fbpx
วิกิพีเดีย

รอยนูนรูปกระสวย

รอยนูนรูปกระสวย (อังกฤษ: fusiform gyrus, gyrus fusiformis) เป็นส่วนหนึ่งของสมองกลีบขมับและสมองกลีบท้ายทอยในเขตบร็อดแมนน์ 37 รู้จักโดยคำที่ปัจจุบันไม่ใช้แล้วอีกอย่างหนึ่งคือ "อังกฤษ: occipitotemporal gyrus"

รอยนูนรูปกระสวย (Fusiform gyrus)
ผิวด้านในของสมองซีกซ้าย รอยนูนรูปกระสวยมีสีส้ม
ผิวด้านในของสมองซีกขวา รอยนูนรูปกระสวยอยู่ด้านล่าง
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินgyrus fusiformis
นิวโรเนมส์139
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_1641
TA98A14.1.09.227
TA25500
FMA61908
ศัพท์กายวิภาคศาสตร์ของประสาทกายวิภาคศาสตร์
[แก้ไขบนวิกิสนเทศ]

รอยนูนรูปกระสวยอยู่ในระหว่าง inferior temporal gyrus และรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส (parahippocampal gyrus) ส่วนด้านข้าง (lateral) และส่วนด้านใน (medial) แยกออกจากกันโดยร่องตื้นๆ ตรงกลางกระสวย

หน้าที่

ยังมีข้อที่ต้องถกเถียงกันในเรื่องกิจหน้าที่ของสมองเขตนี้ แต่ว่า กิจเหล่านี้โดยมากมีความเห็นพ้องต้องกัน คือ

  1. ประมวลผลเกี่ยวกับสี
  2. การรู้จำใบหน้าและอวัยวะ
  3. การรู้จำคำ
  4. การบ่งชี้วัตถุที่มีประเภทเดียวกัน

นักวิจัยบางท่านคิดว่า รอยนูนรูปกระสวยอาจจะมีบทบาทในความผิดปกติที่รู้จักกันว่า ภาวะบอดใบหน้า (prosopagnosia) งานวิจัยแสดงว่า เขตรับรู้ใบหน้าในรอยนูนรูปกระสวย (Fusiform face area ตัวย่อ FFA) มีบทบาทอย่างสำคัญในการรับรู้ใบหน้า แต่ไม่มีบทบาทในการบ่งชี้วัตถุต่างๆ ที่อยู่ในประเภทเดียวกันแม้ว่าบทบาทนี้จะเป็นกิจอย่างหนึ่งของรอยนูนรูปกระสวย (แต่ไม่เป็นกิจของ FFA)

ความผิดปกติในรอยนูนรูปกระสวยได้ถูกเชื่อมไปยังกลุ่มอาการวิลเลียมส์ (Williams syndrome) รอยนูนรูปกระสวยยังมีบทบาทในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของใบหน้า แต่ว่า ผู้มีโรคออทิซึมไม่ปรากฏว่า มีการทำงานในรอยนูนรูปกระสวยหรือมีการทำงานน้อย เพื่อตอบสนองการเห็นใบหน้าของมนุษย์

การทำงานทางประสาทสรีรภาพที่เพิ่มจากปกติของรอยนูนรูปกระสวย อาจทำให้เกิดอาการประสาทหลอนเห็นใบหน้า ไม่ว่าจะเหมือนจริงหรือคล้ายการ์ตูน ดังที่เห็นใน Charles Bonnet syndrome, ภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น, Peduncular hallucinosis, หรือประสาทหลอนที่เกิดจากการบริโภคยา

งานวิจัยเร็วๆ นี้พบว่า รอยนูนรูปกระสวยมีการทำงาน ในระหว่างการรับรู้ที่เป็นอัตวิสัยของตัวอักษรพร้อมด้วยสี ของบุคคลผู้มีภาวะเจือกันของวิถีประสาท (synaesthesia)

งานวิจัยต่อๆ มาของนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันเอ็มไอที สรุปว่า รอยนูนรูปกระสวยซีกซ้ายซีกขวามีบทบาทที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะมีการทำงานเชื่อมต่อกัน ซีกซ้ายมีบทบาทในการรู้จำรูปแบบต่างๆ ที่เหมือนใบหน้า ที่อาจจะไม่ใช่ใบหน้าจริงๆ ซีกขวามีบทบาทในการตัดสินว่า รูปแบบที่เหมือนใบหน้านั้น เป็นใบหน้าจริงๆ หรือไม่

รูปต่างๆ

ดู

เชิงอรรถและหมายเหตุ

  1. Nature Neuroscience, vol7, 2004
  2. "Gyrus". The free dictionary. สืบค้นเมื่อ 2013-06-19.
  3. Weiner & Grill-Spector, Sparsely-distributed organization of face and limb activations in human ventral temporal cortex.Neuroimage. 2010 Oct 1;52(4):1559-73. Epub 2010 May 10.
  4. Nasr el al. Scene-selective cortical regions in human and nonhuman primates. J Neurosci. 2011 Sep 28;31(39):13771-85.
  5. McCarthy, G et al. Face-specific processing in the fuman fusform gyrus.J. Cognitive Neuroscicence. 9, 605-610(1997).
  6. กลุ่มอาการวิลเลียมส์ (อังกฤษ: Williams syndrome) เป็นความผิดปกติของการพัฒนาระบบประสาท (neurodevelopmental disorder) มีอาการคือ มีหน้าตาเหมือน elf มีสะพานจมูก (nasal bridge) ต่ำ มีอาการร่าเริงผิดปกติ มีความคุ้นเคยกับคนแปลกหน้าผิดปกติ มีความเชื่องช้าทางพัฒนาการที่คู่กับทักษะทางภาษาที่เข้มแข็ง และมีปัญหาทางระบบหัวใจร่วมหลอดเลือด
  7. A. L. Reiss, et al. Preliminary Evidence Of Abnormal White Matter Related To The Fusiform Gyrus In Williams Syndrome: A Diffusion Tensor Imaging Tractography Study.Genes, Brain & Behavior 11.1, 62-68(2012)
  8. Radua, Joaquim; Phillips, Mary L.; Russell, Tamara; Lawrence, Natalia; Marshall, Nicolette; Kalidindi, Sridevi; El-Hage, Wissam; McDonald, Colm; Giampietro, Vincent (2010). "Neural response to specific components of fearful faces in healthy and schizophrenic adults". NeuroImage. 49 (1): 939–946. doi:10.1016/j.neuroimage.2009.08.030. PMID 19699306.
  9. Carter, Rita. The Human Brain Book. p. 241.
  10. Charles Bonnet syndrome เป็นภาวะที่ทำให้คนไข้ที่สูญเสียการเห็น มีประสาทหลอนทางตาที่ซับซ้อน พรรณนาครั้งแรกโดย Charles Bonnet ในปี ค.ศ. 1760
  11. ภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น (hypnagogia) เป็นประสบการณ์ของการย่างเข้าไปสู่หรือออกจากความหลับ คือภาวะก่อนหลับ (hypnagogic) และภาวะกำลังตื่น (hypnopompic)
  12. Peduncular hallucinosis (PT) เป็นความผิดปกติทางประสาทที่เกิดขึ้นไม่บ่อย ก่อให้เกิดประสาทหลอนทางตาที่เป็นจริงเป็นจัง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างมืด และดำเนินไปเป็นเวลาหลายนาที เปรียบเทียบกับประสาทหลอนชนิดอื่นแล้ว คนไข้ PT มีประสบการณ์ที่เหมือนจริงมาก และมักจะมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลและสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย และประสบการณ์นั้นจะไม่แปลกประหลาดมาก
  13. Jan Dirk Blom. A Dictionary of Hallucinations. Springer, 2010, p. 187. ISBN 978-1-4419-1222-0
  14. ภาวะเจือกันของวิถีประสาท (synaesthesia จากคำกรีกแปลว่า การเชื่อมกันของการรับรู้) เป็นสภาวะทางประสาทที่ตัวกระตุ้นทางประสาทหรือทางการรับรู้อย่างหนึ่ง ก่อให้เกิดประสบการณ์ทางประสาทหรือทางการรับรู้อีกทางหนึ่ง เช่นตัวอักษรและตัวเลขแต่ละตัวถูกรับรู้เหมือนกับมีสีอยู่ในตัว
  15. Imaging of connectivity in the synaesthetic brain « Neurophilosophy
  16. Trafton, A. "How does our brain know what is a face and what’s not?" MIT News

แหล่งอ้างอิงอื่นๆ

  • "รามจันทร์กับใจของคุณ" เล็กเช่อร์ภาษาอังกฤษมีคำบรรยายไทยด้านล่าง ที่ ted.com
  • "โอลิเว่อร์ แซ็คส์: เรื่องเกี่ยวกับใจของเราที่อาการประสาทหลอนชี้ให้เห็น" เล็กเช่อร์ภาษาอังกฤษมีคำบรรยายไทยด้านล่าง ที่ ted.com
  • ตำแหน่งของรอยนูนรูปกระสวย ที่ mattababy.org
  • แม่แบบ:UMichAtlas - "Cerebral Hemisphere, Inferior View"
  • NIF Search - Fusiform Gyrus via the Neuroscience Information Framework

รอยน, นร, ปกระสวย, งกฤษ, fusiform, gyrus, gyrus, fusiformis, เป, นส, วนหน, งของสมองกล, บขม, บและสมองกล, บท, ายทอยในเขตบร, อดแมนน, กโดยคำท, จจ, นไม, ใช, แล, วอ, กอย, างหน, งค, งกฤษ, occipitotemporal, gyrus, fusiform, gyrus, วด, านในของสมองซ, กซ, าย, มผ, วด, านใ. rxynunrupkraswy xngkvs fusiform gyrus gyrus fusiformis epnswnhnungkhxngsmxngklibkhmbaelasmxngklibthaythxyinekhtbrxdaemnn 37 ruckodykhathipccubnimichaelwxikxyanghnungkhux xngkvs occipitotemporal gyrus 1 rxynunrupkraswy Fusiform gyrus phiwdaninkhxngsmxngsiksay rxynunrupkraswymisismphiwdaninkhxngsmxngsikkhwa rxynunrupkraswyxyudanlangraylaexiydtwrabuphasalatingyrus fusiformisniworenms139niworelks IDbirnlex 1641TA98A14 1 09 227TA25500FMA61908sphthkaywiphakhsastrkhxngprasathkaywiphakhsastr aekikhbnwikisneths rxynunrupkraswyxyuinrahwang inferior temporal gyrus aelarxynunrxbhipopaekhmps parahippocampal gyrus 2 swndankhang lateral aelaswndanin medial aeykxxkcakknodyrxngtun trngklangkraswy 3 4 enuxha 1 hnathi 2 ruptang 3 du 4 echingxrrthaelahmayehtu 5 aehlngxangxingxunhnathi aekikhyngmikhxthitxngthkethiyngknineruxngkichnathikhxngsmxngekhtni aetwa kicehlaniodymakmikhwamehnphxngtxngkn khux pramwlphlekiywkbsi karrucaibhnaaelaxwywa karrucakha karbngchiwtthuthimipraephthediywknnkwicybangthankhidwa rxynunrupkraswyxaccamibthbathinkhwamphidpktithiruckknwa phawabxdibhna prosopagnosia nganwicyaesdngwa ekhtrbruibhnainrxynunrupkraswy Fusiform face area twyx FFA mibthbathxyangsakhyinkarrbruibhna aetimmibthbathinkarbngchiwtthutang thixyuinpraephthediywknaemwabthbathnicaepnkicxyanghnungkhxngrxynunrupkraswy aetimepnkickhxng FFA 5 khwamphidpktiinrxynunrupkraswyidthukechuxmipyngklumxakarwileliyms Williams syndrome 6 7 rxynunrupkraswyyngmibthbathinkarrbruxarmnkhwamrusukkhxngibhna 8 aetwa phumiorkhxxthisumimpraktwa mikarthanganinrxynunrupkraswyhruxmikarthangannxy ephuxtxbsnxngkarehnibhnakhxngmnusy 9 karthanganthangprasathsrirphaphthiephimcakpktikhxngrxynunrupkraswy xacthaihekidxakarprasathhlxnehnibhna imwacaehmuxncringhruxkhlaykartun dngthiehnin Charles Bonnet syndrome 10 phawakhrunghlbkhrungtun 11 Peduncular hallucinosis 12 hruxprasathhlxnthiekidcakkarbriophkhya 13 nganwicyerw niphbwa rxynunrupkraswymikarthangan inrahwangkarrbruthiepnxtwisykhxngtwxksrphrxmdwysi khxngbukhkhlphumiphawaecuxknkhxngwithiprasath synaesthesia 14 15 nganwicytx makhxngnkwithyasastrthisthabnexmixthi srupwa rxynunrupkraswysiksaysikkhwamibthbaththiaetktangkn aemwacamikarthanganechuxmtxkn siksaymibthbathinkarrucarupaebbtang thiehmuxnibhna thixaccaimichibhnacring sikkhwamibthbathinkartdsinwa rupaebbthiehmuxnibhnann epnibhnacring hruxim 16 ruptang aekikh smxngmnusymxngcakthan basal view rxynunrupkraswy phaphihwkhxngrxynunrupkraswydu aekikhekhtrbruhnainrxynunrupkraswyechingxrrthaelahmayehtu aekikh Nature Neuroscience vol7 2004 Gyrus The free dictionary subkhnemux 2013 06 19 Weiner amp Grill Spector Sparsely distributed organization of face and limb activations in human ventral temporal cortex Neuroimage 2010 Oct 1 52 4 1559 73 Epub 2010 May 10 Nasr el al Scene selective cortical regions in human and nonhuman primates J Neurosci 2011 Sep 28 31 39 13771 85 McCarthy G et al Face specific processing in the fuman fusform gyrus J Cognitive Neuroscicence 9 605 610 1997 klumxakarwileliyms xngkvs Williams syndrome epnkhwamphidpktikhxngkarphthnarabbprasath neurodevelopmental disorder mixakarkhux mihnataehmuxn elf misaphancmuk nasal bridge ta mixakarraeringphidpkti mikhwamkhunekhykbkhnaeplkhnaphidpkti mikhwamechuxngchathangphthnakarthikhukbthksathangphasathiekhmaekhng aelamipyhathangrabbhwicrwmhlxdeluxd A L Reiss et al Preliminary Evidence Of Abnormal White Matter Related To The Fusiform Gyrus In Williams Syndrome A Diffusion Tensor Imaging Tractography Study Genes Brain amp Behavior 11 1 62 68 2012 Radua Joaquim Phillips Mary L Russell Tamara Lawrence Natalia Marshall Nicolette Kalidindi Sridevi El Hage Wissam McDonald Colm Giampietro Vincent 2010 Neural response to specific components of fearful faces in healthy and schizophrenic adults NeuroImage 49 1 939 946 doi 10 1016 j neuroimage 2009 08 030 PMID 19699306 Carter Rita The Human Brain Book p 241 Charles Bonnet syndrome epnphawathithaihkhnikhthisuyesiykarehn miprasathhlxnthangtathisbsxn phrrnnakhrngaerkody Charles Bonnet inpi kh s 1760 phawakhrunghlbkhrungtun hypnagogia epnprasbkarnkhxngkaryangekhaipsuhruxxxkcakkhwamhlb khuxphawakxnhlb hypnagogic aelaphawakalngtun hypnopompic Peduncular hallucinosis PT epnkhwamphidpktithangprasaththiekidkhunimbxy kxihekidprasathhlxnthangtathiepncringepncng sungmkcaekidkhuninsingaewdlxmthikhxnkhangmud aeladaeninipepnewlahlaynathi epriybethiybkbprasathhlxnchnidxunaelw khnikh PT miprasbkarnthiehmuxncringmak aelamkcamikhwamekiywkhxngkbbukhkhlaelasingaewdlxmthikhunekhy aelaprasbkarnnncaimaeplkprahladmak Jan Dirk Blom A Dictionary of Hallucinations Springer 2010 p 187 ISBN 978 1 4419 1222 0 phawaecuxknkhxngwithiprasath synaesthesia cakkhakrikaeplwa karechuxmknkhxngkarrbru epnsphawathangprasaththitwkratunthangprasathhruxthangkarrbruxyanghnung kxihekidprasbkarnthangprasathhruxthangkarrbruxikthanghnung echntwxksraelatwelkhaetlatwthukrbruehmuxnkbmisixyuintw Imaging of connectivity in the synaesthetic brain Neurophilosophy Trafton A How does our brain know what is a face and what s not MIT Newsaehlngxangxingxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb rxynunrupkraswy ramcnthrkbickhxngkhun elkechxrphasaxngkvsmikhabrryayithydanlang thi ted com oxliewxr aeskhs eruxngekiywkbickhxngerathixakarprasathhlxnchiihehn elkechxrphasaxngkvsmikhabrryayithydanlang thi ted com taaehnngkhxngrxynunrupkraswy thi mattababy org aemaebb UMichAtlas Cerebral Hemisphere Inferior View NIF Search Fusiform Gyrus via the Neuroscience Information Frameworkekhathungcak https th wikipedia org w index php title rxynunrupkraswy amp oldid 6043149, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม