fbpx
วิกิพีเดีย

จักรวรรดิพาร์เธีย

จักรวรรดิพาร์เธีย (อังกฤษ: Parthian Empire) หรือ จักรวรรดิอาร์ซาซิยะห์ (Arsacid Empire) เป็นจักรวรรดิที่ดำรงอยู่ระหว่าง 247 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 224 ตั้งอยู่ในดินแดนของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน มีเมืองหลวงได้แก่ เทสิฟอน เอกแบตานา และซูซา จักรวรรดินี้สถาปนาโดยอาร์ซาซีสที่ 1 หลังพระองค์พิชิตภูมิภาคพาร์เธียได้ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผ่ขยายอำนาจในรัชสมัยมิทริเดทีสที่ 1 เมื่อพระองค์ยึดมีเดียและเมโสโปเตเมียจากจักรวรรดิซิลูซิด จักรวรรดิพาร์เธียในยุครุ่งเรืองถึงขีดสุดครอบครองพื้นที่ตั้งแต่ตะวันออกเฉียงใต้ของอานาโตเลีย เมโสโปเตเมีย บางส่วนของคาบสมุทรอาหรับ ที่ราบสูงอิหร่าน ไปจนจรดแม่น้ำสินธุ และเป็นศูนย์กลางทางการค้าและวัฒนธรรมเนื่องจากอยู่ในเส้นทางสายไหมที่เชื่อมระหว่างจักรวรรดิโรมันกับราชวงศ์ฮั่นของจีน

จักรวรรดิพาร์เธีย

247 BC–224 AD
จักรวรรดิพาร์เธียในยุคที่รุ่งเรืองที่สุด
เมืองหลวง
  • เทสิฟอน
  • เอกแบตานา
  • เฮกาทอมพีลอส
  • ซูซา
  • มิทราแดตเคิร์ต
  • อะซาอัก
  • เรจีส
ภาษาทั่วไป
ศาสนา
การปกครองราชาธิปไตย
ชาฮันชาห์ 
• 247–211 BC
อาร์ซาซีสที่ 1 (แรก)
• 208–224 AD
อาร์ตาบานัสที่ 4 (สุดท้าย)
สภานิติบัญญัติMegisthanes
ยุคประวัติศาสตร์สมัยคลาสสิก
• ก่อตั้ง
247 BC
• สิ้นสุด
224 AD
พื้นที่
1 AD2,800,000 ตารางกิโลเมตร (1,100,000 ตารางไมล์)
สกุลเงินDrachma
ประวัติศาสตร์อิหร่านแผ่นดินใหญ่
กษัตริย์แห่งเปอร์เชีย
ก่อนยุคใหม่
ก่อน อิสลาม
ก่อนคริสต์ศักราช
ก่อนประวัติศาสตร์
วัฒนธรรมก่อนเอลาไมท์ 3200–2800
จักรวรรดิเอลาไมท์ 2800–550
แหล่งโบราณคดีบัคเตรีย-มาร์เกียนา 2200–1700
ราชอาณาจักรมานไน ศตวรรษที่ 10-7
จักรวรรดิมีเดีย 728–550
จักรวรรดิอคีเมนียะห์ 550–330
จักรวรรดิซิลูซิด 330–150
ราชอาณาจักรกรีก-บัคเตรีย 250-125
จักรวรรดิพาร์เธีย 248–ค.ศ.  224
หลังคริสต์ศักราช
จักรวรรดิกุษาณะ 30–275
จักรวรรดิซาสซานิยะห์ 224–651
จักรวรรดิเฮพธาไลท์ 425–557
เฮพธาไลท์-กุษาณะ 565–670
หลัง อิสลาม
อาณาจักรกาหลิป 637–651
จักรวรรดิอุมัยยะฮ์ 661–750
จักรวรรดิอับบาซียะฮ์ 750–1258
จักรวรรดิทาฮิริยะห์ 821–873
ราชวงศ์อาลาวิยะห์ 864–928
จักรวรรดิซาฟาริยะห์ 861–1003
จักรวรรดิซามานิยะห์ 819–999
จักรวรรดิไซยาริยะห์ 928–1043
จักรวรรดิไบอิยะห์ 934–1055
จักรวรรดิกาสนาวิยะห์ 975–1187
จักรวรรดิกอร์ 1149–1212
จักรวรรดิเซลจุค 1037–1194
จักรวรรดิควาเรซเมีย 1077–1231
ราชวงศ์คาร์ติยะห์ 1231-1389
จักรวรรดิอิลค์ 1256–1353
ราชวงศ์มุซาฟฟาริยะห์ 1314–1393
ราชวงศ์จุพานิยะห์ 1337–1357
ราชวงศ์จาไลยิริยะห์ 1339–1432
จักรวรรดิติมูริยะห์ 1370–1506
คารา โคยันลู เตอร์โคมันส์ 1407–1468
อัค โคยันลู เตอร์โคมันส์ 1378–1508
จักรวรรดิซาฟาวิยะห์ 1501–1722*
จักรวรรดิโมกุล 1526–1857
ราชวงศ์โฮทาคิ 1722–1729
จักรวรรดิอาฟชาริยะห์ 1736–1750
* หรือ 1736
ยุคใหม่
สสซ = สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
จักรวรรดิเดอร์รานิ 1748–1823
อิทธิพลของบริติชและรัสเซีย 1826–1919
อิสรภาพและสงครามกลางเมือง 1919–1929
สมัยปกครองของมุฮัมมัดเมดไซ 1929–1973
สาธารณรัฐอัฟกานิสถาน 1973–1978
สาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถาน 1978–1992
ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถานสมัยปัจจุบัน ตั้งแต่ 1992
ลำดับเหตุการณ์
อาณาจักรข่านแห่งคอเคซัส 1722–1828
ภายใต้การปกครองของรัสเซีย 1828–1917
สาธารณรัฐประชาธิปไตย 1918–1920
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต 1920–1991
สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ตั้งแต่ 1991
ราชวงศ์ซานด์ 1750–1794
ราชวงศ์กอญัร 1781–1925
ราชวงศ์ปาห์ลาวี 1925–1979
การปฏิวัติอิหร่าน 1979
รัฐบาลชั่วคราว 1979
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ตั้งแต่ 1979
จักรวรรดิออตโตมัน 1632–1919
กษัตริย์ฮาชิไมท์ 1920–1958
การปฏิวัติและสาธารณรัฐ 1958–2003
สาธารณรัฐอิรัก ตั้งแต่ 2004
เอมิเรตบูคารา 1785–1920
สาธารณรัฐประชาชนโซเวียตบุฮารา / อุซเบก 1920–1929
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอิสระทาจิก 1929
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก 1929–1991
สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ตั้งแต่ 1991

247 ปีก่อนคริสตกาล อาร์ซาซีสที่ 1 ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งชาวปาร์ไน ซึ่งเป็นชนชาวอิหร่านตะวันออกที่อาศัยอยู่แถบทะเลแคสเปียน ในปี 238 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์รบชนะแอนดราโกรัส หนึ่งในเซแทร็ปของจักรวรรดิซิลูซิดและครอบครองพาร์เธีย แต่ต่อมาพาร์เธียถูกพระเจ้าแอนทิโอคัสมหาราชยึดคืน สงครามระหว่างซิลูซิดและพาร์เธียจบลงช่วงสั้น ๆ เมื่ออาร์ซาซีสที่ 2 ยอมสงบศึกและอยู่ใต้อำนาจพระเจ้าแอนทิโอคัส ต่อมาในปี 148–147 ปีก่อนคริสตกาล มิทริเดทีสที่ 1 แห่งพาร์เธียโจมตีภูมิภาคมีเดีย บาบิโลเนีย และเมโสโปเตเมียของซิลูซิดที่กำลังสั่นคลอนเพราะเกิดกบฏ ในช่วงเวลานี้จักรวรรดิพาร์เธียผูกมิตรกับราชวงศ์ฮั่น อาณาจักรอินโด-พาร์เธีย และจักรวรรดิกุษาณะเพื่อรักษาเขตแดนด้านตะวันออก ในขณะที่เขตแดนด้านตะวันตกเผชิญกับการเข้ามาของสาธารณรัฐโรมันที่กำลังทำสงครามกับพอนตัส ในสงครามมิทริเดทีสครั้งที่สาม ฟาร์อาเตสที่ 3 ช่วยเหลือปอมปีย์ กงสุลโรมันด้วยการบุกอาร์มีเนียของสมเด็จพระเจ้าไทกราเนสมหาราช แต่หลังจากนั้นเกิดความขัดแย้งระหว่างโอรสสองพระองค์ของฟาร์อาเตสคือ โอโรดีสที่ 2 กับมิทริเดทีสที่ 4 เมื่อมิทริเดทีสถูกสังหาร โรมันผู้เป็นพันธมิตรของมิทริเดทีสจึงยกทัพมาสู้กับโอโรดีสในยุทธการที่คาร์เรในปี 53 ปีก่อนคริสตกาล ยุทธการครั้งนี้เป็นการสู้รบครั้งแรก ๆ ในสงครามโรมัน–พาร์เธียที่กินเวลายาวนานเกือบ 200 ปี การสู้รบจบลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับของฝ่ายโรมันและแม่ทัพมาร์คัส ลิซินิอัส แครสซัสถูกสังหาร เนื่องจากแครสซัสเป็นหนึ่งในคณะสามผู้นำครั้งที่หนึ่ง หรือพันธมิตรระหว่างผู้มีอำนาจสูงสุดในโรม 3 คน การเสียชีวิตของเขาจึงส่งผลให้คณะสามผู้นำที่เหลือคือ ปอมปีย์กับจูเลียส ซีซาร์หันมาต่อสู้กันเอง นำไปสู่สงครามกลางเมืองซีซาร์ที่เกิดขึ้นระหว่าง 49–45 ปีก่อนคริสตกาล

ราว 20 ปีก่อนคริสตกาล พาร์เธียและโรมันตกลงที่จะสงบศึก แต่หลังจากเกิดความขัดแย้งในการปกครองราชอาณาจักรอาร์มีเนียซึ่งเปรียบเสมือนเป็นรัฐกันชนระหว่างสองจักรวรรดิ พาร์เธียและโรมันก็ทำสงครามกันอีกหลายครั้ง การสงครามกับโรมันที่ยาวนาน บวกกับความขัดแย้งภายในและการอุบัติของจักรวรรดิแซสซานิด ทำให้จักรวรรดิพาร์เธียอ่อนแอลง ในปี ค.ศ. 224 จักรวรรดิพาร์เธียล่มสลายหลังอาร์ดาชีร์ที่ 1 นำทัพแซสซานิดรบชนะและสังหารอาร์ตาบานัสที่ 4 แห่งพาร์เธียในยุทธการฮอร์มอซด์กัน และขับไล่โวโลกาซีสที่ 6 กษัตริย์พาร์เธียอีกพระองค์ออกจากเมโสโปเตเมียได้สำเร็จ

อ้างอิง

  1. Fattah, Hala Mundhir (2009). A Brief History of Iraq. Infobase Publishing. p. 46. ISBN 978-0-8160-5767-2. One characteristic of the Parthians that the kings themselves maintained was their nomadic urge. The kings built or occupied numerous cities as their capitals, the most important being Ctesiphon on the Tigris River, which they built from the ancient town of Opis.
  2. Green 1992, p. 45
  3. Skjaervo, Prods Oktor. "IRAN vi. IRANIAN LANGUAGES AND SCRIPTS (2) Doc – Encyclopaedia Iranica". www.iranicaonline.org (ภาษาอังกฤษ). Encyclopedia Iranica. จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2017. Parthian. This was the local language of the area east of the Caspian Sea and official language of the Parthian state (see ARSACIDS) and is known from inscriptions on stone and metal, including coins and seals, and from large archives of potsherd labels on wine jars from the Parthian capital of Nisa, as well as from the Manichean texts.
  4. Chyet, Michael L. (1997). Afsaruddin, Asma; Krotkoff, Georg; Zahniser, A. H. Mathias (บ.ก.). Humanism, Culture, and Language in the Near East: Studies in Honor of Georg Krotkoff. Eisenbrauns. p. 284. ISBN 978-1-57506-020-0. In the Middle Persian period (Parthian and Sassanid Empires), Aramaic was the medium of everyday writing, and it provided scripts for writing Middle Persian, Parthian, Sogdian, and Khwarezmian.
  5. Brosius, Maria (2006). The Persians. Routledge. p. 125. ISBN 978-0-203-06815-1. The Parthians and the peoples of the Parthian empire were polytheistic. Each ethnic group, each city, and each land or kingdom was able to adhere to its own gods, their respective cults and religious rituals. In Babylon the city-god Marduk continued to be the main deity alongside the goddesses Ishtar and Nanai, while Hatra's main god, the sun-god Shamash, was revered alongside a multiplicity of other gods.
  6. Sheldon 2010, p. 231
  7. Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D (ธันวาคม 2006). "East-West Orientation of Historical Empires". Journal of World-systems Research. 12 (2): 223. ISSN 1076-156X. จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2016.
  8. Taagepera, Rein (1979). "Size and Duration of Empires: Growth-Decline Curves, 600 B.C. to 600 A.D.". Social Science History. 3 (3/4): 121. doi:10.2307/1170959. JSTOR 1170959.
  9. "roughly western Khurasan" Bickerman 1983, p. 6.
  10. "Parni people". Britannica. November 7, 2019. สืบค้นเมื่อ November 23, 2019.
  11. Bivar 1983, p. 29; Brosius 2006, p. 86; Kennedy 1996, p. 74
  12. Curtis 2007, pp. 10–11; Bivar 1983, p. 33; Garthwaite 2005, p. 76
  13. "Arsaces XVII, Phraates III". Livius.org. May 7, 2019. สืบค้นเมื่อ November 23, 2019.
  14. "Battle of Carrhae". Britannica. สืบค้นเมื่อ November 23, 2019.
  15. Garthwaite 2005, p. 80; see also Strugnell 2006, pp. 251–252
  16. Cartwright, Mark (March 6, 2018). "The Roman-Parthian War 58-63 CE". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ November 23, 2019.
  17. Lacey, James (2016). Great Strategic Rivalries: From The Classical World to the Cold War. Oxford, United Kingdom: Oxford University Press. ISBN 9780190620486.
  18. Chaumont & Schippmann 1988, pp. 574–580.

แหล่งข้อมูลอื่น

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จักรวรรดิพาร์เธีย
  • "Parthian Empire". Ancient History Encyclopedia.

พิกัดภูมิศาสตร์: 33°05′37″N 44°34′51″E / 33.09361°N 44.58083°E / 33.09361; 44.58083

กรวรรด, พาร, เธ, งกฤษ, parthian, empire, หร, กรวรรด, อาร, ซาซ, ยะห, arsacid, empire, เป, นจ, กรวรรด, ดำรงอย, ระหว, าง, อนคร, สตกาล, งอย, ในด, นแดนของประเทศอ, หร, านในป, จจ, เม, องหลวงได, แก, เทส, ฟอน, เอกแบตานา, และซ, ซา, กรวรรด, สถาปนาโดยอาร, ซาซ, สท, หล, งพร. ckrwrrdipharethiy xngkvs Parthian Empire hrux ckrwrrdixarsasiyah Arsacid Empire epnckrwrrdithidarngxyurahwang 247 pikxnkhristkal kh s 224 tngxyuindinaednkhxngpraethsxihraninpccubn miemuxnghlwngidaek ethsifxn exkaebtana aelasusa ckrwrrdinisthapnaodyxarsasisthi 1 hlngphraxngkhphichitphumiphakhpharethiyidinstwrrsthi 3 kxnkhristkal 9 kxncaerimaephkhyayxanacinrchsmymithriedthisthi 1 emuxphraxngkhyudmiediyaelaemosopetemiycakckrwrrdisilusid ckrwrrdipharethiyinyukhrungeruxngthungkhidsudkhrxbkhrxngphunthitngaettawnxxkechiyngitkhxngxanaoteliy emosopetemiy bangswnkhxngkhabsmuthrxahrb thirabsungxihran ipcncrdaemnasinthu aelaepnsunyklangthangkarkhaaelawthnthrrmenuxngcakxyuinesnthangsayihmthiechuxmrahwangckrwrrdiormnkbrachwngshnkhxngcinckrwrrdipharethiy247 BC 224 ADckrwrrdipharethiyinyukhthirungeruxngthisudemuxnghlwngethsifxn 1 exkaebtana ehkathxmphilxs susa mithraaedtekhirt xasaxk ercisphasathwipphasakrikkhxyni thangkar 2 phasapharethiyn thangkar 3 phasaepxresiyklang phasaaexraemxik phasaklang 2 4 phasaaexkaekhd 1 sasnasasnaosorxsetxr sasnababioleniy 5 karpkkhrxngrachathipity 6 chahnchah 247 211 BCxarsasisthi 1 aerk 208 224 ADxartabansthi 4 sudthay sphanitibyytiMegisthanesyukhprawtisastrsmykhlassik kxtng247 BC sinsud224 ADphunthi1 AD 7 8 2 800 000 tarangkiolemtr 1 100 000 tarangiml skulenginDrachmakxnhna thdipckrwrrdisilusid ckrwrrdiaesssanidckrwrrdikusanaprawtisastrxihranaephndinihykstriyaehngepxrechiykxnyukhihmkxn xislamkxnkhristskrachkxnprawtisastrwthnthrrmkxnexlaimth 3200 2800ckrwrrdiexlaimth 2800 550aehlngobrankhdibkhetriy marekiyna 2200 1700rachxanackrmanin stwrrsthi 10 7ckrwrrdimiediy 728 550ckrwrrdixkhiemniyah 550 330ckrwrrdisilusid 330 150rachxanackrkrik bkhetriy 250 125ckrwrrdipharethiy 248 kh s 224hlngkhristskrachckrwrrdikusana 30 275ckrwrrdisassaniyah 224 651ckrwrrdiehphthailth 425 557ehphthailth kusana 565 670hlng xislamxanackrkahlip 637 651ckrwrrdixumyyah 661 750ckrwrrdixbbasiyah 750 1258ckrwrrdithahiriyah 821 873rachwngsxalawiyah 864 928ckrwrrdisafariyah 861 1003ckrwrrdisamaniyah 819 999ckrwrrdiisyariyah 928 1043ckrwrrdiibxiyah 934 1055ckrwrrdikasnawiyah 975 1187ckrwrrdikxr 1149 1212ckrwrrdieslcukh 1037 1194ckrwrrdikhwaersemiy 1077 1231rachwngskhartiyah 1231 1389ckrwrrdixilkh 1256 1353rachwngsmusaffariyah 1314 1393rachwngscuphaniyah 1337 1357rachwngscailyiriyah 1339 1432ckrwrrditimuriyah 1370 1506khara okhynlu etxrokhmns 1407 1468xkh okhynlu etxrokhmns 1378 1508ckrwrrdisafawiyah 1501 1722 ckrwrrdiomkul 1526 1857rachwngsohthakhi 1722 1729ckrwrrdixafchariyah 1736 1750 hrux 1736yukhihm sss satharnrthsngkhmniymosewiytxfkanisthanckrwrrdiedxrrani 1748 1823xiththiphlkhxngbritichaelarsesiy 1826 1919xisrphaphaelasngkhramklangemuxng 1919 1929smypkkhrxngkhxngmuhmmdemdis 1929 1973satharnrthxfkanisthan 1973 1978satharnrthprachathipityxfkanisthan 1978 1992prawtisastrxfkanisthansmypccubn tngaet 1992ladbehtukarnxaesxribcanxanackrkhanaehngkhxekhss 1722 1828phayitkarpkkhrxngkhxngrsesiy 1828 1917satharnrthprachathipity 1918 1920satharnrthsngkhmniymosewiyt 1920 1991satharnrthxaesxribcan tngaet 1991bahernphayitkarpkkhrxngkhxngoprtueks 1521 1602snthisyyabritich 1820 1971rachxanackrbahern tngaet 1971xihranrachwngssand 1750 1794rachwngskxyr 1781 1925rachwngspahlawi 1925 1979karptiwtixihran 1979rthbalchwkhraw 1979satharnrthxislamxihran tngaet 1979xirkckrwrrdixxtotmn 1632 1919kstriyhachiimth 1920 1958karptiwtiaelasatharnrth 1958 2003satharnrthxirk tngaet 2004thacikisthanexmiertbukhara 1785 1920satharnrthprachachnosewiytbuhara xusebk 1920 1929satharnrthsngkhmniymosewiytxisrathacik 1929satharnrthsngkhmniymosewiytthacik 1929 1991satharnrththacikisthan tngaet 1991xusebkisthanexmiertbukhara 1785 1920satharnrthsngkhmniymosewiytxusebk 1924 1991xisrphaph 1991satharnrthxusebkisthan tngaet 1991247 pikxnkhristkal xarsasisthi 1 khunkhrxngrachyepnkstriyaehngchawparin sungepnchnchawxihrantawnxxkthixasyxyuaethbthaelaekhsepiyn 10 inpi 238 pikxnkhristkal phraxngkhrbchnaaexndraokrs hnunginesaethrpkhxngckrwrrdisilusidaelakhrxbkhrxngpharethiy aettxmapharethiythukphraecaaexnthioxkhsmharachyudkhun sngkhramrahwangsilusidaelapharethiycblngchwngsn emuxxarsasisthi 2 yxmsngbsukaelaxyuitxanacphraecaaexnthioxkhs 11 txmainpi 148 147 pikxnkhristkal mithriedthisthi 1 aehngpharethiyocmtiphumiphakhmiediy babioleniy aelaemosopetemiykhxngsilusidthikalngsnkhlxnephraaekidkbt 12 inchwngewlanickrwrrdipharethiyphukmitrkbrachwngshn xanackrxinod pharethiy aelackrwrrdikusanaephuxrksaekhtaedndantawnxxk inkhnathiekhtaedndantawntkephchiykbkarekhamakhxngsatharnrthormnthikalngthasngkhramkbphxnts insngkhrammithriedthiskhrngthisam farxaetsthi 3 chwyehluxpxmpiy kngsulormndwykarbukxarmieniykhxngsmedcphraecaithkraensmharach 13 aethlngcaknnekidkhwamkhdaeyngrahwangoxrssxngphraxngkhkhxngfarxaetskhux oxordisthi 2 kbmithriedthisthi 4 emuxmithriedthisthuksnghar ormnphuepnphnthmitrkhxngmithriedthiscungykthphmasukboxordisinyuththkarthikharerinpi 53 pikxnkhristkal yuththkarkhrngniepnkarsurbkhrngaerk insngkhramormn pharethiythikinewlayawnanekuxb 200 pi karsurbcblngdwykhwamphayaephxyangyxyybkhxngfayormnaelaaemthphmarkhs lisinixs aekhrsssthuksnghar enuxngcakaekhrsssepnhnunginkhnasamphunakhrngthihnung hruxphnthmitrrahwangphumixanacsungsudinorm 3 khn karesiychiwitkhxngekhacungsngphlihkhnasamphunathiehluxkhux pxmpiykbcueliys sisarhnmatxsuknexng naipsusngkhramklangemuxngsisarthiekidkhunrahwang 49 45 pikxnkhristkal 14 raw 20 pikxnkhristkal pharethiyaelaormntklngthicasngbsuk 15 aethlngcakekidkhwamkhdaeynginkarpkkhrxngrachxanackrxarmieniysungepriybesmuxnepnrthknchnrahwangsxngckrwrrdi pharethiyaelaormnkthasngkhramknxikhlaykhrng 16 karsngkhramkbormnthiyawnan bwkkbkhwamkhdaeyngphayinaelakarxubtikhxngckrwrrdiaesssanid thaihckrwrrdipharethiyxxnaexlng inpi kh s 224 ckrwrrdipharethiylmslayhlngxardachirthi 1 nathphaesssanidrbchnaaelasngharxartabansthi 4 aehngpharethiyinyuththkarhxrmxsdkn aelakhbilowolkasisthi 6 kstriypharethiyxikphraxngkhxxkcakemosopetemiyidsaerc 17 18 xangxing aekikh 1 0 1 1 Fattah Hala Mundhir 2009 A Brief History of Iraq Infobase Publishing p 46 ISBN 978 0 8160 5767 2 One characteristic of the Parthians that the kings themselves maintained was their nomadic urge The kings built or occupied numerous cities as their capitals the most important being Ctesiphon on the Tigris River which they built from the ancient town of Opis 2 0 2 1 Green 1992 p 45 Skjaervo Prods Oktor IRAN vi IRANIAN LANGUAGES AND SCRIPTS 2 Doc Encyclopaedia Iranica www iranicaonline org phasaxngkvs Encyclopedia Iranica ekb cakaehlngedimemux 17 phvscikayn 2016 subkhnemux 8 kumphaphnth 2017 Parthian This was the local language of the area east of the Caspian Sea and official language of the Parthian state see ARSACIDS and is known from inscriptions on stone and metal including coins and seals and from large archives of potsherd labels on wine jars from the Parthian capital of Nisa as well as from the Manichean texts Chyet Michael L 1997 Afsaruddin Asma Krotkoff Georg Zahniser A H Mathias b k Humanism Culture and Language in the Near East Studies in Honor of Georg Krotkoff Eisenbrauns p 284 ISBN 978 1 57506 020 0 In the Middle Persian period Parthian and Sassanid Empires Aramaic was the medium of everyday writing and it provided scripts for writing Middle Persian Parthian Sogdian and Khwarezmian Brosius Maria 2006 The Persians Routledge p 125 ISBN 978 0 203 06815 1 The Parthians and the peoples of the Parthian empire were polytheistic Each ethnic group each city and each land or kingdom was able to adhere to its own gods their respective cults and religious rituals In Babylon the city god Marduk continued to be the main deity alongside the goddesses Ishtar and Nanai while Hatra s main god the sun god Shamash was revered alongside a multiplicity of other gods Sheldon 2010 p 231 Turchin Peter Adams Jonathan M Hall Thomas D thnwakhm 2006 East West Orientation of Historical Empires Journal of World systems Research 12 2 223 ISSN 1076 156X ekb cakaehlngedimemux 17 knyayn 2016 subkhnemux 16 knyayn 2016 Taagepera Rein 1979 Size and Duration of Empires Growth Decline Curves 600 B C to 600 A D Social Science History 3 3 4 121 doi 10 2307 1170959 JSTOR 1170959 roughly western Khurasan Bickerman 1983 p 6 Parni people Britannica November 7 2019 subkhnemux November 23 2019 Bivar 1983 p 29 Brosius 2006 p 86 Kennedy 1996 p 74 Curtis 2007 pp 10 11 Bivar 1983 p 33 Garthwaite 2005 p 76 Arsaces XVII Phraates III Livius org May 7 2019 subkhnemux November 23 2019 Battle of Carrhae Britannica subkhnemux November 23 2019 Garthwaite 2005 p 80 see also Strugnell 2006 pp 251 252 Cartwright Mark March 6 2018 The Roman Parthian War 58 63 CE Ancient History Encyclopedia subkhnemux November 23 2019 Lacey James 2016 Great Strategic Rivalries From The Classical World to the Cold War Oxford United Kingdom Oxford University Press ISBN 9780190620486 Chaumont amp Schippmann 1988 pp 574 580 aehlngkhxmulxun aekikh wikimiediykhxmmxnsmisuxekiywkb ckrwrrdipharethiy Parthian Empire Ancient History Encyclopedia phikdphumisastr 33 05 37 N 44 34 51 E 33 09361 N 44 58083 E 33 09361 44 58083ekhathungcak https th wikipedia org w index php title ckrwrrdipharethiy amp oldid 9404391, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม