fbpx
วิกิพีเดีย

การประกวดเพลงยูโรวิชัน

การประกวดเพลงชิงชนะเลิศแห่งยุโรป หรือเรียกโดยทั่วไปว่า การประกวดเพลงยูโรวิชัน (อังกฤษ: Eurovision Song Contest; ฝรั่งเศส: Concours Eurovision de la chanson) คือการประกวดเพลงประจำปี ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิก สหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป (European Broadcasting Union: EBU)

การประกวดเพลงยูโรวิชัน
ประเภทประกวดเพลง
สร้างโดยMarcel Bezençon
ผู้ประพันธ์เพลงธีมMarc-Antoine Charpentier
ธีมเปิดTe Deum: Prelude (Marche en rondeau)
ธีมปิดTe Deum: Prelude (Marche en rondeau)
ประเทศแหล่งกำเนิดList of countries
ภาษาต้นฉบับอังกฤษและฝรั่งเศส
จำนวนตอน60 ครั้ง
การผลิต
ความยาวตอน2 ชั่วโมง (รอบคัดเลือก)
3 ชั่วโมง 30 นาที (รอบชิงชนะเลิศ)
4 ชั่วโมง (รอบชิงชนะเลิศ 2015)
บริษัทผู้ผลิตสหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป
ออกอากาศ
ระบบภาพ576i (SDTV) (1956–ปัจจุบัน)
720p (HDTV) (2003–ปัจจุบัน)
1080i (HDTV) (2007–ปัจจุบัน)
4K (UHDTV) (2013–ปัจจุบัน)
ออกอากาศ24 พฤษภาคม ค.ศ. 1956 (1956-05-24) –
ปัจจุบัน
แหล่งข้อมูลอื่น
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
เว็บไซต์การผลิต

รูปแบบการประกวด

ประเทศที่ร่วมเข้าแข่งขันจะเลือกเพลงและนักร้อง ประเทศละหนึ่งชุดโดยใช้ผู้แสดงไม่เกินหกคน ที่จะแสดงสดทางโทรทัศน์ เพลงที่เข้าประกวดต้องเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่ทั้งเนื้อร้องและทำนอง โดยประเภทของเพลงในการแข่งขันมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น อาหรับ, ดนตรีเคลติก, แดนซ์, โฟล์ก, ละติน, นอร์ดิก, ป็อป-แร็ป, ร็อก และอื่น ๆ

ในการตัดสินผู้ชนะ ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา คะแนนจะถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของแต่ละประเทศ และจากผู้ชมซึ่งเป็นประชากรในประเทศสมาชิก EBU ซึ่งอาจรวมไปถึงประเทศอิสราเอล โมร็อกโกและออสเตรเลีย แต่ไม่รวมลิกเตนสไตน์ โดยแต่ละประเทศจะใช้คะแนนจากคณะกรรมการ (Jury Vote) และจากการโหวตของผู้ชมทางโทรศัพท์/การส่งเอสเอ็มเอส/การโหวตผ่านแอพ (Televote) อย่างละครึ่งหนึ่ง ซึ่งแต่ละประเทศไม่มีสิทธิตัดสินหรือโหวตให้กับประเทศของตัวเอง ทุกประเทศมีโอกาสได้คะแนนเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ด้วยเหตุนั้นประเทศรัสเซียจึงมีโอกาสได้คะแนนเท่ากับโมนาโก

ประเทศที่ได้คะแนนมากที่สุดสองอันดับแรกจะได้ 12 และ 10 คะแนน ส่วนอันดับสามถึงสิบจะได้คะแนนตั้งแต่ 8 จนถึง 1 คะแนน โดยในการประกาศผลช่วงท้ายของการถ่ายทอดสดรอบชิงชนะเลิศ จะแบ่งเป็นสองช่วง ได้แก่

  • คะแนนจากคณะกรรมการ โดยประเทศที่ได้ 1-8 และ 10 คะแนน ตัวเลขจะปรากฏบนกระดานคะแนนดิจิทัล ส่วนประเทศที่ได้ 12 คะแนน (อังกฤษ: Twelve Points, ฝรั่งเศส: Douze Points) ตัวแทนของแต่ละประเทศจะเป็นผู้ประกาศ
  • คะแนนจากการโหวตของผู้ชม ทางโทรศัพท์ ข้อความสั้น และแอพ พิธีกรจะเป็นผู้ประกาศเอง โดยในปี 2016-2018 จะประกาศเลขคะแนน ตามด้วยชื่อประเทศที่ได้คะแนนจากการโหวต เรียงจากต่ำสุดไปสูงสุด และตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นไป จะประกาศคะแนนจากผู้ชมของแต่ละประเทศ เรียงตามลำดับประเทศที่ได้คะแนนคณะกรรมการ จากต่ำสุดไปหาสูงสุด

ประเทศที่ได้คะแนนจากทั้งสองส่วนข้างต้นรวมกันมากที่สุด จะเป็นผู้ชนะของการประกวดปีนั้น ๆ หากเกิดกรณีที่มีประเทศที่มีคะแนนเท่ากัน จะตัดสินที่คะแนนรวมจากการโหวตของผู้ชม หากยังเท่ากันจะนับจำนวนคะแนนจากการโหวตของผู้ชมที่ได้รับ เรียงจากคะแนนสูงสุดที่ได้รับไปยังคะแนนต่ำสุด หากยังเท่ากันอีก ประเทศที่มีลำดับการแสดงก่อนจะเป็นผู้ชนะ

ประเทศของผู้ชนะจะได้รับถ้วยหรือเหรียญรางวัล และเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดปีต่อไป โดยประเทศเจ้าภาพกับประเทศที่ออกค่าใช้จ่ายให้กับทาง EBU มากที่สุด ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน และ อิตาลี จะสามารถส่งทีมเข้าประกวดในรอบชิงชนะเลิศได้โดยอัตโนมัติ (ในปี 2015 ออสเตรเลียได้รับสิทธิ์เข้ารอบชิงชนะเลิศโดยอัตโนมัติเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติมอีกหนึ่งประเทศ ในโอกาสครบรอบ 60 ปีการประกวด) ส่วนประเทศที่เหลือทั้งหมดต้องเข้าประกวดรอบคัดเลือก ซึ่งมีสองวันและคัดประเทศเข้ารอบชิงชนะเลิศวันละสิบประเทศ ทำให้รอบชิงชนะเลิศมีประเทศเข้าประกวดทั้งหมด 26 ประเทศ

การออกอากาศ

 
ผู้ชนะเลิศจากปี 2006 จากฟินแลนด์ วงลอร์ดิ

การประกวดเริ่มมีการออกอากาศทุกปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956 ถือเป็นรายการโทรทัศน์ที่มีต่อเนื่องยาวที่สุดในโลก และมีผู้ชมที่ไม่ใช่การแข่งขันกีฬามากที่สุด โดยมีผู้ชมระหว่าง 100 ล้าน - 600 ล้านคน ออกอากาศทั่วทั้งยุโรป และยังแพร่ภาพใน ออสเตรเลีย แคนาดา อียิปต์ ฮ่องกง อินเดีย จอร์แดน เกาหลี นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ และ สหรัฐอเมริกา ถึงแม้ประเทศเหล่านี้จะไม่ได้ร่วมแข่งขันก็ตาม

ตั้งแต่ปี 2000 การแข่งขันได้มีการแพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต และในปี 2015 สหภาพฯ ได้เปิดช่องทางการถ่ายทอดสดผ่านยูทูบ

ผู้มีชื่อเสียงจากการประกวด

ศิลปินดังที่ชนะเลิศจากรายการนี้ เช่น เซลีน ดิออน (สวิสเซอร์แลนด์) ปี 1988, แอ็บบ้า (สวีเดน) ปี 1974, ดานา อินเตอร์เนชันแนล (อิสราเอล) ปี 1998, ลอร์ดิ (ฟินแลนด์) ปี 2006, มาริยา เชริโฟวิช (Marija Šerifović) จากประเทศเซอร์เบีย ปี 2007, ดิมา บิลาน (Dima Bilan) จากรัสเซีย ปี 2008 และ อเล็กซานเดอร์ รืยบัค (Alexander Rybak) จากนอร์เวย์ ปี 2009 และเลนา เมเยอร์-ลันดรุท (Lena Meyer-Landrut) จากเยอรมนี ปี 2010

เจ้าภาพและผู้ชนะในแต่ละปี

 
ประเทศที่เคยเข้าร่วมแข่งขัน
ครั้งที่ วันที่แข่ง ปี เครือข่ายที่ทำการถ่ายทอดสด สถานที่ เมือง จำนวนประเทศที่เข้าร่วม ประเทศที่เข้าร่วมใหม่ ประเทศที่ไม่เข้าร่วมในปีนี้ ประเทศที่กลับมาเข้าร่วมใหม่ ประเทศที่ชนะ
1 24 พฤษภาคม 1956 (2499) SSR Teatro Kursaal   ลูกาโน 7   เบลเยี่ยม
  ฝรั่งเศส
  เยอรมนี
  อิตาลี
  ลักเซมเบิร์ก
  เนเธอร์แลนด์
  สวิตเซอร์แลนด์
- -   สวิตเซอร์แลนด์
2 3 มีนาคม 1957 (2500) ARD Großer Sendesaal   แฟรงก์เฟิร์ต 10   ออสเตรีย
  เดนมาร์ก
  สหราชอาณาจักร
- -   เนเธอร์แลนด์
3 12 มีนาคม 1958 (2501) NTS AVRO Studio   ฮิลเวอร์ซัม 10   สวีเดน   สหราชอาณาจักร -   ฝรั่งเศส
4 11 มีนาคม 1959 (2502) RTF Palais des Festivals   กาน 11   โมนาโก   ลักเซมเบิร์ก   สหราชอาณาจักร   เนเธอร์แลนด์
5 25 มีนาคม 1960 (2503) BBC Royal Festival Hall   ลอนดอน 13   นอร์เวย์ -   ลักเซมเบิร์ก   ฝรั่งเศส
6 18 มีนาคม 1961 (2504) RTF Palais des Festivals   กาน 16   ฟินแลนด์
  สเปน
  ยูโกสลาเวีย
- -   ลักเซมเบิร์ก
7 18 มีนาคม 1962 (2505) CLT Villa Louvigny   ลักเซมเบิร์ก 16 - - -   ฝรั่งเศส
8 23 มีนาคม 1963 (2506) BBC BBC Television Centre   ลอนดอน 16 - - -   เดนมาร์ก
9 21 มีนาคม 1964 (2507) DR Tivoli Concert Hall   โคเปนเฮเกน 16   โปรตุเกส   สวีเดน -   อิตาลี
10 20 มีนาคม 1965 (2508) RAI RAI Television Centre   เนเปิลส์ 18   ไอร์แลนด์ -   สวีเดน   ลักเซมเบิร์ก
11 5 มีนาคม 1966 (2509) CLT Villa Louvigny   ลักเซมเบิร์ก 18 - - -   ออสเตรีย
12 8 เมษายน 1967 (2510) ORF Hofburg Imperial Palace   เวียนนา 17 -   เดนมาร์ก -   สหราชอาณาจักร
13 6 เมษายน 1968 (2511) BBC
เริ่มออกอากาศเป็นภาพสี
Royal Albert Hall   ลอนดอน 17 - - -   สเปน
14 29 มีนาคม 1969 (2512) TVE Teatro Real   มาดริด 16 -   ออสเตรีย -   สเปน
  สหราชอาณาจักร
  เนเธอร์แลนด์
  ฝรั่งเศส
15 21 มีนาคม 1970 (2513) NOS RAI Congrescentrum   อัมสเตอร์ดัม 12 -   ฟินแลนด์
  นอร์เวย์
  โปรตุเกส
  สวีเดน
-   ไอร์แลนด์
16 3 เมษายน 1971 (2514) RTÉ Gaiety Theatre   ดับลิน 18   มอลตา -   ออสเตรีย
  ฟินแลนด์
  นอร์เวย์
  โปรตุเกส
  สวีเดน
  โมนาโก
17 25 มีนาคม 1972 (2515) BBC Usher Hall   เอดินบะระ 18 - - -   ลักเซมเบิร์ก
18 7 เมษายน 1973 (2516) CLT Nouveau Théâtre Luxembourg   ลักเซมเบิร์ก 17   อิสราเอล   ออสเตรีย
  มอลตา
-   ลักเซมเบิร์ก
19 6 เมษายน 1974 (2517) BBC Brighton Dome   ไบรตัน 17   กรีซ   ฝรั่งเศส -   สวีเดน
20 22 มีนาคม 1975 (2518) SR Stockholm International Fairs   สต็อกโฮล์ม 19   ตุรกี   กรีซ   ฝรั่งเศส
  มอลตา
  เนเธอร์แลนด์
21 3 เมษายน 1976 (2519) NOS Congresgebouw   เดอะเฮก 18   ลิกเตนสไตน์ แต่ภายหลังยกเลิก   มอลตา
  สวีเดน
  ตุรกี
  ออสเตรีย
  กรีซ
  สหราชอาณาจักร
22 7 พฤษภาคม 1977 (2520) BBC Wembley Conference Centre   ลอนดอน 18   ตูนีเซีย แต่ภายหลังยกเลิก   ยูโกสลาเวีย   สวีเดน   ฝรั่งเศส
23 22 เมษายน 1978 (2521) TF1 Palais des Congrès   ปารีส 20 - -   เดนมาร์ก
  ตุรกี
  อิสราเอล
24 31 มีนาคม 1979 (2522) IBA International Convention Centre   เยรูซาเลม 19 -   ตุรกี -   อิสราเอล
25 19 เมษายน 1980 (2523) NOS Congresgebouw   เดอะเฮก 19   โมร็อกโก   อิสราเอล
  โมนาโก
  ตุรกี   ไอร์แลนด์
26 4 เมษายน 1981 (2524) RTÉ Royal Dublin Society   ดับลิน 20   ไซปรัส   อิตาลี
  โมร็อกโก
  อิสราเอล
  ยูโกสลาเวีย
  สหราชอาณาจักร
27 24 เมษายน 1982 (2525) BBC Harrogate International Centre   ฮาร์โรเกต 18 -   ฝรั่งเศส
  กรีซ
-   เยอรมนี
28 23 เมษายน 1983 (2526) ARD Rudi Sedlmayer Halle   มิวนิก 20 -   ไอร์แลนด์   ฝรั่งเศส
  กรีซ
  อิตาลี
  ลักเซมเบิร์ก
29 5 พฤษภาคม 1984 (2527) CLT Théâtre Municipal   ลักเซมเบิร์ก 19   ไอซ์แลนด์ แต่ภายหลังยกเลิก   กรีซ
  อิสราเอล
  ไอร์แลนด์   สวีเดน
30 4 พฤษภาคม 1985 (2528) SVT Scandinavium   กอเทนเบิร์ก 19 -   เนเธอร์แลนด์
  ยูโกสลาเวีย
  กรีซ
  อิสราเอล
  นอร์เวย์
31 3 พฤษภาคม 1986 (2529) NRK Grieg Hall   แบร์เกน 20   ไอซ์แลนด์   กรีซ
  อิตาลี
  เนเธอร์แลนด์
  ยูโกสลาเวีย
  เบลเยี่ยม
32 9 พฤษภาคม 1987 (2530) RTBF Centenary Palace   บรัสเซลส์ 22 - -   กรีซ
  อิตาลี
  ไอร์แลนด์
33 30 เมษายน 1988 (2531) RTÉ Royal Dublin Society   ดับลิน 21 -   ไซปรัส -   สวิตเซอร์แลนด์
34 6 พฤษภาคม 1989 (2532) SSR Palais de Beaulieu   โลซาน 22 - -   ไซปรัส   ยูโกสลาเวีย
35 5 พฤษภาคม 1990 (2533) JRT Vatroslav Lisinski Concert Hall   ซาเกร็บ 22 - - -   อิตาลี
36 4 พฤษภาคม 1991 (2534) RAI Studio 15 di Cinecittà   โรม 22 -   เนเธอร์แลนด์   มอลตา   สวีเดน
  ฝรั่งเศส (ได้ที่ 2 แต่คะแนนเท่ากัน)
37 9 พฤษภาคม 1992 (2535) SVT Malmö Entertainment Centre   มัลเมอ 23 - -   เนเธอร์แลนด์   ไอร์แลนด์
38 15 พฤษภาคม 1993 (2536) RTÉ Green Glens Arena   มิลล์สตริต 25   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  โครเอเชีย
  สโลวีเนีย
  ยูโกสลาเวีย (เซอร์เบียและมอนเตเนโกร) -   ไอร์แลนด์
39 1 พฤษภาคม 1994 (2537) RTÉ Point Depot   ดับลิน 25   เอสโตเนีย
  ฮังการี
  ลิทัวเนีย
  โปแลนด์
  โรมาเนีย
  รัสเซีย
  สโลวาเกีย
  เบลเยี่ยม
  เดนมาร์ก
  อิสราเอล
  อิตาลี
  ลักเซมเบิร์ก
  สโลวีเนีย
  ตุรกี
-   ไอร์แลนด์
40 13 พฤษภาคม 1995 (2538) RTÉ Point Depot   ดับลิน 23 -   เอสโตเนีย
  ฟินแลนด์
  ลิทัวเนีย
  เนเธอร์แลนด์
  โรมาเนีย
  สโลวาเกีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  เบลเยี่ยม
  เดนมาร์ก
  อิสราเอล
  สโลวีเนีย
  ตุรกี
  นอร์เวย์
41 18 พฤษภาคม 1996 (2539) NRK Oslo Spektrum   ออสโล 23 - -   เอสโตเนีย
  ฟินแลนด์
  เนเธอร์แลนด์
  สโลวาเกีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  ไอร์แลนด์
42 3 พฤษภาคม 1997 (2540) RTÉ Point Depot   ดับลิน 25 -   เบลเยี่ยม
  ฟินแลนด์
  อิสราเอล
  สโลวาเกีย
  อิตาลี   สหราชอาณาจักร
43 9 พฤษภาคม 1998 (2541) BBC National Indoor Arena   เบอร์มิงแฮม 25   อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย   ออสเตรีย
  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  เดนมาร์ก
  ไอซ์แลนด์
  อิตาลี
  รัสเซีย
  เบลเยี่ยม
  ฟินแลนด์
  อิสราเอล
  โรมาเนีย
  สโลวาเกีย
  อิสราเอล
44 29 พฤษภาคม 1999 (2542) IBA International Convention Centre   เยรูซาเลม 23 -   ฟินแลนด์
  กรีซ
  ฮังการี
  อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย
  โรมาเนีย
  สโลวาเกีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  ออสเตรีย
  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  เดนมาร์ก
  ไอซ์แลนด์
  ลิทัวเนีย
  สวีเดน
45 13 พฤษภาคม 2000 (2543) SVT Stockholm Globen Arena   สต็อกโฮล์ม 24   ลัตเวีย   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  ลิทัวเนีย
  โปแลนด์
  โปรตุเกส
  สโลวีเนีย
  ฟินแลนด์
  อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย
  โรมาเนีย
  รัสเซีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  เดนมาร์ก
46 12 พฤษภาคม 2001 (2544) DR Parken Stadium   โคเปนเฮเกน 23 -   ออสเตรีย
  เบลเยี่ยม
  ไซปรัส
  ฟินแลนด์
  อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย
  โรมาเนีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  กรีซ
  ลิทัวเนีย
  โปแลนด์
  โปรตุเกส
  สโลวีเนีย
  เอสโตเนีย
47 25 พฤษภาคม 2002 (2545) ETV Saku Suurhall   ทาลลินน์ 24 -   ไอซ์แลนด์
  ไอร์แลนด์
  เนเธอร์แลนด์
  นอร์เวย์
  โปแลนด์
  โปรตุเกส
  ออสเตรีย
  เบลเยี่ยม
  ไซปรัส
  ฟินแลนด์
  อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย
  โรมาเนีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  ลัตเวีย
48 24 พฤษภาคม 2003 (2546) LTV Skonto Hall   ริกา 26   ยูเครน   เดนมาร์ก
  ฟินแลนด์
  ลิทัวเนีย
  อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย
  สวิตเซอร์แลนด์
  ไอซ์แลนด์
  ไอร์แลนด์
  เนเธอร์แลนด์
  นอร์เวย์
  โปแลนด์
  โปรตุเกส
  ตุรกี
49 15 พฤษภาคม 2004 (2547) TRT Abdi İpekçi Arena   อิสตันบูล 36   แอลบาเนีย
  อันดอร์รา
  เบลารุส
  เซอร์เบียและมอนเตเนโกร
-   เดนมาร์ก
  ฟินแลนด์
  ลิทัวเนีย
  อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย
  โมนาโก
  สวิตเซอร์แลนด์
  ยูเครน
50 21 พฤษภาคม 2005 (2548) NTU Kiev Sports Palace   เคียฟ 39   บัลแกเรีย
  เลบานอน แต่ภายหลังยกเลิก
  มอลโดวา
-   ฮังการี   กรีซ
51 20 พฤษภาคม 2006 (2549) ERT Olympic Indoor Hall   เอเธนส์ 37   อาร์มีเนีย   ออสเตรีย
  ฮังการี
  เซอร์เบียและมอนเตเนโกร
-   ฟินแลนด์
52 12 พฤษภาคม 2007 (2550) YLE Hartwall Arena   เฮลซิงกิ 42   เช็กเกีย
  จอร์เจีย
  มอนเตเนโกร
  เซอร์เบีย
  โมนาโก   ออสเตรีย
  ฮังการี
  เซอร์เบีย
53 24 พฤษภาคม 2008 (2551) RTS Belgrade Arena   เบลเกรด 43   อาเซอร์ไบจาน
  ซานมารีโน
  ออสเตรีย -   รัสเซีย
54 16 พฤษภาคม 2009 (2552) C1R Olimpiyskiy Arena   มอสโก 42 -   จอร์เจีย
  ซานมารีโน
  สโลวาเกีย   นอร์เวย์
55 29 พฤษภาคม 2010 (2553) NRK Telenor Arena   ออสโล 39 -   อันดอร์รา
  เช็กเกีย
  ฮังการี
  มอนเตเนโกร
  จอร์เจีย   เยอรมนี
56 14 พฤษภาคม 2011 (2554) NDR Düsseldorf Arena   ดึสเซลดอร์ฟ 43 - -   ออสเตรีย
  ฮังการี
  อิตาลี
  ซานมาริโน
  อาเซอร์ไบจาน
57 26 พฤษภาคม 2012 (2555) İTV Baku Crystal Hall   บากู 42 -   อาร์มีเนีย
  โปแลนด์
  มอนเตเนโกร   สวีเดน
58 18 พฤษภาคม 2013 (2556) SVT Malmö Arena   มัลเมอ 39 -   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  โปรตุเกส
  สโลวาเกีย
  ตุรกี
  อาร์มีเนีย   เดนมาร์ก
59 10 พฤษภาคม 2014 (2557) DR B&W Hallerne   โคเปนเฮเกน 37 -   บัลแกเรีย
  โครเอเชีย
  ไซปรัส
  เซอร์เบีย
  โปแลนด์
  โปรตุเกส
  ออสเตรีย
60 23 พฤษภาคม 2015 (2558) ORF Wiener Stadthalle   เวียนนา 40   ออสเตรเลีย   ยูเครน   ไซปรัส
  เช็กเกีย
  เซอร์เบีย
  สวีเดน
61 14 พฤษภาคม 2016 (2559) SVT Ericsson Globe   สต็อกโฮล์ม 42 -   โปรตุเกส
  โรมาเนีย
  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  บัลแกเรีย
  โครเอเชีย
  ยูเครน
  ยูเครน
62 20 พฤษภาคม 2017 (2560) NTU International Exhibition Centre   เคียฟ 42 -   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  รัสเซีย
  โปรตุเกส
  โรมาเนีย
  โปรตุเกส
63 12 พฤษภาคม 2018 (2561) RTP Altice Arena   ลิสบอน 43 - -   รัสเซีย   อิสราเอล
64 18 พฤษภาคม 2019 (2562) IPBC Tel Aviv Convention Center   เทลอาวีฟ 41 -   บัลแกเรีย
  ยูเครน
-   เนเธอร์แลนด์
ยกเลิก 16 พฤษภาคม
(ตามที่วางแผน)
2020 (2563) AVROTROS
NPO
NOS
Rotterdam Ahoy   รอตเทอร์ดาม 41
(ตามที่วางแผน)
-   ฮังการี
  มอนเตเนโกร

(ตามที่วางแผน)