fbpx
วิกิพีเดีย

เส้นประสาทเฟเชียล

เส้นประสาทเฟเชียล หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 (อังกฤษ: Facial nerve) เป็นหนึ่งในเส้นประสาทสมองจากจำนวนทั้งหมด 12 คู่ เส้นประสาทนี้ออกมาจากก้านสมองที่ระหว่างพอนส์และเมดัลลา ออบลองกาตา และทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อแสดงสีหน้า และรับรสจากส่วนด้านหน้า 2/3 ของลิ้นและช่องปาก นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เลี้ยงใยประสาทก่อนปมประสาทของพาราซิมพาเทติกไปยังปมประสาทของศีรษะและคออีกจำนวนมาก

เส้นประสาทเฟเชียล หรือ
เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7
(Facial nerve)
เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินnervus facialis
MeSHD005154
นิวโรเนมส์551
TA98A14.2.01.099
TA26284
FMA50868
ศัพท์กายวิภาคศาสตร์ของประสาทกายวิภาคศาสตร์
[แก้ไขบนวิกิสนเทศ]

เส้นทาง

เส้นประสาทเฟเชียลสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนในกะโหลกศีรษะ (intracranial portion) ส่วนในกระดูกขมับ (intratemporal portion) และส่วนนอกกระดูกขมับ (extratemporal portion)

ส่วนในกะโหลกศีรษะ

ใยประสาทสั่งการของเส้นประสาทเฟเชียลเริ่มตั้งแต่บริเวณซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ จนถึงใยประสาทขมวดเป็นเส้นประสาทเฟเชียลและออกจากสมองที่มุมซีรีเบลโลพอนทีน (cerebellopontine angle) สามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  • วิถีก่อนถึงเฟเชียล นิวเคลียส (supranuclear pathway) ใยประสาทเริ่มจากบริเวณซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ บริเวณลอนสมองไพรมารี มอเตอร์ คอร์เท็กซ์ (primary motor cortex) และลอนสมองโพสต์เซนทรัล (postcentral gyrus) ที่ทำหน้าที่ควบคุมใบหน้า แล้วไปทางวิถีประสาทคอร์ติโคบัลบาร์ (corticobulbar tract) ผ่านอินเทอร์นัล แคปซูลและก้านสมอง ใยประสาทส่วนใหญ่ข้ามฝั่งไปยังเฟเชียล นิวเคลียส (facial nucleus) ในก้านสมองด้านตรงข้าม ใยประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่ควบคุมครึ่งบนและครึ่งล่างของใบหน้าด้านตรงข้ามกับใยประสาท ส่วนใยประสาทที่เหลือจะลงมายังเฟเชียล นิวเคลียสในก้านสมองด้านเดียวกัน ทำหน้าที่ควบคุมใบหน้าครึ่งบนของใบหน้าด้านเดียวกันกับใยประสาท
นอกจากใยประสาทนี้แล้ว ยังมีใยประสาทนอกพีระมิด (extrapyramidal system) มายังเฟเชียล นิวเคลียสเพื่อช่วยควบคุมความตึงตัวและประสานการเคลื่อนไหวใบหน้า รวมทั้งการประสานอารมณ์กับการแสดงสีหน้า ทั้งจากบริเวณสมองกลีบหน้า (frontal lobe) โกลบัส พาลลิดัส (globus pallidus) และไฮโปทาลามัส (hypothalamus)
  • เฟเชียล นิวเคลียส (facial nucleus) เป็นกลุ่มเส้นประสาทเฟเชียล อยู่บริเวณส่วนล่างของพอนส์ ใต้โพรงสมองที่สี่ มีสองข้าง โดยแต่ละข้างแบ่งออกเป็นครึ่งบนและครึ่งล่าง ครึ่งบนทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทควบคุมกล้ามเนื้อครึ่งบนของใบหน้า เช่น กล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิส กล้ามเนื้อหลับตา เป็นต้น ส่วนครึ่งล่างส่งกระแสประสาทควบคุมกล้ามเนื้อครึ่งล่างของใบหน้า
  • วิถีหลังเฟเชียล นิวเคลียส (infranuclear pathway) ใยประสาทสั่งการวิ่งด้านใกล้กลางของแอบดิวเซนต์ นิวเคลียส (Abducens nucleus) และอ้อมออกทางด้านข้าง ผ่านระหว่างเฟเชียล นิวเคลียส และสไปนัล ไทรเจมินัล นิวเคลียส (Spinal trigeminal nucleus) ออกจากพอนส์ เข้าไปรวมกับใยประสาทรับความรู้สึก (ชื่อว่า เนอร์วัส อินเตอร์มีเดียส (nervus intermedius)) ที่บริเวณมุมซีรีเบลโลพอนทีน (cerebellopontine angle) ออกมาเป็นลำเส้นประสาทเฟเชียล ก่อนจะเข้าไปในกระดูกขมับ

ส่วนในกระดูกขมับ

 
เส้นประสาทเฟเชียลส่วนในกระดูกขมับ

เส้นประสาทเฟเชียลเข้าสู่ส่วนพีทรัสของกระดูกขมับ (Petrous portion of temporal bone) ผ่านทางปากรูประสาทหู (internal acoustic meatus) วิ่งคดเคี้ยวอยู่ภายในคลองประสาทเฟเชียล (facial canal) จนออกจากกระดูกขมับที่ช่องสไตโลมาสตอยด์ (stylomastoid foramen) แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่

  • Meatal portion ยาวประมาณ 5-12 มิลลิเมตร เป็นส่วนที่อยู่ในปากรูประสาทหู โดยมีเส้นประสาทที่วิ่งขนานไปด้วยกัน คือ เนอร์วัส อินเตอร์มีเดียส และเส้นประสาทหู (เส้นประสาทสมองเส้นที่ 8)
  • Labyrinthine portion ยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร เป็นจุดเริ่มต้นของคลองประสาทเฟเชียล ปลายของส่วนนี้ขยายใหญ่เป็นปมประสาทเจนิคิวเลต (geniculate ganglion) ให้แขนงออกมาเป็นเส้นประสาทเกรทเทอร์ พีโทรซัล (greater petrosal nerve)
  • Tympanic portion หรือ Horizontal portion จากปมประสาทเจนิคิวเลต เส้นประสาทเฟเชียลจะวกกลับด้านหลังทำมุมประมาณ 90 องศา จากนั้นวิ่งตรงแล้ววกกลับลงล่างทำมุมประมาณ 95-125 องศาที่ตำแหน่งใต้หลอดครึ่งวงกลมอันข้าง (lateral semicircular canal) เหนือช่องรูปไข่ (oval window)
  • Mastoid portion หรือ Vertical portion ยาวประมาณ 13-15 มิลลิเมตร เส้นประสาทเฟเชียลส่วนนี้วิ่งลงไปจนออกจากกระดูกขมับที่ช่องสไตโลมาสตอยด์ ส่วนนี้มีแขนงออกมา 2 เส้นได้แก่ เส้นประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อสเตปีเดียส (Nerve to stapedius) และเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี (Chorda tympani nerve)

ส่วนนอกกระดูกขมับ

 
เส้นประสาทของหลังศีรษะ ใบหน้า และด้านข้างคอ (แสดงเส้นประสาทเฟเชียลส่วนนอกกระดูกขมับ อยู่บริเวณกลางภาพ)

หลังจากเส้นประสาทเฟเชียลออกจากช่องสไตโลมาสตอยด์ จะแตกแขนงออกมาเป็นเส้นประสาทโพสทีเรียร์ออริคิวลาร์ (posterior auricular nerve) เส้นประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อไดแกสตริกมัดหลัง (Posterior belly of Digastric) และกล้ามเนื้อสไตโลไฮออยด์ (Stylohyoid muscle) แล้ววิ่งผ่านกลางต่อมน้ำลายพาโรติดแบ่งต่อมน้ำลายเป็นกลีบผิว และกลีบลึก ในต่อมน้ำลายพาโรติดเส้นประสาทเฟเชียลจะแตกแขนงออกจำนวนมาก โดยตอนแรกแบ่งออกเป็นสองแขนงหลัก แล้วแยกย่อยออกอีกรวมเป็น 5 แขนง

  • Temporofacial division เลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนบน แยกออกเป็น
    • แขนงขมับของเส้นประสาทเฟเชียล (Temporal branch of the facial nerve)
    • แขนงโหนกแก้มของเส้นประสาทเฟเชียล (Zygomatic branch of the facial nerve)
  • Cervicofacial division เลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนล่าง แยกออกเป็น
    • แขนงด้านแก้มของเส้นประสาทเฟเชียล (Buccal branch of the facial nerve)
    • แขนงมุมกรามของเส้นประสาทเฟเชียล (Marginal mandibular branch of the facial nerve)
    • แขนงคอของเส้นประสาทเฟเชียล (Cervical branch of the facial nerve)

แขนง

ส่วนในกระดูกขมับ

  • เส้นประสาทเกรทเทอร์ พีโทรซัล (Greater petrosal nerve) เป็นประสาทพาราซิมพาเทติกเลี้ยงต่อมน้ำตา โพรงอากาศสฟีนอยด์ (sphenoid sinus) โพรงอากาศหน้าผาก (frontal sinus) โพรงอากาศขากรรไกรบน (maxillary sinus) โพรงอากาศเอทมอยด์ (ethmoid sinus) โพรงจมูก รวมทั้งรับรสชาติจากเพดานปากผ่านทางเส้นประสาทวิเดียน (Vidian nerve)
  • เส้นประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อสเตปีเดียส (Nerve to stapedius) ทำหน้าที่สั่งการกล้ามเนื้อสเตปีเดียสในหูชั้นกลาง
  • เส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี (Chorda tympani nerve) รับรสชาติจากด้านหน้า 2/3 ของลิ้น

ส่วนนอกกระดูกขมับ

  • เส้นประสาทโพสทีเรียร์ออริคิวลาร์ (posterior auricular nerve) ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหนังศีรษะที่อยู่รอบใบหูบางส่วน
  • แขนงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไดแกสตริกมัดหลัง (Posterior belly of Digastric) และกล้ามเนื้อสไตโลไฮออยด์ (Stylohyoid muscle)
  • แขนงหลักของเส้นประสาทเฟเชียลทั้งห้า
    • แขนงขมับของเส้นประสาทเฟเชียล
    • แขนงโหนกแก้มของเส้นประสาทเฟเชียล
    • แขนงด้านแก้มของเส้นประสาทเฟเชียล
    • แขนงมุมกรามของเส้นประสาทเฟเชียล
    • แขนงคอของเส้นประสาทเฟเชียล

หน้าที่

ประสาทนำออก

เส้นประสาทเฟเชียลทำหน้าที่หลักในการสั่งการควบคุมกลุ่มกล้ามเนื้อแสดงสีหน้า (muscles of facial expression) และยังสั่งการไปยังกล้ามเนื้อไดแกสตริกมัดหลัง (posterior belly of the digastric muscle) กล้ามเนื้อสไตโลไฮออยด์ (stylohyoid) และกล้ามเนื้อสเตปีเดียสในหูชั้นกลาง (stapedius) กล้ามเนื้อเหล่านี้เป็นกล้ามเนื้อลายที่เจริญมาจากส่วนโค้งคอหอยที่สอง (2nd pharyngeal arch)

เส้นประสาทเฟเชียลยังมีใยประสาทพาราซิมพาเทติกไปยังต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร (submandibular gland) และต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (sublingual gland) ผ่านทางเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี (chorda tympani) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกมีผลเพิ่มการหลั่งน้ำลายจากต่อมดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีใยประสาทพาราซิมพาเทติกไปเลี้ยงเยื่อเมือกของจมูกและต่อมน้ำตาผ่านทางปมประสาทเทอริโกแพลาทีน (pterygopalatine ganglion)

เส้นประสาทนี้ยังทำหน้าที่เป็นประสาทนำออกในรีเฟล็กซ์กระจกตา (corneal reflex)

ประสาทนำเข้า

เส้นประสาทเฟเชียลรับรู้รสชาติจากด้านหน้าสองในสามของลิ้นผ่านทางเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี การรับรู้รสชาติถูกส่งไปยังส่วนรับความรู้สึกของซอลิเทรี นิวเคลียส (solitary nucleus) ส่วนการรู้สึกทั่วไปของลิ้นจากด้านหน้าสองในสามของลิ้นมาทางเส้นประสาทไทรเจมินัลส่วนที่สาม (third division of trigeminal nerve; V-3) ซึ่งทั้งใยประสาทรับความรู้สึกทั่วไปและความรับรู้รสชาติจะเดินทางมาด้วยกันเป็นระยะทางสั้นๆ ผ่านทางเส้นประสาทลิ้น (lingual nerve) ก่อนที่เส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานีจะแยกจากเส้นประสาทลิ้น

เส้นประสาทจะเข้าสู่หูชั้นกลางผ่านทางรูเปิดพีโทรทิมพานิก (petrotympanic fissure) ซึ่งตรงนี้เส้นประสาทจะไปรวมกับเส้นประสาทเฟเชียลที่เหลือบริเวณคลองเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี จากนั้นใยประสาทรับรู้รสชาติส่วนนี้จะไปถึงปมประสาทเจนิคิวเลต (ซึ่งเป็นปมประสาทของใยประสาทรับรสชาติของเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี และวิถีประสาทรับรสชาติอื่นๆ) จากปมประสาทเจนิคิวเลต ใยประสาทรับรสชาติซึ่งต่อไปเรียกว่าเนอร์วัส อินเตอร์มีเดียส (nervus intermedius) จะเดินทางผ่านปากรูประสาทหูขนานไปกับรากประสาทสั่งการของเส้นประสาทเฟเชียล แล้วเข้าไปยังแอ่งกะโหลกหลัง (posterior cranial fossa) แล้วไซแนปส์กับซอลิเทรี นิวเคลียส

โรคของเส้นประสาทเฟเชียล

การบาดเจ็บหรือความผิดปกติของเส้นประสาทเฟเชียลทำให้เกิดอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกเฉียบพลัน (acute facial nerve paralysis) มีอาการอ่อนแรงของใบหน้าซีกหนึ่งด้านเดียวกับเส้นประสาทที่เป็นโรค อัมพาตเบลล์ (Bell's palsy) เป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกเฉียบพลันชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นได้เอง เกิดจากปมประสาทของเส้นประสาทสมองอักเสบ มักเป็นผลตามมาหลังจากการติดเชื้อไวรัสหรือเป็นผลจากโรคไลม์ (Lyme disease) อัมพาตเบลล์ยังอาจเป็นผลข้างเคียงจากการฉีดยาชาเฉพาะส่วนในทางทันตกรรมผิดตำแหน่ง อัมพาตใบหน้าครึ่งซีกมีอาการใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกซึ่งแสดงอาการคล้ายกับโรคหลอดเลือดสมองได้ แต่อัมพาตชนิดนี้อาการดีขึ้นได้ด้วยยา

การทดสอบเส้นประสาทเฟเชียล

เนื่องจากเส้นประสาทเฟเชียลทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแสดงสีหน้าใต้อำนาจจิตใจ ดังนั้นการทดสอบเส้นประสาทเฟเชียลทำโดยการให้ผู้ถูกทดสอบยักคิ้ว ยิ้มยิงฟัน ขมวดคิ้ว หลับตาสนิท (หากผู้ถูกทดสอบทำไม่ได้ จะเรียกว่า ตาหลับไม่มิด (lagophthalmos)) ทำปากจู๋ ทำแก้มป่อง หากปกติจะต้องสมมาตรทั้งสองซีก

หากมีอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกชนิดเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (upper motor neuron lesion) ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติเฉพาะกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนล่างด้านตรงข้ามกับรอยโรค เนื่องจากกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนบน (ได้แก่กล้ามเนื้อฟรอนทาลิสและกล้ามเนื้อหลับตา) ถูกเลี้ยงด้วยใยเส้นประสาทเฟเชียลทั้งสองข้าง ในขณะที่อัมพาตใบหน้าครึ่งซีกชนิดเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง (lower motor neuron lesion) จะมีอาการอ่อนแรงทั้งใบหน้าส่วนบนและส่วนล่างด้านเดียวกันกับรอยโรค

การทดสอบการรับรสชาติทำโดยการป้ายสารละลายที่มีรสชาติที่บริเวณด้านหน้า 2/3 ของลิ้น หรือใช้การกระตุ้นด้วยขั้วไฟฟ้า

รีเฟล็กซ์กระจกตา (Corneal reflex) เป็นการทดสอบการทำงานของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 5 และ 7 โดยใยประสาทนำเข้านั้นคือใยประสาทรับความรู้สึกทั่วไปของเส้นประสาทไทรเจมินัล ส่วนใยประสาทขาออกคือเส้นประสาทเฟเชียล เมื่อมีการกระตุ้นบริเวณกระจกตาข้างหนึ่งโดยสิ่งแปลกปลอมหรือการสัมผัสจะทำให้มีการกะพริบตาทั้งสองข้างพร้อมกัน กลไกนี้เกิดจากการเส้นประสาทเฟเชียลควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแสดงสีหน้ามัดหนึ่ง ชื่อว่ากล้ามเนื้อหลับตา (Orbicularis oculi) ทำหน้าที่กะพริบตา

รูปประกอบเพิ่มเติม

อ้างอิง

  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544
  2. Kliniska Färdigheter: Informationsutbytet Mellan Patient Och Läkare, LINDGREN, STEFAN, ISBN 91-44-37271-X

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ent/8 จาก eMedicine
  • position of facial nerve on MRI
  • WUSTL - map

เส, นประสาทเฟเช, ยล, หร, เส, นประสาทสมองเส, นท, งกฤษ, facial, nerve, เป, นหน, งในเส, นประสาทสมองจากจำนวนท, งหมด, เส, นประสาทน, ออกมาจากก, านสมองท, ระหว, างพอนส, และเมด, ลลา, ออบลองกาตา, และทำหน, าท, ควบค, มกล, ามเน, อแสดงส, หน, และร, บรสจากส, วนด, านหน, ของล, . esnprasathefechiyl 1 hrux esnprasathsmxngesnthi 7 1 xngkvs Facial nerve epnhnunginesnprasathsmxngcakcanwnthnghmd 12 khu esnprasathnixxkmacakkansmxngthirahwangphxnsaelaemdlla xxblxngkata aelathahnathikhwbkhumklamenuxaesdngsihna aelarbrscakswndanhna 2 3 khxnglinaelachxngpak nxkcakniyngthahnathieliyngiyprasathkxnpmprasathkhxngpharasimphaethtikipyngpmprasathkhxngsirsaaelakhxxikcanwnmakesnprasathefechiyl hruxesnprasathsmxngesnthi 7 Facial nerve esnprasathsmxngesnthi 7raylaexiydtwrabuphasalatinnervus facialisMeSHD005154niworenms551TA98A14 2 01 099TA26284FMA50868sphthkaywiphakhsastrkhxngprasathkaywiphakhsastr aekikhbnwikisneths enuxha 1 esnthang 1 1 swninkaohlksirsa 1 2 swninkradukkhmb 1 3 swnnxkkradukkhmb 2 aekhnng 2 1 swninkradukkhmb 2 2 swnnxkkradukkhmb 3 hnathi 3 1 prasathnaxxk 3 2 prasathnaekha 4 orkhkhxngesnprasathefechiyl 5 karthdsxbesnprasathefechiyl 6 rupprakxbephimetim 7 xangxing 8 aehlngkhxmulxunesnthang aekikhesnprasathefechiylsamarthaebngxxkidepn 3 swnihy khux swninkaohlksirsa intracranial portion swninkradukkhmb intratemporal portion aelaswnnxkkradukkhmb extratemporal portion swninkaohlksirsa aekikh iyprasathsngkarkhxngesnprasathefechiylerimtngaetbriewnsiribrl khxrethks cnthungiyprasathkhmwdepnesnprasathefechiylaelaxxkcaksmxngthimumsirieblolphxnthin cerebellopontine angle samarthaebngxxkidxikepn 3 swn idaek withikxnthungefechiyl niwekhliys supranuclear pathway iyprasatherimcakbriewnsiribrl khxrethks briewnlxnsmxngiphrmari mxetxr khxrethks primary motor cortex aelalxnsmxngophstesnthrl postcentral gyrus thithahnathikhwbkhumibhna aelwipthangwithiprasathkhxrtiokhblbar corticobulbar tract phanxinethxrnl aekhpsulaelakansmxng iyprasathswnihykhamfngipyngefechiyl niwekhliys facial nucleus inkansmxngdantrngkham iyprasathehlanithahnathikhwbkhumkhrungbnaelakhrunglangkhxngibhnadantrngkhamkbiyprasath swniyprasaththiehluxcalngmayngefechiyl niwekhliysinkansmxngdanediywkn thahnathikhwbkhumibhnakhrungbnkhxngibhnadanediywknkbiyprasathnxkcakiyprasathniaelw yngmiiyprasathnxkphiramid extrapyramidal system mayngefechiyl niwekhliysephuxchwykhwbkhumkhwamtungtwaelaprasankarekhluxnihwibhna rwmthngkarprasanxarmnkbkaraesdngsihna thngcakbriewnsmxngklibhna frontal lobe oklbs phallids globus pallidus aelaihopthalams hypothalamus efechiyl niwekhliys facial nucleus epnklumesnprasathefechiyl xyubriewnswnlangkhxngphxns itophrngsmxngthisi misxngkhang odyaetlakhangaebngxxkepnkhrungbnaelakhrunglang khrungbnthahnathisngkraaesprasathkhwbkhumklamenuxkhrungbnkhxngibhna echn klamenuxxxksipiotfrxnthalis klamenuxhlbta 1 epntn swnkhrunglangsngkraaesprasathkhwbkhumklamenuxkhrunglangkhxngibhna withihlngefechiyl niwekhliys infranuclear pathway iyprasathsngkarwingdaniklklangkhxngaexbdiwesnt niwekhliys Abducens nucleus aelaxxmxxkthangdankhang phanrahwangefechiyl niwekhliys aelasipnl ithrecminl niwekhliys Spinal trigeminal nucleus xxkcakphxns ekhaiprwmkbiyprasathrbkhwamrusuk chuxwa enxrws xinetxrmiediys nervus intermedius thibriewnmumsirieblolphxnthin cerebellopontine angle xxkmaepnlaesnprasathefechiyl kxncaekhaipinkradukkhmbswninkradukkhmb aekikh esnprasathefechiylswninkradukkhmb esnprasathefechiylekhasuswnphithrskhxngkradukkhmb Petrous portion of temporal bone phanthangpakruprasathhu internal acoustic meatus wingkhdekhiywxyuphayinkhlxngprasathefechiyl facial canal cnxxkcakkradukkhmbthichxngsitolmastxyd stylomastoid foramen aebngxxkidepn 4 swn idaek Meatal portion yawpraman 5 12 milliemtr epnswnthixyuinpakruprasathhu odymiesnprasaththiwingkhnanipdwykn khux enxrws xinetxrmiediys aelaesnprasathhu esnprasathsmxngesnthi 8 Labyrinthine portion yawpraman 3 5 milliemtr epncuderimtnkhxngkhlxngprasathefechiyl playkhxngswnnikhyayihyepnpmprasathecnikhiwelt geniculate ganglion ihaekhnngxxkmaepnesnprasathekrthethxr phiothrsl greater petrosal nerve Tympanic portion hrux Horizontal portion cakpmprasathecnikhiwelt esnprasathefechiylcawkklbdanhlngthamumpraman 90 xngsa caknnwingtrngaelwwkklblnglangthamumpraman 95 125 xngsathitaaehnngithlxdkhrungwngklmxnkhang lateral semicircular canal ehnuxchxngrupikh oval window Mastoid portion hrux Vertical portion yawpraman 13 15 milliemtr esnprasathefechiylswnniwinglngipcnxxkcakkradukkhmbthichxngsitolmastxyd swnnimiaekhnngxxkma 2 esnidaek esnprasatheliyngklamenuxsetpiediys Nerve to stapedius aelaesnprasathkhxrda thimphani Chorda tympani nerve swnnxkkradukkhmb aekikh esnprasathkhxnghlngsirsa ibhna aeladankhangkhx aesdngesnprasathefechiylswnnxkkradukkhmb xyubriewnklangphaph hlngcakesnprasathefechiylxxkcakchxngsitolmastxyd caaetkaekhnngxxkmaepnesnprasathophsthieriyrxxrikhiwlar posterior auricular nerve esnprasatheliyngklamenuxidaekstrikmdhlng Posterior belly of Digastric aelaklamenuxsitolihxxyd Stylohyoid muscle aelwwingphanklangtxmnalayphaortidaebngtxmnalayepnklibphiw aelaklibluk intxmnalayphaortidesnprasathefechiylcaaetkaekhnngxxkcanwnmak odytxnaerkaebngxxkepnsxngaekhnnghlk aelwaeykyxyxxkxikrwmepn 5 aekhnng Temporofacial division eliyngklamenuxibhnaswnbn aeykxxkepn aekhnngkhmbkhxngesnprasathefechiyl Temporal branch of the facial nerve aekhnngohnkaekmkhxngesnprasathefechiyl Zygomatic branch of the facial nerve Cervicofacial division eliyngklamenuxibhnaswnlang aeykxxkepn aekhnngdanaekmkhxngesnprasathefechiyl Buccal branch of the facial nerve aekhnngmumkramkhxngesnprasathefechiyl Marginal mandibular branch of the facial nerve aekhnngkhxkhxngesnprasathefechiyl Cervical branch of the facial nerve aekhnng aekikhswninkradukkhmb aekikh esnprasathekrthethxr phiothrsl Greater petrosal nerve epnprasathpharasimphaethtikeliyngtxmnata ophrngxakassfinxyd sphenoid sinus ophrngxakashnaphak frontal sinus ophrngxakaskhakrrikrbn maxillary sinus ophrngxakasexthmxyd ethmoid sinus ophrngcmuk rwmthngrbrschaticakephdanpakphanthangesnprasathwiediyn Vidian nerve esnprasatheliyngklamenuxsetpiediys Nerve to stapedius thahnathisngkarklamenuxsetpiediysinhuchnklang esnprasathkhxrda thimphani Chorda tympani nerve rbrschaticakdanhna 2 3 khxnglinswnnxkkradukkhmb aekikh esnprasathophsthieriyrxxrikhiwlar posterior auricular nerve khwbkhumkarekhluxnihwkhxngklamenuxhnngsirsathixyurxbibhubangswn aekhnngipeliyngklamenuxidaekstrikmdhlng Posterior belly of Digastric aelaklamenuxsitolihxxyd Stylohyoid muscle aekhnnghlkkhxngesnprasathefechiylthngha aekhnngkhmbkhxngesnprasathefechiyl aekhnngohnkaekmkhxngesnprasathefechiyl aekhnngdanaekmkhxngesnprasathefechiyl aekhnngmumkramkhxngesnprasathefechiyl aekhnngkhxkhxngesnprasathefechiylhnathi aekikhprasathnaxxk aekikh esnprasathefechiylthahnathihlkinkarsngkarkhwbkhumklumklamenuxaesdngsihna muscles of facial expression aelayngsngkaripyngklamenuxidaekstrikmdhlng posterior belly of the digastric muscle klamenuxsitolihxxyd stylohyoid aelaklamenuxsetpiediysinhuchnklang stapedius klamenuxehlaniepnklamenuxlaythiecriymacakswnokhngkhxhxythisxng 2nd pharyngeal arch esnprasathefechiylyngmiiyprasathpharasimphaethtikipyngtxmnalayitkhakrrikr submandibular gland aelatxmnalayitlin sublingual gland phanthangesnprasathkhxrda thimphani chorda tympani rabbprasathpharasimphaethtikmiphlephimkarhlngnalaycaktxmdngklaw nxkcakniyngmiiyprasathpharasimphaethtikipeliyngeyuxemuxkkhxngcmukaelatxmnataphanthangpmprasathethxriokaephlathin pterygopalatine ganglion esnprasathniyngthahnathiepnprasathnaxxkinrieflkskrackta corneal reflex prasathnaekha aekikh esnprasathefechiylrbrurschaticakdanhnasxnginsamkhxnglinphanthangesnprasathkhxrda thimphani karrbrurschatithuksngipyngswnrbkhwamrusukkhxngsxliethri niwekhliys solitary nucleus swnkarrusukthwipkhxnglincakdanhnasxnginsamkhxnglinmathangesnprasathithrecminlswnthisam third division of trigeminal nerve V 3 sungthngiyprasathrbkhwamrusukthwipaelakhwamrbrurschaticaedinthangmadwyknepnrayathangsn phanthangesnprasathlin lingual nerve kxnthiesnprasathkhxrda thimphanicaaeykcakesnprasathlinesnprasathcaekhasuhuchnklangphanthangruepidphiothrthimphanik petrotympanic fissure sungtrngniesnprasathcaiprwmkbesnprasathefechiylthiehluxbriewnkhlxngesnprasathkhxrda thimphani caknniyprasathrbrurschatiswnnicaipthungpmprasathecnikhiwelt sungepnpmprasathkhxngiyprasathrbrschatikhxngesnprasathkhxrda thimphani aelawithiprasathrbrschatixun cakpmprasathecnikhiwelt iyprasathrbrschatisungtxiperiykwaenxrws xinetxrmiediys nervus intermedius caedinthangphanpakruprasathhukhnanipkbrakprasathsngkarkhxngesnprasathefechiyl aelwekhaipyngaexngkaohlkhlng posterior cranial fossa aelwisaenpskbsxliethri niwekhliysorkhkhxngesnprasathefechiyl aekikhkarbadecbhruxkhwamphidpktikhxngesnprasathefechiylthaihekidxmphatibhnakhrungsikechiybphln acute facial nerve paralysis mixakarxxnaerngkhxngibhnasikhnungdanediywkbesnprasaththiepnorkh xmphatebll Bell s palsy epnxmphatibhnakhrungsikechiybphlnchnidhnungsungekidkhunidexng ekidcakpmprasathkhxngesnprasathsmxngxkesb mkepnphltammahlngcakkartidechuxiwrshruxepnphlcakorkhilm Lyme disease xmphatebllyngxacepnphlkhangekhiyngcakkarchidyachaechphaaswninthangthntkrrmphidtaaehnng xmphatibhnakhrungsikmixakaribhnaebiywkhrungsiksungaesdngxakarkhlaykborkhhlxdeluxdsmxngid aetxmphatchnidnixakardikhuniddwyyakarthdsxbesnprasathefechiyl aekikhenuxngcakesnprasathefechiylthahnathikhwbkhumkarekhluxnihwkhxngklamenuxaesdngsihnaitxanaccitic dngnnkarthdsxbesnprasathefechiylthaodykarihphuthukthdsxbykkhiw yimyingfn khmwdkhiw hlbtasnith hakphuthukthdsxbthaimid caeriykwa tahlbimmid 1 lagophthalmos 2 thapakcu thaaekmpxng hakpkticatxngsmmatrthngsxngsikhakmixmphatibhnakhrungsikchnidesllprasathsngkarswnbn upper motor neuron lesion phupwycamikhwamphidpktiechphaaklamenuxibhnaswnlangdantrngkhamkbrxyorkh enuxngcakklamenuxibhnaswnbn idaekklamenuxfrxnthalisaelaklamenuxhlbta thukeliyngdwyiyesnprasathefechiylthngsxngkhang inkhnathixmphatibhnakhrungsikchnidesllprasathsngkarswnlang lower motor neuron lesion camixakarxxnaerngthngibhnaswnbnaelaswnlangdanediywknkbrxyorkhkarthdsxbkarrbrschatithaodykarpaysarlalaythimirschatithibriewndanhna 2 3 khxnglin hruxichkarkratundwykhwiffarieflkskrackta 1 Corneal reflex epnkarthdsxbkarthangankhxngesnprasathsmxngesnthi 5 aela 7 odyiyprasathnaekhannkhuxiyprasathrbkhwamrusukthwipkhxngesnprasathithrecminl swniyprasathkhaxxkkhuxesnprasathefechiyl emuxmikarkratunbriewnkracktakhanghnungodysingaeplkplxmhruxkarsmphscathaihmikarkaphribtathngsxngkhangphrxmkn klikniekidcakkaresnprasathefechiylkhwbkhumkarthangankhxngklamenuxaesdngsihnamdhnung chuxwaklamenuxhlbta 1 Orbicularis oculi thahnathikaphribtarupprakxbephimetim aekikh mummxngdanlangkhxngsmxng aesdngchuxesnprasathsmxng phaphtdphunphiwkhxngkhxdankhwa aesdngihehnhlxdeluxdaedngkhaortidaelahlxdeluxdaedngitkradukihplara subclavian arteries eyuxduraaelaswnyunkhxngmn emuxepidexasmxngaelakaohlksirsakhrungsikkhwaxxk phaphchaaehlaphunphiwkhxngkansmxng mummxngdanthxng smxngswnthayaelaklang mummxngdankhangdanhlng pmprasathpmprasathethxriokaephlathin aelaaekhnng esnprasathkhakrrikrlang aekhnngkhxngesnprasathithrecminl esnprasathkhakrrikrlang aekhnngkhxngesnprasathithrecminl mummxngcakkungklang aephnphaphesnprasathefechiylaelaenxrws xinethxrmiediys aelaaekhnngechuxmkbesnprasathxun esnthangaelaaekhnngechuxmkhxngesnprasathefechiylinkradukkhmb swnbnkhxng medulla spinalis aelasmxngswnklangaelaswnhlng mxngthangdanhlng mummxngkhxngphnngdaninkhxngophrnghuswnklang khyay eyuxaekwhukhangkhwaaelakradukkhxnaelaesnprasathkhxrda thimphani mummxngcakdanin danhlngdanbn taaehnngkhxngkradukhxnghuchninkhangkhwainkaohlksirsa mummxngcakdanbn phaphchaaehlaesnprasathefechiyl kradukkhmbkhangsay aesdngphunphiwkhxngkhxngophrnghuswnklang aedng ophrnghlxdeluxddatamkhwang fa aelaesnprasathefechiyl ehluxng dankhangkhxngkhx aesdngtaaehnngphunphiwthisakhy aekhnngesnprasathefechiyl esnprasathefechiylinthark esnprasathefechiylinthark esnprasathefechiylinthark esnprasathefechiylintharkxangxing aekikh 1 0 1 1 1 2 1 3 1 4 1 5 sphthbyytirachbnthitysthan Archived 2017 07 15 thi ewyaebkaemchchin khxmulprbprungwnthi 6 singhakhm ph s 2544 Kliniska Fardigheter Informationsutbytet Mellan Patient Och Lakare LINDGREN STEFAN ISBN 91 44 37271 Xaehlngkhxmulxun aekikhent 8 cak eMedicine position of facial nerve on MRI WUSTL mapekhathungcak https th wikipedia org w index php title esnprasathefechiyl amp oldid 9551334, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม