fbpx
วิกิพีเดีย

การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย

การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย (อังกฤษ: cutaneous rabbit illusion) หรือ สภาวะกระโดดที่ผิวหนัง (อังกฤษ: cutaneous saltation) หรือ ปรากฏการณ์กระต่ายที่ผิวหนัง (อังกฤษ: cutaneous rabbit effect) เป็นการลวงความรู้สึกสัมผัสโดยการแตะหรือเคาะที่เขตผิวหนังสองเขตหรือมากกว่านั้นตามลำดับอย่างรวดเร็ว เกิดได้ง่ายที่สุดตามผิวของร่างกายที่มีการรับรู้สัมผัสที่ไม่ละเอียดโดยพื้นที่เช่นที่หน้าแขน การเคาะตามลำดับอย่างรวดเร็วเบื้องต้นใกล้ ๆ ข้อมือและต่อจากนั้นใกล้ ๆ ข้อศอก ก่อให้เกิดความรู้สึกว่ามีการเคาะกระโดดมาตามลำดับตามลำแขนจากข้อมือไปถึงข้อศอก แม้ว่าจะไม่มีการเคาะจริง ๆ ในระหว่างข้อมือถึงข้อศอก และโดยนัยเดียวกัน ถ้าเบื้องต้นเคาะใกล้ข้อศอก แล้งจึงเคาะใกล้ข้อมือ ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกลวงถึงการเคาะกระโดดไปตามลำดับจากข้อศอกจนถึงข้อมือ การลวงความรู้สึกเช่นนี้ค้นพบโดยแฟร็งก์ เจ็ลดาร์ด และคารล์ เชอร์ริก ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในประเทศสหรัฐอเมริกาในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 และกำหนดรายละเอียดเพิ่มขึ้นโดยเจ็ลดาร์ดในปี ค.ศ. 1982 และในงานวิจัยหลายงานที่สืบ ๆ กันมา เจ็ลดาร์ดและเชอร์ริกเปรียบความรู้สึกที่เกิดขึ้นเหมือนกับกระต่ายกระโดดไปตามผิวหนัง จึงได้ให้ปรากฏการณ์นี้ด้วยชื่อนั้น แม้ว่าการลวงความรู้สึกแบบกระต่ายจะได้รับการวิจัยอย่างกว้างขวางในระบบสัมผัส แต่ก็ได้มีการค้นพบการลวงประสาทสัมผัสแบบกระโดดในระบบการได้ยิน และระบบการเห็นแล้ว

งานวิจัยโดยการทดลอง

เริ่มตั้งแต่ค้นพบ การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่ายได้ดึงดูดความสนใจของหมู่นักวิจัย และได้มีการทดลองมากมายที่สำรวจปรากฏการณ์นี้ โดยมากที่หน้าแขน งานวิจัยต่าง ๆ แสดงเหมือน ๆ กันว่า การลวงสัมผัสแบบกระต่ายเกิดขึ้นเมื่อการเคาะผิวหนังตามลำดับเกิดขึ้นในเวลาใกล้ ๆ กัน การลวงสัมผัสจะหมดไปถ้าช่วงเวลาระหว่างการเคาะผิวหนังเกินกว่า 0.3 วินาที (หรือ 300 มิลลิวินาที) ส่วนงานวิจัยงานหนึ่งพบว่า การใส่ใจในผิวหนังเขตอื่น ลดระดับการกระโดดของสัมผัสในเขตผิวหนังที่กำลังทดสอบ ส่วนงานวิจัยอีกงานหนึ่งพบว่า ความรู้สึกลวงที่ไม่ได้มีการเคาะจริง ๆ มีความสัมพันธ์กับการทำงานทางประสาทในเขตเดียวกันของแผนที่ความรู้สึก ที่เกิดขึ้นเพราะการเคาะจริง ๆ อย่างไรก็ดี กลไกทางประสาทที่เป็นเหตุของการลวงสัมผัสแบบกระต่ายยังไม่ปรากฏ

มีตัวอย่างที่น่าสนใจของการลวงสัมผัสแบบกระต่ายมากมาย ตัวอย่างเช่น การลวงสัมผัสนี้ไม่ใช่จำกัดอยู่ภายในกายเท่านั้น คือ เมื่อผู้รับการทดลองถือไม้แนบข้ามปลายนิ้วชี้และรับการเคาะที่ไม้ พวกเขาแจ้งถึงความรู้สึกลวงของการเคาะที่ไม่มีตามลำไม้ นี้บอกเป็นนัยว่า ปรากฏการณ์กระต่ายที่ผิวหนังไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับแผนที่ somatotopic ภายในกายเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับแผนที่ภายนอกกายที่เกิดขึ้นเนื่องจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างกายและสิ่งของภายนอกด้วย

นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยยังแสดงว่า การลวงสัมผัสสามารถเกิดขึ้นในเขตร่างกายที่ไม่ติดต่อกันเช่นข้ามนิ้วด้วย แต่ว่า มีผู้รับการทดลองบางส่วนที่ไม่ประสบปรากฏการณ์นี้ข้ามปลายนิ้ว ยังมีปรากฏการณ์นี้อีกด้วยทั้งในแขนเดียวกันและทั้งข้ามแขน

ตัวกระตุ้นทางตา เช่นไฟกระพริบที่จุดต่าง ๆ ตามลำดับแขน อาจมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์นี้ นอกจากทางตาแล้ว แม้แต่ตัวกระตุ้นทางหูก็อาจมีปฏิสัมพันธ์กับตัวกระตุ้นทางสัมผัสที่มีผลต่อปรากฏการณ์นี้

ในปี ค.ศ. 2009 นักวิจัยที่บริษัทฟิลิปส์ ได้สาธิตเสื้อแจ๊กเก้ตที่มีมอเตอร์เรียงเป็นแนวภายใน ที่มีการออกแบบให้เกิดความรู้สึกสัมผัสต่าง ๆ ในขณะที่ผู้ใส่กำลังดูภาพยนตร์ ผลิตภัณฑ์นี้อาศัยการลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่ายเพื่อที่จะลดจำนวนมอเตอร์ที่ต้องใช้

แบบจำลอง

นักวิจัยหลายพวกได้เสนอแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์สำหรับการลวงสัมผัสแบบกระต่าย

 
ระบบการรับรู้ประเมินระยะทางระหว่างการเคาะตามลำดับที่ผิวหนัง มีค่าต่ำเกินไป รูปข้างบนแสดงตัวกระตุ้น พร้อมทั้งความรู้สึกของตัวกระตุ้นนั้นที่ผิวหนัง (ที่แสดงที่หน้าแขน) ส่วนกราฟด้านล่างแสดงข้อมูลที่ได้ในการทดลองในมนุษย์และค่าที่แบบจำลอง Bayesian พยากรณ์

แบบจำลอง Bayesian ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2007 ให้ผลเหมือนกับการลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย และการลวงประสาทสัมผัสที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่และกาลเวลาอย่างอื่น ๆ แบบจำลองนี้แสดงว่า วงจรประสาทในสมองเข้ารหัสการคาดหวังที่สร้างขึ้นด้วยประสบการณ์รับรู้ทางประสาทสัมผัสว่า ตัวกระตุ้นสัมผัสมักจะเคลื่อนตัวไปอย่างช้า ๆ แบบจำลองสามารถพยากรณ์โดยอนุมานแบบความน่าจะเป็นในระดับที่แม่นยำที่สุด (optimal probabilistic inference) โดยรวมข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกโดยพื้นที่ที่มีค่าไม่แน่นอน กับความคาดหวังเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่เป็นไปอย่างช้า ๆ ความคาดหวังว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ นั้น มีผลให้ระบบรับความรู้สึกถึงการตัดสินว่า ตัวกระตุ้นที่เคลื่อนไปตามลำดับอย่างรวดเร็วนั้น ควรจะรู้สึกได้บนผิวหนังใกล้ ๆ กันเกินความจริง

ในปี ค.ศ. 2013 แบบจำลองแบบ Bayesian ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น ที่สามารถพยากรณ์ความรู้สึกในมนุษย์ต่อตัวกระตุ้นตามลำดับแบบง่าย ๆ (คือแบบสองจุด) และตัวกระตุ้นที่ซับซ้อนขึ้น ๆ ไป (คือแบบหลายจุด) เช่นปรากฏการณ์ทอแบบ 3 จุด (3-tap tau effect) และการลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่ายแบบ 15 จุด นอกจากนั้นแล้ว แบบจำลองสุดท้ายนี้ สามารถพยากรณ์การรับรู้ที่มีการใส่ใจในพื้นที่เฉพาะจุดที่อื่น เมื่อทดลองร่วมกับการลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย, มีความสอดคล้องกับการลวงสัมผัสที่เป็นไปนอกร่างกาย, และเข้ากันเมื่อการลวงสัมผัสมีอิทธิพลจากความรู้สึกข้ามประสาทสัมผัส มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบฟรีแวร์ชื่อว่า "Leaping Lagomorphs" ที่ปฏิบัติการตามแบบจำลองนี้ (คือทำแบบจำลองนี้ให้มีผล)

ในกรณีที่มีการเคาะสองครั้งที่ผิวหนัง แบบจำลองนี้พยากรณ์ระยะทางระหว่างการเคาะที่รู้สึก (ตัวแปร l*) โดยเป็นฟังก์ชันของระยะทางระหว่างการเคาะจริง ๆ (ตัวแปร l) และของเวลาระหว่างการเคาะ (ตัวแปร t) โดยสูตรนี้

l* = l/1 + 2 (τ/t)2

สูตรนี้เรียกว่า "perceptual length contraction formula (สูตรย่อระยะทางที่รู้สึก)" ที่ตั้งชื่อให้มีความคล้ายคลึงกับการย่อระยะทางคือ length contraction ที่ทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ได้กล่าวถึง เหมือนกับผลที่เห็นในการทดลองจริง ๆ ให้สังเกตว่า l* มีค่าน้อยกว่า l ยิ่งขึ้นเมื่อ t น้อยลง แต่เมื่อ t มีค่าสูงขึ้น l* มีค่าเข้าสู่ l และการลวงสัมผัสนี้ก็จะหายไป พารามิเตอร์ของแบบจำลองคือ ทอ (τ) เป็นค่าคงตัวของเวลาสำหรับการรับรู้พื้นที่ทางสัมผัส ึค่าของ τ ตัดสินความรวดเร็วที่ระยะทางที่รู้สึก มีค่าเข้าสู่ระยะทางจริง ๆ เมื่อเวลาระหว่างตัวกระตุ้นที่มากระทบผิวเพิ่มขึ้น ระยะทางที่รู้สึกเท่ากับ 1/3 ของระยะทางจริง ๆ เมื่อ t=τ และเท่ากับ 2/3 ของระยะทางจริง ๆ เมื่อ t=2τ ในบทความตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2013 โกลด์ไรค์และท็องแสดงว่า τ เป็นอัตราส่วนระหว่างความคาดหวังว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ กับความละเอียดของความรู้สึกสัมผัสที่ผิวหนัง และรายงานว่า ค่าของ τ อยู่ที่ 0.1 วินาที สำหรับหน้าแขนโดยประมาณ

การลวงสัมผัสที่เกี่ยวข้องกัน

การลวงสัมผัสที่ดูเหมือนจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปรากฏการณ์นี้ก็คือ ปรากฏการณ์ทอ (tau effect) ปรากฏการณ์ทอเกิดขึ้นเมื่อผู้สั่งเกตการณ์ตัดสินระยะทางระหว่างตัวกระตุ้นสองตัวที่แสดงทีละตัวตามลำดับต่อ ๆ กัน ถ้าระยะทางจากตัวกระตุ้นตัวหนึ่งไปยังตัวกระตุ้นอีกตัวหนึ่งเท่ากัน แต่ระยะเวลาที่ผ่านไปในระหว่างการแสดงตัวกระตุ้นไม่เท่ากัน ผู้รับการทดลองมักจะมีการรับรู้อย่างไม่ถูกต้องว่า ถ้ามีระยะเวลาในระหว่างที่สั้น ระยะทางก็จะสั้นไปด้วย ดังนั้น คล้ายกับการลวงสัมผัสแบบกระต่าย ปรากฏการณ์ทอแสดงว่า คุณลักษณะทางเวลาของตัวกระตุ้นมีอิทธิพลต่อการรับรู้ตัวกระตุ้นโดยพื้นที่ ในปี ค.ศ. 2007 นักวิจัยโกลด์ไรค์เสนอว่า ทั้งการลวงสัมผัสแบบกระต่ายและทั้งปรากฏการณ์ทอเป็นผลจากการคาดหวังล่วงหน้า (priori expectation) ว่าตัวกระตุ้นเคลื่อนไหวอย่างมีความเร็วต่ำ และจริง ๆ แล้วแบบจำลอง Bayesian ที่แสดงการประเมินค่าต่ำของระยะทางโดยระบบประสาท ขึ้นอยู่กับความเร็วของการเคาะ (ที่กล่าวไว้ในหมวดแบบจำลอง) สามารถพยากรณ์ปรากฏการณ์ทั้งสองอย่างได้

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. คำว่า saltation (แปลว่ากระโดด) หมายถึงลักษณะเหมือนกับการกระโดดที่ปรากฏแก่ความรู้สึก
  2. Geldard, F. A. (13 October 1972). "The Cutaneous "Rabbit": A Perceptual Illusion". Science. 178 (4057): 178–179. doi:10.1126/science.178.4057.178. PMID 5076909. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  3. Geldard, FA (July 1982). "Saltation in somesthesis". Psychological Bulletin. 92 (1): 136–75. PMID 7134325.
  4. Bremer, CD (December 1977). "An illusion of auditory saltation similar to the cutaneous "rabbit"". The American journal of psychology. 90 (4): 645–54. PMID 610449. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  5. Shore, DI (June 1998). "Auditory saltation: a new measure for an old illusion". The Journal of the Acoustical Society of America. 103 (6): 3730–3. PMID 9637053. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  6. Getzmann, S (February 2009). "Exploring auditory saltation using the "reduced-rabbit" paradigm". Journal of experimental psychology. Human perception and performance. 35 (1): 289–304. doi:10.1037/a0013026. PMID 19170489.
  7. Geldard, FA (June 1976). "The saltatory effect in vision". Sensory processes. 1 (1): 77–86. PMID 1029079.
  8. Lockhead, GR (1980). "Saltation through the blind spot". Perception and Psychophysics. 27 (6): 545–9. PMID 7393702. Unknown parameter |month= ignored (help); Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  9. Khuu, SK (Aug 15, 2011). "The influence of spatial orientation on the perceived path of visual saltatory motion". Journal of vision. 11 (9). doi:10.1167/11.9.5. PMID 21844167. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  10. Kilgard, MP (23 February 1995). "Anticipated stimuli across skin". Nature. 373 (6516): 663. doi:10.1038/373663a0. PMID 7854442. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  11. Blankenburg, Felix (1 January 2006). "The Cutaneous Rabbit Illusion Affects Human Primary Sensory Cortex Somatotopically". PLoS Biology. 4 (3): e69. doi:10.1371/journal.pbio.0040069. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  12. Miyazaki, M (Feb 3, 2010). "The "cutaneous rabbit" hopping out of the body". The Journal of neuroscience. 30 (5): 1856–60. doi:10.1523/JNEUROSCI.3887-09.2010. PMID 20130194. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  13. Warren, JP (October 2010). "Electrotactile stimuli delivered across fingertips inducing the Cutaneous Rabbit Effect". Experimental brain research. 206 (4): 419–26. doi:10.1007/s00221-010-2422-0. PMID 20862459. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  14. Warren, JP (Nov 7, 2011). "Tactile perception: do distinct subpopulations explain differences in mislocalization rates of stimuli across fingertips?". Neuroscience letters. 505 (1): 1–5. doi:10.1016/j.neulet.2011.04.057. PMID 21575679. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  15. Eimer, M., B. Foster, and J. Vibell. "Cutaneous Saltation within and across Arms: A New Measure of the Saltation Illusion in Somatosensation." Percept Psychophys 67.3 (2005) 458-68. Web.
  16. Asai, T (22 October 2012). "'Cutaneous Rabbit' Hops toward a Light: Unimodal and Cross-modal Causality on the Skin". Frontiers in Psychology. 3: 427. doi:10.3389/fpsyg.2012.00427. PMID 23133432. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  17. Trojan, J (2009). "Tactile-auditory saltation: Spatiotemporal integration across sensory modalities". Neuroscience Letters. 460 (2): 156–160. doi:10.1016/j.neulet.2009.05.053. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  18. Jones, Willie D. (18 March 2009). "Jacket Lets You Feel the Movies". EEE Spectrum Online.
  19. Brigner, WL (April 1988). "Saltation as a rotation of space-time axes". Percept Mot Skills. 66 (2): 637–8. PMID 3399342.
  20. Wiemer, J (February 2000). "Learning cortical topography from spatiotemporal stimuli". Biological cybernetics. 82 (2): 173–87. PMID 10664104. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  21. Grush, R (September 2005). "Internal models and the construction of time: generalizing from state estimation to trajectory estimation to address temporal features of perception, including temporal illusions". Journal of neural engineering. 2 (3): S209-18. doi:10.1088/1741-2560/2/3/S05. PMID 16135885.
  22. Flach, R (2006). "The cutaneous rabbit revisited". Journal of experimental psychology. Human perception and performance. 32 (3): 717–32. doi:10.1037/0096-1523.32.3.717. PMID 16822134. Unknown parameter |month= ignored (help); Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  23. Goldreich, D (Mar 28, 2007). "A Bayesian perceptual model replicates the cutaneous rabbit and other tactile spatiotemporal illusions". PLoS ONE. 2 (3): e333. doi:10.1371/journal.pone.0000333. PMC 1828626. PMID 17389923.
  24. Goldreich, D (10 May 2013). "Prediction, Postdiction, and Perceptual Length Contraction: A Bayesian Low-Speed Prior Captures the Cutaneous Rabbit and Related Illusions". Frontiers in Psychology. 4. doi:10.3389/fpsyg.2013.00221. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  25. Helson, H (1931). "The tau effect: an example of psychological relativity". J Exp Psychol. 14: 202–217. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)

การลวงส, มผ, สท, วหน, งแบบกระต, าย, งกฤษ, cutaneous, rabbit, illusion, หร, สภาวะกระโดดท, วหน, งกฤษ, cutaneous, saltation, หร, ปรากฏการณ, กระต, ายท, วหน, งกฤษ, cutaneous, rabbit, effect, เป, นการลวงความร, กส, มผ, สโดยการแตะหร, อเคาะท, เขตผ, วหน, งสองเขตหร, อมาก. karlwngsmphsthiphiwhnngaebbkratay xngkvs cutaneous rabbit illusion hrux sphawakraoddthiphiwhnng xngkvs cutaneous saltation 1 hrux praktkarnkrataythiphiwhnng xngkvs cutaneous rabbit effect epnkarlwngkhwamrusuksmphsodykaraetahruxekhaathiekhtphiwhnngsxngekhthruxmakkwanntamladbxyangrwderw ekididngaythisudtamphiwkhxngrangkaythimikarrbrusmphsthiimlaexiydodyphunthiechnthihnaaekhn karekhaatamladbxyangrwderwebuxngtnikl khxmuxaelatxcaknnikl khxsxk kxihekidkhwamrusukwamikarekhaakraoddmatamladbtamlaaekhncakkhxmuxipthungkhxsxk aemwacaimmikarekhaacring inrahwangkhxmuxthungkhxsxk aelaodynyediywkn thaebuxngtnekhaaiklkhxsxk aelngcungekhaaiklkhxmux kcathaihekidkhwamrusuklwngthungkarekhaakraoddiptamladbcakkhxsxkcnthungkhxmux karlwngkhwamrusukechnnikhnphbodyaefrngk ecldard aelakharl echxrrik thimhawithyalyphrinstninpraethsshrthxemrikaintnkhristthswrrs 1970 2 aelakahndraylaexiydephimkhunodyecldardinpi kh s 1982 3 aelainnganwicyhlaynganthisub knma ecldardaelaechxrrikepriybkhwamrusukthiekidkhunehmuxnkbkrataykraoddiptamphiwhnng cungidihpraktkarnnidwychuxnn aemwakarlwngkhwamrusukaebbkrataycaidrbkarwicyxyangkwangkhwanginrabbsmphs aetkidmikarkhnphbkarlwngprasathsmphsaebbkraoddinrabbkaridyin 4 5 6 aelarabbkarehnaelw 7 8 9 enuxha 1 nganwicyodykarthdlxng 2 aebbcalxng 3 karlwngsmphsthiekiywkhxngkn 4 echingxrrthaelaxangxingnganwicyodykarthdlxng aekikherimtngaetkhnphb karlwngsmphsthiphiwhnngaebbkratayiddungdudkhwamsnickhxnghmunkwicy aelaidmikarthdlxngmakmaythisarwcpraktkarnni odymakthihnaaekhn nganwicytang aesdngehmuxn knwa karlwngsmphsaebbkratayekidkhunemuxkarekhaaphiwhnngtamladbekidkhuninewlaikl kn karlwngsmphscahmdipthachwngewlarahwangkarekhaaphiwhnngekinkwa 0 3 winathi hrux 300 milliwinathi 3 swnnganwicynganhnungphbwa karisicinphiwhnngekhtxun ldradbkarkraoddkhxngsmphsinekhtphiwhnngthikalngthdsxb 10 swnnganwicyxiknganhnungphbwa khwamrusuklwngthiimidmikarekhaacring mikhwamsmphnthkbkarthanganthangprasathinekhtediywknkhxngaephnthikhwamrusuk thiekidkhunephraakarekhaacring 11 xyangirkdi klikthangprasaththiepnehtukhxngkarlwngsmphsaebbkratayyngimpraktmitwxyangthinasnickhxngkarlwngsmphsaebbkrataymakmay twxyangechn karlwngsmphsniimichcakdxyuphayinkayethann 12 khux emuxphurbkarthdlxngthuximaenbkhamplayniwchiaelarbkarekhaathiim phwkekhaaecngthungkhwamrusuklwngkhxngkarekhaathiimmitamlaim nibxkepnnywa praktkarnkrataythiphiwhnngimephiyngaetekiywkhxngkbaephnthi somatotopic phayinkayethann aetekiywkhxngkbaephnthiphaynxkkaythiekidkhunenuxngcakptismphnthrahwangkayaelasingkhxngphaynxkdwynxkcaknnaelw nganwicyyngaesdngwa karlwngsmphssamarthekidkhuninekhtrangkaythiimtidtxknechnkhamniw 13 dwy aetwa miphurbkarthdlxngbangswnthiimprasbpraktkarnnikhamplayniw 14 yngmipraktkarnnixikdwythnginaekhnediywknaelathngkhamaekhn 15 twkratunthangta echnifkraphribthicudtang tamladbaekhn xacmixiththiphltxpraktkarnni 16 nxkcakthangtaaelw aemaettwkratunthanghukxacmiptismphnthkbtwkratunthangsmphsthimiphltxpraktkarnni 17 inpi kh s 2009 nkwicythibristhfilips idsathitesuxaeckektthimimxetxreriyngepnaenwphayin thimikarxxkaebbihekidkhwamrusuksmphstang inkhnathiphuiskalngduphaphyntr phlitphnthnixasykarlwngsmphsthiphiwhnngaebbkratayephuxthicaldcanwnmxetxrthitxngich 18 aebbcalxng aekikhnkwicyhlayphwkidesnxaebbcalxngthangkhxmphiwetxrsahrbkarlwngsmphsaebbkratay 19 20 21 22 23 24 rabbkarrbrupraeminrayathangrahwangkarekhaatamladbthiphiwhnng mikhataekinip rupkhangbnaesdngtwkratun phrxmthngkhwamrusukkhxngtwkratunnnthiphiwhnng thiaesdngthihnaaekhn swnkrafdanlangaesdngkhxmulthiidinkarthdlxnginmnusyaelakhathiaebbcalxng Bayesian phyakrn 24 aebbcalxng Bayesian thitiphimphinpi kh s 2007 ihphlehmuxnkbkarlwngsmphsthiphiwhnngaebbkratay aelakarlwngprasathsmphsthiekiywkhxngkbphunthiaelakalewlaxyangxun aebbcalxngniaesdngwa wngcrprasathinsmxngekharhskarkhadhwngthisrangkhundwyprasbkarnrbruthangprasathsmphswa twkratunsmphsmkcaekhluxntwipxyangcha aebbcalxngsamarthphyakrnodyxnumanaebbkhwamnacaepninradbthiaemnyathisud optimal probabilistic inference odyrwmkhxmulekiywkbkhwamrusukodyphunthithimikhaimaennxn kbkhwamkhadhwngekiywkbkhwamekhluxnihwthiepnipxyangcha khwamkhadhwngwamikarekhluxnihwxyangcha nn miphlihrabbrbkhwamrusukthungkartdsinwa twkratunthiekhluxniptamladbxyangrwderwnn khwrcarusukidbnphiwhnngikl knekinkhwamcringinpi kh s 2013 aebbcalxngaebb Bayesian idrbkarphthnaephimkhun 24 thisamarthphyakrnkhwamrusukinmnusytxtwkratuntamladbaebbngay khuxaebbsxngcud aelatwkratunthisbsxnkhun ip khuxaebbhlaycud echnpraktkarnthxaebb 3 cud 3 tap tau effect aelakarlwngsmphsthiphiwhnngaebbkratayaebb 15 cud nxkcaknnaelw aebbcalxngsudthayni 24 samarthphyakrnkarrbruthimikarisicinphunthiechphaacudthixun emuxthdlxngrwmkbkarlwngsmphsthiphiwhnngaebbkratay 10 mikhwamsxdkhlxngkbkarlwngsmphsthiepnipnxkrangkay 12 aelaekhaknemuxkarlwngsmphsmixiththiphlcakkhwamrusukkhamprasathsmphs 16 miopraekrmkhxmphiwetxraebbfriaewrchuxwa Leaping Lagomorphs thiptibtikartamaebbcalxngni khuxthaaebbcalxngniihmiphl inkrnithimikarekhaasxngkhrngthiphiwhnng aebbcalxngniphyakrnrayathangrahwangkarekhaathirusuk twaepr l odyepnfngkchnkhxngrayathangrahwangkarekhaacring twaepr l aelakhxngewlarahwangkarekhaa twaepr t odysutrnil l 1 2 t t 2sutrnieriykwa perceptual length contraction formula sutryxrayathangthirusuk 23 24 thitngchux 23 ihmikhwamkhlaykhlungkbkaryxrayathangkhux length contraction thithvsdismphnthphaphkhxngixnsitnidklawthung ehmuxnkbphlthiehninkarthdlxngcring ihsngektwa l mikhanxykwa l yingkhunemux t nxylng aetemux t mikhasungkhun l mikhaekhasu l aelakarlwngsmphsnikcahayip 10 pharamietxrkhxngaebbcalxngkhux thx t epnkhakhngtwkhxngewlasahrbkarrbruphunthithangsmphs ukhakhxng t tdsinkhwamrwderwthirayathangthirusuk mikhaekhasurayathangcring emuxewlarahwangtwkratunthimakrathbphiwephimkhun rayathangthirusukethakb 1 3 khxngrayathangcring emux t t aelaethakb 2 3 khxngrayathangcring emux t 2t inbthkhwamtiphimphinpi kh s 2013 okldirkhaelathxngaesdngwa t epnxtraswnrahwangkhwamkhadhwngwamikarekhluxnihwxyangcha kbkhwamlaexiydkhxngkhwamrusuksmphsthiphiwhnng aelaraynganwa khakhxng t xyuthi 0 1 winathi sahrbhnaaekhnodypraman 24 karlwngsmphsthiekiywkhxngkn aekikhkarlwngsmphsthiduehmuxncamikhwamsmphnthxyangiklchidkbpraktkarnnikkhux praktkarnthx tau effect praktkarnthxekidkhunemuxphusngektkarntdsinrayathangrahwangtwkratunsxngtwthiaesdngthilatwtamladbtx kn tharayathangcaktwkratuntwhnungipyngtwkratunxiktwhnungethakn aetrayaewlathiphanipinrahwangkaraesdngtwkratunimethakn phurbkarthdlxngmkcamikarrbruxyangimthuktxngwa thamirayaewlainrahwangthisn rayathangkcasnipdwy 25 dngnn khlaykbkarlwngsmphsaebbkratay praktkarnthxaesdngwa khunlksnathangewlakhxngtwkratunmixiththiphltxkarrbrutwkratunodyphunthi inpi kh s 2007 nkwicyokldirkh 23 esnxwa thngkarlwngsmphsaebbkratayaelathngpraktkarnthxepnphlcakkarkhadhwnglwnghna priori expectation watwkratunekhluxnihwxyangmikhwamerwta aelacring aelwaebbcalxng Bayesian thiaesdngkarpraeminkhatakhxngrayathangodyrabbprasath khunxyukbkhwamerwkhxngkarekhaa thiklawiwinhmwdaebbcalxng samarthphyakrnpraktkarnthngsxngxyangid 24 echingxrrthaelaxangxing aekikh khawa saltation aeplwakraodd hmaythunglksnaehmuxnkbkarkraoddthipraktaekkhwamrusuk Geldard F A 13 October 1972 The Cutaneous Rabbit A Perceptual Illusion Science 178 4057 178 179 doi 10 1126 science 178 4057 178 PMID 5076909 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help 3 0 3 1 Geldard FA July 1982 Saltation in somesthesis Psychological Bulletin 92 1 136 75 PMID 7134325 Bremer CD December 1977 An illusion of auditory saltation similar to the cutaneous rabbit The American journal of psychology 90 4 645 54 PMID 610449 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Shore DI June 1998 Auditory saltation a new measure for an old illusion The Journal of the Acoustical Society of America 103 6 3730 3 PMID 9637053 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Getzmann S February 2009 Exploring auditory saltation using the reduced rabbit paradigm Journal of experimental psychology Human perception and performance 35 1 289 304 doi 10 1037 a0013026 PMID 19170489 Geldard FA June 1976 The saltatory effect in vision Sensory processes 1 1 77 86 PMID 1029079 Lockhead GR 1980 Saltation through the blind spot Perception and Psychophysics 27 6 545 9 PMID 7393702 Unknown parameter month ignored help Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Khuu SK Aug 15 2011 The influence of spatial orientation on the perceived path of visual saltatory motion Journal of vision 11 9 doi 10 1167 11 9 5 PMID 21844167 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help 10 0 10 1 10 2 Kilgard MP 23 February 1995 Anticipated stimuli across skin Nature 373 6516 663 doi 10 1038 373663a0 PMID 7854442 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Blankenburg Felix 1 January 2006 The Cutaneous Rabbit Illusion Affects Human Primary Sensory Cortex Somatotopically PLoS Biology 4 3 e69 doi 10 1371 journal pbio 0040069 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help 12 0 12 1 Miyazaki M Feb 3 2010 The cutaneous rabbit hopping out of the body The Journal of neuroscience 30 5 1856 60 doi 10 1523 JNEUROSCI 3887 09 2010 PMID 20130194 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Warren JP October 2010 Electrotactile stimuli delivered across fingertips inducing the Cutaneous Rabbit Effect Experimental brain research 206 4 419 26 doi 10 1007 s00221 010 2422 0 PMID 20862459 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Warren JP Nov 7 2011 Tactile perception do distinct subpopulations explain differences in mislocalization rates of stimuli across fingertips Neuroscience letters 505 1 1 5 doi 10 1016 j neulet 2011 04 057 PMID 21575679 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Eimer M B Foster and J Vibell Cutaneous Saltation within and across Arms A New Measure of the Saltation Illusion in Somatosensation Percept Psychophys 67 3 2005 458 68 Web 16 0 16 1 Asai T 22 October 2012 Cutaneous Rabbit Hops toward a Light Unimodal and Cross modal Causality on the Skin Frontiers in Psychology 3 427 doi 10 3389 fpsyg 2012 00427 PMID 23133432 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Trojan J 2009 Tactile auditory saltation Spatiotemporal integration across sensory modalities Neuroscience Letters 460 2 156 160 doi 10 1016 j neulet 2009 05 053 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Jones Willie D 18 March 2009 Jacket Lets You Feel the Movies EEE Spectrum Online Brigner WL April 1988 Saltation as a rotation of space time axes Percept Mot Skills 66 2 637 8 PMID 3399342 Wiemer J February 2000 Learning cortical topography from spatiotemporal stimuli Biological cybernetics 82 2 173 87 PMID 10664104 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Grush R September 2005 Internal models and the construction of time generalizing from state estimation to trajectory estimation to address temporal features of perception including temporal illusions Journal of neural engineering 2 3 S209 18 doi 10 1088 1741 2560 2 3 S05 PMID 16135885 Flach R 2006 The cutaneous rabbit revisited Journal of experimental psychology Human perception and performance 32 3 717 32 doi 10 1037 0096 1523 32 3 717 PMID 16822134 Unknown parameter month ignored help Unknown parameter coauthors ignored author suggested help 23 0 23 1 23 2 23 3 Goldreich D Mar 28 2007 A Bayesian perceptual model replicates the cutaneous rabbit and other tactile spatiotemporal illusions PLoS ONE 2 3 e333 doi 10 1371 journal pone 0000333 PMC 1828626 PMID 17389923 24 0 24 1 24 2 24 3 24 4 24 5 24 6 Goldreich D 10 May 2013 Prediction Postdiction and Perceptual Length Contraction A Bayesian Low Speed Prior Captures the Cutaneous Rabbit and Related Illusions Frontiers in Psychology 4 doi 10 3389 fpsyg 2013 00221 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Helson H 1931 The tau effect an example of psychological relativity J Exp Psychol 14 202 217 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help ekhathungcak https th wikipedia org w index php title karlwngsmphsthiphiwhnngaebbkratay amp oldid 5418010, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม