fbpx
วิกิพีเดีย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พญาร่วง หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1842 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการยกย่องเป็น "มหาราช" ด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากกว่าเจ็ดร้อยปี

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช
พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย
ครองราชย์พ.ศ. 1822 - พ.ศ. 1842 (20 ปี)
ก่อนหน้าพ่อขุนบานเมือง
ถัดไปพระยาเลอไทย
พระราชบุตรพระยาเลอไทย
แม่นางเทพสุดาสร้อยดาว
ราชวงศ์พระร่วง
พระราชบิดาพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พระราชมารดานางเสือง
พระราชสมภพพ.ศ. 1780/1790
อาณาจักรสุโขทัย
สวรรคตพ.ศ. 1842 (52/62 พรรษา)
อาณาจักรสุโขทัย
ศาสนาพุทธ

พระราชประวัติ

พระประสูติกาล

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง โดยพระองค์มีพระเชษฐา 2 พระองค์และพระขนิษฐา 2 พระองค์ พระเชษฐาพระองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาพระองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระยาบานเมือง" ซึ่งได้เสวยราชสมบัติต่อจากพระบรมชนกนาถ และเมื่อพ่อขุนบานเมืองได้เสด็จสวรรคตแล้ว พ่อขุนรามคำแหงจึงเสวยราชสมบัติต่อมา

ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย พญามังรายแห่งล้านนา และพญางำเมืองแห่งพะเยา เป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ สำนักพระสุกทันตฤๅษี ที่เมืองละโว้ จึงน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยพญามังรายประสูติเมื่อ พ.ศ. 1782 พ่อขุนรามคำแหงก็น่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้

พระนาม

เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุ 19 พรรษา ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อยู่ในบริเวณแม่สอดใกล้จังหวัดตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน) พระบรมชนกนาถจึงทรงขนานพระนามว่า "พระรามคำแหง" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้กล้าหาญ" ภายหลังเมื่อพระบรมชนกนาถได้เสด็จสวรรคต และพ่อขุนบานเมือง พระเชษฐาธิราช ได้เสวยราชสมบัติต่อมา พ่อขุนรามคำแหงจึงได้ไปเป็นเจ้าเมืองครองเมืองศรีสัชนาลัย

ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่า พระนามเดิมของพระองค์คือ เจ้าราม เพราะปรากฏพระนามเมื่อเสวยราชย์แล้วว่า "พ่อขุนรามราช" อนึ่ง สมัยนั้นนิยมนำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน ซึ่งตามพระราชนัดดาของพระองค์มีพระนามว่า "พระยาพระราม" และในชั้นพระราชนัดดาของพระราชนัดดา ในเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1962 ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ปรากฏเจ้าเมืองพระนามว่า "พระยาบาลเมือง" และ "พระยาราม"

การเสวยราชย์

นายตรี อมาตยกุล ได้เสนอว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชน่าจะเสวยราชย์ พ.ศ. 1820 เพราะเป็นปีที่ทรงปลูกต้นตาลที่สุโขทัย

ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต จึงได้หาหลักฐานมาประกอบพบว่า กษัตริย์ไทยอาหมถือประเพณีทรงปลูกต้นไทรตอนขึ้นเสวยราชย์อย่างน้อยเจ็ดรัชกาลด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโชคชัยว่ารัชกาลจะอยู่ยืนยงเหมือนต้นไทร อนึ่ง ต้นตาลและต้นไทรเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของลังกา

พระราชกรณียกิจ

รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นยุคที่กรุงสุโขทัยเฟื่องฟูและเจริญขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก ระบบการปกครองภายในก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางเกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล

การเมืองการปกครอง

เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงขจัดอิทธิพลของเขมรออกไปจากกรุงสุโขทัยได้ในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 การปกครองของกษัตริย์สุโขทัยได้ใช้ระบบปิตุราชาธิปไตยหรือ "พ่อปกครองลูก" ดังข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า คำพูด"....เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่อบ้านท่อเมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู.."

ข้อความดังกล่าวแสดงการนับถือบิดามารดา และถือว่าความผูกพันในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ ครอบครัวทั้งหลายรวมกันเข้าเป็นเมืองหรือรัฐ มีเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว

ปรากฏข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้พระราชอำนาจในการยุติธรรมและนิติบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้

1) ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง

2) ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร

3) หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้ พระองค์ก็จะทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง

นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องช่วยในการปกครอง โดยได้ทรงสร้าง "พระแท่นมนังคศิลาบาตร" ขึ้นไว้กลางดงตาล เพื่อให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จประทับเป็นประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกัน[ต้องการอ้างอิง]

เศรษฐกิจและการค้า

โปรดให้สร้างทำนบกักน้ำที่เรียกว่า “สรีดภงส์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในตัวเมืองสุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง โดยอาศัยแนวคันดินที่เรียกว่า “เขื่อนพระร่วง” ทำให้มีน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคในยาม ที่บ้านเมืองขาดแคลนน้ำ

ทรงส่งเสริมการค้าขายอย่างเสรีภายในราชอาณาจักรด้วยการไม่เก็บภาษีผ่านด่านหรือ “จกอบ” (จังกอบ) จากบรรดาพ่อค้าที่เข้ามาค้าขายในกรุงสุโขทัย ดังคำจารึกบนศิลาจารึกว่า "เจ้าเมือง บ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง" นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ปรากฏว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงส่งเสริมให้ชาวสุโขทัยนิยมการค้าขายนั้น ปรากฏตามศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า "เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจะใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า" อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า ทรงเปิดเสรีทุกประการในการค้าขายทำให้การค้าขายขยายออกไปอย่างกว้างขวางจนปรากฏแหล่งการค้าสำคัญในสุโขทัยได้แก่ "ตลาดปสาน" จากศิลาจารึกกล่าวว่า "เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัย มีตลาดปสาน"

ในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจอย่าง "จีน" โดยนอกจากการเพิ่มพูนสัมพันธไมตรีตามปกติแล้ว ยังโปรดให้นำช่างจากชาวจีนมาเพื่อก่อตั้งโรงงานตั้งเตาทำถ้วยชามทั้งเพื่อใช้ในประเทศ และสามารถส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงได้ด้วย ถ้วยชามที่ผลิตในยุคนี้เรียกว่า "ชามสังคโลก"

ศาสนาและวัฒนธรรม

ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แทนตัวอักษรขอมที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เมื่อ พ.ศ. 1826 เรียกว่า “ลายสือไทย” และได้มีการพัฒนาการมาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทยในยุคปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีอักษรไทยใช้มาจนถึงทุกวันนี้

โปรดให้จารึกเรื่องราวบางส่วนที่เกิดในสมัยของพระองค์ โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ทำให้คนไทยยุคหลังได้ทราบ และนักประวัติศาสตร์ได้ใช้ศิลาจารึกดังกล่าวเป็นข้อมูลหลักฐานในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวประวัติศาสตร์สุโขทัย

ทรงรับเอาพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากลังกา ผ่านเมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคงในอาณาจักรสุโขทัย และเผยแผ่ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ในราชอาณาจักรสุโขทัย จนกระทั่งได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อพระพุทธศาสนาได้มาตั้งมั่นที่นครศรีธรรมราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงให้นิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่จากเมืองนครศรีธรรมราชไปตั้งเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่กรุงสุโขทัยด้วย และนับเป็นการเริ่มการเจริญสัมพันธไมตรีกับลังกา อีกทั้งทรงได้สดับกิตติศัพท์ของ "พระพุทธสิหิงค์" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เจ้าราชวงศ์ลังกาสร้างขึ้นด้วยพระพุทธลักษณะที่งดงาม และมีความศักดิ์สิทธิ์ จึงทรงให้พระยานครศรีธรรมราช เจ้าประเทศราชแต่งสาส์นให้ทูตถือไปยังลังกา เพื่อขอเป็นไมตรีและขอพระราชทานพระพุทธสิหิงค์มาเพื่อเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองไทยสืบไป

อาณาเขต

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางไพศาล คือ

ทิศตะวันออก ทรงปราบได้เมืองสรหลวงสองแคว (พิษณุโลก), ลุมบาจาย, สะค้า (สองเมืองหลังนี้อาจอยู่แถวลุ่มแม่น้ำน่านหรือแควป่าสักก็ได้), ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเวียงจันทน์และเวียงคำในประเทศลาว

ทิศใต้ ทรงปราบได้คนที (บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร), พระบาง (นครสวรรค์), แพรก (ชัยนาท), สุพรรณภูมิ, ราชบุรี, เพชรบุรี, และนครศรีธรรมราช โดยมีฝั่งทะเลสมุทร (มหาสมุทร) เป็นเขตแดนไทย

ทิศตะวันตก ทรงปราบได้เมืองฉอด,มีสมุทรเป็นเขตแดนไทย

ทิศเหนือ ทรงปราบได้เมืองแพร่, เมืองน่าน, เมืองพลัว (อำเภอปัว น่าน), ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง) เป็นเขตแดนไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

 
ภาพด้านหลังธนบัตรไทยชนิดราคา 20 บาท (ชุดที่ 16) รูปพระบรมราชานุสาวรีย์ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

การใช้ความสัมพันธ์ทางด้านการทูตและความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะทางด้านพระพุทธศาสนาแทนการทำสงคราม ทำให้สุโขทัยมีแต่ความสงบร่มเย็น ไม่เกิดสงครามกับแคว้นต่าง ๆ ในสมัยของพระองค์ และได้หัวเมืองประเทศราชเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ทรงทำพระราชไมตรีกับพญามังรายมหาราชแห่งล้านนา และพญางำเมืองแห่งพะเยา โดยทรงยินยอมให้พญามังรายมหาราชขยายอาณาเขตล้านนาทางน้ำแม่กก แม่น้ำปิง และแม่น้ำวังได้อย่างสะดวก เพื่อให้เป็นกันชนระหว่างจีนกับสุโขทัย กับทั้งยังได้เสด็จไปทรงช่วยเหลือพญามังรายมหาราชหาชัยภูมิสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 ด้วย

ทางอาณาจักรมอญ มีพ่อค้าชื่อ "มะกะโท" เข้ารับราชการอยู่ในราชสำนักของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มะกะโทได้ผูกสมัครรักใคร่กับ "เจ้าเทพธิดาสร้อยดาว" พระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แล้วพากันหนีไปอยู่เมืองเมาะตะมะ แล้วจึงขออภัยโทษต่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขอพระราชทานนาม และขอยินยอมเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงได้พระราชทานนามว่า "พระเจ้าฟ้ารั่ว"

ทางทิศใต้ ได้ทรงอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชผู้เรียนจบพระไตรปิฎกมาจากนครศรีธรรมราช ให้มาเผยแพ่พุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย

ส่วนด้านเมืองละโว้นั้นทรงปล่อยให้เป็นเอกราชอยู่ เพราะปรากฏว่ายังส่งเครื่องบรรณาการไปจีนอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1834 ถึง พ.ศ. 1840 ทั้งนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็คงจะได้ทรงผูกไมตรีกับเมืองละโว้ไว้ นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเองก็ทรงส่งราชทูตไปจีนสามครั้งเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี

ประดิษฐกรรม

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. 1826 พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพิ่มขึ้นให้สามารถเขียนแทนเสียงพูดของคำในภาษาไทยได้ทุกคำ กับทั้งได้นำสระและพยัญชนะมาอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะซ้อนกัน ทำให้เขียนและอ่านหนังสือไทยได้สะดวกมากขึ้น

วรรณกรรม

วรรณกรรมสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสูญหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1835) ซึ่งแม้จะมีข้อความเป็นร้อยแก้ว แต่ก็มีสัมผัสคล้องจองทำให้ไพเราะซาบซึ้งตรึงใจ เช่น

...ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย...เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด

นับเป็นวรรณคดีเริ่มแรกของกรุงสุโขทัยซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบัน โดยอย่างไรก็ดี ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา มีข้อสงสัยทางวิชาการว่าศิลาจารึกดังกล่าวจะมิได้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และมีผู้เสนอว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพบศิลานั้นเมื่อเสด็จจาริกธุดงค์ เป็นผู้ทรงทำศิลานั้นขึ้นเพื่อเหตุผลทางการเมืองในการสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทยให้ชาติตะวันตกเห็นว่ามีและรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน เป็นการป้องปัดภัยการล่าอาณานิคมในสมัยนั้น ทั้งนี้ข้อสงสัยนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

สวรรคต

ตามบันทึกประวัติศาสตร์หยวนของจีน ได้บันทึกไว้ว่า พ่อขุนรามคำแหงได้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1842 และพระยาเลอไทย พระราชโอรสของพระองค์ จึงเสวยราชสมบัติต่อมา

พงศาวลี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย (2549). จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร) ด้านที่ ๑. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). Check date values in: |year= (help)
  2. ตรี อมาตยกุล (2523, 2524, 2525, 2527). "ประวัติศาสตร์สุโขทัย" แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี (ปีที่ 14 เล่ม 1, ปีที่ 15 เล่ม 1, ปีที่ 16 เล่ม 1 และปีที่ 18 เล่ม 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. Check date values in: |year= (help)
  3. ฟ้ารั่ว,พระเจ้า โดย.. รองศาสตราจารย์เรือเอกหญิงปรียา หิรัญประดิษฐ์
  • ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1. (2521). คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
  • ประเสริฐ ณ นคร. (2534). "ประวัติศาสตร์สุโขทัยจากจารึก." งานจารึกและประวัติศาสตร์ของประเสริฐ ณ นคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน.
  • ประเสริฐ ณ นคร. (2544). "รามคำแหงมหาราช, พ่อขุน". สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน, (เล่ม 25 : ราชบัณฑิตยสถาน-โลกธรรม). กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้ง. หน้า 15887-15892.
  • ประเสริฐ ณ นคร. (2534). "ลายสือไทย". งานจารึกและประวัติศาสตร์ของประเสริฐ ณ นคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน.
  • เจ้าพระยาพระคลัง (หน). (2515). ราชาธิราช. พระนคร : บรรณาการ.
  • อุดม ประมวลวิทย์. (2508)" "50 กษัตริย์ไทย". สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • พ่อขุนรามคำแหงไปเมืองจีนเอาเทคโนโลยีทำถ้วยชามกลับมาสุโขทัยจริงหรือ?
ก่อนหน้า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ถัดไป
พ่อขุนบานเมือง
ราชวงศ์พระร่วง
  พระมหากษัตริย์ไทย
อาณาจักรสุโขทัย

(ประมาณ พ.ศ. 1820-ประมาณ พ.ศ. 1841)
  พระยาเลอไทย
ราชวงศ์พระร่วง


อข, นรามคำแหงมหาราช, บทความน, ได, บแจ, งให, ปร, บปร, งหลายข, กร, ณาช, วยปร, บปร, งบทความ, หร, ออภ, ปรายป, ญหาท, หน, าอภ, ปราย, บทความน, องการจ, ดร, ปแบบข, อความ, การจ, ดหน, การแบ, งห, วข, การจ, ดล, งก, ภายใน, และอ, บทความน, องการพ, จน, กษร, อาจเป, นด, านการใช,. bthkhwamniidrbaecngihprbprunghlaykhx krunachwyprbprungbthkhwam hruxxphipraypyhathihnaxphipray bthkhwamnitxngkarcdrupaebbkhxkhwam karcdhna karaebnghwkhx karcdlingkphayin aelaxun bthkhwamnitxngkarphisucnxksr xacepndankarichphasa karsakd iwyakrn rupaebbkarekhiyn hruxkaraeplcakphasaxun bthkhwamnitxngkaraehlngxangxingephimephuxphisucnkhxethccringphxkhunramkhaaehngmharach hrux phyarwng hrux phrabathkmretngxysriramrach 1 epnphramhakstriyphraxngkhthi 3 inrachwngsphrarwngaehngrachxanackrsuokhthy eswyrachypraman ph s 1822 thungpraman ph s 1842 phraxngkhthrngepnkstriyphraxngkhaerkkhxngithythiidrbkarykyxngepn mharach dwythrngbaephyphrarachkrniykicxnthrngkhunpraoychnaekaephndin thrngrwbrwmxanackrithycnepnpukaephnkwangkhwang thngyngidthrngpradisthtwxksrithykhun thaihchatiithyidsasmkhwamruthangsilpa wthnthrrm aelawichakartang subthxdknmakkwaecdrxypiphxkhunramkhaaehngmharachphrabathkmretngxysriramrachphrabrmrachanusawriyphxkhunramkhaaehngmharach thixuthyanprawtisastrsuokhthy cnghwdsuokhthyphramhakstriyaehngxanackrsuokhthykhrxngrachyph s 1822 ph s 1842 20 pi kxnhnaphxkhunbanemuxngthdipphrayaelxithyphrarachbutrphrayaelxithyaemnangethphsudasrxydawrachwngsphrarwngphrarachbidaphxkhunsrixinthrathityphrarachmardanangesuxngphrarachsmphphph s 1780 1790xanackrsuokhthyswrrkhtph s 1842 52 62 phrrsa xanackrsuokhthysasnaphuthth enuxha 1 phrarachprawti 1 1 phraprasutikal 1 2 phranam 1 3 kareswyrachy 2 phrarachkrniykic 2 1 karemuxngkarpkkhrxng 2 2 esrsthkicaelakarkha 2 3 sasnaaelawthnthrrm 2 4 xanaekht 2 5 khwamsmphnthrahwangpraeths 2 6 pradisthkrrm 2 7 wrrnkrrm 3 swrrkht 4 phngsawli 5 duephim 6 xangxing 7 aehlngkhxmulxunphrarachprawtiphraprasutikal phxkhunramkhaaehngmharachepnphrarachoxrsphraxngkhthi 3 khxngphxkhunsrixinthrathitykbnangesuxng odyphraxngkhmiphraechstha 2 phraxngkhaelaphrakhnistha 2 phraxngkh phraechsthaphraxngkhaerksinphrachnmtngaetphxkhunramkhaaehngyngthrngphraeyaw phraechsthaphraxngkhthisxngthrngphranamtamsilacarukwa phrayabanemuxng sungideswyrachsmbtitxcakphrabrmchnknath aelaemuxphxkhunbanemuxngidesdcswrrkhtaelw phxkhunramkhaaehngcungeswyrachsmbtitxmatamphngsawdaroynk phxkhunramkhaaehngmharachaehngkrungsuokhthy phyamngrayaehnglanna aelaphyangaemuxngaehngphaeya epnsisyrwmphraxacaryediywkn n sankphrasukthntvisi thiemuxnglaow cungnacamixayurunrawkhrawediywkn odyphyamngrayprasutiemux ph s 1782 phxkhunramkhaaehngknacaprasutiinpiiklekhiyngknni phranam emuxphxkhunramkhaaehngmharachmiphrachnmayu 19 phrrsa idthrngthayuththhtthimichytxkhunsamchn ecaemuxngchxd xyuinbriewnaemsxdiklcnghwdtak aetxaccaxyuinekhtpraethsphmainpccubn phrabrmchnknathcungthrngkhnanphranamwa phraramkhaaehng sungaeplwa phraramphuklahay phayhlngemuxphrabrmchnknathidesdcswrrkht aelaphxkhunbanemuxng phraechsthathirach ideswyrachsmbtitxma phxkhunramkhaaehngcungidipepnecaemuxngkhrxngemuxngsrischnalyrachbnthitysthansnnisthanwa phranamedimkhxngphraxngkhkhux ecaram ephraapraktphranamemuxeswyrachyaelwwa phxkhunramrach xnung smynnniymnachuxpumatngepnchuxhlan sungtamphrarachnddakhxngphraxngkhmiphranamwa phrayaphraram aelainchnphrarachnddakhxngphrarachndda inehtukarnkaraeyngchingrachsmbtikrungsrixyuthya ph s 1962 tamphrarachphngsawdarkrungeka chbbhlwngpraesrithxksrniti praktecaemuxngphranamwa phrayabalemuxng aela phrayaram kareswyrachy phramhakstriyrachwngsphrarwng phxkhunsrixinthrathity phxkhunbanemuxng phxkhunramkhaaehngmharach phrayaelxithy phrayangwnathum phramhathrrmrachathi 1 phramhathrrmrachathi 2 phramhathrrmrachathi 3 phramhathrrmrachathi 4dkhknaytri xmatykul idesnxwa phxkhunramkhaaehngmharachnacaeswyrachy ph s 1820 ephraaepnpithithrngpluktntalthisuokhthy 2 sastracarypraesrith n nkhr rachbnthit cungidhahlkthanmaprakxbphbwa kstriyithyxahmthuxpraephnithrngpluktnithrtxnkhuneswyrachyxyangnxyecdrchkaldwykn thngni ephuxsrangochkhchywarchkalcaxyuyunyngehmuxntnithr xnung tntalaelatnithrepnimskdisiththikhxnglngkaphrarachkrniykicrchsmykhxngphxkhunramkhaaehngmharachepnyukhthikrungsuokhthyefuxngfuaelaecriykhunkwaedimepnxnmak rabbkarpkkhrxngphayinkxihekidkhwamsngberiybrxyxyangmiprasiththiphaph mikartidtxsmphnthkbtangpraethsthngindanesrsthkicaelakaremuxng prachachnxyudikindi sphaphbanemuxngkawhnathngthangekstr karchlprathan karxutsahkrrm aelakarsasna xanaekhtkhxngkrungsuokhthyidkhyayxxkipkwangihyiphsal karemuxngkarpkkhrxng emuxphxkhunsrixinthrathitythrngkhcdxiththiphlkhxngekhmrxxkipcakkrungsuokhthyidinplayphuththstwrrsthi 18 karpkkhrxngkhxngkstriysuokhthyidichrabbpiturachathipityhrux phxpkkhrxngluk dngkhxkhwaminsilacarukphxkhunramkhaaehngwa khaphud emuxchwphxku kubaerxaekphxku kuidtwenuxtwpla kuexamaaekphxku kuidhmaksmhmakhwan xnidkinxrxydi kuexamaaekphxku kuiptihnngwngchangid kuexamaaekphxku kuipthxbanthxemuxng idchangidngwng idpwidnang idenguxnidthxng kuexamaewnaekphxku khxkhwamdngklawaesdngkarnbthuxbidamarda aelathuxwakhwamphukphninkhrxbkhrwepneruxngsakhy khrxbkhrwthnghlayrwmknekhaepnemuxnghruxrth miecaemuxnghruxphramhakstriyepnhwhnakhrxbkhrwpraktkhxkhwaminsilacarukphxkhunramkhaaehngwaphxkhunramkhaaehngmharachthrngichphrarachxanacinkaryutithrrmaelanitibyytiiwdngtxipni1 rasdrsamarthkhakhayidodyesri ecaemuxngimeriykekbcngkxbhruxphasiphanthang2 phuidlmtaylng thrphymrdkktkaekbutr3 hakphuidimidrbkhwamepnthrrminkrniphiphath kmisiththiipsnkradingthiaekhwniwhnapratuwngephuxthwaydikatxphramhakstriyid phraxngkhkcathrngtdsindwyphraxngkhexngnxkcakni phxkhunramkhaaehngmharachyngthrngichphuththsasnaepnekhruxngchwyinkarpkkhrxng odyidthrngsrang phraaethnmnngkhsilabatr khuniwklangdngtal ephuxihphraethranuethraaesdngphrathrrmethsnaaekprachachninwnphra swnwnthrrmdaphraxngkhcaesdcprathbepnprathanihecanayaelakharachkarpruksarachkarrwmkn txngkarxangxing esrsthkicaelakarkha oprdihsrangthanbkknathieriykwa sridphngs ephuxnanaipichintwemuxngsuokhthyaelabriewniklekhiyng odyxasyaenwkhndinthieriykwa ekhuxnphrarwng thaihminasahrbichinkarephaaplukaelaxupophkhbriophkhinyam thibanemuxngkhadaekhlnnathrngsngesrimkarkhakhayxyangesriphayinrachxanackrdwykarimekbphasiphandanhrux ckxb cngkxb cakbrrdaphxkhathiekhamakhakhayinkrungsuokhthy dngkhacarukbnsilacarukwa ecaemuxng bexackxbiniphrluthang nxkcakniyngmihlkthanthipraktwa phxkhunramkhaaehngmharachthrngsngesrimihchawsuokhthyniymkarkhakhaynn prakttamsilacaruktxnhnungwa ephuxncungwwipkha khimaipkhay ikhrcaikhrkhachangkha ikhrckikhrkhamakha ikhrckikhrkhaenguxnkhathxngkha xnepnkaraesdngihehnwa thrngepidesrithukprakarinkarkhakhaythaihkarkhakhaykhyayxxkipxyangkwangkhwangcnpraktaehlngkarkhasakhyinsuokhthyidaek tladpsan caksilacarukklawwa ebuxngtinnxnemuxngsuokhthy mitladpsan indanesrsthkicrahwangpraeths phxkhunramkhaaehngmharachthrngecriysmphnthimtrikbmhaxanacxyang cin odynxkcakkarephimphunsmphnthimtritampktiaelw yngoprdihnachangcakchawcinmaephuxkxtngorngngantngetathathwychamthngephuxichinpraeths aelasamarthsngxxkipyngpraethsiklekhiyngiddwy thwychamthiphlitinyukhnieriykwa chamsngkholk sasnaaelawthnthrrm thrngkhidpradisthxksrithykhunichaethntwxksrkhxmthiekhyichknmaaetedim emux ph s 1826 eriykwa laysuxithy aelaidmikarphthnakarmaepnladbcnthungxksrithyinyukhpccubn thaihkhnithymixksrithyichmacnthungthukwnnioprdihcarukeruxngrawbangswnthiekidinsmykhxngphraxngkh odypraktxyuinsilacaruksuokhthyhlkthi 1 thaihkhnithyyukhhlngidthrab aelankprawtisastridichsilacarukdngklawepnkhxmulhlkthaninkarsuksakhnkhwaeruxngrawprawtisastrsuokhthythrngrbexaphraphuththsasna nikayethrwath lththilngkawngs caklngka phanemuxngnkhrsrithrrmrach mapradisthanthiemuxngsuokhthy thaihphraphuththsasnawangrakthanmnkhnginxanackrsuokhthy aelaephyaephipynghwemuxngtang inrachxanackrsuokhthy cnkrathngidklayepnsasnapracachatiithymacnthungthukwnniemuxphraphuththsasnaidmatngmnthinkhrsrithrrmrach phxkhunramkhaaehngmharachthrngeluxmissrththainphraphuththsasnacungihnimntphraethrachnphuihycakemuxngnkhrsrithrrmrachiptngephyaephphraphuththsasnathikrungsuokhthydwy aelanbepnkarerimkarecriysmphnthimtrikblngka xikthngthrngidsdbkittisphthkhxng phraphuththsihingkh sungepnphraphuththrupthiecarachwngslngkasrangkhundwyphraphuththlksnathingdngam aelamikhwamskdisiththi cungthrngihphrayankhrsrithrrmrach ecapraethsrachaetngsasnihthutthuxipynglngka ephuxkhxepnimtriaelakhxphrarachthanphraphuththsihingkhmaephuxepnphrakhubankhuemuxngithysubip xanaekht phxkhunramkhaaehngmharachidthrngkhyayxanaekhtxxkipxyangkwangkhwangiphsal khuxthistawnxxk thrngprabidemuxngsrhlwngsxngaekhw phisnuolk lumbacay sakha sxngemuxnghlngnixacxyuaethwlumaemnananhruxaekhwpaskkid khamfngaemnaokhngipthungewiyngcnthnaelaewiyngkhainpraethslawthisit thrngprabidkhnthi banokhn cnghwdkaaephngephchr phrabang nkhrswrrkh aephrk chynath suphrrnphumi rachburi ephchrburi aelankhrsrithrrmrach odymifngthaelsmuthr mhasmuthr epnekhtaednithythistawntk thrngprabidemuxngchxd mismuthrepnekhtaednithythisehnux thrngprabidemuxngaephr emuxngnan emuxngphlw xaephxpw nan khamfngokhngipthungemuxngchwa hlwngphrabang epnekhtaednithy khwamsmphnthrahwangpraeths phaphdanhlngthnbtrithychnidrakha 20 bath chudthi 16 rupphrabrmrachanusawriykhxngphxkhunramkhaaehngmharach karichkhwamsmphnththangdankarthutaelakhwamsmphnththangdanwthnthrrm odyechphaathangdanphraphuththsasnaaethnkarthasngkhram thaihsuokhthymiaetkhwamsngbrmeyn imekidsngkhramkbaekhwntang insmykhxngphraxngkh aelaidhwemuxngpraethsrachephimkhunxikdwythrngthaphrarachimtrikbphyamngraymharachaehnglanna aelaphyangaemuxngaehngphaeya odythrngyinyxmihphyamngraymharachkhyayxanaekhtlannathangnaaemkk aemnaping aelaaemnawngidxyangsadwk ephuxihepnknchnrahwangcinkbsuokhthy kbthngyngidesdcipthrngchwyehluxphyamngraymharachhachyphumisrangemuxngechiyngihmemux ph s 1839 dwythangxanackrmxy miphxkhachux makaoth ekharbrachkarxyuinrachsankkhxngphxkhunramkhaaehngmharach makaothidphuksmkhrrkikhrkb ecaethphthidasrxydaw phrathidakhxngphxkhunramkhaaehngmharach aelwphaknhniipxyuemuxngemaatama aelwcungkhxxphyothstxphxkhunramkhaaehngmharach khxphrarachthannam aelakhxyinyxmepnpraethsrachkhxngkrungsuokhthy sungphxkhunramkhaaehngidphrarachthannamwa phraecafarw 3 thangthisit idthrngxarathnaphramhaethrsngkhrachphueriyncbphraitrpidkmacaknkhrsrithrrmrach ihmaephyaephphuththsasnainkrungsuokhthyswndanemuxnglaownnthrngplxyihepnexkrachxyu ephraapraktwayngsngekhruxngbrrnakaripcinxyurahwang ph s 1834 thung ph s 1840 thngni phxkhunramkhaaehngmharachkkhngcaidthrngphukimtrikbemuxnglaowiw nxkcakni phxkhunramkhaaehngmharachexngkthrngsngrachthutipcinsamkhrngephuxecriysmphnthimtri pradisthkrrm silacarukhlkthi 1 phxkhunramkhaaehngthi phiphithphnthsthanaehngchati phrankhr phxkhunramkhaaehngmharachthrngpradisthxksrithykhunichemux ph s 1826 phraxngkhidthrngpradisthphyychna sra aelawrrnyukt ephimkhunihsamarthekhiynaethnesiyngphudkhxngkhainphasaithyidthukkha kbthngidnasraaelaphyychnamaxyuinbrrthdediywknodyimtxngichphyychnasxnkn thaihekhiynaelaxanhnngsuxithyidsadwkmakkhun wrrnkrrm wrrnkrrmsmyphxkhunramkhaaehngmharachsuyhayiphmdaelw khngehluxaetsilacarukphxkhunramkhaaehng ph s 1835 sungaemcamikhxkhwamepnrxyaekw aetkmismphskhlxngcxngthaihipheraasabsungtrungic echn innamipla innamikhaw luthangephuxncungwwipkha khimaipkhay ehnkhawthanbikhrphin ehnsinthanbikhreduxd nbepnwrrnkhdierimaerkkhxngkrungsuokhthysungtkthxdmathungpccubn odyxyangirkdi inchwngtngaet ph s 2520 epntnma mikhxsngsythangwichakarwasilacarukdngklawcamiidthakhuninsmyphxkhunramkhaaehngmharach aelamiphuesnxwa phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw phuthrngphbsilannemuxesdccarikthudngkh epnphuthrngthasilannkhunephuxehtuphlthangkaremuxnginkarsrangprawtisastrchatiithyihchatitawntkehnwamiaelarungeruxngmaxyangyawnan epnkarpxngpdphykarlaxananikhminsmynn thngnikhxsngsynikalngepnthithkethiyngknxyuswrrkhttambnthukprawtisastrhywnkhxngcin idbnthukiwwa phxkhunramkhaaehngidesdcswrrkhtinpi ph s 1842 aelaphrayaelxithy phrarachoxrskhxngphraxngkh cungeswyrachsmbtitxmaphngsawliphngsawlikhxngphxkhunramkhaaehngmharach 2 phxkhunsrixinthrathity 1 phxkhunramkhaaehngmharach 3 nangesuxng duephimsilacarukphxkhunramkhaaehng ladbphramhakstriyithyxangxing thankhxmulcarukinpraethsithy 2549 carukwdpamamwng phasaekhmr danthi 1 krungethph sunymanusywithyasirinthr xngkhkarmhachn Check date values in year help tri xmatykul 2523 2524 2525 2527 prawtisastrsuokhthy aethlngnganprawtisastr exksarobrankhdi pithi 14 elm 1 pithi 15 elm 1 pithi 16 elm 1 aelapithi 18 elm 1 krungethph orngphimphsankelkhathikarkhnarthmntri Check date values in year help farw phraeca ody rxngsastracaryeruxexkhyingpriya hirypradisth prachumsilacaruk phakhthi 1 2521 khnakrrmkarphicarnaaelacdphimphexksarthangprawtisastr krungethph orngphimphsankelkhathikarkhnarthmntri praesrith n nkhr 2534 prawtisastrsuokhthycakcaruk ngancarukaelaprawtisastrkhxngpraesrith n nkhr mhawithyalyekstrsastr kaaephngaesn praesrith n nkhr 2544 ramkhaaehngmharach phxkhun saranukrmithychbbrachbnthitysthan elm 25 rachbnthitysthan olkthrrm krungethph shmitrphrinting hna 15887 15892 praesrith n nkhr 2534 laysuxithy ngancarukaelaprawtisastrkhxngpraesrith n nkhr mhawithyalyekstrsastr kaaephngaesn ecaphrayaphrakhlng hn 2515 rachathirach phrankhr brrnakar xudm pramwlwithy 2508 50 kstriyithy sankphimphoxediynsotr aehlngkhxmulxun praethsithy prawtisastr phramhakstriyaelaphrabrmwngsanuwngskhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb phxkhunramkhaaehngmharachphxkhunramkhaaehngipemuxngcinexaethkhonolyithathwychamklbmasuokhthycringhrux kxnhna phxkhunramkhaaehngmharach thdipphxkhunbanemuxngrachwngsphrarwng phramhakstriyithyxanackrsuokhthy praman ph s 1820 praman ph s 1841 phrayaelxithyrachwngsphrarwngekhathungcak https th wikipedia org w index php title phxkhunramkhaaehngmharach amp oldid 9516248, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม