fbpx
วิกิพีเดีย

แสงวาบรังสีแกมมา

แสงวาบรังสีแกมมา (อังกฤษ: Gamma-ray burst: GRB) คือแสงสว่างของรังสีแกมมาที่เกี่ยวข้องกับการระเบิดอย่างรุนแรงของดาราจักรที่อยู่ไกลมากๆ นับเป็นปรากฏการณ์ทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สว่างที่สุดที่ปรากฏในเอกภพนับแต่เหตุการณ์บิกแบง ตามปกติเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเป็นเวลาเพียงไม่กี่วินาที แต่ก็อาจมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันตั้งแต่ไม่กี่มิลลิวินาทีไปจนถึงหนึ่งชั่วโมง หลังจากการระเบิดครั้งแรก จะมีเหตุการณ์ "afterglow" อันยาวนานติดตามมาที่ช่วงความยาวคลื่นอื่นที่ยาวกว่า (เช่น รังสีเอ็กซ์ อัลตราไวโอเลต แสงที่ตามองเห็น อินฟราเรด และคลื่นวิทยุ)

ภาพวาดจากศิลปินแสดงชีวิตของดาวฤกษ์มวลมากซึ่งเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น เปลี่ยนให้อนุภาคที่เบากว่ากลายเป็นอนุภาคมวลหนัก เมื่อการเกิดฟิวชั่นไม่อาจสร้างแรงดันเพียงพอจะต้านการยุบตัวจากแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์จะยุบตัวลงอย่างรวดเร็วและกลายเป็นหลุมดำ ตามทฤษฎีแล้ว พลังงานจะถูกปลดปล่อยออกมาระหว่างการยุบตัวตามแนวแกนของการหมุน ทำให้เกิดแสงวาบรังสีแกมมา Credit: Nicolle Rager Fuller/NSF

แสงวาบรังสีแกมมาที่สังเกตพบส่วนใหญ่คิดว่าเป็นลำแสงแคบๆ ประกอบด้วยรังสีที่หนาแน่นซึ่งปลดปล่อยออกมาระหว่างเกิดเหตุซูเปอร์โนวา เนื่องจากดาวฤกษ์ที่มีมวลสูงมากและหมุนด้วยความเร็วสูงได้แตกสลายลงกลายเป็นหลุมดำ มีการแบ่งประเภทย่อยของแสงวาบรังสีแกมมาซึ่งเกิดจากกระบวนการอื่นที่แตกต่างกัน เช่นเกิดการรวมตัวกันของดาวนิวตรอนที่เป็นดาวคู่

แหล่งกำเนิดแสงวาบรังสีแกมมาส่วนใหญ่อยู่ห่างจากโลกไปไกลนับพันล้านปีแสง แสดงว่าการระเบิดนั้นจะต้องทำให้เกิดพลังงานสูงมาก (การระเบิดแบบปกติจะปลดปล่อยพลังงานจำนวนมากเพียงไม่กี่วินาทีเท่าพลังงานที่ดวงอาทิตย์ส่งออกไปตลอดช่วงอายุ 10,000 ล้านปี) และเกิดขึ้นน้อยมาก (เพียงไม่กี่ครั้งต่อดาราจักรต่อล้านปี) แสงวาบรังสีแกมมาที่สังเกตพบทั้งหมดมาจากดาราจักรแห่งอื่นพ้นจากทางช้างเผือก แม้จะมีการพบปรากฏการณ์คล้ายๆ กัน คือ soft gamma repeater flares เกิดจาก Magnetar ภายในทางช้างเผือกนี้ มีการตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าเกิดแสงวาบรังสีแกมมาขึ้นในทางช้างเผือกแล้ว จะทำให้โลกดับสูญไปทั้งหมด

การค้นพบแสงวาบรังสีแกมมาครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1967 โดยดาวเทียม Vela ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเทียมที่ออกแบบมาเพื่อตรวจจับการลักลอบทดลองอาวุธนิวเคลียร์ หลังจากการค้นพบครั้งนั้น ได้มีแบบจำลองทางทฤษฎีหลายร้อยแบบเกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาหลายปีเพื่อพยายามอธิบายปรากฏการณ์นี้ เช่น เป็นการชนกันระหว่างดาวหางกับดาวนิวตรอน เป็นต้น ข้อมูลที่จะใช้ตรวจสอบแบบจำลองเหล่านี้มีน้อยมาก จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1997 มีการตรวจพบรังสีเอ็กซ์และ afterglows รวมถึงสามารถตรวจวัดการเคลื่อนไปทางแดงได้โดยตรงจากสเปกตรัมแสง การค้นพบเหล่านี้ ประกอบกับการศึกษาวิจัยยุคต่อๆ มาเกี่ยวกับดาราจักรและซูเปอร์โนวาที่เกี่ยวข้องกับการระเบิด ทำให้สามารถระบุระยะห่างและความสว่างของแสงวาบรังสีแกมมาได้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามันอยู่ไกลออกไปอยู่ในดาราจักรแห่งอื่น และยังเชื่อมโยงปรากฏการณ์นี้เข้ากับการสิ้นอายุขัยของดาวฤกษ์มวลมากได้ด้วย ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าการระเบิดของ GRB เกิดจากสองสาเหตุ คือ การชนกันของดาวนิวตรอน (GRB ชนิดสั้น) และ การระเบิดของดาวฤกษ์มวลมาก (GRB ชนิดยาว)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Podsiadlowski, Ph. et al. (2004). "The Rates of Hypernovae and Gamma-Ray Bursts: Implications for Their Progenitors". Astrophysical Journal 607L: 17P. doi:10.1086/421347.
  2. Melott, A. L., et al. (2004). "Did a gamma-ray burst initiate the late Ordovician mass extinction?". International Journal of Astrobiology 3: 55–61. doi:10.1017/S1473550404001910.
  3. Hurley, K. (2003). "A Gamma-Ray Burst Bibliography, 1973–2001" (PDF). ใน G. R. Ricker and R. K. Vanderspek (บ.ก.). Gamma-Ray Burst and Afterglow Astronomy, 2001: A Workshop Celebrating the First Year of the HETE Mission. American Institute of Physics. pp. 153–155. ISBN 0-7354-0122-5. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

ปฏิบัติการค้นหาแสงวาบรังสีแกมมา
  • โครงการ Swift:
    • Official NASA Swift Homepage
    • UK Swift Science Data Centre
    • Swift Mission Operations Center at Penn State
  • HETE-2: High Energy Transient Explorer
  • INTEGRAL: INTErnational Gamma-Ray Astrophysics Laboratory
  • BATSE: Burst and Transient Source Explorer
  • Fermi Gamma-ray Space Telescope
  • AGILE: Astro-rivelatore Gamma a Immagini Leggero
  • EXIST: Energetic X-ray Survey Telescope
โครงการติดตามแสงวาบรังสีแกมมา
  • GROND: Gamma-Ray Burst Optical Near-infrared Detector
  • PROMPT: Panchromatic Robotic Optical Monitoring and Polarimetry Telescopes กล้องโทรทรรศน์ PROMPT
  • RAPTOR: Rapid Telescopes for Optical Response
  • ROTSE: Robotic Optical Transient Search Experiment
  • PAIRITEL: Peters Automated Infrared Imaging Telescope
  • MASTER: Mobile Astronomical System of the Telescope-Robots
  • KAIT: The Katzman Automatic Imaging Telescope
  • REM: Rapid Eye Mount

แสงวาบร, งส, แกมมา, งกฤษ, gamma, burst, อแสงสว, างของร, งส, แกมมาท, เก, ยวข, องก, บการระเบ, ดอย, างร, นแรงของดาราจ, กรท, อย, ไกลมากๆ, บเป, นปรากฏการณ, ทางคล, นแม, เหล, กไฟฟ, าท, สว, างท, ดท, ปรากฏในเอกภพน, บแต, เหต, การณ, กแบง, ตามปกต, เหต, การณ, จะเก, ดข, นเป. aesngwabrngsiaekmma xngkvs Gamma ray burst GRB khuxaesngswangkhxngrngsiaekmmathiekiywkhxngkbkarraebidxyangrunaerngkhxngdarackrthixyuiklmak nbepnpraktkarnthangkhlunaemehlkiffathiswangthisudthipraktinexkphphnbaetehtukarnbikaebng tampktiehtukarnnicaekidkhunepnewlaephiyngimkiwinathi aetkxacmichwngewlathiaetktangkntngaetimkimilliwinathiipcnthunghnungchwomng hlngcakkarraebidkhrngaerk camiehtukarn afterglow xnyawnantidtammathichwngkhwamyawkhlunxunthiyawkwa echn rngsiexks xltraiwoxelt aesngthitamxngehn xinfraerd aelakhlunwithyu phaphwadcaksilpinaesdngchiwitkhxngdawvksmwlmaksungekidptikiriyaniwekhliyrfiwchn epliynihxnuphakhthiebakwaklayepnxnuphakhmwlhnk emuxkarekidfiwchnimxacsrangaerngdnephiyngphxcatankaryubtwcakaerngonmthwng dawvkscayubtwlngxyangrwderwaelaklayepnhlumda tamthvsdiaelw phlngngancathukpldplxyxxkmarahwangkaryubtwtamaenwaeknkhxngkarhmun thaihekidaesngwabrngsiaekmma Credit Nicolle Rager Fuller NSF aesngwabrngsiaekmmathisngektphbswnihykhidwaepnlaaesngaekhb prakxbdwyrngsithihnaaennsungpldplxyxxkmarahwangekidehtusuepxronwa enuxngcakdawvksthimimwlsungmakaelahmundwykhwamerwsungidaetkslaylngklayepnhlumda mikaraebngpraephthyxykhxngaesngwabrngsiaekmmasungekidcakkrabwnkarxunthiaetktangkn echnekidkarrwmtwknkhxngdawniwtrxnthiepndawkhuaehlngkaenidaesngwabrngsiaekmmaswnihyxyuhangcakolkipiklnbphnlanpiaesng aesdngwakarraebidnncatxngthaihekidphlngngansungmak karraebidaebbpkticapldplxyphlngngancanwnmakephiyngimkiwinathiethaphlngnganthidwngxathitysngxxkiptlxdchwngxayu 10 000 lanpi aelaekidkhunnxymak ephiyngimkikhrngtxdarackrtxlanpi 1 aesngwabrngsiaekmmathisngektphbthnghmdmacakdarackraehngxunphncakthangchangephuxk aemcamikarphbpraktkarnkhlay kn khux soft gamma repeater flares ekidcak Magnetar phayinthangchangephuxkni mikartngsmmutithanwa thaekidaesngwabrngsiaekmmakhuninthangchangephuxkaelw cathaiholkdbsuyipthnghmd 2 karkhnphbaesngwabrngsiaekmmakhrngaerkekidkhuninpi kh s 1967 odydawethiym Vela sungepnklumdawethiymthixxkaebbmaephuxtrwccbkarlklxbthdlxngxawuthniwekhliyr hlngcakkarkhnphbkhrngnn idmiaebbcalxngthangthvsdihlayrxyaebbekidkhuntlxdchwngewlahlaypiephuxphyayamxthibaypraktkarnni echn epnkarchnknrahwangdawhangkbdawniwtrxn 3 epntn khxmulthicaichtrwcsxbaebbcalxngehlaniminxymak cnkrathngthungpi kh s 1997 mikartrwcphbrngsiexksaela afterglows rwmthungsamarthtrwcwdkarekhluxnipthangaedngidodytrngcaksepktrmaesng karkhnphbehlani prakxbkbkarsuksawicyyukhtx maekiywkbdarackraelasuepxronwathiekiywkhxngkbkarraebid thaihsamarthraburayahangaelakhwamswangkhxngaesngwabrngsiaekmmaid sungchiihehnwamnxyuiklxxkipxyuindarackraehngxun aelayngechuxmoyngpraktkarnniekhakbkarsinxayukhykhxngdawvksmwlmakiddwy pccubnepnthithrabknaelwwakarraebidkhxng GRB ekidcaksxngsaehtu khux karchnknkhxngdawniwtrxn GRB chnidsn aela karraebidkhxngdawvksmwlmak GRB chnidyaw duephim aekikhdarasastrrngsiaekmma wiwthnakarkhxngdawvks raychuxaesngwabrngsiaekmmaxangxing aekikh Podsiadlowski Ph et al 2004 The Rates of Hypernovae and Gamma Ray Bursts Implications for Their Progenitors Astrophysical Journal 607L 17P doi 10 1086 421347 Melott A L et al 2004 Did a gamma ray burst initiate the late Ordovician mass extinction International Journal of Astrobiology 3 55 61 doi 10 1017 S1473550404001910 Hurley K 2003 A Gamma Ray Burst Bibliography 1973 2001 PDF in G R Ricker and R K Vanderspek b k Gamma Ray Burst and Afterglow Astronomy 2001 A Workshop Celebrating the First Year of the HETE Mission American Institute of Physics pp 153 155 ISBN 0 7354 0122 5 subkhnemux 2009 03 12 aehlngkhxmulxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb aesngwabrngsiaekmmaptibtikarkhnhaaesngwabrngsiaekmmaokhrngkar Swift Official NASA Swift Homepage UK Swift Science Data Centre Swift Mission Operations Center at Penn State HETE 2 High Energy Transient Explorer INTEGRAL INTErnational Gamma Ray Astrophysics Laboratory BATSE Burst and Transient Source Explorer Fermi Gamma ray Space Telescope AGILE Astro rivelatore Gamma a Immagini Leggero EXIST Energetic X ray Survey TelescopeokhrngkartidtamaesngwabrngsiaekmmaGROND Gamma Ray Burst Optical Near infrared Detector PROMPT Panchromatic Robotic Optical Monitoring and Polarimetry Telescopes klxngothrthrrsn PROMPT RAPTOR Rapid Telescopes for Optical Response ROTSE Robotic Optical Transient Search Experiment PAIRITEL Peters Automated Infrared Imaging Telescope MASTER Mobile Astronomical System of the Telescope Robots KAIT The Katzman Automatic Imaging Telescope REM Rapid Eye Mount bthkhwamekiywkbdarasastrhruxckrwalwithyaniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul duephimthi sthaniyxy darasastrekhathungcak https th wikipedia org w index php title aesngwabrngsiaekmma amp oldid 7293112, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม