ชุดตัวอักษรเวียดนาม หรือ จื๋อโกว๊กหงือ (เวียดนาม: chữ Quốc ngữ, แปลตรงตัว 'ตัวหนังสือของภาษาประจำชาติ') เป็นชุดตัวอักษรละตินสำหรับเอาไว้เขียนภาษาเวียดนาม ได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยคณะมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนานิกายคาทอลิกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยหยิบยืมรูปแบบอักขรวิธีมาจากระบบการเขียนของภาษาโปรตุเกสเป็นหลัก และจากภาษาอิตาลีเพียงเล็กน้อย โดยภาษาทั้งหมดที่กล่าวมาอยู่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ (Romance languages) ทั้งสิ้น
ชุดตัวอักษรเวียดนาม chữ Quốc ngữ | |
---|---|
ชนิด | |
ผู้ประดิษฐ์ | คณะเยสุอิตชาวโปรตุเกสและชาวอิตาลี และ |
ภาษาพูด | เวียดนาม, และภาษาพื้นเมือง |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | ไฮเออโรกลีฟอียิปต์
|
ระบบลูก | อักษรบะห์นัร, อักษรจาม, อักษรนุง, อักษรตั่ย |
อักษรเวียดนามประกอบไปด้วยตัวอักษรทั้งสิ้น 29 ตัว มีตัวอักษรที่กำกับด้วยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรเจ็ดตัว รวมทั้งหมด 4 เครื่องหมาย ได้แก่ ă, â/ê/ô, ơ/ư, đ และทั้งยังมีเครื่องหมายอีก 5 ตัวที่ใช้กำกับเสียงวรรณยุกต์ (ได้แก่ à, á, á, ã และ ạ) ทำให้ระบบสระของจื๋อโกว๊กหงือค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากมีเครื่องหมายจำนวนมากไว้คอยกำหนดเสียง โดยสามารถซ้อนเครื่องหมายได้ถึงสองครั้งต่อหนึ่งตัวอักษร (เช่น nhất แปลว่า "อันดับแรก") จึงง่ายต่อการแยกแยะวิธีการสะกดในภาษาเวียดนามหากเทียบกับระบบการเขียนอื่น ๆ ที่ใช้อักษรละตินเหมือนกัน
การใช้ระบบเครื่องหมายเสริมสัทอักษรทำให้ระบบการเขียนของภาษาเวียดนามมีจุดเด่นตรงที่ทำให้มีการถอดเสียงที่แม่นยำ แม้จะมีข้อจำกัดที่ยุ่งยากด้วยความเป็นอักษรโรมันก็ตาม กลับกันการเปลี่ยนแปลงของเสียงในภาษาพูดในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดข้อเสียตรงที่ตัวทวิอักษรและไตรอักษรในจื๋อโกว๊กหงือมีเสียงที่แตกต่างกันไปในแต่ละสำเนียงแม้จะใช้ตัวอักษรตัวเดียวเหมือนกันก็ตาม
ชื่อ
ในปลายปี ค.ศ. 1867 เริ่มมีการเรียกอักษรละตินสำหรับภาษาเวียดนามว่าเป็นตัวหนังสือของภาษาประจำชาติ (chữ quốc ngữ) โดยในปีดังกล่าว (Trương Vĩnh Ký) ได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาเวียดนามถึงสองเล่ม หนังสือเล่มแรกเป็นหนังสือที่เขียนด้วยจื๋อโกว๊กหงือสำเนียงอันนัมมีเนื้อหาเกี่ยวกับไวยากรณ์ของภาษาฝรั่งเศส ชื่อว่าหลักการเรียนภาษาฝรั่งเศส (Mẹo luật dạy học tiếng pha-lang-sa) ซึ่งในหนังสือระบุคำว่า "chữ quốc ngự" (ไม่ใช่ ngữ) ที่ใช้เรียกแทนชื่อของระบบการเขียนภาษาเวียดนามด้วยอักษรละติน ส่วนหนังสือเล่มที่ 2 เป็นหนังสือเกี่ยวกับของไวยากรณ์ภาษาเวียดนามซึ่งเขียนด้วยภาษาฝรั่งเศส ชื่อว่าสรุปไวยากรณ์ภาษาอันนัม (Abrégé de grammaire annamite) ในหนังสือภาษาฝรั่งเศสเรียกตัวอักษรละตินที่เขียนเป็นภาษาเวียดนามว่าตัวอักษรยุโรป (l’alphabet européen) หรืออักขระละติน (les caractères latins) นอกจากนี้ในหนังสือพิมพ์รายวัน (Gia Định báo) ฉบับลงวันที่ 15 เมษายน ในปีเดียวกัน ได้อ้างอิงถึงชื่อในหนังสือสรุปไวยากรณ์ภาษาอันนัมของเจือง หวิญ กี๊ที่เขียนด้วยภาษาฝรั่งเศสว่าจื๋อโกว๊กหงือเพื่อใช้เรียกแทนอักษรละตินที่นำไปใช้เขียนภาษาเวียดนามเช่นกัน
ประวัติ
นับตั้งแต่เริ่มต้นการปกครองของจีนเมื่อราว 111 ปีก่อนคริสตกาล จะทั้งงานวรรณกรรม เอกสารราชการ งานวิชาการ หรือพระคัมภีร์ทางศาสนา ทั้งหมดล้วนเขียนด้วยอักษรจีน (Chữ Hán; 𡨸漢) ทั้งสิ้น กว่าที่จื๋อฮ้านจะเริ่มแพร่หลายไปถึงประชาชนโดยทั่วไป ก็ปาเข้าไปราว ๆ คริสตศตวรรษที่ 9 ถึงคริสตศตวรรษที่ 12 ซึ่งก็ได้รับการพัฒนาไปเป็นจื๋อโนม (chữ Nôm) ในเวลาต่อมา โดยหยิบยืมระบบพื้นฐานมาจากตัวอักษรจีนแบบต่าง ๆ ในการแทนคำแต่ละคำ แต่ก็ยังเสริมด้วยการประดิษฐ์อักขระเฉพาะขึ้นมา (เรียกว่า chữ thuần nôm) เพื่อรองรับคำศัพท์ดั้งเดิมในภาษาเวียดนาม
จุดเริ่มต้น
จื๋อโกว๊กหงือได้รับการพัฒนาขึ้นโดยคณะเยสุอิตในระหว่างการเผยแพร่คริสตจักรนิกายคาทอลิกที่เวียดนามเมื่อต้นศตวรรษที่ 17 ภายใต้การอุปถัมภ์ของบาทหลวงชาวโปรตุเกส นามว่า (Francisco de Pina; ค.ศ. 1585 – 1625) เป็นมิชชันนารีคนแรกที่สามารถพูดภาษาเวียดนามได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึงยังเป็นผู้ที่ริเริ่มในการบันทึกภาษาเวียดนามด้วยอักษรละติน ต่อมาพระสงฆ์นามว่า (Alexandre de Rhodes) เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดัดแปลงและบันทึกจื๋อโกว๊กหงือลงในพจนานุกรมชื่อตื่อเดี๋ยนเหวียตโบ่ลา (ละติน: Dictionarium Annamiticum Lusitanum et Latinum) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี 1651 ที่กรุงโรม ท่านกล่าวว่าได้รวบรวมเนื้อหาทั้งหมด โดยอาศัยเอกสารเพียงทั้งสิ้นสองเล่ม (ปัจจุบันหายสาปสูญ) ซึ่งเขียนโดย และ มิชชันนารีท่านอื่น ๆ ที่มีส่วนร่วมในยุคเริ่มต้นพัฒนาการของจื๋อโกว๊กหงือ ได้แก่ และ
ตามที่ผู้เขียนอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอดได้กล่าวไว้ ท่านได้ยืมเครื่องหมาย (sắc) เกรฟแอกเซนต์ (huyền) และ (ngã) มาจากภาษากรีกโบราณ แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอสำหรับเขียนภาษาเวียดนาม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเพิ่มเครื่องหมายพินทุ (nặng; ออกเสียงหนัก) และเครื่องหมายปรัศนี (hỏi) เพื่อแสดงเสียงวรรณยุกต์เพิ่มเติมในภาษาเวียดนาม รวมถึงหยิบยืมอักขรวิธีของ nh, ch มาจากภาษาโปรตุเกส; gi ในภาษาอิตาลี; ph มาจากภาษากรีกโบราณ และนำ (◌᷄) มาใช้กำกับตัวสะกดเสียงนาสิก
พจนานุกรมชิ้นดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญที่ทำให้สามารถย้อนไปศึกษาถึงวิธีของการออกเสียงภาษาเวียดนามในยุคกลางได้ นอกจากวัตถุประสงค์ที่จะทำให้มิชชันนารีชาวต่างชาติสามารถเข้าถึงภาษาเวียดนามได้โดยง่ายขึ้นแล้ว จื๋อโกว๊กหงือยังช่วยให้มิชชันนารีชาวเวียดนามบางท่านสามารถสร้างคุ้นเคยต่อภาษาละตินซึ่งเป็นภาษากลางของคริสตจักรคาทอลิกผ่านอักษรละตินได้อีกเช่นกัน
บาทหลวง (Giovanni Filippo de Marini) ได้บันทึกภาษาเวียดนามไว้ในรายงานการประชุมครั้งใหญ่ในพิธีบัพติศมาเมื่อปี ค.ศ. 1645 โดยระบุไว้ว่า: "Tau rữa mầï nhân danh Cha, uà Con, uà Spirito Santo. Taü lấÿ tên Chuá, tốt tên, tốt danh, tốt tiẽng..." (เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต ในนามพระผู้สร้าง พระผู้ไถ่ และพระผู้ทำให้บริสุทธิ์...)
ได้รับการปรับปรุง
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 การปฏิรูปอักขรวิธีเริ่มต้นขึ้นที่ภูมิภาคด่างจ่อง ทำให้จื๋อโกว๊กหงือมีรูปแบบการเขียนที่ค่อนข้างจะใกล้เคียงกับรูปแบบการเขียนในยุคปัจจุบัน คริสตชนชาวด่างจองได้ทำการรวบรวมพจนานุกรมเป็นภาษาเวียดนามนำโดยบิชอปชาวฝรั่งเศสนามว่าปีแยร์ ปีโญ เดอ เบแอน (Pierre Pigneau de Béhaine) ซึ่งต่อมาต้นฉบับดังกล่าวทำให้มิชชันนารีนามว่า (Jean-Louis Taberd) เรื่มทำการเรียบเรียงเนื้อหาขึ้นมาใหม่และตีพิมพ์ที่เมืองศรีรามปุระ ประเทศอินเดีย เมื่อปี ค.ศ. 1838
หนังสือของเดอ เบแอน ที่รวบรวมได้ในราวปี ค.ศ. 1772–1773 เรียกว่า Dictionarium Anamatico-Latinum เป็นสำเนาต้นฉบับ (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุที่คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส) ที่ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์จนถึงปัจจุบัน ขณะที่พจนานุกรมของ ตาแบร์ ที่ชื่อ Nam Việt–Dương Hiệp Tự vị (มีชื่อภาษาละตินเหมือนกับของ เดอ เบแอน) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีกครั้ง ได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่สำคัญของภาษาเวียดนามในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 หากเปรียบเทียบพจนานุกรมของตาแบร์ กับของเดอ รอด เสียง "ꞗ" ได้หายไป และถูกแทนที่ด้วยเสียง "v" หรือ "b" แทน ขณะที่เสียง "bl", "ml", "pl", "sl" และ "tl" ก็ได้หายไปเช่นเดียวกัน และถูกกลืนเป็นส่วนหนึ่งของ "tr", "nh", "l", "s" อย่างไรก็ดีรูปแบบการสะกดแบบเก่าบางส่วนยังสามารถสืบค้นได้ในเอกสารของ (João de Loureiro) ซึ่งค้นพบในภูมิภาคด่างจอง และของฟิลลิพเฟ บิ๋ญ (Philipphê Bỉnh) ในกรุงลิสบอนเมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ 19
ในภาคผนวกของพจนานุกรมมีบทบทหนึ่งที่ชื่อว่า "บทสนทนาระหว่างกัปตันเรือและพ่อครัวคนหนึ่ง" (Dialogus Inter Unum Navis Praevectum et Unum Cocincinensem) โดยระบุข้อความไว้ดังนี้:
- Ông đi viếng Quan lớn thì được song thói nước nầy chẳng cho phép thăm đờn bà. (เป็นเรื่องปกติหากท่านหากคิดจะเข้าไปท่องเที่ยวในจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ที่นี้ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงลักลอบเข้าไปในประเทศ)
-Tôi cam lòng chìu theo quốc pháp, tôi chẳng có ý làm đều gì nghịch cùng thói phép đất nầy, có tục ngữ rằng: nhập giang tùy khúc nhập gia tùy tục. (ข้าพเจ้ายินดีที่จะปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง ข้าพเจ้าไม่มีเจตนาจะทำอะไรก็ตามที่ขัดต่อกฎหมายของประเทศนี้ ดังสุภาษิตที่ว่า เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม)
จะเห็นได้ว่าการสะกดของจื๋อโกว๊กหงือในยุคนี้มีรูปแบบอักขรวิธีที่ไม่ค่อยแตกต่างจากปัจจุบันมากนัก และรูปแบบดังกล่าวนี้เองที่จะกลายเป็นแม่แบบให้กับมาตรฐานการเขียนในภาษาเวียดนามยุคต่อ ๆ มา แม้ว่ารูปแบบอักขรวิธีในยุคนี้อาจจะยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในทันที แต่ก็เป็นเวลามากกว่า 200 ปีแล้ว ที่ได้ทำการเผยแพร่จื๋อโกว๊กหงือ อย่างไรก็ดีคริสตจักรก็ยังคงใช้ระบบการเขียนแบบจื๋อโนมเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ศาสนาเป็นหลักอยู่ดี
ยุคอาณานิคม
การถูกครอบงำของวัฒนธรรมจีนภายในเวียดนามมานานหลายพันปี ส่งผลให้จื๋อโกว๊กหงือซึ่งได้รับการดัดแปลงและพัฒนามานานกว่า 300 ปี ก็ยังไม่ได้ความนิยมและแพร่หลายมากพอที่จะกลายเป็นอักษรที่ใช้อย่างเป็นทางการ รวมถึงจื๋อโนมและจื๋อฮ้านก็ยังเป็นอักษรหลักที่เอาไว้เขียนภาษาเวียดนามมาตลอดหลายร้อยปีแล้ว จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องเปลี่ยนไปใช้อักษรรูปแบบอื่น จนกระทั่งจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองภูมิภาคโคชินไชนาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่งผลให้จื๋อโกว๊กหงือซึ่งเป็นอักษรละตินที่เอาไว้ใช้เขียนภาษาเวียดนามได้รับการยกสถานะให้เป็นอักษรหลักอย่างเป็นทางการ ประสงค์ก็เพื่อให้ชาวเวียดนามใช้อักษรแบบเดียวกับที่ภาษาฝรั่งเศสใช้ รวมทั้งยังทำให้ภาษาฝรั่งเศสกับกลายเป็นที่แพร่หลายในเวียดนามได้มากขึ้นอีกด้วย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2412 พลเรือจัตวามารี กูสตาฟ แอ็กตอร์ ออเยร์ (Marie Gustave Hector Ohier) ได้ลงนามในรัฐกฤษฎีกา "บังคับใช้จื๋อโกว๊กหงือแทนที่อักษรจีน" ภายในภูมิภาคโคชินไชนาอย่างเป็นทางการ
รัฐกฤษฎีกาฉบับที่ 82 ลงนามเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1878 โดย ลาฟงต์ได้กำหนดมาตรการเชิงกลยุทธ์ในระยะสี่ปี (ภายในปี ค.ศ. 1882) เพื่อเปลี่ยนไปใช้จื๋อโกว๊กหงืออย่างเบ็ดเสร็จ:
"นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1882 เป็นต้นไป จะด้วยเอกสารราชการ รัฐกฤษฎีกา คำตัดสิน คำพิพากษาศาล และคำสั่ง...ฯลฯ ทั้งหมดจะถูกเขียน ลงนาม และเผยแพร่ด้วยจื่อโกว๊กหงือ หากเจ้าพนักงานผู้ใดมิสามารถเขียนจื๋อโกว๊กหงือได้ จะมิได้รับอนุญาตให้ดำรงตำแหน่งหรือเลื่อนสถานะในหน่วยงานราชการทั้งในท้องถิ่นหรือภูมิภาคได้..."
ณ วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1879 มีคำสั่งบังคับให้เอกสารราชการทั้งหมดต้องใช้จื๋อโกว๊กหงือ ภายในปีเดียวกันนั้นเองรัฐบาลฝรั่งเศสได้นำจื๋อโกว๊กหงือมาใช้ในหลักสูตรการศึกษา โดยริเริ่มเผยแพร่จากหมู่บ้านหรือชุมชนภายในภูมิภาคโคชินไชนา ก็เพื่อส่งเสริมให้จื๋อโกว๊กหงือกลายเป็นที่แพร่หลาย นอกจากนี้เจ้าพนักงานภายในรัฐโคชินไชนาก็ยังได้ออกรัฐกฤษฎีกาเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1880 โดยลดหรือละเว้นภาษีหรือบรรณาการ สำหรับขุนนางและทางราชวงศ์หากสามารถใช้จื๋อโกว๊กหงือได้ ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดความไม่พอใจให้กับกลุ่มชนชั้นสูงหรือผู้ที่ได้รับการศึกษาจากจีนแผ่นดินใหญ่เป็นอย่างมาก
หนังสือพิมพ์ (Gia Định báo) เป็นหนังสือพิมพ์ที่ได้รับการจัดพิมพ์โดยบรรณาธิการชาวเวียดนามชื่อ (Trương Vĩnh Ký) เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่เขียนด้วยจื๋อโกว๊กหงือ เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 1865 จะด้วยรูปประโยคหรือวิธีการสะกดคำก็มิได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก หากเทียบกับอักขรวิธีในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ประกาศฉบับ ลงวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1888:
"Sở Thuế Chánh Ngạch. Các người thiếu thuế... đặng hay: các sổ phụ trong tháng Octobre 1888 thuế đất, thuế sanh ý, thuế ghe biển, thuế ghe sông, cùng thuế thân đã lập theo phép để trong tay quan Kho Bạc Sài Gòn và Chợ Lớn hay về việc thâu thuế. Bởi đó sức cho các người ấy phải y theo hạn trong luật dạy mà đóng các món thuế biên trong sổ ấy, bằng không thì phải cứ phép mà bắt buộc..." (ลงนามกรมสรรพากรพลเมืองทุกคนต้องเสียภาษี เรียนมาเพื่อทราบ: หนังสือแจ้งความประสงค์ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1888 องค์กรดังกล่าวจัดตั้งขึ้นมาโดยได้รับอนุญาตให้เก็บภาษีที่ดิน ภาษีเงินได้ ภาษีสรรพากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเลือกตั้ง สำหรับพลเมืองหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองไซง่อนและเมืองเจอะเลิ้น ทั้งหมดนี้อยู่ในการดูแลของเจ้าหน้าที่ธนารักษ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี ดังที่แจ้งไว้ข้างต้นพลเมืองทุกคนจะต้องเสียภาษีที่ระบุไว้ในเอกสารตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดมิเช่นนั้นจะถูกลงโทษตามกฎหมาย)
บทบาทในครึ่งแรกของคริสตศตวรรษที่ 20
ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 20 รัฐบาลอินโดจีนของฝรั่งเศสได้ขยายนโยบายการใช้จื๋อโกว๊กหงือไปให้ทั่วถึง โดยมอบหมายหน้าที่ให้อยู่ภายใต้การดูแลของในเมืองตังเกี๋ยนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1910 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (Cao Xuân Dục) ได้ตอบจดหมายทางการไปยัง โดยระบุข้อความไว้ดังนี้:
"... คนทั้งประเทศเรียนภาษาโดยใช้อักษรละตินจื๋อโกว๊กหงือ จะทั้งในระดับอุดมศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา นักเรียนศาสนา หรือนักศึกษาทั่วไป ก็เพื่อให้ได้รับการบรรจุเข้าเป็นข้าราชการครูหรือคณาจารย์... ทั้งหมดนี้เป็นไปตามบัญชาขององค์พระจักรพรรดิ ชาติของเราจึงได้ก่อตั้งบัณฑิตยสถานและโรงเรียนที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการสอนภาษานี้ขึ้นมา ประสงค์ก็เพื่อสร้างมาตรฐานให้กับหลักสูตรการสอนภาษานี้นั่นเอง"
รัฐบาลฝรั่งเศสได้พยายามออกนโยบายยกเลิกการสอบขุนนางทั้งหมดในเวียดนาม เนื่องจากมองว่าเป็นวัฒนธรรมจากชนชั้นนำที่เชื่อมโยงกับความเป็น "ระบอบเก่า" จึงมีการบังคับให้ชนชั้นนำภายในเวียดนามต้องส่งลูกหลานของตนเข้าสู่ระบบการศึกษาของฝรั่งเศส การสอบจอหงวนครั้งสุดท้ายจัดขึ้นที่ภูมิภาคตังเกี๋ย ราวปี ค.ศ. 1915 แม้จะมีการต่อต้านจากกลุ่มปัญญาชนจากภูมิภาคอันนัมก็ตาม จักรพรรดิขาย ดิ่ญ (Khải Định) ได้ลงพระราชนามในพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1918 เพื่อยกเลิกการสอบขุนนางอย่างเป็นทางการ และในปี ค.ศ. 1919 ก็เป็นปีสุดท้ายที่เปิดการสอบจอหงวน ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเว้ จื๋อโกว๊กหงือจึงได้กลายเป็นระบบการเขียนหลักของภาษาเวียดนาม ผลที่ตามมาทำให้ "อัตราการรู้หนังสือ" ของคนเวียดนามเพิ่มขึ้น และทำให้จื๋อฮ้านและจื๋อโนมซึ่งเคยเป็นระบบการเขียนหลักของภาษาเวียดนามในอดีตค่อยๆ ลดความนิยมลงตามมา
ขณะเดียวกันก็มีนักชาตินิยม นักปรัชญาขงจื๊อ กลุ่มหัวก้าวหน้า และชนชั้นนำที่สนับสนุนฝรั่งเศส ที่เห็นถึงผลดีของการเปลี่ยนไปใช้จื๋อโกว๊กหงือ ซึ่งเป็นระบบการอ่านเขียนที่ง่ายกว่าแบบเก่า และมองว่าระบบการศึกษาของฝรั่งเศสเป็นหนทางในการ "ปลดปล่อย" ชาวเวียดนามจากการครอบงำของวัฒนธรรมจีนซึ่งดู "โบราณ" และ "ล้าสมัย" จึงมีการส่งเสริมและสนับสนุนในการใช้จื๋อโกว๊กหงือเพื่อยกระดับความรู้ของผู้คนในสังคม นอกเหนือจากนี้ยังเป็นการเสริมสร้างลัทธิชาตินิยมเพื่อปลุกระดมชาวเวียดนามให้ต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส หนึ่งในตัวอย่างขององค์กรที่ว่านั้นคือ (Đông Kinh Nghĩa Thục) นั่นแสดงให้เห็นว่าการใช้จื๋อโกว๊กหงือไม่ได้เป็นเพียงแค่เป็นการศึกษาเพื่อให้อ่านออกเขียนได้แต่เพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถที่จะเป็นเครื่องมือในการปลุกระดมทางการเมืองและเชิดชูสำนึกของความเป็นชาติได้อีกด้วย
จื๋อโกว๊กหงือเข้ามามีบทบาทสำคัญในฐานะของอักษรประจำชาติที่ใช้บันทึก เอกสารรายงาน วารสาร รวมถึงนิตยสารชื่อดังอย่าง (Nam Phong tạp chí) (Đông Dương tạp chí) และ งานนวนิยายและ ซึ่งเป็นงานที่ตีพิมพ์โดยสมาคมวรรณกรรม (Tự Lực Văn đoàn) ฯลฯ ก็ล้วนแต่ใช้จื๋อโกว๊กหงือเป็นระบบการเขียนสำหรับภาษาเวียดนาม งานประพันธ์ที่กล่าวมาทั้งหมดมีส่วนสำคัญในการยกระดับทางความคิดที่แตกต่างและแปลกใหม่มาสู่สังคมเวียดนาม ทั้งในแง่ของการทำให้ระบบการศึกษามีความเป็นประชาธิปไตย และช่วยเชื่อมโยงปรัชญาความคิดแบบยุโรปเข้าสู่สังคมเวียดนาม
จากทั้งหมดที่กล่าวมาทำให้นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1920 เป็นต้นมา จื๋อโกว๊กหงือก็ได้แพร่หลายและกลายเป็นระบบการเขียนหลักในภาษาเวียดนามโดยสมบูรณ์ คำศัพท์ในภาษาเวียดนามสมัยใหม่มักหยิบยืมหรือดัดแปลงมาจากจื๋อโนม ซึ่งมีรากเดิมมาจากภาษาจีนโดยตรง ข้าราชการฝรั่งเศสบางคนเคยมีความคิดที่จะแทนที่ภาษาเวียดนามด้วยภาษาฝรั่งเศส แต่ความคิดดังกล่าวก็ไม่เคยเกิดขึ้นจริง เนื่องจากมีจำนวนผู้ตั้งถิ่นฐานที่เป็นชาวฝรั่งเศสน้อยหากเทียบกับประชากรพื้นเมือง ชาวฝรั่งเศสในเวียดนามจึงต้องยินยอมในการใช้ภาษาเวียดนามที่เขียนด้วยจื๋อโกว๊กหงืออย่างไม่เต็มใจ เนื่องจากระบบการเขียนนี้ถูกสร้างขึ้นโดยมิชชันนารีชาวโปรตุเกส โดยมีรูปแบบอักขรวิธีที่หยิบยืมมาจากภาษาโปรตุเกสเป็นหลัก มิใช่ภาษาฝรั่งเศสที่เป็นภาษาหลักของเจ้าอาณานิคม
ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน
ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 จื๋อโกวหงือได้รับการปฏิรูปรูปแบบอักขรวิธี เพื่อให้สอดคล้องต่อการปรับปรุงงานวรรณกรรมและการปฏิรูประบบการศึกษา โดยอยู่ภายใต้การดูแลของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม แต่เนื่องจาก ณ ขณะนั้นมีเป็นจำนวนมากถึง 4 ล้านคน ส่งผลให้การปฏิรูปดังกล่าวมีทั้งผลดีและผลเสียในเวลาเดียวกันต่อประชากรภายในและนอกประเทศที่ใช้ภาษาเวียดนาม ในแง่ของการรับรู้อักขรวิธีที่แตกต่างกัน เนื่องด้วยรูปแบบของหลักสูตรการศึกษาที่แตกต่างกันนั่นเอง
- นับตั้งแต่คริสตทศวรรษที่ 1950 จื๋อโกว๊กหงือในภาษาเวียดนามถิ่นเหนือได้รับการดัดแปลงให้เขียนสะดวกยิ่งขึ้น โดยยกเลิกการใช้เครื่องหมายยัติภังค์ระหว่างคำประสม คำซ้อน รวมถึงคำที่เป็นชื่อเฉพาะ (วิสามานยนาม) เช่นคำว่า tự-do (แปลว่า "เสรีภาพ") เขียนเป็น tự do แทน หรือชื่อคนอย่าง Họ-Văn-Tên (อ่านว่า "โหะ วัน เตน") ก็ให้เขียนว่า Họ Văn Tên แทน อย่างไรก็ตามข้อสังเกตคือขณะที่มีการก่อสร้างสุสานโฮจิมินห์ในกรุงฮานอย เมื่อปี ค.ศ. 1973 ได้มีการใช้เครื่องหมายยัติภังค์ในป้ายชื่อหลักของประธานโฮจิมินห์
- ผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการปฏิรูปการศึกษาดังกล่าว ได้แก่ ชาวเวียดนามพลัดถิ่นหรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายก่อนยุคปฏิรูปการศึกษานั่นเอง
- ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิรูปการศึกษาในยุคแรกจะท่องตัวอักษรเวียดนามว่า "อา เบอะ เกอะ" (a bờ cờ) ฯลฯ
- ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิรูปการศึกษาในยุคปัจจุบันจะท่องตัวอักษรเวียดนามว่า "อา เบ เซ" (a bê xê; อ่านออกเสียงแบบเดียวกับภาษาฝรั่งเศส)
ด้วยความที่ภาษาเวียดนามเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์และจำเป็นต้องใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร ทำให้เกิดความยุ่งยากและซับซ้อนต่อการพิมพ์ ชาวเวียดนามในต่างประเทศจึงเลี่ยงการใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรในการเขียนชื่อของตน เช่น การเขียนคำว่า "Nguyen" (อ่านว่า งฺเหวียน) แทนที่คำว่า "Nguyễn" ซึ่งเป็นวิธีการเขียนที่ถูกต้อง ตำราเรียนภาษาเวียดนามร่วมสมัยบางเล่มก็ยังหลงเหลือคำที่ยังมิได้ปรับปรุงรูปแบบอักขรวิธีให้เข้ากับวิธีการสะกดภาษาเวียดนามในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับตำราที่เขียนด้วยจื๋อฮ้าน ทำให้สถานะของภาษาเวียดนามนั้นเหมือนกับระบบการเขียนของกลุ่มภาษาในเอเชียตะวันออก เช่น คันจิในภาษาญี่ปุ่น ฮันจาในภาษาเกาหลี ฯลฯ ที่ต้องมี "" (ruby characters) เขียนกำกับวิธีการออกเสียงที่ถูกต้องไว้ที่ข้างบน ภาษาฝรั่งเศสเคยเป็นภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาเวียดนาม โดยทิ้งร่องรอยไว้ทั้งในแต่ก็ได้รับความสำคัญน้อยลงตามกาลเวลา เนื่องจากประเทศเวียดนามได้หลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษแล้ว และถูกแทนที่ด้วยภาษาอังกฤษ (English language) ซึ่งเป็นภาษาที่มีบทบาทสำคัญทั้งในเชิงพาณิชย์และในเวทีโลก ส่วนหนึ่งมาจากกระแสโลกาภิวัตน์และการจัดระเบียบโลกใหม่โดยชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่าง
จื๋อโกว๊กหงือ | ฮ้านโนม | IPA (สำเนียงฮานอย) | แปลไทย |
---|---|---|---|
Tất cả mọi người sinh ra đều được tự do và bình đẳng về nhân phẩm và quyền. Mọi con người đều được tạo hoá ban cho lý trí và lương tâm và cần phải đối xử với nhau trong tình bằng hữu. | 𤲃哿每𠊚生𠚢調得自由吧平等𧗱人品吧權. 每𡥵𠊚調得造化班朱理智吧良心吧懃沛對處𠇍𦣗𪚚情朋友. | tɜt̚ kɐː mɔj ŋɨɜj siŋ za ɗew ɗɨɜk̚ tɨɰ zɔ vɐː ɓiŋ ɗɐŋ vej ɲɜn fɜm vɐː kwiːɜn. mɔj kɔn ŋɨɜj ɗeu ɗɨɜk̚ tɐːw hɔɜ ɓɐːn cɔ lij cij vɐː lɨɜŋ tɜm vɐː kɜn fɐːj ɗoj sɨ vɜj ɲɐw cɜwŋ tiŋ ɓɐŋ hɨw. | มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระเสรีและเสมอภาคกันทั้งในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ |
- คำให้สัตยาบันต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Right)
ชื่อตัวอักษร
ภาษาเวียดนามใช้ (ISO basic Latin alphabet) จำนวนทั้งสิ้น 22 ตัว ตัวอักษรที่ไม่มีให้ใช้ในภาษาเวียดนามมักปรากฎแค่เฉพาะในคำยืมที่มาจากภาษาต่างประเทศ หรืออาจเป็นหน่วยเสียงในภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่อาศัยอยู่ในประเทศเวียดนามแต่เพียงเท่านั้น เช่น ตัวอักษร ⟨dz⟩ หรือ ⟨z⟩ ที่มีไว้เพื่อช่วยให้สามารถแยกความต่างกับอักษร ⟨v⟩ ในภาษาเวียดนามสำเนียงถิ่นใต้
รวมแล้วภาษาเวียดนามมีสระทั้งสิ้น 12 ตัว (nguyên âm) และพยัญชนะ 17 ตัว (phụ âm, แปลว่า "ตัวเสริม")
ตัวอักษร | ชื่อ (เวลาสะกด) | IPA | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
สำเนียงฮานอย | สำเนียงเหงะอาน | สำเนียงไซ่ง่อน | ||||
A, a | a | ʔaː˧˧ | ʔaː˧˥ | ʔaː˧˧ | ||
Ă, ă | AW | A8 | á | ʔaː˧˥ | ʔaː˩˩ | ʔaː˧˥ |
, â | AA | A6 | ớ | ʔəː˧˥ | ʔəː˩˩ | ʔəː˧˥ |
B, b | bê | ʔɓe˧˧ | ʔɓe˧˥ | ʔɓe˧˧ | ||
C, c | xê | se˧˧ | se˧˥ | se˧˧ | ||
D, d | dê | ze˧˧ | ze˧˥ | je˧˧ | ||
, đ | DD | D9 | đê | ʔɗe˧˧ | ʔɗe˧˥ | ʔɗe˧˧ |
E, e | e | ʔɛ˧˧ | ʔɛ˧˥ | ʔɛ˧˧ | ||
Ê, ê | EE | E6 | ê | ʔe˧˧ | ʔe˧˥ | ʔe˧˧ |
G, g | giê | zə˧˧ | zə˧˥ | jə˧˧ | ||
H, h | hát | haːt˧˥ | haːt˩˩ | haːk˧˥ | ||
I, i | i | ʔi˧˧ | ʔi˧˥ | ʔi˧˧ | ||
K, k | ka | kaː˧˧ | kaː˧˥ | kaː˧˧ | ||
L, l | e-lờ | ʔɛ˧˧ lə̤ː˨˩ | ʔɛ˧˥ ləː˧˧ | ʔɛ˧˧ ləː˨˩ | ||
M, m | em-mờ | ʔɛm˧˧ mə̤ː˨˩ | ʔɛm˧˥ məː˧˧ | ʔɛm˧˧ məː˨˩ | ||
N, n | en-nờ | ʔɛn˧˧ nə̤ː˨˩ | ʔɛn˧˥ nəː˧˧ | ʔɛŋ˧˧ nəː˨˩ | ||
O, o | o | ʔɔ˧˧ | ʔɔ˧˥ | ʔɔ˧˧ | ||
Ô, ô | OO | O6 | ô | ʔo˧˧ | ʔo˧˥ | ʔo˧˧ |
, ơ | OW | O7 | ơ | ʔəː˧˧ | ʔəː˧˥ | ʔəː˧˧ |
P, p | pê | pe˧˧ | pe˧˥ | pe˧˧ | ||
Q, q | quy | kwi˧˧ | kwi˧˥ | wi˧˧ | ||
R, r | e-rờ | ʔɛ˧˧ zə̤ː˨˩ | ʔɛ˧˥ ɹəː˧˧ | ʔɛ˧˧ ɹəː˨˩ | ||
S, s | ét-sì | ʔɛt˧˥ si̤˨˩ | ʔɛt˩˩ si˧˧ | ʔɛk˧˥ ʂi˨˩ | ||
T, t | tê | te˧˧ | te˧˥ | te˧˧ | ||
U, u | u | ʔu˧˧ | ʔu˧˥ | ʔu˧˧ | ||
, ư | UW | U7 | ư | ʔɨ˧˧ | ʔɨ˧˥ | ʔɨ˧˧ |
V, v | vê | ve˧˧ | ve˧˥ | je˧˧ | ||
X, x | ích-xì | ʔik˧˥ si̤˨˩ | ʔik˩˩ si˧˧ | ʔɨt˧˥ si˨˩ | ||
Y, y | i dài | ʔi˧˧ za̤ːj˨˩ | ʔi˧˥ zaːj˧˧ | ʔi˧˧ jaːj˨˩ |
หากเทียบกับชุดตัวอักษรในภาษาอังกฤษ จื๋อโกว๊กหงือมีตัวอักษรเดี่ยวจำนวน 22 ตัว และตัวอักษรที่เพิ่มเครื่องหมายเสริมสัทอักษรเข้าไปอีก 7 ตัว ได้แก่: Ă, Â, Đ, Ê, Ô, Ơ และ Ư นอกจากนี้ยังมีตัวอักษรละตินอีก 4 ตัวที่ไม่ปรากฎให้ใช้อยู่ในจื๋อโกว๊กหงือได้แก่ F, J, W, และ Z
การเขียนจื๋อโกว๊กหงือแบ่งรูปแบบตัวอักษรไว้ทั้งหมด 2 ลักษณะ ได้แก่ "ตัวพิมพ์ใหญ่" (chữ hoa) และ "ตัวพิมพ์เล็ก" (chữ thường) จื๋อโก๊กหงือมีตัวอักษรเสริมอีก 11 ตัวที่ใช้แทนหน่วยเสียงเพิ่มเติมในกลุ่มพยัญชนะ ได้แก่
- ทวิอักษร 10 ตัว: ch, gh, gi, kh, ng, nh, ph, qu, th, tr
- ไตรอักษร 1 ตัว: ngh
ทวิอักษร หมายถึง การรวมกลุ่มของตัวอักษรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป ที่ใช้แทนหน่วยเสียงอื่นที่ไม่ใช่ค่าปกติของอักษรสองตัวนั้นมาประกอบกันตามรูปแบบอักขรวิธี ส่วนไตรอักษร หมายถึง การรวมกลุ่มของตัวอักษรตั้งแต่สามตัวขึ้นไป แบบเดียวกับที่ได้กล่าวมาก่อนหน้า
ตัวอักษรที่ไม่ปรากฎอยู่ในภาษาเวียดนาม
ตัวอักษรทั้งสี่ตัว ได้แก่ F, J, W, และ Z เป็นตัวอักษรที่ปรากฎอยู่ในภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ โดยในปัจจุบันไม่ถือว่าเป็นตัวอักษรที่เป็นทางการในภาษาเวียดนามหรือภาษาจีนกลาง
อย่างไรก็ตามในเอกสารราชการ ตัวอักษรเหล่านี้มีไว้สำหรับเขียนชื่อเฉพาะ (เช่น ชื่อสถานที่ หรือชุมชน) ในภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ นอกเหนือจากภาษาเวียดนาม ตัวอย่างเช่น ชื่อชุมชน Zuôih, Jơ Ngây, Za Hung,... ในอำเภอนามซาง จังหวัดกว๋างนาม ตำบล Ea Wy อำเภอ Ea H'leo, ตำบล Cư Ê Wi อำเภอ Cư Kuin ในจังหวัดดั๊กลัก หรือ อำเภอ Cư Jút จังหวัดดั๊กนง นอกจากนี้ก็ยังมีใช้ในกลุ่มคำอุทาน "ที่ไม่ได้มาจากภาษาเวียดนาม" ตัวอย่างเช่น uuh, uôp, h'l, k't, kr, ... เป็นต้น
นอกจากนี้โฮจิมินห์ (Hồ Chí Minh) ยังเคยใช้ตัวอักษร F แทนตัวอักษร PH และตัวอักษร Z แทนตัวอักษร D ในการเขียนพินัยกรรมของตัวเองอีกด้วย
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความโอนอ่อนและขาดความเข้มงวดทางมาตรฐานในภาษาเวียดนาม โดยมีผู้ที่เสนอว่า "ไม่ควรใช้ตัวอักษร F, J, W, Z ในการเขียน" และควรมีมาตรฐานการเขียนที่ชัดเจน ก็เพื่อธำรงรักษารูปแบบอักขรวิธีในฐานะที่เป็นภาษากลางและภาษาราชการซึ่งต้องใช้ในเอกสารทางกฎหมาย ดังนั้นนักวิชาการจึงเสนอว่าในหลักสูตรการศึกษาจำเป็นต้องทดแทนด้วยการสอนให้ผู้คนในท้องถิ่นสามารถสะกดชื่อบ้านเกิดของตนได้อย่างถูกต้องตามหลักสัทศาสตร์ ดังนั้นแล้วกรณีดังกล่าว ทำให้นักวิชาการบางส่วนมีมุมมองว่าระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้นสมบูรณ์แบบในตัวอยู่แล้ว และไม่มีเหตุอันใดที่จะต้องมีการปฏิรูปอักขรวิธีตามมา
ตัวอักษร | ชื่อ (เวลาสะกด) | สำเนียงฮานอย | เหงะอาน | ไซง่อน | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
IPA | หน่วยเสียง | IPA | หน่วยเสียง | IPA | หน่วยเสียง | ||
F, f | ép | ʔɛp˧˥ | /f/ | ʔɛp˩˩ | /f/ | ʔɛp˧˥ | /f/ |
J, j | gi | zi̤˧˧ | /z/ | ji˧˥ | /z/ | ji˧˧ | /j/ |
W, w | vê kép | ve˧˧ kɛp˧˥ | /w/ | ve˧˥ kɛp˩˩ | /w/ | je˧˧ kɛp˧˥ | /w/ |
Z, z | dét | zɛt˧˥ | /z/ | zɛt˩˩ | /z/ | jɛk˧˥ | /j/ |
- สระในตารางเป็นตัวหนาและตัวเอียง
- การใช้คำว่า bê หรือ bờ เพื่อแทนชื่อของ ⟨b⟩ และ pê หรือ pờ เพื่อแทนชื่อของ ⟨p⟩ ก็เพื่อไว้หลีกเลี่ยงความสับสนในบางบริบท ซึ่งอยู่ในหลักการเดียวกับตัวอักษร ⟨s⟩ ตัวอย่างเช่น sờ mánh หรือ sờ nặng (แปลว่า "s ตัวหนา" หรือ "s ตัวใหญ่") ⟨x⟩ ตัวอย่างเช่น xờ nhẹ (แปลว่า "x ตัวเล็ก") ⟨i⟩ เขียนเป็น i ngắn (แปลว่า "i ตัวเล็ก") และ ⟨y⟩ เขียนเป็น y dài (แปลว่า “y ตัวใหญ่”)
- ⟨q⟩ จะต้องควบด้วย ⟨u⟩ ตามหลังในทุกคำและทุกประโยคในภาษาเวียดนามอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่นคำว่า quần (แปลว่า "กางเกง") quyến rũ (แปลว่า "ดึงดูด") ฯลฯ
- * ชื่อ i-cờ-rét เป็นชื่อที่เอาไว้เรียก ⟨y⟩ ซึ่งหยิบยืมมาจากคำว่า i grec (แปลว่า "i ตัวใหญ่") ในภาษาฝรั่งเศส ในภาษากรีกเรียกตัวอักษรนี้ว่า อิปไซลอน (upsilon)
- มีตัวอักษรอยู่ 4 ตัวที่ไม่มีปรากฎอยู่ในภาษาเวียดนาม ได้แก่ ⟨f⟩ (ép, ép-phờ), ⟨j⟩ (เสียงเดียว gi), ⟨w⟩ (u kép แปลว่า "double u", vê kép, vê đúp แปลว่า "double v") และ ⟨z⟩ (dét) อย่างไรก็ตาม อักษรเหล่านี้มักปรากฎแค่เฉพาะในคำยืมที่มาจากภาษาต่างประเทศแต่เพียงเท่านั้น (เช่นคำว่า: flo (แปลว่า "ฟลูออรีน"), jun (แปลว่า "จูล; ซึ่งหมายถึงหน่วยวัด"), bazơ (แปลว่า "ฐาน")) หรืออาจจะเอาไว้เขียนชื่อเฉพาะ หรือชื่อสถานที่ที่มาจากภาษาต่างประเทศก็ได้
- โดยปกติแล้ว ⟨y⟩ จะถือว่าเป็นสระตัวเดียวกับ ⟨i⟩ ⟨i⟩ แปลว่า i สั้น" และ ⟨y⟩ หมายถึง "i ยาว" นอกจากนี้ ⟨y⟩ ยังสามารถที่จะรองรับการเติมเครื่องหมายเสริมสัทอักษร ได้เช่นเดียวเหมือนกับสระตัวอื่นๆ (⟨ý⟩, ⟨ỳ⟩, ⟨ỹ⟩, ⟨ỷ⟩, ⟨ỵ⟩) เช่นคำว่า Mỹ แปลว่า "สหรัฐอเมริกา" นอกจากนี้ยังสามารถแทนเป็นพยัญชนะได้อีกด้วย (เมื่อนำหน้าสระ ⟨â⟩ และ ⟨a⟩) และยังสามารถใช้แทน ⟨i⟩ ได้ในบางบริบท เช่นคำว่า bánh mì แปลว่า "ขนมปัง" ที่สามารถเขียนว่า bánh mỳ ได้เหมือนกัน
- ⟨s⟩ และ ⟨x⟩ รวมเป็นเสียงเดียวกันในสำเนียงถิ่นเหนือ และในบางครั้งก็สามารถใช้ทั้ง 2 อักษรสลับแทนกันได้ เช่นคำว่า sương xáo หรือ sương sáo (แปลว่า "เฉาก๊วย")
การเขียน
การเขียนตัวอักษรละตินแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การพิมพ์และการคัดลายมือ ในหนังสือหรือหนังสือพิมพ์โดยทั่วไปมักใช้การพิมพ์เป็นหลัก และมีการเว้นวรรคคำในแต่ละคำแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ขณะที่การคัดหรือเขียนด้วยมือจะเขียนตัวอักษรติด ๆ กัน การเขียนอักษรละตินด้วยการพิมพ์จะอ่านง่ายกว่าแต่ช้ากว่าการคัดลายมือ ขณะที่การเขียนด้วยมือจะเร็วและง่ายกว่าแต่อ่านยากตามลักษณะลายมือของแต่ละบุคคล โรงเรียนส่วนใหญ่ในเวียดนามจึงไม่นิยมการเรียนการสอนจื๋อโกว๊กหงือด้วยการพิมพ์ และสอนผ่านการคัดด้วยลายมือแต่เพียงอย่างเดียว ในความเป็นจริงชาวเวียดนามส่วนใหญ่มักจะเขียนทั้งแบบพิมพ์และและคัดลายมือผสม ๆ กัน ตัวพิมพ์ใหญ่มักเขียนในลักษณะของการพิมพ์ เพราะสามารถเขียนได้ง่ายกว่า
ตัวเขียนแบบคัดลายมือที่สอนในโรงเรียนเวียดนามมักเขียนในลักษณะของตัวอักษรแบบม้วนในภาษาอังกฤษ ซึ่งหยิบยืมมาจากภาษาฝรั่งเศส (เรียกว่า "chữ rông"; "rông" มาจากคำว่า "ronde" แปลว่า วงกลม ในภาษาฝรั่งเศส) (Écriture ronde) ดังกล่าวได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในปลายคริสตศตวรรษที่ 17 โดยชาวฝรั่งเศส เมื่อถึงศตวรรษที่ 18 การคัดลายมือด้วยตัวอักษรแบบม้วนในภาษาฝรั่งเศสก็ได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วภูมิภาคยุโรป ไม่เว้นแม้แต่ภาษาเวียดนามที่อยู่ในกลุ่มภาษาที่ใช้อักษรละตินเป็นระบบการเขียน
การออกเสียง
การสะกดจื๋อโกว๊กหงือตามหลักอักขรวิธีที่ถูกต้อง เป็นกฎระเบียบทางสังคมที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย การรับรู้ถึงวิธีการสะกดคำที่ถูกต้องเป็นส่วนหนึ่งของการรับรู้ทางวัฒนธรรมของชาติ หลักการสะกดที่ระบุไว้ที่ด้านล่างมีการหยิบยกนำมาพูดถึงอยู่บ่อยครั้งผ่านการอภิปราย โดยสามารถย้อนความไปได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1902 ประเด็นในเรื่องของการปฏิรูปรูปแบบอักขรวิธีในภาษาเวียดนาม เคยได้รับการเสนอขึ้นโดย ไปสู่ผู้ว่าการรัฐโคชินไชนา ผลที่ตามมาจึงทำให้รูปแบบการสะกดคำในภาษาเวียดนามค่อย ๆ ได้รับการปรับปรุงให้อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจมากขึ้นตามมา การกำหนดมาตรฐานในรหัส ยูนิโคด ซึ่งอยู่ในส่วนของการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็มีส่วนสำคัญในการกำหนดรูปแบบอักขรวิธีในภาษาเวียดนามอีกเช่นกัน
ปัจจุบันเอกสารภายในประเทศส่วนใหญ่มักเขียนโดยอ้างอิงตามหลักอักขรวิธีของ "หลักข้อบังคับเกี่ยวกับการสะกดคำในภาษาเวียดนามและคำศัพท์ในภาษาเวียดนาม" หลักนี้บังคับใช้ครอบคลุมทั้งในหลักสูตรการศึกษา หนังสือพิมพ์ และเอกสารวิชาการ ฯลฯ โดยได้ระบุไว้ใน ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 240/QD ลงนามวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2527 เพื่อสร้างมาตรฐานที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับสังคมนั่นเอง
พยัญชนะ
ตัวอักษรในจื๋อโกว๊กหงือ ได้แก่ อักษรเดี่ยวและทวิอักษร มีอักษรเดี่ยวทั้งหมด 17 ตัว ได้แก่ (b, c, d, d, g, h, k, l, m, n, p, q, r, s, t, v, x) และทวิอักษรรวมทั้งสิ้น 11 ตัว ได้แก่ (ch, gh, gi, kh, ng, ngh , nh, ph, qu, th, tr) ทั้งอักษรเดี่ยวและทวิอักษรทุกตัวในจื๋อโกว๊กหงือสามารถใช้เป็นพยัญชนะในการเขียนได้
อักษร | พยัญชนะ (IPA) | ตัวสะกด | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|
สำเนียงถิ่นเหนือ | สำเนียงถิ่นใต้ | สำเนียงถิ่นเหนือ | สำเนียงถิ่นใต้ | ||
/ʔ/ | - เสียงเริ่มต้น ไม่แสดงรูปเวลาสะกด | ||||
B b | // | - เสียงคล้ายกับ ⟨บ⟩ ในภาษาไทย | |||
C c | /k/ | /k̚/ | - เสียงเหมือนกับ ⟨ก⟩ ในภาษาไทย - ใช้ ⟨k⟩ แทน เมื่อนำหน้าด้วย ⟨i, y, e, ê⟩ - ใช้ ⟨qu⟩ แทนคำควบกล้ำ /w/ เมื่อสะกดด้วยสระ ⟨o, u⟩ - หากสะกดด้วย ⟨u, ô, o⟩ จะเปลี่ยนเป็นเสียง /k͡p/ | ||
Ch ch | /t͡ɕ/ | /c/ | /ʲk/ | /t̚/ | - เสียงในสำเนียงถิ่นเหนือเหมือนกับ ⟨จ⟩ ในภาษาไทย - รวมเป็นเสียงเดียวกับ ⟨tr⟩ ในสำเนียงถิ่นเหนือ |
D d | /z/ | /j/ | - เสียงในสำเนียงถิ่นเหนือเหมือนกับ ⟨z⟩ ในภาษาอังกฤษ - เสียงในสำเนียงถิ่นใต้เหมือนกับ ⟨ย⟩ ในภาษาไทย - เคยสะกดด้วยเสียง /ð/ ในภาษาเวียดนามยุคกลาง - รวมเป็นเสียงเดียวกับ ⟨gi, r⟩ ในสำเนียงถิ่นเหนือ - รวมเป็นเสียงเดียวกับ ⟨gi, v⟩ ในสำเนียงถิ่นใต้ | ||
Đ đ | // | - เสียงคล้ายกับ ⟨ด⟩ ในภาษาไทย | |||
G g | /ɣ/ | - เสียงเหมือนกับ ⟨g⟩ ในภาษาดัตช์ - ใช้ ⟨gh⟩ แทน เมื่อนำหน้าด้วย ⟨i, y, e, ê⟩ | |||
Gh gh | - ใช้นำหน้าเฉพาะ ⟨i, e, ê⟩ เท่านั้น - อ้างอิงมาจากระบบการเขียนของภาษาอิตาลี | ||||
Gi gi | /z/ | /j/ | - เคยสะกดด้วยเสียง // ในภาษาเวียดนามยุคกลาง - รวมเป็นเสียงเดียวกับ ⟨d, r⟩ ในสำเนียงถิ่นเหนือ - ในสำเนียงถิ่นใต้ สถาบันอุดมศึกษามักสอนให้ออกเสียง ⟨d⟩ เป็น /j/ และออกเสียง ⟨gi⟩ เป็น /z/ ถึงอย่างไรก็ตามรูปแบบดังกล่าว ประสงค์ก็เพื่อช่วยให้สามารถแยกความต่างระหว่างทั้งสองตัวอักษรข้างต้นเท่านั้น และไม่ค่อยพบเห็นได้บ่อยนักในภาษาพูด | ||
H h | /h/~/∅/ | มักไม่ออกเสียง ⟨h⟩ ในสำเนียงถิ่นใต้ หากควบกล้ำด้วยเสียง /w/ โดยแบ่งเป็นทั้งหมดสองกรณีดังนี้:
| |||
K k | /k/ | - ใช้นำหน้าเฉพาะ ⟨i, e, ê⟩ เท่านั้น (อ้างอิงมาจากระบบการเขียนของกลุ่มภาษาโรมานซ์) | |||
Kh kh | /x/ | - เสียงเหมือนกับ ⟨ฃ, ฅ⟩ ในภาษาไทยถิ่นเหนือ - เคยสะกดด้วยเสียง /kʰ/ ในภาษาเวียดนามยุคกลาง | |||
L l | /l/ | - เสียงเหมือนกับ ⟨ล⟩ ในภาษาไทย | |||
M m | /m/ | /m/ | - เสียงเหมือนกับ ⟨ม⟩ ในภาษาไทย | ||
N n | /n/ | /n/ | /ŋ/ | - เสียงเหมือนกับ ⟨น⟩ ในภาษาไทย - หากสะกดด้วย ⟨i, ê⟩ ในสำเนียงถิ่นใต้จะเปลี่ยนเป็นเสียง /ŋ/ | |
Ng ng | /ŋ/ | /ŋ/ | - เสียงเหมือนกับ ⟨ง⟩ ในภาษาไทย - ใช้ ⟨ngh⟩ แทน เมื่อนำหน้าด้วย ⟨i, e, ê⟩ - หากสะกดด้วย ⟨u, ô, o⟩ จะเปลี่ยนเป็นเสียง /ŋ͡m/ | ||
Ngh ngh | - ใช้นำหน้าเฉพาะ ⟨i, e, ê⟩ เท่านั้น | ||||
Nh nh | /ɲ/ | /ʲŋ/ | /n/ | - เสียงเหมือนกับ ⟨ญ⟩ ในภาษาไทยถิ่นเหนือ (เสียงนาสิก) | |
P p | /p/ | /p̚/ | - เสียงเหมือนกับ ⟨ป⟩ ในภาษาไทย - เสียงพยัญชนะพบได้ในคำยืมเท่านั้น คำส่วนใหญ่ถูกแทนที่ด้วย ⟨b⟩ (กรณีเดียวกันกับ ภาษาอาหรับ) | ||
Ph ph | /f/ | - เสียงเหมือนกับ ⟨ฝ, ฟ⟩ ในภาษาไทย - เคยสะกดด้วยเสียง /pʰ/ ในภาษาเวียดนามยุคกลาง เหมือนกับ ⟨พ⟩ ในภาษาไทย การออกเสียงยังพบได้ในชุมชนผู้สูงอายุในชนบททางตอนเหนือของเวียดนาม | |||
Qu qu | /kʷ/ | /w/ | - เสียงในสำเนียงถิ่นใต้เหมือนกับ ⟨ว⟩ ในภาษาไทย - ใช้แทนคำควบกล้ำ /kʷ/ ในสำเนียงถิ่นเหนือ | ||
R r | z | r | - เสียงในสำเนียงถิ่นเหนือเหมือนกับ ⟨z⟩ ในภาษาอังกฤษ - เสียงในสำเนียงถิ่นใต้เหมือนกับ ⟨ร⟩ ในภาษาไทย - รวมเป็นเสียงเดียวกับ ⟨d, gi⟩ ในสำเนียงถิ่นเหนือ | ||
S s | /s/ | /ʂ/ | - เสียงในสำเนียงถิ่นเหนือเหมือนกับ ⟨ซ, ส⟩ ในภาษาไทย - เสียงในสำเนียงใต้เหนือเหมือนกับ ⟨ษ⟩ ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน - รวมเป็นเสียงเดียวกับ ⟨x⟩ ในสำเนียงถิ่นเหนือ | ||
T t | /t/ | /t̚/ | /k̚/ | - เสียงเหมือนกับ ⟨ต⟩ ในภาษาไทย - นอกเหนือจากการสะกดด้วย ⟨i, ê⟩ ในสำเนียงถิ่นใต้จะเปลี่ยนเป็นเสียง /k̚/ เสียงเหมือนกับ ⟨แม่กก⟩ ในภาษาไทย | |
Th th | /tʰ/ | - เสียงเหมือนกับ ⟨ถ, ท⟩ ในภาษาไทย | |||
Tr tr | /t͡ɕ/ | // | - เสียงในสำเนียงใต้เหนือเหมือนกับ ⟨ฏ⟩ ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน - รวมเป็นเสียงเดียวกับ ⟨ch⟩ ในสำเนียงถิ่นเหนือ | ||
V v | /v/ | /v/~/j/ | - เสียงในสำเนียงถิ่นเหนือเหมือนกับ ⟨v⟩ ในภาษาอังกฤษ - เสียงในสำเนียงถิ่นใต้เหมือนกับ ⟨ย⟩ ในภาษาไทย - เคยสะกดด้วยเสียง /β/ ในภาษาเวียดนามยุคกลาง - ในสำเนียงถื่นใต้มักออกเสียง ⟨v⟩ เป็น /vj/ หรือ /ɓj/ อย่างไรก็ตามรูปแบบดังกล่าว ประสงค์ก็เพื่อช่วยให้สามารถแยกความต่างระหว่างเสียง ⟨d, gi⟩ ทั้งสองตัวอักษรข้างต้นเท่านั้น | ||
X x | /s/ | - เสียงในสำเนียงถิ่นเหนือเหมือนกับ ⟨ซ, ส⟩ ในภาษาไทย - เคยสะกดด้วยเสียง // ในภาษาเวียดนามยุคกลาง - รวมเป็นเสียงเดียวกับ ⟨s⟩ ในสำเนียงถิ่นเหนือ |
- "สำเนียงถิ่นเหนือ" ในที่นี้หมายถึงสำเนียงฮานอย สำเนียงนี้เป็นสำเนียงท้องถิ่นของจังหวัดนามดิ่ญ - จังหวัดท้ายบิ่ญ โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสำเนียงมาตรฐานในภาษาเวียดนาม ทำให้ในแวดวงภาษาศาสตร์มักเกิดความสับสนระหว่างสำเนียงฮานอยกับสำเนียงถิ่นทางเหนือ
สระ
การออกเสียง
การศึกษาถึงรูปแบบอักขรวิธีและวิธีการอ่านออกเสียงในภาษาเวียดนามค่อนข้างจะมีความซับซ้อนอยู่พอสมควร เนื่องจากระบบการเขียนภาษาเวียดนามนั้นถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษแล้วโดยที่ภาษาพูดก็ยังคงมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ในบางกรณีตัวอักษรตัวเดียวกันอาจมีหน่วยเสียงที่แตกต่างกันไปในแต่ละสำเนียงท้องถิ่น และตัวอักษรที่เป็นคนละตัวอาจมีหน่วยเสียงเดียวกัน ดังที่ได้ระบุหมายเหตุไว้ในแผนภูมิด้านบนซึ่งจะช่วยแยกความแตกต่างระหว่างภาษาเวียดนามยุคกลางและภาษาเวียดนามสมัยใหม่ได้
โดยปกติแล้วตัวอักษร ⟨i⟩ และ ⟨y⟩ จะมีหน่วยเสียงเดียวกัน และไม่มีกฎตายตัวว่าควรใช้ตัวอักษรตัวไหนในการใช้อย่างชัดเจน เว้นแต่ในกรณีที่เขียนในรูปของ ⟨ay⟩ และ ⟨uy⟩ (เช่นคำว่า tay แปลว่า 'แขน' หรือ 'มือ' อ่านว่า /tă̄j/ ขณะที่ tai แปลว่า 'หู' อ่านว่า /tāj/) โดยมีผู้ที่พยายามสร้างมาตรฐานในการตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ที่จะสร้างมาตรฐานการเขียนภาษาเวียดนามให้ชัดเจน โดยแทนที่ ⟨y⟩ ด้วย ⟨i⟩ เมื่อแทนเสียงสระ โดยในปี 1984 กระทรวงศึกษาธิการเวียดนามได้มีความพยายามที่จะปฏิรูประบบการเขียนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากการปฏิรูปผ่านหนังสือเรียนที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แห่งการศึกษา (Nhà Xuất bản Giáo dục) โดยใช้ ⟨y⟩ แทนที่หน่วยเสียง /i/ เฉพาะในเพียงอย่างเดียว (ตัวอักษรดังกล่าวสามารถใส่เครื่องหมายเสริมสัทอักษรได้ เช่นคำว่า ⟨ý⟩, ⟨ỷ⟩) และสามารถทำหน้าที่ที่ต้นพยางค์เมื่อตามด้วย ⟨ê⟩ ได้ (เช่นคำว่า yếm, yết) หลัง ⟨u⟩ และ ⟨ay⟩; ดังนั้นแล้วรูปแบบการเขียน เช่น *lý และ *kỹ จึงมิใช่รูปแบบการเขียนที่เป็น "มาตรฐาน" แต่ถึงอย่างไรคนส่วนใหญ่หรือสื่อก็ยังคงใช้รูปแบบการสะกดคำตามที่ถนัดหรือคุ้นชินเป็นหลักอยู่ดี
อักษร | หน่วยเสียง |
---|---|
a | /a/ ([æ] ในบางสำเนียง) except as below /ă/ in au /ăw/ and ay /ăj/ (but /a/ in ao /aw/ and ai /aj/) /ăj/ before syllable-final nh /ŋ/ and ch /k/, see /ə̯/ in ưa /ɨə̯/, ia /iə̯/ and ya /iə̯/ /ə̯/ in ua except after q |
ă | /ă/ |
â | /ə̆/ |
e | /ɛ/ |
ê | /e/ except as below /ə̆j/ before syllable-final nh /ŋ/ and ch /k/, see /ə̯/ in iê /iə̯/ and yê /iə̯/ |
i | /i/ except as below /j/ after any vowel letter |
o | /ɔ/ except as below /ăw/ before ng and c /w/ after any vowel letter (= after a or e) /w/ before any vowel letter except i (= before ă, a or e) |
ô | /o/ except as below /ə̆w/ before ng and c except after a u that is not preceded by a q /ə̯/ in uô except after q |
ơ | /ə/ except as below /ə̯/ in ươ /ɨə̯/ |
u | /u/ except as below /w/ after q or any vowel letter /w/ before any vowel letter except a, ô and i Before a, ô and i: /w/ if preceded by q, /u/ otherwise |
ư | /ɨ/ |
y | /i/ except as below /j/ after any vowel letter except u (= after â and a) |
- qua is pronounced /kwa/ except in quay, where it is pronounced /kwă/. When not preceded by q, ua is pronounced /uə̯/.
- However, oong and ooc are pronounced /ɔŋ/ and /ɔk/.
- uông and uôc are pronounced /uə̯ŋ/ and /uə̯k/ when not preceded by a q.
- quô is pronounced /kwo/ except in quông and quôc, where it is pronounced /kwə̆w/. When not preceded by q, uô is pronounced /uə̯/.
การสะกด
หน่วยเสียงสระ
หน่วยเสียง ตัวสะกด หน่วยเสียง ตัวสะกด หน่วยเสียง ตัวสะกด /iə̯/ iê/ia* /ɨə̯/ ươ/ưa* /uə̯/ uô/ua* /i/ i, y /ɨ/ ư /u/ u /e/ ê /ə/ ơ /o/ ô /ə̆/ â / /ɛ/ e /a/ a /ɔ/ o /ă/ ă
วรรณยุกต์
ภาษาเวียดนามเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ (tonal language) ดังนั้นการที่จะแยกแยะความหมายของแต่ละคำในภาษาเวียดนามจึงขึ้นอยู่กับระดับของเสียงที่เปล่งออกไป ระดับของเสียงวรรณยุกต์จะถูกระบุตามชื่อของ IPA ซึ่งตรงตามค่าสัทศาสตร์ นอกจากนี้เสียงบางเสียงยังมีความสัมพันธ์กับรูปแบบอีกด้วย
ภาษาเวียดนามถิ่นเหนือมีวรรณยุกต์ที่แตกต่างกันถึง 6 เสียง โดยลำดับแรก ("เสียงสามัญ") จะไม่เติมเครื่องหมายไว้ ขณะที่อีกห้าลำดับ จะถูกระบุด้วยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรที่กำกับไว้บนสระของแต่ละคำ ชื่อของวรรณยุกต์จะถูกระบุไว้เพื่อระบุเสียงที่กำหนดไว้ในแต่ละวรรณยุกต์
ขณะที่ภาษาเวียดนามถิ่นใต้ เสียงหอย (hỏi) และ เสียงหงา (ngã) จะถูกควบรวมเป็นเสียงเดียวกัน ทำให้ภาษาเวียดนามถิ่นใต้เหลือวรรณยุกต์เพียงแค่ 5 เสียง
ลำดับ | เครื่องหมาย เสริมสัทอักษร | สัญลักษณ์ | ชื่อ | เครื่องหมายกำกับเสียง | สระประกอบกับเครื่องหมายเสริมสัทอักษร | ยูนิโคด | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ไม่เติมเครื่องหมาย | N/A | Z * | 0 * | งาง (ngang) | เสียงสามัญ, ˧ | A/a, Ă/ă, Â/â, E/e, Ê/ê, I/i, O/o, Ô/ô, Ơ/ơ, U/u, Ư/ư, Y/y | |
2 | (acute accent) | á | S | 1 | ซัก (sắc) | เสียงจัตวาสูง, ˧˥ | Á/á, Ắ/ắ, Ấ/ấ, É/é, Ế/ế, Í/í, Ó/ó, Ố/ố, Ớ/ớ, Ú/ú, Ứ/ứ, Ý/ý | U+0341 หรือ U+0301 |
3 | เกรฟแอกเซนต์ (grave accent) | à | F | 2 | ฮฺเหวี่ยน (huyền) | เสียงโทต่ำ, ˨˩ | À/à, Ằ/ằ, Ầ/ầ, È/è, Ề/ề, Ì/ì, Ò/ò, Ồ/ồ, Ờ/ờ, Ù/ù, Ừ/ừ, Ỳ/ỳ | U+0340 หรือ U+0300 |
4 | ปรัศนี (hook above) | ả | R | 3 | หอย (hỏi) | เสียงโทกลาง, ˧˩ (ถิ่นเหนือ); เสียงดิ่ง, ˨˩˥ (ถิ่นใต้) | Ả/ả, Ẳ/ẳ, Ẩ/ẩ, Ẻ/ẻ, Ể/ể, Ỉ/ỉ, Ỏ/ỏ, Ổ/ổ, Ở/ở, Ủ/ủ, Ử/ử, Ỷ/ỷ | U+0309 |
5 | (tilde) | ã | X | 4 | หงา (ngã) | เสียงจัตวาสั้น, ˧˥ˀ (ถิ่นเหนือ); เสียงจัตวาต่ำ, ˩˧ (ถิ่นใต้) | Ã/ã, Ẵ/ẵ, Ẫ/ẫ, Ẽ/ẽ, Ễ/ễ, Ĩ/ĩ, Õ/õ, Ỗ/ỗ, Ỡ/ỡ, Ũ/ũ, Ữ/ữ, Ỹ/ỹ | U+0342 หรือ U+0303 |
6 | พินทุ (dot below) | ạ | J | 5 | หนั่ง (nặng) | เสียงโทสั้น, ˧˨ˀ (ถิ่นเหนือ); เสียงจัตวาต่ำ, ˩˧ (ถิ่นใต้) | Ạ/ạ, Ặ/ặ, Ậ/ậ, Ẹ/ẹ, Ệ/ệ, Ị/ị, Ọ/ọ, Ộ/ộ, Ợ/ợ, Ụ/ụ, Ự/ự, Ỵ/ỵ | U+0323 |
- = Z (ใน) และ 0 (ใน ) ใช้สำหรับลบเครื่องหมายเสริมสัทอักษร ตัวอย่างเช่น ใน TELEX, AS => ⟨á⟩ ถ้ากด Z => ⟨a⟩
- สระที่ไม่เติมเครื่องหมายเสริมสัทอักษรจะออกเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงสามัญ
- เครื่องหมายเกรฟแอกเซนต์ (grave accent) เอาไว้กำกับว่า ผู้พูดต้องออกเสียงต่ำโดยลดระดับเสียงลงเล็กน้อย และ (breathy) ออกมาขณะที่ออกเสียง
- เครื่องหมายปรัศนี (hook above) ในภาษาเวียดนามสำเนียงถิ่นเหนือเอาไว้กำกับเสียงวรรณยุกต์โทกลาง แต่ในภาษาเวียดนามสำเนียงถิ่นใต้เอาไว้กำกับเสียงดิ่ง อธิบาย คือ ผู้พูดควรเริ่มออกเสียงต่ำแล้วก็สูงขึ้นพร้อมๆ กัน (คล้ายกับการเน้นเสียง (stress) ประโยคคำถามในภาษาอังกฤษ)
- ในสำเนียงถิ่นเหนือ เครื่องหมายทิลเด (tilde) เอาไว้กำกับว่าผู้พูดควรเริ่มออกเสียงกลาง แล้วค่อย ๆ แยกออก (โดยหยุดเส้นเสียงไว้) แล้วเริ่มเปล่งเสียงใหม่อีกครั้งให้สูงขึ้นเหมือนประโยคคำถาม ในสำเนียงถิ่นใต้ถูกรวมเป็นเสียงเดียวกับเสียงเดียวกับเสียงหอย (hỏi)
- เครื่องหมายอคิวต์แอกเซนต์ (acute accent) เอาไว้กำกับวรรณยุกต์เสียงจัตวาสูง โดยผู้พูดจะต้องออกเสียงกลางและขึ้นเสียงสูงให้โดยเร็ว
- เครื่องหมายจุดด้านล่าง หรือ พินทุ (dot below) ในภาษาเวียดนามสำเนียงถิ่นเหนือ เอาไว้กำกับว่าต้องเริ่มออกเสียงต่ำ (creaky) ลงเรื่อย ๆ และลงท้ายด้วย (glottal stop)
ในคำ ๆ หนึ่ง ที่ประกอบด้วยสระมากกว่าหนึ่งตัว (หมายถึง สระประสม และ สระประสมสามเสียง) การวางตำแหน่งเครื่องหมายเสริมสัทอักษร โดยปกติแล้วการวางตำแหน่งจะแบ่งออกเป็นสองแบบคือ "แบบเดิม" และ "แบบใหม่" โดยลักษณะของ "แบบเดิม" จะเน้นวางเครื่องหมายเสริมสัทอักษร ซึ่งแทนเสียงวรรณยุกต์ไว้ตรงกึ่งกลางของพยางค์เพื่อความสวยงาม (อธิบายคือ วางเครื่องหมายเสริมสัทอักษรไว้ที่สระที่อยู่ท้ายสุดหากมีตัวสะกด และจะวางเครื่องหมายไว้บนสระรองสุดท้ายแทนหากไม่มีตัวสะกด ตัวอย่างเช่น hóa, hủy) ขณะที่ "แบบใหม่" ซึ่งมีลักษณะที่เน้นหลักการทางอักขรวิธีที่ถูกต้องกว่า จะเติมเครื่องเครื่องหมายเสริมสัทอักษรไว้บนสระหลัก (ตัวอย่างเช่น hoá, huỷ) โดยทั้งสองรูปแบบ หากมีสระตัวหนึ่งมีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรอยู่แล้ว จะต้องใส่เครื่องหมายเสริมสัทอักษรที่แทนเสียงวรรณยุกต์ซ้อนเข้าไปด้วย โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงว่าจะอยู่ในส่วนไหนของพยางค์ (เช่นสะกดคำ ๆ หนึ่ง ว่า thuế ไม่ใช่ *thúê) ในกรณีของสระ ⟨ươ⟩ ซึ่งเป็นสระประสม เครื่องหมายจะถูกวางไว้บน ⟨ơ⟩ ขณะที่ตัว ⟨u⟩ ในทวิัอกษร ⟨qu⟩ ถือว่าเป็นพยัญชนะหนึ่งตัวไปเลย ปัจจุบันการวางตำแหน่งเครื่องหมายเสริมสัทอักษรแบบใหม่นี้ มักใช้ในตำราเรียนที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Nhà Xuất bản Giáo dục เป็นหลัก โดยคนส่วนใหญ่ยังเคยชินกับอักขรวิธีแบบเก่ามากกว่า ขณะที่ชาวเวียดนามในต่างประเทศก็ยังเคยชินกับรูปแบบเก่าเหมือนกัน
ในการเรียงลำดับคำศัพท์ในพจนานุกรม การแยกความแตกต่างในตัวอักษรถือเป็นอีกประเด็นที่ถูกพูดถึงเหมือนกัน การแยกความแตกต่างในแต่ละตัวอักษรที่มีหรือไม่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษร สามารถแยกได้ผ่านการเรียกชื่อในภาษาพูด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละสถาบันว่าจะแยกหรือไม่แยกอย่างไร (เช่นแยกความต่างระหว่างตัวอักษร ⟨a⟩ กับตัวอักษร ⟨ẳ⟩ แต่ไม่นับตัวอักษร ⟨ẳ⟩ หรืออีกตัวอย่าง เช่น ตัวอักษร ⟨ch⟩ และ ⟨ngh⟩ ซึ่งเป็นทวิอักษรและไตรอักษร ก็ถูกนับว่าเป็นตัวอักษรตัวหนึ่งไปเลย) การเรียงลำดับ โดยการแยกความแตกต่างระหว่างแต่ละตัวอักษรแบบนี้ หากสืบค้นในพจนานุกรม คำว่า tuân thủ จะขึ้นก่อน tuần chay เนื่องจากจะมีการแยกความแตกต่างในแต่ละตัวอักษรแบบคำต่อคำไปเลยอย่างชัดเจน
ระบบข้อมูลในคอมพิวเตอร์
ชุดตัวอักษรสากลยูนิโคด (Unicode) สามารถรองรับชุดอักขระละตินที่เขียนเป็นภาษาเวียดนามได้ แม้จะไม่มีส่วนแยกต่างหากก็ตาม อักขระพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับภาษาอื่นกระจัดกระจายอยู่ในบล็อก Basic Latin, Latin-1 Supplement, Latin Extended-A และ Latin Extended-B blocks รหัสอักขระตัวอื่นๆ นอกเหนือจากในระบบ (เช่น ตัวอักษรที่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรซ้อนอยู่มากกว่าหนึ่งตัว) จะถูกวางไว้ในบล็อกเพิ่มเติมแบบขยายสำหรับภาษาละติน เช่น ASCII, รวมถึงการเข้ารหัสอักขระแบบไบต์หลายรายการ ดังเช่น , , และ ที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายก่อนที่ยูนิโคดจะมาได้รับความนิยมในภายหลัง เอกสารส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันนิยมใช้รหัสยูนิโคด เป็นหลัก
ยูนิโคดรองรับทั้งระบบสะกดคำอัตโนมัติและระบบผสมคำในการพิมพ์ภาษาเวียดนาม เนื่องจากในอดีตอักษรบางตัวมีการแสดงผลของระบบผสมคำทีขาดมาตรฐาน (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ) คนส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ระบบสะกดคำอัตโนมัติมากกว่า ในเวลาที่ต้องเขียนเอกสารเป็นภาษาเวียดนาม (ยกเว้นบนวินโดวส์ที่ใช้ วินโดวส์-1258 ซึ่งรองรับแค่ระบบผสมคำ)
แป้นพิมพ์ส่วนใหญ่ในภาษาเวียดนามรองรับการแสดงผลทั้งในระบบโทรศัพท์และระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ทั้งไอโอเอส แอนดรอยด์ และแมคโอเอส ต่างก็รองรับภาษาเวียดนามและระบบการพิมพ์ด้วยเสียงเป็นค่าเริ่มต้น ทำให้ก่อนหน้านี้ผู้ที่ใช้ภาษาเวียดนามในการพิมพ์ จำเป็นต้องติดตั้งฟรีซอฟต์แวร์แยกอีกต่างหากเช่นบนคอมพิวเตอร์ หรือ Laban Key บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้สามารถพิมพ์เครื่องหมายเสริมสัทอักษรในภาษาเวียดนาม แป้นพิมพ์ที่รองรับการแสดงผลดังกล่าว ได้แก่ Telex, VNI, VIQR ฯลฯ
ระเบียงภาพ
- ระดับเสียงวรรณยุกต์และย่านความถี่ของผู้พูดภาษาเวียดนามสำเนียงถิ่นเหนือ
- รูปตัวอย่างการคัดลายมือจื๋อโกว๊กหงือ/อักษรเวียดนาม
- รูปตัวอย่างการเขียนจื๋อโนมในเทศกาลตรุษญวน ณ กรุงฮานอย
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- Jacques, Roland (2002). Portuguese Pioneers of Vietnamese Linguistics Prior to 1650 – Pionniers Portugais de la Linguistique Vietnamienne Jusqu'en 1650 (ภาษาอังกฤษ และ ฝรั่งเศส). Bangkok, Thailand: Orchid Press. ISBN .
- Jacques, Roland (2004). "Bồ Đào Nha và công trình sáng chế chữ quốc ngữ: Phải chăng cần viết lại lịch sử?" Translated by Nguyễn Đăng Trúc. In Các nhà truyền giáo Bồ Đào Nha và thời kỳ đầu của Giáo hội Công giáo Việt Nam (Quyển 1) – Les missionnaires portugais et les débuts de l'Eglise catholique au Viêt-nam (Tome 1) (in Vietnamese & French). Reichstett, France: Định Hướng Tùng Thư. ISBN .
- Trần, Quốc Anh; Phạm, Thị Kiều Ly (October 2019). Từ Nước Mặn đến Roma: Những đóng góp của các giáo sĩ Dòng Tên trong quá trình La tinh hoá tiếng Việt ở thế kỷ 17. Conference 400 năm hình thành và phát triển chữ Quốc ngữ trong lịch sử loan báo Tin Mừng tại Việt Nam. Ho Chi Minh City: Ủy ban Văn hóa, .
- Tran (2022).
- Sidwell, Paul; Jenny, Mathias, บ.ก. (2021). The Languages and Linguistics of Mainland Southeast Asia (PDF). De Gruyter. pp. 898–899. doi:10.1515/9783110558142. ISBN . S2CID 242359233.
- J Edmondson. "Vietnamese". Concise Encyclopedia of Languages of the World, Elsevier Ltd., năm 2009, trang 1149.
- Haudricourt, André-Georges. 2010. "The Origin of the Peculiarities of the Vietnamese Alphabet." Mon-Khmer Studies 39: 89–104. Translated from: Haudricourt, André-Georges. 1949. "L'origine Des Particularités de L'alphabet Vietnamien." Dân Viêt-Nam 3: 61–68.
- J Edmondson. "Vietnamese". Concise Encyclopedia of Languages of the World, Elsevier Ltd., năm 2009, trang 1149, 1150.
- Jakob Rupert Friederichsen Opening Up Knowledge Production Through Participatory Research? Frankfurt 2009 [6.1 History of Science and Research in Vietnam] Page 126 "6.1.2 French colonial science in Vietnam: With the colonial era, deep changes took place in education, communication, and ... French colonizers installed a modern European system of education to replace the literary and Confucianism-based model, they promoted a romanized Vietnamese script (Quốc Ngữ) to replace the Sino-Vietnamese characters (Hán Nôm) "
- John DeFrancis. Colonialism and Language Policy in Viet Nam. The Hague, Mouton Publishers, năm 1977, trang 82–84.
- John DeFrancis. Colonialism and Language Policy in Viet Nam. The Hague, Mouton Publishers, năm 1977, trang 82.
- Kornicki 2017, p. 568.
- Hoàng Xuân Việt (2006). Tìm hiểu lịch sử chữ Quốc ngữ. Thành phố Hồ Chí Minh: Nhà xuất bản Văn hóa Thông tin. p. 165–167.
- Hoàng Xuân Việt. Bạch thư chữ Quốc ngữ. San Jose, CA: Hội văn hóa Việt, 2006. tr 185-186
- Đỗ Quang Chính (2004). "Giáo hội Công giáo với chữ Quốc ngữ" 2020-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- Phạm Thị Kiều Ly. Chữ quốc ngữ thời Hội thừa sai.
- Trần Văn Toàn (2005). "Tự vị Taberd và di sản văn hóa Việt Nam" 2019-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- Hannas, W. C. Asia's orthographic dilemma. Honolulu, HI: University of Hawaii Press, 1997. tr 84-87
- Võ Xuân Quế (2018). .
{{}}
:|archive-url=
ต้องการ|archive-date=
((help)) - Taberd, Jean Louis. Dictionarium Latino-Anamiticum. Serampore, 1838. tr 78
- Li 2020, p. 106.
- Ostrowski, Brian Eugene (2010). "The Rise of Christian Nôm Literature in Seventeenth-Century Vietnam: Fusing European Content and Local Expression". ใน Wilcox, Wynn (บ.ก.). Vietnam and the West: New Approaches. Ithaca, New York: SEAP Publications, Cornell university Press. pp. 23, 38. ISBN .
- Hoàng Xuân Việt. Bạch thư chữ Quốc ngữ. San Jose, CA: Hội văn hóa Việt, 2006. tr 374-375
- Lê Ngọc Trụ. "Chữ Quốc ngữ từ thế kỷ XVII đến cuối thế kỷ XIX". Tuyển tập Ngôn ngữ văn tự Việt Nam Số 1. Dòng Việt, 1993. Tr 30-47
- Nguyên Tùng, "Langues, écritures et littératures au Viêt-nam", Aséanie, Sciences humaines en Asie du Sud-Est, Vol. 2000/5, pp. 135-149.
- Hoàng Xuân Việt. Bạch thư chữ Quốc ngữ. San Jose, CA: Hội văn hóa Việt, 2006. tr 333
- Franco-Vietnamese schools
- Cao Xuân Dục. Long Cương văn tập. Hà Nội: Nhà xuất bản Lao động, 2012. Tr 64
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-15.
{{}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า ((help)) - Anderson, Benedict. 1991. Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism. London: Verso. pp. 127-128.
- Trần Bích San. (ภาษาเวียดนาม). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2023-10-13. Note 3. "The French had to accept reluctantly the existence of chữ quốc ngữ. The propagation of chữ quốc ngữ in Cochinchina was, in fact, not without resistance [by French authority or pro-French Vietnamese elite] [...] Chữ quốc ngữ was created by Portuguese missionaries according to the phonemic orthography of Portuguese language. The Vietnamese could not use chữ quốc ngữ to learn French script. The French would mispronounce chữ quốc ngữ in French orthography, particularly people's names and place names. Thus, the French constantly disparaged chữ quốc ngữ because of its uselessness in helping with the propagation of French script."
- Wellisch, Hans H. (1978). The Conversion of Scripts, Its Nature, History, and Utilization (ภาษาอังกฤษ). Wiley. ISBN .
- Language Monthly (ภาษาอังกฤษ). Praetorius. 1987.
- Sassoon, Rosemary (1995). The acquisition of a second writing system. Internet Archive. Oxford [England] : Intellect. ISBN .
- "Vietnam Alphabet". vietnamesetypography.
- . Tỉnh Đoàn Cà Mau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-08.
- F, J, W, Z không thể nằm ngoài bảng chữ cái. Tuoitre, 10/08/2011. Truy cập 25/12/2015.
- Có cần thêm F,J,W,Z trong bảng chữ tiếng Việt?. Khoa Ngôn ngữ, Đại học Quốc gia Hà Nội, 12/08/2011. Truy cập 25/12/2015.
- "Do you know How to pronounce Igrec?". HowToPronounce.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-10-30.
- Quyết định của Bộ Giáo dục số 240/QĐ ngày 5 tháng 3 năm 1984 Quy định về chính tả tiếng Việt và về thuật ngữ tiếng Việt. Thuvien Phapluat, 2015. Truy cập 12/05/2017.
- Laurence C. Thompson. A Vietnamese Reference Grammar (Previously published as Mon–Khmer Studies XIII–XIV). University of Hawaiʻi Press. Honolulu, Hawaiʻi năm 1987. . ISSN: 0147-5207. Trang 4–9.
- Andrea Hoa Pham.The Non-Issue of Dialect in Teaching Vietnamese 2011-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Journal of Southeast Asian Language Teaching, Volume 14. Năm 2008. ISSN: 1932-3611. Trang 35.
- Một số người thay D bằng Z hoặc thêm Z sau D thành Dz để tránh nhầm sang âm của Đ, đặc biệt là khi phải viết không dấu. Chủ tịch Hồ Chí Minh thường viết Z thay D như trong .
- Nguyễn Tài Cẩn. Giáo trình lịch sử ngữ âm tiếng Việt (sơ thảo). Nhà xuất bản Giáo dục. Năm 1995. Trang 62, 64, 114.
- Nguyễn Tài Cẩn. Giáo trình lịch sử ngữ âm tiếng Việt (sơ thảo). Nhà xuất bản Giáo dục. Năm 1995. Trang 62, 64, 58.
- Laurence C. Thompson. A Vietnamese Reference Grammar (Previously published as Mon–Khmer Studies XIII–XIV). University of Hawaiʻi Press. Honolulu, Hawaiʻi năm 1987. . ISSN: 0147-5207. Trang 5, 28, 62, 63, 86–89, 93, 97, 98.
- Nguyễn Tài Cẩn. Giáo trình lịch sử ngữ âm tiếng Việt (sơ thảo). Nhà xuất bản Giáo dục. Năm 1995. Trang 221.
- Laurence C. Thompson. A Vietnamese Reference Grammar (Previously published as Mon–Khmer Studies XIII–XIV). University of Hawaiʻi Press. Honolulu, Hawaiʻi năm 1987. . ISSN: 0147-5207. Trang 85, 86, 87, 93, 98.
- Laurence C. Thompson. A Vietnamese Reference Grammar (Previously published as Mon–Khmer Studies XIII–XIV). University of Hawaiʻi Press. Honolulu, Hawaiʻi năm 1987. . ISSN: 0147-5207. Trang 86
- Một số người thay D bằng Z hoặc thêm Z sau D thành Dz để tránh nhầm sang âm của Đ, đặc biệt là khi phải viết không dấu. Chủ tịch Hồ Chí Minh thường viết Z thay D như trong .
- Nguyễn Tài Cẩn, Giáo trình lịch sử ngữ âm tiếng Việt (sơ thảo). Nhà xuất bản Giáo dục. Năm 1995. Trang 86, 108.
- Laurence C. Thompson. A Vietnamese Reference Grammar (Previously published as Mon–Khmer Studies XIII–XIV). University of Hawaiʻi Press. Honolulu, Hawaiʻi năm 1987. . ISSN: 0147-5207. Trang 85, 89, 91, 93, 97, 98.
- Nguyễn Tài Cẩn, Giáo trình lịch sử ngữ âm tiếng Việt (sơ thảo). Nhà xuất bản Giáo dục. Năm 1995. Trang 58.
- See for example Lê Bá Khanh; Lê Bá Kông (1998) [1975]. Vietnamese–English / English–Vietnamese Dictionary (7th ed.). New York City: . ISBN .
- Anh, Hao (2021-09-21). "Hướng dẫn gõ tiếng Việt trên iOS 15 bằng tính năng lướt phím QuickPath". VietNamNet (ภาษาเวียดนาม). สืบค้นเมื่อ 2022-03-20.
- "Set up Gboard on Android". Google Support. สืบค้นเมื่อ 2022-03-20.
- Phan, Kim Long. "UniKey in macOS and iOS". UniKey (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-20.
บรรณานุกรม
- Bùi Tất Tươm. Giáo trình tiếng Việt. GD Publishing House.
- Chiung, Wi-vun T. (2003). Learning Efficiencies for Different Orthographies: A Comparative Study of Han Characters and Vietnamese Romanization. PhD dissertation: University of Texas at Arlington.
- Dana Healy. (2001). Vietnamese a complete course for beginners. Thành phố Hồ Chí Minh.
- Gregerson, Kenneth J. (1969). A study of Middle Vietnamese phonology. Bulletin de la Société des Etudes Indochinoises, 44, 135–193. (Published version of the author's MA thesis, University of Washington). (Reprinted 1981, Dallas: Summer Institute of Linguistics).
- Haudricourt, André-Georges (1949). "Origine des particularités de l'alphabet vietnamien (English translation as: The origin of the peculiarities of the Vietnamese alphabet) " (PDF). Dân Việt-Nam. 3: 61–68.
- Healy, Dana. (2003). Teach Yourself Vietnamese, Hodder Education, London.
- Kornicki, Peter (2017), "Sino-Vietnamese literature", ใน Li, Wai-yee; Denecke, Wiebke; Tian, Xiaofen (บ.ก.), The Oxford Handbook of Classical Chinese Literature (1000 BCE-900 CE), Oxford: Oxford University Press, pp. 568–578, ISBN
- Lê Bá Khanh and Lê Bá Kông. (1990). Vietnamese English standard dictionary. Mui Ca Mau Publishing House.
- Li, Yu (2020). The Chinese Writing System in Asia: An Interdisciplinary Perspective. Routledge. ISBN .
- Nguyen, A. M. (2006). Let's learn the Vietnamese alphabet. Las Vegas: Viet Baby. ISBN
- Nguyen, Đang Liêm. (1970). Vietnamese pronunciation. PALI language texts: Southeast Asia. Honolulu: University of Hawaii Press. ISBN
- Nguyễn, Đình-Hoà. (1955). Quốc-ngữ: The modern writing system in Vietnam. Washington, D. C.: Author.
- Nguyễn, Đình-Hoà (1992). "Vietnamese phonology and graphemic borrowings from Chinese: The Book of 3,000 Characters revisited". Mon-Khmer Studies. 20: 163–182.
- Nguyễn, Đình-Hoà. (1996). Vietnamese. In P. T. Daniels, & W. Bright (Eds.), The world's writing systems, (pp. 691–699). New York: Oxford University Press. ISBN .
- Nguyễn, Đình-Hoà. (1997). Vietnamese: Tiếng Việt không son phấn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company. ISBN .
- Pham, Andrea Hoa. (2003). Vietnamese tone: A new analysis. Outstanding dissertations in linguistics. New York: Routledge. (Published version of author's 2001 PhD dissertation, University of Florida: Hoa, Pham. Vietnamese tone: Tone is not pitch). ISBN .
- Phan Văn Giưỡng. (6/2009). Modern Vietnamese. xuất bản Saigon.
- Sassoon, Rosemary (1995). The Acquisition of a Second Writing System (illustrated, reprint ed.). Intellect Books. ISBN . สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
- Shih, Virginia Jing-yi. Quoc Ngu Revolution: A Weapon of Nationalism in Vietnam. 1991.
- Thompson, Laurence E. (1991). A Vietnamese reference grammar. Seattle: University of Washington Press. Honolulu: University of Hawaii Press. ISBN . (Original work published 1965).
- Sơ thảo tốc ký Việt Nam của Ngọc Quang bản quay Roneo 5/1974 và bản Phụ tên quay Roneo. CC VK nha CS đô thành Saigon.
- Wellisch, Hans H. (1978). The conversion of scripts, its nature, history and utilization. Information sciences series (illustrated ed.). Wiley. ISBN . สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
- Language Monthly, Issues 40–57. Praetorius. 1987. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Vietnamese Unicode FAQs
- Chữ viết
- Bồ Đào Nha và chữ Quốc Ngữ 2007-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย BBC
- Scanned version of Alexandre de Rhodes' dictionary
- Vietnamese Writing System
- Essay comparing the orthography variants
- Vietnamese Unicode FAQs
- Doctoral dissertation comparing learning efficiency between quoc ngu and Chinese characters
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
chudtwxksrewiydnam hrux cuxokwkhngux ewiydnam chữ Quốc ngữ aepltrngtw twhnngsuxkhxngphasapracachati epnchudtwxksrlatinsahrbexaiwekhiynphasaewiydnam idrbkarkhidkhnaelaphthnakhunodykhnamichchnnarithiekhamaephyaephrkhristsasnanikaykhathxlikinchwngtnkhriststwrrsthi 17 odyhyibyumrupaebbxkkhrwithimacakrabbkarekhiynkhxngphasaoprtueksepnhlk aelacakphasaxitaliephiyngelknxy odyphasathnghmdthiklawmaxyuthukcdxyuinklumphasaormans Romance languages thngsinchudtwxksrewiydnam chữ Quốc ngữchnidxksrphupradisthkhnaeysuxitchawoprtueksaelachawxitali aelaphasaphudewiydnam aelaphasaphunemuxngxksrthiekiywkhxngrabbaemihexxorklifxiyiptchudtwxksrfiniechiychudtwxksrkrikxksrlatinchudtwxksrewiydnamrabblukxksrbahnr xksrcam xksrnung xksrtyhnaaerksudkhxnghnngsux Phep giảng tam ngay idrbkartiphimphinpi kh s 1651 odymichchnnarinamwa Alexandre de Rhodes khxlmnsayekhiynepnphasalatin khnathikhxlmnkhwaekhiynepnphasaewiydnamdwycuxokwkhngux xksrewiydnamprakxbipdwytwxksrthngsin 29 tw mitwxksrthikakbdwyekhruxnghmayesrimsthxksrecdtw rwmthnghmd 4 ekhruxnghmay idaek ă a e o ơ ư đ aelathngyngmiekhruxnghmayxik 5 twthiichkakbesiyngwrrnyukt idaek a a a a aela ạ thaihrabbsrakhxngcuxokwkhnguxkhxnkhangsbsxn enuxngcakmiekhruxnghmaycanwnmakiwkhxykahndesiyng odysamarthsxnekhruxnghmayidthungsxngkhrngtxhnungtwxksr echn nhất aeplwa xndbaerk cungngaytxkaraeykaeyawithikarsakdinphasaewiydnamhakethiybkbrabbkarekhiynxun thiichxksrlatinehmuxnkn karichrabbekhruxnghmayesrimsthxksrthaihrabbkarekhiynkhxngphasaewiydnammicudedntrngthithaihmikarthxdesiyngthiaemnya aemcamikhxcakdthiyungyakdwykhwamepnxksrormnktam klbknkarepliynaeplngkhxngesiynginphasaphudinpccubn sngphlihekidkhxesiytrngthitwthwixksraelaitrxksrincuxokwkhnguxmiesiyngthiaetktangknipinaetlasaeniyngaemcaichtwxksrtwediywehmuxnknktamchuxinplaypi kh s 1867 erimmikareriykxksrlatinsahrbphasaewiydnamwaepntwhnngsuxkhxngphasapracachati chữ quốc ngữ odyinpidngklaw Trương Vĩnh Ky idtiphimphhnngsuxekiywkbiwyakrnphasaewiydnamthungsxngelm hnngsuxelmaerkepnhnngsuxthiekhiyndwycuxokwkhnguxsaeniyngxnnmmienuxhaekiywkbiwyakrnkhxngphasafrngess chuxwahlkkareriynphasafrngess Mẹo luật dạy học tiếng pha lang sa sunginhnngsuxrabukhawa chữ quốc ngự imich ngữ thiicheriykaethnchuxkhxngrabbkarekhiynphasaewiydnamdwyxksrlatin swnhnngsuxelmthi 2 epnhnngsuxekiywkbkhxngiwyakrnphasaewiydnamsungekhiyndwyphasafrngess chuxwasrupiwyakrnphasaxnnm Abrege de grammaire annamite inhnngsuxphasafrngesseriyktwxksrlatinthiekhiynepnphasaewiydnamwatwxksryuorp l alphabet europeen hruxxkkhralatin les caracteres latins nxkcakniinhnngsuxphimphraywn Gia Định bao chbblngwnthi 15 emsayn inpiediywkn idxangxingthungchuxinhnngsuxsrupiwyakrnphasaxnnmkhxngecuxng hwiy kithiekhiyndwyphasafrngesswacuxokwkhnguxephuxicheriykaethnxksrlatinthinaipichekhiynphasaewiydnamechnknprawtinbtngaeterimtnkarpkkhrxngkhxngcinemuxraw 111 pikxnkhristkal cathngnganwrrnkrrm exksarrachkar nganwichakar hruxphrakhmphirthangsasna thnghmdlwnekhiyndwyxksrcin Chữ Han 𡨸漢 thngsin kwathicuxhancaerimaephrhlayipthungprachachnodythwip kpaekhaipraw khriststwrrsthi 9 thungkhriststwrrsthi 12 sungkidrbkarphthnaipepncuxonm chữ Nom inewlatxma odyhyibyumrabbphunthanmacaktwxksrcinaebbtang inkaraethnkhaaetlakha aetkyngesrimdwykarpradisthxkkhraechphaakhunma eriykwa chữ thuần nom ephuxrxngrbkhasphthdngediminphasaewiydnam cuderimtn ruptwxyangxksrcuxhan cuxyx hantu aelahanonm cuxokwkhnguxidrbkarphthnakhunodykhnaeysuxitinrahwangkarephyaephrkhristckrnikaykhathxlikthiewiydnamemuxtnstwrrsthi 17 phayitkarxupthmphkhxngbathhlwngchawoprtueks namwa Francisco de Pina kh s 1585 1625 epnmichchnnarikhnaerkthisamarthphudphasaewiydnamidxyangkhlxngaekhlw rwmthungyngepnphuthirieriminkarbnthukphasaewiydnamdwyxksrlatin txmaphrasngkhnamwa Alexandre de Rhodes epnphuthimibthbathsakhyinkarddaeplngaelabnthukcuxokwkhnguxlnginphcnanukrmchuxtuxediynehwiytobla latin Dictionarium Annamiticum Lusitanum et Latinum sungidrbkartiphimphinpi 1651 thikrungorm thanklawwaidrwbrwmenuxhathnghmd odyxasyexksarephiyngthngsinsxngelm pccubnhaysapsuy sungekhiynody aela michchnnarithanxun thimiswnrwminyukherimtnphthnakarkhxngcuxokwkhngux idaek aela tamthiphuekhiynxaaelksxngdr edx rxdidklawiw thanidyumekhruxnghmay sắc ekrfaexkesnt huyền aela nga macakphasakrikobran aetnnkyngimephiyngphxsahrbekhiynphasaewiydnam dngnncungcaepntxngephimekhruxnghmayphinthu nặng xxkesiynghnk aelaekhruxnghmayprsni hỏi ephuxaesdngesiyngwrrnyuktephimetiminphasaewiydnam rwmthunghyibyumxkkhrwithikhxng nh ch macakphasaoprtueks gi inphasaxitali ph macakphasakrikobran aelana maichkakbtwsakdesiyngnasik phcnanukrmchindngklawepnexksarsakhythithaihsamarthyxnipsuksathungwithikhxngkarxxkesiyngphasaewiydnaminyukhklangid nxkcakwtthuprasngkhthicathaihmichchnnarichawtangchatisamarthekhathungphasaewiydnamidodyngaykhunaelw cuxokwkhnguxyngchwyihmichchnnarichawewiydnambangthansamarthsrangkhunekhytxphasalatinsungepnphasaklangkhxngkhristckrkhathxlikphanxksrlatinidxikechnkn bathhlwng Giovanni Filippo de Marini idbnthukphasaewiydnamiwinrayngankarprachumkhrngihyinphithibphtismaemuxpi kh s 1645 odyrabuiwwa Tau rữa mầi nhan danh Cha ua Con ua Spirito Santo Tau lấy ten Chua tốt ten tốt danh tốt tiẽng edchaphranamphrabida phrabutr aelaphracit innamphraphusrang phraphuith aelaphraphuthaihbrisuththi idrbkarprbprung phcnanukrmthiidrbkartiphimphemuxpi kh s 1651 ekhiyndwyphasaewiydnam phasaoprtueks aelaphasalatin rwmthngsin 3 phasa ody Alexandre de Rhodes michchnnarichawoprtueks inchwngplaykhriststwrrsthi 18 karptirupxkkhrwithierimtnkhunthiphumiphakhdangcxng thaihcuxokwkhnguxmirupaebbkarekhiynthikhxnkhangcaiklekhiyngkbrupaebbkarekhiyninyukhpccubn khristchnchawdangcxngidthakarrwbrwmphcnanukrmepnphasaewiydnamnaodybichxpchawfrngessnamwapiaeyr pioy edx ebaexn Pierre Pigneau de Behaine sungtxmatnchbbdngklawthaihmichchnnarinamwa Jean Louis Taberd erumthakareriyberiyngenuxhakhunmaihmaelatiphimphthiemuxngsrirampura praethsxinediy emuxpi kh s 1838 hnngsuxkhxngedx ebaexn thirwbrwmidinrawpi kh s 1772 1773 eriykwa Dictionarium Anamatico Latinum epnsaenatnchbb pccubnekbrksaiwthihxcdhmayehtuthikhnamissngtangpraethsaehngkrungparis thiyngimekhyidrbkartiphimphcnthungpccubn khnathiphcnanukrmkhxng taaebr thichux Nam Việt Dương Hiệp Tự vị michuxphasalatinehmuxnkbkhxng edx ebaexn sungidrbkartiphimphihmxikkhrng idaesdngihehnthungphthnakarthisakhykhxngphasaewiydnaminchwngstwrrsthi 18 aela 19 hakepriybethiybphcnanukrmkhxngtaaebr kbkhxngedx rxd esiyng ꞗ idhayip aelathukaethnthidwyesiyng v hrux b aethn khnathiesiyng bl ml pl sl aela tl kidhayipechnediywkn aelathukklunepnswnhnungkhxng tr nh l s xyangirkdirupaebbkarsakdaebbekabangswnyngsamarthsubkhnidinexksarkhxng Joao de Loureiro sungkhnphbinphumiphakhdangcxng aelakhxngfilliphef biy Philipphe Bỉnh inkrunglisbxnemuxchwngtnstwrrsthi 19 inphakhphnwkkhxngphcnanukrmmibthbthhnungthichuxwa bthsnthnarahwangkptneruxaelaphxkhrwkhnhnung Dialogus Inter Unum Navis Praevectum et Unum Cocincinensem odyrabukhxkhwamiwdngni Ong đi viếng Quan lớn thi được song thoi nước nầy chẳng cho phep thăm đờn ba epneruxngpktihakthanhakkhidcaekhaipthxngethiywincinaephndinihy aetthiniimxnuyatihphuhyinglklxbekhaipinpraeths Toi cam long chiu theo quốc phap toi chẳng co y lam đều gi nghịch cung thoi phep đất nầy co tục ngữ rằng nhập giang tuy khuc nhập gia tuy tục khaphecayindithicaptibtitamkdhmaybanemuxng khaphecaimmiectnacathaxairktamthikhdtxkdhmaykhxngpraethsni dngsuphasitthiwa ekhaemuxngtahliw txnghliwtatam caehnidwakarsakdkhxngcuxokwkhnguxinyukhnimirupaebbxkkhrwithithiimkhxyaetktangcakpccubnmaknk aelarupaebbdngklawniexngthicaklayepnaemaebbihkbmatrthankarekhiyninphasaewiydnamyukhtx ma aemwarupaebbxkkhrwithiinyukhnixaccayngimidepnthiaephrhlayinthnthi aetkepnewlamakkwa 200 piaelw thiidthakarephyaephrcuxokwkhngux xyangirkdikhristckrkyngkhngichrabbkarekhiynaebbcuxonmepnekhruxngmuxinkarephyaephrsasnaepnhlkxyudi yukhxananikhm ibsutibtrcakpi kh s 1938 inxananikhmtngekiy Protectorat du Tonkin mixksrthngsinsiaebbxyuinexksaribediywkn idaek cuxokwkhnguxaelacuxonm phrxmdwytraprathbepnphasafrngess rwmthungxksrcinxiksxngsamtw karthukkhrxbngakhxngwthnthrrmcinphayinewiydnammananhlayphnpi sngphlihcuxokwkhnguxsungidrbkarddaeplngaelaphthnamanankwa 300 pi kyngimidkhwamniymaelaaephrhlaymakphxthicaklayepnxksrthiichxyangepnthangkar rwmthungcuxonmaelacuxhankyngepnxksrhlkthiexaiwekhiynphasaewiydnammatlxdhlayrxypiaelw cungimmiehtuphlxnidthicatxngepliynipichxksrrupaebbxun cnkrathngckrwrrdiniymfrngessidekhamayudkhrxngphumiphakhokhchinichnainplaykhriststwrrsthi 19 sngphlihcuxokwkhnguxsungepnxksrlatinthiexaiwichekhiynphasaewiydnamidrbkaryksthanaihepnxksrhlkxyangepnthangkar prasngkhkephuxihchawewiydnamichxksraebbediywkbthiphasafrngessich rwmthngyngthaihphasafrngesskbklayepnthiaephrhlayinewiydnamidmakkhunxikdwy emuxwnthi 22 kumphaphnth ph s 2412 phleruxctwamari kustaf aexktxr xxeyr Marie Gustave Hector Ohier idlngnaminrthkvsdika bngkhbichcuxokwkhnguxaethnthixksrcin phayinphumiphakhokhchinichnaxyangepnthangkar rthkvsdikachbbthi 82 lngnamemuxwnthi 6 emsayn kh s 1878 ody lafngtidkahndmatrkarechingklyuththinrayasipi phayinpi kh s 1882 ephuxepliynipichcuxokwkhnguxxyangebdesrc nbtngaetwnthi 1 mkrakhm kh s 1882 epntnip cadwyexksarrachkar rthkvsdika khatdsin khaphiphaksasal aelakhasng l thnghmdcathukekhiyn lngnam aelaephyaephrdwycuxokwkhngux hakecaphnknganphuidmisamarthekhiyncuxokwkhnguxid camiidrbxnuyatihdarngtaaehnnghruxeluxnsthanainhnwynganrachkarthnginthxngthinhruxphumiphakhid hnngsuxphimph Gia Định bao epnhnngsuxphimphphasaewiydnamchbbaerkthiichcuxokwkhnguxinkarekhiyn epidtwkhrngaerkinpi kh s 1865 n wnthi 1 mkrakhm kh s 1879 mikhasngbngkhbihexksarrachkarthnghmdtxngichcuxokwkhngux phayinpiediywknnnexngrthbalfrngessidnacuxokwkhnguxmaichinhlksutrkarsuksa odyrierimephyaephrcakhmubanhruxchumchnphayinphumiphakhokhchinichna kephuxsngesrimihcuxokwkhnguxklayepnthiaephrhlay nxkcakniecaphnknganphayinrthokhchinichnakyngidxxkrthkvsdikaephimetimemuxwnthi 14 mithunayn kh s 1880 odyldhruxlaewnphasihruxbrrnakar sahrbkhunnangaelathangrachwngshaksamarthichcuxokwkhnguxid phlcakkarepliynaeplngdngklawthaihekidkhwamimphxicihkbklumchnchnsunghruxphuthiidrbkarsuksacakcinaephndinihyepnxyangmak hnngsuxphimph Gia Định bao epnhnngsuxphimphthiidrbkarcdphimphodybrrnathikarchawewiydnamchux Trương Vĩnh Ky epnhnngsuxphimphchbbaerkthiekhiyndwycuxokwkhngux epidtwkhrngaerkinpi kh s 1865 cadwyruppraoykhhruxwithikarsakdkhakmiidmikarepliynaeplngmaknk hakethiybkbxkkhrwithiinpccubn yktwxyangechn prakaschbb lngwnthi 22 thnwakhm kh s 1888 Sở Thuế Chanh Ngạch Cac người thiếu thuế đặng hay cac sổ phụ trong thang Octobre 1888 thuế đất thuế sanh y thuế ghe biển thuế ghe song cung thuế than đa lập theo phep để trong tay quan Kho Bạc Sai Gon va Chợ Lớn hay về việc thau thuế Bởi đo sức cho cac người ấy phải y theo hạn trong luật dạy ma đong cac mon thuế bien trong sổ ấy bằng khong thi phải cứ phep ma bắt buộc lngnamkrmsrrphakrphlemuxngthukkhntxngesiyphasi eriynmaephuxthrab hnngsuxaecngkhwamprasngkhineduxntulakhm pi kh s 1888 xngkhkrdngklawcdtngkhunmaodyidrbxnuyatihekbphasithidin phasienginid phasisrrphakr phasimulkhaephim aelaphasieluxktng sahrbphlemuxnghruxphuthixasyxyuinemuxngisngxnaelaemuxngecxaelin thnghmdnixyuinkarduaelkhxngecahnathithnarkshruxphuthiekiywkhxngkbkarcdekbphasi dngthiaecngiwkhangtnphlemuxngthukkhncatxngesiyphasithirabuiwinexksartamrayaewlathikdhmaykahndmiechnnncathuklngothstamkdhmay bthbathinkhrungaerkkhxngkhriststwrrsthi 20 Khai Hưng epnsmachikkhnsakhykhxngsmakhmwrrnkrrm Tự Lực Văn đoan sungmibthbathsakhyinkarphthnawrrnkrrmewiydnaminchwngtnkhriststwrrsthi 20 inchwngkhriststwrrsthi 20 rthbalxinodcinkhxngfrngessidkhyaynoybaykarichcuxokwkhnguxipihthwthung odymxbhmayhnathiihxyuphayitkarduaelkhxnginemuxngtngekiynbtngaetpi kh s 1910 rthmntriwakarkrathrwngsuksathikar Cao Xuan Dục idtxbcdhmaythangkaripyng odyrabukhxkhwamiwdngni khnthngpraethseriynphasaodyichxksrlatincuxokwkhngux cathnginradbxudmsuksa radbbnthitsuksa nkeriynsasna hruxnksuksathwip kephuxihidrbkarbrrcuekhaepnkharachkarkhruhruxkhnacary thnghmdniepniptambychakhxngxngkhphrackrphrrdi chatikhxngeracungidkxtngbnthitysthanaelaorngeriynthiechiywchayechphaadaninkarsxnphasanikhunma prasngkhkephuxsrangmatrthanihkbhlksutrkarsxnphasaninnexng rthbalfrngessidphyayamxxknoybayykelikkarsxbkhunnangthnghmdinewiydnam enuxngcakmxngwaepnwthnthrrmcakchnchnnathiechuxmoyngkbkhwamepn rabxbeka cungmikarbngkhbihchnchnnaphayinewiydnamtxngsnglukhlankhxngtnekhasurabbkarsuksakhxngfrngess karsxbcxhngwnkhrngsudthaycdkhunthiphumiphakhtngekiy rawpi kh s 1915 aemcamikartxtancakklumpyyachncakphumiphakhxnnmktam ckrphrrdikhay diy Khải Định idlngphrarachnaminphrarachkvsdika emuxwnthi 28 thnwakhm kh s 1918 ephuxykelikkarsxbkhunnangxyangepnthangkar aelainpi kh s 1919 kepnpisudthaythiepidkarsxbcxhngwn sungcdkhunthiemuxngew cuxokwkhnguxcungidklayepnrabbkarekhiynhlkkhxngphasaewiydnam phlthitammathaih xtrakarruhnngsux khxngkhnewiydnamephimkhun aelathaihcuxhanaelacuxonmsungekhyepnrabbkarekhiynhlkkhxngphasaewiydnaminxditkhxy ldkhwamniymlngtamma khnaediywknkminkchatiniym nkprchyakhngcux klumhwkawhna aelachnchnnathisnbsnunfrngess thiehnthungphldikhxngkarepliynipichcuxokwkhngux sungepnrabbkarxanekhiynthingaykwaaebbeka aelamxngwarabbkarsuksakhxngfrngessepnhnthanginkar pldplxy chawewiydnamcakkarkhrxbngakhxngwthnthrrmcinsungdu obran aela lasmy cungmikarsngesrimaelasnbsnuninkarichcuxokwkhnguxephuxykradbkhwamrukhxngphukhninsngkhm nxkehnuxcakniyngepnkaresrimsranglththichatiniymephuxplukradmchawewiydnamihtxtanlththickrwrrdiniymfrngess hnungintwxyangkhxngxngkhkrthiwannkhux Đong Kinh Nghĩa Thục nnaesdngihehnwakarichcuxokwkhnguximidepnephiyngaekhepnkarsuksaephuxihxanxxkekhiynidaetephiyngethann aetyngsamarththicaepnekhruxngmuxinkarplukradmthangkaremuxngaelaechidchusanukkhxngkhwamepnchatiidxikdwy cuxokwkhnguxekhamamibthbathsakhyinthanakhxngxksrpracachatithiichbnthuk exksarrayngan warsar rwmthungnitysarchuxdngxyang Nam Phong tạp chi Đong Dương tạp chi aela ngannwniyayaela sungepnnganthitiphimphodysmakhmwrrnkrrm Tự Lực Văn đoan l klwnaetichcuxokwkhnguxepnrabbkarekhiynsahrbphasaewiydnam nganpraphnththiklawmathnghmdmiswnsakhyinkarykradbthangkhwamkhidthiaetktangaelaaeplkihmmasusngkhmewiydnam thnginaengkhxngkarthaihrabbkarsuksamikhwamepnprachathipity aelachwyechuxmoyngprchyakhwamkhidaebbyuorpekhasusngkhmewiydnam cakthnghmdthiklawmathaihnbtngaetkhristthswrrsthi 1920 epntnma cuxokwkhnguxkidaephrhlayaelaklayepnrabbkarekhiynhlkinphasaewiydnamodysmburn khasphthinphasaewiydnamsmyihmmkhyibyumhruxddaeplngmacakcuxonm sungmirakedimmacakphasacinodytrng kharachkarfrngessbangkhnekhymikhwamkhidthicaaethnthiphasaewiydnamdwyphasafrngess aetkhwamkhiddngklawkimekhyekidkhuncring enuxngcakmicanwnphutngthinthanthiepnchawfrngessnxyhakethiybkbprachakrphunemuxng chawfrngessinewiydnamcungtxngyinyxminkarichphasaewiydnamthiekhiyndwycuxokwkhnguxxyangimetmic enuxngcakrabbkarekhiynnithuksrangkhunodymichchnnarichawoprtueks odymirupaebbxkkhrwithithihyibyummacakphasaoprtueksepnhlk miichphasafrngessthiepnphasahlkkhxngecaxananikhm twxyangaephnthicnghwdthaybiy Thai Binh inpi kh s 1924 insmythiyngepnxananikhmkhxngfrngess caehnidwayngmikarichekhruxnghmayytiphngkhxyu sungaetktangipcakrupaebbxkkhrwithiinyukhpccubntngaetklangstwrrsthi 20 cnthungpccubn inchwngkhrunghlngkhxngstwrrsthi 20 cuxokwhnguxidrbkarptiruprupaebbxkkhrwithi ephuxihsxdkhlxngtxkarprbprungnganwrrnkrrmaelakarptiruprabbkarsuksa odyxyuphayitkarduaelkhxngsatharnrthprachathipityewiydnam aetenuxngcak n khnannmiepncanwnmakthung 4 lankhn sngphlihkarptirupdngklawmithngphldiaelaphlesiyinewlaediywkntxprachakrphayinaelanxkpraethsthiichphasaewiydnam inaengkhxngkarrbruxkkhrwithithiaetktangkn enuxngdwyrupaebbkhxnghlksutrkarsuksathiaetktangknnnexng nbtngaetkhristthswrrsthi 1950 cuxokwkhnguxinphasaewiydnamthinehnuxidrbkarddaeplngihekhiynsadwkyingkhun odyykelikkarichekhruxnghmayytiphngkhrahwangkhaprasm khasxn rwmthungkhathiepnchuxechphaa wisamanynam echnkhawa tự do aeplwa esriphaph ekhiynepn tự do aethn hruxchuxkhnxyang Họ Văn Ten xanwa oha wn etn kihekhiynwa Họ Văn Ten aethn xyangirktamkhxsngektkhuxkhnathimikarkxsrangsusanohciminhinkrunghanxy emuxpi kh s 1973 idmikarichekhruxnghmayytiphngkhinpaychuxhlkkhxngprathanohciminh phuthiimidrbphlkrathbcakkarptirupkarsuksadngklaw idaek chawewiydnamphldthinhruxphuthisaerckarsuksaradbmthymplaykxnyukhptirupkarsuksannexng phuthiidrbphlkrathbcakkarptirupkarsuksainyukhaerkcathxngtwxksrewiydnamwa xa ebxa ekxa a bờ cờ l phuthiidrbphlkrathbcakkarptirupkarsuksainyukhpccubncathxngtwxksrewiydnamwa xa eb es a be xe xanxxkesiyngaebbediywkbphasafrngess dwykhwamthiphasaewiydnamepnphasathimiwrrnyuktaelacaepntxngichekhruxnghmayesrimsthxksr thaihekidkhwamyungyakaelasbsxntxkarphimph chawewiydnamintangpraethscungeliyngkarichekhruxnghmayesrimsthxksrinkarekhiynchuxkhxngtn echn karekhiynkhawa Nguyen xanwa ng ehwiyn aethnthikhawa Nguyễn sungepnwithikarekhiynthithuktxng taraeriynphasaewiydnamrwmsmybangelmkynghlngehluxkhathiyngmiidprbprungrupaebbxkkhrwithiihekhakbwithikarsakdphasaewiydnaminyukhpccubnodyechphaaxyangyingsahrbtarathiekhiyndwycuxhan thaihsthanakhxngphasaewiydnamnnehmuxnkbrabbkarekhiynkhxngklumphasainexechiytawnxxk echn khnciinphasayipun hncainphasaekahli l thitxngmi ruby characters ekhiynkakbwithikarxxkesiyngthithuktxngiwthikhangbn phasafrngessekhyepnphasathimixiththiphltxphasaewiydnam odythingrxngrxyiwthnginaetkidrbkhwamsakhynxylngtamkalewla enuxngcakpraethsewiydnamidhludphncakkarepnxananikhmkhxngfrngessmaepnewlananhlaythswrrsaelw aelathukaethnthidwyphasaxngkvs English language sungepnphasathimibthbathsakhythnginechingphanichyaelainewthiolk swnhnungmacakkraaesolkaphiwtnaelakarcdraebiybolkihmodychatimhaxanacxyangshrthxemrika twxyang cuxokwkhngux hanonm IPA saeniynghanxy aeplithyTất cả mọi người sinh ra đều được tự do va binh đẳng về nhan phẩm va quyền Mọi con người đều được tạo hoa ban cho ly tri va lương tam va cần phải đối xử với nhau trong tinh bằng hữu 𤲃哿每𠊚生𠚢調得自由吧平等𧗱人品吧權 每𡥵𠊚調得造化班朱理智吧良心吧懃沛對處𠇍𦣗𪚚情朋友 tɜt kɐː mɔj ŋɨɜj siŋ za ɗew ɗɨɜk tɨɰ zɔ vɐː ɓiŋ ɗɐŋ vej ɲɜn fɜm vɐː kwiːɜn mɔj kɔn ŋɨɜj ɗeu ɗɨɜk tɐːw hɔɜ ɓɐːn cɔ lij cij vɐː lɨɜŋ tɜm vɐː kɜn fɐːj ɗoj sɨ vɜj ɲɐw cɜwŋ tiŋ ɓɐŋ hɨw mnusythukkhnekidmamixisraesriaelaesmxphakhknthnginskdisriaelasiththi tangmiehtuphlaelamonthrrm aelakhwrptibtitxkndwyectnarmnaehngphradrphaphkhaihstyabntxptiyyasaklwadwysiththimnusychn Universal Declaration of Human Right chuxtwxksrphasaewiydnamich ISO basic Latin alphabet canwnthngsin 22 tw twxksrthiimmiihichinphasaewiydnammkprakdaekhechphaainkhayumthimacakphasatangpraeths hruxxacepnhnwyesiynginphasakhxngklumchatiphnthuxunthixasyxyuinpraethsewiydnamaetephiyngethann echn twxksr dz hrux z thimiiwephuxchwyihsamarthaeykkhwamtangkbxksr v inphasaewiydnamsaeniyngthinit rwmaelwphasaewiydnammisrathngsin 12 tw nguyen am aelaphyychna 17 tw phụ am aeplwa twesrim chudxksrewiydnam cuxokwkhngux twxksr chux ewlasakd IPAsaeniynghanxy saeniyngehngaxan saeniyngisngxnA a a ʔaː ʔaː ʔaː Ă ă AW A8 a ʔaː ʔaː ʔaː a AA A6 ớ ʔeː ʔeː ʔeː B b be ʔɓe ʔɓe ʔɓe C c xe se se se D d de ze ze je đ DD D9 đe ʔɗe ʔɗe ʔɗe E e e ʔɛ ʔɛ ʔɛ E e EE E6 e ʔe ʔe ʔe G g gie ze ze je H h hat haːt haːt haːk I i i ʔi ʔi ʔi K k ka kaː kaː kaː L l e lờ ʔɛ le ː ʔɛ leː ʔɛ leː M m em mờ ʔɛm me ː ʔɛm meː ʔɛm meː N n en nờ ʔɛn ne ː ʔɛn neː ʔɛŋ neː O o o ʔɔ ʔɔ ʔɔ O o OO O6 o ʔo ʔo ʔo ơ OW O7 ơ ʔeː ʔeː ʔeː P p pe pe pe pe Q q quy kwi kwi wi R r e rờ ʔɛ ze ː ʔɛ ɹeː ʔɛ ɹeː S s et si ʔɛt si ʔɛt si ʔɛk ʂi T t te te te te U u u ʔu ʔu ʔu ư UW U7 ư ʔɨ ʔɨ ʔɨ V v ve ve ve je X x ich xi ʔik si ʔik si ʔɨt si Y y i dai ʔi za ːj ʔi zaːj ʔi jaːj hakethiybkbchudtwxksrinphasaxngkvs cuxokwkhnguxmitwxksrediywcanwn 22 tw aelatwxksrthiephimekhruxnghmayesrimsthxksrekhaipxik 7 tw idaek Ă A Đ E O Ơ aela Ư nxkcakniyngmitwxksrlatinxik 4 twthiimprakdihichxyuincuxokwkhnguxidaek F J W aela Z karekhiyncuxokwkhnguxaebngrupaebbtwxksriwthnghmd 2 lksna idaek twphimphihy chữ hoa aela twphimphelk chữ thường cuxokkhnguxmitwxksresrimxik 11 twthiichaethnhnwyesiyngephimetiminklumphyychna idaek thwixksr 10 tw ch gh gi kh ng nh ph qu th tr itrxksr 1 tw ngh thwixksr hmaythung karrwmklumkhxngtwxksrtngaetsxngtwkhunip thiichaethnhnwyesiyngxunthiimichkhapktikhxngxksrsxngtwnnmaprakxbkntamrupaebbxkkhrwithi swnitrxksr hmaythung karrwmklumkhxngtwxksrtngaetsamtwkhunip aebbediywkbthiidklawmakxnhna twxksrthiimprakdxyuinphasaewiydnam twxksrthngsitw idaek F J W aela Z epntwxksrthiprakdxyuinphasafrngessaelaphasaxngkvs odyinpccubnimthuxwaepntwxksrthiepnthangkarinphasaewiydnamhruxphasacinklang xyangirktaminexksarrachkar twxksrehlanimiiwsahrbekhiynchuxechphaa echn chuxsthanthi hruxchumchn inphasakhxngklumchatiphnthutang nxkehnuxcakphasaewiydnam twxyangechn chuxchumchn Zuoih Jơ Ngay Za Hung inxaephxnamsang cnghwdkwangnam tabl Ea Wy xaephx Ea H leo tabl Cư E Wi xaephx Cư Kuin incnghwddklk hrux xaephx Cư Jut cnghwddknng nxkcaknikyngmiichinklumkhaxuthan thiimidmacakphasaewiydnam twxyangechn uuh uop h l k t kr epntn nxkcakniohciminh Hồ Chi Minh yngekhyichtwxksr F aethntwxksr PH aelatwxksr Z aethntwxksr D inkarekhiynphinykrrmkhxngtwexngxikdwy thnghmdniaesdngihehnthungkhwamoxnxxnaelakhadkhwamekhmngwdthangmatrthaninphasaewiydnam odymiphuthiesnxwa imkhwrichtwxksr F J W Z inkarekhiyn aelakhwrmimatrthankarekhiynthichdecn kephuxtharngrksarupaebbxkkhrwithiinthanathiepnphasaklangaelaphasarachkarsungtxngichinexksarthangkdhmay dngnnnkwichakarcungesnxwainhlksutrkarsuksacaepntxngthdaethndwykarsxnihphukhninthxngthinsamarthsakdchuxbanekidkhxngtnidxyangthuktxngtamhlksthsastr dngnnaelwkrnidngklaw thaihnkwichakarbangswnmimummxngwarabbkarekhiynkhxngphasaewiydnamnnsmburnaebbintwxyuaelw aelaimmiehtuxnidthicatxngmikarptirupxkkhrwithitamma twxksrthiimprakdxyuinphasaewiydnam twxksr chux ewlasakd saeniynghanxy ehngaxan isngxnIPA hnwyesiyng IPA hnwyesiyng IPA hnwyesiyngF f ep ʔɛp f ʔɛp f ʔɛp f J j gi zi z ji z ji j W w ve kep ve kɛp w ve kɛp w je kɛp w Z z det zɛt z zɛt z jɛk j sraintarangepntwhnaaelatwexiyng karichkhawa be hrux bờ ephuxaethnchuxkhxng b aela pe hrux pờ ephuxaethnchuxkhxng p kephuxiwhlikeliyngkhwamsbsninbangbribth sungxyuinhlkkarediywkbtwxksr s twxyangechn sờ manh hrux sờ nặng aeplwa s twhna hrux s twihy x twxyangechn xờ nhẹ aeplwa x twelk i ekhiynepn i ngắn aeplwa i twelk aela y ekhiynepn y dai aeplwa y twihy q catxngkhwbdwy u tamhlnginthukkhaaelathukpraoykhinphasaewiydnamxyuesmx yktwxyangechnkhawa quần aeplwa kangekng quyến rũ aeplwa dungdud l chux i cờ ret epnchuxthiexaiweriyk y sunghyibyummacakkhawa i grec aeplwa i twihy inphasafrngess inphasakrikeriyktwxksrniwa xipislxn upsilon mitwxksrxyu 4 twthiimmiprakdxyuinphasaewiydnam idaek f ep ep phờ j esiyngediyw gi w u kep aeplwa double u ve kep ve đup aeplwa double v aela z det xyangirktam xksrehlanimkprakdaekhechphaainkhayumthimacakphasatangpraethsaetephiyngethann echnkhawa flo aeplwa fluxxrin jun aeplwa cul sunghmaythunghnwywd bazơ aeplwa than hruxxaccaexaiwekhiynchuxechphaa hruxchuxsthanthithimacakphasatangpraethskid odypktiaelw y cathuxwaepnsratwediywkb i i aeplwa i sn aela y hmaythung i yaw nxkcakni y yngsamarththicarxngrbkaretimekhruxnghmayesrimsthxksr idechnediywehmuxnkbsratwxun y ỳ ỹ ỷ ỵ echnkhawa Mỹ aeplwa shrthxemrika nxkcakniyngsamarthaethnepnphyychnaidxikdwy emuxnahnasra a aela a aelayngsamarthichaethn i idinbangbribth echnkhawa banh mi aeplwa khnmpng thisamarthekhiynwa banh mỳ idehmuxnkn s aela x rwmepnesiyngediywkninsaeniyngthinehnux aelainbangkhrngksamarthichthng 2 xksrslbaethnknid echnkhawa sương xao hrux sương sao aeplwa echakwy karekhiyntarangxksrinphasaewiydnam ekhiyndwykarkhdlaymux karekhiyntwxksrlatinaebngxxkepn 2 rupaebb idaek karphimphaelakarkhdlaymux inhnngsuxhruxhnngsuxphimphodythwipmkichkarphimphepnhlk aelamikarewnwrrkhkhainaetlakhaaeykxxkcakknxyangchdecn khnathikarkhdhruxekhiyndwymuxcaekhiyntwxksrtid kn karekhiynxksrlatindwykarphimphcaxanngaykwaaetchakwakarkhdlaymux khnathikarekhiyndwymuxcaerwaelangaykwaaetxanyaktamlksnalaymuxkhxngaetlabukhkhl orngeriynswnihyinewiydnamcungimniymkareriynkarsxncuxokwkhnguxdwykarphimph aelasxnphankarkhddwylaymuxaetephiyngxyangediyw inkhwamepncringchawewiydnamswnihymkcaekhiynthngaebbphimphaelaaelakhdlaymuxphsm kn twphimphihymkekhiyninlksnakhxngkarphimph ephraasamarthekhiynidngaykwa twekhiynaebbkhdlaymuxthisxninorngeriynewiydnammkekhiyninlksnakhxngtwxksraebbmwninphasaxngkvs sunghyibyummacakphasafrngess eriykwa chữ rong rong macakkhawa ronde aeplwa wngklm inphasafrngess Ecriture ronde dngklawidrbkarpradisthkhuninplaykhriststwrrsthi 17 odychawfrngess emuxthungstwrrsthi 18 karkhdlaymuxdwytwxksraebbmwninphasafrngesskidthuknaipichxyangaephrhlaythwphumiphakhyuorp imewnaemaetphasaewiydnamthixyuinklumphasathiichxksrlatinepnrabbkarekhiynkarxxkesiyngkarsakdcuxokwkhnguxtamhlkxkkhrwithithithuktxng epnkdraebiybthangsngkhmthicatxngptibtitamkdhmay karrbruthungwithikarsakdkhathithuktxngepnswnhnungkhxngkarrbruthangwthnthrrmkhxngchati hlkkarsakdthirabuiwthidanlangmikarhyibyknamaphudthungxyubxykhrngphankarxphipray odysamarthyxnkhwamipidtngaetpi kh s 1902 praednineruxngkhxngkarptiruprupaebbxkkhrwithiinphasaewiydnam ekhyidrbkaresnxkhunody ipsuphuwakarrthokhchinichna phlthitammacungthaihrupaebbkarsakdkhainphasaewiydnamkhxy idrbkarprbprungihxyuinradbthinaphungphxicmakkhuntamma karkahndmatrthaninrhs yuniokhd sungxyuinswnkhxngkarphthnathangwithyasastraelaethkhonolyi kmiswnsakhyinkarkahndrupaebbxkkhrwithiinphasaewiydnamxikechnkn pccubnexksarphayinpraethsswnihymkekhiynodyxangxingtamhlkxkkhrwithikhxng hlkkhxbngkhbekiywkbkarsakdkhainphasaewiydnamaelakhasphthinphasaewiydnam hlknibngkhbichkhrxbkhlumthnginhlksutrkarsuksa hnngsuxphimph aelaexksarwichakar l odyidrabuiwin raebiybkrathrwngsuksathikarchbbthi 240 QD lngnamwnthi 5 minakhm kh s 2527 ephuxsrangmatrthanthiepnxnhnungxnediywknihkbsngkhmnnexng phyychna twxksrincuxokwkhngux idaek xksrediywaelathwixksr mixksrediywthnghmd 17 tw idaek b c d d g h k l m n p q r s t v x aelathwixksrrwmthngsin 11 tw idaek ch gh gi kh ng ngh nh ph qu th tr thngxksrediywaelathwixksrthuktwincuxokwkhnguxsamarthichepnphyychnainkarekhiynid xksr phyychna IPA twsakd hmayehtusaeniyngthinehnux saeniyngthinit saeniyngthinehnux saeniyngthinit ʔ esiyngerimtn imaesdngrupewlasakdB b esiyngkhlaykb b inphasaithyC c k k esiyngehmuxnkb k inphasaithy ich k aethn emuxnahnadwy i y e e ich qu aethnkhakhwbkla w emuxsakddwysra o u haksakddwy u o o caepliynepnesiyng k p Ch ch t ɕ c ʲk t esiynginsaeniyngthinehnuxehmuxnkb c inphasaithy rwmepnesiyngediywkb tr insaeniyngthinehnuxD d z j esiynginsaeniyngthinehnuxehmuxnkb z inphasaxngkvs esiynginsaeniyngthinitehmuxnkb y inphasaithy ekhysakddwyesiyng d inphasaewiydnamyukhklang rwmepnesiyngediywkb gi r insaeniyngthinehnux rwmepnesiyngediywkb gi v insaeniyngthinitĐ đ esiyngkhlaykb d inphasaithyG g ɣ esiyngehmuxnkb g inphasadtch ich gh aethn emuxnahnadwy i y e e Gh gh ichnahnaechphaa i e e ethann xangxingmacakrabbkarekhiynkhxngphasaxitaliGi gi z j ekhysakddwyesiyng inphasaewiydnamyukhklang rwmepnesiyngediywkb d r insaeniyngthinehnux insaeniyngthinit sthabnxudmsuksamksxnihxxkesiyng d epn j aelaxxkesiyng gi epn z thungxyangirktamrupaebbdngklaw prasngkhkephuxchwyihsamarthaeykkhwamtangrahwangthngsxngtwxksrkhangtnethann aelaimkhxyphbehnidbxynkinphasaphudH h h mkimxxkesiyng h insaeniyngthinit hakkhwbkladwyesiyng w odyaebngepnthnghmdsxngkrnidngni hakich u catxngtamhlngdwysra a e ơ y ethann yktwxyangechn huan huenh huơ huyt hakich o catxngtamhlngdwysra a ă e ethann yktwxyangechn hoang hoặc hoeK k k ichnahnaechphaa i e e ethann xangxingmacakrabbkarekhiynkhxngklumphasaormans Kh kh x esiyngehmuxnkb kh Kh inphasaithythinehnux ekhysakddwyesiyng kʰ inphasaewiydnamyukhklangL l l esiyngehmuxnkb l inphasaithyM m m m esiyngehmuxnkb m inphasaithyN n n n ŋ esiyngehmuxnkb n inphasaithy haksakddwy i e insaeniyngthinitcaepliynepnesiyng ŋ Ng ng ŋ ŋ esiyngehmuxnkb ng inphasaithy ich ngh aethn emuxnahnadwy i e e haksakddwy u o o caepliynepnesiyng ŋ m Ngh ngh ichnahnaechphaa i e e ethannNh nh ɲ ʲŋ n esiyngehmuxnkb y inphasaithythinehnux esiyngnasik P p p p esiyngehmuxnkb p inphasaithy esiyngphyychnaphbidinkhayumethann khaswnihythukaethnthidwy b krniediywknkb phasaxahrb Ph ph f esiyngehmuxnkb f f inphasaithy ekhysakddwyesiyng pʰ inphasaewiydnamyukhklang ehmuxnkb ph inphasaithy karxxkesiyngyngphbidinchumchnphusungxayuinchnbththangtxnehnuxkhxngewiydnamQu qu kʷ w esiynginsaeniyngthinitehmuxnkb w inphasaithy ichaethnkhakhwbkla kʷ insaeniyngthinehnuxR r z r esiynginsaeniyngthinehnuxehmuxnkb z inphasaxngkvs esiynginsaeniyngthinitehmuxnkb r inphasaithy rwmepnesiyngediywkb d gi insaeniyngthinehnuxS s s ʂ esiynginsaeniyngthinehnuxehmuxnkb s s inphasaithy esiynginsaeniyngitehnuxehmuxnkb s inklumphasaxinod xaryn rwmepnesiyngediywkb x insaeniyngthinehnuxT t t t k esiyngehmuxnkb t inphasaithy nxkehnuxcakkarsakddwy i e insaeniyngthinitcaepliynepnesiyng k esiyngehmuxnkb aemkk inphasaithyTh th tʰ esiyngehmuxnkb th th inphasaithyTr tr t ɕ esiynginsaeniyngitehnuxehmuxnkb t inklumphasaxinod xaryn rwmepnesiyngediywkb ch insaeniyngthinehnuxV v v v j esiynginsaeniyngthinehnuxehmuxnkb v inphasaxngkvs esiynginsaeniyngthinitehmuxnkb y inphasaithy ekhysakddwyesiyng b inphasaewiydnamyukhklang insaeniyngthunitmkxxkesiyng v epn vj hrux ɓj xyangirktamrupaebbdngklaw prasngkhkephuxchwyihsamarthaeykkhwamtangrahwangesiyng d gi thngsxngtwxksrkhangtnethannX x s esiynginsaeniyngthinehnuxehmuxnkb s s inphasaithy ekhysakddwyesiyng inphasaewiydnamyukhklang rwmepnesiyngediywkb s insaeniyngthinehnux saeniyngthinehnux inthinihmaythungsaeniynghanxy saeniyngniepnsaeniyngthxngthinkhxngcnghwdnamdiy cnghwdthaybiy odythuxwaepnswnhnungkhxngsaeniyngmatrthaninphasaewiydnam thaihinaewdwngphasasastrmkekidkhwamsbsnrahwangsaeniynghanxykbsaeniyngthinthangehnux sra karxxkesiyng karsuksathungrupaebbxkkhrwithiaelawithikarxanxxkesiynginphasaewiydnamkhxnkhangcamikhwamsbsxnxyuphxsmkhwr enuxngcakrabbkarekhiynphasaewiydnamnnthukphthnakhunmaepnewlananhlaystwrrsaelwodythiphasaphudkyngkhngmiphthnakarepliynaeplngxyutlxdewla sngphlihinbangkrnitwxksrtwediywknxacmihnwyesiyngthiaetktangknipinaetlasaeniyngthxngthin aelatwxksrthiepnkhnlatwxacmihnwyesiyngediywkn dngthiidrabuhmayehtuiwinaephnphumidanbnsungcachwyaeykkhwamaetktangrahwangphasaewiydnamyukhklangaelaphasaewiydnamsmyihmid odypktiaelwtwxksr i aela y camihnwyesiyngediywkn aelaimmikdtaytwwakhwrichtwxksrtwihninkarichxyangchdecn ewnaetinkrnithiekhiyninrupkhxng ay aela uy echnkhawa tay aeplwa aekhn hrux mux xanwa tă j khnathi tai aeplwa hu xanwa taj odymiphuthiphyayamsrangmatrthaninkartngaetplaystwrrsthi 20 thicasrangmatrthankarekhiynphasaewiydnamihchdecn odyaethnthi y dwy i emuxaethnesiyngsra odyinpi 1984 krathrwngsuksathikarewiydnamidmikhwamphyayamthicaptiruprabbkarekhiynihmikhwamchdecnmakyingkhun odyerimcakkarptirupphanhnngsuxeriynthicdphimphodysankphimphaehngkarsuksa Nha Xuất bản Giao dục odyich y aethnthihnwyesiyng i echphaainephiyngxyangediyw twxksrdngklawsamarthisekhruxnghmayesrimsthxksrid echnkhawa y ỷ aelasamarththahnathithitnphyangkhemuxtamdwy e id echnkhawa yếm yết hlng u aela ay dngnnaelwrupaebbkarekhiyn echn ly aela kỹ cungmiichrupaebbkarekhiynthiepn matrthan aetthungxyangirkhnswnihyhruxsuxkyngkhngichrupaebbkarsakdkhatamthithndhruxkhunchinepnhlkxyudi karsakdaelakarxxkesiyngsrainphasaewiydnam xksr hnwyesiynga a ae inbangsaeniyng except as below ă in au ăw and ay ăj but a in ao aw and ai aj ăj before syllable final nh ŋ and ch k see e in ưa ɨe ia ie and ya ie e in ua except after qă ă a e e ɛ e e except as below e j before syllable final nh ŋ and ch k see e in ie ie and ye ie i i except as below j after any vowel lettero ɔ except as below ăw before ng and c w after any vowel letter after a or e w before any vowel letter except i before ă a or e o o except as below e w before ng and c except after a u that is not preceded by a q e in uo except after qơ e except as below e in ươ ɨe u u except as below w after q or any vowel letter w before any vowel letter except a o and i Before a o and i w if preceded by q u otherwiseư ɨ y i except as below j after any vowel letter except u after a and a qua is pronounced kwa except in quay where it is pronounced kwă When not preceded by q ua is pronounced ue However oong and ooc are pronounced ɔŋ and ɔk uong and uoc are pronounced ue ŋ and ue k when not preceded by a q quo is pronounced kwo except in quong and quoc where it is pronounced kwe w When not preceded by q uo is pronounced ue karsakd hnwyesiyngsra hnwyesiyng twsakd hnwyesiyng twsakd hnwyesiyng twsakd ie ie ia ɨe ươ ưa ue uo ua i i y ɨ ư u u e e e ơ o o e a ɛ e a a ɔ o ă ăwrrnyukt phasaewiydnamepnphasathimiwrrnyukt tonal language dngnnkarthicaaeykaeyakhwamhmaykhxngaetlakhainphasaewiydnamcungkhunxyukbradbkhxngesiyngthieplngxxkip radbkhxngesiyngwrrnyuktcathukrabutamchuxkhxng IPA sungtrngtamkhasthsastr nxkcakniesiyngbangesiyngyngmikhwamsmphnthkbrupaebbxikdwy phasaewiydnamthinehnuxmiwrrnyuktthiaetktangknthung 6 esiyng odyladbaerk esiyngsamy caimetimekhruxnghmayiw khnathixikhaladb cathukrabudwyekhruxnghmayesrimsthxksrthikakbiwbnsrakhxngaetlakha chuxkhxngwrrnyuktcathukrabuiwephuxrabuesiyngthikahndiwinaetlawrrnyukt khnathiphasaewiydnamthinit esiynghxy hỏi aela esiynghnga nga cathukkhwbrwmepnesiyngediywkn thaihphasaewiydnamthinitehluxwrrnyuktephiyngaekh 5 esiyng ladb ekhruxnghmay esrimsthxksr sylksn chux ekhruxnghmaykakbesiyng sraprakxbkbekhruxnghmayesrimsthxksr yuniokhd1 imetimekhruxnghmay N A Z 0 ngang ngang esiyngsamy A a Ă ă A a E e E e I i O o O o Ơ ơ U u Ư ư Y y2 acute accent a S 1 sk sắc esiyngctwasung A a Ắ ắ Ấ ấ E e Ế ế I i o o Ố ố Ớ ớ U u Ứ ứ Y y U 0341 hrux U 03013 ekrfaexkesnt grave accent a F 2 h ehwiyn huyền esiyngothta A a Ằ ằ Ầ ầ E e Ề ề I i O o Ồ ồ Ờ ờ U u Ừ ừ Ỳ ỳ U 0340 hrux U 03004 prsni hook above ả R 3 hxy hỏi esiyngothklang thinehnux esiyngding thinit Ả ả Ẳ ẳ Ẩ ẩ Ẻ ẻ Ể ể Ỉ ỉ Ỏ ỏ Ổ ổ Ở ở Ủ ủ Ử ử Ỷ ỷ U 03095 tilde a X 4 hnga nga esiyngctwasn ˀ thinehnux esiyngctwata thinit A a Ẵ ẵ Ẫ ẫ Ẽ ẽ Ễ ễ Ĩ ĩ O o Ỗ ỗ Ỡ ỡ Ũ ũ Ữ ữ Ỹ ỹ U 0342 hrux U 03036 phinthu dot below ạ J 5 hnng nặng esiyngothsn ˀ thinehnux esiyngctwata thinit Ạ ạ Ặ ặ Ậ ậ Ẹ ẹ Ệ ệ Ị ị Ọ ọ Ộ ộ Ợ ợ Ụ ụ Ự ự Ỵ ỵ U 0323 Z in aela 0 in ichsahrblbekhruxnghmayesrimsthxksr twxyangechn in TELEX AS gt a thakd Z gt a srathiimetimekhruxnghmayesrimsthxksrcaxxkesiyngwrrnyuktepnesiyngsamy ekhruxnghmayekrfaexkesnt grave accent exaiwkakbwa phuphudtxngxxkesiyngtaodyldradbesiynglngelknxy aela breathy xxkmakhnathixxkesiyng ekhruxnghmayprsni hook above inphasaewiydnamsaeniyngthinehnuxexaiwkakbesiyngwrrnyuktothklang aetinphasaewiydnamsaeniyngthinitexaiwkakbesiyngding xthibay khux phuphudkhwrerimxxkesiyngtaaelwksungkhunphrxm kn khlaykbkarennesiyng stress praoykhkhathaminphasaxngkvs insaeniyngthinehnux ekhruxnghmaythiled tilde exaiwkakbwaphuphudkhwrerimxxkesiyngklang aelwkhxy aeykxxk odyhyudesnesiyngiw aelwerimeplngesiyngihmxikkhrngihsungkhunehmuxnpraoykhkhatham insaeniyngthinitthukrwmepnesiyngediywkbesiyngediywkbesiynghxy hỏi ekhruxnghmayxkhiwtaexkesnt acute accent exaiwkakbwrrnyuktesiyngctwasung odyphuphudcatxngxxkesiyngklangaelakhunesiyngsungihodyerw ekhruxnghmaycuddanlang hrux phinthu dot below inphasaewiydnamsaeniyngthinehnux exaiwkakbwatxngerimxxkesiyngta creaky lngeruxy aelalngthaydwy glottal stop inkha hnung thiprakxbdwysramakkwahnungtw hmaythung sraprasm aela sraprasmsamesiyng karwangtaaehnngekhruxnghmayesrimsthxksr odypktiaelwkarwangtaaehnngcaaebngxxkepnsxngaebbkhux aebbedim aela aebbihm odylksnakhxng aebbedim caennwangekhruxnghmayesrimsthxksr sungaethnesiyngwrrnyuktiwtrngkungklangkhxngphyangkhephuxkhwamswyngam xthibaykhux wangekhruxnghmayesrimsthxksriwthisrathixyuthaysudhakmitwsakd aelacawangekhruxnghmayiwbnsrarxngsudthayaethnhakimmitwsakd twxyangechn hoa hủy khnathi aebbihm sungmilksnathiennhlkkarthangxkkhrwithithithuktxngkwa caetimekhruxngekhruxnghmayesrimsthxksriwbnsrahlk twxyangechn hoa huỷ odythngsxngrupaebb hakmisratwhnungmiekhruxnghmayesrimsthxksrxyuaelw catxngisekhruxnghmayesrimsthxksrthiaethnesiyngwrrnyuktsxnekhaipdwy odyimcaepntxngkhanungthungwacaxyuinswnihnkhxngphyangkh echnsakdkha hnung wa thuế imich thue inkrnikhxngsra ươ sungepnsraprasm ekhruxnghmaycathukwangiwbn ơ khnathitw u inthwixksr qu thuxwaepnphyychnahnungtwipely pccubnkarwangtaaehnngekhruxnghmayesrimsthxksraebbihmni mkichintaraeriynthitiphimphodysankphimph Nha Xuất bản Giao dục epnhlk odykhnswnihyyngekhychinkbxkkhrwithiaebbekamakkwa khnathichawewiydnamintangpraethskyngekhychinkbrupaebbekaehmuxnkn inkareriyngladbkhasphthinphcnanukrm karaeykkhwamaetktangintwxksrthuxepnxikpraednthithukphudthungehmuxnkn karaeykkhwamaetktanginaetlatwxksrthimihruximmiekhruxnghmayesrimsthxksr samarthaeykidphankareriykchuxinphasaphud sungkkhunxyukbhlksutrkhxngaetlasthabnwacaaeykhruximaeykxyangir echnaeykkhwamtangrahwangtwxksr a kbtwxksr ẳ aetimnbtwxksr ẳ hruxxiktwxyang echn twxksr ch aela ngh sungepnthwixksraelaitrxksr kthuknbwaepntwxksrtwhnungipely kareriyngladb odykaraeykkhwamaetktangrahwangaetlatwxksraebbni haksubkhninphcnanukrm khawa tuan thủ cakhunkxn tuần chay enuxngcakcamikaraeykkhwamaetktanginaetlatwxksraebbkhatxkhaipelyxyangchdecnrabbkhxmulinkhxmphiwetxrtwxyangkaraesdngphlekhruxnghmayesrimsthxksrrupaebbtang thimiwrrnyukt dngechn bntwxksr e khnathitxngkarphimphkhxkhwaminkhxmphiwetxrepnphasaewiydnam chudtwxksrsaklyuniokhd Unicode samarthrxngrbchudxkkhralatinthiekhiynepnphasaewiydnamid aemcaimmiswnaeyktanghakktam xkkhraphunthanthicaepntxngichrwmkbphasaxunkracdkracayxyuinblxk Basic Latin Latin 1 Supplement Latin Extended A aela Latin Extended B blocks rhsxkkhratwxun nxkehnuxcakinrabb echn twxksrthimiekhruxnghmayesrimsthxksrsxnxyumakkwahnungtw cathukwangiwinblxkephimetimaebbkhyaysahrbphasalatin echn ASCII rwmthungkarekharhsxkkhraaebbibthlayraykar dngechn aela thithuknamaichknxyangaephrhlaykxnthiyuniokhdcamaidrbkhwamniyminphayhlng exksarswnihyinyukhpccubnniymichrhsyuniokhd epnhlk yuniokhdrxngrbthngrabbsakdkhaxtonmtiaelarabbphsmkhainkarphimphphasaewiydnam enuxngcakinxditxksrbangtwmikaraesdngphlkhxngrabbphsmkhathikhadmatrthan xanephimetimidthi khnswnihycungniymichrabbsakdkhaxtonmtimakkwa inewlathitxngekhiynexksarepnphasaewiydnam ykewnbnwinodwsthiich winodws 1258 sungrxngrbaekhrabbphsmkha aepnphimphswnihyinphasaewiydnamrxngrbkaraesdngphlthnginrabbothrsphthaelarabbptibtikarbnkhxmphiwetxrsmyihm thngixoxexs aexndrxyd aelaaemkhoxexs tangkrxngrbphasaewiydnamaelarabbkarphimphdwyesiyngepnkhaerimtn thaihkxnhnaniphuthiichphasaewiydnaminkarphimph caepntxngtidtngfrisxftaewraeykxiktanghakechnbnkhxmphiwetxr hrux Laban Key bnothrsphthmuxthux ephuxihsamarthphimphekhruxnghmayesrimsthxksrinphasaewiydnam aepnphimphthirxngrbkaraesdngphldngklaw idaek Telex VNI VIQR lraebiyngphaphradbesiyngwrrnyuktaelayankhwamthikhxngphuphudphasaewiydnamsaeniyngthinehnux ruptwxyangkarkhdlaymuxcuxokwkhngux xksrewiydnam ruptwxyangkarekhiyncuxonminethskaltrusywn n krunghanxyduephimpraethsewiydnam phasaewiydnam xksrcin cuxonmxangxingJacques Roland 2002 Portuguese Pioneers of Vietnamese Linguistics Prior to 1650 Pionniers Portugais de la Linguistique Vietnamienne Jusqu en 1650 phasaxngkvs aela frngess Bangkok Thailand Orchid Press ISBN 974 8304 77 9 Jacques Roland 2004 Bồ Đao Nha va cong trinh sang chế chữ quốc ngữ Phải chăng cần viết lại lịch sử Translated by Nguyễn Đăng Truc In Cac nha truyền giao Bồ Đao Nha va thời kỳ đầu của Giao hội Cong giao Việt Nam Quyển 1 Les missionnaires portugais et les debuts de l Eglise catholique au Viet nam Tome 1 in Vietnamese amp French Reichstett France Định Hướng Tung Thư ISBN 2 912554 26 8 Trần Quốc Anh Phạm Thị Kiều Ly October 2019 Từ Nước Mặn đến Roma Những đong gop của cac giao sĩ Dong Ten trong qua trinh La tinh hoa tiếng Việt ở thế kỷ 17 Conference 400 năm hinh thanh va phat triển chữ Quốc ngữ trong lịch sử loan bao Tin Mừng tại Việt Nam Ho Chi Minh City Ủy ban Văn hoa Tran 2022 harv error no target CITEREFTran2022 Sidwell Paul Jenny Mathias b k 2021 The Languages and Linguistics of Mainland Southeast Asia PDF De Gruyter pp 898 899 doi 10 1515 9783110558142 ISBN 978 3 11 055814 2 S2CID 242359233 J Edmondson Vietnamese Concise Encyclopedia of Languages of the World Elsevier Ltd năm 2009 trang 1149 Haudricourt Andre Georges 2010 The Origin of the Peculiarities of the Vietnamese Alphabet Mon Khmer Studies 39 89 104 Translated from Haudricourt Andre Georges 1949 L origine Des Particularites de L alphabet Vietnamien Dan Viet Nam 3 61 68 J Edmondson Vietnamese Concise Encyclopedia of Languages of the World Elsevier Ltd năm 2009 trang 1149 1150 Jakob Rupert Friederichsen Opening Up Knowledge Production Through Participatory Research Frankfurt 2009 6 1 History of Science and Research in Vietnam Page 126 6 1 2 French colonial science in Vietnam With the colonial era deep changes took place in education communication and French colonizers installed a modern European system of education to replace the literary and Confucianism based model they promoted a romanized Vietnamese script Quốc Ngữ to replace the Sino Vietnamese characters Han Nom John DeFrancis Colonialism and Language Policy in Viet Nam The Hague Mouton Publishers năm 1977 trang 82 84 John DeFrancis Colonialism and Language Policy in Viet Nam The Hague Mouton Publishers năm 1977 trang 82 Kornicki 2017 p 568 Hoang Xuan Việt 2006 Tim hiểu lịch sử chữ Quốc ngữ Thanh phố Hồ Chi Minh Nha xuất bản Văn hoa Thong tin p 165 167 Hoang Xuan Việt Bạch thư chữ Quốc ngữ San Jose CA Hội văn hoa Việt 2006 tr 185 186 Đỗ Quang Chinh 2004 Giao hội Cong giao với chữ Quốc ngữ 2020 12 07 thi ewyaebkaemchchin Phạm Thị Kiều Ly Chữ quốc ngữ thời Hội thừa sai Trần Văn Toan 2005 Tự vị Taberd va di sản văn hoa Việt Nam 2019 12 23 thi ewyaebkaemchchin Hannas W C Asia s orthographic dilemma Honolulu HI University of Hawaii Press 1997 tr 84 87 Vo Xuan Quế 2018 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a archive url txngkar archive date help Taberd Jean Louis Dictionarium Latino Anamiticum Serampore 1838 tr 78 Li 2020 p 106 Ostrowski Brian Eugene 2010 The Rise of Christian Nom Literature in Seventeenth Century Vietnam Fusing European Content and Local Expression in Wilcox Wynn b k Vietnam and the West New Approaches Ithaca New York SEAP Publications Cornell university Press pp 23 38 ISBN 9780877277828 Hoang Xuan Việt Bạch thư chữ Quốc ngữ San Jose CA Hội văn hoa Việt 2006 tr 374 375 Le Ngọc Trụ Chữ Quốc ngữ từ thế kỷ XVII đến cuối thế kỷ XIX Tuyển tập Ngon ngữ văn tự Việt Nam Số 1 Dong Việt 1993 Tr 30 47 Nguyen Tung Langues ecritures et litteratures au Viet nam Aseanie Sciences humaines en Asie du Sud Est Vol 2000 5 pp 135 149 Hoang Xuan Việt Bạch thư chữ Quốc ngữ San Jose CA Hội văn hoa Việt 2006 tr 333 Franco Vietnamese schools Cao Xuan Dục Long Cương văn tập Ha Nội Nha xuất bản Lao động 2012 Tr 64 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 12 15 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a title immihruxwangepla help Anderson Benedict 1991 Imagined Communities Reflections on the Origin and Spread of Nationalism London Verso pp 127 128 Trần Bich San phasaewiydnam khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2020 09 24 subkhnemux 2023 10 13 Note 3 The French had to accept reluctantly the existence of chữ quốc ngữ The propagation of chữ quốc ngữ in Cochinchina was in fact not without resistance by French authority or pro French Vietnamese elite Chữ quốc ngữ was created by Portuguese missionaries according to the phonemic orthography of Portuguese language The Vietnamese could not use chữ quốc ngữ to learn French script The French would mispronounce chữ quốc ngữ in French orthography particularly people s names and place names Thus the French constantly disparaged chữ quốc ngữ because of its uselessness in helping with the propagation of French script Wellisch Hans H 1978 The Conversion of Scripts Its Nature History and Utilization phasaxngkvs Wiley ISBN 978 0 471 01620 5 Language Monthly phasaxngkvs Praetorius 1987 Sassoon Rosemary 1995 The acquisition of a second writing system Internet Archive Oxford England Intellect ISBN 978 1 871516 43 2 Vietnam Alphabet vietnamesetypography Tỉnh Đoan Ca Mau khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2023 06 08 F J W Z khong thể nằm ngoai bảng chữ cai Tuoitre 10 08 2011 Truy cập 25 12 2015 Co cần them F J W Z trong bảng chữ tiếng Việt Khoa Ngon ngữ Đại học Quốc gia Ha Nội 12 08 2011 Truy cập 25 12 2015 Do you know How to pronounce Igrec HowToPronounce com phasaxngkvs subkhnemux 2017 10 30 Quyết định của Bộ Giao dục số 240 QĐ ngay 5 thang 3 năm 1984 Quy định về chinh tả tiếng Việt va về thuật ngữ tiếng Việt Thuvien Phapluat 2015 Truy cập 12 05 2017 Laurence C Thompson A Vietnamese Reference Grammar Previously published as Mon Khmer Studies XIII XIV University of Hawaiʻi Press Honolulu Hawaiʻi năm 1987 ISBN 0 8248 1117 8 ISSN 0147 5207 Trang 4 9 Andrea Hoa Pham The Non Issue of Dialect in Teaching Vietnamese 2011 06 07 thi ewyaebkaemchchin Journal of Southeast Asian Language Teaching Volume 14 Năm 2008 ISSN 1932 3611 Trang 35 Một số người thay D bằng Z hoặc them Z sau D thanh Dz để tranh nhầm sang am của Đ đặc biệt la khi phải viết khong dấu Chủ tịch Hồ Chi Minh thường viết Z thay D như trong Nguyễn Tai Cẩn Giao trinh lịch sử ngữ am tiếng Việt sơ thảo Nha xuất bản Giao dục Năm 1995 Trang 62 64 114 Nguyễn Tai Cẩn Giao trinh lịch sử ngữ am tiếng Việt sơ thảo Nha xuất bản Giao dục Năm 1995 Trang 62 64 58 Laurence C Thompson A Vietnamese Reference Grammar Previously published as Mon Khmer Studies XIII XIV University of Hawaiʻi Press Honolulu Hawaiʻi năm 1987 ISBN 0 8248 1117 8 ISSN 0147 5207 Trang 5 28 62 63 86 89 93 97 98 Nguyễn Tai Cẩn Giao trinh lịch sử ngữ am tiếng Việt sơ thảo Nha xuất bản Giao dục Năm 1995 Trang 221 Laurence C Thompson A Vietnamese Reference Grammar Previously published as Mon Khmer Studies XIII XIV University of Hawaiʻi Press Honolulu Hawaiʻi năm 1987 ISBN 0 8248 1117 8 ISSN 0147 5207 Trang 85 86 87 93 98 Laurence C Thompson A Vietnamese Reference Grammar Previously published as Mon Khmer Studies XIII XIV University of Hawaiʻi Press Honolulu Hawaiʻi năm 1987 ISBN 0 8248 1117 8 ISSN 0147 5207 Trang 86 Một số người thay D bằng Z hoặc them Z sau D thanh Dz để tranh nhầm sang am của Đ đặc biệt la khi phải viết khong dấu Chủ tịch Hồ Chi Minh thường viết Z thay D như trong Nguyễn Tai Cẩn Giao trinh lịch sử ngữ am tiếng Việt sơ thảo Nha xuất bản Giao dục Năm 1995 Trang 86 108 Laurence C Thompson A Vietnamese Reference Grammar Previously published as Mon Khmer Studies XIII XIV University of Hawaiʻi Press Honolulu Hawaiʻi năm 1987 ISBN 0 8248 1117 8 ISSN 0147 5207 Trang 85 89 91 93 97 98 Nguyễn Tai Cẩn Giao trinh lịch sử ngữ am tiếng Việt sơ thảo Nha xuất bản Giao dục Năm 1995 Trang 58 See for example Le Ba Khanh Le Ba Kong 1998 1975 Vietnamese English English Vietnamese Dictionary 7th ed New York City ISBN 0 87052 924 2 Anh Hao 2021 09 21 Hướng dẫn go tiếng Việt tren iOS 15 bằng tinh năng lướt phim QuickPath VietNamNet phasaewiydnam subkhnemux 2022 03 20 Set up Gboard on Android Google Support subkhnemux 2022 03 20 Phan Kim Long UniKey in macOS and iOS UniKey phasaxngkvs subkhnemux 2022 03 20 brrnanukrmBui Tất Tươm Giao trinh tiếng Việt GD Publishing House Chiung Wi vun T 2003 Learning Efficiencies for Different Orthographies A Comparative Study of Han Characters and Vietnamese Romanization PhD dissertation University of Texas at Arlington Dana Healy 2001 Vietnamese a complete course for beginners Thanh phố Hồ Chi Minh Gregerson Kenneth J 1969 A study of Middle Vietnamese phonology Bulletin de la Societe des Etudes Indochinoises 44 135 193 Published version of the author s MA thesis University of Washington Reprinted 1981 Dallas Summer Institute of Linguistics Haudricourt Andre Georges 1949 Origine des particularites de l alphabet vietnamien English translation as The origin of the peculiarities of the Vietnamese alphabet PDF Dan Việt Nam 3 61 68 Healy Dana 2003 Teach Yourself Vietnamese Hodder Education London Kornicki Peter 2017 Sino Vietnamese literature in Li Wai yee Denecke Wiebke Tian Xiaofen b k The Oxford Handbook of Classical Chinese Literature 1000 BCE 900 CE Oxford Oxford University Press pp 568 578 ISBN 978 0 199 35659 1 Le Ba Khanh and Le Ba Kong 1990 Vietnamese English standard dictionary Mui Ca Mau Publishing House Li Yu 2020 The Chinese Writing System in Asia An Interdisciplinary Perspective Routledge ISBN 978 1 00 069906 7 Nguyen A M 2006 Let s learn the Vietnamese alphabet Las Vegas Viet Baby ISBN 0 9776482 0 6 Nguyen Đang Liem 1970 Vietnamese pronunciation PALI language texts Southeast Asia Honolulu University of Hawaii Press ISBN 0 87022 462 X Nguyễn Đinh Hoa 1955 Quốc ngữ The modern writing system in Vietnam Washington D C Author Nguyễn Đinh Hoa 1992 Vietnamese phonology and graphemic borrowings from Chinese The Book of 3 000 Characters revisited Mon Khmer Studies 20 163 182 Nguyễn Đinh Hoa 1996 Vietnamese In P T Daniels amp W Bright Eds The world s writing systems pp 691 699 New York Oxford University Press ISBN 0 19 507993 0 Nguyễn Đinh Hoa 1997 Vietnamese Tiếng Việt khong son phấn Amsterdam John Benjamins Publishing Company ISBN 1 55619 733 0 Pham Andrea Hoa 2003 Vietnamese tone A new analysis Outstanding dissertations in linguistics New York Routledge Published version of author s 2001 PhD dissertation University of Florida Hoa Pham Vietnamese tone Tone is not pitch ISBN 0 415 96762 7 Phan Văn Giưỡng 6 2009 Modern Vietnamese xuất bản Saigon Sassoon Rosemary 1995 The Acquisition of a Second Writing System illustrated reprint ed Intellect Books ISBN 1871516439 subkhnemux 24 April 2014 Shih Virginia Jing yi Quoc Ngu Revolution A Weapon of Nationalism in Vietnam 1991 Thompson Laurence E 1991 A Vietnamese reference grammar Seattle University of Washington Press Honolulu University of Hawaii Press ISBN 0 8248 1117 8 Original work published 1965 Sơ thảo tốc ky Việt Nam của Ngọc Quang bản quay Roneo 5 1974 va bản Phụ ten quay Roneo CC VK nha CS đo thanh Saigon Wellisch Hans H 1978 The conversion of scripts its nature history and utilization Information sciences series illustrated ed Wiley ISBN 0471016209 subkhnemux 24 April 2014 Language Monthly Issues 40 57 Praetorius 1987 subkhnemux 24 April 2014 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb cuxokwkhngux Vietnamese Unicode FAQs Chữ viết Bồ Đao Nha va chữ Quốc Ngữ 2007 08 22 thi ewyaebkaemchchin ody BBC Scanned version of Alexandre de Rhodes dictionary Vietnamese Writing System Essay comparing the orthography variants Vietnamese Unicode FAQs Doctoral dissertation comparing learning efficiency between quoc ngu and Chinese characters