fbpx
วิกิพีเดีย

ทฤษฎีเกม

ทฤษฎีเกม เป็นสาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ที่ศึกษาการตัดสินใจของผู้ตัดสินใจหลายฝ่าย โดยที่ผลที่แต่ละฝ่ายได้รับขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้เล่นฝ่ายอื่นๆ เกมในทางทฤษฎีเกมหมายถึงสถานการณ์ใดๆ ที่ผู้ตัดสินใจ (เรียกว่าผู้เล่น) หลายฝ่ายมีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งอาจหมายถึงเกมในความหมายทั่วไป เช่น เป่ายิ้งฉุบหรือหมากรุก หรือหมายถึงสถานการณ์ทางสังคมหรือทางธรรมชาติอื่นๆ ทฤษฎีเกมได้รับการนำไปประยุกต์ใช้ในสาขาสังคมศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐศาสตร์ และในสาขาชีววิทยาวิวัฒนาการและวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้วย

การศึกษาทางทฤษฎีเกมเป็นการศึกษาการตัดสินใจของผู้เล่นที่ตัดสินใจแบบ "เป็นเหตุเป็นผล" ซึ่งหมายถึงการที่ผู้เล่นตัดสินใจโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนและตัดสินใจตามเป้าหมายของตนเองอย่างไม่ผิดพลาด สาขาทฤษฎีเกมในรูปแบบปัจจุบันมักถือกันว่ามีจุดเริ่มต้นจากงานของจอห์น ฟอน นอยมันน์ และอ็อสคาร์ มอร์เกินสแตร์น โดยมีผลงานสำคัญคือหนังสือ "ทฤษฎีว่าด้วยเกมและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ" ที่ตีพิมพ์ในปี 1944 ผลงานของจอห์น แนชในการนิยามและพิสูจน์ทฤษฎีบทเกี่ยวกับสมดุลแบบแนช ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของเกมที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายไม่มีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนการตัดสินใจของตนเอง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้นักวิชาการสาขาต่างๆ สามารถนำวิชาทฤษฎีเกมไปใช้ประยุกต์อย่างแพร่หลาย

ทฤษฎีเกมเป็นเครื่องมือสำคัญของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักในปัจจุบัน นักทฤษฎีเกมหลายคนจึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เริ่มจาก จอห์น แนช, ไรน์ฮาร์ท เซ็ลเทิน และจอห์น ฮาร์ชาญี ในปี 1994

แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีเกม

ในทางทฤษฎีเกม "เกม" หมายถึงสถานการณ์ใดๆ ที่มีผู้ตัดสินใจตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป โดยผู้ตัดสินใจแต่ละฝ่ายมีเป้าหมายของตนเองและผลลัพธ์ที่แต่ละฝ่ายได้รับขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทุกฝ่าย:1-2 ผู้ตัดสินใจแต่ละฝ่ายในเกมเรียกว่า "ผู้เล่น" โดยผู้เล่นนี้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเกมในทฤษฎีเกมทุกประเภท:2 ทฤษฎีเกมตั้งข้อสมมติว่าผู้เล่นทุกฝ่ายตัดสินใจ "อย่างมีเหตุผล" ซึ่งหมายถึงการที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายมีเป้าหมายความต้องการของตัวเองที่ชัดเจนซึ่งมักแสดงในรูปของฟังก์ชันอรรถประโยชน์ และตัดสินใจโดยเลือกทางเลือกที่ทำให้ตัวเองได้รับอรรถประโยชน์สูงสุด:2:4 ทฤษฎีเกมจึงมีความคล้ายกันกับทฤษฎีการตัดสินใจที่ศึกษาการตัดสินใจของผู้ตัดสินใจรายเดียว แต่แตกต่างกันที่ทฤษฎีเกมศึกษาการตัดสินใจในสถานการณ์ที่การตัดสินใจหลายฝ่ายส่งผลซึ่งกันและกัน:1 ในการประยุกต์ทฤษฎีเกมในสาขาต่างๆ ผู้เล่นในเกมอาจใช้หมายถึงปัจเจกบุคคล แต่ก็อาจใช้หมายถึงกลุ่มบุคคล เช่น บริษัท รัฐบาล ไปจนถึงสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น สัตว์ พืช พระเป็นเจ้า เป็นต้น

การวิเคราะห์ทางทฤษฎีเกมมักกำหนดว่าผู้เล่นแต่ละฝ่ายมีฟังก์ชันอรรถประโยชน์แบบฟอน นอยมันน์–มอร์เกินสแตร์น ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ หากว่าผลลัพธ์ของการตัดสินใจมีความเป็นไปได้หลายทางและไม่แน่นอนว่าจะได้รับผลลัพธ์ใด ผู้เล่นนั้นจะตัดสินใจในลักษณะที่ให้ได้ค่าคาดหมายของฟังก์ชันอรรถประโยชน์นั้นสูงสุด:5:9

ทฤษฎีเกมแบบร่วมมือและแบบไม่ร่วมมือ

ทฤษฎีเกมสามารถแบ่งออกได้เป็นสองสาขาใหญ่ๆ ได้แก่ ทฤษฎีเกมแบบร่วมมือ (cooperative game theory) และทฤษฎีเกมแบบไม่ร่วมมือ (non-cooperative game theory) แต่ละสาขาของทฤษฎีเกมมีแนวทางการศึกษาที่แตกต่างกันในด้านรูปแบบการนิยามเกมและแนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ การจำแนกทฤษฎีสองแบบนี้มีที่มาเริ่มแรกจากบทความของจอห์น แนช ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1951:1

ในสาขาทฤษฎีเกมแบบไม่ร่วมมือ นิยามของเกมจะระบุทางเลือกทั้งหมดที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายสามารถตัดสินใจเลือกได้ ผู้เล่นแต่ละฝ่ายตัดสินใจโดยอิสระจากกันและไม่สามารถร่วมกันทำข้อตกลงอื่นๆ ให้มีผลบังคับใช้ได้ ในทฤษฎีเกมแบบร่วมมือ จะสมมติว่าผู้เล่นแต่ละฝ่ายสามารถทำข้อตกลงใดๆ กันก็ได้ โดยจะไม่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนการเจราจาตกลงกันระหว่างผู้เล่น แต่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์กลุ่มผู้เล่นว่าผู้เล่นจะมีการจับกลุ่มร่วมกันอย่างไรและจะมีการแบ่งผลประโยชน์กันอย่างไร คำว่าเกมแบบไม่ร่วมมือในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าทฤษฎีเกมชนิดนี้ไม่สามารถใช้จำลองสถานการณ์ที่มีการ "ร่วมมือ" กันในความหมายทั่วไปว่าการตกลงกระทำเพื่อให้ได้ประโยชน์ร่วมกัน แต่การจำลองสถานการณ์ความร่วมมือหรือการเจรจาต่อรองใดๆ จะต้องระบุทางเลือกและขั้นตอนเหล่านั้นในเกมอย่างชัดเจน และข้อตกลงเหล่านั้นจะไม่มีผลบังคับใช้นอกเหนือจากตามกระบวนการที่ระบุอย่างชัดเจนในเกม:4

รูปแบบการนิยามเกม

เกมแบบไม่ร่วมมือ

เกมรูปแบบกลยุทธ์

เกมรูปแบบกลยุทธ์ (strategic-form game) หรือเกมรูปแบบปรกติ (normal-form game) ประกอบไปด้วยการระบุผู้เล่นภายในเกม ทางเลือกของผู้เล่นแต่ละฝ่าย เรียกในทางทฤษฎีเกมว่ากลยุทธ์ และฟังก์ชันอรรถประโยชน์ของผู้เล่นแต่ละฝ่าย

ในกรณีที่เกมมีผู้เล่นสองฝ่าย และแต่ละฝ่ายมีทางเลือกจำนวนจำกัด เกมนั้นสามารถเขียนออกมาได้ในรูปของตารางโดยให้แต่ละแถวในตารางหมายถึงทางเลือกของผู้เล่นฝ่ายหนึ่ง และแต่ละสดมภ์หมายถึงทางเลือกของผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่ง ช่องของตารางแต่ละช่องระบุอรรถประโยชน์ของผู้เล่นสองฝ่ายในแต่ละกรณี:5 ดังตัวอย่างการนำเสนอเกมเป่ายิ้งฉุบในรูปแบบตารางนี้:78

ค้อน กรรไกร กระดาษ
ค้อน 0,0 1,-1 -1,1
กรรไกร -1,1 0,0 1,-1
กระดาษ 1,-1 -1,1 0,0

โดยทั่วไปแล้ว จำนวนทางเลือกของผู้เล่นไม่จำเป็นต้องมีจำนวนจำกัด (ตัวอย่างกรณีที่ผู้เล่นมีทางเลือกไม่จำกัดคือ ผู้ขายสินค้าสามารถตั้งราคาขายสินค้าเป็นตัวเลขใดๆ ก็ได้) หากว่าทางเลือกของผู้เล่นทุกฝ่ายมีจำนวนจำกัด ทางเลือกในกรณีนี้จะเรียกว่าเป็นกลยุทธ์แท้ เกมกลยุทธ์แท้สามารถขยายให้ผู้เล่นสามารถเลือกกำหนดความน่าจะเป็นที่จะสุ่มเลือกทางเลือกแต่ละทาง เรียกว่ากลยุทธ์ผสม ตัวอย่างเข่น ในเกมเป่ายิ้งฉุบข้างต้น จอห์น ฟอน นอยมันน์ได้เขียนถึงการใช้กลยุทธ์ผสมว่า "สามัญสำนึกจะบอกได้ว่าวิธีที่ดีที่จะเล่นเกมนี้คือการเลือกทางเลือกทั้งสามทางด้วยความน่าจะเป็นแต่ละทางเท่ากับ 1/3":144

นิยามของเกมรูปแบบกลยุทธ์สามารถเขียนได้ว่า เกมรูปแบบกลยุทธ์ประกอบไปด้วย:77

  • เซตผู้เล่น  
  • เซตกลยุทธ์   ของผู้เล่น   แต่ละฝ่าย โดยให้   เป็นสัญลักษณ์หมายถึงผลคูณคาร์ทีเซียน  
  • ฟังก์ชันอรรถประโยชน์   ที่กำหนดความสัมพันธ์จาก   ไปยังค่าอรรถประโยชน์ของผู้เล่น   แต่ละฝ่าย ในที่นี้   เรียกว่าเป็นโพรไฟล์กลยุทธ์ (strategy profile)

ในกรณีที่   เป็นเซตกลยุทธ์แท้ เซตกลยุทธ์ผสม   สามารถนิยามเป็นเซตของการแจกแจงความน่าจะเป็นของกลยุทธ์แท้ได้ว่า:146

 

เกมรูปแบบขยาย

เกมรูปแบบขยาย (extensive-form game) เป็นรูปแบบการบรรยายลักษณะของเกมที่ระบุลำดับการตัดสินใจก่อนหลังของผู้เล่นแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน เกมรูปแบบขยายสามารถเขียนได้รูปของกราฟแบบต้นไม้ที่จุดยอดแต่ละจุด (ยกเว้นจุดยอดปลายทาง) ระบุว่าผู้เล่นฝ่ายใดตัดสินใจ และจุดปลายทางระบุว่าผู้เล่นแต่ละฝ่ายได้รับอรรถประโยชน์เท่าใด อาจกล่าวได้ว่าเกมรูปแบบขยาย มีลักษณะเหมือนต้นไม้ตัดสินใจที่มีผู้ตัดสินใจหลายฝ่าย:67

เกมในรูปแบบขยายสามารถใช้บรรยายสถานการณ์ที่ผู้เล่นไม่ทราบอย่างครบถ้วนว่าการตัดสินใจต่างๆ ในจุดก่อนหน้าเป็นอย่างไร โดยการแบ่งจุดตัดสินใจทั้งหมดของผู้เล่นแต่ละฝ่ายออกเป็นเซตสารสนเทศ หากว่าเซตสารสนเทศมีสมาชิกมากกว่าหนึ่งจุด หมายความว่าหากเกมดำเนินไปถึงจุดใดจุดหนึ่งในเซตนั้น ผู้เล่นรายนั้นจะไม่ทราบแน่ชัดว่ากำลังตัดสินใจที่จุดใด ทุกจุดตัดสินใจในเซตสารสนเทศเดียวกันจะมีทางเลือกแบบเดียวกัน เกมที่ผู้เล่นรู้แน่ชัดว่ากำลังตัดสินใจที่จุดใด เรียกว่าเกมที่มีสารสนเทศสมบูรณ์ (perfect information) ซึ่งหมายความว่าเซตสารสนเทศทุกเซตจะมีสมาชิกเพียงจุดยอดเดียว:55

เกมรูปแบบขยายยังสามารถใช้ระบุสถานการณ์ที่มีปัจจัยภายนอกที่มีลักษณะของความเสี่ยงหรือการสุ่มด้วย (เช่น การทอยลูกเต๋า) โดยใช้วิธีการกำหนดจุดยอดบางจุดว่าเป็นของผู้เล่นที่เรียกว่า "ธรรมชาติ" ทางเลือกจากจุดของธรรมชาติคือความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น และกำหนดความน่าจะเป็นที่แต่ละทางจะเกิดขึ้น:50

โดยสรุปแล้ว การนิยามเกมรูปแบบขยาย ประกอบไปด้วย:77

  • เซตผู้เล่น
  • ลำดับการตัดสินใจ
  • ฟังก์ชันอรรถประโยชน์ซึ่งขึ้นกับการตัดสินใจทั้งหมดของผู้เล่นทุกฝ่าย
  • ทางเลือกของผู้เล่นในแต่ละจุดที่ตัดสินใจ
  • สิ่งที่ผู้เล่นทราบในแต่ละจุดที่ตัดสินใจ
  • การแจกแจงความน่าจะเป็นสำหรับเหตุการณ์ภายนอกที่มีลักษณะสุ่ม

เกมในรูปแบบขยาย สามารถเขียนออกมาเป็นเกมรูปแบบกลยุทธ์ได้ โดยนิยามทางเลือกของผู้เล่นแต่ละฝ่ายให้ครอบคลุมทุกรูปแบบการตัดสินใจที่เป็นไปได้ การนิยามทางเลือกในรูปแบบนี้ เปรียบได้กับการที่ผู้เล่นตัดสินใจล่วงหน้าก่อนเริ่มเกมว่าจะตัดสินใจอย่างไรบ้างที่แต่ละจุดที่ต้องตัดสินใจ:85 จากตัวอย่างแผนภาพต้นไม้เกมที่สารสนเทศสมบูรณ์ ผู้เล่น 2 มีจุดที่ต้องตัดสินใจสองจุด คือตัดสินใจหลังจากผู้เล่น 1 เลือก O และตัดสินใจว่าหลังจากผู้เล่น 1 เลือก F หากเขียนเป็นเกมแบบกลยุทธ์ ผู้เล่น 2 จะมีทางเลือกสี่ทาง คือ (Oo,Fo), (Oo,Ff), (Of,Fo) และ (Of, Ff) ซึ่งเขียนออกมาเป็นเกมรูปแบบกลยุทธ์ได้ตามตารางนี้

(Oo,Fo) (Oo,Ff) (Of,Fo) (Of,Ff)
O 3,2 3,2 0,0 0,0
F 0,0 0,0 2,3 2,3

เกมแบบร่วมมือ

การนิยามทฤษฎีเกมแบบร่วมมือ ไม่ได้นิยามในลักษณะทางเลือกในการตัดสินใจเลือกของผู้เล่นแต่ละฝ่าย แต่เป็นฟังก์ชันของกลุ่มผู้เล่น (coalition) โดยค่าของฟังก์ชันนั้นคือค่าอรรถประโยชน์หากว่าผู้เล่นในกลุ่มนั้นตกลงร่วมมือกัน การนิยามเกมในลักษณะของทฤษฎีเกมแบบร่วมมือเรียกโดยทั่วไปว่าเป็นเกมรูปแบบการจัดกลุ่ม (coalitional form) เกมลักษณะนี้แบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก คือ เกมที่มีการยกอรรถประโยชน์ให้กันได้ (transferable utility) และเกมที่ไม่มีการยกอรรถประโยชน์ให้กันได้ (non-transferable utility)

ในเกมที่มีการยกอรรถประโยชน์ให้กันได้ การจับกลุ่มผู้เล่นแต่ละกลุ่มจะมีค่าอรรถประโยชน์ร่วมกันหนึ่งค่า ซึ่งสมาชิกในกลุ่มนั้นๆ จะแบ่งกันอย่างไรก็ได้ กล่าวคือ อรรถประโยชน์มีลักษณะที่ยกให้กันในอัตราส่วนคงที่ เกมในลักษณะนี้สามารถเปรียบได้ว่าอรรถประโยชน์มีลักษณะเหมือนมูลค่าที่เป็นเงินตรา นิยามเกมที่มีการยกอรรถประโยชน์ให้กันได้ ประกอบไปด้วย เซตผู้เล่น   และฟังก์ชันจำนวนจริงที่ระบุค่า   สำหรับทุกเซตย่อย   โดยแต่ละเซตย่อย   ที่ไม่เป็นเซตว่างนี้ เรียกว่าเป็นกลุ่มผู้เล่น โดยทั่วไปจะกำหนดให้ค่าของเซตว่าง   เท่ากับศูนย์

เกมที่ไม่มีการยกอรรถประโยชน์ให้กันได้ จะไม่สมมติว่าอรรถประโยชน์สามารถยกให้กันได้ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง โดยการนิยามเกมประเภทนี้จะระบุเซตของการแบ่งอรรถประโยชน์ที่เป็นไปได้ของแต่ละกลุ่มผู้เล่น   เป็น  

แนวคิดผลเฉลย

แนวคิดผลเฉลย (solution concept) หมายถึงฟังก์ชันหรือวิธีการที่ระบุผลลัพธ์จากเกมแต่ละเกม โดยนิยามของแนวคิดผลเฉลยแต่ละชนิดจะเป็นไปตามเงื่อนไขบางประการ

เกมแบบไม่ร่วมมือ

สมดุลแบบแนช

ดูบทความหลักที่: สมดุลแบบแนช

แนวคิดสมดุลแบบแนช (Nash equilibrium; เรียกตามชื่อของจอห์น แนช) เป็นแนวคิดผลเฉลยสำคัญของทฤษฎีเกมแบบไม่ร่วมมือ หลักสำคัญของแนวคิดนี้คือ ผู้เล่นแต่ละฝ่ายเลือกทางเลือกที่ดีสุดสำหรับตนเอง เมื่อพิจารณาถึงทางเลือกของผู้เล่นอื่นในจุดสมดุลนั้นๆ:11 ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจึงไม่สามารถได้ประโยชน์มากขึ้นด้วยการเปลี่ยนทางเลือกของตัวเองแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ในจุดสมดุล

จากนิยามของเกมรูปแบบกลยุทธ์ข้างต้น หากกำหนดให้   หมายถึงโพรไฟล์กลยุทธ์ของผู้เล่นทุกคนยกเว้นผู้เล่น   โพรไฟล์กลยุทธ์   สามารถเขียนได้ในอีกรูปแบบหนึ่งเป็น  

โพร์ไฟล์กลยุทธ์   ถือว่าเป็นจุดสมดุลแบบแนช ถ้ากลยุทธ์   ที่ผู้เล่น   เลือก เป็นกลยุทธ์ที่ให้อรรถประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เล่น   เมื่อผู้เล่นคนอื่นๆ เลือกเล่นกลยุทธ์ที่ระบุใน   กล่าวอีกทางหนึ่งคือ ผู้เล่นแต่ละคนในเกมไม่สามารถทำให้อรรถประโยชน์ของตัวเองสูงขึ้นด้วยการเลือกกลยุทธ์อื่นที่ไม่ใช่   ตราบใดที่ผู้เล่นคนอื่นทุกคนเลือกกลยุทธ์ของตัวเองตามที่กำหนดในโพรไฟล์กลยุทธ์   เงื่อนไขนี้เขียนด้วยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ว่า:11:96

 

เกมบางเกมอาจไม่มีจุดสมดุลแบบแนชในกลยุทธ์แท้ ผลงานสำคัญของแนชคือการพิสูจน์ว่า เกมทุกเกมจะมีจุดสมดุลลักษณะนี้ในกลยุทธ์แบบผสมอย่างน้อยหนึ่งจุดเสมอ แนชพิสูจน์ทฤษฎีบทนี้โดยการใช้ทฤษฎีบทจุดตรึง:29 แนวทางการพิสูจน์ด้วยทฤษฎีบทจุดตรึงนี้สามารถพิสูจน์ทฤษฎีบทที่มีนัยทั่วไปกว่าทฤษฎีบทของแนชว่า หากว่าเกมมีเซตกลยุทธ์เป็นเซตย่อยของปริภูมิแบบยุคลิดที่กระชับ คอนเวกซ์ และไม่เป็นเซตว่าง และฟังก์ชันอรรถประโยชน์ของผู้เล่นแต่ละคนเป็นฟังก์ชันต่อเนื่องในเซตโพรไฟล์กลยุทธ์ และกึ่งเว้าต่อกลยุทธ์ของตัวเอง เกมนั้นก็จะมีจุดสมดุลแบบแนชอย่างน้อยหนึ่งจุด กล่าวได้ว่า ทฤษฎีบทของแนชเป็นกรณีเฉพาะของทฤษฎีบททั่วไปนี้:34

สมดุลแบบสมบูรณ์ทุกเกมย่อย

 
เกมนี้มีจุดสมดุลแบบแนชคือ (A,d) และ (B,c) แต่ (A,d) ไม่ใช่จุดสมดุลที่สมบูรณ์ในเกมย่อย

สมดุลแบบแนชเป็นแนวคิดคำตอบที่นิยามจากเกมในรูปแบบกลยุทธ์ ซึ่งสามารถนำมาใช้กับเกมที่มีการตัดสินใจเป็นลำดับก่อนหลังได้เนื่องจากสามารถเขียนเกมออกไปในรูปแบบกลยุทธ์ได้โดยเปรียบเสมือนว่าผู้เล่นแต่ละฝ่ายเลือกกลยุทธ์ของตนเองทั้งเกมก่อนที่จะเริ่มเล่นเกมจริงๆ แต่สมดุลของแนชในเกมที่มีลำดับก่อนหลังอาจมีลักษณะที่มองได้ว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากผู้เล่นสามารถเลือกกลยุทธ์ที่เรียกว่า "คำขู่ที่ไม่น่าเชื่อถือ" (non-credible threat) ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับการที่ผู้เล่นขู่ไว้ล่วงหน้าว่าจะเลือกทางที่ทำให้ตนเองเสียประโยชน์ เพื่อกดดันผู้เล่นฝ่ายอื่นที่ตัดสินใจก่อนหน้าให้เลือกทางเลือกอื่นแทน

สมดุลแบบสมบูรณ์ทุกเกมย่อย (subgame perfect equilibrium) เป็นแนวคิดคำตอบที่กำหนดว่าการตัดสินใจของผู้เล่นจะต้องเป็นจุดสมดุลแบบแนชในทุกเกมย่อย (subgame) ที่เริ่มจากจุดยอดใดๆ ในเกม จุดสมดุลแบบสมบูรณ์ทุกเกมย่อยสามารถหาได้ด้วยวิธีการนิรนัยย้อนกลับ (backward induction) ซึ่งหมายถึงการพิจารณาตัดทางเลือกที่ไม่สมเหตุสมผลจากสิ้นสุดของเกมย้อนไปหาจุดเริ่มต้นของเกม

เกมแบบร่วมมือ

แนวทางการวิเคราะห์เกมแบบร่วมมือ มักประกอบด้วยการเลือกวิธีการจับกลุ่มของผู้เล่นหรือแบ่งผลประโยชน์ ที่เป็นไปตามเงื่อนไข (สัจพจน์) บางประการที่กำหนด เช่น ประสิทธิภาพ ความสมมาตร ความเท่าเทียม ความเสถียร เป็นต้น แนวคิดผลเฉลยของเกมแบบร่วมมือ อาจมีลักษณะเป็นเซต เช่น คอร์ เซตเสถียร หรือมีลักษณะเป็นจุดเดียว เช่น ค่าแชปลีย์ นิวคลีโอลัส เป็นต้น

คอร์

คอร์ (core) เป็นเซตของการแบ่งอรรถประโยชน์ที่ไม่มีกลุ่มผู้เล่นใดๆ ที่สามารถได้ประโยชน์มากขึ้นด้วยการแยกไปตั้งกลุ่มของตนเองได้ ในเกมแบบที่สามารถยกอรรถประโยชน์ให้กันได้ที่มีผู้เล่น n ฝ่าย คอร์หมายถึงเซตของเวกเตอร์การแบ่งผลประโยชน์   ที่

 
สำหรับทุกกลุ่มผู้เล่น   ที่เป็นซับเซตของผู้เล่นทั้งหมด

ค่าแชปลีย์

แนวคิดค่าแชปลีย์ (Shapley value) เป็นแนวคิดคำตอบที่กำหนดการแบ่งอรรถประโยชน์แบบเจาะจงหนึ่งรูปแบบให้กับเกมแบบร่วมมือแต่ละเกม แนวคิดนี้เรียกตามชื่อของลอยด์ แชปลีย์ ผู้ที่เสนอแนวคิดนี้ในปี 1953 ค่าแชปลีย์เป็นการแบ่งอรรถประโยชน์รูปแบบเดียวที่เป็นไปตามเงื่อนไขสี่ประการนี้

  • ประสิทธิภาพแบบปาเรโต: ผลรวมของค่าของผู้เล่นทุกฝ่าย จะต้องเท่ากับค่าอรรถประโยชน์  
  • สมมาตร: หากผู้เล่นสองฝ่ายมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ (นั่นคือ หากแทนที่ผู้เล่นฝ่ายหนึ่งด้วยผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งในกลุ่มผู้เล่นใดๆ แล้ว มูลค่าของกลุ่มผู้เล่นนั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง) ผู้เล่นสองฝ่ายจะต้องได้รับค่าเท่ากัน
  • ผู้เล่นศูนย์: หากว่ามีผู้เล่นที่ไม่ทำให้มูลค่าของกลุ่มผู้เล่นใดๆ เปลี่ยนแปลง ค่าที่ผู้เล่นนั้นได้รับจะเท่ากับศูนย์
  • สมบัติการบวก: หากว่านำเกมสองเกมมาบวกกัน ค่าแชปลีย์ของเกมนั้นจะเท่ากับผลบวกของค่าแชปลีย์ของแต่ละเกม

ค่าแชปลีย์สามารถนิยามได้ในลักษณะต่อไปนี้

 

ประวัติ

ก่อนปี 1928

ในการศึกษาที่มีลักษณะทางทฤษฎีเกมก่อนปี 1950 มีหัวใจสำคัญคือแนวคิดแบบมินิแมกซ์ นั่นคือ ผู้เล่นแต่ละฝ่ายเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่แย่ที่สุดที่เป็นไปได้ของทางเลือกแต่ละทางของตัวเอง แล้วเลือกทางเลือกการันตีผลลัพธ์ที่ดีที่สุด (นั่นคือ ผลลัพธ์ที่แย่ที่สุดของทางเลือกนั้น ดีกว่ากว่าผลลัพธ์ที่แย่ที่สุดของทางเลือกอื่นๆ) การวิเคราะห์เกมในลักษณะของมินิแมกซ์มีหลักฐานย้อนไปถึงปี 1713 ที่การวิเคราะห์เกมไพ่ เลอ แอร์ (ฝรั่งเศส: le Her) ของของเจมส์ วอลด์เกรฟ ได้รับการเขียนถึงในจดหมายจากปีแยร์ เรมง เดอ มงมอร์ถึงนีโคเลาส์ แบร์นูลลี

ในปี 1913 แอ็นสท์ แซร์เมโล นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ตีพิมพ์บทความ "ว่าด้วยการประยุกต์ทฤษฎีเซตในด้านทฤษฎีหมากรุก" (เยอรมัน: Uber eine Anwendung der Mengenlehre auf die Theorie des Schachspiels) ซึ่งพิสูจน์ว่า ผลลัพธ์แบบมินิแมกซ์ของเกมหมากรุกสากลมีผลแพ้ชนะเพียงหนึ่งแบบ แต่ไม่มีการพิสูจน์ว่า ผลมินิแมกซ์ของเกมมีลักษณะเป็นฝ่ายใดชนะหรือเสมอกัน เกมที่ผลลัพธ์แบบมินิแมกซ์มีผลแพ้ชนะแบบเดียวนี้เรียกว่าเป็นเกมที่กำหนดแล้วโดยแท้ (strictly determined) ทฤษฎีบทของแซร์เมโลใช้ได้กับกับเกมแบบขยายที่มีผู้เล่นสองคน มีทางเลือกที่จำกัด มีผลแพ้ชนะและผู้เล่นมีสารสนเทศสมบูรณ์ (ไม่มีการเดินพร้อมกัน และสารสนเทศทุกอย่างเปิดเผยให้ผู้เล่นทุกฝ่ายทราบ) เช่น หมากฮอส หมากล้อม เฮกซ์ เป็นต้น

เอมีล บอแรล นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ตีพิมพ์บทความฉบับในปี 1921, 1924 และ 1927 โดยเป็นการวิเคราะห์กลยุทธ์ผสมและผลเฉลยแบบมินิแมกซ์ทางคณิตศาสตร์อย่างเป็นระบบครั้งแรก แต่บอแรลพิสูจน์เฉพาะในกรณีอย่างง่าย และสันนิษฐานว่าผลเฉลยแบบมินิแมกซ์นี้ไม่ได้มีอยู่เป็นการทั่วไป แต่ข้อสันนิษฐาน ฟอน นอยมันน์ ได้พิสูจน์ในภายหลังว่าไม่เป็นจริง

แนวคิดสมดุลแบบแนชก็มีการใช้ในการวิเคราะห์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาก่อนหน้าเช่นกัน ในปี 1838 อ็องตวน-โอกุสแต็ง กูร์โน ได้ตีพิมพ์หนังสือ "งานวิจัยว่าด้วยหลักคณิตศาสตร์ของทฤษฎีทรัพย์" (ฝรั่งเศส: Recherches sur les principes mathématiques de la théorie de la richesses) โดยมีเนื้อหาบทหนึ่งที่มีทฤษฎีวิเคราะห์ตลาดผูกขาดโดยผู้ขายน้อยราย แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกูร์โนใช้การวิเคราะห์ที่มีลักษณะเป็นสมดุลแบบแนชรูปแบบหนึ่ง นับว่าเป็นงานเขียนชิ้นแรกที่มีการใช้แนวคิดสมดุลแบบแนช แต่กูร์โนไม่ได้เล็งเห็นว่าแนวคิดการวิเคราะห์ของเขาสามารถมีนัยทั่วไปที่ใช้กับสถานการณ์เชิงกลยุทธ์ใดๆ

ฟอน นอยมันน์และมอร์เกินสแตร์น

 
จอห์น ฟอน นอยมันน์

ในปี 1928 จอห์น ฟอน นอยมันน์ตีพิมพ์บทความ "ว่าด้วยทฤษฎีของเกมนันทนาการ" (เยอรมัน: Zur Theorie der Gesellschsftsspiele) บทความของฟอน นอยมันน์นำเสนอทฤษฎีของเกมที่มีลักษณะทั่วไปกว่างานก่อนหน้า โดยตั้งคำถามว่า "ผู้เล่น n คน S1, S2,...,Sn เล่นเกม G ผู้เล่น Sm คนใดคนหนึ่งจะต้องเล่นอย่างไรจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด" ในบทความนี้ ฟอน นอยมันน์ได้กำหนดเกมรูปแบบขยาย และนิยาม "กลยุทธ์" ว่าหมายถึงแผนการเล่นที่ระบุการตัดสินใจของผู้เล่นที่จุดต่างๆ ในเกม โดยขึ้นกับสารสนเทศที่ผู้เล่นมีในจุดนั้นๆ ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับแนวคิดวิธีการเล่นของบอแรล การนิยามกลยุทธ์ในลักษณะนี้ทำให้ฟอน นอยมันน์สามารถลดรูปเกมแบบขยายให้เหลือเพียงการเลือกกลยุทธ์ของผู้เล่นแต่ละฝ่ายโดยอิสระจากกันก่อนเริ่มเกมเท่านั้น ฟอน นอยมันน์พิสูจน์ว่า ในเกมที่มีผู้เล่นสองฝ่ายที่ผลรวมเป็นศูนย์และแต่ละฝ่ายมีทางเลือกจำนวนจำกัด หากว่าผู้เล่นสามารถใช้กลยุทธ์ผสมได้ เกมนี้จะมีจุดมินิแมกซ์หนึ่งจุดเสมอ เนื้อหาการพิสูจน์ทฤษฎีบทของฟอน นอยมันน์มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีบทจุดตรึงของเบราว์เออร์ แม้ว่าฟอน นอยมันน์ไม่ได้เขียนการพิสูจน์ในลักษณะของจุดตรึงในบทความ ฟอน นอยมันน์ยกตัวอย่างเกมนันทนาการในบริบทนี้ว่าอาจหมายถึงเกมหลายประเภท เช่น รูเล็ตต์และหมากรุกสากล แต่ก็กล่าวถึงด้วย ความสัมพันธ์ในลักษณะของเกมนี้สามารถอธิบายสถานการณ์อื่นๆ ได้ด้วย โดยได้เขียนในเชิงอรรถว่าคำถามนี้มีลักษณะเหมือนคำถามในวิชาเศรษฐศาสตร์:62

อ็อสคาร์ มอร์เกินสแตร์น เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ในขณะนั้นสนใจเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจของบุคคลหลายฝ่าย ในหนังสือเรื่องการพยากรณ์ทางเศรษฐกิจที่ตีพิมพ์ในปี 1928 มอร์เกินสแตร์นได้ยกตัวอย่างการต่อกรกันระหว่างตัวละครเชอร์ล็อก โฮมส์กับมอริอาร์ตี ที่โฮมส์พิจารณาหลายชั้นว่ามอริอาร์ตีคิดว่าเขาจะทำอย่างไร มอร์เกินสแตร์น มอร์เกินสแตร์นได้รับคำแนะนำจากนักคณิตศาสตร์เอดูอาร์ด เช็คระหว่างนำเสนอบทความที่งานสัมมนาในกรุงเวียนนาในปี 1935 ว่าหัวข้องานของมอร์เกินสแตร์นมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับงานทฤษฎีเรื่องเกมของฟอน นอยมันน์ หลังจากการผนวกออสเตรียเข้ากับนาซีเยอรมนีในปี 1938 มอร์เกินสแตร์นย้ายจากเวียนนาไปยังมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในสหรัฐอเมริกา ทำให้เขาได้พบและมีโอกาสได้ร่วมงานกับฟอน นอยมันน์ จนมีผลงานเป็นหนังสือ "ทฤษฎีว่าด้วยเกมและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ" (Theory of games and economic behavior) ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1944

ทศวรรษ 1950

 
จอห์น แนช

หลังจากที่หนังสือของฟอน นอยมันน์และมอร์เกินสแตร์นได้รับการตีพิมพ์ ทศวรรษ 1950 เป็นช่วงที่มีผลงานด้านทฤษฎีเกมที่สำคัญหลายอย่าง โดยมีสถาบันสำคัญที่เป็นศูนย์กลางสองแห่งคือมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และแรนด์ คอร์เปอเรชัน สถาบันวิจัยเอกชนที่ตั้งขึ้นใหม่ที่มุ่งเน้นการทำวิจัยด้านความมั่นคงให้กับรัฐบาลสหรัฐ

ในช่วงปี 1950 ถึง 1953 จอห์น แนช ได้ตีพิมพ์บทความสำคัญสี่บทความซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อสาขาทฤษฎีเกม จากนิยามเกมรูปแบบทั่วไปของฟอน นอยมันน์และมอร์เกินสแตร์น แนชได้นิยามแนวคิดสมดุลสำหรับเกมในรูปแบบทั่วไปที่เรียกในภายหลังว่าเป็นสมดุลแบบแนช และพิสูจน์ว่าเกมรูปแบบทั่วไปที่มีผู้เล่นและกลยุทธ์จำกัดทุกเกมที่ผู้เล่นสามารถใช้กลยุทธ์ผสมจะมีจุดสมดุลอย่างน้อยหนึ่งจุด ผลงานนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในบทความสั้นชื่อ "จุดสมดุลในเกมที่มีผู้เล่น n ฝ่าย" (Equilibrium points in n-person games) ในปี 1950 แนชเขียนถึงแนวคิดสมดุลนี้ในวิทยาพนธ์ปริญญาเอก และตีพิมพ์เนื้อหาฉบับสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในบทความปี 1951 ชื่อ "เกมแบบไม่ร่วมมือ" (Non-cooperative games)

จากเดิมที่เนื้อหาในหนังสือของฟอน นอยมันน์และมอร์เกินสแตร์นไม่ได้แยกระหว่างการที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายเลือกกลยุทธ์อย่างเป็นอิสระจากกันและการร่วมมือกัน แนชเป็นคนแรกที่จำแนกทฤษฎีเกมแบบร่วมมือและแบบไม่ร่วมมือ โดยแนวคิดสมดุลแบบแนชเป็นแนวคิดแบบไม่ร่วมมือ แนชยังได้ตีพิมพ์บทความในลักษณะของทฤษฎีเกมแบบร่วมมือ โดยในบทความปี 1950 ชื่อ "ปัญหาการต่อรอง" (The bargaining problem) แนชได้เสนอผลลัพธ์ของเกมการต่อรองระหว่างผู้เล่นสองฝ่ายโดยใช้สัจพจน์สี่ประการ บทความนี้ของแนชเป็นงานชิ้นแรกในสาขาทฤษฎีเกมที่ไม่ใช้สมมติว่าอรรถประโยชน์สามารถยกให้กันได้ระหว่างผู้เล่น บทความนี้มีที่มาจากข้อเขียนของแนชตั้งแต่สมัยเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศในระดับปริญญาตรี ในปี 1953 แนชตีพิมพ์บทความ "เกมแบบร่วมมือที่มีผู้เล่นสองฝ่าย" (Two-person cooperative games) ผลงานของแนชด้านทฤษฎีเกมทำให้แนชได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 1994

อัลเบิร์ต ทักเคอร์ (ซึ่งเป็นที่ปรึกษาปริญญาเอกของจอห์น แนช, ลอยด์ แชปลีย์, และเดวิด เกล) และฮาโรลด์ คุห์น นักคณิตศาสตร์ที่พรินซ์ตัน ได้เป็นบรรณาธิการตีพิมพ์ชุดหนังสือรวมเล่มผลงานวิจัยในด้านทฤษฎีเกม โดยตีพิมพ์เล่มแรกใน 1950 ในหนังสือเล่มที่สองที่ตีพิมพ์ในปี 1953 ลอยด์ แชปลีย์ นักศึกษาปริญญาเอกที่พรินซ์ตัน ได้ตีพิมพ์บทความที่นำเสนอแนวคิดคำตอบที่เรียกในภายหลังว่าค่าแชปลีย์ นอกจากนี้ แชปลีย์ ร่วมกับดอนัลด์ จิลลีส ได้เสนอแนวคิดคอร์

ทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา

ในปี 1965 ไรน์ฮาร์ท เซ็ลเทิน ได้ตีพิมพ์บทความที่วิเคราะห์แบบจำลองการผูกขาดโดยผู้ขายน้อยรายด้วยทฤษฎีเกม ในบทความนี้ เซ็ลเทินได้เสนอแนวคิดสมดุลแบบสมบูรณ์ทุกเกมย่อย ซึ่งเป็นการนิยามสมดุลแบบแนชที่ละเอียดขึ้นเพื่อแยกสมดุลแบบแนชที่มีลักษณะไม่สมเหตุสมผลในเกมที่มีลำดับก่อนหลังออกไป การนิยามสมดุลที่ละเอียดยิ่งขึ้นเป็นหัวข้อวิจัยสำคัญในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 โดยในปี 1975 เซ็ลเทินได้เสนอแนวคิดสมดุลแบบสมบูรณ์ ที่นิยามจุดสมดุลที่สมมติว่าผู้เล่นอาจจะ "มือลั่น" เลือกกลยุทธ์ที่ผิดจากกลยุทธ์ในจุดสมดุลได้

พัฒนาการสำคัญในทฤษฎีเกมแบบไม่ร่วมมือที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1960 อีกข้อหนึ่งคือการจำลองสถานการณ์ที่ผู้เล่นมีสารสนเทศไม่เท่ากัน จอห์น ฮาร์ชาญี ได้ตีพิมพ์บทความที่เสนอแนวคิดเกมแบบเบยส์ (Bayesian game) ที่ตอนเริ่มเกมผู้เล่นแต่ละฝ่ายมีสารสนเทศส่วนตัวที่ทราบแต่เพียงฝ่ายเดียว เรียกว่าเป็น "ประเภท" ของผู้เล่น และระบุว่าผู้เล่นฝ่ายอื่นเชื่อว่า ประเภทของผู้เล่นนี้มีการแจกแจงความน่าจะเป็นแต่ละแบบอย่างไร

ความสำคัญของทฤษฎีเกมในสาขาเศรษฐศาสตร์ ทำให้นักวิจัยสาขาทฤษฎีเกมได้รับรางวัลเพื่อระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์หลายคน โดยในปี 1994 จอห์น แนช, ไรน์ฮาร์ท เซ็ลเทิน และจอห์น ฮาร์ชาญี ได้รับรางวัลในปี 1994 ต่อมา รอเบิร์ต ออมันน์ และทอมัส เชลลิง ได้รับรางวัลร่วมกันในปี 2005 โดยเชลลิงศึกษาทางด้านแบบจำลองพลวัต ซึ่งเป็นตัวอย่างแรกๆ ของทฤษฎีเกมเชิงวิวัฒนาการ ออมันน์เน้นศึกษาเกี่ยวกับดุลยภาพ ได้ริเริ่มดุลยภาพแบบหยาบ ดุลยภาพสหสัมพันธ์ และพัฒนาการวิเคราะห์ที่เป็นระเบียบมากขึ้นสำหรับสมมติฐานที่เกี่ยวกับความรู้ร่วมและผลที่ตามมา เลออนิด คูร์วิช, เอริก มัสกิน และโรเจอร์ ไมเออร์สัน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2007 จาก "การวางรากฐานทฤษฎีการออกแบบกลไก" และอัลวิน รอธ และลอยด์ แชปลีย์ ได้รับรางวัลในปี 2012 "สำหรับทฤษฎีการจัดสรรอย่างคงที่และการใช้การออกแบบตลาด"

ตัวอย่างเกมที่มีชื่อเสียง

เกมความลำบากใจของนักโทษ

เกมความลำบากใจของนักโทษ (Prisoner's dilemma) เป็นเกมที่มีผู้เล่น 2 คนและทางเลือก 2 ทาง แนวคิดของเกมนี้ได้สร้างขึ้นโดย เมอร์ริล ฟลูด และ เมลวิน เดรชเชอร์ ใน พ.ศ. 2493 โดยมีลักษณะเป็นเกมที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายพยายามเลือกทางเลือกที่ได้ผลตอบแทนมากที่สุด แต่กลับทำให้ผลตอบแทนรวมที่ได้ต่ำลง มีสถานการณ์ดังนี้

คนร้ายสองคนคือ A และ B ถูกตำรวจจับและถูกแยกไปสอบปากคำทีละคน ตำรวจไม่สามารถดำเนินคดีกับคนร้ายทั้งสองได้ทันทีเพราะไม่มีพยาน คนร้ายแต่ละคนมีทางเลือกสองทางคือ รับสารภาพ และไม่รับสารภาพ ถ้าคนร้ายคนหนึ่งรับสารภาพแต่อีกคนไม่รับ ตำรวจจะกันคนที่รับสารภาพไว้เป็นพยานและปล่อยตัวไป และจะส่งฟ้องคนที่ไม่รับสารภาพซึ่งมีโทษจำคุก 20 ปี ถ้าทั้งสองคนรับสารภาพ จะได้รับการลดโทษเหลือจำคุกคนละ 10 ปี แต่ถ้าทั้งสองคนไม่รับสารภาพ ตำรวจจะสามารถส่งฟ้องได้เพียงข้อหาเล็กน้อยเท่านั้นซึ่งมีโทษจำคุก 1 ปี

เกมนี้สามารถเขียนแสดงในรูปแบบตารางได้ดังนี้

รับสารภาพ ไม่รับสารภาพ
รับสารภาพ -10, -10 0, -20
ไม่รับสารภาพ -20, 0 -1, -1

จะเห็นว่ากลยุทธเด่นของผู้เล่นทั้งสองฝ่ายคือการรับสารภาพ เพราะไม่ว่าผู้เล่นอีกฝ่ายจะตัดสินใจอย่างไร ก็จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเสมอ แต่เมื่อทั้งสองฝ่ายเลือกทางเลือกนี้ กลับไม่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด ถึงแม้ผู้เล่นจะทราบว่าผลตอบแทนที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นเมื่อทั้งสองฝ่ายไม่รับสารภาพ แต่ทั้งคู่อาจไม่กล้าทำเพราะไม่ไว้ใจอีกฝ่ายว่าจะรับสารภาพหรือไม่ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายต้องได้รับผลตอบแทนที่ต่ำลง และจุด (-10, -10) ก็เป็นจุดสมดุลของแนชในเกมนี้ เพราะผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่สามารถเปลี่ยนไปเลือกทางเลือกอื่นที่ได้ผลตอบแทนดีกว่านี้

เกมไก่ตื่น

เกมไก่ตื่น (Chicken) เป็นเกมที่มีผู้เล่น 2 คนและทางเลือก 2 ทาง มีสถานการณ์ดังนี้

ผู้เล่นสองคนขับรถด้วยความเร็วสูงเข้าหากัน ฝ่ายที่หักหลบรถก่อนจะเป็นผู้แพ้ แต่ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่หักหลบรถ รถจะชนกันและจะทำให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายเกิดความเสียหายอย่างมาก

เกมนี้สามารถเขียนแสดงในรูปแบบตารางได้ดังนี้

หลบ ไม่หลบ
หลบ 0, 0 -1, +1
ไม่หลบ +1, -1 -10, -10

จะเห็นว่าเกมในรูปแบบนี้ไม่มีกลยุทธเด่น และมีจุดสมดุลของแนชสองจุดคือ (-1, +1) และ (+1, -1) แต่วิธีทางจิตวิทยาสำหรับผู้เล่นเกมนี้คือ พยายามส่งสัญญาณให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเห็นว่า ตนจะไม่หักหลบอย่างแน่นอน ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องยอมหักหลบไปเอง มิฉะนั้นจะเสียผลตอบแทนอย่างมาก

เกมแห่งความร่วมมือ

เกมแห่งความร่วมมือ (Stag hunt) เป็นเกมที่มีผู้เล่น 2 คนและทางเลือก 2 ทาง ซึ่งเป็นทางเลือกระหว่างทางที่ปลอดภัยกับการให้ความร่วมมือกับอีกฝ่าย มีสถานการณ์ดังนี้

ผู้เล่นสองคนต้องการเลือกล่าสัตว์ชนิดหนึ่งระหว่างกวางกับกระต่าย ซึ่งกวางมีราคาดีกว่ากระต่ายมาก แต่ก็ล่ายากกว่าเช่นกัน จำเป็นต้องใช้สองคนร่วมมือกันจึงจะล่าได้ ในขณะที่กระต่ายมีราคาต่ำแต่ล่าได้ง่าย สามารถล่าได้โดยใช้เพียงคนเดียว

เกมนี้สามารถเขียนแสดงในรูปแบบตารางได้ดังนี้

ล่ากวาง ล่ากระต่าย
ล่ากวาง +10, +10 0, +3
ล่ากระต่าย +3, 0 +3, +3

จะเห็นว่าเกมในรูปแบบนี้ไม่มีกลยุทธเด่น และมีจุดสมดุลของแนชสองจุดคือ (+10, +10) และ (+3, +3) ซึ่งการที่ผู้เล่นทั้งสองจะได้ผลตอบแทนสูงสุดนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกัน คือเลือกล่ากวางทั้งคู่ ซึ่งผู้เล่นจะต้องมีความไว้วางใจผู้เล่นอีกฝ่ายด้วย

การประยุกต์ใช้

รัฐศาสตร์

มีการนำทฤษฎีเกมมาประยุกต์ใช้ในด้านรัฐศาสตร์ เช่น การหาเสียงเลือกตั้ง ในปี พ.ศ. 2500 แอนโทนี ดาวน์ส ได้ตีพิมพ์ผลงานเรื่อง An Economic Theory of Democracy ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเลือกตำแหน่งในการหาเสียงเลือกตั้งให้ได้ผลดีที่สุด

เศรษฐศาสตร์

ในทางเศรษฐศาสตร์ ได้มีการนำทฤษฎีเกมมาช่วยในการตัดสินใจในหลาย ๆ ด้านมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น การต่อรองผลประโยชน์ การประมูล การแข่งขันของผู้ผลิต การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ โดยมีแนวคิดสำคัญที่ใช้คือเรื่องจุดสมดุลของแนช อย่างไรก็ตาม ในเกมการแข่งขันทางธุรกิจ อาจมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธได้ตลอดเวลาเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น และผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเข้าสู่จุดสมดุลของแนช ซึ่งเป็นจุดที่ทุกฝ่ายไม่สามรถเปลี่ยนกลยุทธเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงกว่านี้อีกแล้ว

ชีววิทยา

มีการใช้ทฤษฎีเกมเพื่ออธิบายถึงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางชีววิทยา เช่น ในปี พ.ศ. 2473 โรนัลด์ ฟิชเชอร์ ได้ใช้ทฤษฎีเกมในการอธิบายถึงอัตราส่วนของสัตว์เพศผู้ต่อเพศเมียที่เป็น 1:1 เนื่องจากเป็นอัตราส่วนที่สามารถสืบพันธุ์ได้จำนวนมากที่สุด นอกจากนี้ นักชีววิทยายังใช้ทฤษฎีเกมเพื่อช่วยในการศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ของสัตว์ เช่น การใช้เกมไก่ตื่นในการอธิบายถึงการต่อสู้ของสัตว์

วิทยาการคอมพิวเตอร์

มีการพัฒนาในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมเพื่อหาขั้นตอนวิธีที่ดีที่สุดในการเล่นเกมในสถานการณ์หนึ่งเป็นระยะเวลานาน

สังคมวิทยา

ได้มีการนำทฤษฎีเกมมาประยุกต์ใช้ในด้านสังคมวิทยา เช่น วิลลาร์ด แวน ออร์มาน ไควน์ และ เดวิด ลูอิส ได้พัฒนาการศึกษาด้านประเพณีนิยม และมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่ต้องเลือกระหว่างศีลธรรมกับผลประโยชน์ของตนเอง เช่น เกมความลำบากใจของนักโทษ

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

  • ชีวิตของนักทฤษฎีเกมและนักคณิตศาสตร์ จอห์น แนช ได้ถูกนำมาสร้างเป็นหนังอิงชีวประวัติในปี 2001 ในชื่อ A Beautiful Mind โดยอิงจากหนังสือปี 1998 โดยซิลเวียร์ นาซาร์ นำแสดงโดยรัสเซลล์ โครว์ที่เล่นเป็นแนช
  • ในปี 1959 นวนิยายวิทยาศาสตร์สงคราม Starship Troopers โดย โรเบิร์ต เอ ไฮน์ไลน์ ได้อ้างถึง "ทฤษฎีเกม" และ "ทฤษฎีแห่งเกม" ในภาพยนตร์เรื่องเดียวกันในปี 1997 ตัวละครที่ชื่อ คาร์ล เจนกินส์ ได้อ้างถึงงานด้านการข่าวกรองทางการทหารนี้ว่าเป็นการมอบหมายงานด้าน "เกมและทฤษฎี"

อ้างอิง

  1. Myerson, Roger B. (1991). Game theory: Analysis of conflict. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. ISBN 0-674-34116-3.
  2. Osborne, Martin J.; Rubinstein, Ariel (1994). A course in game theory. Cambridge, Massachusetts: MIT Press. ISBN 0-262-65040-1.
  3. Falster, Daniel S.; Westoby, Mark (2003). "Plant height and evolutionary games". Trends in Ecology & Evolution. 18 (7): 337–343. doi:10.1016/S0169-5347(03)00061-2.
  4. Brams, Steven J. (1980). Biblical games: A strategic analysis of stories in the Old Testament. MIT Press. ISBN 9780262021449.
  5. Maschler, Michael; Solan, Eilon; Zamir, Shmuel (2013). Game theory. Translated by Hellman, Ziv. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-00548-8.
  6. Nash, John (1951). "Non-cooperative games". Annals of Mathematics. 54 (2): 286–295.
  7. Harsanyi, John C.; Selten, Reinhard (1988). A general theory of equilibrium selection in games. Cambridge, Massachusetts: MIT Press. ISBN 0-262-08173-3.
  8. Aumann, R.J. (2008). "Game theory". New Palgrave dictionary of economics. London: Palgrave Macmillan. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_942-2. ISBN 978-1-349-95121-5.
  9. van Damme, Eric (2015). "Game theory: Noncooperative games". ใน Wright, James D. (บ.ก.). International encyclopedia of the social & behavioral sciences. 9 (2 ed.). Oxford: Elsevier. pp. 582–591. doi:10.1016/B978-0-08-097086-8.71048-8. ISBN 978-0-08-097087-5.
  10. Fudenberg, Drew; Tirole, Jean (1991). Game theory. Cambridge, Massachusetts: MIT Press. ISBN 978-0-262-06141-4.
  11. von Neumann, John; Morgenstern, Oskar (2007) [1944]. Theory of games and economic behavior (60th anniversary ed.). Princeton University Press. ISBN 978-0-691-13061-3.
  12. Hart, Sergiu (1992). "Games in extensive and strategic forms". ใน Aumann, Robert J.; Hart, Sergiu (บ.ก.). Handbook of game theory with economic applications. 1. Elsevier. pp. 19–40. doi:10.1016/S1574-0005(05)80005-0.
  13. Hokari, Toru; Thomson, William (2015). "Cooperative game theory". ใน Wright, James D. (บ.ก.). International encyclopedia of the social & behavioral sciences. 9 (2 ed.). Oxford: Elsevier. pp. 867–880. doi:10.1016/B978-0-08-097086-8.71073-7. ISBN 978-0-08-097087-5.
  14. Kannai, Yakar (1992). "The core and balancedness". ใน Aumann, Robert J.; Hart, Sergiu (บ.ก.). Handbook of game theory with economic applications. 1. Elsevier. pp. 356–395. doi:10.1016/S1574-0005(05)80015-3.
  15. Dimand, Robert W.; Dimand, Mary Ann (1992). "The early history of the theory of strategic games from Waldegrave to Borel". ใน Weintraub, E. Roy (บ.ก.). Toward a history of game theory. Duke University Press. pp. 15–27. doi:10.1215/00182702-24-Supplement-15. ISBN 978-0-8223-1253-6.
  16. von Neumann, J. (1928). "Zur Theorie der Gesellschaftsspiele". Mathematische Annalen. 100 (1): 295–320. doi:10.1007/BF01448847.
  17. Myerson, Roger B. (1999). "Nash equilibrium and the history of economic theory". Journal of Economic Literature. 37 (3): 1067–1082. doi:10.1257/jel.37.3.1067.
  18. Kjeldsen, Tinne Hoff (2001). "John von Neumann's conception of the minimax theorem: A journey through different mathematical contexts". Archive for History of Exact Sciences. 56 (1): 39–68. doi:10.1007/s004070100041.
  19. Leonard, Robert (2010). Von Neumann, Morgenstern, and the creation of game theory: From chess to social science, 1900–1960. New York: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-56266-9.
  20. Leonard, Robert J. (1995). "From parlor games to social science: von Neumann, Morgenstern, and the creation of game theory 1928-1944". Journal of Economic Literature. 33 (2): 730–761.
  21. Morgenstern, Oskar (1976). "The collaboration between Oskar Morgenstern and John von Neumann on the theory of games". Journal of Economic Literature. 14 (3): 805–816.
  22. Nash, John F. (1950). "Equilibrium points in n-person games". Proceedings of the National Academy of Sciences. 36 (1): 48–49. doi:10.1073/pnas.36.1.48.
  23. Nash, John F. (1950). "The bargaining problem". Econometrica. 18 (2): 155–162. doi:10.2307/1907266.
  24. Leonard, Robert J. (1994). "Reading Cournot, reading Nash: The creation and stabilisation of the Nash equilibrium". Economic Journal. 104 (424): 492–511. doi:10.2307/2234627.
  25. Nash, John F. (1953). "Two-person cooperative games". Econometrica. 21 (1): 128–140. doi:10.2307/1906951.

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิตำราภาษาอังกฤษ มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ: ทฤษฎีเกม
  • (อังกฤษ) Game Theory จาก Stanford Encyclopedia of Philosophy
  • (อังกฤษ) รายการวิชาเรียนทฤษฎีเกม ที่สามารถดาวน์โหลดเนื้อหาได้ฟรีจาก เอ็มไอที โอเพนคอร์สแวร์
  • (อังกฤษ) Giacomo Bonanno (2018). Game Theory (2 ed.) ตำราทฤษฎีเกมเบื้องต้นที่เผยแพร่ด้วยสัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์

ทฤษฎ, เกม, เป, นสาขาคณ, ตศาสตร, ประย, กต, กษาการต, ดส, นใจของผ, ดส, นใจหลายฝ, าย, โดยท, ผลท, แต, ละฝ, ายได, บข, นอย, บการต, ดส, นใจของผ, เล, นฝ, ายอ, นๆ, เกมในทางหมายถ, งสถานการณ, ใดๆ, ดส, นใจ, เร, ยกว, าผ, เล, หลายฝ, ายม, ปฏ, มพ, นธ, งอาจหมายถ, งเกมในความหมาย. thvsdiekm epnsakhakhnitsastrprayuktthisuksakartdsinickhxngphutdsinichlayfay odythiphlthiaetlafayidrbkhunxyukbkartdsinickhxngphuelnfayxun ekminthangthvsdiekmhmaythungsthankarnid thiphutdsinic eriykwaphueln hlayfaymiptismphnthkn sungxachmaythungekminkhwamhmaythwip echn epayingchubhruxhmakruk hruxhmaythungsthankarnthangsngkhmhruxthangthrrmchatixun thvsdiekmidrbkarnaipprayuktichinsakhasngkhmsastrtang odyechphaaxyangyingesrsthsastr aelainsakhachiwwithyawiwthnakaraelawithyakarkhxmphiwetxrdwykarsuksathangthvsdiekmepnkarsuksakartdsinickhxngphuelnthitdsinicaebb epnehtuepnphl sunghmaythungkarthiphuelntdsinicodymiepahmaythichdecnaelatdsinictamepahmaykhxngtnexngxyangimphidphlad sakhathvsdiekminrupaebbpccubnmkthuxknwamicuderimtncakngankhxngcxhn fxn nxymnn aelaxxskhar mxrekinsaetrn odymiphlngansakhykhuxhnngsux thvsdiwadwyekmaelaphvtikrrmthangesrsthkic thitiphimphinpi 1944 phlngankhxngcxhn aenchinkarniyamaelaphisucnthvsdibthekiywkbsmdulaebbaench sungepnphllphthkhxngekmthiphuelnaetlafayimmiaerngcungicthicaepliynkartdsinickhxngtnexng epnpccythisakhythithaihnkwichakarsakhatang samarthnawichathvsdiekmipichprayuktxyangaephrhlaythvsdiekmepnekhruxngmuxsakhykhxngthvsdiesrsthsastrkraaeshlkinpccubn nkthvsdiekmhlaykhncungidrbrangwloneblsakhaesrsthsastr erimcak cxhn aench irnharth eslethin aelacxhn harchayi inpi 1994 enuxha 1 aenwkhidphunthankhxngthvsdiekm 2 thvsdiekmaebbrwmmuxaelaaebbimrwmmux 3 rupaebbkarniyamekm 3 1 ekmaebbimrwmmux 3 1 1 ekmrupaebbklyuthth 3 1 2 ekmrupaebbkhyay 3 2 ekmaebbrwmmux 4 aenwkhidphlechly 4 1 ekmaebbimrwmmux 4 1 1 smdulaebbaench 4 1 2 smdulaebbsmburnthukekmyxy 4 2 ekmaebbrwmmux 4 2 1 khxr 4 2 2 khaaechpliy 5 prawti 5 1 kxnpi 1928 5 2 fxn nxymnnaelamxrekinsaetrn 5 3 thswrrs 1950 5 4 thswrrs 1960 epntnma 6 twxyangekmthimichuxesiyng 6 1 ekmkhwamlabakickhxngnkoths 6 2 ekmiktun 6 3 ekmaehngkhwamrwmmux 7 karprayuktich 7 1 rthsastr 7 2 esrsthsastr 7 3 chiwwithya 7 4 withyakarkhxmphiwetxr 7 5 sngkhmwithya 8 inwthnthrrmrwmsmy 9 xangxing 10 aehlngkhxmulxunaenwkhidphunthankhxngthvsdiekm aekikhinthangthvsdiekm ekm hmaythungsthankarnid thimiphutdsinictngaetsxngfaykhunip odyphutdsinicaetlafaymiepahmaykhxngtnexngaelaphllphththiaetlafayidrbkhunxyukbkartdsinickhxngthukfay 1 1 2 phutdsinicaetlafayinekmeriykwa phueln odyphuelnniepnxngkhprakxbphunthankhxngekminthvsdiekmthukpraephth 2 2 thvsdiekmtngkhxsmmtiwaphuelnthukfaytdsinic xyangmiehtuphl sunghmaythungkarthiphuelnaetlafaymiepahmaykhwamtxngkarkhxngtwexngthichdecnsungmkaesdnginrupkhxngfngkchnxrrthpraoychn aelatdsinicodyeluxkthangeluxkthithaihtwexngidrbxrrthpraoychnsungsud 1 2 2 4 thvsdiekmcungmikhwamkhlayknkbthvsdikartdsinicthisuksakartdsinickhxngphutdsinicrayediyw aetaetktangknthithvsdiekmsuksakartdsinicinsthankarnthikartdsinichlayfaysngphlsungknaelakn 1 1 inkarprayuktthvsdiekminsakhatang phuelninekmxacichhmaythungpceckbukhkhl aetkxacichhmaythungklumbukhkhl echn bristh rthbal ipcnthungsingxun thiimichmnusy echn stw phuch 3 phraepneca 4 epntnkarwiekhraahthangthvsdiekmmkkahndwaphuelnaetlafaymifngkchnxrrthpraoychnaebbfxn nxymnn mxrekinsaetrn sungmilksnasakhykhux hakwaphllphthkhxngkartdsinicmikhwamepnipidhlaythangaelaimaennxnwacaidrbphllphthid phuelnnncatdsinicinlksnathiihidkhakhadhmaykhxngfngkchnxrrthpraoychnnnsungsud 2 5 5 9thvsdiekmaebbrwmmuxaelaaebbimrwmmux aekikhthvsdiekmsamarthaebngxxkidepnsxngsakhaihy idaek thvsdiekmaebbrwmmux cooperative game theory aelathvsdiekmaebbimrwmmux non cooperative game theory aetlasakhakhxngthvsdiekmmiaenwthangkarsuksathiaetktangknindanrupaebbkarniyamekmaelaaenwkhidthiichinkarwiekhraah karcaaenkthvsdisxngaebbnimithimaerimaerkcakbthkhwamkhxngcxhn aench sungtiphimphinpi 1951 6 7 1insakhathvsdiekmaebbimrwmmux niyamkhxngekmcarabuthangeluxkthnghmdthiphuelnaetlafaysamarthtdsiniceluxkid phuelnaetlafaytdsinicodyxisracakknaelaimsamarthrwmknthakhxtklngxun ihmiphlbngkhbichid inthvsdiekmaebbrwmmux casmmtiwaphuelnaetlafaysamarththakhxtklngid knkid odycaimihkhwamsakhykbkhntxnkarecracatklngknrahwangphueln aetihkhwamsakhykbkarwiekhraahklumphuelnwaphuelncamikarcbklumrwmknxyangiraelacamikaraebngphlpraoychnknxyangir 8 khawaekmaebbimrwmmuxinthiniimidhmaykhwamwathvsdiekmchnidniimsamarthichcalxngsthankarnthimikar rwmmux kninkhwamhmaythwipwakartklngkrathaephuxihidpraoychnrwmkn aetkarcalxngsthankarnkhwamrwmmuxhruxkarecrcatxrxngid catxngrabuthangeluxkaelakhntxnehlanninekmxyangchdecn aelakhxtklngehlanncaimmiphlbngkhbichnxkehnuxcaktamkrabwnkarthirabuxyangchdecninekm 7 4 9 rupaebbkarniyamekm aekikhekmaebbimrwmmux aekikh ekmrupaebbklyuthth aekikh ekmrupaebbklyuthth strategic form game hruxekmrupaebbprkti normal form game prakxbipdwykarrabuphuelnphayinekm thangeluxkkhxngphuelnaetlafay eriykinthangthvsdiekmwaklyuthth aelafngkchnxrrthpraoychnkhxngphuelnaetlafayinkrnithiekmmiphuelnsxngfay aelaaetlafaymithangeluxkcanwncakd ekmnnsamarthekhiynxxkmaidinrupkhxngtarangodyihaetlaaethwintaranghmaythungthangeluxkkhxngphuelnfayhnung aelaaetlasdmphhmaythungthangeluxkkhxngphuelnxikfayhnung chxngkhxngtarangaetlachxngrabuxrrthpraoychnkhxngphuelnsxngfayinaetlakrni 10 5 dngtwxyangkarnaesnxekmepayingchubinrupaebbtarangni 5 78 khxn krrikr kradaskhxn 0 0 1 1 1 1krrikr 1 1 0 0 1 1kradas 1 1 1 1 0 0odythwipaelw canwnthangeluxkkhxngphuelnimcaepntxngmicanwncakd twxyangkrnithiphuelnmithangeluxkimcakdkhux phukhaysinkhasamarthtngrakhakhaysinkhaepntwelkhid kid hakwathangeluxkkhxngphuelnthukfaymicanwncakd thangeluxkinkrninicaeriykwaepnklyuththaeth ekmklyuththaethsamarthkhyayihphuelnsamartheluxkkahndkhwamnacaepnthicasumeluxkthangeluxkaetlathang eriykwaklyuththphsm twxyangekhn inekmepayingchubkhangtn cxhn fxn nxymnnidekhiynthungkarichklyuththphsmwa samysanukcabxkidwawithithidithicaelnekmnikhuxkareluxkthangeluxkthngsamthangdwykhwamnacaepnaetlathangethakb 1 3 11 144niyamkhxngekmrupaebbklyuththsamarthekhiynidwa ekmrupaebbklyuththprakxbipdwy 5 77 estphueln N 1 2 n displaystyle N 1 2 dots n estklyuthth S i displaystyle S i khxngphueln i N displaystyle i in N aetlafay odyih S displaystyle S epnsylksnhmaythungphlkhunkharthiesiyn S 1 S 2 S n displaystyle S 1 times S 2 times dots times S n fngkchnxrrthpraoychn u i S R displaystyle u i colon S to mathbb R thikahndkhwamsmphnthcak s s 1 s 2 s n displaystyle s s 1 s 2 dots s n ipyngkhaxrrthpraoychnkhxngphueln i N displaystyle i in N aetlafay inthini s displaystyle s eriykwaepnophriflklyuthth strategy profile inkrnithi S i displaystyle S i epnestklyuththaeth estklyuththphsm S i displaystyle Sigma i samarthniyamepnestkhxngkaraeckaecngkhwamnacaepnkhxngklyuththaethidwa 5 146S i s i S i 0 1 s i i n S i s i s i 1 displaystyle Sigma i left sigma i colon S i to 0 1 colon sum s i inS i sigma i s i 1 right ekmrupaebbkhyay aekikh ekmrupaebbkhyay extensive form game epnrupaebbkarbrryaylksnakhxngekmthirabuladbkartdsinickxnhlngkhxngphuelnaetlafayxyangchdecn ekmrupaebbkhyaysamarthekhiynidrupkhxngkrafaebbtnimthicudyxdaetlacud ykewncudyxdplaythang rabuwaphuelnfayidtdsinic aelacudplaythangrabuwaphuelnaetlafayidrbxrrthpraoychnethaid 12 xacklawidwaekmrupaebbkhyay milksnaehmuxntnimtdsinicthimiphutdsinichlayfay 10 67ekminrupaebbkhyaysamarthichbrryaysthankarnthiphuelnimthrabxyangkhrbthwnwakartdsinictang incudkxnhnaepnxyangir odykaraebngcudtdsinicthnghmdkhxngphuelnaetlafayxxkepnestsarsneths hakwaestsarsnethsmismachikmakkwahnungcud hmaykhwamwahakekmdaeninipthungcudidcudhnunginestnn phuelnraynncaimthrabaenchdwakalngtdsinicthicudid thukcudtdsinicinestsarsnethsediywkncamithangeluxkaebbediywkn ekmthiphuelnruaenchdwakalngtdsinicthicudid eriykwaekmthimisarsnethssmburn perfect information sunghmaykhwamwaestsarsnethsthukestcamismachikephiyngcudyxdediyw 5 55 ekminrupaebbkhyaythisarsnethssmburn ekminrupaebbkhyaythisarsnethsimsmburn esnprahmaykhwamwacudyxdsxngcudxyuinestsarsnethsediywknekmrupaebbkhyayyngsamarthichrabusthankarnthimipccyphaynxkthimilksnakhxngkhwamesiynghruxkarsumdwy echn karthxyluketa odyichwithikarkahndcudyxdbangcudwaepnkhxngphuelnthieriykwa thrrmchati thangeluxkcakcudkhxngthrrmchatikhuxkhwamepnipidthicaekidkhuninsthankarnnn aelakahndkhwamnacaepnthiaetlathangcaekidkhun 5 50odysrupaelw karniyamekmrupaebbkhyay prakxbipdwy 10 77 estphueln ladbkartdsinic fngkchnxrrthpraoychnsungkhunkbkartdsinicthnghmdkhxngphuelnthukfay thangeluxkkhxngphuelninaetlacudthitdsinic singthiphuelnthrabinaetlacudthitdsinic karaeckaecngkhwamnacaepnsahrbehtukarnphaynxkthimilksnasumekminrupaebbkhyay samarthekhiynxxkmaepnekmrupaebbklyuththid odyniyamthangeluxkkhxngphuelnaetlafayihkhrxbkhlumthukrupaebbkartdsinicthiepnipid karniyamthangeluxkinrupaebbni epriybidkbkarthiphuelntdsiniclwnghnakxnerimekmwacatdsinicxyangirbangthiaetlacudthitxngtdsinic 10 85 caktwxyangaephnphaphtnimekmthisarsnethssmburn phueln 2 micudthitxngtdsinicsxngcud khuxtdsinichlngcakphueln 1 eluxk O aelatdsinicwahlngcakphueln 1 eluxk F hakekhiynepnekmaebbklyuthth phueln 2 camithangeluxksithang khux Oo Fo Oo Ff Of Fo aela Of Ff sungekhiynxxkmaepnekmrupaebbklyuththidtamtarangni Oo Fo Oo Ff Of Fo Of Ff O 3 2 3 2 0 0 0 0F 0 0 0 0 2 3 2 3ekmaebbrwmmux aekikh karniyamthvsdiekmaebbrwmmux imidniyaminlksnathangeluxkinkartdsiniceluxkkhxngphuelnaetlafay aetepnfngkchnkhxngklumphueln coalition odykhakhxngfngkchnnnkhuxkhaxrrthpraoychnhakwaphuelninklumnntklngrwmmuxkn karniyamekminlksnakhxngthvsdiekmaebbrwmmuxeriykodythwipwaepnekmrupaebbkarcdklum coalitional form ekmlksnaniaebngxxkidepnsxngpraephthhlk khux ekmthimikarykxrrthpraoychnihknid transferable utility aelaekmthiimmikarykxrrthpraoychnihknid non transferable utility inekmthimikarykxrrthpraoychnihknid karcbklumphuelnaetlaklumcamikhaxrrthpraoychnrwmknhnungkha sungsmachikinklumnn caaebngknxyangirkid klawkhux xrrthpraoychnmilksnathiykihkninxtraswnkhngthi ekminlksnanisamarthepriybidwaxrrthpraoychnmilksnaehmuxnmulkhathiepnengintra 13 niyamekmthimikarykxrrthpraoychnihknid prakxbipdwy estphueln N displaystyle N aelafngkchncanwncringthirabukha v S displaystyle v S sahrbthukestyxy S N displaystyle S subseteq N odyaetlaestyxy S displaystyle S thiimepnestwangni eriykwaepnklumphueln odythwipcakahndihkhakhxngestwang v displaystyle v emptyset ethakbsunyekmthiimmikarykxrrthpraoychnihknid caimsmmtiwaxrrthpraoychnsamarthykihknidinlksnahnungtxhnung odykarniyamekmpraephthnicarabuestkhxngkaraebngxrrthpraoychnthiepnipidkhxngaetlaklumphueln S N displaystyle S subseteq N epn V S R S displaystyle V S subset mathbb R S 13 aenwkhidphlechly aekikhaenwkhidphlechly solution concept hmaythungfngkchnhruxwithikarthirabuphllphthcakekmaetlaekm odyniyamkhxngaenwkhidphlechlyaetlachnidcaepniptamenguxnikhbangprakar 8 ekmaebbimrwmmux aekikh smdulaebbaench aekikh dubthkhwamhlkthi smdulaebbaench aenwkhidsmdulaebbaench Nash equilibrium eriyktamchuxkhxngcxhn aench epnaenwkhidphlechlysakhykhxngthvsdiekmaebbimrwmmux hlksakhykhxngaenwkhidnikhux phuelnaetlafayeluxkthangeluxkthidisudsahrbtnexng emuxphicarnathungthangeluxkkhxngphuelnxunincudsmdulnn 10 11 phuelnaetlafaycungimsamarthidpraoychnmakkhundwykarepliynthangeluxkkhxngtwexngaetephiyngfayediywidincudsmdulcakniyamkhxngekmrupaebbklyuththkhangtn hakkahndih s i displaystyle s i hmaythungophriflklyuththkhxngphuelnthukkhnykewnphueln i displaystyle i ophriflklyuthth s displaystyle s samarthekhiynidinxikrupaebbhnungepn s i s i displaystyle s i s i ophriflklyuthth s s 1 s 2 s n displaystyle s s 1 s 2 dots s n thuxwaepncudsmdulaebbaench thaklyuthth s i displaystyle s i thiphueln i displaystyle i eluxk epnklyuthththiihxrrthpraoychnsungsudaekphueln i displaystyle i emuxphuelnkhnxun eluxkelnklyuthththirabuin s displaystyle s klawxikthanghnungkhux phuelnaetlakhninekmimsamarththaihxrrthpraoychnkhxngtwexngsungkhundwykareluxkklyuththxunthiimich s i displaystyle s i trabidthiphuelnkhnxunthukkhneluxkklyuththkhxngtwexngtamthikahndinophriflklyuthth s displaystyle s enguxnikhniekhiyndwysylksnthangkhnitsastridwa 10 11 5 96 i N s i S i u i s u i s i s i displaystyle forall i in N forall s i in S i u i s geq u i s i s i ekmbangekmxacimmicudsmdulaebbaenchinklyuththaeth phlngansakhykhxngaenchkhuxkarphisucnwa ekmthukekmcamicudsmdullksnaniinklyuththaebbphsmxyangnxyhnungcudesmx aenchphisucnthvsdibthniodykarichthvsdibthcudtrung 10 29 aenwthangkarphisucndwythvsdibthcudtrungnisamarthphisucnthvsdibththiminythwipkwathvsdibthkhxngaenchwa hakwaekmmiestklyuththepnestyxykhxngpriphumiaebbyukhlidthikrachb khxnewks aelaimepnestwang aelafngkchnxrrthpraoychnkhxngphuelnaetlakhnepnfngkchntxenuxnginestophriflklyuthth aelakungewatxklyuththkhxngtwexng ekmnnkcamicudsmdulaebbaenchxyangnxyhnungcud klawidwa thvsdibthkhxngaenchepnkrniechphaakhxngthvsdibththwipni 10 34 smdulaebbsmburnthukekmyxy aekikh ekmnimicudsmdulaebbaenchkhux A d aela B c aet A d imichcudsmdulthismburninekmyxy smdulaebbaenchepnaenwkhidkhatxbthiniyamcakekminrupaebbklyuthth sungsamarthnamaichkbekmthimikartdsinicepnladbkxnhlngidenuxngcaksamarthekhiynekmxxkipinrupaebbklyuththidodyepriybesmuxnwaphuelnaetlafayeluxkklyuththkhxngtnexngthngekmkxnthicaerimelnekmcring aetsmdulkhxngaenchinekmthimiladbkxnhlngxacmilksnathimxngidwaepnkartdsinicthiimsmehtusmphl enuxngcakphuelnsamartheluxkklyuthththieriykwa khakhuthiimnaechuxthux non credible threat sungmilksnaehmuxnkbkarthiphuelnkhuiwlwnghnawacaeluxkthangthithaihtnexngesiypraoychn ephuxkddnphuelnfayxunthitdsinickxnhnaiheluxkthangeluxkxunaethnsmdulaebbsmburnthukekmyxy subgame perfect equilibrium epnaenwkhidkhatxbthikahndwakartdsinickhxngphuelncatxngepncudsmdulaebbaenchinthukekmyxy subgame thierimcakcudyxdid inekm cudsmdulaebbsmburnthukekmyxysamarthhaiddwywithikarnirnyyxnklb backward induction sunghmaythungkarphicarnatdthangeluxkthiimsmehtusmphlcaksinsudkhxngekmyxniphacuderimtnkhxngekm ekmaebbrwmmux aekikh aenwthangkarwiekhraahekmaebbrwmmux mkprakxbdwykareluxkwithikarcbklumkhxngphuelnhruxaebngphlpraoychn thiepniptamenguxnikh scphcn bangprakarthikahnd echn prasiththiphaph khwamsmmatr khwamethaethiym khwamesthiyr epntn 13 aenwkhidphlechlykhxngekmaebbrwmmux xacmilksnaepnest echn khxr estesthiyr hruxmilksnaepncudediyw echn khaaechpliy niwkhlioxls epntn khxr aekikh khxr core epnestkhxngkaraebngxrrthpraoychnthiimmiklumphuelnid thisamarthidpraoychnmakkhundwykaraeykiptngklumkhxngtnexngid inekmaebbthisamarthykxrrthpraoychnihknidthimiphueln n fay khxrhmaythungestkhxngewketxrkaraebngphlpraoychn x 1 x 2 x n displaystyle x 1 x 2 dots x n thi i S x i v S displaystyle sum i in S x i geq v S sahrbthukklumphueln S displaystyle S thiepnsbestkhxngphuelnthnghmd 14 khaaechpliy aekikh aenwkhidkhaaechpliy Shapley value epnaenwkhidkhatxbthikahndkaraebngxrrthpraoychnaebbecaacnghnungrupaebbihkbekmaebbrwmmuxaetlaekm aenwkhidnieriyktamchuxkhxnglxyd aechpliy phuthiesnxaenwkhidniinpi 1953 khaaechpliyepnkaraebngxrrthpraoychnrupaebbediywthiepniptamenguxnikhsiprakarni prasiththiphaphaebbpaerot phlrwmkhxngkhakhxngphuelnthukfay catxngethakbkhaxrrthpraoychn v N displaystyle v N smmatr hakphuelnsxngfaymilksnaehmuxnknthukprakar nnkhux hakaethnthiphuelnfayhnungdwyphuelnxikfayhnunginklumphuelnid aelw mulkhakhxngklumphuelnnncaimepliynaeplng phuelnsxngfaycatxngidrbkhaethakn phuelnsuny hakwamiphuelnthiimthaihmulkhakhxngklumphuelnid epliynaeplng khathiphuelnnnidrbcaethakbsuny smbtikarbwk hakwanaekmsxngekmmabwkkn khaaechpliykhxngekmnncaethakbphlbwkkhxngkhaaechpliykhxngaetlaekmkhaaechpliysamarthniyamidinlksnatxipniS h i N v S N i S n S 1 n v S i v S displaystyle Sh i N v sum S subseteq N backslash i frac S times n S 1 n v S cup i v S prawti aekikhkxnpi 1928 aekikh inkarsuksathimilksnathangthvsdiekmkxnpi 1950 mihwicsakhykhuxaenwkhidaebbminiaemks nnkhux phuelnaetlafayepriybethiybphllphththiaeythisudthiepnipidkhxngthangeluxkaetlathangkhxngtwexng aelweluxkthangeluxkkarntiphllphththidithisud nnkhux phllphththiaeythisudkhxngthangeluxknn dikwakwaphllphththiaeythisudkhxngthangeluxkxun karwiekhraahekminlksnakhxngminiaemksmihlkthanyxnipthungpi 1713 thikarwiekhraahekmiph elx aexr frngess le Her khxngkhxngecms wxldekrf idrbkarekhiynthungincdhmaycakpiaeyr ermng edx mngmxrthungniokhelas aebrnulli 15 inpi 1913 aexnsth aesremol nkkhnitsastrchaweyxrmn tiphimphbthkhwam wadwykarprayuktthvsdiestindanthvsdihmakruk eyxrmn Uber eine Anwendung der Mengenlehre auf die Theorie des Schachspiels sungphisucnwa phllphthaebbminiaemkskhxngekmhmakruksaklmiphlaephchnaephiynghnungaebb aetimmikarphisucnwa phlminiaemkskhxngekmmilksnaepnfayidchnahruxesmxkn ekmthiphllphthaebbminiaemksmiphlaephchnaaebbediywnieriykwaepnekmthikahndaelwodyaeth strictly determined thvsdibthkhxngaesremolichidkbkbekmaebbkhyaythimiphuelnsxngkhn mithangeluxkthicakd miphlaephchnaaelaphuelnmisarsnethssmburn immikaredinphrxmkn aelasarsnethsthukxyangepidephyihphuelnthukfaythrab echn hmakhxs hmaklxm ehks epntn 8 exmil bxaerl nkkhnitsastrchawfrngess tiphimphbthkhwamchbbinpi 1921 1924 aela 1927 odyepnkarwiekhraahklyuththphsmaelaphlechlyaebbminiaemksthangkhnitsastrxyangepnrabbkhrngaerk aetbxaerlphisucnechphaainkrnixyangngay aelasnnisthanwaphlechlyaebbminiaemksniimidmixyuepnkarthwip aetkhxsnnisthan fxn nxymnn idphisucninphayhlngwaimepncringaenwkhidsmdulaebbaenchkmikarichinkarwiekhraahthvsdiesrsthsastrmakxnhnaechnkn inpi 1838 xxngtwn oxkusaetng kuron idtiphimphhnngsux nganwicywadwyhlkkhnitsastrkhxngthvsdithrphy frngess Recherches sur les principes mathematiques de la theorie de la richesses odymienuxhabthhnungthimithvsdiwiekhraahtladphukkhadodyphukhaynxyray aebbcalxngthangkhnitsastrkhxngkuronichkarwiekhraahthimilksnaepnsmdulaebbaenchrupaebbhnung nbwaepnnganekhiynchinaerkthimikarichaenwkhidsmdulaebbaench aetkuronimidelngehnwaaenwkhidkarwiekhraahkhxngekhasamarthminythwipthiichkbsthankarnechingklyuththid fxn nxymnnaelamxrekinsaetrn aekikh cxhn fxn nxymnn inpi 1928 cxhn fxn nxymnntiphimphbthkhwam wadwythvsdikhxngekmnnthnakar 16 eyxrmn Zur Theorie der Gesellschsftsspiele bthkhwamkhxngfxn nxymnnnaesnxthvsdikhxngekmthimilksnathwipkwangankxnhna odytngkhathamwa phueln n khn S1 S2 Sn elnekm G phueln Sm khnidkhnhnungcatxngelnxyangircungcaidphllphththidithisud inbthkhwamni fxn nxymnnidkahndekmrupaebbkhyay aelaniyam klyuthth wahmaythungaephnkarelnthirabukartdsinickhxngphuelnthicudtang inekm odykhunkbsarsnethsthiphuelnmiincudnn sungepnlksnaediywkbaenwkhidwithikarelnkhxngbxaerl karniyamklyuththinlksnanithaihfxn nxymnnsamarthldrupekmaebbkhyayihehluxephiyngkareluxkklyuththkhxngphuelnaetlafayodyxisracakknkxnerimekmethann 17 fxn nxymnnphisucnwa inekmthimiphuelnsxngfaythiphlrwmepnsunyaelaaetlafaymithangeluxkcanwncakd hakwaphuelnsamarthichklyuththphsmid ekmnicamicudminiaemkshnungcudesmx 8 enuxhakarphisucnthvsdibthkhxngfxn nxymnnmilksnathiekiywkhxngkbthvsdibthcudtrungkhxngebrawexxr aemwafxn nxymnnimidekhiynkarphisucninlksnakhxngcudtrunginbthkhwam 18 fxn nxymnnyktwxyangekmnnthnakarinbribthniwaxachmaythungekmhlaypraephth echn ruelttaelahmakruksakl aetkklawthungdwy khwamsmphnthinlksnakhxngekmnisamarthxthibaysthankarnxun iddwy odyidekhiyninechingxrrthwakhathamnimilksnaehmuxnkhathaminwichaesrsthsastr 19 62xxskhar mxrekinsaetrn epnnkesrsthsastrthiinkhnannsnicekiywkbptismphnthrahwangkartdsinickhxngbukhkhlhlayfay inhnngsuxeruxngkarphyakrnthangesrsthkicthitiphimphinpi 1928 mxrekinsaetrnidyktwxyangkartxkrknrahwangtwlakhrechxrlxk ohmskbmxrixarti thiohmsphicarnahlaychnwamxrixartikhidwaekhacathaxyangir 20 mxrekinsaetrn mxrekinsaetrnidrbkhaaenanacaknkkhnitsastrexduxard echkhrahwangnaesnxbthkhwamthingansmmnainkrungewiynnainpi 1935 wahwkhxngankhxngmxrekinsaetrnmienuxhaekiywkhxngkbnganthvsdieruxngekmkhxngfxn nxymnn 21 hlngcakkarphnwkxxsetriyekhakbnasieyxrmniinpi 1938 mxrekinsaetrnyaycakewiynnaipyngmhawithyalyphrinstninshrthxemrika thaihekhaidphbaelamioxkasidrwmngankbfxn nxymnn cnmiphlnganepnhnngsux thvsdiwadwyekmaelaphvtikrrmthangesrsthkic 11 Theory of games and economic behavior thitiphimphkhrngaerkinpi 1944 20 21 thswrrs 1950 aekikh cxhn aench hlngcakthihnngsuxkhxngfxn nxymnnaelamxrekinsaetrnidrbkartiphimph thswrrs 1950 epnchwngthimiphlngandanthvsdiekmthisakhyhlayxyang odymisthabnsakhythiepnsunyklangsxngaehngkhuxmhawithyalyphrinstn aelaaernd khxrepxerchn sthabnwicyexkchnthitngkhunihmthimungennkarthawicydankhwammnkhngihkbrthbalshrthinchwngpi 1950 thung 1953 cxhn aench idtiphimphbthkhwamsakhysibthkhwamsungmibthbathsakhyxyangmaktxsakhathvsdiekm cakniyamekmrupaebbthwipkhxngfxn nxymnnaelamxrekinsaetrn aenchidniyamaenwkhidsmdulsahrbekminrupaebbthwipthieriykinphayhlngwaepnsmdulaebbaench aelaphisucnwaekmrupaebbthwipthimiphuelnaelaklyuththcakdthukekmthiphuelnsamarthichklyuththphsmcamicudsmdulxyangnxyhnungcud phlngannitiphimphkhrngaerkinbthkhwamsnchux cudsmdulinekmthimiphueln n fay 22 Equilibrium points in n person games inpi 1950 aenchekhiynthungaenwkhidsmdulniinwithyaphnthpriyyaexk 17 aelatiphimphenuxhachbbsmburnyingkhuninbthkhwampi 1951 chux ekmaebbimrwmmux 6 Non cooperative games cakedimthienuxhainhnngsuxkhxngfxn nxymnnaelamxrekinsaetrnimidaeykrahwangkarthiphuelnaetlafayeluxkklyuththxyangepnxisracakknaelakarrwmmuxkn aenchepnkhnaerkthicaaenkthvsdiekmaebbrwmmuxaelaaebbimrwmmux odyaenwkhidsmdulaebbaenchepnaenwkhidaebbimrwmmux aenchyngidtiphimphbthkhwaminlksnakhxngthvsdiekmaebbrwmmux odyinbthkhwampi 1950 chux pyhakartxrxng 23 The bargaining problem aenchidesnxphllphthkhxngekmkartxrxngrahwangphuelnsxngfayodyichscphcnsiprakar bthkhwamnikhxngaenchepnnganchinaerkinsakhathvsdiekmthiimichsmmtiwaxrrthpraoychnsamarthykihknidrahwangphueln bthkhwamnimithimacakkhxekhiynkhxngaenchtngaetsmyeriynwichaesrsthsastrrahwangpraethsinradbpriyyatri 24 inpi 1953 aenchtiphimphbthkhwam ekmaebbrwmmuxthimiphuelnsxngfay 25 Two person cooperative games phlngankhxngaenchdanthvsdiekmthaihaenchidrbrangwloneblsakhaesrsthsastrinpi 1994xlebirt thkekhxr sungepnthipruksapriyyaexkkhxngcxhn aench lxyd aechpliy aelaedwid ekl aelahaorld khuhn nkkhnitsastrthiphrinstn idepnbrrnathikartiphimphchudhnngsuxrwmelmphlnganwicyindanthvsdiekm odytiphimphelmaerkin 1950 inhnngsuxelmthisxngthitiphimphinpi 1953 lxyd aechpliy nksuksapriyyaexkthiphrinstn idtiphimphbthkhwamthinaesnxaenwkhidkhatxbthieriykinphayhlngwakhaaechpliy nxkcakni aechpliy rwmkbdxnld cillis idesnxaenwkhidkhxr thswrrs 1960 epntnma aekikh inpi 1965 irnharth eslethin idtiphimphbthkhwamthiwiekhraahaebbcalxngkarphukkhadodyphukhaynxyraydwythvsdiekm inbthkhwamni eslethinidesnxaenwkhidsmdulaebbsmburnthukekmyxy sungepnkarniyamsmdulaebbaenchthilaexiydkhunephuxaeyksmdulaebbaenchthimilksnaimsmehtusmphlinekmthimiladbkxnhlngxxkip karniyamsmdulthilaexiydyingkhunepnhwkhxwicysakhyinchwngthswrrs 1960 aela 1970 odyinpi 1975 eslethinidesnxaenwkhidsmdulaebbsmburn thiniyamcudsmdulthismmtiwaphuelnxacca muxln eluxkklyuthththiphidcakklyuththincudsmdulidphthnakarsakhyinthvsdiekmaebbimrwmmuxthiekidkhuninthswrrs 1960 xikkhxhnungkhuxkarcalxngsthankarnthiphuelnmisarsnethsimethakn cxhn harchayi idtiphimphbthkhwamthiesnxaenwkhidekmaebbebys Bayesian game thitxnerimekmphuelnaetlafaymisarsnethsswntwthithrabaetephiyngfayediyw eriykwaepn praephth khxngphueln aelarabuwaphuelnfayxunechuxwa praephthkhxngphuelnnimikaraeckaecngkhwamnacaepnaetlaaebbxyangirkhwamsakhykhxngthvsdiekminsakhaesrsthsastr thaihnkwicysakhathvsdiekmidrbrangwlephuxralukthungxlefrd onebl sakhaesrsthsastrhlaykhn odyinpi 1994 cxhn aench irnharth eslethin aelacxhn harchayi idrbrangwlinpi 1994 txma rxebirt xxmnn aelathxms echlling idrbrangwlrwmkninpi 2005 odyechllingsuksathangdanaebbcalxngphlwt sungepntwxyangaerk khxngthvsdiekmechingwiwthnakar xxmnnennsuksaekiywkbdulyphaph idrierimdulyphaphaebbhyab dulyphaphshsmphnth aelaphthnakarwiekhraahthiepnraebiybmakkhunsahrbsmmtithanthiekiywkbkhwamrurwmaelaphlthitamma elxxnid khurwich exrik mskin aelaorecxr imexxrsn idrbrangwloneblsakhaesrsthsastrinpi 2007 cak karwangrakthanthvsdikarxxkaebbklik aelaxlwin rxth aelalxyd aechpliy idrbrangwlinpi 2012 sahrbthvsdikarcdsrrxyangkhngthiaelakarichkarxxkaebbtlad twxyangekmthimichuxesiyng aekikhekmkhwamlabakickhxngnkoths aekikh ekmkhwamlabakickhxngnkoths Prisoner s dilemma epnekmthimiphueln 2 khnaelathangeluxk 2 thang aenwkhidkhxngekmniidsrangkhunody emxrril flud aela emlwin edrchechxr in ph s 2493 odymilksnaepnekmthiphuelnthngsxngfayphyayameluxkthangeluxkthiidphltxbaethnmakthisud aetklbthaihphltxbaethnrwmthiidtalng misthankarndngni khnraysxngkhnkhux A aela B thuktarwccbaelathukaeykipsxbpakkhathilakhn tarwcimsamarthdaeninkhdikbkhnraythngsxngidthnthiephraaimmiphyan khnrayaetlakhnmithangeluxksxngthangkhux rbsarphaph aelaimrbsarphaph thakhnraykhnhnungrbsarphaphaetxikkhnimrb tarwccaknkhnthirbsarphaphiwepnphyanaelaplxytwip aelacasngfxngkhnthiimrbsarphaphsungmiothscakhuk 20 pi thathngsxngkhnrbsarphaph caidrbkarldothsehluxcakhukkhnla 10 pi aetthathngsxngkhnimrbsarphaph tarwccasamarthsngfxngidephiyngkhxhaelknxyethannsungmiothscakhuk 1 piekmnisamarthekhiynaesdnginrupaebbtarangiddngni rbsarphaph imrbsarphaphrbsarphaph 10 10 0 20imrbsarphaph 20 0 1 1caehnwaklyuththednkhxngphuelnthngsxngfaykhuxkarrbsarphaph ephraaimwaphuelnxikfaycatdsinicxyangir kcaidphltxbaethnthidikwaesmx aetemuxthngsxngfayeluxkthangeluxkni klbimihphltxbaethnthidithisud thungaemphuelncathrabwaphltxbaethnthidithisudcaekidkhunemuxthngsxngfayimrbsarphaph aetthngkhuxacimklathaephraaimiwicxikfaywacarbsarphaphhruxim cungthaihthngsxngfaytxngidrbphltxbaethnthitalng aelacud 10 10 kepncudsmdulkhxngaenchinekmni ephraaphuelnthngsxngfayimsamarthepliynipeluxkthangeluxkxunthiidphltxbaethndikwani ekmiktun aekikh ekmiktun Chicken epnekmthimiphueln 2 khnaelathangeluxk 2 thang misthankarndngni phuelnsxngkhnkhbrthdwykhwamerwsungekhahakn faythihkhlbrthkxncaepnphuaeph aetthaphuelnthngsxngfayimhkhlbrth rthcachnknaelacathaihphuelnthngsxngfayekidkhwamesiyhayxyangmakekmnisamarthekhiynaesdnginrupaebbtarangiddngni hlb imhlbhlb 0 0 1 1imhlb 1 1 10 10caehnwaekminrupaebbniimmiklyuththedn aelamicudsmdulkhxngaenchsxngcudkhux 1 1 aela 1 1 aetwithithangcitwithyasahrbphuelnekmnikhux phyayamsngsyyanihphuelnfaytrngkhamehnwa tncaimhkhlbxyangaennxn sungcathaihphuelnfaytrngkhamtxngyxmhkhlbipexng michanncaesiyphltxbaethnxyangmak ekmaehngkhwamrwmmux aekikh ekmaehngkhwamrwmmux Stag hunt epnekmthimiphueln 2 khnaelathangeluxk 2 thang sungepnthangeluxkrahwangthangthiplxdphykbkarihkhwamrwmmuxkbxikfay misthankarndngni phuelnsxngkhntxngkareluxklastwchnidhnungrahwangkwangkbkratay sungkwangmirakhadikwakrataymak aetklayakkwaechnkn caepntxngichsxngkhnrwmmuxkncungcalaid inkhnathikrataymirakhataaetlaidngay samarthlaidodyichephiyngkhnediywekmnisamarthekhiynaesdnginrupaebbtarangiddngni lakwang lakrataylakwang 10 10 0 3lakratay 3 0 3 3caehnwaekminrupaebbniimmiklyuththedn aelamicudsmdulkhxngaenchsxngcudkhux 10 10 aela 3 3 sungkarthiphuelnthngsxngcaidphltxbaethnsungsudnn catxngxasykhwamrwmmuxrwmickn khuxeluxklakwangthngkhu sungphuelncatxngmikhwamiwwangicphuelnxikfaydwykarprayuktich aekikhrthsastr aekikh mikarnathvsdiekmmaprayuktichindanrthsastr echn karhaesiyngeluxktng inpi ph s 2500 aexnothni dawns idtiphimphphlnganeruxng An Economic Theory of Democracy sungmienuxhaekiywkbkareluxktaaehnnginkarhaesiyngeluxktngihidphldithisud esrsthsastr aekikh inthangesrsthsastr idmikarnathvsdiekmmachwyinkartdsinicinhlay danmaepnewlananaelw echn kartxrxngphlpraoychn karpramul karaekhngkhnkhxngphuphlit karrwmklumthangesrsthkic odymiaenwkhidsakhythiichkhuxeruxngcudsmdulkhxngaench xyangirktam inekmkaraekhngkhnthangthurkic xacmikarprbepliynklyuththidtlxdewlaephuxihidrbphltxbaethnthisungkhun aelaphllphththiidkcaekhasucudsmdulkhxngaench sungepncudthithukfayimsamrthepliynklyuththephuxihidphltxbaethnsungkwanixikaelw chiwwithya aekikh mikarichthvsdiekmephuxxthibaythungpraktkarntang thangchiwwithya echn inpi ph s 2473 ornld fichechxr idichthvsdiekminkarxthibaythungxtraswnkhxngstwephsphutxephsemiythiepn 1 1 enuxngcakepnxtraswnthisamarthsubphnthuidcanwnmakthisud nxkcakni nkchiwwithyayngichthvsdiekmephuxchwyinkarsuksaphvtikrrmtang khxngstw echn karichekmiktuninkarxthibaythungkartxsukhxngstw withyakarkhxmphiwetxr aekikh mikarphthnaindanwithyakarkhxmphiwetxraelakarekhiynopraekrmephuxhakhntxnwithithidithisudinkarelnekminsthankarnhnungepnrayaewlanan sngkhmwithya aekikh idmikarnathvsdiekmmaprayuktichindansngkhmwithya echn willard aewn xxrman ikhwn aela edwid luxis idphthnakarsuksadanpraephniniym aelamikarwiekhraahekiywkbekmtang thitxngeluxkrahwangsilthrrmkbphlpraoychnkhxngtnexng echn ekmkhwamlabakickhxngnkothsinwthnthrrmrwmsmy aekikhchiwitkhxngnkthvsdiekmaelankkhnitsastr cxhn aench idthuknamasrangepnhnngxingchiwprawtiinpi 2001 inchux A Beautiful Mind odyxingcakhnngsuxpi 1998 odysilewiyr nasar naaesdngodyrsesll okhrwthielnepnaench inpi 1959 nwniyaywithyasastrsngkhram Starship Troopers ody orebirt ex ihniln idxangthung thvsdiekm aela thvsdiaehngekm inphaphyntreruxngediywkninpi 1997 twlakhrthichux kharl ecnkins idxangthungngandankarkhawkrxngthangkarthharniwaepnkarmxbhmayngandan ekmaelathvsdi xangxing aekikh 1 0 1 1 1 2 Myerson Roger B 1991 Game theory Analysis of conflict Cambridge Massachusetts Harvard University Press ISBN 0 674 34116 3 2 0 2 1 2 2 Osborne Martin J Rubinstein Ariel 1994 A course in game theory Cambridge Massachusetts MIT Press ISBN 0 262 65040 1 Falster Daniel S Westoby Mark 2003 Plant height and evolutionary games Trends in Ecology amp Evolution 18 7 337 343 doi 10 1016 S0169 5347 03 00061 2 Brams Steven J 1980 Biblical games A strategic analysis of stories in the Old Testament MIT Press ISBN 9780262021449 5 0 5 1 5 2 5 3 5 4 5 5 5 6 Maschler Michael Solan Eilon Zamir Shmuel 2013 Game theory Translated by Hellman Ziv Cambridge Cambridge University Press ISBN 978 1 107 00548 8 6 0 6 1 Nash John 1951 Non cooperative games Annals of Mathematics 54 2 286 295 7 0 7 1 Harsanyi John C Selten Reinhard 1988 A general theory of equilibrium selection in games Cambridge Massachusetts MIT Press ISBN 0 262 08173 3 8 0 8 1 8 2 8 3 Aumann R J 2008 Game theory New Palgrave dictionary of economics London Palgrave Macmillan doi 10 1057 978 1 349 95121 5 942 2 ISBN 978 1 349 95121 5 van Damme Eric 2015 Game theory Noncooperative games in Wright James D b k International encyclopedia of the social amp behavioral sciences 9 2 ed Oxford Elsevier pp 582 591 doi 10 1016 B978 0 08 097086 8 71048 8 ISBN 978 0 08 097087 5 10 0 10 1 10 2 10 3 10 4 10 5 10 6 10 7 Fudenberg Drew Tirole Jean 1991 Game theory Cambridge Massachusetts MIT Press ISBN 978 0 262 06141 4 11 0 11 1 von Neumann John Morgenstern Oskar 2007 1944 Theory of games and economic behavior 60th anniversary ed Princeton University Press ISBN 978 0 691 13061 3 Hart Sergiu 1992 Games in extensive and strategic forms in Aumann Robert J Hart Sergiu b k Handbook of game theory with economic applications 1 Elsevier pp 19 40 doi 10 1016 S1574 0005 05 80005 0 13 0 13 1 13 2 Hokari Toru Thomson William 2015 Cooperative game theory in Wright James D b k International encyclopedia of the social amp behavioral sciences 9 2 ed Oxford Elsevier pp 867 880 doi 10 1016 B978 0 08 097086 8 71073 7 ISBN 978 0 08 097087 5 Kannai Yakar 1992 The core and balancedness in Aumann Robert J Hart Sergiu b k Handbook of game theory with economic applications 1 Elsevier pp 356 395 doi 10 1016 S1574 0005 05 80015 3 Dimand Robert W Dimand Mary Ann 1992 The early history of the theory of strategic games from Waldegrave to Borel in Weintraub E Roy b k Toward a history of game theory Duke University Press pp 15 27 doi 10 1215 00182702 24 Supplement 15 ISBN 978 0 8223 1253 6 von Neumann J 1928 Zur Theorie der Gesellschaftsspiele Mathematische Annalen 100 1 295 320 doi 10 1007 BF01448847 17 0 17 1 Myerson Roger B 1999 Nash equilibrium and the history of economic theory Journal of Economic Literature 37 3 1067 1082 doi 10 1257 jel 37 3 1067 Kjeldsen Tinne Hoff 2001 John von Neumann s conception of the minimax theorem A journey through different mathematical contexts Archive for History of Exact Sciences 56 1 39 68 doi 10 1007 s004070100041 Leonard Robert 2010 Von Neumann Morgenstern and the creation of game theory From chess to social science 1900 1960 New York Cambridge University Press ISBN 978 0 521 56266 9 20 0 20 1 Leonard Robert J 1995 From parlor games to social science von Neumann Morgenstern and the creation of game theory 1928 1944 Journal of Economic Literature 33 2 730 761 21 0 21 1 Morgenstern Oskar 1976 The collaboration between Oskar Morgenstern and John von Neumann on the theory of games Journal of Economic Literature 14 3 805 816 Nash John F 1950 Equilibrium points in n person games Proceedings of the National Academy of Sciences 36 1 48 49 doi 10 1073 pnas 36 1 48 Nash John F 1950 The bargaining problem Econometrica 18 2 155 162 doi 10 2307 1907266 Leonard Robert J 1994 Reading Cournot reading Nash The creation and stabilisation of the Nash equilibrium Economic Journal 104 424 492 511 doi 10 2307 2234627 Nash John F 1953 Two person cooperative games Econometrica 21 1 128 140 doi 10 2307 1906951 aehlngkhxmulxun aekikh wikitaraphasaxngkvs mikhumux tara hruxwithikarekiywkb thvsdiekm xngkvs Game Theory cak Stanford Encyclopedia of Philosophy xngkvs raykarwichaeriynthvsdiekm thisamarthdawnohldenuxhaidfricak exmixthi oxephnkhxrsaewr xngkvs Giacomo Bonanno 2018 Game Theory 2 ed tarathvsdiekmebuxngtnthiephyaephrdwysyyaxnuyataebbkhriexthifkhxmmxnsekhathungcak https th wikipedia org w index php title thvsdiekm amp oldid 9256125, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม