค้า ไม่มีใครเคยสนใจคำว่าอรรถประโยชน์อย่างจริงจัง เนื่องจากคำนี้ค่อนข้างจะมีความหมายที่คลุมเครือ ไม่มีการพยายามที่จะทำให้ความหมายชัดเจนขึ้น (คล้ายกับที่ Boulding ตั้งข้อสังเกตไว้ข้างต้น)

คุณสมบัติอีก 2 ประการของฟังชั่นก์อรรถประโยชน์ คือ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับมิติทางด้านเวลา และไม่มีการเปรียบเทียบกันระหว่างปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นคุณสมบัติทีน่าหัวเราะเมื่อต้องเผชิญกับ “ความหายาก”[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งเป็นเหตุผลที่สำคัญที่สุดในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ ภายใต้เงื่อนไขทั่วไปของทรัพยากรที่หายาก ฟังชั่นก์อรรถประโยชน์ไม่สามารถก่อให้เกิดการตัดสินคุณค่าได้ ดังตัวอย่าง จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อผลิตอาหารดีหรือว่าจะผลิตรถยนต์ราคาแพงดี ควรจะใช้ทรัยากรเพื่อผลิตอาหารเลี้ยงคนยากจนดีหรือผลิตรถยนต์หรูหราเพื่อคนร่ำรวยดี ในสามัญสำนักของคนธรรมดาทั่วไปก็พอจะทราบคำตอบได้ดี[ต้องการอ้างอิง]ว่าควรจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปผลิตอาหารเพื่อคนยากจนมากกว่าผลิตรถยนต์หรูหราเพื่อคนร่ำรวย[ต้องการอ้างอิง] แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักไม่สามารถหาคำตอบที่น่าพอใจต่อคำถามที่ชัดเจนเช่นนี้ได้ก็ถึงเวลาแล้วแนวความคิดนี้จะต้องถูกตั้งคำถามถึงข้อสมมุติฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างทฤษฎี

คำถามอาจจะสร้างความพึงพอใจและความเจ็บปวด

Jeremy Bentham กล่าวว่ามนุษย์พยายามที่จะแสวงหาความพึงพอใจสูงสุด และลดความเจ็บปวดลงให้เหลือน้อยที่สุดโดยตั้งอยู่บนประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งแนวความคิดนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างในประเทศตะวันตกและยอมรับว่าเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีเหตุผล อย่างไรก็ตามถ้าแนวความคิดเกี่ยวกับ “ความพึงพอใจ (Pleasure) ” และ “ความเจ็บปวด (Pain) ถูกแทนที่ด้วยคำว่า “ความสุข (Happiness) ” และ “ความทุกข์ (Misery or Suffering) ข้อสรุปที่ได้ก็จะมีความหมายแตกต่างออกไปมาก และตั้งสมมุติฐานว่ามนุษย์จะแสวงหาความสุขให้มากที่สุดและพยายามที่จะหลีกเลี่ยงจากความทุกข์หรือทำให้เกิดความทุกข์น้อยที่สุด ข้อสรุปที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งตอบสนองต่อความหมายของคำว่า “ความสุข” และ “ ความทุกข์” ซึ่งความหมายของทั้งสองคำนี้จะพบแต่ในโลกตะวันออกเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศาสนาพุทธ

ในศาสนาพุทธ มีแต่เพียงคำว่า "ทุกข์" (Misery or Suffering) เท่านั้นที่ต้องการคำนิยามที่ชัดเจน คล้ายกับอุณหภูมิซึ่งต้องการกำหนดระดับของความร้อนให้ชัดเจน ความร้อนน้อยหมายถึงความเย็น ในทำนองเดียวกัน ทุกข์น้อยก็หมายถึงมีสุขมาก ดังนั้นในแนวความคิดของชาวพุทธการทำให้ทุกข์เหลือน้อยที่สุด ก็หมายถึงการทำให้มีความสุขมากที่สุด เช่นเดียวกันกับแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์แกระแสหลักเกี่ยวกับการลดต้นทุนให้เหลือน้อยที่สุดก็หมายถึงการทำให้มีกำไรมากที่สุด

ความทุกข์ ถูกอธิบายว่าเป็นสภาวะที่ขัดแย้งหรือความไม่ลงรอยกันในตัวของบุคคล (พระราชวรมุนี 1983:21)[ต้องการอ้างอิง] ความขัดแย้งสำคัญจะปรากฏขึ้นเมื่อคนเราเชื่อ “ความมีตัวตน” และพยายามที่จะยึดติดอยู่กับตัวตนอย่างเหนียวแน่น ตามหลักศาสนาพุทธแล้ว ไม่มีสิ่งที่เราเรียกว่า “ตัวตน” อยู่ สิ่งที่เราตระหนักหรือรับรู้ว่าเป็นตัวตน แท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงการประกอบกันขึ้นของสิ่งที่เรียกว่า “ขันธ์ห้า” ซึ่งประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ (พระราชวรมุนี 1983:15) ถ้าหากขาดขันธ์ห้าข้อใดข้อหนึ่งไป ก็จะไม่มีความเป็นคนอย่างสมบูรณ์ ทุกขณะจิตที่ผ่านไป คนก็จะไม่เหมือนเดิมเนื่องจากองค์ประกอบของขันธ์ห้าเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่อยู่นิ่งของขันธ์ห้าเกิดขึ้นจากกฎธรรมชาติที่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่อยู่นิ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (พระราชวรมุนี 1983:20) ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันจะเป็นการดีถ้าเรารับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นและตระหนักว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งความมีตัวตนด้วย ถ้าเราพยายามที่จะยึดติอยู่กับตัวตนในขณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลง ผลที่เกิดขึ้นคือความขัดแย้งหรือความไม่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติที่ทุกสิ่งไม่อยู่นิ่ง คนส่วนใหญ่พยายามที่จะยึดติดอยู่กับตัวตนคล้ายกับว่ามันเป็นสิ่งที่มีอยู่ คนเหล่านี้พยายามที่จะสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้น โดยผ่านทางความชั่วร้ายหรือที่เราเรียกว่า กิเลส 3 ประการคือ โลภะ โทสะ และโมหะ ซึ่งกิเลสคือสาเหตุที่แท้จริงของทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น (พระราชวรมุนี 1983:31)

ในทางตรงกันข้าม "ความสุข" หมายถึงการเป็นอิสระจากความโลภหรือความอยาก จากความโกรธ และความหลง (พุทธทาสภิกขุ 1996 : 23 และพระราชวรมุนี 1983:28)[ต้องการอ้างอิง] การปลดเปลื้องสูงสุดสำหรับมนุษยชาติทั้งหลายคือ การเป็นอิสระจากสิ่งชั่วร้ายทั้งสามประการที่กล่าวมาแล้ว คนทั่วไปไม่สามารถปลดเปลื้องตัวเองออกจากกิเลสได้เนื่องจากขาดความรู้ที่ถูกต้อง (พระราชวรมุนี 1983:31) ความรู้ที่สำคัญและสูงกว่าความรู้อื่นทั้งปวงคือ การรู้ว่าไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ตัวตน” ถ้าไม่มีตัวตนก็จะไม่มีใครเห็นแก่ตัว ไม่มีใครมีความเศร้าโศก (พระราชวรมุนี 1983:32)

ตามหลักของศาสนาพุทธ มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีการพัฒนาสูงสุด เนื่องจากมีลักษณะเฉพาะตามธรรมชาติคือ มีความสามารถในการเรียนรู้ และการพัฒนาสิ่งที่เรียกว่าขันธ์ทั้งห้า (พระธรรมปิฎก 1993:34-36) อัตราการพัฒนาของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป แต่ทุกคนก็สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เนื่องจากสิ่งนี้เป็นคุณภาพที่สำคัญของบุคคล มีเหตุผลเพียงสิ่งเดียวที่ทำให้บุคคลประพฤติหรือกระทำแตกต่างกันไป นั้นคือความรู้ ถ้ามนุษย์มีความรู้อย่างเพียงพอ เขาจะตอบสนองแตกต่างกันไป การแก้ไขที่เหมาะสม คือ การสร้างความรู้ให้เกิดขึ้น การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เป็นจริงหรือการได้รับคำชี้แนะที่ดีจากกัลยาณมิตร ซึ่งอาจจะเป็นบิดามารดา ครูบาอาจารย์ เพื่อน ญาติมิตรหรือบัณฑิตทั้งหลาย ซึ่งมีความหวังดีต่อทุกคน (พระเทพเวที 1990:16-17)[ต้องการอ้างอิง]

สิ่งที่พูดมาทั้งหมดคือคำสอนพื้นฐานของศาสนาพุทธ ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวความคิดเกี่ยวกับอรรถประโยชน์สูงสุดมากที่สุด[ต้องการอ้างอิง] แนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเกี่ยวกับการแสวงหาความพึงพอใจสูงสุดและหลีกเลี่ยงจากความเจ็บปวดต่าง ๆ เป็นความคิดที่ตื้นเขิน ไม่สามารถเข้าถึงธรรมชาติที่เป็นแกนกลางของมนุษย์ได้ แนวคิดของศาสนาพุทธที่ว่ามนุษย์ควรจะปลดปล่อยตนเองออกจากความทุกข์ทั้งหลายเพื่อบรรลุถึงความสุขที่แท้จริงเป็นแนวคิดที่สูงส่งกว่า สาเหตุของทุกข์ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์มากที่สุดคือความอยากหรือความโลภ แนวความคิดเกี่ยวกับ “ความสุข” ในทัศนะของศาสนาพุทธไม่เหมือนกับความสุขในทัศนะของชาวตะวันตก ซึ่งมีความหมายในขอบเขตที่กว้าง ดังที่ได้เสนอมาก่อนหน้านี้ เช่น ความสนุกสนาน ความปีติยินดี ความพึงพอใจ ความหลงใหล และความรัก น่าประหลาดใจอยู่บ้างเล็กน้อยที่แนวคิดเกี่ยวกับ “การบริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ” ไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างเพียงพอในเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก[ต้องการอ้างอิง]

ประสิทธิภาพในการบริโภค

ทุกข์ในทางศาสนาพุทธมีสองระดับ ระดับแรกเป็นทุกข์ทางกาย เกิดขึ้นจากขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานหรือปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตเช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค คนจะได้รับความทุกข์ทรมานอย่างรุนแรงถ้าไม่ได้รับอาหารที่เพียงพอ มีคำกล่าวในศาสนาพุทธว่า ความทุกข์ที่เกิดจากการขาดแคลนอาหารเป็นความทุกข์ที่เลวร้ายที่สุด มากว่าความทุกข์อื่นใด ดังนั้นผู้หิวโหยจึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างดีพอและไม่สามารถพัฒนาจิตใจให้ดีขึ้นได้ (พระธรรมปิฎก 1996 : 6) รองลงมา คือ ทุกข์ที่เกิดจากการขาดแคลนยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย สาเหตุของทุกข์ทางกายแก้ไขได้โดยการตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของบุคคลให้เพียงพอ ไม่มีวิธีการอื่นใดในการแก้ปัญหามากไปกว่านี้ ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์จะต้องได้รับการตอบสนอง โดยความต้องการนี้รู้จักกันในนามของ “ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน” (Essential Needs) ทุกข์ในระดับที่สอง คือ ทุกข์ที่เกิดจากความอยากซึ่งผลักดันโดยความโลภของมนุษย์ เป็นทุกข์ที่เกิดจากความรู้ไม่เท่าทันในกฎธรรมชาติหรืออวิชชา คือ ไม่รู้ว่าไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนดำรงอยู่ ความโลภหรือความอยากเผาผลาญมนุษย์จากภายในใจของตนเอง ถ้าความอยากนี้ไม่ได้รับการตอบสนอง (พระเทพเวที 1990:79-81) แต่ร่างกายของมนุษย์จะไม่ได้รับผลกระทบจากความอยากหรือทุกข์ในระดับที่สองนี้ เนื่องจากกายแยกออกต่างหากจากจิตใจหรืออารมณ์ความรู้สึก ท้ายที่สุดแล้วมนุษย์จะไม่ตายจากการไม่ได้รับการตอบสนองความอยากของตน การเยียวยาความอยากที่แท้จริงคือการช่วยให้คนเหล่านั้นตระหนักถึงกฎธรรมชาติเกี่ยวกับความไม่มีตัวตน การตอบสนองความอยากของมนุษย์อย่างไม่จบสิ้นไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหา ที่จริงแล้วกลับเป็นการเพิ่มปัญหาให้หนักขึ้นกว่าเดิม

ถ้าประยุกต์แนวความคิดดังกล่าวเข้าไปในฟังชั่นก์อรรถประโยชน์ของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก มนุษย์จะบรรลุความพึงพอใจได้ทันทีเมื่อความต้องการได้รับการตอบสนอง เนื่องจากความต้องการทางกายได้รับการตอบสนองไปแล้ว ความต้องการในระดับที่สูงกว่าจะอยู่ภายในจิตใจของมนุษย์เอง ที่เกิดขึ้นจากความโลภไม่มีที่สิ้นสุด นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่ดีจะอ้างถึงงบประมาณหรือรายได้ที่มีอยู่จำกัด คล้ายกับเป็นกำแพงป้องกันการไหลท่วมของความทะยานอยากภายใน โชคร้ายที่หลายคนก่อนจะถึงขีดจำกัดของรายได้ ความเสียหายได้บังเกิดแล้ว[ต้องการอ้างอิง] โดยการดูดซับทรัพยากรไปใช้เพื่อผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความทะยานอยากที่ไม่รู้จักพอ

จากที่กล่าวมาข้างต้นค่อนข้างจะชัดเจนว่า “ประสิทธิภาพในการบริโภค” หมายถึงการบริโภคที่ตอบสนองต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (ทุกข์ในระดับแรก) ไม่ใช้การตอบสนองต่ออุปสงค์ (Demand) ที่สร้างขึ้นโดย “ความต้องการเทียม” (artificial want) (ทุกข์ระดับที่สอง)[ต้องการอ้างอิง] สำหรับเหตุผลที่อธิบายมาแล้วข้างต้น ปัญหานี้ไม่ได้รับการจัดการอย่างดีพอโดยนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก

ถ้าปราศจากการจัดการที่ดีต่อประเด็นนี้ การอภิปรายเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการผลิตของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ก็เปรียบได้กับการเอากรรไกรขาเดียวไปตัดกระดาษซึ่งจะไม่เกิดผลอะไร เพื่อให้การอภิปรายเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการผลิตมีเหตุมีผล ประสิทธิภาพในการบริโภคจะต้องได้รับการอธิบายอย่างชัดเจน แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการบริโภคจะได้รับการอธิบายอย่างดีก็เฉพาะในเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง] จุดอ่อนที่แท้จริงของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักสืบเนื่องมาจากความล้มเหลวในการอธิบายถึง พฤติกรรมของมนุษย์โดยรวม ไม่เหมือนกับคำอธิบายที่พบในศาสนาพุทธ[ต้องการอ้างอิง]

ความแตกต่างทางทัศนะ

เศรษฐศาสตร์กระแสหลักอ้างว่าปราศจากค่านิยมและเป็นวิทยาศาสตร์ แท้จริงแล้วก็มีรากเหง้ามาจากการปฏิรูปทางวัฒนธรรมในประเทศตะวันตก[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งกำหนดคุณลักษณะได้ดังนี้

  • ผลประโยชน์ส่วนตัว คือแรงผลักดันปกติของมนุษย์ซึ่งคือธรรมชาติที่เป็นจริงส่วนหนึ่งของมนุษย์
  • ปัจเจกชนนิยม สิทธิส่วนบุคคล เสรีภาพ และสิทธิในทรัพย์สิน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ได้รับการคุ้มครองและต้องไม่ถูกละเมิด
  • สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่มีความสำคัญที่สุดต่อสังคมมนุษย์
  • ความสามารถในการควบคุมธรรมชาติจะปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมในการดำรงอยู่ของมนุษย์
  • เทคโนโลยีคือเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการควบคุมธรรมชาติ

สมมุติฐานหลายประการดังกล่าวได้รับการอธิบายจากรากเหง้าของสังคมตะวันตก เช่น จากความแตกต่างของสภาพอากาศ ความต้องการที่จะเอาชีวิตรอดในระหว่างฤดูหนาวอันยาวนาน เหมือนเป็นการให้คำอธิบายที่ดี การสะสมอาหาร เชื้อเพลิงและเสื้อผ้าสำหรับครอบครัวในช่วงฤดูหนาวอันยาวนานเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำ ครอบครัวมีเวลาอยู่ร่วมกันอย่างเพียงพอในช่วงฤดูหนาว มีเวลามากพอสำหรับการอ่านหนังสือ การเขียน และการไตร่ตรองในช่วงระหว่างเดือนอันยาวนานนั้น ความสำเร็จอันหนึ่งคือความพยายามที่จะควบคุมธรรมชาติซึ่งนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิต ผลลัพทืที่เกิดขึ้นคือการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งเป็นนวัตกรรมอันหนึ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเอาชนะธรรมชาติ (พระธรรมปิฎก 1998: 54)

วัฒนธรรมเช่นนี้คือรากฐานที่แตกต่างไปจากประเทศตะวันออก[ต้องการอ้างอิง] ที่ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณภูมิอากาศเขตร้อน บางส่วนอาศัยอยู่ในเขตอบอุ่น ไม่มีแรงกดดันที่ทำให้ต้องสะสมอาหารในระหว่างปี การแบ่งปันอาหารเป็นวิธีการเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหารสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน ดูเหมือนว่าพวกเขามีความโน้มเอียงในการห่วงใยและแบ่งปันซึ่งกันและกัน เนื่องจากธรรมชาติไม่ได้โหดร้ายต่อพวกเขา จึงไม่มีความต้องการที่จะควบคุมหรือเอาชนะธรรมชาติ ประชาชนต่างอาศัยอยู่อย่างสอดคล้องและกลมกลืนกับธรรมชาติ

ในภูมิอากาศเขตร้อน ประชากรอาศัยอยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างใกล้ชิด ชีวิตชุมชนได้รับการเน้นมากกว่าชีวิตครอบครัวหรือแม้แต่ปัจเจกบุคคล ผลที่เกิดขึ้นคือในสมัยก่อนความเป็นเจ้าของโดยชุมชนจะมีความสำคัญมากกว่าความเป็นเจ้าของโดยส่วนตัว ในสถานการณ์เช่นนี้ ความยากลำบากหรือปัญหาทางกาย ไม่ใช้สิ่งคุกคามที่แท้จริงในสังคมตะวันออก ภายใต้ความสะดวกสบายทางกายภาพพวกเขาก็ยังไม่ได้รับความพึงพอใจอย่างแท้จริง พวกเขายังคงถูกเผาผลาญจากความต้องการภายใน การค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาจะต้องเจาะลึกลงไปให้มากกว่านี้ และจะต้องได้รับการศึกษาอย่างละเอียดเข้าไปในจิตวิญาณของความเป็นมนุษย์ ผู้ร้ายที่แท้จริงที่ถูกค้นพบคือความชั่วร้ายหรือกิเลสทั้งสามประการ คือ โลภะหรือความอยาก โทสะหรือความเกลียดชัง โมหะหรือความหลง ด้วยเหตุนี้คืการจัดการเกี่ยวกับทุกข์ในสังคมตะวันออกจึงมีความแตกต่างจากตะวันตก ซึ่งสาเหตุภายในของทุกข์จะต้องได้รับการค้นหาอย่างจริงจัง

โชคร้ายที่การเปรียบเทียบอย่างแหลมคมระหว่างวัฒนธรรมทั้งสอง (ตะวันออกและตะวันตก) ได้ลดลงเนื่องจากการปรากฏตัวขึ้นของระบบทุนนิยม ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงแรกของศตวรรษที่ 16 ในประเทศยุโรป John Calvin วิศวกรผู้ปรับปรุงคริสจักร (ผู้ก่อตั้ง “จริธรรมแบบพิวริตัน (en:Puritan Ethics) ” เพื่อปฏิรูปคริสเตียนให้เหมาะสมกับความรู้สึกของชนชั้นกลางในยุโรป และเพื่อความสะดวกในการสะสมทุน (Tawney 1992: 91-111) ระบบการผลิตแบบโรงงานซึ่งถูกนำมาใช้จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 ทำให้เกิดการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก ระบบการผลิตขนาดใหญ่เป็นแรงผลักให้นักอุตสาหกรรมและนักธุรกิจ กระตุ้นให้มีการเพิ่มการบริโภคโดยผ่านทางการโฆษณาและการรณรงค์ทางการตลาดขนาดใหญ่ ผลก็คือลัทธิบริโภคนิยมเกิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในระหว่างนี้สิ่งชั่วร้ายสมัยใหม่ 3 ประการ[ต้องการอ้างอิง]ได้พัฒนาขึ้น คือ ทุนนิยม อุตสาหกรรมนิยม และบริโภคนิยม เงินตราก็มีการปฏิรูปตัวเองจากการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนไปทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเก็บสะสมมูลค่า ทำให้การลงทุนสามารถแสวงหารายได้ต่อไปอีก เมื่อไม่นานมานี้เงินตราได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไร รูปแบบดั้งเดิมของเงินตราได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยใช้เปลือกหอย สัตว์เลี้ยง ไปเป็นแร่เงิน ทองคำในช่วงเริ่มต้น ธนบัตรและบัตรเครดิตในระยะต่อมา การปฏิรูปครั้งล่าสุดของเงินตราคือเงินอิเลคโทรนิคส์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างฉับพลันทันทีไปยังที่ใด ๆ ก็ได้ในโลกใบนี้

ความชั่วร้าย 4 ประการคือ ทุนนิยม อุตสาหกรรมนิยม บริโภคนิยม และการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องของเงินตรา ทำให้เกิดความชั่วขึ้นในจิตใจของมนุษย์ทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออก โดยเฉพาะโลกตะวันออกปัญหารุนแรงยิ่งกว่า เนื่องจากประชาชนมีประสบการณ์กับพัฒนาการของความชั่วร้ายทั้ง 4 ประการนั้นในระยะเวลาที่สั้นกว่า ไม่เหมือนกับประเทศตะวันตกซึ่งการปฏิรูปค่อนข้างจะยาวนานกว่า ตั้งแต่เริ่มแรกของศตวรรษที่ 16 ส่วนในประเทศตะวันออกเพิ่งจะเกิดขึ้นในหนึ่งศตวรรษมานี้เอง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงค่อนข้างรุนแรงในประเทศตะวันออกมากกว่าประเทศตะวันตก และยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของการทำลายล้างต่อไปในประเทศตะวันออก การปรากฏขึ้นของความชั่วร้ายทั้ง 4 ประการ คือปัจจัยหลักที่ตอบสนองต่อการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของวัฒนธรรมเปรียบเทียบทั้ง 2 คือ ตะวันออกและตะวันตก แม้ว่าการรวมกันจะก่อให้เกิดปัญหามากกว่า และความชั่วร้ายทั้ง 4 ประการ นำมาซึ่งปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลกอย่างรวดเร็ว ความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นนี้ก่อให้เกิดขีดจำกัดของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่บนโลกซึ่งเปรียบเสมือนกับการอยู่ในยานอวกาศลำเดียวกัน ขีดจำกัดนี้เรียกร้องให้พวกเราทุกคนต้องมีการปฏิรูปวัฒนธรรมพื้นฐานของเรา เพื่อการอยู่รวดของมนุษยชาติทั้งมวล นี่คือสาเหตุว่าทำไมการฟื้นฟูเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธจึงเหมือนกับการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปในศาสนาคริสต์ของลัทธิลูเธอร์ราน (en:Lutheranism) ในช่วงอรุณรุ่งของลัทธิพาณิชนิยม (Tawney 1922 : 73-91)[ต้องการอ้างอิง]

การประยุกต์ใช้พุทธเศรษฐศาสตร์

การปรากฏขึ้นของทุนนิยมในช่วงเริ่มแรกของลัทธิพาณิชนิยมกระตุ้นให้ en:John Calvin ปฏิรูปศาสนาคริสต์ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของชนชั้นกลาง[ต้องการอ้างอิง] ในช่วงเวลานี้ข้อเท็จจริงของ “อาณานิคมใหม่” ปรากฏขึ้นบนยานอวกาศโลก กระตุ้นให้มีการเรียกร้องการปรับปรุงอย่างรวดเร็วในเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแบบอนุรักษนิยม ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเศรษฐศาสตร์กระแสหลักขาดเครื่องมือในการวิเคราะห์อย่างมีประสิทธิผลต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เหมือนกับการปฏิบัติที่ค่อนข้างเป็นกลไก ล้าสมัยและคลุมเครือเในแนวความคิดทางปรัชญาของลัทธิอรรถประโยชน์นิยม[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาแห่งการขาดแคลนของโลกตะวันตก

แม้ว่าคำสอนของศาสนาพุทธจะเก่ากว่ามาก แต่ก็ยังร่วมสมัยกับปัจจุบัน เนื่องจากคำสอนนี้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาแห่งความอุดมสมบูรณ์ของโลกตะวันออก ปัจจุบันเราก็อยู่ในช่วงเวลาแห่งความสมบูรณ์เช่นกัน แต่หายนะก็ได้บังเกิดขึ้นตรงหน้าเรา มันค่อนข้างเป็นสิ่งใหม่แต่เป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างประหลาด เนื่องจากนี่เป็นโอกาสเฉพาะอย่างหนึ่ง ดังนั้นเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธจึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการจัดการกับปัญหาที่เราเผชิญอยู่ปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]

เครื่องมือในการวิเคราะห์อันนี้มีความต้องการเพียงให้ประชาชนตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ตามกฎธรรมชาติ คือความไม่มีอยู่ของตัวตน ถ้าแนวความคิดนี้ได้รับความเข้าใจอย่างชัดเจน ชีวิตมนุษย์จะได้รับการมองจากแง่มุมที่แตกต่างออกไปจากการเป็นผู้บริโภค สิ่งที่มีความหมายมากที่สุดในชีวิตไม่ใช่มาจากการบริโภค การบริโภคอย่างเหมาะสมจะไม่ทำให้ให้เกิดการทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[ต้องการอ้างอิง] ที่จริงแล้วทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมสามารถทำให้ดีขึ้นได้พร้อมกับการมีชีวิตอย่างมีผาสุกของประชาชน มีความสะอาด ความสงบและสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตามการเริ่มต้นวิธีคิดใหม่นี้จะต้องปลุกให้ตระหนักถึงธรรมชาติที่แท้จริงของมุนษย์และกฎธรรมชาติเกี่ยวกับการไม่มีอยู่ของตัวตนพร้อมกับสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น กฎแห่งอนิจจังหรือความเปลี่ยนแปลง ความไม่อยู่นิ่ง และความเป็นอิสระจากการยึดติดที่สร้างขึ้นโดยเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและการดำรงค์อยู่ของความชั่วร้าย 4 ประการ (ทุนนิยม อุตสาหกรรมนิยม บริโภคนิยม และเงินตรา) จะต้องได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง

หลุดพ้นจากวิกฤตการณ์ : วิธีการของพุทธเศรษฐศาสตร์

จากที่กล่าวมาแล้วเกี่ยวกับแนวทางของศาสนาพุทธ ซึ่งพยายามจะระงับความโลภ ซึ่งไม่เหมือนกับวิธีการทำให้บรรลุอรรถประโยชน์สูงสุด ที่ไม่นำไปสู่การทำให้เกิดความสุขให้มากที่สุดหรือทำให้ความทุกข์เหลือน้อยที่สุดในแต่ละบุคคล ในเวลาเดียวกันก็เป็นการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่มีประสิทธิภาพหรือเป็นการใช้อย่างสูญเปล่า[ต้องการอ้างอิง] วิธีเดียวที่จะหลุดพ้นจากภาวะวิกฤตนี้ได้คือการใช้ “ปัญญา” หรือความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะที่คนเข้าใจถึงธรรมชาติความเป็นจริงของชีวิตและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งถึงแนวคิดเกี่ยวกับความไม่มีตัวตน แล้วคนจะไม่ยึดติดอยู่กับตัวตน ความโลภทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นได้โดยง่าย รูปแบบการบริโภคของคนจะเปลี่ยนไปเป็นการบริโภคเพื่อตอบสนองต่อความเป็นขั้นพื้นฐานมากกว่าการบริโภคเพื่อสนองต่อความอยากที่จอมปลอม (พระธรรมปิฎก 1993 : 21-22) ดังนั้นการปลูกฝัง “ปัญญา” หรือความสามารถในการไตร่ตรองวิเคราะห์แยกแยะปัญหาเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสังคมไทยเพื่อการหลุดจากภาวะวิกฤต ประเทศอื่น ๆ ในเอเซียก็เป็นเช่นเดียวกัน การปลูกฝังปัญญาเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันสำหรับโรคที่แพร่กระจายจากการเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วของทุน การเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วของทุนเป็นสาเหตุแรกของวิกฤตที่ถูกกระตุ้นจากความโลภผ่านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ ในทศวรรษที่ผ่านมาก่อนเกิดภาวะวิกฤต โชคร้ายที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วมาพร้อมกับการสะสมของเสียและการทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติในภูมิภาคแห่งนี้อย่างชัดเจนที่สุด เราต้องการแนวทางใหม่ในการพัฒนาประเทศไทยและภูมิภาคเอเซียหลังจากผ่านพ้นเรื่องไร้สาระทั้งหลายไปแล้ว ภายใต้วิธีการพัฒนาประเทศแนวใหม่นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ 9) ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 1997 ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา มีใจความดังนี้ “ เศรษฐกิจที่พอเพียงไม่ได้หมายความว่าทุกครัวเรือนจะต้องเพาะปลูกอาหารกินเอง ตัดเย็บเสื้อผ้าใช้เอง แต่หมายถึงหมู่บ้าน ตำบล จะต้องสร้างผลผลิตที่เพียงพอสำหรับตอบสนองความต้องการของชุมชน สิ่งที่เหลือจากความต้องการสามารถนำออกขายให้ชุมชนอื่นที่มีความต้องการได้ แต่การค้าจะต้องไม่ห่างไกลเกินไปนักเพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนในการขนส่ง” (พระบรมราโชวาท 1997 : 18)[ต้องการอ้างอิง]

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ ประยุทธโต 1996:52-64) ได้เสนอแนวทาง” เศรษฐศาสตร์สำหรับทางสายกลาง” ไว้ โดย “ทางสายกลาง” เป็นแนวความคิดที่สำคัญในศาสนาพุทธ ซึ่งมีความหมายที่จะไม่ทำอะไรในหนทางที่สุดขั้ว ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับ “ จุดดุลยภาพ” ในเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ตามแนวคิดของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ ประยุทธโต) เศรษฐศาสตร์ทางสายกลางหมายถึงการบริโภคแต่พอประมาณ ซึ่งเป็นจุดที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรลุ “คุณภาพชีวิต” (มีความสุขมากที่สุดและมีความทุกข์น้อยที่สุด) การบริโภคแต่พอประมาณจะต้องทำให้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขของการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น หรืออีกนัยหนึ่งการบริโภคจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลที่เป็นปฏิปักษ์กับระบบนิเวศวิทยา

แนวความคิดที่ได้รับการชี้แนะจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระธรรมปิฎก (ประยุทธ ประยุทธโต) เป็นเพียงตัวอย่างการนำเอาเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธเข้ามาประยุกต์ใช้สำหรับเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาประเทศเพื่อให้หลุดพ้นออกจากภาวะวิกฤติในปัจจุบันและเป็นการป้องกันวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ที่จริงแล้วแนวความคิดบางอย่างได้เคยนำมาทดลองใช้ในประเทศไทยเป็นระยะเวลากว่าทศวรรษมาแล้ว โดยเฉพาะในหมู่เกษตรกรรายย่อย รูปแบบของไร่นาทางนิเวศน์ เช่น ไร่นาสวนผสม ป่าชุมชน ฯลฯ ได้นำมาทดลองใช้ในหมู่บ้านหลายแห่งในประเทศไทย (Puntasen 1996a:85-91 และ Puntasen 1996b:279)[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งให้ผลเป็นที่น่าพอใจ ชาวนาจำนวนมากที่ทำเกษตรกรรมระบบนิเวศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้แทบจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนี้เลย ที่จริงแล้วชาวนาส่วนใหญ่เหล่านั้นรู้สึกดีขึ้นด้วยซ้ำจากการที่เงินบาทเสื่อมค่าลงในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่คงที่ ทำให้รายได้ที่แท้จริงของเขาสูงขึ้นจากราคาผลผลิตทางการเกษตรที่สูงขึ้น ในขณะที่ต้นทุนยังไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยหรือผลิตภัณฑ์ทางเคมีอื่น ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิต

กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นหลังม่านของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว กลุ่มเครดิตยูเนียนและเครือข่าย เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ บางกลุ่มเริ่มขึ้นด้วยกิจกรรมเล็ก ๆ และริเริ่มขึ้นโดยสมาชิกในชุมชนที่ต้องการออมเงินส่วนเกินของชาวบ้านคนละเล็กละน้อยเช่น คนละ 10 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของครอบครัวที่จะต้องออมเงินของตัวเอง จุดประสงค์หลักของกิจกรรมเหล่านี้คือต้องการกระตุ้นให้ชาวบ้านมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่ชาวบ้านเผชิญอยู่และหาทางแก้ปัญหากันเอง เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งจำนวนเงินที่ชาวบ้านช่วยกันออมคนละเล็กละน้อยได้เพิ่มทวีขึ้น สมาชิกของกลุ่มซึ่งต่างรู้จักกันเป็นอย่างดีและต่างก็เคยพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกันมาแล้ว โครงการที่มีประโยชน์หลายโครงการต่างได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนมาแล้วเป็นอย่างดี ครั้นแล้วก็ถึงเวลาที่จะให้เงินกู้แก่โครงการที่เป็นประโยชน์มากที่สุด โครงการหลายโครงการประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี กลุ่มออมทรัพย์หลายกลุ่มโดยเฉพาะในภาคใต้ มีเงินออมมากกว่า 10 ล้านบาท และบางกลุ่มมีมากกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันประมาณการณ์ว่ามีเงินออมของกลุ่มออมทรัพย์ต่าง ๆ ในชุมชนและกลุ่มเครดิตยูเนียนรวมกันทั่วประเทศประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบขนาดของเงินทุนของกลุ่มออมทรัพย์เหล่านี้กับปริมาณเงินในวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งประมาณการณ์ว่ามีจำนวนกว่า 4 ล้านล้านบาท นับว่าเป็นจำนวนที่น้อยมาก แต่เงินออมเหล่านี้ก็เป็นตัวแทนของกระบวนการทดสอบภาคปฏิบัติของการพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่

ชัดเจนที่สุด ศักยภาพของกลุ่มออมทรัพย์และเครือข่ายใหญ่โตมาก จนถึงปัจจุบันนี้ รายงานการผิดสัญญาการใช้คืนเงินกู้มีน้อยมาก ระบบดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลและประหยัด ต้นทุนในการดำเนินการมีเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับเงินทุนของกลุ่ม ต้นทุนในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นมีเพียงหนึ่งหรือสองครั้งต่อเดือน ค่าแรงหรือค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานของกลุ่มไม่ได้สูงไปกว่าค่าจ้างในตลาด ระบบทั้งหมดตั้งอยู่บนความเชื่อถือซึ่งกันและกัน กลุ่มออมทรัพย์หลายกลุ่มเริ่มให้ความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อเป็นสวัสดิการสังคมแก่สมาชิก เช่น ค่าฌาปนกิจศพ เงินช่วยเหลือการศึกษาบางส่วน และสวัสดิการเล็ก ๆ น้อย ๆ แก่ผู้สูงอายุ เราสามารถจินตนาการได้ว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วของกลุ่มออมทรัพย์และเครือข่ายนี้ รวมทั้งระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและตำบลซึ่งพระราชทานคำแนะนำโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ความจำเป็นในการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศในอนาคตลดน้อยลง อย่างไรก็ตามการดำเนินการอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะต้องตั้งอยู่ในกรอบของ”เศรษฐศาสตร์แบบสายกลาง” หรือ “พุทธเศรษฐศาสตร์” ซึ่งการบริโภคจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อความสุขของปัจเจกบุคคลหรือ “คุณภาพชีวิต” หรือกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา นี่คือวิธีการพัฒนาและยุทธศาสตร์ที่เป็นไปได้ในการลดความรุนแรงของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ความต้องการเพียงอย่างเดียวในกระบวนการพัฒนานี้คือ วิธีการมองชีวิตซึ่งมีความสัมพันธ์กับกฎธรรมชาติอย่างแนบแน่นและโดยความเข้าใจอย่างชัดเจน และความตั้งใจที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีสติปัญญาให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาตินี้

บทสรุป

วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียอาจมองได้ว่าเป็นโอกาสสำหรับวิธีการพัฒนาในทิศทางใหม่มากกว่าเป็นการคุกคามจากความเสื่อมถอยของระบบเศรษฐกิจ วิกฤตการณ์นำไปสู่ประเด็นวิกฤตทางด้านการวิเคราะห์ เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่นำมาซึ่งความชั่วร้ายดังที่กล่าวมาแล้วเช่น ทุนนิยม อุตสาหกรรมนิยม บริโภคนิยมและการเปลี่ยนบทบาทอย่างรวดเร็วของเงินตรา ซึ่งเร่งเร้าให้มีการสร้างความโลภขึ้นจาก ความรู้ไม่เท่าทันในกฎธรรมชาติชองความไม่มีตัวตนและกฎธรรมชาติอื่น ๆ

ภายในขอบเขตของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ความไม่รู้นี้ถูกส่งเสริมโดยแนวความคิดที่คลุมเครือเกี่ยวกับอรรถประโยชน์ ซึ่งไม่ได้รับการศึกษาและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเพียงพอโดยนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มนี้[ต้องการอ้างอิง] แนวความคิดถูกอธิบายอย่างหยาบ ๆ ที่ให้ทุกคนมีความสุขกับการบริโภค การบริโภคสินค้า และบริการ จะอยู่ภายใต้ขอบเขตของงบประมาณที่จำกัด และไม่มีการเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างบุคคล โดยเหตุนี้ ความคิดเกี่ยวกับ “ประสิทธิภาพ” ในการบริโภคจึงไม่มีความหมายอย่างเพียงพอต่อการโต้แย้งในกรอบของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก แนวความคิดเกี่ยวกับต้นทุนของทรัพยากรที่ใช้ในการบริโภคก็ไม่มีเหตุผลย่างเพียงพอที่จะพูดถึง ดังนั้นการอภิปรายเกี่ยวกับประสิทธิภาพโดยรวมจึงไร้ความหมาย เช่นเดียวกันกับการอภิปรายถึงประสิทธิภาพในการผลิต

พุทธเศรษฐศาสตร์สามารถจัดการกับปัญหานี้อย่างได้ผล[ต้องการอ้างอิง]โดยผ่านทางแนวคิดเกี่ยวกับความสุขหรือการทำให้มีทุกข์น้อยที่สุด (แทนที่จะทำให้เกิดอรรถปรโยชน์สูงสุด) ในเบื้องต้นการอธิบายเกี่ยวกับทุกข์ว่าเป็นภาวะขัดแย้งกับกฎธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงและความไม่อยู่นิ่ง เพื่อที่จะเข้าใจให้ชัดเจนจะต้องตระหนักถึงความไม่มีตัวตนและกฎธรรมชาติอื่น ๆ แนวความคิดนี้นำไปสู่การอภิปรายถึงความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ซึ่งคือ ทุกข์ในระดับแรก ซึ่งจะต้องตอบสนองโดยความจำเป็นขั้นพื้นฐาน แต่ทุกข์ในระดับที่สอง เกิดขึ้นจากความต้องการหรือความอยากจอมปลอม ความพยายามที่จะสร้างความพึงพอใจทำให้เกิดความอยากซึ่งถูกกระตุ้นโดยความชั่วร้ายสมัยใหม่ 4 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลัทธิบริโภคนิยมและเงินตรา วิธีการของชาวพุทธในการระงับความอยากอันจอมปลอมเหล่านี้โดยผ่านการรับรู้ในแนวความคิดเกี่ยวกับ “ตัวตน” ว่าเป็นสิ่งลวงตา เพื่อให้ความทะยานอยากเหล่านี้ลดลง “เศรษฐศาสตร์ทางสายกลาง” ต้องได้รับการตระหนักให้ชัดเจนว่าแนวคิดนี้มีเหตุมีผลเพียงพอ แล้วจึงเริ่มต้นพัฒนาเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ซึ่งในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นมาแล้วในบางพื้นที่ของประเทศ คล้ายกับเป็นการสาธิตโดยการทำเกษตรกรรมเชิงนิเวศน์ในไร่นาขนาดเล็กและกลุ่มออมทรัพย์ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยปัจจุบันสามารถกล่าวได้ว่าเกิดจากการบริหารทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาด[ใครกล่าว?] โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารแห่งประเทศไทยดังที่ได้กล่าวมาแล้วในกรอบการวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามในระดับนานาชาติที่การเคลื่อนย้ายของเงินทุนเป็นไปอย่างรวดเร็ว วิกฤตการณ์จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนไม่รูปแบบใดก็แบบหนึ่ง จากการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย จากความอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจ จากความไม่มั่นคงและความอ่อนไหวของระบบเศรษฐกิจขนาดเล็กซึ่งได้รับเงินทุนจากต่างประเทศ ธรรมชาติของวิกฤตการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดคำถามที่จริงจังเกี่ยวกับความยั่งยืนไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่กับประเทศเอเซียอื่น ๆ ทั้งหมด

อ้างอิง

  • อภิชัย พันธเสน, พุทธเศรษฐศาสตร์: วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ, สำนักพิมพ์อมรินทร์

ทธเศรษฐศาสตร, งก, ามภาษา, ในบทความน, ไว, ให, านและผ, วมแก, ไขบทความศ, กษาเพ, มเต, มโดยสะดวก, เน, องจากว, เด, ยภาษาไทยย, งไม, บทความด, งกล, าว, กระน, ควรร, บสร, างเป, นบทความโดยเร, วท, ดบทความน, งหมดหร, อบางส, วน, เน, อหา, ปแบบ, หร, อล, กษณะการนำเสนอท, ไม, เหมา. lingkkhamphasa inbthkhwamni miiwihphuxanaelaphurwmaekikhbthkhwamsuksaephimetimodysadwk enuxngcakwikiphiediyphasaithyyngimmibthkhwamdngklaw krann khwrribsrangepnbthkhwamodyerwthisudbthkhwamnithnghmdhruxbangswn mienuxha rupaebb hruxlksnakarnaesnxthiimehmaasmsahrbsaranukrm oprdxphipraypyhadngklawinhnaxphipray hakbthkhwamniekhaknidkbokhrngkarphinxng oprdthakaraecngyayaethnbthkhwamnixacmingankhnkhwatnchbbrwmxyukrunaprbprungodyephimhlkthanphisucnyunynkhxkhwamthixangaelaephimkarxangxinginbrrthd khxkhwamthimiechphaangankhnkhwatnchbbephiyngxyangediywkhwrthuklbesiy eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir phuththesrsthsastr khux karprayuktaenwkhwamkhidthangsasnaphuththekiywkbthrrmchatikhxngmnusymaichxthibayhlkkaraelaaenwkhidthangesrsthsastr epnaenwthangihminkarthakhwamekhaicesrsthsatr imidmikhxotaeyngmakmayxairnkekiywkbkrabwnkarwiekhraahthinkesrsthsastrswnihyinpccubnichxyu karnaexawithikarxnumanechingtrrkaekhamaichinwichaesrsthsastr echnediywkbkarnaipichinwichaxun aetkhxsmmutikhnphunthanbangprakarekiywkbthrrmchatikhxngmnusysungnkesrsthsastrkraaeshlkichyngimidrbkartrwcsxbxyangephiyngphx nkesrsthsastrkraaeshlkswnmakimidihkhwamsnicethathikhwrinpraednni txngkarxangxing swnihycayxmrbipodypriyay aelankesrsthsastrkidsrangekhruxngmuxkarwiekhraahkhunbnrakthanthiepraabang phlthitammakhuxkhxsrupswnihythiidcakkrabwnkarwiekhraahthangesrsthsastrimsamarthephchiykbkarthathaycakphawawikvtid txngkarxangxing khxsmmutiphunthanbangswnthisrangkhunmacakesrsthsastraebbdngedimthiekiywkhxngkbthrrmchatikhxngmnusynnimsxdkhlxngkbphvtikrrmkhxngmnusythiepncringaelabangkhrngkkhdaeyngkbkdthrrmchati sungthaihphlnginkarxrrthathibaykhxngesrsthsastraebbedimxxnlngipmak txngkarxangxing emuxnaexaaenwkhwamkhidinechingphuththekhamathdaethnkhxsmmutithanthiepnpyhadngklaw thaihkarmxngpyhaekiywkbthrrmchatikhxngmnusyaelakdeknththrrmchatiiklekhiyngkbkhwamepncringmakkhun aelaephimphlnginkarxrrthathibaykhxngesrsthsastrkraaeshlkihhnkaennmakkhun xyangnxykinklumpraethsexesiytawnxxkechiyngit txngkarxangxing sungepnehtuphlhlkkhxngbthkhwamnithieriykwa phuththesrsthsastr aenwkhidnikhxnkhangaetktangipcak esrsthsastrsahrbchawphuthth odykhahlngimekiywkhxngkbaenwkhidkhxngesrsthsastrkraaeshlkephiyngphx aelamkcaepnephiyngkartrwcsxbaenwkhidthangesrsthsastrcakmummxngkhxngchawphuthththimikhaniymaelakhwamechuxepnkhxngtnexng imidepnkarphyayamthicakhnhaaelatrwcsxbaenwkhwamkhidechingphuththaelaechingesrsthsastrinthanglukxyangephiyngphxthaprascakkarthathayodytrngtxtwaebbkarkhidkhxngesrsthsastrpccubn cudxxninkarwiekhraahkhxngesrsthsastrkraaeshlkcaimpraktkhun phuththesrsthsastridetriymrbmuxkbkarthathayniodymungipyngcudxxnphunthankhxngesrsthsastrkraaeshlkaelanaexaaenwkhidechingphuthththisxdkhlxngkbkhwampncringmakkwaekhamathdaethncudxxnni txngkarxangxing sungswnhnungkhuxkhwamphyayamthicaeyiywyawikvtkarnkhxngkarwiekhraahthisaetimphawawikvtkarnthangesrsthkickhxngexesiyxyuinpccubn enuxha 1 esrsthsastrechingptithanaelaechingpthsthan 2 khwamepnchbphlnkhxngfngchnkxrrthpraoychn 3 khathamxaccasrangkhwamphungphxicaelakhwamecbpwd 4 prasiththiphaphinkarbriophkh 5 khwamaetktangthangthsna 6 karprayuktichphuththesrsthsastr 7 hludphncakwikvtkarn withikarkhxngphuththesrsthsastr 8 bthsrup 9 xangxingesrsthsastrechingptithanaelaechingpthsthan aekikhwikvtkarnkhxngkarwiekhraahinthangesrsthsastrmirakthanmacakkaraebngaeykthitaytwrahwangaenwkhwamkhidechingptithanniym Positive Economics aelapthsthanniym Normative Economics esrsthsastraebbptithanniymihkhaniyamkarwiekhraahinechingwtthuwisy Objective sungbangkhrngeriykwakdthrrmchatiodyprascakkartdsindwykhaniymswntw aenwkhwamkhidniemuxexaipepriybethiybkbaenwkhidechingpthsthanniymsungcaexarwmkhwamehnaelakartdsinechingkhunkhaekhaipekiywkhxngdwy karaebngaeykknrahwangsxngaenwthangniekidcakkarkhadkhwamekhaickhwamechuxmoyngkbthrrmchatikhxngmnusyesrsthsastrechingptithanniymtngkhxsmmutiwa khwamolph Greed hruxcaphudihebakwanikhux phlpraoychnswntn Self Interest epnthrrmchatithisakhykhxngmnusy epnphvtikrrmthimiehtuphl Rational Behaviour dngnnkarkrathaid ephuxbrrluxrrthpraoychnsungsudcungidrbkarphicarnawaepnkarkrathathimiehtuphl en Jeremy Bentham klawwamnusykhadesiyimidthicakhxyprnnibtikhwamtxngkarkhxngtwexng pceckbukhkhlthnghlayidrbaerngkratuncakkhwamtxngkarkhxngtnexngihkrathasingtang ephuxbrrluphlpraoychnswntnihmakthisud khwamtxngkarhruxkhwamprarthnaniekidkhunephuxaeswnghaprasbkarnthitnexngchunchxbaelaphyayamhlikeliynghruxhlikhnicakkhwamecbpwdtang Bowden 1990 77 nikhuxcuderimtnkhxngmummxngaebbesrsthsastrechingptithanniymyngkhngmikhathamxikhlayprakar aemwa kdthrrmchati thiidrbkaresnxaenaody Bentham caepncringthukkrniodyimmikhxykewn aetpceckbukhkhlxun samarthmiphvtikrrmaetktangipcakniidodyepnkhxykewnkhxngkdthrrmchatiniidhruxim hruxcathuxwaphvtikrrmthiaetktangipcakkhxsmmutithanni epnphvtikrrmthiimmiehtuphl mnusycamirupaebbphvtikrrmxun makipkwakarbrrluxrrthpraoychnsungsudidhruxim rupaebbphvtikrrmkhxngmnusythiepnxyu echn karihkhwamrktxstrukhxngtn hruxkarthanganxyanghnkephuxkhnxunodythitnexngtxngthnkraehmdkraaehm txngkarxangxing phvtikrrmehlanicaidrbkarphicarnawaimmiehtuphlidhruxim hruxcaphicarnawaepnkhxykewncakkdthwip khxethccringkkhux phvtikrrmthiepnxyunikhdaeyngkbkhxsmmutithankhxngesrsthsastrechingptithanniym inswnthiekiywkhxngkbthrrmchatikhxngmnusy txngkarxangxing dngnnkhxsrupekiywkbesrsthsastrechingptithanniymkhux epnephiyng echingptithan Positive ethann enuxngcakprakxbdwykdeknthchudhnungthimikhaniyamkhxngtnexng dngnncungxacmikhathamwa Positive hruxesrsthsastrechingptithannnepnxyangir nkesrsthsastrkraaeshlkswnihyimtxngkarephchiykbkhathamthikhxnkhangyakni swnihycayxmrbexaaenwkhwamkhidnimaichodypriyay ephuxthicamungipyngkarphthnakarwiekhraahaebbcalxngkhxngtn sungphbwaxyuinthanathisamarthcakhwbkhumkhxotaeyngtang idxyangetmthi aetkarsrangaebbcalxngid ktambnrakthanthiimmnkhngyxmimsamarthnaipsukhatxbthidiid txngkarxangxing thvsdixrrthpraoychnidrbkarkhdeklamaepnxyangdiaetkimidthaihkhwamkhlumekhruxldnxylngaetxyangid dngechnthi Boulding ihkhxsrupiwwa nkesrsthsastrtrahnkepnxyangdiwakhwamtxngkarthangwtthuepnaetephiyngsinkhakhnklang thinaipsukarbrrluepahmaykhnsudthaythieriykwa xrrthpraoychn aetnkesrsthsastrkimthrabwaxrrthpraoychnaethcringkhuxxair txngkarxangxing echnediywknkbthinkfisiksimthrabwaiffakhuxxair aetkimsamarththaxairidodyprascakmn Boulding 1968 193 94 khwamepnchbphlnkhxngfngchnkxrrthpraoychn aekikhfngchnkxrrthpraoychndngthiklawmaaelwimidekiywkhxngkbxngkhprakxbthangdanewla txngkarxangxing mnaesdnglksnathithungkarekidkhunxyangchbphln khneracamikhwamsnuk epnsukh pitiyindi mikhwamphxic aelachunchxb emuxidbriophkhsinkhaxyangchbphlnthnthi enguxnikhehlanicaldlnghlngcaknn khwamphungphxiccaekidkhunodythnthi n ewlathiekhabriophkhsinkha immiikhrekhysnickhawaxrrthpraoychnxyangcringcng enuxngcakkhanikhxnkhangcamikhwamhmaythikhlumekhrux immikarphyayamthicathaihkhwamhmaychdecnkhun khlaykbthi Boulding tngkhxsngektiwkhangtn khunsmbtixik 2 prakarkhxngfngchnkxrrthpraoychn khux immikhwamekiywkhxngkbmitithangdanewla aelaimmikarepriybethiybknrahwangpceckbukhkhl sungepnkhunsmbtithinahweraaemuxtxngephchiykb khwamhayak txngkarxangxing sungepnehtuphlthisakhythisudinkarsuksawichaesrsthsastr phayitenguxnikhthwipkhxngthrphyakrthihayak fngchnkxrrthpraoychnimsamarthkxihekidkartdsinkhunkhaid dngtwxyang caichthrphyakrthimixyuxyangcakdephuxphlitxahardihruxwacaphlitrthyntrakhaaephngdi khwrcaichthryakrephuxphlitxahareliyngkhnyakcndihruxphlitrthynthruhraephuxkhnrarwydi insamysankkhxngkhnthrrmdathwipkphxcathrabkhatxbiddi txngkarxangxing wakhwrcaichthrphyakrthimixyuxyangcakdipphlitxaharephuxkhnyakcnmakkwaphlitrthynthruhraephuxkhnrarwy txngkarxangxing aetxyangirktamemuxnkesrsthsastrkraaeshlkimsamarthhakhatxbthinaphxictxkhathamthichdecnechnniidkthungewlaaelwaenwkhwamkhidnicatxngthuktngkhathamthungkhxsmmutithantang thiichinkarsrangthvsdikhathamxaccasrangkhwamphungphxicaelakhwamecbpwd aekikhJeremy Bentham klawwamnusyphyayamthicaaeswnghakhwamphungphxicsungsud aelaldkhwamecbpwdlngihehluxnxythisudodytngxyubnprasbkarnkhxngtnexng sungaenwkhwamkhidniidrbkaryxmrbxyangkwanginpraethstawntkaelayxmrbwaepnphvtikrrmkhxngmnusythimiehtuphl xyangirktamthaaenwkhwamkhidekiywkb khwamphungphxic Pleasure aela khwamecbpwd Pain thukaethnthidwykhawa khwamsukh Happiness aela khwamthukkh Misery or Suffering khxsrupthiidkcamikhwamhmayaetktangxxkipmak aelatngsmmutithanwamnusycaaeswnghakhwamsukhihmakthisudaelaphyayamthicahlikeliyngcakkhwamthukkhhruxthaihekidkhwamthukkhnxythisud khxsrupthiidcaepliynaeplngipcakthiklawmaaelwkhangtn sungtxbsnxngtxkhwamhmaykhxngkhawa khwamsukh aela khwamthukkh sungkhwamhmaykhxngthngsxngkhanicaphbaetinolktawnxxkethann odyechphaaxyangyinginsasnaphuththinsasnaphuthth miaetephiyngkhawa thukkh Misery or Suffering ethannthitxngkarkhaniyamthichdecn khlaykbxunhphumisungtxngkarkahndradbkhxngkhwamrxnihchdecn khwamrxnnxyhmaythungkhwameyn inthanxngediywkn thukkhnxykhmaythungmisukhmak dngnninaenwkhwamkhidkhxngchawphuththkarthaihthukkhehluxnxythisud khmaythungkarthaihmikhwamsukhmakthisud echnediywknkbaenwkhwamkhidkhxngnkesrsthsastraekraaeshlkekiywkbkarldtnthunihehluxnxythisudkhmaythungkarthaihmikairmakthisudkhwamthukkh thukxthibaywaepnsphawathikhdaeynghruxkhwamimlngrxyknintwkhxngbukhkhl phrarachwrmuni 1983 21 txngkarxangxing khwamkhdaeyngsakhycapraktkhunemuxkhneraechux khwammitwtn aelaphyayamthicayudtidxyukbtwtnxyangehniywaenn tamhlksasnaphuththaelw immisingthieraeriykwa twtn xyu singthieratrahnkhruxrbruwaepntwtn aethcringaelwepnaetephiyngkarprakxbknkhunkhxngsingthieriykwa khnthha sungprakxbdwy rup ewthna syya sngkharaelawiyyan phrarachwrmuni 1983 15 thahakkhadkhnthhakhxidkhxhnungip kcaimmikhwamepnkhnxyangsmburn thukkhnacitthiphanip khnkcaimehmuxnedimenuxngcakxngkhprakxbkhxngkhnthhaepliynaeplngxyutlxdewla khwamepliynaeplnghruxkhwamimxyuningkhxngkhnthhaekidkhuncakkdthrrmchatithiwa thuksingthukxyangepnxniccng imxyuningmikarepliynaeplngxyutlxdewla phrarachwrmuni 1983 20 thathuksingthukxyangmikarepliynaeplngtlxdewla mncaepnkardithaerarbruthungkarepliynaeplngnnaelatrahnkwathuksingtxngmikarepliynaeplngrwmthngkhwammitwtndwy thaeraphyayamthicayudtixyukbtwtninkhnathithuksingthukxyangepliynaeplng phlthiekidkhunkhuxkhwamkhdaeynghruxkhwamimsxdkhlxngkbkdthrrmchatithithuksingimxyuning khnswnihyphyayamthicayudtidxyukbtwtnkhlaykbwamnepnsingthimixyu khnehlaniphyayamthicasrangthukkhihekidkhun odyphanthangkhwamchwrayhruxthieraeriykwa kiels 3 prakarkhux olpha othsa aelaomha sungkielskhuxsaehtuthiaethcringkhxngthukkhthnghlaythiekidkhun phrarachwrmuni 1983 31 inthangtrngknkham khwamsukh hmaythungkarepnxisracakkhwamolphhruxkhwamxyak cakkhwamokrth aelakhwamhlng phuthththasphikkhu 1996 23 aelaphrarachwrmuni 1983 28 txngkarxangxing karpldepluxngsungsudsahrbmnusychatithnghlaykhux karepnxisracaksingchwraythngsamprakarthiklawmaaelw khnthwipimsamarthpldepluxngtwexngxxkcakkielsidenuxngcakkhadkhwamruthithuktxng phrarachwrmuni 1983 31 khwamruthisakhyaelasungkwakhwamruxunthngpwngkhux karruwaimmisingthieriykwa twtn thaimmitwtnkcaimmiikhrehnaektw immiikhrmikhwamesraosk phrarachwrmuni 1983 32 tamhlkkhxngsasnaphuthth mnusyepnstwolkthimikarphthnasungsud enuxngcakmilksnaechphaatamthrrmchatikhux mikhwamsamarthinkareriynru aelakarphthnasingthieriykwakhnththngha phrathrrmpidk 1993 34 36 xtrakarphthnakhxngaetlabukhkhlaetktangknip aetthukkhnksamarthphthnatnexngidxyangimmikhidcakd enuxngcaksingniepnkhunphaphthisakhykhxngbukhkhl miehtuphlephiyngsingediywthithaihbukhkhlpraphvtihruxkrathaaetktangknip nnkhuxkhwamru thamnusymikhwamruxyangephiyngphx ekhacatxbsnxngaetktangknip karaekikhthiehmaasm khux karsrangkhwamruihekidkhun kareriynruthisakhythisudinsasnaphuthth khux kareriynrucakprasbkarnthiepncringhruxkaridrbkhachiaenathidicakklyanmitr sungxaccaepnbidamarda khrubaxacary ephuxn yatimitrhruxbnthitthnghlay sungmikhwamhwngditxthukkhn phraethphewthi 1990 16 17 txngkarxangxing singthiphudmathnghmdkhuxkhasxnphunthankhxngsasnaphuthth sungmikhwamsxdkhlxngkbaenwkhwamkhidekiywkbxrrthpraoychnsungsudmakthisud txngkarxangxing aenwkhwamkhidkhxngnkesrsthsastrkraaeshlkekiywkbkaraeswnghakhwamphungphxicsungsudaelahlikeliyngcakkhwamecbpwdtang epnkhwamkhidthitunekhin imsamarthekhathungthrrmchatithiepnaeknklangkhxngmnusyid aenwkhidkhxngsasnaphuthththiwamnusykhwrcapldplxytnexngxxkcakkhwamthukkhthnghlayephuxbrrluthungkhwamsukhthiaethcringepnaenwkhidthisungsngkwa saehtukhxngthukkhthisakhythiekiywkhxngkbesrsthsastrmakthisudkhuxkhwamxyakhruxkhwamolph aenwkhwamkhidekiywkb khwamsukh inthsnakhxngsasnaphuththimehmuxnkbkhwamsukhinthsnakhxngchawtawntk sungmikhwamhmayinkhxbekhtthikwang dngthiidesnxmakxnhnani echn khwamsnuksnan khwampitiyindi khwamphungphxic khwamhlngihl aelakhwamrk naprahladicxyubangelknxythiaenwkhidekiywkb karbriophkhxyangmiprasiththiphaph imidrbkartrwcsxbxyangephiyngphxinesrsthsastrkraaeshlk txngkarxangxing prasiththiphaphinkarbriophkh aekikhthukkhinthangsasnaphuththmisxngradb radbaerkepnthukkhthangkay ekidkhuncakkhadaekhlnpccyphunthanhruxpccysiinkardarngchiwitechn xahar ekhruxngnunghm thixyuxasy aelayarksaorkh khncaidrbkhwamthukkhthrmanxyangrunaerngthaimidrbxaharthiephiyngphx mikhaklawinsasnaphuththwa khwamthukkhthiekidcakkarkhadaekhlnxaharepnkhwamthukkhthielwraythisud makwakhwamthukkhxunid dngnnphuhiwohycungimsamarthchwyehluxtnexngidxyangdiphxaelaimsamarthphthnaciticihdikhunid phrathrrmpidk 1996 6 rxnglngma khux thukkhthiekidcakkarkhadaekhlnyarksaorkh ekhruxngnunghm aelathixyuxasy saehtukhxngthukkhthangkayaekikhidodykartxbsnxngtxkhwamtxngkarphunthankhxngbukhkhlihephiyngphx immiwithikarxunidinkaraekpyhamakipkwani khwamtxngkarphunthankhxngmnusycatxngidrbkartxbsnxng odykhwamtxngkarniruckkninnamkhxng khwamcaepnkhnphunthan Essential Needs thukkhinradbthisxng khux thukkhthiekidcakkhwamxyaksungphlkdnodykhwamolphkhxngmnusy epnthukkhthiekidcakkhwamruimethathninkdthrrmchatihruxxwichcha khux imruwaimmisingthieriykwatwtndarngxyu khwamolphhruxkhwamxyakephaphlaymnusycakphayinickhxngtnexng thakhwamxyakniimidrbkartxbsnxng phraethphewthi 1990 79 81 aetrangkaykhxngmnusycaimidrbphlkrathbcakkhwamxyakhruxthukkhinradbthisxngni enuxngcakkayaeykxxktanghakcakcitichruxxarmnkhwamrusuk thaythisudaelwmnusycaimtaycakkarimidrbkartxbsnxngkhwamxyakkhxngtn kareyiywyakhwamxyakthiaethcringkhuxkarchwyihkhnehlanntrahnkthungkdthrrmchatiekiywkbkhwamimmitwtn kartxbsnxngkhwamxyakkhxngmnusyxyangimcbsinimichepnkaraekpyha thicringaelwklbepnkarephimpyhaihhnkkhunkwaedimthaprayuktaenwkhwamkhiddngklawekhaipinfngchnkxrrthpraoychnkhxngesrsthsastrkraaeshlk mnusycabrrlukhwamphungphxicidthnthiemuxkhwamtxngkaridrbkartxbsnxng enuxngcakkhwamtxngkarthangkayidrbkartxbsnxngipaelw khwamtxngkarinradbthisungkwacaxyuphayincitickhxngmnusyexng thiekidkhuncakkhwamolphimmithisinsud nkesrsthsastrkraaeshlkthidicaxangthungngbpramanhruxrayidthimixyucakd khlaykbepnkaaephngpxngknkarihlthwmkhxngkhwamthayanxyakphayin ochkhraythihlaykhnkxncathungkhidcakdkhxngrayid khwamesiyhayidbngekidaelw txngkarxangxing odykardudsbthrphyakripichephuxphlitsinkhaaelabrikarephuxtxbsnxngkhwamthayanxyakthiimruckphxcakthiklawmakhangtnkhxnkhangcachdecnwa prasiththiphaphinkarbriophkh hmaythungkarbriophkhthitxbsnxngtxkhwamcaepnkhnphunthan thukkhinradbaerk imichkartxbsnxngtxxupsngkh Demand thisrangkhunody khwamtxngkarethiym artificial want thukkhradbthisxng txngkarxangxing sahrbehtuphlthixthibaymaaelwkhangtn pyhaniimidrbkarcdkarxyangdiphxodynkesrsthsastrkraaeshlkthaprascakkarcdkarthiditxpraednni karxphiprayekiywkbprasiththiphaphinkarphlitkhxngesrsthsastrkraaeshlk kepriybidkbkarexakrrikrkhaediywiptdkradassungcaimekidphlxair ephuxihkarxphiprayekiywkbprasiththiphaphinkarphlitmiehtumiphl prasiththiphaphinkarbriophkhcatxngidrbkarxthibayxyangchdecn aenwkhidekiywkbprasiththiphaphinkarbriophkhcaidrbkarxthibayxyangdikechphaainesrsthsastrechingphuththethann txngkarxangxing cudxxnthiaethcringkhxngesrsthsastrkraaeshlksubenuxngmacakkhwamlmehlwinkarxthibaythung phvtikrrmkhxngmnusyodyrwm imehmuxnkbkhaxthibaythiphbinsasnaphuthth txngkarxangxing khwamaetktangthangthsna aekikhesrsthsastrkraaeshlkxangwaprascakkhaniymaelaepnwithyasastr aethcringaelwkmirakehngamacakkarptirupthangwthnthrrminpraethstawntk txngkarxangxing sungkahndkhunlksnaiddngni phlpraoychnswntw khuxaerngphlkdnpktikhxngmnusysungkhuxthrrmchatithiepncringswnhnungkhxngmnusy pceckchnniym siththiswnbukhkhl esriphaph aelasiththiinthrphysin epnsiththikhnphunthankhxngmnusythiidrbkarkhumkhrxngaelatxngimthuklaemid sthabnkhrxbkhrwepnsthabnthimikhwamsakhythisudtxsngkhmmnusy khwamsamarthinkarkhwbkhumthrrmchaticaprbprungkhunphaphihehmaasminkardarngxyukhxngmnusy ethkhonolyikhuxekhruxngmuxsakhythiichinkarkhwbkhumthrrmchatismmutithanhlayprakardngklawidrbkarxthibaycakrakehngakhxngsngkhmtawntk echn cakkhwamaetktangkhxngsphaphxakas khwamtxngkarthicaexachiwitrxdinrahwangvduhnawxnyawnan ehmuxnepnkarihkhaxthibaythidi karsasmxahar echuxephlingaelaesuxphasahrbkhrxbkhrwinchwngvduhnawxnyawnanepnsingthicaepncatxngtha khrxbkhrwmiewlaxyurwmknxyangephiyngphxinchwngvduhnaw miewlamakphxsahrbkarxanhnngsux karekhiyn aelakaritrtrxnginchwngrahwangeduxnxnyawnannn khwamsaercxnhnungkhuxkhwamphyayamthicakhwbkhumthrrmchatisungnaipsukarephimkhunphaphchiwit phllphthuthiekidkhunkhuxkarphthnaethkhonolyisungepnnwtkrrmxnhnungthiphthnakhunephuxwtthuprasngkhinkarexachnathrrmchati phrathrrmpidk 1998 54 wthnthrrmechnnikhuxrakthanthiaetktangipcakpraethstawnxxk txngkarxangxing thiprachakrswnihyxasyxyuinbriewnphumixakasekhtrxn bangswnxasyxyuinekhtxbxun immiaerngkddnthithaihtxngsasmxaharinrahwangpi karaebngpnxaharepnwithikarephimkhwammnkhngthangdanxaharsahrbprachachnthixasyxyuinphumixakasekhtrxn duehmuxnwaphwkekhamikhwamonmexiynginkarhwngiyaelaaebngpnsungknaelakn enuxngcakthrrmchatiimidohdraytxphwkekha cungimmikhwamtxngkarthicakhwbkhumhruxexachnathrrmchati prachachntangxasyxyuxyangsxdkhlxngaelaklmklunkbthrrmchatiinphumixakasekhtrxn prachakrxasyxyurwmkninchumchnxyangiklchid chiwitchumchnidrbkarennmakkwachiwitkhrxbkhrwhruxaemaetpceckbukhkhl phlthiekidkhunkhuxinsmykxnkhwamepnecakhxngodychumchncamikhwamsakhymakkwakhwamepnecakhxngodyswntw insthankarnechnni khwamyaklabakhruxpyhathangkay imichsingkhukkhamthiaethcringinsngkhmtawnxxk phayitkhwamsadwksbaythangkayphaphphwkekhakyngimidrbkhwamphungphxicxyangaethcring phwkekhayngkhngthukephaphlaycakkhwamtxngkarphayin karkhnhasaehtuthiaethcringkhxngpyhacatxngecaaluklngipihmakkwani aelacatxngidrbkarsuksaxyanglaexiydekhaipincitwiyankhxngkhwamepnmnusy phuraythiaethcringthithukkhnphbkhuxkhwamchwrayhruxkielsthngsamprakar khux olphahruxkhwamxyak othsahruxkhwamekliydchng omhahruxkhwamhlng dwyehtunikhukarcdkarekiywkbthukkhinsngkhmtawnxxkcungmikhwamaetktangcaktawntk sungsaehtuphayinkhxngthukkhcatxngidrbkarkhnhaxyangcringcngochkhraythikarepriybethiybxyangaehlmkhmrahwangwthnthrrmthngsxng tawnxxkaelatawntk idldlngenuxngcakkarprakttwkhunkhxngrabbthunniym sungerimkhuninchwngaerkkhxngstwrrsthi 16 inpraethsyuorp John Calvin wiswkrphuprbprungkhrisckr phukxtng crithrrmaebbphiwritn en Puritan Ethics ephuxptirupkhrisetiynihehmaasmkbkhwamrusukkhxngchnchnklanginyuorp aelaephuxkhwamsadwkinkarsasmthun Tawney 1992 91 111 rabbkarphlitaebborngngansungthuknamaichcakkarptiwtixutsahkrrminstwrrsthi 18 thaihekidkarphlitsinkhaepncanwnmak rabbkarphlitkhnadihyepnaerngphlkihnkxutsahkrrmaelankthurkic kratunihmikarephimkarbriophkhodyphanthangkarokhsnaaelakarrnrngkhthangkartladkhnadihy phlkkhuxlththibriophkhniymekidxyanghlikeliyngimid inrahwangnisingchwraysmyihm 3 prakar txngkarxangxing idphthnakhun khux thunniym xutsahkrrmniym aelabriophkhniym engintrakmikarptiruptwexngcakkarepnsuxklanginkaraelkepliynipthahnathiepntwklanginkarekbsasmmulkha thaihkarlngthunsamarthaeswngharayidtxipxik emuximnanmaniengintraidthahnathiepnekhruxngmuxinkarekngkair rupaebbdngedimkhxngengintraidepliynaeplngcakedimthiekhyichepluxkhxy stweliyng ipepnaerengin thxngkhainchwngerimtn thnbtraelabtrekhrditinrayatxma karptirupkhrnglasudkhxngengintrakhuxenginxielkhothrnikhsthisamarthekhluxnyayidxyangchbphlnthnthiipyngthiid kidinolkibnikhwamchwray 4 prakarkhux thunniym xutsahkrrmniym briophkhniym aelakarptirupxyangtxenuxngkhxngengintra thaihekidkhwamchwkhunincitickhxngmnusythnginolktawntkaelatawnxxk odyechphaaolktawnxxkpyharunaerngyingkwa enuxngcakprachachnmiprasbkarnkbphthnakarkhxngkhwamchwraythng 4 prakarnninrayaewlathisnkwa imehmuxnkbpraethstawntksungkarptirupkhxnkhangcayawnankwa tngaeterimaerkkhxngstwrrsthi 16 swninpraethstawnxxkephingcaekidkhuninhnungstwrrsmaniexngphlkrathbthiekidkhuncungkhxnkhangrunaernginpraethstawnxxkmakkwapraethstawntk aelayngkhngepnsaehtusakhykhxngkarthalaylangtxipinpraethstawnxxk karpraktkhunkhxngkhwamchwraythng 4 prakar khuxpccyhlkthitxbsnxngtxkarrwmknepnhnungediywkhxngwthnthrrmepriybethiybthng 2 khux tawnxxkaelatawntk aemwakarrwmkncakxihekidpyhamakkwa aelakhwamchwraythng 4 prakar namasungpyhakaresuxmothrmkhxngthrphyakraelasphaphaewdlxmkhxngolkxyangrwderw khwamesuxmothrmthiekidkhunnikxihekidkhidcakdkhxngsingmichiwittang thixasyxyubnolksungepriybesmuxnkbkarxyuinyanxwkaslaediywkn khidcakdnieriykrxngihphwkerathukkhntxngmikarptirupwthnthrrmphunthankhxngera ephuxkarxyurwdkhxngmnusychatithngmwl nikhuxsaehtuwathaimkarfunfuesrsthsastrechingphuththcungehmuxnkbkareriykrxngihmikarptirupinsasnakhristkhxnglththiluethxrran en Lutheranism inchwngxrunrungkhxnglththiphanichniym Tawney 1922 73 91 txngkarxangxing karprayuktichphuththesrsthsastr aekikhkarpraktkhunkhxngthunniyminchwngerimaerkkhxnglththiphanichniymkratunih en John Calvin ptirupsasnakhristihehmaasmkbkarepliynaeplngkhxngchnchnklang txngkarxangxing inchwngewlanikhxethccringkhxng xananikhmihm praktkhunbnyanxwkasolk kratunihmikareriykrxngkarprbprungxyangrwderwinesrsthsastrkraaeshlkaebbxnurksniym dngthiidklawmaaelwesrsthsastrkraaeshlkkhadekhruxngmuxinkarwiekhraahxyangmiprasiththiphltxsthankarnthimikarepliynaeplngxyangrwderw ehmuxnkbkarptibtithikhxnkhangepnklik lasmyaelakhlumekhruxeinaenwkhwamkhidthangprchyakhxnglththixrrthpraoychnniym txngkarxangxing sungthuksrangkhuninchwngewlaaehngkarkhadaekhlnkhxngolktawntkaemwakhasxnkhxngsasnaphuththcaekakwamak aetkyngrwmsmykbpccubn enuxngcakkhasxnniekidkhuninchwngrayaewlaaehngkhwamxudmsmburnkhxngolktawnxxk pccubnerakxyuinchwngewlaaehngkhwamsmburnechnkn aethaynakidbngekidkhuntrnghnaera mnkhxnkhangepnsingihmaetepnsthankarnthikhxnkhangprahlad enuxngcakniepnoxkasechphaaxyanghnung dngnnesrsthsastrechingphuththcungepnekhruxngmuxthiehmaasminkarcdkarkbpyhathieraephchiyxyupccubn txngkarxangxing ekhruxngmuxinkarwiekhraahxnnimikhwamtxngkarephiyngihprachachntrahnkthungkhxethccringthiepnxyutamkdthrrmchati khuxkhwamimmixyukhxngtwtn thaaenwkhwamkhidniidrbkhwamekhaicxyangchdecn chiwitmnusycaidrbkarmxngcakaengmumthiaetktangxxkipcakkarepnphubriophkh singthimikhwamhmaymakthisudinchiwitimichmacakkarbriophkh karbriophkhxyangehmaasmcaimthaihihekidkarthalaylangthrphyakrthrrmchatiaelasingaewdlxm txngkarxangxing thicringaelwthrphyakraelasingaewdlxmsamarththaihdikhunidphrxmkbkarmichiwitxyangmiphasukkhxngprachachn mikhwamsaxad khwamsngbaelasrangsrrkh xyangirktamkarerimtnwithikhidihmnicatxngplukihtrahnkthungthrrmchatithiaethcringkhxngmunsyaelakdthrrmchatiekiywkbkarimmixyukhxngtwtnphrxmkbsingxun dwy echn kdaehngxniccnghruxkhwamepliynaeplng khwamimxyuning aelakhwamepnxisracakkaryudtidthisrangkhunodyesrsthsastrkraaeshlkaelakardarngkhxyukhxngkhwamchwray 4 prakar thunniym xutsahkrrmniym briophkhniym aelaengintra catxngidrbkarephyaephrihepnthiruckknxyangkwangkhwanghludphncakwikvtkarn withikarkhxngphuththesrsthsastr aekikhcakthiklawmaaelwekiywkbaenwthangkhxngsasnaphuthth sungphyayamcarangbkhwamolph sungimehmuxnkbwithikarthaihbrrluxrrthpraoychnsungsud thiimnaipsukarthaihekidkhwamsukhihmakthisudhruxthaihkhwamthukkhehluxnxythisudinaetlabukhkhl inewlaediywknkepnkarichthrphyakraelasingaewdlxmxyangimmiprasiththiphaphhruxepnkarichxyangsuyepla txngkarxangxing withiediywthicahludphncakphawawikvtniidkhuxkarich pyya hruxkhwamsamarthinkarwiekhraahaeykaeyapyhathiekidkhun khnathikhnekhaicthungthrrmchatikhwamepncringkhxngchiwitaelaekhaicxyangaecmaecngthungaenwkhidekiywkbkhwamimmitwtn aelwkhncaimyudtidxyukbtwtn khwamolphthnghlaycaimekidkhunidodyngay rupaebbkarbriophkhkhxngkhncaepliynipepnkarbriophkhephuxtxbsnxngtxkhwamepnkhnphunthanmakkwakarbriophkhephuxsnxngtxkhwamxyakthicxmplxm phrathrrmpidk 1993 21 22 dngnnkarplukfng pyya hruxkhwamsamarthinkaritrtrxngwiekhraahaeykaeyapyhaepnsingthicaepnsahrbsngkhmithyephuxkarhludcakphawawikvt praethsxun inexesiykepnechnediywkn karplukfngpyyaephuxepnphumikhumknsahrborkhthiaephrkracaycakkarekhluxnyayxyangrwderwkhxngthun karekhluxnyayxyangrwderwkhxngthunepnsaehtuaerkkhxngwikvtthithukkratuncakkhwamolphphankarecriyetibotthangesrsthkicxyangrwderwinphumiphakhni inthswrrsthiphanmakxnekidphawawikvt ochkhraythikarecriyetibotthangesrsthkicxyangrwderwmaphrxmkbkarsasmkhxngesiyaelakarthalaylangthrphyakrthrrmchatiinphumiphakhaehngnixyangchdecnthisud eratxngkaraenwthangihminkarphthnapraethsithyaelaphumiphakhexesiyhlngcakphanphneruxngirsarathnghlayipaelw phayitwithikarphthnapraethsaenwihmniphrabathsmedcphraecaxyuhwrchkalpccubn rchkalthi 9 idphrarachthanphrabrmraochwathiwinwnthi 4 thnwakhm ph s 1997 kxnwnechlimphrachnmphrrsa miickhwamdngni esrsthkicthiphxephiyngimidhmaykhwamwathukkhrweruxncatxngephaaplukxaharkinexng tdeybesuxphaichexng aethmaythunghmuban tabl catxngsrangphlphlitthiephiyngphxsahrbtxbsnxngkhwamtxngkarkhxngchumchn singthiehluxcakkhwamtxngkarsamarthnaxxkkhayihchumchnxunthimikhwamtxngkarid aetkarkhacatxngimhangiklekinipnkephuxepnkarprahydtnthuninkarkhnsng phrabrmraochwath 1997 18 txngkarxangxing phrathrrmpidk prayuthth prayuththot 1996 52 64 idesnxaenwthang esrsthsastrsahrbthangsayklang iw ody thangsayklang epnaenwkhwamkhidthisakhyinsasnaphuthth sungmikhwamhmaythicaimthaxairinhnthangthisudkhw sungsamarthepriybethiybidkb cuddulyphaph inesrsthsastrkraaeshlk tamaenwkhidkhxngphrathrrmpidk prayuthth prayuththot esrsthsastrthangsayklanghmaythungkarbriophkhaetphxpraman sungepncudthidithisudthicathaihbrrlu khunphaphchiwit mikhwamsukhmakthisudaelamikhwamthukkhnxythisud karbriophkhaetphxpramancatxngthaihekidkhunphayitenguxnikhkhxngkarimebiydebiyntnexngaelaphuxun hruxxiknyhnungkarbriophkhcatxngimkxihekidphlthiepnptipkskbrabbniewswithyaaenwkhwamkhidthiidrbkarchiaenacakphrabathsmedcphraecaxyuhwaelaphrathrrmpidk prayuthth prayuththot epnephiyngtwxyangkarnaexaesrsthsastrechingphuththekhamaprayuktichsahrbepnaenwthangihminkarphthnapraethsephuxihhludphnxxkcakphawawikvtiinpccubnaelaepnkarpxngknwikvtkarnthangesrsthkicthixaccaekidkhuninxnakht thicringaelwaenwkhwamkhidbangxyangidekhynamathdlxngichinpraethsithyepnrayaewlakwathswrrsmaaelw odyechphaainhmuekstrkrrayyxy rupaebbkhxngirnathangniewsn echn irnaswnphsm pachumchn l idnamathdlxngichinhmubanhlayaehnginpraethsithy Puntasen 1996a 85 91 aela Puntasen 1996b 279 txngkarxangxing sungihphlepnthinaphxic chawnacanwnmakthithaekstrkrrmrabbniewsinchwngthswrrsthiphanmaniaethbcaimidrbphlkrathbcakwivtkarnthangesrsthkickhrngniely thicringaelwchawnaswnihyehlannrusukdikhundwysacakkarthienginbathesuxmkhalnginkhnathixtraenginefxyngxyukhngthi thaihrayidthiaethcringkhxngekhasungkhuncakrakhaphlphlitthangkarekstrthisungkhun inkhnathitnthunyngimepliynaeplngenuxngcakswnihyimidichpuyhruxphlitphnththangekhmixun ephuxephimphlphlitkickrrmxun thiekidkhunhlngmankhxngwikvtkarnthangesrsthkic echn klumxxmthrphythikhyaytwxyangrwderw klumekhrdityueniynaelaekhruxkhay epntn kickrrmehlanikhyaytwephimkhunxyangrwderwinchwngthswrrsthiphanmani bangklumerimkhundwykickrrmelk aelarierimkhunodysmachikinchumchnthitxngkarxxmenginswnekinkhxngchawbankhnlaelklanxyechn khnla 10 bathtxeduxntxkhrxbkhrw sungepnkhwamrbphidchxbkhxngkhrxbkhrwthicatxngxxmenginkhxngtwexng cudprasngkhhlkkhxngkickrrmehlanikhuxtxngkarkratunihchawbanmarwmtwknephuxaelkepliynkhwamkhidehnekiywkbpyhatang thichawbanephchiyxyuaelahathangaekpyhaknexng emuxewlaphaniprayahnungcanwnenginthichawbanchwyknxxmkhnlaelklanxyidephimthwikhun smachikkhxngklumsungtangruckknepnxyangdiaelatangkekhyphudkhuyaelkepliynkhwamehnsungknaelaknmaaelw okhrngkarthimipraoychnhlayokhrngkartangidrbkarphicarnaxyangthithwnmaaelwepnxyangdi khrnaelwkthungewlathicaihenginkuaekokhrngkarthiepnpraoychnmakthisud okhrngkarhlayokhrngkarprasbphlsaercepnxyangdi klumxxmthrphyhlayklumodyechphaainphakhit mienginxxmmakkwa 10 lanbath aelabangklummimakkwa 50 lanbath sungpccubnpramankarnwamienginxxmkhxngklumxxmthrphytang inchumchnaelaklumekhrdityueniynrwmknthwpraethspraman 3 000 lanbath sungemuxepriybethiybkhnadkhxngenginthunkhxngklumxxmthrphyehlanikbprimanengininwikvtkarnthangesrsthkicsungpramankarnwamicanwnkwa 4 lanlanbath nbwaepncanwnthinxymak aetenginxxmehlanikepntwaethnkhxngkrabwnkarthdsxbphakhptibtikhxngkarphthnaesrsthkicaenwihmchdecnthisud skyphaphkhxngklumxxmthrphyaelaekhruxkhayihyotmak cnthungpccubnni rayngankarphidsyyakarichkhunenginkuminxymak rabbdaeninkarxyangmiprasiththiphlaelaprahyd tnthuninkardaeninkarmiephiyngelknxyemuxepriybethiybkbenginthunkhxngklum tnthuninkardaeninnganthiekidkhunmiephiynghnunghruxsxngkhrngtxeduxn khaaernghruxkhacangphuptibtingankhxngklumimidsungipkwakhacangintlad rabbthnghmdtngxyubnkhwamechuxthuxsungknaelakn klumxxmthrphyhlayklumerimihkhwamchwyehluxkhaichcaytang ephuxepnswsdikarsngkhmaeksmachik echn khachapnkicsph enginchwyehluxkarsuksabangswn aelaswsdikarelk nxy aekphusungxayu erasamarthcintnakaridwakarkhyaytwxyangrwderwkhxngklumxxmthrphyaelaekhruxkhayni rwmthngrabbesrsthkicaebbphungphatnexngkhxnghmubanaelatablsungphrarachthankhaaenanaodyphrabathsmedcphraecaxyuhw thaihkhwamcaepninkarphungphingenginthuncaktangpraethsinxnakhtldnxylng xyangirktamkardaeninkarxyangthiklawmaaelwkhangtncatxngtngxyuinkrxbkhxng esrsthsastraebbsayklang hrux phuththesrsthsastr sungkarbriophkhcatxngimepnptipkstxkhwamsukhkhxngpceckbukhkhlhrux khunphaphchiwit hruxkrathbtxrabbniewswithya nikhuxwithikarphthnaaelayuththsastrthiepnipidinkarldkhwamrunaerngkhxngwikvtkarnthangesrsthkic khwamtxngkarephiyngxyangediywinkrabwnkarphthnanikhux withikarmxngchiwitsungmikhwamsmphnthkbkdthrrmchatixyangaenbaennaelaodykhwamekhaicxyangchdecn aelakhwamtngicthicaichchiwitxyangmikhwamsukhaelamistipyyaihsxdkhlxngkbkdthrrmchatinibthsrup aekikhwikvtkarnthangesrsthkickhxngpraethsithyaelapraethsxun inexechiyxacmxngidwaepnoxkassahrbwithikarphthnainthisthangihmmakkwaepnkarkhukkhamcakkhwamesuxmthxykhxngrabbesrsthkic wikvtkarnnaipsupraednwikvtthangdankarwiekhraah esrsthsastrsmyihmnamasungkhwamchwraydngthiklawmaaelwechn thunniym xutsahkrrmniym briophkhniymaelakarepliynbthbathxyangrwderwkhxngengintra sungerngeraihmikarsrangkhwamolphkhuncak khwamruimethathninkdthrrmchatichxngkhwamimmitwtnaelakdthrrmchatixun phayinkhxbekhtkhxngesrsthsastrkraaeshlk khwamimrunithuksngesrimodyaenwkhwamkhidthikhlumekhruxekiywkbxrrthpraoychn sungimidrbkarsuksaaelathakhwamekhaicxyangluksungephiyngphxodynkesrsthsastrklumni txngkarxangxing aenwkhwamkhidthukxthibayxyanghyab thiihthukkhnmikhwamsukhkbkarbriophkh karbriophkhsinkha aelabrikar caxyuphayitkhxbekhtkhxngngbpramanthicakd aelaimmikarepriybethiybkhwamphungphxicrahwangbukhkhl odyehtuni khwamkhidekiywkb prasiththiphaph inkarbriophkhcungimmikhwamhmayxyangephiyngphxtxkarotaeynginkrxbkhxngesrsthsastrkraaeshlk aenwkhwamkhidekiywkbtnthunkhxngthrphyakrthiichinkarbriophkhkimmiehtuphlyangephiyngphxthicaphudthung dngnnkarxphiprayekiywkbprasiththiphaphodyrwmcungirkhwamhmay echnediywknkbkarxphipraythungprasiththiphaphinkarphlitphuththesrsthsastrsamarthcdkarkbpyhanixyangidphl txngkarxangxing odyphanthangaenwkhidekiywkbkhwamsukhhruxkarthaihmithukkhnxythisud aethnthicathaihekidxrrthproychnsungsud inebuxngtnkarxthibayekiywkbthukkhwaepnphawakhdaeyngkbkdthrrmchatikhxngkarepliynaeplngaelakhwamimxyuning ephuxthicaekhaicihchdecncatxngtrahnkthungkhwamimmitwtnaelakdthrrmchatixun aenwkhwamkhidninaipsukarxphipraythungkhwamcaepnkhnphunthan sungkhux thukkhinradbaerk sungcatxngtxbsnxngodykhwamcaepnkhnphunthan aetthukkhinradbthisxng ekidkhuncakkhwamtxngkarhruxkhwamxyakcxmplxm khwamphyayamthicasrangkhwamphungphxicthaihekidkhwamxyaksungthukkratunodykhwamchwraysmyihm 4 prakar odyechphaaxyangying lththibriophkhniymaelaengintra withikarkhxngchawphuththinkarrangbkhwamxyakxncxmplxmehlaniodyphankarrbruinaenwkhwamkhidekiywkb twtn waepnsinglwngta ephuxihkhwamthayanxyakehlanildlng esrsthsastrthangsayklang txngidrbkartrahnkihchdecnwaaenwkhidnimiehtumiphlephiyngphx aelwcungerimtnphthnaesrsthkicaebbphungtnexng sunginpraethsithyiderimkhunmaaelwinbangphunthikhxngpraeths khlaykbepnkarsathitodykarthaekstrkrrmechingniewsninirnakhnadelkaelaklumxxmthrphy wikvtkarnthangesrsthkickhxngpraethsithypccubnsamarthklawidwaekidcakkarbriharthangesrsthkicthiphidphlad ikhrklaw odyechphaaxyangyingthnakharaehngpraethsithydngthiidklawmaaelwinkrxbkarwiekhraahkxnhnani xyangirktaminradbnanachatithikarekhluxnyaykhxngenginthunepnipxyangrwderw wikvtkarncatxngekidkhunxyangaennxnimrupaebbidkaebbhnung cakkarichthrphyakrxyangfumefuxy cakkhwamxxnaexkhxngrabbesrsthkic cakkhwamimmnkhngaelakhwamxxnihwkhxngrabbesrsthkickhnadelksungidrbenginthuncaktangpraeths thrrmchatikhxngwikvtkarnkhrngnithaihekidkhathamthicringcngekiywkbkhwamyngyunimechphaaaetinpraethsithyethannaetkbpraethsexesiyxun thnghmdxangxing aekikhxphichy phnthesn phuththesrsthsastr wiwthnakar thvsdi aelakarprayuktkbesrsthsastrsakhatang sankphimphxmrinthrekhathungcak https th wikipedia org w index php title phuththesrsthsastr amp oldid 5882730, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม