fbpx
วิกิพีเดีย

เจ็มไฟโบรซิล

เจ็มไฟโบรซิล (อังกฤษ: Gemfibrozil) เป็นชื่อสามัญของยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดชนิดรับประทาน ซึ่งถูกจัดอยู่ในยากลุ่มไฟเบรต (Fibrate derivatives) มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับคลอไฟเบรต ปัจจุบันมีจำหน่ายในชื่อการค้าต่างๆมากมาย เช่น Lopid, Jezil,  Gen-Fibro เป็นต้น

เจ็มไฟโบรซิล
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าLopid
AHFS/Drugs.comMonograph
MedlinePlusa686002
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • ระดับ C
ช่องทางการรับยาการรับประทาน
รหัส ATC
  • C10AB04 (WHO)
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • ยาอันตราย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผลเกือบ 100%
การจับกับโปรตีน95%
การเปลี่ยนแปลงยาตับ (CYP3A4)
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ1.5 ชั่วโมง
การขับออกไต 94%
อุจจาระ 6%
ตัวบ่งชี้
เลขทะเบียน CAS
  • 25812-30-0[CAS]
PubChem CID
  • 3463
IUPHAR/BPS
  • 3439
DrugBank
  • DB01241  7
ChemSpider
  • 3345  7
UNII
  • Q8X02027X3
KEGG
  • D00334  7
ChEBI
  • CHEBI:5296  7
ChEMBL
  • CHEMBL457  7
ECHA InfoCard100.042.968
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC15H22O3
มวลต่อโมล250.333 g/mol
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • Interactive image
จุดหลอมเหลว61 ถึง 63 องศาเซลเซียส (142 ถึง 145 องศาฟาเรนไฮต์)
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ประวัติการค้นพบ

เจ็มไฟโบรซิลเป็นหนึ่งในสารประกอบที่หลายชนิดที่ถูกสังเคราะห์ได้ในห้องทดลองของบริษัทยาสัญชาติอเมริกันที่มีชื่อว่า ปาร์ค ดาวิส (Parke Davis) ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 โดยการสังเคราะห์สารเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยเพื่อคิดค้นสารประกอบที่มีฤทธิ์ลดระดับไขมันในกระแสเลือดทั้งในมนุษย์และสัตว์

กลไกการออกฤทธิ์

เจ็มไฟโบรซิลออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นการทำงานของตัวรับ peroxisome proliferator-activated receptor-alpha (PPARα) ภายในนิวเคลียส ผลจากการกระตุ้นที่ตัวรับนี้จะทำให้เกิดการเผาผลาญสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรทและไขมันมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงกระตุ้นให้เกิดการเจริญของเซลล์เนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น (adipose tissue differentiation) นอกจากนี้ การกระตุ้นที่ตัวรับดังกล่าวจะทำให้ร่างกายมีการสังเคราะห์เอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปส (lipoprotein lipase) มากขึ้น ซึ่งผลจากการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์นี้ จะทำให้ไตรกลีเซอไรด์ถูกย่อยเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอลมากขึ้น เป็นผลให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดลดลงได้ในที่สุด

นอกจากนี้ เจ็มไฟโบรซิลยังมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไตรกลีเซอไรด์ของตับ ผ่านกระบวนการการยับยั้งการสลายไขมันในกระแสเลือด (lipolysis) ทำให้มีปริมาณกรดไขมันอิสระในกระเลือดไม่มากพอที่จะนำไปสร้างไตรกลีเซอไรด์ อีกทั้งเจ็มไฟโบรซิลยังสามารถยับยั้งการสร้างการสังเคราะห์อะโปโปรตีนตัวพาของคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำมาก (VLDL cholesterol) ทำให้ระดับ VLDL-C ลดลง ส่งผลต่อเนื่องให้ระดับ LDL-C ซึ่งสร้างมาจาก VLDL-C ลดลงได้ในที่สุด ทั้งนี้การศึกษาในสัตว์ทดลองหลายการศึกษาพบว่า เจ็มไฟโบรซิลมีผลลดการเกิดปฏิกิริยาการสลายไขมันในเซลล์เนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนัง รวมทั้งมีผลลดการรวมตัวของกรดพาล์มมิติคที่ได้รับการติดฉลากเภสัชรังสี (radiolabeled palmitic acid) เข้าไปในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งภายหลังจะถูกหลั่งออกมาจากตับในรูปของ VLDL-C

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

 
ตัวรับ PPARα (peroxisome proliferator-activated receptor-alpha receptor) เป้าหมายการออกฤทธิ์ของเจ็มไฟโบรซิล

เจ็มไฟโบรซิล (5-(2,5-dimethylphenoxy)-2,2-dimethylpentanoic acid) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดที่มีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายคลึงกับคลอไฟเบรต โดยเจ็มไฟโบรซิลมีประสิทธิภาพในการลดระดับไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL cholesterol) และไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำมาก (VLDL cholesterol) ได้เป็นอย่างดีในทางคลินิก นอกจากนี้ยังมีผลเพิ่มระดับไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL cholesterol) ได้อีกด้วย อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการลดระดับคอเลสเตอรอลกับการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ของเจ็มไฟโบรซิลแล้วพบว่า เจ็มไฟโบรซิลมีประสิทธิภาพในการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดได้ดีกว่า ส่วนการลดระดับคอเลสเตอรอลนั้นจะลดได้อย่างมีนัยสำคัญเฉพาะในผู้ป่วยที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเท่านั้น

การศึกษาทางคลินิกการศึกษาหนึ่งพบว่า นอกจากเจ็มไฟโบรซิลจะมีฤทธิ์ในการเพิ่มระดับ HDL-C และลดระดับ VLDL-C แล้ว ยังมีผลเพิ่มอะโปโปรตีนเอ-ทู (apoprotein A-II) ด้วย แต่ไม่มีผลต่ออะโปโปรตีนเอ-วัน (apoprotein A-I) นอกจากนี้แล้ว เจ็มไฟโบรซิลอาจมีผลชะลอการดำเนินไปของโรคหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ในผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงชนิดที่ 2 และ 4 (type II and IV hyperlipidemia) โดยผ่านกระบวนการการลดความไวในการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของ LDL-C การศึกษาหลายการศึกษาในผู้ป่วยที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงพบว่า กระบวนการป้องกันการเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในรูปแบบดังกล่าวนั้น เป็นผลมาจากการลดการหลั่งไลโปโปรตีนที่เป็นสาเหตุของการเกิดความผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง VLDL-C

ในบรรดาการศึกษาทางคลินิกที่ผ่านมา มีการศึกษาหนึ่งที่พบว่า การใช้เจ็มไฟโบรซิลในขนาด 600 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง มีผลเพิ่มการทำงานของเอนไซม์พาราออกซาโนส (paraoxanose) ในผู้ป่วยไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงจำนวน 57 คนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.001) ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กับ HDL-C ในการไฮโดรไลซ์สารประกอบเอสเทอร์ (high-density lipoprotein (HDL)-associated ester hydrolyase enzyme) โดยเอนไซม์ดังกล่าวจะทำให้ HDL-C มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ โดยจากการทดลองพบว่า เอนไซม์ดังกล่าวมีผลลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของ LDL ที่เกิดจากการเหนี่ยวนำของทองแดง รวมไปถึงลดการตอบสนองต่อ LDL ที่ถูกออกซิไดซ์ (oxidized LDL) และสารประกอบไขมันที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบ 9lipid-induced inflammatory) ของผนังหลอดเลือดแดงด้วย

นอกเหนือไปจากการเพิ่มระดับ HDL และลดระดับไตรกลีเซอไรด์แล้ว การได้รับการรักษาด้วยเจ็มไฟโบรซิลในขนาด 300 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง จะส่งผลให้กระบวนการสลายลิ่มเลือดอุดตันในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของการสลายลิ่มเลือดบกพร่อง (้hypofibrinolytic state) ดีขึ้นได้ ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ยิ่งไปกว่านั้น อีกการศึกษาหนึ่งพบว่า การได้รับเจ็มไฟโบรซิลในขนาดที่สูงขึ้น คือ 600 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง  ยังมีผลเพิ่มความไวต่ออินซูลินและสารสื่อประสาทต่างๆที่มีผลทำให้หลอดเลือดขายตัว (Flow-mediated vasodilation) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาขนาดเล็กเท่านั้น (n=10)

ข้อบ่งใช้

  • ภาวะไขมันในเลือดสูง ชนิดที่ 3 โดยเจ็มไฟโบรวิลถือเป็นยาทางเลือกสำหรับข้องบ่งใช้นี้
  • ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ชนิดที่ 4 ถึงแม้ว่าเจ็มไฟโบรซิลจะมีประสิทธิภาพในการลดไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดได้ไม่ดีเท่าไนอะซิน แต่การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากเจ็มไฟโบรซิลที่อาจเป็นผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยนั้นเกิดขึ้นได้น้อยและมีความรุนแรงน้อยกว่าไนอะซิน

ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ยา

 
อาการเส้นเลือดหดตัวบริเวณฝ่ามือที่เรียกว่า Raynaud phenomenon ซึ่งเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนักในผู้ที่อยู่ระหว่างการรับประทานเจ็มไฟโบรซิล

ข้อห้ามใช้

  • ห้ามใช้เจ็มไฟโบรซิลร่วมกับรีพากลิไนด์ (repaglinide), ซิมวาสแตติน (simvastatin), ยาอื่นในกลุ่มไฟเบรต, และดาซาบูเวียร์ (Dasabuvir)
  • ห้ามใช้เจ็มไฟโบรวิลในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับบกพร่อง (Hepatic dysfunction) รวมไปถึงโรคตับแข็งบิลิอารีชนิดปฐมภูมิ (primary biliary cirrhosis)
  • ห้ามใช้เจ็มไฟโบรซิลในผู้ที่แพ้ยานี้
  • ห้ามใช้เจ็มไฟโบรซิลในผู้ป่วยที่มีประวัติเคยเป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับถุงน้ำดี (gallbladder disease)
  • ห้ามใช้เจ็มไฟโบรซิลในผู้ป่วยไตทำงานบกพร่องอย่างรุนแรง (Severe renal dysfunction)

ข้อควรระวัง

ควรใช้เจ็มไฟโบรซิลด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยต่อไปนี้:

  • ผู้ป่วยโรคท่อน้ำดี เนื่องจากการใช้เจ็มไฟโบรซิลจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี (cholelithiasis) หากพบการเกิดความผิดปกติดังกล่าว ให้พิจารณาหยุดการใช้เจ็มไฟโบรซิลทันที
  • การใช้เจ็มไฟโบรวิลจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ที่นอกหเนือจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้ (noncoronary heart disease)
  • การใช้เจ็มไฟโบรซิลจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางที่รุนแรง, เม็ดเลือดขาวต่ำ (leukopenia), เกร็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia), และเกิดการกดการทำงานของไขกระดูก (bone marrow hypoplasia) ได้ จึงควรมีการติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวเนื่องเป็นระยะระหว่างการใช้ยานี้
  • การใช้เจ็มไฟโบรซิลอาจมีผลทำให้ระดับเอนไซม์ตับผิดปกติได้ ควรมีการติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานของตับเป็นระยะ หากมีอาการรุนแรงและต่อเนื่อง อาจพิจารณาหยุดการใช้เจ็มไฟโบรซิลได้
  • การใช้เจ็มไฟโบรซิลเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้ ยกเว้น มะเร็งผิวหนังชนิดเบซอลเซลล์ (basal cell carcinoma)
  • การใช้เจ็มไฟโบรซิลอาจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) ได้ หากตรวจพบความผิดปกติดังกล่าว ให้หยุดการใช้เจ็มไฟโบรวิลโดยทันที
  • การใช้เจ็มไฟโบรซิลอาจทำให้การทำงานของไตแย่ลงได้ โดยพบรายงานการเกิดได้บ่อยผู้ป่วยที่มีระดับครีทีนีนในกระแสเลือด (plasma creatinine) มากกว่า 2 กรัมต่อเดซิลิตร ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้การรักษาทางเลือกอื่นในผู้ป่วยกลุ่มนี้

อาการไม่พึงประสงค์

ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

  1. หัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว (AF): ในการศึกษาแบบปกปิดทั้งสองด้าน, มีกลุ่มควบคุม-ทดลอง (double-blind, placebo-controlled trial) ที่มีชื่อว่า Helsinki study พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation ในผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการใช้เจ็มไฟโบรซิลประมาณ 0.7% ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาหลอกเกิดความผิดปกติดังกล่าวเพียง 0.1% ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
  2. การมีโฮโมซิสเทอีนสูงในเลือด (Hyperhomocysteinemia): จากข้อมูลในการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการมีระดับโฮโมซิสเทอีนสูงผิดปกตินั้นมีความสัมพันธ์กับการใช้ยาฟีโนไฟเบรต โดยการศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาวิจัยแบบข้ามและมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มการศึกษา (randomized, crossover trial) ผลการศึกษาพบว่า การได้รับฟีโนไฟเบรตเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำให้ระดับโฮโมซิสเทอีนในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่าการได้รับเจ็มไฟโบรซิลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกันกับระดับครีทีนีนในกระแสเลือดและซิสเตตินซี (cystatin C) ที่เพิ่มขึ้นได้มากกว่าในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยฟีโนไฟเบรต ในขณะที่ประสิทธิภาพในการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ของยาทั้งสองชนิดนั้นให้ผลไม่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงพอจะสรุปได้ว่า การเพิ่มขึ้นของระดับโฮโมซิสเทอีนในกระแสเลือดนั้นเกิดจากการที่ไตทำงานลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากยาฟีโนไฟเบรตอีกทอดหนึ่ง โดยการเพิ่มขึ้นของระดับโฮโมซิสเทอีนในกระแสเลือดนี้ถือเป็นความเสี่ยงหนึ่งต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  3. อาการหลอดเลือดหดตัวชนิด Raynaud's phenomenon: มีรายงานการเกิดความผิดปกติดังกล่าวในผู้ป่วยเพศชายอายุ 34 ปี โดยมีความผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณมือทั้งสองข้าง อาการของโรครุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดการขาดเลือดของเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าว, เกิดหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis), เกิดอาการปวดข้อหลายข้อร่วมกัน (polyarthritis) ผู้ป่วยรายนี้มีประวัติการใช้เจ็มไฟโบรซิลมาเป็นเวลานาน 3 ปีก่อนเกิดความผิดปกติดังกล่าว ผลจากการเกิด Raynaud's phenomenon ทำให้ผู้ป่วยต้องหยุดการใช้ยาเจ็มไฟโบรซิล และเข้ารับการรักษาตามอาการ ซึ่งสามารถรักษาได้หายขาดในที่สุด


ผลต่อระบบผิวหนัง

ผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) เป็นอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้รับประทานเจ็มไฟโบรวิล ในการศึกษาแบบปกปิดทั้งสองด้าน, มีกลุ่มควบคุม-ทดลอง (double-blind, placebo-controlled trial) ที่มีชื่อว่า Helsinki study พบอุบัติการณ์การเกิดผื่นผิวหนังอักเสบในกลุ่มผู้ที่ใช้เจ็มไฟโบรซิลประมาณ 1.9% เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ที่เกิดความผิดปกติดังกล่าวได้ 1.2% ซึ่งไม่ได้มีความแตกต่างกันจนถึงระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้แล้ว ยังมีรายงานการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบร่วมกับผิวหนังอักเสบ (dermatomyositis/polymyositis) ในผู้ป่วยหญิงสูงอายุรายหนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงด้วยเจ็มไฟโบรซิล โดยผู้ป่วยมีอาการผิวหนังเป็นสะเก็ด, เกิดผื่นคัน, จ้ำผื่นสีม่วง, มีอาการอ่อนแรงมากขึ้น และมีระดับ Creatinin kinase (CPK) เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก หลังจากหยุดการใช้เจ็มไฟโบรซิล และให้การรักษาความผิดปกติดังกล่าวด้วยยาสเตียรอยด์ พบว่าผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาดี และหายจาดได้ในที่สุด

ส่วนการเกิดผื่นผิวหนังธรรมดา (Rash) ในการศึกษาดังกล่าว พบอุบัติการณ์การเกิดในผู้ที่ได้รับเจ็มไฟโบรซิลประมาณ 1.7% เปรียบทับกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกที่เกิดความผิดปกติดังกล่าว 1.3% ซึ่งไม่ได้มีความแตกต่างกันจนถึงระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติแต่อย่างใด

ผลต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือด

การศึกษาในผู้ป่วยไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานจำนวน 24 คน พบว่า เจ็มไฟโบรซิลไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลและระดับอินซูลินในกระแสเลือดของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ในทางตรงกันข้าม มีรายงานจากอีกการศึกษาหนึ่งที่พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (sulfonylurea) ที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเฉลี่ยสูงกว่า 9 มิลลิโมลต่อลิตร (กลุ่มที่ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดได้ไม่ดี) มีระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลงจนถึงระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อได้รับการรักษาด้วยเจ็มไฟโบรซิล 600-1200 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี กลับพบว่าการใช้เจ็มไฟโบรซิลในขนาดดังกล่าวทำให้ระดับน้ำตาลเฉลี่ยในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นจาก 9.2 มิลลิโมลต่อลิตร เป็น 11.7 มิลลิโมลต่อลิตร

นอกจากนี้แล้ว ยังมีการศึกษาทางคลินิกอีก 2 การศึกษาที่ให้ผลสอดคล้องกับการศึกษาดังข้างต้น โดยพบว่า การใช้เจ็มไฟโบรซิลในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงมีผลลดภาวะทนต่อต่อการเพิ่มของกลูโคสในกระแสเลือดไม่ได้ (glucose intolerance) และลดระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (fasting blood glucose) ในขณะที่ผลดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นจนถึงระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ เช่นเดียวกับการศึกษาของ Pagani A. และคณะ ที่พบว่าการใช้เจ็มไฟโบรซิลไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวใช้ระยะเวลาในการศึกษาเพียง 15 วันเท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลของเจ็มไฟโบรซิลต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดในระยะยาว

ผลต่อระดับเกลือแร่ในร่างกาย

มีรายงานการเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงที่รุนแรงจนถึงระดับที่ต้องทำการช่วยชีวิต (Life-threatening hyperkalemia) ร่วมกับการเกิดการสลายของกล้ามเนื้อแบบ rhabdomyolysis ในผู้ป่วยสูงอายุเพศหญิงที่เป็นโรคเบาหวานร่วมกับการมีระดับไขมันในเลือดสูง โดยหลังจากผู้ป่วยได้รับเจ็มไฟโบรซิลร่วมกับเซอริวาสแตตินเป็นเวลา 3 วัน ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกและปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติพบว่าระดับโพแทสเซียมในกระแสเลือดสูง, ปริมาณยูเรียและไนโตรเจนในเลือดสูง, ระดับครีทินินในเลือด (serum creatinine) สูง, และครีทินินไคเนส (creatine kinase)สูง ทำให้ผู้ป่วยรายนี้ต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลินและกลูโคสร่วมกับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) อย่างเร่งด่วน หลังจากการรักษาพบว่าระดับโพแทสเซียมในกระแสเลือดของผู้ป่วยและผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นปกติ แต่ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อเนื่องอีกเป็นระยะเวลา 7 วัน จากความผิดปกติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยรายนี้ ผู้ทำการศึกษาคาดว่าน่าจะเป็นผลมาจากการที่ผู้ป่วยได้รับเซอริวาสแตตินร่วมกับเจ็มไฟโบรซิล

ผลต่อระบบทางเดินอาหาร

อาการไม่พึงประสงค์ของเจ็มไฟโบรซิลค่อระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อย คือ อาการปวดท้อง และอาการท้องเสีย ในการศึกษาแบบปกปิดทั้งสองด้าน, มีกลุ่มควบคุม-ทดลอง (double-blind, placebo-controlled trial) ที่มีชื่อว่า Helsinki study พบอุบัติการณ์การเกิดอาการปวดท้องและท้องเสียในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเจ็มไฟโบรซิลประมาณร้อยละ 9.8 และ 7.5 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาหลอก ที่เกิดความผิดปกติดังกล่าวเพียงร้อยละ 5.6 และ 6.5 ลำดับ ซึ่งมีเฉพาะอาการปวดท้องเท่านั้นที่พบว่าความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มที่ได้รับการรักษาแตกต่างกัน

ส่วนอาการข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน โดยในการศึกษาเดียวกันกับการศึกษาดังข้างต้น พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเจ็มไฟโบรซิลมีอุบัติการณ์การเกิดไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกันกับการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis) และนิ่วในถุงน้ำดี (Cholelithiasis) ที่พบอุบัติการณ์การเกิดในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเจ็มไฟโบรซิลสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกประมาณ 2 เท่า

ผลต่อระบบโลหิต

อาการข้างเคียงที่รุนแรงของเจ็มไฟโบรซิลต่อระบบโลหิตที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ การอักเสบของทางเดินอาหารเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอีโอสิโนฟิลล์ (Eosinophilic gastroenteritis) ซึ่งพบรายงานการเกิดความผิดปกติดังกล่าวในผู้ป่วยหญิงสูงอายุที่ได้รับการรักษาภาวะไขมันในกระแสเลือดสูงด้วยเจ็มไฟโบรซิลแล้วเกิดปฏิกิริยาการแพ้ยาหลังจากรับประทานยาได้ 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำร่วมกับอาการปวดเกร็งช่องท้อง อาการของโรครุนแรงขึ้นภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว จนทำให้ผู้ป่วยรายนี้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis), หอบหืด (asthma), เก๊าต์, และโรคเบาหวาน ขณะเข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการซีดและขาดน้ำ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าผู้ป่วยมีระดับอีโอสิโนฟิลล์เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก

การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร (Endoscopy) ในผู้ป่วยรายดังกล่าวพบรอยพับบริเวณกระเพาะอาหารส่วนเอนทรัมอย่างเด่นชัด (antral folds), พบติ่งเนื้อที่กระเพาะอาหาร (gastric polyp), พบความเป็น granularity ของเยื่อบุลำไส้เล็กส่วนต้นและส่วนกลางได้อย่างชัดเจน ผลการตรวจชิ้นเนื้อทั้งจากระบบทางเดินอาหารส่วนบนและส่วนล่างพบว่าอีโอสิโนฟิลล์ในเซลล์เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหารส่วนเอนทรัม, ลำไส้เล็กส่วนต้น, ลำไส้ใหญ่ส่วนขึ้น (ascending colon), ลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง (transverse colon) และลำไส้ตรง (rectum) ในปริมาณมาก จากผลการตรวจดังกล่าว ได้มีการสั่งหยุดการใช้เจ็มไฟโบรซิลในผู้ป่วยรายนี้ หลังจากที่ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติ ได้มีการทดลองใช้ยาเจ็มไฟโบรซิลซ้ำ (echallenged) พบว่าผู้ป่วยกลับมีอาการท้องเสียและมีการเพิ่มขึ้นของอีโอสิโนฟิลล์เช่นเดิม จึงพิจารณาหยุดการใช้เจ็มไฟโบรซิลในผู้ป่วยรายนี้

การเพิ่มขึ้นของไฟบริโนเจน (Fibrinogen) เป็นอาการข้างเคียงจากเจ้มไฟโบรวิลอีกอย่างหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ ข้อมูลจากการศึกษาในผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงที่ได้รับการรักษาด้วยเจ็มไฟโบรซิลและมีภาวะการแข็งตัวของเลือดเป็นปรกติ พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมีระดับไฟบริโนเจนในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 17.6 จึงพอจะอนุมานได้ว่า การใช้เจ็มไฟโบรซิลอาจจะมีประโยชน์ในการป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ส่วนการมีจำนวนเม็ดเลือดแดงและ/หรือเม็ดเลือดขาวผิดปกติที่เป็นผลมาจากเจ็มไฟโบรซิลนั้น ผลศึกษาทางคลินิกไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เจ็มไฟโบรซิลต่อเนื่องในระยะยาวกับการเกิดความผิดปกติดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การลดลงของฮีโมโกลบิน, ฮีมาโทคริต, และเม็ดเลือดขาว อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงแรกของการรับประทานเจ็มไฟโบรซิล จึงควรมีการติดตามค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะในช่วงปีแรกของการเริ่มใช้เจ็มไฟโบรซิล ถึงแม้ว่าอุบัติการณ์การเกิดจะน้อยมากก็ตาม

ผลต่อการทำงานของตับ

การใช้เจ็มไฟโบรซิลอาจมีผลทำให้ระดับเอนไซม์ของตับ เช่น SGOT (AST), SGPT (ALT), LDH, bilirubin, lactate dehydrogenase, และ alkaline phosphatase เพิ่มสูงขึ้นได้ โดยทั่วไปแล้ว ค่าเหล่านี้จะกลับเข้าสู่ระดับปกติได้เองเมื่อมีการหยุดใช้ยา อย่างไรก็ตาม หากค่าดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับที่สูงมากอย่างต่อเนื่อง ควรพิจารณาหยุดการใช้ยานี้

ผลต่อระบบกล้ามเนื้อโครงสร้าง

 
ปัสสาวะของผู้ป่วยที่เกิดภาวะการสลายของกล้ามเนื้อแบบ Rhabdomyolysis ซึ่งจะมีสีน้ำตาลคล้ำ เป็นผลมาจากมีไมโอโกลบิน ที่เกิดจากการสลายของกล้ามเนื้อปนออกมากับปัสสาวะมากเกินไป

กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการเหนี่ยวนำของยา (Drug-induced myopathy) เป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดได้ในผู้ที่อยู่ระหว่างการรับประทานเจ็มไฟโบรซิล โดยมีรายงานการเกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบ (myositis) จากการมีความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน (acute compartment syndrome) ในผู้ป่วยที่ได้รับเจ็มไฟโบรซิล 1200 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ จากนั้น นอกจากนี้ยังมีรายงานการเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการเหนี่ยวนำของเจ็มไฟโบรซิล (gemfibrozil-induced myopathy) ในผู้ป่วยชายอายุ 52 ปีที่ได้รับเจ็มไฟโบรซิลในขนาด 1200 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3 ปี โดยผู้ป่วยมีอาการปวดอย่างเฉียบพลันที่บริเวณส่วนล่างของกล้ามเนื้อขา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติพบว่าค่าครีทินินไคเนส (creatine kinase) เท่ากับ 590 หน่วยต่อลิตร (ค่าปกติ 32-230 หน่วยต่อลิตร) ผู้ป่วยไม่มีอาการของภาวะกล้ามเนื้อสลายชนิด Rhabdomyolysis หลังจากการหยุดยาจนอาการดีขึ้น แล้วให้ยาซ้ำ (drug rechallenge) พบว่าผู้ป่วยกลับมามีอาการผิดปกติเช่นเดิม ทำให้ต้องมีการหยุดการใช้ยาเจ็มไฟโบรซิลในผู้ป่วยรายนี้

นอกจากนี้แล้ว เจ็มไฟโบรซิลยังสามารถก่อให้เกิดอาการข้างเคียงต่อกล้ามเนื้อที่รุนแรงได้ เรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อสลายชนิด Rhabdomyolysis ซึ่งพบรายงานการเกิดความผิดปกติดังกล่าวร่วมกับภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยที่ได้รับเจ็มไฟโบรซิลในขนาด 1200 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งในกรณีที่ใช้และไม่ใช้ยาลดไขมันกลุ่มสแตตินร่วมด้วย อาการที่พบได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรงและหดเกร็ง สูญเสียความสามารถในการเดิน ปัสสาวะสีน้ำตาลคล้ำ โดยการใช้ยาลดไขมันกลุ่มสแตตินร่วมกับเจ็มไฟโบรซิลจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกตินี้ได้มากยิ่งขึ้น

ผลต่อสุขภาพจิต

มีรายงานจากศูนย์เฝ้าระวังและติดตามการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาแห่งประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand Centre of Adverse Reactions Monitoring; CARM) ว่าพบการเกิดความผิดปกติทางจิตที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับกรดไฟบริค (fibric acid หรือ fibrates) ในผู้ป่วยจำนวน 77 ราย ประกอบด้วย ความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorders) 23 ราย โดนในจำนวนนี้มีอาการรุนแรง 1 ราย และ 1 รายมีการกลับเป็นซ้ำหลังจากได้รับเจ็มไฟโบรซิลอีกครั้ง, ความผิดปกติเกี่ยวความทรงจำและการเรียนรู้ (cognitive disorders) จำนวน 3 ราย ในจำนวนนี้มีอาการรุนแรง 2 ราย, ความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ (sleep disorders) จำนวน 12 ราย ในจำนวนนี้มีอาการรุนแรง 4 รายและ 1 รายมีการกลับเป็นซ้ำหลังจากได้รับเจ็มไฟโบรซิลอีกครั้ง, ความผิดปกติของระบบประสาทรับสัมผัส (perception disorders) จำนวน 2 ราย โดยมีอาการรุนแรงทั้ง 2 ราย, และความผิดปกติอื่นๆอีก 49 ราย ในจำนวนนี้มีอาการรุนแรง 3 ราย

ผลต่อการทำงานไต

เมื่อเปรียบเทียบความเป็นพิษต่อไต (Nephrotoxicity) ของเจ็มไฟโบรซิลกับยาอื่นในกลุ่มเดียวกัน อย่าง ซิโปรไฟเบรตและฟีโนไฟเบรตแล้ว พบว่าเจ็มไฟโบรซิลมีผลเพิ่มระดับคริทินีนในกระแสเลือด (serum creatinine) ได้น้อยกว่ายาทั้งสองชนิดดังข้างต้น โดยผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยซิโปรไฟเบรตหรือฟีโนไฟเบรตจะมีระดับของคริทินีนในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับค่าคริทินีนในกระแสเลือดพื้นฐานเดิมของผู้ป่วยก่อนได้รับการรักษา (17% และ 12% สำหรับซิโปรไฟเบรตและฟีโนไฟเบรต ตามลำดับ; p value < 0.001 ทั้งสองกลุ่ม) ส่วนเจ็มไฟโบรซิลนั้นเพิ่มค่าพารามิเตอร์ดังกล่าวขึ้นเพียง 6% ซึ่งไม่ได้แตกต่างไปจากค่าพื้นฐานเดิมก่อนการรักษาของผู้ป่วยจนถึงระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการศึกษาอีกการศึกษาหนึ่งก็ให้ผลไม่แตกต่างกันกับการศึกษาดังข้างต้น

อย่างไรก็ตาม เจ็มไฟโบรซิลสามารถทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้จากการเหนี่ยวนำให้เกิดการสลายของกล้ามเนื้อแบบ rhabdomyolysis โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยที่ใช้เจ้มไฟโบรซิลร่วมกับยาลดไขมันในกระแสเลือดกลุ่มสแตตินจะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติดังกล่าวเพิ่มมากยิ่งขึ้น ภึงแม้จะเป็นการใช้ยาในขนาดปกติก็ตาม

การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants): เจ็มไฟโบรวิลมีผลต่อระดับยาวาร์ฟาริน (warfarinและอินดานีไดโอน (indanedione)ในกระแสเลือดเป็นอย่างมาก
  • ยาลดไขมันในกระแสเลือดกลุ่มสแตติน (Statin drugs): การใช้เจ็มไฟโบรซิลร่วมกับยากลุ่มสแตตินจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อกล้ามเนื้อมากขึ้น เช่น ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว หรือในบางรายอาจมีความรุนแรงจนเกิดการสลายของกล้ามเนื้อแบบ rhabdomyolysis

ข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม

มีรายงานการพบเจ็มไฟโบรซิลปนเปื้อนในกากของเสียที่เหลือจากการบำบัดน้ำเสีย (biosolids) ในระดับที่มีความเข้มข้นมากถึง 2650 นาโนกรัมต่อกรัมของน้ำหนักแห้ง 

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Anon, G (1976). "Gemfibrozil: a new lipid lowering agent". Proc R Soc Med. 69 (Supplement 2) (1). |access-date= requires |url= (help)
  2. Rodney, G; และคณะ (1976). "The Hypolipidemic Effect of Gemfibrozil (CI-719) in Laboratory Animals". Proc. roy. Soc. Med. 69 (Supplement 2): 6–9. PMC 1864017. PMID 828263. สืบค้นเมื่อ 18 April 2015.
  3. Kaukola S, Manninen V, Malkonen M; และคณะ (1981). "Gemfibrozil in the treatment of dyslipidaemias in middle-aged male survivors of myocardial infarction". Acta Med Scand. 209: 69–73. Explicit use of et al. in: |author= (help); |access-date= requires |url= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  4. Rodney G, Uhlendorf P, & Maxwell RE (1976). "The hypolipidemic effect of gemfibrozil (CI-719) in laboratory animals". Proc R Soc Med. 99 (Supplement 2): 6–10. |access-date= requires |url= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  5. Nye EE, Sutherland WH, & Temple WA (1980). "The treatment of hyperlipoproteinaemia with gemfibrozil compared with placebo and clofibrate". N Z Med J. 92: 345–349. |access-date= requires |url= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  6. Olsson (1976). "Effect of gemfibrozil on lipoprotein concentrations in different types of hyperlipoproteinemia". Proc R Soc Med. 69 (Supplement 2): 28–31. |access-date= requires |url= (help)
  7. Vessby B, Litherll H, Boberg J; และคณะ (1976). "Gemfibrozil as a lipid lowering compound in hyperlipoproteinemia: a placebo-controlled crossover trial". Proc R Soc Med. 69: 32–37. Explicit use of et al. in: |author= (help); |access-date= requires |url= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  8. WebMD.com. "Gemfibrozil". สืบค้นเมื่อ January 20, 2016.
  9. Yoshida H, Ishikawa T, Ayaori M; และคณะ (1998). "Beneficial effect of gemfibrozil on the chemical composition and oxidative susceptibility of low density lipoprotein: a randomized, double-blind, placebo-controlled study". Atherosclerosis. 139: 179–187. Explicit use of et al. in: |author= (help); |access-date= requires |url= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  10. Sirtori CR, Franceschini G, Gianfranceschi G; และคณะ (1987). "Effects of gemfibrozil on plasma lipoprotein-apolipoprotein distribution and platelet reactivity in patients with hypertriglyceridemia". J Lab Clin Med. 110: 279–286. Explicit use of et al. in: |author= (help); |access-date= requires |url= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  11. Truven Health Analytics Inc. (2016). "Gemfibrozil". สืบค้นเมื่อ January 20, 2016.
  12. Jeng JR, Jeng CY, Sheu WHH, Lee MMS, PhDc, Huang PSH, and Shieh SM (1997). "Gemfibrozil treatment of hypertriglyceridemia: Improvement on fibrinolysis without change of insulin resistance". American Heart Journal. 134 (3): 565–571. doi:10.1016/S0002-8703(97)70096-6. สืบค้นเมื่อ January 20, 2015.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  13. Avogaro A, Miola M, Favaro A; และคณะ (2001). "Gemfibrozil improves insulin sensitivity and flow-mediated vasodilatation in type 2 diabetic patients". Eur J Clin Invest. 31 (7): 603–609. Explicit use of et al. in: |author= (help); |access-date= requires |url= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  14. Parke-Davis (2014). Product Information: LOPID(R) oral tablets, gemfibrozil oral tablets. Eur J Clin Invest. New York, NY: Parke-Davis (per FDA). |access-date= requires |url= (help)
  15. Parke-Davis (2008). Product Information: LOPID(R) oral tablets, gemfibrozil oral tablets. Eur J Clin Invest. New York, NY: Parke-Davis. |access-date= requires |url= (help)
  16. Westphal S, Kierkes J, & Luley C (2001). "Effects of fenofibrate and gemfibrozil on plasma homocysteine". Lancet. 358: 39–40. |access-date= requires |url= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  17. Smith GW & Hurst NP (1993). "Vasculitis, Raynaud's phenomenon and polyarthritis associated with gemfibrozil therapy (letter)". Br J Rheumatol. 32: 84–85. |access-date= requires |url= (help)
  18. Fusella J & Strosberg JM (1990). "Polymyositis exacerbated by gemfibrozil (letter)". J Rheumatol. 17: 572-3.
  19. Jeng CY, Sheu WHH, Fuh MMT; และคณะ (1996). "Gemfibrozil treatment of endogenous hypertriglyceridemia: effect on insulin-mediated glucose disposal and plasma insulin concentrations". J Clin Endocrinol Metab. 81: 2550-3. Explicit use of et al. in: |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  20. Shen DC, Fuh MM, Shieh SM; และคณะ (1991). "Effect of gemfibrozil treatment in sulfonylurea-treated patients with noninsulin-dependent diabetes mellitus". J Clin Endrocinol Metab. 73: 503-10. Explicit use of et al. in: |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  21. Testori GP, Ferrari C, Lepore R; และคณะ (1990). "Effect of gemfibrozil treatment on glucose tolerance in hypertriglyceridemic patients with normal or impaired glucose tolerance". Curr Ther Res. 47: 390-5. Explicit use of et al. in: |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  22. Pagani A, Dalmotto M, Pagano G; และคณะ (1989). "Effect of short-term gemfibrozil administration on glucose metabolism and insulin secretion in non-insulin-dependent diabetics". Curr Ther Res. 45: 14-20. Explicit use of et al. in: |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  23. Hendriks F, Kooman JP, & van der Sande FM (2001). "Massive rhabdomyolysis and life threatening hyperkalaemia in a patient with the combination of cerivastatin and gemfibrozil". Nephrol Dial Transplant. 16: 2418-9.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  24. Lee JY, Medellin MV, & Tumpkin C (2000). "Allergic reaction to gemfibrozil manifesting as eosinophilic gastroenteritis". South Med J. 93 (8): 807-8.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  25. Stringer MD, Steadman CA, & Kakkar VV (1990). "Gemfibrozil in hyperlipidaemic patients with peripheral arterial disease: some undiscovered actions". Curr Med Res Opin. 12: 207-14.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  26. Kaukola S, Manninen V, Malkonen M; และคณะ (1981). "Gemfibrozil in the treatment of dyslipidaemias in middle-aged male survivors of myocardial infarction". Acta Med Scand. 209: 69-73. Explicit use of et al. in: |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  27. Chow LT, Chow WH (1993). "Acute compartment syndrome: an unusual presentation of gemfibrozil induced myositis". Med J Aust. 158: 48-9.
  28. Magarian GJ, Lucas LM, & Colley C (1991). "Gemfibrozil-induced myopathy". Arch Intern Med. 151: 1873-4.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  29. Duell PB, Connor WE, & Illingworth DR (1998). "Rhabdomyolysis after taking atorvastatin with gemfibrozil". Am J Cardiol. 81: 368-9.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  30. Tal A, Rajeshawari M, & Isley W (1997). "Rhabdomyolysis associated with simvastatin-gemfibrozil therapy". South Med J. 90: 546-7.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  31. Gorriz JL, Sancho A, Lopez-Martin JM; และคณะ (1996). "Rhabdomyolysis and acute renal failure associated with gemfibrozil therapy (letter)". Nephron. 74: 437-8. Explicit use of et al. in: |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  32. van Puijenbroek EP, Du Buf-Vereijken PWG, Spooren PFMJ; และคณะ (1996). "Possible increased risk of rhabdomyolysis during concomitant use of simvastatin and gemfibrozil". J Intern Med. 240: 403-4. Explicit use of et al. in: |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  33. Marais GE & Larson KK (1990). "Rhabdomyolysis and acute renal failure induced by combination lovastatin and gemfibrozil therapy". Ann Intern Med. 112: 228-30.
  34. Tatley M & Savage R (2007). "Psychiatric adverse reactions with statins, fibrates and ezetimibe : implications for the use of lipid-lowering agents". Drug Saf. 30 (3): 195-201.
  35. Tsimihodimos V, Kakafika A, & Elisaf M (2001). "Fibrate treatment can increase serum creatinine levels (letter)". Nephrol Dial Transplant. 16: 1301.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  36. Broeders N, Knoop C, Antoine M; และคณะ (2000). "Fibrate-induced increase in blood urea and creatinine: is gemfibrozil the only innocuous agent?". Nephrol Dial Transplant. 15: 1993-9. Explicit use of et al. in: |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  37. United States Environment Protection Agency. "Biosolids US EPA". สืบค้นเมื่อ January 20, 2016.

เจ, มไฟโบรซ, บทความน, อาจต, องเข, ยนใหม, งหมดเพ, อให, เป, นไปตามมาตรฐานค, ณภาพของว, เด, หร, อกำล, งดำเน, นการอย, ณช, วยเราได, หน, าอภ, ปรายอาจม, อเสนอแนะ, งกฤษ, gemfibrozil, เป, นช, อสาม, ญของยาลดระด, บไขม, นในกระแสเล, อดชน, ดร, บประทาน, งถ, กจ, ดอย, ในยากล, ม. bthkhwamnixactxngekhiynihmthnghmdephuxihepniptammatrthankhunphaphkhxngwikiphiediy hruxkalngdaeninkarxyu khunchwyeraid hnaxphiprayxacmikhxesnxaenaecmifobrsil xngkvs Gemfibrozil epnchuxsamykhxngyaldradbikhmninkraaeseluxdchnidrbprathan sungthukcdxyuinyaklumifebrt Fibrate derivatives miokhrngsrangkhlaykhlungkbkhlxifebrt 1 pccubnmicahnayinchuxkarkhatangmakmay echn Lopid Jezil Gen FibroepntnecmifobrsilkhxmulthangkhlinikchuxthangkarkhaLopidAHFS Drugs comMonographMedlinePlusa686002radbkhwamesiyngtxtharkinkhrrphradb Cchxngthangkarrbyakarrbprathanrhs ATCC10AB04 WHO kthmaysthanatamkthmayyaxntraykhxmulephschclnsastrchiwprasiththiphlekuxb 100 karcbkboprtin95 karepliynaeplngyatb CYP3A4 khrungchiwitthangchiwphaph1 5 chwomngkarkhbxxkit 94 xuccara 6 twbngchichuxtamrabb IUPAC 5 2 5 dimethylphenoxy 2 2 dimethyl pentanoic acidelkhthaebiyn CAS25812 30 0 CAS PubChem CID3463IUPHAR BPS3439DrugBankDB01241 7ChemSpider3345 7UNIIQ8X02027X3KEGGD00334 7ChEBICHEBI 5296 7ChEMBLCHEMBL457 7ECHA InfoCard100 042 968khxmulthangkayphaphaelaekhmisutrC 15H 22O 3mwltxoml250 333 g molaebbcalxng 3D JSmol Interactive imagecudhlxmehlw61 thung 63 xngsaeslesiys 142 thung 145 xngsafaerniht SMILES O C O C C C CCCOc1cc ccc1C CInChI InChI 1S C15H22O3 c1 11 6 7 12 2 13 10 11 18 9 5 8 15 3 4 14 16 17 h6 7 10H 5 8 9H2 1 4H3 H 16 17 7Key HEMJJKBWTPKOJG UHFFFAOYSA N 7 verify saranukrmephschkrrm enuxha 1 prawtikarkhnphb 2 klikkarxxkvththi 3 vththithangephschwithya 4 khxbngich 5 khxmulekiywkbkhwamplxdphykhxngkarichya 5 1 khxhamich 5 2 khxkhwrrawng 5 3 xakarimphungprasngkh 5 3 1 phltxrabbhwicaelahlxdeluxd 5 3 2 phltxrabbphiwhnng 5 3 3 phltxradbnatalinkraaeseluxd 5 3 4 phltxradbekluxaerinrangkay 5 3 5 phltxrabbthangedinxahar 5 3 6 phltxrabbolhit 5 3 7 phltxkarthangankhxngtb 5 3 8 phltxrabbklamenuxokhrngsrang 5 3 9 phltxsukhphaphcit 5 3 10 phltxkarthanganit 6 karekidxntrkiriyarahwangya 7 khxmulthiekiywenuxngkbsingaewdlxm 8 duephim 9 xangxingprawtikarkhnphb aekikhecmifobrsilepnhnunginsarprakxbthihlaychnidthithuksngekhraahidinhxngthdlxngkhxngbristhyasychatixemriknthimichuxwa parkh dawis Parke Davis inchwngplaythswrrs 1970 odykarsngekhraahsarehlaniepnswnhnungkhxngkarsuksawicyephuxkhidkhnsarprakxbthimivththildradbikhmninkraaeseluxdthnginmnusyaelastw 2 klikkarxxkvththi aekikhecmifobrsilxxkvththiodykarkratunkarthangankhxngtwrb peroxisome proliferator activated receptor alpha PPARa phayinniwekhliys phlcakkarkratunthitwrbnicathaihekidkarephaphlaysarxaharpraephthkharobihedrthaelaikhmnmakkhun sungrwmipthungkratunihekidkarecriykhxngesllenuxeyuxikhmnitphiwhnngmakkhun adipose tissue differentiation nxkcakni karkratunthitwrbdngklawcathaihrangkaymikarsngekhraahexnismilopoprtinileps lipoprotein lipase makkhun sungphlcakkarephimkhunkhxngexnismni cathaihitrkliesxirdthukyxyepnkrdikhmnaelakliesxrxlmakkhun epnphlihradbitrkliesxirdinkraaeseluxdldlngidinthisudnxkcakni ecmifobrsilyngmivththiybyngkarsrangitrkliesxirdkhxngtb phankrabwnkarkarybyngkarslayikhmninkraaeseluxd lipolysis thaihmiprimankrdikhmnxisrainkraeluxdimmakphxthicanaipsrangitrkliesxird xikthngecmifobrsilyngsamarthybyngkarsrangkarsngekhraahxaopoprtintwphakhxngkhxelsetxrxlchnidkhwamhnaaenntamak VLDL cholesterol thaihradb VLDL C ldlng sngphltxenuxngihradb LDL C sungsrangmacak VLDL C ldlngidinthisud 1 3 thngnikarsuksainstwthdlxnghlaykarsuksaphbwa ecmifobrsilmiphlldkarekidptikiriyakarslayikhmninesllenuxeyuxikhmnitphiwhnng rwmthngmiphlldkarrwmtwkhxngkrdphalmmitikhthiidrbkartidchlakephschrngsi radiolabeled palmitic acid ekhaipinomelkulkhxngitrkliesxird sungphayhlngcathukhlngxxkmacaktbinrupkhxng VLDL C 4 vththithangephschwithya aekikh twrb PPARa peroxisome proliferator activated receptor alpha receptor epahmaykarxxkvththikhxngecmifobrsil ecmifobrsil 5 2 5 dimethylphenoxy 2 2 dimethylpentanoic acid epnyaldradbikhmninkraaeseluxdthimiokhrngsrangthangekhmithikhlaykhlungkbkhlxifebrt odyecmifobrsilmiprasiththiphaphinkarldradbilopoprtinkhxelsetxrxlchnidkhwamhnaaennta LDL cholesterol aelailopoprtinkhxelsetxrxlchnidkhwamhnaaenntamak VLDL cholesterol idepnxyangdiinthangkhlinik 1 nxkcakniyngmiphlephimradbilopoprtinkhxelsetxrxlchnidkhwamhnaaennsung HDL cholesterol idxikdwy 1 5 xyangirkdi emuxepriybethiybprasiththiphaphrahwangkarldradbkhxelsetxrxlkbkarldradbitrkliesxirdkhxngecmifobrsilaelwphbwa ecmifobrsilmiprasiththiphaphinkarldradbitrkliesxirdinkraaeseluxdiddikwa swnkarldradbkhxelsetxrxlnncaldidxyangminysakhyechphaainphupwythimiradbkhxelsetxrxlineluxdsungethann 5 6 7 8 karsuksathangkhlinikkarsuksahnungphbwa nxkcakecmifobrsilcamivththiinkarephimradb HDL C aelaldradb VLDL C aelw yngmiphlephimxaopoprtinex thu apoprotein A II dwy aetimmiphltxxaopoprtinex wn apoprotein A I 3 nxkcakniaelw ecmifobrsilxacmiphlchalxkardaeninipkhxngorkhhlxdeluxdaekhng atherosclerosis inphupwyikhmnineluxdsungchnidthi 2 aela 4 type II and IV hyperlipidemia odyphankrabwnkarkarldkhwamiwinkarekidptikiriyaxxksiedchnkhxng LDL C 9 karsuksahlaykarsuksainphupwythimiradbitrkliesxirdineluxdsungphbwa krabwnkarpxngknkarekidkhwamphidpktikhxnghlxdeluxdinrupaebbdngklawnn epnphlmacakkarldkarhlngilopoprtinthiepnsaehtukhxngkarekidkhwamphidpkti odyechphaaxyangying VLDL C 10 inbrrdakarsuksathangkhlinikthiphanma mikarsuksahnungthiphbwa karichecmifobrsilinkhnad 600 millikrm wnla 2 khrng miphlephimkarthangankhxngexnismpharaxxksaons paraoxanose inphupwyitrkliesxirdineluxdsungcanwn 57 khnidxyangminysakhythangsthiti p value lt 0 001 sungexnismdngklawepnexnismthithahnathismphnthkb HDL C inkarihodrilssarprakxbexsethxr high density lipoprotein HDL associated ester hydrolyase enzyme odyexnismdngklawcathaih HDL C mikhunsmbtiinkartanxnumulxisra odycakkarthdlxngphbwa exnismdngklawmiphlldkarekidptikiriyaxxksiedchnkhxng LDL thiekidcakkarehniywnakhxngthxngaedng rwmipthungldkartxbsnxngtx LDL thithukxxksiids oxidized LDL aelasarprakxbikhmnthiehniywnaihekidkarxkesb 9lipid induced inflammatory khxngphnnghlxdeluxdaedngdwy 11 nxkehnuxipcakkarephimradb HDL aelaldradbitrkliesxirdaelw karidrbkarrksadwyecmifobrsilinkhnad 300 millikrm wnla 2 khrng casngphlihkrabwnkarslaylimeluxdxudtninphupwythimiphawakarthangankhxngkarslaylimeluxdbkphrxng hypofibrinolytic state dikhunid sungcamipraoychnxyangmakinphupwythiepnorkhhlxdeluxdhwic 12 yingipkwann xikkarsuksahnungphbwa karidrbecmifobrsilinkhnadthisungkhun khux 600 millikrm wnla 2 khrng yngmiphlephimkhwamiwtxxinsulinaelasarsuxprasathtangthimiphlthaihhlxdeluxdkhaytw Flow mediated vasodilation inphupwyebahwanchnidthi 2 xyangirktam karsuksadngklawepnephiyngkarsuksakhnadelkethann n 10 13 khxbngich aekikhphawaikhmnineluxdsung chnidthi 3 odyecmifobrwilthuxepnyathangeluxksahrbkhxngbngichni phawaitrkliesxirdineluxdsung chnidthi 4 thungaemwaecmifobrsilcamiprasiththiphaphinkarlditrkliesxirdinkraaeseluxdidimdiethainxasin aetkarekidxakarimphungprasngkhcakecmifobrsilthixacepnphltxkhwamrwmmuxinkarichyakhxngphupwynnekidkhunidnxyaelamikhwamrunaerngnxykwainxasinkhxmulekiywkbkhwamplxdphykhxngkarichya aekikh xakaresneluxdhdtwbriewnfamuxthieriykwa Raynaud phenomenon sungekidkhunidimbxynkinphuthixyurahwangkarrbprathanecmifobrsil khxhamich aekikh hamichecmifobrsilrwmkbriphakliind repaglinide simwasaettin simvastatin 14 yaxuninklumifebrt aeladasabuewiyr Dasabuvir 11 hamichecmifobrwilinphupwythimikarthangankhxngtbbkphrxng Hepatic dysfunction rwmipthungorkhtbaekhngbilixarichnidpthmphumi primary biliary cirrhosis 14 hamichecmifobrsilinphuthiaephyani 14 hamichecmifobrsilinphupwythimiprawtiekhyepnorkhthiekiywenuxngkbthungnadi gallbladder disease 14 hamichecmifobrsilinphupwyitthanganbkphrxngxyangrunaerng Severe renal dysfunction 14 khxkhwrrawng aekikh khwrichecmifobrsildwykhwamramdrawnginphupwytxipni 14 phupwyorkhthxnadi enuxngcakkarichecmifobrsilcaephimkhwamesiyngtxkarekidniwinthungnadi cholelithiasis hakphbkarekidkhwamphidpktidngklaw ihphicarnahyudkarichecmifobrsilthnthi karichecmifobrwilcaephimkhwamesiyngtxkaresiychiwitdwyorkhhwic thinxkhenuxcakorkhhlxdeluxdhwicid noncoronary heart disease karichecmifobrsilcaephimkhwamesiyngtxkarekidphawaolhitcangthirunaerng emdeluxdkhawta leukopenia ekrdeluxdta thrombocytopenia aelaekidkarkdkarthangankhxngikhkraduk bone marrow hypoplasia id cungkhwrmikartidtamphlkartrwcthanghxngptibtikarthiekiywenuxngepnrayarahwangkarichyani karichecmifobrsilxacmiphlthaihradbexnismtbphidpktiid khwrmikartidtamphlkartrwcthanghxngptibtikarthiekiywenuxngkbkarthangankhxngtbepnraya hakmixakarrunaerngaelatxenuxng xacphicarnahyudkarichecmifobrsilid karichecmifobrsilephimkhwamesiyngtxkarekidmaerngid ykewn maerngphiwhnngchnidebsxlesll basal cell carcinoma karichecmifobrsilxacthaihekidorkhklamenuxxkesb Myositis id haktrwcphbkhwamphidpktidngklaw ihhyudkarichecmifobrwilodythnthi karichecmifobrsilxacthaihkarthangankhxngitaeylngid odyphbrayngankarekididbxyphupwythimiradbkhrithinininkraaeseluxd plasma creatinine makkwa 2 krmtxedsilitr dngnncungaenanaihichkarrksathangeluxkxuninphupwyklumnixakarimphungprasngkh aekikh phltxrabbhwicaelahlxdeluxd aekikh hwichxngbnetnaephwrarw AF inkarsuksaaebbpkpidthngsxngdan miklumkhwbkhum thdlxng double blind placebo controlled trial thimichuxwa Helsinki study phbxubtikarnkarekidphawahwicetnphidcnghwachnid Atrial fibrillation inphupwythixyurahwangkarichecmifobrsilpraman 0 7 inkhnathiklumthiidrbyahlxkekidkhwamphidpktidngklawephiyng 0 1 sungmikhwamaetktangknxyangminysakhythangsthiti 15 karmiohomsisethxinsungineluxd Hyperhomocysteinemia cakkhxmulinkarsuksathiphanmaphbwakarmiradbohomsisethxinsungphidpktinnmikhwamsmphnthkbkarichyafionifebrt odykarsuksadngklawepnkarsuksawicyaebbkhamaelamikarsumklumtwxyangekhaklumkarsuksa randomized crossover trial phlkarsuksaphbwa karidrbfionifebrtepnewla 6 spdah thaihradbohomsisethxininkraaeseluxdephimkhunmakkwakaridrbecmifobrsilxyangminysakhythangsthiti echnediywknkbradbkhrithinininkraaeseluxdaelasisettinsi cystatin C thiephimkhunidmakkwainklumthiidrbkarrksadwyfionifebrt inkhnathiprasiththiphaphinkarldradbitrkliesxirdkhxngyathngsxngchnidnnihphlimaetktangkn cakphlkarsuksadngklawcungphxcasrupidwa karephimkhunkhxngradbohomsisethxininkraaeseluxdnnekidcakkarthiitthanganldlng sungepnphlmacakyafionifebrtxikthxdhnung odykarephimkhunkhxngradbohomsisethxininkraaeseluxdnithuxepnkhwamesiynghnungtxkarekidorkhhlxdeluxdhwic 16 xakarhlxdeluxdhdtwchnid Raynaud s phenomenon mirayngankarekidkhwamphidpktidngklawinphupwyephschayxayu 34 pi odymikhwamphidpktiekidkhunbriewnmuxthngsxngkhang xakarkhxngorkhrunaerngkhunxyangrwderw cnthaihekidkarkhadeluxdkhxngenuxeyuxbriewndngklaw ekidhlxdeluxdxkesb vasculitis ekidxakarpwdkhxhlaykhxrwmkn polyarthritis phupwyraynimiprawtikarichecmifobrsilmaepnewlanan 3 pikxnekidkhwamphidpktidngklaw phlcakkarekid Raynaud s phenomenon thaihphupwytxnghyudkarichyaecmifobrsil aelaekharbkarrksatamxakar sungsamarthrksaidhaykhadinthisud 17 phltxrabbphiwhnng aekikh phunphiwhnngxkesb Eczema epnxakarkhangekhiyngthixacekidkhunidinphurbprathanecmifobrwil inkarsuksaaebbpkpidthngsxngdan miklumkhwbkhum thdlxng double blind placebo controlled trial thimichuxwa Helsinki study phbxubtikarnkarekidphunphiwhnngxkesbinklumphuthiichecmifobrsilpraman 1 9 epriybethiybkbklumthiidrbyahlxk thiekidkhwamphidpktidngklawid 1 2 sungimidmikhwamaetktangkncnthungradbthiminysakhythangsthiti 15 nxkcakniaelw yngmirayngankarekidklamenuxxkesbrwmkbphiwhnngxkesb dermatomyositis polymyositis inphupwyhyingsungxayurayhnungsungxyurahwangkarrksaphawaikhmnineluxdsungdwyecmifobrsil odyphupwymixakarphiwhnngepnsaekd ekidphunkhn caphunsimwng mixakarxxnaerngmakkhun aelamiradb Creatinin kinase CPK ephimsungkhunepnxyangmak hlngcakhyudkarichecmifobrsil aelaihkarrksakhwamphidpktidngklawdwyyasetiyrxyd phbwaphupwytxbsnxngtxkarrksadi aelahaycadidinthisud 18 swnkarekidphunphiwhnngthrrmda Rash inkarsuksadngklaw phbxubtikarnkarekidinphuthiidrbecmifobrsilpraman 1 7 epriybthbkbklumthiidrbyahlxkthiekidkhwamphidpktidngklaw 1 3 sungimidmikhwamaetktangkncnthungradbthiminysakhythangsthitiaetxyangid 15 phltxradbnatalinkraaeseluxd aekikh karsuksainphupwyitrkliesxirdineluxdsungthiimidepnorkhebahwancanwn 24 khn phbwa ecmifobrsilimmiphltxradbnatalaelaradbxinsulininkraaeseluxdkhxngphupwyklumdngklaw 19 inthangtrngknkham mirayngancakxikkarsuksahnungthiphbwa phupwyorkhebahwanchnidthi 2 thixyurahwangkarrksadwyyaklumslofnilyueriy sulfonylurea thimiradbnatalinkraaeseluxdechliysungkwa 9 milliomltxlitr klumthikhwbkhumnatalinkraaeseluxdidimdi miradbnatalineluxdthildlngcnthungradbthiminysakhythangsthitiemuxidrbkarrksadwyecmifobrsil 600 1200 millikrmtxwn xyangirktam inklumphupwythikhwbkhumradbnataliddi klbphbwakarichecmifobrsilinkhnaddngklawthaihradbnatalechliyinkraaeseluxdephimkhuncak 9 2 milliomltxlitr epn 11 7 milliomltxlitr 20 nxkcakniaelw yngmikarsuksathangkhlinikxik 2 karsuksathiihphlsxdkhlxngkbkarsuksadngkhangtn odyphbwa karichecmifobrsilinphupwyorkhebahwanthimiitrkliesxirdsungmiphlldphawathntxtxkarephimkhxngkluokhsinkraaeseluxdimid glucose intolerance aelaldradbnatalineluxdkhnaxdxahar fasting blood glucose inkhnathiphldngklawcaimekidkhuncnthungradbthiminysakhythangsthitiinphupwythimiradbnatalineluxdpkti 21 echnediywkbkarsuksakhxng Pagani A aelakhna thiphbwakarichecmifobrsilimmiphltxradbnatalineluxdinphuthiimidepnorkhebahwan xyangirktam karsuksadngklawichrayaewlainkarsuksaephiyng 15 wnethann cungcaepntxngmikarsuksaephimetimthungphlkhxngecmifobrsiltxradbnatalinkraaeseluxdinrayayaw 22 phltxradbekluxaerinrangkay aekikh mirayngankarekidphawaophaethsesiymineluxdsungthirunaerngcnthungradbthitxngthakarchwychiwit Life threatening hyperkalemia rwmkbkarekidkarslaykhxngklamenuxaebb rhabdomyolysis inphupwysungxayuephshyingthiepnorkhebahwanrwmkbkarmiradbikhmnineluxdsung odyhlngcakphupwyidrbecmifobrsilrwmkbesxriwasaettinepnewla 3 wn phupwytxngekharbkarrksainorngphyabaldwyxakarecbaennhnaxkaelapwdemuxyklamenuxxyangrunaerng phlkartrwcthanghxngptibtiphbwaradbophaethsesiyminkraaeseluxdsung primanyueriyaelainotrecnineluxdsung radbkhrithininineluxd serum creatinine sung aelakhrithininikhens creatine kinase sung thaihphupwyraynitxngidrbkarrksadwykarchidxinsulinaelakluokhsrwmkbkarfxkeluxddwyekhruxngitethiym hemodialysis xyangerngdwn hlngcakkarrksaphbwaradbophaethsesiyminkraaeseluxdkhxngphupwyaelaphlkartrwckhluniffahwicepnpkti aetphupwyyngcaepntxngidrbkarfxkeluxddwyekhruxngitethiymtxenuxngxikepnrayaewla 7 wn cakkhwamphidpktithnghmdthiekidkhuninphupwyrayni phuthakarsuksakhadwanacaepnphlmacakkarthiphupwyidrbesxriwasaettinrwmkbecmifobrsil 23 phltxrabbthangedinxahar aekikh xakarimphungprasngkhkhxngecmifobrsilkhxrabbthangedinxaharthiphbidbxy khux xakarpwdthxng aelaxakarthxngesiy inkarsuksaaebbpkpidthngsxngdan miklumkhwbkhum thdlxng double blind placebo controlled trial thimichuxwa Helsinki study phbxubtikarnkarekidxakarpwdthxngaelathxngesiyinphupwythiidrbkarrksadwyecmifobrsilpramanrxyla 9 8 aela 7 5 tamladb emuxepriybethiybkbklumphupwythiidrbkarrksadwyyahlxk thiekidkhwamphidpktidngklawephiyngrxyla 5 6 aela 6 5 ladb sungmiechphaaxakarpwdthxngethannthiphbwakhwamaetktangknxyangminysakhythangsthitirahwangphupwythngsxngklumthiidrbkarrksaaetktangkn 15 swnxakarkhangekhiyngtxrabbthangedinxaharxun thixacekidkhunid khux istingxkesbechiybphln odyinkarsuksaediywknkbkarsuksadngkhangtn phbwaphupwythiidrbkarrksadwyecmifobrsilmixubtikarnkarekidistingxkesbechiybphlnmakkwaklumphupwythiidrbkarrksadwyyahlxkxyangminysakhythangsthiti echnediywknkbkarekidthungnadixkesb Cholecystitis aelaniwinthungnadi Cholelithiasis thiphbxubtikarnkarekidinklumphupwythiidrbkarrksadwyecmifobrsilsungkwaklumthiidrbyahlxkpraman 2 etha 15 phltxrabbolhit aekikh xakarkhangekhiyngthirunaerngkhxngecmifobrsiltxrabbolhitthixacekidkhunid khux karxkesbkhxngthangedinxaharenuxngcakkarephimkhunkhxngxioxsionfill Eosinophilic gastroenteritis sungphbrayngankarekidkhwamphidpktidngklawinphupwyhyingsungxayuthiidrbkarrksaphawaikhmninkraaeseluxdsungdwyecmifobrsilaelwekidptikiriyakaraephyahlngcakrbprathanyaid 2 spdah phupwymixakarthayehlwepnnarwmkbxakarpwdekrngchxngthxng xakarkhxngorkhrunaerngkhunphayinrayaewlaxnrwderw cnthaihphupwyraynitxngekharbkarrksainorngphyabal phupwymiprawtiepnorkhcmukxkesbcakphumiaeph allergic rhinitis hxbhud asthma ekat aelaorkhebahwan khnaekharbkarrksaxyuinorngphyabal phupwymixakarsidaelakhadna phlkartrwcthanghxngptibtikarphbwaphupwymiradbxioxsionfillephimsungkhunepnxyangmakkarsxngklxngtrwckraephaaxahar Endoscopy inphupwyraydngklawphbrxyphbbriewnkraephaaxaharswnexnthrmxyangednchd antral folds phbtingenuxthikraephaaxahar gastric polyp phbkhwamepn granularity khxngeyuxbulaiselkswntnaelaswnklangidxyangchdecn phlkartrwcchinenuxthngcakrabbthangedinxaharswnbnaelaswnlangphbwaxioxsionfillineslleyuxbuphiwkhxngkraephaaxaharswnexnthrm laiselkswntn laisihyswnkhun ascending colon laisihyswnkhwang transverse colon aelalaistrng rectum inprimanmak cakphlkartrwcdngklaw idmikarsnghyudkarichecmifobrsilinphupwyrayni hlngcakthiphupwyrayniidrbkarrksacnhayepnpkti idmikarthdlxngichyaecmifobrsilsa echallenged phbwaphupwyklbmixakarthxngesiyaelamikarephimkhunkhxngxioxsionfillechnedim cungphicarnahyudkarichecmifobrsilinphupwyrayni 24 karephimkhunkhxngifbrionecn Fibrinogen epnxakarkhangekhiyngcakecmifobrwilxikxyanghnungthisamarthekidkhunid khxmulcakkarsuksainphupwyikhmnineluxdsungthiidrbkarrksadwyecmifobrsilaelamiphawakaraekhngtwkhxngeluxdepnprkti phbwa phupwyklumdngklawmiradbifbrionecninkraaeseluxdephimkhunechliyrxyla 17 6 cungphxcaxnumanidwa karichecmifobrsilxaccamipraoychninkarpxngknkarxudtnkhxngesneluxdinphuthimikhwamesiyngtxkarekidorkhhlxdeluxdhwic 25 swnkarmicanwnemdeluxdaedngaela hruxemdeluxdkhawphidpktithiepnphlmacakecmifobrsilnn phlsuksathangkhlinikimphbkhwamsmphnthrahwangkarichecmifobrsiltxenuxnginrayayawkbkarekidkhwamphidpktidngklaw 26 xyangirktam karldlngkhxnghiomoklbin himaothkhrit aelaemdeluxdkhaw xacekidkhunidinchwngaerkkhxngkarrbprathanecmifobrsil cungkhwrmikartidtamkhapharamietxrthiekiywenuxngxyangnxypila 1 khrng odyechphaainchwngpiaerkkhxngkarerimichecmifobrsil thungaemwaxubtikarnkarekidcanxymakktam 15 25 phltxkarthangankhxngtb aekikh karichecmifobrsilxacmiphlthaihradbexnismkhxngtb echn SGOT AST SGPT ALT LDH bilirubin lactate dehydrogenase aela alkaline phosphatase ephimsungkhunid odythwipaelw khaehlanicaklbekhasuradbpktiidexngemuxmikarhyudichya xyangirktam hakkhadngklawyngkhngxyuinradbthisungmakxyangtxenuxng khwrphicarnahyudkarichyani 15 phltxrabbklamenuxokhrngsrang aekikh pssawakhxngphupwythiekidphawakarslaykhxngklamenuxaebb Rhabdomyolysis sungcamisinatalkhla epnphlmacakmiimoxoklbin thiekidcakkarslaykhxngklamenuxpnxxkmakbpssawamakekinip klamenuxxxnaerngcakkarehniywnakhxngya Drug induced myopathy epnxakarimphungprasngkhthixacekididinphuthixyurahwangkarrbprathanecmifobrsil odymirayngankarekidorkhklamenuxxkesb myositis cakkarmikhwamdninchxngklamenuxsungkhunxyangechiybphln acute compartment syndrome inphupwythiidrbecmifobrsil 1200 millikrmtxwn epnrayaewlatxenuxng 6 spdah caknn 27 nxkcakniyngmirayngankarekidphawaklamenuxxxnaerngcakkarehniywnakhxngecmifobrsil gemfibrozil induced myopathy inphupwychayxayu 52 pithiidrbecmifobrsilinkhnad 1200 millikrmtxwn epnrayaewlatxenuxng 3 pi odyphupwymixakarpwdxyangechiybphlnthibriewnswnlangkhxngklamenuxkha phlkartrwcthanghxngptibtiphbwakhakhrithininikhens creatine kinase ethakb 590 hnwytxlitr khapkti 32 230 hnwytxlitr phupwyimmixakarkhxngphawaklamenuxslaychnid Rhabdomyolysis hlngcakkarhyudyacnxakardikhun aelwihyasa drug rechallenge phbwaphupwyklbmamixakarphidpktiechnedim thaihtxngmikarhyudkarichyaecmifobrsilinphupwyrayni 28 nxkcakniaelw ecmifobrsilyngsamarthkxihekidxakarkhangekhiyngtxklamenuxthirunaerngid eriykwa phawaklamenuxslaychnid Rhabdomyolysis sungphbrayngankarekidkhwamphidpktidngklawrwmkbphawaitwayechiybphlninphupwythiidrbecmifobrsilinkhnad 1200 millikrmtxwn thnginkrnithiichaelaimichyaldikhmnklumsaettinrwmdwy xakarthiphbidaek klamenuxxxnaerngaelahdekrng suyesiykhwamsamarthinkaredin pssawasinatalkhla odykarichyaldikhmnklumsaettinrwmkbecmifobrsilcaephimkhwamesiyngtxkarekidkhwamphidpktiniidmakyingkhun 29 30 31 32 33 phltxsukhphaphcit aekikh mirayngancaksunyefarawngaelatidtamkarekidxakarimphungprasngkhcakyaaehngpraethsniwsiaelnd New Zealand Centre of Adverse Reactions Monitoring CARM waphbkarekidkhwamphidpktithangcitthimikhwamsmphnthkbkaridrbkrdifbrikh fibric acid hrux fibrates inphupwycanwn 77 ray prakxbdwy khwamphidpktithangxarmn mood disorders 23 ray odnincanwnnimixakarrunaerng 1 ray aela 1 raymikarklbepnsahlngcakidrbecmifobrsilxikkhrng khwamphidpktiekiywkhwamthrngcaaelakareriynru cognitive disorders canwn 3 ray incanwnnimixakarrunaerng 2 ray khwamphidpktiekiywkbkarnxnhlb sleep disorders canwn 12 ray incanwnnimixakarrunaerng 4 rayaela 1 raymikarklbepnsahlngcakidrbecmifobrsilxikkhrng khwamphidpktikhxngrabbprasathrbsmphs perception disorders canwn 2 ray odymixakarrunaerngthng 2 ray aelakhwamphidpktixunxik 49 ray incanwnnimixakarrunaerng 3 ray 34 phltxkarthanganit aekikh emuxepriybethiybkhwamepnphistxit Nephrotoxicity khxngecmifobrsilkbyaxuninklumediywkn xyang sioprifebrtaelafionifebrtaelw phbwaecmifobrsilmiphlephimradbkhrithinininkraaeseluxd serum creatinine idnxykwayathngsxngchniddngkhangtn odyphupwythiidrbkarrksadwysioprifebrthruxfionifebrtcamiradbkhxngkhrithinininkraaeseluxdephimkhunxyangminysakhythangsthitiemuxepriybethiybkbkhakhrithinininkraaeseluxdphunthanedimkhxngphupwykxnidrbkarrksa 17 aela 12 sahrbsioprifebrtaelafionifebrt tamladb p value lt 0 001 thngsxngklum swnecmifobrsilnnephimkhapharamietxrdngklawkhunephiyng 6 sungimidaetktangipcakkhaphunthanedimkxnkarrksakhxngphupwycnthungradbthiminysakhythangsthiti 35 swnkarsuksaxikkarsuksahnungkihphlimaetktangknkbkarsuksadngkhangtn 36 xyangirktam ecmifobrsilsamarththaihekidphawaitwayechiybphlnidcakkarehniywnaihekidkarslaykhxngklamenuxaebb rhabdomyolysis odyechphaaxyangying phupwythiichecmifobrsilrwmkbyaldikhmninkraaeseluxdklumsaettincathaihkhwamesiyngtxkarekidkhwamphidpktidngklawephimmakyingkhun phungaemcaepnkarichyainkhnadpktiktam 29 30 31 32 33 karekidxntrkiriyarahwangya aekikhyatankaraekhngtwkhxngeluxd Anticoagulants ecmifobrwilmiphltxradbyawarfarin warfarinaelaxindaniidoxn indanedione inkraaeseluxdepnxyangmak yaldikhmninkraaeseluxdklumsaettin Statin drugs karichecmifobrsilrwmkbyaklumsaettincaephimkhwamesiyngtxkarekidxakarimphungprasngkhtxklamenuxmakkhun echn pwdemuxklamenux epntakhriw hruxinbangrayxacmikhwamrunaerngcnekidkarslaykhxngklamenuxaebb rhabdomyolysiskhxmulthiekiywenuxngkbsingaewdlxm aekikhmirayngankarphbecmifobrsilpnepuxninkakkhxngesiythiehluxcakkarbabdnaesiy biosolids inradbthimikhwamekhmkhnmakthung 2650 naonkrmtxkrmkhxngnahnkaehng 37 duephim aekikhebsaifebrt khlxifebrt xalumieniym khlxifebrt fionifebrt simifebrt orniifebrt sioprifebrt xiothifebrt khlxifbrid ikhlonifebrtxangxing aekikh 1 0 1 1 1 2 1 3 Anon G 1976 Gemfibrozil a new lipid lowering agent Proc R Soc Med 69 Supplement 2 1 access date requires url help Rodney G aelakhna 1976 The Hypolipidemic Effect of Gemfibrozil CI 719 in Laboratory Animals Proc roy Soc Med 69 Supplement 2 6 9 PMC 1864017 PMID 828263 subkhnemux 18 April 2015 3 0 3 1 Kaukola S Manninen V Malkonen M aelakhna 1981 Gemfibrozil in the treatment of dyslipidaemias in middle aged male survivors of myocardial infarction Acta Med Scand 209 69 73 Explicit use of et al in author help access date requires url help CS1 maint multiple names authors list link Rodney G Uhlendorf P amp Maxwell RE 1976 The hypolipidemic effect of gemfibrozil CI 719 in laboratory animals Proc R Soc Med 99 Supplement 2 6 10 access date requires url help CS1 maint multiple names authors list link 5 0 5 1 Nye EE Sutherland WH amp Temple WA 1980 The treatment of hyperlipoproteinaemia with gemfibrozil compared with placebo and clofibrate N Z Med J 92 345 349 access date requires url help CS1 maint multiple names authors list link Olsson 1976 Effect of gemfibrozil on lipoprotein concentrations in different types of hyperlipoproteinemia Proc R Soc Med 69 Supplement 2 28 31 access date requires url help Vessby B Litherll H Boberg J aelakhna 1976 Gemfibrozil as a lipid lowering compound in hyperlipoproteinemia a placebo controlled crossover trial Proc R Soc Med 69 32 37 Explicit use of et al in author help access date requires url help CS1 maint multiple names authors list link WebMD com Gemfibrozil subkhnemux January 20 2016 Yoshida H Ishikawa T Ayaori M aelakhna 1998 Beneficial effect of gemfibrozil on the chemical composition and oxidative susceptibility of low density lipoprotein a randomized double blind placebo controlled study Atherosclerosis 139 179 187 Explicit use of et al in author help access date requires url help CS1 maint multiple names authors list link Sirtori CR Franceschini G Gianfranceschi G aelakhna 1987 Effects of gemfibrozil on plasma lipoprotein apolipoprotein distribution and platelet reactivity in patients with hypertriglyceridemia J Lab Clin Med 110 279 286 Explicit use of et al in author help access date requires url help CS1 maint multiple names authors list link 11 0 11 1 Truven Health Analytics Inc 2016 Gemfibrozil subkhnemux January 20 2016 Jeng JR Jeng CY Sheu WHH Lee MMS PhDc Huang PSH and Shieh SM 1997 Gemfibrozil treatment of hypertriglyceridemia Improvement on fibrinolysis without change of insulin resistance American Heart Journal 134 3 565 571 doi 10 1016 S0002 8703 97 70096 6 subkhnemux January 20 2015 CS1 maint multiple names authors list link Avogaro A Miola M Favaro A aelakhna 2001 Gemfibrozil improves insulin sensitivity and flow mediated vasodilatation in type 2 diabetic patients Eur J Clin Invest 31 7 603 609 Explicit use of et al in author help access date requires url help CS1 maint multiple names authors list link 14 0 14 1 14 2 14 3 14 4 14 5 Parke Davis 2014 Product Information LOPID R oral tablets gemfibrozil oral tablets Eur J Clin Invest New York NY Parke Davis per FDA access date requires url help 15 0 15 1 15 2 15 3 15 4 15 5 15 6 Parke Davis 2008 Product Information LOPID R oral tablets gemfibrozil oral tablets Eur J Clin Invest New York NY Parke Davis access date requires url help Westphal S Kierkes J amp Luley C 2001 Effects of fenofibrate and gemfibrozil on plasma homocysteine Lancet 358 39 40 access date requires url help CS1 maint multiple names authors list link Smith GW amp Hurst NP 1993 Vasculitis Raynaud s phenomenon and polyarthritis associated with gemfibrozil therapy letter Br J Rheumatol 32 84 85 access date requires url help Fusella J amp Strosberg JM 1990 Polymyositis exacerbated by gemfibrozil letter J Rheumatol 17 572 3 Jeng CY Sheu WHH Fuh MMT aelakhna 1996 Gemfibrozil treatment of endogenous hypertriglyceridemia effect on insulin mediated glucose disposal and plasma insulin concentrations J Clin Endocrinol Metab 81 2550 3 Explicit use of et al in author help CS1 maint multiple names authors list link Shen DC Fuh MM Shieh SM aelakhna 1991 Effect of gemfibrozil treatment in sulfonylurea treated patients with noninsulin dependent diabetes mellitus J Clin Endrocinol Metab 73 503 10 Explicit use of et al in author help CS1 maint multiple names authors list link Testori GP Ferrari C Lepore R aelakhna 1990 Effect of gemfibrozil treatment on glucose tolerance in hypertriglyceridemic patients with normal or impaired glucose tolerance Curr Ther Res 47 390 5 Explicit use of et al in author help CS1 maint multiple names authors list link Pagani A Dalmotto M Pagano G aelakhna 1989 Effect of short term gemfibrozil administration on glucose metabolism and insulin secretion in non insulin dependent diabetics Curr Ther Res 45 14 20 Explicit use of et al in author help CS1 maint multiple names authors list link Hendriks F Kooman JP amp van der Sande FM 2001 Massive rhabdomyolysis and life threatening hyperkalaemia in a patient with the combination of cerivastatin and gemfibrozil Nephrol Dial Transplant 16 2418 9 CS1 maint multiple names authors list link Lee JY Medellin MV amp Tumpkin C 2000 Allergic reaction to gemfibrozil manifesting as eosinophilic gastroenteritis South Med J 93 8 807 8 CS1 maint multiple names authors list link 25 0 25 1 Stringer MD Steadman CA amp Kakkar VV 1990 Gemfibrozil in hyperlipidaemic patients with peripheral arterial disease some undiscovered actions Curr Med Res Opin 12 207 14 CS1 maint multiple names authors list link Kaukola S Manninen V Malkonen M aelakhna 1981 Gemfibrozil in the treatment of dyslipidaemias in middle aged male survivors of myocardial infarction Acta Med Scand 209 69 73 Explicit use of et al in author help CS1 maint multiple names authors list link Chow LT Chow WH 1993 Acute compartment syndrome an unusual presentation of gemfibrozil induced myositis Med J Aust 158 48 9 Magarian GJ Lucas LM amp Colley C 1991 Gemfibrozil induced myopathy Arch Intern Med 151 1873 4 CS1 maint multiple names authors list link 29 0 29 1 Duell PB Connor WE amp Illingworth DR 1998 Rhabdomyolysis after taking atorvastatin with gemfibrozil Am J Cardiol 81 368 9 CS1 maint multiple names authors list link 30 0 30 1 Tal A Rajeshawari M amp Isley W 1997 Rhabdomyolysis associated with simvastatin gemfibrozil therapy South Med J 90 546 7 CS1 maint multiple names authors list link 31 0 31 1 Gorriz JL Sancho A Lopez Martin JM aelakhna 1996 Rhabdomyolysis and acute renal failure associated with gemfibrozil therapy letter Nephron 74 437 8 Explicit use of et al in author help CS1 maint multiple names authors list link 32 0 32 1 van Puijenbroek EP Du Buf Vereijken PWG Spooren PFMJ aelakhna 1996 Possible increased risk of rhabdomyolysis during concomitant use of simvastatin and gemfibrozil J Intern Med 240 403 4 Explicit use of et al in author help CS1 maint multiple names authors list link 33 0 33 1 Marais GE amp Larson KK 1990 Rhabdomyolysis and acute renal failure induced by combination lovastatin and gemfibrozil therapy Ann Intern Med 112 228 30 Tatley M amp Savage R 2007 Psychiatric adverse reactions with statins fibrates and ezetimibe implications for the use of lipid lowering agents Drug Saf 30 3 195 201 Tsimihodimos V Kakafika A amp Elisaf M 2001 Fibrate treatment can increase serum creatinine levels letter Nephrol Dial Transplant 16 1301 CS1 maint multiple names authors list link Broeders N Knoop C Antoine M aelakhna 2000 Fibrate induced increase in blood urea and creatinine is gemfibrozil the only innocuous agent Nephrol Dial Transplant 15 1993 9 Explicit use of et al in author help CS1 maint multiple names authors list link United States Environment Protection Agency Biosolids US EPA subkhnemux January 20 2016 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title ecmifobrsil amp oldid 9238096, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม