fbpx
วิกิพีเดีย

ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย

ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย (ของข้อมูล) หรือ ฮิวริสติกโดยความพร้อมใช้งาน (อังกฤษ: availability heuristic) เป็นทางลัดการแก้ปัญหา (ฮิวริสติก หรืออาจใช้คำว่าศึกษาสำนึกแทนคำว่าฮิวริสติกในกรณีที่ต้องการใช้คำไทย) โดยอาศัยตัวอย่างต่าง ๆ ที่นึกขึ้นได้เป็นอย่างแรก วิธีแก้ปัญหาชนิดนี้อาศัยไอเดียว่า ถ้าเราสามารถระลึกถึงอะไรได้ง่าย ๆ สิ่งนั้นจะต้องมีความสำคัญ และเพราะเหตุนั้น เรามักจะให้น้ำหนักกับข้อมูลที่ใหม่ที่สุด ทำให้มีความคิดเห็นเอนเอียงไปทางข่าวล่าสุด

นอกจากนั้นแล้ว สิ่งที่เรานึกได้เกี่ยวกับผลของการกระทำหนึ่ง ๆ จะมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกเกี่ยวกับความสำคัญของผลนั้น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ผลของการกระทำยิ่งระลึกถึงได้ง่ายแค่ไหน เราก็จะรู้สึกว่าผลนั้นมีความสำคัญยิ่งขึ้นเท่านั้น คือ เราไม่ได้เพียงแค่พิจารณาถึงข้อมูลที่ระลึกได้เมื่อทำการตัดสินใจ แต่เรายังใช้ความยากง่ายในการนึกถึงสิ่งนั้นเป็นข้อมูลอีกอย่างหนึ่งในการตัดสินใจ ซึ่งมีผลเด่นที่สุดอย่างหนึ่งคือ เราจะใช้ข้อมูลที่ระลึกได้ในการตัดสินใจถ้าข้อมูลนั้นไม่ได้ทำให้เกิดความน่าสงสัยเพราะยากที่จะระลึกถึง

มีหลักวิธีแก้ปัญหา 3 อย่างที่เราใช้เมื่อไม่แน่ใจ ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนในการประเมินความน่าจะเป็นหรือในการพยากรณ์ผล โดยใช้กระบวนการตัดสินใจที่ง่ายกว่า (ฮิวริสติก) คือ

  1. ความเป็นตัวแทนที่ดี ใช้เมื่อต้องตัดสินความน่าจะเป็นว่าวัตถุหรือเหตุการณ์ ก เป็นแบบหนึ่งหรือเป็นกระบวนการหนึ่งของ ข หรือไม่
  2. ความเข้าถึงได้ง่ายของตัวอย่างและสถานการณ์ (บทความนี้) ใช้เมื่อต้องประเมินความชุกของสิ่ง ๆ หนึ่ง หรือความเป็นไปได้ว่าเหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้น
  3. การปรับใช้ค่าที่มีอยู่ ใช้เมื่อต้องตัดสินค่าตัวเลขเมื่อรู้จักค่าที่อาจจะเข้าประเด็นกันค่าหนึ่ง

แม้ว่า การแก้ปัญหาโดยความเข้าถึงได้ง่ายของตัวอย่างและสถานการณ์บางครั้งจะได้ผลดี แต่ว่าจริง ๆ แล้ว ความง่ายต่อการคิดถึงเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ไม่ได้เป็นตัวสะท้อนที่ดีว่าเหตุการณ์นี้มีความน่าจะเป็นจริง ๆ ในชีวิตเท่าไร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าถามนักศึกษามหาวิทยาลัยว่า มีนักศึกษามาจากจังหวัดเลยหรือจังหวัดตากมากกว่ากัน คำตอบก็มักจะอาศัยข้อมูลตัวอย่างที่นักศึกษาจะระลึกได้ (แต่อาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง)

สาระสำคัญและประวัติ

เมื่อต้องตัดสินความน่าจะเป็นหรือความชุกของสิ่ง ๆ หนึ่งซึ่งเป็นงานที่ยาก เรามักจะใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ จำนวนหนึ่งที่เรียกว่า ฮิวริสติก เพื่อที่จะทำให้การตัดสินใจนั้นง่ายขึ้น กลยุทธ์อย่างหนึ่งก็คือฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งเป็นความโน้มน้าวที่จะตัดสินความชุกของเหตุการณ์หนึ่ง ๆ โดยอาศัยว่าง่ายเท่าไรในการที่จะระลึกถึงตัวอย่างเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน ในปี ค.ศ. 1973 อะมอส ทเวอร์สกี้ และแดเนียล คาฮ์นะมัน เริ่มการศึกษาปรากฏการณ์เช่นนี้และบัญญัติคำว่า "Availability Heuristic" ซึ่งเป็นกระบวนการใต้สำนึก (คือไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ) ที่ทำงานโดยหลักว่า "ถ้าสามารถนึกถึงได้ จะต้องเป็นสิ่งสำคัญ" กล่าวอีกอย่างก็คือ ยิ่งง่ายเท่าไรที่จะคิดถึงตัวอย่าง ความรู้สึกว่าสิ่งนี้เกิดบ่อยก็จะมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น เรามักจะใช้ลักษณะหรือข้อมูลที่คิดถึงได้ง่าย ๆ เป็นฐานในการตัดสินใจในเรื่องอื่น ๆ ที่อาจจะมีความเกี่ยวข้องกันน้อย

ในการทดลองที่ตรวจสอบปรากฏการณ์นี้ ทเวอร์สกี้และคาฮ์นะมันให้ผู้ร่วมการทดลองศึกษารายชื่อ 4 รายการ คือ สองรายการมีชื่อของหญิงมีชื่อเสียง 19 คน และชายมีชื่อเสียงน้อยกว่า 20 คน และสองรายการมีชื่อของชายมีชื่อเสียง 19 คนและหญิงมีชื่อเสียงน้อยกว่า 20 คน มีการให้ผู้ร่วมการทดลองกลุ่มแรกระลึกถึงชื่อให้มากที่สุดที่จะจำได้ และให้ผู้ร่วมการทดลองกลุ่มที่สองประเมินว่า มีชื่อผู้หญิงหรือผู้ชายมากกว่ากันในรายการ ผลปรากฏว่า ในกลุ่มแรก มีผู้ร่วมการทดลองถึง 57% ที่ระลึกถึงชื่อที่มีชื่อเสียงได้มากกว่า ในกลุ่มที่สอง ผู้ร่วมการทดลองถึง 80% ทำการประเมินผิดพลาดว่า มีชื่อผู้ชายหรือผู้หญิงมากกว่า คือถ้ารายการมีหญิงมีชื่อเสียง 19 คนและมีชายมีชื่อเสียงน้อยกว่า 20 คน ผู้ร่วมการทดลองก็จะประเมินผิด ๆ ว่า มีชื่อของผู้หญิงมากกว่า และในนัยตรงกันข้ามก็เช่นกัน แม้ว่า ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายอาจจะเป็นกลยุทธ์แก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์หลายอย่าง แต่ว่าเมื่อจะต้องตัดสินความน่าจะเป็น การแก้ปัญหาโดยวิธีนี้อาจนำไปสู่ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ

งานวิจัย

ในงานวิจัยปี ค.ศ. 1991 ของชวอร์ซ และคณะ มีการถามผู้ร่วมการทดลองให้กล่าวถึงตัวอย่างพฤติกรรมที่แสดงความมั่นใจ (assertive) และความไม่มั่นใจ (unassertive), หรือโดยนัยตรงกันข้ามกัน หลังจากนั้น ก็จะถามผู้ร่วมการทดลองว่าตนเองเป็นคนมีบุคคลิกมั่นใจหรือไม่มั่นใจ ผลการทดลองแสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองบอกว่าตนเองมีความไม่มั่นใจหลังจากกล่าวถึงพฤติกรรมไม่มั่นใจ 6 อย่าง มากว่าเมื่อต้องกล่าวถึงพฤติกรรม 12 อย่าง (ซึ่งทำได้ยากกว่า) คือจะกล่าวว่าตนเองเป็นคนมั่นใจมากกว่าถ้าต้องกล่าวถึงพฤติกรรมไม่มั่นใจ 12 อย่าง แม้ในการถามถึงพฤติกรรมโดยนัยตรงกันข้าม คือให้กล่าวถึงตัวอย่างพฤติกรรมความมั่นใจ ก็มีนัยเดียวกัน ผลงานทดลองนี้แสดงว่า ข้อสรุป (หรือการตัดสินใจ) อาศัยความรู้หรือข้อมูลที่เรามี (เช่นสรุปว่าเราเป็นคนมั่นใจหรือไม่มั่นใจ) นั้น จะได้รับอิทธิพลจากความยากง่ายในการระลึกถึงความรู้หรือข้อมูลนั้น

ในงานวิจัย ปี ค.ศ. 1973 มีการถามผู้ร่วมการทดลองว่า "ถ้าเอาคำศัพท์มาจากหนังสืออังกฤษโดยสุ่ม มีโอกาสมากกว่าที่คำนั้น ๆ จะเริ่มด้วยอักษร K หรือว่ามีอักษร K เป็นอักษรที่สามของคำ" คนพูดอังกฤษได้จะสามารถนึกถึงคำต่าง ๆ มากมายที่เริ่มด้วย "K" (เช่น kangaroo, kitchen, kale) แต่ว่า ต้องอาศัยความพยายามมากกว่าในการคิดถึงคำหนึ่ง ๆ ที่มีอักษร "K" เป็นตัวที่สาม (เช่น acknowledge, ask) ผลงานวิจัยแสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองประเมินความน่าจะเป็นของคำที่เริ่มต้นด้วย K เกินความจริง และประเมินคำที่มี K เป็นอักษรตัวที่สามต่ำเกินไป นักวิจัยสรุปว่า คนเราตอบคำถามเช่นนี้ด้วยการเปรียบเทียบความน่าจะเป็นของสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยประเมินว่า สามารถระลึกถึงตัวอย่างต่าง ๆ ได้ง่ายขนาดไหน กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เพราะว่า การคิดถึงคำที่เริ่มต้นด้วยตัว K ง่ายกว่าที่จะคิดถึงคำที่มี K เป็นอักษรที่สาม ดังนั้น เราจึงตัดสินใจว่าคำที่เริ่มต้นด้วย K เป็นคำที่มีมากกว่า แต่จริง ๆ แล้ว ปรากฏว่า หนังสือโดยทั่ว ๆ ไปมีคำที่มี K เป็นอักษรที่สามมากกว่าคำที่เริ่มต้นด้วย K ถึงสามเท่า

ในปี ค.ศ. 1967 แช็ปแมนได้พรรณนาถึงความเอนเอียงในการตัดสินความชุกของเหตุการณ์ 2 อย่างที่เกิดขึ้นด้วยกัน ซึ่งแสดงว่า การมีสิ่งเร้าสองอย่างเกิดขึ้นด้วยกันมีผลให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินความชุกของการเกิดขึ้นด้วยกันมากเกินไป คือ มีการให้ข้อมูลสมมุติเกี่ยวกับคนไข้โรคจิตหลายคน โดยที่ข้อมูลของคนไข้แต่ละคนจะมีการวินิจฉัยทางคลินิกและรูปที่วาดโดยคนไข้ หลังจากนั้น ก็ให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินความชุกของข้อวินิจฉัยแต่ละอย่างที่มาด้วยกันกับลักษณะต่าง ๆ ของรูปวาด (เช่นความขี้ระแวงของคนไข้และรูปตาที่แปลก ๆ) ผู้ร่วมการทดลองทำการประเมินถึงความชุกของการเกิดขึ้นด้วยกันมากเกินไป ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่แช็ปแมนได้เรียกว่า illusory correlation (สหสัมพันธ์ลวง) ทเวอร์สกี้และคาฮ์นะมันเสนอว่า ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายเป็นคำอธิบายโดยธรรมชาติของปรากฏการณ์สหสัมพันธ์ลวง กำลังของความสัมพันธ์ระหว่างสองเหตุการณ์ (ที่เป็นอัตวิสัย) สามารถใช้เป็นฐานในการตัดสินใจว่าเหตุการณ์สองอย่างนี้เกิดขึ้นด้วยกันบ่อยครั้งแค่ไหนเป็นอย่างดี คือ เมื่อมีความสัมพันธ์ (โดยอัตวิสัย) ที่มีกำลัง ก็จะมีโอกาสสูงขึ้นที่จะสรุปว่า เหตุการณ์สองอย่างนี้เกิดขึ้นด้วยกันบ่อย ๆ

ในงานวิจัยปี ค.ศ. 1992 มีการเปลี่ยนอารมณ์เพื่อดูผลต่อฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย คือมีการให้ผู้ร่วมการทดลองอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์เศร้า หรือมีความสุข ผู้ที่มีอารมณ์เศร้าสามารถระลึกถึงความจำได้ดีกว่าผู้ที่มีความสุข ซึ่งแสดงว่ากำลังของปรากฏการณ์นี้สามารถเปลี่ยนไปได้ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง

ตัวอย่าง

  • ชายคนหนึ่งอ้างกับเพื่อนว่า คนที่ขับรถสีแดงได้รับใบสั่งขับรถเร็วบ่อยกว่า เพื่อน ๆ ของเขาเห็นด้วยเพราะว่า มีคนในกลุ่มนั้นที่ขับรถสีแดงและได้รับใบสั่งเหตุขับรถเร็วบ่อย ๆ แต่ความจริงอาจจะเป็นว่า เพราะว่าขับรถเร็ว ก็เลยได้รับใบสั่ง ไม่ว่าจะขับรถสีอะไร และถึงแม้ว่า จะมีสถิติจริง ๆ ที่แสดงว่ามีการให้ใบสั่งเพราะขับรถเร็วกับคนที่ขับรถสีแดงน้อยกว่าสีอื่น ๆ แต่ว่า ตัวอย่างของเพื่อนคนนั้นเป็นตัวอย่างพร้อมใช้งาน คือระลึกถึงได้ง่าย และดังนั้นก็จะทำให้คำกล่าวนั้นฟังน่าเชื่อถือกว่า
  • เมื่อเรื่องเล่าเรื่องเดียว (เช่น "ผมรู้จักคนหนึ่งที่ ...") ใช้เป็นข้อพิสูจน์ประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือเพื่อสนับสนุนความคิดที่มีความเอนเอียง จะมีการใช้ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายปะปนอยู่ด้วย ในกรณีนี้ ความง่ายในการคิดถึงตัวอย่าง หรือความแจ่มชัดและอิทธิพลทางอารมณ์ของตัวอย่างนั้น ทำให้ตัวอย่างนั้นกลายเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือมากกว่าความน่าจะเป็นจริง ๆ ทางสถิติเสียอีก และเพราะว่า ตัวอย่างนั้นคิดถึงได้ง่าย คือเป็นตัวอย่างพร้อมใช้งาน เราจึงพิจารณาตัวอย่างเดียวนั้นเหมือนกับเป็นตัวแทนเรื่องนั้นทั้งหมด แทนที่จะเป็นเพียงแค่ตัวอย่างตัวอย่างเดียวในบรรดาข้อมูลทั้งหมดที่มี (ดูเรื่องการใช้ตัวอย่างเดียวเป็นหลักฐานใน "หลักฐานโดยเรื่องเล่า") ตัวอย่างหนึ่งก็คือบุคคลหนึ่งอ้างว่า การสูบบุหรี่ไม่ได้ทำให้สุขภาพเสีย เพราะว่าคุณปู่ของเขาสูบบุหรี่วันละสามซองทุกวันและมีชีวิตถึง 100 ปี แต่จริง ๆ แล้ว คุณปู่ของเขาอาจจะเป็นข้อยกเว้นหนึ่งในประเด็นปัญหาสุขภาพเนื่องจากสูบบุหรี่
  • บุคคลหนึ่งเห็นข่าวหลายเรื่องเกี่ยวกับแมวที่กระโดดจากต้นไม้สูงแต่ไม่ตาย ดังนั้นเขาจึงเชื่อว่าแมวนั้นไม่มีปัญหาในการตกลงจากที่สูง แต่ว่า จริง ๆ แล้ว ข่าวที่รายงานเช่นนี้อาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน้อยกว่าที่แมวตกลงมาแล้วตาย
  • คนที่เริ่มรับหนังสือพิมพ์ทุกวันอาจจะเปรียบเทียบจำนวนหนังสือพิมพ์ที่นำมาส่งกับจำนวนที่ไม่ได้นำมาส่ง เพื่อคำนวณความล้มเหลวในการส่งหนังสือพิมพ์ ในกรณีเช่นนี้ การคำนวณนั้นจะขึ้นอยู่กับเรื่องที่จำได้ แต่ว่า การนึกถึงเหตุการณ์ที่มีการส่งและไม่มีการส่งในช่วงระยะเวลายาวให้ได้ทั้งหมด เป็นเรื่องยาก
  • หลังจากที่เห็นข่าวหลายเรื่องเกี่ยวกับธนาคารเข้ายึดบ้าน เราอาจจะตัดสินใจว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยกว่าความจริง ซึ่งอาจจะเป็นความจริงเพียงแค่ว่า เป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะนึกถึงเหตุการณ์เหล่านี้

ในชีวิตจริง

สื่อ

หลังจากที่เห็นข่าวหลายเรื่องเกี่ยวกับการลักพาตัวเด็ก เราอาจจะตัดสินใจว่า เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นบ่อยกว่าความเป็นจริง คือ สื่อสามารถช่วยทำให้เรามีคิดที่มีความเอนเอียงเพิ่มขึ้น โดยทำเหตุการณ์ที่ไม่ทั่วไปให้เป็นข่าวแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง เช่นเรื่องฆาตกรรม อุบัติเหตุเครื่องบิน และไม่ทำเรื่องที่ปกติทั่วไปแต่ไม่เร้าใจให้เป็นข่าว เช่นโรคที่สามัญและอุบัติเหตุรถยนต์ต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อถามถึงความน่าจะเป็นของเหตุต่าง ๆ ของการเสียชีวิต เรามักจะกล่าวถึงเหตุน่าสนใจพอที่จะเป็นข่าวได้ว่าเป็นไปได้มากกว่า เพราะว่า เราสามารถระลึกถึงตัวอย่างเหล่านั้นได้ดีกว่า นอกจากนั้นแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยแต่ชัดเจนเช่น ฆาตกรรม การถูกฉลามทำร้าย หรือการถูกฟ้าผ่ามักจะรับการรายงานในสื่อ (ฝรั่ง) มากกว่าเหตุของความตายต่าง ๆ ที่สามัญแต่ไม่เร้าใจเช่นโรคสามัญธรรมดา ๆ

ยกตัวอย่างเช่น หลายคนคิดว่ามีโอกาสที่จะตายเพราะถูกฉลามทำร้ายมากกว่าที่จะตายเพราะถูกชิ้นส่วนจากเครื่องบินตกใส่ แม้ว่าความจริงแล้ว จะมีคนตายเพราะถูกชิ้นส่วนจากเครื่องบินตกใส่มากกว่า เราคิดผิดอย่างนี้ก็เพราะว่า เมื่อมีคนถูกฉลามทำร้าย เหตุเสียชีวิตนั้นมักจะมีการสื่อข่าวไปอย่างกว้างขวาง แต่การเสียชีวิตเพราะถูกชิ้นส่วนจากเครื่องบินตกใส่ไม่ค่อยได้รับการออกข่าว

ในงานวิจัยปี ค.ศ. 2010 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรายการโทรทัศน์ที่เหมือนชีวิตจริงกับการเข้าใจถึงชีวิตในสังคมพบว่า คนที่ดูรายการโทรทัศน์รุนแรงเหมือนจริงให้การประเมินว่า มีความชุกของอาชญากรรมและความไร้ศีลธรรมของพวกตำรวจในระดับที่สูงกว่าคนที่ไม่ได้ดู ผลงานวิจัยเช่นนี้บอกเป็นนัยว่า ความรุนแรงที่แสดงในโทรทัศน์มีผลโดยตรงต่อความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นไปในสังคม และการรับเรื่องความรุนแรงที่เหมือนจริงบ่อย ๆ นำไปสู่การประเมินถึงความชุกของอาชญากรรมและความรุนแรงในสังคมที่เพิ่มระดับขึ้น

ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีงานวิจัยที่แสดงผลค้านการค้นพบเช่นนั้น คือ นักวิจัยที่ทำงานคล้าย ๆ กันอ้างว่า ความเชื่อที่มีความเอนเอียงเหล่านี้อาจเกิดจากการได้รับข้อมูลใหม่ คือ นักวิจัยได้ตรวจสอบผลของข้อมูลใหม่ โดยให้ผู้ร่วมการทดลองดูหนังที่แสดงเหตุการณ์เสี่ยงภัยที่ผาดโผน แล้ววัดการประเมินความเสี่ยงของผู้ร่วมการทดลองหลังได้ดูหนัง ผลที่พบก็คือ โดยเฉลี่ยแล้ว ไม่ปรากฏว่าผู้ร่วมการทดลองรู้สึกว่ามีความเสี่ยงสูงขึ้น แม้ว่าหนังจะแสดงภัยอันตรายที่ดูน่าจะเป็นไปได้ ดังนั้นโดยรวม ๆ แล้ว ผลงานวิจัยนี้คัดค้านงานทดลองก่อน ๆ

สุขภาพ

ในปี ค.ศ. 1991 นักวิจัยได้ทำการตรวจสอบวิธีแก้ปัญหาทางประชานในกระบวนการประเมินความเสี่ยงของโรคเอดส์ นายแพทย์ 331 คนได้รายงานว่ามีความวิตกกังวลว่าจะติดเชื้อเอชไอวีเพราะเหตุแห่งอาชีพ และเพราะทำงานกับคนไข้ที่มีเชื้อเอชไอวี โดยวิเคราะห์คำตอบที่ได้มาจากนายแพทย์ นักวิจัยสรุปว่า ข้อมูลความจริงที่มีเกี่ยวกับเอดส์ ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความรู้สึกเกี่ยวกับความเสี่ยง (คือแม้ว่าข้อมูลอาจจะบอกว่าความเสี่ยงมีในระดับต่ำ แต่แพทย์ก็ยังรู้สึกเสียวว่าจะติดโรคอยู่ดี)

ในปี ค.ศ. 1992 มีการให้ผู้ร่วมการทดลองอ่านคำพรรณนาถึงคนไข้สมมุติที่มีเพศต่าง ๆ กันมีความชอบใจทางเพศต่าง ๆ กัน คนไข้สมมุติเหล่านี้แสดงอาการของโรคสองโรค ผู้ร่วมการทดลองต้องบอกว่า ตนคิดว่าคนไข้เหล่านั้นมีโรคอะไร แล้วให้คะแนนคนไข้เกี่ยวกับความเป็นผู้มีความรับผิดชอบและความน่าพึงใจทางสังคม ผลที่ได้ปรากกฏว่าเข้ากับปรากฏการณนี้ คือ ผู้ร่วมการทดลองจะเลือกถ้าไม่โรคไข้หวัดใหญ่ (ที่เกิดบ่อย ๆ) ก็โรคเอดส์ (ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลมากกว่า)

ธุรกิจและเศรษฐกิจ

งานวิจัยหนึ่งทำการวิเคราะห์บทบาทของฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายในตลาดหลักทรัพย์ คือ นักวิจัยได้กำหนดและทดสอบแบบสองอย่างของปรากฏการณ์นี้

  • ความพร้อมใช้งานของผล (outcome availability) คือผลบวกหรือผลลบในการลงทุน - โดยใช้ดัชนีของตลาดหลักทรัพย์เป็นตัวแทน
  • ความพร้อมใช้งานของความเสี่ยง (risk availability) - โดยใช้ระดับความเคลื่อนไหวของดัชนีเป็นตัวแทน

นักวิจัยได้พบว่า

  • ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นที่เป็นการตอบสนองต่อการยกระดับคำแนะนำหุ้น (ของนักวิเคราะห์หุ้น) มีกำลังกว่าถ้าดัชนีมีผลบวกในวันนั้น และราคาหุ้นลดลงที่เป็นการตอบสนองต่อการลดระดับคำแนะนำหุ้นมีกำลังกว่าถ้าดัชนีมีผลลบในวันนั้น ซึ่งนักวิจัยแสดงว่าเป็นผลของ outcome availability คือการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายคือดัชนีในวันนั้น
  • ในวันที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีความเปลี่ยนแปลงมาก (คือมีความเสี่ยงสูง) ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นผิดปกติที่เป็นการตอบสนองต่อการยกระดับคำแนะนำหุ้นมีกำลังอ่อน และราคาหุ้นที่ลดลงผิดปกติที่เป็นการตอบสนองต่อการลดระดับคำแนะนำหุ้นมีกำลังมากกว่า ซึ่งเป็นผลของ risk availability คือการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายคือความแปรปรวนของดัชนีในวันนั้น
  • ผลของปรากฏการณ์นี้ทั้งสองรูปแบบก็ยังมีนัยสำคัญแม้เมื่อควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่เฉพาะบริษัทหรือเฉพาะเหตุการณ์

งานวิจัยได้ชี้ว่า เพราะเราใช้ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย มนุษย์อาจจะเชื่อถือไม่ได้เพราะประเมินความน่าจะเป็นโดยให้น้ำหนักต่อข้อมูลปัจจุบันหรือข้อมูลที่ระลึกถึงได้ง่าย แทนที่จะใช้ข้อมูลที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกันทั้งหมด เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่หาได้ง่าย นักวิจัยกลุ่มต่าง ๆ ได้พยายามระบุคุณสมบัติต่าง ๆ ในวัฏจักรธุรกิจ เพื่อจะพยากรณ์ความเอนเอียงโดยความพร้อมใช้งานในงานพยากรณ์ธุรกิจของนักวิเคราะห์ และพบว่า มีความเอนเอียงโดยความพร้อมใช้งานในงานพยากรณ์ธุรกิจของนักวิเคราะห์ ซึ่งมีผลต่อการลงทุน

โดยสาระก็คือ นักลงทุนใช้ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายเพื่อการตัดสินใจในการลงทุน และเพราะเหตุนั้น อาจจะไม่ได้ประสิทธิภาพการลงทุนที่ดี เช่น ความรู้สึกที่ยืดเยื้อเกี่ยวกับสภาพของตลาดที่ไม่ดีอาจจะทำให้มองโอกาสต่าง ๆ ในการลงทุนในแง่ลบเกินไป ทำให้ไม่รู้สึกว่าควรจะเสี่ยงลงทุน ไม่ว่ากำไรที่ได้จากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่รู้สึกว่า "ปลอดภัย" จะน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะแสดงเนื้อความนี้ มีงานสำรวจประจำปีของบริษัทลงทุน Franklin Templeton ที่ถามคนที่สำรวจว่า ตนเชื่อว่าดัชนีหุ้น S&P 500 ทำเงินได้ดีขนาดไหนในปี ค.ศ. 2009, 2010 และ 2011 66% ของผู้ตอบกล่าวว่า ตนเชื่อว่าตลาดหุ้นไม่กระเตื้อง หรือเชื่อว่าตกลงในปี ค.ศ. 2009 48% บอกอย่างเดียวกับสำหรับปี ค.ศ. 2010 และ 53% บอกอย่างเดียวกับสำหรับปี ค.ศ. 2011 แต่จริง ๆ แล้ว ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 26.5% ในปี ค.ศ. 2009 เพิ่มขึ้น 15.1% ในปี ค.ศ. 2010 และเพิ่มขึ้น 2.1% ในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งแสดงว่า ความรู้สึกที่ยืดเยื้อที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรงและที่ทำให้เกิดความช้ำใจ (เช่นตลาดหลักทรัพย์ที่มีผลลบในปีก่อน ๆ) สามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจแม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะได้ยุติไปแล้ว

นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยในปี ค.ศ. 2009 พบว่า ความยากง่ายในการระลึกถึงบุคคลอื่น ๆ ที่เชื่อว่าการกระทำหนึ่ง ๆ นั้นยอมรับได้โดยศีลธรรม มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกทางศีลธรรมในเรื่องนั้นของบุคคลนั้น ผลงานวิจัยนี้บอกเป็นนัยว่า ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายมีอิทธิพลเกี่ยวกับความคิดและพฤติกรรมทางจริยธรรมภายในองค์กรต่าง ๆ (ดังนั้น ถ้ามีตัวอย่างที่ไม่ดีให้นึกถึงได้ง่าย ก็จะมีความรู้สึกว่าเรื่องที่ไม่ดีนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้โดยศีลธรรม)

การศึกษา

งานวิจัยในปี ค.ศ. 2006 ของเครก ฟ๊อกซ์ ให้ตัวอย่างของการใช้ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายในห้องเรียน ในงานวิจัยนี้ ฟ๊อกซ์ทดสอบว่า ความยากลำบากในการระลึกถึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอย่างไร โดยเฉพาะในการประเมินหลักสูตรของนักศึกษามหาวิทยาลัย คือ ฟ๊อกซ์ให้นักศึกษาสองกลุ่มกรอกใบประเมินหลักสูตร โดยให้กลุ่มแรกเขียนข้อแนะนำในการปรับปรุงหลักสูตรสองข้อ (ซึ่งทำได้ค่อนข้างง่าย) แล้วให้เขียนสิ่งที่ประทับใจสองอย่างในหลักสูตรนั้น และให้กลุ่มที่สองเขียนข้อแนะนำที่ศาสตราจารย์ผู้สอนสามารถปรับปรุงตัวสิบข้อ (ซึ่งทำได้ยาก) แล้วให้เขียนสิ่งที่ประทับใจสองอย่างในหลักสูตรนั้น ในที่สุดของการประเมิน ก็ให้นักศึกษาทั้งสองกลุ่มให้คะแนนหลักสูตรระหว่าง 1 ถึง 7 ผลงานวิจัยแสดงว่า นักศึกษาที่ต้องเขียนข้อแนะนำ 10 อย่าง ให้คะแนนหลักสูตรดีกว่าเพราะประสบความยากลำบากในการระลึกถึงข้อมูลเชิงลบ ส่วนนักศึกษาที่คิดถึงสิ่งที่ควรปรับปรุงสองอย่างสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายกว่า ดังนั้นจึงให้คะแนนหลักสูตรแย่กว่า

การพิพากษาคดีอาญา

สื่อข่าวมักจะพุ่งความสนใจไปที่อาชญากรรมที่รุนแรงหรืออุกฉกรรจ์ ซึ่งสาธารณชนคิดถึงได้ง่าย ซึ่งอาจจะมีบทบาทต่อกระบวนการทางศาลในการประเมินและตัดสินการลงโทษที่สมควรสำหรับอาชญากร ในงานวิจัยหนึ่งในปี ค.ศ. 1993 ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนว่าเห็นด้วยกับกฎหมายหรือกับนโยบายที่สมมุติขึ้นเช่น "คุณสนับสนุนกฎหมายที่ให้ผู้ต้องโทษคดีปล้นทรัพย์โดยไม่ได้ใช้อาวุธทุกคน ต้องติดคุกเป็นเวลาสองปีหรือไม่" แล้วจึงให้ผู้ร่วมการทดลองอ่านเค้สคดีและตัดสินโทษโดยใช้คำถามหลายคำถามเกี่ยวกับการลงโทษ และผลก็ออกมาตรงตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ คือผู้ร่วมการทดลองสามารถระลึกถึงคดีอุกฉกรรจ์ต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าจากความจำระยะยาว ซึ่งดูเหมือนจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินโทษคือทำให้ผู้ร่วมการทดลองชอบใจโทษที่หนักกว่า แต่ว่านักวิจัยสามารถลดระดับอิทธิพลนี้ได้โดยแสดงรายละเอียดที่ชัดเจนหรือแปลกเกี่ยวกับความบาดเจ็บที่ลดความสาหัสลงที่เกิดจากอาชญากรรม (คือไม่เท่ากับที่สื่อมักจะแสดง)

งานวิจัยคล้าย ๆ กันอีกงานหนึ่งในปี ค.ศ. 1989 ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเลือกการลงโทษในคดีอาชญาอุกฉกรรจ์สี่คดี ที่การลงโทษจำคุกเป็นการลงโทษที่ทำได้แต่ไม่จำเป็นต้องทำ มีการให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินการลงโทษของศาลโดยอาศัยข้อมูลอาชญากรรมและการลงโทษที่เผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ เพราะสื่อข่าวมักจะเสนอข่าวที่เลือกสรรไม่เป็นตัวแทนที่ดีของคดีที่มีอยู่ทั่วไปจริง ๆ คือพุ่งความสนใจไปที่คดีร้ายแรงหรืออุจฉกรรจ์แทนที่จะเสนอคดีทั่ว ๆ ไป การระลึกถึงข้อมูลเช่นนี้ทำให้ผู้ร่วมการทดลองคิดว่า ศาลตัดสินเบาเกินไป แต่ว่า เมื่อให้ผู้ร่วมการทดลองเลือกการลงโทษเอง โทษที่เลือกกลับเทียบเท่าหรือเบากว่าที่ศาลให้ กล่าวอีกนัยก็คือ ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายทำให้ผู้ร่วมการทดลองเชื่อว่าศาลและลูกขุนตัดสินลงโทษเบาเกินไป แต่ผู้ร่วมการทดลองกลับให้การลงโทษที่คล้ายกับผู้พิพากศาลเอง ซึ่งบอกเป็นนัยว่า ข้อมูลที่ระลึกได้ไม่ถูกต้อง

นักวิจัยในงานปี ค.ศ. 1989 พยากรณ์ว่า ลูกขุนสมมุติจะให้คะแนนพยานว่า ไม่น่าเชื่อถือถ้าพยานให้การตามความเป็นจริง ก่อนที่จะให้การเท็จ มากกว่าถ้าพยานถูกจับได้ว่าให้การเท็จ ก่อนที่จะให้การตามความเป็นจริง เพราะว่า ถ้าฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายมีบทบาทในเรื่องนี้ การให้การเท็จทีหลังก็จะยังอยู่ในใจของพวกลูกขุน (เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นล่าสุด) และจะทำให้มีโอกาสจำพยานว่าให้การเท็จมากกว่าให้การจริง เพื่อที่จะทดสอบสมมุติฐานนี้ มีการให้นักศึกษามหาวิทยาลัย 312 คนเล่นเป็นลูกขุนสมมุติและดูเทปวีดิโอของพยานที่ให้การ ผลการทดลองรับรองสมมุติฐานของนักวิจัย คือลูกขุนสมมุติได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์ที่เกิดล่าสุดมากกว่า

ข้อวิจารณ์

นักวิจัยบางท่านเสนอว่า สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเหตุผลของเหตุการณ์หนึ่ง ๆ และไม่ใช่จินตนาภาพของเหตุการณ์นั้น ๆ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการประเมินความน่าจะเป็นของผล หลักฐานที่สนับสนุนไอเดียนี้มาจากงานวิจัยที่ให้ผู้ร่วมการทดลองจินตนาการถึงผู้ชนะการอภิปราย หรือให้คิดถึงเหตุผลว่าทำไมนายโรนัลด์ เรแกน หรือนายวอลเตอร์ มอนเดล์ จะชนะการอภิปรายเนื่องด้วยการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1984 ผลงานวิจัยนี้แสดงว่า การจินตนาการว่า นายเรแกนหรือนายมอนเดล์ชนะการอภิปราย ไม่มีผลต่อการพยากรณ์ว่าใครจะชนะการอภิปราย แต่ว่า การจินตนาการและการพิจารณาถึงเหตุผลว่าทำไมนายเรแกนหรือนายมอนเดล์จะชนะ มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อการพยากรณ์

ส่วนนักจิตวิทยาพวกอื่น ๆ เสนอว่า งานวิจัยคลาสสิกทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายคลุมเครือและไม่ได้อธิบายถึงกระบวนการทางประชานที่เป็นฐานของการตัดสินใจ ยกตัวอย่างเช่น เกี่ยวกับงานวิจัยปี ค.ศ. 1973 ที่มีชื่อเสียงของทเวอร์สกี้และคาฮ์นะมัน แว้งก์และคณะเชื่อว่า ความยากง่ายที่ไม่เหมือนกันในการระลึกถึงความจำ สามารถปรับเปลี่ยนการประเมินความสามัญของชื่อได้โดยสองวิธี ในวิธีหนึ่ง ดังที่สมมุติฐานเกี่ยวกับฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายได้แสดงแล้ว ผู้รับการทดลองจะใช้ความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัยเกี่ยวกับความยากง่ายในการระลึกถึงชื่อเป็นฐานในการตัดสินใจ ซึ่งถ้าเป็นโดยวิธีนี้ ก็จะสามารถพยากรณ์การตัดสินใจของผู้ร่วมการทดลองว่า จะแสดงความชุกในระดับที่สูงกว่าของชื่อที่ระลึกได้ง่ายกว่า ส่วนวิธีที่สองที่ใช้เปรียบเทียบกัน นักวิจัยเสนอว่า ผู้ร่วมการทดลองอาจจะระลึกถึงชื่อแต่ละประเภทให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในเวลาที่ให้ แล้วตัดสินใจโดยใช้ชื่อที่ระลึกได้เป็นฐาน (ไม่ได้ใช้ความยากง่าย) ถ้าชื่อที่ระลึกได้ง่ายกว่าเริ่มด้วยอักษรใดอักษรหนึ่ง ก็จะระลึกถึงชื่อเช่นนั้นได้มากกว่าชื่ออื่น ๆ และก็จะสามารถพยากรณ์การตัดสินใจของผู้ร่วมการทดลองว่า จะแสดงความชุกในระดับที่สูงกว่าของชื่อเหล่านั้น แต่ว่าในกรณีที่สอง การตัดสินใจจะมีฐานเป็นสิ่งที่ระลึกถึงได้ ไม่ใช่มีฐานเป็นความรู้สึกตามอัตวิสัยของความยากง่ายในการระลึกถึงความจำ

มีนักวิจัยบางพวกคิดว่า อาจมีตัวแปรสับสน (confounding variable) ในงานวิจัยดั้งเดิมของทเวอร์สกี้และคาฮ์นะมัน คือนักวิจัยตั้งของสงสัยว่า ผู้ร่วมการทดลองตัดสินความสามัญของชื่อคนมีชื่อเสียงโดยมีฐานเป็นข้อมูลที่ระลึกได้ หรือว่ามีฐานเป็นความยากง่ายในการระลึกได้ ส่วนนักวิจัยบางพวกเสนอว่า แบบการทดลองในยุคต้น ๆ มีปัญหาและไม่สามารถกำหนดจริง ๆ ได้ว่า ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายมีการทำงานอย่างไร

งานวิจัยในปี ค.ศ. 1995 แสดงหลักฐานว่า ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายเป็นกลยุทธ์เพียงอย่างหนึ่งในกลยุทธ์หลายอย่างที่มนุษย์ใช้ในการประเมินความสามัญของสิ่ง ๆ หนึ่ง งานวิจัยในอนาคตควรที่จะพยายามทำการวิเคราะห์โดยพิจารณากลยุทธ์อื่น ๆ เหล่านี้ด้วย

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ availability ว่า "สภาพพร้อมใช้งาน"
  2. Phung, Albert (2009-02-25). "Behavioral Finance: Key Concept- Overreaction and Availability Bias". Investopedia. p. 10. สืบค้นเมื่อ 2013-12-01.
  3. Schwarz, Bless, Strack, Klumpp, Rittenauer-Schatka & Simons (1991). "Ease of retrieval as information: Another look at the availability heuristic". Journal of Personality and Social Psychology 61 (2): 195-202)
  4. Kahneman, Daniel; Tversky, Amos (September 1974). "Judgment under Uncertainty: Heuristics and Biases". Science 185: 1124-1131.
  5. Tversky, A; Kahneman (1973). "Availability: A heuristic for judging frequency and probability" (PDF). Cognitive Psychology. 5 (1): 207–233. doi:10.1016/0010-0285(73)90033-9. สืบค้นเมื่อ 2014-09-09.
  6. Matlin, Margaret (2009). Cognition. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons, Inc. p. 413. ISBN 978-0-470-08764-0.
  7. Kahneman, D; Tversky, A (1982-01). "The psychology of preferences". Scientific American. 246: 160–173. doi:10.1038/scientificamerican0182-160. Check date values in: |date= (help)
  8. Schwarz, N; Strack, F.; Bless, H.; Klumpp, G.; Rittenauer-Schatka, H.; Simons, A. (1991). "Ease of retrieval as information: Another look at the availability heuristic". Journal of Personality and Social Psychology. 61 (2): 195–202. doi:10.1037/0022-3514.61.2.195.
  9. Chapman, L.J (1967). "Illusory correlation in observational report". Journal of Verbal Learning. 6: 151–155. doi:10.1016/s0022-5371(67)80066-5.
  10. MacLeod, C; Campbell, L. (1992). "Memory accessibility and probability of judgements:An experimental evaluation of the availability heuristic". Journal of Personality and Social Psychology. 63 (6): 890–902. doi:10.1037/0022-3514.63.6.890.
  11. Manis, Melvin; Shelder, J.; Jonides, J.; Nelson, N.E. (1993). "Availability Heuristic in Judgments of Set Size and Frequency of Occurrence". Journal of Personality and Social Psychology. 65 (3): 448–457. doi:10.1037/0022-3514.65.3.448.
  12. Esgate, Groome, A, D (2004). An Introduction to Applied Cognitive Psychology. Psychology Press. ISBN 1-84169-317-0.
  13. Folkes, Valerie S. (1988-06). "The Availability Heuristic and Perceived Risk". Journal of Consumer Research. 15 (1). Check date values in: |date= (help)
  14. Briñol, P; Petty, R.E; Tormala, Z.L. (2006). "The malleable meaning of subjective ease". Psychological Science. 17: 200–206. doi:10.1111/j.1467-9280.2006.01686.x.
  15. Read, J.D. (1995). "The availability heuristic in person identification: The sometimes misleading consequences of enhanced contextual information". Applied Cognitive Psychology. 9: 91–121. doi:10.1002/acp.2350090202.
  16. Riddle, Karen (2010). "Always on My Mind: Exploring How Frequent, Recent, and Vivid Television Portrayals Are Used in the Formation of Social Reality Judgments". Media Psychology. 13: 155–179. doi:10.1080/15213261003800140.
  17. Sjoberg, Lennart; Engelberg, E. (2010). "Risk Perception and Movies: A Study of Availability as a Factor in Risk Perception". Risk Analysis. 30 (1): 95–106. doi:10.1111/j.1539-6924.2009.01335.x.
  18. Heath, Linda; Acklin, M.; Wiley, K. (1991). "Cognitive heuristics and AIDS risk assessment among physicians". Journal of Applied Social Psychology. 21 (22): 1859–1867. doi:10.1111/j.1559-1816.1991.tb00509.x.
  19. Triplet, R.G (1992). "Discriminatory biases in the perception of illness: The application of availability and representativeness heuristics to the AIDS crisis". Basic and Applied Social Psychology. 13 (3): 303–322. doi:10.1207/s15324834basp1303_3.
  20. Klinger, D; Kudryavtsev, A. (2010). "The availability heuristic and investors' reactions to company-specific events". The Journal of Behavioral Finance. 11 (50–65). doi:10.1080/15427561003591116.
  21. Lee, B; O'Brien, J.; Sivaramakrishnan, K. (2008). "An Analysis of Financial Analysts' Optimism in Long-term Growth Forecasts". The Journal of Behavioral Finance. 9: 171–184. doi:10.1080/15427560802341889.
  22. "Investors Should Beware The Role of 'Availability Bias'". Business Insider. Franklin Templeton Investments. 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ 2013-12-01.
  23. Hayibor, S; Wasieleski, D.M. (2009). "Effects of the use of availability". Journal of Business Ethics. 84: 151–165. doi:10.1007/s10551-008-9690-7.
  24. Fox, Craig R. (2006-07). "The availability heuristic in the classroom: How soliciting more criticism can boost your course ratings" (PDF). Judgment and Decision Making. 1 (1): 86–90. สืบค้นเมื่อ 2014-09-09. Check date values in: |date= (help)
  25. Stalans, L.J (2014-09-09). "Citizens' crime stereotypes, biased recall, and punishment preferences in abstract cases". Law and Human Behavior. 17 (451–469). Check date values in: |year= / |date= mismatch (help)
  26. Diamond, S.S; Stalans, L.J (1989). "The myth of judicial leniency in sentencing". Behavioral Sciences & the Law. 7: 73–89. doi:10.1002/bsl.2370070106.
  27. DeTurck, M.A; Texter, L.A.; Harszlak, J.J. (1989). "Effects of information processing objectives on judgments of deception following perjury". Communication Research. 16 (3): 434–452. doi:10.1177/009365089016003006.
  28. Levi, A; Pryor, J.B. (1987). "Use of the availability heuristic in probability estimates of future events: The effects of imagining outcomes versus imagining reasons". Organizational Behavior & Human Performance. 40 (2).
  29. Wanke, M; Schwarz, N.; Bless, H. (1995). "The availability heuristic revisited: Experienced ease of retrieval in mundane frequency estimates". Acta Psychologica. 89: 83–90. doi:10.1016/0001-6918(93)e0072-a.
  30. Hulme, C; Roodenrys, S.; Brown, G.; Mercer, R. (1995). "The role of long-term memory mechanisms in memory span". British Journal of Psychology. 86 (4): 527–536. doi:10.1111/j.2044-8295.1995.tb02570.x.

แหล่งข้อมูลอื่น

วร, สต, กโดยความเข, าถ, งได, าย, ของข, อม, หร, วร, สต, กโดยความพร, อมใช, งาน, งกฤษ, availability, heuristic, เป, นทางล, ดการแก, ญหา, วร, สต, หร, ออาจใช, คำว, าศ, กษาสำน, กแทนคำว, าฮ, วร, สต, กในกรณ, องการใช, คำไทย, โดยอาศ, ยต, วอย, างต, าง, กข, นได, เป, นอย, า. hiwristikodykhwamekhathungidngay khxngkhxmul hrux hiwristikodykhwamphrxmichngan 1 xngkvs availability heuristic epnthangldkaraekpyha hiwristik hruxxacichkhawasuksasanukaethnkhawahiwristikinkrnithitxngkarichkhaithy odyxasytwxyangtang thinukkhunidepnxyangaerk withiaekpyhachnidnixasyixediywa thaerasamarthralukthungxairidngay singnncatxngmikhwamsakhy aelaephraaehtunn eramkcaihnahnkkbkhxmulthiihmthisud thaihmikhwamkhidehnexnexiyngipthangkhawlasud 2 nxkcaknnaelw singthieranukidekiywkbphlkhxngkarkrathahnung camikhwamsmphnthkbkhwamrusukekiywkbkhwamsakhykhxngphlnn klawxikxyangkkhux phlkhxngkarkrathayingralukthungidngayaekhihn erakcarusukwaphlnnmikhwamsakhyyingkhunethann khux eraimidephiyngaekhphicarnathungkhxmulthiralukidemuxthakartdsinic aeterayngichkhwamyakngayinkarnukthungsingnnepnkhxmulxikxyanghnunginkartdsinic sungmiphlednthisudxyanghnungkhux eracaichkhxmulthiralukidinkartdsinicthakhxmulnnimidthaihekidkhwamnasngsyephraayakthicaralukthung 3 mihlkwithiaekpyha 3 xyangthieraichemuximaenic sungchwyldkhwamsbsxninkarpraeminkhwamnacaepnhruxinkarphyakrnphl odyichkrabwnkartdsinicthingaykwa hiwristik khux khwamepntwaethnthidi ichemuxtxngtdsinkhwamnacaepnwawtthuhruxehtukarn k epnaebbhnunghruxepnkrabwnkarhnungkhxng kh hruxim khwamekhathungidngaykhxngtwxyangaelasthankarn bthkhwamni ichemuxtxngpraeminkhwamchukkhxngsing hnung hruxkhwamepnipidwaehtukarnhnungcaekidkhun karprbichkhathimixyu ichemuxtxngtdsinkhatwelkhemuxruckkhathixaccaekhapraednknkhahnung 4 aemwa karaekpyhaodykhwamekhathungidngaykhxngtwxyangaelasthankarnbangkhrngcaidphldi aetwacring aelw khwamngaytxkarkhidthungehtukarnhnung imidepntwsathxnthidiwaehtukarnnimikhwamnacaepncring inchiwitethair 5 yktwxyangechn thathamnksuksamhawithyalywa minksuksamacakcnghwdelyhruxcnghwdtakmakkwakn khatxbkmkcaxasykhxmultwxyangthinksuksacaralukid 6 aetxaccaimtrngkbkhwamepncring enuxha 1 sarasakhyaelaprawti 2 nganwicy 3 twxyang 4 inchiwitcring 4 1 sux 4 2 sukhphaph 4 3 thurkicaelaesrsthkic 4 4 karsuksa 4 5 karphiphaksakhdixaya 5 khxwicarn 6 duephim 7 echingxrrthaelaxangxing 8 aehlngkhxmulxunsarasakhyaelaprawti aekikhemuxtxngtdsinkhwamnacaepnhruxkhwamchukkhxngsing hnungsungepnnganthiyak eramkcaichklyuththtang canwnhnungthieriykwa hiwristik ephuxthicathaihkartdsinicnnngaykhun klyuththxyanghnungkkhuxhiwristikodykhwamekhathungidngay sungepnkhwamonmnawthicatdsinkhwamchukkhxngehtukarnhnung odyxasywangayethairinkarthicaralukthungtwxyangehtukarnkhlay kn 5 inpi kh s 1973 xamxs thewxrski aelaaedeniyl khahnamn erimkarsuksapraktkarnechnniaelabyytikhawa Availability Heuristic sungepnkrabwnkaritsanuk khuximidxyuitxanaccitic thithanganodyhlkwa thasamarthnukthungid catxngepnsingsakhy 5 klawxikxyangkkhux yingngayethairthicakhidthungtwxyang khwamrusukwasingniekidbxykcamakkhunethann dngnn eramkcaichlksnahruxkhxmulthikhidthungidngay epnthaninkartdsinicineruxngxun thixaccamikhwamekiywkhxngknnxy 7 inkarthdlxngthitrwcsxbpraktkarnni thewxrskiaelakhahnamnihphurwmkarthdlxngsuksaraychux 4 raykar khux sxngraykarmichuxkhxnghyingmichuxesiyng 19 khn aelachaymichuxesiyngnxykwa 20 khn aelasxngraykarmichuxkhxngchaymichuxesiyng 19 khnaelahyingmichuxesiyngnxykwa 20 khn mikarihphurwmkarthdlxngklumaerkralukthungchuxihmakthisudthicacaid aelaihphurwmkarthdlxngklumthisxngpraeminwa michuxphuhyinghruxphuchaymakkwakninraykar phlpraktwa inklumaerk miphurwmkarthdlxngthung 57 thiralukthungchuxthimichuxesiyngidmakkwa inklumthisxng phurwmkarthdlxngthung 80 thakarpraeminphidphladwa michuxphuchayhruxphuhyingmakkwa khuxtharaykarmihyingmichuxesiyng 19 khnaelamichaymichuxesiyngnxykwa 20 khn phurwmkarthdlxngkcapraeminphid wa michuxkhxngphuhyingmakkwa aelainnytrngknkhamkechnkn aemwa hiwristikodykhwamekhathungidngayxaccaepnklyuththaekpyhathimiprasiththiphaphinsthankarnhlayxyang aetwaemuxcatxngtdsinkhwamnacaepn karaekpyhaodywithinixacnaipsukhwamphidphladxyangepnrabb 5 nganwicy aekikhinnganwicypi kh s 1991 khxngchwxrs aelakhna mikarthamphurwmkarthdlxngihklawthungtwxyangphvtikrrmthiaesdngkhwammnic assertive aelakhwamimmnic unassertive hruxodynytrngknkhamkn hlngcaknn kcathamphurwmkarthdlxngwatnexngepnkhnmibukhkhlikmnichruximmnic phlkarthdlxngaesdngwa phurwmkarthdlxngbxkwatnexngmikhwamimmnichlngcakklawthungphvtikrrmimmnic 6 xyang makwaemuxtxngklawthungphvtikrrm 12 xyang sungthaidyakkwa khuxcaklawwatnexngepnkhnmnicmakkwathatxngklawthungphvtikrrmimmnic 12 xyang aeminkarthamthungphvtikrrmodynytrngknkham khuxihklawthungtwxyangphvtikrrmkhwammnic kminyediywkn phlnganthdlxngniaesdngwa khxsrup hruxkartdsinic xasykhwamruhruxkhxmulthierami echnsrupwaeraepnkhnmnichruximmnic nn caidrbxiththiphlcakkhwamyakngayinkarralukthungkhwamruhruxkhxmulnn 8 innganwicy pi kh s 1973 mikarthamphurwmkarthdlxngwa thaexakhasphthmacakhnngsuxxngkvsodysum mioxkasmakkwathikhann caerimdwyxksr K hruxwamixksr K epnxksrthisamkhxngkha khnphudxngkvsidcasamarthnukthungkhatang makmaythierimdwy K echn kangaroo kitchen kale aetwa txngxasykhwamphyayammakkwainkarkhidthungkhahnung thimixksr K epntwthisam echn acknowledge ask phlnganwicyaesdngwa phurwmkarthdlxngpraeminkhwamnacaepnkhxngkhathierimtndwy K ekinkhwamcring aelapraeminkhathimi K epnxksrtwthisamtaekinip nkwicysrupwa khneratxbkhathamechnnidwykarepriybethiybkhwamnacaepnkhxngsingkhxnghruxehtukarntang odypraeminwa samarthralukthungtwxyangtang idngaykhnadihn klawxikxyanghnungkkhux ephraawa karkhidthungkhathierimtndwytw K ngaykwathicakhidthungkhathimi K epnxksrthisam dngnn eracungtdsinicwakhathierimtndwy K epnkhathimimakkwa aetcring aelw praktwa hnngsuxodythw ipmikhathimi K epnxksrthisammakkwakhathierimtndwy K thungsametha 5 inpi kh s 1967 aechpaemnidphrrnnathungkhwamexnexiynginkartdsinkhwamchukkhxngehtukarn 2 xyangthiekidkhundwykn sungaesdngwa karmisingerasxngxyangekidkhundwyknmiphlihphurwmkarthdlxngpraeminkhwamchukkhxngkarekidkhundwyknmakekinip 9 khux mikarihkhxmulsmmutiekiywkbkhnikhorkhcithlaykhn odythikhxmulkhxngkhnikhaetlakhncamikarwinicchythangkhlinikaelarupthiwadodykhnikh hlngcaknn kihphurwmkarthdlxngpraeminkhwamchukkhxngkhxwinicchyaetlaxyangthimadwyknkblksnatang khxngrupwad echnkhwamkhiraaewngkhxngkhnikhaelaruptathiaeplk phurwmkarthdlxngthakarpraeminthungkhwamchukkhxngkarekidkhundwyknmakekinip sungepnpraktkarnthiaechpaemnideriykwa illusory correlation shsmphnthlwng thewxrskiaelakhahnamnesnxwa hiwristikodykhwamekhathungidngayepnkhaxthibayodythrrmchatikhxngpraktkarnshsmphnthlwng kalngkhxngkhwamsmphnthrahwangsxngehtukarn thiepnxtwisy samarthichepnthaninkartdsinicwaehtukarnsxngxyangniekidkhundwyknbxykhrngaekhihnepnxyangdi khux emuxmikhwamsmphnth odyxtwisy thimikalng kcamioxkassungkhunthicasrupwa ehtukarnsxngxyangniekidkhundwyknbxy 5 innganwicypi kh s 1992 mikarepliynxarmnephuxduphltxhiwristikodykhwamekhathungidngay khuxmikarihphurwmkarthdlxngxyuinsthankarnthithaihekidxarmnesra hruxmikhwamsukh phuthimixarmnesrasamarthralukthungkhwamcaiddikwaphuthimikhwamsukh sungaesdngwakalngkhxngpraktkarnnisamarthepliynipidphayitsthankarnbangxyang 10 twxyang aekikhchaykhnhnungxangkbephuxnwa khnthikhbrthsiaedngidrbibsngkhbrtherwbxykwa ephuxn khxngekhaehndwyephraawa mikhninklumnnthikhbrthsiaedngaelaidrbibsngehtukhbrtherwbxy aetkhwamcringxaccaepnwa ephraawakhbrtherw kelyidrbibsng imwacakhbrthsixair aelathungaemwa camisthiticring thiaesdngwamikarihibsngephraakhbrtherwkbkhnthikhbrthsiaedngnxykwasixun aetwa twxyangkhxngephuxnkhnnnepntwxyangphrxmichngan khuxralukthungidngay aeladngnnkcathaihkhaklawnnfngnaechuxthuxkwa 11 emuxeruxngelaeruxngediyw echn phmruckkhnhnungthi ichepnkhxphisucnpraednidpraednhnunghruxephuxsnbsnunkhwamkhidthimikhwamexnexiyng camikarichhiwristikodykhwamekhathungidngaypapnxyudwy inkrnini khwamngayinkarkhidthungtwxyang hruxkhwamaecmchdaelaxiththiphlthangxarmnkhxngtwxyangnn thaihtwxyangnnklayepneruxngthinaechuxthuxmakkwakhwamnacaepncring thangsthitiesiyxik aelaephraawa twxyangnnkhidthungidngay khuxepntwxyangphrxmichngan eracungphicarnatwxyangediywnnehmuxnkbepntwaethneruxngnnthnghmd aethnthicaepnephiyngaekhtwxyangtwxyangediywinbrrdakhxmulthnghmdthimi dueruxngkarichtwxyangediywepnhlkthanin hlkthanodyeruxngela 5 twxyanghnungkkhuxbukhkhlhnungxangwa karsubbuhriimidthaihsukhphaphesiy ephraawakhunpukhxngekhasubbuhriwnlasamsxngthukwnaelamichiwitthung 100 pi aetcring aelw khunpukhxngekhaxaccaepnkhxykewnhnunginpraednpyhasukhphaphenuxngcaksubbuhri 12 bukhkhlhnungehnkhawhlayeruxngekiywkbaemwthikraoddcaktnimsungaetimtay dngnnekhacungechuxwaaemwnnimmipyhainkartklngcakthisung aetwa cring aelw khawthiraynganechnnixacepnehtukarnthiekidkhunnxykwathiaemwtklngmaaelwtay 5 khnthierimrbhnngsuxphimphthukwnxaccaepriybethiybcanwnhnngsuxphimphthinamasngkbcanwnthiimidnamasng ephuxkhanwnkhwamlmehlwinkarsnghnngsuxphimph inkrniechnni karkhanwnnncakhunxyukberuxngthicaid aetwa karnukthungehtukarnthimikarsngaelaimmikarsnginchwngrayaewlayawihidthnghmd epneruxngyak 13 hlngcakthiehnkhawhlayeruxngekiywkbthnakharekhayudban eraxaccatdsinicwaehtukarnehlaniekidkhunbxykwakhwamcring sungxaccaepnkhwamcringephiyngaekhwa epneruxngngaykwathicanukthungehtukarnehlani 5 inchiwitcring aekikhsux aekikh hlngcakthiehnkhawhlayeruxngekiywkbkarlkphatwedk eraxaccatdsinicwa eruxngxyangniekidkhunbxykwakhwamepncring khux suxsamarthchwythaiheramikhidthimikhwamexnexiyngephimkhun odythaehtukarnthiimthwipihepnkhawaephrhlayipxyangkwangkhwang echneruxngkhatkrrm xubtiehtuekhruxngbin aelaimthaeruxngthipktithwipaetimeraicihepnkhaw echnorkhthisamyaelaxubtiehturthynttang yktwxyangechn emuxthamthungkhwamnacaepnkhxngehtutang khxngkaresiychiwit eramkcaklawthungehtunasnicphxthicaepnkhawidwaepnipidmakkwa ephraawa erasamarthralukthungtwxyangehlanniddikwa nxkcaknnaelw ehtukarnthiekidkhunimbxyaetchdecnechn khatkrrm karthukchlamtharay hruxkarthukfaphamkcarbkarraynganinsux frng makkwaehtukhxngkhwamtaytang thisamyaetimeraicechnorkhsamythrrmda 14 yktwxyangechn hlaykhnkhidwamioxkasthicatayephraathukchlamtharaymakkwathicatayephraathukchinswncakekhruxngbintkis aemwakhwamcringaelw camikhntayephraathukchinswncakekhruxngbintkismakkwa erakhidphidxyangnikephraawa emuxmikhnthukchlamtharay ehtuesiychiwitnnmkcamikarsuxkhawipxyangkwangkhwang aetkaresiychiwitephraathukchinswncakekhruxngbintkisimkhxyidrbkarxxkkhaw 15 innganwicypi kh s 2010 ekiywkbkhwamsmphnthkhxngraykarothrthsnthiehmuxnchiwitcringkbkarekhaicthungchiwitinsngkhmphbwa khnthiduraykarothrthsnrunaerngehmuxncringihkarpraeminwa mikhwamchukkhxngxachyakrrmaelakhwamirsilthrrmkhxngphwktarwcinradbthisungkwakhnthiimiddu phlnganwicyechnnibxkepnnywa khwamrunaerngthiaesdnginothrthsnmiphlodytrngtxkhwamechuxekiywkbkhwamepnipinsngkhm aelakarrberuxngkhwamrunaerngthiehmuxncringbxy naipsukarpraeminthungkhwamchukkhxngxachyakrrmaelakhwamrunaernginsngkhmthiephimradbkhun 16 thungxyangnn kyngminganwicythiaesdngphlkhankarkhnphbechnnn khux nkwicythithangankhlay knxangwa khwamechuxthimikhwamexnexiyngehlanixacekidcakkaridrbkhxmulihm khux nkwicyidtrwcsxbphlkhxngkhxmulihm odyihphurwmkarthdlxngduhnngthiaesdngehtukarnesiyngphythiphadophn aelwwdkarpraeminkhwamesiyngkhxngphurwmkarthdlxnghlngidduhnng phlthiphbkkhux odyechliyaelw impraktwaphurwmkarthdlxngrusukwamikhwamesiyngsungkhun aemwahnngcaaesdngphyxntraythidunacaepnipid dngnnodyrwm aelw phlnganwicynikhdkhannganthdlxngkxn 17 sukhphaph aekikh inpi kh s 1991 nkwicyidthakartrwcsxbwithiaekpyhathangprachaninkrabwnkarpraeminkhwamesiyngkhxngorkhexds nayaephthy 331 khnidraynganwamikhwamwitkkngwlwacatidechuxexchixwiephraaehtuaehngxachiph aelaephraathangankbkhnikhthimiechuxexchixwi odywiekhraahkhatxbthiidmacaknayaephthy nkwicysrupwa khxmulkhwamcringthimiekiywkbexds immikhwamsmphnthxyangminysakhykbkhwamrusukekiywkbkhwamesiyng 18 khuxaemwakhxmulxaccabxkwakhwamesiyngmiinradbta aetaephthykyngrusukesiywwacatidorkhxyudi inpi kh s 1992 mikarihphurwmkarthdlxngxankhaphrrnnathungkhnikhsmmutithimiephstang knmikhwamchxbicthangephstang kn khnikhsmmutiehlaniaesdngxakarkhxngorkhsxngorkh phurwmkarthdlxngtxngbxkwa tnkhidwakhnikhehlannmiorkhxair aelwihkhaaennkhnikhekiywkbkhwamepnphumikhwamrbphidchxbaelakhwamnaphungicthangsngkhm phlthiidprakktwaekhakbpraktkarnni khux phurwmkarthdlxngcaeluxkthaimorkhikhhwdihy thiekidbxy korkhexds thimikarephyaephrkhxmulmakkwa 19 thurkicaelaesrsthkic aekikh nganwicyhnungthakarwiekhraahbthbathkhxnghiwristikodykhwamekhathungidngayintladhlkthrphy khux nkwicyidkahndaelathdsxbaebbsxngxyangkhxngpraktkarnni 20 khwamphrxmichngankhxngphl outcome availability khuxphlbwkhruxphllbinkarlngthun odyichdchnikhxngtladhlkthrphyepntwaethn khwamphrxmichngankhxngkhwamesiyng risk availability odyichradbkhwamekhluxnihwkhxngdchniepntwaethn 20 nkwicyidphbwa rakhahunephimkhunthiepnkartxbsnxngtxkarykradbkhaaenanahun khxngnkwiekhraahhun mikalngkwathadchnimiphlbwkinwnnn aelarakhahunldlngthiepnkartxbsnxngtxkarldradbkhaaenanahunmikalngkwathadchnimiphllbinwnnn sungnkwicyaesdngwaepnphlkhxng outcome availability khuxkartdsinicodyichkhxmulthiekhathungidngaykhuxdchniinwnnn inwnthidchnitladhlkthrphymikhwamepliynaeplngmak khuxmikhwamesiyngsung rakhahunthiephimkhunphidpktithiepnkartxbsnxngtxkarykradbkhaaenanahunmikalngxxn aelarakhahunthildlngphidpktithiepnkartxbsnxngtxkarldradbkhaaenanahunmikalngmakkwa sungepnphlkhxng risk availability khuxkartdsinicodyichkhxmulthiekhathungidngaykhuxkhwamaeprprwnkhxngdchniinwnnn phlkhxngpraktkarnnithngsxngrupaebbkyngminysakhyaememuxkhwbkhumtwaeprxun thiechphaabristhhruxechphaaehtukarn 20 nganwicyidchiwa ephraaeraichhiwristikodykhwamekhathungidngay mnusyxaccaechuxthuximidephraapraeminkhwamnacaepnodyihnahnktxkhxmulpccubnhruxkhxmulthiralukthungidngay aethnthicaichkhxmulthimipraednekiywkhxngknthnghmd enuxngcakkhxmulekiywkbsthankarnpccubnkhxngesrsthkicepnsingthihaidngay nkwicyklumtang idphyayamrabukhunsmbtitang inwtckrthurkic ephuxcaphyakrnkhwamexnexiyngodykhwamphrxmichnganinnganphyakrnthurkickhxngnkwiekhraah aelaphbwa mikhwamexnexiyngodykhwamphrxmichnganinnganphyakrnthurkickhxngnkwiekhraah sungmiphltxkarlngthun 21 odysarakkhux nklngthunichhiwristikodykhwamekhathungidngayephuxkartdsinicinkarlngthun aelaephraaehtunn xaccaimidprasiththiphaphkarlngthunthidi echn khwamrusukthiyudeyuxekiywkbsphaphkhxngtladthiimdixaccathaihmxngoxkastang inkarlngthuninaenglbekinip thaihimrusukwakhwrcaesiynglngthun imwakairthiidcakkarlngthuninhlkthrphythirusukwa plxdphy canxyaekhihn ephuxthicaaesdngenuxkhwamni mingansarwcpracapikhxngbristhlngthun Franklin Templeton thithamkhnthisarwcwa tnechuxwadchnihun S amp P 500 thaenginiddikhnadihninpi kh s 2009 2010 aela 2011 66 khxngphutxbklawwa tnechuxwatladhunimkraetuxng hruxechuxwatklnginpi kh s 2009 48 bxkxyangediywkbsahrbpi kh s 2010 aela 53 bxkxyangediywkbsahrbpi kh s 2011 aetcring aelw dchni S amp P 500 ephimkhun 26 5 inpi kh s 2009 ephimkhun 15 1 inpi kh s 2010 aelaephimkhun 2 1 inpi kh s 2011 sungaesdngwa khwamrusukthiyudeyuxthiekidcakehtukarnrunaerngaelathithaihekidkhwamchaic echntladhlkthrphythimiphllbinpikxn samarthmixiththiphltxkartdsinicaemwaehtukarnnncaidyutiipaelw 22 nxkcaknnaelw nganwicyinpi kh s 2009 phbwa khwamyakngayinkarralukthungbukhkhlxun thiechuxwakarkrathahnung nnyxmrbidodysilthrrm mikhwamsmphnthkbkhwamrusukthangsilthrrmineruxngnnkhxngbukhkhlnn phlnganwicynibxkepnnywa hiwristikodykhwamekhathungidngaymixiththiphlekiywkbkhwamkhidaelaphvtikrrmthangcriythrrmphayinxngkhkrtang 23 dngnn thamitwxyangthiimdiihnukthungidngay kcamikhwamrusukwaeruxngthiimdinnepneruxngthiyxmrbidodysilthrrm karsuksa aekikh nganwicyinpi kh s 2006 khxngekhrk fxks ihtwxyangkhxngkarichhiwristikodykhwamekhathungidngayinhxngeriyn innganwicyni fxksthdsxbwa khwamyaklabakinkarralukthungmixiththiphltxkartdsinicxyangir odyechphaainkarpraeminhlksutrkhxngnksuksamhawithyaly khux fxksihnksuksasxngklumkrxkibpraeminhlksutr odyihklumaerkekhiynkhxaenanainkarprbprunghlksutrsxngkhx sungthaidkhxnkhangngay aelwihekhiynsingthiprathbicsxngxyanginhlksutrnn aelaihklumthisxngekhiynkhxaenanathisastracaryphusxnsamarthprbprungtwsibkhx sungthaidyak aelwihekhiynsingthiprathbicsxngxyanginhlksutrnn inthisudkhxngkarpraemin kihnksuksathngsxngklumihkhaaennhlksutrrahwang 1 thung 7 phlnganwicyaesdngwa nksuksathitxngekhiynkhxaenana 10 xyang ihkhaaennhlksutrdikwaephraaprasbkhwamyaklabakinkarralukthungkhxmulechinglb swnnksuksathikhidthungsingthikhwrprbprungsxngxyangsamarthekhathungkhxmulidngaykwa dngnncungihkhaaennhlksutraeykwa 24 karphiphaksakhdixaya aekikh suxkhawmkcaphungkhwamsnicipthixachyakrrmthirunaernghruxxukchkrrc sungsatharnchnkhidthungidngay sungxaccamibthbathtxkrabwnkarthangsalinkarpraeminaelatdsinkarlngothsthismkhwrsahrbxachyakr innganwicyhnunginpi kh s 1993 phurwmkarthdlxngihkhaaennwaehndwykbkdhmayhruxkbnoybaythismmutikhunechn khunsnbsnunkdhmaythiihphutxngothskhdiplnthrphyodyimidichxawuththukkhn txngtidkhukepnewlasxngpihruxim aelwcungihphurwmkarthdlxngxanekhskhdiaelatdsinothsodyichkhathamhlaykhathamekiywkbkarlngoths aelaphlkxxkmatrngtamsmmutithanthitngiw khuxphurwmkarthdlxngsamarthralukthungkhdixukchkrrctang idngaykwacakkhwamcarayayaw sungduehmuxncamixiththiphltxkartdsinothskhuxthaihphurwmkarthdlxngchxbicothsthihnkkwa aetwankwicysamarthldradbxiththiphlniidodyaesdngraylaexiydthichdecnhruxaeplkekiywkbkhwambadecbthildkhwamsahslngthiekidcakxachyakrrm khuximethakbthisuxmkcaaesdng 25 nganwicykhlay knxiknganhnunginpi kh s 1989 ihnksuksamhawithyalyeluxkkarlngothsinkhdixachyaxukchkrrcsikhdi thikarlngothscakhukepnkarlngothsthithaidaetimcaepntxngtha mikarihphurwmkarthdlxngpraeminkarlngothskhxngsalodyxasykhxmulxachyakrrmaelakarlngothsthiephyaephrtxsatharnchn sungepnkhxmulthiimsmburn ephraasuxkhawmkcaesnxkhawthieluxksrrimepntwaethnthidikhxngkhdithimixyuthwipcring khuxphungkhwamsnicipthikhdirayaernghruxxucchkrrcaethnthicaesnxkhdithw ip karralukthungkhxmulechnnithaihphurwmkarthdlxngkhidwa saltdsinebaekinip aetwa emuxihphurwmkarthdlxngeluxkkarlngothsexng othsthieluxkklbethiybethahruxebakwathisalih klawxiknykkhux hiwristikodykhwamekhathungidngaythaihphurwmkarthdlxngechuxwasalaelalukkhuntdsinlngothsebaekinip aetphurwmkarthdlxngklbihkarlngothsthikhlaykbphuphiphaksalexng sungbxkepnnywa khxmulthiralukidimthuktxng 26 nkwicyinnganpi kh s 1989 phyakrnwa lukkhunsmmuticaihkhaaennphyanwa imnaechuxthuxthaphyanihkartamkhwamepncring kxnthicaihkarethc makkwathaphyanthukcbidwaihkarethc kxnthicaihkartamkhwamepncring ephraawa thahiwristikodykhwamekhathungidngaymibthbathineruxngni karihkarethcthihlngkcayngxyuinickhxngphwklukkhun ephraaepnsingthiekidkhunlasud aelacathaihmioxkascaphyanwaihkarethcmakkwaihkarcring ephuxthicathdsxbsmmutithanni mikarihnksuksamhawithyaly 312 khnelnepnlukkhunsmmutiaeladuethpwidioxkhxngphyanthiihkar phlkarthdlxngrbrxngsmmutithankhxngnkwicy khuxlukkhunsmmutiidrbxiththiphlcakehtukarnthiekidlasudmakkwa 27 khxwicarn aekikhnkwicybangthanesnxwa singthierakhidwaepnehtuphlkhxngehtukarnhnung aelaimichcintnaphaphkhxngehtukarnnn epnsingthimixiththiphltxkarpraeminkhwamnacaepnkhxngphl 28 hlkthanthisnbsnunixediynimacaknganwicythiihphurwmkarthdlxngcintnakarthungphuchnakarxphipray hruxihkhidthungehtuphlwathaimnayornld eraekn hruxnaywxletxr mxnedl cachnakarxphiprayenuxngdwykareluxktngprathanathibdishrthxemrika kh s 1984 phlnganwicyniaesdngwa karcintnakarwa nayeraeknhruxnaymxnedlchnakarxphipray immiphltxkarphyakrnwaikhrcachnakarxphipray aetwa karcintnakaraelakarphicarnathungehtuphlwathaimnayeraeknhruxnaymxnedlcachna mixiththiphlxyangminysakhytxkarphyakrn 28 swnnkcitwithyaphwkxun esnxwa nganwicykhlassikthw ipekiywkbhiwristikodykhwamekhathungidngaykhlumekhruxaelaimidxthibaythungkrabwnkarthangprachanthiepnthankhxngkartdsinic 29 yktwxyangechn ekiywkbnganwicypi kh s 1973 thimichuxesiyngkhxngthewxrskiaelakhahnamn aewngkaelakhnaechuxwa khwamyakngaythiimehmuxnkninkarralukthungkhwamca samarthprbepliynkarpraeminkhwamsamykhxngchuxidodysxngwithi inwithihnung dngthismmutithanekiywkbhiwristikodykhwamekhathungidngayidaesdngaelw phurbkarthdlxngcaichkhwamrusukthiepnxtwisyekiywkbkhwamyakngayinkarralukthungchuxepnthaninkartdsinic sungthaepnodywithini kcasamarthphyakrnkartdsinickhxngphurwmkarthdlxngwa caaesdngkhwamchukinradbthisungkwakhxngchuxthiralukidngaykwa swnwithithisxngthiichepriybethiybkn nkwicyesnxwa phurwmkarthdlxngxaccaralukthungchuxaetlapraephthihmakthisudethathicathaidinewlathiih aelwtdsinicodyichchuxthiralukidepnthan imidichkhwamyakngay thachuxthiralukidngaykwaerimdwyxksridxksrhnung kcaralukthungchuxechnnnidmakkwachuxxun aelakcasamarthphyakrnkartdsinickhxngphurwmkarthdlxngwa caaesdngkhwamchukinradbthisungkwakhxngchuxehlann aetwainkrnithisxng kartdsiniccamithanepnsingthiralukthungid imichmithanepnkhwamrusuktamxtwisykhxngkhwamyakngayinkarralukthungkhwamca 29 minkwicybangphwkkhidwa xacmitwaeprsbsn confounding variable innganwicydngedimkhxngthewxrskiaelakhahnamn 8 khuxnkwicytngkhxngsngsywa phurwmkarthdlxngtdsinkhwamsamykhxngchuxkhnmichuxesiyngodymithanepnkhxmulthiralukid hruxwamithanepnkhwamyakngayinkarralukid swnnkwicybangphwkesnxwa aebbkarthdlxnginyukhtn mipyhaaelaimsamarthkahndcring idwa hiwristikodykhwamekhathungidngaymikarthanganxyangir 8 nganwicyinpi kh s 1995 aesdnghlkthanwa hiwristikodykhwamekhathungidngayepnklyuththephiyngxyanghnunginklyuththhlayxyangthimnusyichinkarpraeminkhwamsamykhxngsing hnung 30 nganwicyinxnakhtkhwrthicaphyayamthakarwiekhraahodyphicarnaklyuththxun ehlanidwyduephim aekikhhlkthanodyeruxngela Representativeness heuristicechingxrrthaelaxangxing aekikh sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 ihkhwamhmaykhxng availability wa sphaphphrxmichngan Phung Albert 2009 02 25 Behavioral Finance Key Concept Overreaction and Availability Bias Investopedia p 10 subkhnemux 2013 12 01 Schwarz Bless Strack Klumpp Rittenauer Schatka amp Simons 1991 Ease of retrieval as information Another look at the availability heuristic Journal of Personality and Social Psychology 61 2 195 202 Kahneman Daniel Tversky Amos September 1974 Judgment under Uncertainty Heuristics and Biases Science 185 1124 1131 5 0 5 1 5 2 5 3 5 4 5 5 5 6 5 7 5 8 Tversky A Kahneman 1973 Availability A heuristic for judging frequency and probability PDF Cognitive Psychology 5 1 207 233 doi 10 1016 0010 0285 73 90033 9 subkhnemux 2014 09 09 Matlin Margaret 2009 Cognition Hoboken NJ John Wiley amp Sons Inc p 413 ISBN 978 0 470 08764 0 Kahneman D Tversky A 1982 01 The psychology of preferences Scientific American 246 160 173 doi 10 1038 scientificamerican0182 160 Check date values in date help 8 0 8 1 8 2 Schwarz N Strack F Bless H Klumpp G Rittenauer Schatka H Simons A 1991 Ease of retrieval as information Another look at the availability heuristic Journal of Personality and Social Psychology 61 2 195 202 doi 10 1037 0022 3514 61 2 195 Chapman L J 1967 Illusory correlation in observational report Journal of Verbal Learning 6 151 155 doi 10 1016 s0022 5371 67 80066 5 MacLeod C Campbell L 1992 Memory accessibility and probability of judgements An experimental evaluation of the availability heuristic Journal of Personality and Social Psychology 63 6 890 902 doi 10 1037 0022 3514 63 6 890 Manis Melvin Shelder J Jonides J Nelson N E 1993 Availability Heuristic in Judgments of Set Size and Frequency of Occurrence Journal of Personality and Social Psychology 65 3 448 457 doi 10 1037 0022 3514 65 3 448 Esgate Groome A D 2004 An Introduction to Applied Cognitive Psychology Psychology Press ISBN 1 84169 317 0 Folkes Valerie S 1988 06 The Availability Heuristic and Perceived Risk Journal of Consumer Research 15 1 Check date values in date help Brinol P Petty R E Tormala Z L 2006 The malleable meaning of subjective ease Psychological Science 17 200 206 doi 10 1111 j 1467 9280 2006 01686 x Read J D 1995 The availability heuristic in person identification The sometimes misleading consequences of enhanced contextual information Applied Cognitive Psychology 9 91 121 doi 10 1002 acp 2350090202 Riddle Karen 2010 Always on My Mind Exploring How Frequent Recent and Vivid Television Portrayals Are Used in the Formation of Social Reality Judgments Media Psychology 13 155 179 doi 10 1080 15213261003800140 Sjoberg Lennart Engelberg E 2010 Risk Perception and Movies A Study of Availability as a Factor in Risk Perception Risk Analysis 30 1 95 106 doi 10 1111 j 1539 6924 2009 01335 x Heath Linda Acklin M Wiley K 1991 Cognitive heuristics and AIDS risk assessment among physicians Journal of Applied Social Psychology 21 22 1859 1867 doi 10 1111 j 1559 1816 1991 tb00509 x Triplet R G 1992 Discriminatory biases in the perception of illness The application of availability and representativeness heuristics to the AIDS crisis Basic and Applied Social Psychology 13 3 303 322 doi 10 1207 s15324834basp1303 3 20 0 20 1 20 2 Klinger D Kudryavtsev A 2010 The availability heuristic and investors reactions to company specific events The Journal of Behavioral Finance 11 50 65 doi 10 1080 15427561003591116 Lee B O Brien J Sivaramakrishnan K 2008 An Analysis of Financial Analysts Optimism in Long term Growth Forecasts The Journal of Behavioral Finance 9 171 184 doi 10 1080 15427560802341889 Investors Should Beware The Role of Availability Bias Business Insider Franklin Templeton Investments 2012 10 06 subkhnemux 2013 12 01 Hayibor S Wasieleski D M 2009 Effects of the use of availability Journal of Business Ethics 84 151 165 doi 10 1007 s10551 008 9690 7 Fox Craig R 2006 07 The availability heuristic in the classroom How soliciting more criticism can boost your course ratings PDF Judgment and Decision Making 1 1 86 90 subkhnemux 2014 09 09 Check date values in date help Stalans L J 2014 09 09 Citizens crime stereotypes biased recall and punishment preferences in abstract cases Law and Human Behavior 17 451 469 Check date values in year date mismatch help Diamond S S Stalans L J 1989 The myth of judicial leniency in sentencing Behavioral Sciences amp the Law 7 73 89 doi 10 1002 bsl 2370070106 DeTurck M A Texter L A Harszlak J J 1989 Effects of information processing objectives on judgments of deception following perjury Communication Research 16 3 434 452 doi 10 1177 009365089016003006 28 0 28 1 Levi A Pryor J B 1987 Use of the availability heuristic in probability estimates of future events The effects of imagining outcomes versus imagining reasons Organizational Behavior amp Human Performance 40 2 29 0 29 1 Wanke M Schwarz N Bless H 1995 The availability heuristic revisited Experienced ease of retrieval in mundane frequency estimates Acta Psychologica 89 83 90 doi 10 1016 0001 6918 93 e0072 a Hulme C Roodenrys S Brown G Mercer R 1995 The role of long term memory mechanisms in memory span British Journal of Psychology 86 4 527 536 doi 10 1111 j 2044 8295 1995 tb02570 x aehlngkhxmulxun aekikhHow Belief Works Archived 2015 05 06 thi ewyaebkaemchchin an article on the origins of the availability bias ekhathungcak https th wikipedia org w index php title hiwristikodykhwamekhathungidngay amp oldid 9547564, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม