fbpx
วิกิพีเดีย

ไทใหญ่

"ไทใหญ่" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ไทใหญ่ (แก้ความกำกวม)
"ชาน" เปลี่ยนทางมาที่นี่ บทความนี้เกี่ยวกับบทความเกี่ยวกับชาติพันธุ์ สำหรับเขตการปกครอง ดูที่ รัฐชาน

ไทใหญ่ ชาน หรือ ฉาน (ไทใหญ่: တႆး; เสียงอ่านภาษาไทใหญ่: [táj] ไต๊; พม่า: ရှမ်းလူမျိုး; [ʃán lùmjó]; จีน: 掸族; พินอิน: Shàn zú) หรือ เงี้ยว (ซึ่งเป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพ) คือกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่พูดภาษาตระกูลขร้า-ไท และเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศพม่า ส่วนมากอาศัยในรัฐชานและบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณดอยไตแลง ชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ชาวไทใหญ่มีประมาณ 4–6 ล้านคน โดยเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊กให้จำนวนประมาณการที่ 5 ล้านคนทั่วประเทศพม่า ซึ่งเท่ากับประมาณร้อยละ 10 ของประชากรพม่าทั้งหมด แต่มีไทใหญ่หลายแสนคนที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อหนีปัญหาทางการเมืองและการหางาน ตามภาษาของเขาเองจะเรียกตัวเอง "ไต" มีหลายกลุ่ม เช่น ไทเขิน ไตแหลง ไทคำตี่ ไทลื้อ ไทยวน และไตมาว แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ไตโหลง [ไต = ไท และ โหลง (หลวง) = ใหญ่] หรือที่คนไทยเรียกว่า ไทใหญ่ จะเห็นได้ว่าภาษาไทและภาษาไทยคล้ายกันบ้างแต่ไม่เหมือนกัน ชาวไทใหญ่ถือวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันชาติ

ไทใหญ่
တႆး
ไต๊
ธงชาติของชาวไทใหญ่
ประชากรทั้งหมด
ประมาณ 4–6 ล้านคน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 พม่า
(ส่วนใหญ่อยู่ใน รัฐฉาน)
ประมาณ 5 ล้านคน
ภาษา
ภาษาไทใหญ่, คำเมือง, ภาษาพม่า และภาษาไทย
ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายกึงจอง ส่วนน้อยนับถือนิกายกึงโยน

ประวัติ

ชาวไทใหญ่ หรือ ฉาน หรือ ฌาน เป็นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในเขตพม่า ตอนใต้ของจีน และภาคเหนือของประเทศไทย ชาวไทใหญ่ที่อยู่ในเขตประเทศจีน เรียกตนเองว่าเป็นไทเหนือด้วยถือว่าอาศัย อยู่ทางเหนือของแม่น้ำคง (สาขาของแม่น้ำสาละวิน) และจะเรียกชาวไทใหญ่ในพม่า ว่าเป็นไทใต้ ในประเทศไทย มีชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ จากตอนใต้ของประเทศจีนเมื่อประมาณศตวรรษที่ 17

ที่มาของชื่อ

คำว่า “ ไทใหญ่ “ เป็นชื่อที่ชาวไทใหญ่คุ้นเคยมานาน ควบคู่กับคำที่ชาวไทใหญ่มักขนานนามตนเองว่า “ ไทใหญ่น้อย ” แต่นอกเหนือจากชาวไทใหญ่ในประเทศไทยแล้วไม่มีคน รู้จักคำว่า ไทใหญ่ ชาวไทใหญ่เรียกตนเองว่าไต ชาวพม่าเรียกชาวไทใหญ่ว่า “ ชาน ” หรือ “ ฉาน “ ซึ่งเป็นต้นเค้าให้ชาวตะวันตกเรียกชาวไทใหญ่ ในขณะที่ชาวกะชีนหรือจิ่งเผาะเรียกว่า “ อะซาม ” ชาวอาชาง ชาวปะหล่อง และชาวว้าเรียกว่า “ เซียม ” คำทั้งหมดนี้มาจากรากเหง้าของคำเดิมคือ “ สยาม ” สาม หรือ “ ซาม ” ทั้งสิ้น ส่วนชาวจีนฮั่นมีวิธีเรียกชาวไทใหญ่ที่แตกต่างออกไป คือ ใช้คำที่แสดงลักษณะของชนชาติ มาขนานนาม เช่น เรียกว่า พวกเสื้อขาว (ป๋ายยี) พวกฟันทอง (จินฉื่อ) พวกฟันเงิน (หยินฉื่อ ) พวกฟันดำ (เฮยฉื่อ) และยังมี ชื่ออื่นๆ เช่น เหลียว หลาว หมางหมาน พวกเยว่ร้อยเผ่า และหยี เป็นต้น จีนจะมีการเรียกชื่อชาวไทใหญ่เปลี่ยน แปลงไปตามระยะเวลาทางประวัติศาสตร์

ชื่อที่ชาวพม่าใช้เรียก

“ชาน” คือชื่อที่ชาวพม่าใช้เรียกชาวไทใหญ่

ชื่อที่ชาวไทยใช้เรียก

“เงี้ยว” เป็นคำที่ชาวล้านนาในแถบเชียงใหม่ใช้เรียกชาวไทใหญ่ ส่วนชาวเชียงรายเรียกขานชาวไทใหญ่ว่า “ไตใหญ่” หรือ “คนไต” ส่วนชาวไทยภาคกลางเรียกชาวไทใหญ่ว่า “ไทใหญ่” โดยการเรียกชื่อนี้มีมาแต่สมัยอยุธยาแล้ว โดย ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ถามคนอยุธยาว่า “คนไทยมีที่ไหนบ้าง” โดยเธอบอกว่า “คนไทยมีทั้ง ไทใหญ่และไทน้อย” และเธอยังบอกว่าตนเป็นไทน้อย แสดงให้เห็นว่าคนอยุธยาคือชาวไทน้อยและมองคนไทใหญ่ว่าไม่ต่างจากตนถือว่าเป็นคนไทยเหมือนกัน

“อนึ่ง ชาวสยามที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงนี้ เรียกตัวเองว่าไทน้อย (Tai Noe) คือสยามน้อย (Little Siam) ตามที่ข้าพเจ้าได้รับคำบอกเล่า ยังมีคนอีกจำพวกหนึ่งซึ่งป่าเถื่อนที่สุดเรียกกันว่าไทใหญ่ (Tai Yai) คือสยามใหญ่ (Great Siam) อันเป็นพวกที่อยู่ทางเขตเขาภาคเหนือ”

ชื่อที่ชาวต่างชาติใช้เรียก

ชาวอังกฤษ

“ชาน” คือชื่อที่ชาวอังกฤษใช้เรียกชาวไทใหญ่ โดยเรียกตามชาวพม่า

ชาวจีน

“ต้าป๋ายยี” “ป๋ายยี” “จินฉื่อ” “เฮยฉื่อ” คือคำที่ชาวจีนฮั่นใช้เรียกชาวไทใหญ่

อิทธิพลของพม่า

ประวัติศาสตร์ไทใหญ่เต็มไปด้วยเรื่องราวของสงคราม จนการเรียนประวัติศาสตร์ของชาวไทใหญ่กลายเป็นวิชาต้องห้ามมาตั้งแต่สมัยอังกฤษปกครอง อิทธิพลทางวัฒนธรรมของพม่าในไทใหญ่จึงมีมาก ซึ่งเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์และการเมือง กล่าวคือเมื่อพม่ามีอิทธิพลทางการปกครองก็จะเกณฑ์ให้เจ้าฟ้าไทใหญ่ส่งลูกชายและลูกสาวไปเมืองหลวงพม่า เจ้าหญิงเจ้าชายเหล่านี้จึงได้รับวัฒนธรรมพม่ามา และนำกลับมาเผยแพร่แก่ประชาชนไทใหญ่ในรูปแบบของภาษา ดนตรี นาฏศิลป์ และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น เกิดความนิยมว่า วรรณคดีที่ไพเราะซาบซึ้งควรมีคำพม่าผูกผสมผสานกับคำไท

ถิ่นที่อยู่ปัจจุบัน

ชาวไทใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่รัฐชาน ประเทศพม่า เรียกตัวเองว่า คนไต ส่วนชาวล้านนามักเรียกว่า เงี้ยว มีเมืองหลวงที่ถือกำเนิดคือ ตองจี มีเมืองต่าง ๆ ที่เป็นเมืองของชาวไทใหญ่มาแต่โบราณ ได้แก่ เมืองแสนหวี สี่ป้อ น้ำคำ หมู่เจ เมืองนาย เมืองปั่น เมืองยองห้วย เมืองกาเล เมืองยาง เมืองมีด เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีชาวไทใหญ่อพยพมาอยู่ในประเทศไทย เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงราย และอำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง ทางตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ และยังมีที่อยู่อาศัย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลยูนาน ประเทศจีน เช่น เมืองมาว เมืองวัน เมืองหล้า เมืองขอน เป็นต้น และบางส่วนของรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย โดยเฉพาะที่ตำบลซ้างปานี แขวงเมืองสิพพสาครและอรุณาจลประเทศ

ศิลปะและวัฒนธรรม

 
ข้าวกั๊นจิ๊นเป็นอาหารไทใหญ่
 
การฟ้อนนกกิ่งกะหร่า
 
เครื่องแต่งกายสตรีไทใหญ่

สังคมและประเพณี

ชาวไทใหญ่มักประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการค้าขาย นับถือศาสนาพุทธควบคู่กับภูตผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่มีวิธีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเทวดาและผีเสื้อบ้านเสื้อเมือง และยึดถือในการทำบุญแต่ละประเพณีเป็นอย่างมาก ดังประโยคที่กล่าวไว้ว่า "กินอย่างม่าน ตานอย่างไต" ซึ่งหมายถึงว่า ชาวไทใหญ่นิยมการทำบุญทำทานมาก

 
ประเพณีปอยส่างลอง

เทศกาลของไทใหญ่ตามปฏิทินจันทรคติ ประกอบด้วยวันเลินสาม (Wan Lern Saam) ในเดือนกุมภาพันธ์ เชื่อกันว่าเป็นการเริ่มต้นฤดูร้อน, ปอยสอนน้ำ (Poy son Nam) หรือ สงกรานต์ และปอยโมกไฟ (Poy Moak Fai) หรือบุญบั้งไฟ ในเดือนเมษายน, เข้าวา (Kao Waa) หรือเข้าพรรรษา, ออกวา (Oak Waa) หรือออกพรรษา และยี่เป็งหรือลอยกระทง

ภาษา

ภาษาไทใหญ่เป็นวิชาเลือกหนึ่งภายในรัฐ เจ้าขุนสามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมรัฐชานในอดีต เคยออกสำรวจคนไทใหญ่ในพม่า พบว่ามีคนไทใหญ่พูดภาษาไทใหญ่มากมายหลายแห่ง แต่ไม่มีจำนวนที่แน่นอน เพราะคนไทใหญ่เหล่านั้นจะเรียกตนเองว่าเป็นพม่า พูดภาษาพม่า แต่งกายเป็นพม่า

อักษร

อักษรไทใหญ่ พัฒนามาจากอักษรไทใต้คงเก่า ซึ่งเป็นอักษรที่ใช่ในหมู่ชาวไทใหญ่ทั้งหมด โดยยังคงมีลักษณะกลม เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนไปเขียนด้วยพู่กันเหมือนอักษรไทใต้คง (อักษรถั่วงอก) เมื่อรัฐฉานตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2428 ทางอังกฤษได้ส่งเสริมให้ชาวไทใหญ่พัฒนาอักษรของตนขึ้นใหม่ และจัดให้มีการพิมพ์ ทำให้รูปอักษรที่เกิดจากการหล่อตัวพิมพ์มีลักษณะป้อม กลมคล้ายอักษรพม่ามากขึ้น

ศาสนา

ชาวไทใหญ่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธเริ่มเข้ามามีบทบาทในกลุ่มชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในรัฐฉานตั้งแต่ พ.ศ. 2015 ในช่วงที่พระญาณคัมภีร์เดินทางมาจากเชียงใหม่ไปเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายโยน ชาวไทใหญ่ยังนับถือเทพและผีเจ้าเมืองด้วย เป็นความเชื่อดั่งเดิมที่เชื่อว่าเจ้าเมืองที่เสียชีวิตไปแล้วจะยังคงปกปักรักษาชาวบ้านในชุมชน ชาวไทใหญ่ยังมีความเชื่อในเรื่องของโลกหน้าอีกด้วย

สถาปัตยกรรมและพุทธศิลป์

เรือนชาวไทใหญ่นิยมสร้างเรือนใต้ถุนเตี้ย หลังคาจั่วเดียว หากเป็นครัวครอบใหญ่นิยมสร้างเป็นหลังคาสองจั่ว

งานพุทธศิลป์ของชาวไทใหญ่มีวิวัฒนาการคล้ายกับชาวสยาม ต่างก็รับเอาพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์มา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะมอญพม่า แต่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองภายใต้กรอบของศิลปะแบบมอญพม่า

วัด หรือ จอง ในภาษาไทใหญ่ นิยมสร้างอุโบสถ วิหาร หอฉัน กุฎิสงฆ์ อยู่ติดกันในลักษณะเรือนหมู่แบบคนไทย แต่สร้างหลังคาของอาคารต่าง ๆ ทรงยอดปราสาทแบบพม่ามอญ เรียกว่า ทรงพญาธาตุ แต่ลดจำนวนชั้นและความซับซ้อนของโครงสร้างลงไป ส่วนเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับสถูปเจดีย์แบบมอญพม่า แต่มีการประยุกต์โดยขยายส่วนสูงเพิ่มขึ้น ทำให้เจดีย์ไทใหญ่มีรูปทรงสูงชลูดมากกว่าเจดีย์พม่า

การสร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ นิยมแกะสลักจากหินหยก หรือเป็นพระพุทธไม้แกะสลักปิดทองแล้วประดับด้วยกระจก สร้างเป็นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ครบทั้ง 4 อิริยาบถ ได้แก่ นั่ง ยืน นอน เดิน มีรูปพระพักตร์แบบพม่า และยังนิยมสร้างรูปพระอรหันต์อุปคุต รวมถึงรูปประติมากรรมต่าง ๆ ที่สร้างถวายเป็นพุทธบูชา เช่น รูปสิงห์ รูปหงส์ รูปคนฟ้อนรำ เป็นต้น ส่วนงานจิตรกรรมมีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและพม่า กล่าวคือ นิยมเขียนภาพจากพุทธประวัติ ภาพชาดก มีทั้งตัวละครที่แต่งกายแบบพม่า เขียนตัวละครที่แต่งกายทรงมงกุฎยอดแหลม มีเครื่องแต่งกายเหมือนจิตรกรรมไทย ด้านงานประณีตศิลป์ ได้แก่ เครื่องเขิน เป็นเครื่องใช้สำหรับพระสงฆ์ บาตรพระ พานสำหรับใส่เครื่องบูชา ทำจากไม้ตกแต่งด้วยการลงเขิน หรือลงรักปิดทองและประดับด้วยกระจก งานประณีตศิลป์ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทใหญ่คือ ลายฉลุ เป็นการฉลุลายแบบที่ภาษาภาคกลางเรียกว่า งานทองแผ่ลวด แต่ชาวไทใหญ่เรียกว่า ลายไตร นำไปใช้ตกแต่งอาคารในวัดวาอาราม ศาลา หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ

ชุดแต่งกาย

สตรีชาวไทใหญ่นิยมสวมเสื้อแซค เป็นเสื้อเนื้อบางแขนยาวหรือสามส่วน ป้ายสาบเสื้อทับไปทางขวาโดยใช้กระดุมผ้าหรือกระดุมโลหะสอดยึดห่วง นุ่งซิ่นเนื้อบาง เช่น ซิ่นก้อง ซิ่นส่วยต้อง ซิ่นปะล่อง ซิ้นหล้าย ซิ่นฮายย่า ซิ่นถุงจ้าบ และซิ่นปาเต๊ะ ทรงผมเกล้ามวยตามอายุ ส่วนบุรุษนิยมสวมเสื้อแซคหรือเสื้อแต้กปุ่ง เป็นเสื้อแขนยาว คอกลม กระดุมผ่าหน้า มีกระเป๋าเสื้อ นุ่งกางเกงสะดอเรียกว่า เรียกว่า ก๋นไต หรือ โก๋นโห่งโย่ง มัดเอวและเคียนหัวด้วยผ้าสีอ่อน เช่น สีขาว ชมพู หรือเหลือง

อาหาร

ชาวไทใหญ่นิยมกินข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก อาหารที่รับประทานส่วนใหญ่ประกอบด้วยผัก ใช้น้ำมันงาในการปรุงอาหาร อาหารนิยมปรุงจากถั่วเน่า อาหารไทยใหญ่ เช่น ข้าวกั๊นจิ๊นหรือข้าวเงี้ยว ข้าวส้ม และอุ๊บไก่ เป็นต้น

ศิลปะการแสดง

ศิลปะการแสดงที่โดดเด่นของชาวไทใหญ่ คือ การฟ้อนนกกิงกะหล่า เป็นการแสดงประกอบการเฉลิมฉลองประเพณีออกหว่า หรือ งานออกพรรษา ซึ่งตรงกับประเพณีเดือน 11 โดยมีความเชื่อมโยงกับตำนานความเชื่อทางพุทธศาสนา เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปโปรดพระมารดาและเทวดายังชั้นสวรรค์ดาวดึงส์ และเมื่อเสด็จนิวัติยังโลกมนุษย์ ซึ่งตรงกับวันออกพรรษาหรือวันเทโวโรหณะ

อ้างอิง

  1. รายงานจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก ชาวไทใหญ่มีจำนวนร้อยละ 9 ของประชากรพม่าทั้งหมด (55 ล้านคน) หรือประมาณ 5 ล้านคน
  1. "The Shan People". The Peoples of the World Foundation. สืบค้นเมื่อ 2015-01-16.
  2. "The World Factbook — Central Intelligence Agency". cia.gov. สืบค้นเมื่อ 24 January 2018.
  3. เสมอชัย พูลสุวรรณ. รัฐฉาน (เมืองไต):พลวัติของชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และการเมืองร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2552. หน้า 66
  4. "ยวน ในยวนพ่าย ก็เป็น ลาว (คักๆ)". สุจิตต์ วงษ์เทศ. 21 กันยายน 2555. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2558. Check date values in: |accessdate=, |date= (help)
  5. "Shan | people". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-26.
  6. Sao Sāimöng, The Shan States and the British Annexation. Cornell University, Cornell, 1969 (2nd ed.)
  7. "FACTBOX: The Shan, Myanmar's largest minority". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2007-08-30. สืบค้นเมื่อ 2020-08-26.
  8. "สถาบันไทใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน www.taiyai.org". www.taiyai.org.
  9. (Simon de La Loubere 1986: 7 อ้างใน นิติ ภวัครพันธุ์, 2558: 24)
  10. Maung Htin Aung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press. p. 95.
  11. Lt. Gen. Sir Arthur P. Phayre (1967). History of Burma (2 ed.). London: Susil Gupta. pp. 108–109.
  12. ‘Mae Sai Evacuated as Shells Hit Town’, Bangkok Post, 12 May 2002
  13. ‘Mortar Rounds Hit Thai Outpost, 2 Injured’, Bangkok Post, 20 June 2002, p.1
  14. "ไทใหญ่". สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
  15. "ไทใหญ่". สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
  16. "ไทใหญ่ : ว่าด้วยเครื่องแต่งกาย". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  17. "Shan: A language of Myanmar". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 2006-12-02.
  18. "ศาสนาและความเชื่อ". ศาสนาและความเชื่อ.
  19. "ชมศิลปะไทใหญ่ในแม่ฮ่องสอน". ไทยศึกษา.
  20. "วิถีชีวิต "ชาวไต" ในกแม่ฮ่องสอน". เชียงใหม่นิวส์.
  21. "กระบวนการสร้างสรรค์รูปแบบการฟ้อนนกกิงกะหล่า". มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

แหล่งข้อมูลอื่น

ไทใหญ, เปล, ยนทางมาท, สำหร, บความหมายอ, แก, ความกำกวม, ชาน, เปล, ยนทางมาท, บทความน, เก, ยวก, บบทความเก, ยวก, บชาต, นธ, สำหร, บเขตการปกครอง, ฐชาน, ชาน, หร, ฉาน, เส, ยงอ, านภาษา, táj, ไต, พม, ʃán, lùmjó, 掸族, นอ, shàn, หร, เง, ยว, งเป, นคำเร, ยกท, ไม, ภาพ, อกล, ม. ithihy epliynthangmathini sahrbkhwamhmayxun duthi ithihy aekkhwamkakwm chan epliynthangmathini bthkhwamniekiywkbbthkhwamekiywkbchatiphnthu sahrbekhtkarpkkhrxng duthi rthchan ithihy chan hrux chan ithihy တ esiyngxanphasaithihy taj it phma ရ မ လ မ ʃan lumjo cin 掸族 phinxin Shan zu hrux engiyw sungepnkhaeriykthiimsuphaph 4 khuxklumchatiphnthuhnungthiphudphasatrakulkhra ith aelaepnklumchatiphnthukhnadihyxndbsxngkhxngpraethsphma 5 swnmakxasyinrthchanaelabangswnxasyxyubriewndxyitaelng chayaednrahwangpraethsithykbpraethsphma 6 chawithihymipraman 4 6 lankhn 1 odyedxaewildaefktbukihcanwnpramankarthi 5 lankhnthwpraethsphma 2 sungethakbpramanrxyla 10 khxngprachakrphmathnghmd 5 7 aetmiithihyhlayaesnkhnthiidxphyphekhasupraethsithy ephuxhnipyhathangkaremuxngaelakarhangan tamphasakhxngekhaexngcaeriyktwexng it mihlayklum echn ithekhin itaehlng ithkhati ithlux ithywn aelaitmaw aetklumihythisudkhux itohlng it ith aela ohlng hlwng ihy hruxthikhnithyeriykwa ithihy caehnidwaphasaithaelaphasaithykhlayknbangaetimehmuxnkn chawithihythuxwnthi 7 kumphaphnth epnwnchatiithihyတ itthngchatikhxngchawithihyprachakrthnghmdpraman 4 6 lankhn 1 2 phumiphakhthimiprachakrxyangminysakhy phma swnihyxyuin rthchan praman 5 lankhn a 2 phasaphasaithihy khaemuxng phasaphma aelaphasaithysasnaswnihynbthuxphraphuththsasnanikaykungcxng swnnxynbthuxnikaykungoyn 3 enuxha 1 prawti 2 thimakhxngchux 2 1 chuxthichawphmaicheriyk 2 2 chuxthichawithyicheriyk 2 3 chuxthichawtangchatiicheriyk 2 3 1 chawxngkvs 2 3 2 chawcin 3 xiththiphlkhxngphma 4 thinthixyupccubn 5 silpaaelawthnthrrm 5 1 sngkhmaelapraephni 5 2 phasa 5 3 xksr 5 4 sasna 5 5 sthaptykrrmaelaphuththsilp 5 6 chudaetngkay 5 7 xahar 5 8 silpakaraesdng 6 xangxing 7 aehlngkhxmulxunprawti aekikhchawithihy hrux chan hrux chan epnklumkhnklumhnungthixyuinekhtphma txnitkhxngcin aelaphakhehnuxkhxngpraethsithy chawithihythixyuinekhtpraethscin eriyktnexngwaepnithehnuxdwythuxwaxasy xyuthangehnuxkhxngaemnakhng sakhakhxngaemnasalawin aelacaeriykchawithihyinphma waepnithit inpraethsithy michawithihyxphyphekhamaxasyxyuincnghwdaemhxngsxn echiyngray aelaechiyngihm caktxnitkhxngpraethscinemuxpramanstwrrsthi 17thimakhxngchux aekikhkhawa ithihy epnchuxthichawithihykhunekhymanan khwbkhukbkhathichawithihymkkhnannamtnexngwa ithihynxy aetnxkehnuxcakchawithihyinpraethsithyaelwimmikhn ruckkhawa ithihy chawithihyeriyktnexngwait chawphmaeriykchawithihywa chan hrux chan sungepntnekhaihchawtawntkeriykchawithihy inkhnathichawkachinhruxcingephaaeriykwa xasam chawxachang chawpahlxng aelachawwaeriykwa esiym khathnghmdnimacakrakehngakhxngkhaedimkhux syam sam hrux sam thngsin swnchawcinhnmiwithieriykchawithihythiaetktangxxkip khux ichkhathiaesdnglksnakhxngchnchati makhnannam echn eriykwa phwkesuxkhaw payyi phwkfnthxng cinchux phwkfnengin hyinchux phwkfnda ehychux aelayngmi chuxxun echn ehliyw hlaw hmanghman phwkeywrxyepha aelahyi epntn cincamikareriykchuxchawithihyepliyn aeplngiptamrayaewlathangprawtisastr 8 chuxthichawphmaicheriyk aekikh chan khuxchuxthichawphmaicheriykchawithihy chuxthichawithyicheriyk aekikh engiyw epnkhathichawlannainaethbechiyngihmicheriykchawithihy swnchawechiyngrayeriykkhanchawithihywa itihy hrux khnit swnchawithyphakhklangeriykchawithihywa ithihy odykareriykchuxnimimaaetsmyxyuthyaaelw ody simng edx la luaebr rachthutkhxngphraecahluysthi 14 aehngfrngess thamkhnxyuthyawa khnithymithiihnbang odyethxbxkwa khnithymithng ithihyaelaithnxy aelaethxyngbxkwatnepnithnxy aesdngihehnwakhnxyuthyakhuxchawithnxyaelamxngkhnithihywaimtangcaktnthuxwaepnkhnithyehmuxnkn xnung chawsyamthikhaphecaklawthungni eriyktwexngwaithnxy Tai Noe khuxsyamnxy Little Siam tamthikhaphecaidrbkhabxkela yngmikhnxikcaphwkhnungsungpaethuxnthisuderiykknwaithihy Tai Yai khuxsyamihy Great Siam xnepnphwkthixyuthangekhtekhaphakhehnux 9 chuxthichawtangchatiicheriyk aekikh chawxngkvs aekikh chan khuxchuxthichawxngkvsicheriykchawithihy odyeriyktamchawphma chawcin aekikh tapayyi payyi cinchux ehychux khuxkhathichawcinhnicheriykchawithihyxiththiphlkhxngphma aekikhprawtisastrithihyetmipdwyeruxngrawkhxngsngkhram cnkareriynprawtisastrkhxngchawithihyklayepnwichatxnghammatngaetsmyxngkvspkkhrxng xiththiphlthangwthnthrrmkhxngphmainithihycungmimak sungekiywphnkbprawtisastraelakaremuxng 10 klawkhuxemuxphmamixiththiphlthangkarpkkhrxngkcaeknthihecafaithihysnglukchayaelaluksawipemuxnghlwngphma ecahyingecachayehlanicungidrbwthnthrrmphmama aelanaklbmaephyaephraekprachachnithihyinrupaebbkhxngphasa dntri natsilp aelakhnbthrrmeniympraephnitang 11 echn ekidkhwamniymwa wrrnkhdithiipheraasabsungkhwrmikhaphmaphukphsmphsankbkhaith 12 13 thinthixyupccubn aekikhchawithihymithinkaenidxyuthirthchan praethsphma eriyktwexngwa khnit swnchawlannamkeriykwa engiyw miemuxnghlwngthithuxkaenidkhux txngci miemuxngtang thiepnemuxngkhxngchawithihymaaetobran idaek emuxngaesnhwi sipx nakha hmuec emuxngnay emuxngpn emuxngyxnghwy emuxngkael emuxngyang emuxngmid epntn 14 nxkcaknnyngmichawithihyxphyphmaxyuinpraethsithy echn cnghwdaemhxngsxn cnghwdechiyngray aelaxaephxechiyngdaw xaephxewiyngaehng thangtxnehnuxkhxngcnghwdechiyngihm aelayngmithixyuxasy thangtawntkechiyngitkhxngmnthlyunan praethscin echn emuxngmaw emuxngwn emuxnghla emuxngkhxn epntn aelabangswnkhxngrthxssm praethsxinediy odyechphaathitablsangpani aekhwngemuxngsiphphsakhraelaxrunaclpraeths 15 silpaaelawthnthrrm aekikh wdtxaeph cnghwdaemhxngsxn khawkncinepnxaharithihy karfxnnkkingkahra ekhruxngaetngkaystriithihy sngkhmaelapraephni aekikh chawithihymkprakxbxachiphekstrkrrmaelakarkhakhay nbthuxsasnaphuththkhwbkhukbphutphiaelasingskdisiththi thimiwithikarptibtixyangekhrngkhrd swnihyxyuinrupkhxngethwdaaelaphiesuxbanesuxemuxng aelayudthuxinkarthabuyaetlapraephniepnxyangmak dngpraoykhthiklawiwwa kinxyangman tanxyangit sunghmaythungwa chawithihyniymkarthabuythathanmak 15 praephnipxysanglxng ethskalkhxngithihytamptithincnthrkhti prakxbdwywnelinsam Wan Lern Saam ineduxnkumphaphnth echuxknwaepnkarerimtnvdurxn pxysxnna Poy son Nam hrux sngkrant aelapxyomkif Poy Moak Fai hruxbuybngif ineduxnemsayn ekhawa Kao Waa hruxekhaphrrrsa xxkwa Oak Waa hruxxxkphrrsa aelayiepnghruxlxykrathng 16 phasa aekikh phasaithihyepnwichaeluxkhnungphayinrth ecakhunsamsungepnecahnathifaywthnthrrmrthchaninxdit ekhyxxksarwckhnithihyinphma phbwamikhnithihyphudphasaithihymakmayhlayaehng aetimmicanwnthiaennxn ephraakhnithihyehlanncaeriyktnexngwaepnphma phudphasaphma aetngkayepnphma 17 xksr aekikh xksrithihy phthnamacakxksrithitkhngeka sungepnxksrthiichinhmuchawithihythnghmd odyyngkhngmilksnaklm enuxngcakimidepliynipekhiyndwyphuknehmuxnxksrithitkhng xksrthwngxk emuxrthchantkepnemuxngkhunkhxngxngkvsemux ph s 2428 thangxngkvsidsngesrimihchawithihyphthnaxksrkhxngtnkhunihm aelacdihmikarphimph thaihrupxksrthiekidcakkarhlxtwphimphmilksnapxm klmkhlayxksrphmamakkhun sasna aekikh chawithihyswnihynbthuxsasnaphuthth sasnaphuththerimekhamamibthbathinklumchawithihythixasyxyuinrthchantngaet ph s 2015 inchwngthiphrayankhmphiredinthangmacakechiyngihmipephyaephrsasnaphuththnikayoyn chawithihyyngnbthuxethphaelaphiecaemuxngdwy epnkhwamechuxdngedimthiechuxwaecaemuxngthiesiychiwitipaelwcayngkhngpkpkrksachawbaninchumchn chawithihyyngmikhwamechuxineruxngkhxngolkhnaxikdwy 18 sthaptykrrmaelaphuththsilp aekikh eruxnchawithihyniymsrangeruxnitthunetiy hlngkhacwediyw hakepnkhrwkhrxbihyniymsrangepnhlngkhasxngcwnganphuththsilpkhxngchawithihymiwiwthnakarkhlaykbchawsyam tangkrbexaphraphuththsasnaethrwathaebblngkawngsma idrbxiththiphlmacaksilpamxyphma aetmiexklksnepnkhxngtnexngphayitkrxbkhxngsilpaaebbmxyphmawd hrux cxng inphasaithihy niymsrangxuobsth wihar hxchn kudisngkh xyutidkninlksnaeruxnhmuaebbkhnithy aetsranghlngkhakhxngxakhartang thrngyxdprasathaebbphmamxy eriykwa thrngphyathatu aetldcanwnchnaelakhwamsbsxnkhxngokhrngsranglngip swnecdiymilksnakhlaykbsthupecdiyaebbmxyphma aetmikarprayuktodykhyayswnsungephimkhun thaihecdiyithihymirupthrngsungchludmakkwaecdiyphmakarsrangphraphuththruppangtang niymaekaslkcakhinhyk hruxepnphraphuththimaekaslkpidthxngaelwpradbdwykrack srangepnphraphuththruppangtang khrbthng 4 xiriyabth idaek nng yun nxn edin mirupphraphktraebbphma aelayngniymsrangrupphraxrhntxupkhut rwmthungruppratimakrrmtang thisrangthwayepnphuththbucha echn rupsingh ruphngs rupkhnfxnra epntn swnngancitrkrrmmilksnaphsmphsanrahwangsilpaithyaelaphma klawkhux niymekhiynphaphcakphuththprawti phaphchadk mithngtwlakhrthiaetngkayaebbphma ekhiyntwlakhrthiaetngkaythrngmngkudyxdaehlm miekhruxngaetngkayehmuxncitrkrrmithy dannganpranitsilp idaek ekhruxngekhin epnekhruxngichsahrbphrasngkh batrphra phansahrbisekhruxngbucha thacakimtkaetngdwykarlngekhin hruxlngrkpidthxngaelapradbdwykrack nganpranitsilpthithuxepnexklksnkhxngchawithihykhux laychlu epnkarchlulayaebbthiphasaphakhklangeriykwa nganthxngaephlwd aetchawithihyeriykwa layitr naipichtkaetngxakharinwdwaxaram sala hruxsingkxsrangtang 19 chudaetngkay aekikh strichawithihyniymswmesuxaeskh epnesuxenuxbangaekhnyawhruxsamswn paysabesuxthbipthangkhwaodyichkradumphahruxkradumolhasxdyudhwng nungsinenuxbang echn sinkxng sinswytxng sinpalxng sinhlay sinhayya sinthungcab aelasinpaeta thrngphmeklamwytamxayu swnburusniymswmesuxaeskhhruxesuxaetkpung epnesuxaekhnyaw khxklm kradumphahna mikraepaesux nungkangekngsadxeriykwa eriykwa knit hrux oknohngoyng mdexwaelaekhiynhwdwyphasixxn echn sikhaw chmphu hruxehluxng 15 xahar aekikh chawithihyniymkinkhawecaepnxaharhlk xaharthirbprathanswnihyprakxbdwyphk ichnamnngainkarprungxahar xaharniymprungcakthwena 20 xaharithyihy echn khawkncinhruxkhawengiyw khawsm aelaxubik epntn silpakaraesdng aekikh silpakaraesdngthioddednkhxngchawithihy khux karfxnnkkingkahla epnkaraesdngprakxbkarechlimchlxngpraephnixxkhwa hrux nganxxkphrrsa sungtrngkbpraephnieduxn 11 odymikhwamechuxmoyngkbtanankhwamechuxthangphuththsasna emuxkhrngphraphuththecaidesdcipoprdphramardaaelaethwdayngchnswrrkhdawdungs aelaemuxesdcniwtiyngolkmnusy sungtrngkbwnxxkphrrsahruxwnethoworhna 21 xangxing aekikh rayngancakedxaewildaefktbuk chawithihymicanwnrxyla 9 khxngprachakrphmathnghmd 55 lankhn hruxpraman 5 lankhn 1 0 1 1 The Shan People The Peoples of the World Foundation subkhnemux 2015 01 16 2 0 2 1 2 2 The World Factbook Central Intelligence Agency cia gov subkhnemux 24 January 2018 esmxchy phulsuwrrn rthchan emuxngit phlwtikhxngchatiphnthuinbribthprawtisastraelakaremuxngrwmsmy krungethph sunymanusywithyasirinthr xngkhkarmhachn 2552 hna 66 ywn inywnphay kepn law khk sucitt wngseths 21 knyayn 2555 subkhnemux 14 kumphaphnth 2558 Check date values in accessdate date help 5 0 5 1 Shan people Encyclopedia Britannica phasaxngkvs subkhnemux 2020 08 26 Sao Saimong The Shan States and the British Annexation Cornell University Cornell 1969 2nd ed FACTBOX The Shan Myanmar s largest minority Reuters phasaxngkvs 2007 08 30 subkhnemux 2020 08 26 sthabnithihysuksa withyalychumchnaemhxngsxn www taiyai org www taiyai org Simon de La Loubere 1986 7 xangin niti phwkhrphnthu 2558 24 Maung Htin Aung 1967 A History of Burma New York and London Cambridge University Press p 95 Lt Gen Sir Arthur P Phayre 1967 History of Burma 2 ed London Susil Gupta pp 108 109 Mae Sai Evacuated as Shells Hit Town Bangkok Post 12 May 2002 Mortar Rounds Hit Thai Outpost 2 Injured Bangkok Post 20 June 2002 p 1 ithihy sanksilpaaelawthnthrrm mhawithyalyrachphtechiyngray 15 0 15 1 15 2 ithihy sanksngesrimsilpwthnthrrm mhawithyalyechiyngihm ithihy wadwyekhruxngaetngkay sunymanusywithyasirinthr xngkhkarmhachn Shan A language of Myanmar Ethnologue subkhnemux 2006 12 02 sasnaaelakhwamechux sasnaaelakhwamechux chmsilpaithihyinaemhxngsxn ithysuksa withichiwit chawit inkaemhxngsxn echiyngihmniws krabwnkarsrangsrrkhrupaebbkarfxnnkkingkahla mhawithyalyxublrachthani aehlngkhxmulxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb ithihyShan State Government Office Shan People H R H Prince Hso Khan Pha of Yawnghwe Archived 2006 06 24 thi ewyaebkaemchchin Shan Relief Foundation Archived 2018 03 20 thi ewyaebkaemchchin Shan Human Rights Foundation Shan Women s Action Network SWAN Shan language page from Ethnologue site Photos of Shan State Army South SSA S military outposts along the border of Thailand Chiang Rai province Help without Frontiers Shan Tradition Rules in a Northern Thai Town Sai Silp The Irrawaddy April 5 2007 http www claudiawiens com englisch vorlage e html Archived 2009 01 26 thi ewyaebkaemchchin Claudia Wiens a photo essay about tribal people in Shan State Thai Yai cultural dance at Mae Hong Son Thailand Archived 2012 02 29 thi ewyaebkaemchchin bthkhwamekiywkbmnusy manusywithya aelaeruxngthiekiywkhxngniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul ekhathungcak https th wikipedia org w index php title ithihy amp oldid 9918630, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม