fbpx
วิกิพีเดีย

จีโปรตีน

บทความนี้กล่าวถึงจีโปรตีน หรือ guanine nucleotide-binding protein ซึ่งมีบทบาทในการส่งผ่านสัญญาณจากสิ่งเร้าในรูปแบบต่าง ๆ นอกเซลล์เข้าไปในเซลล์ สำหรับโปรตีนจีซึ่งเป็นโปรตีนที่จับกับสารภูมิต้านทาน เป็นโปรตีนที่แสดงออกในแบคทีเรียคล้ายกับโปรตีนเอ ดูที่ โปรตีนจี

จีโปรตีน (อังกฤษ: G protein) หรือ guanine nucleotide-binding proteins เป็นหมู่โปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นสวิตช์โมเลกุลภายในเซลล์ และมีบทบาทในการส่งผ่านสัญญาณจากสิ่งเร้าในรูปแบบต่าง ๆ นอกเซลล์เข้าไปในเซลล์ แฟกเตอร์ต่าง ๆ จะควบคุมฤทธิ์ของมันโดยคุมการจับของมันกับ guanosine triphosphate (GTP) และคุมการสลาย GTP ด้วยน้ำให้เป็น guanosine diphosphate (GDP) เพราะเมื่อมันจับกับ GTP มันจึงจะมีฤทธิ์คือมีสภาพกัมมันต์ และเมื่อมันจับกับ GDP มันก็จะไร้ฤทธิ์คือมีสภาพอกัมมันต์ จีโปรตีนเป็นส่วนของกลุ่มเอนไซม์กลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า GTPase

Phosducin-transducin beta-gamma complex - หน่วยย่อยบีตาและแกมมาของจีโปรตีนแสดงเป็นสีน้ำเงินและแดงตามลำดับ
Guanosine diphosphate (GDP)

มีจีโปรตีนสองกลุ่ม กลุ่มแรกทำงานเป็น GTPase ที่เป็นมอนอเมอร์ขนาดเล็ก (monomeric small GTPase) และกลุ่มสองทำงานเป็นคอมเพล็กซ์จีโปรตีนที่มีสามส่วนโดยแต่ละส่วนไม่เหมือนกัน (heterotrimeric G protein) โดยคอมเพล็กซ์กลุ่มหลังจะมีหน่วยย่อย ๆ คือ แอลฟา (α) บีตา (β) และแกมมา (γ) อนึ่ง หน่วยย่อยบีตาและแกมมายังอาจรวมเป็นคอมเพล็กซ์แบบไดเมอร์ที่เสถียร โดยเรียกว่า คอมเพล็กซ์บีตา-แกมมา (beta-gamma complex)

จีโปรตีนในเซลล์จะเริ่มทำงาน/เปลี่ยนเป็นสภาพกัมมันต์โดยหน่วยรับ คือ G protein-coupled receptor (GPCR) ที่ทอดข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ คือโมเลกุลส่งสัญญาณที่หนึ่งจะจับกับโดเมนภายนอกของ GPCR และโดเมนภายในก็จะเริ่มการทำงานของจีโปรตีน โดย GPCR ที่ยังไม่เริ่มทำงานบางอย่างได้แสดงแล้วว่า จับคู่อยู่กับจีโปรตีน แล้วจีโปรตีนก็จะเริ่มลำดับการส่งสัญญาณต่อ ๆ ไปซึ่งในที่สุดมีผลเปลี่ยนการทำงานของเซลล์ GPCR และจีโปรตีนทำงานร่วมกันเพื่อส่งผ่านสัญญาณจากฮอร์โมน จากสารสื่อประสาท และจากแฟกเตอร์ส่งสัญญาณอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก

จีโปรตีนควบคุมกลไกต่าง ๆ รวมทั้งเอนไซม์ ช่องไอออน โปรตีนขนส่ง และกลไกการทำงานของเซลล์อื่น ๆ ซึ่งเป็นการควบคุมการถอดรหัสยีน การเคลื่อนไหว (motility) การหดเกร็ง (contractility) และการหลั่งสารของเซลล์ ซึ่งก็เป็นการควบคุมหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ในร่างกายมากมายรวมทั้งพัฒนาการของตัวอ่อน การเรียนรู้ ความจำ และภาวะธำรงดุล

ประวัติ

นักเคมีชีววิทยาชาวอเมริกันสองท่าน (Alfred G. Gilman และ Martin Rodbell) ค้นพบจีโปรตีนเมื่อตรวจสอบการเร้าเซลล์ด้วยเอพิเนฟรีน แล้วพบว่า เมื่อเอพิเนฟรีนจับกับหน่วยรับ หน่วยรับไม่ได้กระตุ้นให้เอนไซม์ภายในเซลล์เริ่มการทำงานโดยตรง แต่หน่วยรับกระตุ้นจีโปรตีน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นเอนไซม์ เช่น adenylate cyclase ให้สร้างโมเลกุลส่งสัญญาณที่สองคือ cyclic AMP เพราะการค้นพบนี้ นักวิชาการทั้งสองท่านได้ร่วมรับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ปี 1994

รางวัลโนเบลหลายรางวัลได้มอบให้เนื่องกับงานด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการส่งสัญญาณของจีโปรตีนและ GPCR รวมทั้งสารต้านหน่วยรับ (receptor antagonist), สารสื่อประสาท, การดูดสารสื่อประสาทคืน (neurotransmitter reuptake), G protein-coupled receptors, จีโปรตีน, โมเลกุลส่งสัญญาณที่สอง, เอนไซม์ที่จุดชนวนปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชันของโปรตีนเมื่อตอบสนองต่อ cAMP, และกระบวนการทางเมแทบอลิซึมที่เกิดต่อ ๆ มาเช่น การสลายไกลโคเจน (glycogenolysis) ตัวอย่างรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์เด่น ๆ ที่ให้รวมทั้ง

  • ปี 1947 ให้แก่ Carl Cori, Gerty Cori และ Bernardo Houssay เพราะได้ค้นพบว่า ไกลโคเจนสลายเป็นกลูโคสและสังเคราะห์ขึ้นในร่างกายเพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บพลังงานได้อย่างไร โดยการสลายไกลโคเจนสามารถเกิดขึ้นเมื่อกระตุ้นโดยฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาทมากมายรวมทั้งเอพิเนฟรีน
  • ปี 1970 ให้แก่ Julius Axelrod, Bernard Katz และ Ulf von Euler เพราะงานเกี่ยวกับการปล่อยและการดูดซึมคืนสารสื่อประสาท
  • ปี 1971 ให้แก่ Earl Sutherland เพราะค้นพบบทบาทหลักของ adenylate cyclase ซึ่งสร้างโมเลกุลส่งสัญญาณที่สองคือ cyclic AMP
  • ปี 1988 ให้แก่ George H. Hitchings, Sir James Black และ Gertrude Elion เนื่องกับ "การค้นพบหลักสำคัญในการรักษาด้วยยา" ที่มี GPCR เป็นเป้าหมาย
  • ปี 1992 ให้แก่ Edwin G. Krebs และ Edmond H. Fischer เพราะได้อธิบายปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชันแบบผันกลับได้ ซึ่งทำงานเหมือนกับสวิตช์โมเลกุลที่เริ่มการทำงานของโปรตีน และที่ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ในเซลล์รวมทั้งการสลายไกลโคเจน
  • ปี 1994 ให้แก่ Alfred G. Gilman และ Martin Rodbell เพราะค้นพบ "จีโปรตีนและบทบาทของโปรตีนเหล่านี้ในการถ่ายโอนสัญญาณภายในเซลล์"
  • ปี 2000 ให้แก่ Eric Kandel, Arvid Carlsson และ Paul Greengard สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับสารสื่อประสาทเช่น โดพามีน ซึ่งออกฤทธิ์ผ่าน GPCR
  • ปี 2004 ให้แก่ Richard Axel และ Linda B. Buck สำหรับงานเกี่ยวกับหน่วยรับกลิ่นซึ่งเป็น GPCR
  • ปี 2012 ให้แก่ Brian Kobilka และ Robert Lefkowitz สำหรับงานเกี่ยวกับการทำงานของ GPCR

หน้าที่การทำงาน

จีโปรตีนเป็นโมเลกุลถ่ายโอนสัญญาณที่สำคัญในเซลล์ และ "การทำหน้าที่ผิดปรกติของวิถีส่งสัญญาณเนื่องกับ GPCR มีบทบาทในโรคมากมาย เช่น เบาหวาน ตาบอด ภูมิแพ้ โรคซึมเศร้า ความบกพร่องของหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็งบางชนิด มีการประเมินว่า ประมาณ 30% ของเป้าหมายของยาปัจจุบันในเซลล์ก็คือ GPCRs"

จีโนมมนุษย์เข้ารหัส GPCR 800 ชนิดโดยคร่าว ๆ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจจับโฟตอนแสง, ฮอร์โมน, growth factor, ยา, และลิแกนด์ในร่างกายอื่น ๆ โดย GPCR ในจีโนมมนุษย์ประมาณ 150 ชนิดยังไม่รู้ว่าทำหน้าที่อะไร

จีโปรตีนเริ่มทำงานโดยหน่วยรับ GPCR และยุติการทำงานโดยโปรตีน RGS (Regulator of G protein signalling) คือหน่วยรับจะกระตุ้นให้ GTP จับ ซึ่งเริ่มการทำงานของจีโปรตีน ส่วนโปรตีน RGS จะกระตุ้นการสลายด้วยน้ำของ GTP ให้กลายเป็น GDP ซึ่งยุติการทำงานของจีโปรตีน

การส่งสัญญาณแบบต่าง ๆ

คำว่า จีโปรตีน สามารถหมายถึงกลุ่มโปรตีนที่ไม่เหมือนกันสองกลุ่ม คือ จีโปรตีนที่มีสามส่วนซึ่งแตกต่างกัน และบางครั้งเรียกว่าจีโปรตีนขนาดใหญ่ จะเริ่มทำงานโดย GPCR เป็นโปรตีนที่มีหน่วยย่อย ๆ คือ อัลฟา (α) บีตา (β) และแกมมา (γ) ส่วนจีโปรตีนขนาดเล็ก (20-25kDa) เป็นส่วนของหมู่โปรตีน Ras ซึ่งเป็นส่วนย่อยของหมู่โปรตีน small GTPase โปรตีนขนาดเล็กเหล่านี้มีต้นกำเนิดเหมือนกับหน่วยย่อยอัลฟาที่พบในโปรตีนใหญ่ แต่อยู่ในรูปมอนอเมอร์ คือมีแค่ส่วนเดียว แต่ก็เหมือนกับโปรตีนใหญ่คือ จะจับกับ GTP สลับกับ GDP และมีบทบาทในการถ่ายโอนสัญญาณ

จีโปรตีนที่มีสามส่วนซึ่งแตกต่างกัน

จีโปรตีนที่มีสามส่วนซึ่งแตกต่างกัน (heterotrimer) ชนิดต่าง ๆ จะมีกลไกสามัญร่วมกัน คือจะเริ่มทำงานตอบสนองต่อการเปลี่ยนโครงรูปของ GPCR โดยแลก GDP ที่มีกับ GTP แล้วแยกตัวออกเพื่อเริ่มการทำงานของโปรตีนอื่น ๆ ในวิถีการถ่ายโอนสัญญาณโดยเฉพาะ ๆ แต่กลไกหลังนี้ จะต่างกันระหว่างโปรตีนต่าง ๆ

กลไกสามัญ

 
วงจรการทำงานของจีโปรตีน (สีม่วง) ที่เริ่มโดย G-protein coupled receptor (สีฟ้าอ่อน) เมื่อได้รับลิแกนด์ (สีแดง)

จีโปรตีนที่เริ่มทำงานโดยหน่วยรับ จะยึดอยู่กับผิวด้านในของเยื่อหุ้มเซลล์ และประกอบด้วยหน่วยย่อย Gα และหน่วยย่อย Gβγ มีหน่วยรับ Gα หลายกลุ่ม เช่น Gsα (G stimulatory), Giα (G inhibitory), Goα (G other), Gq/11α, และ G12/13α ซึ่งทำการต่างกันต่อโมเลกุลปฏิบัติงาน แต่จะเริ่มทำงานอาศัยกลไกเหมือน ๆ กัน

การเริ่มการทำงาน/การก่อกัมมันต์ (Activation)

เมื่อลิแกนด์เริ่มการทำงานของหน่วยรับ คือ G protein-coupled receptor (GPCR) GPCR จะเปลี่ยนโครงรูปแล้วจึงสามารถทำหน้าที่เป็น guanine nucleotide exchange factor (GEF) ที่แลกให้ GDP เพื่อเอา GTP โดย GTP จะจับกับหน่วยย่อย Gα ของจีโปรตีน เป็นการก่อสภาพกัมมันต์ของโปรตีน นี่เป็นแบบจำลองดั้งเดิม แล้ว Gα ก็จะแยกออกจากไดเมอร์คือ Gβγ ซึ่งก็เป็นการแยกออกจากหน่วยรับนั่นเอง แต่แบบจำลองที่บ่งรายละเอียดอื่น ๆ (molecular rearrangement, reorganization, และ pre-complexing of effector molecules) ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับ ต่อจากนั้น ทั้งหน่วยย่อย Gα-GTP และ Gβγ อาจเริ่มลำดับการส่งสัญญาณ (หรือวิถีโมเลกุลส่งสัญญาณที่สอง) และเริ่มการทำงานของโปรตีนปฏิบัติงานต่าง ๆ

การยุติ

หน่วยย่อย Gα ในที่สุดก็จะสลาย GTP ที่ยึดอยู่ร่วมกันด้วยน้ำ ให้กลายเป็น GDP อาศัยฤทธิ์เอนไซม์ คือ GTPase ที่มีอยู่ในตัว ทำให้มันสามารถคืนกลับไปยึดกับหน่วยย่อย Gβγ และเริ่มวัฏจักรต่อไป

กลุ่มโปรตีนที่เรียกว่า Regulator of G protein signalling (RGSs) และออกฤทธิ์เป็น GTPase-activating proteins (GAPs) เป็นโปรตีนโดยเฉพาะ ๆ สำหรับหน่วยย่อย Gα โดยเฉพาะ ๆ โปรตีนเหล่านั้นจะจับกับหน่วยย่อย Gα แล้วเร่งการสลายด้วยน้ำของ GTP ให้เป็น GDP ซึ่งยุติการถ่ายโอนสัญญาณ ในบางกรณี โปรตีนปฏิบัติงานเองอาจมีฤทธิ์แบบ GAP อยู่ในตัว ซึ่งช่วยยุติวิถีการถ่ายโอนสัญญาณ เช่นในกรณีของ phospholipase C-beta ซึ่งมีฤทธิ์แบบ GAP ที่บริเวณ C-terminal นี่เป็นวิธีการควบคุมหน่วยย่อย Gα อีกอย่างหนึ่ง ถึงกระนั้น GAP ก็ไม่ได้มีลำดับกรดอะมิโนโดยเฉพาะเพื่อเริ่มปฏิกิริยาการสลายด้วยน้ำใน Gα แต่มันทำงานโดยลดระดับพลังงานการเปลี่ยนสภาพในกระบวนการสลายด้วยน้ำ

กลไกโดยเฉพาะ ๆ

Gαs

Gαs เป็นตัวเริ่มวิถีถ่ายโอนสัญญาณที่อาศัย cAMP (cAMP-dependent pathway) โดยกระตุ้น adenylate cyclase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ยึดอยู่กับเยื่อหุ้มเซลล์ ให้ผลิต cyclic AMP (cAMP) จาก ATP แล้ว cAMP ก็จะออกฤทธิ์เป็นโมเลกุลส่งสัญญาณที่สอง โดยจะมีปฏิสัมพันธ์กับแล้วเริ่มการทำงานของ protein kinase A (PKA) จากนั้น PKA ก็จะสามารถทำปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชันกับโปรตีนเป้าหมายต่อ ๆ ไปอีกมากมาย

การถ่ายโอนสัญญาณที่อาศัย cAMP เป็นวิถีการถ่ายโอนสัญญาณสำหรับฮอร์โมนหลายอย่างรวมทั้ง

  • ADH (Vasopressin) - โปรโหมตให้ไตเก็บน้ำ - ผลิตโดยต่อมใต้สมองที่ V2 Cells ใน Posterior Pituitary
  • GHRH (Growth hormone-releasing hormone) กระตุ้นให้สังเคราะห์แล้วหลั่ง growth hormone (GH) - ผลิตโดยต่อมใต้สมองที่ Somatotroph Cells ใน Anterior Pituitary
  • GHIH (Somatostatin) - ยับยั้งการสังเคราะห์และการหลั่ง GH - ผลิตโดย Somatotroph Cells ใน Anterior Pituitary
  • CRH (Corticotropin-releasing hormone) - กระตุ้นให้สังเคราะห์และหลั่ง ACTH (Adrenocorticotropic hormone) - ผลิตโดย Anterior Pituitary
  • ACTH (Adrenocorticotropic hormone) - กระตุ้นให้สังเคราะห์และหลั่งคอร์ติซอล - ผลิตโดยต่อมหมวกไตที่ Zona fasciculata ของ adrenal cortex
  • TSH (Thyroid-stimulating hormone) - กระตุ้นให้สังเคราะห์และหลั่ง Thyroxine (T4) ส่วนมาก - ผลิตโดยต่อมไทรอยด์
  • LH (Luteinizing hormone) - กระตุ้นการเจริญเต็มที่ของถุงน้อยในรังไข่และให้ตกไข่ในหญิง และกระตุ้นให้ผลิตเทสโทสเตอโรนและสร้างสเปิร์มในชาย
  • FSH (Follicle stimulating hormone) - กระตุ้นพัฒนาการของถุงน้อยในรังไข่ในหญิง และกระตุ้นให้สร้างสเปิร์มในชาย
  • PTH (Parathyroid hormone) - เพิ่มระดับแคลเซียมในเลือด โดยทำผ่านหน่วยรับ คือ Parathyroid hormone 1 receptor (PTH1) ในไตและกระดูก หรือผ่านหน่วยรับ Parathyroid hormone 2 receptor (PTH2) ในระบบประสาทกลางและสมอง รวมทั้งในกระดูกและไตด้วย
  • Calcitonin - ลดระดับแคลเซียมในเลือด ผ่านหน่วยรับ calcitonin receptor ในลำไส้ กระดูก ไต และสมอง
  • กลูคากอน - กระตุ้นการสลายไกลโคเจนในตับ
  • hCG (human chorionic gonadotropin) - โปรโหมตการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ (cellular differentiation) และอาจมีบทบาทในอะพอพโทซิส
  • เอพิเนฟรีน - หลั่งจากต่อมหมวกไตส่วน adrenal medulla เมื่ออด/ขาดอาหาร มันกระตุ้นการสลายไกลโคเจน นอกเหนือจากฤทธิ์ของกลูคากอน
Gαi

Gαi จะยับยั้งการผลิต cAMP จาก ATP

Gαq/11

Gαq/11 จะกระตุ้นเอนไซม์ phospholipase C beta ซึ่งยึดกับเยื่อหุ้มเซลล์ แล้วเอนไซม์ก็จะแยก PIP2 (ซึ่งเป็น phosphoinositol ที่เยื่อหุ้มเซลล์) ให้เป็นโมเลกุลส่งสัญญาณที่สอง 2 ประเภท คือ IP3 (Inositol trisphosphate) และ DAG (diacylglycerol) วิถี Inositol Phospholipid Dependent Pathway ใช้สำหรับถ่ายโอนสัญญาณสำหรับฮอร์โมนหลายประเภทรวมทั้ง

  • ADH (Vasopressin/AVP) - กระตุ้นการสังเคราะห์และการหลั่ง glucocorticoid (ผลิตโดยต่อมหมวกไตที่ Zona fasciculata ของ adrenal cortex) และกระตุ้นการตีบของหลอดเลือด
  • TRH (Thyrotropin-releasing hormone) กระตุ้นการสังเคราะห์และการหลั่ง TSH (Thyroid-stimulating hormone) - ผลิตโดย Anterior pituitary
  • TSH (Thyroid-stimulating hormone) - กระตุ้นให้สังเคราะห์และหลั่ง Thyroxine (T4) ส่วนน้อย - ผลิตโดยต่อมไทรอยด์
  • Angiotensin II - กระตุ้นให้สังเคราะห์และหลั่งแอลโดสเตอโรน (ผลิตโดยต่อมหมวกไตที่ zona glomerulosa ของ adrenal cortex)
  • GnRH (Gonadotropin-releasing hormone) - กระตุ้นให้สังเคราะห์และหลั่ง FSH (Follicle stimulating hormone) และ LH (Luteinizing hormone) - ผลิตโดย Anterior Pituitary
Gα12/13

Gα12/13 มีบทบาทในการส่งสัญญาณของ GTPase ในหมู่ Rho (Rho family GTPase signaling) ผ่าน guanine nucleotide exchange factor (GEF) ใน RhoGEF superfamily โดยอาศัยโดเมน RhoGEF ที่โครงสร้างโปรตีน เหล่านี้มีบทบาทควบคุมการเปลี่ยน cytoskeleton ของเซลล์ และดังนั้น จึงมีบทบาทควบคุมการย้ายที่ของเซลล์

Gβγ

คอมเพล็กซ์บีตา-แกมมา บางครั้งก็มีหน้าที่การทำงานอย่างแอ๊กถีฟเหมือนกัน ตัวอย่างรวมทั้งการจับกับแล้วเริ่มการทำงานของช่อง G protein-coupled inwardly-rectifying potassium channel (GIRK)

GTPases ขนาดเล็ก

GTPases ขนาดเล็กก็ยึดกับ GTP และ GDP ด้วยเหมือนกันและดังนั้น จึงมีบทบาทในการถ่ายโอนสัญญาณ เป็นโปรตีนที่มีกำเนิดเดียว (homologous) กับกับหน่วยย่อยแอลฟา (α) ที่พบในจีโปรตีนแบบมีสามส่วนซึ่งแตกต่างกัน (heterotrimer) แต่โปรตีนนี้มีส่วนเดียว (มอนอเมอร์) โปรตีนมีขนาดเล็ก (20-25 kDa) และจับอยู่กับ GTP เมื่อไม่มีฤทธิ์ (ในสภาพอกัมมันต์) โปรตีนหมู่นี้มีกำเนิดเดียวกับ Ras GTPases และก็จัดอยู่ใน Ras superfamily GTPase ด้วย

พันธะกับลิพิด

เยื่อหุ้มเซลล์เป็นชั้นลิพิดสองชั้นที่แบ่งเป็นส่วนนอก (outer leaflet) และส่วนใน (inner leaflet) เพื่อที่จะเกาะติดอยู่กับส่วนในของเยื่อหุ้มเซลล์ จีโปรตีนและ GTPase ขนาดเล็ก จะต้องดัดแปลงให้มีพันธะโคเวเลนต์กับส่วนเพิ่มที่เป็นลิพิด ซึ่งอาจเกิดผ่านกระบวนการ myristoylation, palmitoylation, หรือ prenylation

เชิงอรรถ

  1. การสลายไกลโคเจน (glycogenolysis) เป็นการแตกไกลโคเจน (n) เป็น glucose-6-phosphate และ ไกลโคเจน (n - 1)

อ้างอิง

  1. Hurowitz, EH; Melnyk, JM; Chen, YJ; Kouros-Mehr, H; Simon, MI; Shizuya, H (2000-04). "Genomic characterization of the human heterotrimeric G protein alpha, beta, and gamma subunit genes". DNA Research. 7 (2): 111–20. doi:10.1093/dnares/7.2.111. PMID 10819326. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (link)
  2. Clapham, DE; Neer, EJ (1997). "G protein beta gamma subunits". Annual Review of Pharmacology and Toxicology. 37: 167–203. doi:10.1146/annurev.pharmtox.37.1.167. PMID 9131251.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  3. "Seven Transmembrane Receptors: Robert Lefkowitz" (ภาษาอังกฤษ). 2012-09-09. สืบค้นเมื่อ 2016-07-11.
  4. Qin, K; Dong, C; Wu, G; Lambert, NA (2011-08). "Inactive-state preassembly of G(q) -coupled receptors and G(q) heterotrimers". Nature Chemical Biology. 7 (10): 740–7. doi:10.1038/nchembio.642. PMC 3177959. PMID 21873996. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (link)
  5. Reece, J; CN (2002). Biology. San Francisco: Benjamin Cummings. ISBN 0-8053-6624-5.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  6. Neves, SR; Ram, PT; Iyengar, R (2002-05). "G protein pathways". Science. 296 (5573): 1636–9. Bibcode:2002Sci...296.1636N. doi:10.1126/science.1071550. PMID 12040175. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (link)
  7. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1994, Illustrated Lecture". 1994.
  8. "The Nobel Assembly at the Karolinska Institute decided to award the Nobel Prize in Physiology or Medicine for 1994 jointly to Alfred G. Gilman and Martin Rodbell for their discovery of "G-proteins and the role of these proteins in signal transduction in cells"". nobelprize.org (Press release). 1994-10-10.
  9. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1992 Press Release". Nobel Assembly at Karolinska Institutet. สืบค้นเมื่อ 2013-08-21.
  10. "Press Release". 1994.
  11. "Press Release: The 2004 Nobel Prize in Physiology or Medicine". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
  12. Royal Swedish Academy of Sciences (2012-10-10). "The Nobel Prize in Chemistry 2012 Robert J. Lefkowitz, Brian K. Kobilka". สืบค้นเมื่อ 2012-10-10.
  13. Bosch, DE; Siderovski, DP (2013-03). "G protein signaling in the parasite Entamoeba histolytica". Experimental & Molecular Medicine. 45 (1038): e15. doi:10.1038/emm.2013.30. PMC 3641396. PMID 23519208. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (link)
  14. Baltoumas, FA; Theodoropoulou, MC; Hamodrakas, SJ (2013-06). "Interactions of the α-subunits of heterotrimeric G-proteins with GPCRs, effectors and RGS proteins: a critical review and analysis of interacting surfaces, conformational shifts, structural diversity and electrostatic potentials". Journal of Structural Biology. 182 (3): 209–18. doi:10.1016/j.jsb.2013.03.004. PMID 23523730. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (link)
  15. Digby, GJ; Lober, RM; Sethi, PR; Lambert, NA (2006-11). "Some G protein heterotrimers physically dissociate in living cells". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 103 (47): 17789–94. Bibcode:2006PNAS..10317789D. doi:10.1073/pnas.0607116103. PMC 1693825. PMID 17095603. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (link)
  16. Khafizov, K; Lattanzi, G; Carloni, P (2009-06). "G protein inactive and active forms investigated by simulation methods". Proteins. 75 (4): 919–30. doi:10.1002/prot.22303. PMID 19089952. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (link)
  17. Yuen, JW; Poon, LS; Chan, AS; Yu, FW; Lo, RK; Wong, YH (2010-06). "Activation of STAT3 by specific Galpha subunits and multiple Gbetagamma dimers". The International Journal of Biochemistry & Cell Biology. 42 (6): 1052–9. doi:10.1016/j.biocel.2010.03.017. PMID 20348012. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (link)
  18. Sprang, SR; Chen, Z; Du, X (2007). "Structural basis of effector regulation and signal termination in heterotrimeric Galpha proteins". Advances in Protein Chemistry. Advances in Protein Chemistry. 74: 1–65. doi:10.1016/S0065-3233(07)74001-9. ISBN 978-0-12-034288-4. PMID 17854654.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  19. . PMID 17452545. Cite journal requires |journal= (help); Missing or empty |title= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

โปรต, บทความน, กล, าวถ, หร, guanine, nucleotide, binding, protein, งม, บทบาทในการส, งผ, านส, ญญาณจากส, งเร, าในร, ปแบบต, าง, นอกเซลล, เข, าไปในเซลล, สำหร, บโปรต, นจ, งเป, นโปรต, นท, บก, บสารภ, านทาน, เป, นโปรต, นท, แสดงออกในแบคท, เร, ยคล, ายก, บโปรต, นเอ, โปรต. bthkhwamniklawthungcioprtin hrux guanine nucleotide binding protein sungmibthbathinkarsngphansyyancaksingerainrupaebbtang nxkesllekhaipinesll sahrboprtincisungepnoprtinthicbkbsarphumitanthan epnoprtinthiaesdngxxkinaebkhthieriykhlaykboprtinex duthi oprtinci cioprtin xngkvs G protein hrux guanine nucleotide binding proteins epnhmuoprtinthithahnathiepnswitchomelkulphayinesll aelamibthbathinkarsngphansyyancaksingerainrupaebbtang nxkesllekhaipinesll aefketxrtang cakhwbkhumvththikhxngmnodykhumkarcbkhxngmnkb guanosine triphosphate GTP aelakhumkarslay GTP dwynaihepn guanosine diphosphate GDP ephraaemuxmncbkb GTP mncungcamivththikhuxmisphaphkmmnt aelaemuxmncbkb GDP mnkcairvththikhuxmisphaphxkmmnt cioprtinepnswnkhxngklumexnismklumihythieriykwa GTPasePhosducin transducin beta gamma complex hnwyyxybitaaelaaekmmakhxngcioprtinaesdngepnsinaenginaelaaedngtamladb Guanosine diphosphate GDP micioprtinsxngklum klumaerkthanganepn GTPase thiepnmxnxemxrkhnadelk monomeric small GTPase aelaklumsxngthanganepnkhxmephlkscioprtinthimisamswnodyaetlaswnimehmuxnkn heterotrimeric G protein odykhxmephlksklumhlngcamihnwyyxy khux aexlfa a bita b aelaaekmma g 1 xnung hnwyyxybitaaelaaekmmayngxacrwmepnkhxmephlksaebbidemxrthiesthiyr odyeriykwa khxmephlksbita aekmma beta gamma complex 2 cioprtininesllcaerimthangan epliynepnsphaphkmmntodyhnwyrb khux G protein coupled receptor GPCR thithxdkhameyuxhumesll 3 khuxomelkulsngsyyanthihnungcacbkbodemnphaynxkkhxng GPCR aelaodemnphayinkcaerimkarthangankhxngcioprtin ody GPCR thiyngimerimthanganbangxyangidaesdngaelwwa cbkhuxyukbcioprtin 4 aelwcioprtinkcaerimladbkarsngsyyantx ipsunginthisudmiphlepliynkarthangankhxngesll GPCR aelacioprtinthanganrwmknephuxsngphansyyancakhxromn caksarsuxprasath aelacakaefketxrsngsyyanxun epncanwnmak 5 cioprtinkhwbkhumkliktang rwmthngexnism chxngixxxn oprtinkhnsng aelaklikkarthangankhxngesllxun sungepnkarkhwbkhumkarthxdrhsyin karekhluxnihw motility karhdekrng contractility aelakarhlngsarkhxngesll sungkepnkarkhwbkhumhnathikhxngrabbtang inrangkaymakmayrwmthngphthnakarkhxngtwxxn kareriynru khwamca aelaphawatharngdul 6 enuxha 1 prawti 2 hnathikarthangan 3 karsngsyyanaebbtang 3 1 cioprtinthimisamswnsungaetktangkn 3 1 1 kliksamy 3 1 1 1 karerimkarthangan karkxkmmnt Activation 3 1 1 2 karyuti 3 1 2 klikodyechphaa 3 1 2 1 Gas 3 1 2 2 Gai 3 1 2 3 Gaq 11 3 1 2 4 Ga12 13 3 1 2 5 Gbg 3 2 GTPases khnadelk 4 phnthakbliphid 5 echingxrrth 6 xangxing 7 aehlngkhxmulxunprawti aekikhnkekhmichiwwithyachawxemriknsxngthan Alfred G Gilman aela Martin Rodbell khnphbcioprtinemuxtrwcsxbkareraeslldwyexphienfrin aelwphbwa emuxexphienfrincbkbhnwyrb hnwyrbimidkratunihexnismphayinesllerimkarthanganodytrng aethnwyrbkratuncioprtin sungepntwkratunexnism echn adenylate cyclase ihsrangomelkulsngsyyanthisxngkhux cyclic AMP 7 ephraakarkhnphbni nkwichakarthngsxngthanidrwmrbrangwloneblsakhasrirwithyahruxkaraephthypi 1994 8 rangwloneblhlayrangwlidmxbihenuxngkbngandantang ekiywkbkarsngsyyankhxngcioprtinaela GPCR rwmthngsartanhnwyrb receptor antagonist sarsuxprasath kardudsarsuxprasathkhun neurotransmitter reuptake G protein coupled receptors cioprtin omelkulsngsyyanthisxng exnismthicudchnwnptikiriyafxsofrielchnkhxngoprtinemuxtxbsnxngtx cAMP aelakrabwnkarthangemaethbxlisumthiekidtx maechn karslayiklokhecn glycogenolysis A twxyangrangwloneblsakhasrirwithyahruxkaraephthyedn thiihrwmthng pi 1947 ihaek Carl Cori Gerty Cori aela Bernardo Houssay ephraaidkhnphbwa iklokhecnslayepnkluokhsaelasngekhraahkhuninrangkayephuxichepnaehlngekbphlngnganidxyangir odykarslayiklokhecnsamarthekidkhunemuxkratunodyhxromnhruxsarsuxprasathmakmayrwmthngexphienfrin pi 1970 ihaek Julius Axelrod Bernard Katz aela Ulf von Euler ephraanganekiywkbkarplxyaelakardudsumkhunsarsuxprasath pi 1971 ihaek Earl Sutherland ephraakhnphbbthbathhlkkhxng adenylate cyclase sungsrangomelkulsngsyyanthisxngkhux cyclic AMP 7 pi 1988 ihaek George H Hitchings Sir James Black aela Gertrude Elion enuxngkb karkhnphbhlksakhyinkarrksadwyya thimi GPCR epnepahmay pi 1992 ihaek Edwin G Krebs aela Edmond H Fischer ephraaidxthibayptikiriyafxsofrielchnaebbphnklbid sungthanganehmuxnkbswitchomelkulthierimkarthangankhxngoprtin aelathikhwbkhumkrabwnkartang inesllrwmthngkarslayiklokhecn 9 pi 1994 ihaek Alfred G Gilman aela Martin Rodbell ephraakhnphb cioprtinaelabthbathkhxngoprtinehlaniinkarthayoxnsyyanphayinesll 10 pi 2000 ihaek Eric Kandel Arvid Carlsson aela Paul Greengard sahrbnganwicyekiywkbsarsuxprasathechn odphamin sungxxkvththiphan GPCR pi 2004 ihaek Richard Axel aela Linda B Buck sahrbnganekiywkbhnwyrbklinsungepn GPCR 11 pi 2012 ihaek Brian Kobilka aela Robert Lefkowitz sahrbnganekiywkbkarthangankhxng GPCR 12 hnathikarthangan aekikhcioprtinepnomelkulthayoxnsyyanthisakhyinesll aela karthahnathiphidprktikhxngwithisngsyyanenuxngkb GPCR mibthbathinorkhmakmay echn ebahwan tabxd phumiaeph orkhsumesra khwambkphrxngkhxnghwicaelahlxdeluxd aelamaerngbangchnid mikarpraeminwa praman 30 khxngepahmaykhxngyapccubninesllkkhux GPCRs 13 cionmmnusyekharhs GPCR 800 chnidodykhraw 14 sungthahnathitrwccboftxnaesng hxromn growth factor ya aelaliaekndinrangkayxun ody GPCR incionmmnusypraman 150 chnidyngimruwathahnathixaircioprtinerimthanganodyhnwyrb GPCR aelayutikarthanganodyoprtin RGS Regulator of G protein signalling khuxhnwyrbcakratunih GTP cb sungerimkarthangankhxngcioprtin swnoprtin RGS cakratunkarslaydwynakhxng GTP ihklayepn GDP sungyutikarthangankhxngcioprtinkarsngsyyanaebbtang aekikhkhawa cioprtin samarthhmaythungklumoprtinthiimehmuxnknsxngklum khux cioprtinthimisamswnsungaetktangkn aelabangkhrngeriykwacioprtinkhnadihy caerimthanganody GPCR epnoprtinthimihnwyyxy khux xlfa a bita b aelaaekmma g swncioprtinkhnadelk 20 25kDa epnswnkhxnghmuoprtin Ras sungepnswnyxykhxnghmuoprtin small GTPase oprtinkhnadelkehlanimitnkaenidehmuxnkbhnwyyxyxlfathiphbinoprtinihy aetxyuinrupmxnxemxr khuxmiaekhswnediyw aetkehmuxnkboprtinihykhux cacbkb GTP slbkb GDP aelamibthbathinkarthayoxnsyyan cioprtinthimisamswnsungaetktangkn aekikh cioprtinthimisamswnsungaetktangkn heterotrimer chnidtang camikliksamyrwmkn khuxcaerimthangantxbsnxngtxkarepliynokhrngrupkhxng GPCR odyaelk GDP thimikb GTP aelwaeyktwxxkephuxerimkarthangankhxngoprtinxun inwithikarthayoxnsyyanodyechphaa aetklikhlngni catangknrahwangoprtintang kliksamy aekikh wngcrkarthangankhxngcioprtin simwng thierimody G protein coupled receptor sifaxxn emuxidrbliaeknd siaedng cioprtinthierimthanganodyhnwyrb cayudxyukbphiwdaninkhxngeyuxhumesll aelaprakxbdwyhnwyyxy Ga aelahnwyyxy Gbg mihnwyrb Ga hlayklum echn Gsa G stimulatory Gia G inhibitory Goa G other Gq 11a aela G12 13a sungthakartangkntxomelkulptibtingan aetcaerimthanganxasyklikehmuxn kn karerimkarthangan karkxkmmnt Activation aekikh emuxliaeknderimkarthangankhxnghnwyrb khux G protein coupled receptor GPCR GPCR caepliynokhrngrupaelwcungsamarththahnathiepn guanine nucleotide exchange factor GEF thiaelkih GDP ephuxexa GTP ody GTP cacbkbhnwyyxy Ga khxngcioprtin epnkarkxsphaphkmmntkhxngoprtin niepnaebbcalxngdngedim aelw Ga kcaaeykxxkcakidemxrkhux Gbg sungkepnkaraeykxxkcakhnwyrbnnexng aetaebbcalxngthibngraylaexiydxun molecular rearrangement reorganization aela pre complexing of effector molecules kerimepnthiyxmrb 4 15 16 txcaknn thnghnwyyxy Ga GTP aela Gbg xacerimladbkarsngsyyan hruxwithiomelkulsngsyyanthisxng aelaerimkarthangankhxngoprtinptibtingantang 17 karyuti aekikh hnwyyxy Ga inthisudkcaslay GTP thiyudxyurwmkndwyna ihklayepn GDP xasyvththiexnism khux GTPase thimixyuintw thaihmnsamarthkhunklbipyudkbhnwyyxy Gbg aelaerimwtckrtxipklumoprtinthieriykwa Regulator of G protein signalling RGSs aelaxxkvththiepn GTPase activating proteins GAPs epnoprtinodyechphaa sahrbhnwyyxy Ga odyechphaa oprtinehlanncacbkbhnwyyxy Ga aelwerngkarslaydwynakhxng GTP ihepn GDP sungyutikarthayoxnsyyan inbangkrni oprtinptibtinganexngxacmivththiaebb GAP xyuintw sungchwyyutiwithikarthayoxnsyyan echninkrnikhxng phospholipase C beta sungmivththiaebb GAP thibriewn C terminal niepnwithikarkhwbkhumhnwyyxy Ga xikxyanghnung 18 thungkrann GAP kimidmiladbkrdxamionodyechphaaephuxerimptikiriyakarslaydwynain Ga aetmnthanganodyldradbphlngngankarepliynsphaphinkrabwnkarslaydwyna klikodyechphaa aekikh Gas aekikh Gas epntwerimwithithayoxnsyyanthixasy cAMP cAMP dependent pathway odykratun adenylate cyclase sungepnexnismthiyudxyukbeyuxhumesll ihphlit cyclic AMP cAMP cak ATP aelw cAMP kcaxxkvththiepnomelkulsngsyyanthisxng odycamiptismphnthkbaelwerimkarthangankhxng protein kinase A PKA caknn PKA kcasamarththaptikiriyafxsofrielchnkboprtinepahmaytx ipxikmakmaykarthayoxnsyyanthixasy cAMP epnwithikarthayoxnsyyansahrbhxromnhlayxyangrwmthng ADH Vasopressin oprohmtihitekbna phlitodytxmitsmxngthi V2 Cells in Posterior Pituitary GHRH Growth hormone releasing hormone kratunihsngekhraahaelwhlng growth hormone GH phlitodytxmitsmxngthi Somatotroph Cells in Anterior Pituitary GHIH Somatostatin ybyngkarsngekhraahaelakarhlng GH phlitody Somatotroph Cells in Anterior Pituitary CRH Corticotropin releasing hormone kratunihsngekhraahaelahlng ACTH Adrenocorticotropic hormone phlitody Anterior Pituitary ACTH Adrenocorticotropic hormone kratunihsngekhraahaelahlngkhxrtisxl phlitodytxmhmwkitthi Zona fasciculata khxng adrenal cortex TSH Thyroid stimulating hormone kratunihsngekhraahaelahlng Thyroxine T4 swnmak phlitodytxmithrxyd LH Luteinizing hormone kratunkarecriyetmthikhxngthungnxyinrngikhaelaihtkikhinhying aelakratunihphlitethsothsetxornaelasrangsepirminchay FSH Follicle stimulating hormone kratunphthnakarkhxngthungnxyinrngikhinhying aelakratunihsrangsepirminchay PTH Parathyroid hormone ephimradbaekhlesiymineluxd odythaphanhnwyrb khux Parathyroid hormone 1 receptor PTH1 initaelakraduk hruxphanhnwyrb Parathyroid hormone 2 receptor PTH2 inrabbprasathklangaelasmxng rwmthnginkradukaelaitdwy Calcitonin ldradbaekhlesiymineluxd phanhnwyrb calcitonin receptor inlais kraduk it aelasmxng klukhakxn kratunkarslayiklokhecnintb hCG human chorionic gonadotropin oprohmtkarepliynsphaphkhxngesll cellular differentiation aelaxacmibthbathinxaphxphothsis 19 exphienfrin hlngcaktxmhmwkitswn adrenal medulla emuxxd khadxahar mnkratunkarslayiklokhecn nxkehnuxcakvththikhxngklukhakxnGai aekikh Gai caybyngkarphlit cAMP cak ATP Gaq 11 aekikh Gaq 11 cakratunexnism phospholipase C beta sungyudkbeyuxhumesll aelwexnismkcaaeyk PIP2 sungepn phosphoinositol thieyuxhumesll ihepnomelkulsngsyyanthisxng 2 praephth khux IP3 Inositol trisphosphate aela DAG diacylglycerol withi Inositol Phospholipid Dependent Pathway ichsahrbthayoxnsyyansahrbhxromnhlaypraephthrwmthng ADH Vasopressin AVP kratunkarsngekhraahaelakarhlng glucocorticoid phlitodytxmhmwkitthi Zona fasciculata khxng adrenal cortex aelakratunkartibkhxnghlxdeluxd TRH Thyrotropin releasing hormone kratunkarsngekhraahaelakarhlng TSH Thyroid stimulating hormone phlitody Anterior pituitary TSH Thyroid stimulating hormone kratunihsngekhraahaelahlng Thyroxine T4 swnnxy phlitodytxmithrxyd Angiotensin II kratunihsngekhraahaelahlngaexlodsetxorn phlitodytxmhmwkitthi zona glomerulosa khxng adrenal cortex GnRH Gonadotropin releasing hormone kratunihsngekhraahaelahlng FSH Follicle stimulating hormone aela LH Luteinizing hormone phlitody Anterior PituitaryGa12 13 aekikh Ga12 13 mibthbathinkarsngsyyankhxng GTPase inhmu Rho Rho family GTPase signaling phan guanine nucleotide exchange factor GEF in RhoGEF superfamily odyxasyodemn RhoGEF thiokhrngsrangoprtin ehlanimibthbathkhwbkhumkarepliyn cytoskeleton khxngesll aeladngnn cungmibthbathkhwbkhumkaryaythikhxngesll Gbg aekikh khxmephlksbita aekmma bangkhrngkmihnathikarthanganxyangaexkthifehmuxnkn twxyangrwmthngkarcbkbaelwerimkarthangankhxngchxng G protein coupled inwardly rectifying potassium channel GIRK GTPases khnadelk aekikh GTPases khnadelkkyudkb GTP aela GDP dwyehmuxnknaeladngnn cungmibthbathinkarthayoxnsyyan epnoprtinthimikaenidediyw homologous kbkbhnwyyxyaexlfa a thiphbincioprtinaebbmisamswnsungaetktangkn heterotrimer aetoprtinnimiswnediyw mxnxemxr oprtinmikhnadelk 20 25 kDa aelacbxyukb GTP emuximmivththi insphaphxkmmnt oprtinhmunimikaenidediywkb Ras GTPases aelakcdxyuin Ras superfamily GTPase dwyphnthakbliphid aekikheyuxhumesllepnchnliphidsxngchnthiaebngepnswnnxk outer leaflet aelaswnin inner leaflet ephuxthicaekaatidxyukbswninkhxngeyuxhumesll cioprtinaela GTPase khnadelk catxngddaeplngihmiphnthaokhewelntkbswnephimthiepnliphid sungxacekidphankrabwnkar myristoylation palmitoylation hrux prenylationechingxrrth aekikh karslayiklokhecn glycogenolysis epnkaraetkiklokhecn n epn glucose 6 phosphate aela iklokhecn n 1 xangxing aekikh Hurowitz EH Melnyk JM Chen YJ Kouros Mehr H Simon MI Shizuya H 2000 04 Genomic characterization of the human heterotrimeric G protein alpha beta and gamma subunit genes DNA Research 7 2 111 20 doi 10 1093 dnares 7 2 111 PMID 10819326 Check date values in date help CS1 maint uses authors parameter link Clapham DE Neer EJ 1997 G protein beta gamma subunits Annual Review of Pharmacology and Toxicology 37 167 203 doi 10 1146 annurev pharmtox 37 1 167 PMID 9131251 CS1 maint uses authors parameter link Seven Transmembrane Receptors Robert Lefkowitz phasaxngkvs 2012 09 09 subkhnemux 2016 07 11 4 0 4 1 Qin K Dong C Wu G Lambert NA 2011 08 Inactive state preassembly of G q coupled receptors and G q heterotrimers Nature Chemical Biology 7 10 740 7 doi 10 1038 nchembio 642 PMC 3177959 PMID 21873996 Check date values in date help CS1 maint uses authors parameter link Reece J CN 2002 Biology San Francisco Benjamin Cummings ISBN 0 8053 6624 5 CS1 maint uses authors parameter link Neves SR Ram PT Iyengar R 2002 05 G protein pathways Science 296 5573 1636 9 Bibcode 2002Sci 296 1636N doi 10 1126 science 1071550 PMID 12040175 Check date values in date help CS1 maint uses authors parameter link 7 0 7 1 The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1994 Illustrated Lecture 1994 The Nobel Assembly at the Karolinska Institute decided to award the Nobel Prize in Physiology or Medicine for 1994 jointly to Alfred G Gilman and Martin Rodbell for their discovery of G proteins and the role of these proteins in signal transduction in cells nobelprize org Press release 1994 10 10 The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1992 Press Release Nobel Assembly at Karolinska Institutet subkhnemux 2013 08 21 Press Release 1994 Press Release The 2004 Nobel Prize in Physiology or Medicine Nobelprize org subkhnemux 2012 11 08 Royal Swedish Academy of Sciences 2012 10 10 The Nobel Prize in Chemistry 2012 Robert J Lefkowitz Brian K Kobilka subkhnemux 2012 10 10 Bosch DE Siderovski DP 2013 03 G protein signaling in the parasite Entamoeba histolytica Experimental amp Molecular Medicine 45 1038 e15 doi 10 1038 emm 2013 30 PMC 3641396 PMID 23519208 Check date values in date help CS1 maint uses authors parameter link Baltoumas FA Theodoropoulou MC Hamodrakas SJ 2013 06 Interactions of the a subunits of heterotrimeric G proteins with GPCRs effectors and RGS proteins a critical review and analysis of interacting surfaces conformational shifts structural diversity and electrostatic potentials Journal of Structural Biology 182 3 209 18 doi 10 1016 j jsb 2013 03 004 PMID 23523730 Check date values in date help CS1 maint uses authors parameter link Digby GJ Lober RM Sethi PR Lambert NA 2006 11 Some G protein heterotrimers physically dissociate in living cells Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America 103 47 17789 94 Bibcode 2006PNAS 10317789D doi 10 1073 pnas 0607116103 PMC 1693825 PMID 17095603 Check date values in date help CS1 maint uses authors parameter link Khafizov K Lattanzi G Carloni P 2009 06 G protein inactive and active forms investigated by simulation methods Proteins 75 4 919 30 doi 10 1002 prot 22303 PMID 19089952 Check date values in date help CS1 maint uses authors parameter link Yuen JW Poon LS Chan AS Yu FW Lo RK Wong YH 2010 06 Activation of STAT3 by specific Galpha subunits and multiple Gbetagamma dimers The International Journal of Biochemistry amp Cell Biology 42 6 1052 9 doi 10 1016 j biocel 2010 03 017 PMID 20348012 Check date values in date help CS1 maint uses authors parameter link Sprang SR Chen Z Du X 2007 Structural basis of effector regulation and signal termination in heterotrimeric Galpha proteins Advances in Protein Chemistry Advances in Protein Chemistry 74 1 65 doi 10 1016 S0065 3233 07 74001 9 ISBN 978 0 12 034288 4 PMID 17854654 CS1 maint uses authors parameter link PMID 17452545 Cite journal requires journal help Missing or empty title help aehlngkhxmulxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb cioprtinGTP Binding Proteins inhxsmudaephthysastraehngchatixemrikn sahrbhwkhxenuxhathangkaraephthy MeSH ekhathungcak https th wikipedia org w index php title cioprtin amp oldid 8916787, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม