fbpx
วิกิพีเดีย

สัญกรณ์โพลิช

สัญกรณ์โพลิช (อังกฤษ: Polish notation หรือ PN) หรือเรียกกันว่า สัญกรณ์โพลิชปรกติ (อังกฤษ: Normal Polish notation) สัญกรณ์วูคาเซียวิช สัญกรณ์วอร์ซอ สัญกรณ์เติมหน้าโพลิช หรือ สัญกรณ์เติมหน้า (อังกฤษ: Prefix notation) เป็นสัญกรณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ ตัวดำเนินการอยู่ด้านหน้าตัวถูกดำเนินการ ตรงกันข้ามกับสัญกรณ์ที่ใช้กันทั่วไปซึ่งตัวดำเนินการวางอยู่ระหว่างตัวถูกดำเนินการ ในขณะที่สัญกรณ์โพลิชย้อนกลับ (RPN) ตัวดำเนินการจะอยู่ด้านหลังตัวถูกดำเนินการ

สัญกรณ์โพลิชไม่จำเป็นต้องมีวงเล็บใด ๆ ตราบเท่าที่แต่ละตัวดำเนินการมีจำนวนตัวถูกดำเนินการคงที่ คำว่า "โพลิช" ที่หมายถึงประเทศโปแลนด์นั้นหมายถึงสัญชาติของนักตรรกศาสตร์ ยาน วูคาเซียวิช ชาวโปแลนด์ ผู้คิดค้นสัญกรณ์โพลิชในปี พ. ศ. 2467

วิธีการใช้

นิพจน์ที่เขียนแทนการบวกตัวเลข 1 และ 2 โดยใช้สัญกรณ์โพลิชจากเขียนเป็น + 1 2 (เขียนตัวดำเนินการไว้ด้านหน้า) แทนที่จะเป็น 1 + 2 (เขียนตัวดำเนินการไว้ระหว่างกลาง) สำหรับนิพจน์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ตัวดำเนินการยังคงเขียนนำหน้าตัวถูกดำเนินการ แต่ตัวถูกดำเนินการอาจเป็นนิพจน์อื่นซึ่งมีตัวดำเนินการและตัวถูกดำเนินการซ้อนกันไปเรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่น นิพจน์ที่เขียนด้วยสัญกรณ์ระหว่างกลางตามปกติว่า

(5 − 6) × 7

จะเขียนในสัญกรณ์โพลิชว่า

× (− 5 6) 7

หากตัวดำเนินการทั้งหมดที่ใช้มีอาริตี (จำนวนอาร์กิวเมนต์หรือจำนวนตัวถูกดำเนินการที่ตัวดำเนินการรับ) กำหนดชัดแน่นอน เช่นในกรณีนี้เรากำหนดให้การลบและการคูณเป็นตัวดำเนินการทวิภาค แล้วนิพจน์จะไม่มีความกำกวมเกิดขึ้น ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องใช้วงเล็บ

เพราะฉะนั้นแล้ว นิพจน์ข้างต้นสามารถเขียนอย่างง่ายได้เป็น

× − 5 6 7

การถอดความหมายนิพจน์ข้างต้นเริ่มจากการคูณที่อยู่ด้านซ้ายสุดไปด้านขวาสุด แต่ยังไม่สามารถอ่านค่าได้จนกว่าจะพบตัวถูกดำเนินการทั้งสองตัว (เท่ากับอาริตีของการคูณ) ซึ่งก็คือ "- 5 6" และ "7" นิพจน์ที่อยู่ด้านในสุดจะถูกหาค่าก่อนเสมอ เช่นกับสัญกรณ์อื่น ๆ แต่ความ "ในสุด" ในระบบสัญกรณ์โพลิชนั้นมาจากอันดับที่ปรากฏของตัวดำเนินการและตัวถูกดำเนินการ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการใช้วงเล็บ

ในสัญกรณ์ระหว่างกลางทั่วไป จะต้องมีกฎให้วงเล็บมีความสำคัญเหนือการดำเนินการอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะว่าหากนำวงเล็บออก เช่น หากสลับตำแหน่งของวงเล็บ

5 − (6 × 7)

หรือ หากนำวงเล็บออกแล้ว จะได้

5 − 6 × 7

ซึ่งจะเปลี่ยนความหมายของนิพจน์นั้นโดยทันที ในสัญกรณ์โพลิชจะเขียนนิพจน์ที่เปลี่ยนใหม่ว่า

− 5 × 6 7

หากการดำเนินการไม่ใช่การดำเนินการที่มีสมบัติสลับที่ เช่น การหาร หรือการลบ ต้องกำหนดลำดับของการเขียนตัวถูกดำเนินการให้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ÷ 10 5 โดย 10 อยู่ด้านซ้ายของ 5 มีความหมายว่า10 ÷ 5 (อ่านว่า "หาร 10 ด้วย 5") หรือ - 7 6 โดย 7 อยู่ด้านซ้ายของ 6 มีความหมายว่า 7 - 6 ( อ่านว่า "ลบออกจาก 7 ด้วยตัวถูกดำเนินการ 6")

สัญกรณ์โพลิชสำหรับตรรกศาสตร์

ตารางด้านล่างแสดงสัญกรณ์สำคัญที่ยาน วูคาเซียวิช กำหนดขึ้นเพื่อใช้กับตรรกศาสตร์เชิงประพจน์และตรรกศาสตร์อัญรูป ตัวอักษรบางตัวในตารางสัญกรณ์โพลิชนี้มาจากคำศัพท์ในภาษาโปแลนด์

ความหมาย สัญกรณ์โดยทั่วไป สัญกรณ์โพลิช คำในภาษาโปแลนด์
นิเสธ     negacja
การเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์ (ตัวเชื่อม "และ")     koniunkcja
การเลือกเชิงตรรกศาสตร์ (ตัวเชื่อม "หรือ")     alternatywa
เงื่อนไขเชิงตรรกศาสตร์ (ตัวเชื่อม "ถ้า...แล้ว...")     implikacja
เงื่อนไขสองทาง (ตัวเชื่อม "ก็ต่อเมื่อ")     ekwiwalencja
ความเท็จ     fałsz
ขีดคั่นของเชฟเฟอร์     dysjunkcja
ความเป็นไปได้     możliwość
ความจำเป็น     konieczność
ตัวบ่งปริมาณสำหรับทุกตัว     kwantyfikator ogólny
ตัวบ่งปริมาณสำหรับตัวมีจริง     kwantyfikator szczegółowy

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Łukasiewicz, Jan (1957). Aristotle's syllogistic : from the standpoint of modern formal logic (Second edition, enlarged ed.). Oxford. ISBN 0-19-824144-5. OCLC 289729.
  2. Hamblin, C. L. (1962-11-01). "Translation to and from Polish Notation". The Computer Journal (ภาษาอังกฤษ). 5 (3): 210–213. doi:10.1093/comjnl/5.3.210. ISSN 0010-4620.
  3. Routledge encyclopedia of philosophy. Edward Craig, Routledge. London: Routledge. 1998. ISBN 0-415-07310-3. OCLC 38096851.CS1 maint: others (link)

ดูเพิ่ม

  • Łukasiewicz, Jan (1957). Aristotle's Syllogistic from the Standpoint of Modern Formal Logic. Oxford University Press.
  • "Philosophische Bemerkungen zu mehrwertigen Systemen des Aussagenkalküls" [ข้อสังเกตทางปรัชญาเกี่ยวกับระบบตรรกศาสตร์เชิงประพจน์ที่มีหลายค่า]. Comptes Rendus des Séances de la Société des Sciences et des Lettres de Varsovie (ภาษาเยอรมัน). 23: 51–77. 1930. แปลโดย by H. Weber ใน Storrs McCall, Polish Logic 1920-1939, Clarendon Press: Oxford (1967).

ญกรณ, โพล, งกฤษ, polish, notation, หร, หร, อเร, ยกก, นว, ปรกต, งกฤษ, normal, polish, notation, ญกรณ, คาเซ, ยว, ญกรณ, วอร, ซอ, ญกรณ, เต, มหน, าโพล, หร, ญกรณ, เต, มหน, งกฤษ, prefix, notation, เป, นส, ญกรณ, ทางคณ, ตศาสตร, วดำเน, นการอย, านหน, าต, วถ, กดำเน, นการ,. sykrnophlich xngkvs Polish notation hrux PN hruxeriykknwa sykrnophlichprkti xngkvs Normal Polish notation sykrnwukhaesiywich sykrnwxrsx sykrnetimhnaophlich hrux sykrnetimhna xngkvs Prefix notation epnsykrnthangkhnitsastrthi twdaeninkarxyudanhnatwthukdaeninkar trngknkhamkbsykrnthiichknthwipsungtwdaeninkarwangxyurahwangtwthukdaeninkar inkhnathisykrnophlichyxnklb RPN twdaeninkarcaxyudanhlngtwthukdaeninkarsykrnophlichimcaepntxngmiwngelbid trabethathiaetlatwdaeninkarmicanwntwthukdaeninkarkhngthi khawa ophlich thihmaythungpraethsopaelndnnhmaythungsychatikhxngnktrrksastr yan wukhaesiywich chawopaelnd 1 phukhidkhnsykrnophlichinpi ph s 2467 2 enuxha 1 withikarich 2 sykrnophlichsahrbtrrksastr 3 duephim 4 xangxing 5 duephimwithikarich aekikhniphcnthiekhiynaethnkarbwktwelkh 1 aela 2 odyichsykrnophlichcakekhiynepn 1 2 ekhiyntwdaeninkariwdanhna aethnthicaepn 1 2 ekhiyntwdaeninkariwrahwangklang sahrbniphcnthisbsxnmakkhun twdaeninkaryngkhngekhiynnahnatwthukdaeninkar aettwthukdaeninkarxacepnniphcnxunsungmitwdaeninkaraelatwthukdaeninkarsxnkniperuxy twxyangechn niphcnthiekhiyndwysykrnrahwangklangtampktiwa 5 6 7caekhiyninsykrnophlichwa 5 6 7haktwdaeninkarthnghmdthiichmixariti canwnxarkiwemnthruxcanwntwthukdaeninkarthitwdaeninkarrb kahndchdaennxn echninkrninierakahndihkarlbaelakarkhunepntwdaeninkarthwiphakh aelwniphcncaimmikhwamkakwmekidkhun dngnneraimcaepntxngichwngelbephraachannaelw niphcnkhangtnsamarthekhiynxyangngayidepn 5 6 7karthxdkhwamhmayniphcnkhangtnerimcakkarkhunthixyudansaysudipdankhwasud aetyngimsamarthxankhaidcnkwacaphbtwthukdaeninkarthngsxngtw ethakbxaritikhxngkarkhun sungkkhux 5 6 aela 7 niphcnthixyudaninsudcathukhakhakxnesmx echnkbsykrnxun aetkhwam insud inrabbsykrnophlichnnmacakxndbthipraktkhxngtwdaeninkaraelatwthukdaeninkar odyimcaepntxngxasykarichwngelbinsykrnrahwangklangthwip catxngmikdihwngelbmikhwamsakhyehnuxkardaeninkarxun thngniephraawahaknawngelbxxk echn hakslbtaaehnngkhxngwngelb 5 6 7 hrux haknawngelbxxkaelw caid 5 6 7sungcaepliynkhwamhmaykhxngniphcnnnodythnthi insykrnophlichcaekhiynniphcnthiepliynihmwa 5 6 7hakkardaeninkarimichkardaeninkarthimismbtislbthi echn karhar hruxkarlb txngkahndladbkhxngkarekhiyntwthukdaeninkarihthuktxng twxyangechn 10 5 ody 10 xyudansaykhxng 5 mikhwamhmaywa10 5 xanwa har 10 dwy 5 hrux 7 6 ody 7 xyudansaykhxng 6 mikhwamhmaywa 7 6 xanwa lbxxkcak 7 dwytwthukdaeninkar 6 sykrnophlichsahrbtrrksastr aekikhtarangdanlangaesdngsykrnsakhythiyan wukhaesiywich kahndkhunephuxichkbtrrksastrechingpraphcnaelatrrksastrxyrup 3 twxksrbangtwintarangsykrnophlichnimacakkhasphthinphasaopaelnd khwamhmay sykrnodythwip sykrnophlich khainphasaopaelndniesth f displaystyle neg varphi N f displaystyle mathrm N varphi negacjakarechuxmechingtrrksastr twechuxm aela f ps displaystyle varphi land psi K f ps displaystyle mathrm K varphi psi koniunkcjakareluxkechingtrrksastr twechuxm hrux f ps displaystyle varphi lor psi A f ps displaystyle mathrm A varphi psi alternatywaenguxnikhechingtrrksastr twechuxm tha aelw f ps displaystyle varphi to psi C f ps displaystyle mathrm C varphi psi implikacjaenguxnikhsxngthang twechuxm ktxemux f ps displaystyle varphi leftrightarrow psi E f ps displaystyle mathrm E varphi psi ekwiwalencjakhwamethc displaystyle bot O displaystyle mathrm O falszkhidkhnkhxngechfefxr f ps displaystyle varphi mid psi D f ps displaystyle mathrm D varphi psi dysjunkcjakhwamepnipid f displaystyle Diamond varphi M f displaystyle mathrm M varphi mozliwosckhwamcaepn f displaystyle Box varphi L f displaystyle mathrm L varphi koniecznosctwbngprimansahrbthuktw p f displaystyle forall p varphi P p f displaystyle Pi p varphi kwantyfikator ogolnytwbngprimansahrbtwmicring p f displaystyle exists p varphi S p f displaystyle Sigma p varphi kwantyfikator szczegolowyduephim aekikhsykrnophlichyxnklb karaethnkhafngkchn aekhlkhulsaelmbda karekhxrri Lisp phasaopraekrm niphcn exs khnitsastrskulopaelnd sykrnhngkaeriynxangxing aekikh Lukasiewicz Jan 1957 Aristotle s syllogistic from the standpoint of modern formal logic Second edition enlarged ed Oxford ISBN 0 19 824144 5 OCLC 289729 Hamblin C L 1962 11 01 Translation to and from Polish Notation The Computer Journal phasaxngkvs 5 3 210 213 doi 10 1093 comjnl 5 3 210 ISSN 0010 4620 Routledge encyclopedia of philosophy Edward Craig Routledge London Routledge 1998 ISBN 0 415 07310 3 OCLC 38096851 CS1 maint others link duephim aekikhLukasiewicz Jan 1957 Aristotle s Syllogistic from the Standpoint of Modern Formal Logic Oxford University Press Philosophische Bemerkungen zu mehrwertigen Systemen des Aussagenkalkuls khxsngektthangprchyaekiywkbrabbtrrksastrechingpraphcnthimihlaykha Comptes Rendus des Seances de la Societe des Sciences et des Lettres de Varsovie phasaeyxrmn 23 51 77 1930 aeplody by H Weber in Storrs McCall Polish Logic 1920 1939 Clarendon Press Oxford 1967 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title sykrnophlich amp oldid 9317275, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม