fbpx
วิกิพีเดีย

ปัญหาการยุติการทำงาน

ในทฤษฎีการคำนวณได้ ปัญหาการยุติการทำงาน (อังกฤษ: Halting problem) คือปัญหาการตัดสินใจที่ถามว่า

กำหนดขั้นตอนวิธีและข้อมูลป้อนเข้าให้ จงหาว่าขั้นตอนวิธีเมื่อทำงานกับข้อมูลป้อนเข้าดังกล่าวแล้ว จะยุติการทำงาน (ทำงานเสร็จสิ้น) หรือจะทำงานไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

แอลัน ทัวริง (Alan Turing) พิสูจน์ในปี ค.ศ. 1936 ว่า ไม่มีขั้นตอนวิธีที่แก้ปัญหาการยุติการทำงานสำหรับข้อมูลป้อนเข้าใด ๆ ได้ทั้งหมดบนเครื่องจักรทัวริง จึงกล่าวว่าปัญหาการยุติการทำงานนี้ไม่สามารถตัดสินได้

ความสำคัญและผลสืบเนื่อง

ปัญหานี้มีความสำคัญเพราะว่าเป็นปัญหาแรกที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินได้ หลังจากการค้นพบของปัญหานี้ก็มีการค้นพบปัญหาอื่น ๆ ซึ่งไม่สามารถตัดสินได้เช่นเดียวกัน โดยวิธีพิสูจน์ทั่วไปว่าปัญหาหนึ่ง ๆ ไม่สามารถตัดสินได้ มักจะใช้การลดรูป ซึ่งเป็นการแสดงว่าถ้ามีขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ เราจะสามารถนำขั้นตอนวิธีนั้นมาใช้เพื่อตัดสินปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินได้ โดยการแปลงตัวปัญหา (instance) ของปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินได้นั้นให้อยู่ในรูปของปัญหาใหม่นี้ แต่เนื่องจากเราทราบว่าไม่มีขั้นตอนวิธีใดจะตัดสินปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินได้ เราจึงสรุปได้ว่าไม่มีวิธีใดที่จะตัดสินปัญหาอันใหม่ได้ด้วย

การที่เราไม่สามารถตัดสินปัญหาการยุติการทำงานได้ มีผลสืบเนื่องทำให้เราไม่มีทางมีวิธีทั่วไปในการตัดสินได้ว่าถ้อยแถลง (statement) เกี่ยวกับจำนวนธรรมชาติในเป็นจริงหรือไม่ ทั้งนี้เนื่องจากประพจน์ที่ระบุว่าขั้นตอนวิธีหนึ่ง ๆ จะยุติการทำงานเมื่อรับข้อมูลป้อนเข้าหนึ่ง ๆ นั้นสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของถ้อยแถลงเกี่ยวกับจำนวนธรรมชาติที่เทียบเท่ากันได้ ดังนั้น ขั้นตอนวิธีที่ตัดสินความจริงของถ้อยแถลงเกี่ยวกับจำนวนธรรมชาติ จะสามารถนำมาใช้เพื่อตัดสินปัญหาการยุติการทำงานได้ ข้อสรุปก็คือ ขั้นตอนวิธีดังกล่าวจึงไม่สามารถมีอยู่จริง เพราะว่าเราทราบว่าไม่มีขั้นตอนวิธีใดที่ตัดสินปัญหาการยุติการทำงานได้ สังเกตว่าการแสดงการไม่สามารถตัดสินได้ดังกล่าวใช้วิธีการลดทอนปัญหาสู่ปัญหาการยุติการทำงาน

อย่างไรก็ตาม การแสดงว่าปัญหาบางปัญหาไม่สามารถตัดสินได้นั้น ยังสามารถแสดงได้ด้วยวิธีอื่น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการลดทอนสู่ปัญหาการยุติการทำงานเสมอไป เกเกอรี่ ไชตินได้แสดงว่ามีปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินได้ในทฤษฎีข้อมูลเชิงขั้นตอนวิธีที่ไม่ต้องใช้ปัญหาการยุติการทำงาน นอกจากนี้เขายังได้ให้นิยามที่น่าประหลาดเกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการยุติการทำงานที่แสดงถึงความน่าจะเป็นที่โปรแกรมที่สร้างขึ้นแบบสุ่มจะทำงานสิ้นสุด

แม้ว่าบทพิสูจน์ของทัวริงจะแสดงว่าไม่มีวิธีใดที่สามารถตัดสินได้ว่าขั้นตอนวิธีที่ให้มานั้น ทำงานสิ้นสุดได้ สำหรับบางขั้นตอนวิธีแล้ว เราก็มีวิธีในการแสดงว่าขั้นตอนวิธีนั้นทำงานสิ้นสุด หรือแม้กระทั่งแสดงขอบเขตของเวลาที่ขั้นตอนวิธีดังกล่าวจะต้องใช้ในการทำงาน นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มักสร้างบทพิสูจน์ดังกล่าว เพื่อแสดงว่าขั้นตอนวิธีทำงานถูกต้อง ซึ่งบทพิสูจน์ดังกล่าวมักเป็นส่วนหนึ่งของบทพิสูจน์ความถูกต้อง อย่างไรก็ตาม บทพิสูจน์ดังกล่าวแต่ละอันนั้น จะใช้รูปแบบในการให้เหตุผลที่แตกต่างกัน นั่นคือ: ไม่มี วิธีอัตโนมัติเชิงกลที่สามารถตัดสินได้ว่าขั้นตอนวิธีใด ๆ จะทำงานสิ้นสุดได้ สำหรับโปรแกรมทั่วไปแล้ว บ่อยครั้งความรู้เฉพาะทางบางอย่างสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างข้อพิสูจน์ของการยุติการทำงานได้ การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เรียกว่าการวิเคราะห์การยุติการทำงาน

ข้อควรระวัง

ความยากในปัญหาการยุติการทำงานคือการที่ต้องตอบคำถามสำหรับทุก ๆ โปรแกรมและทุก ๆ ข้อมูลนำเข้าว่าจะเกิดการยุติการทำงานหรือไม่ ดังนั้นขั้นตอนวิธีที่ตอบเพียงว่าจะ "ยุติการทำงาน" (หรือ "ไม่ยุติการทำงาน") เพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ พิจารณาโปรแกรมที่จำลองการทำงานของโปรแกรมอื่น หากโปรแกรมที่เราทดสอบนั้นยุติการทำงาน โปรแกรมจำลองก็จะให้ผลลัพธ์ถูกต้อง แต่หากโปรแกรมทดสอบไม่ยุติการทำงาน โปรแกรมจำลองก็ย่อมไม่ยุติการทำงานด้วยเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ตามที่ได้กล่าวไว้

ปัญหาการยุติการทำงานอาจเป็นปัญหาที่สามารถตัดสินใจได้ (นั่นคือสามารถแก้ได้) บนโมเดลในการคำนวณอื่น ๆ เช่น บนเครื่องจักรที่มีหน่วยความจำจำกัด (linear bounded automata; LBAs) เนื่องจากจำนวนสถานะในเครื่องจักรเหล่านี้มีจำกัด เมื่อทำงานไปเรื่อย ๆ โดยหลักรังนกพิราบ จะมีจุดหนึ่งที่สถานะในหน่วยความจำเหมือนกัน นั่นคือถ้าหากเราปล่อยให้โปรแกรมทำงานต่อไปอีก สถานะก็จะมาซ้ำที่จุดเดิมอีกไปเรื่อย ๆ ดังนั้นเมื่อมาถึงจุด ๆ นั้น เราก็สามารถบอกได้ทันทีว่าโปรแกรมนี้ไม่ยุติการทำงาน

ถึงแม้คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันจะเป็นเครื่องจักรที่มีหน่วยความจำจำกัดประเภทหนึ่ง ทำให้สามารถแก้ปัญหาการยุติการทำงานได้ในทางทฤษฎี จำนวนสถานะที่แตกต่างกันทั้งหมดของคอมพิวเตอร์นั้นมีมากกว่า 21,000,000 สถานะ ซึ่งมากมายมหาศาล เวลาในการแก้ไขปัญหานี้จึงมากมายมหาศาลด้วยเช่นกัน (สามารถเปรียบเทียบว่าเวลาในการแก้ไขปัญหานี้ ทำให้ช่วงเวลาอายุของเอกภพไร้ความหมายได้เลย)

ร่างบทพิสูจน์

บทพิสูจน์ใช้การพิสูจน์แบบการสร้างข้อขัดแย้ง (หรือที่เรียกในภาษาละตินว่า reductio ad absurdum) โดยสมมติว่ามีขั้นตอนวิธีที่อธิบายได้ด้วยโปรแกรม halt (a, i) ซึ่งตัดสินว่าขั้นตอนวิธีที่ระบุด้วยข้อความ a จะยุติการทำงานเมื่อได้รับข้อมูลป้อนเข้าเป็นข้อความ i เราจะแสดงว่าข้อสมมติดังกล่าวจะทำให้เกิดข้อขัดแย้ง และนั่นหมายความว่าโปรแกรม halt นั้นไม่สามารถมีตัวตนอยู่ได้

สมมติให้โปรแกรม halt (a, i) คืนค่าจริง ถ้าขั้นตอนวิธีที่ระบุด้วยข้อความ a ยุติการทำงานเมื่อรับ i เป็นข้อมูลป้อนเข้า และคืนค่าเท็จ ในกรณีอื่น ๆ ด้วยโปรแกรมดังกล่าว เราสามารถสร้างโปรแกรมอีกโปรแกรมหนึ่ง ชื่อว่า trouble (s) ดังต่อไปนี้:

 function trouble (string s) if halt (s, s) = false stop else loop forever 

โปรแกรม trouble รับข้อความ s และเรียกโปรแกรม halt โดยใช้ข้อมูลป้อนเข้าทั้งที่เป็นข้อความที่ระบุขั้นตอนวิธี a และข้อความที่จะใช้เป็นข้อมูลป้อนเข้า i ของขั้นตอนวิธีดังกล่าวเป็น s กล่าวอย่างไม่เป็นทางการก็คือ trouble ถาม halt ว่าขั้นตอนวิธี s เมื่อรับข้อความที่ระบุตัวขั้นตอนวิธีเองแล้ว จะยุติการทำงานหรือไม่ จากนั้น ถ้า halt (s,s) คืนค่าเท็จ โปรแกรม trouble จะจบการทำงาน แต่ถ้า halt (s,s) คืนค่าจริง โปรแกรม trouble จะวนรอบไม่รู้จบ

เนื่องจากโปรแกรมใด ๆ สามารถเขียนระบุเป็นข้อความได้ ดังนั้นสำหรับโปรแกรม trouble เองก็มีข้อความ ⌜trouble⌝ ที่ระบุโปรแกรม trouble พิจารณาคำถามต่อไปนี้:

trouble (⌜trouble⌝) จะยุติการทำงานหรือไม่?

มีความเป็นไปได้ทั้งหมดสองกรณี:

  1. สมมติว่า trouble (⌜trouble⌝) ยุติการทำงาน: หากพิจารณาการทำงานของโปรแกรม trouble จะพบว่า halt (⌜trouble⌝,⌜trouble⌝) ต้องคืนค่าเท็จ แต่ถ้า halt ทำงานถูกต้องก็หมายความว่า trouble (⌜trouble⌝) จะทำงานไม่รู้จบ ทำให้เกิดข้อขัดแย้งกับสมมุติฐานว่า trouble (⌜trouble⌝) ยุติการทำงาน
  2. สมมติว่า trouble (⌜trouble⌝) ทำงานไม่รู้จบ: เนื่องจาก halt (⌜trouble⌝,⌜trouble⌝) ทำงานจบเสมอ สาเหตุเดียวที่ทำให้ trouble (⌜trouble⌝) ทำงานไม่รู้จบก็คือ halt (⌜trouble⌝,⌜trouble⌝) ต้องคืนค่าจริง อย่างไรก็ตามนี่หมายความว่า trouble (⌜trouble⌝) จะต้องมีการยุติการทำงาน ทำให้เกิดข้อขัดแย้งกับสมมุติฐานว่า trouble (⌜trouble⌝) ทำงานไม่รู้จบ

เนื่องจากทั้งสองกรณีทำให้เกิดข้อขัดแย้งที่ล้วนเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าข้อสมมติเริ่มต้นแรกสุด (มีขั้นตอนวิธีที่อธิบายได้ด้วยโปรแกรม halt (a, i) ) นั้นไม่ถูกต้อง กล่าวคือไม่มีโปรแกรม halt หรือขั้นตอนวิธีใด ๆ ที่สามารถตัดสินปัญหาการยุติการทำงานได้

ดูเพิ่ม

  • กราฟแสดงการไหลของส่วนควบคุม (control flow graph) สามารถใช้เพื่อจำแนกโปรแกรมอย่างรวดเร็วออกเป็นโปรแกรมที่ (1) ไม่มีการวนซ้ำ (2) มีการวนซ้ำแบบง่าย (จึงยุติการทำงาน) (3) มีการวนซ้ำแบบไม่ง่าย (กรณีไม่สามารถระบุอะไรได้) หรือ (4) ทำงานซ้ำอย่างไม่รู้จบ

อ้างอิง

  • แอลัน ทัวริง (Alan Turing) , On computable numbers, with an application to the Entscheidungs problem, Proceedings of the London Mathematical Society, Series 2, 42 (1936) , pp 230-265. online version ในงานวิจัยชิ้นนี้ ทัวริงนิยามเครื่องจักรทัวริง วางรูปแบบปัญหาการยุติการทำงาน และแสดงว่าปัญหานี้ (รวมทั้ง Entscheidungs problem) เป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้

ญหาการย, การทำงาน, ในทฤษฎ, การคำนวณได, งกฤษ, halting, problem, อป, ญหาการต, ดส, นใจท, ถามว, กำหนดข, นตอนว, และข, อม, ลป, อนเข, าให, จงหาว, าข, นตอนว, เม, อทำงานก, บข, อม, ลป, อนเข, าด, งกล, าวแล, จะย, การทำงาน, ทำงานเสร, จส, หร, อจะทำงานไปเร, อย, ไม, นส, ดแอล,. inthvsdikarkhanwnid pyhakaryutikarthangan xngkvs Halting problem khuxpyhakartdsinicthithamwa kahndkhntxnwithiaelakhxmulpxnekhaih cnghawakhntxnwithiemuxthangankbkhxmulpxnekhadngklawaelw cayutikarthangan thanganesrcsin hruxcathanganiperuxy immithisinsudaexln thwring Alan Turing phisucninpi kh s 1936 wa immikhntxnwithithiaekpyhakaryutikarthangansahrbkhxmulpxnekhaid idthnghmdbnekhruxngckrthwring cungklawwapyhakaryutikarthanganniimsamarthtdsinid enuxha 1 khwamsakhyaelaphlsubenuxng 1 1 khxkhwrrawng 2 rangbthphisucn 3 duephim 4 xangxingkhwamsakhyaelaphlsubenuxng aekikhpyhanimikhwamsakhyephraawaepnpyhaaerkthiidrbkarphisucnwaepnpyhathiimsamarthtdsinid hlngcakkarkhnphbkhxngpyhanikmikarkhnphbpyhaxun sungimsamarthtdsinidechnediywkn odywithiphisucnthwipwapyhahnung imsamarthtdsinid mkcaichkarldrup sungepnkaraesdngwathamikhntxnwithiinkaraekpyhatang ehlani eracasamarthnakhntxnwithinnmaichephuxtdsinpyhathiimsamarthtdsinid odykaraeplngtwpyha instance khxngpyhathiimsamarthtdsinidnnihxyuinrupkhxngpyhaihmni aetenuxngcakerathrabwaimmikhntxnwithiidcatdsinpyhathiimsamarthtdsinid eracungsrupidwaimmiwithiidthicatdsinpyhaxnihmiddwykarthieraimsamarthtdsinpyhakaryutikarthanganid miphlsubenuxngthaiheraimmithangmiwithithwipinkartdsinidwathxyaethlng statement ekiywkbcanwnthrrmchatiinepncringhruxim thngnienuxngcakpraphcnthirabuwakhntxnwithihnung cayutikarthanganemuxrbkhxmulpxnekhahnung nnsamarthekhiynihxyuinrupkhxngthxyaethlngekiywkbcanwnthrrmchatithiethiybethaknid dngnn khntxnwithithitdsinkhwamcringkhxngthxyaethlngekiywkbcanwnthrrmchati casamarthnamaichephuxtdsinpyhakaryutikarthanganid khxsrupkkhux khntxnwithidngklawcungimsamarthmixyucring ephraawaerathrabwaimmikhntxnwithiidthitdsinpyhakaryutikarthanganid sngektwakaraesdngkarimsamarthtdsiniddngklawichwithikarldthxnpyhasupyhakaryutikarthanganxyangirktam karaesdngwapyhabangpyhaimsamarthtdsinidnn yngsamarthaesdngiddwywithixun odyimcaepntxngphankarldthxnsupyhakaryutikarthanganesmxip ekekxri ichtinidaesdngwamipyhathiimsamarthtdsinidinthvsdikhxmulechingkhntxnwithithiimtxngichpyhakaryutikarthangan nxkcakniekhayngidihniyamthinaprahladekiywkbkhwamnacaepninkaryutikarthanganthiaesdngthungkhwamnacaepnthiopraekrmthisrangkhunaebbsumcathangansinsudaemwabthphisucnkhxngthwringcaaesdngwaimmiwithiidthisamarthtdsinidwakhntxnwithithiihmann thangansinsudid sahrbbangkhntxnwithiaelw erakmiwithiinkaraesdngwakhntxnwithinnthangansinsud hruxaemkrathngaesdngkhxbekhtkhxngewlathikhntxnwithidngklawcatxngichinkarthangan nkwithyasastrkhxmphiwetxrmksrangbthphisucndngklaw ephuxaesdngwakhntxnwithithanganthuktxng sungbthphisucndngklawmkepnswnhnungkhxngbthphisucnkhwamthuktxng xyangirktam bthphisucndngklawaetlaxnnn caichrupaebbinkarihehtuphlthiaetktangkn nnkhux immi withixtonmtiechingklthisamarthtdsinidwakhntxnwithiid cathangansinsudid sahrbopraekrmthwipaelw bxykhrngkhwamruechphaathangbangxyangsamarthnamaichephuxsrangkhxphisucnkhxngkaryutikarthanganid karsuksaekiywkberuxngnieriykwakarwiekhraahkaryutikarthangan khxkhwrrawng aekikh khwamyakinpyhakaryutikarthangankhuxkarthitxngtxbkhathamsahrbthuk opraekrmaelathuk khxmulnaekhawacaekidkaryutikarthanganhruxim dngnnkhntxnwithithitxbephiyngwaca yutikarthangan hrux imyutikarthangan ephiyngxyangediywcungimsamarthaekikhpyhaniid phicarnaopraekrmthicalxngkarthangankhxngopraekrmxun hakopraekrmthierathdsxbnnyutikarthangan opraekrmcalxngkcaihphllphththuktxng aethakopraekrmthdsxbimyutikarthangan opraekrmcalxngkyxmimyutikarthangandwyechnkn sungsngphlihimsamarthaekpyhaniidtamthiidklawiwpyhakaryutikarthanganxacepnpyhathisamarthtdsinicid nnkhuxsamarthaekid bnomedlinkarkhanwnxun echn bnekhruxngckrthimihnwykhwamcacakd linear bounded automata LBAs enuxngcakcanwnsthanainekhruxngckrehlanimicakd emuxthanganiperuxy odyhlkrngnkphirab camicudhnungthisthanainhnwykhwamcaehmuxnkn nnkhuxthahakeraplxyihopraekrmthangantxipxik sthanakcamasathicudedimxikiperuxy dngnnemuxmathungcud nn eraksamarthbxkidthnthiwaopraekrmniimyutikarthanganthungaemkhxmphiwetxrinyukhpccubncaepnekhruxngckrthimihnwykhwamcacakdpraephthhnung thaihsamarthaekpyhakaryutikarthanganidinthangthvsdi canwnsthanathiaetktangknthnghmdkhxngkhxmphiwetxrnnmimakkwa 21 000 000 sthana sungmakmaymhasal ewlainkaraekikhpyhanicungmakmaymhasaldwyechnkn samarthepriybethiybwaewlainkaraekikhpyhani thaihchwngewlaxayukhxngexkphphirkhwamhmayidely rangbthphisucn aekikhbthphisucnichkarphisucnaebbkarsrangkhxkhdaeyng hruxthieriykinphasalatinwa reductio ad absurdum odysmmtiwamikhntxnwithithixthibayiddwyopraekrm halt a i sungtdsinwakhntxnwithithirabudwykhxkhwam a cayutikarthanganemuxidrbkhxmulpxnekhaepnkhxkhwam i eracaaesdngwakhxsmmtidngklawcathaihekidkhxkhdaeyng aelannhmaykhwamwaopraekrm halt nnimsamarthmitwtnxyuidsmmtiihopraekrm halt a i khunkhacring thakhntxnwithithirabudwykhxkhwam a yutikarthanganemuxrb i epnkhxmulpxnekha aelakhunkhaethc inkrnixun dwyopraekrmdngklaw erasamarthsrangopraekrmxikopraekrmhnung chuxwa trouble s dngtxipni function trouble string s if halt s s false stop else loop forever opraekrm trouble rbkhxkhwam s aelaeriykopraekrm halt odyichkhxmulpxnekhathngthiepnkhxkhwamthirabukhntxnwithi a aelakhxkhwamthicaichepnkhxmulpxnekha i khxngkhntxnwithidngklawepn s klawxyangimepnthangkarkkhux trouble tham halt wakhntxnwithi s emuxrbkhxkhwamthirabutwkhntxnwithiexngaelw cayutikarthanganhruxim caknn tha halt s s khunkhaethc opraekrm trouble cacbkarthangan aettha halt s s khunkhacring opraekrm trouble cawnrxbimrucbenuxngcakopraekrmid samarthekhiynrabuepnkhxkhwamid dngnnsahrbopraekrm trouble exngkmikhxkhwam trouble thirabuopraekrm trouble phicarnakhathamtxipni trouble trouble cayutikarthanganhruxim mikhwamepnipidthnghmdsxngkrni smmtiwa trouble trouble yutikarthangan hakphicarnakarthangankhxngopraekrm trouble caphbwa halt trouble trouble txngkhunkhaethc aettha halt thanganthuktxngkhmaykhwamwa trouble trouble cathanganimrucb thaihekidkhxkhdaeyngkbsmmutithanwa trouble trouble yutikarthangan smmtiwa trouble trouble thanganimrucb enuxngcak halt trouble trouble thangancbesmx saehtuediywthithaih trouble trouble thanganimrucbkkhux halt trouble trouble txngkhunkhacring xyangirktamnihmaykhwamwa trouble trouble catxngmikaryutikarthangan thaihekidkhxkhdaeyngkbsmmutithanwa trouble trouble thanganimrucbenuxngcakthngsxngkrnithaihekidkhxkhdaeyngthilwnepnipimid dngnnsamarthsrupidwakhxsmmtierimtnaerksud mikhntxnwithithixthibayiddwyopraekrm halt a i nnimthuktxng klawkhuximmiopraekrm halt hruxkhntxnwithiid thisamarthtdsinpyhakaryutikarthanganidduephim aekikhkrafaesdngkarihlkhxngswnkhwbkhum control flow graph samarthichephuxcaaenkopraekrmxyangrwderwxxkepnopraekrmthi 1 immikarwnsa 2 mikarwnsaaebbngay cungyutikarthangan 3 mikarwnsaaebbimngay krniimsamarthrabuxairid hrux 4 thangansaxyangimrucbxangxing aekikhaexln thwring Alan Turing On computable numbers with an application to the Entscheidungs problem Proceedings of the London Mathematical Society Series 2 42 1936 pp 230 265 online version innganwicychinni thwringniyamekhruxngckrthwring wangrupaebbpyhakaryutikarthangan aelaaesdngwapyhani rwmthng Entscheidungs problem epnpyhathiimsamarthaekidekhathungcak https th wikipedia org w index php title pyhakaryutikarthangan amp oldid 8651450, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม