fbpx
วิกิพีเดีย

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง

สาเหตุเบื้องต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง คือ ความตึงเครียดเกี่ยวกับชาตินิยม ประเด็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข และความไม่พอใจอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสมัยระหว่างสงครามในทวีปยุโรป รวมทั้งผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ลงเอยด้วยการปะทุของสงคราม ซึ่งมักเป็นที่เข้าใจว่าเป็นการบุกครองโปแลนด์ โดยนาซีเยอรมนี ความก้าวร้าวทางทหารนี้เป็นผลมาจากการตัดสินใจของผู้นำของเยอรมนีและญี่ปุ่น สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้นจากการปฏิบัติอันก้าวร้าวและบรรจบกับการประกาศสงคราม หรือการต่อต้านด้วยกำลัง

เบนิโต มุสโสลินีกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สองผู้นำเผด็จการในทวีปยุโรปก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

อุดมการณ์ ลัทธิ และปรัชญา

การต่อต้านคอมมิวนิสต์

ดูบทความหลักที่: การต่อต้านคอมมิวนิสต์
 
สัญลักษณ์ค้อนเคียวของคอมมิวนิสต์

พรรคบอลเชวิค ซึ่งมีแนวคิดไม่ถือชาติและหัวรุนแรง ก้าวขึ้นสู่อำนาจในรัสเซีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ซึ่งหลังจากนั้น ได้มีความพยายามที่จะสนับสนุนให้มีการจัดตั้งการปกครองที่คล้ายคลึงกันในบริเวณอื่นของโลก ซึ่งประสบความสำเร็จในฮังการีและบาวาเรีย การกระทำดังกล่าวนำมาซึ่งความกลัวต่อการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ในหลายชาติยุโรปตะวันตก ยุโรปกลาง และทวีปอเมริกา ในปี ค.ศ. 1919 ฝ่ายไตรภาคีถึงกับตั้งรัฐพรมแดนขึ้นประชิดชายแดนด้านตะวันตกของรัสเซีย โดยหวังว่าจะสามารถจำกัดคอมมิวนิสต์ไม่ให้แพร่ขยายออกมาจากรัสเซีย

ในเยอรมนีและอิตาลี ความเฟื่องฟูของฟาสซิสต์เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองของประเทศเหล่านั้น ทั้งฟาสซิสต์ในอิตาลีและเยอรมนีต่างก็เป็นส่วนหนึ่งในปฏิกิริยาตอบโต้การจลาจลของคอมมิวนิสต์และพวกสังคมนิยม กลุ่มเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายขวาและพวกทุนนิยม เนื่องจากว่าเป็นขบวนการซึ่งทั้งสองต่างก็อาศัยชนชั้นแรงงานและแยกพวกเขาออกจากลัทธิมากซ์ ปัจจัยเพิ่มเติมในเยอรมนีคือความสำเร็จของพวกไฟรคอร์ฝ่ายขวา ในการทำลายสาธารณรัฐบาวาเรียนโซเวียต ในมิวนิก ปี ค.ศ. 1919 ทหารผ่านศึกจำนวนมากเหล่านี้กลายมาเป็นส่วนประกอบของหน่วยเอสเอของพรรคนาซี ซึ่งถูกใช้เป็นกองกำลังของพรรคในการสู้รบตามท้องถนนกับชาวบ้านคอมมิวนิสต์ติดอาวุธในช่วงทศวรรษก่อนหน้า ค.ศ. 1933 ความรุนแรงตามท้องถนนจะช่วยเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นอนุรักษนิยมสายกลางไปเป็นผู้นำอำนาจนิยมซึ่งต่อต้านคอมมิวนิสต์ ตามความต้องการของเยอรมนี เพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพของวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้

แผนการเอาใจเยอรมนีของพันธมิตรตะวันตก

ดูเพิ่มที่ การเอาใจฮิตเลอร์

สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสนั้นได้ดำเนินแผนการของตนเพื่อเอาใจฝ่ายเยอรมนีในตอนปลายทศวรรษ 1930 ภายใต้แผนการการเอาใจฮิตเลอร์ เยอรมนีนั้นได้รับข้อเสนอว่าตนจะสามารถขยายพื้นที่ของตนไปทางทิศตะวันออกได้โดยไม่ต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งจากทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส แต่เหตุการณ์ดังกล่าวได้เพิ่มความทะเยอทะยานของเขาและหลังจากนั้นก็ได้เริ่มแผนการต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่สงครามในไม่ช้า

การล่าอาณานิคมใหม่

ดูบทความหลักที่: เลเบินส์เราม์
 
การขยายตัวของจักรวรรดิญี่ปุ่น

การล่าอาณานิคม คือ หลักการการผนวกดินแดนหรืออำนาจทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องใช้กำลังทหารเข้าช่วย ในอิตาลี เบนิโต มุสโสลินีนั้นมีความต้องการที่จะสร้างจักรวรรดิโรมันใหม่ขึ้นรอบ ๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กองทัพอิตาลีได้โจมตีแอลเบเนีย เมื่อต้นปี 1939 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของสงคราม และต่อมาก็กรีซ ก่อนหน้านั้น เขาได้ออกคำสั่งให้โจมตีเอธิโอเปีย เมื่อปี 1935 มาก่อนแล้ว แต่ว่าการกระทำดังกล่าวนี้ ได้รับการตอบสนองน้อยมากจากสันนิบาตชาติและฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยการสร้างอาณาจักรของเขานั้นจะเกิดขึ้นระหว่างช่วงที่ผู้คนไม่ปรารถนาสงคราม และช่วงเศรษฐกิจตกต่ำของโลกในช่วงทศวรรษ 1930 ทางด้านเยอรมนีนั้นก็ได้เข้ามาช่วยเหลืออิตาลีหลายครั้ง อิตาลีนั้นได้รับความขมขื่นจากดินแดนเพียงน้อยนิดซึ่งได้รับหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ระหว่างการประชุมที่เมืองแวร์ซาย อิตาลีนั้นหวังจะได้ดินแดนจำนวนมากจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี แต่กลับได้เพียงดินแดนสองสามเมืองเท่านั้น และคำสัญญาที่ขออัลเบเนียและเอเชียไมเนอร์ก็ถูกผู้นำฝ่ายพันธมิตรอื่น ๆ ละเลย

ทางด้านเยอรมนี หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมนีต้องสูญเสียดินแดนให้แก่ลิทัวเนีย ฝรั่งเศส โปแลนด์ และเดนมาร์ก โดยดินแดนที่เสียไปที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ ฉนวนโปแลนด์ นครเสรีดานซิก แคว้นมาเมล (รวมกับลิทัวเนีย) มณฑลโปเซน และแคว้นอาลซัส-ลอแรนของฝรั่งเศส และดินแดนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุด คือ แคว้นซิลิเซียตอนบน ส่วนดินแดนที่มีค่าทางเศรษฐกิจอีกสองแห่ง คือ ซาร์แลนด์และไรน์แลนด์ นั้นอยู่ใต้การยึดครองของฝรั่งเศส และดินแดนที่ถูกฉีกออกไปจำนวนมากนี้ คนที่ไม่ใช่ชาวเยอรมันก็เข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก

ผลของการสูญเสียดินแดนดังกล่าวก่อให้เกิดความขมขื่นแก่ชาวเยอรมัน และมีความสัมพันธ์อันเลวร้ายกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้การปกครองของพรรคนาซี เยอรมนีก็เริ่มต้นการแสวงหาดินแดนเพิ่มเติม ตั้งใจที่จะฟื้นฟูดินแดนอันชอบธรรมของจักรวรรดิเยอรมนี โดยที่สำคัญก็คือ แคว้นไรน์แลนด์และฉนวนโปแลนด์ ซึ่งอาจจะนำไปสู่สงครามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับโปแลนด์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเอาใจของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ฮิตเลอร์มั่นใจได้ว่าสงครามกับโปแลนด์จะราบรื่นไปด้วยดี และถึงแม้จะแย่กว่านั้น ก็เพียงแค่เจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรเท่านั้น

นอกจากนี้ ฮิตเลอร์ยังมีแนวคิดที่จะสร้างเยอรมนีอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเขาเห็นว่าประชาชนเยอรมันควรที่จะรวมกันเป็นชาติเดียวกัน และรวมไปถึงแผ่นดินที่ชาวเยอรมันได้อาศัยอยู่นั้น โดยในตอนแรก ฮิตเลอร์ได้เพ่งเล็งไปยังออสเตรียและเชโกสโลวาเกีย หลังจากสนธิสัญญาแวร์ซาย เยอรมนีพยายามที่จะรวมตัวกับออสเตรีย แต่ก็ถูกห้ามปรามโดยฝ่ายพันธมิตร เพราะว่าในอดีต ก็เคยมีการรวมตัวเป็นรัฐเยอรมนีในปี 1871 มาก่อน เนื่องจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีประกอบด้วยหลายเชื้อชาติ ดังที่เห็นได้จากปรัสเซียและออสเตรียแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ในทวีป ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ชาวออสเตรียส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยที่จะสร้างสหภาพดังกล่าวขึ้น

ด้านสหภาพโซเวียตได้สูญเสียพื้นที่จำนวนมากจากดินแดนของจักรวรรดิรัสเซียเดิม โดยสูญเสียโปแลนด์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนียและโรมาเนีย ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามกลางเมืองรัสเซีย รวมไปถึงดินแดนบางส่วนซึ่งสูญเสียให้แก่ญี่ปุ่น และสหภาพโซเวียตมีความต้องการอย่างยิ่งที่จะเอาดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดกลับคืน

ฮังการี ซึ่งเคยเป็นพันธมิตรของเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ถูกฉีกออกไปเป็นดินแดนจำนวนมหาศาล หลังจากที่ฝ่ายพันธมิตรตัดแบ่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเดิม แต่ว่าฮังการียังคงต้องการที่จะคงความเป็นมิตรต่อกันกับเยอรมนี โดยในช่วงนี้แนวคิดฮังการีอันยิ่งใหญ่ กำลังได้รับความสนับสนุนในหมู่ชาวฮังการี

โรมาเนีย ซึ่งเป็นฝ่ายพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเป็นผู้ชนะสงคราม กลับรู้สึกว่าตนจะเป็นฝ่ายที่สูญเสียผลประโยชน์ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง จากผลของสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้โรมาเนียต้องสูญเสียดินแดนทางทิศเหนือให้แก่สหภาพโซเวียต รางวัลเวียนนาครั้งที่สอง ทำให้โรมาเนียต้องยกแคว้นทรานซิลวาเนียตอนบนให้แก่ฮังการี และสนธิสัญญาเมืองคราโจวา โรมาเนียต้องยกแคว้นโดบรูจากให้แก่บัลแกเรีย ในโรมาเนียเองก็มีแนวคิดโรมาเนียอันยิ่งใหญ่ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะรวมตัวกับนาซีเยอรมนี

บัลแกเรีย ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้สูญเสียดินแดนให้แก่กรีซ โรมาเนียและยูโกสลาเวีย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและในสงครามคาบสมุทรบอลข่านครั้งที่สอง

ฟินแลนด์ ซึ่งสูญเสียดินแดนให้แก่สหภาพโซเวียตในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง (สงครามฤดูหนาว) ดังนั้นเมื่อเยอรมนีโจมตีสหภาพโซเวียตในปี 1941 ฟินแลนด์จึงเข้าร่วมกับเยอรมนี ด้วยหวังว่าตนจะได้รับดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดกลับคืนมา

ในทวีปเอเชีย จักรวรรดิญี่ปุ่นนั้นมีความต้องการที่จะยึดครองดินแดนเพิ่มเติม เนื่องจากว่าภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ญี่ปุ่นได้รับดินแดนเพียงน้อยนิด ถึงแม้ว่าจะได้รับอาณานิคมเดิมของเยอรมนีในจีน และหมู่เกาะอีกจำนวนหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิกแล้วก็ตาม รวมไปถึงป่าสนไซบีเรีย และเมืองท่าของรัสเซีย วลาดีวอสตอค ญี่ปุ่นนั้นไม่ได้มีความต้องการดินแดนเหล่านี้เลย ยกเว้นหมู่เกาะที่ตนเองตีได้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

และประเทศไทย ซึ่งเสียดินแดนกว่าครึ่งประเทศให้แก่ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีความต้องการทวงดินแดนคืนเช่นกัน

ในหลายกรณี แนวคิดการล่าอาณานิคมได้นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีเป้าหมายไปในทางชาตินิยมในการรวมเอาดินแดนดั้งเดิมของตนคืน หรือวาดฝันถึงแผ่นดินอันยิ่งใหญ่ในวันข้างหน้า

ฟาสซิสต์

ดูบทความหลักที่: ฟาสซิสต์

ฟาสซิสต์ คือ แนวคิดทางการเมืองที่รัฐบาลจะมีการออกกฎข้อบังคับและการควบคุมทางเศรษฐกิจของประเทศ มีความแข็งแกร่ง และรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ประชาชนไม่มีสิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับประเทศอย่างเด็ดขาด ปกครองโดยผู้เผด็จการ และมีแนวคิดเกี่ยวกับชาตินิยมอย่างแรงกล้า ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง หลายประเทศในทวีปยุโรปอยู่ภายใต้การปกครองด้วยฟาสซิสต์ ซึ่งสรุปแนวทางการปกครองได้ว่า การปกครองที่ดีคือการควบคุมประชาชนและอุตสาหกรรมของประเทศ

ฟาสซิสต์ได้มองกองทัพว่าเป็นสัญลักษณ์ของปวงชน ซึ่งประชาชนควรจะเอาเป็นเยี่ยงอย่าง หลายประเทศฟาสซิสต์จึงมีนักการทหารเป็นจำนวนมาก และการให้ความสำคัญแก่วีรบุรุษนี่เองที่เป็นอุดมคติของฟาสซิสต์ ในหนังสือ The Doctrine of Fascism ซึ่งเขียนโดยเบนิโต มุสโสลินี เขาประกาศว่า "ฟาสซิสต์ไม่ได้มีความเชื่อในความเป็นไปได้และประโยชน์ใด ๆ ในสันติภาพนิรันดรแต่อย่างใด" ฟาสซิสต์เชื่อว่าสงครามจะเป็นการทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ และเริ่มเสาะแสวงหาสงคราม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการุรกรานประเทศจากฝ่ายอักษะ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ลัทธิโดดเดี่ยว

ดูบทความหลักที่: ลัทธิโดดเดี่ยว

สหรัฐอเมริกาได้มีแนวคิดที่จะโดดเดี่ยวทางการเมืองกับประเทศภายนอกช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยที่สหรัฐอเมริกาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ในซีกโลกตะวันตกและมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น สหรัฐอเมริกาตัดสินใจที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในทวีปยุโรป แต่ว่ายังคงมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แนบแน่น

ความรู้สึกของประชาชนในอังกฤษและฝรั่งเศสก็มีแนวคิดที่จะโดดเดี่ยวเช่นกัน และเบื่อหน่ายสงคราม นายเนวิล เชมเบอร์ลิน กล่าวถึงเชโกสโลวะเกียว่า: "โอ้ ช่างเลวร้ายและมหัศจรรย์เหลือเกินที่เราชาวอังกฤษไปขุดสนามเพลาะและพยายามใส่หน้ากากกันก๊าซพิษที่นั่น เพราะว่าความขัดแย้งอยู่ไกลจากตัวเรานัก ระหว่างคนสองจำพวกที่เราไม่รู้จัก ข้าพเจ้านั้นเป็นบุคคลแห่งสันติภาพมาจากส่วนลึกของวิญญาณของข้าพเจ้า" ภายในไม่กี่ปี โลกก็เข้าสู่สงครามเบ็ดเสร็จ

ลัทธินิยมทหาร

ความนิยมทางการทหารของผู้นำเยอรมนี ญี่ปุ่นและอิตาลี ได้นำไปสู่ความก้าวร้าวรุนแรง ประกอบกับที่กองทัพของทั้งสามประเทศนั้นถูกประเทศอื่นมองข้ามไป ดังที่เห็นได้จาก เยอรมนีประกาศเกณฑ์ทหารอีกครั้งในปี 1935 ด้วยเป้าหมายที่จะสร้างกำลังทหารขึ้นมาใหม่ และเป็นการขัดต่อสนธิสัญญาแวร์ซาย

ลัทธิชาตินิยม

ลัทธิชาตินิยม มีความเชื่อว่า คนชาติพันธุ์เดียวกันควรจะอยู่รวมกันทั้งในดินแดนเดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกันและอยู่ร่วมกันทางมนุษยชาติ ผู้นำของเยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่นมักจะใช้แนวคิดดังกล่าวเพื่อให้ได้รับแรงสนับสนุนจากปวงชนในประเทศ ลัทธิฟาสซิสต์นั้นตั้งอยู่บนรากฐานของลัทธิชาตินิยม และคอยมองหา "รัฐชาติ" ที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวกัน ฮิตเลอร์และพรรคนาซีนำลัทธิชาตินิยมไปในเยอรมนี ซึ่งประชาชนเยอรมันได้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า ในอิตาลี แนวคิดที่จะสร้างจักรวรรดิโรมันใหม่ขึ้นมาได้ดึงดูดชาวอิตาลีจำนวนมาก และในญี่ปุ่น ด้วยความทระนงในหน้าที่และเกียรติยศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์จักรพรรดิ ได้ถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่นมาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว

ลัทธิการแบ่งแยกเชื้อชาติ

ดูบทความหลักที่: นโยบายแบ่งแยกเชื้อชาติของพรรคนาซี

พรรคนาซีได้นำแนวคิดทางสังคมของชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้กล่าวถึงชนชาติทัวทันและชนชาติสลาฟว่าจำเป็นต้องแย่งชิงความเป็นใหญ่ และจำเป็นต้องแย่งชิงพื้นที่และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยได้กล่าวว่าชนชาติเยอรมัน คือ "เชื้อสายอารยัน" ซึ่งมีแนวคิดอย่างชัดเจนว่าชาวสลาฟต้องตกเป็นเบี้ยล่างของชาวเยอรมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิตเลอร์ได้ใช้แนวคิดการแบ่งแยกเชื้อชาติดังกล่าวเพื่อพวกที่ไม่ใช่อารยัน โดยพวกที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวอย่างร้ายแรง ก็คือ ชาวยิว ชาวโซเวียต และยังมีการกีดกันพวกรักร่วมเพศ ผู้ที่ทุพพลภาพ ผู้ที่มีอาการป่วยทางจิต ชาวยิปซี สมาคมฟรีเมสันและผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายพยานพระเยโฮวาห์

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสภาพเศรษฐกิจของโลก

สนธิสัญญาแวร์ซาย

ดูบทความหลักที่: สนธิสัญญาแวร์ซาย

สนธิสัญญาแวร์ซายมิได้ประนีประนอมให้แก่เยอรมนีแต่อย่างใด ฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้เยอรมนีกลับขึ้นมาท้าทายอำนาจในทวีปยุโรปอีกครั้ง

สนธิสัญญาแวร์ซายถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่าเป็นมลทินของสงคราม เพราะเป็นการโยนความผิดให้แก่จักรวรรดิเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเดิม และลงโทษอย่างหนักเพื่อเรียกร้องให้พวกเขารับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสงคราม โดยผู้ชนะสงครามได้หวังว่าสนธิสัญญานี้จะได้กลายเป็นสิ่งที่สามารถธำรงสันติภาพให้เกิดขึ้นในโลกได้ ผลที่ตามมมา คือ เยอรมนีจำเป็นต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนมหาศาล การสูญเสียดินแดนอาณานิคมทั้งหมด การจัดระเบียบทางเชื้อชาติขนานใหญ่ หลังจากนั้น เศรษฐกิจเยอรมันก็ร่วงดิ่งลงไปอย่างหนัก อัตราเงินเฟ้อสูงลิบ สาธารณรัฐไวมาร์จำเป็นต้องพิมพ์ธนบัตรกว่าล้านล้านฉบับออกมาและต้องกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลจากสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้หนี้แก่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สนธิสัญญาแวร์วายนั้นก่อให้เกิดความขมขื่นแก่ประชาชนผู้แพ้สงคราม แม้ว่าฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงครามจะให้สัญญาแก่ประชาชนชาวเยอรมันว่าแนวทาง หลักการสิบสี่ข้อ ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา วูดโรว์ วิลสัน จะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่สันติภาพ ชาวเยอรมันส่วนมากเข้าใจว่ารัฐบาลเยอรมันได้ตกลงในสนธิสัญญาสงบศึกตามความเข้าใจนี้ ขณะที่ส่วนอื่นได้เข้าใจว่า การปฏิวัติเยอรมนี ได้ถูกก่อขึ้นโดย "กลุ่มอาชญากรเดือนพฤศจิกายน" ผู้ซึ่งต่อมาในมีตำแหน่งในสภาของสาธารณรัฐไวมาร์ วิลสันนั้นไม่สามารถเชิญชวนให้ฝ่ายพันธมิตรยอมปฏิบัติตามข้อเสนอของเขา และไม่สามารถชักจูงให้รัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาให้ลงมติยอมเข้าร่วมกับสันนิบาตชาติ

ฝ่ายพันธมิตรมิได้ครอบครองส่วนใด ๆ ของเยอรมนี แม้ว่าจะมีการรบในแนวรบด้านตะวันตกมาเป็นเวลาหลายปี มีเพียงแต่อาณานิคมโพ้นทะเลของเยอรมนีเท่านั้นที่ถูกยึดครอง และอิตาลีก็ได้แคว้นทีรอลตอนใต้ไปหลังจากการเจรจาเริ่มต้น สงครามในแนวรบด้านตะวันออกทำให้จักรวรรดิรัสเซียล่มสลาย และทำให้เยอรมนีได้รับดินแดนมหาศาลทางยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก

ยังมีผู้ที่มองสนธิสัญญาแวร์ซายตรงกันข้ามว่าสนธิสัญญาดังกล่าวไม่ได้ทำให้เยอรมนีต้องประสบกับความยากลำบากมากแต่ประการใด เพราะว่าเยอรมนียังคงสามารถกลับมาเป็นชาติมหาอำนาจที่คอยท้าทายมหาอำนาจตะวันตกอีกครั้ง ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของฝ่ายพันธมิตร อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้ผลของสนธิสัญญาแวร์ซายไม่กระจ่างชัด โดยเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุด คือ การแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ และสนธิสัญญาแวร์ซายก็เป็นหนึ่งในตัวการของการขึ้นสู่อำนาจของพรรคนาซี

การแข่งขันทางเศรษฐกิจ

 
แผนที่โลกปี 1900 ซึ่งชาติตะวันตกแสวงหาอาณานิคมของโลก

นอกจากทรัพยากรถ่านหินและเหล็กในปริมาณน้อยนิด ญี่ปุ่นนับได้ว่าเป็นประเทศที่ขาดแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ญี่ปุ่นในสมัยนั้น เป็นเพียงประเทศเดียวในทวีปเอเชียซึ่งมีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมจนทัดเทียมประเทศตะวันตก เกรงว่าตนจะขาดแคลนวัตถุดิบเพื่อเตรียมการทำสงครามกับสหภาพโซเวียต ญี่ปุ่นนั้นได้วางเป้าหมายโดยการเสาะแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มเติม ญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรีย ในปี ค.ศ. 1931 เพื่อนำวัตถุดิบไปป้อนให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมของตนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พวกชาตินิยมจีนทางตอนใต้ของแมนจูเรียได้พยายามขับไล่กองทัพญี่ปุ่นออกไป สงครามครั้งนี้กินเวลาไปสามเดือนและสามารถผลักดันกองทัพจีนลงมไปทางใต้ แต่ว่าเมื่อวัตถุดิบที่ได้รับในแคว้นแมนจูเรียก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นจึงวางแผนที่จะเสาะหาวัตถุดิบเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ทรัพยากรน้ำมัน

เพื่อที่จะเยียวยาความเสียหายดังกล่าวและเพื่อเป็นการรักษาแหล่งทรัพยากรน้ำมันและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ อาจทำให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ซึ่งยังครอบครองแหล่งน้ำมันอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ โดยการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการล่าอาณานิคมของตะวันตกอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกาได้ เมื่อเดือนสิงหาคม 1941 สหรัฐอเมริกาซึ่งนำเข้าน้ำมันจากญี่ปุ่นเป็นจำนวนกว่า 80% ได้ประกาศคว่ำบาตรทางการค้า ทำให้เศรษฐกิจและกำลังทหารของญี่ปุ่นกลายเป็นอัมพาต ญี่ปุ่นมีทางเลือก คือ ยอมเอาใจสหรัฐอเมริกา เจรจาประนีประนอม หาแหล่งทรัพยากรอื่นหรือใช้กำลังทหารเข้ายึดแหล่งทรัพยากรตามแผนการเดิม ญี่ปุ่นได้ตกลงใจเลือกทางเลือกสุดท้าย และหวังว่ากองกำลังของตนจะสามารถทำลายสหรัฐอเมริกาได้นานพอที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เดิม ดังนั้นญี่ปุ่นจึงโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ล ฮาเบอร์ ในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ซึ่งได้กลายมาเป็นความผิดพลาดใหญ่หลวงของญี่ปุ่น

สันนิบาตชาติ

ดูบทความหลักที่: สันนิบาตชาติ

สันนิบาตชาติ คือ องค์การระหว่างประเทศซึ่งจัดตั้งขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพื่อป้องกันสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แนวทางปฏิบัติของสันนิบาตชาติ คือ การจำกัดอาวุธ โดยใช้หลักการ ความมั่นคงส่วนรวม การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยการเจรจาทางการทูตและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรโลก ปรัชญาทางการทูตของสันนิบาตชาติได้แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของรากเหง้าทางความคิดกว่า 100 ปีก่อนหน้านี้ ปรัชญาเก่า ได้เริ่มขึ้นจาก การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา ในปี ค.ศ. 1815 ซึ่งทวีปยุโรปได้มีการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตในหลายประเทศ และทำให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจและข้อตกลงลับระหว่างพรรคพวก ภายใต้ปรัชญาใหม่ สันนิบาตชาติ คือ รัฐบาลที่ปกครองรัฐบาล เพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างประเทศในการเปิดกระทู้ถาม แรงกระตุ้นที่ทำให้เกิดสันนิบาตชาติ คือ ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมิได้เข้าร่วมก็ตาม เหตุการณ์ซึ่งตามมาภายหลังได้ให้บทเรียนแก่สมาชิกของสันนิบาตชาติว่าการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและอำนาจทางทหารจะมีอำนาจเหนือกว่าความต้องการของสันนิบาติชาติ

สันนิบาตชาติมีกำลังทหารไม่เพียงพอ ต้องขึ้นอยู่กับความตั้งใจของสมาชิกสันนิบาตชาติ การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจซึ่งทางสันนิบาตสั่งให้ทำ หรือเพิ่มเติมกำลังทหารให้แก่สันนิบาต ซึ่งส่วนใหญ่สมาชิกไม่เต็มใจที่จะทำ

หลังจากความสำเร็จจำนวนมากและความล้มเหลวเพียงเล็กน้อยของสันนิบาตชาติในช่วงคริสต์ทษวรรษ 1920 สันนิบาตชาติก็ไม่อาจป้องกันความรุนแรงของมหาอำนาจอักษะ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ได้เลย เนื่องจากสหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ ความเป็นหนึ่งเดียวกัน ความอ่อนแอของกองทัพและความเห็นแก่ตัวซึ่งยังคงดำเนินต่อไปนั้นหมายความว่าสันนิบาตชาติย่อมถึงคราวล่มสลาย

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

สืบเนื่องมาจากตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กของสหรัฐอเมริกาล่มในปี ค.ศ. 1929 ได้ก่อให้เกิดผลกระทบทั่วทั้งโลก กลุ่มประเทศในทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เยอรมนี ได้รับผลกระทบอย่างมาก ซึ่งได้นำไปสู่การตกงาน ความยากจนและการก่อจลาจลไม่สิ้นสุด และความรู้สึกหมดหวัง ก็ได้ทำให้ในเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รับการเลือกตั้งอย่างถล่มถลายและขึ้นสู่อำนาจในเยอรมนี รวมไปถึงผู้นำเผด็จการอื่น ๆ ในสมัยนั้น

สงครามกลางเมืองยุโรป

ดูบทความหลักที่: สงครามกลางเมืองยุโรป

โรงเรียนบางแห่งได้อธิบายถึงสงครามโลกครั้งที่สองว่าเป็นการทำให้สงครามกลางเมืองยุโรปขยายวงกว้างขึ้นนับตั้งแต่สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 ซึ่งได้ก่อให้เกิดผลกระทบแก่ทวีปยุโรปไม่มากก็น้อย รวมไปถึง สงครามกลางเมืองสเปนและสงครามกลางเมืองรัสเซีย

ชนวนเหตุที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง

ดูบทความหลักที่: ชนวนเหตุที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

ดูบทความหลักที่: สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียเริ่มต้นขึ้นในสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งพระองค์ได้รับรู้ถึงภัยคุกคามที่มาจากเยอรมนีและต่อมาได้ประกาศสงคราม ช่วงเวลาดังกล่าวได้ทำให้ฝรั่งเศสอ่อนแอลงมาก และมีผลจนกระทั่งศตวรรษที่ 20

ชัยชนะของสงครามเป็นของปรัสเซียอย่างท้วมท้น และทำให้เกิด การรวมชาติเยอรมันขึ้น แคว้นอาลซัส-ลอแรนของฝรั่งเศสตกอยู่ในมือของเยอรมนี ฝรั่งเศสหวั่นเกรงมากถึงกับต้องถ่วงดุลอำนาจกับเยอรมนีโดยการแสวงหาพันธมิตรกับสหราชอาณาจักรและจักรวรรดิรัสเซีย

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ด้วยความจริงที่ว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลงด้วยการยอมแพ้ของเยอรมนีอย่างกะทันหัน หลายคนจึงอาจนับว่าสงครามโลกครั้งที่สองนั้นสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งแรก กองทัพพันธมิตรไม่ได้เหยียบแผ่นดินเยอรมนีเลยแม้แต่นายเดียว และประชาชนเยอรมันยังคาดหวังว่าสนธิสัญญาสันติภาพที่ตามมาจะยึดตามหลักเกณฑ์ของ หลักการสิบสี่ข้อ ซึ่งหมายความว่า ชาวเยอรมันนั้นโต้เถียงว่า "คนทรยศ" มิได้ยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร เยอรมนียังสามารถที่จะเอาชนะสงครามได้ แต่ว่ากลับไม่เป็นเช่นนั้น เงื่อนไขของสันติภาพนั้นคิอการลงทัณฑ์เยอรมนีให้รับผิดชอบต่อความเสียหายในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มลทินซึ่งได้ทำให้เยอรมนีกลายเป็นประเทศที่ขมขื่น ประชาชนเยอรมันจึงพยายามที่จะฟื้นฟูประเทศและหาทางล้างแค้น

 
การเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของออสเตรียหลังปี 1918

กลุ่มชาตินิยมหลายกลุ่มยังคงตกอยู่ใต้กับดักของชาติอื่น ตัวอย่างเช่น ยูโกสลาเวีย ซึ่งเดิมเป็นราชอาณาจักรชาวเซิร์บ โครแอตและสโลเวนส์ มีกลุ่มเชื้อชาติกว่า 5 เชื้อชาติ ได้แก่ พวกเซิร์บ โครแอต มาซิดอน มอนเตเนกรินส์และสโลเวนส์ ได้ถือกำเนิดขึ้นหลังจากสงคราม ตัวอย่างอื่น ได้แก่ การแยกดินแดนดั้งเดิมของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้มีการฉีกออกไปอย่างปราศจากเหตุผลอันสมควรและปราศจากความยุติธรรมภายหลังสงคราม โดยสังเกตได้จาก ฮังการีก็มีส่วนที่จะต้องรับผิดชอบต่อผลของสงครามและต้องสูญเสียดินแดนไปกว่าสองในสามส่วน ขณะที่ออสเตรีย ซึ่งเป็นประเทศเดียวกัน มีคณะรัฐบาลร่วมกัน กลับได้รับแคว้นเบอร์เกนแลนด์ แม้ว่าจะสูญเสียความซูเดนเตแลนด์ก็ตาม

ชาวเยอรมันอยู่ในภาวะลำเข็ญหลังสิ้นสุดสงคราม หลังจากสงคราม กองทัพเรือเยอรมันเริ่มกำเริบ และกองทัพบกเยอรมันก็สิ้นหวังเมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรูที่เหนือกว่าทั้งกำลังคนและอาวุธ ตามความจริงในข้อนี้ ชาวเยอรมันบางคน เช่น อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้พัฒนาแนวคิดที่ว่ากองทัพเยอรมันควรจะได้รับชัยชนะ ฮิตเลอร์ได้ใช้แนวคิดดังกล่าวในการปลุกระดมชาวเยอรมันให้เชื่อว่าถ้าหากเกิดสงครามขึ้นอีกครั้ง ฝ่ายเยอรมนีจะต้องได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน

สาธารณรัฐไวมาร์

สาธารณรัฐไวมาร์ได้ขึ้นมาปกครองประเทศเยอรมนีช่วงระหว่างปี 1918 ถึงปี 1933 ชื่อของสาธารณรัฐได้มาจากนครเยอรมัน ชื่อ ไวมาร์ ซึ่งที่ประชุมสภาแห่งชาติได้กำหนดรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมา หลังจากที่จักรวรรดิเยอรมันล่มสลายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การปกครองของสาธารณรัฐเป็นแบบประชาธิปไตยที่เคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย เหมือนกับฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา

พรรคนาซีได้พยายามใช้กำลังเพื่อยึดอำนาจจากรัฐบาลใน กบฏโรงเบียร์ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1923 แต่ก็ไม่สำเร็จ ผู้นำนาซีถูกจับกุม

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้ทำให้เกิดอัตราว่างงานกว่า 33% ในเยอรมนี และอีก 25% ในสหรัฐอเมริกา ทำให้ประชาชนให้ความสนับสนุนแก่การปกครองแบบเผด็จการ เพื่อต้องการการงานที่มั่นคงและอาหารที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้ทำลายเศรษฐกิจเยอรมนีเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ชาวเยอรมันผู้ตกงานได้สนับสนุนแนวคิดของพรรคนาซี ซึ่งเคยเสียความน่าเชื่อถือไปบ้าง เนื่องจากมีสมาชิกของพรรคที่ไม่แน่นอน เหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้ฮิตเลอร์ก้าวขึ้นสู่อำนาจในเยอรมนี และเป็นเชื้อไฟของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจธนาคารได้เข้าไปลงทุนเพื่อที่จะสร้างทวีปยุโรปขึ้นมาใหม่ แต่หลังจาก เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีทตก ค.ศ. 1929 นักลงทุนในสหรัฐอเมริกาก็เลิกการลงทุนในทวีปยุโรป

ลัทธิเผด็จการนาซี

ดูบทความหลักที่: เกลอิชซชาลทุง, นาซีเยอรมนี และ พรรคนาซี

ฮิตเลอร์ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 เขาได้ใช้เหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค (ซึ่งมีบางคนกล่าวว่าพรรคนาซีเป็นต้นเหตุเสียเอง) เป็นเหตุให้เขายกเลิกเสรีภาพของประชาชนและนักการเมืองทั้งหมด ซึ่งได้ออกประกาศโดยประธานาธิบดีเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก และรัฐบาลผสม ซึ่งมีแนวความคิดเอียงขวา นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

หลังจากการเลือกตั้งครั้งใหม่ พรรคนาซีได้ล้มล้างระบบรัฐสภา รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ และล้มล้างรัฐสภาอย่างเต็มรูปแบบผ่านรัฐบัญญัติมอบอำนาจ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ซึ่งพรรคนาซีวางแผน เกลอิชซชาลทุง และทำให้ถูกต้องตามกฎหมายในเยอรมนี ทำให้อำนาจการปกครองถูกรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง คือ พรรคนาซี ใน "คืนมีดยาว" สมาชิกพรรคนาซีได้สังหารศัตรูทางการเมืองของฮิตเลอร์ หลังจากฮินเดนเบิร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1934 ตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีตกเป็นของฮิตเลอร์ โดยไม่เกิดการต่อต้านจากผู้บัญชาการระดับสูง คำสาบานของเหล่าทหารนั้นหมายความว่า ทหารเยอรมันจะยอมเชื่อฟังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์โดยสมบูรณ์

ต่อมา ฮิตเลอร์ได้ฝ่าฝืนสนธิสัญญาแวร์ซายและสนธิสัญญาโลคาร์โน เยอรมนีได้ส่งทหารกลับเข้าประจำการในแคว้นไรน์แลนด์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1936 ซึ่งก็ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม กองทหารเยอรมันเดินทางโดยรถจักรยาน และสามารถถูกยับยั้งอย่างง่ายดายถ้าหากฝ่ายสัมพันธมิตรยกเลิกแผนการเอาใจฮิตเลอร์ ฝรั่งเศสไม่สามารถทำอะไรได้ในเวลานั้น เนื่องจากขาดเสถียรภาพทางการเมือง และอีกประการหนึ่ง คือ การส่งทหารกลับเข้าประจำการนั้นเกิดขึ้นในวันสุดสัปดาห์ และรัฐบาลอังกฤษยังไม่สามารถประชุมหารือกันได้จนกว่าจะถึงวันจันทร์ ผลที่ตามมา คือ อังกฤษก็มิได้ห้ามปรามเยอรมนีแต่อย่างใด

การบุกครองเอธิโอเปีย

เบนิโต มุสโสลินีได้พยายามขยายอาณาเขตของจักรวรรดิอิตาลีในทวีปแอฟริกาด้วยการบุกครองเอธิโอเปีย ซึ่สามารถดำรงเอกราชได้จากชาติยุโรปผู้แสวงหาอาณานิคมอื่น ๆ ในคำแก้ตัวของเหตุการณ์วอลวอล เมื่อเดือนกันยายน 1935 อิตาลีบุกครองเอธิโอเปียเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม โดยปราศจากการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ สันนิบาตชาติได้ประกาศว่าอิตาลีเป็นผู้บุกครอง แต่ก็ไม่สามารถลงโทษอิตาลีได้แต่อย่างใด

สงครามดำเนินไปอย่างเชื่องช้า แม้ว่าฝ่ายอิตาลีจะมีกำลังคนและอาวุธที่ดีกว่า (รวมไปถึง ก๊าซมัสตาร์ด) เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1936 กองทัพอิตาลีได้รับชัยชนะเด็ดขาดในสงครามที่ ยุทธการเมย์ชิว จักรพรรดิเฮลี เซลาสซี ได้หลบหนีออกนอกประเทศเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ต่อมา สามารถยึดเมืองหลวง อาดดิสอาบาบา ได้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม และอิตาลีสามารถยึดครองได้ทั้งประเทศเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม และรวมเอาเอริเทรีย เอธิโอเปียและโซมาลีแลนด์เข้าด้วยกันเป็นรัฐเดี่ยว เรียกว่า แอฟริกาตะวันออกของอิตาลี

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1936 จักรพรรดิเฮลี เซลาสซีได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อสันนิบาติชาติประณามการกระทำของอิตาลีและวิพากษ์วิจารณ์ต่อประเทศอื่นที่ไม่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ พระองค์ได้เตือนว่า "วันนี้เป็นคราวของเรา แต่มันจะถึงคราวของท่านเมื่อถึงวันพรุ่งนี้" และจากการที่สันนิบาติชาติกล่าวโจมตีอิตาลี มุสโสลินีจึงประกาศให้อิตาลีถอนตัวออกจากความเป็นสมาชิกของสันนิบาติชาติ

สงครามกลางเมืองสเปน

ดูบทความหลักที่: สงครามกลางเมืองสเปน

เยอรมนีและอิตาลีได้ให้ความช่วยเหลือแก่พวกชาตินิยมสเปน นำโดยนายพลฟรานซิสโก ฟรังโก ทางด้านสหภาพโซเวียตเองก็ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือฝ่ายรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสเปนซึ่งรัฐบาลโซเวียตเห็นว่ารัฐบาลสเปนมีแนวคิดเอียงซ้าย ทั้งสองฝ่ายได้นำยุทโธปกรณ์และยุทธวิธีใหม่ออกมาใช้ในการทำสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การทิ้งระเบิดทางอากาศ

สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1937 เมื่อญี่ปุ่นเข้าตีจีนจากดินแดนแมนจูกัว

การบุกครองเริ่มต้นขึ้นเมื่อฝ่ายญี่ปุ่นส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดเข้าทำลายหัวเมืองหลายแห่ง เช่น เซี่ยงไฮ้ หนานจิงและกว่างโจว และท้ายสุด เมื่อวันที่ 22 และ 23 กันยายน 1937 ได้มีการยื่นคำร้องประท้วง และลงเอยด้วยการลงมติของคณะกรรมการการข่าวภาคพื้นตะวันออกไกลของสันนิบาติชาติ

ผลที่ตามมา กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นสามารถยึดเมืองหลวงของจีน คือ หนานจิง และกระทำความโหดร้ายทารุณ เป็นต้นว่า การสังหารหมู่ที่นานกิง

การผนวกออสเตรีย

การผนวกออสเตรียเข้าสู่เยอรมนีในปี 1938 ตามประวัติศาสตร์แล้ว แนวคิดในการสร้างเยอรมนีอันยิ่งใหญ่นั้นก็ได้รับความนิยมในประเทศออสเตรียไม่แพ้กับในประเทศเยอรมนี ซึ่งได้ปรากฏว่าเพียงหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐธรรมนูญของทั้งสองประเทศได้กำหนดให้ แคว้นเยอรมันออสเตรีย เป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี แต่ว่าการกระทำดังกล่าวได้รับการขัดขวางโดยสนธิสัญญาแวร์ซาย เมื่อเวลาผ่านไป ชาวออสเตรียจำนวนมากก็ลืมเรื่องนี้ไป ในฐานะเช่นนี้ พรรคชาติสังคมนิยมแห่งออสเตรียและขบวนการชาตินิยมเยอรมนีแห่งออสเตรียได้พึ่งพาประเทศเยอรมนี นาซีเยอรมนีได้ทำให้พรรคนาซีแห่งออสเตรียถูกกฎหมาย ซึ่งพวกเขาได้มีส่วนสำคัญในการลอบสังหารอัครเสนาบดีแห่งออสเตรีย เอนเกลเบิร์ต ดอลฟัส และให้สมาชิกของพรรคนาซีแห่งออสเตรียหลายคนมีอำนาจในการบริหารประเทศ

หลังจากที่ฮิตเลอร์กล่าวสุนทรพจน์ที่รัฐสภาไรซ์ตาร์ก ผู้ที่สืบทอดตำแหน่งจากนายดอลฟัส คือ Kurt Schuschnigg ได้พูดอย่างชัดเจนว่า เขาไม่สามารถผลักดันได้ไกลกว่านี้อีก ท่ามกลางแรงกดดันมหาศาลจากนาซีเยอรมนี เขาจึงได้จัดการลงประชามติ ด้วยความหวังว่าออสเตรียจะยังรักษาเอกราชของตนไว้ได้ เพียงแต่ว่าหนึ่งวันก่อนหน้า พรรคนาซีแห่งออสเตรียสามารถก่อรัฐประหารสำเร็จ และขึ้นสู่อำนาจในออสเตรีย หลังจากการยึดอำนาจครั้งนี้ ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ทหารเยอรมันเดินเข้าสู่พื้นที่ และพรรคนาซีแห่งออสเตรียได้ถ่ายโอนอำนาจให้แก่นาซีเยอรมนีอย่างรวดเร็ว ชาวออสเตรียไม่ได้ลุกขึ้นมาต่อต้านเหตุการณ์ในครั้งนี้เลย เนื่องจากพวกเขามีความต้องการเช่นนี้อยู่แล้ว และออสเตรียสิ้นสุดการเป็นรัฐเอกราชอย่างสิ้นเชิง อังกฤษ ฝรั่งเศสและฟาสซิสต์อิตาลีซึ่งเคยมีต่อต้านแนวคิดการรวมชาตินี้อย่างรุนแรง ทว่าในตอนนี้กลับไม่ทำอะไรเลย แต่ที่สำคัญก็คือ ชาติเหล่านี้กลับทะเลาะกันเองและทำลายความมั่นคงของแนวสเตรซา และเนื่องจากว่าอิตาลีไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมรับการผนวกดินแดนครั้งนี้ด้วยความไม่ชอบใจ แต่อิตาลีไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องต่อต้านเยอรมนีอีก ต่อมา อิตาลีจึงเริ่มมีความใกล้ชิดกับพรรคนาซี

ข้อตกลงมิวนิก

ดูบทความหลักที่: ข้อตกลงมิวนิก

ซูเดเทินลันท์ก็เป็นอีกหนึ่งแคว้นซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคนที่พูดภาษาเยอรมัน ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเชโกสโลวาเกียซึ่งมีอาณาเขตดิดต่อกับนาซีเยอรมนี รวมไปถึงมันมีระบบการป้องกันซึ่งสร้างขึ้นผ่านเขตภูมิประเทศที่เป็นภูเขา และมีขนาดใหญ่ยิ่งกว่า แนวมากินอต แคว้นซูเดเตนแลนด์มีขนาดเป็นหนึ่งในสามของแคว้นโบฮีเมียเมื่อเทียบกันในด้านขนาด จำนวนประชากรและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เชโกสโลวาเกียมีกองทัพอันทันสมัย 38 กองพล และมีอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธที่ดี และยังเป็นพันธมิตรทางการทหารกับฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียต

ฮิตเลอร์ได้กดดันให้แคว้นซูเดเตแลนด์รวมเข้ากับนาซีเยอรมนี และยังได้สนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวเยอรมันในพื้นที่ ตามข้อกล่าวหาที่ว่าพวกเช็คข่มเหงและทำร้ายชาวเยอรมัน ทำให้กลุ่มชาตินิยมโอนเอียงไปทางนาซีเยอรมนี หลังจากฮิตเลอร์ผนวกออสเตรียแล้ว พรรคการเมืองเยอรมันทุกพรรค (ยกเว้นพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยแห่งเยอรมนี) รวมเข้ากับ พรรคซูเดเทินเยอรมันทั้งหมด กิจกรรมทางการทหารและพวกที่นิยมความรุนแรงได้เผยตัวออกมาในช่วงเวลานี้ รัฐบาลเชโกสโลวาเกียจึงประกาศกฎอัยการศึกในแคว้นซูเดเทินลันท์เพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ว่ากฎดังกล่าวก็เป็นเพียงการเข้าแทรกแซงเหตุการณ์เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่พวกชาตินิยมเชโกสโลวาเกียผุดขึ้นมา และหมดความเคลือบแคลงต่อการกระตุ้นของรัฐบาลนาซีและรัฐบาลสโลวาเกีย พรรคนาซีสบโอกาส อ้างว่าจะผนวกซูเดเทินลันท์เข้าสู่นาซีเยอรมนีเพื่อปกป้องชาวเยอรมันในพื้นที่

ในข้อตกลงมิวนิก ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร นายเนวิล เชมเบอร์ลิน และผู้นำฝรั่งเศสได้เอาใจฮิตเลอร์ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ปล่อยให้เยอรมนีส่งทหารเข้าสู่พื้นที่และให้รวมเข้าสู่นาซีเยอรมนี "เพื่อประโยชน์แก่สันติภาพ" เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ฮิตเลอร์ได้ให้สัญญาว่าเขาจะไม่แสวงหาดินแดนใหม่เพิ่มเติมในทวีปยุโรป เชโกสโลวาเกียซึ่งได้เรียกระดมพลไปแล้วมีทหารกว่าหนึ่งล้านนาย และเตรียมพร้อมที่จะทำการรบ กลับไม่มีส่วนร่วมในการประชุมครั้งนี้ เมื่อผู้แทนอังกฤษและฝรั่งเศสได้แจ้งให้เชโกสโลวาเกียทราบ และถ้าหากเชโกสโลวาเกียไม่ยอมรับข้อตกลงดังกล่าว ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศศจะถือว่าเชโกสโลวาเกียจะต้องรับผิดชอบต่อสงครามที่จะเกิดขึ้น ประธานาธิบดีเอ็ดวาร์ด บีเนส จำต้องยอมรับข้อเสนอ เยอรมนีจึงเข้ายึดซูเดเทินลันท์โดยไม่มีการต่อต้านใด ๆ ทั้งสิ้น

เมื่อถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 เยอรมนีได้ฉีกข้อตกลงมิวนิก และบุกกรุงปราก และสโลวาเกียประกาศเอกราช ประเทศเชโกสโลวาเกียล่มสลาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยุตินโยบายเอาใจฮิตเลอร์ของอังกฤษและฝรั่งเศส และปล่อยให้เยอรมนีมีอำนาจในทวีปยุโรป

การบุกครองแอลเบเนีย

หลังจากเยอรมนียึดครองเชโกสโลวาเกียได้สำเร็จ อิตาลีมองเห็นว่าตนอาจจะเป็นสมาชิกที่สองของฝ่ายอักษะ กรุงโรมได้ยื่นคำขาดแก่กรุงติรานา เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1939 โดยต้องการให้อิตาลียึดครองแอลเบเนีย พระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย ปฏิเสธที่จะได้รับเงินตอบแทนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนแลกกับการยึดแอลเบเนีย เมื่อวันที่ 7 เมษายน มุสโสลินีส่งกองทัพอิตาลีเข้าบุกครองแอลเบเนีย หลังจากการรบในช่วงเวลาสั้น ๆ แอลเบเนียก็พ่ายแพ้ แต่ยังคงสู้อย่างห้าวหาญ

สงครามชายแดนโซเวียต-ญี่ปุ่น

ดูบทความหลักที่: ยุทธการที่ฮาลฮิน กอล

ในปี 1939 กองทัพญี่ปุ่นโจมตีจากทางเหนือของแมนจูกัวเข้าสู่เขตไซบีเรีย ซึ่งถูกตีแตกกลับมาโดยกองทัพโซเวียตภายใต้การนำของนายพลเกออร์กี จูคอฟ หลังจากการรบครั้งนี้ สหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นก็เป็นมิตรกันเรื่อยมาจนกระทั่งปี 1945 ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนแผนการของตนโดยหาทางขยายอาณาเขตของตนลงไปทางใต้ และนำไปสู่ความขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกาบนแผ่นดินฟิลิปปินส์ และแนวเส้นทางเดินเรือของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ ส่วนทางด้านสหภาพโซเวียตก็ได้มุ่งเป้าไปทางทิศตะวันตก และคงทหารแดงไว้ประมาณ 1,000,000-1,500,000 นายเพื่อรักษาแนวชายแดนที่ติดกับญี่ปุ่น

สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ

สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพเป็นเพียงแต่สนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียต ซึ่งลงนามในกรุงมอสโกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1939 ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโซเวียต วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี โจอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ

ในปี 1939 ทั้งนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตต่างก็ยังไม่พร้อมที่จะทำสงครามระหว่างกัน สหภาพโซเวียตซึ่งเสียดินแดนโปแลนด์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 แม้ว่าสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพจะเป็นสนธิสัญญาไม่รุกรานกันอย่างเป็นทางการ แต่ทว่าตอนท้ายของสนธิสัญญาดังกล่าวก็ยังมีข้อตกลงลับต่อท้ายสนธิสัญญา ซึ่งเป็นการแบ่งฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์และโรมาเนีย ให้อยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของกันและกัน

ภายหลังจากสนธิสัญญาดังกล่าว ประเทศที่ได้กล่าวมาข้างต้นก็ได้ถูกบุกครอง โดยถูกยึดครองหรือถูกบังคับให้ยกดินแดนให้แก่สหภาพโซเวียต นาซีเยอรมนี หรือทั้งสองประเทศ

การบุกครองโปแลนด์

ได้มีการถกเถียงกันว่าในปี 1933 โปแลนด์ได้พยายามที่จะชักจูงให้ฝรั่งเศสเข้าร่วมกับตนในความพยายามที่จะโจมตีเยอรมนีหลังจากที่พรรคนาซีมีอำนาจในประเทศเยอรมนี เหตุการณ์อันตึงเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างโปแลนด์และเยอรมนีนั้นเกี่ยวข้องกับนครเสรีดานซิกและฉนวนโปแลนด์ เหตุการณ์นี้ได้สงบลงในปี 1934 หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน แต่ในฤดูใบไม้ผลิปี 1939 เหตุการณ์อันตึงเครียดก็ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง และท้ายที่สุด หลังจากได้ยื่นข้อเสนอมากมาย เยอรมนีก็ได้ประกาศยุติความสัมพันธ์ทางการทูต และไม่นานหลังจากสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพได้ลงนาม การโจมตีโปแลนด์ก็ได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งเคยรับประกันความเป็นเอกราชของโปแลนด์ และได้ยื่นคำขาดแก่เยอรมนีให้ถอนกำลังออกจากโปแลนด์โดยทันที เยอรมนีปฏิเสธ ดังนั้น ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี แต่ทว่าทั้งสองก็มิได้ให้ความช่วยเหลือแต่อย่างใดนัก ส่วนทางด้านตะวันออก สหภาพโซเวียตบุกครองโปแลนด์ในวันที่ 17 กันยายน

การโจมตีสหภาพโซเวียต

ดูบทความหลักที่: ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ด้วยการโจมตีสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ฮิตเลอร์ได้ขยายขอบเขตของสงคราม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากอังกฤษยังมิได้พ่ายแพ้ และผลที่ตามมา ก็คือ การทำศึกสองด้าน แต่ฮิตเลอร์กลับเชื่อว่าสหภาพโซเวียตจะพ่ายแพ้อย่างง่ายดาย และโจมตีสหภาพโซเวียตอย่างเด็ดขาด หลังจากนั้น เยอรมนีก็จะได้ยึดครองดินแดนทั้งหมด

นอกจากนั้น ยังมีหลักฐานใหม่ที่สามารถเชื่อได้ว่า ถ้าหากเยอรมนีไม่โจมตีสหภาพโซเวียตแล้ว สตาลินก็อาจสั่งการให้กองทัพแดงบุกครองนาซีเยอรมนีในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเช่นกัน ซึ่งอาจจะเป็นความเสียหายครั้งใหญ่ของนาซีเยอรมนี เนื่องจากกองทัพบกเยอรมันไม่สามารถแสดงแสงยานุภาพการโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เยอรมนีสามารถรับมือกับกองทัพโซเวียตได้ก่อน นอกจากนั้น ลักษณะภูมิประเทศของเยอรมนีทางด้านตะวันออกนั้นไม่เหมาะที่จะทำสงครามตั้งรับ เนื่องจากเป็นที่ราบและเปิดโล่ง

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

ดูบทความหลักที่: การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

ราชนาวีจักรวรรดิญี่ปุ่นได้โจมตีท่าเรือเพิร์ล เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ด้วยความหวังว่าจะทำลายกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก ทำให้สหรัฐสูญเสียเรือรบและทหารเป็นจำนวนมาก

ในวันเดียวกันนี้ เยอรมนีประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกา ทำให้ประชาชนอเมริกันยุติแนวคิดการแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวของตน และเข้าสู่สงคราม

อ้างอิง

  1. [1]
  • Carley, Michael Jabara 1939 : the Alliance that never was and the coming of World War II, Chicago : I.R. Dee, 1999 ISBN 1-56663-252-8.
  • Dallek, Robert. Franklin D. Roosevelt and American Foreign Policy, 1932-1945 (1995).
  • Dutton, David Neville Chamberlain, London : Arnold ; New York : Oxford University Press, 2001 ISBN 0-340-70627-9.
  • Feis, Herbert. The Road to Pearl Harbor: The coming of the war between the United States and Japan. ประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของสหรัฐอเมริกา
  • Goldstein, Erik & Lukes, Igor (editors) The Munich crisis, 1938: Prelude to World War II, London ; Portland, OR : Frank Cass, 1999 ISBN 0-7146-8056-7.
  • Klaus Hildebrand. The Foreign Policy of the Third Reich, translated by Anthony Fothergill, London, Batsford 1973.
  • Andreas Hillgruber. Germany and the Two World Wars, translated by William C. Kirby, Cambridge, Mass. : Harvard University Press, 1981 ISBN 0-674-35321-8.
  • Seki, Eiji. (2006). Mrs. Ferguson's Tea-Set, Japan and the Second World War: The Global Consequences Following Germany's Sinking of the SS Automedon in 1940. London: Global Oriental. 10-ISBN 1-905246-28-5; 13- ISBN 978-1-905246-28-1 (cloth) พิมพ์อีกครั้ง โดย ฝ่ายโรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยฮาวาย, โฮโนลูลู, 2007 -- previously announced as Sinking of the SS Automedon and the Role of the Japanese Navy: A New Interpretation 2008-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Richard Overy & Timothy Mason. "Debate: Germany, “Domestic Crisis” and War in 1939" หน้าที่ 200-240 จาก Past and Present, Number 122, February 1989.
  • Strang, G. Bruce On The Fiery March : Mussolini Prepares For War, Westport, Conn. : Praeger Publishers, 2003 ISBN 0-275-97937-7.
  • Thorne, Christopher G. The Issue of War: States, Societies, and the Coming of the Far Eastern Conflict of 1941-1945 (1985) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
  • Tohmatsu, Haruo and H. P. Willmott. A Gathering Darkness: The Coming of War to the Far East and the Pacific (2004) เป็นการสรุปโดยย่อ
  • Piotr S. Wandycz. The Twilight of French Eastern Alliances, 1926-1936 : French-Czechoslovak-Polish relations from Locarno to the remilitarization of the Rhineland, Princeton, N.J. : Princeton University Press, 1988 ISBN 0-691-05528-9.
  • Watt, Donald Cameron How war came : the immediate origins of the Second World War, 1938-1939, New York : Pantheon, 1989 ISBN 0-394-57916-X.
  • Gerhard Weinberg. The Foreign Policy of Hitler's Germany : Diplomatic Revolution in Europe, 1933-36, Chicago : University of Chicago Press, 1970 ISBN 0-226-88509-7.
  • Gerhard Weinberg. The Foreign Policy of Hitler's Germany: Starting World War II, 1937-1939, Chicago : University of Chicago Press, 1980 ISBN 0-226-88511-9.
  • Henry Ashby Turner. German big business and the rise of Hitler, New York : Oxford University Press, 1985 ISBN 0-19-503492-9.
  • John Wheeler-Bennett. Munich : Prologue to Tragedy, New York : Duell, Sloan and Pearce, 1948.
  • Yomiuri Shimbun, The; James E. Auer (Editor) (2007). Who Was Responsible? From Marco Polo Bridge to Pearl Harbor. The Yomiuri Shimbun. ISBN 4-643-06012-3. - [2]
  • Young, Robert France and the Origins of the Second World War, New York : St. Martin's Press, 1996 ISBN 0-312-16185-9.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Human Smoke: The Beginnings of World War II, the End of Civilization โดย นิโคลสัน เบเกอร์ บทที่ 1
  • เดอะ ฮิสตอรี่ แชนแนล
  • ฝรั่งเศสและเยอรมนีกับแคว้นไรน์แลนด์ ความขัดแย้งระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศสมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ และกลายเป็นสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง
  • The New Year 1939/40, by Joseph Goebbels
  • ปราศรัย "เราจะสู้บนชายหาด" โดย วินสตัน เชอร์ชิลล์
  • แหล่งข้อมูลเชโกสโลวะเกีย
  • แหล่งข้อมูลเชโกสโลวะเกีย

สาเหต, ของสงครามโลกคร, งท, สอง, สาเหต, เบ, องต, นของสงครามโลกคร, งท, สอง, ความต, งเคร, ยดเก, ยวก, บชาต, ยม, ประเด, นป, ญหาท, ไม, ได, บการแก, ไข, และความไม, พอใจอ, นเป, นผลส, บเน, องมาจากสงครามโลกคร, งท, หน, และสม, ยระหว, างสงครามในทว, ปย, โรป, รวมท, งผลกระทบขอ. saehtuebuxngtnkhxngsngkhramolkkhrngthisxng khux khwamtungekhriydekiywkbchatiniym praednpyhathiimidrbkaraekikh aelakhwamimphxicxnepnphlsubenuxngmacaksngkhramolkkhrngthihnung aelasmyrahwangsngkhraminthwipyuorp rwmthngphlkrathbkhxngphawaesrsthkictktakhrngihyinchwngkhristthswrrs 1930 ehtukarntang idlngexydwykarpathukhxngsngkhram sungmkepnthiekhaicwaepnkarbukkhrxngopaelnd odynasieyxrmni khwamkawrawthangthharniepnphlmacakkartdsinickhxngphunakhxngeyxrmniaelayipun sngkhramolkkhrngthisxngerimtnkhuncakkarptibtixnkawrawaelabrrcbkbkarprakassngkhram hruxkartxtandwykalngebniot musoslinikbxdxlf hitelxr sxngphunaephdckarinthwipyuorpkxnaelarahwangsngkhramolkkhrngthisxng enuxha 1 xudmkarn lththi aelaprchya 1 1 kartxtankhxmmiwnist 1 2 aephnkarexaiceyxrmnikhxngphnthmitrtawntk 1 3 karlaxananikhmihm 1 4 fassist 1 5 lththioddediyw 1 6 lththiniymthhar 1 7 lththichatiniym 1 8 lththikaraebngaeykechuxchati 2 khwamsmphnthrahwangpraethsaelasphaphesrsthkickhxngolk 2 1 snthisyyaaewrsay 2 2 karaekhngkhnthangesrsthkic 2 3 snnibatchati 2 4 phawaesrsthkictktakhrngihy 2 5 sngkhramklangemuxngyuorp 3 chnwnehtuthinaipsusngkhramolkkhrngthisxng 3 1 sngkhramfrngess prsesiy 3 2 sngkhramolkkhrngthihnung 3 3 satharnrthiwmar 3 4 phawaesrsthkictktakhrngihy 3 5 lththiephdckarnasi 3 6 karbukkhrxngexthioxepiy 3 7 sngkhramklangemuxngsepn 3 8 sngkhramcin yipunkhrngthisxng 3 9 karphnwkxxsetriy 3 10 khxtklngmiwnik 3 11 karbukkhrxngaexlebeniy 3 12 sngkhramchayaednosewiyt yipun 3 13 snthisyyaomoltxf ribebnthrxph 3 14 karbukkhrxngopaelnd 3 15 karocmtishphaphosewiyt 3 16 karocmtiephirlharebxr 4 xangxing 5 aehlngkhxmulxunxudmkarn lththi aelaprchya aekikhkartxtankhxmmiwnist aekikh dubthkhwamhlkthi kartxtankhxmmiwnist sylksnkhxnekhiywkhxngkhxmmiwnist phrrkhbxlechwikh sungmiaenwkhidimthuxchatiaelahwrunaerng kawkhunsuxanacinrsesiy emuxeduxnphvscikayn kh s 1917 sunghlngcaknn idmikhwamphyayamthicasnbsnunihmikarcdtngkarpkkhrxngthikhlaykhlungkninbriewnxunkhxngolk sungprasbkhwamsaercinhngkariaelabawaeriy karkrathadngklawnamasungkhwamklwtxkarptiwtikhxngkhxmmiwnistinhlaychatiyuorptawntk yuorpklang aelathwipxemrika inpi kh s 1919 fayitrphakhithungkbtngrthphrmaednkhunprachidchayaedndantawntkkhxngrsesiy odyhwngwacasamarthcakdkhxmmiwnistimihaephrkhyayxxkmacakrsesiyineyxrmniaelaxitali khwamefuxngfukhxngfassistepnhnunginsaehtukhxngkarekharwmsngkhramolkkhrngthisxngkhxngpraethsehlann thngfassistinxitaliaelaeyxrmnitangkepnswnhnunginptikiriyatxbotkarclaclkhxngkhxmmiwnistaelaphwksngkhmniym klumehlaniidrbkarsnbsnuncakfaykhwaaelaphwkthunniym enuxngcakwaepnkhbwnkarsungthngsxngtangkxasychnchnaerngnganaelaaeykphwkekhaxxkcaklththimaks pccyephimetimineyxrmnikhuxkhwamsaerckhxngphwkifrkhxrfaykhwa inkarthalaysatharnrthbawaeriynosewiyt inmiwnik pi kh s 1919 thharphansukcanwnmakehlaniklaymaepnswnprakxbkhxnghnwyexsexkhxngphrrkhnasi sungthukichepnkxngkalngkhxngphrrkhinkarsurbtamthxngthnnkbchawbankhxmmiwnisttidxawuthinchwngthswrrskxnhna kh s 1933 khwamrunaerngtamthxngthnncachwyepliynaeplngkhwamkhidehnxnurksniymsayklangipepnphunaxanacniymsungtxtankhxmmiwnist tamkhwamtxngkarkhxngeyxrmni ephuxthicarksaesthiyrphaphkhxngwithichiwitdngedimiw aephnkarexaiceyxrmnikhxngphnthmitrtawntk aekikh duephimthi karexaichitelxrshrachxanackraelafrngessnniddaeninaephnkarkhxngtnephuxexaicfayeyxrmniintxnplaythswrrs 1930 phayitaephnkarkarexaichitelxr eyxrmninnidrbkhxesnxwatncasamarthkhyayphunthikhxngtnipthangthistawnxxkidodyimtxngephchiyhnakbkhwamkhdaeyngcakthngxngkvsaelafrngess aetehtukarndngklawidephimkhwamthaeyxthayankhxngekhaaelahlngcaknnkiderimaephnkartang sungcanaipsusngkhraminimcha karlaxananikhmihm aekikh dubthkhwamhlkthi elebinseram karkhyaytwkhxngckrwrrdiyipun karlaxananikhm khux hlkkarkarphnwkdinaednhruxxanacthangesrsthkic odyswnihyaelwcatxngichkalngthharekhachwy inxitali ebniot musoslininnmikhwamtxngkarthicasrangckrwrrdiormnihmkhunrxb thaelemdietxrereniyn kxngthphxitaliidocmtiaexlebeniy emuxtnpi 1939 sungepnchwngerimtnkhxngsngkhram aelatxmakkris kxnhnann ekhaidxxkkhasngihocmtiexthioxepiy emuxpi 1935 makxnaelw aetwakarkrathadngklawni idrbkartxbsnxngnxymakcaksnnibatchatiaelafayphnthmitrinsngkhramolkkhrngthihnung odykarsrangxanackrkhxngekhanncaekidkhunrahwangchwngthiphukhnimprarthnasngkhram aelachwngesrsthkictktakhxngolkinchwngthswrrs 1930 thangdaneyxrmninnkidekhamachwyehluxxitalihlaykhrng xitalinnidrbkhwamkhmkhuncakdinaednephiyngnxynidsungidrbhlngcaksngkhramolkkhrngthihnung rahwangkarprachumthiemuxngaewrsay xitalinnhwngcaiddinaedncanwnmakcakckrwrrdixxsetriy hngkari aetklbidephiyngdinaednsxngsamemuxngethann aelakhasyyathikhxxlebeniyaelaexechiyimenxrkthukphunafayphnthmitrxun laelythangdaneyxrmni hlngcaksinsudsngkhramolkkhrngthihnung eyxrmnitxngsuyesiydinaednihaeklithweniy frngess opaelnd aelaednmark odydinaednthiesiyipthiepnthiruckknepnxyangdikkhux chnwnopaelnd nkhresridansik aekhwnmaeml rwmkblithweniy mnthlopesn aelaaekhwnxalss lxaernkhxngfrngess aeladinaednthimikhunkhathangesrsthkicmakthisud khux aekhwnsiliesiytxnbn swndinaednthimikhathangesrsthkicxiksxngaehng khux saraelndaelairnaelnd nnxyuitkaryudkhrxngkhxngfrngess aeladinaednthithukchikxxkipcanwnmakni khnthiimichchaweyxrmnkekhamaxasyepncanwnmakphlkhxngkarsuyesiydinaedndngklawkxihekidkhwamkhmkhunaekchaweyxrmn aelamikhwamsmphnthxnelwraykbpraethsephuxnban phayitkarpkkhrxngkhxngphrrkhnasi eyxrmnikerimtnkaraeswnghadinaednephimetim tngicthicafunfudinaednxnchxbthrrmkhxngckrwrrdieyxrmni odythisakhykkhux aekhwnirnaelndaelachnwnopaelnd sungxaccanaipsusngkhramthihlikeliyngimidkbopaelnd xyangirktam enuxngcakkarexaickhxngfaysmphnthmitr thaihhitelxrmnicidwasngkhramkbopaelndcarabrunipdwydi aelathungaemcaaeykwann kephiyngaekhecrcakbfaysmphnthmitrethannnxkcakni hitelxryngmiaenwkhidthicasrangeyxrmnixnyingihy sungekhaehnwaprachachneyxrmnkhwrthicarwmknepnchatiediywkn aelarwmipthungaephndinthichaweyxrmnidxasyxyunn odyintxnaerk hitelxridephngelngipyngxxsetriyaelaechoksolwaekiy hlngcaksnthisyyaaewrsay eyxrmniphyayamthicarwmtwkbxxsetriy aetkthukhampramodyfayphnthmitr ephraawainxdit kekhymikarrwmtwepnrtheyxrmniinpi 1871 makxn enuxngcakckrwrrdixxsetriy hngkariprakxbdwyhlayechuxchati dngthiehnidcakprsesiyaelaxxsetriyaekhngkhnknephuxaeyngchingkhwamepnihyinthwip phayhlngcaksngkhramolkkhrngthihnung chawxxsetriyswnihykehndwythicasrangshphaphdngklawkhundanshphaphosewiytidsuyesiyphunthicanwnmakcakdinaednkhxngckrwrrdirsesiyedim odysuyesiyopaelnd finaelnd exsoteniy ltewiy lithweniyaelaormaeniy insngkhramolkkhrngthihnungaelasngkhramklangemuxngrsesiy rwmipthungdinaednbangswnsungsuyesiyihaekyipun aelashphaphosewiytmikhwamtxngkarxyangyingthicaexadinaednthisuyesiyipthnghmdklbkhunhngkari sungekhyepnphnthmitrkhxngeyxrmniinchwngsngkhramolkkhrngthihnung thukchikxxkipepndinaedncanwnmhasal hlngcakthifayphnthmitrtdaebngckrwrrdixxsetriy hngkariedim aetwahngkariyngkhngtxngkarthicakhngkhwamepnmitrtxknkbeyxrmni odyinchwngniaenwkhidhngkarixnyingihy kalngidrbkhwamsnbsnuninhmuchawhngkariormaeniy sungepnfayphnthmitrinchwngsngkhramolkkhrngthihnung aelaepnphuchnasngkhram klbrusukwatncaepnfaythisuyesiyphlpraoychninchwngtnkhxngsngkhramolkkhrngthisxng cakphlkhxngsnthisyyaomoltxf ribebnthrxph thaihormaeniytxngsuyesiydinaednthangthisehnuxihaekshphaphosewiyt rangwlewiynnakhrngthisxng thaihormaeniytxngykaekhwnthransilwaeniytxnbnihaekhngkari aelasnthisyyaemuxngkhraocwa ormaeniytxngykaekhwnodbrucakihaekblaekeriy inormaeniyexngkmiaenwkhidormaeniyxnyingihy sungmiepahmaythicarwmtwkbnasieyxrmniblaekeriy sungepnphnthmitrkbeyxrmniinchwngsngkhramolkkhrngthihnung idsuyesiydinaednihaekkris ormaeniyaelayuokslaewiy inchwngsngkhramolkkhrngthihnungaelainsngkhramkhabsmuthrbxlkhankhrngthisxngfinaelnd sungsuyesiydinaednihaekshphaphosewiytinchwngtnsngkhramolkkhrngthisxng sngkhramvduhnaw dngnnemuxeyxrmniocmtishphaphosewiytinpi 1941 finaelndcungekharwmkbeyxrmni dwyhwngwatncaidrbdinaednthisuyesiyipthnghmdklbkhunmainthwipexechiy ckrwrrdiyipunnnmikhwamtxngkarthicayudkhrxngdinaednephimetim enuxngcakwaphayhlngsngkhramolkkhrngthihnung yipunidrbdinaednephiyngnxynid thungaemwacaidrbxananikhmedimkhxngeyxrmniincin aelahmuekaaxikcanwnhnunginmhasmuthraepsifikaelwktam rwmipthungpasnisbieriy aelaemuxngthakhxngrsesiy wladiwxstxkh yipunnnimidmikhwamtxngkardinaednehlaniely ykewnhmuekaathitnexngtiidinchwngsngkhramolkkhrngthihnungaelapraethsithy sungesiydinaednkwakhrungpraethsihaekfrngessaelashrachxanackrinchwngplaykhriststwrrsthi 19 aelatnkhriststwrrsthi 20 aelamikhwamtxngkarthwngdinaednkhunechnkninhlaykrni aenwkhidkarlaxananikhmidnaipsusngkhramolkkhrngthisxng odymiepahmayipinthangchatiniyminkarrwmexadinaedndngedimkhxngtnkhun hruxwadfnthungaephndinxnyingihyinwnkhanghna fassist aekikh dubthkhwamhlkthi fassist fassist khux aenwkhidthangkaremuxngthirthbalcamikarxxkkdkhxbngkhbaelakarkhwbkhumthangesrsthkickhxngpraeths mikhwamaekhngaekrng aelarwmxanacekhasusunyklang prachachnimmisiththiekhamaekiywkhxnginkartdsinicthiekiywkhxngkbpraethsxyangeddkhad pkkhrxngodyphuephdckar aelamiaenwkhidekiywkbchatiniymxyangaerngkla inchwngkxnsngkhramolkkhrngthisxng hlaypraethsinthwipyuorpxyuphayitkarpkkhrxngdwyfassist sungsrupaenwthangkarpkkhrxngidwa karpkkhrxngthidikhuxkarkhwbkhumprachachnaelaxutsahkrrmkhxngpraethsfassistidmxngkxngthphwaepnsylksnkhxngpwngchn sungprachachnkhwrcaexaepneyiyngxyang hlaypraethsfassistcungminkkarthharepncanwnmak aelakarihkhwamsakhyaekwirburusniexngthiepnxudmkhtikhxngfassist inhnngsux The Doctrine of Fascism sungekhiynodyebniot musoslini ekhaprakaswa fassistimidmikhwamechuxinkhwamepnipidaelapraoychnid insntiphaphnirndraetxyangid 1 fassistechuxwasngkhramcaepnkarthaihekidkarphthnanwtkrrmihm aelaerimesaaaeswnghasngkhram sungepnsaehtusakhykhxngkarurkranpraethscakfayxksa rahwangsngkhramolkkhrngthisxng lththioddediyw aekikh dubthkhwamhlkthi lththioddediyw shrthxemrikaidmiaenwkhidthicaoddediywthangkaremuxngkbpraethsphaynxkchwnghlngsngkhramolkkhrngthihnung odythishrthxemrikaekhaipyungekiywkbehtukarninsikolktawntkaelamhasmuthraepsifikethann shrthxemrikatdsinicthicaimekhaipyungekiywkbkaremuxnginthwipyuorp aetwayngkhngmikhwamsmphnththangesrsthkicthiaenbaennkhwamrusukkhxngprachachninxngkvsaelafrngesskmiaenwkhidthicaoddediywechnkn aelaebuxhnaysngkhram nayenwil echmebxrlin klawthungechoksolwaekiywa ox changelwrayaelamhscrryehluxekinthierachawxngkvsipkhudsnamephlaaaelaphyayamishnakakknkasphisthinn ephraawakhwamkhdaeyngxyuiklcaktwerank rahwangkhnsxngcaphwkthieraimruck khaphecannepnbukhkhlaehngsntiphaphmacakswnlukkhxngwiyyankhxngkhapheca phayinimkipi olkkekhasusngkhramebdesrc lththiniymthhar aekikh khwamniymthangkarthharkhxngphunaeyxrmni yipunaelaxitali idnaipsukhwamkawrawrunaerng prakxbkbthikxngthphkhxngthngsampraethsnnthukpraethsxunmxngkhamip dngthiehnidcak eyxrmniprakaseknththharxikkhrnginpi 1935 dwyepahmaythicasrangkalngthharkhunmaihm aelaepnkarkhdtxsnthisyyaaewrsay lththichatiniym aekikh lththichatiniym mikhwamechuxwa khnchatiphnthuediywknkhwrcaxyurwmknthngindinaednediywkn wthnthrrmediywknaelaxyurwmknthangmnusychati phunakhxngeyxrmni xitaliaelayipunmkcaichaenwkhiddngklawephuxihidrbaerngsnbsnuncakpwngchninpraeths lththifassistnntngxyubnrakthankhxnglththichatiniym aelakhxymxngha rthchati thirwmknepnhnungediywkn hitelxraelaphrrkhnasinalththichatiniymipineyxrmni sungprachachneyxrmnidmisrththaxyangaerngkla inxitali aenwkhidthicasrangckrwrrdiormnihmkhunmaiddungdudchawxitalicanwnmak aelainyipun dwykhwamthrannginhnathiaelaekiyrtiys odyechphaaxyangying xngkhckrphrrdi idthukephyaephrinyipunmaepnewlahlaystwrrsaelw lththikaraebngaeykechuxchati aekikh dubthkhwamhlkthi noybayaebngaeykechuxchatikhxngphrrkhnasi phrrkhnasiidnaaenwkhidthangsngkhmkhxngcharls darwin idklawthungchnchatithwthnaelachnchatislafwacaepntxngaeyngchingkhwamepnihy aelacaepntxngaeyngchingphunthiaelathrphyakrthimixyuxyangcakd odyidklawwachnchatieyxrmn khux echuxsayxaryn sungmiaenwkhidxyangchdecnwachawslaftxngtkepnebiylangkhxngchaweyxrmn inchwngsngkhramolkkhrngthisxng hitelxridichaenwkhidkaraebngaeykechuxchatidngklawephuxphwkthiimichxaryn odyphwkthiidrbphlkrathbcaknoybaydngklawxyangrayaerng kkhux chawyiw chawosewiyt aelayngmikarkidknphwkrkrwmephs phuthithuphphlphaph phuthimixakarpwythangcit chawyipsi smakhmfriemsnaelaphunbthuxkhristsasnanikayphyanphraeyohwahkhwamsmphnthrahwangpraethsaelasphaphesrsthkickhxngolk aekikhsnthisyyaaewrsay aekikh dubthkhwamhlkthi snthisyyaaewrsay snthisyyaaewrsaymiidpranipranxmihaekeyxrmniaetxyangid fayphnthmitrphuchnasngkhramolkkhrngthihnungidphyayamthukwithithangephuxpxngknmiiheyxrmniklbkhunmathathayxanacinthwipyuorpxikkhrngsnthisyyaaewrsaythukwiphakswicarnxyanghnahuwaepnmlthinkhxngsngkhram ephraaepnkaroynkhwamphidihaekckrwrrdieyxrmniaelackrwrrdixxsetriy hngkariedim aelalngothsxyanghnkephuxeriykrxngihphwkekharbphidchxbtxkhwamesiyhaythiekidkhuncaksngkhram odyphuchnasngkhramidhwngwasnthisyyanicaidklayepnsingthisamarththarngsntiphaphihekidkhuninolkid phlthitammma khux eyxrmnicaepntxngcaykhaptikrrmsngkhramepncanwnmhasal karsuyesiydinaednxananikhmthnghmd karcdraebiybthangechuxchatikhnanihy hlngcaknn esrsthkiceyxrmnkrwngdinglngipxyanghnk xtraenginefxsunglib satharnrthiwmarcaepntxngphimphthnbtrkwalanlanchbbxxkmaaelatxngkuyumengincanwnmhasalcakshrthxemrika ephuxichhniaekshrachxanackraelafrngesssungepnphuchnainsngkhramolkkhrngthihnungsnthisyyaaewrwaynnkxihekidkhwamkhmkhunaekprachachnphuaephsngkhram aemwafayphnthmitrphuchnasngkhramcaihsyyaaekprachachnchaweyxrmnwaaenwthang hlkkarsibsikhx khxngprathanathibdishrthxemrika wudorw wilsn caepnaenwthangthicanaipsusntiphaph chaweyxrmnswnmakekhaicwarthbaleyxrmnidtklnginsnthisyyasngbsuktamkhwamekhaicni khnathiswnxunidekhaicwa karptiwtieyxrmni idthukkxkhunody klumxachyakreduxnphvscikayn phusungtxmainmitaaehnnginsphakhxngsatharnrthiwmar wilsnnnimsamarthechiychwnihfayphnthmitryxmptibtitamkhxesnxkhxngekha aelaimsamarthchkcungihrthsphakhxngekrsaehngshrthxemrikaihlngmtiyxmekharwmkbsnnibatchatifayphnthmitrmiidkhrxbkhrxngswnid khxngeyxrmni aemwacamikarrbinaenwrbdantawntkmaepnewlahlaypi miephiyngaetxananikhmophnthaelkhxngeyxrmniethannthithukyudkhrxng aelaxitalikidaekhwnthirxltxnitiphlngcakkarecrcaerimtn sngkhraminaenwrbdantawnxxkthaihckrwrrdirsesiylmslay aelathaiheyxrmniidrbdinaednmhasalthangyuorpklangaelayuorptawnxxkyngmiphuthimxngsnthisyyaaewrsaytrngknkhamwasnthisyyadngklawimidthaiheyxrmnitxngprasbkbkhwamyaklabakmakaetprakarid ephraawaeyxrmniyngkhngsamarthklbmaepnchatimhaxanacthikhxythathaymhaxanactawntkxikkhrng sungimepniptamwtthuprasngkhkhxngfayphnthmitr xyangirktam ehtukarnthiekidkhuntammaphayhlngsngkhramolkkhrngthihnung thaihphlkhxngsnthisyyaaewrsayimkracangchd odyehtukarnthisakhythisud khux karaephrkhyaykhxnglththikhxmmiwnist aelasnthisyyaaewrsaykepnhnungintwkarkhxngkarkhunsuxanackhxngphrrkhnasi karaekhngkhnthangesrsthkic aekikh aephnthiolkpi 1900 sungchatitawntkaeswnghaxananikhmkhxngolk nxkcakthrphyakrthanhinaelaehlkinprimannxynid yipunnbidwaepnpraethsthikhadaehlngthrphyakrthrrmchati yipuninsmynn epnephiyngpraethsediywinthwipexechiysungmikhwamecriythangdanxutsahkrrmcnthdethiympraethstawntk ekrngwatncakhadaekhlnwtthudibephuxetriymkarthasngkhramkbshphaphosewiyt yipunnnidwangepahmayodykaresaaaeswnghathrphyakrthrrmchatiephimetim yipunbukkhrxngaemncueriy inpi kh s 1931 ephuxnawtthudibippxnihaekorngnganxutsahkrrmkhxngtninkarkhbekhluxnesrsthkickhxngpraeths phwkchatiniymcinthangtxnitkhxngaemncueriyidphyayamkhbilkxngthphyipunxxkip sngkhramkhrngnikinewlaipsameduxnaelasamarthphlkdnkxngthphcinlngmipthangit aetwaemuxwtthudibthiidrbinaekhwnaemncueriykyngimephiyngphxtxkhwamtxngkarkhxngpraeths kxngthphckrwrrdiyipuncungwangaephnthicaesaahawtthudibephimetim odyechphaaxyangying khux thrphyakrnamnephuxthicaeyiywyakhwamesiyhaydngklawaelaephuxepnkarrksaaehlngthrphyakrnamnaelathrphyakrthrrmchatixun xacthaihyipuntxngephchiyhnakbkarlaxananikhmkhxngchatitawntk sungyngkhrxbkhrxngaehlngnamnxyuepncanwnmak xyangechn hmuekaaxinediytawnxxkkhxngdtch odykarekhluxnihwephuxtxtankarlaxananikhmkhxngtawntkxaccanaipsukhwamkhdaeyngkbshrthxemrikaid emuxeduxnsinghakhm 1941 shrthxemrikasungnaekhanamncakyipunepncanwnkwa 80 idprakaskhwabatrthangkarkha thaihesrsthkicaelakalngthharkhxngyipunklayepnxmphat yipunmithangeluxk khux yxmexaicshrthxemrika ecrcapranipranxm haaehlngthrphyakrxunhruxichkalngthharekhayudaehlngthrphyakrtamaephnkaredim yipunidtklngiceluxkthangeluxksudthay aelahwngwakxngkalngkhxngtncasamarththalayshrthxemrikaidnanphxthicabrrluwtthuprasngkhedim dngnnyipuncungocmtithanthpheruxshrthxemrikathiephirl haebxr inwnthi 7 thnwakhm kh s 1941 sungidklaymaepnkhwamphidphladihyhlwngkhxngyipun snnibatchati aekikh dubthkhwamhlkthi snnibatchati snnibatchati khux xngkhkarrahwangpraethssungcdtngkhunhlngcaksngkhramolkkhrngthihnung ephuxpxngknsngkhramthixaccaekidkhuninxnakht aenwthangptibtikhxngsnnibatchati khux karcakdxawuth odyichhlkkar khwammnkhngswnrwm karrangbkhxphiphathrahwangpraethsodykarecrcathangkarthutaelaphthnakhunphaphchiwitkhxngprachakrolk prchyathangkarthutkhxngsnnibatchatiidaesdngihehnthungkhwamepliynaeplngkhxngrakehngathangkhwamkhidkwa 100 pikxnhnani prchyaeka iderimkhuncak karprachumihyaehngewiynna inpi kh s 1815 sungthwipyuorpidmikarepliynaeplngxanaekhtinhlaypraeths aelathaihekidkarthwngdulxanacaelakhxtklnglbrahwangphrrkhphwk phayitprchyaihm snnibatchati khux rthbalthipkkhrxngrthbal ephuxyutikhwamkhdaeyngrahwangpraethsinkarepidkrathutham aerngkratunthithaihekidsnnibatchati khux prathanathibdiwudorw wilsn thungaemwashrthxemrikacamiidekharwmktam ehtukarnsungtammaphayhlngidihbtheriynaeksmachikkhxngsnnibatchatiwakarphthnathangxutsahkrrmaelaxanacthangthharcamixanacehnuxkwakhwamtxngkarkhxngsnnibatichatisnnibatchatimikalngthharimephiyngphx txngkhunxyukbkhwamtngickhxngsmachiksnnibatchati karkhwabatrthangesrsthkicsungthangsnnibatsngihtha hruxephimetimkalngthharihaeksnnibat sungswnihysmachikimetmicthicathahlngcakkhwamsaerccanwnmakaelakhwamlmehlwephiyngelknxykhxngsnnibatchatiinchwngkhristthswrrs 1920 snnibatchatikimxacpxngknkhwamrunaerngkhxngmhaxanacxksa inchwngkhristthswrrs 1930 idely enuxngcakshrthxemrikaimidekhaepnsmachikkhxngsnnibatchati khwamepnhnungediywkn khwamxxnaexkhxngkxngthphaelakhwamehnaektwsungyngkhngdaenintxipnnhmaykhwamwasnnibatchatiyxmthungkhrawlmslay phawaesrsthkictktakhrngihy aekikh dubthkhwamhlkthi phawaesrsthkictktakhrngihy subenuxngmacaktladhlkthrphyniwyxrkkhxngshrthxemrikalminpi kh s 1929 idkxihekidphlkrathbthwthngolk klumpraethsinthwipyuorp odyechphaaxyangying khux eyxrmni idrbphlkrathbxyangmak sungidnaipsukartkngan khwamyakcnaelakarkxclaclimsinsud aelakhwamrusukhmdhwng kidthaihineyxrmni xdxlf hitelxr idrbkareluxktngxyangthlmthlayaelakhunsuxanacineyxrmni rwmipthungphunaephdckarxun insmynn sngkhramklangemuxngyuorp aekikh dubthkhwamhlkthi sngkhramklangemuxngyuorp orngeriynbangaehngidxthibaythungsngkhramolkkhrngthisxngwaepnkarthaihsngkhramklangemuxngyuorpkhyaywngkwangkhunnbtngaetsngkhramfrngess prsesiy inwnthi 19 krkdakhm kh s 1870 sungidkxihekidphlkrathbaekthwipyuorpimmakknxy rwmipthung sngkhramklangemuxngsepnaelasngkhramklangemuxngrsesiychnwnehtuthinaipsusngkhramolkkhrngthisxng aekikhdubthkhwamhlkthi chnwnehtuthinaipsusngkhramolkkhrngthisxng sngkhramfrngess prsesiy aekikh dubthkhwamhlkthi sngkhramfrngess prsesiy sngkhramfrngess prsesiyerimtnkhuninsmykhxngckrphrrdinopeliynthi 3 sungphraxngkhidrbruthungphykhukkhamthimacakeyxrmniaelatxmaidprakassngkhram chwngewladngklawidthaihfrngessxxnaexlngmak aelamiphlcnkrathngstwrrsthi 20chychnakhxngsngkhramepnkhxngprsesiyxyangthwmthn aelathaihekid karrwmchatieyxrmnkhun aekhwnxalss lxaernkhxngfrngesstkxyuinmuxkhxngeyxrmni frngesshwnekrngmakthungkbtxngthwngdulxanackbeyxrmniodykaraeswnghaphnthmitrkbshrachxanackraelackrwrrdirsesiy sngkhramolkkhrngthihnung aekikh dubthkhwamhlkthi sngkhramolkkhrngthihnung aela saehtukhxngsngkhramolkkhrngthihnung dwykhwamcringthiwasngkhramolkkhrngthihnungyutilngdwykaryxmaephkhxngeyxrmnixyangkathnhn hlaykhncungxacnbwasngkhramolkkhrngthisxngnnsubenuxngmacaksngkhramolkkhrngaerk kxngthphphnthmitrimidehyiybaephndineyxrmnielyaemaetnayediyw aelaprachachneyxrmnyngkhadhwngwasnthisyyasntiphaphthitammacayudtamhlkeknthkhxng hlkkarsibsikhx sunghmaykhwamwa chaweyxrmnnnotethiyngwa khnthrys miidyxmcanntxfayphnthmitr eyxrmniyngsamarththicaexachnasngkhramid aetwaklbimepnechnnn enguxnikhkhxngsntiphaphnnkhixkarlngthntheyxrmniihrbphidchxbtxkhwamesiyhayinsngkhramolkkhrngthihnung mlthinsungidthaiheyxrmniklayepnpraethsthikhmkhun prachachneyxrmncungphyayamthicafunfupraethsaelahathanglangaekhn karepliynaeplngxanaekhtkhxngxxsetriyhlngpi 1918 klumchatiniymhlayklumyngkhngtkxyuitkbdkkhxngchatixun twxyangechn yuokslaewiy sungedimepnrachxanackrchawesirb okhraextaelasolewns miklumechuxchatikwa 5 echuxchati idaek phwkesirb okhraext masidxn mxnetenkrinsaelasolewns idthuxkaenidkhunhlngcaksngkhram twxyangxun idaek karaeykdinaedndngedimkhxngckrwrrdixxsetriy hngkariidmikarchikxxkipxyangprascakehtuphlxnsmkhwraelaprascakkhwamyutithrrmphayhlngsngkhram odysngektidcak hngkarikmiswnthicatxngrbphidchxbtxphlkhxngsngkhramaelatxngsuyesiydinaednipkwasxnginsamswn khnathixxsetriy sungepnpraethsediywkn mikhnarthbalrwmkn klbidrbaekhwnebxreknaelnd aemwacasuyesiykhwamsuednetaelndktamchaweyxrmnxyuinphawalaekhyhlngsinsudsngkhram hlngcaksngkhram kxngthpheruxeyxrmnerimkaerib aelakxngthphbkeyxrmnksinhwngemuxtxngephchiyhnakbstruthiehnuxkwathngkalngkhnaelaxawuth tamkhwamcringinkhxni chaweyxrmnbangkhn echn xdxlf hitelxr idphthnaaenwkhidthiwakxngthpheyxrmnkhwrcaidrbchychna hitelxridichaenwkhiddngklawinkarplukradmchaweyxrmnihechuxwathahakekidsngkhramkhunxikkhrng fayeyxrmnicatxngidrbchychnaxyangaennxn satharnrthiwmar aekikh satharnrthiwmaridkhunmapkkhrxngpraethseyxrmnichwngrahwangpi 1918 thungpi 1933 chuxkhxngsatharnrthidmacaknkhreyxrmn chux iwmar sungthiprachumsphaaehngchatiidkahndrththrrmnuyihmkhunma hlngcakthickrwrrdieyxrmnlmslayhlngcaksngkhramolkkhrngthihnung karpkkhrxngkhxngsatharnrthepnaebbprachathipitythiekharphsiththikhxngesiyngkhangnxy ehmuxnkbfrngessaelashrthxemrikaphrrkhnasiidphyayamichkalngephuxyudxanaccakrthbalin kbtorngebiyr inwnthi 8 phvscikayn thungwnthi 9 phvscikayn kh s 1923 aetkimsaerc phunanasithukcbkum phawaesrsthkictktakhrngihy aekikh phawaesrsthkictktakhrngihyidthaihekidxtrawangngankwa 33 ineyxrmni aelaxik 25 inshrthxemrika thaihprachachnihkhwamsnbsnunaekkarpkkhrxngaebbephdckar ephuxtxngkarkarnganthimnkhngaelaxaharthiephiyngphxtxkardarngchiwitphawaesrsthkictktakhrngihyidthalayesrsthkiceyxrmniepnxndbsxngrxngcakshrthxemrikaethann chaweyxrmnphutknganidsnbsnunaenwkhidkhxngphrrkhnasi sungekhyesiykhwamnaechuxthuxipbang enuxngcakmismachikkhxngphrrkhthiimaennxn ehtukarndngklawidthaihhitelxrkawkhunsuxanacineyxrmni aelaepnechuxifkhxngsngkhramolkkhrngthisxnginthwipyuorp hlngcaksngkhramolkkhrngthihnung orngnganxutsahkrrmaelathurkicthnakharidekhaiplngthunephuxthicasrangthwipyuorpkhunmaihm aethlngcak ehtukarntladhlkthrphywxllstrithtk kh s 1929 nklngthuninshrthxemrikakelikkarlngthuninthwipyuorp lththiephdckarnasi aekikh dubthkhwamhlkthi eklxichschalthung nasieyxrmni aela phrrkhnasi hitelxridrbtaaehnngnaykrthmntrieyxrmniemuxwnthi 30 mkrakhm kh s 1933 ekhaidichehtuephlingihmirchsthakh sungmibangkhnklawwaphrrkhnasiepntnehtuesiyexng epnehtuihekhaykelikesriphaphkhxngprachachnaelankkaremuxngthnghmd sungidxxkprakasodyprathanathibdiephal fxn hinednburk aelarthbalphsm sungmiaenwkhwamkhidexiyngkhwa naodyxdxlf hitelxrhlngcakkareluxktngkhrngihm phrrkhnasiidlmlangrabbrthspha rththrrmnuyaehngsatharnrthiwmar aelalmlangrthsphaxyangetmrupaebbphanrthbyytimxbxanac emuxwnthi 23 minakhm sungphrrkhnasiwangaephn eklxichschalthung aelathaihthuktxngtamkdhmayineyxrmni thaihxanackarpkkhrxngthukrwmekhasusunyklang khux phrrkhnasi in khunmidyaw smachikphrrkhnasiidsngharstruthangkaremuxngkhxnghitelxr hlngcakhinednebirkthungaekxsykrrmemuxwnthi 2 singhakhm kh s 1934 taaehnngprathanathibdiaehngeyxrmnitkepnkhxnghitelxr odyimekidkartxtancakphubychakarradbsung khasabankhxngehlathharnnhmaykhwamwa thhareyxrmncayxmechuxfngxdxlf hitelxrodysmburntxma hitelxridfafunsnthisyyaaewrsayaelasnthisyyaolkharon eyxrmniidsngthharklbekhapracakarinaekhwnirnaelnd emuxwnthi 7 minakhm kh s 1936 sungkidrbkhwamsaercxyangngdngam kxngthhareyxrmnedinthangodyrthckryan aelasamarththukybyngxyangngaydaythahakfaysmphnthmitrykelikaephnkarexaichitelxr frngessimsamarththaxairidinewlann enuxngcakkhadesthiyrphaphthangkaremuxng aelaxikprakarhnung khux karsngthharklbekhapracakarnnekidkhuninwnsudspdah aelarthbalxngkvsyngimsamarthprachumharuxknidcnkwacathungwncnthr phlthitamma khux xngkvskmiidhamprameyxrmniaetxyangid karbukkhrxngexthioxepiy aekikh dubthkhwamhlkthi sngkhramxitali exthioxepiykhrngthisxng ebniot musosliniidphyayamkhyayxanaekhtkhxngckrwrrdixitaliinthwipaexfrikadwykarbukkhrxngexthioxepiy susamarthdarngexkrachidcakchatiyuorpphuaeswnghaxananikhmxun inkhaaektwkhxngehtukarnwxlwxl emuxeduxnknyayn 1935 xitalibukkhrxngexthioxepiyemuxwnthi 3 tulakhm odyprascakkarprakassngkhramxyangepnthangkar snnibatchatiidprakaswaxitaliepnphubukkhrxng aetkimsamarthlngothsxitaliidaetxyangidsngkhramdaeninipxyangechuxngcha aemwafayxitalicamikalngkhnaelaxawuththidikwa rwmipthung kasmstard emuxwnthi 31 minakhm kh s 1936 kxngthphxitaliidrbchychnaeddkhadinsngkhramthi yuththkaremychiw ckrphrrdiehli eslassi idhlbhnixxknxkpraethsemuxwnthi 2 phvsphakhm txma samarthyudemuxnghlwng xaddisxababa idemuxwnthi 5 phvsphakhm aelaxitalisamarthyudkhrxngidthngpraethsemuxwnthi 7 phvsphakhm aelarwmexaexriethriy exthioxepiyaelaosmaliaelndekhadwyknepnrthediyw eriykwa aexfrikatawnxxkkhxngxitaliemuxwnthi 30 mithunayn 1936 ckrphrrdiehli eslassiidklawsunthrphcntxsnnibatichatipranamkarkrathakhxngxitaliaelawiphakswicarntxpraethsxunthiimyunmuxekhamachwyehlux phraxngkhidetuxnwa wnniepnkhrawkhxngera aetmncathungkhrawkhxngthanemuxthungwnphrungni aelacakkarthisnnibatichatiklawocmtixitali musoslinicungprakasihxitalithxntwxxkcakkhwamepnsmachikkhxngsnnibatichati sngkhramklangemuxngsepn aekikh dubthkhwamhlkthi sngkhramklangemuxngsepn eyxrmniaelaxitaliidihkhwamchwyehluxaekphwkchatiniymsepn naodynayphlfransisok frngok thangdanshphaphosewiytexngkidyunmuxekhamachwyehluxfayrthbalaehngsatharnrthsepnsungrthbalosewiytehnwarthbalsepnmiaenwkhidexiyngsay thngsxngfayidnayuthothpkrnaelayuththwithiihmxxkmaichinkarthasngkhram odyechphaaxyangying khux karthingraebidthangxakas sngkhramcin yipunkhrngthisxng aekikh dubthkhwamhlkthi sngkhramcin yipunkhrngthisxng sngkhramcin yipunkhrngthisxngerimkhuninpi kh s 1937 emuxyipunekhaticincakdinaednaemncukwkarbukkhrxngerimtnkhunemuxfayyipunsngekhruxngbinthingraebidekhathalayhwemuxnghlayaehng echn esiyngih hnancingaelakwangocw aelathaysud emuxwnthi 22 aela 23 knyayn 1937 idmikaryunkharxngprathwng aelalngexydwykarlngmtikhxngkhnakrrmkarkarkhawphakhphuntawnxxkiklkhxngsnnibatichatiphlthitamma kxngthphckrwrrdiyipunsamarthyudemuxnghlwngkhxngcin khux hnancing aelakrathakhwamohdraytharun epntnwa karsngharhmuthinanking karphnwkxxsetriy aekikh karphnwkxxsetriyekhasueyxrmniinpi 1938 tamprawtisastraelw aenwkhidinkarsrangeyxrmnixnyingihynnkidrbkhwamniyminpraethsxxsetriyimaephkbinpraethseyxrmni sungidpraktwaephiynghlngcaksngkhramolkkhrngthihnung rththrrmnuykhxngthngsxngpraethsidkahndih aekhwneyxrmnxxsetriy epnswnhnungkhxngeyxrmni aetwakarkrathadngklawidrbkarkhdkhwangodysnthisyyaaewrsay emuxewlaphanip chawxxsetriycanwnmakklumeruxngniip inthanaechnni phrrkhchatisngkhmniymaehngxxsetriyaelakhbwnkarchatiniymeyxrmniaehngxxsetriyidphungphapraethseyxrmni nasieyxrmniidthaihphrrkhnasiaehngxxsetriythukkdhmay sungphwkekhaidmiswnsakhyinkarlxbsngharxkhresnabdiaehngxxsetriy exneklebirt dxlfs aelaihsmachikkhxngphrrkhnasiaehngxxsetriyhlaykhnmixanacinkarbriharpraethshlngcakthihitelxrklawsunthrphcnthirthsphairstark phuthisubthxdtaaehnngcaknaydxlfs khux Kurt Schuschnigg idphudxyangchdecnwa ekhaimsamarthphlkdnidiklkwanixik thamklangaerngkddnmhasalcaknasieyxrmni ekhacungidcdkarlngprachamti dwykhwamhwngwaxxsetriycayngrksaexkrachkhxngtniwid ephiyngaetwahnungwnkxnhna phrrkhnasiaehngxxsetriysamarthkxrthpraharsaerc aelakhunsuxanacinxxsetriy hlngcakkaryudxanackhrngni hitelxridxxkkhasngihthhareyxrmnedinekhasuphunthi aelaphrrkhnasiaehngxxsetriyidthayoxnxanacihaeknasieyxrmnixyangrwderw chawxxsetriyimidlukkhunmatxtanehtukarninkhrngniely enuxngcakphwkekhamikhwamtxngkarechnnixyuaelw aelaxxsetriysinsudkarepnrthexkrachxyangsineching xngkvs frngessaelafassistxitalisungekhymitxtanaenwkhidkarrwmchatinixyangrunaerng thwaintxnniklbimthaxairely aetthisakhykkhux chatiehlaniklbthaelaaknexngaelathalaykhwammnkhngkhxngaenwsetrsa aelaenuxngcakwaxitaliimmithangeluxkxunnxkcaktxngyxmrbkarphnwkdinaednkhrngnidwykhwamimchxbic aetxitaliimmikhwamcaepnidthicatxngtxtaneyxrmnixik txma xitalicungerimmikhwamiklchidkbphrrkhnasi khxtklngmiwnik aekikh dubthkhwamhlkthi khxtklngmiwnik suedethinlnthkepnxikhnungaekhwnsungprachakrswnihyepnkhnthiphudphasaeyxrmn tngxyuthangtawntkkhxngechoksolwaekiysungmixanaekhtdidtxkbnasieyxrmni rwmipthungmnmirabbkarpxngknsungsrangkhunphanekhtphumipraethsthiepnphuekha aelamikhnadihyyingkwa aenwmakinxt aekhwnsuedetnaelndmikhnadepnhnunginsamkhxngaekhwnobhiemiyemuxethiybknindankhnad canwnprachakraelakhwamecriykawhnathangesrsthkic echoksolwaekiymikxngthphxnthnsmy 38 kxngphl aelamixutsahkrrmkarphlitxawuththidi aelayngepnphnthmitrthangkarthharkbfrngessaelashphaphosewiythitelxridkddnihaekhwnsuedetaelndrwmekhakbnasieyxrmni aelayngidsnbsnunklumaebngaeykdinaednchaweyxrmninphunthi tamkhxklawhathiwaphwkechkhkhmehngaelatharaychaweyxrmn thaihklumchatiniymoxnexiyngipthangnasieyxrmni hlngcakhitelxrphnwkxxsetriyaelw phrrkhkaremuxngeyxrmnthukphrrkh ykewnphrrkhsngkhmniymprachathipityaehngeyxrmni rwmekhakb phrrkhsuedethineyxrmnthnghmd kickrrmthangkarthharaelaphwkthiniymkhwamrunaerngidephytwxxkmainchwngewlani rthbalechoksolwaekiycungprakaskdxykarsukinaekhwnsuedethinlnthephuxrksakhwamepnraebiyberiybrxy aetwakddngklawkepnephiyngkarekhaaethrkaesngehtukarnethann odyechphaaxyangyingtxnthiphwkchatiniymechoksolwaekiyphudkhunma aelahmdkhwamekhluxbaekhlngtxkarkratunkhxngrthbalnasiaelarthbalsolwaekiy phrrkhnasisboxkas xangwacaphnwksuedethinlnthekhasunasieyxrmniephuxpkpxngchaweyxrmninphunthiinkhxtklngmiwnik sungidlngnamknemuxwnthi 30 knyayn kh s 1938 naykrthmntriaehngshrachxanackr nayenwil echmebxrlin aelaphunafrngessidexaichitelxr faysmphnthmitridplxyiheyxrmnisngthharekhasuphunthiaelaihrwmekhasunasieyxrmni ephuxpraoychnaeksntiphaph ephuxepnkaraelkepliyn hitelxridihsyyawaekhacaimaeswnghadinaednihmephimetiminthwipyuorp echoksolwaekiysungideriykradmphlipaelwmithharkwahnunglannay aelaetriymphrxmthicathakarrb klbimmiswnrwminkarprachumkhrngni emuxphuaethnxngkvsaelafrngessidaecngihechoksolwaekiythrab aelathahakechoksolwaekiyimyxmrbkhxtklngdngklaw thngxngkvsaelafrngesscathuxwaechoksolwaekiycatxngrbphidchxbtxsngkhramthicaekidkhun prathanathibdiexdward biens catxngyxmrbkhxesnx eyxrmnicungekhayudsuedethinlnthodyimmikartxtanid thngsinemuxthungeduxnminakhm kh s 1939 eyxrmniidchikkhxtklngmiwnik aelabukkrungprak aelasolwaekiyprakasexkrach praethsechoksolwaekiylmslay ehtukarnthiekidkhunidyutinoybayexaichitelxrkhxngxngkvsaelafrngess aelaplxyiheyxrmnimixanacinthwipyuorp karbukkhrxngaexlebeniy aekikh dubthkhwamhlkthi karbukkhrxngaexlebeniykhxngxitali hlngcakeyxrmniyudkhrxngechoksolwaekiyidsaerc xitalimxngehnwatnxaccaepnsmachikthisxngkhxngfayxksa krungormidyunkhakhadaekkrungtirana emuxwnthi 25 minakhm kh s 1939 odytxngkarihxitaliyudkhrxngaexlebeniy phraecasxkthi 1 aehngaexlebeniy ptiesththicaidrbengintxbaethnephuxepnkaraelkepliynaelkkbkaryudaexlebeniy emuxwnthi 7 emsayn musoslinisngkxngthphxitaliekhabukkhrxngaexlebeniy hlngcakkarrbinchwngewlasn aexlebeniykphayaeph aetyngkhngsuxyanghawhay sngkhramchayaednosewiyt yipun aekikh dubthkhwamhlkthi yuththkarthihalhin kxl inpi 1939 kxngthphyipunocmticakthangehnuxkhxngaemncukwekhasuekhtisbieriy sungthuktiaetkklbmaodykxngthphosewiytphayitkarnakhxngnayphlekxxrki cukhxf hlngcakkarrbkhrngni shphaphosewiytaelayipunkepnmitrkneruxymacnkrathngpi 1945 yipunidepliynaephnkarkhxngtnodyhathangkhyayxanaekhtkhxngtnlngipthangit aelanaipsukhwamkhdaeyngkbshrthxemrikabnaephndinfilippins aelaaenwesnthangedineruxkhxnghmuekaaxinediytawnxxkkhxngdtch swnthangdanshphaphosewiytkidmungepaipthangthistawntk aelakhngthharaedngiwpraman 1 000 000 1 500 000 nayephuxrksaaenwchayaednthitidkbyipun snthisyyaomoltxf ribebnthrxph aekikh snthisyyaomoltxf ribebnthrxphepnephiyngaetsnthisyyaimrukranknrahwangnasieyxrmniaelashphaphosewiyt sunglngnaminkrungmxsokemuxwnthi 23 singhakhm kh s 1939 rahwangrthmntriwakarkrathrwngkartangpraethsosewiyt wyaechslaf omoltxf aelarthmntriwakarkrathrwngkartangpraethseyxrmni ocxakhim fxn ribebnthrxphinpi 1939 thngnasieyxrmniaelashphaphosewiyttangkyngimphrxmthicathasngkhramrahwangkn shphaphosewiytsungesiydinaednopaelndtngaetpi kh s 1920 aemwasnthisyyaomoltxf ribebnthrxphcaepnsnthisyyaimrukranknxyangepnthangkar aetthwatxnthaykhxngsnthisyyadngklawkyngmikhxtklnglbtxthaysnthisyya sungepnkaraebngfinaelnd exsoteniy ltewiy lithweniy opaelndaelaormaeniy ihxyuphayitekhtxiththiphlkhxngknaelaknphayhlngcaksnthisyyadngklaw praethsthiidklawmakhangtnkidthukbukkhrxng odythukyudkhrxnghruxthukbngkhbihykdinaednihaekshphaphosewiyt nasieyxrmni hruxthngsxngpraeths karbukkhrxngopaelnd aekikh dubthkhwamhlkthi karbukkhrxngopaelnd aela karbukkhrxngopaelndkhxngshphaphosewiyt idmikarthkethiyngknwainpi 1933 opaelndidphyayamthicachkcungihfrngessekharwmkbtninkhwamphyayamthicaocmtieyxrmnihlngcakthiphrrkhnasimixanacinpraethseyxrmni ehtukarnxntungekhriydthiekidkhunrahwangopaelndaelaeyxrmninnekiywkhxngkbnkhresridansikaelachnwnopaelnd ehtukarnniidsngblnginpi 1934 hlngcakkarlngnaminsnthisyyaimrukrankn aetinvduibimphlipi 1939 ehtukarnxntungekhriydkidekidkhunxikkhrng aelathaythisud hlngcakidyunkhxesnxmakmay eyxrmnikidprakasyutikhwamsmphnththangkarthut aelaimnanhlngcaksnthisyyaomoltxf ribebnthrxphidlngnam karocmtiopaelndkiderimtnkhuninwnthi 1 knyayn kh s 1939 xngkvsaelafrngesssungekhyrbpraknkhwamepnexkrachkhxngopaelnd aelaidyunkhakhadaekeyxrmniihthxnkalngxxkcakopaelndodythnthi eyxrmniptiesth dngnn thngsxngpraethscungprakassngkhramkbeyxrmni aetthwathngsxngkmiidihkhwamchwyehluxaetxyangidnk swnthangdantawnxxk shphaphosewiytbukkhrxngopaelndinwnthi 17 knyayn karocmtishphaphosewiyt aekikh dubthkhwamhlkthi ptibtikarbarbarxssa dwykarocmtishphaphosewiytemuxwnthi 22 mithunayn kh s 1941 hitelxridkhyaykhxbekhtkhxngsngkhram sungepnsingthiphidphladthangyuththsastr enuxngcakxngkvsyngmiidphayaeph aelaphlthitamma kkhux karthasuksxngdan aethitelxrklbechuxwashphaphosewiytcaphayaephxyangngayday aelaocmtishphaphosewiytxyangeddkhad hlngcaknn eyxrmnikcaidyudkhrxngdinaednthnghmdnxkcaknn yngmihlkthanihmthisamarthechuxidwa thahakeyxrmniimocmtishphaphosewiytaelw stalinkxacsngkarihkxngthphaedngbukkhrxngnasieyxrmniinxikimkieduxnkhanghnaechnkn sungxaccaepnkhwamesiyhaykhrngihykhxngnasieyxrmni enuxngcakkxngthphbkeyxrmnimsamarthaesdngaesngyanuphaphkarocmtisayfaaelb sungepnkarsnbsnuniheyxrmnisamarthrbmuxkbkxngthphosewiytidkxn nxkcaknn lksnaphumipraethskhxngeyxrmnithangdantawnxxknnimehmaathicathasngkhramtngrb enuxngcakepnthirabaelaepidolng karocmtiephirlharebxr aekikh dubthkhwamhlkthi karocmtiephirlharebxr rachnawickrwrrdiyipunidocmtithaeruxephirl emuxwnthi 7 thnwakhm kh s 1941 dwykhwamhwngwacathalaykxngthpheruxshrthxemrikaphakhphunaepsifik thaihshrthsuyesiyeruxrbaelathharepncanwnmakinwnediywknni eyxrmniprakassngkhramtxshrthxemrika thaihprachachnxemriknyutiaenwkhidkaraeyktwxyuoddediywkhxngtn aelaekhasusngkhramxangxing aekikh 1 Carley Michael Jabara 1939 the Alliance that never was and the coming of World War II Chicago I R Dee 1999 ISBN 1 56663 252 8 Dallek Robert Franklin D Roosevelt and American Foreign Policy 1932 1945 1995 Dutton David Neville Chamberlain London Arnold New York Oxford University Press 2001 ISBN 0 340 70627 9 Feis Herbert The Road to Pearl Harbor The coming of the war between the United States and Japan prawtisastrdngedimkhxngshrthxemrika Goldstein Erik amp Lukes Igor editors The Munich crisis 1938 Prelude to World War II London Portland OR Frank Cass 1999 ISBN 0 7146 8056 7 Klaus Hildebrand The Foreign Policy of the Third Reich translated by Anthony Fothergill London Batsford 1973 Andreas Hillgruber Germany and the Two World Wars translated by William C Kirby Cambridge Mass Harvard University Press 1981 ISBN 0 674 35321 8 Seki Eiji 2006 Mrs Ferguson s Tea Set Japan and the Second World War The Global Consequences Following Germany s Sinking of the SS Automedon in 1940 London Global Oriental 10 ISBN 1 905246 28 5 13 ISBN 978 1 905246 28 1 cloth phimphxikkhrng ody fayorngphimph mhawithyalyhaway ohonlulu 2007 previously announced as Sinking of the SS Automedon and the Role of the Japanese Navy A New Interpretation Archived 2008 06 03 thi ewyaebkaemchchin Richard Overy amp Timothy Mason Debate Germany Domestic Crisis and War in 1939 hnathi 200 240 cak Past and Present Number 122 February 1989 Strang G Bruce On The Fiery March Mussolini Prepares For War Westport Conn Praeger Publishers 2003 ISBN 0 275 97937 7 Thorne Christopher G The Issue of War States Societies and the Coming of the Far Eastern Conflict of 1941 1945 1985 khwamsmphnthrahwangpraethssmysngkhramolkkhrngthisxng Tohmatsu Haruo and H P Willmott A Gathering Darkness The Coming of War to the Far East and the Pacific 2004 epnkarsrupodyyx Piotr S Wandycz The Twilight of French Eastern Alliances 1926 1936 French Czechoslovak Polish relations from Locarno to the remilitarization of the Rhineland Princeton N J Princeton University Press 1988 ISBN 0 691 05528 9 Watt Donald Cameron How war came the immediate origins of the Second World War 1938 1939 New York Pantheon 1989 ISBN 0 394 57916 X Gerhard Weinberg The Foreign Policy of Hitler s Germany Diplomatic Revolution in Europe 1933 36 Chicago University of Chicago Press 1970 ISBN 0 226 88509 7 Gerhard Weinberg The Foreign Policy of Hitler s Germany Starting World War II 1937 1939 Chicago University of Chicago Press 1980 ISBN 0 226 88511 9 Henry Ashby Turner German big business and the rise of Hitler New York Oxford University Press 1985 ISBN 0 19 503492 9 John Wheeler Bennett Munich Prologue to Tragedy New York Duell Sloan and Pearce 1948 Yomiuri Shimbun The James E Auer Editor 2007 Who Was Responsible From Marco Polo Bridge to Pearl Harbor The Yomiuri Shimbun ISBN 4 643 06012 3 2 Young Robert France and the Origins of the Second World War New York St Martin s Press 1996 ISBN 0 312 16185 9 aehlngkhxmulxun aekikhHuman Smoke The Beginnings of World War II the End of Civilization ody niokhlsn ebekxr bththi 1 edxa histxri aechnaenl frngessaelaeyxrmnikbaekhwnirnaelnd khwamkhdaeyngrahwangeyxrmnikbfrngessmaepnewlahlaystwrrs aelaklayepnsaehtukhxngsngkhramolkkhrngthisxng The New Year 1939 40 by Joseph Goebbels prasry eracasubnchayhad ody winstn echxrchill aehlngkhxmulechoksolwaekiy aehlngkhxmulechoksolwaekiy ekhathungcak https th wikipedia org w index php title saehtukhxngsngkhramolkkhrngthisxng amp oldid 9842974, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม