fbpx
วิกิพีเดีย

การครุ่นคิด (จิตวิทยา)

การครุ่นคิด (อังกฤษ: Rumination) เป็นการใส่ใจอย่างหมกมุ่นในอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับความทุกข์/ปัญหาของตน และในเหตุและผลที่อาจเป็นไปได้ของความทุกข์ แทนที่จะใส่ใจในวิธีแก้ปัญหา ทั้งความครุ่นคิดและความกลุ้มใจ (worry) สัมพันธ์กับความวิตกกังวล (anxiety) และอารมณ์เชิงลบอื่น ๆ แต่ว่าก็ยังไม่มีวิธีการเดียวที่ตกลงใช้วัดระดับของมัน

ตามทฤษฎี Response Styles Theory เสนอในปี 1998 (โดย Nolen-Hoeksema) ความครุ่นคิดนิยามว่าเป็น "การใส่ใจอย่างหมกมุ่นในอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับความทุกข์/ปัญหาของตน และในเหตุและผลที่อาจเป็นไปได้ของความทุกข์ แทนที่จะใส่ใจในวิธีแก้ปัญหา" และเพราะว่าทฤษฎีนี้ได้หลักฐานเชิงประสบการณ์สนับสนุน ดังนั้นจึงเป็นแบบจำลองของความครุ่นคิดที่นิยมใช้กันมากที่สุด แต่ว่าก็ยังมีทฤษฎีอื่น ๆ ที่เสนอนิยามอื่น ยกตัวอย่างเช่น ในทฤษฎี Goal Progress Theory ความครุ่นคิดไม่ใช่เป็นปฏิกิริยาต่อสภาวะของพื้นอารมณ์ แต่เป็น "การตอบสนองต่อความล้มเหลวที่จะก้าวหน้าอย่างน่าพอใจไปยังเป้าหมายอย่างหนึ่ง" บทความนี้แสดงแบบจำลองหลายอย่างของความครุ่นคิดและหมายจะแยก "ความครุ่นคิด" จากแนวคิด/โครงสร้างทางจิตวิทยาอื่น ๆ ที่อาจดูคล้ายกันหรือเหลื่อมกัน

ทฤษฎี

Response styles theory

ทฤษฎีสไตล์การตอบสนอง (อังกฤษ: Response styles theory, ตัวย่อ RST) ดั้งเดิมนิยามความครุ่นคิดว่า เป็นการใส่ใจอย่างไม่ได้ตั้งใจ (passive) และอย่างซ้ำ ๆ ในอาการซึมเศร้าของตน และในเหตุและผลที่เป็นไปได้ของอาการเหล่านั้น หลักฐานที่ยืนยันนิยามนี้มาจากผลงานวิจัยที่แสดงว่า การครุ่นคิดมีส่วนทำให้เกิด ดำรงรักษา และทำอาการซึมเศร้าต่าง ๆ ให้แย่ลง และมีส่วนในการสำแดงอาการ (episodes) ของโรคซึมเศร้า ในปี 2008 ผู้ตั้งทฤษฎีได้ขยายนิยามของความครุ่นคิดนอกเหนือไปจากความซึมเศร้า โดยรวมการใส่ใจอาการของความทุกข์ที่ไม่ได้ตั้งใจและเกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยทั่วไป เพราะว่าความครุ่นคิดปรากฏกว่ามีส่วนร่วมกับความผิดปกอื่น ๆ ไม่ใช่เพียงแค่ความซึมเศร้า ทฤษฎี RST ยังยืนยันด้วยว่า การหันไปใส่ใจเรื่องที่ดี (positive distraction) เป็นทางเลือกที่ดีแทนการครุ่นคิด คือใส่ใจในสิ่งเร้าเชิงบวกเรื่องอื่นแทนที่จะใส่ใจในความทุกข์ของตน แต่ว่า ก็มีวรรณกรรมอื่น ๆ ที่แสดงว่า การหันไปใส่ใจเรื่องที่ดี อาจไม่สามารถช่วยเท่ากับที่เคยคิดมาก่อน

Self-regulatory executive function model

แบบจำลอง self-regulatory executive function (S-REF) เกี่ยวกับการทำหน้าที่ผิดปรกติทางอารมณ์ (affective dysfunction) ยืนยันว่า ความครุ่นคิดสามารถอธิบายได้อย่างแม่นยำภายในแบบจำลองของการควบคุมตัวเองแบบหลายระดับ (multilevel model of self-regulation) โดยเฉพาะแล้ว แบบจำลอง S-REF นิยามการครุ่นคิดไว้ว่า "ความคิดซ้ำ ๆ ที่เกิดจากความพยายามเพื่อรับมือความขัดแย้งในตัวเอง (self-discrepancy) โดยมุ่งหมายเพื่อปฏิบัติการต่อข้อมูลเกี่ยวกับตนเองเป็นหลักและไม่ใช่เพื่อการกระทำมีเป้าหมายแบบทันที" หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เมื่อบุคคลกำลังครุ่นคิด เขามุ่งที่จะตอบคำถามอย่างเช่น

  • ฉันรู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์นี้
  • ฉันจะเปลี่ยนความคิดความรู้สึกของฉันเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร
  • ฉันจะป้องกันความคิดความรู้สึกที่ไม่ดีในอนาคตได้อย่างไร

แต่ว่า ในการตอบปัญหาเหล่านี้ คนที่กำลังครุ่นคิดมักจะใส่ใจที่อารมณ์ของตนเอง (คือ ปฏิบัติการต่อข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง) แทนที่จะใส่ใจในวิธีแก้ปัญหา (คือ การกระทำที่มีเป้าหมาย) ความสำนึกรู้ความคิดของตนเอง (Metacognition) เป็นส่วนสำคัญของแบบจำลอง S-REF และช่วยอธิบายการเชื่อมต่อกันระหว่างการครุ่นคิดและความซึมเศร้า โดยเฉพาะก็คือ ผู้ที่เชื่อในเชิงบวก (เป็น metacognitive belief) ว่าการครุ่นคิดมีประโยชน์ (เช่น ฉันต้องครุ่นคิดเหตุการณ์ร้ายในอดีตเพื่อที่จะเข้าใจ) จะมีแรงจูงใจในการครุ่นคิดต่อไป และเมื่อเริ่มครุ่นคิดแล้ว ความเชื่อเกี่ยวกับการครุ่นคิดจะเปลี่ยนเป็นเชิงลบ คือว่ามันเป็นทุกข์ (เช่น การครุ่นคิดทำให้ฉันป่วยทางกาย) ควบคุมไม่ได้ (เช่น การครุ่นคิดหมายถึงฉันควบคุมตัวเองไม่ได้) และมีผลลบทางสังคม ความเชื่อ (ที่เป็น metacognitive belief) เชิงลบจะมีส่วนให้เกิดและดำรงความซึมเศร้า

Goal progress theory

ทฤษฎี Goal progress theory (ตัวย่อ GPT) อธิบายการครุ่นคิดว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการถึงเป้าหมาย โดยเฉพาะก็คือ GPT มองการครุ่นคิดว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของ Zeigarnik effect ซึ่งแสดงว่า บุคคลจะจำข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ยังไม่เสร็จได้ดีกว่างานที่เสร็จแล้ว จากมุมมองนี้ GPT นิยามการครุ่นคิดไว้ว่า "ความโน้มเอียงที่จะคิดถึงบ่อย ๆ ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญ และสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ที่ยังไม่ได้" หรือที่ยังไม่ก้าวหน้าอย่างเพียงพอ ทฤษฎี GPT พยากรณ์ว่า บุคคลที่มีข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายที่คิดถึงได้ง่ายมีโอกาสสูงกว่าที่จะครุ่นคิด ซึ่งเป็นการพยากรณ์ที่มีหลักฐานจากงานศึกษาหลายงาน

พยาธิสภาพ

งานวิจัยมากมายเกี่ยวกับผลของการครุ่นคิด หรือความโน้มเอียงที่จะพิจารณาตัวเอง (self-reflect) แสดงว่าการครุ่นคิดเชิงลบจะขัดขวางสมาธิในการแก้ปัญหา และมีผลเป็นการหมกมุ่นอยู่ในความคิดเชิงลบเกี่ยวกับความล้มเหลวในอดีต หลักฐานจากงานศึกษาแสดงว่า ผลลบของการครุ่นคิดมากจากความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) เช่นความเอนเอียงทางความจำหรือการใส่ใจ ซึ่งทำให้บุคคลคิดเลือกเอาแต่สิ่งเร้าเชิงลบ ความโน้มเอียงที่จะครุ่นคิดในเชิงลบดำรงอยู่อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานาน และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคซึมเศร้า ไม่ใช่เพียงแค่คนครุ่นคิดเป็นประจำเท่านั้นที่เกิดความซึมเศร้า งานศึกษาแบบทดลองได้แสดงแล้วว่า บุคคลที่ถูกชักจูงให้ครุ่นคิดประสบกับความรู้สึกซึมเศร้ามากกว่า มีหลักฐานด้วยว่า การครุ่นคิดสัมพันธ์กับความวิตกกังวลทั่วไป ความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ การดื่มเหล้าเพื่อให้เมา (binge drinking) ความผิดปกติในการรับประทาน และพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง

ความครุ่นคิดตอนเแรกเชื่อกันว่า เป็นตัวพยากรณ์ช่วงเวลาของอาการซึมเศร้า กล่าวอีกอย่างก็คือ การครุ่นคิดถึงปัญหา สมมุติว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการซ้อมความจำ (memory rehearsal) ซึ่งเคยเชื่อว่าทำประสบการณ์ซึมเศร้าให้ยาวนานขึ้น แต่หลักฐานปัจจุบันแสดงว่า แม้ว่าการครุ่นคิดจะมีส่วนก่อความซึมเศร้า แต่ไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับช่วงเวลาการเกิดอาการ

รูปแบบและเรื่องที่คิด

การพยากรณ์ว่าอะไรเป็นเรื่องที่บุคคลครุ่นคิด ต่าง ๆ กันไปขึ้นอยู่กับมุมมองของทฤษฎี ทฤษฎีบางอย่างเสนอว่า การครุ่นคิดจะสนใจที่ความรู้สึกเชิงลบ และ/หรือ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนั้น (รวมทั้งทฤษฎี RST, rumination on sadness, Trapnell and Campbell, stress-reactive rumination, post-event processing model) มีทฤษฎีอื่นที่พยากรณ์ว่า เป็นการคิดถึงความไม่ลงรอยกันระหว่างสถานะของตนในปัจจุบันและสถานะที่ต้องการ (goal progress, conceptual evaluative model of rumination) และทฤษฎีอื่น ๆ เสนอว่า ตีมเชิงลบในเรื่องความควบคุมไม่ได้และความเสียหายที่จะมีใน metacognition เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

ความคิดสามัญที่เป็นลักษณะของการครุ่นคิดก็คือการถามความอยู่เป็นสุขของตนเอง และการสนใจในเรื่องเหตุและผลของอาการซึมเศร้าของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น "ทำไมฉันจึงเป็นคนไม่เอาไหนเช่นนี้" "ทำไมฉันจึงอารมณ์ไม่ดีอย่างนี้" หรือว่า "ทำไมฉันไม่รู้สึกอยากจะทำอะไรเลย"

ความแตกต่างทางทฤษฎีอีกอย่างก็คือกาลเวลาของเรื่องที่คิด โดยมีหลายทฤษฎีสมมุติว่า สามารถเกี่ยวข้องทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบัน ส่วนบางทฤษฎีสมมุติว่า เป็นเรื่องในอดีตหรือปัจจุบัน แต่ว่า ก็มีรายงานที่สม่ำเสมอว่า การครุ่นคิดเมื่อเทียบกับความกลุ้มใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอดีต แต่ว่างานศึกษาในปี 2007 พบว่า เวลาจะเปลี่ยนไปในช่วงการครุ่นคิด คือบุคคลจะเริ่มที่เรื่องในอดีตก่อน แล้วเพิ่มความคิดเกี่ยวกับปัจจุบันและอนาคตมากขึ้นต่อมา ดังนั้น การครุ่นคิดอาจจะซับซ้อนกว่าที่เคยคิด และไม่ใช่เป็นเรื่องอดีตล้วน ๆ

มีการเสนอแบบการครุ่นคิดเหล่านี้ คือ

  • State rumination (การครุ่นคิดถึงสภาวะ) ซึ่งเป็นการหมกมุ่นในเรื่องผลและความรู้สึกที่สัมพันธ์กับความล้มเหลวในอดีต การครุ่นคิดเช่นนี้เป็นเรื่องสามัญกว่าในบุคคลที่มองโลกในแง่ร้าย มีบุคลิกภาพแบบ neuroticism และอธิบายเหตุการณ์ต่าง ๆ ในเชิงลบ (negative attributional style)
  • Action rumination (การครุ่นคิดถึงการกระทำ) เป็นกระบวนการคิดที่สนใจในสิ่งที่จะทำ โดยพุ่งความสนใจไปที่การถึงเป้าหมายและการแก้ไขความผิดพลาด
  • Task-irrelevant rumination (การครุ่นคิดถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้อง) ซึ่งคิดถึงเหตุการณ์หรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่ไม่สามารถเข้าถึง เพื่อที่จะเปลี่ยนความสนใจไปจากความล้มเหลว

การวัด

ความครุ่นคิดสามารถวัดได้โดย Ruminative Responses Scale จากชุดคำถาม Response Styles Questionnaire ซึ่งให้ผู้รับการทดสอบแสดงว่า ตนมีความคิดหรือพฤติกรรม 22 อย่างบ่อยแค่ไหนเมื่อรู้สึกเศร้าใจหรือซึมเศร้า

ความแตกต่างระหว่างเพศ

ตาม ศ. จิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยเยลท่านหนึ่ง หญิงมักจะครุ่นคิดเมื่อเศร้า เทียบกับชายที่มักจะหันไปสนใจเรื่องอื่น ความแตกต่างในการตอบสนองเช่นนี้ชี้ว่า ทำไมหญิงจึงมีอัตราความซึมเศร้าสูงกว่าชาย นักวิจัยอื่น ๆ ได้พบหลักฐานยืนยันว่าหญิงมีโอกาสสูงกว่าที่จะครุ่นคิด แม้ว่า หลักฐานที่แสดงว่าชายมักหันไปสนใจเรื่องอื่นจะมีหลักฐานที่ไม่สม่ำเสมอ

การเปิดเผยแบบดี

แม้ว่าการครุ่นคิดโดยทั่วไปจะไม่ดีและสัมพันธ์กับความซึมเศร้า การคิดถึงและกล่าวถึงความรู้สึกตนเองมีประโยชน์ในสถานการณ์บางอย่าง ตาม ศ. ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน การเปิดเผยตนเองที่ดีสามารถลดความเครียดและความครุ่นคิด ถ้าการเปิดเผยนำไปสู่ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับเหตุของปัญหา ดังนั้น ถ้าบุคคลแชร์ความรู้สึกตนเองกับผู้อื่นที่ตนมีความสัมพันธ์ที่ดี นี่อาจจะเป็นความเจริญงอกงาม โดยเปรียบเทียบกัน เมื่อบุคคลครุ่นคิดซ้ำ ๆ ซาก ๆ และหมกหมุ่นอยู่ในปัญหาเดียวกันโดยที่ไม่ก้าวหน้า ก็จะมีโอกาสเกิดความซึมเศร้ามากขึ้น

ความสัมพันธ์กับแนวคิดอื่น ๆ

ความครุ่นคิด (Rumination) คล้ายกันหรือเหลื่อมกันกับแนวคิด/โครงสร้างอื่น ๆ เช่น ความกลุ้มใจ (Worry) และความคิดเชิงลบอัตโนมัติ (negative automatic thought)

ความกลุ้มใจ

ความครุ่นคิดปรากฏว่าสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความกลุ้มใจ (Worry) โดยสามารถนิยามความกลุ้มใจได้ว่า "ลูกโซ่ของความคิดและจินตภาพ ที่เต็มไปด้วยอารมณ์เชิงลบ และค่อนข้างควบคุมไม่ได้ เป็นการพยายามแก้ปัญหาในใจเกี่ยวกับประเด็นที่มีผลไม่แน่นอน แต่มีโอกาสที่จะมีผลลบอย่างน้อยหนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้น" มีการเปรียบเทียบความครุ่นคิดกับความกลุ้มใจ ซึ่งในทฤษฎีบางอย่าง ความครุ่นคิดเป็นรูปแบบหนึ่งของความกลุ่มใจ (เช่น S-REF) นอกจากนั้นแล้ว นักวิจัยหลายคนได้ให้ข้อสังเกตว่า มีความเกิดร่วมกันของโรค (comorbidity) สูงระหว่างโรควิตกกังวล (GAD) และโรคซึมเศร้า (MDD) คือ คนไข้ 60% ที่มีอาการของ GAD สามารถวินิจฉัยว่ามี MDD ด้วย การเกิดร่วมอย่างสำคัญเช่นนี้ทำให้มีวรรณกรรมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำระหว่างความครุ่นคิด ซึ่งบ่อยครั้งศึกษาในเรื่อง MDD กับความกลุ้มใจ ซึ่งบ่อยครั้งศึกษาในเรื่อง GAD

ค่าวัดของความครุ่นคิดและความกลุ้มใจมีสหสัมพันธ์สูง เหนือกว่าค่าวัดอาการความวิตกกังวลและความซึมเศร้า (r=.66; Beck & Perkins, 2001) ทั้งความครุ่นคิดและความกลุ้มใจเหลื่อมกันในความสัมพันธ์กับโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า แม้ว่าจะมีงานศึกษาที่แสดงความจำเพาะ (specificity) ของความครุ่นคิดกับโรคซึมเศร้าและความกลุ้มใจกับโรควิตกกังวล นอกจากนั้นแล้ว มีการพบว่า ความครุ่นคิดสามารถพยากรณ์ความเปลี่ยนแปลงของอาการซึมเศร้าและของอาการวิตกกังวล และคนไข้ MDD รายงานระดับความกลุ้มใจคล้ายกับคนไข้ GAD ดังนั้นโดยองค์รวมแล้ว งานวิจัยเหล่านี้แสดงว่า ความครุ่นคิดและความกลุ้มใจไม่ใช่แค่สัมพันธ์กันเท่านั้น เพราะแต่ละอย่างยังสัมพันธ์กับอาการของทั้งความซึมเศร้าและความวิตกกังวลอีกด้วย

มีงานศึกษาที่แสดงว่า เรื่องที่กลุ้มใจกับเรื่องที่ครุ่นคิดแตกต่างกัน ความกลุ้มใจบ่อยครั้งเป็นเรื่องการแก้ปัญหาและเกี่ยวกับอนาคต ในขณะที่ความครุ่นคิดมักจะเป็นเรื่องความสูญเสียและเกี่ยวกับอดีต ความครุ่นคิด เมื่อเทียบกับความกลุ้มใจ สัมพันธ์กับความพยายามและความมั่นใจที่น้อยกว่าในการแก้ปัญหา มีการเสนอว่า ความครุ่นคิดและความกลุ้มใจมีหน้าที่ต่างกัน คือ ความครุ่นคิดสัมพันธ์กับความเชื่อว่าตัวเองมีส่วนในสถานการณ์มากกว่าและจำเป็นต้องเข้าใจมากกว่า เทียบกับความกลุ้มใจที่สัมพันธ์กับความต้องการหลีกเลี่ยงความคิดที่ทำให้กลุ้มใจ (Watkins 2004b) ยังมีสมมติฐานอีกด้วยว่า ความกลุ้มใจเป็นเรื่องจินตนาการมากกว่าความครุ่นคิด แต่ว่าหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ลงรอยกัน ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว งานศึกษาเหล่านี้แสดงว่า ความกลุ้มใจและความครุ่นคิดเป็นแนวคิดที่สัมพันธ์กันและทั้งสองต่างก็นำไปสู่ความซึมเศร้าและความวิตกกังวล เป็นไปได้ว่า ความครุ่นคิดและความกลุ้มใจเป็นแบบการคิดซ้ำ ๆ ที่สัมพันธ์กัน และอาจจะชัดเจนกว่าถ้าจัดเป็นแบบย่อยของโครงสร้างที่ครอบคลุมแนวคิดทั้งสอง เช่น เป็นกลยุทธ์รับมือปัญหาแบบหลีกเลี่ยง (avoidant coping strategy)

ความคิดเชิงลบอัตโนมัติ

มีการเปรียบเทียบความครุ่นคิดกับความคิดเชิงลบอัตโนมัติ (negative automatic thoughts) ที่นิยามว่าเป็นความคิดซ้ำ ๆ ที่มีตีมเกี่ยวกับความสูญเสียหรือความล้มเหลวส่วนบุคคล ตาม ศ. จิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยเยล (2004) เธอยืนยันว่า ความครุ่นคิด (ดังที่นิยามใน RST) ต่างจากความคิดเชิงลบอัตโนมัติ เพราะว่า ความคิดเชิงลบอัตโนมัติเป็นการประเมินแบบรวบรัด ถึงเรื่องความสูญเสียและความล้มเหลวในโรคซึมเศร้า ในขณะที่ความครุ่นคิดเป็นลูกโซ่ของความคิดที่ซ้ำ ๆ วนเวียน เป็นเรื่องลบ เกี่ยวกับตนเอง ที่อาจเกิดขึ้นโดยตอบสนองต่อความคิดเชิงลบอัตโนมัติในเบื้องต้น เธอยังเสนอด้วยว่า ความครุ่นคิดอาจมีตีมเชิงลบที่พบในความคิดเชิงลบอัตโนมัตินอกเหนือไปจากการวิเคราะห์อาการ เหตุ และผลของความรู้สึก หนังสือปี 2004 ยังให้หลักฐานที่สนับสนุนข้อสรุปนี้ คือ นักเขียนพบว่า ความครุ่นคิดสามารถพยากรณ์ความซึมเศร้าแม้เมื่อควบคุมการคิดเชิงลบ (negative cognition) ซึ่งแสดงว่า แนวคิดทั้งสองไม่ใช่เรื่องเดียวกัน และมีคุณค่าการพยากรณ์ที่ต่างกัน แต่แม้ว่า จะมีการอ้างว่า ความครุ่นคิดและความคิดเชิงลบอัตโนมัติเป็นเรื่องที่แตกต่างกัน แต่ว่า Response Style Questionnaire ก็ได้ถูกคัดค้านในประเด็นว่ามีส่วนเหลื่อมกับความคิดเชิงลบอัตโนมัติ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Wareerat Thanoi, Rungnapa Panitrat, Kobkul Phancharoenworakul, Elaine A. Thompson, Dachavudh Nityasuddhi (2011). "The Adolescent Ruminative Response Scale (Thai version): Psychometric Properties" (PDF). J Nurs Sci. 29: 30. แบบวัดความครุ่นคิดCS1 maint: uses authors parameter (link)
  2. Nolen-Hoeksema, S.; Wisco, B. E.; Lyubomirsky, S. (2008). "Rethinking Rumination" (PDF). Perspectives on Psychological Science. 3 (5): 400–424. doi:10.1111/j.1745-6924.2008.00088.x.
  3. Smith, J.M.; Alloy, L.B. (2008). "A roadmap to rumination: A review of the conceptualization of this multifaceted construct". Clinical Psychology Review. 29 (2): 116–128. doi:10.1016/j.cpr.2008.10.003.
  4. Nolen-Hoeksema, S. (1998). "Neuroticism and ruminative response style as predictors of change in depressive symptomatology". Cognitive Therapy and Research. 22: 445–455. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  5. Watkins, E. R. (2008). "Constructive and unconstructive repetitive thought". Psychological Bulletin. 134 (2): 163–206. doi:10.1037/0033-2909.134.2.163.
  6. Papageorgiou, C; Wells, A (2004). Papageorgiou, C; Wells, A (บ.ก.). Nature, functions, and beliefs about depressive rumination. Depressive Rumination: Nature, Theory and Treatment. West Sussex: John Wiley & Sons. pp. 3–20.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  7. Nolen-Hoeksema, S.; Morrow, J. (1993). "Effects of rumination and distraction on naturally occurring depressed mood". Cognition and Emotion. 7 (6): 561–570. doi:10.1080/02699939308409206.
  8. Nolen-Hoeksema, S.; Parker, L. E.; Larson, J. (1994). "Ruminative coping with depressed mood following loss". Journal of Personality and Social Psychology. 67 (1): 92–104. doi:10.1037/0022-3514.67.1.92.
  9. Nolen-Hoeksema, S (2000). "The role of rumination in depressive disorders and mixed anxiety/depressive symptoms". Journal of Abnormal Psychology. 109 (3): 504–511. doi:10.1037/0021-843x.109.3.504.
  10. Nolen-Hoeksema, S (1991). "Responses to depression and their effects on the duration of the depressive episode". Journal of Abnormal Psychology. 100 (4): 569–582. doi:10.1037/0021-843x.100.4.569.
  11. Smith, J. M.; Alloy, L. B. (2009). "A roadmap to rumination: A review of the definition, assessment, and conceptualization of this multifaceted construct". Clinical Psychology Review. 29 (2): 116–128. doi:10.1016/j.cpr.2008.10.003.
  12. Matthews, G; Wells, A (2004). Papageorgiou, C; Wells, A (บ.ก.). Rumination, depression, and metacognition: the S-REF Model. Depressive Rumination: Nature, Theory and Treatment. West Sussex: John Wiley & Sons. pp. 126–151. repetitive thoughts generated by attempts to cope with self-discrepancy that are directed primarily toward processing the content of self-referent information and not toward immediate goal-directed actionCS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  13. Papageorgiou, C.; Wells, A. (2001). "Positive beliefs about depressive rumination: Development and preliminary validation of a self-report scale". Behavior Therapy. 32 (1): 13–26. doi:10.1016/s0005-7894(01)80041-1.
  14. Papageorgiou, C.; Wells, A. (2003). "An empirical test of a clinical metacognitive model of rumination and depression". Cognitive Therapy and Research. 27: 261–273.
  15. Papageorgiou, C.; Wells, A. (2001). "Metacognitive beliefs about rumination in recurrent major depression". Cognitive and Behavioral Practice. 8 (2): 160–164. doi:10.1016/s1077-7229(01)80021-3.
  16. Martin, LL; Shrira, I; Startup, HM (2004). Papageorgiou, C; Wells, A (บ.ก.). Rumination as a function of goal progress, stop rules, and cerebral lateralization. Depressive Rumination: Nature, Theory and Treatment. West Sussex: John Wiley & Sons. pp. 153–175.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  17. Lyubomirsky, S; Kasri, F; Zehm, K (2003). "Dysphoric rumination impairs concentration on academic tasks". Cognitive Therapy and Research. 27 (3): 309–330.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  18. Joormann, J.; Dkane, M.; Gotlib, I. H. (2006). "Adaptive and maladaptive components of rumination? Diagnostic specificity and relation to depressive biases" (PDF). Behavior Therapy. 37 (3): 269–280. doi:10.1016/j.beth.2006.01.002.
  19. Nolen-Hoekssema, S; Wisco, BE; Lyubomirsky, S (2008). "Perspectives on Psychological Science". 3 (5). Cite journal requires |journal= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  20. Watkins, E.; Moulds, M. (2005). "Distinct modes of ruminative self-focus: Impact of abstract vs. concrete rumination on problem solving in depression". Emotion. 5: 319–328. doi:10.1037/1528-3542.5.3.319.
  21. McLaughlin, K.A.; Borkovec, T.D.; Sibrava, N.J. (2007). "The effects of worry and rumination on affect states and cognitive activity". Behavior Therapy. 38: 23–38. doi:10.1016/j.beth.2006.03.003.
  22. Mikulincer, Mario (1996). "Mental rumination and learned helplessness: Cognitive shifts during helplessness training and their behavioral consequences.". ใน Sarason, I.; Sarason, B.; Pierce, G. (บ.ก.). Cognitive interference: Theories, methods, and findings. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum. pp. 191–210.
  23. Ciarocco, NJ; Vohs, KD; Baumeister, RF (2010). "Some good news about rumination: Task-focused thinking after failure facilitates performance improvement" (PDF). Journal of Social and Clinical Psychology. 29 (10): 1057–1073.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  24. Nolen-Hoeksema, S (1987). "Sex differences in unipolar depression: Evidence and theory". Psychological Bulletin. 101 (2): 259–282. doi:10.1037/0033-2909.101.2.259. PMID 3562707.
  25. Strauss, J.; Muday, T.; McNall, K.; Wong, M. (1997). "Response Style Theory revisited: Gender differences and stereotypes in rumination and distraction". Sex Roles. 36: 771–792. doi:10.1023/A:1025679223514.
  26. Pennebaker, J. W. (1989). "Confession, inhibition, and disease". Advances in Experimental Social Psychology. 22: 211–244.
  27. Borkovec, T.D.; Robinson, E.; Pruzinsky, T.; DePree, J. A. (1983). "Preliminary exploration of worry: Some characteristics and processes". Behavioral Research and Therapy. 21 (1): 9–16. doi:10.1016/0005-7967(83)90121-3.
  28. McLaughlin, K.A.; Borkovec, T.D.; Sibrava, N.J. (2007). "The effects of worry and rumination on affect states and cognitive activity". Behavior Therapy. 38 (1): 23–38. doi:10.1016/j.beth.2006.03.003.
  29. Papageorgiou, C.; Wells, A. (1999). "Process and meta cognitive dimensions of depressive and anxious thoughts and relationships with emotional intensity". Clinical Psychology and Psychotherapy. 5: 152. doi:10.1002/(sici)1099-0879(199905)6:2<156::aid-cpp196>3.0.co;2-a.
  30. Watkins, E.; Moulds, M.; Mackintosh, B. (2005). "Comparisons between rumination and worry in a non-clinical population". Behaviour Research and Therapy. 43 (12): 1577–1585. doi:10.1016/j.brat.2004.11.008.
  31. Nolen-Hoeksema, S (2004). Papageorgiou, C; Wells, A (บ.ก.). The Response Style Theory. Depressive Rumination: Nature, Theory and Treatment. West Sussex, England: Wiley.CS1 maint: uses editors parameter (link)

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ

  • Pedersen, C. W.; Denson, T. F.; Goss, R.; Vasquez, E. A.; Kelley, N. J.; Miller, N (2011-06). "The impact of rumination on aggressive thoughts, feelings, arousal, and behaviour". British Journal of Social Psychology. 50 (2): 281–301. doi:10.1348/014466610X515696. Check date values in: |date= (help)
  • Tsai, W. (2011-09). "An examination of happiness as a buffer of the rumination-adjustment link: Ethnic differences between European and Asian American students". Asian American Journal of Psychology. 2 (3): 168–180. doi:10.1037/a0025319. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help); Check date values in: |date= (help)
  • Baer, R.; Sauer, S. E. (2010-11). "Relationships between depressive rumination, anger rumination, and borderline personality features". Personality Disorders: Theory, Research, And Treatment. 2 (2): 142–150. doi:10.1037/a0019478. Check date values in: |date= (help)
  • Simonson, J. (2011-11). "Socialized to ruminate? Gender role mediates the sex difference in rumination for interpersonal events". Journal of Social and Clinical Psychology. 30 (9): 937–959. doi:10.1521/jscp.2011.30.9.937. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help); Check date values in: |date= (help)
  • Dickson, K.; Ciesla, J. A.; Reilly, L. C. (2011-12). "Rumination, worry, cognitive avoidance, and behavioral avoidance: Examination of temporal effects". Behavior Therapy. 43 (3): 937–959. doi:10.1016/j.beth.2011.11.002. Check date values in: |date= (help)

การคร, นค, ตว, ทยา, การคร, นค, งกฤษ, rumination, เป, นการใส, ใจอย, างหมกม, นในอาการต, าง, เก, ยวก, บความท, กข, ญหาของตน, และในเหต, และผลท, อาจเป, นไปได, ของความท, กข, แทนท, จะใส, ใจในว, แก, ญหา, งความคร, นค, ดและความกล, มใจ, worry, มพ, นธ, บความว, ตกก, งวล, an. karkhrunkhid 1 xngkvs Rumination epnkarisicxyanghmkmuninxakartang ekiywkbkhwamthukkh pyhakhxngtn aelainehtuaelaphlthixacepnipidkhxngkhwamthukkh aethnthicaisicinwithiaekpyha 2 thngkhwamkhrunkhidaelakhwamklumic worry smphnthkbkhwamwitkkngwl anxiety aelaxarmnechinglbxun aetwakyngimmiwithikarediywthitklngichwdradbkhxngmn 3 tamthvsdi Response Styles Theory esnxinpi 1998 ody Nolen Hoeksema 4 khwamkhrunkhidniyamwaepn karisicxyanghmkmuninxakartang ekiywkbkhwamthukkh pyhakhxngtn aelainehtuaelaphlthixacepnipidkhxngkhwamthukkh aethnthicaisicinwithiaekpyha aelaephraawathvsdiniidhlkthanechingprasbkarnsnbsnun dngnncungepnaebbcalxngkhxngkhwamkhrunkhidthiniymichknmakthisud aetwakyngmithvsdixun thiesnxniyamxun yktwxyangechn inthvsdi Goal Progress Theory khwamkhrunkhidimichepnptikiriyatxsphawakhxngphunxarmn aetepn kartxbsnxngtxkhwamlmehlwthicakawhnaxyangnaphxicipyngepahmayxyanghnung 5 bthkhwamniaesdngaebbcalxnghlayxyangkhxngkhwamkhrunkhidaelahmaycaaeyk khwamkhrunkhid cakaenwkhid okhrngsrangthangcitwithyaxun thixacdukhlayknhruxehluxmkn enuxha 1 thvsdi 1 1 Response styles theory 1 2 Self regulatory executive function model 1 3 Goal progress theory 2 phyathisphaph 3 rupaebbaelaeruxngthikhid 4 karwd 5 khwamaetktangrahwangephs 6 karepidephyaebbdi 7 khwamsmphnthkbaenwkhidxun 7 1 khwamklumic 7 2 khwamkhidechinglbxtonmti 8 duephim 9 xangxing 9 1 aehlngkhxmulxun thvsdi aekikhResponse styles theory aekikh thvsdisitlkartxbsnxng xngkvs Response styles theory twyx RST dngedimniyamkhwamkhrunkhidwa epnkarisicxyangimidtngic passive aelaxyangsa inxakarsumesrakhxngtn aelainehtuaelaphlthiepnipidkhxngxakarehlann 6 hlkthanthiyunynniyamnimacakphlnganwicythiaesdngwa karkhrunkhidmiswnthaihekid darngrksa aelathaxakarsumesratang ihaeylng 7 8 aelamiswninkarsaaedngxakar episodes khxngorkhsumesra 9 inpi 2008 phutngthvsdiidkhyayniyamkhxngkhwamkhrunkhidnxkehnuxipcakkhwamsumesra odyrwmkarisicxakarkhxngkhwamthukkhthiimidtngicaelaekidkhunsa odythwip ephraawakhwamkhrunkhidpraktkwamiswnrwmkbkhwamphidpkxun imichephiyngaekhkhwamsumesra 2 thvsdi RST yngyunyndwywa karhnipisiceruxngthidi positive distraction epnthangeluxkthidiaethnkarkhrunkhid khuxisicinsingeraechingbwkeruxngxunaethnthicaisicinkhwamthukkhkhxngtn 10 aetwa kmiwrrnkrrmxun thiaesdngwa karhnipisiceruxngthidi xacimsamarthchwyethakbthiekhykhidmakxn 11 Self regulatory executive function model aekikh aebbcalxng self regulatory executive function S REF ekiywkbkarthahnathiphidprktithangxarmn affective dysfunction yunynwa khwamkhrunkhidsamarthxthibayidxyangaemnyaphayinaebbcalxngkhxngkarkhwbkhumtwexngaebbhlayradb multilevel model of self regulation 11 odyechphaaaelw aebbcalxng S REF niyamkarkhrunkhidiwwa khwamkhidsa thiekidcakkhwamphyayamephuxrbmuxkhwamkhdaeyngintwexng self discrepancy odymunghmayephuxptibtikartxkhxmulekiywkbtnexngepnhlkaelaimichephuxkarkrathamiepahmayaebbthnthi 12 hruxphudngay kkhux emuxbukhkhlkalngkhrunkhid ekhamungthicatxbkhathamxyangechn chnrusukxyangirkbehtukarnni chncaepliynkhwamkhidkhwamrusukkhxngchnekiywkbehtukarnniidxyangir chncapxngknkhwamkhidkhwamrusukthiimdiinxnakhtidxyangiraetwa inkartxbpyhaehlani khnthikalngkhrunkhidmkcaisicthixarmnkhxngtnexng khux ptibtikartxkhxmulekiywkbtnexng aethnthicaisicinwithiaekpyha khux karkrathathimiepahmay 12 khwamsanukrukhwamkhidkhxngtnexng Metacognition epnswnsakhykhxngaebbcalxng S REF aelachwyxthibaykarechuxmtxknrahwangkarkhrunkhidaelakhwamsumesra 6 odyechphaakkhux phuthiechuxinechingbwk epn metacognitive belief wakarkhrunkhidmipraoychn echn chntxngkhrunkhidehtukarnrayinxditephuxthicaekhaic 13 camiaerngcungicinkarkhrunkhidtxip 14 aelaemuxerimkhrunkhidaelw khwamechuxekiywkbkarkhrunkhidcaepliynepnechinglb khuxwamnepnthukkh echn karkhrunkhidthaihchnpwythangkay khwbkhumimid echn karkhrunkhidhmaythungchnkhwbkhumtwexngimid aelamiphllbthangsngkhm 14 15 khwamechux thiepn metacognitive belief echinglbcamiswnihekidaeladarngkhwamsumesra 14 Goal progress theory aekikh thvsdi Goal progress theory twyx GPT xthibaykarkhrunkhidwa epneruxngekiywkbkhwamkawhnainkarthungepahmay odyechphaakkhux GPT mxngkarkhrunkhidwaepntwxyanghnungkhxng Zeigarnik effect sungaesdngwa bukhkhlcacakhxmulekiywkbnganthiyngimesrciddikwanganthiesrcaelw 5 11 cakmummxngni GPT niyamkarkhrunkhidiwwa khwamonmexiyngthicakhidthungbxy sungepahmaythisakhy aelasungying khunip thiyngimid hruxthiyngimkawhnaxyangephiyngphx 11 16 thvsdi GPT phyakrnwa bukhkhlthimikhxmulekiywkbepahmaythikhidthungidngaymioxkassungkwathicakhrunkhid sungepnkarphyakrnthimihlkthancakngansuksahlayngan 5 phyathisphaph aekikhnganwicymakmayekiywkbphlkhxngkarkhrunkhid hruxkhwamonmexiyngthicaphicarnatwexng self reflect aesdngwakarkhrunkhidechinglbcakhdkhwangsmathiinkaraekpyha aelamiphlepnkarhmkmunxyuinkhwamkhidechinglbekiywkbkhwamlmehlwinxdit 17 hlkthancakngansuksaaesdngwa phllbkhxngkarkhrunkhidmakcakkhwamexnexiyngthangprachan cognitive bias echnkhwamexnexiyngthangkhwamcahruxkarisic sungthaihbukhkhlkhideluxkexaaetsingeraechinglb 18 khwamonmexiyngthicakhrunkhidinechinglbdarngxyuxyangsmaesmxepnewlanan aelaepnpccyesiyngsakhytxorkhsumesra imichephiyngaekhkhnkhrunkhidepnpracaethannthiekidkhwamsumesra ngansuksaaebbthdlxngidaesdngaelwwa bukhkhlthithukchkcungihkhrunkhidprasbkbkhwamrusuksumesramakkwa 7 mihlkthandwywa karkhrunkhidsmphnthkbkhwamwitkkngwlthwip khwamekhriydhlngehtukarnsaethuxnic kardumehlaephuxihema binge drinking khwamphidpktiinkarrbprathan aelaphvtikrrmtharaytwexngkhwamkhrunkhidtxneaerkechuxknwa epntwphyakrnchwngewlakhxngxakarsumesra klawxikxyangkkhux karkhrunkhidthungpyha smmutiwaepnrupaebbhnungkhxngkarsxmkhwamca memory rehearsal sungekhyechuxwathaprasbkarnsumesraihyawnankhun aethlkthanpccubnaesdngwa aemwakarkhrunkhidcamiswnkxkhwamsumesra aetimcaepntxngsmphnthkbchwngewlakarekidxakar 2 rupaebbaelaeruxngthikhid aekikhkarphyakrnwaxairepneruxngthibukhkhlkhrunkhid tang knipkhunxyukbmummxngkhxngthvsdi thvsdibangxyangesnxwa karkhrunkhidcasnicthikhwamrusukechinglb aela hrux sthankarnthiekiywkhxngkbkhwamrusuknn rwmthngthvsdi RST rumination on sadness Trapnell and Campbell stress reactive rumination post event processing model mithvsdixunthiphyakrnwa epnkarkhidthungkhwamimlngrxyknrahwangsthanakhxngtninpccubnaelasthanathitxngkar goal progress conceptual evaluative model of rumination aelathvsdixun esnxwa timechinglbineruxngkhwamkhwbkhumimidaelakhwamesiyhaythicamiin metacognition epneruxngthisakhythisud 19 khwamkhidsamythiepnlksnakhxngkarkhrunkhidkkhuxkarthamkhwamxyuepnsukhkhxngtnexng aelakarsnicineruxngehtuaelaphlkhxngxakarsumesrakhxngtnexng 10 yktwxyangechn thaimchncungepnkhnimexaihnechnni thaimchncungxarmnimdixyangni hruxwa thaimchnimrusukxyakcathaxairely 10 khwamaetktangthangthvsdixikxyangkkhuxkalewlakhxngeruxngthikhid odymihlaythvsdismmutiwa samarthekiywkhxngthngxdit xnakhtaelapccubn swnbangthvsdismmutiwa epneruxnginxdithruxpccubn aetwa kmiraynganthismaesmxwa karkhrunkhidemuxethiybkbkhwamklumic epneruxngekiywkbxdit 20 aetwangansuksainpi 2007 phbwa ewlacaepliynipinchwngkarkhrunkhid khuxbukhkhlcaerimthieruxnginxditkxn aelwephimkhwamkhidekiywkbpccubnaelaxnakhtmakkhuntxma 21 dngnn karkhrunkhidxaccasbsxnkwathiekhykhid aelaimichepneruxngxditlwn mikaresnxaebbkarkhrunkhidehlani khux 22 State rumination karkhrunkhidthungsphawa sungepnkarhmkmunineruxngphlaelakhwamrusukthismphnthkbkhwamlmehlwinxdit karkhrunkhidechnniepneruxngsamykwainbukhkhlthimxngolkinaengray mibukhlikphaphaebb neuroticism aelaxthibayehtukarntang inechinglb negative attributional style Action rumination karkhrunkhidthungkarkratha epnkrabwnkarkhidthisnicinsingthicatha odyphungkhwamsnicipthikarthungepahmayaelakaraekikhkhwamphidphlad Task irrelevant rumination karkhrunkhidthungsingthiimekiywkhxng sungkhidthungehtukarnhruxbukhkhlthiimekiywkhxngkbepahmaythiimsamarthekhathung ephuxthicaepliynkhwamsnicipcakkhwamlmehlw 23 karwd aekikhkhwamkhrunkhidsamarthwdidody Ruminative Responses Scale cakchudkhatham Response Styles Questionnaire 10 sungihphurbkarthdsxbaesdngwa tnmikhwamkhidhruxphvtikrrm 22 xyangbxyaekhihnemuxrusukesraichruxsumesrakhwamaetktangrahwangephs aekikhtam s citwithyathimhawithyalyeylthanhnung hyingmkcakhrunkhidemuxesra ethiybkbchaythimkcahnipsniceruxngxun khwamaetktanginkartxbsnxngechnnichiwa thaimhyingcungmixtrakhwamsumesrasungkwachay 24 nkwicyxun idphbhlkthanyunynwahyingmioxkassungkwathicakhrunkhid aemwa hlkthanthiaesdngwachaymkhnipsniceruxngxuncamihlkthanthiimsmaesmx 25 karepidephyaebbdi aekikhaemwakarkhrunkhidodythwipcaimdiaelasmphnthkbkhwamsumesra karkhidthungaelaklawthungkhwamrusuktnexngmipraoychninsthankarnbangxyang tam s thimhawithyalyethkss xxstin karepidephytnexngthidisamarthldkhwamekhriydaelakhwamkhrunkhid thakarepidephynaipsukhwamekhaicthidikhunekiywkbehtukhxngpyha 26 dngnn thabukhkhlaechrkhwamrusuktnexngkbphuxunthitnmikhwamsmphnththidi nixaccaepnkhwamecriyngxkngam odyepriybethiybkn emuxbukhkhlkhrunkhidsa sak aelahmkhmunxyuinpyhaediywknodythiimkawhna kcamioxkasekidkhwamsumesramakkhunkhwamsmphnthkbaenwkhidxun aekikhkhwamkhrunkhid Rumination khlayknhruxehluxmknkbaenwkhid okhrngsrangxun echn khwamklumic Worry aelakhwamkhidechinglbxtonmti negative automatic thought khwamklumic aekikh khwamkhrunkhidpraktwasmphnthxyangiklchidkbkhwamklumic Worry odysamarthniyamkhwamklumicidwa lukoskhxngkhwamkhidaelacintphaph thietmipdwyxarmnechinglb aelakhxnkhangkhwbkhumimid epnkarphyayamaekpyhainicekiywkbpraednthimiphlimaennxn aetmioxkasthicamiphllbxyangnxyhnungxyanghruxmakkwann 11 27 mikarepriybethiybkhwamkhrunkhidkbkhwamklumic sunginthvsdibangxyang khwamkhrunkhidepnrupaebbhnungkhxngkhwamklumic echn S REF nxkcaknnaelw nkwicyhlaykhnidihkhxsngektwa mikhwamekidrwmknkhxngorkh comorbidity sungrahwangorkhwitkkngwl GAD aelaorkhsumesra MDD khux khnikh 60 thimixakarkhxng GAD samarthwinicchywami MDD dwy karekidrwmxyangsakhyechnnithaihmiwrrnkrrmephimkhuneruxy ekiywkbkhwamehluxmlarahwangkhwamkhrunkhid sungbxykhrngsuksaineruxng MDD kbkhwamklumic sungbxykhrngsuksaineruxng GADkhawdkhxngkhwamkhrunkhidaelakhwamklumicmishsmphnthsung ehnuxkwakhawdxakarkhwamwitkkngwlaelakhwamsumesra r 66 Beck amp Perkins 2001 thngkhwamkhrunkhidaelakhwamklumicehluxmkninkhwamsmphnthkborkhwitkkngwlaelaorkhsumesra aemwacamingansuksathiaesdngkhwamcaephaa specificity khxngkhwamkhrunkhidkborkhsumesraaelakhwamklumickborkhwitkkngwl nxkcaknnaelw mikarphbwa khwamkhrunkhidsamarthphyakrnkhwamepliynaeplngkhxngxakarsumesraaelakhxngxakarwitkkngwl aelakhnikh MDD raynganradbkhwamklumickhlaykbkhnikh GAD dngnnodyxngkhrwmaelw nganwicyehlaniaesdngwa khwamkhrunkhidaelakhwamklumicimichaekhsmphnthknethann ephraaaetlaxyangyngsmphnthkbxakarkhxngthngkhwamsumesraaelakhwamwitkkngwlxikdwymingansuksathiaesdngwa eruxngthiklumickberuxngthikhrunkhidaetktangkn khwamklumicbxykhrngepneruxngkaraekpyhaaelaekiywkbxnakht inkhnathikhwamkhrunkhidmkcaepneruxngkhwamsuyesiyaelaekiywkbxdit khwamkhrunkhid emuxethiybkbkhwamklumic smphnthkbkhwamphyayamaelakhwammnicthinxykwainkaraekpyha 6 mikaresnxwa khwamkhrunkhidaelakhwamklumicmihnathitangkn khux khwamkhrunkhidsmphnthkbkhwamechuxwatwexngmiswninsthankarnmakkwaaelacaepntxngekhaicmakkwa ethiybkbkhwamklumicthismphnthkbkhwamtxngkarhlikeliyngkhwamkhidthithaihklumic Watkins 2004b yngmismmtithanxikdwywa khwamklumicepneruxngcintnakarmakkwakhwamkhrunkhid aetwahlkthanekiywkberuxngniimlngrxykn 28 29 30 dngnn odythwipaelw ngansuksaehlaniaesdngwa khwamklumicaelakhwamkhrunkhidepnaenwkhidthismphnthknaelathngsxngtangknaipsukhwamsumesraaelakhwamwitkkngwl epnipidwa khwamkhrunkhidaelakhwamklumicepnaebbkarkhidsa thismphnthkn aelaxaccachdecnkwathacdepnaebbyxykhxngokhrngsrangthikhrxbkhlumaenwkhidthngsxng echn epnklyuththrbmuxpyhaaebbhlikeliyng avoidant coping strategy khwamkhidechinglbxtonmti aekikh mikarepriybethiybkhwamkhrunkhidkbkhwamkhidechinglbxtonmti negative automatic thoughts thiniyamwaepnkhwamkhidsa thimitimekiywkbkhwamsuyesiyhruxkhwamlmehlwswnbukhkhl tam s citwithyathimhawithyalyeyl 2004 ethxyunynwa khwamkhrunkhid dngthiniyamin RST tangcakkhwamkhidechinglbxtonmti ephraawa khwamkhidechinglbxtonmtiepnkarpraeminaebbrwbrd thungeruxngkhwamsuyesiyaelakhwamlmehlwinorkhsumesra inkhnathikhwamkhrunkhidepnlukoskhxngkhwamkhidthisa wnewiyn epneruxnglb ekiywkbtnexng thixacekidkhunodytxbsnxngtxkhwamkhidechinglbxtonmtiinebuxngtn 31 ethxyngesnxdwywa khwamkhrunkhidxacmitimechinglbthiphbinkhwamkhidechinglbxtonmtinxkehnuxipcakkarwiekhraahxakar ehtu aelaphlkhxngkhwamrusuk hnngsuxpi 2004 yngihhlkthanthisnbsnunkhxsrupni khux nkekhiynphbwa khwamkhrunkhidsamarthphyakrnkhwamsumesraaememuxkhwbkhumkarkhidechinglb negative cognition sungaesdngwa aenwkhidthngsxngimicheruxngediywkn aelamikhunkhakarphyakrnthitangkn 12 aetaemwa camikarxangwa khwamkhrunkhidaelakhwamkhidechinglbxtonmtiepneruxngthiaetktangkn aetwa Response Style Questionnaire kidthukkhdkhaninpraednwamiswnehluxmkbkhwamkhidechinglbxtonmtiduephim aekikhorkhsumesra orkhyakhidyathaxangxing aekikh Wareerat Thanoi Rungnapa Panitrat Kobkul Phancharoenworakul Elaine A Thompson Dachavudh Nityasuddhi 2011 The Adolescent Ruminative Response Scale Thai version Psychometric Properties PDF J Nurs Sci 29 30 aebbwdkhwamkhrunkhid CS1 maint uses authors parameter link 2 0 2 1 2 2 Nolen Hoeksema S Wisco B E Lyubomirsky S 2008 Rethinking Rumination PDF Perspectives on Psychological Science 3 5 400 424 doi 10 1111 j 1745 6924 2008 00088 x Smith J M Alloy L B 2008 A roadmap to rumination A review of the conceptualization of this multifaceted construct Clinical Psychology Review 29 2 116 128 doi 10 1016 j cpr 2008 10 003 Nolen Hoeksema S 1998 Neuroticism and ruminative response style as predictors of change in depressive symptomatology Cognitive Therapy and Research 22 445 455 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help 5 0 5 1 5 2 Watkins E R 2008 Constructive and unconstructive repetitive thought Psychological Bulletin 134 2 163 206 doi 10 1037 0033 2909 134 2 163 6 0 6 1 6 2 Papageorgiou C Wells A 2004 Papageorgiou C Wells A b k Nature functions and beliefs about depressive rumination Depressive Rumination Nature Theory and Treatment West Sussex John Wiley amp Sons pp 3 20 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link 7 0 7 1 Nolen Hoeksema S Morrow J 1993 Effects of rumination and distraction on naturally occurring depressed mood Cognition and Emotion 7 6 561 570 doi 10 1080 02699939308409206 Nolen Hoeksema S Parker L E Larson J 1994 Ruminative coping with depressed mood following loss Journal of Personality and Social Psychology 67 1 92 104 doi 10 1037 0022 3514 67 1 92 Nolen Hoeksema S 2000 The role of rumination in depressive disorders and mixed anxiety depressive symptoms Journal of Abnormal Psychology 109 3 504 511 doi 10 1037 0021 843x 109 3 504 10 0 10 1 10 2 10 3 Nolen Hoeksema S 1991 Responses to depression and their effects on the duration of the depressive episode Journal of Abnormal Psychology 100 4 569 582 doi 10 1037 0021 843x 100 4 569 11 0 11 1 11 2 11 3 11 4 Smith J M Alloy L B 2009 A roadmap to rumination A review of the definition assessment and conceptualization of this multifaceted construct Clinical Psychology Review 29 2 116 128 doi 10 1016 j cpr 2008 10 003 12 0 12 1 12 2 Matthews G Wells A 2004 Papageorgiou C Wells A b k Rumination depression and metacognition the S REF Model Depressive Rumination Nature Theory and Treatment West Sussex John Wiley amp Sons pp 126 151 repetitive thoughts generated by attempts to cope with self discrepancy that are directed primarily toward processing the content of self referent information and not toward immediate goal directed action CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link Papageorgiou C Wells A 2001 Positive beliefs about depressive rumination Development and preliminary validation of a self report scale Behavior Therapy 32 1 13 26 doi 10 1016 s0005 7894 01 80041 1 14 0 14 1 14 2 Papageorgiou C Wells A 2003 An empirical test of a clinical metacognitive model of rumination and depression Cognitive Therapy and Research 27 261 273 Papageorgiou C Wells A 2001 Metacognitive beliefs about rumination in recurrent major depression Cognitive and Behavioral Practice 8 2 160 164 doi 10 1016 s1077 7229 01 80021 3 Martin LL Shrira I Startup HM 2004 Papageorgiou C Wells A b k Rumination as a function of goal progress stop rules and cerebral lateralization Depressive Rumination Nature Theory and Treatment West Sussex John Wiley amp Sons pp 153 175 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link Lyubomirsky S Kasri F Zehm K 2003 Dysphoric rumination impairs concentration on academic tasks Cognitive Therapy and Research 27 3 309 330 CS1 maint uses authors parameter link Joormann J Dkane M Gotlib I H 2006 Adaptive and maladaptive components of rumination Diagnostic specificity and relation to depressive biases PDF Behavior Therapy 37 3 269 280 doi 10 1016 j beth 2006 01 002 Nolen Hoekssema S Wisco BE Lyubomirsky S 2008 Perspectives on Psychological Science 3 5 Cite journal requires journal help CS1 maint multiple names authors list link Watkins E Moulds M 2005 Distinct modes of ruminative self focus Impact of abstract vs concrete rumination on problem solving in depression Emotion 5 319 328 doi 10 1037 1528 3542 5 3 319 McLaughlin K A Borkovec T D Sibrava N J 2007 The effects of worry and rumination on affect states and cognitive activity Behavior Therapy 38 23 38 doi 10 1016 j beth 2006 03 003 Mikulincer Mario 1996 Mental rumination and learned helplessness Cognitive shifts during helplessness training and their behavioral consequences in Sarason I Sarason B Pierce G b k Cognitive interference Theories methods and findings Hillsdale NJ Lawrence Erlbaum pp 191 210 Ciarocco NJ Vohs KD Baumeister RF 2010 Some good news about rumination Task focused thinking after failure facilitates performance improvement PDF Journal of Social and Clinical Psychology 29 10 1057 1073 CS1 maint uses authors parameter link Nolen Hoeksema S 1987 Sex differences in unipolar depression Evidence and theory Psychological Bulletin 101 2 259 282 doi 10 1037 0033 2909 101 2 259 PMID 3562707 Strauss J Muday T McNall K Wong M 1997 Response Style Theory revisited Gender differences and stereotypes in rumination and distraction Sex Roles 36 771 792 doi 10 1023 A 1025679223514 Pennebaker J W 1989 Confession inhibition and disease Advances in Experimental Social Psychology 22 211 244 Borkovec T D Robinson E Pruzinsky T DePree J A 1983 Preliminary exploration of worry Some characteristics and processes Behavioral Research and Therapy 21 1 9 16 doi 10 1016 0005 7967 83 90121 3 McLaughlin K A Borkovec T D Sibrava N J 2007 The effects of worry and rumination on affect states and cognitive activity Behavior Therapy 38 1 23 38 doi 10 1016 j beth 2006 03 003 Papageorgiou C Wells A 1999 Process and meta cognitive dimensions of depressive and anxious thoughts and relationships with emotional intensity Clinical Psychology and Psychotherapy 5 152 doi 10 1002 sici 1099 0879 199905 6 2 lt 156 aid cpp196 gt 3 0 co 2 a Watkins E Moulds M Mackintosh B 2005 Comparisons between rumination and worry in a non clinical population Behaviour Research and Therapy 43 12 1577 1585 doi 10 1016 j brat 2004 11 008 Nolen Hoeksema S 2004 Papageorgiou C Wells A b k The Response Style Theory Depressive Rumination Nature Theory and Treatment West Sussex England Wiley CS1 maint uses editors parameter link aehlngkhxmulxun aekikh Pedersen C W Denson T F Goss R Vasquez E A Kelley N J Miller N 2011 06 The impact of rumination on aggressive thoughts feelings arousal and behaviour British Journal of Social Psychology 50 2 281 301 doi 10 1348 014466610X515696 Check date values in date help Tsai W 2011 09 An examination of happiness as a buffer of the rumination adjustment link Ethnic differences between European and Asian American students Asian American Journal of Psychology 2 3 168 180 doi 10 1037 a0025319 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Check date values in date help Baer R Sauer S E 2010 11 Relationships between depressive rumination anger rumination and borderline personality features Personality Disorders Theory Research And Treatment 2 2 142 150 doi 10 1037 a0019478 Check date values in date help Simonson J 2011 11 Socialized to ruminate Gender role mediates the sex difference in rumination for interpersonal events Journal of Social and Clinical Psychology 30 9 937 959 doi 10 1521 jscp 2011 30 9 937 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Check date values in date help Dickson K Ciesla J A Reilly L C 2011 12 Rumination worry cognitive avoidance and behavioral avoidance Examination of temporal effects Behavior Therapy 43 3 937 959 doi 10 1016 j beth 2011 11 002 Check date values in date help ekhathungcak https th wikipedia org w index php title karkhrunkhid citwithya amp oldid 8275222, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม