fbpx
วิกิพีเดีย

รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน

ความเอนเอียงทางประชาน (อังกฤษ: cognitive biase) เป็นความโน้มเอียงที่จะคิดในรูปแบบที่มีผลเป็นความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบ จากความมีเหตุผลโดยทั่วไป หรือจากการประเมินการตัดสินใจที่ดี บ่อยครั้งเป็นประเด็นการศึกษาในสาขาจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

แม้ว่าความเอนเอียงเหล่านี้จะมีอยู่จริง ๆ โดยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทำซ้ำได้ แต่ก็มักจะมีข้อโต้เถียงว่า ควรจะจัดประเภทหรืออธิบายความเอนเอียงเหล่านี้ได้อย่างไร ความเอนเอียงบางอย่างเป็นกฎการประมวลข้อมูล หรือเป็นทางลัดการประมวลผลที่เรียกว่า ฮิวริสติก ที่สมองใช้เพื่อการประเมินและการตัดสินใจ ปรากฏการณ์เหล่านี้เรียกว่า ความเอนเอียงทางประชาน ความเอนเอียงในการประเมินหรือการตัดสินใจ อาจจะเกิดจากแรงจูงใจ เช่นเมื่อความเชื่อเกิดบิดเบือนเพราะเหตุแห่งการคิดตามความปรารถนา (wishful thinking) ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะอธิบายได้โดยหลักทางประชาน (cognitive หรือที่เรียกว่า cold) หรือโดยหลักทางแรงจูงใจ (motivational หรือเรียกว่า hot) แต่เหตุทั้งสองสามารถเกิดร่วมกัน

ยังมีข้อถกเถียงกันอีกด้วยว่า ความเอนเอียงเหล่านี้จัดเป็นความไม่สมเหตุผลโดยส่วนเดียว หรือว่า จริง ๆ มีผลเป็นทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ เรามักจะถามคำถามที่ชี้คำตอบที่ต้องการ ที่ดูเหมือนจะเอนเอียงไปเพื่อยืนยันสันนิษฐานของเราเกี่ยวกับบุคคลนั้น ๆ แต่ว่า ปรากฏการณ์ที่บางครั้งเรียกว่า ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (confirmation bias) เช่นนี้ สามารถมองได้ว่าเป็นทักษะทางสังคมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้

งานวิจัยในเรื่องความเอนเอียงเหล่านี้ มักจะทำในมนุษย์ แต่ผลที่พบในมนุษย์ บางครั้งก็พบในสัตว์อื่นเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น hyperbolic discounting (การลดค่าแบบไฮเพอร์โบลา) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เราให้ค่าของที่ได้ในปัจจุบันสูงกว่าที่จะได้ในอนาคต ก็พบด้วยในหนู นกพิราบ และลิง

ความเอนเอียงในการตัดสินใจ ทางความเชื่อ และทางพฤติกรรม

ความเอนเอียงหลายอย่างเหล่านี้มีผลต่อการเกิดความเชื่อ ต่อการตัดสินใจทางธุรกิจและทางเศรษฐกิจ และต่อพฤติกรรมมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ความเอนเอียงจะเกิดขึ้นในสถานการณ์โดยเฉพาะ ๆ คือ เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ความแปรเปลี่ยนไปจากพฤติกรรมปกติสามารถจำแนกได้โดย

ชื่อ คุณลักษณะ
Ambiguity effect (ปรากฏการณ์ความคลุมเครือ) เป็นความโน้มเอียงที่จะหลีกเลี่ยงทางเลือกที่ไม่มีข้อมูลว่า ผลที่ได้จะเป็นผลบวกหรือไม่ และเลือกทางเลือกที่มีข้อมูล
Anchoring หรือ focalism เป็นความโน้มเอียงที่จะตั้งหลัก (หรือ anchor) ที่ข้อมูลที่มี เมื่อจะตัดสินใจ (ปกติเป็นข้อมูลชิ้นแรกที่ได้เกี่ยวกับเรื่องนั้น)
Attentional bias (ความเอนเอียงโดยการใส่ใจ) เป็นความโน้มเอียงที่ความคิดซ้ำ ๆ จะมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของเรา
Availability heuristic (ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินเหตุการณ์ที่สามารถนึกถึงได้ง่ายว่ามีโอกาสเกิดสูงเกินไป โดยอาจมีอิทธิพลจากความเก่าใหม่ของความจำ หรือว่าเป็นความจำที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์รุนแรงแค่ไหน
Illusory truth effect (ปรากฏการณ์ความจริงเทียม) หรือ Availability cascade เป็นกระบวนการที่เสริมกำลังในตัว ที่ความเชื่อในสังคมดูเหมือนจะเป็นไปได้มากขึ้นเมื่อเกิดการพูดการกล่าวถึงซ้ำ ๆ กัน (เหมือนกับความเชื่ออย่างหนึ่งของเด็กว่า "พูดอะไรซ้ำ ๆ กัน นาน ๆ เข้าก็จะกลายเป็นจริง")
Backfire effect (ปรากฏการณ์เกิดผลตรงกันข้าม) เมื่อเรามีปฏิกิริยาต่อหลักฐานที่คัดค้านความคิดของเรา ด้วยความเชื่อที่มีกำลังเพิ่มขึ้น
Bandwagon effect (ปรากฏการณ์ขบวนแห่) เป็นความโน้มเอียงที่จะทำ (หรือเชื่อ) สิ่งต่าง ๆ เพราะคนอื่น ๆ ทำหรือเชื่อเรื่องเดียวกัน
Base rate fallacy (เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน) หรือ base rate neglect (การละเลยอัตราพื้นฐาน) เป็นความโน้มเอียงที่จะไม่ใส่ใจข้อมูลอัตราพื้นฐาน (คือข้อมูลทางสถิติทั่วไป) แล้วพุ่งจุดสนใจไปที่ข้อมูลเฉพาะ (เช่นข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงกับกรณีใดกรณีหนึ่ง)
Belief bias (ความเอนเอียงโดยความเชื่อ) เป็นการประเมินเหตุที่เอนเอียง โดยความเชื่อว่าผลที่ได้เป็นไปได้มากแค่ไหน แทนที่จะประเมินว่า เหตุที่ประเมินนั้นสนับสนุนผลที่ได้หรือไม่
Bias blind spot (จุดบอดต่อความเอนเอียง) เป็นความโน้มเอียงที่จะเห็นว่าตนเองมีความเอนเอียง (มีอคติ) น้อยกว่าคนอื่น หรือที่กำหนดความเอนเอียงทางประชานของผู้อื่นได้มากกว่าของตน
Cheerleader effect (ปรากฏการณ์ผู้นำเชียร์) เป็นความโน้มเอียงที่ผู้หญิงจะดูสวยในกลุ่มมากกว่าตามลำพัง
Choice-supportive bias (ความเอนเอียงสนับสนุนสิ่งที่เลือก) เป็นความโน้มเอียงที่จะนึกถึงสิ่งที่เลือกแล้วในอดีตว่าดี เกินความเป็นจริง
Clustering illusion (มายาการจับกลุ่ม) เป็นความโน้มเอียงที่จะให้ความสำคัญมากเกินไปแก่รูปแบบการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ในช่วงระยะสั้น ๆ (หรือแก่การจับกลุ่มของเหตุกาณ์) ที่จริง ๆ เป็นเหตุการณ์สุ่มในระยะยาว ซึ่งก็คือ การเห็นรูปแบบที่ไม่มีอยู่จริง ๆ (เพราะเป็นเหตุการณ์สุ่ม)
Confirmation bias (ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน) เป็นความโน้มเอียงที่จะหา ตีความ พุ่งความสมใจ และทรงจำข้อมูลในรูปแบบที่จะยืนยันความเชื่อความคิดที่มีอยู่แล้วของตน
Congruence bias (ความเอนเอียงในการทำให้สอดคล้องกัน) เป็นความโน้มเอียงที่จะทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบโดยตรง และไม่ทดสอบสมมติฐานที่อาจเป็นไปได้อื่น ๆ
Conjunction fallacy (เหตุผลวิบัติโดยประพจน์เชื่อม) เป็นความโน้มเอียงในการสันนิษฐานว่า เหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจงมีความเป็นไปได้สูงกว่าเหตุการณ์ทั่วไป ซึ่งเป็นความน่าจะเป็นที่เป็นไปไม่ได้
Conservatism หรือ regressive bias สภาวะทางใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ค่าสูงหรือโอกาสความเป็นไปได้สูงมีการประเมินสูงเกินไป และค่าต่ำหรือโอกาสเป็นไปได้ต่ำมีการประเมินน้อยเกินไป[[[|แหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือ?]]]
Conservatism (Bayesian) เป็นความโน้มเอียงที่จะแก้ความเชื่อของตนให้เบนไปตามความเป็นจริงอย่างไม่เพียงพอเมื่อได้หลักฐานใหม่
Contrast effect (ปรากฏการณ์การเปรียบต่าง) เป็นการรับรู้สิ่งเร้าที่ดีขึ้น หรือลดลง เมื่อเทียบกับสิ่งเร้าที่เพิ่งสังเกตรู้ใหม่เป็นตัวเปรียบต่าง
Curse of knowledge (คำสาปเพราะความรู้) เมื่อคนที่มีข้อมูลดีกว่าไม่สามารถหรือยากที่จะคิดถึง ปัญหาจากมุมมองของคนที่มีข้อมูลน้อยกว่า
Decoy effect (ปรากฏการณ์สิ่งล่อ) ความชอบใจในทางเลือก ก หรือ ข ที่เปลี่ยนไปชอบใจ ข เมื่อแสดงทางเลือก ค ที่คล้ายกับทางเลือก ข แต่ไม่ได้ดีกว่า
Denomination effect (ปรากฏการณ์หน่วยเงินตรา) เป็นความโน้มเอียงที่จะใช้จ่ายมากกว่าถ้าเงินเป็นหน่วยเล็ก ๆ แทนที่จะเป็นหน่วยใหญ่ ๆ
Distinction bias (ความเอนเอียงให้แตกต่าง) เป็นความโน้มเอียงที่จะเห็นทางเลือกสองทางว่าไม่เหมือนกันเมื่อประเมินทางเลือกสองอย่างนั้นพร้อมกัน มากกว่าเมื่อประเมินแยกกันต่างหาก
Duration neglect (การละเลยระยะเวลา) การละเลยระยะเวลาเหตุการณ์หนึ่ง ๆ เมื่อพยายามจะกำหนดค่าว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีหรือไม่
Empathy gap (ช่องว่างการเห็นใจ) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินอิทธิพลหรือกำลังความรู้สึกของตนเองหรือของคนอื่นต่ำเกินไป
Endowment effect (ปรากฏการณ์การสละ) เป็นความโน้มเอียงที่จะเรียกร้องมูลค่าเพื่อจะสละวัตถุหนึ่ง ๆ สูงกว่าที่ตนยินดีจะให้เพื่อที่จะแลกเอาวัตถุนั้น
Essentialism (การเอาแต่หลัก) เป็นการจัดบุคคลและสิ่งของตามธรรมชาติหลักของสิ่งนั้น แม้ว่าบุคคลหรือสิ่งเช่นนั้นจะมีความต่าง ๆ กัน[ไม่แน่ใจ]
Exaggerated expectation (ความคาดหวังเกินส่วน) หลักฐานที่ได้ตามจริงในโลก ไม่รุนแรงหรือมีค่าน้อยกว่าตามที่เราหวัง[[[|แหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือ?]]]
Experimenter's bias (ความเอนเอียงของผู้ทดลอง) หรือ Experimenter's expectation bias (ความเอนเอียงเพราะการคาดหวังของผู้ทดลอง) เป็นความเอนเอียงของผู้ทำการทดลองที่จะเชื่อ ยืนยัน แล้วตีพิมพ์ข้อมูลที่สอดคล้องกับความคาดหวังที่ตนมีเกี่ยวกับผลของการทดลอง และที่จะไม่เชื่อ ทิ้ง หรือดูถูกข้อมูลที่ไม่ตรงกับความคาดคิดที่มีน้ำหนักพอ ๆ กัน
Focusing effect (ปรากฏการณ์พุ่งจุดสนใจ) เป็นความโน้มเอียงที่จะให้ความสำคัญกับจุดใดจุดหนึ่งของเหตุการณ์มากเกินไป
Forer effect (ปรากฏการณ์ฟอเรอร์) หรือ Barnum effect (ปรากฏการณ์บาร์นัม) เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะให้คะแนนคำพรรณนาบุคลิกของตนที่ตนเชื่อว่าทำเฉพาะให้แก่ตน ว่ามีความแม่นยำสูง แต่ว่าความจริงเป็นคำที่คลุมเครือและทั่วไปพอที่จะกล่าวได้ถึงคนอื่นเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถใช้เป็นคำอธิบายส่วนหนึ่งเกี่ยวกับความนิยมชมชอบความเชื่อหรือความคิดบางอย่างเช่น โหราศาสตร์ การบอกโชคชะตา การดูลายมือ และการทดสอบบุคลิกบางอย่าง
Framing effect (ปรากฏการณ์การวางกรอบ) การสรุปข้อมูลเดียวกันต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลนั้นแสดงให้ดูอย่างไร หรือใครเป็นคนแสดงให้ดู
Frequency illusion (มายาความชุกชุม) การแปลสิ่งเร้าผิด ที่คำ ชื่อ หรืออะไรอย่างอื่น ที่บุคคลให้ความสนใจเมื่อเร็ว ๆ นี้ ปรากฏว่าเหมือนกับมีอย่างชุกชุมอย่างเป็นไปไม่ได้หลังจากนั้นไม่นาน (สามารถสับสนได้กับ recency illusion หรือ selection bias) เป็นมายาที่รู้จักกันอีกอย่างหนึ่งว่า Baader-Meinhof Phenomenon
Functional fixedness (การยึดกำหนดหน้าที่) จำกัดบุคคลให้ใช้วัตถุตามวิธีที่ใช้สืบต่อกันมาเพียงเท่านั้น
Gambler's fallacy (เหตุผลวิบัติของนักการพนัน) ความโน้มเอียงที่จะคิดว่า เหตุการณ์อดีตมีอิทธิพลต่อความน่าจะเป็นในอนาคต แต่จริง ๆ แล้วไม่มี เป็นผลจากแนวคิดที่ผิดพลาดของกฎเกี่ยวกับตัวเลขเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น "ฉันได้โยนเหรียญนี้ได้หัว 5 ครั้งติดต่อกัน ดังนั้น โอกาสที่จะได้ก้อยในครั้งที่ 6 จะสูงกว่าได้หัว"
Hard-easy effect (ปรากฏการณ์ยากง่าย) ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเมื่อความแม่นยำของการตัดสินใจว่างานหนึ่งยากน้อยขนาดไหน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของงานนั้น คือเป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินโอกาสสำเร็จสำหรับงานที่ยากมากเกินไป และสำหรับงานที่ง่ายน้อยเกินไป
Hindsight bias (ความเอนเอียงการเข้าใจปัญหาย้อนหลัง) บางครั้งเรียกว่าปรากฏการณ์ "I-knew-it-all-along" (ฉันรู้อยู่ก่อนแล้ว) เป็นความโน้มเอียงที่จะเห็นเหตุการณ์ในอดีตว่า เป็นเรื่องพยากรณ์ได้ แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลจริง ๆ หรือมีน้อยไม่พอที่จะพยากรณ์ได้จริง ๆ
Hostile media effect (ปรากฏการณ์สื่ออคติ) ความโน้มเอียงที่จะเห็นสื่อมวลชนว่ามีอคติ เนื่องจากความเห็นเป็นพรรคเป็นฝ่ายที่มีกำลังของตน
Hot-hand fallacy (เหตุผลวิบัติมือขึ้น) เป็นความเชื่อที่ผิด ๆ ว่า บุคคลที่กำลังประสบความสำเร็จมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสำหรับการกระทำต่อ ๆ ไป (เช่นในการยิงโกลในการกีฬา) ดีกว่า
Hyperbolic discounting (การลดค่าแบบไฮเพอร์โบลา) การลดค่า (Discounting) เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะชอบใจได้รับสิ่ง ๆ หนึ่งทันที แทนที่จะรอทีหลัง การลดค่าแบบไฮเพอร์โบลา เป็นเหตุให้บุคคลเลือกอย่างไม่สม่ำเสมอแล้วแต่เวลา บุคคลอาจจะเลือกอะไรในวันนี้ ที่ในอนาคตจะไม่ชอบใจเลือก แม้ว่าจะใช้เหตุผลเดียวกัน รู้จักกันในชื่ออื่นว่า current moment bias และ present bias
Identifiable victim effect (ปรากฏการณ์ผู้รับเคราะห์ที่ระบุได้) เป็นความโน้มเอียงที่จะตอบสนองต่อบุคคลที่กำลังมีอันตรายคนเดียวที่ระบุได้ มากกว่าต่อบุคคลกลุ่มใหญ่ที่กำลังมีอันตราย
IKEA effect (ปรากฏการณ์ไอเคีย) เป็นความโน้มเอียงที่จะให้ค่ากับสิ่งที่บุคคลประกอบด้วยมือของตนเกินสัดส่วน เช่นเครื่องเรือนจากร้านอิเกีย ไม่ว่าสิ่งที่ได้นั้นจะดีหรือไม่
Illusion of control (การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินว่า ตนสามารถควบคุมเหตุการณ์ภายนอกได้ มากเกินไป
Illusion of validity (การแปลสิ่งเร้าผิดว่าสมเหตุสมผล) เป็นความเชื่อว่าข้อมูลที่ได้เพิ่มขึ้น จะเป็นข้อมูลที่ช่วยในการพยากรณ์ให้สมเหตุสมผล แม้ว่า จริง ๆ แล้วจะไม่
Illusory correlation (สหสัมพันธ์เทียม) การเห็นอย่างผิดพลาดว่า เหตุการณ์หลายอย่างที่ไม่สัมพันธ์กันมีความสัมพันธ์กัน
Impact bias (ความเอนเอียงเรื่องผลกระทบ) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินระยะเวลาหรือความรุนแรง เกี่ยวกับอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มากเกินไป
Information bias (ความเอนเอียงเพื่อจะมีข้อมูล) เป็นความโน้มเอียงที่จะหาข้อมูลแม้ว่าจะไม่มีผลต่อการกระทำ
Insensitivity to sample size (ความไม่ไวต่อขนาดตัวอย่าง) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินความต่าง ๆ กันในขนาดตัวอย่างที่มีน้อย (small sample) น้อยเกินไป
Irrational escalation (การเพิ่มการกระทำโดยไม่สมเหตุผล) ปรากฏการณ์ที่บุคคลเพิ่มทุนการกระทำในเรื่องที่ตกลงใจ โดยให้เหตุผลเกี่ยวกับทุนการกระทำที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว แม้ว่าจะมีหลักฐานแสดงว่า ข้อตกลงใจนั้นไม่ดี รู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า sunk cost fallacy (เหตุผลวิบัติโดยต้นทุนจม)
Less-is-better effect (ปรากฏการณ์น้อยกว่าย่อมดีกว่า) เป็นความโน้มเอียงที่จะชอบใจสิ่งของชุดที่เล็กกว่า มากกว่าชุดที่มากกว่า ถ้าประเมินต่างหากจากกัน แต่ไม่ใช่ถ้าประเมินร่วมกัน
Endowment effect (ปรากฏการณ์การสละ) หรือ Loss aversion (การหลีกเลี่ยงการเสีย) ประโยชน์ที่เสียในการสละวัตถุ มากกว่าประโยชน์ที่ได้ในการได้วัตถุ (ดูเหตุผลวิบัติโดยต้นทุนจม และปรากฏการณ์การสละ).
Mere exposure effect (ปรากฏการณ์เพียงแต่ประสบ) เป็นแนวโน้มที่จะแสดงความชอบใจต่อสิ่งต่าง ๆ เพียงเพราะว่าคุ้นเคยกันมัน
Money illusion (มายาเงิน) เป็นแนวโน้มที่จะพุ่งความสนใจไปที่ค่าของเงินที่ตราไว้ แทนที่จะสนใจกำลังซื้อของค่าเงินนั้น
Moral credential effect (ปรากฏการณ์การรับรองทางจริยธรรม) เป็นแนวโน้มของคนที่มีประวัติว่าเป็นคนไม่มีความเดียดฉันท์ ที่จะเพิ่มความเดียดฉันท์
Negativity effect (ปรากฏการณ์มองในแง่ลบ) เป็นแนวโน้มที่บุคคล เมื่อประเมินเหตุของพฤติกรรมของบุคคลที่ตนไม่ชอบ ที่จะบอกว่าพฤติกรรมบวกเป็นผลจากสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมลบเป็นผลจากธรรมชาติภายในของบุคคลนั้น
Negativity bias (ความเอนเอียงในการจำในแง่ลบ) เป็นปรากฏการณ์ทางจิต ที่มนุษย์สามารถระลึกถึงความทรงจำที่ไม่น่าชอบใจได้ดีกว่าความทรงจำที่น่าชอบใจ
Neglect of probability (การละเลยความน่าจะเป็น) เป็นความโน้มเอียงที่จะไม่สนใจเรื่องความน่าจะเป็นเลย เมื่อต้องตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
Normalcy bias (ความเอนเอียงว่าปกติ) เป็นการปฏิเสธที่จะวางแผน หรือแม้จะตอบสนองต่อ ความหายนะความล่มจมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
Not invented here (ไม่ได้ประดิษฐ์ที่นี่) เป็นความรังเกียจที่จะเข้าไปยุ่งกับผลิตภัณฑ์ มาตรฐาน หรือความรู้ที่ไม่ได้พัฒนาขึ้นภายในกลุ่ม เป็นปรากฏการณ์ที่สัมพันธ์กับปรากฏการณ์ไอเคีย
Omission bias (ความเอนเอียงในเรื่องการละเว้น) เป็นความโน้มเอียงในการตัดสินว่าการกระทำเชิงลบ เลวมากกว่าการไม่กระทำที่ทำให้เกิดผลลบ
Optimism bias (ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี) เป็นความโน้มเอียงที่จะมองในแง่ดีมากเกินไป คือประเมินผลบวกหรือผลที่ชอบใจว่ามีโอกาสเกิดมากเกินไป (ดูเรื่องที่สัมพันธ์กันในการคิดตามความปรารถนา)
Ostrich effect (ปรากฏการณ์นกกระจอกเทศ) การไม่ใส่ใจในสถานการณ์ที่ไม่ดีแต่ชัดเจน
Outcome bias (ความเอนเอียงเรื่องผล) เป็นความโน้มเอียงในการประเมินการตัดสินใจโดยผลที่ได้ แทนที่จะประเมินคุณภาพการตัดสินใจในเวลาที่ตัดสิน
Overconfidence effect (ปรากฏการณ์มั่นใจมากเกินไป) เป็นการมั่นใจมากเกินไปเรื่องคำตอบของตน เช่น ในบางกรณี คำถามที่บุคคลตอบว่า มั่นใจ 99% จะผิดจากความจริง 40%
แพริโดเลีย สิ่งเร้าที่ไม่ชัดเจนหรือเกิดขึ้นแบบบังเอิญ (บ่อยครั้งเป็นภาพหรือเป็นเสียง) ทำให้รู้สึกรับรู้ว่าเป็นอะไรบางอย่าง เช่น เห็นรูปสัตว์หรือใบหน้าในเมฆ เห็นคนบนดวงจันทร์ และได้ยินข้อความซ่อนที่ไม่มีในตลับเทปที่เล่นกลับหลัง
Pessimism bias (ความเอนเอียงในการมองในแง่ลบ) เป็นความโน้มเอียงของคนบางคน โดยเฉพาะผู้ที่กำลังมีภาวะซึมเศร้า ที่จะประเมินโอกาสที่สิ่งร้าย ๆ จะเกิดขึ้นกับตนเกินความจริง
Planning fallacy (เหตุผลวิบัติในการวางแผน) เป็นความโน้มเอียงที่จะกะเวลาที่จะทำงานเสร็จน้อยเกินไป
Post-purchase rationalization (การสร้างเหตุผลหลังการซื้อ) เป็นความเอนเอียงที่จะกล่อมตัวเองด้วยเหตุผลว่า สิ่งที่ซื้อมีคุณค่าดี
Pro-innovation bias (ความเอนเอียงว่านวกรรมดี) เป็นความโน้มเอียงที่จะมองโลกในแง่ดีมากเกินไปเกี่ยวกับประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์หรือนวกรรมต่อสังคมทั่วไป ในขณะที่ละเลยหรือไม่สามารถกำหนดข้อจำกัดหรือข้อเสีย
Pseudocertainty effect (ปรากฏการณ์ความแน่นอนเทียม) เป็นความโน้มเอียงที่จะรู้สึกว่า ผลที่จะเกิดขึ้นเป็นเรื่องแน่นอนแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะไม่ใช่ เป็นปรากฏการณ์ที่พบในการตัดสินใจหลายขั้นตอน
Reactance (การทำตรงกันข้าม) เป็นความรู้สึกที่จะทำตรงข้ามกับสิ่งที่คนอื่นต้องการให้ตนทำ เป็นความต้องการที่จะต่อต้านความพยายามที่จะจำกัดอิสรภาพในการเลือกของตน
Reactive devaluation (การลดค่าโดยเป็นปฏิกิริยา) ข้อเสนออย่างหนึ่งดูมีค่าน้อยลงเพราะว่ามาจากศัตรู
Recency illusion (มายาว่าเร็ว ๆ นี้) การแปลสิ่งเร้าผิดว่าคำหรือการใช้ภาษาอย่างหนึ่ง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้แต่ความจริงเกิดมานานแล้ว
Restraint bias (ความเอนเอียงเรื่องบังคับตนเอง) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินการบังคับตนเองได้ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมล่อใจ เกินกว่าความจริง
Rhyme as reason effect (ปรากฏการณ์เสียงสัมผัสโดยเป็นเหตุผล) คำที่มีเสียงสัมผัสฟังดูเหมือนเป็นจริงมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น สุภาษิตต่าง ๆ หรือตัวอย่างในภาษาอังกฤษที่ใช้ในคดีฆาตกรรมดังอเมริกันที่ยกฟ้องจำเลยคือ "If the gloves don't fit, then you must acquit (ถ้าถุงมือมันไม่ฟิต คุณจะต้องตัดสินปล่อยตัวจำเลย)"
Risk compensation (การชดเชยความเสี่ยง) หรือ Peltzman effect (ปรากฏการณ์เพ็ล์ตซแมน์) เป็นความโน้มเอียงที่จะทำอะไรเสี่ยงกว่า ถ้ารู้สึกว่าความปลอดภัยสูงขึ้น
Selective perception (การรับรู้โดยเลือก) เป็นความโน้มเอียงที่ความคาดหวังจะมีผลต่อการรับรู้
Semmelweis reflex (รีเฟล็กซ์เซ็มเมิลไวซ์) เป็นความโน้มเอียงที่จะปฏิเสธหลักฐานใหม่ ๆ ที่คัดค้านแบบแผนที่มีอยู่แล้ว
Social comparison bias (ความเอนเอียงโดยการเปรียบเทียบทางสังคม) เป็นความโน้มเอียงที่จะตัดสินจ้างบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะว่าบุคคลนั้นจะไม่แข่งขันกับตนในด้านที่ตนมีจุดแข็ง
Social desirability bias (ความเอนเอียงเรื่องความน่าพอใจทางสังคม) เป็นความโน้มเอียงที่จะรายงานบุคลิกหรือพฤติกรรมที่เป็นเรื่องน่าพอใจทางสังคมของตนมากเกินไป และรายงานของคนอื่นน้อยเกินไป
Status quo bias (ความเอนเอียงเพื่อคงสถานะเดิม) เป็นความโน้มเอียงที่จะชอบใจให้สิ่งต่าง ๆ เป็นเหมือน ๆ เดิม (สัมพันธ์กับการหลีกเลี่ยงการเสีย, Endowment effect, และ system justification)
Stereotyping (การใช้แม่แบบ) การคาดหวังว่าสมาชิกของกลุ่มมีคุณสมบัติอะไรบางอย่าง โดยที่ไม่มีข้อมูลจริง ๆ สำหรับบุคคลนั้น ๆ
Subadditivity effect (ปรากฏการณ์การรวมต่ำไป) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินความน่าจะเป็นของทั้งหมด น้อยกว่าความน่าจะเป็นของแต่ละส่วน ๆ รวมกัน
Subjective validation (การกำหนดความถูกต้องโดยอัตวิสัย) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่บุคคลจะพิจารณาบทความหรือข้อมูลว่าถูกต้องถ้ามีความหมายหรือความสำคัญต่อตนเอง
Survivorship bias (ความเอนเอียงจากการอยู่รอด) การพุ่งความสนใจไปที่บุคคลหรืออะไรบางอย่าง ที่อยู่รอดผ่านกระบวนการอย่างหนึ่ง แล้วละเลยอย่างไม่ได้ตั้งใจบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ไม่รอดเพราะมองไม่เห็น
Time-saving bias (ความเอนเอียงเรื่องประหยัดเวลา) การประเมินเวลาที่จะประหยัดหรือเสียไปน้อยเกินไป เมื่อเพิ่มหรือลดความเร็ว เมื่อความเร็วนั้นค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว หรือว่าการประเมินเวลาที่จะประหยัดหรือเสียไปมากเกินไป เมื่อเพิ่มหรือลดความเร็ว เมื่อความเร็วนั้นค่อนข้างสูงอยู่แล้ว
Unit bias (ความเอนเอียงที่จะทำเป็นหน่วย) เป็นความโน้มเอียงที่จะทำการงานเป็นหน่วย ๆ เห็นได้ชัดในเรื่องการบริโภคอาหาร
Well travelled road effect (ปรากฏการณ์ไปตามทางที่ใช้บ่อย) เป็นการประเมินเวลาการไปตามทางที่ไปบ่อย ๆ น้อยเกินไป และตามทางที่ไปไม่บ่อย มากเกินไป
Zero-risk bias (ความเอนเอียงเพื่อความเสี่ยงศูนย์) ความชอบใจที่จะลดความเสี่ยงที่มีน้อยให้เหลือศูนย์ มากกว่าจะลดความเสี่ยงที่มีมากในระดับที่สูงกว่า
Zero-sum heuristic (ฮิวริสติกแพ้ชนะรวมกันเป็นศูนย์) รู้โดยไม่ต้องคิดว่า สถานการณ์หนึ่งเป็นเรื่องแพ้-ชนะ (คือการได้การเสียสัมพันธ์กัน หรือการได้การเสียบวกกันได้ศูนย์) การเกิดความเอนเอียงเช่นนี้ถี่ ๆ อาจสัมพันธ์กับบุคลิกภาพในด้านความเป็นใหญ่ในสังคม

ความเอนเอียงทางสังคม

ความเอนเอียงเหล่านี้โดยมากจัดเป็น attributional bias (ควาเอนเอียงในการอ้างเหตุ)

ชื่อ คุณลักษณะ
Actor-observer bias (ความเอนเอียงผู้กระทำ-ผู้สังเกตการณ์) เป็นความโน้มเอียงที่จะอธิบายพฤติกรรมของผู้อื่นโดยเน้นอิทธิพลทางบุคลิกภาพมากเกินไป และเน้นอิทธิพลของสถานการณ์น้อยเกินไป (ดู Fundamental attribution error ด้วย) และที่จะอธิบายพฤติกรรมของตนโดยนัยตรงกันข้าม คือเน้นอิทธิพลของสถานการณ์มากเกินไป และเน้นอิทธิพลของบุคลิกภาพน้อยเกินไป
Defensive attribution hypothesis (สมมติฐานการอ้างเหตุแบบป้องกันตัว) ยกโทษให้กับคนทำผิดมากขึ้น เมื่อผลที่ได้เสียหายมากขึ้น หรือว่าเมื่อผู้ตัดสินมีความคล้ายคลึงทางส่วนตัวหรือทางสถานการณ์กับผู้รับเคราะห์มากขึ้น
Dunning-Kruger effect (ปรากฏการณ์ดันนิ่ง-ครูเกอร์) ปรากฏการณ์ที่คนไร้ความสามารถไม่รู้ว่าตนไร้ความสามารถ เพราะไม่มีทักษะที่จะแยกแยะระหว่างความสามารถกับความไร้ความสามารถ แต่ว่า ความสามารถจริง ๆ อาจทำให้มั่นใจในตนเองน้อยลง เพราะว่าคนมีความสามารถอาจจะนึกอย่างผิด ๆ ว่า คนอื่นมีความเข้าใจเท่าเทียมกัน
Egocentric bias (ความเอนเอียงเห็นแก่ตัว) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเรียกร้องความดีความชอบให้ตนเองทั้ง ๆ ที่เป็นผลงานร่วมกับคนอื่น ในระดับที่มากกว่าคนสังเกตการณ์จะเห็นด้วย
Extrinsic incentives bias (ความเอนเอียงเห็นผู้อื่นมีสิ่งจูงใจภายนอก) จุดนี้เป็นข้อยกเว้นของ fundamental attribution error เมื่อบุคคลเห็นผู้อื่นว่ามีแรงจูงใจภายนอก (คือสถานการณ์เช่น การเงิน) แต่เห็นตัวเองว่ามีแรงจูงใจภายใน (เช่น เพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ)
False consensus effect (ปรากฏการณ์ความเห็นพ้องเทียม) เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลประเมินระดับการเห็นพ้องต้องกันกับตนเองของคนอื่นสูงเกินไป
Forer effect (ปรากฏการณ์ฟอเรอร์) หรือ Barnum effect (ปรากฏการณ์บาร์นัม) สังเกตการณ์ที่เห็นได้ว่า บุคคลจะให้คะแนนว่ามีความแม่นยำสูง สำหรับคำพรรณนาบุคลิกของตนที่เชื่อว่าทำเฉพาะให้แก่ตน แต่ว่าความจริงเป็นคำที่คลุมเครือและทั่วไปพอที่จะกล่าวได้ถึงคนอื่นเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถใช้เป็นคำอธิบายส่วนหนึ่งเกี่ยวกับความนิยมชมชอบความเชื่อหรือความคิดบางอย่างเช่น โหราศาสตร์ การบอกโชคชะตา การดูลายมือ และการทดสอบบุคลิกบางอย่าง
Fundamental attribution error (ความผิดพลาดในการอ้างเหตุพื้นฐาน) เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะอธิบายพฤติกรรมของผู้อื่นโดยอ้างเหตุบุคลิกภาพมากเกินไป ในขณะที่อ้างเหตุเกี่ยวกับบทบาทและอิทธิพลของสถานการณ์น้อยเกินไป (สัมพันธ์กับ actor-observer bias, group attribution error, positivity effect, และ negativity effect)
Group attribution error (ความผิดพลาดโดยการอ้างเหตุรวมกลุ่ม) เป็นความเชื่อที่เอนเอียงว่า ลักษณะของบุคคลหนึ่งในกลุ่ม เป็นลักษณะของบุคคลทั้งกลุ่ม หรือความโน้มเอียงที่จะอ้างเหตุว่า การตัดสินใจของกลุ่มบ่งถึงความชอบใจของสมาชิกในกลุ่ม แม้ว่าจะมีข้อมูลที่ส่องถึงนัยตรงกันข้าม
Halo effect (ปรากฏการณ์วงรัศมี) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่ความรู้สึกทั่วไปเกี่ยวกับบุคคล บริษัท ยี่ห้อ หรือผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและความคิดเกี่ยวกับสิ่งนั้นในด้านอื่น ๆ
Illusion of asymmetric insight (มายาว่าความเข้าใจไม่เท่ากัน) เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดว่า ความรู้ของตนเกี่ยวกับคนรอบตัว มากกว่าความรู้ของคนรอบตัวเกี่ยวกับตน
Illusion of external agency (มายาว่ามีผู้กระทำภายนอก) เมื่อบุคคลเห็นความชอบใจที่เกิดขึ้นภายในตนว่า มีเหตุจากผู้กระทำอื่นที่ฉลาด มีประสิทธิภาพ และเห็นประโยชน์แก่ตน
Illusion of transparency (มายาว่าโปร่งใส) บุคคลประเมินว่า คนอื่นรู้จักตนดีเกินจริง และประเมินความสามารถของตนในการรู้จักผู้อื่นเกินจริง
Illusory superiority (ความเหนือกว่าเทียม) เป็นการประเมินคุณสมบัติที่น่าชอบใจของตนเกินจริง และประเมินคุณสมบัติที่ไม่น่าชอบใจต่ำกว่าความเป็นจริง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้อื่น
Ingroup bias (ความเอนเอียงในพวกตน) เป็นความโน้มเอียงที่จะปฏิบัติต่อผู้อื่นที่มองว่าเป็นสมาชิกในกลุ่มของตนดีกว่าคนอื่น
Just-world hypothesis (สมมติฐานโลกยุติธรรม) เป็นความโน้มเอียงที่จะเชื่อว่า โลกนี้โดยหลักแล้วยุติธรรม เป็นเหตุให้พยาายามหาเหตุผลผิด ๆ ในเรื่องที่ไม่ยุติธรรมว่า ผู้รับเคราะห์หรือเหยื่อสมควรที่จะได้รับเคราะห์เช่นนั้น
Moral luck (โชคตามจริยธรรม) เป็นความโน้มเอียงที่จะตัดสินบุคคลว่าดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับผลของเหตุการณ์
Naïve cynicism (ความไม่เชื่อใจผู้อื่นสามัญ) เป็นความคาดหวังอย่างผิด ๆ ว่า คนอื่นมีความเอนเอียงเห็นแก่ตัวมากกว่าตน
Naïve realism (สัจนิยมสามัญ) ความเชื่อว่าเราเห็นโลกตามความเป็นจริง โดยไม่เอนเอียง ว่าความจริงนั้นปรากฏให้เห็นชัดเจนกับทุกคน ว่าคนมีเหตุผลอื่นจะเห็นด้วยกับเรา และว่าคนที่ไม่เห็นด้วยเป็นคนที่ไม่มีข้อมูล ขี้เกียจ ไร้เหตุผล หรือว่ามีความเอนเอียง
Outgroup homogeneity bias (ความเอนเอียงเห็นคนกลุ่มอื่นเหมือน ๆ กัน) บุคคลมองเห็นสมาชิกในกลุ่มของตนว่าต่าง ๆ กันมากกว่าสมาชิกของชนกลุ่มอื่น
Projection bias (ความเอนเอียงโดยยิงให้ผู้อื่น) ความโน้มเอียงที่จะถือเอาว่า คนอื่น (หรือว่าตนเองในอนาคต) จะมีความรู้สึก ความคิด และค่านิยม เหมือนกับตนในปัจจุบัน
Self-serving bias (ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง) เป็นความโน้มเอียงที่จะอ้างความรับผิดชอบต่อเรื่องสำเร็จมากกว่าเรื่องที่ล้มเหลว อาจจะปรากฏเป็นความโน้มเอียงในการประเมินข้อมูลที่ไม่ชัดเจนโดยให้ประโยชน์กับตน (สัมพันธ์กับ group-serving bias)
Shared information bias (ความเอนเอียงต่อข้อมูลแชร์) เป็นความโน้มเอียงที่สมาชิกในกลุ่มจะให้เวลาและความสนใจสนทนาเรื่องที่สมาชิกทุกคนคุ้นเคย (คือข้อมูลแชร์) มากกว่าที่ให้กับเรื่องที่สมาชิกบางคนเท่านั้นรู้
System justification (การให้เหตุผลกับระบบ) เป็นความโน้มเอียงที่จะป้องกันและสนับสนุนสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน คือชอบใจระบบทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ที่มีอยู่ และใส่ความระบบทางเลือกอื่น แม้กระทั่งบางครั้งเป็นการเสียประโยชน์ของตนหรือของส่วนรวม (สัมพันธ์กับ status quo bias)
Trait ascription bias (ความเอนเอียงในการถือเอาคุณลักษณะ) เป็นความโน้มเอียงที่จะเห็นตนเองว่ามีความต่าง ๆ กันในด้านบุคลิกภาพ พฤติกรรม และพื้นอารมณ์ ในขณะที่มองผู้อื่นว่า รู้จักได้ง่ายกว่า
Ultimate attribution error (ความผิดพลาดในการอ้างเหตุขั้นสุด) คล้ายกับ fundamental attribution error แต่เป็นความผิดพลาดที่บุคคลจะโทษบุคลิกนิสัยของคนทั้งกลุ่ม ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนเท่านั้น
Worse-than-average effect (ปรากฏการณ์แย่กว่าโดยเฉลี่ย) เป็นความโน้มเอียงที่จะเชื่อว่าตนแย่กว่าคนอื่นโดยเฉลี่ยในงานที่ยาก

ความผิดพลาดและความเอนเอียงทางความจำ

ในสาขาจิตวิทยาและประชานศาสตร์ ความเอนเอียงทางความจำ (memory bias) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่ช่วยหรือขัดการระลึกถึงความทรงจำหนึ่ง ๆ (เช่นช่วยให้ระลึกถึงความจำนั้นได้ หรือช่วยลดเวลาการระลึก หรือว่าทั้งสองอย่าง) หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลสิ่งที่จำได้ มีประเภทต่าง ๆ รวมทั้ง

ชื่อ คุณลักษณะ
Bizarreness effect (ปรากฏการณ์ความแปลกประหลาก) เรื่องแปลกประหลาดจำได้ง่ายกว่าเรื่องธรรมดา
Choice-supportive bias (ความเอนเอียงสนับสนุนสิ่งที่เลือก) เป็นความโน้มเอียงที่จะนึกถึงสิ่งที่เลือกว่าดี เกินความเป็นจริง
Change bias (ความเอนเอียงเรื่องสิ่งที่เปลี่ยน) เมื่อต้องลงทุนลงแรงเพื่อเปลี่ยนอะไรอย่างหนึ่ง จะจำการกระทำนั้นว่า ทำได้ยากเกินความเป็นจริง[[[|แหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือ?]]]
Childhood amnesia (ภาวะเสียความจำในวัยเด็ก) จำเหตุการณ์ที่เกิดก่อนวัย 4 ขวบได้น้อย
Conservatism หรือ Regressive bias เป็นความโน้มเอียงที่จะระลึกถึงค่าสูง เช่นค่าความถี่ ค่าความน่าจะเป็น ว่าต่ำจากความเป็นจริง และระลึกถึงค่าต่ำว่าสูงจากความเป็นจริง
Consistency bias (ความเอนเอียงเพื่อให้คงเส้นคงวา) ระลึกผิด ๆ ถึงทัศนคติและพฤติกรรมในอดีตของตน ว่าเหมือนทัศนคติและพฤติกรรมในปัจจุบัน
cue-dependent forgetting (การหลงลืมขึ้นอยู่กับตัวช่วย) ระบบประชานและความจำขึ้นอยู่กับตัวบริบท (คือตัวช่วยให้นึกถึงสิ่งนั้น) ดังนั้น ความทรงจำที่ไม่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน จะระลึกถึงได้ยากกว่าความทรงจำที่เข้า (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาและความแม่นยำในการระลึกถึงความจำเกี่ยวกับที่ทำงาน จะแย่กว่าเมื่อนึกถึงที่บ้าน และนัยตรงกันข้ามก็จะเหมือนกัน)
Cross-race effect (ปรากฏการณ์ข้ามผิวพันธุ์) เป็นความโน้มเอียงที่คนผิวพันธุ์หนึ่งประสบความลำบากในการจำบุคคลที่เป็นอีกผิวพันธุ์หนึ่ง
Cryptomnesia เป็นความผิดพลาดในการถือเอาความทรงจำว่าเป็นจินตนาการ เพราะว่า ไม่เกิดความรู้สึกทางอัตวิสัยว่ามันเป็นความทรงจำ
Egocentric bias (ความเอนเอียงเห็นแก่ตัว) การระลึกถึงอดีตเข้าข้างตนเอง เช่น ระลึกถึงคะแนนสอบว่าดีกว่า หรือว่า จับปลาได้ตัวใหญ่กว่าความจริง
Fading affect bias (ความเอนเอียงโดยความรู้สึกจาง) เป็นความเอนเอียงที่อารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับความทรงจำที่ไม่ดี จางหายไปเร็วกว่าอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ดี ๆ
Generation effect (ปรากฏการณ์คิดเอง) ข้อมูลที่คิดเองจำได้ดีที่สุด เช่น บุคคลสามารถระลึกถึงคำพูดของตน ได้ดีกว่าคำพูดคล้าย ๆ กันของคนอื่น
Google effect (ปรากฏการณ์กูเกิล) เป็นความโน้มเอียงที่จะลืมข้อมูลที่สามารถหาได้ง่ายออนไลน์โดยใช้เสิร์ชเอนจินทางอินเทอร์เน็ตเช่นกูเกิล
Hindsight bias (ความเอนเอียงการเข้าใจปัญหาย้อนหลัง) บางครั้งเรียกว่าปรากฏการณ์ "I-knew-it-all-along" (ฉันรู้อยู่ก่อนแล้ว) เป็นความเอนเอียงที่เห็นเหตุการณ์ในอดีตว่า พยากรณ์ได้ แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลจริง ๆ หรือมีน้อยพอที่จะพยากรณ์ได้จริง ๆ
Humor effect (ปรากฏการณ์เรื่องตลก) เรื่องตลกจำได้ง่ายกว่าเรื่องไม่ตลก ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นเรื่องตลกที่ไม่เหมือนใคร หรือว่าเพราะต้องประมวลข้อมูลทางประชานมากกว่าเพื่อที่จะเข้าใจ หรือว่าเพราะทำให้เกิดสภาวะตื่นตัวทางอารมณ์[ต้องการอ้างอิง]
Illusory truth effect (ปรากฏการณ์ความจริงเทียม) หรือ Availability cascade เป็นกระบวนการที่เสริมกำลังในตัว ที่ความเชื่อในสังคมดูเหมือนจะเป็นไปได้มากขึ้นเมื่อเกิดการพูดการกล่าวถึงซ้ำ ๆ กัน (เหมือนกับความเชื่ออย่างหนึ่งของเด็กว่า "พูดอะไรซ้ำ ๆ กัน นาน ๆ เข้าก็จะกลายเป็นจริง")
Illusory correlation (สหสัมพันธ์เทียม) การเห็นอย่างผิดพลาดว่า เหตุการณ์หลายอย่างที่ไม่สัมพันธ์กันมีความสัมพันธ์กัน
Leveling and Sharpening (การทำให้เรียบและการทำให้คม) ความจำที่บิดเบือนเกิดขึ้นจากการสูญเสียรายละเอียดเมื่อระลึกถึงเมื่อภายหลังนาน ๆ (เป็นการทำให้เรียบ) บ่อยครั้งเกิดขึ้นพร้อมกับ ๆ การระลึกถึงรายละเอียดอะไรบางอย่างได้ดีขึ้น (การทำให้คม) ซึ่งกลายเป็นเรื่องสำคัญเมื่อเทียบกับรายละเอียดหรือลักษณะที่สูญเสียไป ความเอนเอียงสองอย่างนี้อาจจะมีกำลังขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลา โดยการระลึกถึงหรือกล่าวถึงความจำนั้นบ่อย ๆ
Levels-of-processing effect (ปรากฏการณ์ประมวลหลายระดับ) ระดับการประมวลสิ่งเร้าทางใจต่าง ๆ ทำให้สามารถระลึกถึงสิ่งเร้านั้นได้ต่าง ๆ กัน การประมวลที่ลึกซึ้ง ทำให้ระลึกได้ดีกว่า
List-length effect (ปรากฏการณ์จำนวนรายการ) เมื่อมีรายการที่ยาวขึ้นเรื่อย ๆ จะจำรายการได้ถูกต้องในอัตราที่น้อยกว่า และจำผิดในอัตราที่มากกว่า แม้ว่าจะมีงานวิจัยที่คัดค้านว่าปรากฏการณ์นี้ไม่มีจริงเมื่อควบคุมตัวแปรกวน
Misinformation effect (ปรากฏการณ์ข้อมูลผิด) ความจำจะแม่นยำน้อยลงถ้ามี post-event information คือข้อมูลเกี่ยวกับความจำหลังเหตุการณ์นั้น ที่ผิดพลาด ซึ่งจะเป็นตัวกวนความจำนั้น
Next-in-line effect (ปรากฏการณ์คนต่อไปในแถว) เป็นแนวโน้มที่บุคคลที่จะพูดต่อไปในกลุ่ม สามารถระลึกถึงคำของคนที่พูดก่อน ๆ ได้น้อยลง เมื่อต้องพูดต่อ ๆ กัน
Peak-end rule (กฎยอดและสุด) เป็นแนวโน้มที่จะประเมินความรู้สึกถึงเหตุการณ์หนึ่งโดยไม่รวมคุณค่าของประสบการณ์ทั้งหมด แต่ประเมินโดยค่าความรู้สึกที่จุดยอด (ไม่ว่าจะเป็นสุขหรือทุกข์) และค่าความรู้สึกในที่สุดของเหตุการณ์
Picture superiority effect (ปรากฏการณ์ความเหนือกว่าของภาพ) เป็นความโน้มเอียงที่แนวคิดที่ศึกษาโดยใช้รูปภาพจะสามารถระลึกถึงได้ง่ายกว่าและบ่อยกว่า แนวคิดที่ศึกษาโดยอ่านแค่บทความ
Positivity effect (ปรากฏการณ์ข้อมูลบวก) เป็นแนวโน้มที่ผู้สูงวัยจะชื่นชอบข้อมูลเชิงบวกมากกว่าข้อมูลเชิงลบในความทรงจำ
Primacy effect, Recency effect และ Serial position effect เป็นแนวโน้มที่จะระลึกถึงรายการที่อยู่ท้าย ๆ ได้ดีที่สุด ตามมาด้วยรายการที่อยู่ต้น ๆ ส่วนรายการที่อยู่กลาง ๆ จะจำได้น้อยที่สุด
Processing difficulty effect (ปรากฏการณ์ความยากในการประมวล) ข้อมูลที่ใช้เวลามากกว่าในการอ่านและคิดถึงนานกว่า (คือประมวลอย่างยากเย็นกว่า) จะระลึกถึงได้ง่ายกว่า (ดู Levels-of-processing effect)
Reminiscence bump (การประทุของความจำเหตุการณ์ในอดีต) เป็นแนวโน้มของผู้ใหญ่ที่จะระลึกถึงความจำในช่วงวัยรุ่นและเริ่มต้นวัยผู้ใหญ่ได้ดีกว่าช่วงชีวิตอื่น ๆ
Rosy retrospection (การระลึกถึงความหลังเป็นสีชมพู) เป็นแนวโน้มในการระลึกถึงอดีตว่าดีเกินกว่าที่เป็นจริง
Self-relevance effect (ปรากฏการณ์ความสัมพันธ์กับตน) ความจำเกี่ยวกับตนเองระลึกได้ง่ายกว่าความจำเรื่องเดียวกันของคนอื่น
Spacing effect (ปรากฏการณ์เว้นว่าง) เป็นแนวโน้มที่จะระลึกถึงข้อมูล ถ้าได้ข้อมูลนั้นซ้ำ ๆ กันแต่ห่างกัน ได้ดีกว่าถ้าซ้ำโดยไม่ห่าง
Spotlight effect (ปรากฏการณ์สปอร์ตไลท์) เป็นแนวโน้มที่จะประเมินว่าคนอื่นเห็นรูปร่างลักษณะท่าทางพฤติกรรมของตนเกินความจริง
Suffix effect (ปรากฏการณ์เสริมท้าย) recency effect คือการจำข้อสุดท้าย ๆ ของรายการได้ดีที่สุด มีระดับลดลงถ้ามีรายการเสริมท้ายที่ไม่ต้องจำเพื่อระลึกภายหลัง
Suggestibility (การถูกชักชวนได้ง่าย) เป็นการอ้างแหล่งข้อมูลผิดอย่างหนึ่งที่ความคิดที่เสนอโดยผู้ถาม กลายเป็นความทรงจำของผู้ตอบ
Telescoping effect (ปรากฏการณ์กล้องโทรทรรศน์) เป็นความโน้มเอียงที่จะจำเหตุการณ์เร็ว ๆ นี้ว่าอยู่ในอดีตไกลเกินจริง และเหตุการณ์ที่ไกลออกไปว่าอยู่ในอดีตใกล้เกินจริง ดังนั้น เหตุการณ์เร็ว ๆ นี้จึงปรากฏเหมือนอยู่ไกล และเหตุการณ์ที่อยู่ในอดีตไกลดูเหมือนจะใกล้
Testing effect (ปรากฏการณ์ทดสอล) เป็นแนวโน้มที่จะจำข้อมูลที่พึ่งอ่านได้ดีกว่าถ้าเขียนซ้ำ แทนที่จะอ่านใหม่
Tip of the tongue phenomenon (ปรากฏการณ์อยู่ปลายลิ้น) เมื่อบุคคลสามารถที่จะระลึกถึงบางส่วนของข้อมูลหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันได้ แต่ไม่สามารถระลึกถึงข้อมูลทั้งหมดได้อย่างน่ากลุ้มใจ นี่เชื่อกันว่าเป็นตัวอย่างของความขัดข้องที่เกิดขึ้นเมื่อระลึกถึงความทรงจำที่คล้าย ๆ กันได้หลายชิ้น ซึ่งเป็นตัวกวนกันและกัน
Verbatim effect (ปรากฏการณ์คำต่อคำ) ความโน้มเอียงที่จะระลึกถึง แก่นสารสำคัญ (gist) ของสิ่งที่คนพูด ได้ดีกว่าระลึกถึงข้อความคำต่อคำ นี่เป็นเพราะความทรงจำเป็นตัวแทน (representation) เหตุการณ์ ไม่ใช่เป็นก๊อปปี้ของเหตุการณ์
Von Restorff effect (ปรากฏการณ์วอนเรสตอล์ฟ) เป็นความโน้มเอียงที่จะระลึกถึงรายการที่เด่นได้ดีกว่ารายการอื่น ๆ
Zeigarnik effect (ปรากฏการณ์เซการ์นิก) เป็นความโน้มเอียงที่จะระลึกถึงงานที่ยังไม่เสร็จหรือพักไปในระหว่าง ได้ดีกว่างานที่ทำเสร็จแล้ว

เหตุสามัญโดยทฤษฎี ของความเอนเอียงทางประชาน

  • Bounded rationality (การมีเหตุผลที่จำกัด)
    • Prospect theory (ทฤษฎีความคาดหวัง)
    • Mental accounting (การทำบัญชีทางใจ)
    • Adaptive bias (ความเอนเอียงแบบปรับได้) - การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ แล้วปรับด้วยความเอนเอียงตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะอาจมีข้อผิดพลาด
  • Attribute substitution (การทดแทนคุณลักษณะ) - การทดแทนข้อมูลที่ยากและซับซ้อนด้วยคุณลักษณะที่ง่าย เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
  • Attribution theory (ทฤษฎีการอ้างเหต)
    • Salience (สิ่งที่เด่นในการรับรู้)
    • Naïve realism (สัจนิยมสามัญ)
  • Cognitive dissonance (ความไม่ลงรอยทางประชาน) และเหตุที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ
    • Impression management (การบริหารความประทับใจ)
    • Self-perception theory (ทฤษฎีการมองตนเอง)
  • Heuristics in judgment and decision-making (ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ) รวมทั้ง
    • Availability heuristic (ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย) - ประเมินว่าอะไรมีโอกาสสูงกว่าโดยการนึกถึงได้ง่าย เป็นความเอนเอียงต่อตัวอย่างทางความจำที่ชัดเจน แปลก ๆ หรือประกอบด้วยอารมณ์
    • Representativeness heuristic (ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน) - ตัดสินว่าอะไรมีโอกาสสูงกว่าโดยความคล้ายคลึงกับตัวแทนของประเภท
    • Affect heuristic (ฮิวริสติกโดยอารมณ์) - ตัดสินใจโดยใช้อารมณ์แทนที่จะประเมินความเสี่ยงและประโยชน์
  • ทฤษฎีเกี่ยวกับอารมณ์บางอย่าง เช่น
    • Two-factor theory of emotion (ทฤษฎีอารมณ์มีองค์ประกอบสอง)
    • Somatic markers hypothesis (สมมติฐานตัวบ่งชี้พฤติกรรมทางกาย)
  • Introspection illusion (การแปลการพินิจภายในผิด)
  • misuse of statistics (การตีความสถิติผิดหรือการใช้ผิด) หรือ innumeracy (การใช้เหตุผลโดยตัวเลขไม่เป็น)

บทความในวารสาร Psychological Bulletin ปี ค.ศ. 2012 เสนอว่า มีความเอนเอียงที่ดูเหมือนจะไม่สัมพันธ์กัน 8 อย่างที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยใช้กลไกทางทฤษฎีสารสนเทศ (information-theoretic generative mechanism) ที่มีการประมวลข้อมูลประกอบด้วยตัวกวน (noisy) ทั้งในช่วงการเก็บและการระลึกถึงข้อมูลในความทรงจำของมนุษย์

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. Dougherty, M. R. P.; Gettys, C. F.; Ogden, E. E. (1999). "MINERVA-DM: A memory processes model for judgments of likelihood" (PDF). Psychological Review. 106 (1): 180–209. doi:10.1037/0033-295x.106.1.180.
  2. Kahneman, D.; Tversky, A. (1972). "Subjective probability: A judgment of representativeness". Cognitive Psychology. 3: 430–454. doi:10.1016/0010-0285(72)90016-3.
  3. Baron, J. (2007). Thinking and deciding (4th ed. ed.). New York City: Cambridge University Press. ISBN 9781139466028.CS1 maint: extra text (link)
  4. Maccoun, Robert J. (1998). "Biases in the interpretation and use of research results" (PDF). Annual Review of Psychology. 49 (1): 259–87. doi:10.1146/annurev.psych.49.1.259. PMID 15012470.
  5. Nickerson, Raymond S. (1998). "Confirmation Bias: A Ubiquitous Phenomenon in Many Guises" (PDF). Review of General Psychology. Educational Publishing Foundation. 2 (2): 175-220 198. doi:10.1037/1089-2680.2.2.175. ISSN 1089-2680.
  6. Dardenne, Benoit; Leyens, Jacques-Philippe (1995). "Confirmation Bias as a Social Skill". Personality and Social Psychology Bulletin. Society for Personality and Social Psychology. 21 (11): 1229–1239. doi:10.1177/01461672952111011. ISSN 1552-7433.
  7. Alexander, William H.; Brown, Joshua W. (2010-06-01). "Hyperbolically Discounted Temporal Difference Learning". Neural Computation. 22 (6): 1511–1527. doi:10.1162/neco.2010.08-09-1080. PMC 3005720. PMID 20100071.
  8. Baron 1994, p. 372
  9. Zhang, Yu; Lewis, Mark; Pellon, Michael; Coleman, Phillip (2007). "A Preliminary Research on Modeling Cognitive Agents for Social Environments in Multi-Agent Systems" (PDF): 116–123. Cite journal requires |journal= (help)
  10. Iverson, Grant; Brooks, Brian; Holdnack, James (2008). "Misdiagnosis of Cognitive Impairment in Forensic Neuropsychology". ใน Heilbronner, Robert L. (บ.ก.). Neuropsychology in the Courtroom: Expert Analysis of Reports and Testimony. New York: Guilford Press. p. 248. ISBN 9781593856342.CS1 maint: ref=harv (link)
  11. Bar-Haim, Y.; Lamy, D.; Pergamin, L.; Bakermans-Kranenburg, M.J.; van IJzendoorn, M.H. (2007). "Threat-related attentional bias in anxious and non-anxious individuals: A meta-analytic study". Psychological Bulletin. 133 (1): 1–24. PMID 17201568.CS1 maint: multiple names: authors list (link)Full Article PDF (534 KB)
  12. Schwarz, N.; Bless, Herbert; Strack, Fritz; Klumpp, G.; Rittenauer-Schatka, Helga; Simons, Annette (1991). "Ease of Retrieval as Information: Another Look at the Availability Heuristic" (PDF). Journal of Personality and Social Psychology. 61 (2): 195–202. doi:10.1037/0022-3514.61.2.195. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  13. Kuran, Timur; Cass R Sunstein (1998). "Availability Cascades and Risk Regulation". Stanford Law Review. 51: 683. doi:10.2307/1229439.
  14. Sanna, Lawrence J.; Schwarz, Norbert; Stocker, Shevaun L. (2002). "When debiasing backfires: Accessible content and accessibility experiences in debiasing hindsight" (PDF). Journal of Experimental Psychology: Learning, Memory, and Cognition. 28 (3): 497–502. doi:10.1037//0278-7393.28.3.497. ISSN 0278-7393.
  15. Colman, Andrew (2003). Oxford Dictionary of Psychology. New York: Oxford University Press. p. 77. ISBN 0-19-280632-7.
  16. Baron 1994, pp. 224-228
  17. Klauer, K. C.; Musch, J; Naumer, B (2000). "On belief bias in syllogistic reasoning". Psychological Review. 107 (4): 852–884. doi:10.1037/0033-295X.107.4.852. PMID 11089409.
  18. Pronin, Emily; Matthew B. Kugler (2007-07). "Valuing thoughts, ignoring behavior: The introspection illusion as a source of the bias blind spot". Journal of Experimental Social Psychology. Elsevier. 43 (4): 565–578. doi:10.1016/j.jesp.2006.05.011. ISSN 0022-1031. Check date values in: |date= (help)
  19. Walker, Drew; Vul, Edward (2013-10-25). "Hierarchical Encoding Makes Individuals in a Group Seem More Attractive". Psychological Science. 20 (11). doi:10.1177/0956797613497969.
  20. Mather, M.; Shafir, E.; Johnson, M.K. (2000). "Misrememberance of options past: Source monitoring and choice" (PDF). Psychological Science. 11 (2): 132–138. doi:10.1111/1467-9280.00228. PMID 11273420.
  21. Oswald, Margit E.; Grosjean, Stefan (2004). "Confirmation Bias". ใน Pohl, Rüdiger F. (บ.ก.). Cognitive Illusions: A Handbook on Fallacies and Biases in Thinking, Judgement and Memory. Hove, UK: Psychology Press. pp. 79–96. ISBN 978-1-84169-351-4. OCLC 55124398.
  22. Fisk, John E. (2004). "Conjunction fallacy". ใน Pohl, Rüdiger F. (บ.ก.). Cognitive Illusions: A Handbook on Fallacies and Biases in Thinking, Judgement and Memory. Hove, UK: Psychology Press. pp. 23–42. ISBN 978-1-84169-351-4. OCLC 55124398.
  23. Hilbert, Martin (2012). "Toward a synthesis of cognitive biases: How noisy information processing can bias human decision making". Psychological Bulletin. 138 (2): 211–237. Full ArticlePDF
  24. Attneave, F. (1953). "Psychological probability as a function of experienced frequency". Journal of Experimental Psychology. 46 (2): 81–86. doi:10.1037/h0057955. PMID 13084849.
  25. Fischhoff, B.; Slovic, P.; Lichtenstein, S. (1977). "Knowing with certainty: The appropriateness of extreme confidence". Journal of Experimental Psychology: Human Perception and Performance. 3 (4): 552–564. doi:10.1037/0096-1523.3.4.552.
  26. DuCharme, W. M. (1970). "Response bias explanation of conservative human inference". Journal of Experimental Psychology. 85 (1): 66–74. doi:10.1037/h0029546.
  27. Edwards, W. (1968). "Conservatism in human information processing". ใน Kleinmuntz, B. (บ.ก.). Formal representation of human judgment. New York: Wiley. pp. 17–52.
  28. Plous 1993, pp. 38-41
  29. Ackerman, Mark S., บ.ก. (2003). Sharing expertise beyond knowledge management (online ed.). Cambridge, Massachusetts: MIT Press. p. 7. ISBN 9780262011952.
  30. "Why We Spend Coins Faster Than Bills". All Things Considered. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
  31. Hsee, Christopher K.; Zhang, Jiao (2004). "Distinction bias: Misprediction and mischoice due to joint evaluation". Journal of Personality and Social Psychology. 86 (5): 680–695. doi:10.1037/0022-3514.86.5.680. PMID 15161394.
  32. (Kahneman, Knetsch & Thaler 1991, p. 193) Richard Thaler coined the term "endowment effect."
  33. "Book Review - The Essential Child: Origins of Essentialism in Everyday Thought By Susan A. Gelman Oxford University Press, Oxford, 2003". Human Nature Review. 2004-01-01.
  34. Wagenaar, W. A.; Keren, G. B. (1985). "Calibration of probability assessments by professional blackjack dealers, statistical experts, and lay people". Organizational Behavior and Human Decision Processes. 36 (3): 406–416. doi:10.1016/0749-5978(85)90008-1.
  35. Jeng, M. (2006). "A selected history of expectation bias in physics". American Journal of Physics. 74 (7): 578–583. doi:10.1119/1.2186333.
  36. Kahneman, Daniel; Alan B. Krueger; David Schkade; Norbert Schwarz; Arthur A. Stone (2006-06-30). "Would you be happier if you were richer? A focusing illusion" (PDF). Science. 312 (5782): 1908–10. doi:10.1126/science.1129688. PMID 16809528.
  37. Zwicky, Arnold (2005-08-07). "Just Between Dr. Language and I". Language Log.
  38. "There's a Name for That: The Baader-Meinhof Phenomenon".
  39. doi:10.1016/0030-5073(77)90001-0
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  40. Merkle, E. C. (2009). "The disutility of the hard-easy effect in choice confidence". Psychonomic Bulletin & Review. 16 (1): 204–213. doi:10.3758/PBR.16.1.204.
  41. Juslin, P; Winman, A.; Olsson, H. (2000). "Naive empiricism and dogmatism in confidence research: a critical examination of the hard-easy effect". Psychological Review. 107 (2): 384–396. doi:10.1037/0033-295x.107.2.384.
  42. Pohl, Rüdiger F. (2004). "Hindsight Bias". ใน Pohl, Rüdiger F. (บ.ก.). Cognitive Illusions: A Handbook on Fallacies and Biases in Thinking, Judgement and Memory. Hove, UK: Psychology Press. pp. 363–378. ISBN 978-1-84169-351-4. OCLC 55124398.
  43. Laibson, David (1997). "Golden Eggs and Hyperbolic Discounting". Quarterly Journal of Economics. 112 (2): 443–477. doi:10.1162/003355397555253.
  44. Kogut, Tehila; Ritov, Ilana (2005). "The 'Identified Victim' Effect: An Identified Group, or Just a Single Individual?" (PDF). Journal of Behavioral Decision Making. Wiley InterScience. 18: 157–167. doi:10.1002/bdm.492. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
  45. Thompson, Suzanne C. (1999). "Illusions of Control: How We Overestimate Our Personal Influence". Current Directions in Psychological Science. Association for Psychological Science. 8 (6): 187–190. doi:10.1111/1467-8721.00044. ISSN 0963-7214. JSTOR 20182602.CS1 maint: ref=harv (link)
  46. Dierkes, Meinolf; Antal, Ariane Berthoin; Child, John; Ikujiro Nonaka (2003). Handbook of Organizational Learning and Knowledge. Oxford University Press. p. 22. ISBN 978-0-19-829582-2. สืบค้นเมื่อ 2013-09-09.http://books.google.se/books?id=JRd7RZzzw_wC&pg=PA22&dq=Illusion+of+validity&hl=en&sa=X&ei=lr4tUoKtOKKK4wSi3IEw&redir_esc=y#v=onepage&q=Illusion%20of%20validity&f=false
  47. Tversky, Amos; Daniel Kahneman (1974-09-27). "Judgment under Uncertainty: Heuristics and Biases". Science. American Association for the Advancement of Science. 185 (4157): 1124–1131. doi:10.1126/science.185.4157.1124. PMID 17835457.
  48. Fiedler, K. (1991). "The tricky nature of skewed frequency tables: An information loss account of distinctiveness-based illusory correlations". Journal of Personality and Social Psychology. 60 (1): 24–36. doi:10.1037/0022-3514.60.1.24.
  49. Sanna, Lawrence J.; Schwarz, Norbert (2004). "Integrating Temporal Biases: The Interplay of Focal Thoughts and Accessibility Experiences". Psychological Science. American Psychological Society. 15 (7): 474–481. doi:10.1111/j.0956-7976.2004.00704.x. PMID 15200632.
  50. Baron 1994, pp. 258-259
  51. (Kahneman, Knetsch & Thaler 1991, p. 193)
  52. Bornstein, Robert F.; Crave-Lemley, Catherine (2004). "Mere exposure effect". ใน Pohl, Rüdiger F. (บ.ก.). Cognitive Illusions: A Handbook on Fallacies and Biases in Thinking, Judgement and Memory. Hove, UK: Psychology Press. pp. 215–234. ISBN 978-1-84169-351-4. OCLC 55124398.
  53. Shafir, Eldar; Diamond, Peter; Tversky, Amos (2000). "Money Illusion". ใน Kahneman, Daniel; Tversky, Amos (บ.ก.). Choices, values, and frames. Cambridge University Press. pp. 335–355. ISBN 978-0-521-62749-8.
  54. Haizlip, Julie. "Perspective: The Negativity Bias, Medical Education, and the Culture of Academic Medicine: Why Culture Change Is Hard". สืบค้นเมื่อ 2012-10-03.
  55. Baron 1994, p. 353
  56. Baron 1994, p. 386
  57. Baron 1994, p. 44
  58. Hardman 2009, p. 104
  59. Adams, P. A.; Adams, J. K. (1960). "Confidence in the recognition and reproduction of words difficult to spell". The American Journal of Psychology. 73 (4): 544–552.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  60. Hoffrage, Ulrich (2004). "Overconfidence". ใน Rüdiger Pohl (บ.ก.). Cognitive Illusions: a handbook on fallacies and biases in thinking, judgement and memory. Psychology Press. ISBN 978-1-84169-351-4.
  61. Sutherland 2007, pp. 172-178
  62. Plous 1993, Pseudocertainty
  63. Garcia, Stephen M.; Song, Hyunjin; Tesser, Abraham (2010-11). "Tainted recommendations: The social comparison bias". Organizational Behavior and Human Decision Processes. 113 (2): 97–101. doi:10.1016/j.obhdp.2010.06.002. ISSN 0749-5978. Unknown parameter |laysummary= ignored (help); Check date values in: |date= (help)
  64. Dalton, D. & Ortegren, M. (2011). "Gender differences in ethics research: The importance of controlling for the social desirability response bias". Journal of Business Ethics. 103 (1): 73–93. doi:10.1007/s10551-011-0843-8.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  65. Kahneman, Knetsch & Thaler 1991, p. 193
  66. Baron 1994, p. 382
  67. Baron, J (in preparation). Thinking and Deciding (4 ed.). New York: Cambridge University Press. Check date values in: |year= (help)
  68. Forer, B.R. (1949). "The Fallacy of Personal Validation: A classroom Demonstration of Gullibility". Journal of Abnormal Psychology. 44: 118–121.
  69. "Penn Psychologists Believe 'Unit Bias' Determines The Acceptable Amount To Eat". ScienceDaily. 2005-11-21.
  70. Meegan, Daniel V. (2010). "Zero-Sum Bias: Perceived Competition Despite Unlimited Resources". Frontiers in Psychology. 1. doi:10.3389/fpsyg.2010.00191. ISSN 1664-1078.
  71. Chernev, Alexander (2007). "Jack of All Trades or Master of One? Product Differentiation and Compensatory Reasoning in Consumer Choice". Journal of Consumer Research. 33 (4): 430–444. doi:10.1086/510217. ISSN 0093-5301.
  72. Morris, Errol (2010-06-20). "The Anosognosic's Dilemma: Something's Wrong but You'll Never Know What It Is (Part 1)". Opinionator: Exclusive Online Commentary from the New York Times. New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-03-07.
  73. Marks, Gary; Miller, Norman (1987). "Ten years of research on the false-consensus effect: An empirical and theoretical review". Psychological Bulletin. American Psychological Association. 102 (1): 72–90. doi:10.1037/0033-2909.102.1.72.
  74. Sutherland 2007, pp. 138-139
  75. Long-Crowell, Erin. "The Halo Effect: Definition, Advantages & Disadvantages". Psychology 104: Social Psychology. study.com. สืบค้นเมื่อ 2015-09-30.
  76. "Halo Effect". Investopedia. สืบค้นเมื่อ 2015-09-30.
  77. Pronin, E.; Kruger, J.; Savitsky, K.; Ross, L. (2001). "You don't know me, but I know you: the illusion of asymmetric insight". Journal of Personality and Social Psychology. 81 (4): 639–656. doi:10.1037/0022-3514.81.4.639. PMID 11642351.
  78. Hoorens, Vera (1993). "Self-enhancement and Superiority Biases in Social Comparison". European Review of Social Psychology. Psychology Press. 4 (1): 113–139. doi:10.1080/14792779343000040.
  79. Plous 2006, p. 206
  80. Hsee, Christopher K.; Hastie, Reid (2006). "Decision and experience: why don't we choose what makes us happy?". Trends in Cognitive Sciences. 10 (1): 31–37. doi:10.1016/j.tics.2005.11.007. PMID 16318925.
  81. Plous 2006, p. 185
  82. Forsyth, D. R. (2009). Group Dynamics (5 ed.). Pacific Grove, CA: Brooks/Cole.
  83. Kruger, J. (1999). "Lake Wobegon be gone! The "below-average effect" and the egocentric nature of comparative ability judgments". Journal of Personality and Social Psychology. 77 (2): 221–32. doi:10.1037/0022-3514.77.2.221. PMID 10474208.
  84. Mather, M.; Shafir, E.; Johnson, M.K. (2000). "Misrememberance of options past: Source monitoring and choice" (PDF). Psychological Science. 11 (2): 132–138. doi:10.1111/1467-9280.00228. PMID 11273420.
  85. Schacter, Daniel L. (1999). "The Seven Sins of Memory: Insights From Psychology and Cognitive Neuroscience". American Psychologist. 54 (3): 182–203. doi:10.1037/0003-066X.54.3.182. PMID 10199218.
  86. Cacioppo, John (2002). Foundations in social neuroscience. Cambridge, Mass: MIT Press. pp. 130–132. ISBN 026253195X.
  87. Walker, W. Richard; John J. Skowronski; Charles P. Thompson (2003). "Life Is Pleasant—and Memory Helps to Keep It That Way!" (PDF). Review of General Psychology. Educational Publishing Foundation. 7 (2): 203–210. doi:10.1037/1089-2680.7.2.203. สืบค้นเมื่อ 2009-08-27.
  88. Koriat, A.; M. Goldsmith; A. Pansky (2000). "Toward a Psychology of Memory Accuracy". Annual Review of Psychology. 51 (1): 481–537. doi:10.1146/annurev.psych.51.1.481. PMID 10751979.
  89. doi:10.1016/S0022-5371(72)80001-X
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  90. Kinnell, Angela; Dennis, S. (2011). "The list length effect in recognition memory: an analysis of potential confounds". Memory & Cognition. 39 (2): 348–63. doi:10.3758/s13421-010-0007-6.
  91. Wayne Weiten (2010). Psychology: Themes and Variations: Themes and Variations. Cengage Learning. p. 338. ISBN 978-0-495-60197-5.
  92. Wayne Weiten (2007). Psychology: Themes and Variations: Themes And Variations. Cengage Learning. p. 260. ISBN 978-0-495-09303-9.
  93. Shepard, R.N. (1967). "Recognition memory for words, sentences, and pictures". Journal of Learning and Verbal Behavior. 6: 156–163. doi:10.1016/s0022-5371(67)80067-7.
  94. McBride, D. M.; Dosher, B.A. (2002). "A comparison of conscious and automatic memory processes for picture and word stimuli: a process dissociation analysis". Consciousness and Cognition. 11: 423–460. doi:10.1016/s1053-8100(02)00007-7.
  95. Defetyer, M. A.; Russo, R.; McPartlin, P. L. (2009). "The picture superiority effect in recognition memory: a developmental study using the response signal procedure". Cognitive Development. 24: 265–273. doi:10.1016/j.cogdev.2009.05.002.
  96. Whitehouse, A. J.; Maybery, M.T.; Durkin, K. (2006). "The development of the picture-superiority effect". British Journal of Developmental Psychology. 24: 767–773. doi:10.1348/026151005X74153.
  97. Ally, B. A.; Gold, C. A.; Budson, A. E. (2009). "The picture superiority effect in patients with Alzheimer's disease and mild cognitive impairment". Neuropsychologia. 47: 595–598. doi:10.1016/j.neuropsychologia.2008.10.010.
  98. Curran, T.; Doyle, J. (2011). "Picture superiority doubly dissociates the ERP correlates of recollection and familiarity". Journal of Cognitive Neuroscience. 23 (5): 1247–1262. doi:10.1162/jocn.2010.21464.
  99. Martin, G. Neil; Neil R. Carlson; William Buskist (2007). Psychology (3rd ed.). Pearson Education. pp. 309–310. ISBN 978-0-273-71086-8.
  100. doi:10.1037/0278-7393.11.1.12
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  101. doi:10.1037/0882-7974.11.1.85
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  102. Morton, Crowder & Prussin, 1971
  103. Ian Pitt; Alistair D. N. Edwards (2003). Design of Speech-Based Devices: A Practical Guide. Springer. p. 26. ISBN 978-1-85233-436-9.
  104. Goldstein, E. Bruce. Cognitive Psychology: Connecting Mind, Research and Everyday Experience. Cengage Learning. p. 231. ISBN 978-1-133-00912-2.
  105. Poppenk, Walia, Joanisse, Danckert, & Köhler, 2006
  106. Von Restorff, H (1933). "Über die Wirkung von Bereichsbildungen im Spurenfeld (The effects of field formation in the trace field)"". Psychological Research. 18 (1): 299–342. doi:10.1007/bf02409636.
  107. Kahneman, Daniel; Shane Frederick (2002). "Representativeness Revisited: Attribute Substitution in Intuitive Judgment". ใน Thomas Gilovich, Dale Griffin, Daniel Kahneman (บ.ก.). Heuristics and Biases: The Psychology of Intuitive Judgment. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 49–81. ISBN 978-0-521-79679-8. OCLC 47364085.CS1 maint: multiple names: editors list (link)
  108. Slovic, Paul; Melissa Finucane; Ellen Peters; Donald G. MacGregor (2002). "The Affect Heuristic". ใน Thomas Gilovich, Dale Griffin, Daniel Kahneman (บ.ก.). Heuristics and Biases: The Psychology of Intuitive Judgment. Cambridge University Press. pp. 397–420. ISBN 0-521-79679-2.CS1 maint: multiple names: editors list (link)

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Baron, Jonathan (1994). Thinking and deciding (2nd ed.). Cambridge University Press. ISBN 0-521-43732-6.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Baron, Jonathan (2000). Thinking and deciding (3rd ed.). New York: Cambridge University Press. ISBN 0-521-65030-5.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Bishop, Michael A.; Trout, J. D. (2004). Epistemology and the Psychology of Human Judgment. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-516229-3.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Gilovich, Thomas (1993). "How We Know What Isn't So: The Fallibility of Human Reason in Everyday Life". New York: The Free Press. ISBN 0-02-911706-2. Cite journal requires |journal= (help)CS1 maint: ref=harv (link)
  • Gilovich, Thomas; Griffin, Dale; Kahneman, Daniel (2002). Heuristics and biases: The psychology of intuitive judgment. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0-521-79679-2.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Greenwald, A. (1980). "The Totalitarian Ego: Fabrication and Revision of Personal History" (PDF). American Psychologist. American Psychological Association. 35 (7). ISSN 0003-066X.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Hardman, David (2009). Judgment and decision making: psychological perspectives. Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-4051-2398-3.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Kahneman, Daniel; Slovic, Paul; Tversky, Amos (1982). Judgment under Uncertainty: Heuristics and Biases. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0-521-28414-7.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Kahneman, Daniel; Knetsch, Jack L.; Thaler, Richard H. (1991). "Anomalies: The Endowment Effect, Loss Aversion, and Status Quo Bias" (PDF). The Journal of Economic Perspectives. American Economic Association. 5 (1): 193–206. doi:10.1257/jep.5.1.193.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Plous, Scott (1993). The Psychology of Judgment and Decision Making. New York: McGraw-Hill. ISBN 0-07-050477-6.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Schacter, Daniel L. (1999). "The Seven Sins of Memory: Insights From Psychology and Cognitive Neuroscience" (PDF). American Psychologist. American Psychological Association. 54 (3): 182–203. doi:10.1037/0003-066X.54.3.182. ISSN 0003-066X. PMID 10199218.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Sutherland, Stuart (2007). Irrationality. Pinter & Martin. ISBN 978-1-905177-07-3.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Tetlock, Philip E. (2005). Expert Political Judgment: how good is it? how can we know?. Princeton: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-12302-8.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Virine, L.; Trumper, M. (2007). Project Decisions: The Art and Science. Vienna, VA: Management Concepts. ISBN 978-1-56726-217-9.CS1 maint: ref=harv (link)

รายช, อความเอนเอ, ยงทางประชาน, อม, ลเพ, มเต, ความเอนเอ, ยง, และ, ความเอนเอ, ยงทางประชาน, ความเอนเอ, ยงทางประชาน, งกฤษ, cognitive, biase, เป, นความโน, มเอ, ยงท, จะค, ดในร, ปแบบท, ผลเป, นความคลาดเคล, อนอย, างเป, นระบบ, จากความม, เหต, ผลโดยท, วไป, หร, อจากการประเ. khxmulephimetim khwamexnexiyng aela khwamexnexiyngthangprachan khwamexnexiyngthangprachan xngkvs cognitive biase epnkhwamonmexiyngthicakhidinrupaebbthimiphlepnkhwamkhladekhluxnxyangepnrabb cakkhwammiehtuphlodythwip hruxcakkarpraeminkartdsinicthidi bxykhrngepnpraednkarsuksainsakhacitwithyaaelaesrsthsastrphvtikrrmaemwakhwamexnexiyngehlanicamixyucring odyhlkthanthangwithyasastrthithasaid aetkmkcamikhxotethiyngwa khwrcacdpraephthhruxxthibaykhwamexnexiyngehlaniidxyangir 1 khwamexnexiyngbangxyangepnkdkarpramwlkhxmul hruxepnthangldkarpramwlphlthieriykwa hiwristik thismxngichephuxkarpraeminaelakartdsinic praktkarnehlanieriykwa khwamexnexiyngthangprachan 2 3 khwamexnexiynginkarpraeminhruxkartdsinic xaccaekidcakaerngcungic echnemuxkhwamechuxekidbidebuxnephraaehtuaehngkarkhidtamkhwamprarthna wishful thinking khwamexnexiyngbangxyangxaccaxthibayidodyhlkthangprachan cognitive hruxthieriykwa cold hruxodyhlkthangaerngcungic motivational hruxeriykwa hot aetehtuthngsxngsamarthekidrwmkn 4 5 yngmikhxthkethiyngknxikdwywa khwamexnexiyngehlanicdepnkhwamimsmehtuphlodyswnediyw hruxwa cring miphlepnthsnkhtiaelaphvtikrrmthiehmaasmid yktwxyangechn emuxthakhwamruckkbkhnihm eramkcathamkhathamthichikhatxbthitxngkar thiduehmuxncaexnexiyngipephuxyunynsnnisthankhxngeraekiywkbbukhkhlnn aetwa praktkarnthibangkhrngeriykwa khwamexnexiyngephuxyunyn confirmation bias echnni samarthmxngidwaepnthksathangsngkhmthichwysrangkhwamsmphnthkbphuxunid 6 nganwicyineruxngkhwamexnexiyngehlani mkcathainmnusy aetphlthiphbinmnusy bangkhrngkphbinstwxunehmuxnkn yktwxyangechn hyperbolic discounting karldkhaaebbihephxrobla sungepnpraktkarnthieraihkhakhxngthiidinpccubnsungkwathicaidinxnakht kphbdwyinhnu nkphirab aelaling 7 enuxha 1 khwamexnexiynginkartdsinic thangkhwamechux aelathangphvtikrrm 2 khwamexnexiyngthangsngkhm 3 khwamphidphladaelakhwamexnexiyngthangkhwamca 4 ehtusamyodythvsdi khxngkhwamexnexiyngthangprachan 5 duephim 6 echingxrrthaelaxangxing 7 aehlngkhxmulxunkhwamexnexiynginkartdsinic thangkhwamechux aelathangphvtikrrm aekikhkhwamexnexiynghlayxyangehlanimiphltxkarekidkhwamechux txkartdsinicthangthurkicaelathangesrsthkic aelatxphvtikrrmmnusyodythw ip khwamexnexiyngcaekidkhuninsthankarnodyechphaa khux emuxephchiykbehtukarnxyangidxyanghnung khwamaeprepliynipcakphvtikrrmpktisamarthcaaenkidody chux khunlksnaAmbiguity effect praktkarnkhwamkhlumekhrux epnkhwamonmexiyngthicahlikeliyngthangeluxkthiimmikhxmulwa phlthiidcaepnphlbwkhruxim aelaeluxkthangeluxkthimikhxmul 8 Anchoring hrux focalism epnkhwamonmexiyngthicatnghlk hrux anchor thikhxmulthimi emuxcatdsinic pktiepnkhxmulchinaerkthiidekiywkberuxngnn 9 10 Attentional bias khwamexnexiyngodykarisic epnkhwamonmexiyngthikhwamkhidsa camixiththiphltxkarrbrukhxngera 11 Availability heuristic hiwristikodykhwamekhathungidngay epnkhwamonmexiyngthicapraeminehtukarnthisamarthnukthungidngaywamioxkasekidsungekinip odyxacmixiththiphlcakkhwamekaihmkhxngkhwamca hruxwaepnkhwamcathiekiywkhxngkbxarmnrunaerngaekhihn 12 Illusory truth effect praktkarnkhwamcringethiym hrux Availability cascade epnkrabwnkarthiesrimkalngintw thikhwamechuxinsngkhmduehmuxncaepnipidmakkhunemuxekidkarphudkarklawthungsa kn ehmuxnkbkhwamechuxxyanghnungkhxngedkwa phudxairsa kn nan ekhakcaklayepncring 13 Backfire effect praktkarnekidphltrngknkham emuxeramiptikiriyatxhlkthanthikhdkhankhwamkhidkhxngera dwykhwamechuxthimikalngephimkhun 14 Bandwagon effect praktkarnkhbwnaeh epnkhwamonmexiyngthicatha hruxechux singtang ephraakhnxun thahruxechuxeruxngediywkn 15 Base rate fallacy ehtuphlwibtiodyxtraphunthan hrux base rate neglect karlaelyxtraphunthan epnkhwamonmexiyngthicaimisickhxmulxtraphunthan khuxkhxmulthangsthitithwip aelwphungcudsnicipthikhxmulechphaa echnkhxmulthiechphaaecaacngkbkrniidkrnihnung 16 Belief bias khwamexnexiyngodykhwamechux epnkarpraeminehtuthiexnexiyng odykhwamechuxwaphlthiidepnipidmakaekhihn aethnthicapraeminwa ehtuthipraeminnnsnbsnunphlthiidhruxim 17 Bias blind spot cudbxdtxkhwamexnexiyng epnkhwamonmexiyngthicaehnwatnexngmikhwamexnexiyng mixkhti nxykwakhnxun hruxthikahndkhwamexnexiyngthangprachankhxngphuxunidmakkwakhxngtn 18 Cheerleader effect praktkarnphunaechiyr epnkhwamonmexiyngthiphuhyingcaduswyinklummakkwatamlaphng 19 Choice supportive bias khwamexnexiyngsnbsnunsingthieluxk epnkhwamonmexiyngthicanukthungsingthieluxkaelwinxditwadi ekinkhwamepncring 20 Clustering illusion mayakarcbklum epnkhwamonmexiyngthicaihkhwamsakhymakekinipaekrupaebbkarekidkhunkhxngehtukarninchwngrayasn hruxaekkarcbklumkhxngehtukan thicring epnehtukarnsuminrayayaw sungkkhux karehnrupaebbthiimmixyucring ephraaepnehtukarnsum 10 Confirmation bias khwamexnexiyngephuxyunyn epnkhwamonmexiyngthicaha tikhwam phungkhwamsmic aelathrngcakhxmulinrupaebbthicayunynkhwamechuxkhwamkhidthimixyuaelwkhxngtn 21 Congruence bias khwamexnexiynginkarthaihsxdkhlxngkn epnkhwamonmexiyngthicathdsxbsmmtithanodykarthdsxbodytrng aelaimthdsxbsmmtithanthixacepnipidxun 10 Conjunction fallacy ehtuphlwibtiodypraphcnechuxm epnkhwamonmexiynginkarsnnisthanwa ehtukarnthiechphaaecaacngmikhwamepnipidsungkwaehtukarnthwip sungepnkhwamnacaepnthiepnipimid 22 Conservatism hrux regressive bias sphawathangicxyanghnungthithaihkhasunghruxoxkaskhwamepnipidsungmikarpraeminsungekinip aelakhatahruxoxkasepnipidtamikarpraeminnxyekinip 23 24 25 aehlngxangxingthiimnaechuxthux Conservatism Bayesian epnkhwamonmexiyngthicaaekkhwamechuxkhxngtnihebniptamkhwamepncringxyangimephiyngphxemuxidhlkthanihm 23 26 27 Contrast effect praktkarnkarepriybtang epnkarrbrusingerathidikhun hruxldlng emuxethiybkbsingerathiephingsngektruihmepntwepriybtang 28 Curse of knowledge khasapephraakhwamru emuxkhnthimikhxmuldikwaimsamarthhruxyakthicakhidthung pyhacakmummxngkhxngkhnthimikhxmulnxykwa 29 Decoy effect praktkarnsinglx khwamchxbicinthangeluxk k hrux kh thiepliynipchxbic kh emuxaesdngthangeluxk kh thikhlaykbthangeluxk kh aetimiddikwaDenomination effect praktkarnhnwyengintra epnkhwamonmexiyngthicaichcaymakkwathaenginepnhnwyelk aethnthicaepnhnwyihy 30 Distinction bias khwamexnexiyngihaetktang epnkhwamonmexiyngthicaehnthangeluxksxngthangwaimehmuxnknemuxpraeminthangeluxksxngxyangnnphrxmkn makkwaemuxpraeminaeykkntanghak 31 Duration neglect karlaelyrayaewla karlaelyrayaewlaehtukarnhnung emuxphyayamcakahndkhawaepnprasbkarnthidihruximEmpathy gap chxngwangkarehnic epnkhwamonmexiyngthicapraeminxiththiphlhruxkalngkhwamrusukkhxngtnexnghruxkhxngkhnxuntaekinipEndowment effect praktkarnkarsla epnkhwamonmexiyngthicaeriykrxngmulkhaephuxcaslawtthuhnung sungkwathitnyindicaihephuxthicaaelkexawtthunn 32 Essentialism karexaaethlk epnkarcdbukhkhlaelasingkhxngtamthrrmchatihlkkhxngsingnn aemwabukhkhlhruxsingechnnncamikhwamtang kn imaenic phudkhuy 33 Exaggerated expectation khwamkhadhwngekinswn hlkthanthiidtamcringinolk imrunaernghruxmikhanxykwatamthierahwng aehlngxangxingthiimnaechuxthux 23 34 Experimenter s bias khwamexnexiyngkhxngphuthdlxng hrux Experimenter s expectation bias khwamexnexiyngephraakarkhadhwngkhxngphuthdlxng epnkhwamexnexiyngkhxngphuthakarthdlxngthicaechux yunyn aelwtiphimphkhxmulthisxdkhlxngkbkhwamkhadhwngthitnmiekiywkbphlkhxngkarthdlxng aelathicaimechux thing hruxduthukkhxmulthiimtrngkbkhwamkhadkhidthiminahnkphx kn 35 Focusing effect praktkarnphungcudsnic epnkhwamonmexiyngthicaihkhwamsakhykbcudidcudhnungkhxngehtukarnmakekinip 36 Forer effect praktkarnfxerxr hrux Barnum effect praktkarnbarnm epnkhwamonmexiyngthibukhkhlcaihkhaaennkhaphrrnnabukhlikkhxngtnthitnechuxwathaechphaaihaektn wamikhwamaemnyasung aetwakhwamcringepnkhathikhlumekhruxaelathwipphxthicaklawidthungkhnxunechnediywkn sungepnpraktkarnthisamarthichepnkhaxthibayswnhnungekiywkbkhwamniymchmchxbkhwamechuxhruxkhwamkhidbangxyangechn ohrasastr karbxkochkhchata kardulaymux aelakarthdsxbbukhlikbangxyangFraming effect praktkarnkarwangkrxb karsrupkhxmulediywkntangkn khunxyukbwakhxmulnnaesdngihduxyangir hruxikhrepnkhnaesdngihduFrequency illusion mayakhwamchukchum karaeplsingeraphid thikha chux hruxxairxyangxun thibukhkhlihkhwamsnicemuxerw ni praktwaehmuxnkbmixyangchukchumxyangepnipimidhlngcaknnimnan samarthsbsnidkb recency illusion hrux selection bias 37 epnmayathiruckknxikxyanghnungwa Baader Meinhof Phenomenon 38 Functional fixedness karyudkahndhnathi cakdbukhkhlihichwtthutamwithithiichsubtxknmaephiyngethannGambler s fallacy ehtuphlwibtikhxngnkkarphnn khwamonmexiyngthicakhidwa ehtukarnxditmixiththiphltxkhwamnacaepninxnakht aetcring aelwimmi epnphlcakaenwkhidthiphidphladkhxngkdekiywkbtwelkhepncanwnmak twxyangechn chnidoynehriyyniidhw 5 khrngtidtxkn dngnn oxkasthicaidkxyinkhrngthi 6 casungkwaidhw Hard easy effect praktkarnyakngay khwamphidphladthiekidkhunemuxkhwamaemnyakhxngkartdsinicwanganhnungyaknxykhnadihn khunxyukbradbkhwamyakngaykhxngngannn khuxepnkhwamonmexiyngthicapraeminoxkassaercsahrbnganthiyakmakekinip aelasahrbnganthingaynxyekinip 23 39 40 41 Hindsight bias khwamexnexiyngkarekhaicpyhayxnhlng bangkhrngeriykwapraktkarn I knew it all along chnruxyukxnaelw epnkhwamonmexiyngthicaehnehtukarninxditwa epneruxngphyakrnid 42 aemwacaimmikhxmulcring hruxminxyimphxthicaphyakrnidcring Hostile media effect praktkarnsuxxkhti khwamonmexiyngthicaehnsuxmwlchnwamixkhti enuxngcakkhwamehnepnphrrkhepnfaythimikalngkhxngtnHot hand fallacy ehtuphlwibtimuxkhun epnkhwamechuxthiphid wa bukhkhlthikalngprasbkhwamsaercmioxkasthicaprasbkhwamsaercsahrbkarkrathatx ip echninkaryingoklinkarkila dikwaHyperbolic discounting karldkhaaebbihephxrobla karldkha Discounting epnkhwamonmexiyngthibukhkhlcachxbicidrbsing hnungthnthi aethnthicarxthihlng karldkhaaebbihephxrobla epnehtuihbukhkhleluxkxyangimsmaesmxaelwaetewla bukhkhlxaccaeluxkxairinwnni thiinxnakhtcaimchxbiceluxk aemwacaichehtuphlediywkn 43 ruckkninchuxxunwa current moment bias aela present biasIdentifiable victim effect praktkarnphurbekhraahthirabuid epnkhwamonmexiyngthicatxbsnxngtxbukhkhlthikalngmixntraykhnediywthirabuid makkwatxbukhkhlklumihythikalngmixntray 44 IKEA effect praktkarnixekhiy epnkhwamonmexiyngthicaihkhakbsingthibukhkhlprakxbdwymuxkhxngtnekinsdswn echnekhruxngeruxncakranxiekiy imwasingthiidnncadihruximIllusion of control karaeplsingeraphidwakhwbkhumid epnkhwamonmexiyngthicapraeminwa tnsamarthkhwbkhumehtukarnphaynxkid makekinip 45 Illusion of validity karaeplsingeraphidwasmehtusmphl epnkhwamechuxwakhxmulthiidephimkhun caepnkhxmulthichwyinkarphyakrnihsmehtusmphl aemwa cring aelwcaim 46 Illusory correlation shsmphnthethiym karehnxyangphidphladwa ehtukarnhlayxyangthiimsmphnthknmikhwamsmphnthkn 47 48 Impact bias khwamexnexiyngeruxngphlkrathb epnkhwamonmexiyngthicapraeminrayaewlahruxkhwamrunaerng ekiywkbxarmnthicaekidkhuninxnakht makekinip 49 Information bias khwamexnexiyngephuxcamikhxmul epnkhwamonmexiyngthicahakhxmulaemwacaimmiphltxkarkratha 50 Insensitivity to sample size khwamimiwtxkhnadtwxyang epnkhwamonmexiyngthicapraeminkhwamtang kninkhnadtwxyangthiminxy small sample nxyekinipIrrational escalation karephimkarkrathaodyimsmehtuphl praktkarnthibukhkhlephimthunkarkrathaineruxngthitklngic odyihehtuphlekiywkbthunkarkrathathiidthaiwkxnhnannaelw aemwacamihlkthanaesdngwa khxtklngicnnimdi ruckxikxyanghnungwa sunk cost fallacy ehtuphlwibtiodytnthuncm Less is better effect praktkarnnxykwayxmdikwa epnkhwamonmexiyngthicachxbicsingkhxngchudthielkkwa makkwachudthimakkwa thapraemintanghakcakkn aetimichthapraeminrwmknEndowment effect praktkarnkarsla hrux Loss aversion karhlikeliyngkaresiy praoychnthiesiyinkarslawtthu makkwapraoychnthiidinkaridwtthu 51 duehtuphlwibtiodytnthuncm aelapraktkarnkarsla Mere exposure effect praktkarnephiyngaetprasb epnaenwonmthicaaesdngkhwamchxbictxsingtang ephiyngephraawakhunekhyknmn 52 Money illusion mayaengin epnaenwonmthicaphungkhwamsnicipthikhakhxngenginthitraiw aethnthicasnickalngsuxkhxngkhaenginnn 53 Moral credential effect praktkarnkarrbrxngthangcriythrrm epnaenwonmkhxngkhnthimiprawtiwaepnkhnimmikhwamediydchnth thicaephimkhwamediydchnthNegativity effect praktkarnmxnginaenglb epnaenwonmthibukhkhl emuxpraeminehtukhxngphvtikrrmkhxngbukhkhlthitnimchxb thicabxkwaphvtikrrmbwkepnphlcaksingaewdlxm aelaphvtikrrmlbepnphlcakthrrmchatiphayinkhxngbukhkhlnnNegativity bias khwamexnexiynginkarcainaenglb epnpraktkarnthangcit thimnusysamarthralukthungkhwamthrngcathiimnachxbiciddikwakhwamthrngcathinachxbic 54 Neglect of probability karlaelykhwamnacaepn epnkhwamonmexiyngthicaimsniceruxngkhwamnacaepnely emuxtxngtdsinicinsthankarnthiimaennxn 55 Normalcy bias khwamexnexiyngwapkti epnkarptiesththicawangaephn hruxaemcatxbsnxngtx khwamhaynakhwamlmcmthiimekhyekidkhunmakxnNot invented here imidpradisththini epnkhwamrngekiycthicaekhaipyungkbphlitphnth matrthan hruxkhwamruthiimidphthnakhunphayinklum epnpraktkarnthismphnthkbpraktkarnixekhiyOmission bias khwamexnexiyngineruxngkarlaewn epnkhwamonmexiynginkartdsinwakarkrathaechinglb elwmakkwakarimkrathathithaihekidphllb 56 Optimism bias khwamexnexiyngodykarmxnginaengdi epnkhwamonmexiyngthicamxnginaengdimakekinip khuxpraeminphlbwkhruxphlthichxbicwamioxkasekidmakekinip dueruxngthismphnthkninkarkhidtamkhwamprarthna 57 58 Ostrich effect praktkarnnkkracxkeths karimisicinsthankarnthiimdiaetchdecnOutcome bias khwamexnexiyngeruxngphl epnkhwamonmexiynginkarpraeminkartdsinicodyphlthiid aethnthicapraeminkhunphaphkartdsinicinewlathitdsinOverconfidence effect praktkarnmnicmakekinip epnkarmnicmakekiniperuxngkhatxbkhxngtn echn inbangkrni khathamthibukhkhltxbwa mnic 99 caphidcakkhwamcring 40 23 59 60 61 aephriodeliy singerathiimchdecnhruxekidkhunaebbbngexiy bxykhrngepnphaphhruxepnesiyng thaihrusukrbruwaepnxairbangxyang echn ehnrupstwhruxibhnainemkh ehnkhnbndwngcnthr aelaidyinkhxkhwamsxnthiimmiintlbethpthielnklbhlngPessimism bias khwamexnexiynginkarmxnginaenglb epnkhwamonmexiyngkhxngkhnbangkhn odyechphaaphuthikalngmiphawasumesra thicapraeminoxkasthisingray caekidkhunkbtnekinkhwamcringPlanning fallacy ehtuphlwibtiinkarwangaephn epnkhwamonmexiyngthicakaewlathicathanganesrcnxyekinip 49 Post purchase rationalization karsrangehtuphlhlngkarsux epnkhwamexnexiyngthicaklxmtwexngdwyehtuphlwa singthisuxmikhunkhadiPro innovation bias khwamexnexiyngwanwkrrmdi epnkhwamonmexiyngthicamxngolkinaengdimakekinipekiywkbpraoychnkhxngsingpradisthhruxnwkrrmtxsngkhmthwip inkhnathilaelyhruximsamarthkahndkhxcakdhruxkhxesiyPseudocertainty effect praktkarnkhwamaennxnethiym epnkhwamonmexiyngthicarusukwa phlthicaekidkhunepneruxngaennxnaemwacring aelwcaimich epnpraktkarnthiphbinkartdsinichlaykhntxn 62 Reactance karthatrngknkham epnkhwamrusukthicathatrngkhamkbsingthikhnxuntxngkarihtntha epnkhwamtxngkarthicatxtankhwamphyayamthicacakdxisrphaphinkareluxkkhxngtnReactive devaluation karldkhaodyepnptikiriya khxesnxxyanghnungdumikhanxylngephraawamacakstruRecency illusion mayawaerw ni karaeplsingeraphidwakhahruxkarichphasaxyanghnung epneruxngthiekidkhunerw niaetkhwamcringekidmananaelwRestraint bias khwamexnexiyngeruxngbngkhbtnexng epnkhwamonmexiyngthicapraeminkarbngkhbtnexngidinsthankarnthilxaehlmlxic ekinkwakhwamcringRhyme as reason effect praktkarnesiyngsmphsodyepnehtuphl khathimiesiyngsmphsfngduehmuxnepncringmakkwa yktwxyangechn suphasittang hruxtwxyanginphasaxngkvsthiichinkhdikhatkrrmdngxemriknthiykfxngcaelykhux If the gloves don t fit then you must acquit thathungmuxmnimfit khuncatxngtdsinplxytwcaely Risk compensation karchdechykhwamesiyng hrux Peltzman effect praktkarnephltsaemn epnkhwamonmexiyngthicathaxairesiyngkwa tharusukwakhwamplxdphysungkhunSelective perception karrbruodyeluxk epnkhwamonmexiyngthikhwamkhadhwngcamiphltxkarrbruSemmelweis reflex rieflksesmemiliws epnkhwamonmexiyngthicaptiesthhlkthanihm thikhdkhanaebbaephnthimixyuaelw 27 Social comparison bias khwamexnexiyngodykarepriybethiybthangsngkhm epnkhwamonmexiyngthicatdsincangbukhkhlidbukhkhlhnung ephraawabukhkhlnncaimaekhngkhnkbtnindanthitnmicudaekhng 63 Social desirability bias khwamexnexiyngeruxngkhwamnaphxicthangsngkhm epnkhwamonmexiyngthicaraynganbukhlikhruxphvtikrrmthiepneruxngnaphxicthangsngkhmkhxngtnmakekinip aelarayngankhxngkhnxunnxyekinip 64 Status quo bias khwamexnexiyngephuxkhngsthanaedim epnkhwamonmexiyngthicachxbicihsingtang epnehmuxn edim smphnthkbkarhlikeliyngkaresiy Endowment effect aela system justification 65 66 Stereotyping karichaemaebb karkhadhwngwasmachikkhxngklummikhunsmbtixairbangxyang odythiimmikhxmulcring sahrbbukhkhlnn Subadditivity effect praktkarnkarrwmtaip epnkhwamonmexiyngthicapraeminkhwamnacaepnkhxngthnghmd nxykwakhwamnacaepnkhxngaetlaswn rwmkn 67 Subjective validation karkahndkhwamthuktxngodyxtwisy epnkhwamexnexiyngthangprachanthibukhkhlcaphicarnabthkhwamhruxkhxmulwathuktxngthamikhwamhmayhruxkhwamsakhytxtnexng 68 Survivorship bias khwamexnexiyngcakkarxyurxd karphungkhwamsnicipthibukhkhlhruxxairbangxyang thixyurxdphankrabwnkarxyanghnung aelwlaelyxyangimidtngicbukhkhlhruxsingthixyuimrxdephraamxngimehnTime saving bias khwamexnexiyngeruxngprahydewla karpraeminewlathicaprahydhruxesiyipnxyekinip emuxephimhruxldkhwamerw emuxkhwamerwnnkhxnkhangtaxyuaelw hruxwakarpraeminewlathicaprahydhruxesiyipmakekinip emuxephimhruxldkhwamerw emuxkhwamerwnnkhxnkhangsungxyuaelwUnit bias khwamexnexiyngthicathaepnhnwy epnkhwamonmexiyngthicathakarnganepnhnwy ehnidchdineruxngkarbriophkhxahar 69 Well travelled road effect praktkarniptamthangthiichbxy epnkarpraeminewlakariptamthangthiipbxy nxyekinip aelatamthangthiipimbxy makekinipZero risk bias khwamexnexiyngephuxkhwamesiyngsuny khwamchxbicthicaldkhwamesiyngthiminxyihehluxsuny makkwacaldkhwamesiyngthimimakinradbthisungkwaZero sum heuristic hiwristikaephchnarwmknepnsuny ruodyimtxngkhidwa sthankarnhnungepneruxngaeph chna khuxkaridkaresiysmphnthkn hruxkaridkaresiybwkknidsuny 70 71 karekidkhwamexnexiyngechnnithi xacsmphnthkbbukhlikphaphindankhwamepnihyinsngkhmkhwamexnexiyngthangsngkhm aekikhkhwamexnexiyngehlaniodymakcdepn attributional bias khwaexnexiynginkarxangehtu chux khunlksnaActor observer bias khwamexnexiyngphukratha phusngektkarn epnkhwamonmexiyngthicaxthibayphvtikrrmkhxngphuxunodyennxiththiphlthangbukhlikphaphmakekinip aelaennxiththiphlkhxngsthankarnnxyekinip du Fundamental attribution error dwy aelathicaxthibayphvtikrrmkhxngtnodynytrngknkham khuxennxiththiphlkhxngsthankarnmakekinip aelaennxiththiphlkhxngbukhlikphaphnxyekinipDefensive attribution hypothesis smmtithankarxangehtuaebbpxngkntw ykothsihkbkhnthaphidmakkhun emuxphlthiidesiyhaymakkhun hruxwaemuxphutdsinmikhwamkhlaykhlungthangswntwhruxthangsthankarnkbphurbekhraahmakkhunDunning Kruger effect praktkarndnning khruekxr praktkarnthikhnirkhwamsamarthimruwatnirkhwamsamarth ephraaimmithksathicaaeykaeyarahwangkhwamsamarthkbkhwamirkhwamsamarth aetwa khwamsamarthcring xacthaihmnicintnexngnxylng ephraawakhnmikhwamsamarthxaccanukxyangphid wa khnxunmikhwamekhaicethaethiymkn 72 Egocentric bias khwamexnexiyngehnaektw ekidkhunemuxbukhkhleriykrxngkhwamdikhwamchxbihtnexngthng thiepnphlnganrwmkbkhnxun inradbthimakkwakhnsngektkarncaehndwyExtrinsic incentives bias khwamexnexiyngehnphuxunmisingcungicphaynxk cudniepnkhxykewnkhxng fundamental attribution error emuxbukhkhlehnphuxunwamiaerngcungicphaynxk khuxsthankarnechn karengin aetehntwexngwamiaerngcungicphayin echn ephuxeriynruthksaihm False consensus effect praktkarnkhwamehnphxngethiym epnkhwamonmexiyngthibukhkhlpraeminradbkarehnphxngtxngknkbtnexngkhxngkhnxunsungekinip 73 Forer effect praktkarnfxerxr hrux Barnum effect praktkarnbarnm sngektkarnthiehnidwa bukhkhlcaihkhaaennwamikhwamaemnyasung sahrbkhaphrrnnabukhlikkhxngtnthiechuxwathaechphaaihaektn aetwakhwamcringepnkhathikhlumekhruxaelathwipphxthicaklawidthungkhnxunechnediywkn sungepnpraktkarnthisamarthichepnkhaxthibayswnhnungekiywkbkhwamniymchmchxbkhwamechuxhruxkhwamkhidbangxyangechn ohrasastr karbxkochkhchata kardulaymux aelakarthdsxbbukhlikbangxyangFundamental attribution error khwamphidphladinkarxangehtuphunthan epnkhwamonmexiyngthibukhkhlcaxthibayphvtikrrmkhxngphuxunodyxangehtubukhlikphaphmakekinip inkhnathixangehtuekiywkbbthbathaelaxiththiphlkhxngsthankarnnxyekinip smphnthkb actor observer bias group attribution error positivity effect aela negativity effect 74 Group attribution error khwamphidphladodykarxangehturwmklum epnkhwamechuxthiexnexiyngwa lksnakhxngbukhkhlhnunginklum epnlksnakhxngbukhkhlthngklum hruxkhwamonmexiyngthicaxangehtuwa kartdsinickhxngklumbngthungkhwamchxbickhxngsmachikinklum aemwacamikhxmulthisxngthungnytrngknkhamHalo effect praktkarnwngrsmi epnkhwamexnexiyngthangprachanthikhwamrusukthwipekiywkbbukhkhl bristh yihx hruxphlitphnth mixiththiphltxkhwamrusukaelakhwamkhidekiywkbsingnnindanxun 75 76 Illusion of asymmetric insight mayawakhwamekhaicimethakn epnkaraeplsingeraphidwa khwamrukhxngtnekiywkbkhnrxbtw makkwakhwamrukhxngkhnrxbtwekiywkbtn 77 Illusion of external agency mayawamiphukrathaphaynxk emuxbukhkhlehnkhwamchxbicthiekidkhunphayintnwa miehtucakphukrathaxunthichlad miprasiththiphaph aelaehnpraoychnaektnIllusion of transparency mayawaoprngis bukhkhlpraeminwa khnxunrucktndiekincring aelapraeminkhwamsamarthkhxngtninkarruckphuxunekincringIllusory superiority khwamehnuxkwaethiym epnkarpraeminkhunsmbtithinachxbickhxngtnekincring aelapraeminkhunsmbtithiimnachxbictakwakhwamepncring emuxepriybethiybkbphuxun 78 Ingroup bias khwamexnexiynginphwktn epnkhwamonmexiyngthicaptibtitxphuxunthimxngwaepnsmachikinklumkhxngtndikwakhnxunJust world hypothesis smmtithanolkyutithrrm epnkhwamonmexiyngthicaechuxwa olkniodyhlkaelwyutithrrm epnehtuihphyaayamhaehtuphlphid ineruxngthiimyutithrrmwa phurbekhraahhruxehyuxsmkhwrthicaidrbekhraahechnnnMoral luck ochkhtamcriythrrm epnkhwamonmexiyngthicatdsinbukhkhlwadihruximdi khunxyukbphlkhxngehtukarnNaive cynicism khwamimechuxicphuxunsamy epnkhwamkhadhwngxyangphid wa khnxunmikhwamexnexiyngehnaektwmakkwatnNaive realism scniymsamy khwamechuxwaeraehnolktamkhwamepncring odyimexnexiyng wakhwamcringnnpraktihehnchdecnkbthukkhn wakhnmiehtuphlxuncaehndwykbera aelawakhnthiimehndwyepnkhnthiimmikhxmul khiekiyc irehtuphl hruxwamikhwamexnexiyngOutgroup homogeneity bias khwamexnexiyngehnkhnklumxunehmuxn kn bukhkhlmxngehnsmachikinklumkhxngtnwatang knmakkwasmachikkhxngchnklumxun 79 Projection bias khwamexnexiyngodyyingihphuxun khwamonmexiyngthicathuxexawa khnxun hruxwatnexnginxnakht camikhwamrusuk khwamkhid aelakhaniym ehmuxnkbtninpccubn 80 Self serving bias khwamexnexiyngrbichtnexng epnkhwamonmexiyngthicaxangkhwamrbphidchxbtxeruxngsaercmakkwaeruxngthilmehlw xaccapraktepnkhwamonmexiynginkarpraeminkhxmulthiimchdecnodyihpraoychnkbtn smphnthkb group serving bias 81 Shared information bias khwamexnexiyngtxkhxmulaechr epnkhwamonmexiyngthismachikinklumcaihewlaaelakhwamsnicsnthnaeruxngthismachikthukkhnkhunekhy khuxkhxmulaechr makkwathiihkberuxngthismachikbangkhnethannru 82 System justification karihehtuphlkbrabb epnkhwamonmexiyngthicapxngknaelasnbsnunsphaphthiepnxyupccubn khuxchxbicrabbthangsngkhm esrsthkic aelakaremuxng thimixyu aelaiskhwamrabbthangeluxkxun aemkrathngbangkhrngepnkaresiypraoychnkhxngtnhruxkhxngswnrwm smphnthkb status quo bias Trait ascription bias khwamexnexiynginkarthuxexakhunlksna epnkhwamonmexiyngthicaehntnexngwamikhwamtang knindanbukhlikphaph phvtikrrm aelaphunxarmn inkhnathimxngphuxunwa ruckidngaykwaUltimate attribution error khwamphidphladinkarxangehtukhnsud khlaykb fundamental attribution error aetepnkhwamphidphladthibukhkhlcaothsbukhliknisykhxngkhnthngklum imichepnephiyngaekhsmachikinklumaetlakhnethannWorse than average effect praktkarnaeykwaodyechliy epnkhwamonmexiyngthicaechuxwatnaeykwakhnxunodyechliyinnganthiyak 83 khwamphidphladaelakhwamexnexiyngthangkhwamca aekikhinsakhacitwithyaaelaprachansastr khwamexnexiyngthangkhwamca memory bias epnkhwamexnexiyngthangprachanthichwyhruxkhdkarralukthungkhwamthrngcahnung echnchwyihralukthungkhwamcannid hruxchwyldewlakarraluk hruxwathngsxngxyang hruxepliynaeplngkhxmulsingthicaid mipraephthtang rwmthng chux khunlksnaBizarreness effect praktkarnkhwamaeplkprahlak eruxngaeplkprahladcaidngaykwaeruxngthrrmdaChoice supportive bias khwamexnexiyngsnbsnunsingthieluxk epnkhwamonmexiyngthicanukthungsingthieluxkwadi ekinkhwamepncring 84 Change bias khwamexnexiyngeruxngsingthiepliyn emuxtxnglngthunlngaerngephuxepliynxairxyanghnung cacakarkrathannwa thaidyakekinkhwamepncring 85 aehlngxangxingthiimnaechuxthux Childhood amnesia phawaesiykhwamcainwyedk caehtukarnthiekidkxnwy 4 khwbidnxyConservatism hrux Regressive bias epnkhwamonmexiyngthicaralukthungkhasung echnkhakhwamthi khakhwamnacaepn watacakkhwamepncring aelaralukthungkhatawasungcakkhwamepncring 24 25 Consistency bias khwamexnexiyngephuxihkhngesnkhngwa ralukphid thungthsnkhtiaelaphvtikrrminxditkhxngtn waehmuxnthsnkhtiaelaphvtikrrminpccubn 86 cue dependent forgetting karhlnglumkhunxyukbtwchwy rabbprachanaelakhwamcakhunxyukbtwbribth khuxtwchwyihnukthungsingnn dngnn khwamthrngcathiimekhakbsthankarnpccubn caralukthungidyakkwakhwamthrngcathiekha twxyangechn rayaewlaaelakhwamaemnyainkarralukthungkhwamcaekiywkbthithangan caaeykwaemuxnukthungthiban aelanytrngknkhamkcaehmuxnkn Cross race effect praktkarnkhamphiwphnthu epnkhwamonmexiyngthikhnphiwphnthuhnungprasbkhwamlabakinkarcabukhkhlthiepnxikphiwphnthuhnungCryptomnesia epnkhwamphidphladinkarthuxexakhwamthrngcawaepncintnakar ephraawa imekidkhwamrusukthangxtwisywamnepnkhwamthrngca 85 Egocentric bias khwamexnexiyngehnaektw karralukthungxditekhakhangtnexng echn ralukthungkhaaennsxbwadikwa hruxwa cbplaidtwihykwakhwamcringFading affect bias khwamexnexiyngodykhwamrusukcang epnkhwamexnexiyngthixarmnkhwamrusukekiywkbkhwamthrngcathiimdi canghayiperwkwaxarmnkhwamrusukekiywkbehtukarnthidi 87 Generation effect praktkarnkhidexng khxmulthikhidexngcaiddithisud echn bukhkhlsamarthralukthungkhaphudkhxngtn iddikwakhaphudkhlay knkhxngkhnxunGoogle effect praktkarnkuekil epnkhwamonmexiyngthicalumkhxmulthisamarthhaidngayxxnilnodyichesirchexncinthangxinethxrentechnkuekilHindsight bias khwamexnexiyngkarekhaicpyhayxnhlng bangkhrngeriykwapraktkarn I knew it all along chnruxyukxnaelw epnkhwamexnexiyngthiehnehtukarninxditwa phyakrnid 42 aemwacaimmikhxmulcring hruxminxyphxthicaphyakrnidcring Humor effect praktkarneruxngtlk eruxngtlkcaidngaykwaeruxngimtlk sungxacepnephraaepneruxngtlkthiimehmuxnikhr hruxwaephraatxngpramwlkhxmulthangprachanmakkwaephuxthicaekhaic hruxwaephraathaihekidsphawatuntwthangxarmn txngkarxangxing Illusory truth effect praktkarnkhwamcringethiym hrux Availability cascade epnkrabwnkarthiesrimkalngintw thikhwamechuxinsngkhmduehmuxncaepnipidmakkhunemuxekidkarphudkarklawthungsa kn ehmuxnkbkhwamechuxxyanghnungkhxngedkwa phudxairsa kn nan ekhakcaklayepncring 13 Illusory correlation shsmphnthethiym karehnxyangphidphladwa ehtukarnhlayxyangthiimsmphnthknmikhwamsmphnthkn 47 48 Leveling and Sharpening karthaiheriybaelakarthaihkhm khwamcathibidebuxnekidkhuncakkarsuyesiyraylaexiydemuxralukthungemuxphayhlngnan epnkarthaiheriyb bxykhrngekidkhunphrxmkb karralukthungraylaexiydxairbangxyangiddikhun karthaihkhm sungklayepneruxngsakhyemuxethiybkbraylaexiydhruxlksnathisuyesiyip khwamexnexiyngsxngxyangnixaccamikalngkhuneruxy tamewla odykarralukthunghruxklawthungkhwamcannbxy 88 Levels of processing effect praktkarnpramwlhlayradb radbkarpramwlsingerathangictang thaihsamarthralukthungsingerannidtang kn karpramwlthiluksung thaihralukiddikwa 89 List length effect praktkarncanwnraykar emuxmiraykarthiyawkhuneruxy cacaraykaridthuktxnginxtrathinxykwa aelacaphidinxtrathimakkwa aemwacaminganwicythikhdkhanwapraktkarnniimmicringemuxkhwbkhumtwaeprkwn 90 Misinformation effect praktkarnkhxmulphid khwamcacaaemnyanxylngthami post event information khuxkhxmulekiywkbkhwamcahlngehtukarnnn thiphidphlad sungcaepntwkwnkhwamcann 91 Next in line effect praktkarnkhntxipinaethw epnaenwonmthibukhkhlthicaphudtxipinklum samarthralukthungkhakhxngkhnthiphudkxn idnxylng emuxtxngphudtx kn 92 Peak end rule kdyxdaelasud epnaenwonmthicapraeminkhwamrusukthungehtukarnhnungodyimrwmkhunkhakhxngprasbkarnthnghmd aetpraeminodykhakhwamrusukthicudyxd imwacaepnsukhhruxthukkh aelakhakhwamrusukinthisudkhxngehtukarnPicture superiority effect praktkarnkhwamehnuxkwakhxngphaph epnkhwamonmexiyngthiaenwkhidthisuksaodyichrupphaphcasamarthralukthungidngaykwaaelabxykwa aenwkhidthisuksaodyxanaekhbthkhwam 93 94 95 96 97 98 Positivity effect praktkarnkhxmulbwk epnaenwonmthiphusungwycachunchxbkhxmulechingbwkmakkwakhxmulechinglbinkhwamthrngcaPrimacy effect Recency effect aela Serial position effect epnaenwonmthicaralukthungraykarthixyuthay iddithisud tammadwyraykarthixyutn swnraykarthixyuklang cacaidnxythisud 99 Processing difficulty effect praktkarnkhwamyakinkarpramwl khxmulthiichewlamakkwainkarxanaelakhidthungnankwa khuxpramwlxyangyakeynkwa caralukthungidngaykwa 100 du Levels of processing effect Reminiscence bump karprathukhxngkhwamcaehtukarninxdit epnaenwonmkhxngphuihythicaralukthungkhwamcainchwngwyrunaelaerimtnwyphuihyiddikwachwngchiwitxun 101 Rosy retrospection karralukthungkhwamhlngepnsichmphu epnaenwonminkarralukthungxditwadiekinkwathiepncringSelf relevance effect praktkarnkhwamsmphnthkbtn khwamcaekiywkbtnexngralukidngaykwakhwamcaeruxngediywknkhxngkhnxunSpacing effect praktkarnewnwang epnaenwonmthicaralukthungkhxmul thaidkhxmulnnsa knaethangkn iddikwathasaodyimhangSpotlight effect praktkarnspxrtilth epnaenwonmthicapraeminwakhnxunehnrupranglksnathathangphvtikrrmkhxngtnekinkhwamcringSuffix effect praktkarnesrimthay recency effect khuxkarcakhxsudthay khxngraykariddithisud miradbldlngthamiraykaresrimthaythiimtxngcaephuxralukphayhlng 102 103 Suggestibility karthukchkchwnidngay epnkarxangaehlngkhxmulphidxyanghnungthikhwamkhidthiesnxodyphutham klayepnkhwamthrngcakhxngphutxbTelescoping effect praktkarnklxngothrthrrsn epnkhwamonmexiyngthicacaehtukarnerw niwaxyuinxditiklekincring aelaehtukarnthiiklxxkipwaxyuinxditiklekincring dngnn ehtukarnerw nicungpraktehmuxnxyuikl aelaehtukarnthixyuinxditiklduehmuxncaiklTesting effect praktkarnthdsxl epnaenwonmthicacakhxmulthiphungxaniddikwathaekhiynsa aethnthicaxanihm 104 Tip of the tongue phenomenon praktkarnxyuplaylin emuxbukhkhlsamarththicaralukthungbangswnkhxngkhxmulhruxkhxmulthiekiywkhxngknid aetimsamarthralukthungkhxmulthnghmdidxyangnaklumic niechuxknwaepntwxyangkhxngkhwamkhdkhxngthiekidkhunemuxralukthungkhwamthrngcathikhlay knidhlaychin sungepntwkwnknaelakn 85 Verbatim effect praktkarnkhatxkha khwamonmexiyngthicaralukthung aeknsarsakhy gist khxngsingthikhnphud iddikwaralukthungkhxkhwamkhatxkha 105 niepnephraakhwamthrngcaepntwaethn representation ehtukarn imichepnkxppikhxngehtukarnVon Restorff effect praktkarnwxnerstxlf epnkhwamonmexiyngthicaralukthungraykarthiedniddikwaraykarxun 106 Zeigarnik effect praktkarneskarnik epnkhwamonmexiyngthicaralukthungnganthiyngimesrchruxphkipinrahwang iddikwanganthithaesrcaelwehtusamyodythvsdi khxngkhwamexnexiyngthangprachan aekikhBounded rationality karmiehtuphlthicakd Prospect theory thvsdikhwamkhadhwng Mental accounting karthabychithangic Adaptive bias khwamexnexiyngaebbprbid kartdsinicodyichkhxmulthimixyu aelwprbdwykhwamexnexiyngtamkhaesiyhaythiekidkhunephraaxacmikhxphidphlad Attribute substitution karthdaethnkhunlksna karthdaethnkhxmulthiyakaelasbsxndwykhunlksnathingay ephuxchwyinkartdsinic 107 Attribution theory thvsdikarxangeht Salience singthiedninkarrbru Naive realism scniymsamy Cognitive dissonance khwamimlngrxythangprachan aelaehtuthiekiywkhxngknxun Impression management karbriharkhwamprathbic Self perception theory thvsdikarmxngtnexng Heuristics in judgment and decision making hiwristikinkarpraeminaelakartdsinic rwmthng Availability heuristic hiwristikodykhwamekhathungidngay praeminwaxairmioxkassungkwaodykarnukthungidngay epnkhwamexnexiyngtxtwxyangthangkhwamcathichdecn aeplk hruxprakxbdwyxarmn 47 Representativeness heuristic hiwristikodykhwamepntwaethn tdsinwaxairmioxkassungkwaodykhwamkhlaykhlungkbtwaethnkhxngpraephth 47 Affect heuristic hiwristikodyxarmn tdsinicodyichxarmnaethnthicapraeminkhwamesiyngaelapraoychn 108 thvsdiekiywkbxarmnbangxyang echn Two factor theory of emotion thvsdixarmnmixngkhprakxbsxng Somatic markers hypothesis smmtithantwbngchiphvtikrrmthangkay Introspection illusion karaeplkarphinicphayinphid misuse of statistics kartikhwamsthitiphidhruxkarichphid hrux innumeracy karichehtuphlodytwelkhimepn bthkhwaminwarsar Psychological Bulletin pi kh s 2012 esnxwa mikhwamexnexiyngthiduehmuxncaimsmphnthkn 8 xyangthisamarthekidkhunidodyichklikthangthvsdisarsneths information theoretic generative mechanism thimikarpramwlkhxmulprakxbdwytwkwn noisy thnginchwngkarekbaelakarralukthungkhxmulinkhwamthrngcakhxngmnusy 23 duephim aekikhkarlwngprasathehmuxnewlahyud Chronostasis aephriodeliy khwamexnexiynginkartiphimph Publication bias Saccade Saccadic maskingechingxrrthaelaxangxing aekikh Dougherty M R P Gettys C F Ogden E E 1999 MINERVA DM A memory processes model for judgments of likelihood PDF Psychological Review 106 1 180 209 doi 10 1037 0033 295x 106 1 180 Kahneman D Tversky A 1972 Subjective probability A judgment of representativeness Cognitive Psychology 3 430 454 doi 10 1016 0010 0285 72 90016 3 Baron J 2007 Thinking and deciding 4th ed ed New York City Cambridge University Press ISBN 9781139466028 CS1 maint extra text link Maccoun Robert J 1998 Biases in the interpretation and use of research results PDF Annual Review of Psychology 49 1 259 87 doi 10 1146 annurev psych 49 1 259 PMID 15012470 Nickerson Raymond S 1998 Confirmation Bias A Ubiquitous Phenomenon in Many Guises PDF Review of General Psychology Educational Publishing Foundation 2 2 175 220 198 doi 10 1037 1089 2680 2 2 175 ISSN 1089 2680 Dardenne Benoit Leyens Jacques Philippe 1995 Confirmation Bias as a Social Skill Personality and Social Psychology Bulletin Society for Personality and Social Psychology 21 11 1229 1239 doi 10 1177 01461672952111011 ISSN 1552 7433 Alexander William H Brown Joshua W 2010 06 01 Hyperbolically Discounted Temporal Difference Learning Neural Computation 22 6 1511 1527 doi 10 1162 neco 2010 08 09 1080 PMC 3005720 PMID 20100071 Baron 1994 p 372 Zhang Yu Lewis Mark Pellon Michael Coleman Phillip 2007 A Preliminary Research on Modeling Cognitive Agents for Social Environments in Multi Agent Systems PDF 116 123 Cite journal requires journal help 10 0 10 1 10 2 Iverson Grant Brooks Brian Holdnack James 2008 Misdiagnosis of Cognitive Impairment in Forensic Neuropsychology in Heilbronner Robert L b k Neuropsychology in the Courtroom Expert Analysis of Reports and Testimony New York Guilford Press p 248 ISBN 9781593856342 CS1 maint ref harv link Bar Haim Y Lamy D Pergamin L Bakermans Kranenburg M J van IJzendoorn M H 2007 Threat related attentional bias in anxious and non anxious individuals A meta analytic study Psychological Bulletin 133 1 1 24 PMID 17201568 CS1 maint multiple names authors list link Full Article PDF 534 KB Schwarz N Bless Herbert Strack Fritz Klumpp G Rittenauer Schatka Helga Simons Annette 1991 Ease of Retrieval as Information Another Look at the Availability Heuristic PDF Journal of Personality and Social Psychology 61 2 195 202 doi 10 1037 0022 3514 61 2 195 subkhnemux 2014 10 19 13 0 13 1 Kuran Timur Cass R Sunstein 1998 Availability Cascades and Risk Regulation Stanford Law Review 51 683 doi 10 2307 1229439 Sanna Lawrence J Schwarz Norbert Stocker Shevaun L 2002 When debiasing backfires Accessible content and accessibility experiences in debiasing hindsight PDF Journal of Experimental Psychology Learning Memory and Cognition 28 3 497 502 doi 10 1037 0278 7393 28 3 497 ISSN 0278 7393 Colman Andrew 2003 Oxford Dictionary of Psychology New York Oxford University Press p 77 ISBN 0 19 280632 7 Baron 1994 pp 224 228 Klauer K C Musch J Naumer B 2000 On belief bias in syllogistic reasoning Psychological Review 107 4 852 884 doi 10 1037 0033 295X 107 4 852 PMID 11089409 Pronin Emily Matthew B Kugler 2007 07 Valuing thoughts ignoring behavior The introspection illusion as a source of the bias blind spot Journal of Experimental Social Psychology Elsevier 43 4 565 578 doi 10 1016 j jesp 2006 05 011 ISSN 0022 1031 Check date values in date help Walker Drew Vul Edward 2013 10 25 Hierarchical Encoding Makes Individuals in a Group Seem More Attractive Psychological Science 20 11 doi 10 1177 0956797613497969 Mather M Shafir E Johnson M K 2000 Misrememberance of options past Source monitoring and choice PDF Psychological Science 11 2 132 138 doi 10 1111 1467 9280 00228 PMID 11273420 Oswald Margit E Grosjean Stefan 2004 Confirmation Bias in Pohl Rudiger F b k Cognitive Illusions A Handbook on Fallacies and Biases in Thinking Judgement and Memory Hove UK Psychology Press pp 79 96 ISBN 978 1 84169 351 4 OCLC 55124398 Fisk John E 2004 Conjunction fallacy in Pohl Rudiger F b k Cognitive Illusions A Handbook on Fallacies and Biases in Thinking Judgement and Memory Hove UK Psychology Press pp 23 42 ISBN 978 1 84169 351 4 OCLC 55124398 23 0 23 1 23 2 23 3 23 4 23 5 Hilbert Martin 2012 Toward a synthesis of cognitive biases How noisy information processing can bias human decision making Psychological Bulletin 138 2 211 237 Full Article PDF 24 0 24 1 Attneave F 1953 Psychological probability as a function of experienced frequency Journal of Experimental Psychology 46 2 81 86 doi 10 1037 h0057955 PMID 13084849 25 0 25 1 Fischhoff B Slovic P Lichtenstein S 1977 Knowing with certainty The appropriateness of extreme confidence Journal of Experimental Psychology Human Perception and Performance 3 4 552 564 doi 10 1037 0096 1523 3 4 552 DuCharme W M 1970 Response bias explanation of conservative human inference Journal of Experimental Psychology 85 1 66 74 doi 10 1037 h0029546 27 0 27 1 Edwards W 1968 Conservatism in human information processing in Kleinmuntz B b k Formal representation of human judgment New York Wiley pp 17 52 Plous 1993 pp 38 41 Ackerman Mark S b k 2003 Sharing expertise beyond knowledge management online ed Cambridge Massachusetts MIT Press p 7 ISBN 9780262011952 Why We Spend Coins Faster Than Bills All Things Considered subkhnemux 2009 05 12 Hsee Christopher K Zhang Jiao 2004 Distinction bias Misprediction and mischoice due to joint evaluation Journal of Personality and Social Psychology 86 5 680 695 doi 10 1037 0022 3514 86 5 680 PMID 15161394 Kahneman Knetsch amp Thaler 1991 p 193 Richard Thaler coined the term endowment effect Book Review The Essential Child Origins of Essentialism in Everyday Thought By Susan A Gelman Oxford University Press Oxford 2003 Human Nature Review 2004 01 01 Wagenaar W A Keren G B 1985 Calibration of probability assessments by professional blackjack dealers statistical experts and lay people Organizational Behavior and Human Decision Processes 36 3 406 416 doi 10 1016 0749 5978 85 90008 1 Jeng M 2006 A selected history of expectation bias in physics American Journal of Physics 74 7 578 583 doi 10 1119 1 2186333 Kahneman Daniel Alan B Krueger David Schkade Norbert Schwarz Arthur A Stone 2006 06 30 Would you be happier if you were richer A focusing illusion PDF Science 312 5782 1908 10 doi 10 1126 science 1129688 PMID 16809528 Zwicky Arnold 2005 08 07 Just Between Dr Language and I Language Log There s a Name for That The Baader Meinhof Phenomenon doi 10 1016 0030 5073 77 90001 0This citation will be automatically completed in the next few minutes You can jump the queue or expand by hand Merkle E C 2009 The disutility of the hard easy effect in choice confidence Psychonomic Bulletin amp Review 16 1 204 213 doi 10 3758 PBR 16 1 204 Juslin P Winman A Olsson H 2000 Naive empiricism and dogmatism in confidence research a critical examination of the hard easy effect Psychological Review 107 2 384 396 doi 10 1037 0033 295x 107 2 384 42 0 42 1 Pohl Rudiger F 2004 Hindsight Bias in Pohl Rudiger F b k Cognitive Illusions A Handbook on Fallacies and Biases in Thinking Judgement and Memory Hove UK Psychology Press pp 363 378 ISBN 978 1 84169 351 4 OCLC 55124398 Laibson David 1997 Golden Eggs and Hyperbolic Discounting Quarterly Journal of Economics 112 2 443 477 doi 10 1162 003355397555253 Kogut Tehila Ritov Ilana 2005 The Identified Victim Effect An Identified Group or Just a Single Individual PDF Journal of Behavioral Decision Making Wiley InterScience 18 157 167 doi 10 1002 bdm 492 subkhnemux 2013 08 15 Thompson Suzanne C 1999 Illusions of Control How We Overestimate Our Personal Influence Current Directions in Psychological Science Association for Psychological Science 8 6 187 190 doi 10 1111 1467 8721 00044 ISSN 0963 7214 JSTOR 20182602 CS1 maint ref harv link Dierkes Meinolf Antal Ariane Berthoin Child John Ikujiro Nonaka 2003 Handbook of Organizational Learning and Knowledge Oxford University Press p 22 ISBN 978 0 19 829582 2 subkhnemux 2013 09 09 http books google se books id JRd7RZzzw wC amp pg PA22 amp dq Illusion of validity amp hl en amp sa X amp ei lr4tUoKtOKKK4wSi3IEw amp redir esc y v onepage amp q Illusion 20of 20validity amp f false 47 0 47 1 47 2 47 3 Tversky Amos Daniel Kahneman 1974 09 27 Judgment under Uncertainty Heuristics and Biases Science American Association for the Advancement of Science 185 4157 1124 1131 doi 10 1126 science 185 4157 1124 PMID 17835457 48 0 48 1 Fiedler K 1991 The tricky nature of skewed frequency tables An information loss account of distinctiveness based illusory correlations Journal of Personality and Social Psychology 60 1 24 36 doi 10 1037 0022 3514 60 1 24 49 0 49 1 Sanna Lawrence J Schwarz Norbert 2004 Integrating Temporal Biases The Interplay of Focal Thoughts and Accessibility Experiences Psychological Science American Psychological Society 15 7 474 481 doi 10 1111 j 0956 7976 2004 00704 x PMID 15200632 Baron 1994 pp 258 259 Kahneman Knetsch amp Thaler 1991 p 193 Bornstein Robert F Crave Lemley Catherine 2004 Mere exposure effect in Pohl Rudiger F b k Cognitive Illusions A Handbook on Fallacies and Biases in Thinking Judgement and Memory Hove UK Psychology Press pp 215 234 ISBN 978 1 84169 351 4 OCLC 55124398 Shafir Eldar Diamond Peter Tversky Amos 2000 Money Illusion in Kahneman Daniel Tversky Amos b k Choices values and frames Cambridge University Press pp 335 355 ISBN 978 0 521 62749 8 Haizlip Julie Perspective The Negativity Bias Medical Education and the Culture of Academic Medicine Why Culture Change Is Hard subkhnemux 2012 10 03 Baron 1994 p 353 Baron 1994 p 386 Baron 1994 p 44 Hardman 2009 p 104 Adams P A Adams J K 1960 Confidence in the recognition and reproduction of words difficult to spell The American Journal of Psychology 73 4 544 552 CS1 maint multiple names authors list link Hoffrage Ulrich 2004 Overconfidence in Rudiger Pohl b k Cognitive Illusions a handbook on fallacies and biases in thinking judgement and memory Psychology Press ISBN 978 1 84169 351 4 Sutherland 2007 pp 172 178 Plous 1993 Pseudocertainty Garcia Stephen M Song Hyunjin Tesser Abraham 2010 11 Tainted recommendations The social comparison bias Organizational Behavior and Human Decision Processes 113 2 97 101 doi 10 1016 j obhdp 2010 06 002 ISSN 0749 5978 Unknown parameter laysummary ignored help Check date values in date help Dalton D amp Ortegren M 2011 Gender differences in ethics research The importance of controlling for the social desirability response bias Journal of Business Ethics 103 1 73 93 doi 10 1007 s10551 011 0843 8 CS1 maint multiple names authors list link Kahneman Knetsch amp Thaler 1991 p 193 Baron 1994 p 382 Baron J in preparation Thinking and Deciding 4 ed New York Cambridge University Press Check date values in year help Forer B R 1949 The Fallacy of Personal Validation A classroom Demonstration of Gullibility Journal of Abnormal Psychology 44 118 121 Penn Psychologists Believe Unit Bias Determines The Acceptable Amount To Eat ScienceDaily 2005 11 21 Meegan Daniel V 2010 Zero Sum Bias Perceived Competition Despite Unlimited Resources Frontiers in Psychology 1 doi 10 3389 fpsyg 2010 00191 ISSN 1664 1078 Chernev Alexander 2007 Jack of All Trades or Master of One Product Differentiation and Compensatory Reasoning in Consumer Choice Journal of Consumer Research 33 4 430 444 doi 10 1086 510217 ISSN 0093 5301 Morris Errol 2010 06 20 The Anosognosic s Dilemma Something s Wrong but You ll Never Know What It Is Part 1 Opinionator Exclusive Online Commentary from the New York Times New York Times subkhnemux 2011 03 07 Marks Gary Miller Norman 1987 Ten years of research on the false consensus effect An empirical and theoretical review Psychological Bulletin American Psychological Association 102 1 72 90 doi 10 1037 0033 2909 102 1 72 Sutherland 2007 pp 138 139 Long Crowell Erin The Halo Effect Definition Advantages amp Disadvantages Psychology 104 Social Psychology study com subkhnemux 2015 09 30 Halo Effect Investopedia subkhnemux 2015 09 30 Pronin E Kruger J Savitsky K Ross L 2001 You don t know me but I know you the illusion of asymmetric insight Journal of Personality and Social Psychology 81 4 639 656 doi 10 1037 0022 3514 81 4 639 PMID 11642351 Hoorens Vera 1993 Self enhancement and Superiority Biases in Social Comparison European Review of Social Psychology Psychology Press 4 1 113 139 doi 10 1080 14792779343000040 Plous 2006 p 206 Hsee Christopher K Hastie Reid 2006 Decision and experience why don t we choose what makes us happy Trends in Cognitive Sciences 10 1 31 37 doi 10 1016 j tics 2005 11 007 PMID 16318925 Plous 2006 p 185 Forsyth D R 2009 Group Dynamics 5 ed Pacific Grove CA Brooks Cole Kruger J 1999 Lake Wobegon be gone The below average effect and the egocentric nature of comparative ability judgments Journal of Personality and Social Psychology 77 2 221 32 doi 10 1037 0022 3514 77 2 221 PMID 10474208 Mather M Shafir E Johnson M K 2000 Misrememberance of options past Source monitoring and choice PDF Psychological Science 11 2 132 138 doi 10 1111 1467 9280 00228 PMID 11273420 85 0 85 1 85 2 Schacter Daniel L 1999 The Seven Sins of Memory Insights From Psychology and Cognitive Neuroscience American Psychologist 54 3 182 203 doi 10 1037 0003 066X 54 3 182 PMID 10199218 Cacioppo John 2002 Foundations in social neuroscience Cambridge Mass MIT Press pp 130 132 ISBN 026253195X Walker W Richard John J Skowronski Charles P Thompson 2003 Life Is Pleasant and Memory Helps to Keep It That Way PDF Review of General Psychology Educational Publishing Foundation 7 2 203 210 doi 10 1037 1089 2680 7 2 203 subkhnemux 2009 08 27 Koriat A M Goldsmith A Pansky 2000 Toward a Psychology of Memory Accuracy Annual Review of Psychology 51 1 481 537 doi 10 1146 annurev psych 51 1 481 PMID 10751979 doi 10 1016 S0022 5371 72 80001 XThis citation will be automatically completed in the next few minutes You can jump the queue or expand by hand Kinnell Angela Dennis S 2011 The list length effect in recognition memory an analysis of potential confounds Memory amp Cognition 39 2 348 63 doi 10 3758 s13421 010 0007 6 Wayne Weiten 2010 Psychology Themes and Variations Themes and Variations Cengage Learning p 338 ISBN 978 0 495 60197 5 Wayne Weiten 2007 Psychology Themes and Variations Themes And Variations Cengage Learning p 260 ISBN 978 0 495 09303 9 Shepard R N 1967 Recognition memory for words sentences and pictures Journal of Learning and Verbal Behavior 6 156 163 doi 10 1016 s0022 5371 67 80067 7 McBride D M Dosher B A 2002 A comparison of conscious and automatic memory processes for picture and word stimuli a process dissociation analysis Consciousness and Cognition 11 423 460 doi 10 1016 s1053 8100 02 00007 7 Defetyer M A Russo R McPartlin P L 2009 The picture superiority effect in recognition memory a developmental study using the response signal procedure Cognitive Development 24 265 273 doi 10 1016 j cogdev 2009 05 002 Whitehouse A J Maybery M T Durkin K 2006 The development of the picture superiority effect British Journal of Developmental Psychology 24 767 773 doi 10 1348 026151005X74153 Ally B A Gold C A Budson A E 2009 The picture superiority effect in patients with Alzheimer s disease and mild cognitive impairment Neuropsychologia 47 595 598 doi 10 1016 j neuropsychologia 2008 10 010 Curran T Doyle J 2011 Picture superiority doubly dissociates the ERP correlates of recollection and familiarity Journal of Cognitive Neuroscience 23 5 1247 1262 doi 10 1162 jocn 2010 21464 Martin G Neil Neil R Carlson William Buskist 2007 Psychology 3rd ed Pearson Education pp 309 310 ISBN 978 0 273 71086 8 doi 10 1037 0278 7393 11 1 12This citation will be automatically completed in the next few minutes You can jump the queue or expand by hand doi 10 1037 0882 7974 11 1 85This citation will be automatically completed in the next few minutes You can jump the queue or expand by hand Morton Crowder amp Prussin 1971 Ian Pitt Alistair D N Edwards 2003 Design of Speech Based Devices A Practical Guide Springer p 26 ISBN 978 1 85233 436 9 Goldstein E Bruce Cognitive Psychology Connecting Mind Research and Everyday Experience Cengage Learning p 231 ISBN 978 1 133 00912 2 Poppenk Walia Joanisse Danckert amp Kohler 2006 Von Restorff H 1933 Uber die Wirkung von Bereichsbildungen im Spurenfeld The effects of field formation in the trace field Psychological Research 18 1 299 342 doi 10 1007 bf02409636 Kahneman Daniel Shane Frederick 2002 Representativeness Revisited Attribute Substitution in Intuitive Judgment in Thomas Gilovich Dale Griffin Daniel Kahneman b k Heuristics and Biases The Psychology of Intuitive Judgment Cambridge Cambridge University Press pp 49 81 ISBN 978 0 521 79679 8 OCLC 47364085 CS1 maint multiple names editors list link Slovic Paul Melissa Finucane Ellen Peters Donald G MacGregor 2002 The Affect Heuristic in Thomas Gilovich Dale Griffin Daniel Kahneman b k Heuristics and Biases The Psychology of Intuitive Judgment Cambridge University Press pp 397 420 ISBN 0 521 79679 2 CS1 maint multiple names editors list link aehlngkhxmulxun aekikhBaron Jonathan 1994 Thinking and deciding 2nd ed Cambridge University Press ISBN 0 521 43732 6 CS1 maint ref harv link Baron Jonathan 2000 Thinking and deciding 3rd ed New York Cambridge University Press ISBN 0 521 65030 5 CS1 maint ref harv link Bishop Michael A Trout J D 2004 Epistemology and the Psychology of Human Judgment New York Oxford University Press ISBN 0 19 516229 3 CS1 maint ref harv link Gilovich Thomas 1993 How We Know What Isn t So The Fallibility of Human Reason in Everyday Life New York The Free Press ISBN 0 02 911706 2 Cite journal requires journal help CS1 maint ref harv link Gilovich Thomas Griffin Dale Kahneman Daniel 2002 Heuristics and biases The psychology of intuitive judgment Cambridge UK Cambridge University Press ISBN 0 521 79679 2 CS1 maint ref harv link Greenwald A 1980 The Totalitarian Ego Fabrication and Revision of Personal History PDF American Psychologist American Psychological Association 35 7 ISSN 0003 066X CS1 maint ref harv link Hardman David 2009 Judgment and decision making psychological perspectives Wiley Blackwell ISBN 978 1 4051 2398 3 CS1 maint ref harv link Kahneman Daniel Slovic Paul Tversky Amos 1982 Judgment under Uncertainty Heuristics and Biases Cambridge UK Cambridge University Press ISBN 0 521 28414 7 CS1 maint ref harv link Kahneman Daniel Knetsch Jack L Thaler Richard H 1991 Anomalies The Endowment Effect Loss Aversion and Status Quo Bias PDF The Journal of Economic Perspectives American Economic Association 5 1 193 206 doi 10 1257 jep 5 1 193 CS1 maint ref harv link Plous Scott 1993 The Psychology of Judgment and Decision Making New York McGraw Hill ISBN 0 07 050477 6 CS1 maint ref harv link Schacter Daniel L 1999 The Seven Sins of Memory Insights From Psychology and Cognitive Neuroscience PDF American Psychologist American Psychological Association 54 3 182 203 doi 10 1037 0003 066X 54 3 182 ISSN 0003 066X PMID 10199218 CS1 maint ref harv link Sutherland Stuart 2007 Irrationality Pinter amp Martin ISBN 978 1 905177 07 3 CS1 maint ref harv link Tetlock Philip E 2005 Expert Political Judgment how good is it how can we know Princeton Princeton University Press ISBN 978 0 691 12302 8 CS1 maint ref harv link Virine L Trumper M 2007 Project Decisions The Art and Science Vienna VA Management Concepts ISBN 978 1 56726 217 9 CS1 maint ref harv link ekhathungcak https th wikipedia org w index php title raychuxkhwamexnexiyngthangprachan amp oldid 9450747, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม