fbpx
วิกิพีเดีย

การเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง

การเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (อังกฤษ: single transferable vote, STV) เป็นระบบการเลือกตั้งที่ออกแบบมาให้มีความคล้ายคลึงกับระบบสัดส่วนโดยใช้ในการเลือกผู้แทนแบบหลายคนต่อหนึ่งเขตเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใช้สิทธิเลือกผู้สมัครตามลำดับที่ชอบ โดยลำดับที่เลือกนี้ในภายหลังจะถูกนำไปนับคะแนนตามสัดส่วนโดยที่คะแนนจะไม่สูญไปหากผู้สมัครในลำดับนั้นได้รับเลือกไปแล้ว โดยคะแนนเสียงจะถูกโอนไปให้ผู้สมัครลำดับถัดไป การเลือกตั้งแบบนี้เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า การเลือกตั้งแบบมีผู้ชนะหลายคนตามลำดับการเลือก (multi-winner ranked-choice voting)

ตัวอย่างบัตรลงคะแนนเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงในการเลือกตั้งสภาออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรีใน ค.ศ. 2016

ในการเลือกตั้งระบบนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนเป็นลำดับความชอบโดยสามารถเลือกได้มากกว่าหนึ่งคนในแต่ละเขต โดยเลือกคนที่ชอบมากที่สุดเป็นลำดับที่หนึ่ง และลำดับอื่น ๆ เป็นรายการสำรอง (ตามลำดับความนิยม) โดยการนับคะแนนจะเริ่มนับจากลำดับที่หนึ่งก่อน แต่หากผู้สมัครลำดับที่หนึ่งได้รับเลือกไปแล้ว หรือถูกตัดไปแล้ว (เนื่องจากคะแนนเสียงรวมของผู้สมัครคนนั้นมีไม่มากพอต่อค่าเฉลี่ย) คะแนนเสียงจะไม่สูญไป แต่จะถูกถ่ายโอนไปยังผู้สมัครลำดับถัดไปตามลำดับก่อนหลัง

ในเขตเลือกตั้งที่มีจำนวนผู้สมัครมากกว่าจำนวนที่นั่ง ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนน้อยที่สุดจะถูกตัดออก และคะแนนของผู้สมัครคนนี้จะถูกถ่ายโอนไปยังผู้สมัครคนอื่นตามการเลือกของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในบางระบบ คะแนนส่วนที่มากกว่าโควตา (surplus votes) ของผู้ที่ชนะการเลือกตั้งในการคำนวณครั้งแรกจะถูกกระจายให้แก่ผู้สมัครในอันดับถัดไป โดยใช้ขั้นตอนนี้จนกว่าจะได้ผู้ชนะครบที่นั่งในแต่ละเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่ยังไม่มีผู้สมัครคนใดที่มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับคะแนนโควตา ขั้นตอนต่อไปให้ตัดผู้สมัครที่ได้คะแนนน้อยที่สุดออก และเอาคะแนนนั้นมาเฉลี่ยให้แก่ผู้สมัครคนอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผู้สมัครที่มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับคะแนนโควตา ทำเช่นนี้จนกว่าจะได้ผู้ชนะครบตามจำนวนผู้แทนที่พึงมีในเขตนั้น

การเลือกตั้งระบบนี้เน้นความสำคัญของตัวผู้สมัครมากกว่าพรรคการเมือง (บัญชีรายชื่อ) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดแล้ว การเลือกตั้งแบบนี้จะทำให้คะแนนเสียงของผู้ใช้สิทธิไม่สูญเปล่า ในกรณีที่ผู้สมัครไม่ได้รับการคัดเลือก หรือได้รับการคัดเลือกไปแล้ว คะแนนเสียงที่เกินนั้นยังมีประโยชน์ต่อผู้สมัครรายอื่น ๆ ที่ผู้ใช้สิทธิเลือกเป็นลำดับถัดไป

นอกจากนี้ยังมีผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกับระบบสัดส่วน โดยทำให้พรรคการเมืองเสียงข้างน้อยมีที่นั่งในสภา โดยหลักการคือไม่ทำให้พรรคการเมืองใดสามารถครองทุกที่นั่งในแต่ละเขตเลือกตั้งได้ โดยวัตถุประสงค์หลักของระบบนี้คือผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใช้สิทธิเลือกหนึ่งสิทธิในการเลือกผู้สมัครหลายคน

นิยาม

เมื่อใช้การเลือกตั้งแบบนี้สำหรับการหาผู้ชนะเพียงคนเดียวจะเทียบเท่ากับ "การลงคะแนนตามลำดับความชอบ" (instant-runoff voting/alternative vote/preferential voting) เมื่อใช้ในการหาผู้ชนะการเลือกตั้งหลายคนบางทีเรียกว่า "การเลือกตั้งระบบสัดส่วนโดยใช้เสียงเดียวแบบถ่ายโอน" (proportional representation through the single transferable vote/PR-STV) โดยปกติแล้วนิยามของการเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงใช้ในการหาผู้ชนะมากกว่าหนึ่งคน

การลงคะแนน

 
ตัวอย่างการลงคะแนนเสียงแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง

การเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะลงคะแนนเสียงเป็นลำดับความนิยมส่วนบุคคล โดยอันดับ "1" คือผู้ที่นิยมมากที่สุด และลำดับ "2" คือผู้ที่นิยมรองลงมา และไล่ลำดับลงไปเรื่อย ๆ ตามตัวอย่างการลงคะแนนเสียงตามภาพด้านขวามือ ในทางปฎิบัติแล้วรายชื่อผู้สมัครจะถูกเรียงเป็นสดมภ์ตามสังกัดพรรคการเมือง รวมถึงในกรณีผู้สมัครอิสระซึ่งจะถูกแยกไว้อีกสดมภ์หนึ่งด้วย

อ้างอิง

  1. "Single Transferable Vote". Electoral Reform Society.
  2. FairVote.org. "Ranked Choice Voting / Instant Runoff". FairVote. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
  3. เมืองรัตน, ฤทัยชนก. "การเลือกตั้ง-วิถีแห่งประชาธิปไตย" (PDF). สำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 6 June 2021.

อ่านเพิ่มเติม

  • Bartholdi, John J., III; Orlin, James B. (1991). "Single Transferable Vote Resists Strategic Voting" (PDF). Social Choice and Welfare. 8 (4): 341–354. CiteSeerX 10.1.1.127.97. doi:10.1007/BF00183045. ISSN 0176-1714. JSTOR 41105995. S2CID 17749613. สืบค้นเมื่อ 30 August 2017.
  • Benade, Gerdus; Buck, Ruth; Duchin, Moon; Gold, Dara; Weighill, Thomas (2021). "Ranked Choice Voting and Minority Representation" (PDF). SSRN. doi:10.2139/ssrn.3778021. สืบค้นเมื่อ 2 March 2021.
  • Geller, Chris (2002). "Single Transferable Vote with Borda Elimination: A New Vote-Counting System" (PDF). Deakin University, Faculty of Business and Law.
  •  ———  (2004). "Single Transferable Vote with Borda Elimination: Proportional Representation, Moderation, Quasi-chaos and Stability". Electoral Studies. 24 (2): 265–280. doi:10.1016/j.electstud.2004.06.004. ISSN 1873-6890.
  • O'Neill, Jeffrey C. (2004). "Tie-Breaking with the Single Transferable Vote" (PDF). Voting Matters (18): 14–17. ISSN 1745-6231. สืบค้นเมื่อ 30 August 2017.
  • Sawer, Marian; Miskin, Sarah (1999). Papers on Parliament No. 34 Representation and Institutional Change: 50 Years of Proportional Representation in the Senate (PDF). Department of the Senate. ISBN 0-642-71061-9. Unknown parameter |name-list-style= ignored (help)
  • Stone, Bruce (2008). "State legislative councils: designing for accountability." In N. Aroney, S. Prasser, & J. R. Nethercote (Eds.), Restraining Elective Dictatorship (PDF). UWA Publishing. pp. 175–195. ISBN 978-1-921401-09-1. Unknown parameter |name-list-style= ignored (help)

การเล, อกต, งแบบถ, ายโอนคะแนนเส, ยง, งกฤษ, single, transferable, vote, เป, นระบบการเล, อกต, งท, ออกแบบมาให, ความคล, ายคล, งก, บระบบส, ดส, วนโดยใช, ในการเล, อกผ, แทนแบบหลายคนต, อหน, งเขตเล, อกต, และผ, ทธ, เล, อกต, งใช, ทธ, เล, อกผ, สม, ครตามลำด, บท, ชอบ, โดยลำด. kareluxktngaebbthayoxnkhaaennesiyng xngkvs single transferable vote STV epnrabbkareluxktngthixxkaebbmaihmikhwamkhlaykhlungkbrabbsdswnodyichinkareluxkphuaethnaebbhlaykhntxhnungekhteluxktng aelaphumisiththieluxktngichsiththieluxkphusmkhrtamladbthichxb odyladbthieluxkniinphayhlngcathuknaipnbkhaaenntamsdswnodythikhaaenncaimsuyiphakphusmkhrinladbnnidrbeluxkipaelw 1 odykhaaennesiyngcathukoxnipihphusmkhrladbthdip kareluxktngaebbnieriykknxikchuxhnungwa kareluxktngaebbmiphuchnahlaykhntamladbkareluxk 2 multi winner ranked choice voting twxyangbtrlngkhaaenneluxktngaebbthayoxnkhaaennesiynginkareluxktngsphaxxsetreliynaekhphithxlethrrithxriin kh s 2016 inkareluxktngrabbni phumisiththieluxktnglngkhaaennepnladbkhwamchxbodysamartheluxkidmakkwahnungkhninaetlaekht odyeluxkkhnthichxbmakthisudepnladbthihnung aelaladbxun epnraykarsarxng tamladbkhwamniym odykarnbkhaaenncaerimnbcakladbthihnungkxn aethakphusmkhrladbthihnungidrbeluxkipaelw hruxthuktdipaelw enuxngcakkhaaennesiyngrwmkhxngphusmkhrkhnnnmiimmakphxtxkhaechliy khaaennesiyngcaimsuyip aetcathukthayoxnipyngphusmkhrladbthdiptamladbkxnhlnginekhteluxktngthimicanwnphusmkhrmakkwacanwnthinng phusmkhrthiidrbkhaaennnxythisudcathuktdxxk aelakhaaennkhxngphusmkhrkhnnicathukthayoxnipyngphusmkhrkhnxuntamkareluxkkhxngphumisiththieluxktng inbangrabb khaaennswnthimakkwaokhwta surplus votes khxngphuthichnakareluxktnginkarkhanwnkhrngaerkcathukkracayihaekphusmkhrinxndbthdip odyichkhntxnnicnkwacaidphuchnakhrbthinnginaetlaekhteluxktng inkrnithiyngimmiphusmkhrkhnidthimikhaaennmakkwahruxethakbkhaaennokhwta khntxntxipihtdphusmkhrthiidkhaaennnxythisudxxk aelaexakhaaennnnmaechliyihaekphusmkhrkhnxun ephuxihidphusmkhrthimikhaaennmakkwahruxethakbkhaaennokhwta thaechnnicnkwacaidphuchnakhrbtamcanwnphuaethnthiphungmiinekhtnn 3 kareluxktngrabbniennkhwamsakhykhxngtwphusmkhrmakkwaphrrkhkaremuxng bychiraychux sungemuxepriybethiybkbrabbaebngekhtkhaaennsungsudaelw kareluxktngaebbnicathaihkhaaennesiyngkhxngphuichsiththiimsuyepla inkrnithiphusmkhrimidrbkarkhdeluxk hruxidrbkarkhdeluxkipaelw khaaennesiyngthiekinnnyngmipraoychntxphusmkhrrayxun thiphuichsiththieluxkepnladbthdipnxkcakniyngmiphllphththikhlaykhlungkbrabbsdswn odythaihphrrkhkaremuxngesiyngkhangnxymithinnginspha odyhlkkarkhuximthaihphrrkhkaremuxngidsamarthkhrxngthukthinnginaetlaekhteluxktngid odywtthuprasngkhhlkkhxngrabbnikhuxphumisiththieluxktngichsiththieluxkhnungsiththiinkareluxkphusmkhrhlaykhn enuxha 1 niyam 2 karlngkhaaenn 3 xangxing 4 xanephimetimniyam aekikhemuxichkareluxktngaebbnisahrbkarhaphuchnaephiyngkhnediywcaethiybethakb karlngkhaaenntamladbkhwamchxb instant runoff voting alternative vote preferential voting emuxichinkarhaphuchnakareluxktnghlaykhnbangthieriykwa kareluxktngrabbsdswnodyichesiyngediywaebbthayoxn proportional representation through the single transferable vote PR STV odypktiaelwniyamkhxngkareluxktngaebbthayoxnkhaaennesiyngichinkarhaphuchnamakkwahnungkhnkarlngkhaaenn aekikh twxyangkarlngkhaaennesiyngaebbthayoxnkhaaennesiyng kareluxktngaebbthayoxnkhaaennesiyng phumisiththieluxktngcalngkhaaennesiyngepnladbkhwamniymswnbukhkhl odyxndb 1 khuxphuthiniymmakthisud aelaladb 2 khuxphuthiniymrxnglngma aelailladblngiperuxy tamtwxyangkarlngkhaaennesiyngtamphaphdankhwamux inthangpdibtiaelwraychuxphusmkhrcathukeriyngepnsdmphtamsngkdphrrkhkaremuxng rwmthunginkrniphusmkhrxisrasungcathukaeykiwxiksdmphhnungdwyxangxing aekikh Single Transferable Vote Electoral Reform Society FairVote org Ranked Choice Voting Instant Runoff FairVote subkhnemux 2021 04 12 emuxngrtn vthychnk kareluxktng withiaehngprachathipity PDF sankphasatangpraeths sanknganelkhathikarsphaphuaethnrasdr subkhnemux 6 June 2021 xanephimetim aekikhBartholdi John J III Orlin James B 1991 Single Transferable Vote Resists Strategic Voting PDF Social Choice and Welfare 8 4 341 354 CiteSeerX 10 1 1 127 97 doi 10 1007 BF00183045 ISSN 0176 1714 JSTOR 41105995 S2CID 17749613 subkhnemux 30 August 2017 Benade Gerdus Buck Ruth Duchin Moon Gold Dara Weighill Thomas 2021 Ranked Choice Voting and Minority Representation PDF SSRN doi 10 2139 ssrn 3778021 subkhnemux 2 March 2021 Geller Chris 2002 Single Transferable Vote with Borda Elimination A New Vote Counting System PDF Deakin University Faculty of Business and Law 2004 Single Transferable Vote with Borda Elimination Proportional Representation Moderation Quasi chaos and Stability Electoral Studies 24 2 265 280 doi 10 1016 j electstud 2004 06 004 ISSN 1873 6890 O Neill Jeffrey C 2004 Tie Breaking with the Single Transferable Vote PDF Voting Matters 18 14 17 ISSN 1745 6231 subkhnemux 30 August 2017 Sawer Marian Miskin Sarah 1999 Papers on Parliament No 34 Representation and Institutional Change 50 Years of Proportional Representation in the Senate PDF Department of the Senate ISBN 0 642 71061 9 Unknown parameter name list style ignored help Stone Bruce 2008 State legislative councils designing for accountability In N Aroney S Prasser amp J R Nethercote Eds Restraining Elective Dictatorship PDF UWA Publishing pp 175 195 ISBN 978 1 921401 09 1 Unknown parameter name list style ignored help ekhathungcak https th wikipedia org w index php title kareluxktngaebbthayoxnkhaaennesiyng amp oldid 9474965, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม