fbpx
วิกิพีเดีย

Anchoring

ในสาขาจิตวิทยา คำภาษาอังกฤษว่า Anchoring (แปลว่า การตั้งหลัก) หรือ focalism หมายถึงความเอนเอียงทางประชานของมนุษย์ ความมีแนวโน้มที่จะอิงข้อมูลแรกที่ได้มากเกินไป (โดยเป็น anchor คือเป็นหลัก) เมื่อทำการตัดสินใจ ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราพิจารณาข้อมูลแรกที่ได้ในการประเมินค่าที่ไม่รู้ ซึ่งจะกลายเป็นหลักที่จะใช้ต่อ ๆ มา และเมื่อมีหลักตั้งขึ้นแล้ว การประเมินผลต่อ ๆ มาจะเป็นการปรับค่าใช้ข้อมูลที่เป็นหลักนั้น ดังนั้น จึงอาจเกิดความความเอนเอียงเพราะตีความข้อมูลต่อ ๆ มาเป็นค่าใกล้ ๆ หลักที่อาจจะไม่ได้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน โดยไม่สมเหตุผล ยกตัวอย่างเช่น ราคาที่เสนอเริ่มแรกในการซื้อขายรถมือสองจะกลายเป็นหลักที่ใช้ในการต่อราคาที่มีต่อ ๆ มา ดังนั้น ราคาตกลงซื้อที่น้อยกว่าราคาเสนอเบื้องต้นอาจจะดูเหมือนดีกว่าถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้ว อาจจะเป็นราคาที่สูงกว่ามูลค่าของรถจริง ๆ

ปรากฏการณ์เพ่งจุดสนใจ

ปรากฏการณ์เพ่งจุดสนใจ (focusing effect) เป็นความเอนเอียงทางประชาน ที่เกิดขึ้นเมื่อเราให้ความสำคัญกับลักษณะหนึ่ง ๆ ของเหตุการณ์มากเกินไป ทำให้เกิดความผิดพลาดในการพยากรณ์อรรถประโยชน์ (utility) ของผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ เราเพ่งเล็งความสนใจไปที่ความแตกต่างที่ชัดเจน โดยไม่สนใจความแตกต่างที่ไม่ชัดเจน เมื่อต้องทำการพยากรณ์เกี่ยวกับความสุขหรือความสะดวกสบายที่จะได้

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อถามคนอเมริกันว่า เขาคิดว่าคนแคลิฟอร์เนียมีความสุขมากกว่าคนที่มาจากรัฐทางตอนกลาง (midwesterner) ของประเทศมากแค่ไหน ทั้งคนแคลิฟอร์เนียและคนที่มาจากรัฐทางตอนกลางกล่าวว่า คนแคลิฟอร์เนียจะต้องมีความสุขมากกว่าพอสมควร เมื่อจริง ๆ แล้ว ในงานสำรวจจริง ๆ จะไม่มีความแตกต่างกันระหว่างคะแนนความสุขที่ตนได้ระหว่างคนแคลิฟอร์เนีย กับคนที่มาจากรัฐทางตอนกลาง

ความเอนเอียงเช่นนี้มีฐานมาจากการที่คนอเมริกันเพ่งความสนใจไปที่ภูมิอากาศที่แจ่มใสและรูปแบบชีวิตที่ดูเหมือนจะเป็นแบบง่าย ๆ สบาย ๆ ของคนแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นเรื่องที่คิดถึงได้ชัดเจนกว่า และไม่ให้ค่าและความสำคัญกับการใช้ชีวิตและตัวกำหนดความสุขอย่างอื่น ๆ เช่นการมีอาชญากรรมน้อย และความปลอดภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ เช่นแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นสิ่งที่คนแคลิฟอร์เนียไม่มี

อีกตัวอย่างหนึ่ง การมีรายได้เพิ่มขึ้นมีผลเพียงเล็กน้อยและชั่วคราวต่อความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีในชีวิต แต่เราจะประเมินค่านี้สูงเกินไป นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบล ดร. แดเนียล คาฮ์นะมันเสนอว่า นี้เป็นผลของการแปลสิ่งเร้าผิดโดยการเพ่งเล็ง (focusing illusion) ที่เราเข้าไปเพ่งเล็งสิ่งที่สังคมเห็นว่าเป็นความสำเร็จในชีวิต แทนที่จะใส่ใจกิจกรรมในชีวิตประจำวันของตัวเราเอง

Anchoring and adjustment heuristic

Anchoring and adjustment heuristic (ฮิวริสติกการตั้งหลักและการปรับใช้) เป็นฮิวริสติก (คือวิธีการคิดแก้ปัญหา) ที่มีอิทธิพลต่อการประเมินค่าความน่าจะเป็นแบบรู้เอง (intuitive) ของมนุษย์ โดยการใช้ฮิวริสติกนี้ เราจะเริ่มที่ค่าหลัก (anchor) ที่อาจจะมีการเสนอแบบอ้อม ๆ แล้วปรับใช้เป็นค่าประเมิน คือเราจะมีหลักเป็นค่าประเมินเบื้องต้น (anchor) แล้วปรับค่าขึ้นลงอาศัยข้อมูลอื่น ๆ แต่ว่าการปรับค่ามักจะไม่ได้ทำอย่างเพียงพอ ทำให้หลักเบื้องตนมีอิทธิพลมากเกิดไปในการประเมินค่า

 
แดเนียล คาฮ์นะมันเป็นนักวิชาการพวกแรก ๆ ที่ศึกษาเรื่องการตั้งหลัก

ในปี ค.ศ. 1974 อะมอส ทเวอร์สกี้และแดเนียล คาฮ์นะมันได้คิดค้นทฤษฎีการตั้งหลักและการปรับใช้เป็นพวกแรก ในงานศึกษาเบื้องต้นงานหนึ่งของพวกเขา มีการถามผู้ร่วมการทดลองให้คำนวณเลขภายใน 5 วินาที เป็นการคูณเลขตามลำดับตั้งแต่เลข 1 ถึง 8 โดยแสดงเป็น   หรือเป็น   แต่เพราะว่าผู้ร่วมการทดลองไม่มีเวลาพอที่จะคูณเลขทั้งหมด จึงต้องประเมินคือเดาคำตอบหลังจากคูณเลข 2-3 ตัวแรก ถ้าผลคูณเลขตัวแรก ๆ มีค่าน้อย เพราะว่าเริ่มจากลำดับเลขน้อย ผลประเมินเฉลี่ยที่ผู้ร่วมการทดลองตอบจะอยู่ที่ 512 แต่ถ้ามีค่ามาก ผลประเมินเฉลี่ยก็จะอยู่ที่ 2,250 (แต่ผลที่ถูกอยู่ที่ 40,320)

ส่วนในงานศึกษาอีกงานหนึ่งของพวกเขา มีการให้ผู้ร่วมการทดลองสังเกตดูล้อรูเล็ตต์ที่กำหนดไว้ก่อนตั้งแต่ต้นให้ตกอยู่ที่เลข 10 หรือ 65 แล้วให้ผู้ร่วมการทดลองเดาเปอร์เซ็นต์ของประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่เป็นประเทศในแอฟริกา ผู้ร่วมการทดลองที่ลูกรูเล็ตต์ตกลงที่ 10 เดาค่าเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำกว่า (25% โดยเฉลี่ย) ส่วนผู้ร่วมการทดลองที่ลูกรูเล็ตต์ตกลงที่ 65 เดาค่าเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า (45% โดยเฉลี่ย) รูปแบบเช่นนี้ปรากฏซ้ำ ๆ ในงานทดลองอื่น ๆ ที่เป็นการประเมินค่าอย่างอื่น ๆ มากมาย

อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นงานศึกษาที่ให้ผู้ร่วมการทดลองเขียนเลขสองหลักสุดท้ายของเลขประกันทางสังคมของตน (ซึ่งโดยรวม ๆ แล้วเหมือนกับเป็นเลขสุ่มที่ให้แต่ละบุคคล) แล้วให้พิจารณาว่า ตนยินดีจะจ่ายเงินจำนวนเท่านี้ (เป็นดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับสินค้าที่ตนไม่รู้มูลค่า เช่นไวน์ ช็อกโกแลต หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือไม่ ต่อจากนั้นก็ให้ผู้ร่วมการทดลองประมูลสินค้าเหล่านี้ ผลปรากฏว่า ผู้ร่วมการทดลองที่มีค่าเลขสูงกว่าจะทำการประมูลสินค้ามีค่า 60-120% มากกว่าผู้ที่มีค่าเลขต่ำกว่า คือผู้ร่วมการทดลองมีการใช้ค่าเลขประกันทางสังคมของตนเป็นหลักในการประมูลสินค้า

ความยากที่จะหลีกเลี่ยงการตั้งหลัก

งานวิจัยต่าง ๆ แสดงว่า การตั้งหลักเป็นเรื่องยากที่จะป้องกัน ยกตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยหนึ่ง มีการให้หลักที่ไม่สมเหตุสมผล คือมีการถามนักศึกษาสองกลุ่มว่าท่านมหาตมา คานธีเสียชีวิตก่อนหรือหลังวัย 9 ขวบ หรือก่อนหรือหลังอายุ 140 ปี เป็นเรื่องชัดเจนอยู่แล้วว่า เลขหลักเหล่านี้ไม่ใช่อายุที่ถูกต้อง แต่ว่า กลุ่มทั้งสองทำการเดาที่มีค่าต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือค่าเฉลี่ยที่ 50 ปี กับที่ 67 ปี

มีงานวิจัยอื่น ๆ ที่พยายามจะกำจัดการตั้งหลักอย่างตรง ๆ ในงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาเหตุและลักษณะต่าง ๆ ของการตั้งหลัก มีการแสดงหลักให้กับผู้ร่วมการทดลองแล้วให้เดาว่า มีแพทย์กี่คนที่อยู่ในสมุดโทรศัพท์ (ขององค์การโทรศัพท์) นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการให้ข้อมูลตรง ๆ ว่า ปรากฏการณ์การตั้งหลักนั้นจะทำคำตอบของผู้ร่วมการทดลองให้เกิดความบิดเบือน และดังนั้น ผู้ร่วมการทดลองควรที่จะพยายามแก้ปัญหานั้น ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้ทั้งเลขหลักไม่ได้ทั้งข้อมูล ไม่ว่าจะมีการให้ข้อมูลแก่ผู้ร่วมการทดลองอย่างไร ผู้ร่วมการทดลองในกลุ่มทดลองทั้งหมดล้วนแต่เดาจำนวนแพทย์ในสมุดโทรศัทพ์ ที่มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม ดังนั้น แม้ว่าจะรู้ถึงปรากฏการณ์ตั้งหลัก แต่ผู้ร่วมการทดลองก็ยังไม่สามารถจะป้องกันความเอนเอียงที่เกิดขึ้นได้ มีงานใน ปี ค.ศ. 2010 ที่พบว่า แม้จะมีการให้รางวัลเป็นเงิน ผู้ร่วมการทดลองก็ยังไม่สามารถที่จะปรับค่าออกจากหลักให้เพียงพอ

ทฤษฎีที่อธิบายเหตุ

มีการเสนอทฤษฎีหลายอย่างที่สามารถอธิบายเหตุของการตั้งหลัก ถึงแม้ว่า ทฤษฎีบางอย่างจะได้รับความนิยมกว่า แต่ก็ยังไม่มีความเห็นพ้องว่าทฤษฎีไหนดีที่สุด ในงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาเหตุของการตั้งหลัก ผู้ทำงานวิจัยสองท่านพรรณนาการตั้งหลักว่า ง่ายที่จะแสดงหลักฐาน แต่ยากที่จะอธิบาย มีนักวิจัยอย่างน้อยกลุ่มหนึ่งที่เสนอว่า มีหลายสาเหตุ และปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "anchoring" จริง ๆ แล้วเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ กันหลายอย่าง

ทฤษฎีการตั้งหลักและการปรับใช้

ในงานศึกษาดั้งเดิม ทเวอร์สกี้และคาฮ์นะมันเสนอทฤษฎีที่มีชื่อว่า anchoring-and-adjusting ตามทฤษฎีนี้ เมื่อเกิดการตั้งหลักแล้ว เราจะปรับค่าไปจากหลักนั้นเพื่อที่จะได้ค่าที่เป็นคำตอบ แต่เนื่องจากว่า เราปรับค่าไม่เพียงพอ ดังนั้น ค่าการเดาที่ได้ในที่สุดจะอยู่ใกล้หลักโดยไม่สมเหตุผล มีนักวิจัยอื่น ๆ ที่พบหลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีนี้

แต่ว่า นักวิจัยต่อ ๆ มาวิจารณ์ทฤษฎีนี้ เพราะว่าทฤษฎีใช้อธิบายได้แต่ในกรณีที่หลักแรกไม่ได้อยู่ในช่วงคำตอบที่พอรับได้ของผู้ทำการประเมิน เช่น ในตัวอย่างท่านมหาตมา คานธี เนื่องจากการเสียชีวิตในวัย 9 ขวบเป็นหลักที่อยู่นอกช่วงคำตอบ เราจะปรับใช้ค่าจากหลักนั้น แต่ว่า ถ้าให้ค่าที่ดูสมเหตุผล เราก็จะใช้ค่านั้นเลยโดยไม่ได้ปรับใช้ ดังนั้น ทฤษฎีนี้ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ตั้งหลักได้ทั้งหมด

มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่า ปรากฏการณ์ตั้งหลักเกิดขึ้นแม้เมื่อการรับรู้หลักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใต้จิตสำนึก แต่ตามทฤษฎีการตั้งหลักและการปรับใช้ เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าการปรับใช้ค่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเหนือจิตสำนึก เพราะเหตุผลที่ว่ามาดังกล่าวนี้ ทฤษฎี anchoring-and-adjusting เริ่มจะไม่ได้รับความนิยม[ต้องการอ้างอิง]

ทฤษฎี Selective accessibility

ในงานศึกษาเดียวกันที่วิจารณ์ทฤษฎีการตั้งหลักและการปรับใช้ ผู้ทำงานวิจัยเสนออีกทฤษฎีหนึ่งเรียกว่า selective accessibility ซึ่งเป็นทฤษฎีดัดแปลงมาจากทฤษฎี "confirmatory hypothesis testing" อย่างสั้น ๆ ก็คือ ทฤษฎี selective accessibility เสนอว่า เมื่อได้หลัก เราจะตรวจสอบสมมุติฐานว่า หลักนั้นเป็นคำตอบที่ดีหรือไม่ เมื่อคิดว่ามันไม่ใช่ ก็จะทำการเดาต่อไป แต่ว่าจะเดาหลังจากที่ได้ตรวจดูลักษณะต่าง ๆ ของหลักนั้นที่เข้าประเด็นกับคำตอบ เพราะฉะนั้น เมื่อประเมินค่าคำตอบใหม่ เราก็จะค้นหาลักษณะที่เหมือนกันกับหลัก มีผลเป็นปรากฏการณ์ตั้งหลัก มีงานวิจัยหลายงานที่แสดงหลักฐานการทดลองสนับสนุนสมมุติฐานนี้ ทฤษฎีนี้สมมุติว่า เราจะพิจารณาหลักว่าเป็นค่าที่อาจเป็นไปได้จึงไม่ได้ทิ้งค่านั้นไปตั้งแต่ต้น และการทิ้งจะขัดขวางการพิจารณาลักษณะที่เข้าประเด็นของหลักนั้น[ต้องการอ้างอิง]

การเปลี่ยนทัศนคติ

ส่วนทฤษฎีล่าสุดที่ใช้อธิบายการตั้งหลักเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการเปลี่ยนทัศนคติ ตามทฤษฎีนี้ การตั้งหลักเปลี่ยนทัศนคติของบุคคลนั้นให้เอนไปทางลักษณะบางอย่างของหลักนั้น ทำให้เกิดความเอนเอียงต่อคำตอบในอนาคตที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับหลัก ผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีนี้พิจารณาว่า เป็นคำอธิบายในแนวเดียวกับ anchoring-and-adjusting และ selective accessibility ที่เสนอในงานวิจัยก่อน ๆ

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการตั้งหลัก

พื้นอารมณ์

มีงานวิจัยมากมายที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพื้นอารมณ์ซึมเศร้า กับการหาคำตอบต่อปัญหาที่อาศัยความพยายามมากกว่าและมีความแม่นยำกว่า และเพราะเหตุนี้ งานศึกษาต้น ๆ จึงตั้งสมมุติฐานว่า ผู้มีพื้นอารมณ์ซึมเศร้าจะโน้มเอียงไปใช้วิธีแก้ปัญหาเนื่องกับการตั้งหลัก น้อยกว่าผู้ที่มีพื้นอารมณ์ที่ดีกว่า แต่ว่า งานศึกษาต่อ ๆ มากลับแสดงผลตรงกันข้าม คือผู้มีความเศร้าแก้ปัญหาเนื่องกับการตั้งหลักมากกว่าผู้ที่มีความสุขหรือมีความรู้สึกเฉย ๆ

ประสบการณ์

งานวิจัยยุคต้น ๆ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญ (คือผู้มีความรู้ ประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญทางวิชาการในระดับสูง) มีโอกาสเสี่ยงต่อปรากฏการณ์ตั้งหลักน้อยกว่า แต่ต่อจากนั้นมา มีงานวิจัยมากมายที่แสดงว่า แม้ว่าประสบการณ์บางครั้งอาจจะลดระดับปรากฏการณ์ได้ แต่ว่าแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ยังเสี่ยงต่อปรากฏการณ์นี้ ในงานวิจัยที่ศึกษาผลของการตั้งหลักในการพิพากษา นักวิจัยพบว่า แม้แต่ผู้พิพากษาผู้มีประสบการณ์สูงก็ได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์นี้ ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้แม้ว่า หลักที่ให้จะไม่มีกฏเกณฑ์อะไรและไม่เกี่ยวข้องกับคดีที่กำลังพิจารณา

บุคลิกภาพ

มีงานวิจัยที่แสดงสหสัมพันธ์ของความเสี่ยงต่อการตั้งหลักกับลักษณะบุคลิกภาพบางอย่าง คือ ความไม่ขัดกับคนอื่น (agreeableness คือเห็นใจผู้อื่นและพร้อมที่จะร่วมมือ) และความรอบคอบระมัดระวัง (conscientiousness คือมีระเบียบ ไว้ใจได้ มีวินัย รู้จักหน้าที่) มีโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งหลักมากกว่า แต่ผู้ที่ชอบสังคม (extroversion คืออารมณ์ดี มั่นใจ ชอบเข้าสังคม และชอบพูด) มีโอกาสเสี่ยงน้อยกว่า ส่วนอีกงานหนึ่งพบว่า ผู้ชอบหาประสบการณ์ใหม่ ๆ มีโอกาสเสี่ยงมากกว่า

สมรรถภาพทางประชาน

อิทธิพลของสมรรถภาพทางประชาน (cognitive ability) ต่อการตั้งหลักยังเป็นเรื่องที่ไม่มีข้อยุติ งานวิจัยเกี่ยวกับความยินดีที่จะจ่ายค่าสินค้าในปี ค.ศ. 2010 พบว่า ปรากฏการณ์ตั้งหลักจะลดลงในผู้ที่มีสมรรถภาพทางประชานที่สูงกว่า ถึงแม้ว่าจะไม่ได้หายไปโดยไม่มีส่วนเหลือ แต่อีกงานหนึ่งในปี ค.ศ. 2009 กลับพบว่า สมรรถภาพทางประชานไม่มีผลต่อความเสี่ยงการตั้งหลัก

การตั้งหลักในการต่อราคา

ในการเจรจาต่อรองราคา การตั้งหลักหมายถึงการตั้งขอบเขตจำกัดเป็นพื้นฐานของการต่อรองราคา และปรากฏการณ์ตั้งหลักหมายถึงปรากฏการณ์ที่เราประเมินมูลค่าจริง ๆ ของสินค้า นอกจากผลงานดั้งเดิมของทเวอร์สกี้และคาฮ์นะมันแล้ว ยังมีงานวิจัยอื่น ๆ อีกหลายงานที่แสดงว่า การตั้งหลักมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการประเมินมูลค่าสินค้าของเรา ยกตัวอย่างเช่น แม้ว่าผู้ทำการต่อรองราคาสินค้าจะสามารถประเมินข้อเสนอโดยลักษณะหลายอย่าง แต่ว่า งานวิจัยต่าง ๆ พบว่า ผู้ต่อรองราคามักจะเพ่งความสนใจไปในด้านเดียว และดังนั้น การตั้งราคาเบื้องต้นที่ทำอย่างจงใจ สามารถมีอิทธิพลที่มีกำลังต่อขอบเขตของการต่อรองราคา แม้ว่า กระบวนการเสนอราคาและต่อรองราคาปกติจะมีผลเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย แต่ว่า งานวิจัยหลายงานได้แสดงว่า ข้อเสนอเบื้องตนมีอิทธิพลที่มีกำลังต่อผลที่ได้ มากกว่าการต่อราคาต่อ ๆ มา

อิทธิพลของการตั้งหลักเห็นได้ในงานวิจัยงานหนึ่งที่ทำในเวิ้ร์กฉ็อป คือมีการแบ่งผู้ร่วมงานออกเป็นสองกลุ่ม คือคนซื้อและคนขาย แต่ละฝ่ายจะได้รับข้อมูลเดียวกันของฝ่ายตรงข้ามก่อนที่จะทำการเจรจาต่อราคากันหนึ่งต่อหนึ่ง ต่อจากการเจรจา มีการให้ทุกคนรายงานประสบการณ์ของตน ผลแสดงว่า จุดตั้งหลักของผู้ร่วมงานมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความสำเร็จของแต่ละคน[ต้องการหน้า]

การตั้งหลักมีผลต่อทุกคน แม้แต่ผู้มีความเชี่ยวชาญสูง มีงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาความแตกต่างราคาประเมินของบ้านระหว่างที่ทำโดยนักศึกษากับนายหน้าขายบ้านมืออาชีพ มีการโชว์บ้านให้กับทั้งสองกลุ่มแล้วแสดงราคาขายที่เจ้าของบ่งว่าจะขาย หลังจากให้ผู้ร่วมการทดลองเสนอราคาซื้อสำหรับบ้านนั้นแล้ว มีการถามถึงองค์การตัดสินใจของทั้งสองกลุ่ม แม้ว่านายหน้าขายบ้านมืออาชีพจะปฏิเสธว่าราคาที่แสดงขายมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของตน แต่ผลการทดลองแสดงว่า ราคาแสดงขายมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจต่อคนทั้งสองกลุ่มเท่า ๆ กัน

นอกจากนั้นแล้ว การตั้งหลักยังมีผลที่แยบยลอื่น ๆ ต่อการต่อรองราคาอีกด้วย มีงานทดลองหนึ่งที่ศึกษาผลของหลักที่ตั้งอย่างเฉพาะเจาะจง มีการให้ผู้ร่วมการทดลองดูราคาแสดงขายของบ้านริมหาดหลังหนึ่ง แล้วให้กำหนดราคาที่ตนคิดว่าเป็นมูลค่าของบ้านนั้น กลุ่มแรกจะเห็นราคาทั่ว ๆ ไปที่ดูไม่เฉพาะเจาะจง (เช่น $800,000) และอีกกลุ่มหนึ่งเห็นราคาที่เฉพาะเจาะจง (เช่น $799,800) กลุ่มที่เห็นราคาที่กำหนดไม่เฉพาะเจาะจงจะปรับราคาประเมินมากกว่ากลุ่มที่เห็นราคาที่เฉพาะเจาะจง ($751,867 เปรียบเทียบกับ $784,671) นักวิจัยเสนอว่า ปรากฏการณ์นี้เกิดจากความแตกต่างระหว่างตัวประกอบมาตราส่วน (scale) คือหลักที่ตั้งไม่ใช่มีผลแต่ต่อ "มูลค่า" เบื้องต้นอย่างเดียว แต่มีผลต่อ "ตัวประกอบมาตราส่วน" ด้วย เช่นถ้าตั้งราคาเบื้องต้นที่ดูทั่ว ๆ ไปเป็น $20 คนจะปรับราคาโดยส่วนเพิ่มที่ใหญ่กว่า (เช่น $19, $21, เป็นต้น) แต่ถ้าตั้งราคาเบื้องต้นที่เฉพาะเจาะจงเช่น $19.85 คนจะปรับราคาใช้ค่าประกอบมาตราส่วนที่น้อยกว่า (เช่น $19.75, $19.95, เป็นต้น) ดังนั้น ราคาเบื้องต้นที่เฉพาะเจาะจงมักจะมีผลเป็นราคาซื้อขายที่ใกล้ราคาเบื้องต้นมากกว่า

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. Kahneman, Daniel (2011). "11. Anchors". Thinking, Fast and Slow. New York: Farrar, Straus & Giroux. ISBN 978-0374275631.
  2. Tversky, A.; Kahneman, D. (1974). "Judgment under Uncertainty: Heuristics and Biases" (PDF). Science. 185 (4157): 1124–1131. doi:10.1126/science.185.4157.1124.
  3. Kudryavtsev, Andrey; Cohen, Gil; Hon-Snir, Shlomit (2013). ""Rational" or "Intuitive": Are Behavioral Biases Correlated Across Stock Market Investors?" (PDF). Contemporary Economics. 7 (2): 31–53. doi:10.5709/ce.1897-9254.81.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  4. Vass, Zoltán. A Psychological Interpretation of Drawings and Paintings. The SSCA Method: A Systems Analysis Approach. Alexandra Publishing. p. 83. ISBN 978-963-297-474-3. สืบค้นเมื่อ 2013-08-27.
  5. Schkade, D. A.; Kahneman, D. (1998). "Does Living in California Make People Happy? A Focusing Illusion in Judgments of Life Satisfaction". Psychological Science. 9 (5): 340–346. doi:10.1111/1467-9280.00066.
  6. Kahneman, Daniel; Krueger, Alan B.; Schkade, David; Schwarz, Norbert; Stone, Arthur A. (2006-06-30). "Would you be happier if you were richer? A focusing illusion" (PDF). Science. 312 (5782): 1908–10. doi:10.1126/science.1129688. PMID 16809528.
  7. Teach, Edward (2004-06-01). "Avoiding Decision Traps". CFO Magazine. สืบค้นเมื่อ 2007-05-29.
  8. Strack, Fritz; Mussweiler, Thomas (1997). "Explaining the enigmatic anchoring effect: Mechanisms of selective accessibility". Journal of Personality and Social Psychology. 73 (3): 437–446. doi:10.1037/0022-3514.73.3.437.
  9. Wilson, Timothy D.; Houston, Christopher E.; Etling, Kathryn M.; Brekke, Nancy (1996). "A new look at anchoring effects: Basic anchoring and its antecedents" (PDF). Journal of Experimental Psychology: General. 125 (4): 387–402. doi:10.1037//0096-3445.125.4.387.
  10. Simmons, Joseph P.; LeBoeuf, Robyn A.; Nelson, Leif D. (2010). "The effect of accuracy motivation on anchoring and adjustment: Do people adjust from provided anchors?". Journal of Personality and Social Psychology. 99 (6): 917–932. doi:10.1037/a0021540.
  11. Furnham, Adrian; Boo, Hua Chu (2011). "A literature review of the anchoring effect". The Journal of Socio-Economics. 40 (1): 35–42. doi:10.1016/j.socec.2010.10.008.
  12. Epley, Nicholas; Gilovich, Thomas (2005). "When effortful thinking influences judgmental anchoring: differential effects of forewarning and incentives on self-generated and externally provided anchors". Journal of Behavioral Decision Making. 18 (3): 199–212. doi:10.1002/bdm.495.
  13. Tversky, Amos; Kahneman, Daniel (1992). "Advances in prospect theory: Cumulative representation of uncertainty". Journal of Risk and Uncertainty. 5 (4): 297–323. doi:10.1007/BF00122574.
  14. Epley, N.; Gilovich, T. (2001). "Putting Adjustment Back in the Anchoring and Adjustment Heuristic: Differential Processing of Self-Generated and Experimenter-Provided Anchors". Psychological Science. 12 (5): 391–396. doi:10.1111/1467-9280.00372.
  15. Mussweiler, Thomas; Strack, Fritz (1999). (PDF). Journal of Experimental Social Psychology. 35 (2): 136–164. doi:10.1006/jesp.1998.1364. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 2015-04-07.
  16. Mussweiler, Thomas; Englich, Birte (2005). "Subliminal anchoring: Judgmental consequences and underlying mechanisms". Organizational Behavior and Human Decision Processes. 98 (2): 133–143. doi:10.1016/j.obhdp.2004.12.002.
  17. Chapman, Gretchen B.; Johnson, Eric J. (1999). "Anchoring, Activation, and the Construction of Values". Organizational Behavior and Human Decision Processes. 79 (2): 115–153. doi:10.1006/obhd.1999.2841.
  18. Wegener, Duane T.; Petty, Richard E.; Detweiler-Bedell, Brian T.; Jarvis, W.Blair G. (2001). "Implications of Attitude Change Theories for Numerical Anchoring: Anchor Plausibility and the Limits of Anchor Effectiveness". Journal of Experimental Social Psychology. 37 (1): 62–69. doi:10.1006/jesp.2000.1431.
  19. Blankenship, Kevin L.; Wegener, Duane T.; Petty, Richard E.; Detweiler-Bedell, Brian; Macy, Cheryl L. (2008). "Elaboration and consequences of anchored estimates: An attitudinal perspective on numerical anchoring". Journal of Experimental Social Psychology. 44 (6): 1465–1476. doi:10.1016/j.jesp.2008.07.005.
  20. Bodenhausen, G. V.; Gabriel, S.; Lineberger, M. (2000). "Sadness and Susceptibility to Judgmental Bias: The Case of Anchoring". Psychological Science. 11 (4): 320–323. doi:10.1111/1467-9280.00263.
  21. Englich, B.; Soder, K (2009). "Moody experts: How mood and expertise influence judgmental anchoring". Judgment and Decision Making. 4: 41–50.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  22. Englich, B.; Mussweiler, Thomas; Strack, Fritz (2006). "Playing Dice With Criminal Sentences: The Influence of Irrelevant Anchors on Experts' Judicial Decision Making". Personality and Social Psychology Bulletin. 32 (2): 188–200. doi:10.1177/0146167205282152.
  23. Eroglu, Cuneyt; Croxton, Keely L. (2010). "Biases in judgmental adjustments of statistical forecasts: The role of individual differences". International Journal of Forecasting. 26 (1): 116–133. doi:10.1016/j.ijforecast.2009.02.005.
  24. McElroy, T; Dowd, K (2007). "Susceptibility to anchoring effects: How openness-to-experience influences responses to anchoring cues". Judgment and Decision Making. 2: 48–53.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  25. Bergman, Oscar; Ellingsen, Tore; Johannesson, Magnus; Svensson, Cicek (2010). "Anchoring and cognitive ability". Economics Letters. 107 (1): 66–68. doi:10.1016/j.econlet.2009.12.028.
  26. Oechssler, Jörg; Roider, Andreas; Schmitz, Patrick W. (2009). "Cognitive abilities and behavioral biases". Journal of Economic Behavior & Organization. 72 (1): 147–152. doi:10.1016/j.jebo.2009.04.018.
  27. Orr, D: Guthrie, C (2006). "Anchoring, information, expertise, and negotiation: New insights from meta-analysis" (PDF). Ohio St. J. Disp. Resol. 597 (21). SSRN 900152.CS1 maint: multiple names: authors list (link)[ลิงก์เสีย]
  28. Kristensen, Henrik; Gärling, Tommy (1997). "The Effects of Anchor Points and Reference Points on Negotiation Process and Outcome". Organizational Behavior and Human Decision Processes. 71 (1): 85–94. doi:10.1006/obhd.1997.2713.
  29. Dietmeyer, Brian (2004). Strategic Negotiation: A Breakthrough Four-Step Process for Effective Business Negotiation. Kaplan Publishing. ISBN 978-0-7931-8304-3.
  30. Northcraft, Gregory B; Neale, Margaret A (1987). "Experts, amateurs, and real estate: An anchoring-and-adjustment perspective on property pricing decisions". Organizational Behavior and Human Decision Processes. 39 (1): 84–97. doi:10.1016/0749-5978(87)90046-X.
  31. Janiszewski, Chris; Uy, Dan (2008). "Precision of the Anchor Influences the Amount of Adjustment". Psychological Science. 19 (2): 121–127. doi:10.1111/j.1467-9280.2008.02057.x.

anchoring, บทความน, อเป, นภาษาอ, งกฤษ, เน, องจากช, อเป, นศ, พท, เฉพาะทางจ, ตว, ทยา, ราชบ, ณฑ, ตยสถานย, งไม, ญญ, ภาษาไทย, งไม, ดเจนว, าควรจะใช, คำอะไรในสาขาจ, ตว, ทยา, คำภาษาอ, งกฤษว, แปลว, การต, งหล, หร, focalism, หมายถ, งความเอนเอ, ยงทางประชานของมน, ษย, ความม. bthkhwamnimichuxepnphasaxngkvs enuxngcakchuxepnsphthechphaathangcitwithya rachbnthitysthanyngimbyytiphasaithy yngimchdecnwakhwrcaichkhaxairinsakhacitwithya khaphasaxngkvswa Anchoring aeplwa kartnghlk hrux focalism hmaythungkhwamexnexiyngthangprachankhxngmnusy khwammiaenwonmthicaxingkhxmulaerkthiidmakekinip odyepn anchor khuxepnhlk emuxthakartdsinic praktkarnnicaekidkhunemuxeraphicarnakhxmulaerkthiidinkarpraeminkhathiimru sungcaklayepnhlkthicaichtx ma aelaemuxmihlktngkhunaelw karpraeminphltx macaepnkarprbkhaichkhxmulthiepnhlknn 1 dngnn cungxacekidkhwamkhwamexnexiyngephraatikhwamkhxmultx maepnkhaikl hlkthixaccaimidepnpraednthiekiywkhxngkn odyimsmehtuphl 2 3 yktwxyangechn rakhathiesnxerimaerkinkarsuxkhayrthmuxsxngcaklayepnhlkthiichinkartxrakhathimitx ma dngnn rakhatklngsuxthinxykwarakhaesnxebuxngtnxaccaduehmuxndikwathungaemwacring aelw xaccaepnrakhathisungkwamulkhakhxngrthcring enuxha 1 praktkarnephngcudsnic 2 Anchoring and adjustment heuristic 2 1 khwamyakthicahlikeliyngkartnghlk 3 thvsdithixthibayehtu 3 1 thvsdikartnghlkaelakarprbich 3 2 thvsdi Selective accessibility 3 3 karepliynthsnkhti 4 xngkhprakxbthimixiththiphltxkartnghlk 4 1 phunxarmn 4 2 prasbkarn 4 3 bukhlikphaph 4 4 smrrthphaphthangprachan 5 kartnghlkinkartxrakha 6 echingxrrthaelaxangxingpraktkarnephngcudsnic aekikhpraktkarnephngcudsnic focusing effect epnkhwamexnexiyngthangprachan thiekidkhunemuxeraihkhwamsakhykblksnahnung khxngehtukarnmakekinip thaihekidkhwamphidphladinkarphyakrnxrrthpraoychn utility khxngphlthicaekidkhuninxnakht 4 khux eraephngelngkhwamsnicipthikhwamaetktangthichdecn odyimsnickhwamaetktangthiimchdecn emuxtxngthakarphyakrnekiywkbkhwamsukhhruxkhwamsadwksbaythicaidyktwxyangechn emuxthamkhnxemriknwa ekhakhidwakhnaekhlifxreniymikhwamsukhmakkwakhnthimacakrththangtxnklang midwesterner khxngpraethsmakaekhihn thngkhnaekhlifxreniyaelakhnthimacakrththangtxnklangklawwa khnaekhlifxreniycatxngmikhwamsukhmakkwaphxsmkhwr emuxcring aelw inngansarwccring caimmikhwamaetktangknrahwangkhaaennkhwamsukhthitnidrahwangkhnaekhlifxreniy kbkhnthimacakrththangtxnklangkhwamexnexiyngechnnimithanmacakkarthikhnxemriknephngkhwamsnicipthiphumixakasthiaecmisaelarupaebbchiwitthiduehmuxncaepnaebbngay sbay khxngkhnaekhlifxreniy sungepneruxngthikhidthungidchdecnkwa aelaimihkhaaelakhwamsakhykbkarichchiwitaelatwkahndkhwamsukhxyangxun echnkarmixachyakrrmnxy aelakhwamplxdphycakphyphibtithangthrrmchatitang echnaephndinihw sungepnsingthikhnaekhlifxreniyimmi 5 xiktwxyanghnung karmirayidephimkhunmiphlephiyngelknxyaelachwkhrawtxkhwamsukhaelakhwamepnxyuthidiinchiwit aeteracapraeminkhanisungekinip nkesrsthsastrphvtikrrmchawxemriknphuidrbrangwlonebl dr aedeniyl khahnamnesnxwa niepnphlkhxngkaraeplsingeraphidodykarephngelng focusing illusion thieraekhaipephngelngsingthisngkhmehnwaepnkhwamsaercinchiwit aethnthicaisickickrrminchiwitpracawnkhxngtweraexng 6 Anchoring and adjustment heuristic aekikhAnchoring and adjustment heuristic hiwristikkartnghlkaelakarprbich epnhiwristik khuxwithikarkhidaekpyha thimixiththiphltxkarpraeminkhakhwamnacaepnaebbruexng intuitive khxngmnusy odykarichhiwristikni eracaerimthikhahlk anchor thixaccamikaresnxaebbxxm aelwprbichepnkhapraemin khuxeracamihlkepnkhapraeminebuxngtn anchor aelwprbkhakhunlngxasykhxmulxun aetwakarprbkhamkcaimidthaxyangephiyngphx thaihhlkebuxngtnmixiththiphlmakekidipinkarpraeminkha aedeniyl khahnamnepnnkwichakarphwkaerk thisuksaeruxngkartnghlk inpi kh s 1974 xamxs thewxrskiaelaaedeniyl khahnamnidkhidkhnthvsdikartnghlkaelakarprbichepnphwkaerk inngansuksaebuxngtnnganhnungkhxngphwkekha mikarthamphurwmkarthdlxngihkhanwnelkhphayin 5 winathi epnkarkhunelkhtamladbtngaetelkh 1 thung 8 odyaesdngepn 1 2 3 4 5 6 7 8 displaystyle 1 times 2 times 3 times 4 times 5 times 6 times 7 times 8 hruxepn 8 7 6 5 4 3 2 1 displaystyle 8 times 7 times 6 times 5 times 4 times 3 times 2 times 1 aetephraawaphurwmkarthdlxngimmiewlaphxthicakhunelkhthnghmd cungtxngpraeminkhuxedakhatxbhlngcakkhunelkh 2 3 twaerk thaphlkhunelkhtwaerk mikhanxy ephraawaerimcakladbelkhnxy phlpraeminechliythiphurwmkarthdlxngtxbcaxyuthi 512 aetthamikhamak phlpraeminechliykcaxyuthi 2 250 aetphlthithukxyuthi 40 320 swninngansuksaxiknganhnungkhxngphwkekha mikarihphurwmkarthdlxngsngektdulxruelttthikahndiwkxntngaettnihtkxyuthielkh 10 hrux 65 aelwihphurwmkarthdlxngedaepxresntkhxngpraethssmachikshprachachatithiepnpraethsinaexfrika phurwmkarthdlxngthilukrueltttklngthi 10 edakhaepxresntthitakwa 25 odyechliy swnphurwmkarthdlxngthilukrueltttklngthi 65 edakhaepxresntthisungkwa 45 odyechliy 2 rupaebbechnnipraktsa innganthdlxngxun thiepnkarpraeminkhaxyangxun makmayxiktwxyanghnungepnngansuksathiihphurwmkarthdlxngekhiynelkhsxnghlksudthaykhxngelkhpraknthangsngkhmkhxngtn sungodyrwm aelwehmuxnkbepnelkhsumthiihaetlabukhkhl aelwihphicarnawa tnyindicacayengincanwnethani epndxllarshrth sahrbsinkhathitnimrumulkha echniwn chxkokaelt hruxxupkrnkhxmphiwetxr hruxim txcaknnkihphurwmkarthdlxngpramulsinkhaehlani phlpraktwa phurwmkarthdlxngthimikhaelkhsungkwacathakarpramulsinkhamikha 60 120 makkwaphuthimikhaelkhtakwa khuxphurwmkarthdlxngmikarichkhaelkhpraknthangsngkhmkhxngtnepnhlkinkarpramulsinkha 7 khwamyakthicahlikeliyngkartnghlk aekikh nganwicytang aesdngwa kartnghlkepneruxngyakthicapxngkn yktwxyangechn innganwicyhnung mikarihhlkthiimsmehtusmphl khuxmikarthamnksuksasxngklumwathanmhatma khanthiesiychiwitkxnhruxhlngwy 9 khwb hruxkxnhruxhlngxayu 140 pi epneruxngchdecnxyuaelwwa elkhhlkehlaniimichxayuthithuktxng aetwa klumthngsxngthakaredathimikhatangknxyangminysakhy khuxkhaechliythi 50 pi kbthi 67 pi 8 minganwicyxun thiphyayamcakacdkartnghlkxyangtrng innganwicyhnungthisuksaehtuaelalksnatang khxngkartnghlk mikaraesdnghlkihkbphurwmkarthdlxngaelwihedawa miaephthykikhnthixyuinsmudothrsphth khxngxngkhkarothrsphth nxkcaknnaelw yngmikarihkhxmultrng wa praktkarnkartnghlknncathakhatxbkhxngphurwmkarthdlxngihekidkhwambidebuxn aeladngnn phurwmkarthdlxngkhwrthicaphyayamaekpyhann swnklumkhwbkhumimidthngelkhhlkimidthngkhxmul imwacamikarihkhxmulaekphurwmkarthdlxngxyangir phurwmkarthdlxnginklumthdlxngthnghmdlwnaetedacanwnaephthyinsmudothrsthph thimikhasungkwaklumkhwbkhum dngnn aemwacaruthungpraktkarntnghlk aetphurwmkarthdlxngkyngimsamarthcapxngknkhwamexnexiyngthiekidkhunid 9 minganin pi kh s 2010 thiphbwa aemcamikarihrangwlepnengin phurwmkarthdlxngkyngimsamarththicaprbkhaxxkcakhlkihephiyngphx 10 thvsdithixthibayehtu aekikhmikaresnxthvsdihlayxyangthisamarthxthibayehtukhxngkartnghlk thungaemwa thvsdibangxyangcaidrbkhwamniymkwa aetkyngimmikhwamehnphxngwathvsdiihndithisud 11 innganwicyhnungthisuksaehtukhxngkartnghlk phuthanganwicysxngthanphrrnnakartnghlkwa ngaythicaaesdnghlkthan aetyakthicaxthibay 8 minkwicyxyangnxyklumhnungthiesnxwa mihlaysaehtu aelapraktkarnthieriykwa anchoring cring aelwepnpraktkarntang knhlayxyang 12 thvsdikartnghlkaelakarprbich aekikh inngansuksadngedim thewxrskiaelakhahnamnesnxthvsdithimichuxwa anchoring and adjusting tamthvsdini emuxekidkartnghlkaelw eracaprbkhaipcakhlknnephuxthicaidkhathiepnkhatxb aetenuxngcakwa eraprbkhaimephiyngphx dngnn khakaredathiidinthisudcaxyuiklhlkodyimsmehtuphl 13 minkwicyxun thiphbhlkthanthisnbsnunthvsdini 14 aetwa nkwicytx mawicarnthvsdini ephraawathvsdiichxthibayidaetinkrnithihlkaerkimidxyuinchwngkhatxbthiphxrbidkhxngphuthakarpraemin echn intwxyangthanmhatma khanthi enuxngcakkaresiychiwitinwy 9 khwbepnhlkthixyunxkchwngkhatxb eracaprbichkhacakhlknn aetwa thaihkhathidusmehtuphl erakcaichkhannelyodyimidprbich dngnn thvsdiniimsamarthxthibaypraktkarntnghlkidthnghmd 15 minganwicyhnungthiphbwa praktkarntnghlkekidkhunaememuxkarrbruhlkepnsingthiekidkhunitcitsanuk aettamthvsdikartnghlkaelakarprbich eruxngniepnipimid ephraawakarprbichkhaepneruxngthiekidkhunehnuxcitsanuk 16 ephraaehtuphlthiwamadngklawni thvsdi anchoring and adjusting erimcaimidrbkhwamniym txngkarxangxing thvsdi Selective accessibility aekikh inngansuksaediywknthiwicarnthvsdikartnghlkaelakarprbich phuthanganwicyesnxxikthvsdihnungeriykwa selective accessibility sungepnthvsdiddaeplngmacakthvsdi confirmatory hypothesis testing xyangsn kkhux thvsdi selective accessibility esnxwa emuxidhlk eracatrwcsxbsmmutithanwa hlknnepnkhatxbthidihruxim emuxkhidwamnimich kcathakaredatxip aetwacaedahlngcakthiidtrwcdulksnatang khxnghlknnthiekhapraednkbkhatxb ephraachann emuxpraeminkhakhatxbihm erakcakhnhalksnathiehmuxnknkbhlk miphlepnpraktkarntnghlk 15 minganwicyhlaynganthiaesdnghlkthankarthdlxngsnbsnunsmmutithanni 17 thvsdinismmutiwa eracaphicarnahlkwaepnkhathixacepnipidcungimidthingkhanniptngaettn aelakarthingcakhdkhwangkarphicarnalksnathiekhapraednkhxnghlknn txngkarxangxing karepliynthsnkhti aekikh swnthvsdilasudthiichxthibaykartnghlkepnthvsdiekiywkbkarepliynthsnkhti tamthvsdini kartnghlkepliynthsnkhtikhxngbukhkhlnnihexnipthanglksnabangxyangkhxnghlknn thaihekidkhwamexnexiyngtxkhatxbinxnakhtthimilksnakhlaykhlungknkbhlk phuthisnbsnunthvsdiniphicarnawa epnkhaxthibayinaenwediywkb anchoring and adjusting aela selective accessibility thiesnxinnganwicykxn 18 19 xngkhprakxbthimixiththiphltxkartnghlk aekikhphunxarmn aekikh minganwicymakmaythiaesdngkhwamsmphnthrahwangphunxarmnsumesra kbkarhakhatxbtxpyhathixasykhwamphyayammakkwaaelamikhwamaemnyakwa 20 aelaephraaehtuni ngansuksatn cungtngsmmutithanwa phumiphunxarmnsumesracaonmexiyngipichwithiaekpyhaenuxngkbkartnghlk nxykwaphuthimiphunxarmnthidikwa aetwa ngansuksatx maklbaesdngphltrngknkham khuxphumikhwamesraaekpyhaenuxngkbkartnghlkmakkwaphuthimikhwamsukhhruxmikhwamrusukechy 21 prasbkarn aekikh nganwicyyukhtn phbwa phuechiywchay khuxphumikhwamru prasbkarn hruxkhwamechiywchaythangwichakarinradbsung mioxkasesiyngtxpraktkarntnghlknxykwa 9 aettxcaknnma minganwicymakmaythiaesdngwa aemwaprasbkarnbangkhrngxaccaldradbpraktkarnid aetwaaemaetphuechiywchaykyngesiyngtxpraktkarnni innganwicythisuksaphlkhxngkartnghlkinkarphiphaksa nkwicyphbwa aemaetphuphiphaksaphumiprasbkarnsungkidrbxiththiphlcakpraktkarnni sungsamarthdarngxyuidaemwa hlkthiihcaimmikteknthxairaelaimekiywkhxngkbkhdithikalngphicarna 22 bukhlikphaph aekikh minganwicythiaesdngshsmphnthkhxngkhwamesiyngtxkartnghlkkblksnabukhlikphaphbangxyang khux khwamimkhdkbkhnxun agreeableness khuxehnicphuxunaelaphrxmthicarwmmux aelakhwamrxbkhxbramdrawng conscientiousness khuxmiraebiyb iwicid miwiny ruckhnathi mioxkasesiyngtxkartnghlkmakkwa aetphuthichxbsngkhm extroversion khuxxarmndi mnic chxbekhasngkhm aelachxbphud mioxkasesiyngnxykwa 23 swnxiknganhnungphbwa phuchxbhaprasbkarnihm mioxkasesiyngmakkwa 24 smrrthphaphthangprachan aekikh xiththiphlkhxngsmrrthphaphthangprachan cognitive ability txkartnghlkyngepneruxngthiimmikhxyuti nganwicyekiywkbkhwamyindithicacaykhasinkhainpi kh s 2010 phbwa praktkarntnghlkcaldlnginphuthimismrrthphaphthangprachanthisungkwa thungaemwacaimidhayipodyimmiswnehlux 25 aetxiknganhnunginpi kh s 2009 klbphbwa smrrthphaphthangprachanimmiphltxkhwamesiyngkartnghlk 26 kartnghlkinkartxrakha aekikhinkarecrcatxrxngrakha kartnghlkhmaythungkartngkhxbekhtcakdepnphunthankhxngkartxrxngrakha aelapraktkarntnghlkhmaythungpraktkarnthierapraeminmulkhacring khxngsinkha 2 nxkcakphlngandngedimkhxngthewxrskiaelakhahnamnaelw yngminganwicyxun xikhlaynganthiaesdngwa kartnghlkmixiththiphlxyangsungtxkarpraeminmulkhasinkhakhxngera 27 yktwxyangechn aemwaphuthakartxrxngrakhasinkhacasamarthpraeminkhxesnxodylksnahlayxyang aetwa nganwicytang phbwa phutxrxngrakhamkcaephngkhwamsnicipindanediyw aeladngnn kartngrakhaebuxngtnthithaxyangcngic samarthmixiththiphlthimikalngtxkhxbekhtkhxngkartxrxngrakha 13 aemwa krabwnkaresnxrakhaaelatxrxngrakhapkticamiphlepnpraoychntxthngsxngfay aetwa nganwicyhlaynganidaesdngwa khxesnxebuxngtnmixiththiphlthimikalngtxphlthiid makkwakartxrakhatx ma 28 xiththiphlkhxngkartnghlkehnidinnganwicynganhnungthithainewirkchxp khuxmikaraebngphurwmnganxxkepnsxngklum khuxkhnsuxaelakhnkhay aetlafaycaidrbkhxmulediywknkhxngfaytrngkhamkxnthicathakarecrcatxrakhaknhnungtxhnung txcakkarecrca mikarihthukkhnraynganprasbkarnkhxngtn phlaesdngwa cudtnghlkkhxngphurwmnganmiphlxyangminysakhytxkhwamsaerckhxngaetlakhn 29 txngkarhna kartnghlkmiphltxthukkhn aemaetphumikhwamechiywchaysung minganwicyhnungthisuksakhwamaetktangrakhapraeminkhxngbanrahwangthithaodynksuksakbnayhnakhaybanmuxxachiph mikarochwbanihkbthngsxngklumaelwaesdngrakhakhaythiecakhxngbngwacakhay hlngcakihphurwmkarthdlxngesnxrakhasuxsahrbbannnaelw mikarthamthungxngkhkartdsinickhxngthngsxngklum aemwanayhnakhaybanmuxxachiphcaptiesthwarakhathiaesdngkhaymixiththiphltxkartdsinickhxngtn aetphlkarthdlxngaesdngwa rakhaaesdngkhaymixiththiphltxkartdsinictxkhnthngsxngklumetha kn 30 nxkcaknnaelw kartnghlkyngmiphlthiaeybylxun txkartxrxngrakhaxikdwy minganthdlxnghnungthisuksaphlkhxnghlkthitngxyangechphaaecaacng mikarihphurwmkarthdlxngdurakhaaesdngkhaykhxngbanrimhadhlnghnung aelwihkahndrakhathitnkhidwaepnmulkhakhxngbannn klumaerkcaehnrakhathw ipthiduimechphaaecaacng echn 800 000 aelaxikklumhnungehnrakhathiechphaaecaacng echn 799 800 klumthiehnrakhathikahndimechphaaecaacngcaprbrakhapraeminmakkwaklumthiehnrakhathiechphaaecaacng 751 867 epriybethiybkb 784 671 nkwicyesnxwa praktkarnniekidcakkhwamaetktangrahwangtwprakxbmatraswn scale khuxhlkthitngimichmiphlaettx mulkha ebuxngtnxyangediyw aetmiphltx twprakxbmatraswn dwy echnthatngrakhaebuxngtnthiduthw ipepn 20 khncaprbrakhaodyswnephimthiihykwa echn 19 21 epntn aetthatngrakhaebuxngtnthiechphaaecaacngechn 19 85 khncaprbrakhaichkhaprakxbmatraswnthinxykwa echn 19 75 19 95 epntn 31 dngnn rakhaebuxngtnthiechphaaecaacngmkcamiphlepnrakhasuxkhaythiiklrakhaebuxngtnmakkwaechingxrrthaelaxangxing aekikh Kahneman Daniel 2011 11 Anchors Thinking Fast and Slow New York Farrar Straus amp Giroux ISBN 978 0374275631 2 0 2 1 2 2 Tversky A Kahneman D 1974 Judgment under Uncertainty Heuristics and Biases PDF Science 185 4157 1124 1131 doi 10 1126 science 185 4157 1124 Kudryavtsev Andrey Cohen Gil Hon Snir Shlomit 2013 Rational or Intuitive Are Behavioral Biases Correlated Across Stock Market Investors PDF Contemporary Economics 7 2 31 53 doi 10 5709 ce 1897 9254 81 CS1 maint multiple names authors list link Vass Zoltan A Psychological Interpretation of Drawings and Paintings The SSCA Method A Systems Analysis Approach Alexandra Publishing p 83 ISBN 978 963 297 474 3 subkhnemux 2013 08 27 Schkade D A Kahneman D 1998 Does Living in California Make People Happy A Focusing Illusion in Judgments of Life Satisfaction Psychological Science 9 5 340 346 doi 10 1111 1467 9280 00066 Kahneman Daniel Krueger Alan B Schkade David Schwarz Norbert Stone Arthur A 2006 06 30 Would you be happier if you were richer A focusing illusion PDF Science 312 5782 1908 10 doi 10 1126 science 1129688 PMID 16809528 Teach Edward 2004 06 01 Avoiding Decision Traps CFO Magazine subkhnemux 2007 05 29 8 0 8 1 Strack Fritz Mussweiler Thomas 1997 Explaining the enigmatic anchoring effect Mechanisms of selective accessibility Journal of Personality and Social Psychology 73 3 437 446 doi 10 1037 0022 3514 73 3 437 9 0 9 1 Wilson Timothy D Houston Christopher E Etling Kathryn M Brekke Nancy 1996 A new look at anchoring effects Basic anchoring and its antecedents PDF Journal of Experimental Psychology General 125 4 387 402 doi 10 1037 0096 3445 125 4 387 Simmons Joseph P LeBoeuf Robyn A Nelson Leif D 2010 The effect of accuracy motivation on anchoring and adjustment Do people adjust from provided anchors Journal of Personality and Social Psychology 99 6 917 932 doi 10 1037 a0021540 Furnham Adrian Boo Hua Chu 2011 A literature review of the anchoring effect The Journal of Socio Economics 40 1 35 42 doi 10 1016 j socec 2010 10 008 Epley Nicholas Gilovich Thomas 2005 When effortful thinking influences judgmental anchoring differential effects of forewarning and incentives on self generated and externally provided anchors Journal of Behavioral Decision Making 18 3 199 212 doi 10 1002 bdm 495 13 0 13 1 Tversky Amos Kahneman Daniel 1992 Advances in prospect theory Cumulative representation of uncertainty Journal of Risk and Uncertainty 5 4 297 323 doi 10 1007 BF00122574 Epley N Gilovich T 2001 Putting Adjustment Back in the Anchoring and Adjustment Heuristic Differential Processing of Self Generated and Experimenter Provided Anchors Psychological Science 12 5 391 396 doi 10 1111 1467 9280 00372 15 0 15 1 Mussweiler Thomas Strack Fritz 1999 Hypothesis Consistent Testing and Semantic Priming in the Anchoring Paradigm A Selective Accessibility Model PDF Journal of Experimental Social Psychology 35 2 136 164 doi 10 1006 jesp 1998 1364 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim PDF emux 2014 11 29 subkhnemux 2015 04 07 Mussweiler Thomas Englich Birte 2005 Subliminal anchoring Judgmental consequences and underlying mechanisms Organizational Behavior and Human Decision Processes 98 2 133 143 doi 10 1016 j obhdp 2004 12 002 Chapman Gretchen B Johnson Eric J 1999 Anchoring Activation and the Construction of Values Organizational Behavior and Human Decision Processes 79 2 115 153 doi 10 1006 obhd 1999 2841 Wegener Duane T Petty Richard E Detweiler Bedell Brian T Jarvis W Blair G 2001 Implications of Attitude Change Theories for Numerical Anchoring Anchor Plausibility and the Limits of Anchor Effectiveness Journal of Experimental Social Psychology 37 1 62 69 doi 10 1006 jesp 2000 1431 Blankenship Kevin L Wegener Duane T Petty Richard E Detweiler Bedell Brian Macy Cheryl L 2008 Elaboration and consequences of anchored estimates An attitudinal perspective on numerical anchoring Journal of Experimental Social Psychology 44 6 1465 1476 doi 10 1016 j jesp 2008 07 005 Bodenhausen G V Gabriel S Lineberger M 2000 Sadness and Susceptibility to Judgmental Bias The Case of Anchoring Psychological Science 11 4 320 323 doi 10 1111 1467 9280 00263 Englich B Soder K 2009 Moody experts How mood and expertise influence judgmental anchoring Judgment and Decision Making 4 41 50 CS1 maint multiple names authors list link Englich B Mussweiler Thomas Strack Fritz 2006 Playing Dice With Criminal Sentences The Influence of Irrelevant Anchors on Experts Judicial Decision Making Personality and Social Psychology Bulletin 32 2 188 200 doi 10 1177 0146167205282152 Eroglu Cuneyt Croxton Keely L 2010 Biases in judgmental adjustments of statistical forecasts The role of individual differences International Journal of Forecasting 26 1 116 133 doi 10 1016 j ijforecast 2009 02 005 McElroy T Dowd K 2007 Susceptibility to anchoring effects How openness to experience influences responses to anchoring cues Judgment and Decision Making 2 48 53 CS1 maint multiple names authors list link Bergman Oscar Ellingsen Tore Johannesson Magnus Svensson Cicek 2010 Anchoring and cognitive ability Economics Letters 107 1 66 68 doi 10 1016 j econlet 2009 12 028 Oechssler Jorg Roider Andreas Schmitz Patrick W 2009 Cognitive abilities and behavioral biases Journal of Economic Behavior amp Organization 72 1 147 152 doi 10 1016 j jebo 2009 04 018 Orr D Guthrie C 2006 Anchoring information expertise and negotiation New insights from meta analysis PDF Ohio St J Disp Resol 597 21 SSRN 900152 CS1 maint multiple names authors list link lingkesiy Kristensen Henrik Garling Tommy 1997 The Effects of Anchor Points and Reference Points on Negotiation Process and Outcome Organizational Behavior and Human Decision Processes 71 1 85 94 doi 10 1006 obhd 1997 2713 Dietmeyer Brian 2004 Strategic Negotiation A Breakthrough Four Step Process for Effective Business Negotiation Kaplan Publishing ISBN 978 0 7931 8304 3 Northcraft Gregory B Neale Margaret A 1987 Experts amateurs and real estate An anchoring and adjustment perspective on property pricing decisions Organizational Behavior and Human Decision Processes 39 1 84 97 doi 10 1016 0749 5978 87 90046 X Janiszewski Chris Uy Dan 2008 Precision of the Anchor Influences the Amount of Adjustment Psychological Science 19 2 121 127 doi 10 1111 j 1467 9280 2008 02057 x ekhathungcak https th wikipedia org w index php title Anchoring amp oldid 9611680, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม