fbpx
วิกิพีเดีย

การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด

การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด (อังกฤษ: Chronostasis, จาก กรีกโบราณ: χρόνος, chrónos, แปลว่า "เวลา" และ กรีกโบราณ: στάσις, stásis, แปลว่า "หยุด") เป็นการรับรู้เวลาผิดอย่างหนึ่ง ที่เกิดความรู้สึกเมื่อเริ่มกิจกรรมใหม่ว่า เวลายืดออกไป ยกตัวอย่างเช่น ความรู้สึกเหมือนเวลาหยุดจะเกิดขึ้นเมื่อกำลังตรึงตาที่จุด ๆ หนึ่ง แล้วทำการเคลื่อนไหวตาแบบรวดเร็วที่เรียกว่า saccade (เหลือบตา) ไปมองที่จุดที่สอง ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่าได้มองอยู่ที่จุดที่สองเป็นระยะเวลานานกว่าที่ได้มองแล้วจริง ๆ โดยสามารถเกิดความรู้สึกเหมือนเวลายืดออกไปแบบนี้ถึง 500 มิลลิวินาที (ครึ่งวินาที) เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ขัดแย้งกับไอเดีย (หรือทฤษฎี) ที่ว่า ระบบการมองเห็นทำการจำลองเหตุการณ์ที่กำลังเป็นไปก่อนจะเกิดการรับรู้เหตุการณ์นั้นจริง ๆ

รูปแบบของการลวงประสาทที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือ ภาพลวงตาเหมือนนาฬิกาหยุด (stopped-clock illusion) ที่หลังจากการเหลือบตาแบบ saccade ไปดูนาฬิกา การเคลื่อนไปของเข็มวินาทีเป็นครั้งแรกเหมือนจะใช้เวลานานกว่าครั้งที่สอง โดยที่เข็มวินาทีอาจจะดูเหมือนกับหยุดอยู่กับที่สักระยะหนึ่งหลังจากการเหลือบดู

การแปลสิ่งเร้าผิดเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นทางหูและทางสัมผัสได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยหนึ่งบอกเป็นนัยว่า เมื่อกำลังฟังเสียงสัญญาณโทรศัพท์ที่บอกว่า โทรศัพท์เบอร์ที่โทรไปกำลังดังอยู่ ถ้ามีการสลับหูเพื่อจะฟังเสียงนั้น คนโทรจะประเมินระยะเวลาระหว่างสัญญาณโทรศัพท์ดังมากเกินไป

กลไกการทำงาน

โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดเป็นผลจากการที่ระบบรับความรู้สึกทางตาหยุดส่งข้อมูลไปให้กับระบบที่ทำให้เกิดการเห็น คือว่า ปกติแล้ว ระบบการเห็นจะใช้ข้อมูลที่ได้จากตาเพื่อทำให้เกิดการเห็น โดยการเห็นจริง ๆ แล้วเป็นการประมวลข้อมูลทางตาแล้วให้ความหมายแก่ข้อมูลนั้น แต่ว่า การเคลื่อนตาอย่างรวดเร็วโดย saccade มีผลเป็นการตัดการส่งข้อมูลนั้น คือ ขณะที่มีการเคลื่อนไหวแบบ saccade ข้อมูลบางอย่าง (หรืออาจจะทั้งหมด) ที่ตาส่งไปยังระบบประมวลผลจะหยุดระงับไป

เพราะว่า งานวิจัยทางประสาทเกี่ยวกับการประมวลผลทางตายังเป็นไปในทุกวันนี้อยู่ ก็เลยยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่า มีการปรับเปลี่ยนการรับรู้โดยเวลาอย่างไรที่นำไปสู่การลวงประสาท อย่างไรก็ดี บทความนี้จะกล่าวต่อไปถึงเหตุการณ์อย่างคร่าว ๆ ที่นำไปสู่การลวงประสาท โดยใช้ตัวอย่างของนักเรียนคนหนึ่งที่มองดูที่นาฬิกาในห้องเรียน คือ

  1. ในส่วนเริ่มแรก ตาจะรับข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตรงจุดที่กำลังมอง ข้อมูลที่ได้รับนี้จะดำเนินไปถึงคอร์เทกซ์สายตาเพื่อประมวลผล หลังการประมวลผล ก็จะเกิดการรับรู้วัตถุที่กำลังมอง สำหรับตัวอย่างนักเรียน เบื้องต้นนักเรียนกำลังอ่านหนังสือที่อยู่บนโต๊ะของตน หลังจากที่ตารวบรวมแสงสะท้อนจากหนังสือแล้วส่งให้คอร์เทกซ์สายตาเพื่อประมวลผล นักเรียนก็จะรับรู้ตัวหนังสือนั้นที่อยู่ข้างหน้า
  2. หลังจากเกิดความจงใจที่จะเปลี่ยนการทอดสายตา หรือเกิดการเห็นวัตถุใดวัตถุหนึ่งที่ส่วนรอบนอกของลานสายตาโดยไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ ระบบควบคุมตาก็จะประสงค์จะทอดสายตาลงที่วัตถุเป็นที่สนใจวัตถุที่สองนั้น สำหรับนักเรียน เธออาจจะเช็คดูนาฬิกาหน้าห้องเรียนว่ากี่โมงแล้ว
  3. กล้ามเนื้อต่าง ๆ ที่ตาก็จะเริ่มการเกร็งตัวและขยับตาอย่างรวดเร็วไปยังวัตถุที่สองผ่านกระบวนการเคลื่อนตาที่เรียกว่า saccade ทันทีที่ saccade เริ่มขึ้น ก็จะมีสัญญาณจากระบบที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวตา (งานวิจัยเสนอว่าคือส่วน superior colliculus) ส่งไปหาอีกส่วนหนึ่งของสมอง สัญญาณนี้ที่เรียกว่า efferent cortical trigger หรือ efference copy (ก๊อปปี้สัญญาณสั่งการเคลื่อนไหว) ก็จะบอกสมองอีกส่วนหนึ่งว่า saccade จะเริ่มขึ้นแล้ว ในขณะที่ saccade กำลังเป็นไป ระบบสายตาไม่สามารถรวบรวมข้อมูลทางตาเหมือนกับปกติได้ และดังนั้น ข้อมูลภาพที่รวบรวมในช่วงนี้จะมีความพร่ามาก เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้คอร์เทกซ์สายตาประมวลผลข้อมูลที่พร่านี้ ก็จะเกิดการระงับการส่งข้อมูลบางส่วนผ่านกระบวนการที่เรียกว่า saccadic masking
  4. เมื่อ saccade ยุติลงแล้ว ตาก็จะทอดลงอยู่ที่วัตถุที่สอง ทันทีที่ saccade ยุติลง ก็จะมี efference copy ส่งจากระบบเคลื่อนไหวตาไปยังอีกส่วนหนึ่งของสมอง ซึ่งแจ้งว่า saccade ได้ยุติลงแล้ว โดยสัญญาณนี้ คอร์เทกซ์สายตาก็จะดำเนินการประมวลผลข้อมูลทางตาต่อไป สำหรับนักเรียน ตาของเธอในขณะนี้อยู่ที่นาฬิกา และคอร์เทกซ์สายตาก็จะเริ่มประมวลข้อมูลที่มาจากตา แต่ว่า efference copy ที่สองนี้ ก็จะแจ้งด้วยว่า มีช่วงเวลาแห่งการรับรู้คือการเห็นช่วงหนึ่งที่ขาดหายไป เพื่อที่จะทดแทนช่วงเวลารับรู้ที่ขาดหายไปนี้ จะมีการแปลผลโดยวิธีที่เรียกว่า neural antedating หรือ neural backdating (น่าจะแปลว่า การป้อนข้อมูลประสาทย้อนหลัง) คือ จะมีการเติมช่วงเวลาที่ขาดไปนี้ให้เต็มด้วยข้อมูลที่ได้รับหลังจาก saccade สำหรับนักเรียน จะมีการเติมช่วงเวลาที่ขาดไปในช่วง saccade ด้วยภาพนาฬิกา ดังนั้น ทันทีหลังจาก saccade เข็มวินาทีดูเหมือนจะหยุดอยู่กับที่ก่อนที่จะเคลื่อนต่อไปอีก
 
ลำดับเหตุการณ์ของข้อมูลที่ตาเห็น และการเห็นของนักเรียน ที่แสดงว่า การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดอาจเกิดขึ้นได้อย่างไร ลำดับคือ (1) ตาเห็นหนังสือ (นักเรียนก็เห็นหนังสือ) (2) ตาเห็นหนังสือ (นักเรียนก็เห็นหนังสือ) (3) ตาพร่าเพราะ saccade (นักเรียนรู้สึกว่า เห็นเข็มนาฬิกาที่ 1 วินาที เป็นภาพที่สมองแทนที่ให้ด้วยข้อมูลที่ได้ในภายหลัง) (4) ตาเห็นนาฬิกาที่ 1 วินาที (นักเรียนก็เห็นเข็มนาฬิกาที่ 1 วินาที เป็นช่วงที่ 2) (5) ตาเห็นนาฬิกาที่ 2 วินาที (นักเรียนเห็นนาฬิกาที่ 2 วินาที) ให้สังเกตว่า สิ่งที่นักเรียนเห็นในช่วงที่ 3 ไม่ใช่ข้อมูลจากตาในช่วงเวลานั้นจริง ๆ เป็นข้อมูลที่สมองเติมให้ใช้ข้อมูลที่เกิดในภายหลัง เป็นกระบวนการที่ทำให้รู้สึกว่า การเห็นไม่มีการขาดช่วง

ในการศึกษาปรากฏการณ์นี้และเหตุเกิดของมัน ง่ายที่จะมีความเอนเอียงเพราะเหตุจากวิธีการทดลอง ในงานทดลองเป็นจำนวนมาก มีการสั่งผู้รับการทดลองให้ทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้รับการทดลองคาดการถึงสิ่งเร้าที่นำไปสู่การมีความเอนเอียง นอกจากนั้นแล้ว กลไกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นี้ซับซ้อนและยากที่จะวัดได้ เช่น เป็นความยากที่ผู้ทดลองจะสังเกตการณ์ความรู้สึกหรือการรับรู้ของผู้รับการทดลองโดยที่ไม่รู้ใจ

องค์ประกอบที่มีอิทธิพล

เพราะความซับซ้อนของปรากฏการณ์นี้ สิ่งเร้าที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน และการกระทำทางกายต่าง ๆ กันสามารถเปลี่ยนประสบการณ์ลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด

แอมพลิจูดของ saccade

แอมพลิจูด (ช่วงระยะ) ของ saccade ยิ่งสูงขึ้นเท่าไร การประเมินค่าเวลาเกินไปก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น เช่นในตัวอย่างเกี่ยวกับนักเรียน ตายิ่งต้องเคลื่อนไปไกลยิ่งเท่าไรที่จะเห็นนาฬิกา การรับรู้เหมือนว่าเวลาหยุด ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นไปเท่านั้น ความเป็นไปอย่างนี้สนับสนุนทฤษฎีที่ว่า การประเมินระยะเวลาเกินเกิดขึ้น เพราะเกิดจากการเติมข้อมูลที่หายไปในช่วง saccade คือ saccade ยิ่งใช้เวลานานเท่าไร สมองก็จะต้องเติมข้อมูลที่หายไปนานขึ้นเท่านั้น ซึ่งนำไปสู่การประเมินช่วงเวลาของข้อมูลทางตาที่ได้รับทันทีหลังจาก saccade เกินไป

การยักย้ายความใส่ใจ

เมื่อเปลี่ยนจุดทอดสายตาจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่ง การเคลื่อนไหวแบบ saccade นั้นจะประกอบด้วยการยักย้ายความใส่ใจด้วย เช่น ในกรณีภาพลวงตาเหมือนนาฬิกาหยุด ไม่ใช่ตาเท่านั้นที่ขยับไป แต่ต้องมีการย้ายความใส่ใจไปที่นาฬิกา เพราะเหตุนี้ นักวิจัยจึงยังไม่ทราบว่า การเคลื่อนไหวตา หรือเพียงแค่การย้ายความเใส่ใจไปยังตัวกระตุ้นที่สองเท่านั้น ที่เป็นตัวเริ่ม saccadic masking แต่มีการทดลองที่ผู้รับการทดลองย้ายความใส่ใจโดยไม่ขยับตาที่แสดงว่า การยักย้ายความใส่ใจเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เกิดประสบการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด นี้บอกเป็นนัยว่า การใส่ใจไม่ได้เป็นสัญญาณจุดเริ่มต้นทางเวลาที่ใช้ในการเติมการรับรู้ให้เต็ม แต่จริง ๆ แล้ว การเคลื่อนไหวตาจริง ๆ นั่นแหละเป็นสัญญาณจุดเริ่มต้นทางเวลาที่สำคัญนี้ ถึงอย่างนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจกับการรับรู้ในเรื่องของการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด เป็นความสัมพันธ์ที่วัดได้ยากและอาจจะมีความเอนเอียง (bias) เพราะอาศัยวิธีการทดลอง เพราะผู้รับการทดลองเองนั่นแหละอาจมีความเอนเอียง เนื่องจากรับสั่งให้ทำกิจกรรมหรือย้ายความสนใจไปทางอื่น ทฤษฎีว่าความใส่ใจอาจจะเป็นสัญญาณจุดเริ่มต้นทางเวลาสำหรับการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดยังไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้โดยส่วนเดียว

เสถียรภาพของตำแหน่งสิ่งแวดล้อม

เราอาจจะสงสัยว่า การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดยังเกิดขึ้นหรือไม่ถ้าเป้าหมายของ saccade เคลื่อนที่ไปจากจุดเดิม พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราจะประสบการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดหรือไม่ถ้านาฬิกาที่เราดูเคลื่อนไปจากจุดเดิม โดยผ่านวิธีการทดลอง นักวิจัยพบว่า ขึ้นอยู่กับว่าเรารู้หรือไม่ว่าวัตถุนั้นได้เคลื่อนไปจากที่เดิมแล้ว คือ ถ้าเรารู้ว่า เป้าหมายของ saccade ได้เคลื่อนไปแล้ว ก็จะไม่เกิดประสบการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด และโดยนัยตรงกันข้าม ถ้าไม่รู้ว่า เป้าหมายของ saccade ได้เคลื่อนไปแล้ว ก็จะประสบกับปรากฏการณ์นี้ นี่น่าจะเป็นเพราะว่า การป้อนข้อมูลประสาทย้อนหลังจะไม่เกิดขึ้นในกรณีที่มีการรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของเป้าหมาย คือ ถ้าหลัง saccade ตาก็ทอดลงตรงที่เป้าหมาย สมองก็จะสมมุติว่า เป้าหมายได้ดำรงอยู่ที่ตำแหน่งของมันตลอดช่วงระยะ saccade แต่ถ้าเป้าหมายเปลี่ยนตำแหน่งในช่วง saccade ความแปรเปลี่ยนของสถานการณ์ย่อมทำให้เหมือนกับเป็นวัตถุใหม่

ลักษณะของตัวกระตุ้น

ลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งเร้ามีอิทธิพลที่สำคัญต่อปรากฏการณ์นี้ โดยเฉพาะก็คือ ความถี่และรูปแบบของสิ่งเร้า ถ้ามีความถี่ทางกาลเวลา (temporal frequency) ของสิ่งเร้าสูง คือปรากฏต่อ ๆ กัน ก็จะทำให้การประเมินเวลาเกินเพิ่ม ทำการลวงประสาทให้มีกำลังเพิ่มขึ้น ถ้าเป็นสิ่งเร้าตัวเดียวที่ซ้ำ ๆ กัน ระยะเวลาที่ประมาณเกินก็จะสั้นลงกว่าสิ่งเร้าใหม่ ๆ เนื่องจากกระบวนการระงับกระแสประสาท (neural suppression) ภายในคอร์เทกซ์ คือ งานวิจัยที่ใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการสร้างภาพของสมองแสดงว่า การยิงสัญญาณซ้ำ ๆ กันของนิวรอนในคอร์เทกซ์มีผลให้สมองระงับการยิงสัญญาณของนิวรอนเหล่านั้น นี้เป็นการปรับตัวของระบบประสาท (neural adaptation) แบบหนึ่ง

ประสาทสัมผัสต่าง ๆ

การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดไม่ใช่เกิดขึ้นทางตาอย่างเดียว แต่ยังเกิดทางหูและทางสัมผัสอีกด้วย

สำหรับทางหู การลวงประสาทและการประเมินเวลาเกินเกิดขึ้นเมื่อทำการสังเกตการณ์ทางหู ตัวอย่างสามัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็คือการใช้โทรศัพท์ เมื่อกำลังฟังเสียงที่บอกว่าโทรศัพท์เบอร์ที่กำลังโทรถึงกำลังดังอยู่ แล้วเปลี่ยนการฟังจากหูหนึ่งไปสู่อีกหูหนึ่ง ช่วงระยะห่างระหว่างโทรศัพท์ดังดูเหมือนจะยาวขึ้น

ส่วนทางสัมผัส การลวงประสาทจะเกิดเมื่อปล่อยวัตถุหนึ่งไปจับอีกวัตถุหนึ่ง คือหลังจากเอื้อมไปจับวัตถุที่สอง ผู้รับการทดลองประมาณเวลาที่ได้จับวัตถุที่สองเกินความเป็นจริง ในอีกการทดลองหนึ่งที่ใช้วิธีคล้าย ๆ กัน นักวิจัยสามารถปรับผู้รับการทดลองให้เห็นแสงก่อนที่จะเปิดสวิทช์ไฟ (เพราะเกิดการลวงประสาทสัมผัส) การทดลองเหล่านี้บอกเป็นนัยว่า เหมือนกับที่มีการประเมินระยะเวลาของเข็มวินาทีที่เห็นทางตาเกิน ก็สามารถที่จะประเมินระยะเวลาของสิ่งเร้าทางหูและทางสัมผัสเกินได้เช่นกัน หลักฐานนี้ชี้ให้นักวิจัยเริ่มศึกษาถึงกลไกการรักษาเวลาหรือว่ากระบวนการรักษาเวลาทั่ว ๆ ไป ที่ต้องใช้ในการรับรู้ระยะเวลาของสิ่งเร้าและเป็นสิ่งที่สามัญทั่วไปในระบบประสาทสัมผัสต่าง ๆ

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. Hodinott-Hill, Iona; Thilo, Kai V.; Cowey, Alan; Walsh, Vincent (15 October 2002). "Auditory Chronostasis: Hanging on the Telephone". Current Biology. 12 (20): 1779–1781. doi:10.1016/S0960-9822 (02) 01219-8 Check |doi= value (help). PMID 12401174.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  2. Yarrow, Kielan (February 2006). "Spatial consequences of bridging the saccadic gap". Vision Research. 46 (4): 545–555. doi:10.1016/j.visres.2005.04.019. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  3. Knoll, Jonas (28 February 2013). "Spatio-temporal topography of saccadic overestimation of time". Vision Research. 83: 56–65. doi:10.1016/j.visres.2013.02.013. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  4. Yarrow, Kielan (July 2003). "Manual Chronostasis: Tactile Perception Precedes Physical Contact". Current Biology. 13 (13): 1134–1139. doi:10.1016/S0960-9822 (03) 00413-5 Check |doi= value (help). Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  5. Yarrow, Kielan (June 2004). "Consistent Chronostasis Effects across Saccade Categories Imply a Subcortical Efferent Trigger". Journal of Cognitive Neuroscience. 16 (5): 839–847. doi:10.1162/089892904970780. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  6. "The mystery of the stopped clock illusion". BBC - Future - Health -. 2012-08-27. สืบค้นเมื่อ 2012-12-09.
  7. Goldstein, E. Bruce (2010). Sensation and perception (8th ed.). Belmont, CA: Wadsworth, Cengage Learning. ISBN 978-0495601494.
  8. Knoll, Jonas (30 October 2012). "Spatio-temporal representations during eye movements and their neuronal correlates" (Dissertation).
  9. Kolb, Bryan (2008). Fundamentals of Human Neuropsychology (6th ed.). Basingstoke: Palgrave Macmillan. pp. 350–375. ISBN 0716795868. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  10. Ibbotson, M. R. (October 2008). "Saccadic Modulation of Neural Responses: Possible Roles in Saccadic Suppression, Enhancement, and Time Compression". Journal of Neuroscience. 28 (43): 10952–10960. doi:10.1523/JNEUROSCI.3950-08.2008. PMID 18945903. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  11. Purves, Dale (2012). Neuroscience (5. ed. ed.). Sunderland, Mass.: Sinauer. ISBN 978-0-87893-695-3.CS1 maint: extra text (link)
  12. efference copy เป็นก๊อปปี้ของสัญญาณสั่งการเคลื่อนไหวที่ส่งไปจากระบบสั่งการ (motor system) ข้อมูลนี้สามารถใช้ในการเปรียบเทียบกับความรู้สึกที่ได้รับเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่เกิดจากสัญญาณสั่งการนั้น ส่งผลให้สามารถเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจริง ๆ กับการเคลื่อนไหวที่ประสงค์ และให้สามารถกรองผลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของตนจากการรับรู้ โดยใช้ efference copy กับ internal models สมองก็จะสามารถพยากรณ์ถึงผลของการกระทำหนึ่ง ๆ ได้
  13. Bridgeman, Bruce (1995). "A review of the role of efference copy in sensory and oculomotor control systems". Annals of Biomedical Engineering. 23 (4): 409–422. doi:10.1007/BF02584441.
  14. Thilo, Kai V. (19 February 2002). "Vision: When The Clock Appears to Stop". Current Biology. 12: R135–R137. doi:10.1016/S0960-9822 (02) 00707-8 Check |doi= value (help). Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  15. Eagleman, David M (April 2008). "Human time perception and its illusions". Current Opinion in Neurobiology. 18 (2): 131–136. doi:10.1016/j.conb.2008.06.002.
  16. Nobre, Anna C. (2010). Attention and time (1. publ. ed.). Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-956345-6.
  17. Verhoef, B.-E. (15 October 2008). "Stimulus Similarity-Contingent Neural Adaptation Can Be Time and Cortical Area Dependent". Journal of Neuroscience. 28 (42): 10631–10640. doi:10.1523/JNEUROSCI.3333-08.2008. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  18. Nijhawan, Romi (2010). Space and Time in Perception and Action. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-86318-6.

แหล่งข้อมูลอื่น (เป็นภาษาอังกฤษ)

  • Michael Stevens provides a brief overview of the stopped clock illusion
  • Laci Green provides a brief overview of temporal perception
  • Dan Lewis of 'Now I Know' describes saccadic masking and other visual illusions

การลวงประสาทเหม, อนเวลาหย, งกฤษ, chronostasis, จาก, กร, กโบราณ, χρόνος, chrónos, แปลว, เวลา, และ, กร, กโบราณ, στάσις, stásis, แปลว, หย, เป, นการร, บร, เวลาผ, ดอย, างหน, เก, ดความร, กเม, อเร, มก, จกรรมใหม, เวลาย, ดออกไป, ยกต, วอย, างเช, ความร, กเหม, อนเวลาหย, ด. karlwngprasathehmuxnewlahyud xngkvs Chronostasis cak krikobran xronos chronos aeplwa ewla aela krikobran stasis stasis aeplwa hyud epnkarrbruewlaphidxyanghnung thiekidkhwamrusukemuxerimkickrrmihmwa ewlayudxxkip 1 yktwxyangechn khwamrusukehmuxnewlahyudcaekidkhunemuxkalngtrungtathicud hnung aelwthakarekhluxnihwtaaebbrwderwthieriykwa saccade ehluxbta ipmxngthicudthisxng sungthaihekidkhwamrusukwaidmxngxyuthicudthisxngepnrayaewlanankwathiidmxngaelwcring odysamarthekidkhwamrusukehmuxnewlayudxxkipaebbnithung 500 milliwinathi khrungwinathi epnpraktkarnthiimkhdaeyngkbixediy hruxthvsdi thiwa rabbkarmxngehnthakarcalxngehtukarnthikalngepnipkxncaekidkarrbruehtukarnnncring 2 rupaebbkhxngkarlwngprasaththiruckkndithisudkkhux phaphlwngtaehmuxnnalikahyud stopped clock illusion thihlngcakkarehluxbtaaebb saccade ipdunalika karekhluxnipkhxngekhmwinathiepnkhrngaerkehmuxncaichewlanankwakhrngthisxng odythiekhmwinathixaccaduehmuxnkbhyudxyukbthiskrayahnunghlngcakkarehluxbdu 3 4 5 6 karaeplsingeraphidechnnisamarthekidkhunthanghuaelathangsmphsidechnkn yktwxyangechn nganwicyhnungbxkepnnywa emuxkalngfngesiyngsyyanothrsphththibxkwa othrsphthebxrthiothripkalngdngxyu thamikarslbhuephuxcafngesiyngnn khnothrcapraeminrayaewlarahwangsyyanothrsphthdngmakekinip 1 enuxha 1 klikkarthangan 2 xngkhprakxbthimixiththiphl 2 1 aexmphlicudkhxng saccade 2 2 karykyaykhwamisic 2 3 esthiyrphaphkhxngtaaehnngsingaewdlxm 2 4 lksnakhxngtwkratun 2 5 prasathsmphstang 3 duephim 4 echingxrrthaelaxangxing 5 aehlngkhxmulxun epnphasaxngkvs klikkarthangan aekikhodythw ipaelw karlwngprasathehmuxnewlahyudepnphlcakkarthirabbrbkhwamrusukthangtahyudsngkhxmulipihkbrabbthithaihekidkarehn khuxwa pktiaelw rabbkarehncaichkhxmulthiidcaktaephuxthaihekidkarehn odykarehncring aelwepnkarpramwlkhxmulthangtaaelwihkhwamhmayaekkhxmulnn 7 aetwa karekhluxntaxyangrwderwody saccade miphlepnkartdkarsngkhxmulnn khux khnathimikarekhluxnihwaebb saccade khxmulbangxyang hruxxaccathnghmd thitasngipyngrabbpramwlphlcahyudrangbipephraawa nganwicythangprasathekiywkbkarpramwlphlthangtayngepnipinthukwnnixyu kelyyngmikarthkethiyngknxyuwa mikarprbepliynkarrbruodyewlaxyangirthinaipsukarlwngprasath 8 xyangirkdi bthkhwamnicaklawtxipthungehtukarnxyangkhraw thinaipsukarlwngprasath odyichtwxyangkhxngnkeriynkhnhnungthimxngduthinalikainhxngeriyn khux inswnerimaerk tacarbkhxmulekiywkbsingaewdlxmtrngcudthikalngmxng khxmulthiidrbnicadaeninipthungkhxrethkssaytaephuxpramwlphl hlngkarpramwlphl kcaekidkarrbruwtthuthikalngmxng 9 sahrbtwxyangnkeriyn ebuxngtnnkeriynkalngxanhnngsuxthixyubnotakhxngtn hlngcakthitarwbrwmaesngsathxncakhnngsuxaelwsngihkhxrethkssaytaephuxpramwlphl nkeriynkcarbrutwhnngsuxnnthixyukhanghna hlngcakekidkhwamcngicthicaepliynkarthxdsayta hruxekidkarehnwtthuidwtthuhnungthiswnrxbnxkkhxnglansaytaodyimidxyuitxanaccitic rabbkhwbkhumtakcaprasngkhcathxdsaytalngthiwtthuepnthisnicwtthuthisxngnn 10 sahrbnkeriyn ethxxaccaechkhdunalikahnahxngeriynwakiomngaelw klamenuxtang thitakcaerimkarekrngtwaelakhybtaxyangrwderwipyngwtthuthisxngphankrabwnkarekhluxntathieriykwa saccade 11 thnthithi saccade erimkhun kcamisyyancakrabbthimihnathiekiywkhxngkbkarekhluxnihwta nganwicyesnxwakhuxswn superior colliculus sngiphaxikswnhnungkhxngsmxng syyannithieriykwa efferent cortical trigger hrux efference copy 12 kxppisyyansngkarekhluxnihw kcabxksmxngxikswnhnungwa saccade caerimkhunaelw 5 13 inkhnathi saccade kalngepnip rabbsaytaimsamarthrwbrwmkhxmulthangtaehmuxnkbpktiid aeladngnn khxmulphaphthirwbrwminchwngnicamikhwamphramak 8 ephuxthicapxngknimihkhxrethkssaytapramwlphlkhxmulthiphrani kcaekidkarrangbkarsngkhxmulbangswnphankrabwnkarthieriykwa saccadic masking 14 emux saccade yutilngaelw takcathxdlngxyuthiwtthuthisxng thnthithi saccade yutilng kcami efference copy 12 sngcakrabbekhluxnihwtaipyngxikswnhnungkhxngsmxng sungaecngwa saccade idyutilngaelw odysyyanni khxrethkssaytakcadaeninkarpramwlphlkhxmulthangtatxip 5 sahrbnkeriyn takhxngethxinkhnanixyuthinalika aelakhxrethkssaytakcaerimpramwlkhxmulthimacakta aetwa efference copy thisxngni kcaaecngdwywa michwngewlaaehngkarrbrukhuxkarehnchwnghnungthikhadhayip ephuxthicathdaethnchwngewlarbruthikhadhayipni camikaraeplphlodywithithieriykwa neural antedating hrux neural backdating nacaaeplwa karpxnkhxmulprasathyxnhlng 14 khux camikaretimchwngewlathikhadipniihetmdwykhxmulthiidrbhlngcak saccade sahrbnkeriyn camikaretimchwngewlathikhadipinchwng saccade dwyphaphnalika dngnn thnthihlngcak saccade ekhmwinathiduehmuxncahyudxyukbthikxnthicaekhluxntxipxik 15 ladbehtukarnkhxngkhxmulthitaehn aelakarehnkhxngnkeriyn thiaesdngwa karlwngprasathehmuxnewlahyudxacekidkhunidxyangir ladbkhux 1 taehnhnngsux nkeriynkehnhnngsux 2 taehnhnngsux nkeriynkehnhnngsux 3 taphraephraa saccade nkeriynrusukwa ehnekhmnalikathi 1 winathi epnphaphthismxngaethnthiihdwykhxmulthiidinphayhlng 4 taehnnalikathi 1 winathi nkeriynkehnekhmnalikathi 1 winathi epnchwngthi 2 5 taehnnalikathi 2 winathi nkeriynehnnalikathi 2 winathi ihsngektwa singthinkeriynehninchwngthi 3 imichkhxmulcaktainchwngewlanncring epnkhxmulthismxngetimihichkhxmulthiekidinphayhlng epnkrabwnkarthithaihrusukwa karehnimmikarkhadchwng inkarsuksapraktkarnniaelaehtuekidkhxngmn ngaythicamikhwamexnexiyngephraaehtucakwithikarthdlxng innganthdlxngepncanwnmak mikarsngphurbkarthdlxngihthakickrrmbangxyangephuxtxbsnxngtxsingera sungepnehtuihphurbkarthdlxngkhadkarthungsingerathinaipsukarmikhwamexnexiyng nxkcaknnaelw kliktang thiekiywkhxngkbpraktkarnnisbsxnaelayakthicawdid echn epnkhwamyakthiphuthdlxngcasngektkarnkhwamrusukhruxkarrbrukhxngphurbkarthdlxngodythiimruic 1 xngkhprakxbthimixiththiphl aekikhephraakhwamsbsxnkhxngpraktkarnni singerathimilksnatang kn aelakarkrathathangkaytang knsamarthepliynprasbkarnlwngprasathehmuxnewlahyud aexmphlicudkhxng saccade aekikh aexmphlicud chwngraya khxng saccade yingsungkhunethair karpraeminkhaewlaekinipkephimkhunethann echnintwxyangekiywkbnkeriyn tayingtxngekhluxnipiklyingethairthicaehnnalika karrbruehmuxnwaewlahyud kcayingephimkhunipethann 14 khwamepnipxyangnisnbsnunthvsdithiwa karpraeminrayaewlaekinekidkhun ephraaekidcakkaretimkhxmulthihayipinchwng saccade khux saccade yingichewlananethair smxngkcatxngetimkhxmulthihayipnankhunethann sungnaipsukarpraeminchwngewlakhxngkhxmulthangtathiidrbthnthihlngcak saccade ekinip 16 karykyaykhwamisic aekikh emuxepliyncudthxdsaytacakwtthuhnungipyngxikwtthuhnung karekhluxnihwaebb saccade nncaprakxbdwykarykyaykhwamisicdwy echn inkrniphaphlwngtaehmuxnnalikahyud imichtaethannthikhybip aettxngmikaryaykhwamisicipthinalika ephraaehtuni nkwicycungyngimthrabwa karekhluxnihwta hruxephiyngaekhkaryaykhwameisicipyngtwkratunthisxngethann thiepntwerim saccadic masking aetmikarthdlxngthiphurbkarthdlxngyaykhwamisicodyimkhybtathiaesdngwa karykyaykhwamisicephiyngxyangediywimsamarththaihekidprasbkarlwngprasathehmuxnewlahyud 14 nibxkepnnywa karisicimidepnsyyancuderimtnthangewlathiichinkaretimkarrbruihetm aetcring aelw karekhluxnihwtacring nnaehlaepnsyyancuderimtnthangewlathisakhyni thungxyangnn khwamsmphnthrahwangkhwamisickbkarrbruineruxngkhxngkarlwngprasathehmuxnewlahyud epnkhwamsmphnththiwdidyakaelaxaccamikhwamexnexiyng bias ephraaxasywithikarthdlxng ephraaphurbkarthdlxngexngnnaehlaxacmikhwamexnexiyng enuxngcakrbsngihthakickrrmhruxyaykhwamsnicipthangxun thvsdiwakhwamisicxaccaepnsyyancuderimtnthangewlasahrbkarlwngprasathehmuxnewlahyudyngimsamarththicaptiesthidodyswnediyw 16 esthiyrphaphkhxngtaaehnngsingaewdlxm aekikh eraxaccasngsywa karlwngprasathehmuxnewlahyudyngekidkhunhruximthaepahmaykhxng saccade ekhluxnthiipcakcudedim phudxikxyanghnungkkhux eracaprasbkarlwngprasathehmuxnewlahyudhruximthanalikathieraduekhluxnipcakcudedim odyphanwithikarthdlxng nkwicyphbwa khunxyukbwaeraruhruximwawtthunnidekhluxnipcakthiedimaelw khux thaeraruwa epahmaykhxng saccade idekhluxnipaelw kcaimekidprasbkarlwngprasathehmuxnewlahyud aelaodynytrngknkham thaimruwa epahmaykhxng saccade idekhluxnipaelw kcaprasbkbpraktkarnni ninacaepnephraawa karpxnkhxmulprasathyxnhlngcaimekidkhuninkrnithimikarrbruthungkarekhluxnihwkhxngepahmay khux thahlng saccade takthxdlngtrngthiepahmay smxngkcasmmutiwa epahmayiddarngxyuthitaaehnngkhxngmntlxdchwngraya saccade aetthaepahmayepliyntaaehnnginchwng saccade khwamaeprepliynkhxngsthankarnyxmthaihehmuxnkbepnwtthuihm 14 lksnakhxngtwkratun aekikh lksnatang khxngsingeramixiththiphlthisakhytxpraktkarnni odyechphaakkhux khwamthiaelarupaebbkhxngsingera thamikhwamthithangkalewla temporal frequency khxngsingerasung khuxprakttx kn kcathaihkarpraeminewlaekinephim thakarlwngprasathihmikalngephimkhun thaepnsingeratwediywthisa kn rayaewlathipramanekinkcasnlngkwasingeraihm 15 enuxngcakkrabwnkarrangbkraaesprasath neural suppression phayinkhxrethks khux nganwicythiichethkhnikhtang inkarsrangphaphkhxngsmxngaesdngwa karyingsyyansa knkhxngniwrxninkhxrethksmiphlihsmxngrangbkaryingsyyankhxngniwrxnehlann 17 niepnkarprbtwkhxngrabbprasath neural adaptation aebbhnung prasathsmphstang aekikh karlwngprasathehmuxnewlahyudimichekidkhunthangtaxyangediyw aetyngekidthanghuaelathangsmphsxikdwy 18 sahrbthanghu karlwngprasathaelakarpraeminewlaekinekidkhunemuxthakarsngektkarnthanghu twxyangsamyxyanghnungthiekidkhunbxy kkhuxkarichothrsphth emuxkalngfngesiyngthibxkwaothrsphthebxrthikalngothrthungkalngdngxyu aelwepliynkarfngcakhuhnungipsuxikhuhnung chwngrayahangrahwangothrsphthdngduehmuxncayawkhun 1 swnthangsmphs karlwngprasathcaekidemuxplxywtthuhnungipcbxikwtthuhnung khuxhlngcakexuxmipcbwtthuthisxng phurbkarthdlxngpramanewlathiidcbwtthuthisxngekinkhwamepncring 4 inxikkarthdlxnghnungthiichwithikhlay kn nkwicysamarthprbphurbkarthdlxngihehnaesngkxnthicaepidswithchif ephraaekidkarlwngprasathsmphs karthdlxngehlanibxkepnnywa ehmuxnkbthimikarpraeminrayaewlakhxngekhmwinathithiehnthangtaekin ksamarththicapraeminrayaewlakhxngsingerathanghuaelathangsmphsekinidechnkn hlkthannichiihnkwicyerimsuksathungklikkarrksaewlahruxwakrabwnkarrksaewlathw ip thitxngichinkarrbrurayaewlakhxngsingeraaelaepnsingthisamythwipinrabbprasathsmphstang 15 duephim aekikhkarxaphrangaebbwab xtraefrm Saccadic maskingechingxrrthaelaxangxing aekikh 1 0 1 1 1 2 1 3 Hodinott Hill Iona Thilo Kai V Cowey Alan Walsh Vincent 15 October 2002 Auditory Chronostasis Hanging on the Telephone Current Biology 12 20 1779 1781 doi 10 1016 S0960 9822 02 01219 8 Check doi value help PMID 12401174 CS1 maint multiple names authors list link Yarrow Kielan February 2006 Spatial consequences of bridging the saccadic gap Vision Research 46 4 545 555 doi 10 1016 j visres 2005 04 019 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Knoll Jonas 28 February 2013 Spatio temporal topography of saccadic overestimation of time Vision Research 83 56 65 doi 10 1016 j visres 2013 02 013 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help 4 0 4 1 Yarrow Kielan July 2003 Manual Chronostasis Tactile Perception Precedes Physical Contact Current Biology 13 13 1134 1139 doi 10 1016 S0960 9822 03 00413 5 Check doi value help Unknown parameter coauthors ignored author suggested help 5 0 5 1 5 2 Yarrow Kielan June 2004 Consistent Chronostasis Effects across Saccade Categories Imply a Subcortical Efferent Trigger Journal of Cognitive Neuroscience 16 5 839 847 doi 10 1162 089892904970780 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help The mystery of the stopped clock illusion BBC Future Health 2012 08 27 subkhnemux 2012 12 09 Goldstein E Bruce 2010 Sensation and perception 8th ed Belmont CA Wadsworth Cengage Learning ISBN 978 0495601494 8 0 8 1 Knoll Jonas 30 October 2012 Spatio temporal representations during eye movements and their neuronal correlates Dissertation Kolb Bryan 2008 Fundamentals of Human Neuropsychology 6th ed Basingstoke Palgrave Macmillan pp 350 375 ISBN 0716795868 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Ibbotson M R October 2008 Saccadic Modulation of Neural Responses Possible Roles in Saccadic Suppression Enhancement and Time Compression Journal of Neuroscience 28 43 10952 10960 doi 10 1523 JNEUROSCI 3950 08 2008 PMID 18945903 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Purves Dale 2012 Neuroscience 5 ed ed Sunderland Mass Sinauer ISBN 978 0 87893 695 3 CS1 maint extra text link 12 0 12 1 efference copy epnkxppikhxngsyyansngkarekhluxnihwthisngipcakrabbsngkar motor system khxmulnisamarthichinkarepriybethiybkbkhwamrusukthiidrbekiywkbkarekhluxnihwthiekidcaksyyansngkarnn sngphlihsamarthepriybethiybkarekhluxnihwthiekidkhuncring kbkarekhluxnihwthiprasngkh aelaihsamarthkrxngphlthiekidcakkarekhluxnihwkhxngtncakkarrbru odyich efference copy kb internal models smxngkcasamarthphyakrnthungphlkhxngkarkrathahnung id Bridgeman Bruce 1995 A review of the role of efference copy in sensory and oculomotor control systems Annals of Biomedical Engineering 23 4 409 422 doi 10 1007 BF02584441 14 0 14 1 14 2 14 3 14 4 Thilo Kai V 19 February 2002 Vision When The Clock Appears to Stop Current Biology 12 R135 R137 doi 10 1016 S0960 9822 02 00707 8 Check doi value help Unknown parameter coauthors ignored author suggested help 15 0 15 1 15 2 Eagleman David M April 2008 Human time perception and its illusions Current Opinion in Neurobiology 18 2 131 136 doi 10 1016 j conb 2008 06 002 16 0 16 1 Nobre Anna C 2010 Attention and time 1 publ ed Oxford Oxford University Press ISBN 978 0 19 956345 6 Verhoef B E 15 October 2008 Stimulus Similarity Contingent Neural Adaptation Can Be Time and Cortical Area Dependent Journal of Neuroscience 28 42 10631 10640 doi 10 1523 JNEUROSCI 3333 08 2008 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Nijhawan Romi 2010 Space and Time in Perception and Action Cambridge UK Cambridge University Press ISBN 978 0 521 86318 6 aehlngkhxmulxun epnphasaxngkvs aekikhMichael Stevens provides a brief overview of the stopped clock illusion Laci Green provides a brief overview of temporal perception Dan Lewis of Now I Know describes saccadic masking and other visual illusionsekhathungcak https th wikipedia org w index php title karlwngprasathehmuxnewlahyud amp oldid 5619171, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม