fbpx
วิกิพีเดีย

ดวงอาทิตย์

ระวังสับสนกับ พระอาทิตย์

ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนที่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณร้อยละ 99.86 ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก

ดวงอาทิตย์ หรือ
ข้อมูลจากการสังเกต
ระยะห่างเฉลี่ย
วัดจากโลก
1 หน่วยดาราศาสตร์ ≈ 1.496×108 กิโลเมตร
(8.19 นาทีที่ความเร็วแสง)
ความส่องสว่างปรากฏ  (V) −26.74
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ 4.83
สเปกตรัม G2V
ความเป็นโลหะ Z = 0.0122
ขนาดเชิงมุม 31.6–32.7 ลิปดา
คำคุณศัพท์ ทางสุริยคติ
ลักษณะเฉพาะในวงโคจร
ระยะห่างเฉลี่ย
จากแกน ดาราจักรทางช้างเผือก
≈ 2.7×1017 กิโลเมตร
(27,200 ปีแสง)
คาบการโคจรครบรอบดาราจักร (2.25–2.50)×108 ปี
อัตราเร็วในวงโคจร ≈ 220 กิโลเมตรต่อวินาที
(โคจรรอบศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือก)

≈ 20 กิโลเมตรต่อวินาที
(สัมพัทธ์กับดาวดวงอื่น)

≈ 370 กิโลเมตรต่อวินาที
(เมื่อเทียบกับรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล)

ลักษณะเฉพาะทางฟิสิกส์
รัศมีที่เส้นศูนย์สูตร 695,700 กิโลเมตร

696,392 กิโลเมตร 109 เท่าของโลก

ความยาวเส้นศูนย์สูตร 4.379×106 กิโลเมตร

109 เท่าของโลก

ความแป้น 9×10−6
พื้นที่ผิว 6.09×1012 ตารางกิโลเมตร

12,000 เท่าของโลก

ปริมาตร 1.41×1018 ลูกบาศก์กิโลเมตร
1,300,000 เท่าของโลก
มวล (1.988 55 ± 0.000 25)×1030 

333,000 เท่าของโลก

ความหนาแน่นเฉลี่ย 1.408 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

0.255 เท่าของโลก

ความเร่งโน้มถ่วงที่ผิวบริเวณเส้นศูนย์สูตร 274.0 เมตรต่อวินาที2

27.94 แรงโน้มถ่วง 27,542.29 เซนติเมตร-กรัม-วินาที 28 เท่าของโลก

โมเมนต์ความเฉื่อย 0.070 (โดยประมาณ)
ความเร็วหลุดพ้น (วัดจากพื้นผิว) 617.7 กิโลเมตรต่อวินาที
55 เท่าของโลก
อุณหภูมิ แกน (รูปแบบ): 1.57×107 เคลวิน

โฟโตสเฟียร์ (เป็นผล): 5,772 เคลวิน
โคโรนา: ≈ 5×106 เคลวิน

ความส่องสว่าง (Lsol) 3.828×1026 วัตต์
≈ 3.75×1028 ลูเมน
≈ 98 ลูเมนต่อวัตต์
ความเข้มของการส่องสว่างเฉลี่ย   (Isol) 2.009×107 W·m–2. sr–1
อายุ ≈ 4.6 พันล้านปี
ลักษณะเฉพาะของการหมุน
ความเอียงวงโคจร 7.25°
(กับระนาบสุริยวิถี)
67.23°
(กับระนาบดาราจักร)
ไรต์แอสเซนชัน
ของขั้วเหนือ
286.13°
19 ชั่วโมง 4 นาที 30 วินาที
เดคลิเนชัน
ของขั้วเหนือ
+63.87°
63° 52' เหนือ
คาบการหมุนดาราคติ
(ที่เส้นศูนย์สูตร)
25.05 วัน
(ที่ละติจูด 16°) 25.38 วัน

25 วัน 9 ชั่วโมง 7 นาที 12 วินาที

(ที่ขั้ว) 34.4 วัน
อัตราเร็วของการหมุน
(ที่เส้นศูนย์สูตร)
7.189×103 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ส่วนประกอบในโฟโตสเฟียร์โดยมวล
ไฮโดรเจน 73.46 %
ฮีเลียม 24.85 %
ออกซิเจน 0.77 %
คาร์บอน 0.29 %
เหล็ก 0.16 %
นีออน 0.12 %
ไนโตรเจน 0.09 %
ซิลิกอน 0.07 %
แมกนีเซียม 0.05 %
กำมะถัน 0.04 %
ข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้หากมีการค้นพบใหม่
สำหรับอาทิตย์ในความหมายอื่น ดูที่ อาทิตย์

ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ตามระดับสเปกตรัม โดยมักถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์ก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อน จากการยุบของแรงโน้มถ่วง (gravitational collapse) ของสสารภายในบริเวณกลุ่มเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอัดแน่นอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือบีบตัวลงลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายมาเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่นดาว ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่

ดวงอาทิตย์มีอายุมาได้ประมาณครึ่งอายุขัยแล้ว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้ว และคาดว่าจะอยู่ในภาวะค่อนข้างเสถียรไปเช่นนี้อีก 5 พันล้านปี ในแต่ละวินาที ปฏิกิริยาหลอมนิวเคลียส (ฟิวชัน) ของดวงอาทิตย์ สามารถเปลี่ยนไฮโดรเจนอะตอมปริมาณ 600 ล้านตัน ให้กลายเป็นฮีเลียม และเปลี่ยนสสาร 4 ล้านตันให้เป็นพลังงานจากปฏิกิริยาดังกล่าว กว่าพลังงานนี้จะหนีออกจากแกนดวงอาทิตย์มาสู่พื้นผิวได้ ต้องใช้เวลานานราว 10,000 ถึง 170,000 ปี ในอีกราว 5 พันล้านปีข้างหน้า เมื่อปฏิกิริยาฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของดวงอาทิตย์ลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้

มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน

ภาพรวมเกี่ยวกับดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์จัดเป็นดาวฤกษ์รุ่นที่ 3 ซึ่งสันนิษฐานกันว่า ก่อตัวขึ้นโดยอิทธิพลของมหานวดาราที่อยู่ใกล้ ๆ เพราะมีการค้นพบธาตุหนัก เช่น ทองคำและยูเรเนียมในปริมาณมาก ซึ่งธาตุเหล่านี้อาจเกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ชนิดดูดความร้อนขณะที่เกิดมหานวดารา หรือการดูดซับนิวตรอนในดาวฤกษ์รุ่นที่สองซึ่งมีมวลมาก

ปัจจุบันและอนาคตของดวงอาทิตย์

ตามการศึกษาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ว่าด้วยวัฏจักรดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 5,000 ล้านปี ในขณะนี้ดวงอาทิตย์กำลังอยู่ในลำดับหลัก ทำการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม โดยทุก ๆ วินาที มวลสารของดวงอาทิตย์มากกว่า 4 ล้านตันถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ดวงอาทิตย์ใช้เวลาโดยประมาณ 1 หมื่นล้านปีในการดำรงอยู่ในลำดับหลัก

เมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของดวงอาทิตย์หมดลง วาระสุดท้ายของดวงอาทิตย์ก็มาถึง (คือการพ้นไปจากลำดับหลัก) โดยดวงอาทิตย์จะเริ่มพบกับจุดจบคือการแปรเปลี่ยนไปเป็นดาวยักษ์แดงภายใน 4-5 พันล้านปี ผิวนอกของดวงอาทิตย์ขยายตัวออกไป ส่วนแกนนั้นยุบตัวลงและร้อนขึ้นสลับกับเย็นลง มีการหลอมฮีเลียมเป็นคาร์บอนและออกซิเจนที่อุณหภูมิราว 100 ล้านเคลวิน จากสถานการณ์ข้างต้นดูเหมือนว่าดวงอาทิตย์จะกลืนกินโลกให้หลอมลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน แต่จากรายงานวิจัยฉบับหนึ่งได้ศึกษาพบว่าวงโคจรของโลกจะตีตัวออกห่างดวงอาทิตย์เพราะมวลของดวงอาทิตย์ได้สูญเสียไป จนแรงดึงดูดระหว่างมวลมีค่าลดลง แต่ถึงกระนั้น น้ำทะเลก็ถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์เผาผลาญจนระเหยสิ้นไปในอวกาศ และบรรยากาศโลกก็อันตรธานไปจนไม่เอื้อแก่ชีวิตต่อมาได้มีการค้นพบ ว่าดวงอาทิตย์นั้นจะสว่างขึ้น 10 เปอร์เซนต์ ทุก ๆ 1000 ล้านปี ถึงตอนนั้นโลกก็ไม่อาจจะเอื้อ ต่อสิ่งมีชีวิตไปก่อนแล้ว เวลาของสิ่งมีชีวิตบนโลก จึงเหลือแค่ 500 ล้านปีเท่านั้น

 
แผนภาพชีวิตดวงอาทิตย์

หลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้ผ่านสภาพการเป็นดาวยักษ์แดงแล้ว อุณหภูมิจากปฏิกิริยาการหลอมฮีเลียมที่เพิ่มสลับกับลงภายในแกน ก็จะเป็นตัวการให้ผิวดวงอาทิตย์ด้านนอกผละตัวออกจากแกน เกิดเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ แล้วอันตรธานไปในความมืดมิดของอวกาศ และเป็นวัสดุสำหรับสร้างดาวฤกษ์และระบบสุริยะรุ่นถัดไป ส่วนแกนที่เหลืออยู่ก็จะกลายเป็นดาวแคระขาวที่ร้อนจัดและมีแสงจางมาก ก่อนจะดับลงกลายเป็นดาวแคระดำ จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือชีวิตของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยถึงปานกลาง

โครงสร้าง

ดวงอาทิตย์เป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีมวลคิดเป็นร้อยละ 99 ของระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีรูปทรงเกือบเป็นทรงกลม โดยมีความแบนที่ขั้วเพียงหนึ่งในเก้าล้าน ซึ่งหมายความว่าความแตกต่างของเส้นผ่านศูนย์กลางที่ขั้วกับเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตรมีเพียง 10 กิโลเมตร จากการที่ดวงอาทิตย์มีเฉพาะส่วนที่เป็นพลาสมา ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็ง ทำให้อัตราเร็วของการหมุนรอบตัวเองในแต่ละส่วนมีความต่างกัน เช่นที่เส้นศูนย์สูตรจะหมุนเร็วกว่าที่ขั้ว ที่เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์มีคาบการหมุนรอบตัวเอง 25 วัน ส่วนที่ขั้วมีคาบ 35 วัน แต่เมื่อสังเกตบนโลกแล้วจะพบว่าคาบของการหมุนรอบตัวเองที่เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์คือ 28 วัน

ดวงอาทิตย์มีความหนาแน่นมากที่สุดบริเวณแกน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงาน และมีค่าน้อยลงเกือบเป็นรูปเอ็กโพเนนเชียลตามระยะทางที่ห่างออกมาจากแกน และแม้ว่าภายในดวงอาทิตย์นั้นจะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถศึกษาภายในได้ผ่านทางการใช้คลื่นสะเทือนในดวงอาทิตย์

แกน

ส่วนแกนของดวงอาทิตย์สันนิษฐานว่ามีรัศมีเป็น 0.2 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ ความหนาแน่นประมาณ 150,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 150 เท่าของความหนาแน่นของน้ำบนโลก อุณหภูมิประมาณ 13,600,000 เคลวิน ตลอดชีวิตส่วนใหญ่ของดวงอาทิตย์ ภายในแกนจะมีปฏิกิริยาฟิวชันลูกโซ่ โปรตอน-โปรตอน ซึ่งเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม พลังงานที่ได้นี้ทำให้ส่วนที่เหลือของดวงอาทิตย์สุกสว่างและเปล่งแสง

ทุก ๆ วินาที จะมีนิวเคลียสของไฮโดรเจน 3.4×1038 ตัว ถูกแปรรูปเป็นฮีเลียม ผลิตพลังงานได้ 383×1024 จูล หรือเทียบได้กับระเบิดไตรไนโตรโทลูอีน (TNT) ถึง 9.15×1019 กิโลกรัม พลังงานจากแกนของดวงอาทิตย์ใช้เวลานานมากในการขึ้นสู่พื้นผิว อย่างมากเป็น 50 ล้านปี อย่างน้อยเป็น 17,000 ปีเพราะโฟตอนพลังงานสูง (รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา) ถูกดูดกลืนไปในพลาสมา แล้วเปล่งพลังงานออกมาสลับกันเรื่อย ๆ ทุก ๆ ระยะไม่กี่มิลลิเมตร

เขตแผ่รังสีความร้อน

 
ภาพประกอบโครงสร้างของดวงอาทิตย์

ในส่วนของเขตแผ่รังสีความร้อน (โอมกาก) ซึ่งอยู่ในช่วง 0.2 ถึง 0.7 ส่วนของรัศมีดวงอาทิตย์ ในชั้นนี้ไม่มีการพาความร้อน (convection) เพราะอัตราความแตกต่างของอุณหภูมิเทียบกับระยะความสูงน้อยกว่าอัตราการเปลี่ยนอุณหภูมิตามความสูงแบบอะเดียแบติก (adiabatic lapse rate) พลังงานในส่วนนี้ถูกนำออกมาภายนอกช้ามากดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนแล้ว

เขตพาความร้อน

ในส่วนของเขตพาความร้อน (convection zone) ซึ่งอยู่บริเวณผิวนอกที่เหลือ เป็นส่วนที่พลังงานถูกถ่ายเทผ่านแท่งความร้อน (heat column) โดยเนื้อสารที่ร้อนและมีพลังงานเริ่มต้นจากด้านล่าง แล้วไหลขึ้นด้านบนจนถึงผิว จากนั้นถ่ายเทความร้อนและกลับลงไปใหม่ แท่งความร้อนสามารถสังเกตได้จาก “เกล็ด” บนภาพถ่ายผิวดวงอาทิตย์

โฟโตสเฟียร์

ในส่วนของโฟโตสเฟียร์ (photosphere) แปลว่า ทรงกลมแห่งแสง ซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็นดวงอาทิตย์ แสงสว่างที่เปล่งในดวงอาทิตย์นั้นเกิดจากอิเล็กตรอนชนกับอะตอมไฮโดรเจนเกิดเป็น H- เหนือชั้นนี้ แสงอาทิตย์ก็จะถูกปลดปล่อยออกมา และมีอุณหภูมิต่ำลงตามความสูงที่มากขึ้น จนทำให้สังเกตเห็นรอยมัวตรงขอบดวงอาทิตย์ในภาพถ่าย (ดังภาพถ่ายด้านบน)

บรรยากาศ

บรรยากาศของดวงอาทิตย์ประกอบด้วย 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นอุณหภูมิต่ำสุด (temperature minimum) โครโมสเฟียร์ (chromosphere) เขตเปลี่ยนผ่าน (transition region) โคโรนา (corona) และเฮลิโอสเฟียร์ (heliosphere) ตามลำดับจากต่ำไปสูง

ชั้นแรก ชั้นอุณหภูมิต่ำสุด มีอุณหภูมิประมาณ 4,000 เคลวิน และหนา 500 กิโลเมตร ชั้นถัดไปคือโครโมสเฟียร์ ซึ่งแปลว่ารงคมณฑล หรือทรงกลมแห่งสี เหตุที่เรียกชื่อนี้ก็เพราะเห็นเป็นแสงสีแวบขณะเกิดสุริยุปราคา ชั้นนี้หนา 2,000 กิโลเมตร ชั้นต่อไปเป็นเขตเปลี่ยนผ่านซึ่งอุณหภูมิอาจติดลบถึงล้านเคลวิน และยิ่งต่ำขึ้นไปอีกในชั้นโคโรนา ทำให้สิ่งนี้เป็นปัญหาคาใจนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการต่อเชื่อมทางแม่เหล็ก (magnetic connection) ชั้นที่เหลือชั้นสุดท้ายคือ เฮลิโอสเฟียร์ หรือสุริยมณฑล คือชั้นที่อำนาจของลมสุริยะสามารถไปถึง ซึ่งอาจมากกว่า 20 หน่วยดาราศาสตร์ (20 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์)

ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสังเกตดวงอาทิตย์

ความเข้าใจในอดีต

มนุษย์ในอดีตรู้เกี่ยวกับดวงอาทิตย์เพียงเป็นลูกไฟกลม ขึ้นจากท้องฟ้าในทิศตะวันออกทำให้เกิดกลางวัน และตกลงไปทางทิศตะวันตกทำให้เกิดกลางคืน ดวงอาทิตย์ให้ทั้งความสว่าง ความร้อน ความอบอุ่น ตลอดจนความหวังในจิตใจ จนมีการนับถือดวงอาทิตย์ให้เป็นเทพเจ้า มีการบูชายัญถวายเทพพระอาทิตย์ของชาวอัซเตก (Aztec) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเม็กซิโก นอกเหนือจากนี้ มนุษย์ในสมัยโบราณยังได้สร้างสิ่งประดิษฐ์สำหรับบอกตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันอุตรายัน (Summer solstice) ซึ่งเป็นวันที่กลางวันยาวที่สุดในรอบปี คือประมาณวันที่ 24 มิถุนายน เช่น ที่เสาหินสโตนเฮนจ์ ในประเทศอังกฤษ และพีระมิดเอลกัสตีโย (El Castillo) ประเทศเม็กซิโก

 
ดวงอาทิตย์ตกยามเย็นคล้ายระเบิดนิวเคลียร์ในหนังฮอลลีวู๊ด

การพัฒนาแนวความคิดสมัยใหม่

ต่อมานักปราชญ์ชาวกรีกชื่อ อะนักซากอรัส (Anaxagoras) ได้เสนอว่า ดวงอาทิตย์เป็นลูกไฟกลม ไม่ได้เป็นพระอาทิตย์ทรงพาหนะ ทำให้เขาต้องโทษประหารชีวิตในเวลาต่อมา ต่อมามีการสันนิษฐานว่าเอราโตสเทเนส ได้วัดระยะห่างจากโลกไปดวงอาทิตย์ได้เที่ยงตรงเป็นคนแรกในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ซึ่งวัดได้ 149 ล้านกิโลเมตร ใกล้เคียงกับที่ยอมรับในปัจจุบัน

ในเวลาต่อมา ชาวกรีกโบราณและชาวอินเดียโบราณตั้งสมมติฐาน โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ และต่อมาก็ได้รับการพิสูจน์โดยนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัสในช่วงศตวรรษที่ 16 ต่อมาทอมัส แฮร์ริออต (Thomas Harriot) กาลิเลโอ กาลิเลอิ และนักดาราศาสตร์คนอื่น ๆ สังเกตพบจุดดำบนดวงอาทิตย์ โดยกาลิเลโอเสนอว่าจุดดำบนดวงอาทิตย์คือจุดที่เกิดบนผิวดวงอาทิตย์โดยตรง มิได้เป็นวัตถุเคลื่อนที่มาบัง ในปี พ.ศ. 2215 โจวันนี คาสซินี (Giovanni Cassini) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี และชอง รีเช (Jean Richer) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้หาระยะทางจากโลกไปดาวอังคาร และอาจจะสามารถหาระยะทางไปดวงอาทิตย์ได้หลังจากนั้น ไอแซก นิวตัน ได้สังเกตดวงอาทิตย์โดยให้แสงดวงอาทิตย์ผ่านปริซึม เขาพบว่าประกอบขึ้นด้วยหลาย ๆ แสงสี นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในรุ้งกินน้ำต่อมาวิลเลียม เฮอร์เชล ได้ค้นพบการแผ่รังสีอินฟราเรดในช่วงใต้แดงจากดวงอาทิตย์ เมื่อเทคโนโลยีสเปกตรัมก้าวหน้า โยเซฟ ฟอน เฟราน์โฮเฟอร์ (Joseph von Fraunhofer) ได้ค้นพบเส้นดูดกลืนในสเปกตรัมของดวงอาทิตย์ ซึ่งต่อมาเรียกว่าเส้นเฟราน์โฮเฟอร์ (Fraunhofer line)

ช่วงแรก ๆ ของยุคใหม่ทางวิทยาศาสตร์ ปัญหาที่คาใจนักวิทยาศาสตร์ก็คือดวงอาทิตย์เอาพลังงานมาจากที่ใด ลอร์ดเคลวิน (วิลเลียม ทอมสัน) และแฮร์มันน์ ฟอน เฮล์มโฮลตซ์ (Hermann von Helmholtz) ได้เสนอกลไกเคลวิน-เฮล์มโฮลตซ์ (Kelvin-Helmholtz mechanism) ในการอธิบายการพาความร้อนขึ้นสู่ผิวดวงอาทิตย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด เสนอว่าพลังงานในดวงอาทิตย์มาจากปฏิกิริยาการคายพลังงานจากอนุภาคที่ถูกกระตุ้น แต่ก็คงอธิบายไม่ละเอียดเท่าของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งเป็นเจ้าของสมการสมมูลมวล-พลังงาน E=mc2

ในปี พ.ศ. 2463 อาร์เทอร์ เอดดิงตัน เสนอว่าความร้อนและความดันภายในแกนเป็นตัวการที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชัน และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมวลและพลังงาน สิบปีต่อมาทฤษฎีนี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง โดยสุพราห์มันยัน จันทรเสกขา (Subrahmanyan Chandrasekar) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย และฮันส์ เบเทอ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน

โครงการสำรวจดวงอาทิตย์

 
ภาพถ่ายพวยเพลิงสุริยะโดยเครื่องมือ 4 ชิ้นบนยานโซโฮ

องค์การนาซาได้เคยปล่อยยานสำรวจดวงอาทิตย์ในโครงการไพโอเนียร์ ซึ่งปล่อยช่วงปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2511 โดยทำการตรวจวัดสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์และลมสุริยะ ต่อมาก็ได้ส่งยานสกายแล็บเมื่อปี พ.ศ. 2516 ทำการศึกษาโคโรนาของดวงอาทิตย์ และการพ่นมวลของโคโรนา ในปี พ.ศ. 2534 ญี่ปุ่นได้ส่งยานโยะโกะ (阳光) เพื่อศึกษาเพลิงสุริยะในช่วงรังสีเอกซ์ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่า โคโรนาจะยุบลงในช่วงที่มีกิจกรรมบนผิวดวงอาทิตย์มาก ยานโยะโกะถูกปลดระวางเมื่อ พ.ศ. 2548

ภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์ที่เรารู้จักกันมักหนีไม่พ้นหอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์และสุริยมณฑล หรือโซโฮ (Solar and Heliospheric Observatory; SOHO) อันเป็นความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เดิมทีกำหนดให้ปฏิบัติงานสองปี แต่กลับปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี ยานโซโฮเป็นยานสังเกตการณ์ที่ทำให้เรารู้หลายอย่างเกี่ยวกับดวงอาทิตย์มากขึ้นในหลาย ๆ ช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และยังสังเกตเห็นดาวหางที่พุ่งชนดวงอาทิตย์ด้วย ส่วนอีกโครงการหนึ่งที่มีแผนจะปล่อยขึ้นสู่ห้วงอวกาศในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2551 คือโครงการหอสังเกตการณ์สุริยพลวัต (Solar Dynamic Observatory) ซึ่งจะนำไปไว้ยังจุดลากรองจ์ (Lagrangian point) หรือจุดสะเทินแรงดึงดูด ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์

นอกเหนือจากนี้ ยังมีโครงการสังเกตระบบสุริยะจากมุมอื่น โดยมีการส่งยานยุลลิซิส (Ulysses) เมื่อ พ.ศ. 2533 โดยให้ไปยังดาวพฤหัสบดีเพื่อเหวี่ยงตัวขึ้นเหนือระนาบระบบสุริยะ ครานั้นยานสามารถสังเกตเห็นดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 ชนดาวพฤหัสบดีในปี พ.ศ. 2537 เมื่อยานยุลลิซิสถึงที่หมาย ก็จะทำการสำรวจลมสุริยะและสนามแม่เหล็กที่ละติจูดสูง ๆ และพบว่าอัตราเร็วลมสุริยะอยู่ที่ 750 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งช้ากว่าที่ได้คาดไว้ และยังมีสนามแม่เหล็กที่ทำให้รังสีคอสมิกกระเจิงด้วย

บทบาทของดวงอาทิตย์ต่อสิ่งมีชีวิต

นับตั้งแต่ปฏิกิริยานิวเคลียร์ความร้อน (thermonuclear reaction) ในใจกลางดวงอาทิตย์ แผ่พลังงานออกมาในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและพลังงานที่สะสมภายในอนุภาค ใช้เวลาเดินทางนับหมื่นนับแสนปีจนกระทั่งถึงผิวดวงอาทิตย์ และต่อด้วยการเดินทาง 8 นาทีมายังโลกของเรา ในรูปของแสงที่มองเห็น รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ และรังสีอื่น ๆ ต้องขอบคุณชั้นบรรยากาศโลกที่ได้กรองเอาสิ่งที่เป็นอันตรายเหล่านี้ออกไป ไม่นานนักพลังงานก็ถึงยังพื้นโลก ทั้งให้ความอบอุ่นน่าอยู่ในเขตหนาว หรือแม้แต่ให้ความรู้สึกรำคาญในเขตร้อน ทว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์ก็ได้ถูกดูดซับเข้าไปในพืชและโพรทิสต์ จากนั้นพืชก็สามารถตรึงเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศได้เป็นน้ำตาล ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง น้ำตาลที่ได้นั้นพืชก็จะนำไปแปรรูปเป็นทั้งผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ ออแกเนลล์ภายในเซลล์ ฯลฯ นอกเหนือจากธาตุอาหารที่ดูดขึ้นมาจากดิน

เมื่อพืชเป็นผู้ผลิต (ที่แท้จริงคือผู้แปรรูป) อาหารจากพลังงานแสงอาทิตย์ ก็ทำให้สัตว์มีอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืช ในการสลายอาหารของสัตว์ สิ่งสำคัญที่สุดนอกจากอาหารที่ได้รับแล้วก็คือออกซิเจน ซึ่งเป็นของเสียในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อไปรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายในกระบวนการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ขณะเดียวกันสัตว์ก็หายใจเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสารพลังงานต่ำออกมา เพื่อที่พืชจะได้ตรึงอีกครั้งเป็นวัฏจักร

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. NASA "Sun Fact Sheet"
  2. Sun:Facts & figures NASA Solar System Exploration page
  3. Seidelmann, P. K. (2000). "Report Of The IAU/IAG Working Group On Cartographic Coordinates And Rotational Elements Of The Planets And Satellites: 2000". สืบค้นเมื่อ 2006-03-22. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  4. "How Round is the Sun?". NASA. 2 October 2008. สืบค้นเมื่อ 7 March 2011.
  5. "First Ever STEREO Images of the Entire Sun". NASA. 6 February 2011. สืบค้นเมื่อ 7 March 2011.
  6. Charbonneau, P. (2014). "Solar Dynamo Theory". Annual Review of Astronomy and Astrophysics. 52: 251–290. Bibcode:2014ARA&A..52..251C. doi:10.1146/annurev-astro-081913-040012.
  7. Woolfson, M. (2000). "The origin and evolution of the solar system". Astronomy & Geophysics. 41 (1): 12. Bibcode:2000A&G....41a..12W. doi:10.1046/j.1468-4004.2000.00012.x.CS1 maint: ref=harv (link)
  8. Basu, S.; Antia, H.M. (2008). "Helioseismology and Solar Abundances". Physics Reports. 457 (5–6): 217–283. arXiv:0711.4590. Bibcode:2008PhR...457..217B. doi:10.1016/j.physrep.2007.12.002.CS1 maint: ref=harv (link)
  9. Falk, S. W. (1977). "Are supernovae sources of presolar grains?". Nature. 270: 700–701. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  10. Bonanno, A. (2002). "The age of the Sun and the relativistic corrections in the EOS" (PDF). Astronomy and Astrophysics. 390: 1115–1118. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  11. Pogge, Richard W. (1997). "The Once and Future Sun" (lecture notes). New Vistas in Astronomy. The Ohio State University (Department of Astronomy). สืบค้นเมื่อ 2005-12-07. External link in |work= (help)
  12. Sackmann, I.-Juliana (1993). "Our Sun. III. Present and Future". Astrophysical Journal. 418: 457. Unknown parameter |month= ignored (help); Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  13. Godier, S. (2000). "The solar oblateness and its relationship with the structure of the tachocline and of the Sun's subsurface" (PDF). Astronomy and Astrophysics. 355: 365–374. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  14. Lewis, Richard (1983). The Illustrated Encyclopedia of the Universe. Harmony Books, New York. p. 65.
  15. Plait, Phil (1997). "Bitesize Tour of the Solar System: The Long Climb from the Sun's Core". Bad Astronomy. สืบค้นเมื่อ 2006-03-22.
  16. Gibson, Edward G. (1973). The Quiet Sun. NASA.
  17. Shu, Frank H. (1991). The Physics of Astrophysics. University Science Books.
  18. "Galileo Galilei (1564–1642)". BBC. สืบค้นเมื่อ 2006-03-22.
  19. "Sir Isaac Newton (1643–1727)". BBC. สืบค้นเมื่อ 2006-03-22.
  20. "Herschel Discovers Infrared Light". Cool Cosmos. สืบค้นเมื่อ 2006-03-22.
  21. Darden, Lindley (1998). "The Nature of Scientific Inquiry". Macmillan's Magazine.
  22. "Studying the stars, testing relativity: Sir Arthur Eddington". ESA Space Science. 2005-06-15.
  23. Bethe, H. (1938). "On the Formation of Deuterons by Proton Combination". Physical Review. 54: 862–862.
  24. Bethe, H. (1939). "Energy Production in Stars". Physical Review. 55: 434–456.
  25. "Pioneer 6-7-8-9-E". Encyclopedia Astronautica. สืบค้นเมื่อ 2006-03-22.
  26. Japan Aerospace Exploration Agency (2005). "Result of Re-entry of the Solar X-ray Observatory "Yohkoh" (SOLAR-A) to the Earth's Atmosphere". สืบค้นเมื่อ 2006-03-22.
  27. "Solar Dynamic Observatory Mission Schedule". NASA. สืบค้นเมื่อ 2007-7-30. line feed character in |title= at position 26 (help); Check date values in: |accessdate= (help)
  28. "Ulysses - Science - Primary Mission Results". NASA. สืบค้นเมื่อ 2006-03-22.
  • สารานุกรมดาราศาสตร์ออนไลน์ เรื่อง ดวงอาทิตย์
  • ข้อมูล ดวงอาทิตย์ จากหอดูดาวเกิดแก้ว
  • โครงการเครือข่ายสารสนเทศดาราศาสตร์ - บทที่ 6 เรื่อง ดวงอาทิตย์
  • NASA's Solar System Exploration: Planet: Sun (อังกฤษ)
  • The Sun จาก nineplanets.org (อังกฤษ)
  • BBC Science and Nature - Space - The Sun (อังกฤษ)
  • PHOTOSYNTHESIS: HOW LIFE KEEPS GOING(อังกฤษ)
  • Thompson, M. J. (2004) , Solar interior: Helioseismology and the Sun's interior, Astronomy & Geophysics, v. 45, p. 4.21-4.25
  • T. J. White; M. A. Mainster; P. W. Wilson; and J. H. Tips, Chorioretinal temperature increases from solar observation, Bulletin of Mathematical Biophysics 33, 1–17 (1971)

แหล่งข้อมูลอื่น

คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ ดวงอาทิตย์ ได้โดยค้นหาจาก
โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย :
  หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม
  หนังสือ จากวิกิตำรา
  คำคม จากวิกิคำคม
  ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ
  ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
  เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
  แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย
  • ภาพถ่ายดวงอาทิตย์จากยาน SOHO
  • Nasa SOHO (Solar & Heliospheric Observatory) satellite FAQ
  • Sun Profile by NASA's Solar System Exploration
  • Solar Sounds from Stanford
  • สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ ๑ เรื่องที่ ๑ ดวงอาทิตย์

ดวงอาท, ตย, ระว, งส, บสนก, พระอาท, ตย, เป, นดาวฤกษ, ใจกลางระบบส, ยะ, เป, นพลาสมาร, อนทรงเก, อบกลมสมบ, รณ, โดยม, การเคล, อนท, พาซ, งผล, ตสนามแม, เหล, กผ, านกระบวนการไดนาโม, จจ, นเป, นแหล, งพล, งงานสำค, ญท, ดสำหร, บส, งม, ตบนโลก, เส, นผ, านศ, นย, กลางประมาณ, านก. rawngsbsnkb phraxathity dwngxathityepndawvks n icklangrabbsuriya epnphlasmarxnthrngekuxbklmsmburn 4 5 odymikarekhluxnthiphasungphlitsnamaemehlkphankrabwnkaridnaom 6 pccubnepnaehlngphlngngansakhythisudsahrbsingmichiwitbnolk miesnphansunyklangpraman 1 39 lankiolemtr ihykwaolk 109 etha aelamimwlpraman 330 000 ethakhxngolk khidepnpramanrxyla 99 86 khxngmwlthnghmdkhxngrabbsuriya 7 mwlpramansaminsikhxngdwngxathityepnihodrecn swnthiehluxepnhieliymepnhlk odymiprimanthatuhnkkwaelknxy rwmthngxxksiecn kharbxn nixxnaelaehlk 8 dwngxathity hrux 1khxmulcakkarsngektrayahangechliywdcakolk 1 hnwydarasastr 1 496 108 kiolemtr 8 19 nathithikhwamerwaesng khwamsxngswangprakt V 26 74 1 khwamsxngswangsmburn 4 83 1 sepktrm G2V 2 khwamepnolha Z 0 0122khnadechingmum 31 6 32 7 lipdakhakhunsphth thangsuriykhtilksnaechphaainwngokhcrrayahangechliycakaekn darackrthangchangephuxk 2 7 1017 kiolemtr 27 200 piaesng khabkarokhcrkhrbrxbdarackr 2 25 2 50 108 pixtraerwinwngokhcr 220 kiolemtrtxwinathi okhcrrxbsunyklangdarackrthangchangephuxk 20 kiolemtrtxwinathi smphththkbdawdwngxun 370 kiolemtrtxwinathi emuxethiybkbrngsiimokhrewfphunhlngkhxngckrwal lksnaechphaathangfisiksrsmithiesnsunysutr 695 700 kiolemtr 2 696 392 kiolemtr 109 ethakhxngolkkhwamyawesnsunysutr 4 379 106 kiolemtr 2 109 ethakhxngolkkhwamaepn 9 10 6phunthiphiw 6 09 1012 tarangkiolemtr 2 12 000 ethakhxngolkprimatr 1 41 1018 lukbaskkiolemtr 2 1 300 000 ethakhxngolkmwl 1 988 55 0 000 25 1030 333 000 ethakhxngolk 1 khwamhnaaennechliy 1 408 kiolkrmtxlukbaskesntiemtr 2 0 255 ethakhxngolkkhwamerngonmthwngthiphiwbriewnesnsunysutr 274 0 emtrtxwinathi2 1 27 94 aerngonmthwng 27 542 29 esntiemtr krm winathi 28 ethakhxngolkomemntkhwamechuxy 0 070 1 odypraman khwamerwhludphn wdcakphunphiw 617 7 kiolemtrtxwinathi 2 55 ethakhxngolkxunhphumi aekn rupaebb 1 57 107 ekhlwin 1 ofotsefiyr epnphl 5 772 ekhlwin 1 okhorna 5 106 ekhlwinkhwamsxngswang Lsol 3 828 1026 wtt 1 3 75 1028 luemn 98 luemntxwttkhwamekhmkhxngkarsxngswangechliy Isol 2 009 107 W m 2 sr 1xayu 4 6 phnlanpilksnaechphaakhxngkarhmunkhwamexiyngwngokhcr 7 25 1 kbranabsuriywithi 67 23 kbranabdarackr irtaexsesnchnkhxngkhwehnux 3 286 13 19 chwomng 4 nathi 30 winathiedkhlienchnkhxngkhwehnux 63 87 63 52 ehnuxkhabkarhmundarakhti thiesnsunysutr 25 05 wn 1 thilaticud 16 25 38 wn 25 wn 9 chwomng 7 nathi 12 winathi thikhw 34 4 wn 1 xtraerwkhxngkarhmun thiesnsunysutr 7 189 103 kiolemtrtxchwomngswnprakxbinofotsefiyrodymwlihodrecn 73 46 hieliym 24 85 xxksiecn 0 77 kharbxn 0 29 ehlk 0 16 nixxn 0 12 inotrecn 0 09 silikxn 0 07 aemkniesiym 0 05 kamathn 0 04 khxmulxacepliynaeplngidhakmikarkhnphbihmsahrbxathityinkhwamhmayxun duthi xathity dwngxathityepndawvksladbhlkradbci G2V tamkarcdpraephthdawvkstamradbsepktrm odymkthukeriykxyangimepnthangkarwa dawaekhraehluxng dwngxathitykxtwkhunemuxpraman 4 6 phnlanpikxn cakkaryubkhxngaerngonmthwng gravitational collapse khxngssarphayinbriewnklumemkhomelkulkhnadihy ssarniswnihyrwmxdaennxyuthiicklang swnthiehluxbibtwlnglngepnaephnokhcrsungklaymaepnrabbsuriya mwlicklangrxnaelahnaaennmakcnerimekidptikiriyaniwekhliyrfiwchn n aekndaw sungechuxwaepnkrabwnkarekiddawvksswnihydwngxathitymixayumaidpramankhrungxayukhyaelw immikarepliynaeplngmaknkepnewlakwa 4 phnlanpimaaelw aelakhadwacaxyuinphawakhxnkhangesthiyripechnnixik 5 phnlanpi inaetlawinathi ptikiriyahlxmniwekhliys fiwchn khxngdwngxathity samarthepliynihodrecnxatxmpriman 600 lantn ihklayepnhieliym aelaepliynssar 4 lantnihepnphlngngancakptikiriyadngklaw kwaphlngngannicahnixxkcakaekndwngxathitymasuphunphiwid txngichewlananraw 10 000 thung 170 000 pi inxikraw 5 phnlanpikhanghna emuxptikiriyafiwchnihodrecninaeknkhxngdwngxathityldlngthungcudthiimxyuindulyphaphxuthksthittxip aeknkhxngdwngxathitycamikhwamhnaaennaelaxunhphumiephimkhunswnchnnxkkhxngdwngxathitycakhyayxxkcnsudthayepndawyksaedng mikarkhanwnwadwngxathitycaihyphxklunwngokhcrpccubnkhxngdawphuthaeladawsukr aelathaiholkxasyxyuimidmnusythrabkhwamsakhykhxngdwngxathitythimiolkmatngaetsmykxnprawtisastr aelabangwthnthrrmthuxdwngxathityepnethwda karhmunkhxngolkaelawngokhcrrxbdwngxathitykhxngolkepnrakthankhxngptithinsuriykhti sungepnptithinthiichknaephrhlayinpccubn enuxha 1 phaphrwmekiywkbdwngxathity 2 pccubnaelaxnakhtkhxngdwngxathity 3 okhrngsrang 3 1 aekn 3 2 ekhtaephrngsikhwamrxn 3 3 ekhtphakhwamrxn 3 4 ofotsefiyr 3 5 brryakas 4 prawtisastrekiywkbkarsngektdwngxathity 4 1 khwamekhaicinxdit 4 2 karphthnaaenwkhwamkhidsmyihm 4 3 okhrngkarsarwcdwngxathity 5 bthbathkhxngdwngxathitytxsingmichiwit 6 duephim 7 xangxing 8 aehlngkhxmulxunphaphrwmekiywkbdwngxathity aekikhdwngxathitycdepndawvksrunthi 3 sungsnnisthanknwa kxtwkhunodyxiththiphlkhxngmhanwdarathixyuikl 9 ephraamikarkhnphbthatuhnk echn thxngkhaaelayuereniyminprimanmak sungthatuehlanixacekidcakptikiriyaniwekhliyrchniddudkhwamrxnkhnathiekidmhanwdara hruxkardudsbniwtrxnindawvksrunthisxngsungmimwlmakpccubnaelaxnakhtkhxngdwngxathity aekikhtamkarsuksaaebbcalxngkhxmphiwetxrwadwywtckrdawvks nkdarasastrsnnisthanwadwngxathitymixayupraman 5 000 lanpi 10 inkhnanidwngxathitykalngxyuinladbhlk thakarhlxmihodrecnihepnhieliym odythuk winathi mwlsarkhxngdwngxathitymakkwa 4 lantnthukepliynepnphlngngan dwngxathityichewlaodypraman 1 hmunlanpiinkardarngxyuinladbhlkemuxihodrecnsungepnechuxephlingkhxngdwngxathityhmdlng warasudthaykhxngdwngxathitykmathung khuxkarphnipcakladbhlk odydwngxathitycaerimphbkbcudcbkhuxkaraeprepliynipepndawyksaedngphayin 4 5 phnlanpi phiwnxkkhxngdwngxathitykhyaytwxxkip swnaeknnnyubtwlngaelarxnkhunslbkbeynlng mikarhlxmhieliymepnkharbxnaelaxxksiecnthixunhphumiraw 100 lanekhlwin caksthankarnkhangtnduehmuxnwadwngxathitycaklunkinolkihhlxmlngipepnenuxediywkn aetcakraynganwicychbbhnung 11 idsuksaphbwawngokhcrkhxngolkcatitwxxkhangdwngxathityephraamwlkhxngdwngxathityidsuyesiyip cnaerngdungdudrahwangmwlmikhaldlng aetthungkrann nathaelkthukkhwamrxncakdwngxathityephaphlaycnraehysinipinxwkas aelabrryakasolkkxntrthanipcnimexuxaekchiwittxmaidmikarkhnphb wadwngxathitynncaswangkhun 10 epxresnt thuk 1000 lanpi thungtxnnnolkkimxaccaexux txsingmichiwitipkxnaelw ewlakhxngsingmichiwitbnolk cungehluxaekh 500 lanpiethann aephnphaphchiwitdwngxathity hlngcakthidwngxathityidphansphaphkarepndawyksaedngaelw xunhphumicakptikiriyakarhlxmhieliymthiephimslbkblngphayinaekn kcaepntwkarihphiwdwngxathitydannxkphlatwxxkcakaekn ekidepnenbiwladawekhraah aelwxntrthanipinkhwammudmidkhxngxwkas aelaepnwsdusahrbsrangdawvksaelarabbsuriyarunthdip swnaeknthiehluxxyukcaklayepndawaekhrakhawthirxncdaelamiaesngcangmak kxncadblngklayepndawaekhrada cakthnghmdthiklawmanikhuxchiwitkhxngdawvksthimimwlnxythungpanklang 11 12 okhrngsrang aekikhdwngxathityepnwtthuthiihythisudinrabbsuriya mimwlkhidepnrxyla 99 khxngrabbsuriya dwngxathityepndawvksthimirupthrngekuxbepnthrngklm odymikhwamaebnthikhwephiynghnunginekalan 13 sunghmaykhwamwakhwamaetktangkhxngesnphansunyklangthikhwkbesnphansunyklangthiesnsunysutrmiephiyng 10 kiolemtr cakkarthidwngxathitymiechphaaswnthiepnphlasma immiswnthiepnkhxngaekhng thaihxtraerwkhxngkarhmunrxbtwexnginaetlaswnmikhwamtangkn echnthiesnsunysutrcahmunerwkwathikhw thiesnsunysutrkhxngdwngxathitymikhabkarhmunrxbtwexng 25 wn swnthikhwmikhab 35 wn aetemuxsngektbnolkaelwcaphbwakhabkhxngkarhmunrxbtwexngthiesnsunysutrkhxngdwngxathitykhux 28 wndwngxathitymikhwamhnaaennmakthisudbriewnaekn sungepnaehlngphlitphlngngan aelamikhanxylngekuxbepnrupexkophennechiyltamrayathangthihangxxkmacakaekn aelaaemwaphayindwngxathitynncaimsamarthmxngehnid aetnkwithyasastrksamarthsuksaphayinidphanthangkarichkhlunsaethuxnindwngxathity aekn aekikh swnaeknkhxngdwngxathitysnnisthanwamirsmiepn 0 2 ethakhxngrsmidwngxathity khwamhnaaennpraman 150 000 kiolkrmtxlukbaskemtr hrux 150 ethakhxngkhwamhnaaennkhxngnabnolk xunhphumipraman 13 600 000 ekhlwin tlxdchiwitswnihykhxngdwngxathity phayinaekncamiptikiriyafiwchnlukos oprtxn oprtxn sungepliynihodrecnepnhieliym phlngnganthiidnithaihswnthiehluxkhxngdwngxathitysukswangaelaeplngaesngthuk winathi caminiwekhliyskhxngihodrecn 3 4 1038 tw thukaeprrupepnhieliym phlitphlngnganid 383 1024 cul hruxethiybidkbraebiditrinotrothluxin TNT thung 9 15 1019 kiolkrm phlngngancakaeknkhxngdwngxathityichewlananmakinkarkhunsuphunphiw xyangmakepn 50 lanpi 14 xyangnxyepn 17 000 pi 15 ephraaoftxnphlngngansung rngsiexksaelarngsiaekmma thukdudklunipinphlasma aelweplngphlngnganxxkmaslbkneruxy thuk rayaimkimilliemtr ekhtaephrngsikhwamrxn aekikh phaphprakxbokhrngsrangkhxngdwngxathity inswnkhxngekhtaephrngsikhwamrxn oxmkak sungxyuinchwng 0 2 thung 0 7 swnkhxngrsmidwngxathity inchnniimmikarphakhwamrxn convection ephraaxtrakhwamaetktangkhxngxunhphumiethiybkbrayakhwamsungnxykwaxtrakarepliynxunhphumitamkhwamsungaebbxaediyaebtik adiabatic lapse rate phlngnganinswnnithuknaxxkmaphaynxkchamakdngthiidklawiwkxnaelw ekhtphakhwamrxn aekikh inswnkhxngekhtphakhwamrxn convection zone sungxyubriewnphiwnxkthiehlux epnswnthiphlngnganthukthayethphanaethngkhwamrxn heat column odyenuxsarthirxnaelamiphlngnganerimtncakdanlang aelwihlkhundanbncnthungphiw caknnthayethkhwamrxnaelaklblngipihm aethngkhwamrxnsamarthsngektidcak ekld bnphaphthayphiwdwngxathity ofotsefiyr aekikh inswnkhxngofotsefiyr photosphere aeplwa thrngklmaehngaesng sungepnswnthieramxngehndwngxathity aesngswangthieplngindwngxathitynnekidcakxielktrxnchnkbxatxmihodrecnekidepn H 16 17 ehnuxchnni aesngxathitykcathukpldplxyxxkma aelamixunhphumitalngtamkhwamsungthimakkhun cnthaihsngektehnrxymwtrngkhxbdwngxathityinphaphthay dngphaphthaydanbn brryakas aekikh brryakaskhxngdwngxathityprakxbdwy 3 chn idaek chnxunhphumitasud temperature minimum okhromsefiyr chromosphere ekhtepliynphan transition region okhorna corona aelaehlioxsefiyr heliosphere tamladbcaktaipsungchnaerk chnxunhphumitasud mixunhphumipraman 4 000 ekhlwin aelahna 500 kiolemtr chnthdipkhuxokhromsefiyr sungaeplwarngkhmnthl hruxthrngklmaehngsi ehtuthieriykchuxnikephraaehnepnaesngsiaewbkhnaekidsuriyuprakha chnnihna 2 000 kiolemtr chntxipepnekhtepliynphansungxunhphumixactidlbthunglanekhlwin aelayingtakhunipxikinchnokhorna thaihsingniepnpyhakhaicnkwithyasastr sungksnnisthanwaxacekidcakkartxechuxmthangaemehlk magnetic connection chnthiehluxchnsudthaykhux ehlioxsefiyr hruxsuriymnthl khuxchnthixanackhxnglmsuriyasamarthipthung sungxacmakkwa 20 hnwydarasastr 20 ethakhxngrayathangcakolkthungdwngxathity prawtisastrekiywkbkarsngektdwngxathity aekikhkhwamekhaicinxdit aekikh mnusyinxditruekiywkbdwngxathityephiyngepnlukifklm khuncakthxngfainthistawnxxkthaihekidklangwn aelatklngipthangthistawntkthaihekidklangkhun dwngxathityihthngkhwamswang khwamrxn khwamxbxun tlxdcnkhwamhwngincitic cnmikarnbthuxdwngxathityihepnethpheca mikarbuchayythwayethphphraxathitykhxngchawxsetk Aztec sungpccubnxyuinpraethsemksiok nxkehnuxcakni mnusyinsmyobranyngidsrangsingpradisthsahrbbxktaaehnngkhxngdwngxathityinwnxutrayn Summer solstice sungepnwnthiklangwnyawthisudinrxbpi khuxpramanwnthi 24 mithunayn echn thiesahinsotnehnc inpraethsxngkvs aelaphiramidexlkstioy El Castillo praethsemksiok dwngxathitytkyameynkhlayraebidniwekhliyrinhnnghxlliwud karphthnaaenwkhwamkhidsmyihm aekikh txmankprachychawkrikchux xanksakxrs Anaxagoras idesnxwa dwngxathityepnlukifklm imidepnphraxathitythrngphahna thaihekhatxngothspraharchiwitinewlatxma txmamikarsnnisthanwaexraotsethens idwdrayahangcakolkipdwngxathityidethiyngtrngepnkhnaerkinchwngstwrrsthi 3 kxnkhristkal sungwdid 149 lankiolemtr iklekhiyngkbthiyxmrbinpccubninewlatxma chawkrikobranaelachawxinediyobrantngsmmtithan olkokhcrrxbdwngxathity aelatxmakidrbkarphisucnodyniokhelas okhepxrnikhsinchwngstwrrsthi 16 txmathxms aehrrixxt Thomas Harriot kalielox kalielxi aelankdarasastrkhnxun sngektphbcuddabndwngxathity odykalieloxesnxwacuddabndwngxathitykhuxcudthiekidbnphiwdwngxathityodytrng miidepnwtthuekhluxnthimabng 18 inpi ph s 2215 ocwnni khassini Giovanni Cassini nkdarasastrchawxitali aelachxng riech Jean Richer nkdarasastrchawfrngess idharayathangcakolkipdawxngkhar aelaxaccasamarthharayathangipdwngxathityidhlngcaknn ixaesk niwtn idsngektdwngxathityodyihaesngdwngxathityphanprisum ekhaphbwaprakxbkhundwyhlay aesngsi nnkhuxsingthiekidkhuninrungkinna 19 txmawileliym ehxrechl idkhnphbkaraephrngsixinfraerdinchwngitaedngcakdwngxathity 20 emuxethkhonolyisepktrmkawhna oyesf fxn efranohefxr Joseph von Fraunhofer idkhnphbesndudkluninsepktrmkhxngdwngxathity sungtxmaeriykwaesnefranohefxr Fraunhofer line chwngaerk khxngyukhihmthangwithyasastr pyhathikhaicnkwithyasastrkkhuxdwngxathityexaphlngnganmacakthiid lxrdekhlwin wileliym thxmsn aelaaehrmnn fxn ehlmohlts Hermann von Helmholtz idesnxklikekhlwin ehlmohlts Kelvin Helmholtz mechanism inkarxthibaykarphakhwamrxnkhunsuphiwdwngxathity txmainpi ph s 2447 exxrenst rthethxrfxrd esnxwaphlngnganindwngxathitymacakptikiriyakarkhayphlngngancakxnuphakhthithukkratun 21 aetkkhngxthibayimlaexiydethakhxngxlebirt ixnsitn sungepnecakhxngsmkarsmmulmwl phlngngan E mc2inpi ph s 2463 xarethxr exddingtn esnxwakhwamrxnaelakhwamdnphayinaeknepntwkarthithaihekidptikiriyafiwchn aelakxihekidkarepliynaeplngmwlaelaphlngngan 22 sibpitxmathvsdinierimepnrupepnrang odysuphrahmnyn cnthreskkha Subrahmanyan Chandrasekar nkdarasastrchawxemriknechuxsayxinediy aelahns ebethx nkdarasastrchawxemriknechuxsayeyxrmn 23 24 okhrngkarsarwcdwngxathity aekikh phaphthayphwyephlingsuriyaodyekhruxngmux 4 chinbnyanosoh xngkhkarnasaidekhyplxyyansarwcdwngxathityinokhrngkariphoxeniyr sungplxychwngpi ph s 2502 thung ph s 2511 25 odythakartrwcwdsnamaemehlkkhxngdwngxathityaelalmsuriya txmakidsngyanskayaelbemuxpi ph s 2516 thakarsuksaokhornakhxngdwngxathity aelakarphnmwlkhxngokhorna inpi ph s 2534 yipunidsngyanoyaoka 阳光 ephuxsuksaephlingsuriyainchwngrngsiexks nxkcakniyngaesdngihehnwa okhornacayublnginchwngthimikickrrmbnphiwdwngxathitymak yanoyaokathukpldrawangemux ph s 2548 26 pharkicsarwcdwngxathitythieraruckknmkhniimphnhxsngektkarndwngxathityaelasuriymnthl hruxosoh Solar and Heliospheric Observatory SOHO xnepnkhwamrwmmuxrahwangshrthxemrika aelashphaphyuorp thukplxyemuxwnthi 2 thnwakhm ph s 2538 edimthikahndihptibtingansxngpi aetklbptibtinganmakkwa 10 pi yanosohepnyansngektkarnthithaiheraruhlayxyangekiywkbdwngxathitymakkhuninhlay chwngkhlunaemehlkiffa aelayngsngektehndawhangthiphungchndwngxathitydwy swnxikokhrngkarhnungthimiaephncaplxykhunsuhwngxwkasineduxnsinghakhm pi ph s 2551 27 khuxokhrngkarhxsngektkarnsuriyphlwt Solar Dynamic Observatory sungcanaipiwyngcudlakrxngc Lagrangian point hruxcudsaethinaerngdungdud rahwangolkkbdwngxathitynxkehnuxcakni yngmiokhrngkarsngektrabbsuriyacakmumxun odymikarsngyanyullisis Ulysses emux ph s 2533 odyihipyngdawphvhsbdiephuxehwiyngtwkhunehnuxranabrabbsuriya khrannyansamarthsngektehndawhangchuemkekxr elwi 9 chndawphvhsbdiinpi ph s 2537 emuxyanyullisisthungthihmay kcathakarsarwclmsuriyaaelasnamaemehlkthilaticudsung aelaphbwaxtraerwlmsuriyaxyuthi 750 kiolemtrtxwinathi sungchakwathiidkhadiw aelayngmisnamaemehlkthithaihrngsikhxsmikkraecingdwy 28 bthbathkhxngdwngxathitytxsingmichiwit aekikhnbtngaetptikiriyaniwekhliyrkhwamrxn thermonuclear reaction inicklangdwngxathity aephphlngnganxxkmainrupkhxngkhlunaemehlkiffaaelaphlngnganthisasmphayinxnuphakh ichewlaedinthangnbhmunnbaesnpicnkrathngthungphiwdwngxathity aelatxdwykaredinthang 8 nathimayngolkkhxngera inrupkhxngaesngthimxngehn rngsiaekmma rngsiexks aelarngsixun txngkhxbkhunchnbrryakasolkthiidkrxngexasingthiepnxntrayehlanixxkip imnannkphlngngankthungyngphunolk thngihkhwamxbxunnaxyuinekhthnaw hruxaemaetihkhwamrusukrakhayinekhtrxn thwaphlngngancakdwngxathitykidthukdudsbekhaipinphuchaelaophrthist caknnphuchksamarthtrungexakharbxnidxxkisdxxkcakxakasidepnnatal phankrabwnkarsngekhraahdwyaesng natalthiidnnphuchkcanaipaeprrupepnthngphnngesll eyuxhumesll xxaekenllphayinesll l nxkehnuxcakthatuxaharthidudkhunmacakdinemuxphuchepnphuphlit thiaethcringkhuxphuaeprrup xaharcakphlngnganaesngxathity kthaihstwmixaharcakswntang khxngphuch inkarslayxaharkhxngstw singsakhythisudnxkcakxaharthiidrbaelwkkhuxxxksiecn sungepnkhxngesiyinkrabwnkarsngekhraahdwyaesng ephuxiprbxielktrxntwsudthayinkrabwnkarslaysarxaharradbesll khnaediywknstwkhayicexaaekskharbxnidxxkisdsungepnsarphlngngantaxxkma ephuxthiphuchcaidtrungxikkhrngepnwtckrduephim aekikhrabbsuriyaxangxing aekikh 1 00 1 01 1 02 1 03 1 04 1 05 1 06 1 07 1 08 1 09 1 10 NASA Sun Fact Sheet 2 0 2 1 2 2 2 3 2 4 2 5 2 6 Sun Facts amp figures NASA Solar System Exploration page Seidelmann P K 2000 Report Of The IAU IAG Working Group On Cartographic Coordinates And Rotational Elements Of The Planets And Satellites 2000 subkhnemux 2006 03 22 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help How Round is the Sun NASA 2 October 2008 subkhnemux 7 March 2011 First Ever STEREO Images of the Entire Sun NASA 6 February 2011 subkhnemux 7 March 2011 Charbonneau P 2014 Solar Dynamo Theory Annual Review of Astronomy and Astrophysics 52 251 290 Bibcode 2014ARA amp A 52 251C doi 10 1146 annurev astro 081913 040012 Woolfson M 2000 The origin and evolution of the solar system Astronomy amp Geophysics 41 1 12 Bibcode 2000A amp G 41a 12W doi 10 1046 j 1468 4004 2000 00012 x CS1 maint ref harv link Basu S Antia H M 2008 Helioseismology and Solar Abundances Physics Reports 457 5 6 217 283 arXiv 0711 4590 Bibcode 2008PhR 457 217B doi 10 1016 j physrep 2007 12 002 CS1 maint ref harv link Falk S W 1977 Are supernovae sources of presolar grains Nature 270 700 701 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Bonanno A 2002 The age of the Sun and the relativistic corrections in the EOS PDF Astronomy and Astrophysics 390 1115 1118 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help 11 0 11 1 Pogge Richard W 1997 The Once and Future Sun lecture notes New Vistas in Astronomy The Ohio State University Department of Astronomy subkhnemux 2005 12 07 External link in work help Sackmann I Juliana 1993 Our Sun III Present and Future Astrophysical Journal 418 457 Unknown parameter month ignored help Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Godier S 2000 The solar oblateness and its relationship with the structure of the tachocline and of the Sun s subsurface PDF Astronomy and Astrophysics 355 365 374 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Lewis Richard 1983 The Illustrated Encyclopedia of the Universe Harmony Books New York p 65 Plait Phil 1997 Bitesize Tour of the Solar System The Long Climb from the Sun s Core Bad Astronomy subkhnemux 2006 03 22 Gibson Edward G 1973 The Quiet Sun NASA Shu Frank H 1991 The Physics of Astrophysics University Science Books Galileo Galilei 1564 1642 BBC subkhnemux 2006 03 22 Sir Isaac Newton 1643 1727 BBC subkhnemux 2006 03 22 Herschel Discovers Infrared Light Cool Cosmos subkhnemux 2006 03 22 Darden Lindley 1998 The Nature of Scientific Inquiry Macmillan s Magazine Studying the stars testing relativity Sir Arthur Eddington ESA Space Science 2005 06 15 Bethe H 1938 On the Formation of Deuterons by Proton Combination Physical Review 54 862 862 Bethe H 1939 Energy Production in Stars Physical Review 55 434 456 Pioneer 6 7 8 9 E Encyclopedia Astronautica subkhnemux 2006 03 22 Japan Aerospace Exploration Agency 2005 Result of Re entry of the Solar X ray Observatory Yohkoh SOLAR A to the Earth s Atmosphere subkhnemux 2006 03 22 Solar Dynamic Observatory Mission Schedule NASA subkhnemux 2007 7 30 line feed character in title at position 26 help Check date values in accessdate help Ulysses Science Primary Mission Results NASA subkhnemux 2006 03 22 saranukrmdarasastrxxniln eruxng dwngxathity khxmul dwngxathity cakhxdudawekidaekw okhrngkarekhruxkhaysarsnethsdarasastr bththi 6 eruxng dwngxathity NASA s Solar System Exploration Planet Sun xngkvs The Sun cak nineplanets org xngkvs BBC Science and Nature Space The Sun xngkvs PHOTOSYNTHESIS HOW LIFE KEEPS GOING xngkvs Thompson M J 2004 Solar interior Helioseismology and the Sun s interior Astronomy amp Geophysics v 45 p 4 21 4 25 T J White M A Mainster P W Wilson and J H Tips Chorioretinal temperature increases from solar observation Bulletin of Mathematical Biophysics 33 1 17 1971 aehlngkhxmulxun aekikhkhunsamarthhakhxmulekiywkb dwngxathity idodykhnhacakokhrngkarphinxngkhxngwikiphiediy hakhwamhmay cakwikiphcnanukrm hnngsux cakwikitara khakhm cakwikikhakhm khxmultnchbb cakwikisxrs phaphaelasux cakkhxmmxns enuxhakhaw cakwikikhaw aehlngeriynru cakwikiwithyalyphaphthaydwngxathitycakyan SOHO Nasa SOHO Solar amp Heliospheric Observatory satellite FAQ Sun Profile by NASA s Solar System Exploration Solar Sounds from Stanford saranukrmithysahrbeyawchn elmthi 1 eruxngthi 1 dwngxathityekhathungcak https th wikipedia org w index php title dwngxathity amp oldid 9360474, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม