fbpx
วิกิพีเดีย

การดูแลและหาเพื่อน

การดูแลและหาเพื่อน (อังกฤษ: Tend-and-befriend) เป็นพฤติกรรมของสัตว์บางชนิดรวมทั้งมนุษย์ เพื่อตอบสนองต่อภัยโดยป้องกันหรือดูแลเลี้ยงลูก (tend) และโดยหาพวกหรือกลุ่มสังคมเพื่อช่วยป้องกันให้กันและกัน (befriend) มีสมมติฐานว่าพฤติกรรมนี้เป็นการตอบสนองปกติของหญิงต่อความเครียด เหมือนกับที่การตอบสนองหลักของชายเป็นแบบสู้หรือหนี เป็นแบบจำลองทางทฤษฎีที่ตั้งขึ้นโดย ดร. เช็ลลีย์ เทย์เลอร์ และคณะวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในวารสารวิชาการ Psychological Review พิมพ์ในปี พ.ศ. 2543

มูลฐานทางชีวภาพ

ตามทฤษฎี Polyvagal Theory ของ ดร. สตีเฟ็น พอร์จส ระบบประสาทสังคม (Social Nervous System) เป็นวงจรประสาทที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดความผูกพัน (affiliation) โดยเฉพาะเมื่อตอบสนองต่อความเครียด ระบบนี้ควบคุมพฤติกรรมการเข้าหาทางสังคม (social approach behavior) ตัวการทางชีวภาพที่ควบคุมระบบนี้ดูเหมือนจะเป็นฮอร์โมนออกซิโทซิน (oxytocin)

ออกซิโทซินสัมพันธ์กับความสัมพันธ์และกิจกรรมทางสังคมมากมายหลายหลาก รวมทั้งการผูกมิตรในกลุ่มเพื่อน กิจกรรมทางเพศ และการเลือกคบกับบุคคลหรือกลุ่มต่าง ๆ มนุษย์จะปล่อยออกซิโทซินตอบสนองต่อตัวก่อเครียดมากมาย โดยเฉพาะต่อตัวที่อาจจุดชนวนให้สร้างความผูกพันกับคนอื่น ฮอร์โมนเป็นตัวโปรโหมตพฤติกรรมสร้างความผูกพัน รวมทั้ง การที่แม่ดูแลลูก และการผูกมิตรกับเพื่อน และการสร้างความผูกพันภายใต้ความเครียดอย่างหนึ่งก็คือดูแล รวมทั้งป้องกันลูก

การสร้างความผูกพันอาจอยู่ในรูปแบบของการผูกมิตร ซึ่งก็คือหาคนช่วยเหลือทางสังคมเพื่อป้องกันตัวเอง ป้องกันลูก และป้องกันกลุ่มสังคมของตน การตอบสนองทางสังคมต่อภัยเหล่านี้ช่วยลดการตอบสนองทางชีวภาพต่อความเครียด รวมทั้ง ลดอัตราหัวใจเต้น ความดันโลหิต และการทำงานของกลุ่มประสาทแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล (HPA) เช่นลดการหลั่งฮอร์โมนความเครียดคือคอร์ติซอล

หญิงมีโอกาสตอบสนองต่อความเครียดโดยดูแลและผูกมิตรมากกว่าชาย และฮอร์โมนหญิงคือเอสโตรเจนจะเพิ่มผลของออกซิโทซิน ซึ่งเข้ากับความแตกต่างระหว่างเพศของพฤติกรรมนี้ เทียบกับฮอร์โมนเพศชายคือแอนโดรเจนที่ยับยั้งการปล่อยออกซิโทซิน

การดูแลภายใต้ความเครียด

พฤติกรรมตอบสนองต่อความเครียดของสัตว์เพศหญิงที่เพิ่มการรอดชีวิตของลูกจะทำให้ค่าความเหมาะสมของสัตว์สูงขึ้น และดังนั้น เป็นพฤติกรรมที่มีโอกาสตกทอดไปสู่ลูกผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เมื่อมีภัย การป้องกันและปลอบลูกในขณะที่หนีหายเข้าไปในสิ่งแวดล้อมอาจเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของทั้งแม่และลูก เมื่อเผชิญหน้ากับความเครียด หญิงมักตอบสนองโดยดูแลลูก ซึ่งช่วยลดระดับความเครียด งานศึกษาปี 2532 แสดงว่า ในวันที่งานเครียดมาก หญิงจะตอบสนองโดยดูแลลูกเพิ่มขึ้น และโดยเปรียบเทียบกัน พ่อมีโอกาสไม่ยุ่งกับครอบครัวหรือว่าหาเรื่องกับสมาชิกในบ้านมากขึ้นในเย็นวันนั้น นอกจากนั้นแล้ว การถูกต้องทางกายระหว่างแม่กับลูกหลังเหตุการณ์ที่เป็นภัย จะช่วยลดการทำงานของสมองบริเวณแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล (ซึ่งมีหน้าที่ตอบสนองต่อความเครียด) และลดความตื่นตัวของระบบประสาทซิมพาเทติก (ซึ่งโดยทั่วไปเป็นส่วนให้เกิดการตอบสนองโดยสู้หรือหนี)

ฮอร์โมนออกซิโทซินที่ร่างกายปล่อยตอบสนองต่อตัวก่อความเครียดอาจเป็นกลไกการตอบสนองของหญิงโดยดูแลลูก งานศึกษาในแกะตัวเมียแสดงว่า การให้ฮอร์โมนออกซิโทซินจะเสริมพฤติกรรมความเป็นแม่ การให้นมลูกในมนุษย์ ซึ่งสัมพันธ์กับการปล่อยออกซิโทซิน เป็นการปลอบใจทั้งแม่และทารกโดยมีผลต่อสรีรภาพ

การเลี้ยงลูกร่วมกัน

การดูแลและผูกมิตรเป็นกลยุทธ์แบบปรับตัวที่จำเป็น เพื่อช่วยเพิ่มความสำเร็จทางการสืบพันธ์ของหญิงในสัตว์ที่เลี้ยงลูกร่วมกัน (cooperative breeders) สัตว์ที่เลี้ยงลูกร่วมกันเป็นสัตว์อยู่เป็นกลุ่มที่คนช่วยดูแลผู้ไม่ใช่มารดาเป็นสิ่งจำเป็นให้ทารกและเด็กรอดชีวิต สัตว์ที่เลี้ยงลูกร่วมกันรวมทั้งหมาป่า ช้าง สัตว์อันดับวานรที่ไม่ใช่มนุษย์หลายพันธุ์ และมนุษย์ ในบรรดาสัตว์อันดับวานรและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก กระบวนการทางต่อมไร้ท่อและระบบประสาททำให้หญิงดูแลทารก แม้ที่ไม่ใช่ญาติ หลังจากได้รับสัญญาณต่าง ๆ จากทารกเป็นเวลานานพอ หมาป่าตัวเมียที่ไม่ใช่แม่และหมาที่ไม่ได้เลียงบางครั้งจะเริ่มมีนมเพื่อช่วยเลี้ยงลูกของหมาตัวเมียที่เป็นแม่ฝูง

มนุษย์เกิดมาช่วยตนเองไม่ได้ จำเป็นต้องได้การเลี้ยงดูจากพ่อแม่ โตช้า และอาศัยการดูแลของพ่อแม่จนถึงวัยผู้ใหญ่ต้น ๆ และบ่อยครั้งนานกว่านั้น ในช่วงวิวัฒนาการของมนุษย์โดยมาก มนุษย์ได้หาอาหารแบบนักล่า-เก็บของป่า ในบรรดาชุมชนนักล่า-เก็บของป่าที่ไม่ใช้วิธีการคุมกำเนิดปัจจุบัน หญิงจะมีความเท่าเทียมกันสูง และมักจะคลอดลูกประมาณทุก ๆ 4 ปีในช่วงวัยเจริญพันธุ์ และเมื่อคลอดลูก บ่อยครั้งจะมีลูกหลายคนต้องดูแล ผู้ต้องอาศัยผู้ใหญ่เพื่ออาหารและที่อยู่อย่างน้อย 18 ปีหรือมากกว่านั้น กลยุทธ์การสืบพันธุ์เช่นนี้จะวิวัฒนาการขึ้นมาไม่ได้ถ้าหญิงไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น พี่เลี้ยง (คือผู้ช่วยที่ไม่ใช่แม่ของเด็ก) ป้องกัน ให้อาหาร อุ้ม และดูแลเด็ก ซึ่งอาจจะเป็นป้า ลุง พ่อ ย่ายาย พี่น้อง และหญิงอื่น ๆ ในชุมชน

แม้แต่ในสังคมตะวันตกปัจจุบัน พ่อแม่บ่อยครั้งต้องอาศัยญาติ เพื่อน หรือพี่เลี้ยงเด็กเพื่อช่วยดูเด็ก ในปี 2552 มีนักวิชาการที่อ้างว่า การช่วยกันเลี้ยงลูกในมนุษย์อาจเป็นเหตุให้เกิดวิวัฒนาการการปรับตัวทางจิตใจให้ชอบเข้าสังคมมากขึ้น ปรับการรู้จำทางสังคม (social cognition) ปรับสมรรถภาพการรู้คิดเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งความสมัครใจเพื่อแชร์ความรู้สึกในใจ และการมีจุดประสงค์ร่วมกัน กระบวนการทางการรู้คิดที่ชอบสังคมที่เกิดจากการเลี้ยงลูกร่วมกันอาจนำให้เกิดวัฒนธรรมและภาษา

การผูกมิตรเมื่อเครียด

การใช้ชีวิตเป็นกลุ่มมีประโยชน์มากมาย รวมทั้งการป้องกันสัตว์ร้าย และการร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน เพื่อเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ หญิงสร้าง ธำรง และใช้เครือข่ายสังคม โดยเฉพาะมิตรภาพกับหญิงอื่น ในการจัดการบริหารสถานการณ์ที่สร้างความเครียด ในสถานการณ์ที่มีภัย สมาชิกกลุ่มจะเป็นแหล่งให้ความสนับสนุนและความป้องกันสำหรับหญิงและลูก ๆ ของตน งานวิจัยแสดงว่าหญิงมีโอกาสหาคนช่วยเมื่อเกิดความทุกข์สูงกว่า เมื่อเทียบกับชาย

ทั้งหญิงและหญิงวัยรุ่นรายงานว่ามีแหล่งสนับสนุนทางสังคมมากกว่า และมีโอกาสหันหาเพื่อนเพศเดียวกันเพื่อขอความช่วยเหลือมากกว่าชายหรือเด็กชาย โดยเป็นเรื่องที่ข้ามวัฒนธรรมต่าง ๆ หญิงและเด็กหญิงมักจะให้ความช่วยเหลือแก่กันบ่อยครั้งกว่าและดีกว่าชาย และมีโอกาสหาความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากเพื่อนหญิงหรือญาติหญิงอื่น ๆ มากกว่า

หญิงมักจะผูกพันกับหญิงอื่นในสถานการณ์ที่เครียด แต่ว่า ถ้าต้องเลือกระหว่างรอคนเดียวหรือผูกมิตรกับชายแปลกหน้าก่อนแก้ปัญหาในแล็บที่ทำให้เครียด หญิงจะเลือกรอคนเดียว

เครือข่ายสังคมหญิงสามารถให้ความช่วยเหลือเรื่องการดูแลเด็ก การแลกเปลี่ยนทรัพยากร และการป้องกันจากสัตว์ร้าย อันตรายอื่น ๆ และจากคนกลุ่มอื่น ๆ มีนักวิชาการสองพวก (ปี 2535 และ 2543) ทีอ้างว่า กลุ่มสังคมหญิงสามารถให้การป้องกันจากความก้าวร้าวรุกรานจากชาย

มูลฐานทางประสาทร่วมต่อไร้ท่อ

งานศึกษาในมนุษย์และสัตว์ (ทบทวนในปี 2543) แสดงว่า ออกซิโทซินเป็นกลไกทางประสาทร่วมต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine) ของการตอบสนองต่อความเครียดแบบ "ผูกมิตร" ของหญิง การให้ออกซิโทซินกับหนูและสัตว์วงศ์หนูทุ่ง (Microtus ochrogaster) เพิ่มการมาหาสู่กันทางสังคมและการดูแลกันและกัน ลดความเครียด และลดความก้าวร้าว ในมนุษย์ ออกซิโทซินโปรโหมตความรักระหว่างแม่ลูก ระหว่างคู่ และระหว่างเพื่อน การคุยติดต่อกับผู้อื่นหรือได้รับความช่วยเหลือในเวลาที่เครียด ทำให้ระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบประสาทต่อมไร้ท่อตอบสนองต่อความเครียดลดลง แม้ว่า การช่วยเหลือทางสังคมจะช่วยลดการตอบสนองทางสรีรภาพเช่นนี้ทั้งในหญิงชาย แต่ว่า หญิงมีโอกาสสูงกว่าที่จะหาคนช่วยเมื่อเครียด นอกจากนั้นแล้ว การได้รับความช่วยเหลือจากหญิงอีกคนยังช่วยลดความเครียดได้ดีกว่า

ประโยชน์ของความผูกพันภายใต้ความเครียด

ตามนักเขียนท่านหนึ่ง พฤติกรรมผูกพันและการดูแลช่วยลดการตอบสนองต่อความเครียดทางชีวภาพทั้งในพ่อแม่และลูก และดังนั้น ช่วยลดภัยต่อสุขภาพเกี่ยวกับความเครียด ส่วนการผูกมิตร อาจมีประโยชน์มากทั้งทางใจและทางสุขภาพในเวลาเครียด การแยกตัวออกทางสังคมสัมพันธ์กับความเสี่ยงตายที่สูงขึ้นอย่างสำคัญ เทียบกับการสนับสนุนทางสังคมที่สัมพันธ์กับการมีสุขภาพดี รวมทั้งความเสี่ยงป่วยและความตายที่ลดลง

หญิงมีการคาดหมายคงชีพนับแต่เกิดมากกว่าชายในประเทศโดยมากที่สามารถเข้าถึงหมอพยาบาลได้เท่าเทียมกัน ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาความแตกต่างระหว่างหญิงชายเกือบถึง 6 ปี สมมติฐานหนึ่งก็คือว่า การตอบสนองต่อความเครียดของชาย (รวมทั้งความก้าวร้าว การถอนตัวจากสังคม และการใช้สารเสพติด) ทำให้เสี่ยงต่อผลทางสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ และโดยเปรียบเทียบกัน การตอบสนองต่อความเครียดของหญิง ซึ่งรวมการหันหาการสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม อาจช่วยป้องกันสุขภาพ

การแข่งขันเพื่อทรัพยากร

การอยู่เป็นกลุ่มและการผูกพันกับผู้ที่ไม่ใช่เป็นญาติกันและเป็นเพศเดียวกัน (ที่ไม่มีเป้าหมายความสนใจทางพันธุกรรมที่เหมือนกัน) ก็ก่อปัญหาการแข่งขันเพื่อให้ได้ทรัพยากรที่จำกัด เช่น สถานะทางสังคม อาหาร และคู่ ด้วย ความเครียดทางความสัมพันธ์เป็นปัญหาที่สามัญและก่อความเครียดมากที่สุดสำหรับหญิง

แม้ว่า การตอบสนองต่อความเครียดโดยการผูกมิตรอาจจะทำงานเป็นพิเศษในหญิงภายใต้สถานการณ์ที่ขาดอาหาร แต่การขาดทรัพยากรก็ยังสร้างการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้นเพื่อได้ทรัพยากรเหล่านั้น ในสถานการณ์ที่มีหญิงมากกว่าชาย ในที่ที่ชายกลายเป็นทรัพยากรที่จำกัดกว่า การแข่งขันระหว่างหญิงจะหนักขึ้น บางครั้งจนถึงความรุนแรง

แม้ว่าอัตราอาชญากรรมของชายจะมากกว่าหญิง การถูกจับเพราะทำร้ายร่างกายในหญิงมีการกระจายตัวตามอายุเหมือนกับชาย โดยถึงจุดยอดสุดในหญิงปลายวัยรุ่นจนถึงประมาณอายุ 25 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่หญิงมีศักยภาพสูงสุดในการสืบพันธุ์ และจะประสบกับการแข่งขันเพื่อคู่มากที่สุด

ดังนั้น ประโยชน์ของความผูกพันจะต้องมีค่ามากกว่าราคาเพื่อที่พฤติกรรมเยี่ยงนี้จะเกิดวิวัฒนาการได้

ความแข่งขันและความก้าวร้าว

อัตราความก้าวร้าวระหว่างมนุษย์ชายและหญิงอาจจะไม่ต่างกัน แต่ว่า รูปแบบความก้าวร้าวระหว่างเพศก็ต่างกัน โดยทั่วไป แม้ว่าหญิงจะแสดงความก้าวร้าวทางกายน้อยกว่า แต่ก็มักจะแสดงโดยทางอ้อมเท่ากันหรือมากกว่า เช่น การกีดกันจากสังคม การนินทา การปล่อยข่าวลือ และการว่าร้าย เมื่อจัดให้มีแรงจูงใจในเรื่องคู่หรือการแข่งขันทางสถานะในการทดลองภายในสถานการณ์ที่สร้างความก้าวร้าว ชายมักจะเลือกแสดงความก้าวร้าวโดยตรงกับชายอีกคนหนึ่ง เทียบกับหญิงที่แสดงโดยอ้อมกับหญิงอีกคนหนึ่ง

แต่ว่า การจัดให้แข่งขันเพื่อทรัพยากรจะเพิ่มความก้าวร้าวโดยตรงทั้งในหญิงชาย และเข้ากับผลที่พบนี้ อัตราความรุนแรงและอาชญากรรมจะสูงกว่าทั้งในหญิงชายเมื่อทรัพยากรขาดแคลน

โดยเปรียบเทียบกัน การแข่งขันเพื่อทรัพยากรจะไม่เพิ่มความก้าวร้าวโดยตรงทั้งในหญิงชาย ถ้าให้จินตนาการว่าตนแต่งงานและมีลูกเล็กคนหนึ่ง เพราะว่า การได้รับความบาดเจ็บทางกายต่อพ่อหรือแม่จะเป็นราคาสำหรับครอบครัว

ความแปรปรวน (variance) ที่ต่ำกว่าในความสำเร็จของการสืบพันธุ์ และราคาที่สูงกว่าเมื่อใช้ความก้าวร้าวทางกาย อาจอธิบายอัตราความก้าวร้าวทางกายในระหว่างหญิงเทียบกับชาย คือ หญิงโดยทั่วไปมีโอกาสมีลูกในชีวิตมากกว่าชาย ดังนั้น การต่อสู้แล้วเสี่ยงบาดเจ็บหรือตายจะเป็นราคาความเหมาะสมที่สูงสำหรับหญิง นอกจากนั้นแล้ว การรอดชีวิตของเด็กเล็ก ๆ ยังพึ่งแม่มากกว่าพ่อ ซึ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของความปลอดภัย การรอดชีวิต และการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของแม่ ทารกโดยหลักจะติดแม่ และการตายของแม่เพิ่มโอกาสความตายในวัยเด็กในสังคมนักล่า-เก็บของป่า 5 เท่าตัว เทียบกับ 3 เท่าตัวถ้าพ่อตาย ดังนั้น หญิงจึงตอบสนองต่อภัยโดยดูแลและผูกมิตร และความก้าวร้าวของหญิงบ่อยครั้งเป็นแบบอ้อมหรือแบบแอบแฝงโดยธรรมชาติก็เพื่อเลี่ยงการแก้เผ็ดหรือการบาดเจ็บทางกาย

การสู้กันด้วยปาก

หญิงผูกมิตรกับคนอื่นไม่ใช่เพื่อความปลอดภัยอย่างเดียว แต่เพื่อสร้างพันธมิตรเพื่อแข่งขันกับสมาชิกของกลุ่มอื่นเพื่อทรัพยากร เช่น อาหาร คู่ และทรัพยากรทางสังคมและวัฒนธรรม (เช่น สถานะ ตำแหน่งทางสังคม สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบ) การสู้กันด้วยปากเป็นกลยุทธ์การแข่งขันในรูปแบบของความก้าวร้าวทางวาจาโดยอ้อมต่อคู่แข่ง การนินทา (gossip) เป็นกลยุทธ์หนึ่ง ซึ่งกระจายข่าวที่ทำชื่อเสียงของคู่แข่งให้เสียหาย มีทฤษฎีหลายอย่างเกี่ยวกับการนินทา รวมทั้งเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์กันทางสังคม และเป็นการรวมกลุ่ม

แต่ว่า เข้ากับทฤษฎีทางสงครามข้อมูล (informational warfare) เนื้อความของสิ่งที่นินทาจะต้องเข้าประเด็นกับสถานการณ์ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากำลังแข่งขันเพื่อตำแหน่งในที่ทำงาน คนมักจะกระจายข่าวไม่ดีเกี่ยวกับงานของคู่แข่งให้เพื่อนร่วมงาน

การนินทาว่าร้ายยังเพิ่มขึ้นตามความขาดแคลนทางทรัพยากรหรือตามค่าของทรัพยากรด้วย นอกจากนั้นแล้ว คนมักจะกระจายข่าวร้ายเกี่ยวกับคู่แข่งแต่มักจะกระจ่ายข่าวดีเกี่ยวกับสมาชิกครอบครัวและเพื่อน และดังที่ได้กล่าวแล้ว การผูกมิตรจะช่วยป้องกันหญิงจากอันตราย รวมทั้งความมุ่งร้ายจากผู้อื่น ๆ ซึ่งไม่จำกัดเพียงแค่การทำร้ายทางกายแต่รวมการเสียชื่อเสียงทางสังคมด้วย ดังนั้น หญิงผูกมิตรและสร้างพันธมิตรส่วนหนึ่งก็เพื่อแข่งขันเพื่อได้ทรัพยากรที่จำกัด และส่วนหนึ่งก็เพื่อป้องกันตัวเองจากอันตรายต่อความสัมพันธ์หรือชื่อเสียง

การมีเพื่อนหรือพันธมิตรช่วยขัดขวางการนินทาว่าร้าย เพราะพันธมิตรมีสมรรถภาพที่จะเอาคืนสูงกว่าสมรรถภาพของบุคคลคนเดียว งานวิจัยปี 2552 พบว่า การอยู่ด้วยของเพื่อนคู่แข่งลดความโน้มเอียงที่จะนินทาคู่แข่ง และผลนี้จะแรงกว่าถ้าเพื่อนมาจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกัน (เช่น ในที่ทำงานเดียวกัน) เทียบกับเพื่อนที่มาจากกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เพื่อนช่วยเพิ่มความรู้สึกว่าหญิงนั้นมีสมรรถภาพในการทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งและในการป้องกันการก้าวร้าวโดยอ้อมอื่น ๆ

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. Taylor, Shelley E.; Klein, Laura Cousino; Lewis, Brian P.; Gruenewald, Tara L.; Gurung, Regan A. R.; Updegraff, John A. (2000). "Biobehavioral responses to stress in females: Tend-and-befriend, not fight-or-flight". Psychological Review. 107 (3): 411–29. doi:10.1037/0033-295X.107.3.411. PMID 10941275.
  2. Porges, S. W. (2001). "The Polyvagal Theory: Phylogenetic substrates of a social nervous system". International Journal of Psychophysiology. 42: 123–146. doi:10.1016/s0167-8760(01)00162-3.
  3. Carter, CS; Lederhendler, II; Kirkpatrick, B, บ.ก. (1999). The integrative neurobiology of affiliation. Cambridge, Mass: MIT Press.CS1 maint: uses editors parameter (link)[ต้องการหน้า]
  4. Insel, Thomas R. (1997). "A Neurobiological Basis of Social Attachment". American Journal of Psychiatry. 154 (6): 726–35. PMID 9167498.
  5. Light, Kathleen C.; Smith, Tara E.; Johns, Josephine M.; Brownley, Kimberly A.; Hofheimer, Julie A.; Amico, Janet A. (2000). "Oxytocin responsivity in mothers of infants: A preliminary study of relationships with blood pressure during laboratory stress and normal ambulatory activity". Health Psychology. 19 (6): 560–7. doi:10.1037/0278-6133.19.6.560. PMID 11129359.
  6. McCarthy, MM (1995). "Estrogen modulation of oxytocin and its relation to behavior". Advances in experimental medicine and biology. 395: 235–45. PMID 8713972.
  7. Repetti, R. L. (1989). "Effects of daily workload on subsequent behavior during marital interactions: The role of social withdrawal and spouse support". Journal of Personality and Social Psychology. 57: 651–659. doi:10.1037/0022-3514.57.4.651.
  8. Gunnar, M. R.; Gonzales, C. A.; Goodlin, B. L.; Levine, S. (1981). "Behavioral and pituitary-adrenal responses during a prolonged separation period in rhesus monkeys". Psychoneuroimmunology. 6: 65–75. doi:10.1016/0306-4530(81)90049-4.
  9. Kendrick, K. M.; Keverne, E. B.; Baldwin, B. A. (1987). "Intracerebroventricular oxytocin stimulates maternal behaviour in the sheep". Neuroendocrinology. 46: 56–61. doi:10.1159/000124796.
  10. Burkart, J. M.; Hrdy, S. B.; Van Schaik, C. P. (2009-09). "Cooperative breeding and human cognitive evolution". Evolutionary Anthropology: Issues, News, and Reviews. 18 (5): 175–186. doi:10.1002/evan.20222. Check date values in: |date= (help)
  11. Hrdy, S. B. "Mothers and Others". Natural History Magazine.
  12. Tamres, Lisa K.; Janicki, Denise; Helgeson, Vicki S. (2002). "Sex Differences in Coping Behavior: A Meta-Analytic Review and an Examination of Relative Coping". Personality and Social Psychology Review. 6: 2–30. doi:10.1207/S15327957PSPR0601_1.
  13. Whiting, B.; Whiting, J. (1975). Children of six cultures. Cambridge, MA: Harvard University Press.
  14. Smuts, B. (1992). "Male aggression against women: An evolutionary perspective". Human Nature. 3: 1–44. doi:10.1007/bf02692265.
  15. Gerin, W.; Milner, D.; Chawla, S.; และคณะ. "Social support as a moderator of cardiovascular reactivity: A test of the direct effects and buffering hypothesis". Psychosomatic Medicine. 57: 16–22. doi:10.1097/00006842-199501000-00003.
  16. Taylor, S.E. (2002). The tending instinct: How nurturing is essential to who we are and how we live. New York: Henry Holt and Company.CS1 maint: uses authors parameter (link)[ต้องการหน้า]
  17. Cohen, Sheldon; Wills, Thomas A. (1985). "Stress, social support, and the buffering hypothesis". Psychological Bulletin. 98 (2): 310–57. doi:10.1037/0033-2909.98.2.310. PMID 3901065.
  18. "WHO Life expectancy data by country". WHO. 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-06-01.
  19. Verbrugge, Lois M. (1985). "Gender and Health: An Update on Hypotheses and Evidence". Journal of Health and Social Behavior. 26 (3): 156–82. doi:10.2307/2136750. JSTOR 2136750. PMID 3905939.
  20. Davis, M. C.; Matthews, K. A.; Twamley, E. W. (1999). "Is life more difficult on Mars or Venus? A meta-analytic review of sex differences in major and minor life events". Annals of Behavioral Medicine. 21: 83–97. doi:10.1007/bf02895038.
  21. Campbell, A. (1995). "A few good men: Evolutionary psychology and female adolescent aggression". Ethology and Sociobiology. 16: 99–123. doi:10.1016/0162-3095(94)00072-f.
  22. Bjorkqvist, K.; Niemela, P., บ.ก. (1992). Of mice and women: Aspects of female aggression. San Diego, CA: Academic Press.
  23. Griskevicius, Vladas; และคณะ (2009). "Aggress to Impress: Hostility as an Evolved Context-Dependent Strategy". Journal of Personality and Social Psychology. 96 (5): 980–994. doi:10.1037/a0013907.
  24. Campbell, A. (1999). "Staying alive: Evolution, culture, and women's intrasexual aggression". Behavioral and Brain Sciences. 22: 203–252. doi:10.1017/s0140525x99001818. PMID 11301523.
  25. Hess, Nicole; Hagen, Edward (2002). "Informational warfare: Coalitional gossiping as a strategy for within-group aggression". Cogprints.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Aronson, E., Wilson, T.D., & Akert, R.M. (2005). Social Psychology. (5th ed.) Upper Saddle River, NJ: Pearson Education, Inc.
  • Friedman, H.S., & Silver, R.C. (Eds.) (2007). Foundations of Health Psychology. New York: Oxford University Press.
  • Gurung, R.A.R. (2006). Health Psychology: A Cultural Approach. Belmont, CA: Thomson Wadsworth.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • "Tend and Befriend", Nancy K. Dess, Psychology Today

การด, แลและหาเพ, อน, งกฤษ, tend, befriend, เป, นพฤต, กรรมของส, ตว, บางชน, ดรวมท, งมน, ษย, เพ, อตอบสนองต, อภ, ยโดยป, องก, นหร, อด, แลเล, ยงล, tend, และโดยหาพวกหร, อกล, มส, งคมเพ, อช, วยป, องก, นให, นและก, befriend, สมมต, ฐานว, าพฤต, กรรมน, เป, นการตอบสนองปกต, ข. karduaelaelahaephuxn xngkvs Tend and befriend epnphvtikrrmkhxngstwbangchnidrwmthngmnusy ephuxtxbsnxngtxphyodypxngknhruxduaeleliyngluk tend aelaodyhaphwkhruxklumsngkhmephuxchwypxngknihknaelakn befriend mismmtithanwaphvtikrrmniepnkartxbsnxngpktikhxnghyingtxkhwamekhriyd ehmuxnkbthikartxbsnxnghlkkhxngchayepnaebbsuhruxhni epnaebbcalxngthangthvsdithitngkhunody dr echlliy ethyelxr aelakhnawicythimhawithyalyaekhlifxreniy lxsaexneclis aelaklawthungepnkhrngaerkinwarsarwichakar Psychological Review phimphinpi ph s 2543 1 enuxha 1 multhanthangchiwphaph 2 karduaelphayitkhwamekhriyd 2 1 kareliynglukrwmkn 3 karphukmitremuxekhriyd 3 1 multhanthangprasathrwmtxirthx 3 2 praoychnkhxngkhwamphukphnphayitkhwamekhriyd 3 3 karaekhngkhnephuxthrphyakr 3 3 1 khwamaekhngkhnaelakhwamkawraw 3 3 1 1 karsukndwypak 4 duephim 5 echingxrrthaelaxangxing 6 aehlngkhxmulxun 7 aehlngkhxmulxunmulthanthangchiwphaph aekikhtamthvsdi Polyvagal Theory khxng dr stiefn phxrcs rabbprasathsngkhm Social Nervous System epnwngcrprasaththithanganrwmknephuxihekidkhwamphukphn affiliation odyechphaaemuxtxbsnxngtxkhwamekhriyd 2 rabbnikhwbkhumphvtikrrmkarekhahathangsngkhm social approach behavior twkarthangchiwphaphthikhwbkhumrabbniduehmuxncaepnhxromnxxksiothsin oxytocin 3 xxksiothsinsmphnthkbkhwamsmphnthaelakickrrmthangsngkhmmakmayhlayhlak rwmthngkarphukmitrinklumephuxn kickrrmthangephs aelakareluxkkhbkbbukhkhlhruxklumtang 3 mnusycaplxyxxksiothsintxbsnxngtxtwkxekhriydmakmay odyechphaatxtwthixaccudchnwnihsrangkhwamphukphnkbkhnxun hxromnepntwoprohmtphvtikrrmsrangkhwamphukphn rwmthng karthiaemduaelluk aelakarphukmitrkbephuxn 4 aelakarsrangkhwamphukphnphayitkhwamekhriydxyanghnungkkhuxduael rwmthngpxngknlukkarsrangkhwamphukphnxacxyuinrupaebbkhxngkarphukmitr sungkkhuxhakhnchwyehluxthangsngkhmephuxpxngkntwexng pxngknluk aelapxngknklumsngkhmkhxngtn kartxbsnxngthangsngkhmtxphyehlanichwyldkartxbsnxngthangchiwphaphtxkhwamekhriyd rwmthng ldxtrahwicetn khwamdnolhit aelakarthangankhxngklumprasathaeknihopthalams phithuxithari xadrinl HPA echnldkarhlnghxromnkhwamekhriydkhuxkhxrtisxl 5 hyingmioxkastxbsnxngtxkhwamekhriydodyduaelaelaphukmitrmakkwachay aelahxromnhyingkhuxexsotrecncaephimphlkhxngxxksiothsin sungekhakbkhwamaetktangrahwangephskhxngphvtikrrmni ethiybkbhxromnephschaykhuxaexnodrecnthiybyngkarplxyxxksiothsin 6 karduaelphayitkhwamekhriyd aekikhphvtikrrmtxbsnxngtxkhwamekhriydkhxngstwephshyingthiephimkarrxdchiwitkhxnglukcathaihkhakhwamehmaasmkhxngstwsungkhun aeladngnn epnphvtikrrmthimioxkastkthxdipsulukphankrabwnkarkhdeluxkodythrrmchati 1 emuxmiphy karpxngknaelaplxblukinkhnathihnihayekhaipinsingaewdlxmxacephimoxkasrxdchiwitkhxngthngaemaelaluk emuxephchiyhnakbkhwamekhriyd hyingmktxbsnxngodyduaelluk sungchwyldradbkhwamekhriyd ngansuksapi 2532 aesdngwa inwnthinganekhriydmak hyingcatxbsnxngodyduaellukephimkhun 7 aelaodyepriybethiybkn phxmioxkasimyungkbkhrxbkhrwhruxwahaeruxngkbsmachikinbanmakkhunineynwnnn nxkcaknnaelw karthuktxngthangkayrahwangaemkblukhlngehtukarnthiepnphy cachwyldkarthangankhxngsmxngbriewnaeknihopthalams phithuxithari xadrinl sungmihnathitxbsnxngtxkhwamekhriyd aelaldkhwamtuntwkhxngrabbprasathsimphaethtik sungodythwipepnswnihekidkartxbsnxngodysuhruxhni 8 hxromnxxksiothsinthirangkayplxytxbsnxngtxtwkxkhwamekhriydxacepnklikkartxbsnxngkhxnghyingodyduaelluk ngansuksainaekatwemiyaesdngwa karihhxromnxxksiothsincaesrimphvtikrrmkhwamepnaem 9 karihnmlukinmnusy sungsmphnthkbkarplxyxxksiothsin epnkarplxbicthngaemaelatharkodymiphltxsrirphaph 1 kareliynglukrwmkn aekikh karduaelaelaphukmitrepnklyuththaebbprbtwthicaepn ephuxchwyephimkhwamsaercthangkarsubphnthkhxnghyinginstwthieliynglukrwmkn cooperative breeders stwthieliynglukrwmknepnstwxyuepnklumthikhnchwyduaelphuimichmardaepnsingcaepnihtharkaelaedkrxdchiwit 10 stwthieliynglukrwmknrwmthnghmapa chang stwxndbwanrthiimichmnusyhlayphnthu aelamnusy inbrrdastwxndbwanraelastweliynglukdwynmodymak krabwnkarthangtxmirthxaelarabbprasaththaihhyingduaelthark aemthiimichyati hlngcakidrbsyyantang caktharkepnewlananphx 11 hmapatwemiythiimichaemaelahmathiimideliyngbangkhrngcaerimminmephuxchwyeliynglukkhxnghmatwemiythiepnaemfungmnusyekidmachwytnexngimid caepntxngidkareliyngducakphxaem otcha aelaxasykarduaelkhxngphxaemcnthungwyphuihytn aelabxykhrngnankwann 11 inchwngwiwthnakarkhxngmnusyodymak mnusyidhaxaharaebbnkla ekbkhxngpa inbrrdachumchnnkla ekbkhxngpathiimichwithikarkhumkaenidpccubn hyingcamikhwamethaethiymknsung aelamkcakhlxdlukpramanthuk 4 piinchwngwyecriyphnthu 11 aelaemuxkhlxdluk bxykhrngcamilukhlaykhntxngduael phutxngxasyphuihyephuxxaharaelathixyuxyangnxy 18 pihruxmakkwann klyuththkarsubphnthuechnnicawiwthnakarkhunmaimidthahyingimidrbkhwamchwyehluxcakphuxun phieliyng khuxphuchwythiimichaemkhxngedk pxngkn ihxahar xum aeladuaeledk 11 sungxaccaepnpa lung phx yayay phinxng aelahyingxun inchumchnaemaetinsngkhmtawntkpccubn phxaembxykhrngtxngxasyyati ephuxn hruxphieliyngedkephuxchwyduedk inpi 2552 minkwichakarthixangwa karchwykneliynglukinmnusyxacepnehtuihekidwiwthnakarkarprbtwthangciticihchxbekhasngkhmmakkhun prbkarrucathangsngkhm social cognition prbsmrrthphaphkarrukhidephuxpraoychnswnrwm rwmthngkhwamsmkhricephuxaechrkhwamrusukinic aelakarmicudprasngkhrwmkn 10 krabwnkarthangkarrukhidthichxbsngkhmthiekidcakkareliynglukrwmknxacnaihekidwthnthrrmaelaphasakarphukmitremuxekhriyd aekikhkarichchiwitepnklummipraoychnmakmay rwmthngkarpxngknstwray aelakarrwmmuxknephuxbrrluepahmayediywkn ephuxekhathungthrphyakrthrrmchati hyingsrang tharng aelaichekhruxkhaysngkhm odyechphaamitrphaphkbhyingxun inkarcdkarbriharsthankarnthisrangkhwamekhriyd 1 insthankarnthimiphy smachikklumcaepnaehlngihkhwamsnbsnunaelakhwampxngknsahrbhyingaelaluk khxngtn nganwicyaesdngwahyingmioxkashakhnchwyemuxekidkhwamthukkhsungkwa emuxethiybkbchay 12 thnghyingaelahyingwyrunraynganwamiaehlngsnbsnunthangsngkhmmakkwa aelamioxkashnhaephuxnephsediywknephuxkhxkhwamchwyehluxmakkwachayhruxedkchay odyepneruxngthikhamwthnthrrmtang hyingaelaedkhyingmkcaihkhwamchwyehluxaekknbxykhrngkwaaeladikwachay aelamioxkashakhwamchwyehluxaelakarsnbsnuncakephuxnhyinghruxyatihyingxun makkwa 13 hyingmkcaphukphnkbhyingxuninsthankarnthiekhriyd aetwa thatxngeluxkrahwangrxkhnediywhruxphukmitrkbchayaeplkhnakxnaekpyhainaelbthithaihekhriyd hyingcaeluxkrxkhnediyw 1 ekhruxkhaysngkhmhyingsamarthihkhwamchwyehluxeruxngkarduaeledk karaelkepliynthrphyakr aelakarpxngkncakstwray xntrayxun aelacakkhnklumxun minkwichakarsxngphwk pi 2535 aela 2543 thixangwa klumsngkhmhyingsamarthihkarpxngkncakkhwamkawrawrukrancakchay 1 14 multhanthangprasathrwmtxirthx aekikh ngansuksainmnusyaelastw thbthwninpi 2543 1 aesdngwa xxksiothsinepnklikthangprasathrwmtxmirthx neuroendocrine khxngkartxbsnxngtxkhwamekhriydaebb phukmitr khxnghying karihxxksiothsinkbhnuaelastwwngshnuthung Microtus ochrogaster ephimkarmahasuknthangsngkhmaelakarduaelknaelakn ldkhwamekhriyd aelaldkhwamkawraw inmnusy xxksiothsinoprohmtkhwamrkrahwangaemluk rahwangkhu aelarahwangephuxn karkhuytidtxkbphuxunhruxidrbkhwamchwyehluxinewlathiekhriyd thaihrabbprasathsimphaethtikaelarabbprasathtxmirthxtxbsnxngtxkhwamekhriydldlng aemwa karchwyehluxthangsngkhmcachwyldkartxbsnxngthangsrirphaphechnnithnginhyingchay aetwa hyingmioxkassungkwathicahakhnchwyemuxekhriyd nxkcaknnaelw karidrbkhwamchwyehluxcakhyingxikkhnyngchwyldkhwamekhriydiddikwa 15 praoychnkhxngkhwamphukphnphayitkhwamekhriyd aekikh tamnkekhiynthanhnung phvtikrrmphukphnaelakarduaelchwyldkartxbsnxngtxkhwamekhriydthangchiwphaphthnginphxaemaelaluk aeladngnn chwyldphytxsukhphaphekiywkbkhwamekhriyd 16 swnkarphukmitr xacmipraoychnmakthngthangicaelathangsukhphaphinewlaekhriyd karaeyktwxxkthangsngkhmsmphnthkbkhwamesiyngtaythisungkhunxyangsakhy ethiybkbkarsnbsnunthangsngkhmthismphnthkbkarmisukhphaphdi rwmthngkhwamesiyngpwyaelakhwamtaythildlng 17 hyingmikarkhadhmaykhngchiphnbaetekidmakkwachayinpraethsodymakthisamarthekhathunghmxphyabalidethaethiymkn 18 yktwxyangechn inpraethsshrthxemrikakhwamaetktangrahwanghyingchayekuxbthung 6 pi smmtithanhnungkkhuxwa kartxbsnxngtxkhwamekhriydkhxngchay rwmthngkhwamkawraw karthxntwcaksngkhm aelakarichsaresphtid thaihesiyngtxphlthangsukhphaphthiimphungprasngkh 19 aelaodyepriybethiybkn kartxbsnxngtxkhwamekhriydkhxnghying sungrwmkarhnhakarsnbsnunchwyehluxthangsngkhm xacchwypxngknsukhphaph karaekhngkhnephuxthrphyakr aekikh karxyuepnklumaelakarphukphnkbphuthiimichepnyatiknaelaepnephsediywkn thiimmiepahmaykhwamsnicthangphnthukrrmthiehmuxnkn kkxpyhakaraekhngkhnephuxihidthrphyakrthicakd echn sthanathangsngkhm xahar aelakhu dwy khwamekhriydthangkhwamsmphnthepnpyhathisamyaelakxkhwamekhriydmakthisudsahrbhying 20 aemwa kartxbsnxngtxkhwamekhriydodykarphukmitrxaccathanganepnphiessinhyingphayitsthankarnthikhadxahar 1 aetkarkhadthrphyakrkyngsrangkaraekhngkhnthirunaerngyingkhunephuxidthrphyakrehlann insthankarnthimihyingmakkwachay inthithichayklayepnthrphyakrthicakdkwa karaekhngkhnrahwanghyingcahnkkhun bangkhrngcnthungkhwamrunaerng 21 aemwaxtraxachyakrrmkhxngchaycamakkwahying karthukcbephraatharayrangkayinhyingmikarkracaytwtamxayuehmuxnkbchay odythungcudyxdsudinhyingplaywyruncnthungpramanxayu 25 pi sungepnchwngxayuthihyingmiskyphaphsungsudinkarsubphnthu aelacaprasbkbkaraekhngkhnephuxkhumakthisuddngnn praoychnkhxngkhwamphukphncatxngmikhamakkwarakhaephuxthiphvtikrrmeyiyngnicaekidwiwthnakarid khwamaekhngkhnaelakhwamkawraw aekikh xtrakhwamkawrawrahwangmnusychayaelahyingxaccaimtangkn aetwa rupaebbkhwamkawrawrahwangephsktangkn odythwip aemwahyingcaaesdngkhwamkawrawthangkaynxykwa aetkmkcaaesdngodythangxxmethaknhruxmakkwa echn karkidkncaksngkhm karnintha karplxykhawlux aelakarwaray 22 emuxcdihmiaerngcungicineruxngkhuhruxkaraekhngkhnthangsthanainkarthdlxngphayinsthankarnthisrangkhwamkawraw chaymkcaeluxkaesdngkhwamkawrawodytrngkbchayxikkhnhnung ethiybkbhyingthiaesdngodyxxmkbhyingxikkhnhnung 23 aetwa karcdihaekhngkhnephuxthrphyakrcaephimkhwamkawrawodytrngthnginhyingchay aelaekhakbphlthiphbni xtrakhwamrunaerngaelaxachyakrrmcasungkwathnginhyingchayemuxthrphyakrkhadaekhln 24 odyepriybethiybkn karaekhngkhnephuxthrphyakrcaimephimkhwamkawrawodytrngthnginhyingchay thaihcintnakarwatnaetngnganaelamilukelkkhnhnung ephraawa karidrbkhwambadecbthangkaytxphxhruxaemcaepnrakhasahrbkhrxbkhrwkhwamaeprprwn variance thitakwainkhwamsaerckhxngkarsubphnthu aelarakhathisungkwaemuxichkhwamkawrawthangkay xacxthibayxtrakhwamkawrawthangkayinrahwanghyingethiybkbchay 24 khux hyingodythwipmioxkasmilukinchiwitmakkwachay dngnn kartxsuaelwesiyngbadecbhruxtaycaepnrakhakhwamehmaasmthisungsahrbhying nxkcaknnaelw karrxdchiwitkhxngedkelk yngphungaemmakkwaphx sungennihehnkhwamsakhykhxngkhwamplxdphy karrxdchiwit aelakarhlikeliyngkhwamesiyngkhxngaem 24 tharkodyhlkcatidaem aelakartaykhxngaemephimoxkaskhwamtayinwyedkinsngkhmnkla ekbkhxngpa 5 ethatw ethiybkb 3 ethatwthaphxtay 24 dngnn hyingcungtxbsnxngtxphyodyduaelaelaphukmitr aelakhwamkawrawkhxnghyingbxykhrngepnaebbxxmhruxaebbaexbaefngodythrrmchatikephuxeliyngkaraekephdhruxkarbadecbthangkay karsukndwypak aekikh hyingphukmitrkbkhnxunimichephuxkhwamplxdphyxyangediyw aetephuxsrangphnthmitrephuxaekhngkhnkbsmachikkhxngklumxunephuxthrphyakr echn xahar khu aelathrphyakrthangsngkhmaelawthnthrrm echn sthana taaehnngthangsngkhm siththiaelahnathirbphidchxb karsukndwypakepnklyuththkaraekhngkhninrupaebbkhxngkhwamkawrawthangwacaodyxxmtxkhuaekhng 25 karnintha gossip epnklyuththhnung sungkracaykhawthithachuxesiyngkhxngkhuaekhngihesiyhay mithvsdihlayxyangekiywkbkarnintha rwmthngepnkarechuxmkhwamsmphnthknthangsngkhm aelaepnkarrwmklumaetwa ekhakbthvsdithangsngkhramkhxmul informational warfare enuxkhwamkhxngsingthininthacatxngekhapraednkbsthankarn yktwxyangechn thakalngaekhngkhnephuxtaaehnnginthithangan khnmkcakracaykhawimdiekiywkbngankhxngkhuaekhngihephuxnrwmngan 25 karninthawarayyngephimkhuntamkhwamkhadaekhlnthangthrphyakrhruxtamkhakhxngthrphyakrdwy nxkcaknnaelw khnmkcakracaykhawrayekiywkbkhuaekhngaetmkcakracaykhawdiekiywkbsmachikkhrxbkhrwaelaephuxn aeladngthiidklawaelw karphukmitrcachwypxngknhyingcakxntray rwmthngkhwammungraycakphuxun sungimcakdephiyngaekhkartharaythangkayaetrwmkaresiychuxesiyngthangsngkhmdwy dngnn hyingphukmitraelasrangphnthmitrswnhnungkephuxaekhngkhnephuxidthrphyakrthicakd aelaswnhnungkephuxpxngkntwexngcakxntraytxkhwamsmphnthhruxchuxesiyngkarmiephuxnhruxphnthmitrchwykhdkhwangkarninthawaray ephraaphnthmitrmismrrthphaphthicaexakhunsungkwasmrrthphaphkhxngbukhkhlkhnediyw nganwicypi 2552 phbwa karxyudwykhxngephuxnkhuaekhngldkhwamonmexiyngthicaninthakhuaekhng 25 aelaphlnicaaerngkwathaephuxnmacaksingaewdlxmthangsngkhmthiekiywkhxngkn echn inthithanganediywkn ethiybkbephuxnthimacakklumthiimekiywkhxngkn ephuxnchwyephimkhwamrusukwahyingnnmismrrthphaphinkarthalaychuxesiyngkhxngkhuaekhngaelainkarpxngknkarkawrawodyxxmxun duephim aekikhkarrbmux citwithya kartxbsnxngodysuhruxhni citwithyaechingbwkechingxrrthaelaxangxing aekikh 1 0 1 1 1 2 1 3 1 4 1 5 1 6 1 7 Taylor Shelley E Klein Laura Cousino Lewis Brian P Gruenewald Tara L Gurung Regan A R Updegraff John A 2000 Biobehavioral responses to stress in females Tend and befriend not fight or flight Psychological Review 107 3 411 29 doi 10 1037 0033 295X 107 3 411 PMID 10941275 Porges S W 2001 The Polyvagal Theory Phylogenetic substrates of a social nervous system International Journal of Psychophysiology 42 123 146 doi 10 1016 s0167 8760 01 00162 3 3 0 3 1 Carter CS Lederhendler II Kirkpatrick B b k 1999 The integrative neurobiology of affiliation Cambridge Mass MIT Press CS1 maint uses editors parameter link txngkarhna Insel Thomas R 1997 A Neurobiological Basis of Social Attachment American Journal of Psychiatry 154 6 726 35 PMID 9167498 Light Kathleen C Smith Tara E Johns Josephine M Brownley Kimberly A Hofheimer Julie A Amico Janet A 2000 Oxytocin responsivity in mothers of infants A preliminary study of relationships with blood pressure during laboratory stress and normal ambulatory activity Health Psychology 19 6 560 7 doi 10 1037 0278 6133 19 6 560 PMID 11129359 McCarthy MM 1995 Estrogen modulation of oxytocin and its relation to behavior Advances in experimental medicine and biology 395 235 45 PMID 8713972 Repetti R L 1989 Effects of daily workload on subsequent behavior during marital interactions The role of social withdrawal and spouse support Journal of Personality and Social Psychology 57 651 659 doi 10 1037 0022 3514 57 4 651 Gunnar M R Gonzales C A Goodlin B L Levine S 1981 Behavioral and pituitary adrenal responses during a prolonged separation period in rhesus monkeys Psychoneuroimmunology 6 65 75 doi 10 1016 0306 4530 81 90049 4 Kendrick K M Keverne E B Baldwin B A 1987 Intracerebroventricular oxytocin stimulates maternal behaviour in the sheep Neuroendocrinology 46 56 61 doi 10 1159 000124796 10 0 10 1 Burkart J M Hrdy S B Van Schaik C P 2009 09 Cooperative breeding and human cognitive evolution Evolutionary Anthropology Issues News and Reviews 18 5 175 186 doi 10 1002 evan 20222 Check date values in date help 11 0 11 1 11 2 11 3 Hrdy S B Mothers and Others Natural History Magazine Tamres Lisa K Janicki Denise Helgeson Vicki S 2002 Sex Differences in Coping Behavior A Meta Analytic Review and an Examination of Relative Coping Personality and Social Psychology Review 6 2 30 doi 10 1207 S15327957PSPR0601 1 Whiting B Whiting J 1975 Children of six cultures Cambridge MA Harvard University Press Smuts B 1992 Male aggression against women An evolutionary perspective Human Nature 3 1 44 doi 10 1007 bf02692265 Gerin W Milner D Chawla S aelakhna Social support as a moderator of cardiovascular reactivity A test of the direct effects and buffering hypothesis Psychosomatic Medicine 57 16 22 doi 10 1097 00006842 199501000 00003 Taylor S E 2002 The tending instinct How nurturing is essential to who we are and how we live New York Henry Holt and Company CS1 maint uses authors parameter link txngkarhna Cohen Sheldon Wills Thomas A 1985 Stress social support and the buffering hypothesis Psychological Bulletin 98 2 310 57 doi 10 1037 0033 2909 98 2 310 PMID 3901065 WHO Life expectancy data by country WHO 2012 subkhnemux 2013 06 01 Verbrugge Lois M 1985 Gender and Health An Update on Hypotheses and Evidence Journal of Health and Social Behavior 26 3 156 82 doi 10 2307 2136750 JSTOR 2136750 PMID 3905939 Davis M C Matthews K A Twamley E W 1999 Is life more difficult on Mars or Venus A meta analytic review of sex differences in major and minor life events Annals of Behavioral Medicine 21 83 97 doi 10 1007 bf02895038 Campbell A 1995 A few good men Evolutionary psychology and female adolescent aggression Ethology and Sociobiology 16 99 123 doi 10 1016 0162 3095 94 00072 f Bjorkqvist K Niemela P b k 1992 Of mice and women Aspects of female aggression San Diego CA Academic Press Griskevicius Vladas aelakhna 2009 Aggress to Impress Hostility as an Evolved Context Dependent Strategy Journal of Personality and Social Psychology 96 5 980 994 doi 10 1037 a0013907 24 0 24 1 24 2 24 3 Campbell A 1999 Staying alive Evolution culture and women s intrasexual aggression Behavioral and Brain Sciences 22 203 252 doi 10 1017 s0140525x99001818 PMID 11301523 25 0 25 1 25 2 Hess Nicole Hagen Edward 2002 Informational warfare Coalitional gossiping as a strategy for within group aggression Cogprints aehlngkhxmulxun aekikhAronson E Wilson T D amp Akert R M 2005 Social Psychology 5th ed Upper Saddle River NJ Pearson Education Inc Friedman H S amp Silver R C Eds 2007 Foundations of Health Psychology New York Oxford University Press Gurung R A R 2006 Health Psychology A Cultural Approach Belmont CA Thomson Wadsworth aehlngkhxmulxun aekikh Tend and Befriend Nancy K Dess Psychology Todayekhathungcak https th wikipedia org w index php title karduaelaelahaephuxn amp oldid 6707673, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม