fbpx
วิกิพีเดีย

การกลืนลำบาก

ระวังสับสนกับ อาการกลืนเจ็บ

การกลืนลำบาก (อังกฤษ: Dysphagia) ซึ่งแม้ ICD-10 จะจัดว่าเป็น "อาการและอาการปรากฏ" ของโรคต่าง ๆ แต่บางครั้งก็ใช้หมายถึงภาวะโดยเฉพาะของตนเอง และผู้ที่มีภาวะนี้ก็อาจไม่สำนึกว่าตนมี มันอาจจะเป็นความรู้สึกว่าอาหารแข็งหรือเครื่องดื่มดำเนินผ่านปากไปจนถึงท้องได้ยาก หรืออาจไม่มีความรู้สึกที่คอหอย หรืออาจเป็นความบกพร่องในการกลืนอื่น ๆ การกลืนลำบากต่างกับอาการอื่น ๆ รวมทั้งอาการกลืนเจ็บ และอาการเหมือนมีก้อนในลำคอ เพราะบุคคลอาจกลืนลำบากโดยที่ไม่มีอาการกลืนเจ็บ หรือกลืนเจ็บโดยไม่ได้กลืนลำบาก หรือมีทั้งสองอย่างร่วมกัน ส่วนอาการนี้ที่เกิดจากจิตใจเรียกว่า โรคกลัวการกิน (phagophobia)

การกลืนลำบาก
(Dysphagia)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10R13.r
ICD-9438.82 , 787.2
DiseasesDB17942
MedlinePlus003115
eMedicinepmr/194
MeSHD003680

อาการ

คนไข้บางคนสำนึกถึงอาการนี้ได้อย่างจำกัด ดังนั้น การไม่มีอาการไม่ได้หมายความว่าไม่ได้มีโรคที่เป็นเหตุ ถ้าอาการไม่ได้วินิจฉัยและรักษา คนไข้มีโอกาสเสี่ยงสูงในการสูดอาหารและน้ำเข้าปอด (pulmonary aspiration) แล้วเป็นปอดบวมเพราะเหตุนั้น คนไข้บางคนอาจสูดอาหารและน้ำเข้าปอดแต่ก็ไม่มีอาการไอหรืออาการอื่น ๆ ที่เนื่องกัน (silent aspiration) อาการที่ไม่ได้รักษาอาจทำให้ขาดน้ำ ขาดอาหาร และไตวาย

อาการของการกลืนลำบากที่ปากและคอหอย (oropharyngeal dysphagia) รวมจัดการอาหารในปากได้ยาก ควบคุมอาหารและน้ำลายในปากได้ยาก เริ่มกลืนลำบาก ไอ สำลัก ปอดบวมบ่อย ๆ น้ำหนักลดโดยไม่มีเหตุ เสียงเปลี่ยนหลังกลืน การสำลักออกทางจมูก และกลืนลำบาก เมื่อถามว่าอาหารไปติดที่ตรงไหน คนไข้บ่อยครั้งจะชี้ไปที่คอ จุดที่อาหารติดจะอยู่ตรงที่คนไข้ชี้หรือต่ำกว่านั้น

อาการสามัญที่สุดของการกลืนลำบากในหลอดอาหาร (esophageal dysphagia) ก็คือ กลืนอาหารแข็งได้ยาก ซึ่งคนไข้บอกว่าอาหารติดก่อนที่จะเข้าไปถึงท้อง หรือจะขย้อนขึ้น อาการกลืนเจ็บจะต่างกันโดยเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาจมีมะเร็งเยื่อบุ แต่ก็มีเหตุอื่น ๆ อีกมากมายเช่นกันที่ไม่เกี่ยวกับมะเร็ง

ภาวะกล้ามเนื้อเรียบไม่คลาย (achalasia) เป็นข้อยกเว้นในเรื่องอาการทั่วไปของการกลืนลำบาก เพราะจะกลืนน้ำได้ยากกว่ากลืนอาหารแข็ง ภาวะนี้มีเหตุจากความเสียหายต่อปมประสาทพาราซิมพาเทติกของข่ายประสาท (myenteric plexus) ที่ควบคุมการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารส่วนล่างแคบลง และทำให้หลอดอาหารไม่บีบตัวทั่วทั้งหลอด

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนของการกลืนยากอาจรวมการสูดอาหารและน้ำเข้าปอด ปอดบวม ขาดน้ำ และน้ำหนักลด

การจัดหมวด

อาการสามารถแบ่งออกเป็น

  1. การกลืนลำบากที่ปากและคอหอย (oropharyngeal dysphagia)
  2. การกลืนลำบากในหลอดอาหาร (esophageal dysphagia)
  3. กลุ่มอาการทางประสาทและกล้ามเนื้อ
  4. การกลืนลำบากที่ไม่ใช่โรคกาย (functional dysphagia) คือเป็นอาการที่ไม่ได้มีเหตุจากโครงสร้างและอวัยวะ

ตารางต่อไปนี้แสดงเหตุต่าง ๆ ที่เป็นไปได้

เหตุที่เป็นไปได้ของการกลืนลำบาก
ตำแหน่ง เหตุ
ปาก
คอหอย
  • ในช่อง:
    • มีของแปลกปลอมติดอยู่
  • ที่ผนัง
  • นอกผนัง
    • ฝีหลังคอหอย
    • โรคปุ่มน้ำเหลืองที่คอ
    • เนื้อร้ายไทรอยด์
    • Eagle syndrome
หลอดอาหาร
  • ในช่อง
    • มีของแปลกปลอมติดอยู่
  • ที่ผนัง
  • นอกผนัง
    • โรคคอพอกหลังกระดูกอก (retrosternal goitre) คือต่อมไทรอยด์บวม
    • เนื้อร้าย
    • Zenker's diverticulum
    • ท่อเลือดแดงโป่งพอง
    • เนื้องอกเข้ามาในโครงสร้างตรงกลาง (mediastinal growth)
    • การกลืนลำบากเหตุหลอดเลือดแดงใต้กระดูกไหปลาร้าผิดปกติ (dysphagia lusoria)
    • Periesophagitis
    • กระเพาะอาหารเลื่อนผ่านกะบังลม (hiatus hernia)
    • การผ่าตัดผูกหูรูดกระเพาะอาหารที่แน่นเกิน หรือการผูกแถบกระเพาะอาหาร (gastric banding)

ความลำบากหรือความไม่สามารถกลืนอาจมีเหตุจากหรือทำให้แย่ลงโดยยาฝิ่นและ/หรือยาโอปิออยด์

วิธีการวินิจฉัย

มาตรฐานในการวินิจฉัยการกลืนลำบากก็คือใช้เครื่องมือตรวจ เพราะบริเวณที่เป็นประเด็นไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า และคนไข้อาจจะไม่รู้สึกถึงการกลืนลำบากหรือสามารถกำหนดตำแหน่งที่เป็นปัญหาได้อย่างแม่นยำ

มาตรฐานอย่างหนึ่งเพื่อวินิจฉัยการกลืนลำบากที่ปากและคอหอยก็คือการให้กลืนเม็ดยาถ่ายเอ็กซ์เรย์ (MBSS/VFSS) ซึ่งช่วยให้เห็นโครงสร้างและสรีรภาพเกี่ยวกับการกลืนด้วยภาพเอกซ์เรย์เคลื่อนไหว โดยได้มุมมองจากด้านข้าง (lateral) และจากหน้าไปหลัง (AP) ผู้ชำนาญการจะวิเคราะห์การกลืนโดยแบ่งเป็นช่วง ๆ สำหรับช่วงปาก สิ่งที่ประเมินก็คือ การปิดปาก การจัดการควบคุมก้อนอาหาร การเริ่มขยับลิ้น การเคี้ยว การเคลื่อนย้ายก้อนอาหาร และสิ่งที่เหลืออยู่ในปากเมื่อกลืน สำหรับช่วงคอหอย สิ่งที่ประเมินคือ การปิดคอหอยด้วยเพดานปาก (velopharyngeal closure) การเริ่มกลืนที่คอหอย การยกคอหอยขึ้น การขยับกระดูกไฮออยด์ด้านหน้า การปิดฝากล่องเสียง การปิดโพรงคอหอยและความเร็วในการตอบสนอง การหดโคนลิ้นออก การบีบตัวของคอหอย และสิ่งที่เหลืออยู่ในคอยหอยเมื่อกลืนแล้ว

ส่วนหลอดอาหารจะวิเคราะห์การเคลียร์เทียบกับการเหลืออาหาร น้ำ และยา สิ่งที่เหลือก็จะตรวจดูว่ามันกลับขึ้นมายังหลอดอาหารส่วนบนหรือเข้าไปในคอหอยและหลอดลมหรือไม่ เจ้าหน้าที่จะตรวจอาหารและน้ำประเภทต่าง ๆ รวมทั้งเม็ดยาที่ให้กลืน เป็นเรื่องสำคัญที่จะทดสอบสิ่งที่กลืนซึ่งมีความหนืดและปริมาณขนาดต่าง ๆ กัน สิ่งที่ทดสอบปกติจะรวมน้ำเปล่า น้ำผลไม้ที่หนืดขึ้น น้ำผึ้งที่หนืดขึ้นอีก น้ำผักผลไม้บด ขนมปังกรอบ (หรือคุกกี้) ของที่มีความหนืดข้นไม่เท่ากัน และเม็ดยาที่กลืนกับน้ำหรือน้ำผักผลไม้บด (โดยขึ้นอยู่กับวิธีการวัดค่าพื้นฐาน)

เจ้าหน้าที่จะตรวจดูว่าการกลืนปลอดภัยหรือไม่ (คือไม่สูดเข้าทางลมหายใจ) และมีประสิทธิภาพหรือไม่ (คือไม่มีอะไรเหลือ) จุดประสงค์ก็เพื่อตรวจว่า ทำไมจึงกลืนลำบากและว่า จะทำอะไรได้เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการกลืน บางครั้งการดื่มน้ำธรรมดาอาจทำให้สูดเข้าทางลมหายใจได้ง่าย ดังนั้น เจ้าหน้าที่ก็อาจตรวจท่าทาง อิริยาบถ และวิธีการกลืนเพื่อป้องกันไม่ให้สูดเข้าทางลมหายใจ โดยจะขึ้นอยู่กับร่างกายและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของบุคคลนั้น วิธีการหนึ่งที่อาจเพิ่มความปลอดภัยในการกลืนของเหลว ก็คือเปลี่ยนความหนืด เช่นทำให้ข้นขึ้น ไม่ว่าจะในระดับต้น กลาง หรือข้นสุด ๆ ถ้ามีของเหลือมากหลังจากกลืน ก็จะมีเทคนิคเพื่อลดปัญหานี้ ดูเรื่องการรักษาต่อไปสำหรับกลยุทธ์การกลืนเพื่อแก้ปัญหาหรือวิธีการเพื่อฟื้นฟูสภาพ

มาตรฐานอีกอย่างเพื่อวินิจฉัยการกลืนยากก็คือการส่องกล้องต่อเส้นใยนำแสงผ่านจมูก (FEES) ซึ่งทำโดยให้กลืนอาหารและน้ำเช่นเดียวกัน บวกกับการหาว่าทำไมจึงกลืนยากและสามารถทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาได้ การตรวจนี้ดีกว่าตรงที่ไม่ต้องจำกัดการถูกกับรังสีเอ็กซ์เรย์ ดังนั้น จึงสามารถดูคนไข้ในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติมากกว่าเมื่อทานอาหาร กล้องส่องจะบางมากและปกติจคนไข้จะอดทนได้ดีแม้เมื่อไม่ใช้ยาชาที่จมูก

อย่างไรก็ดี การกลืนแป้งถ่ายเอ็กซเรย์ (barium swallow study/esophagram/upper GI study) จะช่วยให้ตรวจหลอดอาหารทั้งหมดได้ดีที่สุด โดยอาจต้องทานเป็นจำนวนมากเพื่อให้ขยายช่องหลอดอาหารเพื่อตรวจ เป็นการตรวจที่สามารถประเมินกรดไหลย้อนเป็นบางส่วนด้วย ซึ่งไม่เหมือนเมื่อตรวจด้วย VFSS แต่วิธีการตรวจทั้งสองก็สามารถช่วยให้เห็นอาการ Zenker's diverticulumได้ ความเสี่ยงอย่างหนึ่งก็คือ แป้งที่กลืนอาจล้นช่อง ทำให้ย้อนขึ้นไปสู่คอหอยแล้วสูดเข้าปอดหลังกลืน

ภาวะกล้ามเนื้อเรียบไม่คลายจะตรวจได้ดีที่สุดโดยวิธีนี้ ซึ่งสามารถแสดงปลายหลอดอาหารอันแคบลงเหมือนกับจะงอยปากนก หรือเหมือนกับหางหนู เมื่อหลอดอาหารตีบ น้ำแป้งที่ทานเข้าไปอาจจะเหลืออยู่ด้านบนของส่วนที่ตีบแล้วค่อย ๆ ไหลลง ซึ่งก็สามารถเห็นได้เหมือนกันด้วย VFSS ถ้าแพทย์สงสัยว่ามีหลอดอาหารตีบหรือไม่บีบตัวตั้งแต่แรก คือสามารถดูตามหลอดอาหารเมื่อได้ทานอาหารแข็งเช่นขนมปังหรือคุกกี้ การตามดูหลอดอาหารด้วย VFSS จะมีประโยชน์มากเพราะสามารถตรวจเมื่อกลืนสิ่งต่าง ๆ ที่ทดสอบได้ ส่วนการกลืนแป้งหรือเม็ดยาปกติจะตามดูได้แต่แป้งและเม็ดยาเท่านั้น

วิธีการตรวจอื่น ๆ รวมทั้ง

  • การส่องกล้องดูหลอดอาหาร (esophagoscopy) หรือดูคอหอย (laryngoscopy) จะทำให้ดูช่องทั้งสองได้โดยตรง
  • การถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ที่หน้าอก อาจแสดงอากาศและน้ำภายในอวัยวะที่คั่นระหว่างปอด และ Pott's disease ซึ่งเป็นการติดเชื้อวัณโรคนอกปอด และหลอดเลือดโป่งพองแบบมีแคลเซียมเกาะก็สามารถวินิจฉัยได้ด้วยวิธีนี้
  • การตรวจสอบการบีบตัวของหลอดอาหาร (esophageal motility study) จะมีประโยชน์เมื่อมีภาวะกล้ามเนื้อเรียบไม่คลาย หรือมีหลอดอาหารกระตุกแบบกระจาย (diffuse esophageal spasm)
  • การตรวจสอบเซลล์หลอดอาหารที่หลุดออกเป็นแผ่นสามารถทำจากน้ำล้างหลอดอาหารที่ได้เมื่อส่องกล้องดูหลอดอาหาร ซึ่งสามารถตรวจจับเซลล์เนื้อร้ายในระยะต้น ๆ
  • อัลตราซาวนด์และเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์จะไม่ช่วยให้พบเหตุของการกลืนยาก แต่สามารถตรวจจับก้อนเนื้อในอวัยวะที่คั่นระหว่างปอดกับเอออร์ตาโป่งพอง (aortic aneurysm)
  • การส่องกล้องต่อเส้นใยนำแสง (FEES) พร้อมกับตรวจสอบประสาทรับความรู้สึกต่าง ๆ อาจทำโดยแพทย์ที่รักษาปัญหาเกี่ยวกับการพูด ซึ่งก็ทำโดยให้ทานของที่ข้นต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปแล้ว
  • เสียงและแรงสั่นที่มาจากการกลืนอาจใช้คัดกรองปัญหาการกลืนลำบาก แต่วิธีเช่นนี้ยังเป็นประเด็นงานวิจัยในระยะต้น ๆ

การวินิจฉัยแยกแยะโรค

เหตุของการกลืนลำบากทั้งหมดต่างก็เป็นวินิจฉัยแยกแยะโรคของอาการนี้ เหตุที่สามัญรวมทั้ง

การกลืนลำบากในหลอดอาหารมีเหตุเกือบทั้งหมดจากโรคในหลอดอาหารหรืออวัยวะข้างหลอดอาหาร แต่บางครั้งก็เกิดจากแผลที่คอหอยหรือกระเพาะอาหารเหมือนกัน ในโรคที่ก่อการกลืนลำบากหลายอย่าง ช่องหลอดอาหารจะแคบลงและขยายออกไม่ได้โดยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตอนแรกเพียงแค่อาหารแข็งที่มีใยอาหารจะก่อปัญหา แต่ตอนหลังอาจเป็นอาหารแข็งทุกอย่าง และหลังจากนั้นแม้น้ำก็อาจก่อปัญหา คนไข้ที่มีปัญหากลืนลำบากอาจได้ประโยชน์จากน้ำที่ทำให้หนืดขึ้ดถ้าทานแล้วรู้สึกสบาย แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า น้ำเช่นนี้มีประโยชน์จริง ๆ

การกลืนลำบากอาจเป็นผลของความผิดปกติของระบบประสาทอิสระ เช่น ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง และ ALS หรือเกิดจากการรักษาภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ที่ทำเร็วเกินไป

การรักษา

มีวิธีการรักษาการกลืนลำบากหลายอย่าง เช่นบำบัดการกลืน เปลี่ยนอาหาร ใช้หลอดป้อนอาหาร ยา และการผ่าตัด การรักษาการกลืนลำบากอาจจะต้องอาศัยผู้ชำนาญการในด้านต่าง ๆ รวมทั้งผู้บำบัดการพูด-ภาษาที่ชำนาญการในเรื่องปัญหาการกลืน แพทย์หลัก แพทย์โรคทางเดินอาหาร พยาบาล ผู้บำบัดในเรื่องการหายใจ นักชำนาญการในเรื่องอาหาร ผู้บำบัดเรื่องทางอาชีพ ผู้บำบัดทางกายภาพ และรังสีแพทย์ โดยบทบาทของผู้ชำนาญการเหล่านี้จะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับรูปแบบปัญหาการกลืน ยกตัวอย่างเช่น ผู้บำบัดเรื่องการกลืนจะเป็นผู้รักษาคนไข้ที่กลืนลำบากในปากและคอหอย ส่วนแพทย์โรคทางเดินอาหารจะเป็นผู้บำบัดโรคหลอดอาหารโดยตรง

วิธี

วิธีการรักษาควรจะขึ้นกับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดของผู้ชำนาญการด้านต่าง ๆ กลยุทธ์การรักษาจะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับคนไข้ และควรจะทำตามความจำเป็นของคนไข้ โดยเลือกตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น วินิจฉัย พยากรณ์โรค การตอบสนองของคนไข้ต่อวิธีการชดเชยปัญหา ความรุนแรงของอาการ สภาพทางจิตใจ/ประชาน การทำงานของระบบหายใจ ผู้ช่วยดูแลคนไข้ และแรงจูงใจและความต้องการของคนไข้

การรับอาหารและน้ำ

แผนการรักษาต้องให้อาหารและน้ำแก่คนไข้อย่างเพียงพอ จุดประสงค์หลักของการรักษาก็เพื่อให้คนไข้ทานอาหารและน้ำทางปากได้ โดยต้องให้ได้พอและทำได้อย่างปลอดภัยด้วย (คือไม่สูดเข้าปอด) ถ้าการทานอาหารทางปากทำให้ใช้เวลาทานนานขึ้นและต้องใช้ความพยายามมากขึ้นแล้วทำให้ได้อาหารไม่เพียงพอเพื่อดำรงน้ำหนัก อาจจะต้องให้อาหารคนไข้โดยวิธีอื่น ๆ อนึ่ง ถ้าคนไข้สูดอาหารหรือน้ำเข้าปอดแม้ใช้วิธีการชดเชยปัญหาแล้ว ทำให้ทานอาหารได้อย่างไม่ปลอดภัย อาจจะต้องได้อาหารทางอื่นที่ไม่ผ่านปาก เช่นผ่านหลอดส่งผ่านจมูกเข้าไปยังกระเพาะอาหาร การผ่าตัดทำรูเปิดกระเพาะ หรือการผ่าตัดทำรูเปิดลำไส้เล็กส่วนกลาง

วิธีการรักษา

วิธีการชดเชยจะเปลี่ยนการไหลของอาหารและน้ำเข้าไปในท้อง แต่ไม่ได้เปลี่ยนสรีรภาพในการกลืน ซึ่งอาจรวม

  • การวางอิริยาบถ/การเปลี่ยนท่าทาง
  • การเปลี่ยนความหนืดความข้นของอาหาร
  • การเปลี่ยนปริมาณอาหารและความเร็วช้าในการกลืน
  • การเพิ่มความสำนึกถึงสิ่งที่อยู่ในปาก
  • อุปกรณ์ในปากที่ช่วยกลืน

วิธีการรักษาเพื่อเปลี่ยนหรือปรับปรุงสรีรภาพในการกลืนอาจรวม

  • การฝึกเคลื่อนไหวปากและคอหอย
  • การฝึกขืนวิธีการจัดการ/กลืนอาหารดังที่เคยทำมาก่อน
  • การฝึกจัดการควบคุมคำอาหาร
  • การฝึกการกลืน
    • Supraglottic swallow
    • Super-supraglottic swallow
    • Effortful swallow
    • Mendelsohn maneuver

อาจจะต้องรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ร่มกันเพื่อให้กลืนอาหารได้อย่างปลอดภัยและได้อาหารอย่างเพียงพอ เช่น อาจต้องเปลี่ยนอิริยาบถร่วมกับการฝึกการกลืน

ความระบาด

ความผิดปกติในการกลืนอาจเกิดในกลุ่มอายุใดก็ได้ และอาจเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด ความเสียหายต่ออวัยวะ หรือโรคอื่น ๆ ปัญหาการกลืนเป็นเรื่องสามัญสำหรับผู้สูงอายุ โดยการกลืนลำบากก็มีความชุกที่สูงกว่าในผู้สูงอายุ ในคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง และในคนไข้ที่เข้ารักษาในแผนกฉุกเฉินหรือแผนกโรคเรื้อรัง การกลืนลำบากมีเหตุต่าง ๆ หลายอย่าง ซึ่งสามารถรู้ได้โดยการสอบประวัติคนไข้

ประวัติคำ

คำภาษาอังกฤษว่า "dysphagia" มาจากคำกรีกโบราณ คือ dys ซึ่งแปลว่าไม่ดีหรือผิดปกติ และรากศัพท์ว่า phag- ซึ่งหมายถึงการกิน

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

  1. Paterson-Kelly syndrome เป็นโรคที่มีน้อยและมีอาการกลืนลำบาก โลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ลิ้นอักเสบ ริมฝีปากอักเสบ และพังผืดหลอดอาหาร
  2. Eagle syndrome เป็นภาวะที่มีน้อยซึ่งมีอาการเจ็บฉับพลันคล้ายที่เกิดทางประสาท ตรงกระดูกขากรรไกรและข้อ ที่หลังคอ และที่โคนลิ้น ซึ่งจุดชนวนโดยการกลืนหรือการขยับขากรรไกร หรือการเอี้ยวคอ อาการมีเหตุจากระดูกสไตลอยด์ โพรเซสที่ขมับซึ่งยาวหรือมีรูปร่างผิดปกติ หรือเกิดจากการมีแคลเซียมเกาะที่เอ็น Stylohyoid เพราะกวนการทำงานของโครงสร้างและอวัยวะที่อยู่ใกล้ ๆ กัน
  3. Zenker's diverticulum เป็นช่องพองซึ่งเกิดที่เยื่อเมือกของคอหอยเหนือหูรูดด้านบนของหลอดอาหาร ซึ่งมีเหตุจากแรงดันที่เกิดผิดปกติทางด้านล่างของคอหอย ทำให้ส่วนที่อ่อนแอที่สุดป่องออก จนอาจทำให้มีขนาดเป็นหลายเซนติเมตร
  4. hiatus hernia เป็นภาวะที่อวัยวะในท้อง (โดยปกติกระเพาะอาหาร) จะเลื่อนผ่านกะบังลมเข้าไปในช่องกลางของหน้าอก ซึ่งอาจมีผลเป็นโรคกรดไหลย้อน อาการอื่น ๆ อาจรวมกลืนลำบากและเจ็บหน้าอก ภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ไส้บิดเกลียว (volvulus) การอุดกั้นลำไส้ (bowel obstruction)
  5. Esophageal varices เป็นเส้นเลือดดำใต้เยื่อเมือกซึ่งบวมมากโดยอยู่ที่ส่วนล่าง (1/3) ของหลอดอาหารและมีเหตุจากตับแข็งซึ่งก่อความดันสูงในหลอดเลือดดำจากระบบทางเดินอาหารไปยังตับ เป็นภาวะที่ทำให้เสี่ยงเลือดออกสูง

อ้างอิง

  1. "Dysphagia", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) การกลืนลำบาก
  2. Smithard, DG; Smeeton, NC; Wolfe, CD (2007). "Long-term outcome after stroke: does dysphagia matter?". Age Ageing. 36 (1): 90–4. doi:10.1093/ageing/afl149. PMID 17172601.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  3. Brady, A (2008). "Managing the patient with dysphagia". Home Healthc Nurse. 26 (1): 41–6, quiz 47-8. doi:10.1097/01.NHH.0000305554.40220.6d. PMID 18158492.
  4. "ICD-10:". สืบค้นเมื่อ 2008-02-23.
  5. Boczko, F (2006). "Patients' awareness of symptoms of dysphagia". J Am Med Dir Assoc. 7 (9): 587–90. doi:10.1016/j.jamda.2006.08.002. PMID 17095424.
  6. . University of Virginia. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2004-07-09. สืบค้นเมื่อ 2008-02-24. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  7. . New York University School of Medicine. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2007-11-14. สืบค้นเมื่อ 2008-02-24.
  8. Parker, C; Power, M; Hamdy, S; Bowen, A; Tyrrell, P; Thompson, DG (2004). "Awareness of dysphagia by patients following stroke predicts swallowing performance". Dysphagia. 19 (1): 28–35. doi:10.1007/s00455-003-0032-8. PMID 14745643.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  9. Rosenvinge, SK; Starke, ID (2005). "Improving care for patients with dysphagia". Age Ageing. 34 (6): 587–93. doi:10.1093/ageing/afi187. PMID 16267184.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  10. Sleisenger, Marvin H.; Feldman, Mark; Friedman, Lawrence M. (2002). Sleisenger & Fordtran's Gastrointestinal & Liver Disease (7th ed.). Philadelphia, PA: W.B. Saunders Company. Chapter 6, p. 63. ISBN 0-7216-0010-7.
  11. . University of Texas Medical Branch. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 2008-02-23. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  12. Logemann, Jeri A. (1998). Evaluation and treatment of swallowing disorders. Austin, Tex: Pro-Ed. ISBN 0-89079-728-5.
  13. Spieker, Michael R. (2000-06-15). "Evaluating Dysphagia". American Family Physician (ภาษาอังกฤษ). 61 (12): 3639–3648. PMID 10892635.
  14. Waldman, SD (2013-06-06). Atlas of Uncommon Pain Syndromes. Elsevier Health Sciences. pp. 35–36. ISBN 1-4557-0999-9.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  15. "The diagnosis and management of hiatus hernia". 2014-10-23. PMID 25341679. Cite journal requires |journal= (help)
  16. "Hiatal Hernia". PubMed Health. สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
  17. "Opioid Effects on Swallowing and Esophageal Sphincter Pressure". clinicaltrials.gov. US National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 3/23/2018. Check date values in: |accessdate= (help)
  18. Dudik, JM; Coyle, JL; Sejdić, E (2015). "Dysphagia screening: Contributions of cervical auscultation signals and modern signal processing techniques". IEEE Transactions on Human-Machine Systems. 45 (4): 465–477. doi:10.1109/thms.2015.2408615. PMC 4511276.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  19. "Plummer-Vinson syndrome". 2006. PMID 16978405. Cite journal requires |journal= (help)
  20. Edmiaston, J; Connor, LT; Loehr, L; Nassief, A (2010-07). "Validation of a dysphagia screening tool in acute stroke patients". Am J Crit Care. 19 (4): 357–64. doi:10.4037/ajcc2009961. PMC 2896456. PMID 19875722. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  21. Noh, EJ; Park, MI; Park, SJ; Moon, W; Jung, HJ (2010-07). "A case of amyotrophic lateral sclerosis presented as oropharyngeal Dysphagia". J Neurogastroenterol Motil. 16 (3): 319–22. doi:10.5056/jnm.2010.16.3.319. PMC 2912126. PMID 20680172. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  22. Martin, RJ (2004-09). "Central pontine and extrapontine myelinolysis: the osmotic demyelination syndromes". J Neurol Neurosurg Psychiatry. 75 Suppl 3: iii22-8. doi:10.1136/jnnp.2004.045906. PMC 1765665. PMID 15316041. Check date values in: |date= (help)
  23. Shamburek, RD; Farrar, JT (1990). "Disorders of the digestive system in the elderly". N. Engl. J. Med. 322 (7): 438–43. doi:10.1056/NEJM199002153220705. PMID 2405269.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  24. "When the Meal Won't Go Down". New York Times. 2010-04-21. สืบค้นเมื่อ 2014-07-27.
  25. Martino, R; Foley, N; Bhogal, S; Diamant, N; Speechley, M; Teasell, R (2005). "Dysphagia after stroke: incidence, diagnosis, and pulmonary complications". Stroke. 36 (12): 2756–63. doi:10.1161/01.STR.0000190056.76543.eb. PMID 16269630.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  26. Ingelfinger, FJ; Kramer, P; Soutter, L; Schatzki, R (1959). "Panel discussion on diseases of the esophagus". Am. J. Gastroenterol. 31 (2): 117–31. PMID 13617241.CS1 maint: uses authors parameter (link)

แหล่งข้อมูลอื่น

  • การกลืนลำบาก ที่เว็บไซต์ Curlie

การกล, นลำบาก, ระว, งส, บสนก, อาการกล, นเจ, งกฤษ, dysphagia, งแม, จะจ, ดว, าเป, อาการและอาการปรากฏ, ของโรคต, าง, แต, บางคร, งก, ใช, หมายถ, งภาวะโดยเฉพาะของตนเอง, และผ, ภาวะน, อาจไม, สำน, กว, าตนม, นอาจจะเป, นความร, กว, าอาหารแข, งหร, อเคร, องด, มดำเน, นผ, านปา. rawngsbsnkb xakarklunecb karklunlabak 1 2 3 xngkvs Dysphagia sungaem ICD 10 cacdwaepn xakaraelaxakarprakt khxngorkhtang 4 aetbangkhrngkichhmaythungphawaodyechphaakhxngtnexng 5 6 7 aelaphuthimiphawanikxacimsanukwatnmi 8 9 mnxaccaepnkhwamrusukwaxaharaekhnghruxekhruxngdumdaeninphanpakipcnthungthxngidyak 10 hruxxacimmikhwamrusukthikhxhxy hruxxacepnkhwambkphrxnginkarklunxun karklunlabaktangkbxakarxun rwmthngxakarklunecb 11 aelaxakarehmuxnmikxninlakhx ephraabukhkhlxacklunlabakodythiimmixakarklunecb hruxklunecbodyimidklunlabak hruxmithngsxngxyangrwmkn swnxakarnithiekidcakciticeriykwa orkhklwkarkin phagophobia karklunlabak Dysphagia bychicaaenkaelalingkipphaynxkICD 10R13 rICD 9438 82 787 2DiseasesDB17942MedlinePlus003115eMedicinepmr 194MeSHD003680 enuxha 1 xakar 1 1 phawaaethrksxn 1 2 karcdhmwd 2 withikarwinicchy 2 1 karwinicchyaeykaeyaorkh 3 karrksa 3 1 withi 3 1 1 karrbxaharaelana 3 1 2 withikarrksa 4 khwamrabad 5 prawtikha 6 duephim 7 echingxrrth 8 xangxing 9 aehlngkhxmulxunxakar aekikhkhnikhbangkhnsanukthungxakarniidxyangcakd dngnn karimmixakarimidhmaykhwamwaimidmiorkhthiepnehtu 12 thaxakarimidwinicchyaelarksa khnikhmioxkasesiyngsunginkarsudxaharaelanaekhapxd pulmonary aspiration aelwepnpxdbwmephraaehtunn khnikhbangkhnxacsudxaharaelanaekhapxdaetkimmixakarixhruxxakarxun thienuxngkn silent aspiration xakarthiimidrksaxacthaihkhadna khadxahar aelaitwayxakarkhxngkarklunlabakthipakaelakhxhxy oropharyngeal dysphagia rwmcdkarxaharinpakidyak khwbkhumxaharaelanalayinpakidyak erimklunlabak ix salk pxdbwmbxy nahnkldodyimmiehtu esiyngepliynhlngklun karsalkxxkthangcmuk aelaklunlabak 12 emuxthamwaxahariptidthitrngihn khnikhbxykhrngcachiipthikhx cudthixahartidcaxyutrngthikhnikhchihruxtakwannxakarsamythisudkhxngkarklunlabakinhlxdxahar esophageal dysphagia kkhux klunxaharaekhngidyak sungkhnikhbxkwaxahartidkxnthicaekhaipthungthxng hruxcakhyxnkhun xakarklunecbcatangknodyepntwbngchiwaxacmimaerngeyuxbu aetkmiehtuxun xikmakmayechnknthiimekiywkbmaerngphawaklamenuxeriybimkhlay achalasia epnkhxykewnineruxngxakarthwipkhxngkarklunlabak ephraacaklunnaidyakkwaklunxaharaekhng phawanimiehtucakkhwamesiyhaytxpmprasathpharasimphaethtikkhxngkhayprasath myenteric plexus thikhwbkhumkarbibtwkhxnghlxdxahar thaihhlxdxaharswnlangaekhblng aelathaihhlxdxaharimbibtwthwthnghlxd phawaaethrksxn aekikh phawaaethrksxnkhxngkarklunyakxacrwmkarsudxaharaelanaekhapxd pxdbwm khadna aelanahnkld karcdhmwd aekikh xakarsamarthaebngxxkepn 13 karklunlabakthipakaelakhxhxy oropharyngeal dysphagia karklunlabakinhlxdxahar esophageal dysphagia klumxakarthangprasathaelaklamenux karklunlabakthiimichorkhkay functional dysphagia khuxepnxakarthiimidmiehtucakokhrngsrangaelaxwywatarangtxipniaesdngehtutang thiepnipid ehtuthiepnipidkhxngkarklunlabak taaehnng ehtupak xkesb tidechux thxnsilxkesb firxbthxnsil pakxkesb maernglin xakarthangprasath xmphatthiephdanxxn pktimiehtucakorkhkhxtibinedk aelaxmphatkansmxngswnthay inphuihy xmphataebbebll phawapakaehngehtunalaynxykhxhxy inchxng mikhxngaeplkplxmtidxyu thiphnng khxhxyxkesb Paterson Kelly syndrome A khxhxykratuk enuxngxkray nxkphnng fihlngkhxhxy orkhpumnaehluxng thikhx enuxrayithrxyd Eagle syndrome B hlxdxahar inchxng mikhxngaeplkplxmtidxyu thiphnng hlxdxahartibtnaetkaenid esophageal atresia kartibthiimray miehtucakhlxdxaharxkesbehtukrdihlyxn karklunsarkdkrxn wnorkhhruxrngsibabd aelaphawahnngaekhng karkratukenuxngcakphawaklamenuxeriybimkhlay Paterson Kelly syndrome A phngphudhlxdxahar aela Schatzki ring enuxngxk echn maernghlxdxahar aela esophageal leimomyoma khwamphidpktithangprasath echnthimiehtucakxmphatkansmxngswnthay xmphatkansmxngswnthayethiym pseudobulbar palsy karphatdexaprasathewksxxk aelaorkhklamenuxxxnaerngchnidray Crohn s disease hlxdxaharxkesbehtutidechux Candida albicans hlxdxaharxkesbaebbchxbxioxsionfil eosinophilic esophagitis nxkphnng orkhkhxphxkhlngkradukxk retrosternal goitre khuxtxmithrxydbwm enuxray Zenker s diverticulum C thxeluxdaedngopngphxng enuxngxkekhamainokhrngsrangtrngklang mediastinal growth karklunlabakehtuhlxdeluxdaedngitkradukihplaraphidpkti dysphagia lusoria Periesophagitis kraephaaxahareluxnphankabnglm hiatus hernia D karphatdphukhurudkraephaaxaharthiaennekin hruxkarphukaethbkraephaaxahar gastric banding khwamlabakhruxkhwamimsamarthklunxacmiehtucakhruxthaihaeylngodyyafinaela hruxyaoxpixxyd 17 withikarwinicchy aekikhmatrthaninkarwinicchykarklunlabakkkhuxichekhruxngmuxtrwc ephraabriewnthiepnpraednimsamarthehniddwytaepla aelakhnikhxaccaimrusukthungkarklunlabakhruxsamarthkahndtaaehnngthiepnpyhaidxyangaemnyamatrthanxyanghnungephuxwinicchykarklunlabakthipakaelakhxhxykkhuxkarihklunemdyathayexksery MBSS VFSS sungchwyihehnokhrngsrangaelasrirphaphekiywkbkarklundwyphaphexkseryekhluxnihw odyidmummxngcakdankhang lateral aelacakhnaiphlng AP phuchanaykarcawiekhraahkarklunodyaebngepnchwng sahrbchwngpak singthipraeminkkhux karpidpak karcdkarkhwbkhumkxnxahar karerimkhyblin karekhiyw karekhluxnyaykxnxahar aelasingthiehluxxyuinpakemuxklun sahrbchwngkhxhxy singthipraeminkhux karpidkhxhxydwyephdanpak velopharyngeal closure karerimklunthikhxhxy karykkhxhxykhun karkhybkradukihxxyddanhna karpidfaklxngesiyng karpidophrngkhxhxyaelakhwamerwinkartxbsnxng karhdokhnlinxxk karbibtwkhxngkhxhxy aelasingthiehluxxyuinkhxyhxyemuxklunaelwswnhlxdxaharcawiekhraahkarekhliyrethiybkbkarehluxxahar na aelaya singthiehluxkcatrwcduwamnklbkhunmaynghlxdxaharswnbnhruxekhaipinkhxhxyaelahlxdlmhruxim ecahnathicatrwcxaharaelanapraephthtang rwmthngemdyathiihklun epneruxngsakhythicathdsxbsingthiklunsungmikhwamhnudaelaprimankhnadtang kn singthithdsxbpkticarwmnaepla naphlimthihnudkhun naphungthihnudkhunxik naphkphlimbd khnmpngkrxb hruxkhukki khxngthimikhwamhnudkhnimethakn aelaemdyathiklunkbnahruxnaphkphlimbd odykhunxyukbwithikarwdkhaphunthan ecahnathicatrwcduwakarklunplxdphyhruxim khuximsudekhathanglmhayic aelamiprasiththiphaphhruxim khuximmixairehlux cudprasngkhkephuxtrwcwa thaimcungklunlabakaelawa cathaxairidephuxprbprungkhwamplxdphyaelaprasiththiphaphinkarklun bangkhrngkardumnathrrmdaxacthaihsudekhathanglmhayicidngay dngnn ecahnathikxactrwcthathang xiriyabth aelawithikarklunephuxpxngknimihsudekhathanglmhayic odycakhunxyukbrangkayaelakarthangankhxngxwywatang khxngbukhkhlnn withikarhnungthixacephimkhwamplxdphyinkarklunkhxngehlw kkhuxepliynkhwamhnud echnthaihkhnkhun imwacainradbtn klang hruxkhnsud thamikhxngehluxmakhlngcakklun kcamiethkhnikhephuxldpyhani dueruxngkarrksatxipsahrbklyuththkarklunephuxaekpyhahruxwithikarephuxfunfusphaphmatrthanxikxyangephuxwinicchykarklunyakkkhuxkarsxngklxngtxesniynaaesngphancmuk FEES sungthaodyihklunxaharaelanaechnediywkn bwkkbkarhawathaimcungklunyakaelasamarththaxairephuxaekpyhaid kartrwcnidikwatrngthiimtxngcakdkarthukkbrngsiexksery dngnn cungsamarthdukhnikhinsthankarnthiepnthrrmchatimakkwaemuxthanxahar klxngsxngcabangmakaelapktickhnikhcaxdthniddiaememuximichyachathicmukxyangirkdi karklunaepngthayexksery barium swallow study esophagram upper GI study cachwyihtrwchlxdxaharthnghmdiddithisud odyxactxngthanepncanwnmakephuxihkhyaychxnghlxdxaharephuxtrwc epnkartrwcthisamarthpraeminkrdihlyxnepnbangswndwy sungimehmuxnemuxtrwcdwy VFSS aetwithikartrwcthngsxngksamarthchwyihehnxakar Zenker s diverticulum C id khwamesiyngxyanghnungkkhux aepngthiklunxaclnchxng thaihyxnkhunipsukhxhxyaelwsudekhapxdhlngklunphawaklamenuxeriybimkhlaycatrwciddithisudodywithini sungsamarthaesdngplayhlxdxaharxnaekhblngehmuxnkbcangxypaknk hruxehmuxnkbhanghnu emuxhlxdxahartib naaepngthithanekhaipxaccaehluxxyudanbnkhxngswnthitibaelwkhxy ihllng sungksamarthehnidehmuxnkndwy VFSS thaaephthysngsywamihlxdxahartibhruximbibtwtngaetaerk khuxsamarthdutamhlxdxaharemuxidthanxaharaekhngechnkhnmpnghruxkhukki kartamduhlxdxahardwy VFSS camipraoychnmakephraasamarthtrwcemuxklunsingtang thithdsxbid swnkarklunaepnghruxemdyapkticatamduidaetaepngaelaemdyaethannwithikartrwcxun rwmthng karsxngklxngduhlxdxahar esophagoscopy hruxdukhxhxy laryngoscopy cathaihduchxngthngsxngidodytrng karthayphaphexkserythihnaxk xacaesdngxakasaelanaphayinxwywathikhnrahwangpxd aela Pott s disease sungepnkartidechuxwnorkhnxkpxd aelahlxdeluxdopngphxngaebbmiaekhlesiymekaaksamarthwinicchyiddwywithini kartrwcsxbkarbibtwkhxnghlxdxahar esophageal motility study camipraoychnemuxmiphawaklamenuxeriybimkhlay hruxmihlxdxaharkratukaebbkracay diffuse esophageal spasm kartrwcsxbesllhlxdxaharthihludxxkepnaephnsamarththacaknalanghlxdxaharthiidemuxsxngklxngduhlxdxahar sungsamarthtrwccbesllenuxrayinrayatn xltrasawndaelaexkserykhxmphiwetxrcaimchwyihphbehtukhxngkarklunyak aetsamarthtrwccbkxnenuxinxwywathikhnrahwangpxdkbexxxrtaopngphxng aortic aneurysm karsxngklxngtxesniynaaesng FEES phrxmkbtrwcsxbprasathrbkhwamrusuktang xacthaodyaephthythirksapyhaekiywkbkarphud sungkthaodyihthankhxngthikhntang dngthiklawipaelw esiyngaelaaerngsnthimacakkarklunxacichkhdkrxngpyhakarklunlabak aetwithiechnniyngepnpraednnganwicyinrayatn 18 karwinicchyaeykaeyaorkh aekikhehtukhxngkarklunlabakthnghmdtangkepnwinicchyaeykaeyaorkhkhxngxakarni ehtuthisamyrwmthnghlxdxahartibtnaetkaenid esophageal atresia Paterson Kelly syndrome A Zenker s diverticulum C esneluxddabwminhlxdxahar esophageal varices E hlxdxahartibaebbimray phawaklamenuxeriybimkhlay hlxdxaharpxng esophagial diverticula orkhhnngaekhng hlxdxaharkratukaebbkracay diffuse esophageal spasm klamenuxxkesbhlaymd polymyositis phngphudhlxdxahar esophageal webs maernghlxdxahar hlxdxaharxkesbaebbchxbxioxsionfil eosinophilic esophagitis kraephaaxahareluxnphankabnglm hiatus hernia D odyechphaathieluxnkhunipxyukhang hlxdxahar karklunlabakehtuhlxdeluxdaedngitkradukihplaraphidpkti dysphagia lusoria orkhkrdihlyxn orkhpharkhinsn orkhplxkprasathesuxmaekhng karklunlabakinhlxdxaharmiehtuekuxbthnghmdcakorkhinhlxdxaharhruxxwywakhanghlxdxahar aetbangkhrngkekidcakaephlthikhxhxyhruxkraephaaxaharehmuxnkn inorkhthikxkarklunlabakhlayxyang chxnghlxdxaharcaaekhblngaelakhyayxxkimidodyephimkhuneruxy txnaerkephiyngaekhxaharaekhngthimiiyxaharcakxpyha aettxnhlngxacepnxaharaekhngthukxyang aelahlngcaknnaemnakxackxpyha khnikhthimipyhaklunlabakxacidpraoychncaknathithaihhnudkhudthathanaelwrusuksbay aetkyngimmihlkthanphisucnwa naechnnimipraoychncring karklunlabakxacepnphlkhxngkhwamphidpktikhxngrabbprasathxisra echn thiekidcakorkhhlxdeluxdsmxng 20 aela ALS 21 hruxekidcakkarrksaphawaimsmdulkhxngxielkothriltthithaerwekinip 22 karrksa aekikhmiwithikarrksakarklunlabakhlayxyang echnbabdkarklun epliynxahar ichhlxdpxnxahar ya aelakarphatd karrksakarklunlabakxaccatxngxasyphuchanaykarindantang rwmthngphubabdkarphud phasathichanaykarineruxngpyhakarklun aephthyhlk aephthyorkhthangedinxahar phyabal phubabdineruxngkarhayic nkchanaykarineruxngxahar phubabderuxngthangxachiph phubabdthangkayphaph aelarngsiaephthy 12 odybthbathkhxngphuchanaykarehlanicatang knkhunxyukbrupaebbpyhakarklun yktwxyangechn phubabderuxngkarkluncaepnphurksakhnikhthiklunlabakinpakaelakhxhxy swnaephthyorkhthangedinxaharcaepnphubabdorkhhlxdxaharodytrng withi aekikh withikarrksakhwrcakhunkbkartrwcwinicchyxyanglaexiydkhxngphuchanaykardantang klyuththkarrksacatang knkhunxyukbkhnikh aelakhwrcathatamkhwamcaepnkhxngkhnikh odyeluxktampccytang echn winicchy phyakrnorkh kartxbsnxngkhxngkhnikhtxwithikarchdechypyha khwamrunaerngkhxngxakar sphaphthangcitic prachan karthangankhxngrabbhayic phuchwyduaelkhnikh aelaaerngcungicaelakhwamtxngkarkhxngkhnikh 12 karrbxaharaelana aekikh aephnkarrksatxngihxaharaelanaaekkhnikhxyangephiyngphx cudprasngkhhlkkhxngkarrksakephuxihkhnikhthanxaharaelanathangpakid odytxngihidphxaelathaidxyangplxdphydwy khuximsudekhapxd 12 thakarthanxaharthangpakthaihichewlathannankhunaelatxngichkhwamphyayammakkhunaelwthaihidxaharimephiyngphxephuxdarngnahnk xaccatxngihxaharkhnikhodywithixun xnung thakhnikhsudxaharhruxnaekhapxdaemichwithikarchdechypyhaaelw thaihthanxaharidxyangimplxdphy xaccatxngidxaharthangxunthiimphanpak echnphanhlxdsngphancmukekhaipyngkraephaaxahar karphatdtharuepidkraephaa hruxkarphatdtharuepidlaiselkswnklang 12 withikarrksa aekikh withikarchdechy caepliynkarihlkhxngxaharaelanaekhaipinthxng aetimidepliynsrirphaphinkarklun sungxacrwm 12 karwangxiriyabth karepliynthathang karepliynkhwamhnudkhwamkhnkhxngxahar karepliynprimanxaharaelakhwamerwchainkarklun karephimkhwamsanukthungsingthixyuinpak xupkrninpakthichwyklun withikarrksa ephuxepliynhruxprbprungsrirphaphinkarklunxacrwm 12 karfukekhluxnihwpakaelakhxhxy karfukkhunwithikarcdkar klunxahardngthiekhythamakxn karfukcdkarkhwbkhumkhaxahar karfukkarklun Supraglottic swallow Super supraglottic swallow Effortful swallow Mendelsohn maneuver xaccatxngrksadwywithitang rmknephuxihklunxaharidxyangplxdphyaelaidxaharxyangephiyngphx echn xactxngepliynxiriyabthrwmkbkarfukkarklunkhwamrabad aekikhkhwamphidpktiinkarklunxacekidinklumxayuidkid aelaxacekidcakkhwamphidpktiaetkaenid khwamesiyhaytxxwywa hruxorkhxun 12 pyhakarklunepneruxngsamysahrbphusungxayu odykarklunlabakkmikhwamchukthisungkwainphusungxayu 23 24 inkhnikhorkhhlxdeluxdsmxng 25 aelainkhnikhthiekharksainaephnkchukechinhruxaephnkorkheruxrng karklunlabakmiehtutang hlayxyang sungsamarthruidodykarsxbprawtikhnikh 26 prawtikha aekikhkhaphasaxngkvswa dysphagia macakkhakrikobran khux dys sungaeplwaimdihruxphidpkti aelaraksphthwa phag sunghmaythungkarkinduephim aekikhxakarklunecbechingxrrth aekikh 1 0 1 1 1 2 Paterson Kelly syndrome epnorkhthiminxyaelamixakarklunlabak olhitcangehtukhadthatuehlk linxkesb rimfipakxkesb aelaphngphudhlxdxahar 19 Eagle syndrome epnphawathiminxysungmixakarecbchbphlnkhlaythiekidthangprasath trngkradukkhakrrikraelakhx thihlngkhx aelathiokhnlin sungcudchnwnodykarklunhruxkarkhybkhakrrikr hruxkarexiywkhx 14 xakarmiehtucakraduksitlxyd ophressthikhmbsungyawhruxmiruprangphidpkti hruxekidcakkarmiaekhlesiymekaathiexn Stylohyoid ephraakwnkarthangankhxngokhrngsrangaelaxwywathixyuikl kn 3 0 3 1 3 2 Zenker s diverticulum epnchxngphxngsungekidthieyuxemuxkkhxngkhxhxyehnuxhuruddanbnkhxnghlxdxahar sungmiehtucakaerngdnthiekidphidpktithangdanlangkhxngkhxhxy thaihswnthixxnaexthisudpxngxxk cnxacthaihmikhnadepnhlayesntiemtr 4 0 4 1 hiatus hernia epnphawathixwywainthxng odypktikraephaaxahar caeluxnphankabnglmekhaipinchxngklangkhxnghnaxk sungxacmiphlepnorkhkrdihlyxn 15 16 xakarxun xacrwmklunlabakaelaecbhnaxk phawaaethrksxnrwmthngolhitcangehtukhadthatuehlk isbidekliyw volvulus karxudknlais bowel obstruction 15 Esophageal varices epnesneluxddaiteyuxemuxksungbwmmakodyxyuthiswnlang 1 3 khxnghlxdxaharaelamiehtucaktbaekhngsungkxkhwamdnsunginhlxdeluxddacakrabbthangedinxaharipyngtb epnphawathithaihesiyngeluxdxxksungxangxing aekikh Dysphagia sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 chbb 2545 aephthysastr karklunlabak Smithard DG Smeeton NC Wolfe CD 2007 Long term outcome after stroke does dysphagia matter Age Ageing 36 1 90 4 doi 10 1093 ageing afl149 PMID 17172601 CS1 maint uses authors parameter link Brady A 2008 Managing the patient with dysphagia Home Healthc Nurse 26 1 41 6 quiz 47 8 doi 10 1097 01 NHH 0000305554 40220 6d PMID 18158492 ICD 10 subkhnemux 2008 02 23 Boczko F 2006 Patients awareness of symptoms of dysphagia J Am Med Dir Assoc 7 9 587 90 doi 10 1016 j jamda 2006 08 002 PMID 17095424 Dysphagia University of Virginia khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2004 07 09 subkhnemux 2008 02 24 Unknown parameter deadurl ignored help Swallowing Disorders Symptoms of Dysphagia New York University School of Medicine khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2007 11 14 subkhnemux 2008 02 24 Parker C Power M Hamdy S Bowen A Tyrrell P Thompson DG 2004 Awareness of dysphagia by patients following stroke predicts swallowing performance Dysphagia 19 1 28 35 doi 10 1007 s00455 003 0032 8 PMID 14745643 CS1 maint uses authors parameter link Rosenvinge SK Starke ID 2005 Improving care for patients with dysphagia Age Ageing 34 6 587 93 doi 10 1093 ageing afi187 PMID 16267184 CS1 maint uses authors parameter link Sleisenger Marvin H Feldman Mark Friedman Lawrence M 2002 Sleisenger amp Fordtran s Gastrointestinal amp Liver Disease 7th ed Philadelphia PA W B Saunders Company Chapter 6 p 63 ISBN 0 7216 0010 7 Dysphagia University of Texas Medical Branch khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2008 03 06 subkhnemux 2008 02 23 Unknown parameter deadurl ignored help 12 0 12 1 12 2 12 3 12 4 12 5 12 6 12 7 12 8 Logemann Jeri A 1998 Evaluation and treatment of swallowing disorders Austin Tex Pro Ed ISBN 0 89079 728 5 Spieker Michael R 2000 06 15 Evaluating Dysphagia American Family Physician phasaxngkvs 61 12 3639 3648 PMID 10892635 Waldman SD 2013 06 06 Atlas of Uncommon Pain Syndromes Elsevier Health Sciences pp 35 36 ISBN 1 4557 0999 9 CS1 maint uses authors parameter link 15 0 15 1 The diagnosis and management of hiatus hernia 2014 10 23 PMID 25341679 Cite journal requires journal help Hiatal Hernia PubMed Health subkhnemux 2017 05 06 Opioid Effects on Swallowing and Esophageal Sphincter Pressure clinicaltrials gov US National Library of Medicine subkhnemux 3 23 2018 Check date values in accessdate help Dudik JM Coyle JL Sejdic E 2015 Dysphagia screening Contributions of cervical auscultation signals and modern signal processing techniques IEEE Transactions on Human Machine Systems 45 4 465 477 doi 10 1109 thms 2015 2408615 PMC 4511276 CS1 maint multiple names authors list link Plummer Vinson syndrome 2006 PMID 16978405 Cite journal requires journal help Edmiaston J Connor LT Loehr L Nassief A 2010 07 Validation of a dysphagia screening tool in acute stroke patients Am J Crit Care 19 4 357 64 doi 10 4037 ajcc2009961 PMC 2896456 PMID 19875722 Check date values in date help CS1 maint multiple names authors list link Noh EJ Park MI Park SJ Moon W Jung HJ 2010 07 A case of amyotrophic lateral sclerosis presented as oropharyngeal Dysphagia J Neurogastroenterol Motil 16 3 319 22 doi 10 5056 jnm 2010 16 3 319 PMC 2912126 PMID 20680172 Check date values in date help CS1 maint multiple names authors list link Martin RJ 2004 09 Central pontine and extrapontine myelinolysis the osmotic demyelination syndromes J Neurol Neurosurg Psychiatry 75 Suppl 3 iii22 8 doi 10 1136 jnnp 2004 045906 PMC 1765665 PMID 15316041 Check date values in date help Shamburek RD Farrar JT 1990 Disorders of the digestive system in the elderly N Engl J Med 322 7 438 43 doi 10 1056 NEJM199002153220705 PMID 2405269 CS1 maint uses authors parameter link When the Meal Won t Go Down New York Times 2010 04 21 subkhnemux 2014 07 27 Martino R Foley N Bhogal S Diamant N Speechley M Teasell R 2005 Dysphagia after stroke incidence diagnosis and pulmonary complications Stroke 36 12 2756 63 doi 10 1161 01 STR 0000190056 76543 eb PMID 16269630 CS1 maint uses authors parameter link Ingelfinger FJ Kramer P Soutter L Schatzki R 1959 Panel discussion on diseases of the esophagus Am J Gastroenterol 31 2 117 31 PMID 13617241 CS1 maint uses authors parameter link aehlngkhxmulxun aekikhkarklunlabak thiewbist Curlieekhathungcak https th wikipedia org w index php title karklunlabak amp oldid 9480873, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม